โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โรคประสาท

ดัชนี โรคประสาท

รคประสาท (neurosis) เป็นความผิดปกติทางจิตชนิดหนึ่งที่ไม่รุนแรง แสดงอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้จิตใจแปรปรวน อ่อนไหวง่าย มักมีความรู้สึกไม่สบายใจ วิตกกังวลอยู่เสมอ ไม่สามารถควบคุมความรู้สึกอารมณ์หรือพฤติกรรมให้เหมือนเดิมได้ อาการทางกายภาพแสดงออกได้ หลายรูปแ.

34 ความสัมพันธ์: บุคลิกวิปลาสพัฒนาการความต้องการทางเพศพิมพ์พรรณ บูรณะพิมพ์พิศวาสหลอนกิตติ สีหนนทน์มือมีนาคม พ.ศ. 2549ยาไอซ์รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่างวัฒนธรรมวัดเส้าหลินสรพงศ์ ชาตรีอาการล้าเรื้อรังอีวาน ปัฟลอฟผู้บริสุทธิ์จิตวิเคราะห์ทาลามัสความผิดปกติทางบุคลิกภาพคิม พอสสิเบิลปมเอดิเพิสแบทแมน บีกินส์แอมเฟตามีนแขไข เทวิณโรคจิตโรคซนสมาธิสั้นไนอาซินเมแทบอลิซึมเรือรบอวกาศยามาโตะเหงือกปลาหมอเอจออฟมีโธโลจีICD-10 บทที่ 5: ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมNeurotic (แก้กำกวม)Neuroticism

บุคลิกวิปลาส

ลิกวิปลาส (depersonalisation (บริติช) หรือ depersonalization (อเมริกัน)) เป็นอาการทางประสาทประเภทหนึ่ง เป็นภาวะที่เกิดตัวตนและบุคลิกภาพขึ้นในจิตใจของบุคคล ทั้ง ๆ ที่บุคคลนั้นมีตัวตนและบุคลิกภาพของตัวเองอยู่แล้ว โดยสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นั้นเป็นกระบวนการรู้จำซึ่งทำหน้าที่เป็นอิสระและแปลกแยกจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว บุคคลผู้นั้นจึงประหนึ่งนั่งมองการกระทำของตน แต่ไม่สามารถควบคุมการกระทำนั้นได้ รู้สึกว่าไม่ใช่การกระทำของตนแน่นอน แต่เป็นของใครก็ไม่รู้ พูดไม่ออกบอกไม่ถูก เป็นต้นAmerican Psychiatric Association (2004).

ใหม่!!: โรคประสาทและบุคลิกวิปลาส · ดูเพิ่มเติม »

พัฒนาการความต้องการทางเพศ

ในจิตวิทยาของฟรอยด์ พัฒนาการความต้องการทางเพศ (psychosexual development) เป็นองค์ประกอบใจกลางของทฤษฎีแรงขับทางเพศของสำนักคิดจิตวิเคราะห์ ที่ว่ามนุษย์มีความต้องการทางเพศตามสัญชาตญาณตั้งแต่เกิดซึ่งพัฒนาในห้าขั้น ได้แก่ ขั้นปาก ขั้นทวารหนัก ขั้นอวัยวะเพศ ขั้นแฝงและขั้นสนใจเพศตรงข้าม ซึ่งแบ่งตามลักษณะของอีโรจีเนียสโซน ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของแรงขับความต้องการทางเพศ ซิกมุนด์ ฟรอยด์เสนอว่า หากเด็กประสบความคับข้องใจทางเพศสัมพันธ์กับขั้นพัฒนาการความต้องการทางเพศขั้นใด เด็กจะประสบความวิตกกังวลซึ่งจะติดตัวไปถึงวัยผู้ใหญ่เป็นโรคประสาท ซึ่งเป็นความผิดปกติของจิตอย่างหนึ่ง.

ใหม่!!: โรคประสาทและพัฒนาการความต้องการทางเพศ · ดูเพิ่มเติม »

พิมพ์พรรณ บูรณะพิมพ์

มพ์พรรณ ยุวะพุกกะ หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ พิมพ์พรรณ บูรณะพิมพ์ หรือ ดาวเรือง แสงทอง (31 ตุลาคม พ.ศ. 2488 − 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560) ชื่อเล่น ติ่ง เป็นนักแสดงหญิงและนักแสดงตลกชาวไท.

ใหม่!!: โรคประสาทและพิมพ์พรรณ บูรณะพิมพ์ · ดูเพิ่มเติม »

พิศวาสหลอน

วาสหลอน ชื่อภาษาไทยของภาพยนตร์เรื่อง Vertigo กำกับโดย อัลเฟร็ด ฮิตช์ค็อก นำแสดงโดย เจมส์ สจ๊วต, คิม โนแว็ค, บาบาร่า เบล กอสเดส, ทอม เฮลมอร์ ความยาว 124 นาที ออกฉายในปี พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) เข้าฉายในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) ในชื่อภาษาไทยว่า ปมพิศว.

ใหม่!!: โรคประสาทและพิศวาสหลอน · ดูเพิ่มเติม »

กิตติ สีหนนทน์

นายกิตติ สีหนนทน์ (14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 - 24 มกราคม พ.ศ. 2527) อดีตองคมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในสมัยรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ และอดีตรองประธานศาลฎีก.

ใหม่!!: โรคประสาทและกิตติ สีหนนทน์ · ดูเพิ่มเติม »

มือ

มือ (Hand) คืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ต่อแขน สำหรับจับ หยิบ สิ่งของต่าง.

ใหม่!!: โรคประสาทและมือ · ดูเพิ่มเติม »

มีนาคม พ.ศ. 2549

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: โรคประสาทและมีนาคม พ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

ยาไอซ์

อซ์ เป็นสารเสพติดในกลุ่มแอมเฟตามีน อนุพันธ์หนึ่งของยาบ้า จัดเป็นยาเสพติดที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ..

ใหม่!!: โรคประสาทและยาไอซ์ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: โรคประสาทและรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม · ดูเพิ่มเติม »

ลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง

ในสาขาจิตวิทยา ลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง (Big Five personality traits) หรือ แบบจำลองมีปัจจัย 5 อย่าง (five factor model ตัวย่อ FFM) เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับมิติหรือปัจจัยใหญ่ ๆ 5 อย่างที่ใช้อธิบายบุคลิกภาพและสภาพทางจิตใจของมนุษย์ โดยมีนิยามของปัจจัย 5 อย่างว.

ใหม่!!: โรคประสาทและลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรม

วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และ ความเหมาะสม แต่ถ้าเป็นในวิชาหน้าที่พลเมืองจะแปลว่าสิ่งที่มนุษย์ เปลี่ยนแปลงเพื่อความเจริญงอกงาม และสืบต่อกันมา วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอ.

ใหม่!!: โรคประสาทและวัฒนธรรม · ดูเพิ่มเติม »

วัดเส้าหลิน

วัดเส้าหลินหรือสำนักเส้าหลิน (เส้าหลินซื่อ; แต้จิ๋ว: เสี้ยวลิ้มยี่; ฮกเกี้ยน: เชี้ยวหลิมซี; คำแปล: วัดป่าบนเขาเส้าซื่อ) เป็นวัดทางพระพุทธศาสนานิกายมหายานที่มีความเก่าแก่อายุมากกว่า 1,500 ปี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเทือกเขาซงซาน หนึ่งในจำนวนห้ายอดเขาอันศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวจีน เป็นเทือกเขาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดทั้งในด้านของประวัติศาสตร์และในแวดวงยุทธภพ ประกอบด้วยยอดเขาน้อยใหญ่จำนวน 72 ยอด แบ่งเป็นสองกลุ่มคือในกลุ่มของเขาไท่ซื่อ จำนวน 36 ยอด และกลุ่มของเขาเส้าซื่อ จำนวน 36 ยอด ในอำเภอเติงเฟิง เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน อยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองเจิ้งโจวและเมืองลั่วหยาง บริเวณรอบ ๆ วัดเส้าหลินเป็นพื้นที่โล่งกว้าง ใช้สำหรับฝึกวิทยายุทธของหลวงจีน รายล้อมด้วยป่าเจดีย์หรือถ่าหลิน ซึ่งเป็นสุสานของอดีตเจ้าอาวาสและหลวงจีน ซึ่งมีมาตั้งแต่ในยุคสมัยของราชวงศ์ถัง วัดเส้าหลินมีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดในประเทศจีนและในต่างประเทศ ได้รับการกล่าวขานในเรื่องของกระบวนท่าวิทยายุทธ เพลงหมัดมวย พลังลมปราณและกังฟูเส้าหลินเป็นอย่างมาก เป็นแหล่งวิชาการต่อสู้และศิลปะการป้องกันตัวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจีน ปรากฏชื่อในนิยายกำลังภายในหลายต่อหลายเรื่อง ซึ่งล้วนแต่กล่าวถึงวิชาเพลงหมัดมวย พลังลมปราณและกังฟูเส้าหลินอยู่เสมอ โดยเฉพาะนิยายกำลังภายในของกิมย้งเช่น มังกรหยก, จอมใจจอมยุทธ์, จิ้งจอกภูเขาหิมะ เป็นต้น ปัจจุบันมีหลวงจีนที่บวชเพื่อศึกษาธรรมะและกังฟูจำนวน 180 รูป มีหลวงจีน ซือ หย่งซิน ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งในประเทศจีน ที่ทางรัฐบาลจีนได้ร้องขอต่อองค์กรยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก และได้รับการพิจารณาให้เป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ร่วมกับโบราณสถานอีก 5 แห่ง.

ใหม่!!: โรคประสาทและวัดเส้าหลิน · ดูเพิ่มเติม »

สรพงศ์ ชาตรี

รพงษ์ ชาตรี หรือชื่อจริง กรีพงษ์ เทียมเศวต หรือ พิทยา เทียมเศวต นักแสดงชายชั้นแนวหน้าของไทย ผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ในปี..

ใหม่!!: โรคประสาทและสรพงศ์ ชาตรี · ดูเพิ่มเติม »

อาการล้าเรื้อรัง

อาการล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome, CFS) คือกลุ่มอาการอิดโรยเรื้อรังที่ยังไม่ทราบสาเหตุ มีความผิดปกติหลากหลายระบบทั่วร่างกาย ทั้งทางกายภาพ (physical) ทางจิตและจิตประสาท (neuropsychological) มีอาการอิดโรย เหนื่อยล้า อ่อนแรง เป็นหลัก อีกทั้งมีอาการไม่เฉพาะเจาะจงอีกมากมายหลายอย่าง จากการศึกษารายงานทางการแพทย์ย้อนหลัง พบว่ามีรายงานโรคที่น่าจะเข้าได้กับกลุ่มอาการที่ปัจจุบันเรียกว่า chronic fatigue syndrome มานานกว่า 3 ศตวรรษแล้ว โดยถูกวินิจฉัยเป็นโรคต่างๆ เช่น.

ใหม่!!: โรคประสาทและอาการล้าเรื้อรัง · ดูเพิ่มเติม »

อีวาน ปัฟลอฟ

อีวาน เปโตรวิช ปาฟลอฟ (Иван Петрович Павлов, 14 กันยายน ค.ศ. 1849 – 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1936) เป็นนักจิตวิทยาและสรีรวิทยาชาวรัสเซีย-โซเวียต ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี ค.ศ. 1904 จากงานวิจัยเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร นอกจากนี้ปาฟลอฟยังเป็นที่รู้จักจากการอธิบายปรากฏการณ์การวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม (classical conditioning).

ใหม่!!: โรคประสาทและอีวาน ปัฟลอฟ · ดูเพิ่มเติม »

ผู้บริสุทธิ์

ผู้บริสุทธิ์ (To Kill a Mockingbird) เป็นนวนิยายรางวัลพูลิตเซอร์แต่งโดยฮาร์เปอร์ ลี หนังสือเล่มนี้ประสบความสำเร็จทันทีหลังตีพิมพ์เมื่อ..

ใหม่!!: โรคประสาทและผู้บริสุทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิเคราะห์

ตวิเคราะห์ (psychoanalysis) เป็นชุดทฤษฎีและเทคนิคจิตวิทยาและจิตบำบัดที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเดิมแพทย์ชาวออสเตรีย ซิกมุนด์ ฟรอยด์ ทำให้แพร่หลายและบางส่วนกำเนิดจากงานด้านการรักษาของโยเซฟ บรอแยร์ (Josef Breuer) และอื่น ๆ นับแต่นั้น จิตวิเคราะห์ได้ขยายและมีการทบทวน ปฏิรูปและพัฒนาในทิศทางต่าง ๆ เดิมโดยผู้ร่วมงานและศิษย์ของฟรอยด์ เช่น อัลเฟรด อัดแลร์และคาร์ล กุสทัฟ ยุงผู้พัฒนาความคิดของตนเองเป็นเอกเทศจากฟรอยด์ นักจิตวิทยาฟรอยด์ใหม่ (neo-Freudian) สมัยหลังมีเอริช ฟรอมม์, คาเริน ฮอร์ไน, แฮร์รี สแทก ซัลลิแวนและฌัค ลาคา (Jacques Lacan) หลักพื้นฐานของจิตวิเคราะห์มีดังนี้.

ใหม่!!: โรคประสาทและจิตวิเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ทาลามัส

ทาลามัส (Thalamus) เป็นศูนย์รวมกระแสที่ผ่านเข้าออก และแยกกระแสประสาทไปยังสมองที่เกี่ยวกับประสาทนั้น หรืออาจเรียกว่าเป็นสถานีถ่ายถอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปยังจุดต่างๆ ในสมอง และยังทำหน้าที่ในการรับรู้ความเจ็บปวด ทำให้มีการสั่งการ และแสดงออกด้านพฤติกรรมด้านความเจ็บปวด ทาลามัสอยู่เป็นคู่ตั้งอยู่ใจกลางสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังรวมทั้งมนุษย์ด้วย ทาลามัสอยู่ระหว่างเปลือกสมองใหญ่ (Cerebral Cortex) กับสมองส่วนกลาง (Mid brain) ที่ตั้งอยู่ใจกลาง และเป็นศูนย์ศูนย์รวมประสาทสั่งการ มีหน้าที่ส่งผ่านกระแสประสาท ประสาทสัมผัสจำเพาะ(Special Sense)และส่งผ่านไปยัง(Cerebral Cortex)หรือเปลือกสมองใหญ่ เป็นไปตามภาวะปกติของความมีสติ (Conciousness) ในยามหลับและยามตื่น ทาลามัสจะห้อมล้อมรอบๆ เซอด เวนตริเคิล (Third Ventricle) มันเป็นผลผลิตหลักของเอ็มบริโอนิค ไดเอนซีฟาโลน (Cmbryonic Diencephalon) หรือตัวอ่อนของสมองส่วนกลางทาลามัสเป็นโครงสร้างใหญ่สุดของสมองส่วนกลาง ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่ตั้งอยู่ระหว่างสมองส่วนกลาง (Mid brain) มีเซนซีฟาโลน และสมองส่วนหน้า เทเลซีฟาโลน (Telecephalon) ในมนุษย์ ครึ่งหนึ่งของทาลามัสแต่ละอันมีรูปร่างเหมือนจุกยางกลมๆคล้ายปลายเทอร์โมมิเตอร์ สามารถบีบและคลายตัวได้.

ใหม่!!: โรคประสาทและทาลามัส · ดูเพิ่มเติม »

ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ

วามผิดปกติทางบุคลิกภาพ (personality disorders, ตัวย่อ PD) เป็นหมวดหมู่ของความผิดปกติทางจิตต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นรูปแบบพฤติกรรม รูปแบบทางประชาน และรูปแบบประสบการณ์ทางใจที่ปรับตัวอย่างไม่เหมาะสม (maladaptive) ที่ยั่งยืน โดยปรากฏในสถานการณ์ต่าง ๆ หลายอย่าง และออกนอกลู่นอกทางอย่างสำคัญจากที่ยอมรับได้ในสังคมและวัฒนธรรมของบุคคลนั้น รูปแบบเหล่านี้จะพัฒนาขึ้นตั้งแต่เบื้องต้นของชีวิต ยืดหยุ่นไม่ได้ และสัมพันธ์กับความทุกข์กับความพิการในระดับสำคัญ แต่ว่านิยามที่จำเพาะอาจจะต่างกันได้แล้วแต่ที่มา เกณฑ์วินิจฉัยความผิดปกติทางบุคลิกภาพอยู่ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM) ที่จัดพิมพ์โดยสมาคมจิตเวชอเมริกัน (American Psychiatric Association ตัวย่อ APA) และในหัวข้อ "ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม (mental and behavioral disorders)" ในบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (ตัวย่อ ICD) ที่เผยแพร่โดยองค์การอนามัยโลก DSM-5 รุ่นที่พิมพ์ในปี 2556 กำหนดความผิดปกติทางบุคลิกภาพเช่นเดียวกับความผิดปกติทางจิต (mental disorders) อื่น ๆ แทนที่จะอยู่ใน "axis" ที่ต่างกันตามที่เคยทำมาก่อน ๆ บุคลิกภาพตามนิยามของจิตวิทยา เป็นเซตของลักษณะทางพฤติกรรมและทางจิตที่คงทน ที่ทำให้มนุษย์แต่ละคนต่างกัน ดังนั้น ความผิดปกติทางบุคลิกภาพจึงกำหนดโดยประสบการณ์ (ทางใจ) และพฤติกรรม ที่ต่างจากมาตรฐานและความคาดหวังของสังคม คนผิดปกติเช่นนี้ อาจประสบความยากลำบากทางประชาน (cognition) ความไวอารมณ์ (emotiveness) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (interpersonal functioning) และการควบคุมความหุนหันพลันแล่น (impulse control) โดยทั่วไปแล้ว คนไข้จิตเวชร้อยละ 40-60 จะได้รับวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติเช่นนี้ จึงเป็นกลุ่มโรคที่วินิจฉัยบ่อยครั้งที่สุดในบรรดาโรคจิตเวช ความผิดปกติทางบุคลิกภาพกำหนดโดยรูปแบบพฤติกรรมที่คงทน บ่อยครั้งสัมพันธ์กับความขัดข้องในชีวิตส่วนตัว ชีวิตทางสังคม หรือทางอาชีพ นอกจากนั้นแล้ว ความผิดปกติเช่นนี้ยืดหยุ่นไม่ได้ และแพร่กระจายไปในสถานการณ์มากมาย ซึ่งส่วนใหญ่อาจจะมาจากเหตุที่ว่า พฤติกรรมเช่นนี้เข้ากับทัศนคติเกี่ยวกับตน (ego-syntonic) ของบุคคลนั้นได้ ดังนั้น บุคคลนั้นจึงพิจารณาว่าเป็นพฤติกรรมที่เหมาะสม แต่เป็นพฤติกรรมที่อาจมีผลเป็นทักษะจัดการปัญหาและความเครียด (coping skill) ที่ปรับตัวได้อย่างไม่เหมาะสม และนำไปสู่ปัญหาส่วนตัวที่สร้างความวิตกกังวล ความทุกข์ และความเศร้าซึมอย่างรุนแรง รูปแบบพฤติกรรมเช่นนี้จะกำหนดได้ตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นและต้นวัยผู้ใหญ่ และในบางกรณีที่พิเศษ ในช่วงวัยเด็ก มีประเด็นปัญหาหลายอย่างในการจัดหมวดหมู่ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ คือมีนิยามต่าง ๆ หลายแบบ และเพราะว่าทฤษฎีและการวินิจฉัยเกี่ยวกับความผิดปกติจะต้องเกิดภายในความคาดหวังปกติของสังคม นักวิชาการบางท่านจึงคัดค้านความสมเหตุสมผลของทฤษฎีและการวินิจฉัย เพราะว่าเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องอาศัยมูลฐานบางอย่างที่เป็นอัตวิสัย (subjective) คือพวกเขาอ้างว่า ทฤษฎีและการวินิจฉัยมีมูลฐานอยู่ที่พิจารณาญาณทางสังคม หรือทางสังคม-การเมืองและทางเศรษฐกิจ (ดังนั้น จึงอาจจะไม่ใช่ปัญหาทางการแพทย์).

ใหม่!!: โรคประสาทและความผิดปกติทางบุคลิกภาพ · ดูเพิ่มเติม »

คิม พอสสิเบิล

ม พอสสิเบิล (Kim Possible) เป็นการ์ตูนทีวีแอนิเมชันที่ออกอากาศในประเทศไทยทางช่อง ดิสนีย์แชนแนลเอเชีย (ผ่านทางทรูวิชั่นส์) มีเรื่องราวเกี่ยวกับคิม พอสสิเบิล ผู้มีภารกิจที่จะต้องช่วยโลกและหยุดยั้งผู้ร้ายต่างๆ ในประเทศไทยเคยฉายทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และมีเสียงพาทย์ไทยในช่องดิสนีย์แชนแนลเอเชีย ปีที่สี่ได้เริ่มในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 (ทางช่อง Disney Channel).

ใหม่!!: โรคประสาทและคิม พอสสิเบิล · ดูเพิ่มเติม »

ปมเอดิเพิส

ัณฑสถานทางศิลปะเมโทรโพลิแทน คำว่า ปมเอดิเพิส (Oedipus complex) อธิบายอารมณ์และความคิดซึ่งจิตเก็บไว้ในจิตไร้สำนึกโดยการกดเก็บพลวัต (dynamic repression) ซึ่งสนใจความปรารถนาของเด็กในการใฝ่ใจเชิงสังวาสกับบิดามารดาเพศตรงข้ามกับตน คือ ชายดึงดูดกับมารดาของตน หญิงดึงดูดกับบิดาของตน) ซิกมุนด์ ฟรอยด์ ผู้ประดิษฐ์คำว่า "ปมเอดิเพิส" เชื่อว่าปมเอดิเพิสเป็นความปรารถนาบิดามารดาทั้งในชายและหญิง ฟรอยด์คัดค้านคำว่า "ปมอิเล็กตรา" ที่คาร์ล กุสทัฟ ยุงเสนออธิบายปมเอดิเพิสที่ปรากฏในเด็กหญิง ปมเอดิเพิสปรากฏในพัฒนาการความต้องการทางเพศขั้นที่สาม คือ ขั้นอวัยวะเพศ (อายุ 3–6 ปี) จากทั้งหมดห้าขั้น ได้แก่ (1) ขั้นปาก (2) ขั้นทวารหนัก (3) ขั้นอวัยวะเพศ (4) ขั้นแฝง และ (5) ขั้นสนใจเพศตรงข้าม ซึ่งแลห่งงของความพึงพอใจของลิบิโด (libido) อยู่ในอีโรจีเนียสโซน (erogenous zone) ต่าง ๆ ของกายเด็ก ในทฤษฎีจิตวิเคราะห์สำนักฟรอยด์คลาสสิก การเลียนแบบบิดามารดาเพศเดียวกันของเด็ก (identification) เป็นการแก้ปมเอดิเพิสและปมอิเล็กตราที่สำเร็จ เป็นประสบการณ์ทางจิตวิทยาสำคัญซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาบทบาทและอัตลักษณ์ทางเพศผู้ใหญ่ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ยังเสนอว่า เด็กชายและเด็กหญิงเผชิญปมนี้ต่างกัน เด็กชายในรูปของความวิตกกังวลการตอน (castration anxiety) เด็กหญิงในรูปของความอิจฉาองคชาต (penis envy) และการแก้ไขปมที่ไม่สำเร็จอาจนำไปสู่โรคประสาท โรคใคร่เด็กและรักร่วมเพศ ชายและหญิงที่ติดอยู่ในขั้นเอดิเพิสและอิเล็กตราในพัฒนาการความต้องการทางเพศนั้นอาจถือว่า "ยึดติดมารดา" และ "ยึดติดบิดา" ในชีวิตผู้ใหญ่ ประสบการณ์นี้อาจนำให้เลือกคู่ครองที่เหมือนบิดาหรือมารดาของตน.

ใหม่!!: โรคประสาทและปมเอดิเพิส · ดูเพิ่มเติม »

แบทแมน บีกินส์

แบทแมน บีกินส์ (อังกฤษ: Batman Begins) คือ ภาพยนตร์ชุดแบทแมนลำดับที่ 5 เข้าฉายในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2548 กำกับโดย คริสโตเฟอร์ โนแลน นำแสดงโดย คริสเตียน เบล, ไมเคิล เคน, เลียม นีสัน, แคที โฮล์มส์, แกรี โอลด์แมน, ซิลเลียน เมอร์ฟี, มอร์แกน ฟรีแมน, ทอม วิลคินสัน, Rutger Hauer และเค็ง วะตะนะเบะ เนื้อเรื่องของภาพยนตร์แบทแมนภาคนี้เป็นอิสระจากภาพยนตร์ชุดแบทแมนที่สร้างมาก่อนหน้าโดยสิ้นเชิง โดยมีโครงเรื่องที่กล่าวถึงจุดกำเนิดของตัวละครแบทแมน ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากเส้นเรื่องของหนังสือการ์ตูนชุดแบทแมนดั้งเดิม เช่น แบทแมน: เดอะแมนฮูฟอลส์ (Batman: The Man Who Falls) แบทแมน: เยียร์วัน (Batman: Year One) และ แบทแมน: เดอะลองฮัลโลวีน (Batman: The Long Halloween) ที่มาของภาพยนตร์เรื่องนี้ มาจากความคิดของคริสโตเฟอร์ โนแลน และเดวิด เอส. โกเยอร์ (ผู้เขียนบทภาพยนตร์) ที่มาร่วมงานกันเมื่อช่วงต้นปี พ.ศ. 2546 ซึ่งภาคนี้ถือเป็นภาพยนตร์แบทแมนเรื่องแรก หลังจากที่ภาค แบทแมนแอนด์โรบิน (Batman & Robin) เมื่อ พ.ศ. 2540 ได้รับคำวิจารณ์ในแง่ลบและประสบความล้มเหลวในเชิงพาณิชย์ โดยในภาคนี้ เขาทั้งสองคนได้ดัดแปลงให้มีโทนสีมืดและมีความสมจริงของเนื้อเรื่องมากกว่าที่ภาคที่ผ่านมา การถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ ใช้วิธีการแสดงผาดโผนแบบดั้งเดิมและอาศัยการสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์ไม่มากนัก โดยสถานที่ที่ใช้ในการถ่ายทำในเบื้องต้น คือ อังกฤษและชิคาโก แบทแมน บีกินส์ ได้รับกระแสที่ดีทั้งจากคำวิจารณ์และการตอบรับเชิงพาณิชย์ โดยได้มีการสร้างภาพยนตร์ภาคต่อชื่อว่า แบทแมน อัศวินรัตติกาล (The Dark Knight) ขึ้นมา ซึ่งออกฉายในปี พ.ศ. 2551 กำกับโดยคริสโตเฟอร์ โนแลน และนำแสดงโดยคริสเตียน เบล เช่นเดิม.

ใหม่!!: โรคประสาทและแบทแมน บีกินส์ · ดูเพิ่มเติม »

แอมเฟตามีน

แอมเฟตามีน (amphetamine, amfetamine ย่อมาจาก alpha-methylphenethylamine) เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ปี พ.ศ. 2518 แต่ในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงฯ ฉบับที่ 135 ปี พ.ศ. 2539 กำหนดให้เป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษปี พ.ศ. 2522 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2539 (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข, 2539) แอมเฟตามีน มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสขมนิดๆ มีสูตรทางเคมีคือ C9H13N.

ใหม่!!: โรคประสาทและแอมเฟตามีน · ดูเพิ่มเติม »

แขไข เทวิณ

แขไข เทวิณ เป็นนามปากกาของ จงกลณี พุทธิแพทย์ ธิดาของขุนจักรวิจารณ์บดีและนางจักรวิจารณ์บดี เกิดเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2471 ที่เชียงใหม่ บิดารับราชการเป็นนายช่างทาง จึงต้องย้ายที่อยู่ไปตามต่างจังหวัดเสมอ ๆ จบการศึกษาชั้นต้นจาก โรงเรียนมาแตร์เดอี และจบเตรียมอุดมจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใน..

ใหม่!!: โรคประสาทและแขไข เทวิณ · ดูเพิ่มเติม »

โรคจิต

รคจิต หรือ วิกลจริต (psychosis) คือ โรคกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง ในกลุ่มโรคทางจิตเวชทั้งหมด ที่มีหลายโรค (โรคทางจิตเวช ได้แก่ โรคจิต โรคอารมณ์แปรปรวน โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคเครียดที่เกิดจากสถานการณ์ร้ายแรงในชีวิต โรคปรับตัวผิดปกติ บุคลิกภาพบกพร่อง ฯลฯ).

ใหม่!!: โรคประสาทและโรคจิต · ดูเพิ่มเติม »

โรคซนสมาธิสั้น

มาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder, ADHD) เป็นโรคประสาทประเภทความผิดปกติในการเจริญเติบโตของระบบประสาท ซึ่งจะมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียกร้องความสนใจ การแสดงออกอย่างหุนหันพันแล่น ซึ่งไม่เหมาะสมตามวัย ลักษณะอาการจะเริ่มที่อายุ 6 ขวบถึง 12 ขวบและมีอาการต่อเนื่องมากกว่า 6 เดือน พบเห็นมากในวัยที่เข้าเรียนแล้ว และมักจะส่งผลให้มีผลการเรียนที่ย่ำแย่ แม้ว่ามีการศึกษาอย่างแพร่หลายกับกลุ่มเด็กและวัยรุ่น แต่ก็ยังไม่พบสาเหตุของโรคที่เกิดกับคนส่วนใหญ่ ในจำนวนเด็กทั้งหมด พบว่ามีเด็กประมาณ 6-7% ที่เป็นโรคสมาธิสั้นเมื่อคัดตามเกณฑ์ DSM-IV และ 1-2% เมื่อคัดตามเกณฑ์ ICD-10 Cited source of Cowen (2012): อัตราการเป็นโรคใกล้เคียงกันในแต่ละประเทศ และส่วนใหญ่แล้วแตกต่างกันตามวิธีการตรวจ อาการนี้มีการพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงถึง 3 เท่า ประมาณ 30-50% ของผู้ที่เข้ารับการรักษาตั้งแต่วัยเด็กมีอาการต่อจนโตเป็นผู้ใหญ่ และมีผู้ใหญ่ 2-5% ที่มีอาการสมาธิสั้น อาการสมาธิสั้นนั้นอาจจะยากที่จะแยกออกจากความผิดปกติอื่น ๆ และอาการของคนทั่วไปที่กระตือรือร้นมากกว่าปกติ การจัดการกับโรคสมาธิสั้นมักจะเป็นการให้คำปรึกษา การเปลียนแปลงวิถีการใช้ชีวิต และการให้ยา รวมกัน แต่การให้ยานั้นแนะนำให้ใช้ในกรณีของเด็กที่มีอาการรุนแรงและอาจจะพิจารณาให้กับผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางที่ล้มเหลวจากวิธีให้คำปรึกษา ผลกระทบระยะยาวนั้นยังไม่ชัดเจน และไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กก่อนวันเรียน วัยรุ่นและผู้ใหญ่มีแนวโน้มที่จะพัฒนาทักษะในการเผชิญปัญหาได้ด้วยเช่นกัน โรคสมาธิสั้นและการรักษาเป็นที่ถกเถียงตั้งแต่ช่วงปี 1970 มีการโต้เถียงระหว่างแพทย์กับครู ผู้กำหนดนโยบาย พ่อแม่ และสื่อ โดยหัวข้อนั้นเกี่ยวกับสาเหตุของสมาธิสั้น และการใช้ยากระตุ้นเพื่อเป็นการรักษา ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ให้การดูแลสุขภาพได้ยอมรับว่าสมาธิสั้นเป็นโรค ข้อโต้เถียงในวงการวิทยาศาสตร์จะเกี่ยวกับเกณฑ์ของอาการและวิธีการรักษ.

ใหม่!!: โรคประสาทและโรคซนสมาธิสั้น · ดูเพิ่มเติม »

ไนอาซิน

นอาซิน หรือ ไนอะซิน (niacin) หรือ กรดนิโคตินิก (nicotinic acid) หรือ วิตามินบี3 (vitamin B3) เป็นวิตามินชนิดที่ละลายในน้ำได้ ซึ่งจำเป็นใน Lipid Metabolism,Tissue respiration และ Glycogenolysis Nicotinic Acid ในปริมาณสูง ๆ จึงสามารถลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดได้ โดยฤทธิ์ของยาจะทำให้ระดับ Triacylglycerol ใน Plasma และ VLDL ลดลงภายใน 1-4 วัน ส่วนฤทธิ์ในการลดระดับโคเลสเตอรอลและ LDL นั้น 5-7 วันจึงจะเห็นผล และนอกจากนั้น Nicotinic Acid ยังสามารถเพิ่ม HDL อีกด้วย จากการทดลองผลการลดระดับไขมันในเลือดจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดหลังรับประทานยา 5-7 สัปดาห์ ยาส่วนเกินที่รับประทานเข้าไปจะขับออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะ ซึ่งร่างกายมนุษย์มีความต้องการวิตามินชนิดนี้วันละ 13-19 มิลลิกรัม, วันที่สืบค้น 24 เมษายน 2559 จาก www.pikool.com.

ใหม่!!: โรคประสาทและไนอาซิน · ดูเพิ่มเติม »

เมแทบอลิซึม

กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.

ใหม่!!: โรคประสาทและเมแทบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

เรือรบอวกาศยามาโตะ

รือรบอวกาศยามาโตะ หรือ ในชื่อที่ใช้เมื่อครั้งที่เคยออกอากาศในเมืองไทยครั้งแรกโดยไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. คือ "สตาร์เบลเซอร์ ตลุยอวกาศ" คืออะนิเมะแนววิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่น ซึ่งชื่อของเรี่องนั้นเป็นชื่อของยานอวกาศ อะนิเมะเรื่องนี้มีอีกชื่อในภาษาอังกฤษคือ Space Cruiser Yamato (สเปซ ครุยเซอร์ ยามาโตะ) หรือStar Blazers (สตาร์ เบลเซอส์) สำหรับภาคภาษาอังกฤษ ซึ่งออกอากาศในอเมริกาเหนือและออสเตรเลีย สำหรับภาคภาษาอิตาลีก็ใช้ชื่อ สตาร์ เบลเซอ.

ใหม่!!: โรคประสาทและเรือรบอวกาศยามาโตะ · ดูเพิ่มเติม »

เหงือกปลาหมอ

หงือกปลาหมอ (Sea holly; ชื่อวิทยาศาสตร์ Acanthus ebracteatus; ชื่อท้องถิ่น: แก้มหมอ, แก้มหมอเล, จะเกร็ง, นางเกร็ง, อีเกร็ง, เหงือกปลาหมอน้ำเงิน) เป็นพรรณไม้ที่มีชื่อเสียงในจังหวัดสมุทรปราการ ขึ้นอยู่บริเวณชายฝั่งแม่น้ำลำคลอง อยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกเหนือปากคลองมหาวงษ์และโรงเรียนนายเรือ ประโยชน์ของเหงือกปลาหมอนั้น เป็นสมุนไพรใกล้ตัวหรืออาจจะเรียกว่าสมุนไพรชายน้ำ/สมุนไพรชายเลนก็ได้ ช่วยรักษาโรคได้มากมายหลายชน.

ใหม่!!: โรคประสาทและเหงือกปลาหมอ · ดูเพิ่มเติม »

เอจออฟมีโธโลจี

อจออฟมีโธโลจี (Age of Mythology) หรือมักย่อเป็น AoM เป็นเกมคอมพิวเตอร์แนววางแผนเรียลไทม์ ซึ่งมีเนื้อหาของปรัมปราวิทยา พัฒนาโดย เอนเซมเบิลสตูดิโอส์ และจัดจำหน่ายโดยไมโครซอฟท์เกมสตูดิโอส์ ออกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: โรคประสาทและเอจออฟมีโธโลจี · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 5: ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: โรคประสาทและICD-10 บทที่ 5: ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม · ดูเพิ่มเติม »

Neurotic (แก้กำกวม)

Neurotic เป็นคำภาษาอังกฤษที่เป็นคำนามหรือคำวิเศษณ์หมายถึงลักษณะนิสัย ลักษณะบุคคลิกภาพ สภาวะความไม่เสถียรทางอารมณ์ หรือภาวะโรคจิตชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจกล่าวถึงในบทความดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: โรคประสาทและNeurotic (แก้กำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

Neuroticism

ในการศึกษาทางจิตวิทยา Neuroticism เป็นลักษณะบุคลิกภาพ (personality trait) ที่แสดงออกเป็นความวิตกกังวล ความหวาดกลัว การมีอารมณ์แปรปรวน ความกลุ้มใจ ความอิจฉาริษยา ความขัดข้องใจ และความเหงา คือมีอารมณ์ไม่เสถียร บุคคลที่ได้คะแนนสูงในลักษณะบุคลิกภาพนี้ จะมีโอกาสสูงกว่าโดยเฉลี่ยที่จะประสบกับอารมณ์เชิงลบต่าง ๆ เช่น ความวิตกกังวล ความหวาดกลัว ความอิจฉาริษยา ความรู้สึกผิด และความซึมเศร้า จะมีปฏิกิริยาที่แย่กว่าต่อสิ่งที่ก่อความเครียด และมีโอกาสสูงกว่าที่จะเห็นเหตุการณ์ปกติธรรมดาว่าเป็นภัย และความขัดข้องใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ว่าเป็นเรื่องยากถึงให้สิ้นหวัง บ่อยครั้งจะมีความรู้สึกสำนึกตนหรือประหม่ามากเกินไป และขี้อาย และอาจจะมีปัญหาห้ามอารมณ์ชั่ววูบและผัดผ่อนการสนองความต้องการ ลักษณะบุคลิกภาพเช่นนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อความผิดปกติทางจิต (mental disorder) หลายอย่างที่สามัญที่สุด รวมทั้งภาวะซึมเศร้า โรคกลัว โรคตื่นตระหนก (panic disorder) โรควิตกกังวลอื่น ๆ และการติดสารเสพติด ซึ่งเป็นอาการที่เคยวินิจฉัยว่าเป็นโรคประสาท (neurosis).

ใหม่!!: โรคประสาทและNeuroticism · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Neurosisประสาท

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »