โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไนตรัสออกไซด์

ดัชนี ไนตรัสออกไซด์

แนวโน้มในการเป็นแก๊สเรือนกระจก ถังแก๊สไนตรัสออกไซด์สำหรับใช้ในทางทันตกรรม ไนตรัสออกไซด์ หรือ แก๊สหัวเราะ (Nitrous oxide หรือ laughing gas) คือสารประกอบทางเคมีที่มีสูตรทางเคมีว่า N2O ที่อุณหภูมิห้อง ไนตรัสออกไซด์จะไม่มีสี และเป็นแก๊สไม่ติดไฟ ไนตรัสออกไซด์มีกลิ่นหอมและมีรสหวานเล็กน้อย มีการนำไนตรัสออกไซด์ไปใช้ในการผ่าตัดและทางทันตกรรมเพื่อให้เกิดอาการชาและเพื่อการระงับความปวด โดยทั่วไปรู้จักกันในชื่อ “แก๊สหัวเราะ” เนื่องจากเมื่อสูดดมแล้วจะให้ความรู้สึกเคลิ้มสุขหรือครึ้มใจ เป็นคุณสมบัติที่ทำให้มีการใช้ในเชิงนันทนาการโดยการใช้เป็นยาดม และยังมีการนำไปใช้ในการแข่งรถยนต์โดยให้เป็นตัวเติมออกซิเจนเพื่อเพิ่มกำลังให้เครื่องยนต์อีกด้ว.

20 ความสัมพันธ์: ATC รหัส N01พิธีสารเกียวโตการทดลองแบบอำพรางการขาดวิตามินบี12รายชื่อสารประกอบอนินทรีย์รายชื่อประเทศเรียงตามการปล่อยแก๊ซเรือนกระจกลูกโป่งสเปรย์ละอองลอยหัวเราะอาหารคาร์บอนต่ำจรวดครอว์ฟอร์ด ลองปรากฏการณ์โลกร้อนปรากฏการณ์เรือนกระจกแก๊สเรือนกระจกไนตริกออกไซด์ไนโตรเจนไนโตรเจนออกไซด์ไนโตรเจนไดออกไซด์เฟนไซคลิดีน

ATC รหัส N01

วนของ ระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical Therapeutic Chemical Classification System) N ระบบประสาท (Nervous system).

ใหม่!!: ไนตรัสออกไซด์และATC รหัส N01 · ดูเพิ่มเติม »

พิธีสารเกียวโต

ีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ต่อท้ายอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) กำหนดพันธกรณีผูกพันต่อประเทศอุตสาหกรรมให้ลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก UNFCCC เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งมีเป้าหมายเพื่อบรรลุ "เสถียรภาพความเข้มข้นของแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศที่ระดับซึ่งจะป้องกันการรบกวนอันตรายจากน้ำมือมนุษย์กับระบบภูมิอากาศ" พิธีสารเกียวโตมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2540 ในเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น และมามีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 จนถึงเดือนกันยายน 2554 มี 191 รัฐลงนามและให้สัตยาบันพิธีสารฯ สหรัฐอเมริกาลงนามแต่มิได้ให้สัตยาบันพิธีสารฯ และแคนาดาถอนตัวจากพิธีสารฯ ในปี 2554 รัฐสมาชิกสหประชาชาติอื่นซึ่งมิได้ให้สัตยาบันพิธีสารฯ ได้แก่ อัฟกานิสถาน อันดอร์ราและเซาท์ซูดาน ภายใต้พิธีสารฯ 37 ประเทศอุตสาหกรรม และประชาคมยุโรปในขณะนั้น ("ภาคีภาคผนวกที่ 1") ผูกมัดตนเองให้จำกัดหรือลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกสี่ชนิด (คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์และซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์) และแก๊สสองกลุ่ม (ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอนและเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน) รัฐสมาชิกทุกรัฐให้พันธกรณีทั่วไป การจำกัดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกนี้ไม่รวมการปล่อยจากการบินและการเดินเรือระหว่างประเทศ ที่การเจรจา ประเทศภาคผนวกที่ 1 ตกลงร่วมกันจะลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 5.2 ในระยะปี 2551-2555 เป็นสัดส่วนกับการปล่อยแก๊สเรือนกระจกต่อปีในปีฐาน ซึ่งโดยปกติใช้ปี 2533 เนื่องจากสหรัฐอเมริกามิได้ให้สัตยาบันในสนธิสัญญา การปล่อยแก๊สเรือนกระจกร่วมกันของประเทศภาคผนวกที่ 1 พิธีสารเกียวโตลดลงจากต่ำกว่าปีฐานร้อยละ 5.2 เหลือร้อยละ 4.2 PBL publication number 500253004.

ใหม่!!: ไนตรัสออกไซด์และพิธีสารเกียวโต · ดูเพิ่มเติม »

การทดลองแบบอำพราง

การทดลองแบบอำพราง"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ hemisphere ว่า "doubled blind cross-over study" ว่า "การศึกษาข้ามกลุ่มแบบอำพรางสองฝ่าย" (blind experiment, blinded experiment) เป็นการทดลองที่ปิดข้อมูลเกี่ยวกับการทดลองที่อาจจะทำให้เกิดความเอนเอียงในผลการทดลอง ไม่ให้ผู้ทำการทดลอง หรือผู้รับการทดลอง หรือทั้งสองฝ่าย รับรู้ จนกระทั่งการทดลองได้จบเสร็จสิ้นลงแล้ว ความเอนเอียงที่อาจเกิดขึ้นนั้นเป็นได้ทั้งแบบจงใจหรือแบบไม่จงใจ ส่วนการทดลองที่ทั้งสองฝ่ายไม่รู้เรื่องที่ปิด เรียกว่า การทดลองแบบอำพรางสองฝ่าย (double-blinded experiment) นักวิทยาศาสตร์จะใช้การทดสอบแบบอำพราง.

ใหม่!!: ไนตรัสออกไซด์และการทดลองแบบอำพราง · ดูเพิ่มเติม »

การขาดวิตามินบี12

การขาดวิตามินบี12 หรือ ภาวะขาดวิตามินบี12 (Vitamin B12 deficiency, hypocobalaminemia) หมายถึงการมีระดับวิตามินบี12 ในเลือดต่ำ ซึ่งอาจมีอาการหลายอย่างรวมทั้งปัญหาทางความคิด ความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและอารมณ์ เช่น ความซึมเศร้า ความหงุดหงิด โรคจิต (psychosis) --> ความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน (paresthesia) รีเฟล็กซ์เปลี่ยน กล้ามเนื้อทำงานไม่ดี ลิ้นอักเสบ (glossitis) ได้รสชาติลดลง (hypogeusia) เม็ดเลือดแดงน้อย (เลือดจาง) การทำงานของหัวใจผิดปกติ (cardiomyopathy) และความเป็นหมัน ในเด็กเล็ก ๆ อาการอาจรวมการไม่โต พัฒนาการที่ล่าช้า และความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว (movement disorder) ถ้าไม่รักษา ความเปลี่ยนแปลงอาจจะกลายเป็นปัญหาถาวร เหตุสามัญรวมทั้งการดูดซึมวิตามินได้ไม่ดีจากกระเพาะหรือลำไส้ การทานอาหารที่มีวิตามินไม่พอ และความต้องการที่เพิ่มขึ้น --> การดูดซึมได้ไม่ดีอาจมีเหตุจากโรคโลหิตจางเหตุขาดวิตามินบี12 (pernicious anemia) การผ่าตัดเอากระเพาะออก ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง พยาธิในลำไส้ ยาบางชนิด และความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ --> ส่วนการทานอาหารที่มีวิตามินไม่พออาจเกิดกับผู้ที่ทานอาหารเจแบบวีแกน หรือได้สารอาหารไม่เพียงพอ --> ความต้องการที่เพิ่มขึ้นอาจเกิดในคนไข้เอชไอวี/เอดส์ และในบุคคลที่สลายเม็ดเลือดแดงอย่างรวดเร็ว การวินิจฉัยปกติจะอาศัยระดับวิตามินบี12 ในเลือดที่ต่ำกว่า 120-180 picomol/L (หรือ 170-250 pg/mL) ในผู้ใหญ่ --> การมีระดับกรด methylmalonic ที่สูงขึ้น คือ เกิน 0.4 micromol/L อาจจะเป็นตัวบ่งความขาดวิตามินได้ด้วย --> การมีภาวะโลหิตจางแบบ megaloblastic anemia (ที่เม็ดเลือดใหญ่เกินปกติเพราะแบ่งตัวไม่ได้) เกิดขึ้นบ่อยครั้งแต่ไม่จำเป็น สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐแนะนำให้หญิงทานเจที่มีครรภ์ทานวิตามินเสริมเพื่อป้องกันการขาด เมื่อระบุปัญหาได้แล้ว สามารถรักษาได้ง่าย ๆ โดยให้วิตามินเสริมไม่ทางปากก็ทางการฉีด ไม่ต้องกังวลว่าจะมีวิตามินบี12 เกินในบุคคลที่มีสุขภาพดี คนไข้บางรายอาจจะดีขึ้นเองถ้ารักษาโรคที่เป็นเหตุ ในบางกรณีอาจจะต้องทานวิตามินชั่วชีวิตเพราะโรคที่เป็นเหตุไม่สามารถรักษาได้ การขาดวิตามินบี12 เป็นเรื่องสามัญ ประมาณว่า 6% ของคนที่อายุต่ำกว่า 60 และ 20% ของคนที่อายุมากกว่า 60 จะมีปัญหานี้ --> โดยอัตราอาจสูงถึง 80% ในบางเขตของทวีปแอฟริกาและเอเชี.

ใหม่!!: ไนตรัสออกไซด์และการขาดวิตามินบี12 · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสารประกอบอนินทรีย์

รประกอบอนินทรีย์ (อังกฤษ:inorganic compound) คือสารประกอบที่มีในโลกที่ไม่มีธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจน.

ใหม่!!: ไนตรัสออกไซด์และรายชื่อสารประกอบอนินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อประเทศเรียงตามการปล่อยแก๊ซเรือนกระจก

้านล่างนี้คือ รายชื่อประเทศเรียงตามการปล่อยแก๊สเรือนกระจก (GHG) โดยเป็นข้อมูลจากปี 2010 ซึ่งข้อมูลขึ้นอยู่กับการปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์, มีเทน, ไนตรัสออกไซด์, สารเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน, ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน, และ ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ ของแต่ละประเท.

ใหม่!!: ไนตรัสออกไซด์และรายชื่อประเทศเรียงตามการปล่อยแก๊ซเรือนกระจก · ดูเพิ่มเติม »

ลูกโป่ง

ลูกโป่งใช้สำหรับโอกาสพิเศษต่าง ๆ เช่น วันเกิด หรือวันหยุด และมักใช้ประดับตกแต่งงานเลี้ยงสังสรรค์ ลูกโป่ง คือวัตถุรูปร่างต่าง ๆ ที่ยืดหยุ่นได้ที่ทำให้พองโดยบรรจุแก๊ส เช่น ฮีเลียม ไฮโดรเจน ไนตรัสออกไซด์ ออกซิเจน หรืออากาศไว้ภายใน ลูกโป่งสมัยใหม่ทำจากยาง น้ำยาง พอลีคลอโรพรีน หรือผ้าไนลอน และมีได้หลายสี ในสมัยก่อน ลูกโป่งทำจากกระเพาะปัสสาวะสัตว์ที่แห้งแล้ว เช่น กระเพาะปัสสาวะของหมู ลูกโป่งบางชนิดมีไว้เพื่อประดับตกแต่งสถานที่ แต่บางชนิดถูกใช้จริงเพื่อจุดประสงค์ต่าง ๆ เช่น ในทางอุตุนิยมวิทยา การแพทย์ การทหาร หรือการขนส่ง ลูกโป่งเป็นที่นิยมกว้างขวางเนื่องจากมีน้ำหนักเบาและราคาถูก ผู้ประดิษฐ์ลูกโป่งยางได้คนแรกคือ ไมเคิล ฟาราเดย์ ใน..

ใหม่!!: ไนตรัสออกไซด์และลูกโป่ง · ดูเพิ่มเติม »

สเปรย์ละอองลอย

ทธิบัตร สเปรย์ละอองลอย หรือที่เรียกกันติดปากว่า กระป๋องสเปรย์ สเปรย์ละอองลอย หมายถึง กระป๋อง หรือสิ่งที่ออกมาจากกระป๋อง ซึ่งฉีดสารที่มีสภาพเป็น ละอองลอย ในภาษาพูดทั่วไป เรียกสั้นๆว่า สเปรย์ เป็นผลิตภัณฑ์บรรจุกระป๋องชนิดหนึ่ง ที่สามารถฉีดพรมของเหลวที่บรรจุออกมาในรูปฝอยของอนุภาคละอองลอย เพราะสเปรย์ละอองลอยชนิดนี้บรรจุสาร 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งเป็น ของเหลวบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการฉีดให้ฟุ้งกระจาย และอีกกลุ่มหนึ่งเป็น ไอภายใต้ความกดดันสูงจนอยู่ในรูปของเหลว ซึ่งมักเป็นแก๊สเฉื่อย ละลายรวมอยู่ในบรรจุภัณฑ์เพื่อเป็น กำลังขับดัน เมื่อลิ้นถูกเปิด ของเหลวถูกดันให้ไหลออกผ่านรูเล็ก และปรากฏเป็นอนุภาคละอองลอย คล้ายหมอก ขณะที่แก๊สขยายและขับบรรจุภัณฑ์ออก กำลังขับดันบางส่วนกลายเป็นไอภายในกระป๋อง และรักษาความดันให้คงที่ เมื่อออกนอกกระป๋อง หยดละอองของของเหลวที่เป็นกำลังขับดันกลายเป็นไออย่างรวดเร็ว ทิ้งให้หยดละอองของของเหลวบรรจุภัณฑ์ แขวนลอยในรูปของอนุภาคหรือหยดละอองที่ละเอียดมาก ของเหลวที่ผสมดังกล่าว เช่น ยาฆ่าแมลง, ยาดับกลิ่น และสีสเปรย์ เครื่องมือฉีดพ่นทางการเกษตร ก็ใช้หลักการคล้ายกันนี้ คือเพิ่มกำลังกดอากาศด้วยมือสูบ ซึ่งให้ผลดีกว่า สเปรย์ละอองลอย ซึ่งใช้เพียงแก๊สที่เก็บอัดไว้.

ใหม่!!: ไนตรัสออกไซด์และสเปรย์ละอองลอย · ดูเพิ่มเติม »

หัวเราะ

หนุ่มสาวขณะที่กำลังหัวเราะ หัวเราะ เป็นการแสดงออกของมนุษย์ที่มีภาวะอารมณ์ขัน หัวเราะเป็นปฏิกิริยาต่อเรื่องขำขัน สิ่งที่น่าขัน โดยแสดงออกเป็นการเปล่งเสียงพร้อมกับยิ้ม การหัวเราะโดยผิดธรรมชาติ อาจเกิดได้เช่น การได้รับก๊าซหัวเราะ เป็นต้น.

ใหม่!!: ไนตรัสออกไซด์และหัวเราะ · ดูเพิ่มเติม »

อาหารคาร์บอนต่ำ

อาหารคาร์บอนต่ำ กล่าวถึงการเลือกใช้ชีวิตโดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGe) ที่มาจากการใช้พลังงาน มีการประเมินว่า อย่างน้อย 20 เปอร์เซ็นต์ของก๊าซเรือนกระจกในสหรัฐอเมริกามาจากวิธีการทางอาหาร ตัวเลขนี้อาจต่ำเพราะคำนวณจากแหล่งกำเนิดของก๊าซเรือนกระจกโดยตรง แหล่งกำเนิดทางอ้อม เช่น ความต้องการผลิตภัณฑ์จากประเทศอื่นยังไม่ได้ถูกรวมไว้ อาหารคาร์บอนต่ำจะลดปริมาณการปล่อยก๊าซให้น้อยที่สุดจากผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ กรรมวิธีทางอาหาร การขนส่ง การเตรียมอาหาร และขยะจากอาหาร หลักการของอาหารคาร์บอนต่ำนี้รวมถึงการบริโภคเนื้อและนมจากโรงงานให้น้อยลง โดยทั่วไปคือลดการบริโภคอาหารจากโรงงาน แต่บริโภคอาหารจากท้องถิ่นและอาหารตามฤดูกาล บริโภคอาหารที่ผ่านกรรมวิธีน้อยขั้นตอนและมีบรรจุภัณฑ์น้อย ลดขยะจากอาหารโดยการเลือกปริมาณอาหารให้พอเหมาะ การรีไซเคิล และการทำปุ๋.

ใหม่!!: ไนตรัสออกไซด์และอาหารคาร์บอนต่ำ · ดูเพิ่มเติม »

จรวด

รวดโซยุซ-ยู (Soyuz-U) ณ ฐานปล่อยที่ 1/5 ไบโคนูร์ ไซต์1/5 (Baikonur's Site 1/5) ในคาซัคสถาน (Kazakhstan) การปล่อยจรวดแซทเทิร์น 5 อะพอลโล 15: เวลาเริ่มปล่อย T - 30 วินาที เวลาเสร็จสิ้น T + 40 วินาที จรวด หมายถึงขีปนาวุธ, ยานอวกาศ, เครื่องบิน หรือพาหนะอื่นใดที่อาศัยแรงผลักดันของไอเสียที่มีต่อตัวจรวดในการพุ่งไปข้างหน้า โดยใช้การเผาผลาญเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์จรวด ในจรวดทุกชนิดไอเสียจะเกิดขึ้นทั้งหมดจากเชื้อเพลิงขับดันที่บรรทุกไปด้วยภายในจรวดก่อนที่จะถูกใช้งาน chapter 1 จรวดเคมีสร้างพลังงานจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงจรวด ผลจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงและตัวอ๊อกซิไดซ์ภายในห้องเผาไหม้จะทำให้เกิดก๊าซร้อนที่มีอุณหภูมิสูงมากและขยายตัวออกไปทางหัวฉีดทำให้ก๊าซเคลื่อนที่ด้วยความเร่งในระดับไฮเปอร์โซนิก ซึ่งทำให้เกิดแรงผลักมหาศาลต่อตัวจรวดตามกฎข้อที่สามของนิวตัน (แรงกิริยาเท่ากับแรงปฏิกิริยา)โดยในทางทหารและสันทนาการมีประวัติของการใช้จรวดเป็นอาวุธและเครื่องมือในช่วงเวลานั้น จรวดได้ถูกใช้สำหรับงานทางทหารและสันทนาการ ย้อนกลับไปอย่างน้อยศตวรรษที่ 13 ในประเทศจีน (China) "Rockets in Ancient Times (100 B.C. to 17th Century)" ในทางทหาร, วิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมได้ใช้จรวดเป็นอาวุธและเครื่องมือแต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายจนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 20, เมื่อวิทยาการที่เกี่ยวกับจรวดได้ถือกำเนิดขึ้น เป็นการเปิดประตูสู่ยุคอวกาศ,กับการที่มนุษย์กำลังจะไปเหยียบดวงจันทร์ จรวดได้ถูกใช้สำหรับทำดอกไม้ไฟและอาวุธ, เก้าอี้ดีดตัวสำหรับนักบินและพาหนะสำหรับนำส่งดาวเทียม, นักบินอวกาศ และการสำรวจดาวเคราะห์ต่าง ๆ ในขณะที่จรวดที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพนั้นจะใช้สำหรับการขับเคลื่อนด้วยอัตราเร็วที่ต่ำ ๆ, นักวิทยาศาสตร์จะเปรียบเทียบหาจรวดที่มีแรงขับเคลื่อนในระบบอื่น ๆ, ที่มีน้ำหนักเบากว่าและมีประสิทธิภาพสูงกว่า, ทำให้สามารถสร้างความเร่งในการเคลื่อนที่ของจรวดได้มากขึ้น และสามารถทำให้เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วที่สูงอย่างยิ่งด้วยประสิทธิภาพที่เหมาะสม จรวดเคมีเป็นชนิดของจรวดที่พบมากที่สุดและพวกมันมักจะสร้างไอเสียโดยการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจรวด จรวดเคมีต้องการที่เก็บพลังงานเชื้อเพลิงที่มีขนาดใหญ่โตมากในรูปแบบที่พร้อมจะปลดปล่อยตัวเองออกมาได้อย่างง่ายดาย และมีอันตรายมาก อย่างไรก็ตาม, จะต้องทำด้วยการออกแบบอย่างรอบคอบ, การทดสอบ, การก่อสร้าง, และใช้ความเสี่ยงอันตรายให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้.

ใหม่!!: ไนตรัสออกไซด์และจรวด · ดูเพิ่มเติม »

ครอว์ฟอร์ด ลอง

รอว์ฟอร์ด ลอง บนแสตมป์สหรัฐฯ ครอว์ฟอร์ด วิลเลียมสัน ลอง (Crawford Williamson Long; 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 – 16 มิถุนายน ค.ศ. 1878) เป็นศัลยแพทย์และเภสัชกรชาวอเมริกัน เป็นบุคคลแรกที่ใช้ไดเอทิลอีเทอร์เป็นยาระงับความรู้สึก (anesthetic) ครอว์ฟอร์ด ลอง เกิดเมื่อปี..

ใหม่!!: ไนตรัสออกไซด์และครอว์ฟอร์ด ลอง · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์โลกร้อน

ผิดปรกติของอุณหภูมิเฉลี่ยที่ผิวโลกที่เพิ่มขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2403–2549 เทียบกับอุณหภูมิระหว่าง พ.ศ. 2504–2533 ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิผิวพื้นที่ผิดปกติที่เทียบกับอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่างปี พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2551 ปรากฏการณ์โลกร้อน หมายถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและน้ำในมหาสมุทรตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 และมีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา นับถึง พ.ศ. 2548 อากาศใกล้ผิวดินทั่วโลกโดยเฉลี่ยมีค่าสูงขึ้น 0.74 ± 0.18 องศาเซลเซียส ซึ่งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ของสหประชาชาติได้สรุปไว้ว่า “จากการสังเกตการณ์การเพิ่มอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ประมาณตั้งแต่ พ.ศ. 2490) ค่อนข้างแน่ชัดว่าเกิดจากการเพิ่มความเข้มของแก๊สเรือนกระจกที่เกิดขึ้นโดยกิจกรรมของมนุษย์ที่เป็นผลในรูปของปรากฏการณ์เรือนกระจก” ปรากฏการณ์ธรรมชาติบางอย่าง เช่น ความผันแปรของการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์และการระเบิดของภูเขาไฟ อาจส่งผลเพียงเล็กน้อยต่อการเพิ่มอุณหภูมิในช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมจนถึง พ.ศ. 2490 และมีผลเพียงเล็กน้อยต่อการลดอุณหภูมิหลังจากปี 2490 เป็นต้นมา ข้อสรุปพื้นฐานดังกล่าวนี้ได้รับการรับรองโดยสมาคมและสถาบันการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 30 แห่ง รวมทั้งราชสมาคมทางวิทยาศาสตร์ระดับชาติที่สำคัญของประเทศอุตสาหกรรมต่าง ๆ แม้นักวิทยาศาสตร์บางคนจะมีความเห็นโต้แย้งกับข้อสรุปของ IPCC อยู่บ้าง แต่เสียงส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศของโลกโดยตรงเห็นด้วยกับข้อสรุปนี้ แบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศที่สรุปโดย IPCC บ่งชี้ว่าอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยที่ผิวโลกจะเพิ่มขึ้น 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 (พ.ศ. 2544–2643) ค่าตัวเลขดังกล่าวได้มาจากการจำลองสถานการณ์แบบต่าง ๆ ของการแผ่ขยายแก๊สเรือนกระจกในอนาคต รวมถึงการจำลองค่าความไวภูมิอากาศอีกหลากหลายรูปแบบ แม้การศึกษาเกือบทั้งหมดจะมุ่งไปที่ช่วงเวลาถึงเพียงปี..

ใหม่!!: ไนตรัสออกไซด์และปรากฏการณ์โลกร้อน · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์เรือนกระจก

แผนภูมิแสดงการแลกเปลี่ยนพลังงานระหว่างดวงอาทิตย์ พื้นผิวโลก ชั้นบรรยากาศของโลก และอวกาศ ความสามารถของชั้นบรรยากาศในการจับและนำพลังงานที่แผ่ออกมาจากพื้นผิวโลกกลับมาใช้ใหม่เป็นลักษณะนิยามของปรากฏการณ์เรือนกระจก ปรากฏการณ์เรือนกระจก (greenhouse effect) คือ ขบวนการที่รังสีความร้อนจากพื้นผิวโลกจะถูกดูดซับโดยก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ และแผ่รังสีออกไปอีกครั้งในทุกทิศทาง เนื่องจากการแผ่รังสีออกไปอีกครั้งถูกส่งกลับมายังพื้นผิวโลกและบรรยากาศด้านล่าง เป็นผลทำให้ระดับอุณหภูมิพื้นผิวโลกเฉลี่ยสูงขึ้นถ้าไม่มีก๊าซเหล่านี้A concise description of the greenhouse effect is given in the Intergovernmental Panel on Climate Change Fourth Assessment Report, "What is the Greenhouse Effect?", IIPCC Fourth Assessment Report, Chapter 1, page 115: "เพื่อความสมดุลของพลังงานที่ส่งมาจากดวงอาทิตย์ โลกโดยเฉลี่ยต้องแผ่รังสีพลังงานจำนวนที่เท่ากันกลับไปสู่อวกาศ เพราะว่าโลกเย็นกว่าดวงอาทิตย์ โลกจึงแผ่รังสีที่ความยาวคลื่นที่ยาวกว่าในแถบความถี่อินฟราเรด รังสีความร้อนที่ปล่อยออกมาจากพื้นดินและมหาสมุทรจำนวนมากนี้จะถูกดูดซับในชั้นบรรยากาศรวมทั้งหมู่เมฆและแผ่รังสีอีกครั้งกลับมายังโลก ขบวนการนี้เรียกว่าปรากฏการณ์เรือนกระจก" Stephen H. Schneider, in Geosphere-biosphere Interactions and Climate, Lennart O. Bengtsson and Claus U. Hammer, eds., Cambridge University Press, 2001, ISBN 0-521-78238-4, pp.

ใหม่!!: ไนตรัสออกไซด์และปรากฏการณ์เรือนกระจก · ดูเพิ่มเติม »

แก๊สเรือนกระจก

ice core) ล่าง: ปริมาณสุทธิของคาร์บอนที่เพิ่มในบรรยากาศเปรียบเทียบกับคาร์บอนที่ปลดปล่อยจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (fossil fuel) แก๊สเรือนกระจก (greenhouse gas) หรือบางครั้งเรียกย่อๆว่า GHG คือแก๊สในบรรยากาศที่ดูดซับและปลดปล่อยรังสีภายในช่วงความถี่(คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า)อินฟราเรดร้อน (thermal infrared range) ทำให้เกิดการสูญเสียความร้อนบางส่วนออกสู่ห้วงอวกาศภายนอกและปลดปล่อยความร้อนกลับสู่พื้นผิวโลก ขบวนการนี้จึงเป็นสาเหตุพื้นฐานของปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse effect) แก๊สเรือนกระจกมีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการรักษาระดับอุณหภูมิของโลก หากปราศจากแก๊สเรือนกระจก โลกจะหนาวเย็นจนสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยไม่ได้ อุณหภูมิในโลกจะต่ำกว่าปัจจุบันที่ 14 °C (57 °F) ลงอีก 33 °C (59 °F) แต่การมีแก๊สเรือนกระจกมากเกินไปก็เป็นเหตุให้อุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตดังที่เป็นอยู่กับบรรยากาศของดาวศุกร์ซึ่งมีบรรยากาศที่ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์มากถึงร้อยละ 96.5 มีผลให้อุณหภูมิผิวพื้นร้อนมากถึง 467 °C (872 °F) คำว่า “แก๊สเรือนกระจก” บนโลกหมายถึงแก๊สต่างๆ เรียงตามลำดับความอุดมคือ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ โอโซน และ คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon) แก๊สเรือนกระจกเกิดเองตามธรรมชาติและจากกระบวนการอุตสาหกรรมซึ่งปัจจุบันทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์มีในบรรยากาศ 380 ppmv และที่ปรากฏในแกนน้ำแข็งตัวอย่าง (ดูแผนภูมิ) จะเห็นว่าระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศปัจจุบันสูงกว่าระดับเมื่อก่อนยุคอุตสาหกรรมประมาณ 100 ppmv.

ใหม่!!: ไนตรัสออกไซด์และแก๊สเรือนกระจก · ดูเพิ่มเติม »

ไนตริกออกไซด์

นตริกออกไซด์ (Nitric oxide; NO) หรือไนโตรเจนออกไซด์ หรือไนโตรเจนมอนอกไซด์ เป็น โมเลกุล ที่มีสูตรทางเคมีเป็นNO เป็นอนุมูลอิสระ ที่อยู่ในรูปของก๊าซ สามารถเคลื่อนที่ได้ดีในเซลล์ ทั้งบริเวณที่ชอบน้ำและไม่ชอบน้ำ และมีความสำคัญในทางอุตสาหกรรมไนตริกออกไซด์เป็นผลพลอยได้ของการเผาไหม้สารอินทรีย์ในที่ที่มีอากาศ เช่นเครื่องยนต์ โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล และเกิดขึ้นตามธรรมชาติระหว่างการเกิดฟ้าผ่า พืชสามารถสังเคราะห์ NO ขึ้นได้โดยวิถีกระบวนการสร้างและสลายที่ใช้ Arginine หรือไนไตรต์ เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องที่สำคัญในพืช ได้แก่ nitrate reductase (NR) ซึ่งเปลี่ยนไนไตร์ลเป็น NO โดยมีโมลิบดินัมเป็นโคแฟกเตอร์ เอนไซม์อีกตัวหนึ่งที่เกี่ยวข้องคือ xanthine oxidoreductase ซึ่งมีโมลิบดินัมและโคบอลต์เป็นองค์ประกอบด้วย Arasimowicz, M., and Floryszak-Wieczorek, J. 2007.

ใหม่!!: ไนตรัสออกไซด์และไนตริกออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไนโตรเจน

นโตรเจน (Nitrogen) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ N และเลขอะตอม 7 เป็นอโลหะที่มีสถานะเป็นแก๊สที่มีอยู่ทั่วไป โดยปกติไม่มีสี กลิ่น หรือรส แต่ละโมเลกุลมี 2 อะตอม ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบของบรรยากาศ ของโลกถึง 78 เปอร์เซ็นต์ และเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อในสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ไนโตรเจนยังเป็นส่วนประกอบในสารประกอบที่สำคัญหลายชนิด เช่น กรดอะมิโน แอมโมเนีย กรดไนตริก และสารจำพวกไซยาไน.

ใหม่!!: ไนตรัสออกไซด์และไนโตรเจน · ดูเพิ่มเติม »

ไนโตรเจนออกไซด์

นโตรเจนออกไซด์ (NOx) หรือ กลุ่มก๊าซที่มี (Highly reactive gases) เป็นก๊าซซึ่งมีองค์ประกอบทางเคมีของไนโตรเจนและออกซิเจน ในอัตราส่วนแตกต่างกัน ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ยกเว้นก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ เมื่อรวมตัวกับอนุภาคอื่น ๆ ในอากาศ จะเห็นคล้ายตดเป็นชั้นสีน้ำตาลแดง.

ใหม่!!: ไนตรัสออกไซด์และไนโตรเจนออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไนโตรเจนไดออกไซด์

นโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen dioxide) เป็นสารประกอบเคมีที่มีสูตรเคมี เป็นหนึ่งในหลาย ๆ ของไนโตรเจนออกไซด์ เป็นระดับกลางในการสังเคราะห์อุตสาหกรรมของกรดไนตริก นับล้านตันที่ผลิตในแต่ละปี แก๊สพิษสีน้ำตาลแดงนี้มีลักษณะคมกัดกลิ่นและมลพิษทางอากาศที่โดดเด่น ไนโตรเจนใดออกไซด์เป็นโมเลกุลพาราแมกเนติก โค้งด้วย C2v กลุ่มจุดเชื่อมสมมาตร.

ใหม่!!: ไนตรัสออกไซด์และไนโตรเจนไดออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

เฟนไซคลิดีน

Phencyclidine (ชื่อทางเคมีของ 1-(1-)), มักรู้จักในชื่อของ PCP หรือชื่อทางการค้า เช่น Angel Dust, Embalming fluid, Killer weed, Rocket fuel, Supergrass, Ozone, Wack, Killer joint ยาเสพติดชนิดนี้ถือกำเนิดเมื่อตอนช่วงยุคทศวรรษ2490ในรูปของยาชา (anesthetic pharmaceutical drug) แต่ตอนหลังถูกห้ามใช้เพราะว่ามีผลข้างเคียงเช่นเดียวกับยาหลอนประสาท(dissociative hallucinogenic) เช่นเดียวกับยาเค ในภายหลังจำนวนอนุพันธ์สังเคราะห์ของ PCP ได้รับการขายเป็นยาเสพติดที่ไว้ใช้สำหรับพักผ่อนหย่อนใจและไม่ได้ใช้ในการแพทย์ ในทางโครงสร้างเคมี PCP จัดอยู่ในกลุ่มของ arylcyclohexylamine class และ ในกลุ่มทางเภสัชวิทยาได้อยู่ในกลุ่มของยาชา PCP สามารถเสพได้โดยการทานเข้าไป ใช้ควัน หรือฉีดเข้าเส้นเลือดก็ได้.

ใหม่!!: ไนตรัสออกไซด์และเฟนไซคลิดีน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

N2ONitrous oxideแก๊สหัวเราะ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »