โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

Х

ดัชนี Х

Kha หรือ Ha (Х, х) เป็นอักษรซีริลลิกตัวหนึ่ง ใช้แทนเสียง // เหมือนเสียงของ ch ในคำว่า Bach ของภาษาเยอรมัน แต่เมื่ออักษรตัวนี้สะกดตามมาด้วยสระที่ออกเสียงเลื่อนไปทางเพดานแข็ง จะออกเสียงเป็น // ซึ่งมักจะออกเสียงรวมไปกับพยางค์อื่นแทนที่จะออกเสียงแยกกัน อักษรตัวนี้มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก ไค (Χ, χ) มีรูปร่างเหมือนอักษรละติน X ชื่อเดิมของอักษรนี้คือ xěrǔ และมีค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 600.

10 ความสัมพันธ์: พยางค์ภาษาเยอรมันยูนิโคดอักษรกรีกอักษรละตินอักษรซีริลลิกตัวเลขซีริลลิกไคX600

พยางค์

งค์ หมายถึงหน่วยหนึ่งขององค์ประกอบในลำดับของเสียงที่ใช้สื่อสารด้วยคำพูด พยางค์โดยทั่วไปเกิดขึ้นจากแกนพยางค์ (syllable nucleus) ซึ่งมักจะเป็นเสียงสระ และอาจมีเสียงขึ้นต้นและเสียงลงท้ายเป็นเสียงพยัญชนะในพยางค์ พยางค์ถูกจัดว่าเป็นส่วนประกอบของคำในการศึกษาระบบเสียงในภาษา (phonology) ซึ่งมีอิทธิพลต่อจังหวะในภาษา ฉันทลักษณ์ ลักษณะคำประพันธ์ รูปแบบการเน้นเสียง เป็นต้น คำหนึ่งคำอาจอบขึ้นจากพยางค์เพียงพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ การเขียนสัญลักษณ์แทนพยางค์เริ่มมีขึ้นเมื่อไม่กี่ร้อยปีก่อนที่จะมีการใช้ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรก สัญลักษณ์แทนพยางค์ในสมัยนั้นถูกบันทึกลงบนแผ่นจารึกเมื่อประมาณ 2,800 ปีก่อนคริสตกาลโดยชาวสุเมเรียน สิ่งนี้เป็นตัวผลักดันให้อักษรภาพที่เขียนกันมาแต่เดิมถูกเปลี่ยนเป็นการเขียนแทนพยางค์ ซึ่งเป็นก้าวหนึ่งที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของระบบการเขียน.

ใหม่!!: Хและพยางค์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเยอรมัน

ษาเยอรมัน (German; Deutsch) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) รวมถึงบางประเทศในละตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา และในบราซิล โดยเฉพาะในรัฐ รีโอกรันดีโดซูล ซันตากาตารีนา ปารานา และเอสปีรีตูซันตู ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: Хและภาษาเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ยูนิโคด

The Unicode Standard, Version 5.0 อักขระยูนิโคดทั้งหมดเมื่อพิมพ์ลงกระดาษ (รวมทั้งสองแผ่น) ยูนิโคด (Unicode) คือมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผลและจัดการข้อความธรรมดาที่ใช้ในระบบการเขียนของภาษาส่วนใหญ่ในโลกได้อย่างสอดคล้องกัน ยูนิโคดประกอบด้วยรายการอักขระที่แสดงผลได้มากกว่า 100,000 ตัว พัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐานชุดอักขระสากล (Universal Character Set: UCS) และมีการตีพิมพ์ลงในหนังสือ The Unicode Standard เป็นแผนผังรหัสเพื่อใช้เป็นรายการอ้างอิง นอกจากนั้นยังมีการอธิบายวิธีการที่ใช้เข้ารหัสและการนำเสนอมาตรฐานของการเข้ารหัสอักขระอีกจำนวนหนึ่ง การเรียงลำดับอักษร กฎเกณฑ์ของการรวมและการแยกอักขระ รวมไปถึงลำดับการแสดงผลของอักขระสองทิศทาง (เช่นอักษรอาหรับหรืออักษรฮีบรูที่เขียนจากขวาไปซ้าย) ยูนิโคดคอนซอร์เทียม (Unicode Consortium) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนายูนิโคด องค์กรนี้มีจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับการแทนที่การเข้ารหัสอักขระที่มีอยู่ด้วยยูนิโคดและมาตรฐานรูปแบบการแปลงยูนิโคด (Unicode Transformation Format: UTF) แต่ก็เป็นที่ยุ่งยากเนื่องจากแผนการที่มีอยู่ถูกจำกัดไว้ด้วยขนาดและขอบเขต ซึ่งอาจไม่รองรับกับสภาพแวดล้อมหลายภาษาในคอมพิวเตอร์ ความสำเร็จของยูนิโคดคือการรวมรหัสอักขระหลายชนิดให้เป็นหนึ่งเดียว นำไปสู่การใช้งานอย่างกว้างขวางและมีอิทธิพลต่อการแปลภาษาของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ นั่นคือโปรแกรมจะสามารถใช้ได้หลายภาษา มาตรฐานนี้มีการนำไปใช้เป็นเทคโนโลยีหลักหลายอย่าง อาทิ เอกซ์เอ็มแอล ภาษาจาวา ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก และระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ ยูนิโคดสามารถนำไปใช้งานได้ด้วยชุดอักขระแบบต่าง ๆ ชุดอักขระที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ UTF-8 (ใช้ 1 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัวในรหัสแอสกีและมีค่ารหัสเหมือนกับมาตรฐานแอสกี หรือมากกว่านั้นจนถึง 4 ไบต์สำหรับอักขระแบบอื่น) UCS-2 ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว (ใช้ 2 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัว แต่ไม่ครอบคลุมอักขระทั้งหมดในยูนิโคด) และ UTF-16 (เป็นส่วนขยายจาก UCS-2 โดยใช้ 4 ไบต์ สำหรับแทนรหัสอักขระที่ขาดไปของ UCS-2).

ใหม่!!: Хและยูนิโคด · ดูเพิ่มเติม »

อักษรกรีก

อักษรกรีก เป็นอักษรที่ใช้สำหรับเขียนภาษากรีก โดยมีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคคลาสสิก ประมาณ 357 ปีก่อนพุทธศักราช (ศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสต์ศักราช) และยังคงใช้สืบต่อเรื่อยมา นับเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุดแบบหนึ่งที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ในสมัยกรีกโบราณนั้น อักษรกรีกยังใช้เขียนแทนจำนวนอีกด้วย ซึ่งในกรณีนี้จะเรียกว่าเลขกรีก ในทำนองเดียวกับเลขโรมัน ทุกวันนี้เราใช้อักษรกรีกเป็นสัญลักษณ์คณิตศาสตร์ เป็นชื่อดาวฤกษ์ เป็นชื่อกลุ่มภราดรและกลุ่มภคินี และใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ อีกมาก.

ใหม่!!: Хและอักษรกรีก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: Хและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรซีริลลิก

ประเทศที่ใช้อักษรซีริลลิก อักษรซีริลลิก หรือ อักษรซิริลลิก (Cyrillic script) เป็นตัวอักษรที่ใช้เป็นตัวเขียนสำหรับภาษาในกลุ่มภาษาสลาวิกนอกจากนี้ยังใช้เป็นตัวเขียนสำหรับภาษาในอีกหลายประเทศ แต่ไม่มีอักษรซีริลลิกทุกตัวกับภาษาใด ขึ้นอยู่กับการเขียนในภาษานั้น ในกลุ่มประเทศที่ใช้อักษรซีริลลิกด้วยกันเอง จะไม่เรียก ซีริล แต่จะออกเสียงว่า คีริล แทน เช่น ในภาษารัสเซียเรียกอักษรซีริลลิกว่า Кириллица คีริลลิซ.

ใหม่!!: Хและอักษรซีริลลิก · ดูเพิ่มเติม »

ตัวเลขซีริลลิก

ลขซีริลลิก คือระบบเลขอย่างหนึ่งซึ่งถ่ายทอดมาจากอักษรซีริลลิก ใช้โดยชาวสลาวิกใต้และตะวันออก ระบบเลขนี้เคยมีการใช้ในดินแดนรัสเซีย แต่ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 สมเด็จพระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ทรงแทนที่เลขซีริลลิกด้วยเลขอารบิก เลขซีริลลิกเป็นระบบเลขคล้ายทศนิยม (quasi-decimal) มีพื้นฐานมาจากเลขกรีก แต่เขียนโดยใช้หน่วยอักขระ (grapheme) ของอักษรซีริลลิก นั่นคือการเรียงลำดับนั้นเรียงตามอักษรกรีก แต่ไม่เป็นไปตามลำดับอักษรซีริลลิกปัจจุบัน อักษรแต่ละตัวจะถูกกำหนดให้แทนค่าของตัวเลขหลักหน่วย (1, 2,... 9) หลักสิบ (10, 20,... 90) และหลักร้อย (100, 200,... 900) ตามลำดับ จำนวนตัวเลขจะเขียนไปตามลำดับที่อ่าน ซึ่งส่วนใหญ่จะอ่านจากซ้ายไปขวา เว้นแต่จำนวน 11 ถึง 19 ที่อ่านจากขวาไปซ้าย ตัวอย่างเช่น 17 อ่านว่า sem-na-dzat (เทียบกับ seventeen ในภาษาอังกฤษ) เป็นต้น ในการแปลงเลขซีริลลิกให้เป็นเลขอารบิก ทำได้โดยการบวกค่าประจำอักษรเข้าด้วยกัน และเพื่อการแยกแยะจำนวนออกจากข้อความรอบข้างซึ่งเขียนด้วยอักษรเดียวกัน จะมีการเติม ติโตล (titlo: U+0483) ลงไปเหนือจำนวน (เวลาเขียนเดี่ยวๆ อาจไม่จำเป็นก็ได้) และถ้าหากจำนวนนั้นมีค่าเกิน 1,000 จะมีการเติมสัญลักษณ์หลักพัน (U+0482) ลงไปข้างหน้าตัวเลขนั้นๆ ตัวอย่างเช่น.

ใหม่!!: Хและตัวเลขซีริลลิก · ดูเพิ่มเติม »

ไค

(chi) หรือ ชี (χι, ตัวใหญ่ Χ, ตัวเล็ก χ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 22 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 600.

ใหม่!!: Хและไค · ดูเพิ่มเติม »

X

X เป็นอักษรละตินลำดับที่ 24 ซึ่งในภาษากรีกตัวอักษร X อ่านว่า "ไค" ตัวอักษร X เป็นตัวอักษรที่ไม่มีในภาษาอิตาลียกเว้นคำยืมจากภาษาอื่น และไม่มีคำศัพท์ภาษาอังกฤษดั้งเดิมขึ้นต้นด้วยตัวอักษร X ในภาษาอังกฤษบางครั้งจะอ่านเหมือนคำว่า ไค ใช้แทนคำว่า คริสต์ ซึ่งเห็นได้ใน X'mas (คริสต์มาส) และมีการใช้ซึ่งอ่านว่า "ครอส" แทนเครื่องหมายไขว้ เช่นในคำว่า Xing.

ใหม่!!: ХและX · ดูเพิ่มเติม »

600

600 (หกร้อย) เป็นจำนวนธรรมชาติที่อยู่ถัดจาก 599 (ห้าร้อยเก้าสิบเก้า) และอยู่ก่อนหน้า 601 (หกร้อยเอ็ด).

ใหม่!!: Хและ600 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

KhaXaeruXeruXæruXærŭXěrǔ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »