โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

Ã

ดัชนี Ã

ตัวอักษร Ã (ตัวเล็ก: ã) เป็นรูปแบบตัวหนึ่งของอักษรละติน A ที่มีทิลเดอ อยู่ด้านบน ที่ใช้ในภาษาโปรตุเกสและภาษาเวียดนามในวรรณยุกต.

9 ความสัมพันธ์: AĨภาษาโปรตุเกสภาษาเวียดนามอักษรละตินÑĂÅ

A

A (ตัวใหญ่: A, ตัวเล็ก: a) คืออักษรและสระตัวแรกในอักษรละติน มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า เอ ในขณะที่หลายภาษาเช่น ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี เรียกตามชื่อเดิมของอักษรนี้คือ อา รูปพหูพจน์เขียนเป็น A's, As, as, หรือ a's อักษร A มีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณโดยมีหลักฐานในอักษรภาพไฮโรกลิฟฟิก และมีการหยิบยืมไปใช้โดยวัฒนธรรมอื่นจนกระทั่งปัจจุบัน โดยยังคงไว้ซึ่งจุดเด่นนั่นคือ A เป็นตัวอักษรแรกของชุดตัวอักษรในภาษาเสมอ ใช้แทนเสียงสระ อา เอ หรือ แอ ที่ประกอบกับเสียงพยัญชนะ หรือใช้แทนเสียงสระอย่างเดียวก็ได้ นอกจากนั้นอักษร A ก็มีการเติมเครื่องหมายและถูกดัดแปลงไปหลายรูปแบบเพื่อการนำไปใช้เป็นอักขรวิธีในภาษาหนึ่ง.

ใหม่!!: ÃและA · ดูเพิ่มเติม »

Ĩ

ตัวอักษร Ĩ (ตัวเล็ก: ĩ) เป็นรูปแบบหนึ่งของอักษรละติน I ที่มีทิลเดอ (tilde) อยู่ด้านบน โดยถูกใช้ในภาษาเวียดนามการเขียนใส่วรรณยุกต.

ใหม่!!: ÃและĨ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโปรตุเกส

ษาโปรตุเกส (português ปุรตุเกฌ) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ที่พูดในประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศโปรตุเกส ประเทศบราซิล ประเทศแองโกลา ประเทศโมซัมบิก และประเทศติมอร์-เลสเต ภาษาโปรตุเกสมีคนพูดเป็นภาษาแม่มากกว่า 200 ล้านคน ทำให้เป็นหนึ่งในไม่กี่ภาษาที่พูดทั่วโลก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากเป็นอันดับ 5 หรือ 6 ของโลกปัจจุบัน ภาษาโปรตุเกสถูกขนานนามว่า A língua de Camões อาลิงกวาดึกามอยช์ ("ภาษาของกามอยช์" ตามชื่อลูอิช ดึ กามอยช์ ผู้ประพันธ์ The Lusiad: ลูเซียด) และ A última flor do Lácio อาอุลตีมาโฟลร์ดูลาซีอู ("ดอกไม้ดอกสุดท้ายของละติอุม") คนที่พูดภาษาโปรตุเกสเรียกว่า ลูซิตานิก: Lusitanic หรือ ลูโซโฟน: Lusophones.

ใหม่!!: Ãและภาษาโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเวียดนาม

ษาเวียดนาม (tiếng Việt เตี๊ยงเหฺวียด, tiếng Việt Nam, Việt ngữ) เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์และเป็นภาษาทางการของประเทศเวียดนาม เป็นภาษาแม่ของประชากรเวียดนามถึงร้อยละ 87 รวมถึงผู้อพยพจากเวียดนามประมาณ 2 ล้านคน และรวมถึงชาวเวียดนาม-อเมริกันเป็นจำนวนพอสมควรด้วย ถึงแม้ว่าจะมีการยืมคำศัพท์จากภาษาจีนและเดิมใช้อักษรจีนเขียน แต่นักภาษาศาสตร์ยังคงจัดภาษาเวียดนามให้เป็นภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติกซึ่งในกลุ่มนี้ภาษาเวียดนามมีผู้พูดมากที่สุด (10 เท่าของภาษาที่มีจำนวนคนพูดเป็นอันดับรองลงมา คือ ภาษาเขมร) ในด้านระบบการเขียนของภาษาเวียดนามนั้น แต่เดิมใช้ตัวเขียนจีน เรียกว่า "จื๋อญอ" ต่อมาชาวเวียดนามได้พัฒนาตัวเขียนจีนเพื่อใช้เขียนภาษาเวียดนาม เรียกว่า "จื๋อโนม" แต่ในปัจจุบันเวียดนามใช้ตัวอักษรโรมันที่พัฒนาขึ้นโดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศส โดยเครื่องหมายเสริมสัทอักษรใช้เป็นวรรณยุกต.

ใหม่!!: Ãและภาษาเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: Ãและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

ตัวอักษร Ẽ (ตัวเล็ก: ẽ) เป็นรูปแบบหนึ่งของอักษรละติน E ที่มีทิลเดอ อยู่ด้านบน โดยถูกใช้ในบริบทที่หลากหลายในสัทอักษรสากล.

ใหม่!!: ÃและẼ · ดูเพิ่มเติม »

Ñ

ตัวอักษรเอเลบนแป้นพิมพ์ภาษาสเปน Ñ (ตัวใหญ่: Ñ, ตัวเล็ก: ñ) เป็นตัวอักษรละตินยุคใหม่ซึ่งเกิดจากการใส่เครื่องหมายทิลเดบนตัวอักษร N ตัว Ñ ได้รับการจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของชุดตัวอักษรภาษาสเปนอย่างเป็นทางการในพุทธศตวรรษที่ 23 แต่ก็มีการใช้ในภาษากาลิเซีย, ภาษาอัสตูเรียส, ภาษาบาสก์, ภาษาอารากอน, ภาษาชาบากาโน, ภาษาฟิลิปีโน, ภาษาเกชัว และภาษาเตตุม รวมไปถึงในการถอดอักษรกลุ่มภาษาโตคาเรียนและภาษาสันสกฤตเป็นอักษรละติน โดยแทนเสียงนาสิก เพดานแข็ง  แต่ในภาษาตาตาร์ไครเมียใช้แทนเสียงนาสิก เพดานอ่อน ส่วนในภาษาเบรอตงและภาษาโรฮีนจา ตัวอักษรนี้เป็นตัวบ่งชี้ว่าสระที่อยู่ข้างหน้าออกเสียงเป็นสระนาสิก Ñ แตกต่างกับตัวอักษรอื่น ๆ ที่มีเครื่องหมายเสริมสัทอักษรกำกับ (เช่น Ü ในภาษาสเปน, ภาษากาลิเซีย, ภาษาอัสตูเรียส และภาษาเลออน) ตรงที่มันมีฐานะเป็นตัวอักษรต่างหากตัวหนึ่งในภาษาเหล่านั้น (ยกเว้นภาษาเบรอตง) โดยมีชื่อเรียกเป็นของตัวเอง (ภาษาสเปนเรียก "เอเญ", eñe) และมีตำแหน่งเป็นของตัวเองในชุดตัวอักษร (ต่อจาก N) จากมุมมองนี้ ความเป็นเอกเทศของตัว Ñ จึงคล้ายคลึงกับตัว W ในภาษาอังกฤษ (ซึ่งมาจากการเขียนตัว V ติดกันในอดีต เหมือนกับตัว Ñ ซึ่งมาจากการเขียนตัว N ติดกัน).

ใหม่!!: ÃและÑ · ดูเพิ่มเติม »

Ă

ตัวอักษร Ă (ตัวเล็ก: ă) เป็นตัวอักษรที่ใช้ภาษาโรมาเนียและภาษาเวียดนามโดยเฉพาะอักษรดังกล่าวก็คืออักษร A ที่มีบรีฟอยู่ด้านบน รูปร่างของหูถ้วยกาแฟได้นำไปใช้ สำหรับผู้ที่ต้องการใส่วรรณยุกต์ของภาษาเวียดนาม.

ใหม่!!: ÃและĂ · ดูเพิ่มเติม »

Å

right Å เป็นตัวอักษรที่พบได้ในหลาย ๆ ภาษา โดยเฉพาะภาษากลุ่มเจอร์แมนิก อักษรดังกล่าวก็คืออักษร A ที่มีห่วงอยู่ด้านบน โดยจะใช้แทนเสียงที่แตกต่างไปจากเสียง a ในภาษานั้น ๆ หมวดหมู่:อักษรละติน.

ใหม่!!: ÃและÅ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »