เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ไชร์

ดัชนี ไชร์

ร์ (ภาษาอังกฤษ: Shire) เป็นเขตบริหารการปกครองโบราณของบริเตนใหญ่และออสเตรเลีย คำว่า “ไชร์” กับ “เคาน์ตี้” ใช้แลกเปลี่ยนกันมาตั้งแต่สมัยนอร์มันได้รับชัยชนะต่ออังกฤษ เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 แต่ในภาษาอังกฤษใหม่คำว่า “ไชร์” มักจะไม่ใช้แทนที่คำว่า “เคาน์ตี้” นอกจากนั้นคำว่า “ไชร์” ยังเป็นคำที่ใช้ต่อท้ายชื่อมลฑลหลายมลฑลในอังกฤษ เช่น มลฑลฮาร์ทฟอร์ดเชอร์ หรือ มลฑลเลสเตอร์เชอร์ แต่จะออกเสียง “เชอร์” เมื่อเป็นส่วนหนึ่งของชื่อมลฑล ในออสเตรเลีย “ไชร์” ยังคงใช้เป็นเขตบริหารการปกครองในปัจจุบัน.

สารบัญ

  1. 34 ความสัมพันธ์: บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ฟินร็อดฟินาร์ฟินพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชพาลันเทียร์กรูตไอลันดต์ภาษาเวสทรอนมิธริลมิธลอนด์ริเวนเดลล์ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดาสงครามแหวนอารากอร์นอาร์นอร์อาณาจักรในอาร์ดาฮอบบิทธอริน โอเคนชิลด์ทรีเบียร์ดที่ประชุมของเอลรอนด์ซารูมานป่าดึกดำบรรพ์แม่น้ำในมิดเดิลเอิร์ธแซมไวส์ แกมจีโฟรโด แบ๊กกิ้นส์ไชร์ (แก้ความกำกวม)เบเลริอันด์เกาเมอเรียด็อค แบรนดี้บั๊กเอเรียดอร์เทศมณฑลที่ไม่ใช่มหานครเทศมณฑลที่เป็นมหานครและไม่ใช่มหานครของอังกฤษเทศมณฑลของอังกฤษเทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษเปเรกริน ตุ๊ก

บิลโบ แบ๊กกิ้นส์

ลโบ แบ๊กกิ้นส์ (Bilbo Baggins) เป็นตัวละครสำคัญตัวหนึ่งในปกรณัมของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขาปรากฏในนิยายเรื่องเดอะฮอบบิท และเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ในฐานะผู้ครองแหวนคนที่ห้.

ดู ไชร์และบิลโบ แบ๊กกิ้นส์

ฟินร็อด

ตามปกรณัมชุด เดอะซิลมาริลลิออน ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ฟินร็อด เฟลากุนด์ (Finrod Felagund) เป็นเจ้าชายเอลฟ์ชาวโนลดอร์ ทรงเป็นโอรสองค์ใหญ่ของฟินาร์ฟิน ผู้เป็นโอรสของกษัตริย์ฟินเว จอมกษัตริย์องค์แรกของชาวโนลดอร์ทั้งมวล มารดาของพระองค์คือเจ้าหญิงเออาร์เวนแห่งอัลควาลอนเด ธิดาของกษัตริย์โอลเว ชาวเทเลริ ชื่อ 'ฟินร็อด' เป็นคำในภาษาซินดาริน ส่วนชื่อจริงของพระองค์เป็นภาษาเทเลริน คือ ฟินดาราโท (Findaráto) มีความหมายว่า 'ทายาทแห่งฟินเวผู้สูงศักดิ์' ซึ่งชื่อนี้ในภาษาเควนยาจะออกเสียงเป็น อาร์ทาฟินเด (Artafinde) ส่วนสมัญญานาม เฟลากุนด์ เป็นชื่อที่เหล่าคนแคระผู้ก่อสร้างอาณาจักรถ้ำแห่งนาร์โกธรอนด์ ตั้งถวายแด่พระองค์ มีความหมายว่า 'ผู้ขุดเจาะถ้ำ' นอกจากนี้พระองค์ยังมีอีกสมัญญาหนึ่งว่า โนม (Nóm) ซึ่งหมายถึง 'ผู้ทรงปัญญา' เป็นชื่อที่มนุษย์ในตระกูลเบออร์ตั้งถวายแด่พระองค์ ฟินร็อดเป็นโอรสของฟินาร์ฟินกับเออาร์เวน มีน้องชายคือ โอโรเดร็ธ อังกร็อด อายก์นอร์ และน้องสาวสุดท้องคือ กาลาเดรียล พระองค์เดินทางมายังมิดเดิลเอิร์ธเมื่อครั้งกบฏชาวโนลดอร์เดินทัพออกจากแผ่นดินอมตะ เพื่อไล่ตามล้างแค้นมอร์กอธ ทั้งที่ขัดต่อพระบัญชาของเหล่าวาลาร์ ฟินร็อดเป็นผู้ก่อตั้งหอคอยมินัสทิริธ ที่ช่องเขาแห่งซิริออน ภายหลังหอคอยนี้ตกไปอยู่ใต้อำนาจของมอร์กอธ และเป็นสถานที่ซึ่งฟินร็อดสิ้นพระชนม์ เนื่องจากพระองค์เป็นโอรสของเออาร์เวน เป็นนัดดาของกษัตริย์โอลเวชาวเทเลริ จึงได้รับอนุญาตให้เข้าไปยังอาณาจักรโดริอัธของกษัตริย์ธิงโกล ซึ่งเป็นเชษฐาของกษัตริย์โอลเว ฟินร็อดเป็นหลานรักของกษัตริย์ธิงโกล และได้รับคำแนะนำให้สร้างอาณาจักรนาร์โกธรอนด์ขึ้น ในลักษณะเดียวกันกับเมเนกร็อธ คือเป็นราชวังที่ขุดเจาะลงไปในถ้ำใต้พื้นดิน แล้วฟินร็อดจึงขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งนาร์โกธรอนด์ ทรงยกหอคอยมินัสทิริธให้อยู่ในความดูแลของโอโรเดร็ธพระอนุชา ในสงครามดากอร์บราโกลลัค ฟินร็อดตกอยู่ในวงล้อมของพวกออร์ค แต่ทรงหนีรอดออกมาได้ด้วยความช่วยเหลือของบาราเฮียร์ ทายาทแห่งตระกูลเบออร์ พระองค์จึงประทานแหวนซึ่งมีตราประจำราชสกุลฟินาร์ฟินให้แก่บาราเฮียร์ เป็นเครื่องระลึกถึงวีรกรรมครั้งนั้น (แหวนนี้ต่อมามีชื่อเรียกว่า แหวนแห่งบาราเฮียร์) พร้อมทั้งคำสัญญาจะให้ความช่วยเหลือแก่ทายาทของบาราเฮียร์อย่างเต็มกำลังหากพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ จากคำสัญญานี้ทำให้ฟินร็อดร่วมเดินทางไปกับภารกิจเสี่ยงภัยของเบเรน บุตรแห่งบาราเฮียร์ เพื่อไปชิงซิลมาริลจากมงกุฎของมอร์กอธตามบัญชาของกษัตริย์ธิงโกล พระองค์ปกป้องเบเรนจนถึงที่สุดเมื่อพวกเขาถูกเซารอนจับตัวได้ ระหว่างเดินทางผ่านช่องเขาซิริออน (ซึ่งเวลานั้นตกอยู่ใต้อำนาจของมอร์กอธแล้ว) พระองค์ต่อสู้กับปีศาจหมาป่าเพื่อปกป้องเบเรน จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ที่หอคอยมินัสทิริธซึ่งพระองค์เป็นผู้ก่อตั้งขึ้นมาเอง.

ดู ไชร์และฟินร็อด

ฟินาร์ฟิน

ตามปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ฟินาร์ฟิน (Finarfin) เป็นเจ้าชายเอลฟ์ ซึ่งภายหลังได้เป็นกษัตริย์ของชาวโนลดอร์ที่คงเหลืออยู่ในนครทิริออน บนแผ่นดินอมตะ พระองค์เป็นโอรสองค์เล็กของกษัตริย์ฟินเว กับพระนางอินดิส มีเชษฐาองค์ใหญ่ต่างมารดาคือ เฟอานอร์ ส่วนเชษฐาร่วมบิดามารดาเดียวกันคือ ฟิงโกลฟิน ฟินาร์ฟินมีเรือนผมสีทองแบบเดียวกับอินดิสพระมารดาซึ่งเป็นเอลฟ์ชาววันยาร์ สมาชิกในราชสกุลของพระองค์อีกหลายคนได้สืบทอดลักษณะอันงดงามนี้ของชาววันยาร์ไปด้วย พระองค์อภิเษกกับเจ้าหญิงเออาร์เวนแห่งอัลควาลอนเด ผู้มีเชื้อสายชาวเทเลริ ทรงมีโอรสธิดา 5 พระองค์ ได้แก่ ฟินร็อด โอโรเดร็ธ อังกร็อด อายก์นอร์ และกาลาเดรียล ฟินาร์ฟินได้ชื่อว่าเป็นเจ้าชายผู้มีสิริโฉม และเฉลียวฉลาดเป็นที่สุด ชื่อในภาษาเควนยาของฟินาร์ฟินคือ อาราฟินเว (Arafinwë) ซึ่งหมายถึง 'บุตรแห่งฟินเวผู้สูงศักดิ์'.

ดู ไชร์และฟินาร์ฟิน

พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช

ระเจ้าอัลเฟรดมหาราช (Alfred the Great; Ælfrēd) (ค.ศ. 849 - 26 ตุลาคม ค.ศ. 899) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ในสมัยราชวงศ์เวสเซ็กซ์ เสด็จพระราชสมภพที่เวนเทจ บาร์กเชอร์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเอเธลวูล์ฟแห่งเวสเซกซ์และออสเบอร์กา ทรงเสกสมรสกับเอลสวิธ และทรงราชย์เป็นกษัตริย์ของชนแองโกล-แซ็กซอนภายใต้ราชอาณาจักรเวสเซกซ์ระหว่างวันที่ 23 เมษายน ค.ศ.

ดู ไชร์และพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช

พาลันเทียร์

ลันเทียร์แห่งออร์ธังค์ จากภาพยนตร์ลอร์ดออฟเดอะริงส์ พาลันเทียร์ (Palantír) เป็นของวิเศษอย่างหนึ่งในโลกแห่งจินตนาการของ เจ.

ดู ไชร์และพาลันเทียร์

กรูตไอลันดต์

กรูตไอลันดต์ (Groote Eylandt) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในอ่าวคาร์เพนทาเรีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย อยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่ของดินแดนนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ราว 50 กม.

ดู ไชร์และกรูตไอลันดต์

ภาษาเวสทรอน

ษาเวสทรอน (Westron) เป็นภาษาประดิษฐ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ที่ใช้ในนิยายชุด มิดเดิลเอิร์ธ ในฉบับนิยายถือว่า ภาษาเวสทรอนเป็นเสมือน 'ภาษากลาง' ของโลกแห่งนั้น โดยเฉพาะในยุคสมัยในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ คำว่า "เวสทรอน" เป็นคำภาษาอังกฤษที่เลือกมาใช้ในการ 'แปล' ภาษานี้ (ตามที่โทลคีนว่า) มีที่มาจากคำว่า "ตะวันตก" (West) ซึ่งเป็นรากคำดั้งเดิมมาจากคำว่า อดูนิ (Adûni) ในภาษาอดูนาอิก ของชาวนูเมนอร์ ชื่อภาษาเวสทรอนในภาษาซินดารินเรียกว่า อันนูไนด์ (Annúnaid) หมายถึง ภาษาของชาวตะวันตก (Westron) บางครั้งก็เรียกว่า ฟาลาเธรน (Falathren) หมายถึง ภาษาชาวฝั่ง (Shore-language) ภาษาเวสทรอนพัฒนามาจากภาษาอดูนาอิกของชาวนูเมนอร์ หลังจากที่ชาวนูเมนอร์เริ่มบุกเบิกและติดต่อสมาคมกับมนุษย์ทางชายฝั่งตะวันตกของทวีปมิดเดิลเอิร์ธ จึงใช้ภาษานี้แพร่หลายทั่วไป แต่รากฐานดั้งเดิมของภาษานี้ก็มาจาก ภาษาของชาวเบออร์และฮาดอร์ ซึ่งเป็นชาวเอไดน์ บรรดามนุษย์ทางชายฝั่งตะวันตกเหล่านั้นก็มีบรรพบุรุษเดียวกันกับชาวเอไดน์ ในภายหลังชนเหล่านี้เป็นพลเมืองท้องถิ่นของอาณาจักรกอนดอร์ และอาร์นอร์ ภาษาเวสทรอนใช้แพร่หลายอยู่ตามแนวชายฝั่ง และตลอดทั่วทั้งเขตแคว้นเอเรียดอร์ แต่ดินแดนอื่นๆ เช่น โรห์วาเนียน ไม่ได้ใช้ภาษานี้ด้วย ชนพื้นเมืองที่เป็นมนุษย์ในหลายๆ ท้องถิ่นมีภาษาเป็นของตัวเอง เช่นชาวดันเลนดิง มนุษย์บนเทือกเขาขาว เป็นต้น ตามท้องเรื่องที่ปรากฏใน เดอะฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ โทลคีนบอกว่าเขาได้แปลเรื่องทั้งหมดจากภาษาเวสทรอน ออกมาเป็นภาษาอังกฤษ ตัวอย่างการถอดความที่สำคัญเช่น ชื่อของตัวละครต่างๆ เมอเรียด็อค แบรนดี้บั๊ก เป็นชื่อในภาษาอังกฤษที่แปลมาจากชื่อจริงของเขาว่า คาลิมัก บรันดากัมบา (Kalimac Brandagamba) ชื่อย่อว่า คาลิ (หมายถึง ความสนุกสนานรื่นเริง) ชื่อ เมอเรียด็อค และชื่อย่อ เมอร์รี่ จึงเป็นชื่อที่ถอดความมาจากภาษาเวสทรอนให้คงความหมายดั้งเดิมไว้ หรือชื่อ เปเรกริน ตุ๊ก กับชื่อย่อ ปิ๊ปปิ้น ก็มาจากชื่อจริงว่า ราซานัวร์ ทูค (Razanur Tûk) ชื่อย่อว่า ราซาร์ (หมายถึง แอ๊ปเปิ้ลผลเล็กๆ) ที่ถอดความมาให้ได้ความหมายใกล้เคียงกันนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีชื่อสถานที่อื่นๆ ที่ตั้งชื่อไว้ในภาษาเวสทรอน เช่น "ริเวนเดลล์" (ภาษาซินดาริน เรียกว่า "อิมลาดริส" หมายถึง หุบเขาในร่องผา) มาจากชื่อจริงว่า "คาร์นินกุล" (Karningul) หรือ "แบ๊กเอนด์" มาจากคำว่า "ลาบิน-เนค" (Labin-nec) เป็นชื่อสถานที่ที่ตั้งตามชื่อนามสกุล "ลาบินกิ" (Labingi) หรือ "แบ๊กกิ้นส์" นั่นเอง คำในภาษาเวสทรอนต่างๆ ที่ยกมานี้ เป็นงานที่โทลคีนประดิษฐ์ขึ้นภายหลังการเขียนนิยายเป็นเวลาหลายปี แต่เขาไม่ได้สร้างภาษานี้ไว้ให้สมบูรณ์มากพอจะใช้งานได้ เหมือนอย่างภาษาเควนยา หรือภาษาซินดาริน.

ดู ไชร์และภาษาเวสทรอน

มิธริล

มิธริล (Mithril) เป็นโลหะในจินตนาการจากนิยายแฟนตาซีเรื่อง ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน และมีการนำไปใช้ในเกมส์ นวนิยายและการ์ตูน ที่มีเนื้อเรื่องแนวแฟนตาซีเช่น ไฟนอลแฟนตาซี เบอร์เซิร์ก ในวรรณกรรมของ.

ดู ไชร์และมิธริล

มิธลอนด์

มิธลอนด์ (Mithlond) หรือ เกรย์ฮาเวนส์ (Grey Havens) คือเมืองท่าเรือในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์.

ดู ไชร์และมิธลอนด์

ริเวนเดลล์

ริเวนเดลล์ จากภาพยนตร์เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ริเวนเดลล์ (Rivendell) เป็นชื่ออาณาจักรแห่งหนึ่งของพวกเอลฟ์ ในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ.

ดู ไชร์และริเวนเดลล์

ลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดา

ทความนี้แสดงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตำนานของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน.

ดู ไชร์และลำดับเหตุการณ์แห่งอาร์ดา

สงครามแหวน

งครามแหวน (The War of the Ring) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสงครามทั้งหมดที่ปรากฏในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ งานประพันธ์ของ เจ.

ดู ไชร์และสงครามแหวน

อารากอร์น

อารากอร์น (Aragorn) หรือ อารากอร์นที่สอง บุตรแห่งอาราธอร์นที่สอง เป็นหนึ่งในตัวละครที่สำคัญในเรื่อง ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ ของเจ.

ดู ไชร์และอารากอร์น

อาร์นอร์

ในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อาร์นอร์ (Arnor) หรือ อาณาจักรเหนือ เป็นอาณาจักรของมนุษย์ชาวดูเนไดน์ ในดินแดนแห่ง เอเรียดอร์ ในมิดเดิลเอิร์ธ ชื่อดังกล่าวน่าจะแปลว่า "ดินแดนแห่งกษัตริย์" มาจากภาษาซินดารินว่า อารา (Ara-) (แปลว่า สูงส่ง, เกี่ยวกับกษัตริย์) + (น)ดอร์ ((n) dor) (แปลว่า ดินแดน) ปรากฏอยู่ในนิยายทั้ง ซิลมาริลลิออน และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ในช่วงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนั้น อาณาจักรอาร์นอร์แผ่กว้างไกลครอบคลุมดินแดนเกือบทั้งหมดของเอเรียดอร์ ตั้งแต่แม่น้ำบรุยเนน กวาโธล ไปจนถึงแม่น้ำลูห์น รวมทั้งดินแดนซึ่งต่อมารู้จักในนามว่า ไชร์ ด้วย ประชากรของอาร์นอร์ประกอบด้วยชาวดูเนไดน์ในดินแดนตะวันตกตอนกลางของอาณาจักร และชาวพื้นเมืองหรือลูกครึ่ง (รวมทั้งพวกต่อต้าน).

ดู ไชร์และอาร์นอร์

อาณาจักรในอาร์ดา

อาร์ดา (Arda) คือดินแดนในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งประกอบด้วยทวีปต่างๆ และอาณาจักรของเผ่าพันธุ์ต่างๆ มากมาย ต่อไปนี้เป็นรายชื่ออาณาจักรสำคัญในอาร์ดาในแต่ละยุคสมั.

ดู ไชร์และอาณาจักรในอาร์ดา

ฮอบบิท

อบบิท (Hobbit) เป็นเผ่าพันธุ์สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือฮอบบิท และมีบทบาทสำคัญในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ฮอบบิทเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีรูปร่างคล้ายมนุษย์ แต่มีขนาดย่อมกว่า และไม่ล่ำบึกบึนเหมือนอย่างคนแคระ เนื่องจากฮอบบิทมีขนาดราวครึ่งหนึ่งของมนุษย์ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ฮาล์ฟลิง (Halfling) พวกเอลฟ์เรียกเขาว่า เพเรียนนัธ (Periannath) แต่พวกฮอบบิทเรียกตัวเองว่า คูดุค (Kuduk) ส่วนคำว่า ฮอบบิท มีที่มาจากคำในภาษาโรเฮียริคว่า โฮลบีตลาน (Holbytlan) ซึ่งหมายถึง ผู้อยู่ในโพรง ฮอบบิทมีภาษาพูดของตนเอง เรียกว่า ภาษาฮอบบิติช เป็นภาษาในตระกูลเดียวกันกับภาษาโรเฮียริค เนื่องจากถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวฮอบบิทกับชาวโรเฮียริมอยู่ใกล้เคียงกัน กอลลัม ในบทนำของเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ระบุว่า ฮอบบิทส่วนใหญ่มีความสูงประมาณ 2-4 ฟุต ความสูงเฉลี่ย 3 ฟุต 6 นิ้ว มีอายุเฉลี่ยราว 100 ปี (สูงสุดประมาณ 130 ปี) เท้าเป็นขนและเดินได้เงียบ ปลายหูแหลม อาศัยอยู่ในโพรง ชอบการกินอาหาร ชอบการละเล่นและความสนุกสนาน เป็นเผ่าพันธุ์ที่รักสงบ อายุยืนกว่ามนุษย์ธรรมดา ถ้าฮอบบิทอายุได้ 33 ปี จะเทียบกับมนุษย์ได้ 21 ปี เมื่อนั้นจึงจะถือว่าฮอบบิทคนนั้นเป็นผู้ใหญ่แล้ว ฮอบบิทกินอาหารถึงวันละ 7 มื้อ ได้แก่ มื้อเช้า, มื้อหลังเช้า, มื้อ 11 โมง, มื้อเที่ยง, มื้อน้ำชา, มื้อเย็น และมื้อดึก ทั้งนี้ไม่รวมของว่างเล็กๆ น้อยๆ ที่ทานได้ตลอดทั้งวัน ทานครั้งแรกถึง 6 มื้อ ฮอบบิททานอาหารได้ทุกประเภท แต่ที่โปรดปรานที่สุดคือ เห็ด ช็อคโกแล็ต และเหล้าเอล และ ฮอบบิท ชอบทำขนมเค็กด้วย เผ่าพันธุ์ฮอบบิทเป็นผู้ชำนาญการด้านยาสูบ ดินแดนของพวกเขาเป็นแหล่งผลิตยาสูบมวนกระดาษสีดำชั้นดีที่สุดของมิดเดิลเอิร์ธ และพวกฮอบบิทก็ชอบใช้กล้องสูบยาด้ว.

ดู ไชร์และฮอบบิท

ธอริน โอเคนชิลด์

อริน โอเคนชิลด์ (Thorin Oakenshield) เป็นชื่อตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ เรื่อง เดอะฮอบบิท งานประพันธ์ของ เจ.

ดู ไชร์และธอริน โอเคนชิลด์

ทรีเบียร์ด

ทรีเบียร์ด (Treebeard) เป็นตัวละครในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ทรีเบียร์ด เป็นตัวละครเผ่าเอนท์หรือพวกต้นไม้ใหญ่ที่รูปร่างเหมือนคน เอนท์เป็นผู้คุ้มครองป่าแห่งความมืดนามว่า ป่าฟังกอร์น ซึ่งอยู่ระหว่างเมืองไอเซนการ์ดและลอธลอริเอน ครั้งหนึ่งเคยครอบคลุมพื้นที่หลายพันไมล์ทั่วมิดเดิลเอิร์ธ แผ่ขยายไปถึงไชร์ต่อมาต้นไม้ถูกโค่นและเผาไปจำนวนมาก จนเหลือพื้นที่เพียงเล็กน้อยบริเวณทางใต้ของ เทือกเขามิสตี้เท่านั้นอยู่ตลอดมา เมื่อครั้งเมอร์รี่และปิ๊ปปิ้นหนีการจับกุมของพวกอุรุกไฮ ไปยังป่าฟังกอร์นที่อยู่ใกล้ๆ พวกเขาหลงทางในป่าและไปสะดุดกับต้นไม้สูงที่น่ากลัวต้นหนึ่งหน้าตาคล้ายกับชายแก่ ซึ่งก็คือทรีเบียร์ดและเขาก็ดูแล ฮอบบิท ทั้งสองเป็นอย่างดี เมอร์รี่และปิ๊บปิ้นพยายามชักจูงให้ทรีเบียร์ดเข้าร่วมสงครามแย่งชิงแหวน แต่เหล่าเอนท์ก็มิได้สนใจแต่อย่างใด จนกระทั่งทรีเบียร์ดรู้ว่าซารูมานหักหลังพวกเขา โดยจะตัดต้นไม้ทั้งหมดในป่าทิ้ง ทำให้เหล่าเอนท์ที่เหลืออยู่ทั้งหมดสร้างกองทัพและลุกฮือขึ้นด้วยความโกรธแค้น พวกเขาช่วยกันรวมพลเอนท์ครั้งสุดท้าย เหล่าเอนท์ซึ่งนำโดยทรีเบียร์ด เข้ายึดหอคอยออร์ธังค์ของพ่อมดขาวซารูมานในไอเซนการ์ด ทรีเบียร์ดเป็นเอนท์ที่มีอายุเก่าแก่มากที่สุดในโลกตนหนึ่ง โดยเขาเคยร้องเพลงให้เมอร์รี่กับปิ๊บปิ้นฟัง ถึงเรื่องราวในอดีตเมื่อครั้งที่ตัวยังเยาว์ ว่าเคยเดินเล่นอยู่ในป่า นันทาซาริออน หรือก็คือแผ่นดินออสซิริอันด์ ดินแดนทางตะวันออกของเบเลริอันด์ ที่ล่มจมลงสู่ใต้มหาสมุทรเมื่อครั้งสิ้นสุดยุคที่หนึ่ง หมวดหมู่:ตัวละครในเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์.

ดู ไชร์และทรีเบียร์ด

ที่ประชุมของเอลรอนด์

ในนิยายชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ที่ประชุมของเอลรอนด์ (Council of Elrond) เป็นชื่อการประชุมลับคราวหนึ่งที่เรียกประชุมโดย เอลรอนด์ จัดการประชุมขึ้นที่อาณาจักรเอลฟ์ ริเวนเดลล์ เพื่อหารือในหมู่อิสระชนแห่งมิดเดิลเอิร์ธ ว่าจะทำประการใดกับ แหวนเอก ต่อไป เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในหนังสือ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ภาคแรก เล่มสอง บทที่สอง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ก่อตั้ง คณะพันธมิตรแห่งแหวน (The Fellowship of the Ring) อันเป็นชื่อของหนังสือภาคแรกในฉบับภาษาอังกฤษ.

ดู ไชร์และที่ประชุมของเอลรอนด์

ซารูมาน

ซารูมาน (Saruman) เป็นตัวละครในนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชื่อ ซารูมาน เป็นคำในภาษาเวสทรอนที่มนุษย์แห่งมิดเดิลเอิร์ธใช้เรียกเทพไมอาองค์นี้ พวกเอลฟ์เรียกเขาว่า คูรูเนียร์ ชื่อเดิมของเขาคือ คูรูโม เป็นหนึ่งในห้าไมอาร์ที่ปวงเทพส่งมาช่วยเหลือมิดเดิ้ลเอิร์ธในช่วงยุคที่สาม โดยเทพไมอาร์ทั้งห้าใช้ร่างจำแลงมาในรูปชายชรา และเรียกตัวเองว่า อิสทาริ หรือ พ่อมด ซารูมานได้รับฉายาว่า พ่อมดขาว เป็นผู้มีพลังอำนาจสูงสุดในหมู่พ่อมดทั้งห้.

ดู ไชร์และซารูมาน

ป่าดึกดำบรรพ์

ป่าดึกดำบรรพ์ (Old Forest) เป็นชื่อป่าทึบแห่งหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแคว้นไชร์ ระหว่างเขตบั๊กแลนด์ กับเขาสุสาน ใจกลางแผ่นดินเอเรียดอร์อันกว้างใหญ่ แต่เดิมดินแดนแถบนี้เป็นป่าทึบขนาดใหญ่ไร้ผู้อยู่อาศัย (เป็นที่มาของคำว่า 'เอเรียดอร์' หมายถึง 'แผ่นดินร้าง') แต่เมื่อชาวนูเมนอร์มาบุกเบิกแผ่นดินทางใต้ และชาวฮอบบิทอพยพมาจากทางตะวันออกของเทือกเขามิสตี้ ผืนป่าในเอเรียดอร์ก็ลดน้อยถอยลง หนึ่งในเขตแดนป่าที่เหลือก็คือป่าดึกดำบรรพ์แห่งนี้ ชาวฮอบบิทเชื่อว่าในป่าดึกดำบรรพ์มีต้นไม้ขนาดใหญ่ที่เดินได้และพูดได้ (น่าจะเป็นพวกเดียวกับเอนท์) และยังโหดร้ายอีกด้วย ในหนังสือ ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน มหันตภัยแห่งแหวน เมื่อโฟรโดกับผองเพื่อนฮอบบิทเดินทางออกจากไชร์ทางด้านบั๊กแลนด์ ได้ผ่านเข้าไปในป่าดึกดำบรรพ์ และถูกต้นไม้ใหญ่ชื่อ 'ผู้เฒ่าหลิว' จับตัวเอาไว้ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของป่ามีแม่น้ำวิทธีวินเดิลไหลผ่าน ริมแม่น้ำนั้นเป็นบ้านของ ทอม บอมบาดิล ซึ่งได้ไปช่วยเหล่าฮอบบิทเอาไว้จากผู้เฒ่าหลิว ในเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ฉบับภาพยนตร์ ได้ตัดเรื่องของป่าดึกดำบรรพ์ และ ทอม บอมบาดิล ออกไป.

ดู ไชร์และป่าดึกดำบรรพ์

แม่น้ำในมิดเดิลเอิร์ธ

มิดเดิลเอิร์ธ (Middle-Earth) คือดินแดนในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ดินแดนนี้มีแม่น้ำสายต่างๆ มากมาย ต่อไปนี้เป็นรายชื่อแม่น้ำที่สำคัญในมิดเดิลเอิร์ธ โดยนับจากเทือกเขาเอเร็ดลูอินออกมาทางตะวันออก สำหรับแม่น้ำที่อยู่ทางตะวันตกของเทือกเขาเอเร็ดลูอิน ดูเพิ่มเติมใน แม่น้ำในแผ่นดินเบเลริอัน.

ดู ไชร์และแม่น้ำในมิดเดิลเอิร์ธ

แซมไวส์ แกมจี

แซมไวส์ แกมจี หรือ แซม (ยุคที่สาม 2983 - ยุคที่สี่ 62; S.R. 1383-1482) ตัวละครจากนิยายแฟนตาซีเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ.

ดู ไชร์และแซมไวส์ แกมจี

โฟรโด แบ๊กกิ้นส์

ฟรโด แบ๊กกิ้นส์ (Frodo Baggins) เป็นตัวละครในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน และเป็นตัวละครเอกในเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เขาถูกกล่าวถึงครั้งแรกในนิยาย ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน มหันตภัยแห่งแหวน โดยเป็น ฮอบบิทจากไชร์ในฐานะหลานและทายาทของบิลโบ แบ๊กกิ้นส์ โฟรโดได้รับสืบทอดแหวนเอกธำมรงค์จากบิลโบลุงของเขา และได้รับมอบหมายภารกิจในการนำแหวนเอกนี้ไปทำลายยังเขาเมาท์ดูมในดินแดนมอร์ดอร์ นอกจากนี้เขายังปรากฏในงานชิ้นอื่นของโทลคีนอีกอาทิ ตำนานแห่งซิลมาริล และ Unfinished Tales.

ดู ไชร์และโฟรโด แบ๊กกิ้นส์

ไชร์ (แก้ความกำกวม)

ร์ (Shire) อาจจะหมายถึง.

ดู ไชร์และไชร์ (แก้ความกำกวม)

เบเลริอันด์

แผ่นดินเบเลริอันด์ เบเลริอันด์ (Beleriand) เป็นชื่อดินแดนแห่งหนึ่งในโลกจินตนาการ มิดเดิลเอิร์ธ งานประพันธ์ของ เจ.

ดู ไชร์และเบเลริอันด์

เกา

การแบ่งการปกครองของเยอรมนี ''(เกา)'' ในสมัยกลาง ประมาณปี ค.ศ. 1000 เกา (Gau) เป็นคำในภาษาเยอรมันสำหรับใช้เรียกเขตการปกครองภายในประเทศ คำดังกล่าวใช้ในยุคกลาง ซึ่งเป็นการนำมาจากการปกครองที่เรียกว่า "ไชร์" ของอังกฤษ ต่อมา คำนี้ได้ถูกนำมาใช้อีกครั้งหนึ่งในสมัยนาซีเยอรมนี.

ดู ไชร์และเกา

เมอเรียด็อค แบรนดี้บั๊ก

มอเรียด็อค แบรนดี้บั๊ก หรือชื่อเล่นในหมู่เพื่อนว่า เมอร์รี่ เป็นตัวละครในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ.

ดู ไชร์และเมอเรียด็อค แบรนดี้บั๊ก

เอเรียดอร์

แผนที่เอเรียดอร์ เอเรียดอร์ (Eriador) เป็นชื่อดินแดนที่ปรากฏในนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน หลายๆ เรื่อง เช่น เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เดอะฮอบบิท ซิลมาริลลิออน เป็นต้น คำว่า เอเรียดอร์ เป็นภาษาซินดาริน หมายถึง 'แผ่นดินร้าง' อาณาเขตของเอเรียดอร์สังเกตได้จากแนวเทือกเขาที่ขนาบอยู่ทางด้านตะวันตก คือเทือกเขาเอเร็ดลูอิน และด้านตะวันออก คือเทือกเขามิสตี้ หรือ ฮิธายเกลียร์ ดินแดนเอเรียดอร์ในยุคบรรพกาลหรือยุคที่หนึ่งของโลกอาร์ดา เป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยป่ารกทึบ เหล่าเอลฟ์ที่เดินทางออกจากทะเลสาบคุยวิเอเนนมุ่งสู่แผ่นดินตะวันตก ต้องใช้เวลาเดินทางข้ามดินแดนนี้อยู่นานนับปีกว่าจะสามารถข้ามเอเร็ดลูอินไปได้ ไม่ค่อยมีเอลฟ์อาศัยอยู่ในดินแดนนี้มากนัก หากไม่ตั้งถิ่นฐานลงทางฟากตะวันออกของเทือกเขามิสตี้ ก็มักจะเดินทางข้ามไปถึงเบเลริอันด์ได้จนหมด ในยุคที่สอง หลังจากแผ่นดินเบเลริอันด์ล่มสลายไปแล้ว เอลฟ์ที่หนีรอดมาได้ ได้ตั้งถิ่นฐานลงทางด้านใต้ของเทือกเขาเอเร็ดลูอิน (คือฟากตะวันตกสุดของเอเรียดอร์) เป็นอาณาจักรลินดอน อีกพวกหนึ่งบุกเบิกไกลออกไปทางตะวันออก และตั้งอาณาจักรเอเรกิออนที่เชิงเขาฮิธายเกลียร์ (คือฟากตะวันออกสุดของเอเรียดอร์) ดินแดนช่วงกึ่งกลางยังคงถูกทิ้งเป็นป่ารกทึบ เมื่อถึงสมัยของ ทาร์-อัลดาริออน กษัตริย์นักเดินเรือแห่งนูเมนอร์ ชาวนูเมนอร์ได้เดินทางมาบุกเบิกดินแดนบนมิดเดิลเอิร์ธ โดยสร้างท่าเรือที่ปากแม่น้ำเกรย์ฟลัด แล้วแผ้วถางผืนป่าในเขตเอเน็ดไวธ์ (Enedwaith) เรื่อยขึ้นไปจนถึงปากแม่น้ำฮอร์เวล แล้วตั้งเมืองขึ้นชื่อว่า เมืองธาร์บัด (เมืองนี้เมื่อถึงยุคที่สามได้กลายเป็นเมืองร้าง) ทำให้ผืนป่าเอเน็ดไวธ์กลายเป็นที่ราบกว้างใหญ่ดังที่ปรากฏในยุคที่สาม คงเหลือเขตป่าเพียงเล็กน้อยอันเป็นที่อยู่อาศัยของชาวดันแลนด์ ตอนกลางของแผ่นดินเอเรียดอร์ ถูกบุกเบิกโดยชาวฮอบบิทนักผจญภัยสองคน และต่อมาได้กลายเป็นอาณาจักรไชร์ มีถนนสายสำคัญตัดผ่านกลางเอเรียดอร์สองสาย ได้แก.

ดู ไชร์และเอเรียดอร์

เทศมณฑลที่ไม่ใช่มหานคร

มณฑลนอกเมโทรโพลิตันของอังกฤษ หรือ มณฑลไชร์ (Non-metropolitan county หรือ Shire county) เป็นหนึ่งในระดับการปกครองมณฑลของอังกฤษที่ไม่ใช่อังกฤษมณฑลเมโทรโพลิตัน มณฑลเหล่านี้มักจะมีประชากรราว 300,000 ถึง 1.4 ล้านคน บางครั้ง “มณฑลนอกเมโทรโพลิตัน” ก็เรียกว่า “มณฑลไชร์” (Shire county) แต่เป็นการเรียกกันอย่างไม่เป็นทางการ มณฑลนอกเมโทรโพลิตันที่เป็นมณฑลเดิมในประวัติศาสตร์มักจะมีสร้อยต่อท้ายด้วย “-เชอร์” (shire) เช่นวิลท์เชอร์ หรือแลงคาสเชอร์ และบางมณฑลก็เคยมีสร้อยแต่มาหายไปภายหลังเช่นเดวอน อันที่จริงแล้ว “มณฑลไชร์” หรือ “ไชร์เคานตี้” เป็นประพจน์ซ้ำความ (Tautology) ซึ่งหมายความว่าทั้งสองคำมีความหมายเดียวกันแต่มักจะใช้ด้วยกัน: คำว่า “เคานตี้” (มณฑล) มาจากภาษาฝรั่งเศสและ “ไชร์” มาจากภาษาภาษาอังกฤษเก่า ทั้งสองคำหมายถึงเขตการปกครองระดับหนึ่ง.

ดู ไชร์และเทศมณฑลที่ไม่ใช่มหานคร

เทศมณฑลที่เป็นมหานครและไม่ใช่มหานครของอังกฤษ

มณฑลเมโทรโพลิตันและมณฑลนอกเมโทรโพลิตันของอังกฤษ เป็นระดับการปกครองหนึ่งของสี่ระดับของระดับการปกครองของอังกฤษที่ใช้สำหรับรัฐบาลระดับท้องถิ่นนอกนครลอนดอนและปริมณฑล ตามความหมายเดิมมณฑลเมโทรโพลิตันและมณฑลนอกเมโทรโพลิตันแต่ละมณฑลประกอบด้วยกลุ่มอำเภอ (District), เมืองมณฑล และเป็นมณฑลผู้แทนพระองค์ (Ceremonial counties of England) แต่ต่อมาคำจำกัดความนี้ก็เปลี่ยนไปโดยกฎหมายระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1980 ถึงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่อนุญาตให้รวมมณฑลที่ไม่มีเทศบาลมณฑลและ “รัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียว” ของตำบลเดียว มณฑลผู้แทนพระองค์ในปัจจุบันได้รับความหมายใหม่โดยพระราชบัญญัติมณฑลผู้แทนพระองค์ ค.ศ.

ดู ไชร์และเทศมณฑลที่เป็นมหานครและไม่ใช่มหานครของอังกฤษ

เทศมณฑลของอังกฤษ

มณฑลการปกครองของอังกฤษ เป็นการแบ่งการเขตการปกครองหนึ่งในระดับการปกครองท้องถิ่นของอังกฤษเพื่อใช้ในทางการบริหาร, ทางการเมือง และในการแบ่งเขตการปกครองทางภูมิศาสตร์ มณฑลในปัจจุบันมีรากฐานมาจากการแบ่งเขตการปกครองของระบบการปกครองในประวัติศาสตร์เช่นในสมัยแองโกล-แซ็กซอน คำว่ามณฑลที่ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “County” ซึ่งมาจากบริเวณเขตการปกครองของขุนนางระดับเคานท์ แต่ในอังกฤษตำแหน่ง “เคานท์” เท่ากับตำแหน่ง เอิร์ล ของแซ็กซอนโบราณ แต่ภรรยาของเอิร์ลยังคงมีตำแหน่งเป็น “เคานเทส” ชื่อ, เขตแดน และลักษณะการบริหารของเขตการปกครองของมณฑลเปลี่ยนแปลงไปมากจากที่เป็นมาในอดีตกาล และการปฏิรูปเขตการปกครองต่างๆ ที่เกิดเริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาทำให้ความหมายคำว่า “มณฑล” ที่ใช้กันในอังกฤษค่อนข้างจะสับสนและกำกวม ฉะนั้นคำว่า “มณฑลของอังกฤษ” โดยทั่วไปจึงมิได้หมายถึงหน่วยเขตการปกครองที่แจ่มแจ้งเช่นในความหมายอย่างเป็นทางการของคำว่า “มณฑล” ตามที่เข้าใจกัน เช่นในการใช้คำว่า “มณฑล” สำหรับกรณีอื่นๆ นอกไปจากการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นเช่น มณฑลภูมิศาสตร์ (Ceremonial counties), มณฑลลงทะเบียน (Registration county), มณฑลในประวัติศาสตร์ (Historic counties) หรือมณฑลไปรษณีย์ (Postal counties) เป็นต้น.

ดู ไชร์และเทศมณฑลของอังกฤษ

เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษ

มณฑลการปกครองของอังกฤษและเวลส์ในประวัติศาสตร์, แผนที่จากปี ค.ศ. 1824 มณฑลการปกครองของอังกฤษในประวัติศาสตร์ เป็นเขตการปกครองโบราณของอังกฤษ ที่ก่อตั้งโดยการบริหารของชนนอร์มันและในกรณีส่วนใหญ่จำลองมาจากเขตการปกครองราชอาณาจักรและไชร์ของแองโกล-แซ็กซอนก่อนหน้านั้น เขตการปกครองเหล่านั้มีประโยชน์ในการใช้สอยหลายอย่างมาเป็นเวลาหลายร้อยปีBryne, T., Local Government in Britain, (1994) และยังใช้เป็นพื้นฐานในการพิจารณาการจัดเขตการปกครองของรัฐบาลส่วนท้องถิ่นในสมัยปัจจุบันHer Majesty's Stationery Office, Aspects of Britain: Local Government, (1996)Hampton, W., Local Government and Urban Politics, (1991) มณฑลเหล่านี้บางครั้งก็รู้จักกันว่า “มณฑลโบราณ” (ancient counties).

ดู ไชร์และเทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษ

เปเรกริน ตุ๊ก

ปเรกริน ตุ๊ก (Peregrin Took) หรือที่เพื่อนๆ ชอบเรียกชื่อเล่นว่า ปิ๊ปปิ้น เป็นตัวละครในนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ.

ดู ไชร์และเปเรกริน ตุ๊ก

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Shire