โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

Ў

ดัชนี Ў

Short U (Ў, ў) เป็นอักษรซีริลลิกตัวหนึ่ง มีใช้เฉพาะในภาษาเบลารุส และอักษรนี้จะถูกเรียกว่า U Nieskładovaje ซึ่งหมายถึง U ที่ไม่มีเสียง เนื่องจากเสียงกึ่งสระนี้เทียบเท่ากับ У แต่ไม่ได้ใช้ออกเสียงเต็มพยางค์ อักษรนี้สามารถแปลงเป็นอักษรละตินได้เป็น Ŭ, ŭ ในคำต่างๆ ของภาษาเบลารุส อักษร Ў จะใช้คู่กับสระตัวอื่นให้เกิดเสียงสระประสมกับ // เหมือนมี ว สะกด เช่น хлеў (khleŭ เฮฺลว์) กระท่อม หรือ воўк (voŭk โวว์ก) หมาป่า บางครั้งก็ถูกใช้ทับศัพท์เสียง // ในภาษาต่างประเทศ เช่น ўіскі (ŭiski วิสกี) วิสกี้ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ชาวเบลารุสมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับการออกเสียง // และตั้งใจจะออกเสียงเป็น // ในคำทับศัพท์ดังกล่าว ปกติแล้วอักษรนี้ไม่สามารถวางหน้าสระได้ แต่เมื่อไวยากรณ์บังคับให้เป็นเช่นนั้น จะต้องเปลี่ยน Ў ให้เป็น В เช่น.

15 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2535พยางค์กระท่อมกลุ่มภาษาสลาวิกภาษาอุซเบกภาษาเบลารุสวลีวิสกี้หมาป่าอักษรละตินอักษรซีริลลิกไวยากรณ์УВ

พ.ศ. 2535

ทธศักราช 2535 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1992 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: Ўและพ.ศ. 2535 · ดูเพิ่มเติม »

พยางค์

งค์ หมายถึงหน่วยหนึ่งขององค์ประกอบในลำดับของเสียงที่ใช้สื่อสารด้วยคำพูด พยางค์โดยทั่วไปเกิดขึ้นจากแกนพยางค์ (syllable nucleus) ซึ่งมักจะเป็นเสียงสระ และอาจมีเสียงขึ้นต้นและเสียงลงท้ายเป็นเสียงพยัญชนะในพยางค์ พยางค์ถูกจัดว่าเป็นส่วนประกอบของคำในการศึกษาระบบเสียงในภาษา (phonology) ซึ่งมีอิทธิพลต่อจังหวะในภาษา ฉันทลักษณ์ ลักษณะคำประพันธ์ รูปแบบการเน้นเสียง เป็นต้น คำหนึ่งคำอาจอบขึ้นจากพยางค์เพียงพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ การเขียนสัญลักษณ์แทนพยางค์เริ่มมีขึ้นเมื่อไม่กี่ร้อยปีก่อนที่จะมีการใช้ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรก สัญลักษณ์แทนพยางค์ในสมัยนั้นถูกบันทึกลงบนแผ่นจารึกเมื่อประมาณ 2,800 ปีก่อนคริสตกาลโดยชาวสุเมเรียน สิ่งนี้เป็นตัวผลักดันให้อักษรภาพที่เขียนกันมาแต่เดิมถูกเปลี่ยนเป็นการเขียนแทนพยางค์ ซึ่งเป็นก้าวหนึ่งที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของระบบการเขียน.

ใหม่!!: Ўและพยางค์ · ดูเพิ่มเติม »

กระท่อม

กระท่อม อาจหมายถึง.

ใหม่!!: Ўและกระท่อม · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาสลาวิก

ประเทศที่มกลุ่มภาษาสลาวิกใต้เป็นภาษาประจำชาติ กลุ่มภาษาสลาวิก เป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มภาษาบัลโต-สลาวิก ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน กลุ่มภาษาสลาวิกเป็นภาษาแม่ของชาวสลาฟ ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในยุโรปตะวันออกและคาบสมุทรบอลข่าน แก้ไข กลุ่มภาษาสลาวิก.

ใหม่!!: Ўและกลุ่มภาษาสลาวิก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอุซเบก

ษาอุซเบก (อักษรละติน: O'zbek tili ออซเบก ติลี; อักษรซีริลลิก: Ўзбек) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่พูดโดยชาว อุซเบกในประเทศอุซเบกิสถานและพื้นที่อื่น ๆ ในเอเชียกลาง ภาษาที่ใกล้เคียงที่สุดในเชิงคำและไวยากรณ์คือภาษาอุยกูร์ ภาษาเปอร์เซียและภาษารัสเซียได้มีอิทธิพลสำคัญต่อภาษาอุซเบก ภาษาอุซเบกเป็นภาษาราชการของประเทศอุซเบกิสถาน และมีคนพูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 18.5 ล้านคน ภาษาอุซเบกก่อนปีพ.ศ. 2535 เขียนด้วยอักษรซีริลลิก แต่ในปัจจุบีนมีการใช้อักษรละตินเขียนในประเทศอุซเบกิสถาน ส่วนชาวจีนที่พูดภาษาอุซเบกใช้อักษรอาหรับเขียน อิทธิพลของศาสนาอิสลามรวมถึงภาษาอาหรับแสดงชัดเจนในภาษาอุซเบก รวมถึงอิทธิพลของภาษารัสเซียในช่วงที่ประเทศอุซเบกิสถานอยู่ภายใต้การยึดครองของจักรวรรดิรัสเซีย และ โซเวียต คำภาษาอาหรับส่วนใหญ่ผ่านเข้ามายังภาษาอุซเบกผ่านทางภาษาเปอร์เซีย ภาษาอุซเบกแบ่งเป็นภาษาย่อย ๆ จำนวนมาก ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมากระหว่างภูมิภาค อย่างไรก็ดี มีภาษาย่อยที่เข้าใจกันทั่วไป ซึ่งใช้ในสื่อมวลชนและในสิ่งตีพิมพ์ส่วนใหญ่ นักภาษาศาสตร์บางคนถือว่าภาษาที่พูดในประเทศอัฟกานิสถานตอนเหนือโดยชาวอุซเบกพื้นเมือง เป็นภาษาย่อยของภาษาอุซเบก.

ใหม่!!: Ўและภาษาอุซเบก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเบลารุส

ภาษาเบลารุส (беларуская мова) เป็นภาษาราชการของประเทศเบลารุส และยังพูดในบางส่วนของรัสเซีย ยูเครน และโปแลนด์ จัดอยู่ในภาษากลุ่มสลาวิกซึ่งมีความคล้ายคลึงกันมาก และภาษาเบลารุสยังคงเป็นภาษาที่คล้ายกับรัสเซียมากถึงแม้ว่าจะคล้ายมาก แต่ชาวเบลารุสยังรักษาภาษาของตนให้ดำรงไว้สืบทอดต่อคนรุ่นหลาน เบลารุส หมวดหมู่:ภาษาในประเทศโปแลนด์ หมวดหมู่:ภาษาในประเทศรัสเซีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศยูเครน.

ใหม่!!: Ўและภาษาเบลารุส · ดูเพิ่มเติม »

ว (แหวน) เป็นพยัญชนะตัวที่ 37 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ล (ลิง) และก่อนหน้า ศ (ศาลา) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ว แหวน” อักษร ว เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /w/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /w/ รูปสระ ตัววอ (ว) ยังสามารถใช้เป็นสระอัว เมื่อมีพยัญชนะสะกด เช่น สวน และใช้ประสมสระอัวะ และ อัว.

ใหม่!!: Ўและว · ดูเพิ่มเติม »

วลี

วลี หรือ กลุ่มคำ เป็นการนำคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปมาเรียงต่อกันทำให้เกิดความหมายเพิ่มขึ้น มีความหมายมาจากคำเดิมที่นำมารวมมารวมกันแต่ไม่สมบูรณ์เหมือนประโยค วลีส่วนใหญ่มีคำกลางที่สำคัญหนึ่งคำที่เป็นตัวบ่งบอกถึงประเภทของวลี คำนั้นเรียกว่าเป็น "คำหลัก" ของวลี ดังนั้นเราสามารถแบ่งประเภทของวลีตามคำหลักของวลี เด็ดเจ็ดย่านน้ำ.

ใหม่!!: Ўและวลี · ดูเพิ่มเติม »

วิสกี้

ตัวอย่างวิสกี้สก็อต วิสกี้ (อังกฤษแบบสก๊อต: whisky/ อังกฤษแบบไอริช: whiskey) หมายถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลายชนิด ที่กลั่นจากธัญพืชซึ่งหมักเอาไว้ แล้วเก็บรักษาไว้ในถังไม้ (ปกติจะเป็นถังไม้โอ๊ก) เป็นเวลานานหลายปี ยกเว้นวิสกี้ที่ทำจากข้าวโพดในสหรัฐอเมริกาที่ไม่จำเป็นต้องเก็บรักษาดังกล่าว ธัญพืชที่ใช้ทำวิสกี้มีทั้ง ข้าวบาร์เลย์ ข้าวมอลต์ ข้าวไรย์ ข้าวสาลี และข้าวโพด เป็นต้น ต้นกำเนิดของวิสกี้ นักปะรวัติศาสตร์ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้เลยว่ามาจากสกอตแลนด์, ไอร์แลนด์ หรือ ตะวันออกกลาง.

ใหม่!!: Ўและวิสกี้ · ดูเพิ่มเติม »

หมาป่า

หมาป่า หรือ หมาป่าสีแดง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จัดอยู่ในวงศ์ Canidae มีสัตว์ร่วมตระกูลคือ หมาจิ้งจอก หมาใน ไคโยตี ไฮยีน่าและดิงโก หมาป่าจัดอยู่ในสัตว์ประเภทกินเนื้อที่มีนิสัยค่อนข้างดุร้าย ปราดเปรียว เฉลียวฉลาด มีการออกล่าเป็นทีม มีความอดทนรวมทั้งมีความกล้าหาญและความสามารถในการต่อสู้อย่างดีเยี่ยม หมาป่าอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจายในแถบทวีปยุโรปในอดีตมีถึง 32สายพัน.

ใหม่!!: Ўและหมาป่า · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: Ўและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรซีริลลิก

ประเทศที่ใช้อักษรซีริลลิก อักษรซีริลลิก หรือ อักษรซิริลลิก (Cyrillic script) เป็นตัวอักษรที่ใช้เป็นตัวเขียนสำหรับภาษาในกลุ่มภาษาสลาวิกนอกจากนี้ยังใช้เป็นตัวเขียนสำหรับภาษาในอีกหลายประเทศ แต่ไม่มีอักษรซีริลลิกทุกตัวกับภาษาใด ขึ้นอยู่กับการเขียนในภาษานั้น ในกลุ่มประเทศที่ใช้อักษรซีริลลิกด้วยกันเอง จะไม่เรียก ซีริล แต่จะออกเสียงว่า คีริล แทน เช่น ในภาษารัสเซียเรียกอักษรซีริลลิกว่า Кириллица คีริลลิซ.

ใหม่!!: Ўและอักษรซีริลลิก · ดูเพิ่มเติม »

ไวยากรณ์

วยากรณ์ (Grammar) คือ การศึกษากฎเกณฑ์ของภาษา ซึ่งรวมถึง เสียง คำศัพท์ ประโยค และส่วนประกอบอื่นๆ เช่น การประสมคำ และการตีความ คำว่าไวยากรณ์ยังหมายถึงคุณลักษณะเชิงนามธรรมของตำราที่นำเสนอกฎเหล่านี้ด้วย สำหรับคำว่า หลักภาษา แม้จะมีความหมายเดียวกันกับคำวำไวยากรณ์ แต่จะใช้เรียกกับภาษาไทยและภาษาไทยใต้เท่านั้น การศึกษาทฤษฎีทางไวยากรณ์เป็นที่สนใจของนักปรัชญา, นักมานุษยวิทยา นักจิตวิทยา และนักวิเคราะห์ทางวรรณกรรมมาหลายศตวรรษ ทุกวันนี้ ไวยากรณ์เป็นสาขาหนึ่งในวิชาภาษาศาสตร์ แต่ยังคงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสาขาอื่นๆ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว พัฒนาการของทฤษฎีไวยากรณ์นั้นมีผลเพียงเล็กน้อยแต่ตัวเนื้อหาของไวยากรณ์ในสถานศึกษาทั่วไป สำหรับคนส่วนใหญ่ มักจะเข้าใจว่าไวยากรณ์หมายถึงกฎที่เราจะต้องทราบ เพื่อจะพูด หรือ เขียนได้อย่างถูกต้อง.

ใหม่!!: Ўและไวยากรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

У

U (У, у) เป็นอักษรซีริลลิกตัวหนึ่ง ใช้แทนเสียงสระ // (อู) เมื่อสะกดตามหลังพยัญชนะเสียงหนัก เมื่อเริ่มแรกนั้น อักษรนี้เป็นรูปย่อของอักษร Uk (Ѹ, ѹ) ที่มีใช้ในภาษาสลาวิกตะวันออกยุคเก่า และมีพัฒนาการมาจากทวิอักษรของอักษรกรีก ου (โอไมครอน-อิปไซลอน) อีกทีหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดออกเสียง // เหมือนกัน และในช่วงเดียวกันนั้นก็ได้รับเอาอักษรกรีก อิปไซลอน เข้ามาใช้เป็นอักษรซีริลลิกอีกรูปหนึ่งคือ Izhitsa (Ѵ, ѵ) ทำให้เกิดความกำกวมในอักขรวิธีระหว่างอักษรทั้งสอง จึงมีการยกเลิกอักษร Izhitsa โดยการปฏิรูปอักขรวิธีใน ค.ศ. 1917-1919.

ใหม่!!: ЎและУ · ดูเพิ่มเติม »

В

Ve (В, в) เป็นอักษรตัวที่ 3 ในอักษรซีริลลิก อ่านได้เป็นเสียง // และมีรูปร่างเหมือนอักษรละติน B แต่ออกเสียงต่างกัน อักษรตัวนี้และ Б มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก บีตา ซึ่งมีการใช้แทนเสียง // ของภาษากรีกในเวลาใกล้เคียงกับสมัยที่อักษรซีริลลิกถูกสร้างขึ้น ชื่อเดิมของอักษรตัวนี้คือ vědě และมีค่าตัวเลขเท่ากับ 2 ในระบบเลขซีริลลิก ในภาษารัสเซีย อักษรตัวนี้ออกเสียงเหมือน // เหมือนภาษาอังกฤษ ยกเว้นเมื่ออักษรตัวนี้ปรากฏท้ายคำจะเป็น // ที่ไร้เสียง หรืออ่านเป็น // ก่อนเสียงสระซึ่งเลื่อนไปทางเพดานแข็ง ในการออกเสียงภาษายูเครนแบบมาตรฐาน (ซึ่งมีสำเนียงโพลทาวาเป็นฐาน) อักษร В จะออกเสียงเป็น // ในภาษาอังกฤษ (เหมือนมี ว สะกด) เมื่ออยู่ที่ท้ายคำ เช่น Владислав แปลงเป็นอักษรละตินจะได้ Vladyslaw อ่านว่า วลาดีสลาว แต่สำหรับชาวยูเครนกลุ่มหนึ่ง จะออกเสียงอักษรนี้เป็น // เสมอไม่ว่าจะปรากฏอยู่ที่ใด ในภาคตะวันออกของประเทศยูเครน อักษร В อาจจะถูกอ่านเป็น // ที่ไร้เสียงให้คล้ายกับภาษารัสเซีย ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ยกตัวอย่างคำว่า сказав ภาษายูเครนมาตรฐานจะอ่านว่า skazaw สคาซาว ในขณะที่ภาคตะวันออกจะอ่านว่า skazaf สคาซาฟ ในภาษาเบลารุส อักษร В จะออกเสียงเป็น // เท่านั้น แต่เมื่ออักษรตัวนี้ไปปรากฏอยู่ท้ายคำหรือหน้าพยัญชนะอีกตัวจะเปลี่ยนรูปเป็นอักษร Ў ซึ่งเป็นอักษรที่มีใช้ในภาษานี้เท่านั้นที่แทนเสียง // ตัวอย่าง คำศัพท์ мова (mova โมวา) ที่เป็นคำนาม เมื่อเปลี่ยนรูปไปเป็นคำคุณศัพท์จะกลายเป็น моўный (mownyy โมวนืยอี) และคำนามที่เป็นพหูพจน์จะกลายเป็น моў (mow โมว).

ใหม่!!: ЎและВ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Short UU Nieskładovaje

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »