โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โคบุตร

ดัชนี โคบุตร

โคบุตร เป็นนิทานกลอนเรื่องแรกของสุนทรภู่ แต่งขึ้นเพื่อถวายเจ้านายในพระราชวังหลังพระองค์หนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับ โคบุตรซึ่งเป็นลูกของพระอาทิตย์และนางอัปสร โดยฝากเลี้ยงไว้กับพญาราชสีห์ และนางไกรสร เมื่อเจริญชันษาโคบุตรซึ่งได้รับของวิเศษจากพระอาทิตย์ คือ แหวน และสังวาล และได้รับมอบใบยาวิเศษที่สามารถชุบชีวิตคนตายให้มีชีวิตได้จากราชสีห์ ต่อจากนั้นจึงเป็นเรื่องราวการผจญภัยของโคบุตร ดังที่จะคัดมาตอนหนึ่งในตอนท้ายที่โคบุตรมีพระมเหสีสองคน คือ นางอำพันมาลา และนางมณีสาคร นางอำพันมาลาเห็นโคบุตรรักนางมณีสาครมากกว่าตน จึงทำเสน่ห์ให้โคบุตรหลงรัก แต่อรุณกุมารได้แก้ไขเสน่ห์ โคบุตรโกรธมากถึงกับสั่งประหาร แต่อรุณกุมารขอร้อง โคบุตรจึงขับไล่นางอำพันมาลาออกจากวัง ดังต่อไปนี้ หมวดหมู่:นิทาน หมวดหมู่:วรรณคดีประเภทกลอน หมวดหมู่:กวีนิพนธ์ของสุนทรภู่.

7 ความสัมพันธ์: พระสุนทรโวหาร (ภู่)รายชื่อวรรณคดีไทยรายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์ละครรำลักษณวงศ์สุวรรณหงส์เห่เรื่องโคบุตร

พระสุนทรโวหาร (ภู่)

ระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ (26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 - พ.ศ. 2398) เป็นอาลักษณ์ชาวไทยที่มีชื่อเสียงเชิงกวี ได้รับยกย่องเป็น เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย เกิดหลังจากตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 4 ปี และได้เข้ารับราชการเป็นอาลักษณ์ราชสำนักในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อสิ้นรัชกาลได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม 20 ปี ก่อนจะกลับเข้ารับราชการอีกครั้งในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาลักษณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต สุนทรภู่เป็นกวีที่มีความชำนาญทางด้านกลอน ได้สร้างขนบการประพันธ์กลอนนิทานและกลอนนิราศขึ้นใหม่จนกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสืบเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ผลงานที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่มีมากมายหลายเรื่อง เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศสุพรรณ เพลงยาวถวายโอวาท กาพย์พระไชยสุริยา และ พระอภัยมณี เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่อง พระอภัยมณี ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนนิทาน และเป็นผลงานที่แสดงถึงทักษะ ความรู้ และทัศนะของสุนทรภู่อย่างมากที่สุด งานประพันธ์หลายชิ้นของสุนทรภู่ได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอนนับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เช่น กาพย์พระไชยสุริยา นิราศพระบาท และอีกหลาย ๆ เรื่อง ปี..

ใหม่!!: โคบุตรและพระสุนทรโวหาร (ภู่) · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อวรรณคดีไทย

รายชื่อวรรณคดีของไทย ซึ่งเป็นงานเขียนหรือวรรณกรรมไทยที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ วรรณคดีไทยเป็นผลงานที่ทรงคุณค่าทางวรรณศิลป์ เป็นผลงานเขียนที่เกิดขึ้นก่อนสมัยรัชกาลที่ 7.

ใหม่!!: โคบุตรและรายชื่อวรรณคดีไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: โคบุตรและรายชื่อตัวละครในรามเกียรติ์ · ดูเพิ่มเติม »

ละครรำ

ละครรำ เป็นศิลปะการแสดงของไทย ที่ประกอบด้วยท่ารำ ดนตรีบรรเลง และบทขับร้องเพื่อดำเนินเรื่อง ละครรำมีผู้แสดงเป็นตัวพระ ตัวนาง และตัวประกอบ แต่งองค์ทรงเครื่องตามบท งดงามระยับตา ท่ารำตามบทร้องประสานทำนองดนตรีที่บรรเลงจังหวะช้า เร็ว เร้าอารมณ์ให้เกิดความรู้สึกคึกคัก สนุกสนาน หรือเศร้าโศก ตัวละครสื่อความหมายบอกกล่าวตามอารมณ์ด้วยภาษาท่าทาง โดยใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย วาดลีลาตามคำร้อง จังหวะและเสียงดนตรี ในปัจจุบันละครรำนิยมนำมาแสดงแก้บนสิ่งศักศิ์สิทธิ์อย่างแพร่หลาย มีทั้งแบบชั่วคราว กับประจำโรง อยู่ในสถานที่นั้น ๆ เลย เช่นวัดโสธรวรารามวรวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ศาลหลักเมือง ศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ เป็นต้น.

ใหม่!!: โคบุตรและละครรำ · ดูเพิ่มเติม »

ลักษณวงศ์

ลักษณวงศ์ เป็นนิทานคำกลอน เรื่องจักร ๆ วงศ์ ๆ ประพันธ์โดย สุนทรภู่ สันนิษฐานว่ามีสำนวนของผู้อื่นแต่งเติม สำนวนกลอนบางตอนคล้ายกับดัดแปลงมาจากเรื่อง โคบุตร.

ใหม่!!: โคบุตรและลักษณวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

สุวรรณหงส์

หมวดหมู่:วรรณคดีไท.

ใหม่!!: โคบุตรและสุวรรณหงส์ · ดูเพิ่มเติม »

เห่เรื่องโคบุตร

เห่เรื่องโคบุตร เป็นบทเห่กล่อมพระบรรทมที่ประพันธ์โดย สุนทรภู่ โดยนำเนื้อหามาจากกลอนนิทานของสุนทรภู่เรื่อง โคบุตร เชื่อว่าสุนทรภู่ประพันธ์บทเห่กล่อมสำหรับใช้ขับกล่อมหม่อมเจ้าในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ กับพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เห่เรื่องโคบุตร จับใจความตอนที่โคบุตรส่งสารรักไปถึงนางอำพันมาลา หมวดหมู่:บทเห่กล่อม หมวดหมู่:กวีนิพนธ์ของสุนทรภู่.

ใหม่!!: โคบุตรและเห่เรื่องโคบุตร · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »