โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไฮโดรคาร์บอน

ดัชนี ไฮโดรคาร์บอน

ในเคมีอินทรีย์ ไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbon) เป็นสารประกอบอินทรีย์ซึ่งประกอบขึ้นจากไฮโดรเจนและคาร์บอนทั้งหมด ไฮโดรคาร์บอนที่อะตอมไฮโดรเจนหนึ่งอะตอมถูกนำออกเป็นหมู่ฟังก์ชัน เรียก ไฮโดรคาร์บิล ไฮโดรคาร์บอนชนิดต่าง ๆ เช่น อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (อะรีน) อัลเคน อัลคีน ไซโคลอัลเคนและอัลไคน์ ไฮโดรคาร์บอนส่วนใหญ่ที่พบบนโลกเกิดตามธรรมชาติในน้ำมันดิบ ซึ่งสสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายให้คาร์บอนและไฮโดรเจนปริมาณมากซึ่งเมื่อสร้างพันธะสามารถเรียงต่อกันเพื่อสร้างสายที่ดูไม่มีที่สิ้น.

61 ความสัมพันธ์: บีตา-แคโรทีนพอลิสไตรีนพิธีสารมอนทรีออลการย่อยสลายทางชีวภาพการป่าไม้ในเมืองภาษีคาร์บอนมลพิษทางอากาศมลพิษทางดินมีเทนยางสังเคราะห์ยางซิลิโคนยางไม้วิทริไนต์สารละลายสารประกอบแอลิแฟติกสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังสเปรย์ละอองลอยหอกลั่นอุปกรณ์ไฟฟ้าในพื้นที่อันตรายผงซักฟอกจุดผลิตน้ำมันสูงสุดขี้ผึ้งดาวบริวารของดาวเสาร์ดาวหางคลอโรฟิลล์ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลกคาร์บอนคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังตัวรับรู้สารเคมีตัวหน่วงนิวตรอนซักแห้งปฏิกิริยารีดอกซ์ปิโตรเลียมปิโตรเคมีน้ำมันก๊าดน้ำมันสนน้ำตกอิเทอร์นัลเฟลมแก๊สธรรมชาติแก๊สเชี้อเพลิงแก๊สเรือนกระจกแอลคีนแอลไคน์แอลเคนแซนโทฟิลล์โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนโทรูลีนไดเทอร์พีนไตรเทอร์พีนไนเตรตเชื้อเพลิง...เชื้อเพลิงชีวภาพเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์เภสัชเวทเลกวิวกัชเชอร์เอนเซลาดัสเคมีอินทรีย์เครื่องฟอกไอเสียเชิงเร่งปฏิกิริยาเคโรเจนเนินพุโคลนSudan III90377 เซดนา ขยายดัชนี (11 มากกว่า) »

บีตา-แคโรทีน

ีตา-แคโรทีน (β-carotene) เป็นรงควัตถุสีแดง-ส้มเข้มที่พบมากในพืชและผลไม้ เป็นสารประกอบอินทรีย์และในทางเคมีจัดเป็นไฮโดรคาร์บอน หรือให้เจาะจงคือ เทอร์พีนอยด์ (ไอโซพรีนอยด์) ซึ่งสะท้อนว่ามาจากหน่วยไอโซพรีน เบต้าแคโรทีนชีวสังเคราะห์จากเจรานิลเจรานิลไพโรฟอสเฟต (geranylgeranyl pyrophosphate) บีตา-แคโรทีนอยู่ในกลุ่มแคโรทีน ซึ่งเป็นเตตระเทอร์พีน ซึ่งสังเคราะห์ทางชีวเคมีจากแปดหน่วยไอโซพรีนและมี 40 คาร์บอน บีตา-แคโรทีนแตกต่างจากแคโรทีนชนิดอื่น คือ มีวงแหวนบีตาที่ทั้งสองปลายของโมเลกุล การดูดซึมบีตา-แคโรทีนเพิ่มขึ้นหากรับประทานกับไขมัน เพราะแคโรทีนละลายในไขมัน สำหรับขนาดรับประทานของวิตามินเอเพื่อรักษาสุขภาพโดยทั่วไปคือ 5,000 หน่วยสากล (IU) ซึ่งเทียบเท่ากับเบต้าแคโรทีน 3 มิลลิกรัม และสำหรับปริมาณที่สมเหตุสมผลของบีตา-แคโรทีนที่แนะนำให้รับประทานต่อวันเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงคือ 15 มิลลิกรัม ในขณะที่การรับประทานเพื่อหวังผลในรักษาจะต้องได้รับในปริมาณมากกว่านี้.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและบีตา-แคโรทีน · ดูเพิ่มเติม »

พอลิสไตรีน

อลิสไตรีน (Polystyrene, PS) เป็นพลาสติกที่ผลิตขึ้นมาจากสไตรีนมอนอเมอร์ ซึ่งเป็นสารไฮโดรคาร์บอนที่ได้จากปิโตรเลียม ถูกผลิตออกขายครั้งแรกในช่วงปี 1930 - 1939 ช่วงแรกสไตรีนที่ผลิตขึ้นมาถูกนำไปใช้ในสงครามโลก ครั้งที่ 2 เป็นหลัก หลังจากสงครามจบลงจึงเปลี่ยนมาผลิตเป็นพลาสติกพอลิสไตรีนออกขายแทน ในการผลิตพอลิสไตรีนยังมีวัตถุดิบอื่น ๆ ที่ใช้ร่วมด้วยได้แก่ เบนซีน เอทิลีน และบิวทาไดอีน พอลิสไตรีนเป็นพลาสติกชนิดเทอร์โมพลาสติก คือหลอมเป็นของเหลวได้ โดยที่อุณหภูมิห้องจะอยู่ในสถานะของแข็ง แต่จะหลอมละลายเมื่อทำให้ร้อนและแข็งตัวเมื่อเย็นลง พอลิสไตรีนแข็งที่บริสุทธิ์จะไม่มีสี ใส แต่สามารถทำเป็นสีต่าง ๆได้ และยืดหยุ่นได้จำกัด พอลิสไตรีนที่ใช้กันอยู่ทั่วไปส่วนใหญ่เป็นชนิดที่เรียกว่า expanded polystyrene (EPS) เป็นชนิดที่ได้จากการผสมพอลิสไตรีนร้อยละ 90-95 กับสารทำให้ขยายตัว (ที่ใช้กันมากคือเพนเทนหรือคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อก่อนใช้ ซีเอฟซี ซึ่งเป็นสารทำลายชั้นโอโซน) ร้อยละ 5-10 พลาสติกที่เป็นของแข็งถูกทำให้เป็นโฟมโดยการใช้ความร้อน (มักเป็นไอน้ำ) พอลิสไตรีนอีกชนิดหนึ่งคือ Extruded polystyrene (XPS) มีชื่อทางการค้าที่แพร่หลายคือ Styrofoam เป็นชนิดที่มีการเติมอากาศไว้ในช่องว่างตามเนื้อโฟมทำให้มีค่าการนำความร้อนต่ำ ใช้ในงานก่อสร้าง และใช้เป็นฉนวนกันความร้อนในอาคาร และยังมีชนิดที่เป็นแผ่นเรียกว่า Polystyrene Paper Foam (PSP) ใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหาร เช่นกล่องหรือถาดใส่อาหาร กระบวนการผลิตพอลิสไตรีนปลดปล่อยสารพิษอะไรบ้าง สารพิษที่ปลดปล่อยออกมาในระหว่างการผลิตพอลิสไตรีนได้แก.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและพอลิสไตรีน · ดูเพิ่มเติม »

พิธีสารมอนทรีออล

ีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน (Montreal Protocol on Substances That Deplete the Ozone Layer) คือสนธิสัญญาสากลที่กำหนดขึ้นเพื่อควบคุม, ยับยั้ง, และรณรงค์ให้ลดการผลิตและการใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน เพื่อรักษาชั้นบรรยากาศโอโซนที่เริ่มจะสูญสลายไปเนื่องจากสารเหล่านี้ โดยพิธีสารได้เปิดให้ประเทศต่างๆ ลงนามเป็นประเทศภาคีสมาชิกในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2530 (1987) และเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2532 (1989) เป็นต้นมา ตั้งแต่นั้นมา ได้มีการแก้ไขปรับปรุงพิธีสาร 5 ครั้งด้วยกัน ครั้งแรก ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่อ พ.ศ. 2533 (1990), ครั้งที่สอง ณ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เมื่อ พ.ศ. 2535 (1992), ครั้งที่สาม ณ กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย เมื่อ พ.ศ. 2538 (1995), ครั้งที่สี่ ณ เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา เมื่อ พ.ศ. 2540 (1997) และครั้งที่ห้า ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อ พ.ศ. 2542 (1999) เนื่องจากมีการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งได้รับเสียงสนับสนุนและชื่นชมจากนานาประเทศและหลาย ๆ องค์กร พิธีสารมอนทรีออลจึงได้รับการยกย่องให้เป็นตัวอย่างการร่วมมือกันระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหาในระดับนานาชาต.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและพิธีสารมอนทรีออล · ดูเพิ่มเติม »

การย่อยสลายทางชีวภาพ

ราเมือกสีเหลืองเจริญเติบโตในถังขยะกระดาษเปียก การย่อยสลายทางชีวภาพ (biodegradation) หรือการสลายตัวทางชีวภาพ คือสารเคมีที่สลายตัวของวัสดุจากเชื้อแบคทีเรียหรือทางชีวภาพอื่นๆ โดยมีความสัมพันธ์กับระบบนิเวศ การจัดการขยะ ชีวการแพทย์ และสภาพแวดล้อมทางชีวภาพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สามารถย่อยสลายกลับไปเป็นธาตุตามธรรมชาติ สารอินทรีย์จะถูกย่อยสลายด้วยออกซิเจน หรือไม่ใช้ออกซิเจน การย่อยสลายทางชีวภาพคือกระบวนการที่นำสารอินทรีย์มาทำปฏิกิริยากับสารอนินทรีย์ ทำให้ย่อยสลายได้ ซึ่งอินทรียวัตถุจะเปลี่ยนเป็นแร่ธาตุ สารลดแรงตึงผิวซึ่งจะหลั่งออกมายังผิวด้านนอกโดยการทำงานของเซลล์จุลินทรีย์ เพื่อเพิ่มกระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพ นวัตกรรมวิธีการที่สำคัญในการย่อยสลายของจุลินทรีย์ได้เปิดเผยรายละเอียดด้านข้อมูลทางพันธุกรรม การศึกษาสารพันธุกรรมทั้งหมดของจุลินทรีย์ การศึกษาด้านโปรตีนทั้งหมดที่มีในรหัสพันธุกรรม ชีวสารสนเทศ การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมของจุลินทรีย์ระดับสูง เพื่อนำไปสู่กระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพ และความสามารถของจุลินทรีย์เพื่อปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ผลิตภัณฑ์ที่มีสารย่อยสลายชีวภาพได้ และสารย่อยสลายทางชีวภาพไม่ได้ ในการตลาดมักบอกว่าสลายได้ทางชีวภาพได้.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและการย่อยสลายทางชีวภาพ · ดูเพิ่มเติม »

การป่าไม้ในเมือง

การป่าไม้ในเมือง (urban forestry) หมายถึงการดูแลและจัดการต้นไม้ใหญ่ (trees) ทั้งหลายที่ขึ้นอยู่ในเขตเมืองเพื่อเป็นการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมในเมืองให้ดีขึ้น การป่าไม้ในเมืองเป็นสิ่งสนุบสนุนบทบาทของต้นไม้ในฐานะเป็นองค์ประกอบหลักของโครงสร้างพื้นฐานของเมือง นักการป่าไม้ในเมืองทำหน้าที่ปลูกและดูแลรักษาต้นไม้ใหญ่ ใหการสนับสนุนการอนุรักษ์ต้นไม้และป่า ส่งเสริมให้มีการวิจัยและแสดงให้สาธารณชนเล็งเป็นคุณประโยชน์ของต้นไม้ที่มีอยู่มากมายแก่มนุษย์ การป่าไม้ในเมืองปฏิบัติโดยรุกขกร (arborist) ของเทศบาลหรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและโดยรุกขกรภาคเอกชน รวมทั้งรุกขกรสาธารณูปโภค (utility arborists) นอกจากนี้ยังมีผู้เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการรุกขกรรมหรือการป่าไม้ในเมืองอีกหลายฝ่ายได้แก่ ผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านสิ่งแวดล้อม นักผังเมือง ที่ปรึกษา นักการศึกษา นักวิจัยและนักรณรงค์ในชุมชน.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและการป่าไม้ในเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษีคาร์บอน

ษีคาร์บอน (carbon tax) เป็นภาษีสิ่งแวดล้อมที่จัดเก็บเนื่องจากคาร์บอนที่เป็นส่วนประกอบของเชื้อเพลิง อะตอมของคาร์บอนจะประกอบอยู่ในเชื้อเพลิงฟอสซิล (ถ่านหิน ปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ) และเมื่อถูกเผาไหม้จะปล่อยออกมาในรูปแบบของคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เปรียบต่างกับพลังงานในรูปแบบอื่นเช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ และ พลังงานนิวเคลียร์ ที่ไม่ได้เปลี่ยนไฮโดรคาร์บอนกลายมาเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ ในทางเศรษฐกิจและนโยบาย ภาษีคาร์บอนได้เพิ่มการแข่งขันเพื่อช่วยพลังงานทางเลือกประเภทอื่น.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและภาษีคาร์บอน · ดูเพิ่มเติม »

มลพิษทางอากาศ

มลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์แห่งหนึ่ง มลพิษทางอากาศ (Air pollution) คือการเกิดฝุ่นละออง โมเลกุลชีวภาพ หรือวัตถุอันตรายชนิดอื่น ๆ ในชั้นบรรยากาศของโลก เป็นสาเหตุของโรค การเสียชีวิตในมนุษย์ และทำลายสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เช่น พืชพันธุ์ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง ชั้นบรรยากาศเป็นระบบแก๊สธรรมชาติที่ซับซ้อนที่จำเป็นต่อชีวิตบนโลก การลดลงของโอโซนในชั้นสตราโทสเฟียร์เนื่องจากมลพิษทางอากาศถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของมนุษย์ รวมถึงระบบนิเวศของโลกด้วย มลพิษทางอากาศภายในอาคาร และคุณภาพของอากาศในเมืองจัดเป็นปัญหามลพิษโลก 2 ปัญหาที่เลวร้ายที่สุด จากรายงานชื่อ สถานที่ที่ประสบมลพิษมากที่สุดในโลก (World's Worst Polluted Places) ของสถาบันแบล็กสมิธ (Blacksmith Institute) ในปี..

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและมลพิษทางอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

มลพิษทางดิน

ลหะหนักเป็นสาเหตุให้เกิดการปนเปื้อนในดิน มลพิษทางดิน หรือการปนเปื้อนดิน (soil pollution) เกิดจากการมีสารเคมีที่มนุษย์สร้างหรือการเปลี่ยนแปลงอื่นในสิ่งแวดล้อมดินธรรมชาติ ตรงแบบเกิดจากกิจกรรมอุตสาหกรรม สารเคมีเกษตรกรรมหรือการกำจัดของเสียอย่างไม่เหมาะสม สารเคมีที่เกี่ยวข้องมากที่สุด คือ ไฮโดรคาร์บอนปิโตรเลียม พอลินิวเคลียร์อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (เช่น แนฟทาลีนและเบนโซไพโรซีน) ตัวทำละลาย ยาฆ่าแมลง ตะกั่วและโลหะหนักอื่น การปนเปื้อนสัมพันธ์กับระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมและระดับการใช้สารเคมี.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและมลพิษทางดิน · ดูเพิ่มเติม »

มีเทน

มีเทน (Methane) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนพวกแอลเคน สูตรเคมี คือ CH4 เป็นแก๊สไม่มีสี ติดไฟได้ เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของแก๊สธรรมชาติ แก๊สมีเทนอาจได้มาจากการหมักมูลสัตว์และนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงราคาถูก ก๊าซมีเทนอาจพบได้ในชั้นถ่านหิน (Coal Bed Methane) โดยจากกระบวนการเกิดถ่านหินทำให้ก๊าซสะสมตัวและกักเก็บอยู่ในช่องว่างในเนื้อถ่านหิน.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและมีเทน · ดูเพิ่มเติม »

ยางสังเคราะห์

งสังเคราะห์ได้มีการผลิตมานานแล้ว ตั้งแต่ ค.ศ. 1940 ซึ่งสาเหตุที่ทำให้มีการผลิตยางสังเคราะห์ขึ้นในอดีต เนื่องจากการขาดแคลนยางธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์และปัญหาในการขนส่งจากแหล่งผลิตในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบันได้มีการพัฒนาการผลิตยางสังเคราะห์เพื่อให้ได้ยางที่มีคุณสมบัติตามต้องการในการใช้งานที่สภาวะต่าง ๆ เช่น ที่สภาวะทนต่อน้ำมัน ทนความร้อน ทนความเย็น เป็นต้น การใช้งานยางสังเคราะห์จะแบ่งตามการใช้งานออกเป็น 2 ประเภทคือพงษ์ธร แซ่อุย, ยาง: ชนิด สมบัติ และการใช้งาน, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค), 2547บุญธรรม นิธิอุทัย, ยางธรรมชาติ ยางสังเคราะห์และคุณสมบัติ, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2530, หน้า 1, 3.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและยางสังเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ยางซิลิโคน

งซิลิโคน (silicone rubber) เป็นวัสดุซิลิโคนที่มีลักษณะคล้ายยางสังเคราะห์ที่ใช้งานเฉพาะอย่างและราคาสูง เป็นได้ทั้งสารอินทรีย์และอนินทรีย์ เนื่องจากโมเลกุลมีโครงสร้างของสายโซ่หลักประกอบด้วย ซิลิกอน (Si) กับออกซิเจน (O) และมีหมู่ข้างเคียงเป็นสารพวกไฮโดรคาร์บอน ซึ่งต่างจากพอลิเมอร์ชนิดอื่น ๆ ทำให้ยางซิลิโคน ทนทานต่อความร้อนได้สูง และยังสามารถออกสูตรยางให้ทนทานความร้อนได้สูงประมาณ 300°C ยางซิลิโคนมีช่องว่างระหว่างโมเลกุลที่สูงและมีความทนทานต่อแรงดึงต่ำ เนื่องจากมีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลต่ำมาก.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและยางซิลิโคน · ดูเพิ่มเติม »

ยางไม้

แมลงถูกขังในยางไม้ ''Protium Sp.” ยางไม้ (resin) เป็นไฮโดรคาร์บอนซึ่งคัดหลั่งจากไม้หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงศ์สนเขา (Pinaceae) คุณค่าของยางไม้อยู่ที่คุณสมบัติทางเคมีและประโยชน์อย่างอื่น ๆ เช่น ใช้ทำน้ำมันชักเงา กาว และสารเคลือบอาหาร ยางไม้ยังเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญสำหรับการสังเคราะห์สารอินทรีย์ (organic synthesis) และส่วนประกอบของเครื่องหอมธูปเทียนต่าง ๆ ไม้ซึ่งให้ยางมีความเป็นมายาวนานดังที่ทีโอแฟรสตัส (Theophrastus) บันทึกไว้ในสมัยกรีกโบราณ และพลินิผู้อาวุโส (Pliny the Elder) บันทึกไว้ในสมัยโรมโบราณ นอกจากนี้ ยางไม้ประเภทกำยาน (frankincense) และมดยอบ (myrrh) ยังเป็นของล้ำค่าในสมัยอียิปต์โบราณด้ว.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและยางไม้ · ดูเพิ่มเติม »

วิทริไนต์

วิทริไนต์ (Vitrinite) เป็นส่วนประกอบหลักของถ่านหิน ที่พบอยู่ในสารเคอโรเจน ที่จริงแล้ว Vitrinite คือ maceral หรือสารอินทรีย์ที่ได้มาจากเปลือกไม้ของพืชหรือกิ่งไม้ที่ตกสะสมกลายเป็นถ่านหิน จึงมีองค์ประกอบทางเคมีเป็นพวกพอลิเมอร์, เซลลูโลส และลิกนิน พบอยู่ในถ่านหิน คล้ายกับแร่ประกอบหินนั่นเอง สังเกตได้จากความวาวของถ่านหิน.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและวิทริไนต์ · ดูเพิ่มเติม »

สารละลาย

รละลายเกลือแกงในน้ำ ในทางเคมี สารละลาย (solution) คือสารผสมที่เป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งมีสสารหนึ่งชนิดหรือมากกว่าเป็นตัวละลาย ละลายอยู่ในสารอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นตัวทำละลาย ตัวอย่างเช่น ไม่เพียงแต่ของแข็งที่สามารถละลายในของเหลว เหมือนเกลือหรือน้ำตาลที่ละลายในน้ำ (หรือแม้แต่ทองคำที่ละลายในปรอทแล้วเกิดเป็นอะมัลกัม (amalgam)) แต่ก๊าซก็สามารถละลายในของเหลวได้ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์หรือออกซิเจนสามารถละลายในน้ำได้.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและสารละลาย · ดูเพิ่มเติม »

สารประกอบแอลิแฟติก

รประกอบแอลิแฟติก (Aliphatic Compound IPA:; G. aleiphar, fat, oil) คือสารประกอบในศาสตร์เคมีอินทรีย์ที่ประกอบด้วยคาร์บอนและไฮโดรเจน (สารประกอบไฮโดรคาร์บอน) ประเภทที่ไม่มีวงอโรมาติก สารประกอบแอลิแฟติกสามารถประกอบด้วยวง (cyclic) ดั่งไซโคลเฮกเซนหรืออไซคลิก สารประกอบอาจอยู่ในรูปอิ่มตัว เช่น เฮกเซนหรือไม่อิ่มตัว เช่น เฮกซีน ก็ได้ ในสารประกอบแอลิแฟติก อะตอมของคาร์บอนจะสร้างพันธะแก่กันอาจอยู่ในแบบโซ่ตรง (straight chains), โซ่กิ่ง (branched chains), หรือไม่เป็นวงอโรมาติกก็ได้ (อลิไซคลิก) และอาจสร้างพันธะเดี่ยว (แอลเคน), พันธะคู่ (แอลคีน) หรือพันธะสาม (แอลไคน์) นอกเหนือจากไฮโดรเจนนั้น ยังมีอะตอมของธาตุอื่นๆสามารถสร้างพันธะกับคาร์บอนได้ โดยส่วนมากจะได้แก่อะตอมของออกซิเจน, ไนโตรเจน ซัลเฟอร์ และโคลรีน สารประกอบแอลิแฟติกอย่างง่ายที่สุดคือมีเทน (CH4) อลิฟาติยังรวมไปถึงสารจำพวกแอลเคน อาทิ พาราฟิน ไฮโดรคาร์บอน, แอลคีน อาทิ เอทิลีน และแอลไคน์ เช่น อะเซทิลีน กรดไขมัน ซึ่งจะประกอบด้วยแอลิแฟติกแบบไม่มีกิ่งต่อเข้ากับหมู่คาร์บอกซิล.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและสารประกอบแอลิแฟติก · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ก่อตั้งด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาลญี่ปุ่น โดยเน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งอยู่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง · ดูเพิ่มเติม »

สเปรย์ละอองลอย

ทธิบัตร สเปรย์ละอองลอย หรือที่เรียกกันติดปากว่า กระป๋องสเปรย์ สเปรย์ละอองลอย หมายถึง กระป๋อง หรือสิ่งที่ออกมาจากกระป๋อง ซึ่งฉีดสารที่มีสภาพเป็น ละอองลอย ในภาษาพูดทั่วไป เรียกสั้นๆว่า สเปรย์ เป็นผลิตภัณฑ์บรรจุกระป๋องชนิดหนึ่ง ที่สามารถฉีดพรมของเหลวที่บรรจุออกมาในรูปฝอยของอนุภาคละอองลอย เพราะสเปรย์ละอองลอยชนิดนี้บรรจุสาร 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งเป็น ของเหลวบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการฉีดให้ฟุ้งกระจาย และอีกกลุ่มหนึ่งเป็น ไอภายใต้ความกดดันสูงจนอยู่ในรูปของเหลว ซึ่งมักเป็นแก๊สเฉื่อย ละลายรวมอยู่ในบรรจุภัณฑ์เพื่อเป็น กำลังขับดัน เมื่อลิ้นถูกเปิด ของเหลวถูกดันให้ไหลออกผ่านรูเล็ก และปรากฏเป็นอนุภาคละอองลอย คล้ายหมอก ขณะที่แก๊สขยายและขับบรรจุภัณฑ์ออก กำลังขับดันบางส่วนกลายเป็นไอภายในกระป๋อง และรักษาความดันให้คงที่ เมื่อออกนอกกระป๋อง หยดละอองของของเหลวที่เป็นกำลังขับดันกลายเป็นไออย่างรวดเร็ว ทิ้งให้หยดละอองของของเหลวบรรจุภัณฑ์ แขวนลอยในรูปของอนุภาคหรือหยดละอองที่ละเอียดมาก ของเหลวที่ผสมดังกล่าว เช่น ยาฆ่าแมลง, ยาดับกลิ่น และสีสเปรย์ เครื่องมือฉีดพ่นทางการเกษตร ก็ใช้หลักการคล้ายกันนี้ คือเพิ่มกำลังกดอากาศด้วยมือสูบ ซึ่งให้ผลดีกว่า สเปรย์ละอองลอย ซึ่งใช้เพียงแก๊สที่เก็บอัดไว้.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและสเปรย์ละอองลอย · ดูเพิ่มเติม »

หอกลั่น

หอกลั่น (Distillation columns) ใช้สำหรับแยกสารผสม ที่ใช้กันมากที่สุดในภาคอุตสาหกรรม โดยส่วนใหญ่ใช้แยกน้ำมันดิบที่ประกอบไปด้วยสารประกอบไฮโดรคาร์บอนหลายชนิดที่มี น้ำหนัก และจุดเดือด แตกต่างกัน ดังนั้นในขั้นตอนแรกจึงสามารถ แยกองค์ประกอบออกจากกันได้อย่างง่ายดาย โดยกระบวนการกลั่นลำดับส่วน หอกลั่นโดยทั่วไปมี 2 แบบ คือ หอกลั่นแบบแพ๊ค (Packing Tower) และหอกลั่นแบบถาด (Tray Tower) หอกลั่นทั้งสองแบบจะเหมาะสมกับการกลั่นที่แตกต่างกันไปหอกลั่นแบบ Packing Tower ใช้ในการแยกของผสมที่มีจุดเดือดที่ไม่สูงมาก.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและหอกลั่น · ดูเพิ่มเติม »

อุปกรณ์ไฟฟ้าในพื้นที่อันตราย

ในทางวิศวกรรมไฟฟ้า พื้นที่อันตรายหมายถึง พื้นที่ที่อาจจะเต็มไปด้วยก๊าซไวไฟ ไอน้ำ ฝุ่นละออง อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในพื้นที่เหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องถูกออกแบบและทดลองมาอย่างพิเศษ เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าจะไม่ก่อให้เกิดการระเบิด ประกายไฟ หรือมีพื้นผิวที่มีอุณหภูมิสูง ตัวอย่างเช่น สวิตช์ไฟในบ้าน ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดประกายไฟเล็กน้อยที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายในสภาวะบรรยากาศปกติ จะไม่ได้รับความสนใจ แต่ในสภาวะที่มีไอระเหยที่ติดไฟได้อยู่ ประกายไฟอาจจะก่อให้เกิดการระเบิดขึ้นได้ ดังนั้น อุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะถูกนำไปติดตั้งใช้ในโรงงานเคมีหรือโรงงานถลุงแร่จะต้องถูกออกแบบมาให้ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟหรืออะไรก็ตามที่อาจจะก่อให้เกิดประกายไฟอันจะทำให้ไอระเหยติดไฟได้ที่อาจจะปรากฏในบริเวณนั้นเกิดการระเบิดขึ้นได้ มีแนวทางแก้ปัญหาในการติดตั้งทางไฟฟ้าเหล่านี้มากมาย แต่วิธีการที่ง่ายที่สุดคือการลดจำนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าในบริเวณอันตรายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าจะด้วยการย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าออกนอกบริเวณอันตราย หรือการลดความอันตรายของพื้นที่ด้วยการปรับปรุงกระบวนการผลิตหรือการใช้ระบบระบายอากาศ Intrinsic safety คือเทคนิกในทางปฏิบัติแนวทางหนึ่ง ซึ่งออกแบบมาเพื่อลดระดับกำลังของไฟฟ้าและมีพลังงานสะสมต่ำ อันจะทำให้โอกาสที่จะเกิดการระเบิดต่ำลง การปิดคลุมอุปกรณ์สามารถอัดอากาศบริสุทธิ์เข้าไปในระบบแล้วปิดตาย ซึ่งอุปกรณ์จะถูกตัดออกจากระบบเมื่อระบบจ่ายอากาศไม่ทำงาน เป็นเรื่องธรรมดาในสายงานเทคโนโลยีไฟฟ้าที่ในแต่ละประเทศจะมีมาตรฐานที่แต่งต่างกันออกไปและมีวิธีการทดสอบที่อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับงานในพื้นที่อันตรายที่ไม่เหมือนกัน เนื่องด้วยการค้าโลกทวีความสำคัญในการแพร่กระจายผลิตภัณฑ์ไฟฟ้ามากขึ้น ดังนั้นมาตรฐานนานาชาติจค่อย ๆ จึงค่อย ๆ ได้รับการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ จนมีเทคนิกที่ได้รับการยอมรับโดนตัวแทนของแต่ละชาติมากขึ้น.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและอุปกรณ์ไฟฟ้าในพื้นที่อันตราย · ดูเพิ่มเติม »

ผงซักฟอก

ผงซักฟอก เป็นสารซักล้างที่ผลิตขึ้นมาใช้แทนสบู่ มีสารลดแรงตึงผิวชนิดสังเคราะห์และชนิดธรรมชาติเป็นส่วนประกอบหลัก เป็นเกลือโซเดียมซัลโฟเนตของไฮโดรคาร์บอน สำหรับใช้ซักผ้า ครอบคลุมถึงผงซักฟอกที่มีลักษณะเป็นผงเม็ดเล็ก ๆ หรือเกล็ดอัดขึ้นรูปกึ่งแข็งกึ่งเหลว แท่ง หรือลักษณะอื่น แต่ไม่ครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์ซักผ้าชนิดเหลว.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและผงซักฟอก · ดูเพิ่มเติม »

จุดผลิตน้ำมันสูงสุด

กราฟแสดงการผลิตน้ำมันโลก ทั้งข้อมูลตามประวัติและข้อมูลอนาคตตามที่คาดหมาย และตามที่เสนอโดยนักธรณีวิทยา ดร. คิง ฮับเบิร์ต ได้ถึงจุดสูงสุดที่ 1.5 ล้านล้านลิตร (12,500 ล้านบาร์เรล) ต่อปีที่ประมาณปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) การผลิตน้ำมันดิบของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งแสดงลักษณะคล้ายคลึงกับเส้นโค้งฮับเบิร์ต (Hubbert curve) แต่ให้สังเกตความแตกต่างที่เกิดขึ้นเมื่อไม่กีปีมานี้ จุดผลิตน้ำมันสูงสุด (Peak oil) เป็นเหตุการณ์ตามทฤษฎีจุดสูงสุดฮับเบิร์ต (Hubbert peak theory) ของ ดร.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและจุดผลิตน้ำมันสูงสุด · ดูเพิ่มเติม »

ขี้ผึ้ง

ี้ผึ้ง คือ ไขมันในสถานะของแข็ง เกิดขึ้นจากการผสมของสารประกอบหลายชนิดได้แก่ไฮโดรคาร์บอน (สารเคมีจำพวกน้ำมันดิน) 14%, โมโนเอสเตอร์ 35%, ไดเอสเตอร์ 14%, ไตรเอสเตอร์ 3%, ไฮดรอกซีโพลีเอสเตอร์ 8%, เอสเตอร์ของกรด 1%, กรดอิสระ 12%, แอลกอฮอล์อิสระ 1% รวมถึงสารที่ไม่สามารถระบุได้อีก 6% ขี้ผึ้งถูกเก็บอยู่ในตัวของผึ้งน้ำหวานในรูปของเกล็ดบางๆ เกล็ดดังกล่าวถูกสร้างขึ้นโดยต่อมที่อยู่บริเวณท้องน้อยของผึ้ง ส่วนผึ้งงานมีต่อมดังกล่าวอยู่แปดต่อมอยู่ด้านในของเปลือกปล้องกลางบริเวณท้องน้อยในอัตราส่วน 4 ต่อ 7 ขนาดของต่อมผลิตขี้ผึ้งขึ้นอยู่กับอายุของผึ้งงาน ผึ้งน้ำหวานนำขี้ผึ้งของตนเองไปใช้สร้างโพรงเล็กๆ ในรวงน้ำผึ้ง ซึ่งใช้ในการเลี้ยงผึ้งที่ยังไม่เติบโตเต็มที่ และใช้ในการเก็บน้ำผึ้งและเรณูดอกไม้ ในการที่ผึ้งที่ทำหน้าที่ในการสร้างขี้ผึ้ง (ผึ้งน้ำหวานอายุ 12 วัน) จะผลิตขี้ผึ้งได้นั้น อุณหภูมิภายในรังผึ้งจะต้องอยู่ระหว่าง 33 ถึง 36°C (องศาเซลเซียส) โดยผึ้งที่มีหน้าที่ดังกล่าวจะต้องบริโภคน้ำผึ้งถึงประมาณแปดปอนด์ (ประมาณ 3.6 กิโลกรัม) ในการที่จะผลิตขี้ผึ้งเพียงปอนด์เดียว (ประมาณ 0.4 กิโลกรัม) เมื่อผู้เก็บน้ำผึ้งเข้าไปทำการเก็บน้ำผึ้ง พวกเขาจะตัดฝาปิดโพรงผึ้งออกในแต่ละโพรงของรังน้ำผึ้ง สีของขี้ผึ้งมีตั้งแต่สีเหลืองอ่อนไล่ไปจนถึงสีเหลืองแกมน้ำตาล ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของขี้ผึ้ง ขี้ผึ้งจากรวงเพาะเลี้ยงในรังผึ้งจะมีสีเข้มกว่าขี้ผึ้งจากรวงน้ำผึ้ง ที่ๆ ซึ่งความปนเปื้อนเกิดขึ้นได้น้อยกว่า ขี้ผึ้งเป็นสสารที่มีจุดหลอมเหลวอยู่ระหว่าง 62 - 64°C ขี้ผึ้งไม่มีจุดเดือด แต่จะกักเก็บความร้อนต่อไปจนมันลุกเป็นไฟเมื่ออุณหภูมิประมาณ 120°C เมื่อขี้ผึ้งได้รับความร้อนจนถึงอุณหภูมิ 85°C สีของขี้ผึ้งจะเริ่มหลอมละลายออกไป ความหนาแน่นสัมพัทธ์ที่อุณหภูมิ 15°C คือตั้งแต่ 0.958 - 0.970 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร มนุษย์นำขี้ผึ้งไปใช้ในการผลิตเทียนไขคุณภาพดี, เครื่องสำอาง รวมถึงวัสดุและสารขัดเงา (มักจะเป็นยาขัดรองเท้า) และเป็นส่วนประกอบในการประดิษฐ์หุ่นขี้ผึ้ง รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ ขี้ผึ้งเมื่อนำมาใช้เป็นเทียนจะไม่เกิดน้ำตาเทียนและมีควันที่น้อยกว่าธูปหรือเทียนธรรมดาอย่างมาก ซึ่งทำให้มันเป็นที่นิยมใช้ในการประกอบพิธีทางคริสต์ศาสนา หมวดหมู่:ไข หมวดหมู่:ผึ้ง หมวดหมู่:กีฏวิทยา.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและขี้ผึ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ดาวบริวารของดาวเสาร์

ระบบดาวเสาร์ (ภาพประกอบรวม) วงแหวนดาวเสาร์ตัดผ่านฉากหลังที่มีดาวบริวารไททัน (รูปเสี้ยวขอบสีขาว) และดาวบริวารเอนเซลาดัส (ขวาล่างสีดำ) ปรากฏอยู่ ดาวเสาร์มีดาวบริวารซึ่งได้รับการยืนยันวงโคจรแล้ว 62 ดวง โดย 53 ดวงในจำนวนนี้มีชื่อเรียกแล้วและส่วนใหญ่มีขนาดค่อนข้างเล็ก แต่ก็มีอยู่ 7 ดวงที่มีขนาดใหญ่พอที่จะคงสภาพตัวเองเป็นทรงกลมได้ (ดังนั้นดาวบริวารเหล่านี้อาจได้รับการจัดเป็นดาวเคราะห์แคระหากพวกมันโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยตรง) นอกจากจะมีวงแหวนที่กว้างและหนาแน่นแล้ว ระบบดาวเสาร์ยังเป็นระบบดาวเคราะห์ที่มีความหลากหลายมากที่สุดภายในระบบสุริยะอีกด้วย ตัวอย่างเช่น ดาวบริวารที่มีชื่อเสียงอย่างดาวบริวารไททัน ที่มีชั้นบรรยากาศคล้ายคลึงกับโลก ทั้งยังมีภูมิทัศน์เป็นทะเลสาบไฮโดรคาร์บอนและโครงข่ายแม่น้ำ และดาวบริวารเอนเซลาดัสที่ซ่อนแหล่งน้ำไว้ภายใต้พื้นผิวของมัน เป็นต้น ดาวบริวาร 22 ดวงของดาวเสาร์เป็นบริวารที่มีวงโคจรปกติ คือ มีวงโคจรไปในทางเดียวกับดาวดวงอื่น ๆ และเอียงทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรของดาวเสาร์ไม่มากนัก นอกจากบริวาร 7 ดวงหลักแล้ว มี 4 ดวงเป็นดาวบริวารโทรจัน (หมายถึงกลุ่มดาวบริวารเล็ก ๆ ที่โคจรไปตามเส้นทางของดาวบริวารดวงใหญ่กว่าอีกดวงหนึ่ง) อีก 2 ดวงเป็นดาวบริวารร่วมวงโคจร และอีก 2 ดวงโคจรอยู่ภายในช่องว่างระหว่างวงแหวนดาวเสาร์ ดาวบริวารเหล่านี้ได้รับการตั้งชื่อตามธรรมเนียมเดิม คือ ตามชื่อของบรรดายักษ์ไททันหรือบุคคลอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเทพแซตเทิร์นของชาวโรมัน (หรือเทพโครนัสของกรีก) ส่วนดาวบริวารที่เหลืออีก 38 ดวง ทั้งหมดมีขนาดเล็กและมีวงโคจรผิดปกติ คือ มีวงโคจรอยู่ห่างจากดาวเสาร์มากกว่า เอียงมากกว่า โดยมีทั้งไปทางเดียวกันและสวนทางกับทิศทางการหมุนรอบตัวเองของดาวเสาร์ ดาวบริวารเหล่านี้อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกแรงโน้มถ่วงของดาวเสาร์ดึงมา หรืออาจเป็นเศษซากของวัตถุขนาดใหญ่ที่เข้าใกล้ดาวเสาร์มากเกินไปจนถูกแรงน้ำขึ้นน้ำลงของดาวเสาร์ฉีกออกเป็นเสี่ยง ๆ เราแบ่งกลุ่มของพวกมันตามลักษณะวงโคจรได้เป็นกลุ่มอินูอิต กลุ่มนอร์ส และกลุ่มแกลิก แต่ละดวงตั้งชื่อตามเทพปกรณัมที่สอดคล้องกับกลุ่มที่มันสังกัดอยู่ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบขึ้นจากก้อนน้ำแข็งที่มีขนาดตั้งแต่ 1 เซนติเมตรไปจนถึงหลายร้อยเมตร แต่ละก้อนโคจรรอบดาวเสาร์ไปตามเส้นทางของตนเอง ดังนั้น เราจึงไม่สามารถระบุจำนวนแน่นอนของดาวบริวารของดาวเสาร์ได้ เนื่องจากไม่มีเส้นแบ่งประเภทชัดเจนระหว่างวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากที่ประกอบขึ้นเป็นแถบวงแหวนกับวัตถุขนาดใหญ่ที่ได้รับการตั้งชื่อและถือเป็นดาวบริวารแล้ว แม้เราจะค้นพบ "ดาวบริวารเล็ก ๆ" (moonlets) อย่างน้อย 150 ดวงจากการรบกวนที่มันก่อขึ้นกับวัตถุอื่นที่อยู่ข้างเคียงภายในวงแหวน แต่นั่นเป็นตัวอย่างเพียงน้อยนิดของจำนวนประชากรทั้งหมดของวัตถุเหล่านั้นเท่านั้น ดาวบริวารที่ได้รับการยืนยันแล้วจะได้รับการตั้งชื่อถาวรจากสหภาพดาราศาสตร์สากล ประกอบด้วยชื่อและลำดับที่เป็นตัวเลขโรมัน ดาวบริวาร 9 ดวงที่ถูกค้นพบก่อนปี ค.ศ. 1900 (ซึ่งฟีบีเป็นดวงเดียวที่มีวงโคจรแบบผิดปกติ) มีหมายเลขเรียงตามระยะห่างจากดาวเสาร์ออกมา ส่วนดาวบริวารดวงอื่น ๆ มีหมายเลขเรียงตามลำดับที่ได้รับการตั้งชื่อถาวร อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังมีดาวบริวารดวงเล็ก ๆ ในกลุ่มนอร์สอีก 8 ดวงที่ไม่มีชื่อเรียกถาวร.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและดาวบริวารของดาวเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวหาง

ดาวหางเฮล-บอปป์ ดาวหางเวสต์ ดาวหาง คือ วัตถุชนิดหนึ่งในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ มีส่วนที่ระเหิดเป็นแก๊สเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดชั้นฝุ่นและแก๊สที่ฝ้ามัวล้อมรอบ และทอดเหยียดออกไปภายนอกจนดูเหมือนหาง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์จากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ไปบนนิวเคลียสของดาวหาง นิวเคลียสหรือใจกลางดาวหางเป็น "ก้อนหิมะสกปรก" ประกอบด้วยน้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย และมีฝุ่นกับหินแข็งปะปนอยู่ด้วยกัน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ไม่กี่กิโลเมตรไปจนถึงหลายสิบกิโลเมตร คาบการโคจรของดาวหางมีความยาวนานแตกต่างกันได้หลายแบบ ตั้งแต่คาบโคจรเพียงไม่กี่ปี คาบโคจร 50-100 ปี จนถึงหลายร้อยหรือหลายพันปี เชื่อว่าดาวหางบางดวงเคยผ่านเข้ามาในใจกลางระบบสุริยะเพียงครั้งเดียว แล้วเหวี่ยงตัวเองออกไปสู่อวกาศระหว่างดาว ดาวหางที่มีคาบการโคจรสั้นนั้นเชื่อว่าแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในแถบไคเปอร์ที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ส่วนดาวหางที่มีคาบการโคจรยาวอาจมาจากแหล่งอื่น ๆ ที่ไกลจากดวงอาทิตย์ของเรามาก เช่นในกลุ่มเมฆออร์ตซึ่งประกอบด้วยเศษซากที่หลงเหลืออยู่จากการบีบอัดตัวของเนบิวลา ดาวหางเหล่านี้ได้รับแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวเคราะห์รอบนอก (กรณีของวัตถุในแถบไคเปอร์) จากดวงดาวอื่นใกล้เคียง (กรณีของวัตถุในกลุ่มเมฆออร์ต) หรือจากการชนกัน ทำให้มันเคลื่อนเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์น้อยมีกำเนิดจากกระบวนการที่ต่างไปจากนี้ อย่างไรก็ดี ดาวหางที่มีอายุเก่าแก่มากจนกระทั่งส่วนที่สามารถระเหิดเป็นแก๊สได้สูญสลายไปจนหมดก็อาจมีสภาพคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์น้อยก็ได้ เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกหลายดวงเคยเป็นดาวหางมาก่อน นับถึงเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและดาวหาง · ดูเพิ่มเติม »

คลอโรฟิลล์

ลอโรฟิลล์พบได้ตามคลอโรพลาสต์ คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) เป็นสารประกอบที่พบได้ในส่วนที่มีสีเขียวของพืช โดยพบมากที่ใบของพืชนอกจากนี้ยังพบได้ที่แบคทีเรียที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ และยังพบได้ในสาหร่ายเกือบทุกชนิด นอกจากนี้คลอโรฟิลล์ทำหน้าที่เป็นโมเลกุลรับพลังงานจากแสง และนำพลังงานดังกล่าวไปใช้ในการสร้างพลังงานเคมีโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เพื่อสร้างสารอินทรีย์ เช่น น้ำตาล และนำไปใช้เพื่อการดำรงชีวิต คลอโรฟิลล์ อยู่ในโครงสร้างที่เรียกว่า เยื่อหุ้มไทลาคอยล์ (Thylakoid membrane) ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มที่อยู่ภายใน คลอโรพลาสต์ (Chloroplast) ภาคภูมิ พระประเสร.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและคลอโรฟิลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก

10.1126/science.1177265 ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก (global catastrophic risk) เป็นเหตุการณ์สมมุติในอนาคต ที่อาจทำความเสียหายต่อมนุษย์อย่างรุนแรงทั่วโลก เหตุการณ์บางอย่างอาจทำลาย หรือทำความเสียหายแก่ อารยธรรมที่มีในปัจจุบัน หรือเหตุการณ์ที่รุนแรงกว่านั้น อาจทำให้มวลมนุษย์สูญพันธุ์ ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของมนุษย์ (existential risk) ภัยพิบัติตามธรรมชาติ เช่น การระเบิดของซูเปอร์ภูเขาไฟ และการวิ่งชนโลกของดาวเคราะห์น้อย จะเป็นความเสี่ยงในระดับนี้ถ้ารุนแรงเพียงพอ เหตุการณ์ที่มนุษย์เป็นเหตุ ก็อาจจะเป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของสัตว์ฉลาดต่าง ๆ ของโลก เช่น ปรากฏการณ์โลกร้อน สงครามนิวเคลียร์ หรือการก่อการร้ายชีวภาพ สถาบันอนาคตของมนุษยชาติ (Future of Humanity Institute) ที่เป็นส่วนของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เชื่อว่า การสูญพันธุ์ของมนุษย์ น่าจะมีเหตุมาจากมนุษย์เอง มากกว่าจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ แต่ว่า เป็นเรื่องยากลำบากที่จะศึกษาการสูญพันธุ์ของมนุษย์ เพราะไม่เคยมีเหตุการณ์นี้จริง ๆ แม้นี่จะไม่ได้หมายความว่า จะไม่เกิดขึ้นในอนาคต แต่ว่า การสร้างแบบจำลองของความเสี่ยงต่อความอยู่รอด เป็นเรื่องยาก โดยส่วนหนึ่งเพราะผู้ศึกษามีความเอนเอียงจากการอยู่รอด คือมีความคิดผิดพลาดที่พุ่งความสนใจไปในสิ่งที่อยู่รอด จนทำให้เหตุผลไม่ตรงกับความจริง.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก · ดูเพิ่มเติม »

คาร์บอน

ร์บอน (Carbon) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ C และเลขอะตอม 6 เป็นธาตุอโลหะที่มีอยู่มาก มีวาเลนซ์ 4 และมีหลายอัญรูป.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและคาร์บอน · ดูเพิ่มเติม »

คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เดิมสังกัดอยู่ในคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ โดยเปิดสอนแก่วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานให้แก่นักศึกษาคณะต่าง ๆ ของสถาบันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 หลังจากนั้น ในปี..

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง · ดูเพิ่มเติม »

ตัวรับรู้สารเคมี

ในระบบประสาท ตัวรับรู้สารเคมี (chemoreceptor, chemosensor) เป็นปลายประสาทรับความรู้สึกที่ถ่ายโอนข้อมูลทางเคมีไปเป็นศักยะงานเพื่อส่งไปยังระบบประสาทกลาง โดยทั่ว ๆ ไปก็คือ เป็นตัวรับรู้สิ่งเร้าคือสารเคมีในสิ่งแวดล้อม เมื่อสิ่งเร้าในสิ่งแวดล้อมสำคัญต่อการรอดชีวิต สิ่งมีชีวิตจะต้องตรวจจับสิ่งเร้านั้นได้ และเพราะกระบวนการของชีวิตทั้งหมดมีกระบวนการทางเคมีเป็นมูลฐาน จึงเป็นเรื่องธรรมดาว่า การตรวจจับและการรับรู้สิ่งเร้าภายนอกจะเป็นปรากฏการณ์ทางเคมี แน่นอนว่า สารเคมีในสิ่งแวดล้อมสำคัญต่อการรอดชีวิต และการตรวจจับสิ่งเร้าเคมีจากภายนอก อาจเชื่อมกับการทำงานทางเคมีของเซลล์โดยตรง การรับรู้สารเคมีสำคัญในการตรวจหาสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งอาหาร ที่อยู่ สัตว์ชนิดเดียวกันรวมทั้งคู่ และสัตว์ล่าเหยื่อ ยกตัวอย่างเช่น สำหรับสัตว์ล่าเหยื่อ เหยื่ออาจจะได้ทิ้งกลิ่นหรือฟีโรโมนไว้ในอากาศหรือบนพื้นผิวที่เคยอยู่ เซลล์ที่ศีรษะ ปกติในทางเดินอากาศหรือปาก จะมีตัวรับสารเคมีบนผิวที่จะเกิดปฏิกิริยาเมื่อสัมผัสกับสารที่เป็นเป้าหมาย แล้วก็จะส่งข้อมูลทางเคมีหรือทางเคมีไฟฟ้าไปยังศูนย์ คือสมองหรือไขสันหลัง ระบบประสาทกลางก็จะตอบสนองด้วยปฏิกิริยาทางกายเพื่อล่า/หาอาหารซึ่งช่วยให้รอดชีวิต.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและตัวรับรู้สารเคมี · ดูเพิ่มเติม »

ตัวหน่วงนิวตรอน

ใน วิศวกรรมนิวเคลียร์ ตัวหน่วงนิวตรอน (neutron moderator) เป็นตัวกลางที่ช่วยลดความเร็วของ นิวตรอนเร็ว โดยเปลี่ยนพวกมันให้เป็น นิวตรอนความร้อน ที่สามารถสร้างความยั่งยืนให้กับ ปฏิกิริยาลูกโซ่นิวเคลียร์ ที่ใช้ ยูเรเนียม-235 หรือ นิวไคลด์ อื่นที่ทำ ฟิชชัน ได้ที่คล้ายกัน ตัวหน่วงที่ใช้กันทั่วไป ได้แก่ น้ำปกติ (เบา) (ใช้ประมาณ 75% ของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของโลก) แท่ง แกรไฟต์ (20% ของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์) และ น้ำหนัก (5% ของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์) เบริลเลียม ก็ได้ถูกนำมาใช้ในรูปแบบเพื่อการทดลองบางอย่าง และพวก ไฮโดรคาร์บอน ก็ได้รับการแนะนำว่ามีความเป็นไปได้อีกตัวหนึ่ง.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและตัวหน่วงนิวตรอน · ดูเพิ่มเติม »

ซักแห้ง

ตู้เครื่องซักแห้ง Böwe P300 ซักแห้ง การซักทำความสะอาดเสื้อผ้าโดยไม่ใช้น้ำในการซัก แต่ใช้ของเหลวชนิดอื่นแทนน้ำในขั้นตอนการซัก นิยมใช้ซักเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่อาจเกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากการซักด้วยน้ำร่วมกับสบู่หรือผงซักฟอก ของเหลวที่นิยมใช้กันในกิจการซักแห้งส่วนใหญ่ เช่น น้ำมันเปอร์คลอโรเอทีลีน หรือ เพิร์ค,ไฮโดรคาร์บอน, และ ซิลิโคน ทั้งนี้ในการใช้ของเหลวแทนน้ำนี้ จำเป็นต้องใช้เครื่องซักผ้าชนิดที่ถูกออกแบบมาเป็นการเฉพาะในการซัก เพราะอาจเกิดอันตรายกับผู้ใช้ได้หากนำมาซักด้วยมือแบบการซักผ้าทั่วไป หมวดหมู่:เครื่องแต่งกาย หมวดหมู่:อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ca:Tintoreria.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและซักแห้ง · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกิริยารีดอกซ์

ปฏิกิริยารีดอกซ์ ปฏิกิริยารีดอกซ์แบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือปฏิกิริยารีดักชั่น (reduction) และปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (oxidation) ปฏิกิริยารีดอกซ์เป็นปฏิกิริยาเกี่ยวกับการรับส่งอิเล็กตรอน แบ่งได้เป็น 2 ครึ่งปฏิกิริยาคือ ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น เป็นปฏิกิริยาที่เสียอิเล็กตรอน และปฏิกิริยารีดักชั่น เป็นปฏิกิริยาที่รับอิเล็กตรอน.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและปฏิกิริยารีดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปิโตรเลียม

แหล่งน้ำมันสำรองทั่วโลกที่พิสูจน์แล้วใน ค.ศ. 2009 บ่อปิโตรเลียมแห่งหนึ่งในเท็กซัส ปิโตรเลียม (petroleum, petra (หิน) + oleum (น้ำมัน) รวมหมายถึง "น้ำมันที่ได้จากหิน") หรือ น้ำมันดิบ เป็นของเหลวไวไฟที่เกิดเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วยสารผสมซับซ้อนระหว่างไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างกัน กับสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นของเหลวอื่น ๆ ซึ่งพบในชั้นธรณีวิทยาใต้ผิวโลก เป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เกิดได้จากซากสิ่งมีชีวิต (มักเป็นแพลงก์ตอนสัตว์และสาหร่าย) จำนวนมากทับถมกันใต้หินตะกอนและได้รับความร้อนและความดันมหาศาล การขุดเจาะน้ำมันเป็นวิธีการส่วนใหญ่ในการได้มาซึ่งปิโตรเลียม ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังการศึกษาโครงสร้างธรณีวิทยา การวิเคราะห์แอ่งตะกอน และลักษณะหินกักเก็บปิโตรเลียม หลังขุดเจาะขึ้นมาแล้ว ปิโตรเลียมจะถูกกลั่นและแยกเป็นผลิตภัณฑ์บริโภคหลายชนิด ตั้งแต่แก๊สโซลีนและน้ำมันก๊าด ไปจนถึงยางมะตอยและตัวทำปฏิกิริยาเคมีซึ่งใช้ในการทำพลาสติกและเภสัชภัณฑ์ นอกจากนี้ ปิโตรเลียมยังใช้ในการผลิตวัสดุอีกหลายชนิด ปิโตรเลียมมีธาตุองค์ประกอบหลัก 2 ชนิด คือ คาร์บอนและไฮโดรเจน และอาจมีธาตุอโลหะชนิดอื่นปนอยู่ด้วย เช่น กำมะถัน ออกซิเจน และไนโตรเจน ทั้งนี้ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ รวมถึงความร้อนและความดันของสภาพแวดล้อมในการเกิดและการกักเก็บปิโตรเลียม แบ่งตามสถานะได้เป็นสองชนิดหลัก คือ น้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ โดยแก๊สธรรมชาตินั้น ประกอบด้วยคาร์บอนตั้งแต่ 1-4 อะตอม.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและปิโตรเลียม · ดูเพิ่มเติม »

ปิโตรเคมี

ปิโตรเคมี คือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนเกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์เป็นเวลานาน ภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง สารเคมีที่ผลิตจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม โดยผ่านกระบวนการทาง เคมีต่างๆ ที่สำคัญ 2 กระบวนการ คือ กระบวนการทำให้บริสุทธิ์ (refinery process) และกระบวนการทางฟิสิกส์ (physical process) และสารปิโตรเคมีที่สำคัญ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มโอเลฟินส์ ได้แก่ เอทิลีน โพรพิลีน ฯลฯ อีกกลุ่มคือ อะโรเมติกส์ ได้แก่ เบนซิน โทลูอินและไซลีน ทั้งสามสารนี้รวมเรียกว่า BTX.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและปิโตรเคมี · ดูเพิ่มเติม »

น้ำมันก๊าด

รซีน (Kerosene) ในประเทศไทยเรียกว่า น้ำมันก๊าด เป็นไฮโดรคาร์บอนในรูปแบบของเหลวที่เผาไหม้ได้ ทำมาจากปิโตรเลียม มักใช้เป็นเชื้อเพลิงทั้งในอุตสาหกรรมและบ้านเรือน ชื่อมาจากภาษากรีก เคโรส (κηρός) ที่แปลว่าไข (wax) โดย Abraham Gesner ผู้เป็นทั้งนักธรณีวิทยาและนักประดิษฐ์ชาวแคนาดาได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเมื่อ..

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและน้ำมันก๊าด · ดูเพิ่มเติม »

น้ำมันสน

น้ำมันสน เป็นสารซึ่งเกิดจากการสกัดจากต้นสน โดยเป็นสารประกอบพวกไฮโดรคาร์บอน น้ำมันสนมักจะได้รับการนำไปใช้ในการผสมสีน้ำมัน เรียกว่าเป็นสิ่งจำเป็นของช่างทาสี ช่างเขียนภาพ น้ำมันระเหยง่ายที่ได้จากการกลั่นยางสนเขา น้ำมันสนมีลักษณะที่โปร่งใส เกือบเป็นของเหลวไม่มีสี หรือมีสีน้ำเล็กน้อ.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและน้ำมันสน · ดูเพิ่มเติม »

น้ำตกอิเทอร์นัลเฟลม

น้ำตกอิเทอร์นัลเฟลม (Eternal Flame Falls) เป็นน้ำตกขนาดเล็กในสวนสาธารณะเชสต์นัตริดจ์ รัฐนิวยอร์ก ความพิเศษของน้ำตกแห่งนี้คือบริเวณฐานหลังม่านน้ำตกจะมีการลุกไหม้ของดวงไฟซึ่งเกิดจากการทับถมของแก๊สธรรมชาติ โดยดวงไฟนั้นสามารถลุกไหม้ได้ตลอดปีและสามารถดับได้ในบางครั้งแต่หลังจากดับได้ไม่นานมันก็จะกลับมาลุกไหม้ใหม่อีกครั้ง น้ำตกอิเทอร์นัลเฟลมยังได้รับการกล่าวถึงในหนังสือ Secret Places ของนักสิ่งแวดล้อมนามว่าบรูซ เคิร์ชเนอร.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและน้ำตกอิเทอร์นัลเฟลม · ดูเพิ่มเติม »

แก๊สธรรมชาติ

ประเทศผู้ผลิตแก๊สธรรมชาติ แก๊สธรรมชาติ (Natural gas) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยไฮโดรเจนและคาร์บอนที่เกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ประเภทจุลินทรีย์ที่มีอายุหลายร้อยล้านปี ซึ่งสามารถแยกส่วนประกอบได้ เป็นมีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน เพนเทน เป็นต้น หรือ หมายถึง ปิโตรเลียมที่มีสภาพเป็นแก๊ส ณ ที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน 15.6 องศาเซลเซียส และ 101 กิโลปาสคาล โดยในแหล่งธรรมชาติอาจมีเฉพาะ มีเทน หรือ อีเทนล้วนหรืออาจ เจือปนโพรเพน และบิวเทนในบางแหล่ง ซึ่งถ้าแยกโพรเพน และบิวเทน ออกมาบรรจุลงในถังแก๊ส เรียกว่า แก๊สปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas) หรือ LPG หรือ แก๊สหุงต้ม แก๊สธรรมชาติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีสารพิษ ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยสูงสุดผลิตภัณฑ์หนึ่งในปัจจุบัน เมื่อเผาไหม้แล้วจะเป็นเชื้อเพลิงสะอาดและส่งผลกระทบแก่สิ่งแวดล้อมน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันเตาและแก๊สหุงต้ม ด้วยเหตุนี้หลายประเทศจึงนิยมใช้แก๊สธรรมชาติ โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกตามสมบัติทางเทคนิคได้ 4 ประเภท ดังนี้ 1.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและแก๊สธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

แก๊สเชี้อเพลิง

แก๊สเชื้อเพลิง เป็นเชื้อเพลิงแบบหนึ่งที่ในสภาวะปกติอยู่ในรูปของแก๊ส ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอน (เช่น มีเทน หรือ โพรเพน) บวกกับไฮโดรเจน, คาร์บอนมอนอกไซด์ หรือสารประกอบอื่นๆ เป็นสารทีใช้สร้างพลังงานความร้อนหรือพลังงานแสงสว่างและสามารถส่งตามท่อออกจากแหล่งผลิตได้ แก๊สเชื้อเพลิงจะต้องถูกเติมกลิ่นเข้าไป เพื่อเตือนผู้ใช้หากเกิดการรั่วไหลเกิดขึ้น ในปัจจุบัน แก๊สที่ใช้ส่วนใหญ่คือ แก๊สธรรมชาต.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและแก๊สเชี้อเพลิง · ดูเพิ่มเติม »

แก๊สเรือนกระจก

ice core) ล่าง: ปริมาณสุทธิของคาร์บอนที่เพิ่มในบรรยากาศเปรียบเทียบกับคาร์บอนที่ปลดปล่อยจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (fossil fuel) แก๊สเรือนกระจก (greenhouse gas) หรือบางครั้งเรียกย่อๆว่า GHG คือแก๊สในบรรยากาศที่ดูดซับและปลดปล่อยรังสีภายในช่วงความถี่(คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า)อินฟราเรดร้อน (thermal infrared range) ทำให้เกิดการสูญเสียความร้อนบางส่วนออกสู่ห้วงอวกาศภายนอกและปลดปล่อยความร้อนกลับสู่พื้นผิวโลก ขบวนการนี้จึงเป็นสาเหตุพื้นฐานของปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse effect) แก๊สเรือนกระจกมีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการรักษาระดับอุณหภูมิของโลก หากปราศจากแก๊สเรือนกระจก โลกจะหนาวเย็นจนสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยไม่ได้ อุณหภูมิในโลกจะต่ำกว่าปัจจุบันที่ 14 °C (57 °F) ลงอีก 33 °C (59 °F) แต่การมีแก๊สเรือนกระจกมากเกินไปก็เป็นเหตุให้อุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตดังที่เป็นอยู่กับบรรยากาศของดาวศุกร์ซึ่งมีบรรยากาศที่ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์มากถึงร้อยละ 96.5 มีผลให้อุณหภูมิผิวพื้นร้อนมากถึง 467 °C (872 °F) คำว่า “แก๊สเรือนกระจก” บนโลกหมายถึงแก๊สต่างๆ เรียงตามลำดับความอุดมคือ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ โอโซน และ คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon) แก๊สเรือนกระจกเกิดเองตามธรรมชาติและจากกระบวนการอุตสาหกรรมซึ่งปัจจุบันทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์มีในบรรยากาศ 380 ppmv และที่ปรากฏในแกนน้ำแข็งตัวอย่าง (ดูแผนภูมิ) จะเห็นว่าระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศปัจจุบันสูงกว่าระดับเมื่อก่อนยุคอุตสาหกรรมประมาณ 100 ppmv.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและแก๊สเรือนกระจก · ดูเพิ่มเติม »

แอลคีน

รงสร้างทางเคมีของเอทิลีน ซึ่งเป็นแอลคีนที่มีโครงสร้างอย่างง่ายที่สุด แอลคีน (alkene) คือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีพันธะคู่อยู่ในโมเลกุล 1 พันธะ นอกนั้นเป็นพันธะเดี่ยว จัดเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดไม่อิ่มตัว ในทำนองเดียวกับแอลเคน แต่แอลคีนมีจำนวนไฮโดรเจนน้อยกว่าแอลเคนอยู่ 2 ตัว สูตรโมเลกุลทั่วไปของแอลคีนจึงเป็น CnH2n เมื่อ n คือจำนวนคาร์บอน การเรียกชื่อ ในทำนองเดียวกับแอลเคนแต่เปลี่ยนเสียงท้ายเป็น "……น (-ene)" เช่น.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและแอลคีน · ดูเพิ่มเติม »

แอลไคน์

แอลไคน์ (alkyne) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่ง ซึ่งในโมเลกุลจะมีพันธะสามระหว่างอะตอมของคาร์บอนหนึ่งที่หรือมากกว่าจัดเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดไม่อิ่มตัว มีสูตรทั่วไปคือ CnH2n-2 แอลไคน์ตัวแรกคือ C2H2 (หรือที่เรียกว่า ethyne).

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและแอลไคน์ · ดูเพิ่มเติม »

แอลเคน

thumb แอลเคน (Alkane) ในเคมีอินทรีย์ คือไฮโดรคาร์บอนอะซิคลิกที่อิ่มตัว กล่าวคือ อัลเคนคือโซ่คาร์บอนที่ยึดกันด้วยพันธะเดี่ยว อัลเคนคือสารประกอบ aliphatic สูตรของแอลเคนโดยทั่วไปคือ CnH2n+2 อัลเคนที่มีรูปแบบง่ายที่สุด จึงเป็นมีเทน หรือ CH4 ขั้นถัดไปคืออีเทน หรือ C2H6 และชุดนี้ต่อเนื่องไปไม่มีสิ้นสุด ทุกอะตอมคาร์บอนในอัลเคนมี sp³ hybridization.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและแอลเคน · ดูเพิ่มเติม »

แซนโทฟิลล์

รงสร้างทางเคมีของคริปโทแซนทิน สีของไข่แดงมาจากลูทีนและซีอาแซนทิน แซนโทฟิลล์ (xanthophyll) เดิมเรียก ฟิลโลแซนทิน (phylloxanthin) เป็นรงควัตถุสีเหลืองที่พบในธรรมชาติ เป็นหนึ่งในสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ มีสูตรเคมีคือ C40H56O2 คำว่า "แซนโทฟิลล์" มาจากคำในภาษากรีก ξανθός (xanthos แปลว่า "เหลือง") และ φύλλον (phyllon แปลว่า "ใบไม้") เนื่องจากพบเป็นแถบสีเหลืองบนแผ่นทดสอบที่ผ่านกระบวนการโครมาโทกราฟี.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและแซนโทฟิลล์ · ดูเพิ่มเติม »

โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน

ีเอเอชที่พบทั่วไปตามเข็มนาฬิกาจากบนลงล่าง: เบนอีอะซีฟีแนนไทรลีน, ไพรีน และ ไดเบนเอเอชแอนทราซีน pages.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน · ดูเพิ่มเติม »

โทรูลีน

ทรูลีน (torulene) หรือ 3',4'-ไดดีไฮโดร-บีตา,แกมมา-แคโรทีน (3',4'-didehydro-β,γ-carotene) เป็นสารกลุ่มแคโรทีน (สารแคโรทีนอยด์ที่ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอน) มีสูตรเคมีคือ C40H54 สังเคราะห์ได้จากการถ่ายทอดยีนในแนวราบของเพลี้ยอ่อนถั่ว (Acyrthosiphon pisum) โทรูลีนเป็นสารแคโรทีนอยด์ชนิดเดียวที่สังเคราะห์ได้จากสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและโทรูลีน · ดูเพิ่มเติม »

ไดเทอร์พีน

รงสร้างของเจรานิลเจรานิลไพโรฟอสเฟต ไดเทอร์พีน (diterpene) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ประกอบด้วยเทอร์พีน 2 หน่วยหรือไอโซพีน 4 หน่วย มีสูตรโมเลกุลคือ C20H32 พืช สัตว์และเห็ดราสังเคราะห์ไดเทอร์พีนจากวิถีเมวาโลเนต (Mevalonate pathway) โดยมีเจรานิลเจรานิลไพโรฟอสเฟตเป็นสารมัธยันตร์หลัก ไดเทอร์พีนมีคุณสมบัติต้านจุลชีพและแก้อักเสบ สามารถแบ่งได้ตามจำนวนวงแหวน ตัวอย่างในตาราง แทกซาดีอีนเป็นไดเทอร์พีนที่มี 3 วงแหวน.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและไดเทอร์พีน · ดูเพิ่มเติม »

ไตรเทอร์พีน

ตรเทอร์พีน (triterpene) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ประกอบด้วยเทอร์พีน 3 หน่วยหรือไอโซพีน 6 หน่วย มีสูตรโมเลกุลคือ C30H48 ไตรเทอร์พีนมีโครงสร้างที่แตกต่างกันกว่า 200 แบบ โดยแบ่งได้ตามจำนวนวงแหวน ตัวอย่างในตาราง.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและไตรเทอร์พีน · ดูเพิ่มเติม »

ไนเตรต

นเตรต ในทางอนินทรีย์เคมีเป็นเกลือของกรดไนตริก ไนเตรตไอออน เป็น พอลิอะตอมิกไอออน (polyatomic ion) ซึ่งมีสูตรเอมไพริกัล ดังนี้ NO3− และมีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 62.01 ดัลตัน (daltons) มันเป็นด่างร่วม (conjugate) ของกรดไนตริก ไนเตรตไอออนมีโครงสร้างเป็นสามเหลี่ยมแบนราบ (trigonal planar-โดยแต่ละออร์บิทัลทำมุมกัน 120 องศา) และสามารถแทนด้วยลูกผสม (hybrid) ดังรูปข้างล่างนี้ 300px เกลือไนเตรตเกิดเมื่อไอออนประจุไฟฟ้าบวกเข้าเชื่อมต่อกับอะตอมของออกซิเจน ประจุไฟฟ้าลบตัวหนึ่งของไนเตรตไอออน.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและไนเตรต · ดูเพิ่มเติม »

เชื้อเพลิง

ม้ เชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง เชื้อเพลิง คือวัสดุใดๆ ที่นำไปเผาไหม้หรือแปรเปลี่ยนเพื่อนำมาซึ่งพลังงาน เชื้อเพลิงจะปลดปล่อยพลังงานผ่านปฏิกิริยาทางเคมีเช่นการเผาไหม้ หรือปฏิกิริยานิวเคลียร์เช่นการแตกตัวหรือการรวมตัวของนิวเคลียส อย่างใดอย่างหนึ่ง คุณสมบัติสำคัญของเชื้อเพลิงที่มีประโยชน์คือพลังงานที่มีอยู่สามารถถูกบรรจุและปลดปล่อยได้ตามต้องการ และการปลดปล่อยนั้นถูกควบคุมในทางใดทางหนึ่งเพื่อให้สามารถใช้สร้างงานทางวิศวกรรมได้ สิ่งมีชีวิตที่มีคาร์บอนเป็นพื้นฐาน (carbon-based life) ทุกชนิด คือตั้งแต่จุลชีพไปจนถึงสัตว์รวมทั้งมนุษย์ ใช้เชื้อเพลิงเป็นแหล่งพลังงาน เซลล์ต่างๆ จะต้องเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่า เมแทบอลิซึม (metabolism) ซึ่งดึงเอาพลังงานออกมาจากอาหารหรือแสงอาทิตย์ในรูปแบบที่สามารถใช้ในการดำรงชีวิต นอกจากนั้นมนุษย์ใช้เทคนิคที่หลากหลายเพื่อแปรเปลี่ยนพลังงานรูปแบบหนึ่งไปสู่อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งการสร้างพลังงานก็เพื่อจุดประสงค์ที่มากไปกว่าพลังงานในร่างกายมนุษย์ การใช้พลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกจากเชื้อเพลิงมีตั้งแต่ การทำความร้อนเพื่อการปรุงอาหาร การผลิตไฟฟ้า หรือแม้แต่การเพิ่มแสนยานุภาพของอาว.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและเชื้อเพลิง · ดูเพิ่มเติม »

เชื้อเพลิงชีวภาพ

ื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) เป็น เชื้อเพลิง ที่ได้จาก ชีวมวล หรือ มวลชีวภาพ ซึ่งเป็นผลผลิตจากสิ่งมีชีวิต หรือ ผลิตผลจากการสร้างและสลายของสิ่งมีชีวิต (metabolic byproducts) เช่นมูลสัตว์ ซึ่งเป็น พลังงานทดแทน (Alternative energy) และเป็นพลังงานสะอาด (clean energy)ไม่เหมือนพลังงานจาก แหล่งธรรมชาติ อื่น เช่น ปิโตรเลียม ถ่านหิน และ เชื้อเพลิง นิวเคลียร.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและเชื้อเพลิงชีวภาพ · ดูเพิ่มเติม »

เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์

ื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ หรือ เชื้อเพลิงฟอสซิล (fossil fuel; เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์เป็นศัพท์ทางธรณีวิทยา ส่วนเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นศัพท์ทางวิศวกรรมเครื่องกล) หรือแร่เชื้อเพลิง (อังกฤษ: mineral fuel) เป็นเชื้อเพลิงอันเกิดแต่ซากดึกดำบรรพ์ซึ่งได้แก่ไฮโดรคาร์บอนที่พบจากช่วงชั้นดิน (layer) ด้านบนสุดของเปลือกโลก เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์มีตั้งแต่แร่สารระเหยสูง (volatile material) ซึ่งมีอัตราคาร์บอนต่อไฮโดรเจนต่ำ เป็นต้นว่า แก๊สมีเทน ไปจนถึงปิโตรเลียมเหลว (liquid petroleum) และแร่ไร้สารระเหย (nonvolatile material) ซึ่งแร่ไร้สารระเหยนี้มักประกอบด้วยคาร์บอนบริสุทธิ์ เป็นต้นว่า ถ่านแอนทราไซต์ (anthracite coal) ทั้งนี้ แก๊สมีเทนอันมีในแร่สารระเหยสูงเช่นว่าสามารถพบได้ในสารจำพวกไฮโดรคาร์บอนเพียงจำพวกเดียวก็ได้ ในสารจำพวกไฮโดรคาร์บอนประสมกับน้ำมันก็ได้ และในรูปมีเทนผังหนา (methane clathrate) ก็ได้ ใน พ.ศ. 2548 องค์การข้อมูลข่าวสารด้านพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Energy Information Administration) ได้ประเมินว่าในบรรดาผลิตผลจากพลังงานในโลกนี้ ร้อยละแปดสิบหกมีต้นกำเนิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ ร้อยละหกจุดสามกำเนิดแต่พลังงานไฟฟ้าจากน้ำ (hydroelectric) และร้อยละหกจากพลังงานนิวเคลียร์ ส่วนร้อยละศูนย์จุดเก้าที่เหลือจากแหล่งพลังงานอื่น ๆ เป็นต้นว่า ความร้อนจากธรณีภาค (geothermal) พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานจากไม้ และพลังงานจากของใช้แล้ว.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชเวท

ัชเวท (Pharmacognosy) เป็นศาสตร์ทางเภสัชศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับยาอันมีที่มาจากแหล่งธรรมชาติ เภสัชเวทสมาคมแห่งสหรัฐอเมริกาได้ให้คำจำกัดความของเภสัชเวทไว้ว่า "เป็นการศึกษาลักษณะทางกายภาพ, เคมี, ชีวเคมี และคุณสมบัติทางชีวภาพของยา, สารที่นำมาใช้เป็นยาที่มีที่มาจากธรรมชาติ และการวิจัยค้นพบยาใหม่จากแหล่งธรรมชาติ" สมุนไพรที่นำมาใช้เป็นยาได้ภายหลังผ่านกระบวนการทางเภสัชกรรมเราเรียกว่า "เครื่องยา" โดยมีการจัดจำแนกตามคุณสมบัติของเครื่องยาตามวิธีการของศาสตร์ต่างๆ อาทิ เภสัชวิทยา, กลุ่มสารเคมี, การเรียงลำดับตามตัวอักษรละตินและภาษาอังกฤษ เป็นต้น เภสัชเวทเป็นหนึ่งในศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดศาสตร์หนึ่งของทางการแพทย์ และนับเป็นต้นกำเนิดของวิชาเภสัชศาสตร์ ในสมัยโบราณมีการใช้ยาจากธรรมชาติในการบำบัดรักษาเสียทั้งสิ้น ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่งนำมาสู่การสังเคราะห์ยาจากสารเคมีทดแทนวิธีการทางธรรมชาติ อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันมีความนิยมการใช้ยาสมุนไพรมากขึ้น ทำให้เภสัชเวทเป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่ได้รับการส่งเสริมในปัจจุบัน เภสัชเวทยังครอบคลุมไปถึงการประยุกต์ใช้ทางการแพทย์เช่น ไฟเบอร์, ยาง ในการศัลยกรรมรักษา และการใช้เพื่อควบคุมภูมิคุ้มกันในร่างกาย รวมถึงการใช้เป็นสารปรุงแต่งทางเภสัชกรรม, เครื่องสำอาง.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและเภสัชเวท · ดูเพิ่มเติม »

เลกวิวกัชเชอร์

ลกวิวกัชเชอร์นัมเบอร์วัน (Lakeview Gusher Number One) เป็นชื่อที่ตั้งให้การประทุมโหฬารเหนือการควบคุมของไฮโดรคาร์บอนจากบ่อน้ำมันความดันสูงในทุ่งน้ำมันมิดเวย์-ซันเซตในเทศมณฑลเคิร์น รัฐแคลิฟอร์เนีย ใน..

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและเลกวิวกัชเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอนเซลาดัส

อนเซลาดัส (Enceladus) หรือ Saturn II เป็นดาวบริวารขนาดใหญ่อันดับที่ 6 ของดาวเสาร์ ค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเชื้อสายเยอรมันนาม วิลเลียม เฮอร์เชล เมื่อ..

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและเอนเซลาดัส · ดูเพิ่มเติม »

เคมีอินทรีย์

มีอินทรีย์ (Organic chemistry) เป็นสาขาย่อยในวิชาเคมี ที่ว่าด้วยการศึกษาโครงสร้าง คุณสมบัติ องค์ประกอบ ปฏิกิริยา และการเตรียม (ด้วยการสังเคราะห์หรือด้วยวิธีการอื่น) สารประกอบที่มีธาตุคาร์บอนเป็นหลัก ไฮโดรคาร์บอนและอนุพันธ์ของพวกมันอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ สารประกอบเหล่านี้อาจมีธาตุอื่นอีกจำนวนหนึ่งด้วยก็ได้ เช่น ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน แฮโลเจน เช่นเดียวกับฟอสฟอรัส ซิลิกอนและซัลเฟอร์ สารประกอบอินทรีย์เป็นพื้นฐานกระบวนการของสิ่งมีชีวิตบนโลกแทบทั้งสิ้น (โดยมีข้อยกเว้นเล็กน้อยมาก) สารประกอบเหล่านี้มีโครงสร้างหลากหลายมาก ลักษณะการนำไปใช้ของสารประกอบอินทรีย์ก็มีมากมาย โดยเป็นได้ทั้งพื้นฐานของ หรือเป็นองค์ประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น พลาสติก ยา สารที่ได้จากน้ำมันปิโตรเคมี อาหาร วัตถุระเบิด และสี.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและเคมีอินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องฟอกไอเสียเชิงเร่งปฏิกิริยา

รื่องฟอกไอเสียแบบใช้เหล็กเป็นแกนรองรับสารเร่งปฏิกิริยา เครื่องฟอกไอเสียเชิงเร่งปฏิกิริยา (catalytic converter) เป็นอุปกรณ์สำหรับ กำจัด ลด ปริมาณมลพิษ ที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ ก่อนปล่อยออกสู่บรรยาก.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและเครื่องฟอกไอเสียเชิงเร่งปฏิกิริยา · ดูเพิ่มเติม »

เคโรเจน

รเจน เป็นส่วนผสมของสารอินทรีย์ ซึ่งพบในหินตะกอน ตามปกติเคโรเจนจะไม่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ เพราะมีมวลโมเลกุลสูงมาก (>1,000 Daltons) ส่วนที่ละลายได้เป็นที่รู้จักกันยางมะตอย เมื่อเคโรเจนได้รับความร้อนที่เหมาะสมจากเปลือกโลก เคโรเจนจะให้น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งรู้จักกันในนาม สารไฮโดรคาร์บอน (เชื้อเพลิงฟอสซิล) (น้ำมันที่อุณหภูมิ 60-160 °C ก๊าซธรรมชาติที่อุณหภูมิ 150-200 °C) ซึ่งไฮโดรคาร์บอนเหล่านั้น จะไปสะสมตัวในชั้นหินกักเก็บ (Reservoir Rock) ในกรณีนี้ชั้นหินตะกอนที่มีเคโรเจน จะเป็นชั้นหินต้นกำเนิด (Resource Rock) ในการกำเนิดปิโตรเลียม ชื่อ "เคโรเจน" (Kerogen)ถูกเสนอโดย Alexander Crum Brown นักเคมีอินทรีย์ชาวสก็อต ในปี..

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและเคโรเจน · ดูเพิ่มเติม »

เนินพุโคลน

เนินพุโคลน (mud volcano; mud dome) หมายถึง หมวดหินที่เกิดขึ้นจากของเหลวและแก๊สที่ปลดปล่อยออกมาในทางธรณีวิทยา ทว่ามีกระบวนการที่แตกต่างอย่างหลากหลาย ซึ่งอาจซึ่งก่อให้เกิดผลในลักษณะเช่นนี้ อุณหภูมิในกระบวนการนี้จะเย็นกว่ากระบวนการเกิดหินอัคนีเป็นอย่างมาก โครงสร้างที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 10 กิโลเมตร และมีความสูงถึง 700 เมตร แก๊สที่ปล่อยออกมาในเนินพุโคลนนี้ เป็นแก๊สมีเทน 80% พร้อมกันนี้ยังมีไนโตรเจนและคาร์บอนไดออกไซด์อีกเล็กน้อย วัตถุที่ถูกขับออกมานั้นมีลักษณะหนืด ประกอบด้วยของวัตถุแข็งขนาดเล็กละเอียด แขวนลอยอยู่ในของเหลว ซึ่งอาจรวมถึงน้ำ (มักจะเป็นกรด หรือเกลือ) และของเหลวจำพวกไฮโดรคาร์บอน เคยพบที่ประเทศไต้หวัน จังหวัดเกาสวง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงพอสมควร ผู้หญิงนิยมนำโคลนไปพอกหน้าเป็นเครื่องสำอางค์บำรุงผิว หมวดหมู่:วิทยาภูเขาไฟ.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและเนินพุโคลน · ดูเพิ่มเติม »

Sudan III

Submit to get this template or go to:Template:Chembox.

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและSudan III · ดูเพิ่มเติม »

90377 เซดนา

วเคราะห์แคระเซดนา อยู่ในวงกลมสีเขียว ภาพจำลองดาวเคราะห์แคระเซดนาที่วาดขึ้นโดยศิลปิน 90377 เซดนา (Sedna) เป็นดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ในบริเวณส่วนนอกของระบบสุริยะ ในปี..

ใหม่!!: ไฮโดรคาร์บอนและ90377 เซดนา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สารประกอบไฮโดรคาร์บอน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »