โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แพทยศาสตร์

ดัชนี แพทยศาสตร์

right แพทยศาสตร์ (Medicine) เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและเยียวยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย การแพทย์เป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทั้งความรู้และทักษะอย่างสูง แพทยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่มีความสำคัญ ผู้ประกอบอาชีพทางการแพทย์มักได้รับความนับถือในสังคม แพทยศาสตร์มีศาสตร์เฉพาะทางต่าง ๆ อีกมากมายเช่น กุมารเวชศาสตร์, อายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยศาสตร์กระดูก), สูติศาสตร์, นรีเวชวิทยา, โสตศอนาสิกวิทยา, นิติเวชศาสตร์, จักษุวิทยา, จิตเวชศาสตร์,รังสีวิทยา,ตจวิทยา, พยาธิวิทยา, เวชศาสตร์ชุมชน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, เวชระเบียน, เวชสถิติ และอื่น ๆ อีกมากมาย และในแต่ละสาขายังแบ่งย่อยเป็นสาขาย่อยลงไปอีกตามอวัยวะหรือกลุ่มของโรค เช่น ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก อายุรศาสตร์โรคไต เป็นต้น.

295 ความสัมพันธ์: AllochiriaAnesthesia dolorosaAnti-vascular endothelial growth factor therapyAxonotmesisบัณฑิตวิทยาลัยชาร์ล หลุยส์ อาลฟงส์ ลาฟว์ร็องชีพจรชีวกลศาสตร์ชีววิทยามนุษย์ชีวสถิติบทนำวิวัฒนาการช่องไขสันหลังที่เอวตีบฟรานซิส คริกฟรีดริช กุสทัฟ ยาคอบ เฮนเลฟรีดริช เวอเลอร์ฟร็องซัว ราเบอแลฟร็องซัว ดูว์วาลีเยฟิลิป โชวอลเตอร์ เฮนช์พ.ศ. 2379พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพรทิพย์ โรจนสุนันท์พลิกซากปมมรณะพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาคลีฟแลนด์พิษพงศกรกระดูกสันหลังกลิ่นกลุ่มรัสเซลกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายกลไกทางประสาทของการเจริญสติกะเทยกามสูตรการบำบัดการฝึกงานการฝ่อการร่วมประเวณีกับญาติสนิทการวิจัยการศึกษาตามแผนการสร้างภาพประสาทการหาค่าเหมาะที่สุดแบบเฟ้นสุ่มการผลิตยาปฏิชีวนะการทารุณเด็กทางเพศการทำงานในสมองกับการเข้าสมาธิการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมการทดลองแบบอำพรางการทดสอบด้วยความเย็นร้อนการขาดเลือดเฉพาะที่...การปฏิบัติอิงหลักฐานการประมวลผลคำพูดการปริทัศน์เป็นระบบการแพทย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทยการแพทย์เฉพาะทางกาลิเลโอ กาลิเลอีกุมารเวชศาสตร์กีฏวิทยาการแพทย์ก้าวแรกสู่สังเวียนฝางภาวะพิษเหตุติดเชื้อภาวะสมองตายภาวะเริ่มเจริญพันธุ์ก่อนวัยภาษาศาสตร์ภาษาเฉพาะวงการภูมิคุ้มกันบกพร่องมหาวิทยาลัยพระหฤทัยคาทอลิกมหาวิทยาลัยกลาสโกว์มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลมหาวิทยาลัยวอชิงตันมหาวิทยาลัยวอชิงตัน เซนต์หลุยส์มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ-กัมพูชามหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งปอร์ตูอาเลเกรมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ชิคาโกมหาวิทยาลัยฮาวายมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์มหาวิทยาลัยซินซินแนติมหาวิทยาลัยปารีสมหาวิทยาลัยปาร์มามหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา แชเปิลฮิลล์มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์นมหาวิทยาลัยโอคลาโฮมามหาวิทยาลัยโตเกียวมหาวิทยาลัยไลพ์ซิชมหาวิทยาลัยไอโอวามหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียมหาวิทยาลัยเอดินบะระมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีมหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนียมอลต์มารี กูว์รีมาร์กาเร็ต มิตเชลล์มิโนะรุ ชิโระตะมูลนิธิอานันทมหิดลมนุษย์ยอดหญิงแกร่งแห่งทำเนียบขาว ฤดูกาลที่ 2ยัน บัปติสต์ ฟัน แฮ็ลโมนต์ยายาลดความดันยาฆ่าแมลงยานอนหลับยาแก้สรรพโรคยูเอสนิวส์แอนด์เวิลด์รีพอร์ตยูเจนอลยงพัลยงค์วิมล เลณบุรีรอยโรครอล์ฟ ซีเวอร์ตระบบการทรงตัวระบบรับความรู้สึกทางกายระดับขั้นในสถาบันศาสนาราชวิทยาลัยลอนดอนรายชื่อสาขาการศึกษาระดับปริญญาเอก (สหรัฐอเมริกา)รายชื่อคณะและวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในประเทศไทยรายการสาขาวิชารายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยรายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดรายงานผู้ป่วยรายนามผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลรายนามเมธีวิจัยอาวุโส สกว.รางวัลวูล์ฟรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์รีตา เลวี-มอนตัลชีนีลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิงวักกวิทยาวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์วานรวิทยาวิลเลิม ไอนต์โฮเฟินวิลเลียม สโตกส์ (แพทย์)วิลเลียม ฮาร์วีย์วิศวกรรมคุณค่าวิทยาการบาดเจ็บวิทยามะเร็งวิทยาลัยดาร์ตมัธวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์สุขภาพวิทยาทางเดินอาหารวิทยาต่อมไร้ท่อศัลยศาสตร์ศิลาจารึกศิลปะโรมาเนสก์ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกสภาวะไม่พูดและเสียการเคลื่อนไหวสมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกันสมิธสัน เทนแนนต์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)สะอ์ดีสังคมสงเคราะห์สารภูมิต้านทานโมโนโคลนสารสนเทศการแพทย์สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์สำนักงานราชบัณฑิตยสภาสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา)สถาบันแคโรลินสกาสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์สตาญิสวัฟ แลมสติ (จิตวิทยา)หมู่บ้านบุศรินทร์หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์หม่าฟู่หยา หัวใจเพื่อบัลลังก์หนูหริ่งอรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะออยเกน บลอยเลอร์ออสการ์ (แมวพยาบาล)ออตโต บรุนเฟลส์อัลเฟรด โนเบลอัสสมาจารย์นิยมอันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยอันตรกิริยาอาการกลัวสารพัดอายุรศาสตร์อารมณ์อิบน์ ซีนาอินซูลินองค์การแพทย์ไร้พรมแดนฌอร์ฌ ฌีล เดอ ลา ตูแร็ตผ้าปิดจมูกจอห์น เชน (แพทย์)จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซียจักษุวิทยาจิตเวชศาสตร์จุลชีววิทยาถั่งเช่าที่สุดในประเทศไทยของไหลของเหลวในร่างกายพร่องข้อเขียนวอยนิชครอว์ฟอร์ด ลองความละเหี่ยความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยความตลกขบขันความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลกความเอนเอียงทางประชานความเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจคัสพาร์ เบาฮีนคาร์ล ลันด์สไตเนอร์คุณหมอมือใหม่หัวใจเกินร้อยคทาอัสคลิปิอุสคทางูไขว้คณวัฒน์ จันทรลาวัณย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวรคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคณิตศาสตร์ประยุกต์งานศึกษามีกลุ่มควบคุมงานศึกษาตามยาวงานศึกษาตามขวางงูตับตับอักเสบ อีตัวรับรู้สารเคมีตัวตั้งต้นตำบลพิมลราชซอมบีซูสีไทเฮาซีเมนส์ประวัติวิชากายวิภาคศาสตร์ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมประสาทวิทยาประสาทศัลยศาสตร์ประเวศ วะสีประเทศอิหร่านประเทศไทยใน พ.ศ. 2379ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตปลากระดูกอ่อนปัญหาปี ค.ศ. 2000นักศึกษาแพทย์นักสถิตินัยสำคัญทางคลินิกนิกร ดุสิตสินน้ำหนักลดแพร์ วิกทอร์ เอดมันแพทยศาสตรบัณฑิตแพทย์แพทริก แมนสันแอล. แอล. ซาเมนฮอฟแอนตาโกนิสต์แอนเดรียส เวซาเลียสแอ็ลเซอเฟียร์แฮร์มัน สแน็ลเลินแฮร์มันน์ รอร์ชัคแฮนส์ เครสตีแยน กรัมโฟตอนิกส์โมฮัมหมัด นาญิบุลลอฮ์โมเลกุลเล็กโยฮันน์ ก็อตต์ล็อบ ไลเดินฟรอสต์โรควิตกกังวลโรคหมอทำโรคอารมณ์สองขั้วโรคซึมเศร้า (การวินิจฉัยแยกโรค)โรงพยาบาลฮีวูโรงพยาบาลในประเทศไทยโรนัลด์ รอสส์โรแบร์ต บาราญโสตศอนาสิกวิทยาโซเดียมคลอไรด์โนลไซยาโนอะคริเลตเฟนทานิลเพศวิทยาเพาล์ ลังเงอร์ฮันส์เพาล์ เอร์ลิชเภสัชวิทยาเภสัชเวทเลออนฮาร์ท ฟุคส์เลอง ฟูโกเวชระเบียนเวชสารสนเทศเวชสถิติเวชปฏิบัติอิงหลักฐานเอมิล อดอล์ฟ ฟอน เบริงเอเอชพีเจมส์ ดี. วัตสันเดวิด ลิฟวิงสโตนเดอะ บีเอ็มเจเดอะแลนซิตเซจิ โอะงะวะCase seriesDictyostelium discoideumJAMANeurapraxiaNeurotmesis ขยายดัชนี (245 มากกว่า) »

Allochiria

Allochiria (จากภาษากรีกโดยแปลว่า อีกมือหนึ่ง, อีกข้างหนึ่ง) เป็นความผิดปกติของระบบประสาท ที่คนไข้ตอบสนองต่อสิ่งเร้าซึ่งปรากฏที่ร่างกายด้านหนึ่ง เหมือนกับอยู่ในด้านตรงกันข้าม ปกติเป็นการย้ายข้างแบบอสมมาตรของสิ่งเร้าจากด้านหนึ่งของร่างกาย (หรือแม้รอบ ๆ ตัวจากด้านนั้นทั้งหมด) ไปในด้านตรงกันข้าม ดังนั้น สัมผัสที่ข้างซ้ายของร่างกาย จะปรากฏเหมือนกับปรากฏที่ข้างขวา ซึ่งเรียกว่า somatosensory allochiria ถ้าเป็นการได้ยินหรือการเห็นที่เสียหาย เสียง (เช่นเสียงพูด) จะปรากฏต่อคนไข้ว่าได้ยินจากด้านตรงข้ามที่เกิดจริง ๆ และสิ่งที่เห็นก็เช่นเดียวกัน บ่อยครั้ง คนไข้อาจแสดงอาการของ allochiria เมื่อลอกวาดภาพ เป็นอาการที่บ่อยครั้งเกิดพร้อมกับภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ (unilateral neglect) ซึ่งมีเหตุร่วมกัน คือความเสียหายต่อสมองกลีบข้างด้านขวา allochiria บ่อยครั้งจะสับสนกับ alloesthesia ซึ่งความจริงเป็น "allochiria เทียม" "allochiria แบบแท้" เป็นอาการของ dyschiria บวกกับภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ ส่วน dyschiria ก็คือความผิดปกติในการกำหนดตำแหน่งความรู้สึก เนื่องจากอาการ dissociation ระดับต่าง ๆ เป็นความพิการที่ไม่สามารถบอกว่า กำลังสัมผัสด้านไหนของร่างกายจริง.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และAllochiria · ดูเพิ่มเติม »

Anesthesia dolorosa

Anesthesia dolorosa หรือ anaesthesia dolorosa หรือ deafferentation pain เป็นความเจ็บปวดในบริเวณที่ไม่สามารถรู้สึกสัมผัส (ปกติที่ใบหน้า) เป็นอย่างต่อเนื่อง แสบร้อน ปวด หรือรุนแรง อาจเป็นผลข้างเคียงของการผ่าตัดที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบประสาทไทรเจมินัล โดยจะเกิดขึ้นในคนไข้ 1-4% ที่ผ่านการผ่าตัดนอกระบบประสาทส่วนกลางเนื่องจากอาการปวดประสาทไทรเจมินัล (trigeminal neuralgia) โดยยังไม่มีวิธีการรักษาใด ๆ ที่ได้ผล แม้จะมีเทคนิคหลายอย่างที่ลองดูแล้ว แต่ก็ได้ผลน้อยหรือมีผลแบบผสม ส่วนการผ่าตัดรักษาประเมินได้ยาก เพราะงานศึกษาที่ตีพิมพ์มีคนไข้หลายประเภทรวมกันจำนวนน้อยและไม่ตามผลการรักษาในระยะยาว เทคนิคที่ลองแล้วรวมทั้ง.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และAnesthesia dolorosa · ดูเพิ่มเติม »

Anti-vascular endothelial growth factor therapy

Anti-vascular endothelial growth factor therapy หรือ anti-VEGF therapy หรือ anti-VEGF medication เป็นการระงับแฟกเตอร์ซึ่งโปรโหมตการเติบโตของเส้นเลือดที่เนื้อเยื่อบุโพรง คือ vascular endothelial growth factor (VEGF) เพื่อรักษามะเร็งบางอย่างและจุดภาพชัดเสื่อมเนื่องกับอายุ (AMD) ด้วยสารภูมิต้านทานโมโนโคลน เช่น bevacizumab (Avastin), ด้วยสารอนุพันธ์ เช่น ranibizumab (Lucentis), และด้วยโมเลกุลเล็ก ๆ ที่ใช้ทานได้ซึ่งยับยั้งเอนไซม์ tyrosine kinase ที่เริ่มทำงานอาศัย VEGF โมเลกุลรวมทั้ง lapatinib, sunitinib, sorafenib, axitinib, และ pazopanib โดยยาเหล่านี้บางอย่างมีหน่วยรับ VEGF เป็นเป้าหมาย ไม่ใช่มี VEGF เป็นเป้าหมายโดยตรง สารประกอบที่เป็นสารภูมิต้านทานทั้งสอง และยากิน 3 อย่างแรกมีวางขายในตลาด ส่วนยากิน 2 อย่างหลังคือ axitinib และ pazopanib ยังอยู่ในระยะการทดลองทางคลินิกเพื่อรักษาโรคนี้ งานปี 2008 ได้สรุปว่า ยาต้าน VEGF ได้แสดงประสิทธิผลในการรักษามะเร็งทั้งในหนูแบบจำลองและในมนุษย์ แต่ "ประโยชน์ที่ได้อย่างดีที่สุดก็ชั่วคราว แล้วก็ตามด้วยการฟื้นคืนการเจริญเติบโตของเนื้องอก" งานศึกษาต่อ ๆ มาเกี่ยวกับผลของยายับยั้ง VEGF ยังแสดงด้วยว่า แม้ยาอาจลดการเติบโตของเนื้องอกหลัก แต่ก็สามารถโปรโหมตการแพร่กระจายของเนื้องอกไปพร้อม ๆ กัน ส่วน AZ2171 (cediranib) ซึ่งเป็นยายับยั้ง tyrosine kinase แบบหลายเป้าหมายได้แสดงว่า มีผลต้านบวม (anti-edema) โดยลดสภาพให้ซึมผ่านได้ และช่วยปรับเส้นเลือดให้เป็นปกติ งานปริทัศน์เป็นระบบของคอเครนปี 2014 ศึกษาประสิทธิผลของ ranibizumab และ pegaptanib ในคนไข้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับอาการบวมในจุดภาพชัด (macular edema) ที่มีเหตุจากการอุดตันของเส้นเลือด คือ central retinal vein ในจอตา คนไข้ที่อยู่ในกลุ่มรักษาทั้งสองกลุ่มดีขึ้นทั้งในการเห็นภาพชัด (visual acuity) และการลดอาการบวมที่จุดภาพชัดในช่วงเวลา 6 เดือน.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และAnti-vascular endothelial growth factor therapy · ดูเพิ่มเติม »

Axonotmesis

Axonotmesis ที่เส้นประสาท Axonotmesis เป็นความบาดเจ็บที่เส้นประสาทนอกส่วนกลางคือที่อวัยวะส่วนปลายต่าง ๆ แอกซอนและปลอกไมอีลินจะเสียหายในความบาดเจ็บเช่นนี้ แต่เซลล์ชวานน์, endoneurium, perineurium และ epineurium จะไม่เสียหาย การควบคุมกล้ามเนื้อและการรับความรู้สึกในลำดับต่อจากจุดที่เสียหายจะเสียไปในที่สุด เพราะเส้นประสาทจะเสื่อมเนื่องกับกระบวนการ Wallerian degeneration เหตุการขาดเลือดเฉพาะที่ อาการนี้ปกติจะเป็นผลของความบาดเจ็บหรือความฟกช้ำซึ่งรุนแรงกว่าที่ก่อให้เกิดอาการ neuropraxia Axonotmesis โดยหลักจะเกิดจากความบาดเจ็บที่เกิดจากการยืด (stretch injury) เช่น ข้อเคลื่อนหรือแขนขาหัก ซึ่งทำให้เส้นประสาทขาด ถ้าคนไข้ไม่รู้สึกเจ็บเพราะเหตุเส้นประสาทที่เปิดออก ก็จะสามารถกำหนดจุดบาดเจ็บเนื่องจากความรู้สึกที่ผิดปกติในอวัยวะนั้น ๆ แพทย์อาจจะสั่งการตรวจความเร็วในการส่งสัญญาณประสาท (Nerve Conduction Velocity, NCV) เพื่อตรวจปัญหาเพิ่มยิ่งขึ้น ถ้าวินิจฉัยว่าเป็นอาการนี้ การบันทึกคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography) ที่ทำหลังจากบาดเจ็บ 3-4 สัปดาห์จะแสดงอาการเส้นประสาทขาด (denervation) และกล้ามเนื้อสั่นระริก (fibrillation) หรือการเชื่อมต่อทางประสาทที่ผิดปกติและกล้ามเนื้อที่หดเกร็งผิดปกต.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และAxonotmesis · ดูเพิ่มเติม »

บัณฑิตวิทยาลัย

ัณฑิตวิทยาลัย หมายถึง สถาบันอุดมศึกษาที่มีระดับการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโทหรือปริญญาเอก) โดยทั่วไปบัณฑิตวิทยาลัย จะเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย แต่สำหรับสถาบันอุดมศึกษาที่ไม่มีระดับปริญญาตรี จะเรียกสถาบันนั้นว่า "บัณฑิตวิทยาลัย" แทน การเรียนในระดับบัณฑิตวิทยาลัย จะมีลักษณะที่แตกต่างจากระดับในมหาวิทยาลัยทั่วไป เพราะว่ารับผู้สำเร็จการศึกษามาแล้ว ในกรณีที่เน้นการวิจัย ก่อนการสำเร็จการศึกษาต้องเขียน "วิทยานิพนธ์" (thesis) ในกรณีของปริญญาโท ส่วนในระดับปริญญาเอก จะเรียกว่า "ดุษฎีนิพนธ์" (dissertation) สำหรับกรณีที่เป็นวุฒิทางวิชาชีพ ก็จะเน้นให้ทำปัญหาพิเศษในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ ในสหรัฐจะเรียกบัณฑิตวิทยาลัยว่า "Graduate School" หรือ "Grad School" ในขณะที่ สหราชอาณาจักรและประเทศในเครือจักรภพ จะเรียกว่า "Postgraduate School" คำว่า "บัณฑิตวิทยาลัย" ไม่นิยมใช้เรียกสถาบันอุดมศึกษาด้านแพทยศาสตร.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และบัณฑิตวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

ชาร์ล หลุยส์ อาลฟงส์ ลาฟว์ร็อง

ร์ล หลุยส์ อาลฟงส์ ลาฟว์ร็อง (Charles Louis Alphonse Laveran; 18 มิถุนายน ค.ศ. 1845 – 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1922) เป็นแพทย์ชาวฝรั่งเศส ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และชาร์ล หลุยส์ อาลฟงส์ ลาฟว์ร็อง · ดูเพิ่มเติม »

ชีพจร

thumb การประเมินชีพจรที่หลอดเลือดแดงเรเดียล ในวิชาแพทยศาสตร์ ชีพจรของบุคคลแทนการคลำตรวจการเต้นของหัวใจทางหลอดเลือดแดงด้วยนิ้วมือ อาจคลำตรวจชีพจรได้ทุกที่ซึ่งจะกดหลอดเลือดแดงกับกระดูก เช่น ที่คอ (หลอดเลือดแดงแคโรติด) ด้านในข้อศอก (หลอดเลือดแดงแขน) ที่ข้อมือ (หลอดเลือดแดงเรเดียล) ที่ขาหนีบ (หลอดเลือดแดงต้นขา) หลังเข่า (หลอดเลือดแดงขาพับ) ใกล้ข้อตาตุ่ม (หลอดเลือดแดงแข้งหลัง) และบนเท้า (หลอดเลือดแดงเท้าบน) ชีพจร หรือการนับชีพจรหลอดเลือดแดงต่อนาที เท่ากับการวัดอัตราหัวใจเต้น อัตราหัวใจเต้นยังสามารถวัดได้โดยการฟังหัวใจเต้นโดยตรง ซึ่งปกติใช้เครื่องตรวจหูฟังแล้วนับไปหนึ่งนาที หมวดหมู่:สรีรวิทยาระบบหัวใจหลอดเลือด.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และชีพจร · ดูเพิ่มเติม »

ชีวกลศาสตร์

ูนย์กลางมวลในวัตถุสมมาตร แต่ร่างกายคนไม่ได้มีรูปร่างสมมาตรเช่นนี้ หากความสูงของจุดศูนย์ถ่วงเพิ่มขึ้น(ขวา) ความมั่นคงจะลดลง น้ำหนักของมวลที่เพิ่มขึ้น (ขวา) ทำให้ความมั่นคงลดลง พื้นที่ฐานรองรับที่แคบกว่า (ขวา) ส่งผลให้วัตถุไม่ค่อยมั่นคง ตัวอย่างการแก้ไขภาวะผิดรูปของกระดูกและข้อต่อโดยใช้หลักการแรงกด 3 จุด (3-point pressure system) ชีวกลศาสตร์ (Biomechanics) เป็นวิชาหนึ่งในวิทยาศาสตร์ประยุกต์สาขาชีวฟิสิกส์ (Biophysics)ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของฟิสิกส์ ที่ทำการศึกษาแรงและผลของแรงในสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึงมนุษย์ด้วย โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ชีวะ (คือสิ่งมีชีวิต) และกลศาสตร์ (คือวิชาว่าด้วยการศึกษาแรงและผลของแรง)ซึ่งใกล้เคียงกับความหมายที่นำเสนอโดย Herbert Hatze (1974) “ชีวกลศาสตร์ คือการศึกษาโครงสร้างและการทำงานของสิ่งมีชีวิตโดยวิธีการทางกลศาสตร์”.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และชีวกลศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ชีววิทยามนุษย์

ีววิทยามนุษย์ (Human biology) เป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับหลายสาขาวิชารวมกัน ไม่ว่าจะเป็นชีววิทยา, มานุษยชีววิทยา และแพทยศาสตร์ ซึ่งมุ่งเน้นไปที่มนุษย์ มีความเกี่ยวข้องกับชีววิทยาของไพรเมตและสาขาอื่นๆ อีกมาก การวิจัยทางชีววิทยามนุษย์เกี่ยวข้องกั.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และชีววิทยามนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ชีวสถิติ

ีวสถิติ เป็นสาขาวิชาประยุกต์ของสถิติศาสตร์เพื่อใช้ในทางชีววิทยา และยังมีการประยุกต์เฉพาะในทางการแพทย์และเกษตรกรรม.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และชีวสถิติ · ดูเพิ่มเติม »

บทนำวิวัฒนาการ

"ต้นไม้บรรพชีวินวิทยาของสัตว์มีกระดูกสันหลัง" จากหนังสือ ''วิวัฒนาการมนุษย์'' ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5 (ลอนดอน, 1910) ของเฮเกิล (Ernst Haeckel) ประวัติวิวัฒนาการของสปีชีส์ต่าง ๆ สามารถจัดเป็นรูปต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์ โดยมีสาขามากมายงอกออกจากลำต้นเดียวกัน วิวัฒนาการ (evolution) เป็นการเปลี่ยนแปลงในสรรพชีวิตตลอดหลายรุ่น และศาสตร์ชีววิทยาวิวัฒนาการ (evolutionary biology) เป็นศึกษาว่าเกิดขึ้นอย่างไร ประชากรสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาผ่านการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมซึ่งเข้ากับการเปลี่ยนแปลงลักษณะปรากฏของสิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมรวมทั้งการกลายพันธุ์ ซึ่งเกิดจากความเสียหายของดีเอ็นเอหรือข้อผิดพลาดในการถ่ายแบบดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิต เมื่อความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรเปลี่ยนไปอย่างไม่เจาะจงแบบสุ่มเป็นเวลาหลายรุ่นเข้า การคัดเลือกโดยธรรมชาติจะเป็นเหตุให้พบลักษณะสืบสายพันธุ์มากขึ้นหรือน้อยลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขึ้นอยู่กับความสำเร็จทางการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเช่นนั้น โลกมีอายุประมาณ 4,540 ล้านปี และหลักฐานสิ่งมีชีวิตเก่าแก่ที่สุดโดยไม่มีผู้คัดค้านสืบอายุได้อย่างน้อย ระหว่างมหายุคอีโออาร์เคียนหลังเปลือกโลกเริ่มแข็งตัว หลังจากบรมยุคเฮเดียนก่อนหน้าที่โลกยังหลอมละลาย มีซากดึกดำบรรพ์แบบเสื่อจุลินทรีย์ (microbial mat) ในหินทรายอายุ ที่พบในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย หลักฐานรูปธรรมของชีวิตต้น ๆ อื่นรวมแกรไฟต์ซึ่งเป็นสสารชีวภาพในหินชั้นกึ่งหินแปร (metasedimentary rocks) อายุ ที่พบในกรีนแลนด์ตะวันตก และในปี 2558 มีการพบ "ซากชีวิตชีวนะ (biotic life)" ในหินอายุ ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย Early edition, published online before print.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และบทนำวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

ช่องไขสันหลังที่เอวตีบ

องไขสันหลังที่เอวตีบ (Lumbar spinal stenosis ตัวย่อ LSS) เป็นอาการทางการแพทย์ที่ช่องไขสันหลังแคบลงแล้วกดอัดไขสันหลังและเส้นประสาทที่กระดูกสันหลังระดับเอว (lumbar vertebra) โดยมักมีเหตุจากสันหลังเสื่อมที่สามัญเมื่ออายุมากขึ้น หรือจากหมอนกระดูกสันหลังเคลื่อน จากภาวะกระดูกพรุน หรือจากเนื้องอก อาการที่คอ (cervical) หรือที่เอว (lumbar) ก็อาจจะเป็นภาวะแต่กำเนิดด้วย อนึ่ง เป็นอาการสามัญสำหรับคนไข้ที่มีการเติบโตทางโครงกระดูกผิดปกติเช่น กระดูกอ่อนไม่เจริญเทียม (pseudoachondroplasia) และกระดูกอ่อนไม่เจริญ (achondroplasia) ตั้งแต่อายุน้อย ๆ การตีบอาจจะอยู่ที่คอ (cervical) หรืออก (thoracic) ซึ่งก็จะเรียกว่า ช่องไขสันหลังที่คอตีบ (cervical spinal stenosis) หรือ ช่องไขสันหลังที่อกตีบ (thoracic spinal stenosis) ในบางกรณี คนไข้อาจจะมีการตีบทั้ง 3 บริเวณ ช่องไขสันหลังที่เอวตีบทำให้ปวดหลัง รวมทั้งปวดหรือรู้สึกผิดปกติที่บั้นท้าย ต้นขา ขา หรือเท้า หรือทำให้ไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะอุจจาระได้.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และช่องไขสันหลังที่เอวตีบ · ดูเพิ่มเติม »

ฟรานซิส คริก

ฟรานซิส คริก ฟรานซิส คริก (Francis Harry Compton Crick OM FRS (8 มิถุนายน พ.ศ. 2459 – 28 กรกฎาคม 2547) นักอณูชีววิทยาชาวอังกฤษ นักฟิสิกส์และนักประสาทวิทยาศาสตร์ ผู้ได้รับการยกย่องเป็นผู้ร่วมค้นพบโครงสร้างโมเลกุลของ “กรดดีออกซีไรโบนิวคลิอิก” หรือ “ดีเอ็นเอ” เมื่อ พ.ศ. 2496 ฟรานซิส คริก กับ เจมส์ ดี. วัตสัน ผู้ร่วมค้นพบ ได้ร่วมรับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยา หรือ การแพทย์ “สำหรับการค้นพบที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างโมเลกุลของกรดนิวคลิอิกและความสำคัญของมันในการถ่ายทอดข้อมูลสำคัญในสิ่งมีชีวิต” งานของฟรานซิส คริกในช่วงหลังจนถึงปี พ.ศ. 2520 ที่หอทดลองอณูชีววิทยา “เอ็มอาร์ซี” หรือ “สภาวิจัยทางการแพทย์” (MRC-Medical Research Council) ไม่ได้รับการยอมรับเป็นทางการมากนัก ในช่วงท้ายในชีวิตงาน คริกได้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เมธีวิจัย “เจ ดับบลิว คีกเคเฟอร์” ที่ “สถาบันซอล์คชีววิทยาศึกษา” ที่เมืองลาโฮลา รัฐแคลิฟอร์เนีย และได้ดำรงตำแหน่งนี้จนสิ้นชีวิตเมื่ออายุได้ 88 ปี.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และฟรานซิส คริก · ดูเพิ่มเติม »

ฟรีดริช กุสทัฟ ยาคอบ เฮนเล

ฟรีดริช กุสทัฟ ยาคอบ เฮนเล (Friedrich Gustav Jakob Henle; 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1809 – 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1885) เป็นพยาธิแพทย์และนักกายวิภาคศาสตร์ชาวเยอรมัน เกิดที่เมืองเฟือทในราชอาณาจักรบาวาเรีย เข้าเรียนด้านการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยไฮเดลแบร์กและมหาวิทยาลัยบอนน์ ก่อนจะทำงานด้านกายวิภาคศาสตร์ที่เบอร์ลิน ต่อมาในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และฟรีดริช กุสทัฟ ยาคอบ เฮนเล · ดูเพิ่มเติม »

ฟรีดริช เวอเลอร์

ฟรีดริช เวอเลอร์ (Friedrich Wöhler, 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1800 - 23 กันยายน ค.ศ. 1882) เป็นนักเคมีชาวเยอรมัน ผู้เป็นที่รู้จักกันดีจากการสังเคราะห์ยูเรีย และยังเป็นบุคคลแรก ๆ ที่พยายามแยกธาตุเคมีหลายธาต.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และฟรีดริช เวอเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟร็องซัว ราเบอแล

ฟร็องซัว ราเบอแล ฟร็องซัว ราเบอแล (François Rabelais; ประมาณ ค.ศ. 1483 – 9 เมษายน ค.ศ. 1553) เป็นนักเขียน แพทย์ และนักมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาชาวฝรั่งเศส มีผลงานที่เป็นที่รู้จักคือ Gargantua and Pantagruel.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และฟร็องซัว ราเบอแล · ดูเพิ่มเติม »

ฟร็องซัว ดูว์วาลีเย

ฟร็องซัว ดูว์วาลีเย (François Duvalier, 14 เมษายน พ.ศ. 2450 - 21 เมษายน พ.ศ. 2514) อดีตประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเฮติ เจ้าของฉายา "ปาปาด็อก" (Papa Doc) เกิดเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ที่สาธารณรัฐเฮติ เมื่อโตเป็นหนุ่ม เขาเลือกศึกษาวิชาการแพทย์ ต่อมาได้เปลี่ยนใจลงเล่นการเมือง โดยมีอุดมการณ์อย่างหนักแน่นที่จะเป็นปากเป็นเสียงแก่ประชาชนผิวสีที่ยากไร้และด้อยโอกาสที่มีเป็นจำนวนมากในเฮติ และเพื่อการสนับสนุนและพัฒนาระบอบประชาธิปไตย เขาจึงเป็นที่ชื่นชอบของประชาชน จนเมื่อเขาลงเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) เขาจึงได้ชัยชนะในการเลือกตั้ง ได้รับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีแห่งเฮติ แต่เมื่อเขาได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีแห่งเฮติ เขากลับพยายามจะกอบโกยทรัพย์สินและอำนาจไว้แต่ผู้เดียว เขาหนุนหลังให้รัฐบาลของเขากระทำการฉ้อราษฎร์บังหลวงและติดสินบนมากมาย เพื่อกอบโกยผลประโยชน์ ดังนั้นเมื่อการกระทำเหล่านี้รั่วไหลออกไป ประชาชนต่างสิ้นศรัทธาในดูว์วาลีเย เมื่อประชนเริ่มรังเกียจเขา เขาจึงได้จัดตั้งหน่วยตำรวจพิเศษขึ้นลับ ๆ โดยหน่วยตำรวจลับนี้มีอำนาจจับกุม ทรมาน สังหารใคร และอย่างไรก็ได้ ตามบัญชาของดูว์วาลีเย ดังนั้นเมื่อหน่วยตำรวจลับนี้เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป ประชาชนจึงนิยมเรียกหน่วยตำรวจนี้ว่า ตงตงมากุต (Tonton Macoute) ซึ่งแปลว่า มนุษย์ปีศาจ ในเฮติ ประชาชนส่วนใหญ่ยังนับถือไสยศาสตร์วูดู หรือการนับถือผีและวิญญาณ แต่แทนที่ดูว์วาลีเยจะให้การศึกษาที่ถูกต้องแก่ประชาชน เพื่อให้เชื่อแต่พอสมควร กลับประกาศตนเป็นผู้นำวูดู และทำหลายสิ่งหลายอย่างเพื่อให้ประชาชนจมอยู่ในความหวาดกลัวยิ่งขึ้น ต่อมา เมื่อเขาใกล้จะสิ้นสุดวาระลง เขากลับใช้อำนาจที่มียกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเก่าเสีย แล้วร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้น แต่งตั้งตนเป็นประธานาธิบดีเฮติตลอดชีพ ด้วยเหตุนี้เฮติจึงล่มจมลงเรื่อย ๆ โชคดีที่สหรัฐอเมริกายังให้ความช่วยเหลือแก่เฮติในด้านต่าง ๆ มาอย่างดีตั้งแต่เฮติได้รับเอกราชจากชาติมหาอำนาจตะวันตก แต่ด้วยสหรัฐอเมริกาเห็นว่า การกระทำของดูว์วาลีเยนั้นไม่เหมาะสม ไม่ควรให้ความช่วยเหลือแก่เฮติอีกต่อไป สหรัฐฯ จึงตัดสินใจตัดความช่วยเหลือทั้งหมดที่เคยให้เฮติ เศรษฐกิจของเฮติจึงย่ำแย่ลงไปกว่าเดิม ฟร็องซัวเสียชีวิตลงด้วยโรคหัวใจเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) และได้แต่งตั้งฌ็อง-โกลด ดูว์วาลีเย ลูกชายของเขาเองเป็นประธานาธิบดีคนต่อไป หมวดหมู่:ประธานาธิบดีเฮติ หมวดหมู่:นักการเมืองเฮติ.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และฟร็องซัว ดูว์วาลีเย · ดูเพิ่มเติม »

ฟิลิป โชวอลเตอร์ เฮนช์

ฟิลิป โชวอลเตอร์ เฮนช์ (Philip Showalter Hench; 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1896 – 30 มีนาคม ค.ศ. 1965) เป็นแพทย์ชาวอเมริกัน เกิดที่เมืองพิตต์สเบิร์ก เป็นบุตรของจาคอบ บิกเลอร์ เฮนช์และคลารา โชวอลเตอร์ เรียนจบปริญญาตรีจากวิทยาลัยลาฟาแย็ต ก่อนจะทำงานเป็นแพทย์สนามและได้รับปริญญาเอกสาขาแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์ก เฮนช์ทำงานที่โรงพยาบาลเซนต์ฟรานซิสและเป็นสมาชิกของคลินิกเมโย ระหว่างปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และฟิลิป โชวอลเตอร์ เฮนช์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2379

ทธศักราช 2379 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1836 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และพ.ศ. 2379 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (20 กันยายน พ.ศ. 2468 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489) เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ (ภายหลังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาลย์ (ภายหลังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระชนกชนนีอีก 2 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (ภายหลังทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช) พระองค์เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (31 มีนาคม พ.ศ. 2330 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระองค์แรกที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรียม (ภายหลังได้รับสถาปนา เป็นสมเด็จพระศรีสุลาไลย) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม เวลาค่ำ 10.30 น. (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 9 ขึ้น 7 ค่ำ ปีวอก ซึ่งตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 สิริดำรงราชสมบัติได้ 27 ปี ทรงมีเจ้าจอมมารดาและเจ้าจอม 56 ท่าน มีพระราชโอรสธิดาทั้งสิ้น 51 พระองค์ เสด็จสวรรคตเมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน โทศก จุลศักราช 1212 เวลา 7 ทุ่ม 5 บาท ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 สิริพระชนมายุ 64 พรรษ.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

แบบร่างพระเมรุ พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นพระราชพิธีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รัฐบาลไทยจัดขึ้นเพื่อแสดงความจงรักภักดีและถวายความอาลัยแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยรัฐบาลกำหนดวันพระราชพิธีฯ ระหว่างวันที่ 14-19 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นประมุขแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช · ดูเพิ่มเติม »

พรทิพย์ โรจนสุนันท์

แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ หรือชื่อเดิมว่า พรทิพย์ ศรศรีวิชัย (เกิด 21 ธันวาคม พ.ศ. 2497) เป็น กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม คณะกรรมการประสานงาน รวม 3 ฝ่าย (คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ) ในส่วนของสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศที่ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศมอบหมายตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 45/2559 สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปแห่งชาติ นิติแพทย์ชาวไทย ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ระหว่างช่วง 2 พฤษภาคม..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และพรทิพย์ โรจนสุนันท์ · ดูเพิ่มเติม »

พลิกซากปมมรณะ

ลิกซากปมมรณะ (Bones) เป็นละครโทรทัศน์แนวอาชญากรรมผสมการแพทย์ ออกอากาศทางช่อง Fox ในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2548 จนถึงวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2560 ในไทยจะมีให้ชมที่เว็บไซต์ Doonee.com.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และพลิกซากปมมรณะ · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาคลีฟแลนด์

ัณฑ์ธรรมชาติวิทยาคลีฟแลนด์ (Cleveland Museum of Natural History) เป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาประจำเมืองคลีฟแลนด์ ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1920 และได้ดำเนินการวิจัยและจัดแสดงครอบคลุมในสาขา มานุษยวิทยา, โบราณคดี, ดาราศาสตร์, พฤกษศาสตร์, ธรณีวิทยา, บรรพชีวินวิทยาและ สัตววิทยา และเป็นหนึ่งในสี่พิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ในบริเวณ University circle อันเป็นศูนย์กลางทางศิลปะและวัฒนธรรมของเมือง ซึ่งในบริเวณนี้มีสถาณที่ตั้งที่สำคัญอื่นอีก อาทิ เช่น มหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ พิพิธภัณฑ์ศิลป์แห่งเมืองคลีฟแลนด์ สถาบันการดนตรีคลีฟแลนด์ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองคลีฟแลนด์ 8 กิโลเมตรทางทิศตะวันออก พิพิธภัณฑ์จัดแสดงสัตว์ป่าและพันธุ์ไม้ในรัฐโอไฮโอ อาทิเช่น แมวป่าแถบอเมริกาเหนือ (bobcat), นากแม่น้ำ, นกนักล่า ชนิดต่างๆ และยังมีนิทรรศการด้านการท่องเที่ยว, การให้บรรยาย, ร้านอาหาร, ร้านขายของที่ระลึก และ การเปิดหอดูดาวทุกคืนวันพุธให้สาธารณชนเข้าชม ในปี ค.ศ. 2002 พิพิธภัณฑ์ได้เปิดท้องฟ้าจำลองใหม่ (Fannye Shafran Planetarium) ตั้งอยู่ตรงบริเวณทางเข้า ภายในจัดแสดง หินจากดาวจันทร์ที่นำกลับมาในภาระกิจอะพอลโล 12 นิทรรศการเกี่ยวกับระบบสุริยะจักรวาล, การสำรวจอวกาศ และ เครื่องมือทางดาราศาสตร์ในอดีตและปัจจุบัน อาทิ เช่น เข็มทิศ, นาฬิกาดาว (astrolabe) และ ชิ้นส่วนของยานอวก.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาคลีฟแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

พิษ

พิษ ในบริบทชีววิทยา คือ สสารใด ๆ ที่ก่อการรบกวนแก่สิ่งมีชีวิต มักโดยปฏิกิริยาเคมีหรือกิจกรรมอย่างอื่นในระดับโมเลกุล เมื่อซึมซาบเข้าสู่สิ่งมีชีวิตนั้นในปริมาณที่เพียงพอ สาขาแพทยศาสตร์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัตวแพทยศาสตร์) และสัตววิทยา มักแยกพิษออกจากชีวพิษ (toxin) และจากพิษสัตว์ (venom) ชีวพิษเป็นพิษที่ผลิตโดยหน้าที่ทางชีวภาพบางอย่างในธรรมชาติ และพิษสัตว์มักนิยามเป็น ชีวพิษที่ฉีดเข้าสู่ร่างกายโดยการกัดหรือต่อยเพื่อก่อผลของมัน ขณะที่พิษอื่นโดยทั่วไปนิยามเป็นสสารที่ดูดซึมผ่านเยื่อบุผิว อาทิ ผิวหนังหรือลำไส้ หมวดหมู่:เครื่องประหารชีวิต.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และพิษ · ดูเพิ่มเติม »

พงศกร

งศกร เป็นทั้งชื่อจริงและนามปากกาของ นายแพทย์พงศกร จินดาวัฒนะ หนุ่มราศีสิงห์ ที่เกิดและเติบโตที่จังหวัดราชบุรี พงศกร จบการศึกษาจาก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และอบรมเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขา เวชศาสตร์ครอบครัวจาก Pennsylvanin State University ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันทำงานในตำแหน่ง Senior Director of Communication ประจำอยู่ที่ศูนย์การแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพ และในอดีตเคยรับราชการเป็นแพทย์ ประจำอยู่ที่กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลราชบุรี พงศกร ได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากบิดามารดา จึงรักการอ่าน และชอบขีดเขียนมาตั้งแต่เรียนชั้นประถม ผลงานเรื่องสั้นเรื่องแรกชื่อ ปุกปุย ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารสวิตา เมื่อตอนอายุ 11 ปี จากวันนั้นถึงวันนี้ ก็วนเวียนเขียนหนังสือมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสั้น เรื่องยาว สารคดี รวมทั้งบทความทางการแพทย์ และคอลัมน์ตอบปัญหาสุขภาพในนิตยสาร นอกจากนั้นยังเป็นนักเขียนในโครงการ For My Heroes ร่วมกับ กิ่งฉัตร และ ปิยะพร ศักดิ์เกษม ที่ช่วยกันหารายได้ช่วยเหลือทหารในสามจังหวัดภาคใต้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่ ปัจจุบันยังคงมีผลงานตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสารต่างๆ อาทิ สกุลไทย ขวัญเรือน และพลอยแกมเพชร โดยมีสำนักพิมพ์เป็นของตนเองร่วมกับน้องสาว คุณสุลวัณ จันทรวรินทร์ และน้องชาย คุณอรรถรัตน์ จันทรวรินทร์ ในนาม groove publishing โดยตีพิมพ์ผลงานของตนเอง รวมทั้งผลงานของ จินตวีร์ วิวัธน์ และของนักเขียนท่านอื่นๆ ที่มีผลงานในแนวลึกลับ สยองขวัญ ผี และเหนือธรรมชาต.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และพงศกร · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลัง มองจากด้านข้าง ส่วนต่างๆของแนวกระดูกสันหลัง ส่วนต่างๆกระดูกสันหลังหนึ่งชิ้น มองจากทางด้านข้าง กระดูกสันหลังส่วนคอ ชิ้นแรก มองจากทางด้านบน แนวกระดูกสันหลังส่วนคอตอนต้น แสดงกระดูกและเอ็นของข้อต่อบริเวณท้ายทอย กระดูกสันหลังส่วนอก มองจากทางด้านบน กระดูกสันหลัง (Vertebral column) ในกายวิภาคของมนุษย์ คือกระดูกแกนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ตั้งแต่ส่วนต้นคอ ลงมาจนถึงส่วนก้น ภายในมีไขสันหลัง ซึ่งอยู่ในช่องไขสันหลังอีกทีหนึ่ง.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

กลิ่น

กลิ่น (odor) คือ อนุภาคทางเคมี (particle chemical) ที่กระจายตัวอยู่ในอากาศ โดยสามารถรับรู้ได้ด้วยอวัยวะรับกลิ่น อวัยวะรับกลิ่นของมนุษย์และสัตว์คือ จมูก กลิ่นโดยทั่วไปแล้วแบ่งเป็นกลิ่นหอมและกลิ่นเหม็น โดยส่งผลต่อระดับความพึงพอใจของทั้งมนุษย์และสัตว์ ในปัจจุบันมีการนำประโยชน์ของกลิ่นมาใช้ประโยชน์หลายด้าน.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และกลิ่น · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มรัสเซล

กลุ่มรัสเซล (Russell Group) เป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยที่ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยวิจัยขนาดใหญ่ในสหราชอาณาจักร 18 มหาวิทยาลัยจากสมาชิก 19 แห่ง ติด 20 อันดับแรกของประเทศในด้านงบวิจัย กลุ่มรัสเซลมีมหาวิทยาลัยอันดับต้น ๆ ของสหราชอาณาจักรอยู่เป็นจำนวนมาก ผู้คนมักเปรียบเทียบกลุ่มรัสเซลของสหราชอาณาจักรกับ ไอวีลีก ซึ่งเป็นกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ค่อยจะสมเหตุผลเท่าไรนัก เนื่องจากสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำในสหรัฐอเมริกานั้น ส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากเอกชน (ยกเว้นมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ที่มีบางสาขาได้รับการสนับสนุนจากรัฐ) จึงไม่มีความจำเป็นต้องจัดตั้งกลุ่มล็อบบี้วิ่งเต้น อย่างมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรซึ่งทุกแห่งรับงบประมาณรัฐ (ยกเว้นเพียงแห่งเดียวคือ มหาวิทยาลัยบักกิงแฮม ที่เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนเต็มรูปแบบ) จุดประสงค์ของกลุ่มรัสเซลคือ เป็นกระบอกเสียงของสมาชิก (โดยเฉพาะการวิ่งเต้นล็อบบี้รัฐบาลและรัฐสภา) และจัดทำรายงานเพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องต่าง ๆ ประเด็นสนใจของกลุ่มได้แก่ ความต้องการเป็นผู้นำในการวิจัยของสหราชอาณาจักร เพิ่มรายรับให้มากที่สุด ดึงพนักงานและนักเรียนที่ดีที่สุด ลดการแทรกแซงจากรัฐบาล และใช้ประโยชน์จากความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยให้มากที.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และกลุ่มรัสเซล · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย

ในทางการแพทย์ กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย (systemic inflammatory response syndrome) หรือ SIRS เป็นภาวะการอักเสบของทั้งร่างกายโดยไม่ระบุสาเหตุของการติดเชื้อ นับเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพท.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย · ดูเพิ่มเติม »

กลไกทางประสาทของการเจริญสติ

ในสาขาจิตวิทยาของชาวตะวันตก สติ (Mindfulness) ซึ่งสามารถฝึกได้โดยการเ เป็น "การเพ่งความใส่ใจของตนไปที่อารมณ์ ความคิด และความรู้สึกในกายที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยตั้งใจ โดยยอมรับ โดยไม่ตัดสิน" เป็นการปฏิบัติที่มาจากการเจริญสติในพุทธศาสนา และสร้างความนิยมในประเทศตะวันตก.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และกลไกทางประสาทของการเจริญสติ · ดูเพิ่มเติม »

กะเทย

กะเทย ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายว่า "คนที่มีอวัยวะเพศทั้งชายและหญิง, คนที่มีจิตใจและกิริยาอาการตรงข้ามกับเพศของตน; ผลไม้ที่เมล็ดลีบ เช่น ลำไยกะเทย" ส่วนความหมายทางแพทยศาสตร์ หมายถึง คนที่มีอวัยวะของทั้งผู้หญิงและผู้ชายอยู่ในคน ๆ เดียวกัน ส่วนกะเทยที่มีจิตใจตรงข้ามกับเพศของตน ทางการแพทย์เรียกกลุ่มนี้ว่า "ลักเพศ".

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และกะเทย · ดูเพิ่มเติม »

กามสูตร

กามสูตร (pronunciation, กามสูตฺร) เป็นคัมภีร์ฮินดูสมัยโบราณ ว่าด้วยเพศศึกษา หรือพฤติกรรมทางเพศของมนุษย์ เขียนโดยวาตสยายน (วาต-สยา-ยะ-นะ) ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นผลงานมาตรฐานว่าด้วยความรักในวรรณคดีสันสกฤต โดยมีชื่อเต็มว่า "วาตฺสฺยายน กาม สูตฺร" (คัมภีร์ว่าด้วยความรักของวาตสยายน) นอกจากนี้ยังมีความสำคัญในด้านสังคมวิทยาและแพทยศาสตร์ ส่วนหนึ่งของคัมภีร์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธุ์ ส่วนใหญ่ในรูปแบบของร้อยแก้ว "กาม" ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ของเป้าหมายในชีวิตของศาสนาฮินดู แปลว่าความต้องการที่รวมถึงความต้องการทางเพศ ซึ่งถูกบันทึกไว้บนหนังสือเล่มนี้ และคำว่า "สูตร" แปลว่าเส้นที่จัดให้สิ่งต่าง ๆ อยู่ด้วยกัน และสามารถสื่อถึงคติพจน์หรือกฎ หรือการรวบรวมคติพจน์ในรูปแบบของคู่มือ คัมภีร์นี้เหมือนหลักสู่การใช้ชีวิตอย่างมีศีลธรรมและงดงาม โดยกล่าวเกี่ยวกับธรรมชาติของความรัก ชีวิตในครอบครัว และมุมมองอื่น ๆ เกี่ยวกับการใช้ชีวิตบนฐานของสุขารมณ์ ในบางมุมของโลก กามสูตร ถูกตีความหมายเป็นดั่งท่วงท่าการร่วมเพศแบบสร้างสรรค์ ทว่าในความเป็นจริงแล้วมีเพียงแค่ 20% ของกามสูตรเท่านั้นที่กล่าวถึงท่าร่วมเพศ ส่วนที่เหลือนั้นเกี่ยวกับปรัชญาและทฤษฎีของความรัก สิ่งที่จุดประกายความต้องการ สิ่งที่ทำให้ความต้องการคงอยู่ และเมื่อไหร่หรือตอนไหนที่มันดีหรือไม่ดี เชื่อกันว่า กามสูตรถูกเขียนข้ึนระหว่าง 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช และ คริสต์ศักราชที่ 200.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และกามสูตร · ดูเพิ่มเติม »

การบำบัด

การบำบัด (Therapy เป็นคำใน ภาษากรีก: θεραπεία) หรือ การรักษา คือความพยายาม แก้ไข (remediation) ปัญหาสุขภาพตาม การวินิจฉัย (diagnosis) วิธีการรักษาจากการแพทย์ตะวันตก การแพทย์ตะวันออกโดยเฉพาะจากจีน และการแพทย์ทางเลือก มีดังนี้.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และการบำบัด · ดูเพิ่มเติม »

การฝึกงาน

การฝึกงานอบชนมปังในสมัยกลาง การฝึกงาน เป็นการให้ทำงานตามสถานที่ทำงานต่างที่เราสมัครไว้ โดยเป็นการให้ทดลองงานเพื่อเรียนรู้งานก่อนที่จะรับเข้าทำงาน ส่วนมากแล้วจะเป็นการตกลงระหว่างนายจ้างและผู้ฝึกงาน โดยมีความสมัครใจและตกลงกันในเรื่องอื่นๆแล้วแต่จะตกลงกัน โดยมากแล้วจะไม่มีการให้ค่าตอบแทน จนกว่าจะได้เป็นพนักงานเต็มตัว นอกจากนี้ การฝึกงานในปัจจุบันยังถูกถือเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในระดับอุดมศึกษาบางสาขาวิชา เช่น สาขาวิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ คหกรรมศาสตร์ การบริหาร การบริการ เป็นต้น.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และการฝึกงาน · ดูเพิ่มเติม »

การฝ่อ

ในทางการแพทย์ การฝ่อ หมายถึงการลีบ แห้ง หรือผอมลงบางส่วนหรือทั้งหมดของส่วนต่างๆ ร่างกาย สาเหตุของการฝ่ออาทิการขาดสารอาหาร ขาดเลือดไหลเข้ามาเลี้ยง ขาดฮอร์โมนที่มาช่วยในการทำงาน ขาดเส้นประสาทมาเลี้ยงที่อวัยวะเป้าหมาย การขาดการออกกำลังกายหรือโรคที่เกิดภายในเนื้อเยื่อเอง การฝ่อนับเป็นกระบวนการปกติทางสรีรวิทยาของการเสื่อมหรือทำลายเนื้อเยื่อ ซึ่งเกี่ยวข้องกับอะพอพโทซิส (apoptosis) ในระดับเซลล์อันเป็นส่วนหนึ่งในพัฒนาการของร่างกายและการรักษาภาวะธำรงดุล แต่หากเกิดจากโรคหรือการขาดปัจจัยที่มาเลี้ยงเนื้อเยื่อจากโรค จะจัดเป็นการฝ่อทางพยาธิวิทยา (pathological atrophy) หมวดหมู่:พยาธิกายวิภาคศาสตร์ หมวดหมู่:มหพยาธิวิทยา.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และการฝ่อ · ดูเพิ่มเติม »

การร่วมประเวณีกับญาติสนิท

การร่วมประเวณีกับญาติสนิท"การร่วมประเวณีกับญาติสนิท" เป็นศัพท์ทางนิติศาสตร์ ส่วน "การสมสู่ร่วมสายโลหิต" เป็นศัพท์ทางแพทยศาสตร์ หรือ การสมสู่ร่วมสายโลหิต (Incest) หมายถึง การมีความสัมพันธ์ทางเพศในทุกรูปแบบกับผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดในครอบครัวเดียวกัน ซึ่งอาจหมายถึงคนในครอบครัว หรือญาติพี่น้อง ซึ่งถือว่าเป็นการผิดกฎหมายและจารีตทางสังคม ในบางสังคม การล่วงละเมิดหมายอาจมีแค่ผู้ที่อยู่ร่วมเคหะสถานเดียวกัน หรือผู้ที่เป็นสมาชิกของเผ่าหรือมีผู้สืบสันดานเดียวกัน; ในบางสังคมมีความหมายรวมไปถึงคนที่สัมพันธ์กันทางสายเลือด; และในสังคมอื่น ๆ รวมไปถึงบุตรบุญธรรมหรือการแต่งงาน ในการศึกษาบางอย่างได้ระบุว่ารูปแบบของการล่วงละเมิดที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ระหว่างพ่อกับลูกสาว อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาอื่น ๆ เสนอว่าการร่วมประเวณีระหว่างพี่น้องเกิดขึ้นบ่อยเทียบเท่าหรือบ่อยครั้งกว่าการร่วมประเวณีกับญาติสนิทรูปแบบอื่น ๆ การล่วงละเมิดทางเพศเด็กโดยผู้ใหญ่ถูกพิจารณาว่าเป็นรูปแบบของการข่มขืนต่อเด็กรูปแบบหนึ่ง นักวิจัยได้ประมาณการว่าประชากรทั่วไปราว 10-15% เคยมีประสบการณ์การล่วงละเมิดทางเพศแบบดังกล่าวมากกว่าหนึ่งครั้ง ในขณะที่อีกประมาณ 2% เกี่ยวข้องกับการร่วมประเวณีหรือพยายามกระทำร่วมประเวณี ส่วนในผู้หญิง นักวิจัยได้ประมาณการตัวเลขไว้ที่ 20% ในสังคมส่วนใหญ่มักจะมีการหลีกเลี่ยงการล่วงละเมิดทางเพศของคนในครอบครัวเดียวกันในบางรูปแบบ ข้อห้ามการล่วงละเมิดของคนในครอบครัวเดียวกันถือว่าเป็นหนึ่งในข้อห้ามทางวัฒนธรรมในบางสังคม แต่ในทางกฎหมายการร่วมประเวณีกับญาติสนิทมีระดับการยอมรับที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ บางประเทศถือว่าเป็นการผิดกฎหมายและถือว่าเป็นอาชญากรรมที่มีบทลงโทษ บางประเทศยอมรับการเกิดขึ้นได้โดยไม่ถือว่าเป็นอาชญากรรมแต่จะไม่อนุญาตให้มีการแต่งงาน บางประเทศยอมรับด้วยเงื่อนไขที่ผ่อนปรนเช่นยอมให้พี่น้องแต่งงานกันได้แต่ห้ามการแต่งงานระหว่างบุพการีกับบุตร บางประเทศห้ามเฉพาะผู้ใหญ่กับญาติที่ยังเป็นผู้เยาว์เท่านั้น จนถึงบางประเทศที่กฎหมายเปิดเสรี.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และการร่วมประเวณีกับญาติสนิท · ดูเพิ่มเติม »

การวิจัย

อลิน เลวี วอร์เนอร์ (Olin Levi Warner) การวิจัยชูคบเพลิงแห่งความรู้ (พ.ศ. 2439) ห้องสมุดรัฐสภาสหรัฐฯ อาคารโทมัส เจฟเฟอร์สัน, วอชิงตัน ดีซี การวิจัย (research) หมายถึงการกระทำของมนุษย์เพื่อค้นหาความจริงในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่กระทำด้วยพื้นฐานของปัญญา ความมุ่งหมายหลักในการทำวิจัยได้แก่การค้นพบ (discovering), การแปลความหมาย, และ การพัฒนากรรมวิธีและระบบ สู่ความก้าวหน้าในความรู้ด้านต่าง ๆ ในเชิงวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายในโลกและจักรวาล การวิจัยอาจต้องใช้หรือไม่ต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ก็ได้ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ อาศัยการประยุกต์ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ได้แรงผลักดันจากความอยากรู้อยากเห็น การวิจัยเป็นตัวสร้างข้อมูลข่าวสารเชิงวิทยาศาสตร์และทฤษฎีที่มนุษย์นำมาใช้ในการอธิบายธรรมชาติและคุณสมบัติของสรรพสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา การวิจัยช่วยให้การประยุกต์ทฤษฎีต่าง ๆ มีความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้รับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ องค์การการกุศล กลุ่มเอกชนซึ่งรวมถึงบริษัทต่าง ๆ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์จำแนกได้เป็นประเภทตามสาขาวิทยาการและวิชาเฉพาะทาง คำว่าการวิจัยยังใช้หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับวิชาการบางสาขาอีกด้ว.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และการวิจัย · ดูเพิ่มเติม »

การศึกษาตามแผน

การศึกษาตามแผน หรือ งานศึกษาตามรุ่น"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ "cohort-" ว่า "ตามรุ่น" เช่น "cohort analysis" แปลว่า "การวิเคราะห์ตามรุ่น", และของ "panel analysis" ว่า "การวิเคราะห์ตามบุคคลในรุ่น" (cohort study) หรือ งานศึกษาตามบุคคลในรุ่น เป็นแบบหนึ่งของงานศึกษาแบบสังเกต (observational study) ที่ใช้ในสาขาการแพทย์ สังคมศาสตร์ คณิตศาสตร์ประกันภัย "business analytics" และนิเวศวิทยา ยกตัวอย่างเช่น ในการแพทย์ อาจจะมีงานศึกษาที่วิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยง โดยติดตามกลุ่มประชากรที่ไม่มีโรค แล้วใช้ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความเสี่ยงกับการติดโรค เพื่อกำหนดความเสี่ยงสัมพัทธ์ ของการติดโรค งานศึกษาตามรุ่นเป็นแบบการศึกษาทางคลินิกชนิดหนึ่ง เป็นงานศึกษาตามยาว (longitudinal study) โดยเทียบกับงานศึกษาตามขวาง (cross-sectional study) คือ เป็นการวัดค่าผลลัพธ์ที่เป็นประเด็นต่าง ๆ ของกลุ่มประชากร และของบุคคลต่าง ๆ ในกลุ่มประชากรนั้น ๆ ตามชั่วระยะเวลาหนึ่ง ๆ โดยเทียบกับการวัดค่าที่เป็นประเด็นเพียงครั้งเดียวในงานศึกษาตามขวาง "cohort" (รุ่น, กลุ่มร่วมรุ่น) เป็นกลุ่มบุคคลที่มีคุณลักษณะหรือประสบการณ์ที่เหมือนกันภายในช่วงเวลาเดียวกัน (เช่น เกิดในช่วงเวลาเดียวกัน มีประวัติได้ยา ฉีดวัคซีน หรือประสบมลพิษภาวะ ช่วงเดียวกัน หรือได้รับการรักษาพยาบาลแบบเดียวกัน) ดังนั้น กลุ่มบุคคลที่เกิดในวันเดียวกันหรือในช่วงเวลาเดียวกัน เช่นในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และการศึกษาตามแผน · ดูเพิ่มเติม »

การสร้างภาพประสาท

MRI ของศีรษะ แสดงภาพตั้งแต่ยอดจนถึงฐานของกะโหลก ภาพตามระนาบแบ่งซ้ายขวาของศีรษะคนไข้ที่มีหัวโตเกิน (macrocephaly) แบบไม่ร้ายที่สืบต่อในครอบครัว การสร้างภาพประสาท หรือ การสร้างภาพสมอง (Neuroimaging, brain imaging) เป็นการใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อสร้างภาพทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมของโครงสร้าง หน้าที่ หรือการทำงานทางเภสัชวิทยา ของระบบประสาท เป็นศาสตร์ใหม่ที่ใช้ในการแพทย์ ประสาทวิทยา และจิตวิทยา แพทย์ที่ชำนาญเฉพาะในการสร้างและตีความภาพสมองในสถานพยาบาลเรียกตามภาษาอังกฤษว่า neuroradiologist (ประสาทรังสีแพทย์) การสร้างภาพวิธีต่าง ๆ ตกอยู่ในหมวดกว้าง ๆ 2 หมวดคือ.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และการสร้างภาพประสาท · ดูเพิ่มเติม »

การหาค่าเหมาะที่สุดแบบเฟ้นสุ่ม

การหาค่าเหมาะที่สุดแบบเฟ้นสุ่ม (อังกฤษ:Stochastic Optimization) เป็นวิธีการหาค่าเหมาะที่สุดโดยการสร้างและใช้ตัวแปรสุ่ม สำหรับปัญหาในกลุ่มนี้ จะใช้ตัวแปรสุ่มในขั้นตอนการคำนวณหาค่าเหมาะที่สุดสำหรับปัญหานั้นๆ การแก้ปัญหาโดยวิธิการเฟ้นสุ่มนั้นได้ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายวงการ อาทิเช่น ทางด้านอากาศยาน ทางการแพทย์ การขนส่ง และทางด้านการเงิน เป็นต้น เพื่อใช้ช่วยในการออกแบบจรวจมิสไซล์และอากาศยาน การคำนวณกำหนดประสิทธิภาพของยาตัวใหม่ ช่วยในการพัฒนาประสิทธิภาพของการควบคุมสัญญาณจราจร หรือแม้กระทั่งใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยตัดสินใจเพื่อผลประโยชน์สูงสุดในการลงทุน โดยวิธีการแบบเฟ้นสุ่มนี้เป็นขั้นตอนวิธีที่จะช่วยให้สามารถตัดสินใจเลือกหนทางที่เหมาะที่สุดในการลดทอนปัญหาต่างๆในโลกความเป็นจริงลง.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และการหาค่าเหมาะที่สุดแบบเฟ้นสุ่ม · ดูเพิ่มเติม »

การผลิตยาปฏิชีวนะ

การผลิตยาปฏิชีวนะ (production of antibiotics) เป็นเรื่องที่ทำอย่างแพร่หลาย เริ่มตั้งแต่มีการค้นพบเบื้องต้นโดย ดร.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และการผลิตยาปฏิชีวนะ · ดูเพิ่มเติม »

การทารุณเด็กทางเพศ

การทารุณเด็กทางเพศ (Child sexual abuse ตัวย่อ CSA, child molestation) หรือ การกระทำทารุณต่อเด็กทางเพศ หรือ การทำร้ายเด็กทางเพศ เป็นรูปแบบการกระทำทารุณต่อเด็กที่ผู้ใหญ่, หรือเยาวชนหรือวัยรุ่นที่มีอายุมากกว่าและต่างระดับพัฒนา ใช้เด็กกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ มีรูปแบบตั้งแต่การขอหรือบังคับให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเพศ (ไม่ว่าจะได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่), การแสดงสิ่งลามกอนาจารไม่ว่าจะเป็นอวัยวะเพศ หัวนมหญิง เป็นต้น เพื่อสนองความต้องการทางเพศของตน เพื่อขู่ขวัญเด็ก หรือเพื่อปะเหลาะประเล้าประโลมเตรียมเด็กเพื่อทารุณกรรม, การสัมผัสเด็กทางเพศ, หรือการใช้เด็กเพื่อผลิตสื่อลามกอนาจาร ทารุณกรรมสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายที่หลายสถาน รวมทั้งที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือสำนักงานที่มีเด็กทำงานเป็นปกติ การจับเด็กแต่งงานเป็นรูปแบบการทารุณหลักอย่างหนึ่ง ที่กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ได้กล่าวไว้ว่า "อาจเป็นรูปแบบการทารุณและฉวยผลประโยชน์จากเด็กหญิงทางเพศที่แพร่หลายที่สุด" ทารุณกรรมต่อเด็กส่งผลทางจิตใจ ให้เกิดความซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจแบบซับซ้อน (complex post-traumatic stress disorder) ความโน้มเอียงที่จะตกเป็นเหยื่อทารุณกรรมอีกในวัยผู้ใหญ่ รวมทั้งการบาดเจ็บทางกาย และเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาทั้งหมด ทารุณกรรมโดยสมาชิกครอบครัวซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการร่วมประเวณีกับญาติสนิท จะก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงยิ่งกว่าต่อเด็ก ส่งผลกระทบต่อจิตใจในระยะยาว โดยเฉพาะในกรณีที่ทำโดยผู้ปกครอง ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ พ่อเลี้ยง แม่เลี้ยง พ่อบุญธรรม แม่บุญธรรม ความแพร่หลายทั่วโลกของทารุณกรรมทางเพศต่อเด็กประเมินอยู่ที่ 19.7% ในหญิง และ 7.9% ในชาย ผู้กระทำผิดส่วนมากรู้จักเหยื่อ ราว 30% เป็นญาติ บ่อยที่สุดเป็นพี่ชาย พ่อ ลุง หรือลูกพี่ลูกน้อง ราว 60% เป็นคนรู้จักอื่นอย่างเช่น "เพื่อน"ของคนในครอบครัว พี่เลี้ยงเด็ก หรือเพื่อนบ้าน และราว 10% เป็นคนแปลกหน้า ผู้กระทำผิดส่วนใหญ่เป็นชาย จากการศึกษาพบว่า หญิงทำผิดต่อ 14-40% ของเหยื่อเด็กชาย และ 6% ของเหยื่อเด็กหญิง(โดยที่เหลือของเหยื่อทำโดยผู้ทำผิดเพศชาย) ส่วนคำภาษาอังกฤษว่า pedophile (คนใคร่เด็ก) มักจะใช้อย่างไม่เลือกกับทุก ๆ คนที่ทารุณเด็กทางเพศ แต่ผู้ทำผิดต่อเด็กทุกคนไม่ใช่คนใคร่เด็ก ยกเว้นถ้ามีความรู้สึกทางเพศที่รุนแรงกับเด็กที่อยู่ในวัยก่อนหนุ่มสาว และคนใคร่เด็กทุกคนก็ไม่ใช่ผู้ทำผิดต่อเด็ก ในกฎหมายบางประเทศ คำว่า child sexual abuse (การทารุณเด็กทางเพศ) ใช้เป็นคำคลุมทั้งการละเมิดกฎหมายอาญาและแพ่ง ที่ผู้ใหญ่ทำกิจทางเพศร่วมกับผู้เยาว์ หรือฉวยประโยชน์จากผู้เยาว์เพื่อสนองความรู้สึกทางเพศ สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association) ยืนยันว่า "เด็กไม่สามารถยินยอมมีกิจกรรมทางเพศร่วมกับผู้ใหญ่" และประณามการทำเช่นนั้นของผู้ใหญ่ คือ "ผู้ใหญ่ที่มีกิจกรรมทางเพศร่วมกับเด็ก กำลังละเมิดทั้งกฎหมายและจริยธรรม ที่ไม่มีทางพิจารณาได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่ปกติหรือที่ยอมรับได้ในสังคม".

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และการทารุณเด็กทางเพศ · ดูเพิ่มเติม »

การทำงานในสมองกับการเข้าสมาธิ

ตสมองที่มีสีเน้นเป็นเขต anterior cingulate cortex ซึ่งทำงานเมื่อมีการเจริญกรรมฐาน การเจริญกรรมฐาน (meditation) ผลต่อการทำงานของสมอง และผลต่อระบบประสาทกลาง ได้กลายมาเป็นประเด็นงานวิจัยข้ามสาขาในประสาทวิทยาศาสตร์ จิตวิทยา และชีววิทยาประสาท (neurobiology) ในช่วงท้ายคริสต์ศตวรรษที่ 20 งานวิจัยได้พยายามที่จะกำหนดและแสดงลักษณะของการเจริญกรรมฐาน/การเจริญภาวนา/การนั่งสมาธิ แบบต่าง ๆ ผลการเจริญกรรมฐานต่อสมองมีสองแบบ คือผลต่อภาวะสมองระยะสั้นเมื่อกำลังเจริญกรรมฐาน และผลต่อลักษณะที่มีในระยะยาว ประเด็นการศึกษาบ่อยครั้งจะเป็นเรื่องการเจริญสติ ซึ่งเป็นกรรมฐานของชาวพุทธทั้งในแบบวิปัสสนา และในรูปแบบของนิกายเซน.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และการทำงานในสมองกับการเข้าสมาธิ · ดูเพิ่มเติม »

การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม

pmc.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม · ดูเพิ่มเติม »

การทดลองแบบอำพราง

การทดลองแบบอำพราง"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ hemisphere ว่า "doubled blind cross-over study" ว่า "การศึกษาข้ามกลุ่มแบบอำพรางสองฝ่าย" (blind experiment, blinded experiment) เป็นการทดลองที่ปิดข้อมูลเกี่ยวกับการทดลองที่อาจจะทำให้เกิดความเอนเอียงในผลการทดลอง ไม่ให้ผู้ทำการทดลอง หรือผู้รับการทดลอง หรือทั้งสองฝ่าย รับรู้ จนกระทั่งการทดลองได้จบเสร็จสิ้นลงแล้ว ความเอนเอียงที่อาจเกิดขึ้นนั้นเป็นได้ทั้งแบบจงใจหรือแบบไม่จงใจ ส่วนการทดลองที่ทั้งสองฝ่ายไม่รู้เรื่องที่ปิด เรียกว่า การทดลองแบบอำพรางสองฝ่าย (double-blinded experiment) นักวิทยาศาสตร์จะใช้การทดสอบแบบอำพราง.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และการทดลองแบบอำพราง · ดูเพิ่มเติม »

การทดสอบด้วยความเย็นร้อน

ในการแพทย์ การทดสอบด้วยความเย็นร้อน (at, caloric testing, caloric stimulation, Caloric reflex test) เป็นการทดสอบระบบการทรงตัว/หลอดกึ่งวงกลม/ก้านสมอง/สมองใหญ่/vestibulo-ocular reflex และสามารถใช้ช่วยวินิจฉัยเนื้องอกเส้นประสาทแบบ vestibular schwannoma (acoustic neuroma) โดยใส่น้ำเย็นหรืออุ่น หรือเป่าลมเย็นหรืออุ่น เข้าที่ช่องหูภายนอกทีละข้าง เป็นการทดสอบที่พัฒนาขึ้นโดยแพทย์โสตวิทยาชาวออสโตร-ฮังการี Robert Bárány ผู้ต่อมาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และการทดสอบด้วยความเย็นร้อน · ดูเพิ่มเติม »

การขาดเลือดเฉพาะที่

ในทางการแพทย์ การขาดเลือดเฉพาะที.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และการขาดเลือดเฉพาะที่ · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิบัติอิงหลักฐาน

การปฏิบัติอิงหลักฐาน (Evidence-based practice, ตัวย่อ EBP) เป็นวิธีปฏิบัติทางคลินิกหลายสาขา ที่เพิ่มความนิยมขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่เริ่มขึ้นในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และการปฏิบัติอิงหลักฐาน · ดูเพิ่มเติม »

การประมวลผลคำพูด

การประมวลผลคำพูด (speech processing) เป็นการศึกษาสัญญาณเสียงพูด และ วิธีในการประมวลผลสัญญาณประเภทนี้ การประมวลผลสัญญาณเสียงพูดในปัจจุบัน จะอยู่ในรูปของสัญญาณดิจิทัล โดยสาขานี้มีเนื้อหาร่วมระหว่างการประมวลผลสัญญาณดิจิทัลกับการประมวลภาษาธรรมชาติ กล่าวคือมีการประมวลผลทั้งสองส่วน ทั้งตัวสัญญาณเสียง (พาหะนำสาร) และภาษา (สาร) การประมวลผลคำพูด อาจแบ่งเป็นหัวข้อย่อยได้ดังนี้.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และการประมวลผลคำพูด · ดูเพิ่มเติม »

การปริทัศน์เป็นระบบ

การปริทัศน์เป็นระบบ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ review ว่า "การปริทัศน์" และของ systematic ว่า "-เป็นระบบ" (systematic review) เป็นการปริทัศน์สิ่งตีพิมพ์หลาย ๆ งานที่พุ่งความสนใจไปยังประเด็นปัญหาหนึ่งทางการวิจัย มีจุดประสงค์เพื่อจะหา ประเมิน เลือกสรร และรวบรวมหลักฐานงานวิจัยมีคุณภาพทั้งหมด ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหานั้น ๆ การปริทัศน์ผลงานการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial) เป็นกระบวนการที่ขาดไม่ได้ทางแพทยศาสตร์อาศัยหลักฐาน (evidence-based medicine) ความเข้าใจในเรื่องการปริทัศน์อย่างเป็นระบบและวิธีการดำเนินงานปริทัศน์จริง ๆ เริ่มกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้มีอาชีพเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล นอกจากจะเป็นงานเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลระดับรายบุคคลแล้ว การปริทัศน์อย่างเป็นระบบอาจจะรวบรวมข้อมูลของการทดลองทางคลินิก การรักษาพยาบาลในระดับกลุ่มชน การรักษาพยาบาลทางสังคม ผลที่ไม่พึงประสงค์จากการรักษาพยาบาล และการประเมินผลทางเศรษฐกิจ.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และการปริทัศน์เป็นระบบ · ดูเพิ่มเติม »

การแพทย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์

A skull showing evidence of trepanning การแพทย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์หมายถึงวิชาแพทย์ที่ปฏิบัติกันมาก่อนที่จะมีการประดิษฐ์ตัวอักษรและการเขียน ทั้งนี้เนื่องจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ของแต่ละพื้นที่และแต่ละวัฒนธรรมมีความแตกต่างกัน ดังนั้นช่วงเวลาของการแพทย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์จึงกินช่วงเวลาค่อนข้างกว้าง ความรู้ของการแพทย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในปัจจุบันเกือบทั้งหมดอาศัยข้อมูลจากวัตถุโบราณหรือซากศพมนุษย์ รวมทั้งข้อมูลทางมานุษยวิทยา ชนเผ่าที่ไม่มีการติดต่อกับโลกภายนอกหรือเผ่าที่ยังคงมีวิถีชีวิตแบบเก่าได้รับการนำมาเป็นแหล่งศึกษาทางมานุษยวิทยาเพื่อให้ทราบแนวทางปฏิบัติวิชาแพทย์ทั้งแบบเก่าและแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์การแพทย์ หมวดหมู่:การแพทย์แผนโบราณ.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และการแพทย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การแพทย์แผนไทย

การแพทย์แผนไทย หรือ การแพทย์แผนโบราณ เป็นการดูแลสุขภาพทั้งสภาวะปกติ และสภาวะที่ผิดปกติ (เป็นโรค) โดยใช้ทฤษฎีความสมดุลของธาตุต่าง ๆ ในร่างกายและกายวิภาคศาสตร์ (anatomy) หลักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์เข้ามาอธิบาย ตามหลักวิชาการหลักเวชปฎิบัติ จากหลักฐานสมัยอยุธยาพบว่า การแพทย์แผนไทยได้รับจากอายุรเวทอินเดียเป็นสำคัญ โดยกล่าวว่าหมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์ประจำตัวของพระพุทธเจ้า) เป็นผู้แต่งคัมภีร์แพทย์ ครั้นพระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้ามาสู่ไทย พระสงฆ์ผู้เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้นำความรู้ในการรักษาโรคเข้ามาใช้กับชาวบ้านด้วย จึงเกิดการผสมผสานกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนไทย องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยล้วนเป็นผลสืบเนื่องจากการสะสมประสบการณ์ในการต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมองว่าจิตใจและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์มีการทำงานที่สัมพันธ์และเป็นหนึ่งเดียว นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงจักรวาล การแก้ปัญหาจึงใช้วิธีแบบองค์รวม (holistic) ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องของการแพทย์อย่างเดียวล้วน ๆ แต่เป็นเรื่องของปรัชญาความคิดที่ครอบคลุมไปถึงการดำเนินชีวิตตามแบบวิถีชีวิตคนไท.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และการแพทย์แผนไทย · ดูเพิ่มเติม »

การแพทย์เฉพาะทาง

การแพทย์เฉพาะทาง เป็นสาขาย่อยของวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งหลังจากนักศึกษาแพทย์สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตจากโรงเรียนแพทย์ แพทย์ที่เรียนจบอาจเลือกศึกษาต่อในสาขาเฉพาะทางโดยสมัครเป็นแพทย์ประจำบ้านตามสถาบันที่เปิดรับสมัคร และหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้เป็น แพทย์เฉพาะทาง (Medical specialist) ในสาขาที่ศึกษาม.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และการแพทย์เฉพาะทาง · ดูเพิ่มเติม »

กาลิเลโอ กาลิเลอี

กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei; 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 - 8 มกราคม ค.ศ. 1642) เป็นชาวทัสกันหรือชาวอิตาลี ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ผลงานของกาลิเลโอมีมากมาย งานที่โดดเด่นเช่นการพัฒนาเทคนิคของกล้องโทรทรรศน์และผลสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญจากกล้องโทรทรรศน์ที่พัฒนามากขึ้น งานของเขาช่วยสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัสอย่างชัดเจนที่สุด กาลิเลโอได้รับขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่" "บิดาแห่งฟิสิกส์สมัยใหม่"Weidhorn, Manfred (2005).

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และกาลิเลโอ กาลิเลอี · ดูเพิ่มเติม »

กุมารเวชศาสตร์

การตรวจร่างกายเด็ก กุมารเวชศาสตร์ เป็นสาขาวิชาหนึ่งของแพทยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลทางการแพทย์แก่ทารก, เด็ก, และวัยรุ่น กล่าวคือตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 14-18 ปีขึ้นกับเกณฑ์ของแต่ละสถานที่และประเทศ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์จะเรียกว่า กุมารแพทย์ (pediatrician) ซึ่งต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และแพทย์ประจำบ้านด้านกุมารเวชศาสตร์ แล้วได้ผ่านการสอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขากุมารเวชศาสตร์ ซึ่งในประเทศไทยออกให้โดยแพทยสภา คำว่า pediatrics มาจากรากศัพท์ในภาษากรีก παῖdh pais แปลว่าเด็ก และ ἰατρός iatros แปลว่าแพทย์หรือผู้รักษา เมื่อรวมกันจึงแปลว่า ผู้ที่รักษาเด็ก สำหรับในภาษาไทย "กุมาร" หมายถึง เด็กเล็ก ซึ่งมาจากภาษาบาลี หมายถึง "เด็กผู้ชาย" หรือ "บุตรชาย".

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และกุมารเวชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

กีฏวิทยาการแพทย์

กีฏวิทยาการแพทย์ (Medical entomology) หรือกีฏวิทยาสาธารณสุข (Public health entomology) เป็นสาขาที่ศึกษาสัตว์ขาข้อ และแมลงที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ เป็นการศึกษาที่รวมถึงข้อมูลที่ได้จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ว่าด้วยพฤติกรรมของแมลง นิเวศ โรคระบาดที่เกิดจากแมลงและสัตว์ขาข้อที่อาจนำมาใช้ประโยชน์ด้านความปลอดภัยของสาธารณชนและทางการแพทย์ (Arthropods and insects of medical importance) ในสหรัฐอเมริกาและประเทศพัฒนาแล้วจ้างนักกีฏวิทยาทำงานในภาคเอกชน ในมหาวิทยาลัยใน ภาคอุตสาหกรรมรวมทั้งในหน่วยงานระดับต่างๆ ของรั.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และกีฏวิทยาการแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

ก้าวแรกสู่สังเวียน

ก้าวแรกสู่สังเวียน (Fighting Spirit) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น ผลงานของ โจจิ โมริคาว่า เริ่มลงตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นแม็กกาซีนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 ปัจจุบันยังไม่จบ ซึ่งในประเทศไทยเองก็ได้นำมาตีพิมพ์ลงในนิตยสารเจ้าหนูยอดนักกีฬา ของสำนักพิมพ์ยู.สปอร์ตตูน และ GAMES ของสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ ตั้งแต่สมัยที่การ์ตูนญี่ปุ่นยังไม่มีลิขสิทธิ์ แต่ภายหลังสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจได้เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ และทำการตีพิมพ์การ์ตูนเรื่องนี้ออกจำหน่ายในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว ส่วนฉบับอะนิเมะ เริ่มออกอากาศที่ญี่ปุ่น ทางสถานีนิปปอนทีวี ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2543 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2545 มีความยาวทั้งสิ้น 76 ตอน หลังจากนั้นก็ยังมีการสร้างตอน "แชมเปี้ยนโร้ด" ซึ่งเป็นภาคพิเศษออกฉายทางโทรทัศน์ และตอน "มาชิบะ ปะทะ คิมูระ" ออกจำหน่ายในรูปแบบ OVA (โอวีเอ) ด้วย สำหรับในประเทศไทย เคยออกอากาศทางโมเดิร์นไนน์ ทีวีตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ถึง 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ในรายการโมเดิร์นไนน์ การ์ตูน เวลา 9.30-10.00 น. และออกจำหน่ายในรูปแบบวีซีดี โดย TIGA.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และก้าวแรกสู่สังเวียน · ดูเพิ่มเติม »

ฝาง

ฝาง (Caesalpinia sappan, suō, 苏木 (植物)) เป็นพืชสมุนไพรที่อยู่ในวงศ์ถั่ว (Fabaceae) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Caesalpinia sappan Linn ฝางจัดได้ว่าเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง พบได้ตลอดเขตร้อนในอินเดีย ศรีลังกา พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้ สำหรับประเทศไทยจะพบในพื้นที่ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าเขาหินปูนแห้งแล้ง นอกจากนี้ยังพบบริเวณป่าดงดิบอีกด้วย ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่ทวีปอเมริกาใต้ ส่วนที่ใช้ทำสมุนไพรคือ แก่นไม้ของฝาง สรรพคุณทางสมุนไพรของฝางมีมากมาย เช่น บำรุงโลหิต ขับเสมหะ แก้อาการร้อนใน เป็นต้น และเมื่อนำส่วนต่าง ๆ ของฝางไปสกัดแล้วพบว่าให้สารเคมีที่มีประโยชน์ทางการแพทย์หลายชนิดอีกด้วย สืบค้นวันที่ 2 มีนาคม..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และฝาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ

วะพิษเหตุติดเชื้อ ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และภาวะพิษเหตุติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะสมองตาย

มองของมนุษย์ ภาวะสมองตาย (อังกฤษ: brain death) เป็นบทนิยามที่ทางนิติศาสตร์และทางแพทยศาสตร์ใช้หมายเอาการตายของบุคคล ซึ่งได้ริเริ่มขึ้นในช่วง พ.ศ. 2503 ทั้งนี้ โดยทั่วไปมักหมายเอาภาวะที่ไม่สามารถฟื้นฟูระบบการทำงานของสมองของบุคคลได้อีกแล้ว อันเป็นผลมาจากการตายหมดแล้วทุกส่วนของเซลล์ประสาทในสมอง (อังกฤษ: total necrosis of cerebral neurons) เพราะเหตุที่ได้ขาดเลือดและออกซิเจนหล่อเลี้ยง ทั้งนี้ พึงไม่สับสนภาวะสมองตายกับสภาพร่างกายทำงานนอกบังคับจิตใจเป็นการเรื้อรัง หรือสภาพผักเรื้อรังของผู้ป่วย (อังกฤษ: persistent vegetative state).

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และภาวะสมองตาย · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเริ่มเจริญพันธุ์ก่อนวัย

ในวิชาแพทยศาสตร์ ภาวะเริ่มเจริญพันธุ์ก่อนวัย (precocious puberty) คือ วัยเริ่มเจริญพันธุ์ที่เกิดในวัยเร็วผิดปกติ ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ กระบวนการนั้นปกติในทุกด้านยกเว้นเริ่มในวัยเร็วผิดปกติ และแสดงพัฒนาการปกติ ในเด็กส่วนน้อย พัฒนาการช่วงแรกถูกโรคกระตุ้น เช่น เนื้องอกหรือการบาดเจ็บของสมอง แม้เมื่อปราศจากโรค วัยเริ่มเจริญพันธุ์ที่เร็วผิดปกติก็สามารถมีผลเสียต่อพฤติกรรมสังคมและพัฒนาการทางจิตวิทยาได้ ลดความสูงที่สามารถมีได้ในวัยผู้ใหญ่ และอาจเลื่อนความเสี่ยงสุขภาพตลอดชีวิตบางอย่างได้ ภาวะเริ่มเจริญพันธุ์ก่อนวัยส่วนกลางรักษาได้โดยการกดฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองซึ่งชักนำการผลิตสเตอรอ.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และภาวะเริ่มเจริญพันธุ์ก่อนวัย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาศาสตร์

ษาศาสตร์ (linguistics) คือ การศึกษาเกี่ยวกับภาษามนุษย์ ผู้ที่ศึกษาในด้านนี้เรียกว่า นักภาษาศาสตร.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และภาษาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเฉพาะวงการ

ษาเฉพาะวงการ (jargon) เป็นคำเรียกการใช้ภาษาหรือคำศัพท์สำหรับเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะอาชีพ ซึ่งมีลักษณะของศัพท์สแลงหรือภาษาพูด ภาษาเฉพาะอาชีพมักใช้ในการพูดสำหรับเข้าใจกันเฉพาะกลุ่มเพื่อไม่ต้องใช้ภาษาหรือคำที่ยืดยาว ซึ่งมักจะทำให้ผู้ใช้ภายนอกไม่เข้าใ.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และภาษาเฉพาะวงการ · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ูมิคุ้มกันบกพร่อง (immunodeficiency หรือ immune deficiency) ในทางการแพทย์ถือว่า เป็นภาวะที่ความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับโรคติดเชื้อลดลงหรือขาดไป ซึ่งส่วนมากพบเป็นแบบทุติยภูมิ หรือเกิดขึ้นภายหลัง (acquired หรือ secondary) แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะนี้มาตั้งแต่กำเนิด หรือเรียกว่าภูมิคุ้มกันบกพร่องแบบปฐมภูมิ (primary immunodeficiency) ในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะจะได้รับยากดภูมิคุ้มกันเพื่อลดการต่อต้านอวัยวะปลูกถ่ายเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันมากเกินจนต่อต้านร่างกายตนเอง สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจะมีโอกาสติดเชื้อจากการติดเชื้อฉวยโอกาส (opportunistic infection) เพิ่มนอกเหนือไปจากการติดเชื้อทั่วไปที่เกิดขึ้นกับทุกคน.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และภูมิคุ้มกันบกพร่อง · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยพระหฤทัยคาทอลิก

ลานมหาวิทยาลัย Cattolica '''มหาวิทยาลัยพระหฤทัยคาทอลิก''' หรือ มหาวิทยาลัยคาทอลิกแห่งมิลาน (Università Cattolica del Sacro Cuore หรือ Università Cattolica di Milano; Catholic University of the Sacred Heart หรือ Catholic University of Milan; ชื่อย่อ: Cattolica หรือ UNICATT หรือ UCSC) โดยทั่วไปถูกเรียกสั้นๆว่า Cattolica (การออกเสียง อังกฤษ: katˈtɔlika; ไทย: กัตโตลีกา) วิทยาเขตหลักตั้งอยู่ในเมืองมิลาน แคว้นลอมบาร์เดีย ประเทศอิตาลี ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยพระหฤทัยคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยกลาสโกว์

มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ (อังกฤษ: The University of Glasgow; ละติน: Universitatis Glasguensis) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1451 เป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในสามมหาวิทยาลัยในเมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร มีชื่อเสียงในด้านการสอนและการวิจัย และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยโบราณของสก็อตแลนด์ และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดในสหราชอาณาจักร มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ถูกก่อตั้งขึ้นอาณัติจากพระสันตปาปานิโคลัสที่ห้าโดยพระประสงค์ของพระเจ้าเจมส์ที่สอง เพื่อให้สก็อตแลนด์มีมหาวิทยาลัยสองแห่งเช่นเดียวกันกับอังกฤษที่มีอ็อกซฟอร์ดและเคมบริดจ์ ซึ่งทำให้กลาสโกว์เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดอันดับสี่ในสหราชอาณาจักร และยังเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับเงินบริจาคมากเป็นอันดับสี่ในบริเทนรองจากอ็อกซฟอร์ด เคมบริดจ์ และเอดินเบอระ อีกด้วย มหาวิทยาลัยกลาสโกว์นั้นมีสัดส่วนนักเรียนต่างชาติค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ โดยประมาณครึ่งหนึ่งเป็นคนในกลาสโกว์เอง อีก 40% เป็นนักเรียนจากเมืองต่างๆภายใน UK มีเพียงประมาณ 13 เปอร์เซ็นต์ที่มาจากต่างชาติ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์นั้นได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของ UK มาหลายศตวรรษ เช่นเดียวกับเอดินเบอระและเซนต์แอนดรูส์ กลาสโกว์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกใน UK ที่ก่อตั้งภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ และ ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยนอกเขตลอนดอนที่มีคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร เมืองกลาสโกว์นั้นมีอัตราส่วนวิศวกรต่อประชากรสูงมากเป็นอันดับสามของโลก มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ได้ให้กำเนิดนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกเป็นจำนวนมาก อาทิ ลอร์ดเคลวิน – หนึ่งในผู้พัฒนากฎข้อสองของเทอร์โมไดนามิคส์ และภายหลังได้รับเกียรติให้นำชื่อไปให้เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิเคลวิน เจมส์ วัตต์ – ผู้พัฒนากลจักรไอน้ำจนก่อให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมของสหราชอาณาจักร จอห์น โลกี แบรด – ผู้ประดิษฐ์โทรทัศน์ โจเซฟ ลิสเตอร์ – หนึ่งในผู้ริเริ่มการผ่าตัดแบบสมัยใหม่ และ โจเซฟ แบลค – นักเคมีที่มีผลงานมากมายรวมไปถึงการค้นพบก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ฯลฯ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ยังมีชื่อเสียงทางด้านสังคมศาสตร์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าด้านวิศวกรรมศาสตร์เลยแม้แต่น้อย กลาสโกว์นั้นถือได้ว่าเป็นจุดกำเนิดของยุคแสงสว่างอย่างแท้จริง ศาสตราจารย์ฟรานซิส ฮัทชิสัน แห่งมหาวิทยาลัยกลาสโกว์เป็นผู้ริเริ่มทฤษฎีอรรถประโยชน์ (Utilitarian principle) ซึ่งเป็นหนึ่งในทฤษฎีพื้นฐานภายใต้เศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิก (Classical Economics) อดัม สมิธ ศิษย์เก่าที่โด่งดังที่สุดของมหาวิทยาลัยกลาสโกว์นั้นได้ผสมผสานทฤษฎีนี้ผนวกกับแนวคิดของเดวิด ฮูม (นักปรัชญาชาวเอดินเบอระ) ก่อให้เกิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ เศรษฐศาสตร์การเมือง และทฤษฎีการค้าเสรี ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของโลกอย่างมหาศาลมาจนถึงยุคปัจจุบัน.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ

ทางเข้ามหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ 2 มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ (សាកលវិទ្យាល័យភូមិន្ទភ្នំពេញ สากลวิทฺยาลัยภูมินฺทภฺนํเพญ; Royal University of Phnom Penh หรือ RUPP) เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุด มหาวิทยาลัยมีจำนวนนักศึกษา ซึ่งมีอยู่ประมาณ 12,000 คน ทั้งในระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ที่กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา และยังเป็นสมาชิกของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน นอกจากหลักสูตรระดับปริญญาที่ครอบคลุมในสาขาต่างๆ อาทิ เช่น วิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ แล้วมหาวิทยาลัยยังมีหลักสูตรวิชาชีพ เปิดสอนในสาขา เทคโนโลยีสารสนเทศ อิเล็กทรอนิกส์ จิตวิทยา และการท่องเที่ยว นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ ยังมีหลักสูตรทางภาษาต่างประเทศที่มีชื่อเสียง เปิดสอนในสถาบันภาษาต่างประเทศ ของมหาวิทยาลัยอีกด้วย มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ มีเจ้าหน้าที่เต็มเวลาอยู่ 420 คน คณาจารย์ 294 คน ซึ่งมีวุฒิระดับปริญญาเอก 15 คน ปริญญาโท 132 คน เจ้าหน้าที่ทางด้านธุรการและซ่อมบำรุง 140 คน นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังเป็นจุดเชือมต่อกันระหว่างบุคลากรจากองค์การพัฒนาเอกชน (NGOs) ทั้งในและต่างประเทศ, ระหว่างมหาวิทยาลัยต่างๆ และ กระทรวงต่างๆ จึงทำให้ทางมหาวิทยาลัยมีบุคลากรแบบไม่เต็มเวลาจากองค์กรเหล่านี้อีกเป็นจำนวนมาก มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญมีค่าเล่าเรียนแต่ละหลักสูตรระดับปริญญาตรีอยู่ที 250 ถึง 450 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี แล้วแต่หลักสูตร.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล

มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล (University of Liverpool) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐ ในสหราชอาณาจักรที่มีเปิดสอนในระบบที่อิงฐานการเรียนการสอนในห้องเรียนและบนพื้นฐานของการทำวิจัย ตั้งอยู่ในเมืองลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1881 ในรูปแบบของมหาวิทยาลัยวิทยาลัย (University College) โดยเปิดสอน 3 คณะ (Faculty) ที่ประกอบด้วยภาควิชา (Department) และสำนักวิชา (School) ต่างๆรวมแล้ว 35 สาขาวิชา มหาวิทยาลิเวอร์พูลเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความก้าวหน้าอย่างโดดเด่นในด้านนวัตกรรมงานวิจัย โดยเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มรัสเซล (Russell Group) ซึ่งเป็นกลุ่มของมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรที่ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยวิจัยขนาดใหญ่ใน 18 มหาวิทยาลัยจากสมาชิก 19 แห่ง ติด 20 อันดับแรกของประเทศในด้านงบวิจัย และเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มความร่วมมือด้านงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในเขตภาคเหนือของสหราชอาณาจักรอีกด้วย มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในสหราชอาณาจักรที่สามารถสร้างมหาวิทยาลัยอิสระในประเทศจีนและเป็นมหาวิทยาลัยจีน-บริติชแห่งแรกของโลก เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลกที่เปิดสอนสาขาวิชาสมุทรศาสตร์ (Oceanography) การออกแบบเมือง (Civic Design) สถาปัตยกรรมศาสตร์ (Architecture) และชีวเคมี (Biochemistry) ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลมีเงินสนับสนุนรายปีกว่า 410 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง ซึ่งในจำนวนนี้ประกอบด้วบงบประมาณที่สนับสนุนด้านงานวิจัยถึง 150 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยวอชิงตัน

มหาวิทยาลัยวอชิงตัน (University of Washington) หรือรู้จักในชื่อ ยูดับ (UW) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่รัฐวอชิงตัน เป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในบริเวณชายฝั่งตะวันตกของประเทศ มหาวิทยาลัยวอชิงตันมี 3 วิทยาเขต โดยวิทยาเขตที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่เมืองซีแอทเทิล และวิทยาเขตอื่นอยู่ที่เมืองทาโคมา และโบเธลล์ มหาวิทยาลัยก่อตั้งเมื่อ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1861 มหาวิทยาลัยวอชิงตันมีชื่อเสียงอย่างมากในด้านการแพทย์และการพยาบาล และในด้านอื่น ๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยวอชิงตัน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยวอชิงตัน เซนต์หลุยส์

รูกกิงส์ฮอลล์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน เซนต์หลุยส์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน เซนต์หลุยส์ (Washington University in St. Louis) นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า Wash U (วอช ยู) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) มีนักศึกษาประมาณ 12,000 คน มหาวิทยาลัยวอชิงตัน เซนต์หลุยส์มีชื่อเสียงในด้านแพทยศาสตร์ โดยในปี 2549 คณะแพทยศาสตร์อยู่อันดับ 4 ในด้านงานวิจัย ตามการจัดอันดับของนิตยสารยูเอสนิว.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยวอชิงตัน เซนต์หลุยส์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน

มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน (University of Wisconsin-Madison) หรือนิยมเรียก มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมืองแมดิสัน ในรัฐวิสคอนซิน มหาวิทยาลัยก่อตั้งในปี พ.ศ. 2391 (ค.ศ. 1848) ในปัจจุบัน (ปี 2548 เทอมฤดูใบไม้ร่วง) มีนึกศึกษาทั้งหมด 41,480 คน ซึ่งทำให้มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน มีนักศึกษามากเป็นอันดับ 10 ของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน มีชื่อเสียงในด้านแพทยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ และ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ในตัวเมืองโดยด้านหลังมหาวิทยาลัยเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ และด้านหน้ามหาวิทยาลัยเป็นถนนชื่อสเตต เป็นแหล่งชอปปิงชื่อดังของเมืองแมดิสัน ภาพในมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ด้านหลังเป็นตึกแคปิตอลของรัฐวิสคอนซิน.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ-กัมพูชา

มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ-กัมพูชา (សាកលវិទ្យាល័យវិទ្យាសាស្រ្តសុខាភិបាល เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพียง 1 ใน 2 แห่งของกัมพูชา ที่เปิดสอนทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และ แพทย์ศาสตร์ (อีกแห่งคือ มหาวิทยาลัยนานาชาติ (กัมพูชา)).

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ-กัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งปอร์ตูอาเลเกร

มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งปอร์ตูอาเลเกร (Universidade Federal de Ciências da Saúde de Porto Alegre; อักษรย่อ: UFCSPA) เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษาของรัฐ และทำการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพซึ่งตั้งอยู่ในปอร์ตูอาเลเกร ประเทศบราซิล มหาวิทยาลัยได้รับการก่อตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งปอร์ตูอาเลเกร · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ชิคาโก

ูนิเวอร์ซิตีฮอลล์ มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ชิคาโก มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ชิคาโก (University of Illinois at Chicago) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ตั้งอยู่ที่เมืองชิคาโก ในรัฐอิลลินอยส์ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) ในปัจจุบันมีนักศึกษาประมาณ 22,000 คน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษามากที่สุดในเมืองชิคาโก มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ชิคาโก มีชื่อเสียงในด้านแพทยศาสตร์ และการเงิน.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ชิคาโก · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยฮาวาย

The Royal Sala Thai John A. Burns School of Medicine UH 88 - Telescope มหาวิทยาลัยฮาวาย (University of Hawaii at Manoa) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐประจำรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1907 ทางมหาวิทยาลัยเปิดสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอกและปริญญาอาชีพในหลากหลายสาขา อาทิ แพทยศาสตร์, กฎหมาย, สถาปัตยกรรมศาสตร์, ศิลปศาสตร์, มานุษยวิทยา, การจัดการ, เศรษฐศาสตร์, ศึกษาศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์, รัฐศาสตร์, วรรณกรรม, ภาษาศาสตร์, วิทยาศาสตร์, การเกษตร, สังคมศาสตร์, สาธารณสุข และเภสัชศาสตร์ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยฮาวาย มีนักศึกษารวมทุกวิทยาเขตประมาณ 35,000คน โดยที่วิทยาเขตมานัว (Manoa) มีนักศึกษาประมาณ 20,000 คน.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยฮาวาย · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์

ห้องสมุดในมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University ตัวย่อ JHU) หรือเรียกอย่างย่อว่า ฮอปกินส์ เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในสหรัฐอเมริกา ริเริ่มก่อตั้งโดยประธานาธิบดี เดวิด คอยต์ กิลแมน ตั้งอยู่ที่เมืองบัลติมอร์ รัฐแมริแลนด์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2419 (ค.ศ. 1876) โดยมีการเปิดการเรียนการสอบในหลายระดับ มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีประมาณ 4,500 คน และในระดับสูงกว่าระดับปริญญาตรี 15,000 คน จอนส์ ฮอปกินส์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่ใช้รูปแบบการจัดการศึกษาแบบมหาวิทยาลัยในเยอรมนี และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้การสัมมนาแทนการสอนโดยการบรรยายเพียงอย่างเดียว รวมทั้งเป็นมหาวิทยาลัยอเมริกันแห่งแรกที่จัดให้มีวิชาเอก (major) แทนหลักสูตรศิลปศาสตร์ทั่วไป ดังนั้นจอนส์ ฮอปกินส์จึงเป็นต้นแบบของมหาวิทยาลัยวิจัยขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา และเป็นหนึ่งใน 14 สมาชิกก่อตั้งสมาคมมหาวิทยาลัยอเมริกัน หรือ Association of American Universities จากสถิติของกองทุนวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation) ของสหรัฐอเมริกา จอนส์ ฮอปกินส์เป็นมหาวิทยาลัยที่ครองอันดับ 1 ในด้านการใช้งบประมาณการวิจัยและพัฒนาในสาขาวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นเวลา 30 ปีต่อเนื่องกันและเป็นสถาบันที่ได้รับการอ้างอิงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จอห์น ฮอปกินส์ มีชื่อเสียงในด้านการแพทย์ สาธารณสุข และ การพยาบาล โดยได้รับการจัดอันดับจากยูเอสนิวส์ในอันดับต้นของประเทศหลายครั้ง นอกจากนั้นจอนส์ฮอปกินส์ยังมีสถาบันชั้นนำระดับโลกในสาขาอื่น อาทิ สถาบันด้านการดนตรีพีบอดี (Peabody Institute) และด้านการระหว่างประเทศ (The Paul H. Nitze School of Advanced International Studies หรือ SAIS) จนถึงพ.ศ. 2552 มีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์จำนวน 33 คนที่ได้รับรางวัลโนเบล.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยซินซินแนติ

มหาวิทยาลัยซินซินแนติ (University of Cincinnati) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมือง ซินซินแนติ ในรัฐโอไฮโอ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2362 (ค.ศ. 1819) ภายใต้ชื่อ วิทยาลัยซินซินแนติ และ วิทยาลัยแพทยศาสตร์โอไฮโอ ต่อมาได้ถูกรวมเข้าเป็นมหาวิทยาลัยซินซินแนติ ในปี พ.ศ. 2413 (ค.ศ. 1870) เหมือนในปัจจุบัน นักศึกษาในมหาวิทยาลัยมีประมาณ 35,000 คน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2548) มหาวิทยาลัยซินซินแนติ มีชื่อเสียงในด้านในหลายคณะรวมถึง สถาปัตยกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในอันดับสูงสุดสหรัฐอเมริกา โดยนิตยสารดีไซน์อินเทลลิเจนซ์ นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงทางด้าน ดนตรี นิติศาสตร์ และ แพทยศาสตร์ ซึ่งวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ ได้ถูกคิดค้นขึ้นในคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยซินซินแนติ แม็คมิคเกนฮอลล์ มหาวิทยาลัยซินซินแนต.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยซินซินแนติ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยปารีส

มหาวิทยาลัยปารีส (Université de Paris) หรือนามนัยเป็นที่รู้จักกันว่า ซอร์บอนน์ (บ้านประวัติศาสตร์) เป็นมหาวิทยาลัยในปารีส ฝรั่งเศส ก่อตั้งประมาณ..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยปารีส · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยปาร์มา

มหาวิทยาลัยปาร์มา (Università degli Studi di Parma; University of Parma) เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ตั้งอยู่ที่เมืองปาร์มา ประเทศอิตาลี ปัจจุบันมีนักศึกษาประมาณ 30,000 คน มหาวิทยาลัยปาร์มา ประกอบด้วย 12 คณะ ได้แก.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยปาร์มา · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา แชเปิลฮิลล์

รรยากาศภายในมหาวิทยาลัยช่วงฤดูใบไม้ผลิ มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา แชเปิลฮิลล์ (University of North Carolina at Chapel Hill) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐในระบบมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา ตั้งอยู่ที่เมืองแชเปิลฮิลล์ ในรัฐนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา รู้จักในชื่อย่อว่า มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา หรือ ยูเอ็นซี (UNC) มหาวิทยาลัยก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1789 โดยเป็นมหาวิทยาลัยแรกในระบบ มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงในด้านแพทยศาสตร์ เภสัชกรรมศาสตร์ และวิศวกรรมวัสดุ มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงในด้านกีฬาโดยเฉพาะบาสเกตบอลอยู่ในลีกแอตแลนติกโคสต์ ซึ่งมีผลงานชนะการแข่งขันระดับประเทศใน NCAA เป็นจำนวน 5 ครั้ง ในปี 1957, 1982, 1993, 2005 และ 2009 ทีมกีฬามหาวิทยาลัยมีชื่อเล่นว่า ทาร์ฮีลส์ (Tar Heels).

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา แชเปิลฮิลล์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น

มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น (Northwestern University หรือเรียกโดยย่อว่า NU) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมืองเอแวนสตัน และเมืองชิคาโก ในรัฐอิลลินอยส์ มหาวิทยาลัยก่อตั้งในปี พ.ศ. 2394 (ค.ศ. 1851) ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) มีนักศึกษาประมาณ 15,000 คน เป็นนักศึกษาในระดับปริญญาตรีประมาณ 8,000 คน แคมปัสหลักที่อยู่ที่เมืองอีแวนสตัน มีพื้นที่กว่า 970,000 ตร.ม. (240 เอเคอร์) ตั้งอยู่บริเวณ ทะเลสาบมิชิแกน สีประจำมหาวิทยาลัยคือ สีม่วง ซุ้มประตูบริเวณแคมปัสที่เมืองอีแวนสตัน มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น มีชื่อเสียงในหลายด้าน ซึ่งรวมถึง บริหารธุรกิจ นิติศาสตร์ แพทยศาสตร์ นิเทศศาสตร์ เคมี เศรษฐศาสตร์ ครุศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ วารสารศาสตร์ และดนตรี.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยโอคลาโฮมา

กย์ลอร์ดฮอลล์ มหาวิทยาลัยโอคลาโฮมา (University of Oklahoma ย่อว่า OU) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐตั้งอยู่ที่เมืองนอร์มัน ในรัฐโอคลาโฮมา สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890) โดยมีนักศึกษาประมาณ 30,000 คน (พ.ศ. 2548) มีคณาจารย์และนักวิจัย 2,000 คน นอกจากวิทยาเขตหลักในนอร์มัน มหาวิทยาลัยมีวิทยาเขตอยู่ในเมือง โอคลาโฮมาซิตี และ ทัลซา มหาวิทยาลัยโอคลาโฮมาประกอบด้วย 15 คณะ และมีชื่อเสียงในด้าน อุตุนิยม ธรณีวิทยา วิศวกรรมศาสตร์ปิโตรเลียม สถาปัตยกรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ และแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเปิดสอนในระดับปริญญาตรี 153 ภาควิชา ในระดับปริญญาโท 152 ภาควิชา และ 75 ภาควิชาในระดับปริญญาเอก นอกจากนี้ยังมีเปิดสอนในด้านอื่นสำหรับปริญญาประกาศนียบัตร นอกจากทางการสอนและการวิจัย มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงในด้านอย่างมากในด้านกีฬา โดยกีฬายิมนาสติกชนะระดับประเทศหลายครั้ง นอกจากนี้ทีมอเมริกันฟุตบอล เป็นทีมหนึ่งที่ประสบความสำเร็จสูง ทีมกีฬามหาวิทยาลัยใช้ชื่อว่า ซูนเนอร์ (Sooners).

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยโอคลาโฮมา · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยโตเกียว

หอประชุมยาสุดะในมหาวิทยาลัยโตเกียว มหาวิทยาลัยโตเกียว หรือย่อว่า โทได เป็นมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นในลักษณะของมหาวิทยาลัยวิจัย ตั้งอยู่ที่เมืองโตเกียว มีพื้นที่แยกออกเป็น 5 วิทยาเขต ใน ฮงโง โคมะบะ คะชิวะ ชิโระงะเนะ และ นะกะโนะ และได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีเกียรติมากที่สุดในญี่ปุ่น และยังจัดเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก มหาวิทยาลัยโตเกียวประกอบด้วย 10 คณะซึ่งมีนักศึกษารวมทั้งสิ้นประมาณ 30,000 คน ในจำนวนนี้มีนักศึกษาต่างชาติประมาณ 2,100 คนเป็นนักศึกษาไทยประมาณ 150 คน (ซึ่งเป็นสัดส่วนสูงทีสุดในบรรดามหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น) ปัจจุบันมีหลักสูตรครอบคลุมสาขาวิทยาการเกือบทั้งหมด แต่ที่มีชื่อเสียงมากเป็นพิเศษคือ กฎหมาย รัฐศาสตร์ วรรณกรรม เศรษฐศาสตร์ แพทยศาสตร์และ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ผลิตนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงของญี่ปุ่นจำนวนมาก นับแต่อดีตจนปัจจุบันแม้ว่าสัดส่วนจะลดลงก็ตาม อัตราส่วนของรัฐมนตรีที่เป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโตเกียวยังคงสูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น โดยแต่ละช่วงคริสต์ศตวรรษจะอยู่ที่ประมาณ 2/3 1/2 1/4 1/5 และ1/6 ในช่วงคริสศตวรรษที่ 1950 60 70 80 และ 90 ตามลำดับ มหาวิทยาลัยโตเกียวมีการเรียนการสอนที่เป็นที่ยอมรับว่า เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นสูงในหลากหลายสาขาวิชา และมีอัตราการแข่งขันในการเข้าศึกษาสูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยโตเกียวมีมหาวิทยาลัยคู่แข่งอยู่หกมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยเคโอซึ่งก่อตั้งก่อนช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มหาวิทยาลัยฮิโตะสึบาชิซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมากในหมู่คนญี่ปุ่นและเปิดสอนเฉพาะวิชาด้านสังคมศาสตร์ หรือมหาวิทยาลัยเกียวโตซึ่งผลิตนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลเป็นจำนวนมาก หนึ่งในศิษย์เก่าเจ้าของรางวัลโนเบลของมหาวิทยาลัยโตเกียวคืออธิการบดีมหาวิทยาลัยโตเกียวอิมพิเรียลชื่อ ศาสตราจารย์ คิคุจิ ไดโรกุ ในด้านกีฬา ทีมเบสบอลมหาวิทยาลัยโตเกียว ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในระดับมหาวิทยาลัยของกรุงโตเกียว ศูนย์ฮงโหงะเป็นศูนย์หลักของมหาวิทยาลัยซึ่งเดิมเป็นที่พำนักของตระกูล "มาเอดะ" ช่วงสมัยเอโดะผู้เป็นเจ้าเมืองเคหงะ สัญลักษณ์หนึ่งที่เป็นที่รู้จักและอยู่จนปัจจุบันของมหาวิทยาลัยคือ "อะกามง" (ประตูแดง) ส่วนตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเป็นรูปใบแปะก๊วย ซึ่งปลูกอยู่เรียงรายทั่วทั้งบริเวณของมหาวิทยาลั.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช

มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช (Universität Leipzig; University of Leipzig) ตั้งอยู่ที่เมืองไลพ์ซิช รัฐซัคเซิน ประเทศเยอรมนี และเป็นมหาวิทยาลัยประจำเมืองไลพ์ซิช มีการเรียนการสอน 14 คณ.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยไลพ์ซิช · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยไอโอวา

ตึกเรียนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยไอโอวา มหาวิทยาลัยไอโอวา (University of Iowa) เป็นมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกาตั้งอยู่ที่เมือง ไอโอวาซิตี ในรัฐไอโอวา ก่อตั้งเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2390 ในปัจจุบัน (2548) มหาวิทยาลัยไอโอวามีนักศึกษาประมาณ 34,000 คน มหาวิทยาลัยไอโอวา มีชื่อเสียงในด้านแพทยศาสตร์ ในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยไอโอวา · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย

นจามิน แฟรงคลิน ผู้สถาปนามหาวิทยาลัย รูปปั้นเบนจามิน แฟรงคลิน หน้า College Hall มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (University of Pennsylvania) (โดยทั่วไปเรียกว่า เพน (Penn) หรือ ยูเพน (UPenn)) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมือง ฟิลาเดลเฟีย ในรัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2283 (ค.ศ. 1740) โดยนายเบนจามิน แฟรงคลิน ซึ่งนับว่าเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่เป็นอันดับ 4 ของสหรัฐอเมริกา และเป็นหนึ่งในสมาชิกไอวีลีก มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียได้รับการยอมรับให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐอเมริกาและของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีชื่อเสียงในด้าน การแพทย์ พาณิชยศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียนับว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เข้ายากและมีการแข่งขันสูงมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา หลักสูตรปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 4 ของประเทศ โดยนิตยสารยูเอสนิว (US News & World Report 2010) นอกจากนี้ วิทยาลัยและคณะต่างๆในระดับปริญญาโทและเอกส่วนใหญ่ก็ถูกจัดอยู่ใน Top 10 เกือบทั้งสิ้น ในปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2552) มีนักศึกษาประมาณ 24,599 คน และคณาจารกว่า 4,127 คน ในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเอดินบะระ

ตึกโอลด์คอลเลจ ที่ตั้งของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอดินบะระ (The University of Edinburgh; Universitas Academica Edinburgensis) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1583 เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่อันดับ 4 ของสกอตแลนด์ ถัดจาก มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูวส์ (ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1410) มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ (ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1451) และ มหาวิทยาลัยอเบอร์ดีน (ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1495) มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในด้านการสอนและการวิจัย ตั้งอยู่ที่เมืองเอดินบะระ สกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร เอดินบะระเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยโบราณของสกอตแลนด์ และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุดในสหราชอาณาจักร เอดินบะระเป็นสมาชิกของกลุ่มรัสเซล (Russell Group) ซึ่งเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัยของสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังเป็นมหาวิทยาลัยเดียวของสกอตแลนด์ (และมหาวิทยาลัยเดียวในสหราชอาณาจักร นอกเหนือจาก เคมบริดจ์ และอ๊อกซฟอร์ด) ที่เป็นสมาชิกของ Coimbra Group และ LERU สองกลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำของยุโรป และยังเป็นสมาชิกของเครือข่ายมหาวิทยาลัยวิจัย Universitas 21 อีกด้วย ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 มหาวิทยาลัยเอดินบะระได้กลายเป็นศูนย์กลางของยุครู้แจ้งของยุโรป (European Enlightenment) และกลายเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่สำคัญที่สุดของทวีปยุโรป.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยเอดินบะระ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (อังกฤษ: Suranaree University of Technology; อักษรย่อ: มทส.) เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 โดยได้มีการยกฐานะจาก "วิทยาลัยสุรนารี" ในสังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ทำการจัดการเรียนการสอนครอบคลุมสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ใน 7 สำนักวิชาและ 1 สถาบันสมทบ โดยมีหลักสูตรในระดับปริญญาตรี 32 หลักสูตร ปริญญาโท 34 หลักสูตร และปริญญาเอก 28 หลักสูตร (ข้อมูลในปีการศึกษา 2553) นอกจากนี้ยังเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคณาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอกคิดเป็นร้อยละสูงที่สุดในประเทศไทย (ร้อยละ 80.21) และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีผลงานวิจัยต่อหัวคณาจารย์สูงที่สุดในประเทศไท.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ

มหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ (Case Western Reserve University หรือ CASE หรือ CWRU หรือ CASE WESTERN) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่เน้นทางด้านการวิจัย ตั้งอยู่ในเมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2510 จากการรวมกันของสองสถาบันการศึกษาอันได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีเคส (Case Institute of Technology) ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2423 โดยนาย ลีโอนาร์ท เคส จูเนียร์ (Leonard Case Jr) กับ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ (Western Reserve University) ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2369 มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีนักศึกษาประมาณ 10,000 คน แบ่งเป็น นักศึกษาปริญญาบัณฑิต 4,386 คน นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 5,640 คน และอาจารย์ประจำ 3,055 คน และเจ้าหน้าที่ 3,402 คน สำหรับปี พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของมหาวิทยาลัยประจำปีคือ 968 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้รับเงินบริจาคประจำปีคือ 138.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งติดอันดับมหาวิทยาลัยที่ได้รับเงินบริจาคมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นทางด้านการวิจัยเป็นอย่างมาก โดยตามรายงานประจำปี.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย

ตึกจอร์จฟินลีย์โบวาร์ด มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย ห้องสมุดโดฮีนี มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย (University of Southern California) หรือในชื่อว่า ยูเอสซี (USC) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่เก่าแก่สุดในรัฐแคลิฟอร์เนีย ตั้งอยู่ที่เมืองลอสแอนเจลิส ในรัฐแคลิฟอร์เนีย มหาวิทยาลัยก่อตั้งในปี พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) โดยเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษาต่างชาติมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย · ดูเพิ่มเติม »

มอลต์

ร์เลย์มอลต์ โดยจะเห็นหน่อสีขาว มอลต์ (malt) ได้มาจากข้าวบาเลย์ ซึ่งเป็นธัญพืชที่นิยมปลูกในประเทศ ที่มีภูมิภาคเย็น จะมีการปลูกกันมาก ในประเทศทางทวีปยุโรป เช่น เยอรมนี ออสเตรีย อังกฤษ เดนมาร์ก และออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยมีการนำ สายพันธุ์ ข้าวบาร์เลย์เข้ามาปลูกในแถบ ภาคเหนือ ซึ่งมีภูมิอากาศเย็น ข้าวมอลต์ มีรสชาติ สี และกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นที่นิยมของผู้บริโภคและมีคุณค่าทางโภชนาการสูงซึ่งเกิดจากสารอาหารชนิดต่างๆ ที่สร้างสะสมอยู่ในเมล็ดข้าวระหว่างการงอก ข้าวมอลต์สามารถจำหน่ายในรูปข้าวกล้องมอลต์ พร้อมหุงรับประทานหรือนำไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ อาทิ เบียร์ วิสกี้ โจ๊กข้าวมอลต์ ผงชงดื่มเพื่อสุขภาพ เครื่องดื่มมอลต์ สกัดเข้มข้น น้ำมอลต์สกัด เป็นต้น.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมอลต์ · ดูเพิ่มเติม »

มารี กูว์รี

มารี สกวอดอฟสกา-กูว์รี (Marie Skłodowska-Curie) มีชื่อแต่แรกเกิดว่า มาเรีย ซาลอแมอา สกวอดอฟสกา (Marya Salomea Skłodowska;; 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2410 - 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2477) เป็นนักเคมีผู้ค้นพบรังสีเรเดียม ที่ใช้ยับยั้งการขยายตัวของมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคร้ายที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีอัตราการตายของคนไข้เป็นอันดับหนึ่งมาทุกยุคสมัย ด้วยผลงานที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติเหล่านี้ ทำให้มารี กูว์รีได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้งด้วยกัน.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมารี กูว์รี · ดูเพิ่มเติม »

มาร์กาเร็ต มิตเชลล์

มาร์กาเร็ต มิตเชลล์ผู้ประพันธ์นวนิยายเรื่อง "วิมานลอย" (Gone With The Wind) มาร์กาเร็ต มุนเนอร์ลีน มิตเชลล์ (Margaret Munnerlyn Mitchell; 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 – 16 สิงหาคม พ.ศ. 2492) นักเขียนนวนิยายชาวอเมริกันผู้ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์เมื่อ พ.ศ. 2480 สำหรับนวนิยายเพียงเรื่องเดียวที่เธอเคยเขียนขึ้น คือเรื่อง "วิมานลอย" (Gone With The Wind) ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2479 นวนิยายเรื่องนี้นับเป็นนวนิยายเรื่องเดียวที่ได้รับความนิยมสูงสุดเท่าที่เคยมีมา เป็นหนังสือปกแข็งที่มีจำนวนจำหน่ายรองจากคัมภีร์ไบเบิล แม้ในปัจจุบันก็ยังจำหน่ายได้ประมาณปีละ 200,000 เล่ม นวนิยายเรื่องนี้ได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ออกฉายเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2482 และทำรายได้สูงสุดในประวัติศาสตร์ของฮอลลีวูด รวมทั้งการทำลายสถิติการได้รับรางวัลอะแคเดมีมากที.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมาร์กาเร็ต มิตเชลล์ · ดูเพิ่มเติม »

มิโนะรุ ชิโระตะ

มิโนรุ ชิโรตะ (23 เมษายน ค.ศ. 1899 - 10 มีนาคม ค.ศ. 1982) นายแพทย์ และนักธุรกิจ ผู้คิดค้นและก่อตั้งบริษัทเครื่องดื่ม ยาคูลท.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมิโนะรุ ชิโระตะ · ดูเพิ่มเติม »

มูลนิธิอานันทมหิดล

ตราสัญลักษณ์ มูลนิธิอานันทมหิดล (Anandamahidol Foundation) เป็นมูลนิธิที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้น เพื่อมุ่งส่งเสริมสนับสนุนนักศึกษาและบัณฑิตชาวไทยที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการสาขาต่าง ๆ ให้ได้รับโอกาสไปศึกษาต่อเพิ่มเติม ณ ต่างประเทศ ในระดับที่สูงขึ้น เพื่อให้เป็นบุคคลชั้นนำของประเทศในสาขาวิชานั้น ๆ และนำความรู้ความเชี่ยวชาญกลับมารับใช้ประเทศชาติต่อไปหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับสูงสุดแล้ว ในระยะแรก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดตั้งทุนอานันทมหิดล และทรงเริ่มพระราชทานทุนในสาขาแพทยศาสตร์เป็นสาขาแรก ต่อมา ได้มีพระบรมราชวินิจฉัยให้เปลี่ยนสถานภาพจากทุนเป็นมูลนิธิ ชื่อ มูลนิธิอานันทมหิดล และได้ขยายขอบเขตการพระราชทานทุนเพิ่มขึ้นในหลายสาขา ครอบคลุมทั้งสาขาวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ชมรมผู้รับพระราชทานทุนอานันทมหิดล.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมูลนิธิอานันทมหิดล · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ยอดหญิงแกร่งแห่งทำเนียบขาว ฤดูกาลที่ 2

อดหญิงแกร่งแห่งทำเนียบขาว ซีซัน 2 (อังกฤษ: Madam Secretary Season 2) เป็นละครโทรทัศน์ทริลเลอร์ตอนที่ 2 ในละครชุด ยอดหญิงแกร่งแห่งทำเนียบขาว ออกอากาศทางช่องCBS ในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เป็นตอนแรก ในไทยจะออกอากาศทางช่อง โมโน 29.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และยอดหญิงแกร่งแห่งทำเนียบขาว ฤดูกาลที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

ยัน บัปติสต์ ฟัน แฮ็ลโมนต์

หอคอยโรมันของโบสถ์เก่าในเนเดอร์-โอเฟอร์-เฮมเบก (Neder-Over-Heembeek) และhttp://maps.google.co.uk/maps?q.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และยัน บัปติสต์ ฟัน แฮ็ลโมนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ยา

thumb ยา เป็นวัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และยา · ดูเพิ่มเติม »

ยาลดความดัน

ลดความดัน (antihypertensives) เป็นกลุ่มของยาที่ใช้ในทางการแพทย์ และ เภสัชกรรมเพื่อใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และยาลดความดัน · ดูเพิ่มเติม »

ยาฆ่าแมลง

แมลง เป็นสารที่ใช้ฆ่า กำจัด หรือลดการแพร่พันธุ์ของแมลง ยาฆ่าแมลงใช้ในการเกษตรกรรม, การแพทย์, อุตสาหกรรม และใช้ในครัวเรือน การใช้ยาฆ่าแมลงเชื่อว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในศตวรรษที่ 20 ยาฆ่าแมลงเกือบทุกชนิดมีผลข้างเคียงกับระบบนิเวศ ยาฆ่าแมลงหลายชนิดเป็นอันตรายกับมนุษ.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และยาฆ่าแมลง · ดูเพิ่มเติม »

ยานอนหลับ

นอนหลับ เป็นยากดประสาทที่ทำหลับ นิยมใช้ทางการแพทย์เพื่อทำให้คนไข้หลับ ยานอนหลับมี 3 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และยานอนหลับ · ดูเพิ่มเติม »

ยาแก้สรรพโรค

ยาแก้สรรพโรค (panacea /pænəˈsiːə/ หรือ panchrest) เป็นยาที่เชื่อกันว่าจะสามารถรักษาโรคภัยทั้งปวงได้ และยืดอายุของผู้รับประทานออกไปอย่างไม่รู้จบ ชื่อในภาษาอังกฤษ "panacea" มาจากพระนามเทพีแพเนเซีย เจ้าแห่งการบำบัดรักษาในเทพปกรณัมกรีก ยาแก้สรรพโรคนี้เคยเป็นที่ต้องการและควานค้นหาอย่างบ้าคลั่งของลัทธิรสายนเวทอยู่พักใหญ่ และมีความเกี่ยวโยงกับความเชื่อเรื่องน้ำอมฤต และศิลานักปราชญ์อันเป็นวัตถุที่เชื่อกันว่าสามารถใช้แปรธาตุสามัญให้กลายเป็นทองคำได้ ในวิชาแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์บางแขนง เช่น เคมี ชีวโมเลกุล ชีวเคมี ชีวฟิสิกส์ พันธุศาสตร์ และวิทยาภูมิคุ้มกัน ยังมีการค้นหาซึ่งยาแก้สรรพโรคและน้ำอมฤตอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันดูเหมือนว่ากำลังเพ่งเล็งไปยังเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน บทบาทของยีน กับทั้งความสัมพันธ์กันระหว่างกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม โดยมีความต้องการของมนุษย์ที่จะสามารถ "แก้สรรพโรค" และหยุดกระบวนการแก่เจ็บตายเป็นแรงขับเคลื่อนอันแรงกล้า คำว่า "ยาแก้สรรพโรค" เป็นศัพท์ทางวิชาการ แต่ในภาษาไทยก็มีคำพ้องความหมายอยู่หลายคำ เช่น ยาระงับสรรพโรค, ยาอายุวัฒนะ, ยาครอบจักรวาล ฯลฯ หมวดหมู่:แพทยศาสตร์ หมวดหมู่:การเล่นแร่แปรธาตุ.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และยาแก้สรรพโรค · ดูเพิ่มเติม »

ยูเอสนิวส์แอนด์เวิลด์รีพอร์ต

ัญลักษณ์ของยูเอสนิวส์ ภาพประตูหน้าของสำนักงานใหญ่ในวอชิงตัน ดี.ซี. ยูเอสนิวส์แอนด์เวิลด์รีพอร์ต เป็นนิตยสารรายสัปดาห์ มีสำนักงานอยู่ที่ วอชิงตัน ดี.ซี. เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2476 ในชื่อ ยูเอสนิวส์ และได้รวมเข้ากับบริษัท "เวิลด์รีพอร์ต" ในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และยูเอสนิวส์แอนด์เวิลด์รีพอร์ต · ดูเพิ่มเติม »

ยูเจนอล

ูตรโครงสร้างของยูเจนอล ยูเจนอล (Eugenol) (C10H12O2) เป็นทางโครงสร้างเคมีเป็นส่วนโซ่อัลลิลของกัวอะคอล (guaiacol) หรือ 2-เมตทอกซิ-4-(2-โพรพินิล) ฟีนอล เป็นของเหลวคล้ายน้ำมันสีเหลืองอ่อน สกัดได้จากน้ำมันหอมระเหย โดยเฉพาะจากกานพลู (clove) และอบเชย (cinnamon) ละลายได้เล็กน้อยในน้ำ ละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์ มีกลิ่นคล้ายกานพลู มีประโยชน์ดังนี้.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และยูเจนอล · ดูเพิ่มเติม »

ยงพัล

thumbnail ยงพัล เป็นละครโทรทัศน์เกาหลีที่ออกฉายในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และยงพัล · ดูเพิ่มเติม »

ยงค์วิมล เลณบุรี

ตราจารย์ ยงค์วิมล เลณบุรี (23 สิงหาคม 2495 -) เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวไทย ที่มีผลงานดีเด่นในสาขาคณิตศาสตร์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ระดับ 11 สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการยกย่องให้เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2541 สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2550 สาขาคณิตศาสตร์ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน ตั้งแต่ ปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และยงค์วิมล เลณบุรี · ดูเพิ่มเติม »

รอยโรค

รอยโรคไข้กระต่าย รอยโรค (lesion) เป็นศัพท์ทางการแพทย์หมายถึงเนื้อเยื่อที่ผิดปกติที่พบในสิ่งมีชีวิต มักจะเกิดจากการบาดเจ็บหรือโร.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และรอยโรค · ดูเพิ่มเติม »

รอล์ฟ ซีเวอร์ต

รอล์ฟ แมกซิมิเลียน ซีเวอร์ต (Rolf Maximilian Sievert; 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1896 – 3 ตุลาคม ค.ศ. 1966) เป็นนักฟิสิกส์การแพทย์ชาวสวีเดน เกิดที่กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และรอล์ฟ ซีเวอร์ต · ดูเพิ่มเติม »

ระบบการทรงตัว

ห้องหูชั้นใน (labyrinth of the inner ear) ของหูด้านขวา ประกอบด้วย '''คอเคลีย''' (cochlea) เป็นอวัยวะปลายประสาทของระบบการได้ยิน ส่วนอวัยวะรับความรู้สึกของระบบการทรงตัวรวมทั้ง '''หลอดกึ่งวงกลม''' (semicircular ducts) ซึ่งทำหน้าที่รับรู้การเคลื่อนไหวแบบหมุน (คือความเร่งเชิงมุม) '''saccule''' และ '''utricle''' ทำหน้าที่รับรู้ความเร่งเชิงเส้น คอเคลียและ vestibular system ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยมาก ระบบการทรงตัว (vestibular system) เป็นระบบรับความรู้สึกที่ให้ข้อมูลสำคัญที่สุดเกี่ยวกับการกำหนดรู้การทรงตัว (equilibrioception หรือ sense of balance) และการรู้ทิศทางของร่างกายภายในปริภูมิ (spatial orientation) ระบบการทรงตัวพร้อมกับคอเคลียซึ่งเป็นส่วนของระบบการได้ยิน เป็นส่วนประกอบของห้องหูชั้นใน (labyrinth of the inner ear) สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยมาก เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายมีทั้งแบบหมุนและแบบเลื่อน ระบบการทรงตัวจึงมีส่วนประกอบสองอย่างเหมือนกัน คือ ระบบหลอดกึ่งวงกลม (semicircular canal) ซึ่งบอกการเคลื่อนไหวแบบหมุน และระบบ otoliths ซึ่งบอกความเร่งในแนวเส้น ระบบการทรงตัวโดยหลักจะส่งข้อมูลไปยังโครงสร้างประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของตา เช่นการเคลื่อนไหวแบบ vestibulo-ocular reflex ซึ่งจำเป็นในการเห็นที่ชัดเจน และไปยังกล้ามเนื้อที่ทำให้สามารถทรงตัวไว้ได้ ระบบการทรงตัวมีบทบาทในเรื่อง.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และระบบการทรงตัว · ดูเพิ่มเติม »

ระบบรับความรู้สึกทางกาย

การเห็นบกพร่อง สัมผัสเป็นประสาทสัมผัสที่สำคัญเพื่อรับรู้สิ่งแวดล้อม ระบบรับความรู้สึกทางกาย"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ somato-gnosis ว่า "ความรู้สึก-ทางกาย" และของ sensory ว่า "-รับความรู้สึก" แต่สิ่งที่ตีพิมพ์ในวรรณกรรมมักใช้คำอังกฤษว่า somatosensory system โดยไม่แปล (somatosensory system) เป็นส่วนของระบบรับความรู้สึกที่สามารถรับรู้อย่างหลายหลาก ประกอบด้วยตัวรับความรู้สึก/ปลายประสาทรับความรู้สึก (sensory receptor) ที่ระบบประสาทนอกส่วนกลาง และศูนย์ประมวลผลต่าง ๆ ที่ระบบประสาทกลางมากมาย ทำให้รับรู้ตัวกระตุ้นได้หลายแบบรวมทั้งสัมผัส อุณหภูมิ อากัปกิริยา และโนซิเซ็ปชั่น (ซึ่งอาจให้เกิดความเจ็บปวด) ตัวรับความรู้สึกมีอยู่ที่ผิวหนัง เนื้อเยื่อบุผิว กล้ามเนื้อโครงร่าง กระดูก ข้อต่อ อวัยวะภายใน และระบบหัวใจและหลอดเลือด ถึงแม้จะสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งโบราณว่า สัมผัสเป็นความรู้สึกอย่างหนึ่งในทวารทั้ง 5 (เช่น "โผฏฐัพพะ" ในพระพุทธศาสนา) แต่ความจริงแล้ว "สัมผัส" เป็นความรู้สึกต่าง ๆ หลายแบบ ดังนั้น การแพทย์จึงมักจะใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "somatic senses (ความรู้สึกทางกาย)" แทนศัพท์ว่า "touch (สัมผัส)" เพื่อให้ครอบคลุมกลไกความรู้สึกทางกายทั้งหมด ความรู้สึกทางกายบางครั้งเรียกว่า "somesthetic senses" โดยที่คำว่า "somesthesis" นั้น รวมการรับรู้สัมผัส (touch) การรับรู้อากัปกิริยา และในบางที่ การรับรู้วัตถุโดยสัมผัส (haptic perception) ระบบรับความรู้สึกทางกายมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเร้ามากมายหลายแบบ โดยอาศัยตัวรับความรู้สึกประเภทต่าง ๆ รวมทั้งตัวรับอุณหภูมิ โนซิเซ็ปเตอร์ ตัวรับแรงกล และตัวรับรู้สารเคมี ข้อมูลความรู้สึกจะส่งไปจากตัวรับความรู้สึกผ่านเส้นประสาทรับความรู้สึก (sensory nerve) ผ่านลำเส้นใยประสาทในไขสันหลัง ตรงเข้าไปยังสมอง การประมวลผลโดยหลักเกิดขึ้นที่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary somatosensory cortex) ในสมองกลีบข้าง cortical homunculus ที่แสดงไว้โดยไวล์เดอร์ เพ็นฟิลด์ กล่าวอย่างง่าย ๆ ที่สุด ระบบรับความรู้สึกทางกายจะเริ่มทำงานเมื่อตัวรับความรู้สึกที่กายเขตหนึ่งเริ่มทำงาน โดยถ่ายโอนคุณสมบัติของตัวกระตุ้นบางอย่างเช่นความร้อนไปเป็นสัญญาณประสาท ซึ่งในที่สุดก็จะเดินทางไปถึงเขตสมองที่มีหน้าที่เฉพาะเจาะจงต่อเขตกายนั้น และเพราะเฉพาะเจาะจงอย่างนี้ จึงสามารถระบุเขตกายที่เกิดความรู้สึกโดยเฉพาะซึ่งเป็นผลแปลของสมอง ความสัมพันธ์จุดต่อจุดเช่นนี้ปรากฏเป็นแผนที่ผิวกายในสมองที่เรียกว่า homunculus แปลว่า "มนุษย์ตัวเล็ก ๆ" และเป็นส่วนสำคัญในการรับรู้ความรู้สึกที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แต่แผนที่ในสมองเช่นนี้ ไม่ใช่ว่าจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ และจริง ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างน่าทึ่งใจ เพื่อตอบสนองต่อโรคหลอดเลือดสมองหรือความบาดเจ็บอื่น.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และระบบรับความรู้สึกทางกาย · ดูเพิ่มเติม »

ระดับขั้นในสถาบันศาสนา

ระดับขั้นทางศาสนาที่ใช้เรียกกันในสถาบันศาสนานั้นสามารถแบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่ ระดับขั้นที่เป็นทางการ (ระดับชั้นที่หนึ่ง ระดับชั้นที่สอง ระดับชั้นที่สาม และระดับชั้นที่สี่) และระดับขั้นที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งระดับดับขั้นที่เป็นทางการนั้นแบ่งตามพื้นฐานทางด้านนิติศาสตร์ (ฟิกฮ์) และศาสตร์ด้านอุซูล ส่วนระดับขั้นที่ไม่เป็นทางการนั้นไม่มีการระบุไว้เป็นที่ชัดเจน แต่สามารถแบ่งได้ว่า (ษิเกาะตุลอิสลาม, ฮุจญะตุลอิสลาม, อายาตุลลอฮ์ และอายาตุลลอฮ์อัลอุซมา).

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และระดับขั้นในสถาบันศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ราชวิทยาลัยลอนดอน

ราชวิทยาลัยลอนดอน (Imperial College London) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และแพทย์ศาสตร์ (The Imperial College of Science, Technology and Medicine) ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัย) http://www3.imperial.ac.uk/pls/portallive/docs/1/21735699.DOC เป็นมหาวิทยาลัยบริติช ตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร โดยมุ่งเน้นการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การแพทย์ และธุรกิจ จนถึงปัจจุบัน บุคลากรของราชวิทยาลัยได้รับรางวัลโนเบลจำนวนทั้งหมด 15 รางวัล ราชวิทยาลัยลอนดอนเป็นสถาบันมีชื่อเสียงมากในด้านวิศวกรรมศาสตร์ และ เทคโนโลยี โดยมักได้รับการจัดอันดับจากสำนักต่างๆให้อยู่ในระดับต้นๆของทวีปยุโรปเสมอ และมักจะมีอันดับเป็นรองเพียงแค่ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เท่านั้น ในปี ค.ศ. 2010 The Complete University Guide ได้จัดให้ราชวิทยาลัยลอนดอนเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 3 ในสหราชอาณาจักร รองจาก มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด และ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ราชวิทยาลัยลอนดอนยังได้รับการจัดอันดับอยู่ในอันดับที่ 5 ของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกในปี ค.ศ. 2009 โดยนิตยสารไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์ และอยู่ในอันดับที่ 26 ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดย มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวถง ราชวิทยาลัยลอนดอนเป็นสมาชิกของกลุ่มมหาวิทยาลัยรัสเซลล์ และยังเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสามเหลี่ยมทองคำในสมาพันธ์มหาวิทยาลัยยุโรปและสมาพันธ์ประชาคมมหาวิทยาลัย ในช่วงแรก ราชวิทยาลัยลอนดอนเป็นสมาชิกในเครือมหาวิทยาลัยลอนดอน ก่อนที่จะแยกออกมาเป็นอิสระในครั้งฉลองครบรอบร้อยปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัย (8 กรกฎาคม..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และราชวิทยาลัยลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสาขาการศึกษาระดับปริญญาเอก (สหรัฐอเมริกา)

รายชื่อสาขาการศึกษาระดับปริญญาเอก (List of fields of doctoral studies) นี้จัดทำขึ้นโดย "ศูนย์วิจัยความเห็นแห่งชาติ" (Opinion Research Center หรือ NORC) ที่ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกาจากการสำรวจปริญญาเอกที่มีผู้จบการศึกษารายปี โดยจัดทำให้กับมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ และหน่วยงานของรัฐบาลกลางอีกหลายหน่วยงานในสหรัฐฯ ทั้งหมดนี้คือสายวิชาการศึกษาระดับปริญญาเอกที่เน้นการวิจัยที่มุ่งสู่ปริญญาดุษฎีบัณฑิตปรัชญา (Doctor of Philosophy หรือ Ph.D.) และการศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Education Ed.D 1หรือ D.Ed) ที่เปิดสอนในสหรัฐฯ ซึ่งในปีการศึกษา 2547-2548 พบว่าร้อยละ 90.3 ของปริญญาเอกที่เน้นการวิจัยจำนวน 43,354 ปริญญาในสหรัฐฯ ปริญญาเป็น Ph.D. และร้อยละ 7.0 เป็น Ed.D. การศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาวิชาชีพ (professional doctorates) เช่น แพทยศาสตร์ (Doctor of Medicine - M.D.) และปริญญาเอกด้านกฎหมาย (Juris Doctor - J.D.) ไม่นับรวมในรายชื่อนี้.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และรายชื่อสาขาการศึกษาระดับปริญญาเอก (สหรัฐอเมริกา) · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อคณะและวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในประเทศไทย

รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ที่เปิดสอนวิชาแพทยศาสตร์ เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและเยียวยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่ว.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และรายชื่อคณะและวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายการสาขาวิชา

รายชื่อสาขาวิชา หรือ สาขาการศึกษา (Field of study) หมายถึงสาขาความรู้ หรือ การวิจัยที่เปิดสอนในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย คำว่า สาขาวิชา ได้รับการนิยามและยอมรับโดย วารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย และโดยสมาคมผู้รู้ (learned societies) และโดยภาควิชาหรือคณะวิชาที่บุคคลผู้อยู่ในสาขาวิชานั้นๆ สังกัด โดยปกติ สาขาการศึกษาต่างๆ มักมีสาขาย่อยหรือแขนงวิชาแตกออกไป เส้นแบ่งระหว่างสาขาย่อยมักยังมีความคลุมเครือและมีกฎเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน ในยุโรปสมัยกลางซึ่งขณะนั้นยังมีการแบ่งคณะวิชาออกเป็น 4 คณะหรือสายวิชา ได้แก่เทววิทยา การแพทย์ ธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ และศิลปะ โดยคณะวิชาหลังมีสถานะไม่สูงเท่า 3 สาขาแรก การแบ่งสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสมัยนั้นมีรากสืบทอดมาจากขบวนการแยกอาณาจักรออกจากศาสนจักร (Secularization) ของมหาวิทยาลัยซึ่งเกิดขึ้นราวสมัยกลาง-ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ. 2390 - พ.ศ. 2440) โดยได้เพิ่มวิชาภาษาศาสตร์ที่ไม่ใช่คลาสสิก วรรณคดี และวิชาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาและวิศวกรรมศาสตร์เสริมเข้าไปในหลักสูตรแบบประเพณีโบราณ ในต้นคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 (ประมาณ พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2475) ได้มีการเพิ่มสาขาวิชาใหม่ๆ เช่น การศึกษา สังคมวิทยา และจิตวิทยา ในมหาวิทยาลัยต่างๆ และในช่วงประมาณ พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2523) ได้เกิดปรากฏการณ์ "การระเบิด" ของสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เน้นเนื้อหาเฉพาะเจาะจง เช่น สื่อศึกษา สตรีศึกษา และชนผิวดำศึกษา สาขาใหม่ๆ เหล่านี้จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับอาชีพและวิชาชีพต่างๆ เช่น การพยาบาล การจัดการโรงพยาบาล การราชทัณฑ์ และหลังสุดก็ได้เห็นสาขาวิชาที่เป็นลักษณะ "สหสาขาวิชา" เช่น ชีวเคมี และ ธรณีฟิสิกส์เกิดเพิ่มขึ้นและได้รับการยอมรับว่าสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้ช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้กว้างขวางขึ้น เครื่องหมายดอกจัน * แสดงเป็นหมายเหตุว่าสาขาวิชานั้นยังเป็นที่ถกเถียงถึงสถานภาพว่าควรนับไว้ในสายวิชาใด เช่น วิชามานุษยวิทยา และวิชาภาษาศาสตร์ควรจัดไว้ในกลุ่มสังคมศาสตร์ หรือ มนุษยศาสตร์ เป็นที่สังเกตได้ว่าบางท่าน โดยเฉพาะนักทฤษฎีวิจารณ์มักให้ความสำคัญในการบ่งชี้การจัดกลุ่มที่เข้มงวดในทุกสายวิชา รวมทั้งความชัดเจนของโครงสร้างของแนวคิดโดยรวมของแต่ละวิชาซึ่งยังเป็นถกเถียงได้มากสำหรับบางคน.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และรายการสาขาวิชา · ดูเพิ่มเติม »

รายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้

การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้เป็นระบบการจำแนกห้องสมุดประกอบด้วย 10 หมวดใหญ่ (class) แต่ละหมวดใหญ่แบ่งเป็นสิบหมวดย่อย (division) แต่ละหมวดย่อยมีสิบหมู่ย่อย (section) ตัวอย่างเช่น หมวดใหญ่ 600 ("เทคโนโลยี") มีหมวดย่อย 630 ("เกษตรกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง") ซึ่งมีหมู่ย่อย 636 ("การเลี้ยงสัตว์") ในทางปฏิบัติ มีทั้งหมด 99 จาก 100 หมวดย่อยและ 908 จาก 1000 หมู่ย่อย เนื่องจากบางส่วนเลิกใช้แล้วหรือยังไม่กำหน.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และรายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ · ดูเพิ่มเติม »

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด

ต่อไปนี้เป็น รายชื่อคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด เรียงลำดับตามตัวอักษรของ คำที่เขียนถูก ตามที่ปรากฏในพจนานุกรมภาษาไทยหรือตามประกาศของหน่วยงานราชการไทย หมายเหตุ: การเขียนสะกดคำในนี้เป็นกรณีทั่วไป แต่ในกรณีเฉพาะ เช่น เป็นวิสามานยนาม อาทิ เป็นชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ หรือในทางร้อยกรอง สามารถเขียนสะกดคำแตกต่างได้.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และรายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด · ดูเพิ่มเติม »

รายงานผู้ป่วย

ในสาขาการแพทย์ รายงานผู้ป่วย"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ case ว่า "กรณี, ผู้ป่วย, คนไข้" และของ report ว่า "รายงาน" หรือ รายงานกรณี หรือ รายงานเค้ส (case report) เป็นรายงานอย่างละเอียดเกี่ยวกับอาการ อาการแสดง การวินิจฉัย การรักษาพยาบาล และการติดตามผู้ป่วยคนหนึ่ง และอาจจะมีข้อมูลทางประชากรอื่น ๆ เกี่ยวกับผู้ป่วย ปกติจะเป็นรายงานเกี่ยวกับเค้สที่แปลกหรือใหม่ และบางครั้งจะมีการทบทวนวรรณกรรมของเค้สอื่น ๆ ที่ได้รับรายงานมาแล้ว.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และรายงานผู้ป่วย · ดูเพิ่มเติม »

รายนามผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล

* ดูบทความหลักที่ รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และรายนามผู้ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล · ดูเพิ่มเติม »

รายนามเมธีวิจัยอาวุโส สกว.

รายนามเมธีวิจัยอาวุโส สกว.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และรายนามเมธีวิจัยอาวุโส สกว. · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลวูล์ฟ

มูลนิธิวูล์ฟ รางวัลวูล์ฟ (อังกฤษ: Wolf Prize) เป็นรางวัลที่จัดตั้งโดยมูลนิธิวูล์ฟ มีการมอบรางวัลครั้งแรกในปี ค.ศ. 1978 เพื่อนักวิทยาศาสตร์และศิลปินที่ "มีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ สีผิว ศาสนา เพศ และมุมมองทางการเมือง".

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และรางวัลวูล์ฟ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์

หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ (Nobelpriset i fysiologi eller medicin, Nobel Prize in Physiology or Medicine) จัดโดยมูลนิธิโนเบล มีการมอบทุกปีให้แก่การค้นพบที่โดดเด่นในสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิตและแพทยศาสตร์ รางวัลโนเบลสาขาดังกล่าวเป็นหนึ่งในห้าสาขา ริเริ่มในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

รีตา เลวี-มอนตัลชีนี

รีตา เลวี-มอนตัลชีนี (Rita Levi-Montalcini; 22 เมษายน ค.ศ. 1909 – 30 ธันวาคม ค.ศ. 2012) เป็นนักประสาทชีววิทยาชาวอิตาลี เธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ร่วมกับสแตนลีย์ โคเฮน ในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และรีตา เลวี-มอนตัลชีนี · ดูเพิ่มเติม »

ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง

ลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง (LaFlora, the Princess Academy) เป็นหนังสือการ์ตูนที่แทรกเรื่องราวเกี่ยวกับอารยธรรมและวัฒนธรรมนานาชาติ มี 9 ชุด คือ "ลา ฟลอร่า", "ลา ฟลอร่า ภาค ประเทศฉันสุดยอด", "ลา ฟลอร่า บอร์ดเกม","ลาฟลอร่า ฮันนี่แรลลี่","ลาฟลอร่า คลับเฟสต้า","ลาฟลอร่า แอนิเมชัน","นิยาย ลาฟลอร่า","คอมมิกชันนารี ลา ฟลอร่า โรซารี่ please" และ "ลาฟลอร่า ดรีมมี่ คาเฟ่" โดยในแต่ละเล่มจะมีเนื้อหาและตัวละครที่ต่างกัน จากความนิยมอย่างแพร่หลาย และความโดดเด่นของตัวละคร ส่งผลให้ทางผู้ผลิตได้จัดทำในรูปแบบของเกมกระดานในเวลาต่อมา ปัจจุบันได้มีการจัดแปลเป็นภาษาต่างประเทศ 4 ภาษา รวมถึงจัดทำเป็นแอนิเมชัน และวรรณกรรมเยาวชน.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และลา ฟลอร่า โรงเรียนป่วนก๊วนเจ้าหญิง · ดูเพิ่มเติม »

วักกวิทยา

วักกวิทยา (วักกะ "ไต", nephrology มาจากภาษากรีก nephros "ไต") เป็นสาขาย่อยของแพทยศาสตร์และกุมารเวชศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาไต ซึ่งรวมถึงการศึกษาการทำหน้าที่ของไตปกติและปัญหาของไต การสงวนสุขภาพไต และการรักษาปัญหาของไต ตั้งแต่อาหารและยาจนถึงการบำบัดทดแทนไต (การชำระเลือดและการปลูกถ่ายไต) ภาวะทั่วกายที่มีผลต่อไต (เช่น เบาหวานและโรคภูมิคุ้มกันตนเอง) และปัญหาทั่วกายที่เกิดเนื่องจากปัญหาไต (เช่น โรคกระดูกเจริญผิดเพี้ยนจากไตและความดันโลหิตสูง) ก็มีการศึกษาในวักกวิทยาเช่นกัน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวักกวิทยา เรียก นักวักกวิทยา.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และวักกวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์

วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ (New England Journal of Medicine ตัวย่อ NEJM) เป็นวารสารการแพทย์ภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์โดยสมาคมการแพทย์รัฐแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Medical Society) เป็นวารสารที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันที่มีเกียรติที่สุดฉบับหนึ่งของโลก และที่ตีพิมพ์ต่อเนื่องกันมายาวนานมากที่สุด ในประเทศไทย เว็บไซต์ของวารสารเปิดให้อ่านฟรีเป็นบางเนื้อห.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

วานรวิทยา

ลิงบาบูนโอลิฟ วานรวิทยา หรือ ไพรเมตวิทยา (Primatology) คือวิชาว่าด้วยการศึกษาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชั้นสูงสุด (primates) ได้แก่ลิงและคน นับเป็นสาขาวิชาที่หลากหลายในหมวดวิชาชีววิทยา มานุษยวิทยา จิตวิทยาและอื่นๆ มานุษยวิทยากายภาพเป็นสาขาหนึ่งของวานรวิทยาคือวานรวิทยาว่าด้วยสกุล Homo โดยเฉพาะ Homo sapiens วิชานี้ครอบคลุมไปถึงการศึกษา Hominidae หรือสิ่งมีชีวิตที่คล้ายคนซึ่งรวมถึงบรรพบุรุษของมนุษย์และลิงใหญ่อื่น ๆ วานรวิทยาสมัยใหม่นับเป็นวิทยาศาสตร์ที่มีความหลากหลายมากที่สุดสาขาหนึ่ง โดยมีขอบข่ายนับตั้งแต่การศึกษาทางสรีรของบรรพบุรุษวานรและและการศึกษาวานรในที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของมัน ไปจนถึงการทดลองด้านจิตวิทยาของสัตว์และภาษาวานร วิชานี้ได้เปิดให้เห็นแสงสว่างเป็นอย่างมากในพฤติกรรมพื้นฐานรวมทั้งพฤติกรรมโบราณของบรรพบุรุษเหล่านี้.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และวานรวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลิม ไอนต์โฮเฟิน

รื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจยุคแรก วิลเลิม ไอนต์โฮเฟิน (Willem Einthoven; 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1860 – 29 กันยายน ค.ศ. 1927) เป็นแพทย์และนักสรีรวิทยาชาวดัตช์ เกิดที่เมืองเซอมารัง หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (ปัจจุบันคือประเทศอินโดนีเซีย) เป็นบุตรของยาโกบ ไอนต์โฮเฟิน และลูวีเซอ มารียา มาติลเดอ กาโรลีเนอ เดอ โฟเคิล ต่อมาบิดาเสียชีวิต มารดาจึงพาบุตรทั้ง 6 คนย้ายกลับมาอาศัยในเนเธอร์แลนด์โดยตั้งรกรากที่เมืองยูเทรกต์ ไอนต์โฮเฟินเรียนวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยยูเทรกต์และดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยไลเดิน ไอน์ไทโฟนศึกษาเรื่องคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งในสมัยนั้นมีการค้นพบแล้วว่าการเต้นของหัวใจก่อให้เกิดคลื่นไฟฟ้า แต่ยังไม่มีเครื่องมือที่ใช้วัดอย่างแม่นยำ ในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และวิลเลิม ไอนต์โฮเฟิน · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม สโตกส์ (แพทย์)

วิลเลียม สโตกส์ (William Stokes; 1 ตุลาคม ค.ศ. 1804 – 10 มกราคม ค.ศ. 1878) เป็นแพทย์ชาวไอริช เกิดที่กรุงดับลิน เป็นบุตรของวิทลีย์ สโตกส์ ศาสตราจารย์ด้านการแพทย์ของมหาวิทยาลัยดับลิน เรียนที่โรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัยเอดินบะระก่อนจะกลับไปทำงานที่โรงพยาบาลมีธในกรุงดับลิน สโตกส์แต่งตำราเกี่ยวกับโรคหัวใจและปอดที่สำคัญสองเล่มคือ A Treatise on the Diagnosis and Treatment of Diseases of the Chest (ตำราการวินิจฉัยและรักษาโรคทรวงอก; ค.ศ. 1837) และ The Diseases of the Heart and Aorta (ตำราโรคหัวใจและเอออร์ตา; ค.ศ. 1854) ในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และวิลเลียม สโตกส์ (แพทย์) · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม ฮาร์วีย์

วิลเลี่ยม ฮาร์วี่ ('''William Harvey'''.; 1 เมษายน ค.ศ. 1578 - 3 มิถุนายน ค.ศ. 1657) เป็นแพทย์ชาวอังกฤษผู้ลบความเชื่อเก่าๆของแพทย์ในยุคศตวรรษที่ 17 ที่มีความเชื่อเกี่ยวกับระบบโลหิตในร่างกาย เขาเป็นผู้ค้นพบการไหลเวียนโลหิตหากทว่ากว่าจะได้รับการยอมรับเขาเสียชีวิตไปเสียแล้ว.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และวิลเลียม ฮาร์วีย์ · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมคุณค่า

วิศวกรรมคุณค่า (value engineering - VE) เป็นการศึกษาคุณค่าของ ผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนการทำงาน สินค้า เครื่องมือ หรือ บริการอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อพัฒนาให้สิ่งที่ถูกนำมาศึกษานั้นมีคุณค่ามากขึ้น โดยยังคงมีคุณค่าพื้นฐานของตัวมันเอง วิศวกรรมคุณค่านั้นถูกกล่าวถึงควบคู่ไปกับการบริหารโครงการ.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และวิศวกรรมคุณค่า · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาการบาดเจ็บ

วิทยาการบาดเจ็บ หรือ วณวิทยา (traumatology) หมายถึงการศึกษาการบาดเจ็บและบาดแผลซึ่งเกิดจากอุบัติเหตุหรือความรุนแรง รวมทั้งบาดแผลจากการผ่าตัดและการซ่อมแซมบาดแผล วิทยาการบาดเจ็บเป็นสาขาวิชาหนึ่งของแพทยศาสตร์ ในบางครั้งอาจจัดเป็นสาขาของศัลยศาสตร์ และสำหรับในประเทศที่ไม่แบ่งวิชาเฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์อุบัติเหตุมักจัดอยู่ในวิชาศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิก.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และวิทยาการบาดเจ็บ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยามะเร็ง

วิทยามะเร็ง หรือ วิทยาเนื้องอก (Oncology) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาแพทยศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเนื้องอกหรือมะเร็ง และเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการเจริญ, การวินิจฉัย, การรักษา และการป้องกันมะเร็ง รากศัพท์ของคำว่า oncology มาจากภาษากรีก onkos (ογκος) หมายถึงก้อนหรือเนื้องอก และ -ology ซึ่งหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยามะเร็งนั้นจะเกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นกายภาพบำบัด, จิตบำบัดหรือการให้คำปรึกษา, พันธุศาสตร์คลินิก ในทางกลับกันแพทย์นั้นต้องประสานงานกับพยาธิแพทย์เพื่อให้เข้าใจถึงธรรมชาติของเนื้องอกเพื่อช่วยในการรักษา วิทยามะเร็งเกี่ยวข้องกั.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และวิทยามะเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาลัยดาร์ตมัธ

ตึกเบเกอร์ มหาวิทยาลัยดาร์ตมัธ วิทยาลัยดาร์ตมัธ (Dartmouth College) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในไอวีลีกในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมือง แฮนโอเวอร์ ในรัฐนิวแฮมป์เชียร์ และเป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาที่ก่อตั้งก่อนช่วงการปฏิวัติอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2312 (ค.ศ. 1769) โดยเงินทุนก่อตั้งมหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งมาจากชาวอินเดียนแดงเผ่าโมฮีแกน โดยในปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) มีนักศึกษาประมาณ 5,600 คน มหาวิทยาลัยดาร์ตมัธมีชื่อเสียงในด้านแพทยศาสตร์ และบริหารธุรกิจ (ประจำปี 2552 ได้ถูกจัดอันดับโดยนิตยสารฟอร์บว่า ในด้านบริหารธุรกิจเป็นอันดับสองของประเท.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และวิทยาลัยดาร์ตมัธ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นคณะทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งที่ 2 ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ต่อจากคณะเภสัชศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์จัดตั้งขึ้นมาเพื่อผลิตแพทย์ในเขตพื้นที่ชนบท และรองรับการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง รวมทั้งการวิจัยทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขในเขตภูม.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ คำว่า "วิทยาศาสตร์" มักถูกใช้เพื่อแทนคำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะกล่าวให้ตรงความหมายแล้ว เราใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์" เพื่อหมายถึง "Exact science" ซึ่งไม่รวมสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เอาไว้ แม้ว่าสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน การแบ่งแยกดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากความแตกต่างในด้านเนื้อหาและธรรมชาติของการศึกษา มิใช่เรื่องของความจริงหรือความถูกต้องแต่อย่างใด คำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษจะมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า "ศาสตร์" หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์สุขภาพ

วิทยาศาสตร์สุขภาพ คือ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ วิทยาศาสตร์สุขภาพสามารถแบ่งออกได้ 2 ส่วน ส่วนแรก คือ การศึกษา วิจัย และความรู้ที่เกี่ยวกับสุขภาพ ส่วนที่ 2 คือ การนำความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาสุขภาพ, รักษาโรค และทำความเข้าใจการทำงานของร่างกายมนุษย์และสัตว์ งานวิจัยด้านนี้วางอยู่บนฐานของชีววิทยา, เคมี และฟิสิกส์ รวมไปถึงความรู้ด้านสังคมศาสตร์ เช่น สังคมวิทยาการแพท.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาทางเดินอาหาร

วิทยาทางเดินอาหาร (Gastroenterology) เป็นสาขาของแพทยศาสตร์ซึ่งศึกษาระบบย่อยอาหารและความผิดปกติของระบบย่อยอาหาร สาขาของการแพทย์เฉพาะทางนี้เน้นถึงโรคของระบบย่อยอาหารรวมพยาธิสภาพตั้งแต่ปากไปจนถึงทวารหนัก แพทย์เฉพาะทางที่ศึกษาด้านนี้เรียกว่า อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร (Gastroenterologist) ซึ่งต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต แพทย์ประจำบ้านด้านอายุรศาสตร์ และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดด้านโรคระบบทางเดินอาหาร วิทยาตับ (Hepatology) เน้นถึงการศึกษาตับ ตับอ่อน และทางเดินน้ำดี เป็นสาขาย่อยของวิทยาทางเดินอาหาร หมวดหมู่:การแพทย์เฉพาะทาง.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และวิทยาทางเดินอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาต่อมไร้ท่อ

วิทยาต่อมไร้ท่อ (endocrinology; มาจากภาษากรีกโบราณ ἔνδον, endon, "ภายใน"; κρίνω, krīnō, "แยก"; และ -λογία, -logia) เป็นสาขาหนึ่งของชีววิทยาและแพทยศาสตร์ว่าด้วยระบบต่อมไร้ท่อ โรคของระบบต่อมไร้ท่อ และการหลั่งสิ่งที่เรียก ฮอร์โมน นอกจากนี้ยังศึกษาบูรณาการและการเจริญ การเพิ่มจำนวน การเติบโตและการเปลี่ยนไปทำหน้าที่เฉพาะ (differentiation) และกัมมันตภาพทางจิตวิทยาหรือพฤติกรรมของเมแทบอลิซึม การเจริญเติบโต การทำหน้าที่ของเนื้อเยื่อ การหลับ การย่อย การหายใจ การขับถ่าย อารมณ์ ความเครียด การหลั่งน้ำนม การเคลื่อนไหว การสืบพันธุ์และการรับรู้สัมผัสที่เกิดจากฮอร์โมน สาขาเฉพาะทางได้แก่ วิทยาต่อมไร้ท่อพฤติกรรมและวิทยาต่อมไร้ท่อเปรียบเทียบ ระบบต่อมไร้ท่อประกอบด้วยหลายต่อมในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายซึ่งหลั่งฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรงโดยไม่ผ่านระบบท่อ ฮอร์โมนมีหน้าที่และกลไกการออกฤทธิ์หลายอย่าง ฮอร์โมนชนิดหนึ่งมีผลหลายอย่างต่ออวัยวะเป้าหมาย และในทางกลับกัน อวัยวะเป้ามายหนึ่งอาจได้รับผลจากฮอร์โมนมากกว่าหนึ่งชนิด หมวดหมู่:ระบบต่อมไร้ท่อ.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และวิทยาต่อมไร้ท่อ · ดูเพิ่มเติม »

ศัลยศาสตร์

ัลยแพทย์ทรวงอกกำลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ศัลยศาสตร์ หรือ ศัลยกรรม (surgery) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการใช้หัตถการหรือเครื่องมือในการผ่าตัดเข้าในร่างกายผู้ป่วยเพื่อสืบค้นอาการ และ/หรือรักษาความผิดปกติ เช่น โรค หรือการบาดเจ็บต่าง ๆ เพื่อช่วยในการแก้ไขการทำงานหรือรูปลักษณ์ของร่างกาย หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ เรียกแพทย์ที่ศึกษามาเฉพาะทางศัลยศาสตร์ว่า ศัลยแพทย์ (surgeon) ศัลยแพทย์ในประเทศไทยต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และสำเร็จการศึกษาแพทย์ประจำบ้านด้านศัลยศาสตร์แล้วได้ผ่านการสอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ ของแพทยสภา และเป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไท.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และศัลยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลาจารึก

ลาจารึกของอียิปต์โบราณ ศิลาจารึก เป็นวรรณกรรมชนิดลายลักษณ์อักษรอย่างหนึ่ง อาศัยการบันทึกบนเนื้อศิลา ทั้งชนิดเป็นแผ่น และเป็นแท่ง โดยใช้โลหะแหลมขูดเนื้อศิลาให้เป็นตัวอักษร เรียกว่า จาร หรือ การจารึก ศิลาจารึกมีคุณค่าในเชิงบันทึกทางประวัติศาสตร์ ผู้จารึกหรือผู้สั่งให้มีศิลาจารึกมักจะเป็นผู้มีอำนาจ มิใช่บุคคลทั่วไป เนื้อหาที่จารึกมีความหลากหลายตามความประสงค์ของผู้จารึก เช่น บันทึกเหตุการณ์ บันทึกเรื่องราวในศาสนา บันทึกตำรับตำราการแพทย์และวรรณคดี เป็นต้น จารึกบนแท่งศิลานั้นมีความคงทน คงสภาพอยู่ได้นับพันๆ ปี ด้วยเหตุนี้ นักประวัติศาสตร์และนักภาษาศาสตร์จึงสามารถสืบสานความรู้ย้อนไปได้นับพันๆ ปี โดยเฉพาะความรู้ด้านอักษร และภาษา ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา จารึกที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ ได้แก.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และศิลาจารึก · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะโรมาเนสก์

วัดเซ็นต์ออสเตรมอยน์, อิซัว, ฝรั่งเศส ศิลปะโรมาเนสก์ (Romanesque art) หรือเรียกกันว่า ศิลปะนอร์มัน หมายถึงศิลปะที่เกิดขึ้นในยุโรป ราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษ 12 ศิลปะแบบโรมาเนสก์พื้นฐานของศิลปะกอธิคซึ่งเริ่มมีบทบาทเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษ 13 การศึกษาเรื่องศิลปะยุคกลาง เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษ 19 ทำให้มีการจัดแบ่งศิลปะเป็นสมัยๆ คำว่า โรมาเนสก์ เป็นคำที่ใช้บรรยายศิลปะตะวันตกโดยเฉพาะ สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษ 11 ถึง 12 คำนี้ทั้งมีประโยชน์และทำให้มีความเข้าใจผิด คำนี้มาจากการที่ ช่างปั้นจากประเทศฝรั่งเศสทางไต้ไปจนถึงประเทศสเปนมีความรู้เรื่องอนุสาวรีย์แบบโรมัน แต่ศิลปะแบบโรมาเนสก์ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับความคิดของศิลปะแบบโรมัน นอกจากเป็นการฟื้นฟูวิธีการก่อสร้างแบบโรมัน เช่นเสาที่ใช้ในอาราม Saint-Guilhem-le-Désert หัวเสาที่วัดนี้แกะเป็นรูปใบอาแคนธัส (acanthus) ตกแต่งด้วยรอบปรุซึ่งจะพบตามอนุสาวรีย์แบบโรมัน อีกตัวอย่างหนึ่งคือเพดานวัดที่ Fuentidueña ประเทศสเปนเป็นแบบโค้งเหมือนถังไม้ (barrel vault) ซึ่งใช้กันทั่วไปในสิ่งก่อสร้างของโรมัน แม้จะเน้นความเกี่ยวข้องกับวิธีการก่อสร้างแบบโรมัน นักประวัติศาสตร์ศิลปะมืได้กล่าวถึงอิทธิพลอื่นๆที่มีต่อศิลปะแบบโรมาเนสก์ เช่นศิลปะทางตอนเหนือของทวีปยุโรป และ ศิลปะไบแซนไทน์ หรือการวิวัฒนาการของ ศิลปะโรมาเนสก์เอง.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และศิลปะโรมาเนสก์ · ดูเพิ่มเติม »

ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นโรงพยาบาลในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 222 หมู่ 1 ถนนติวานนท์ ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ · ดูเพิ่มเติม »

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก

มเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไท.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก · ดูเพิ่มเติม »

สภาวะไม่พูดและเสียการเคลื่อนไหว

วะไม่พูดและเสียการเคลื่อนไหว (Akinetic mutism) เป็นศัพท์ทางแพทย์ ที่ระบุผู้ป่วยที่มักจะไม่เคลื่อนไหวเพราะสภาวะเสียการเคลื่อนไหว (akinesia) และไม่พูดเพราะสภาวะพูดไม่ได้หรือสภาวะไม่ยอมพูด (mutism) เป็นสภาวะที่เกิดจากความเสียหายอย่างรุนแรงของสมองกลีบหน้า คนไข้มักจะมีอาการที่ไม่ตอบสนองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีการเคลื่อนไหวและการพูดจาที่น้อยลงไป ตัวอย่างของเหตุความผิดปกตินี้ก็คือเนื้องอกเยื่อหุ้มสมอง (meningioma) ที่ร่องสมองของระบบการได้กลิ่น (olfactory groove) ความผิดปกตินี้เห็นได้ด้วยในอาการขั้นสุดท้ายของโรคครูซเฟล์ดต-เจคอบ (Creutzfeldt-Jakob Disease) ซึ่งเป็นโรคทางสมองที่มีอาการแย่ลงเรื่อยๆ และในกรณีของสมองอักเสบแบบไม่เคลื่อนไหว (encephalitis lethargica) แบบฉับพลัน สภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นในโรคหลอดเลือดสมองที่มีความเสียหายของเส้นเลือดในเขตสมองใหญ่ด้านหน้า เหตุอีกอย่างหนึ่งก็คือพิษในประสาทที่เกิดจากยาเช่น TacrolimusTacrolimus และ Cyclosporine เป็นยากดระบบภูมิคุ้มกัน โดยหลักใช้ในการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ เพื่อลดความเสี่ยงที่ร่างกายของคนไข้จะไม่รับอวัยวะใหม่ และ Cyclosporine เหตุอีกอย่างหนึ่งของทั้งสภาวะเสียการเคลื่อนไหวและสภาวะพูดไม่ได้ก็คือการสูญเสียรอยนูนซิงกูเลต (cingulate gyrus) ในระบบลิมบิก การเข้าไปทำลายรอยนูนซิงกูเลตเป็นวิธีการรักษาโรคจิตวิธีหนึ่ง รอยโรคดังที่กล่าวมานี้ก่อให้เกิดสภาวะเสียการเคลื่อนไหว สภาวะพูดไม่ได้ สภาวะไร้อารมณ์ และสภาวะไม่ตอบสนองต่อตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด มีการคาดว่า คอร์เทกซ์ซิงกูเลตด้านหน้า (Anterior cingulate cortex) เป็นผู้ส่งองค์กระตุ้นทั่วระบบ ที่เป็นตัวกระตุ้นระบบการตัดสินใจ ดังนั้น เมื่อคอร์เทกซ์ซิงกูเลตด้านหน้ามีความเสียหาย จึงก่อให้เกิดสภาวะไม่พูดและเสียการเคลื่อนไหว.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และสภาวะไม่พูดและเสียการเคลื่อนไหว · ดูเพิ่มเติม »

สมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกัน

ำนักงานของสมาคมในเมืองวอชิงตัน ดี.ซี. สมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกัน (American Association for the Advancement of Science, ตัวย่อ AAAS) เป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรนานาชาติในประเทศสหรัฐอเมริกา มีจุดประสงค์เพื่อโปรโหมตการร่วมมือกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์ พิทักษ์รักษาอิสรภาพทางวิทยาศาสตร์ สนับสนุนความรับผิดชอบทางวิทยาศาสตร์ และสนับสนุนการศึกษาและการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษยชาติ เป็นสมาคมวิทยาศาสตร์ทั่วไปที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีสมาชิกทั้งที่เป็นบุคคลและองค์กรถึง 126,995 รายในท้ายปี 2551 เป็นผู้ดำเนินการพิมพ์วารสารวิทยาศาสตร์ที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันรายสัปดาห์ Science ซึ่งมีสมาชิกประจำที่ 138,549 ราย และเป็นวารสารแนวหน้าระดับโลกวารสารหนึ่ง.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และสมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกัน · ดูเพิ่มเติม »

สมิธสัน เทนแนนต์

มิธสัน เทนแนนต์ (Smithson Tennant; 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1761 – 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1815) เป็นนักเคมีชาวอังกฤษ เกิดที่เมืองเซลบี เป็นบุตรของแคลเวิร์ต เทนแนนต์และแมรี ดอนต์ เทนแนนต์เรียนที่โรงเรียนเบฟเวอร์ลีย์แกรมมาร์และเรียนวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเอดินบะระ ก่อนจะย้ายไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เทนแนนต์ค้นพบว่าเพชรและแกรไฟต์ประกอบขึ้นจากคาร์บอนเหมือนกัน ในด้านการเกษตร เทนแนนต์แนะนำให้ใช้แคลเซียมคาร์บอเนตในการปัญหาดินเปรี้ยว ในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และสมิธสัน เทนแนนต์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง พลตำรวจเอกหญิง สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พระนามเดิม: สังวาลย์ ตะละภัฏ; พระราชสมภพ: 21 ตุลาคม พ.ศ. 2443 ณ จังหวัดนนทบุรี — สวรรคต: 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ณ กรุงเทพมหานคร) เป็นพระชายาในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเป็นพระอัยยิกาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พระองค์มีพระนามที่นิยมเรียกกันว่า สมเด็จย่า ทั้งนี้พระองค์ยังได้ประกอบพระราชกรณียกิจเยี่ยมราษฎรชาวไทยภูเขาที่อาศัยในถิ่นทุรกันดาร และได้พระราชทานความช่วยเหลือผ่านทางเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง เปรียบเสมือนพระองค์เสด็จมาจากฟากฟ้าช่วยให้พวกเขามีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น ชาวไทยภูเขาจึงถวายพระสมัญญานามว่า "แม่ฟ้าหลวง"มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัม.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ตราจารย์ (พิเศษ) พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (ประสูติ: 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฉบับกาญจนาภิเษก,; สิ้นพระชนม์: 2 มกราคม พ.ศ. 2551 โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร) เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา) เป็นสมเด็จพระเชษฐภคินีในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเป็นสมเด็จพระราชปิตุจฉาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจมากมายแก่ประเทศชาติ เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีโครงการในพระอุปถัมภ์หลายร้อยโครงการ ทั้งด้านการศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การแพทย์และการสาธารณสุข การต่างประเทศ การศาสนา และอื่น ๆ กับทั้งยังมีพระปรีชาสามารถด้านการเขียน ด้านการกีฬา และด้านการถ่ายภาพ พระองค์มีพระอาการผิดปกติเกี่ยวกับพระนาภี และได้เข้าประทับรักษาพระอาการประชวร ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช จนกระทั่งวันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551 พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ และสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 02:54 นาฬิกา สิริพระชนมายุ 84 พรรษ.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

มเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ นามเดิม ช่วง บุนนาค (พ.ศ. 2351 – พ.ศ. 2425) เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ของสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการเมืองการปกครองของสยาม โดยเริ่มเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งนับเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่ง "สมเด็จเจ้าพระยา" เป็นคนสุดท้าย นอกจากนี้ ท่านยังมีบทบาทในการอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองสิริราชสมบัติและได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2416 ด้วย นอกจากด้านการปกครองแล้ว ท่านยังมีบทบาทสำคัญในด้านวรรณกรรม การละคร และดนตรี รวมถึงเป็นแม่กองในการก่อสร้าง บูรณะ ซ่อมแซม สถานที่ต่าง ๆ มากมาย เช่น พระนครคีรี พระอภิเนาว์นิเวศน์ คลองผดุงกรุงเกษม เป็นต้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มีชีวิตยืนยาวถึง 5 รัชกาล ตั้งแต่เกิดในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และถึงแก่พิราลัยด้วยโรคลมขณะที่กำลังเดินทางกลับจากราชบุรี เมื่อ พ.ศ. 2425 ในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 โดยมีอายุยืนยาวถึง 74 ปี.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

สะอ์ดี

อะบูมุฮัมหมัด มุชริฟุดดีน มุศเลี้ยะห์ บิน อับดิลลา บิน มุชัรริฟ เรียกสั้น ๆ กันว่า สะอ์ดี (ปี ฮ.ศ. 606-690) เป็นนักกวีและนักเขียนภาษาเปอร์เซียที่มีชื่อเสียงชาวอิหร่าน บรรดานักอักษรศาสตร์ให้ฉายานามท่านว่า ปรมาจารย์นักพูด กษัตรย์นักพูด ผู้อาวุโสที่สูงส่ง และเรียกขานทั่วไปกันว่า อาจารย์ ท่านศึกษาใน นิซอมียะฮ์แห่งเมืองแบกแดด ซึ่งถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางวิชาการของโลกอิสลามในยุคนั้น หลังจากนั้นท่านก็ได้เดินทางไปตามเมืองต่างๆ เช่นเมืองชาม และฮิญาซ ในฐานะนักบรรยายธรรม แล้วสะอ์ดีก็ได้เดินทางกลับมายังมาตุภูมิของท่านที่เมืองชีรอซและใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นจนกระทั่ววาระสุดท้ายของชีวิต สุสานของท่านอยู่ที่เมืองชีรอซ ซึ่งถูกรู้จักกันว่า สะอ์ดียะฮ์ ท่านใช้ชีวิตอยู่ในยุคการปกครองของSalghurids ในเมืองชีรอซ ช่วงการบุกของมองโกลยังอิหร่านอันเป็นเหตุให้การปกครองต่างๆ ในยุคนั้นล่มสลายลง เช่น Khwarazmian dynasty และอับบาซี ทว่ามีเพียงดินแดนฟอร์ซ รอดพ้นจากการบุกของพวกมองโกล เพราะยุทธศาสตร์ของอะบูบักร์ บิน สะอด์ ผู้ปกครองที่เลืองชื่อแห่งSalghurids และอยู่ในศัตวรรษที่หกและเจ็ดซึ่งเป็นยุคการเจริญรุ่งเรืองของแนวทางซูฟีในอิหร่าน โดยเห็นได้จากอิทธิพลทางความคิดและวัฒนธรรมของยุคนี้ได้จากผลงานของสะอ์ดี นักค้นคว้าส่วนใหญ่เชื่อว่าสะอ์ดีได้รับอิทธิพลจากคำสอนของมัซฮับชาฟิอีและอัชอะรี จึงมีแนวคิดแบบนิยัตินิยม อีกด้านหนึ่งก็ท่านเป็นผู้ที่มีความรักต่อครอบครัวท่านศาสดา (ศ็อลฯ) อีกด้วย ก่อนหน้านั้นสะอ์ดี เป็นผู้ที่ยึดมั่นในจริยธรรมบนพื้นฐานของปรัชญาจริยะ เป็นนักฟื้นฟู ฉะนั้นท่านจึงไม่ใช่ผู้ที่ฝักไฝ่การเชื่ออย่างหลับหูหลับตาตามที่กล่าวอ้างกัน กลุ่มIranian modern and contemporary art ถือว่าผลงานของท่านไร้ศีลธรรม ไม่มีคุณค่า ย้อนแย้งและขาดความเป็นระบบ สะอ์ดีมีอิทธิพลต่อภาษาเปอร์เซียอย่างมาก ในลักษณะที่ว่าภาษาเปอร์เซียปัจจุบันมีความใกล้เคียงกับภาษาของสะอ์ดีอย่างน่าสนใจ ผลงานของท่านถูกนำมาใช้สอนในโรงเรียน และหอสมุดในฐานะตำราอ้างอิงการเรียนการสอนภาษาและไวยากรณ์ภาษาเปอร์เซียอยู่หลายยุคหลายสมัย คำพังเพยที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอิหร่านปัจจุบันก็ได้มาจากผลงานของท่าน แนวการเขียนของท่านแตกต่างไปจากนักเขียนร่วมสมัยหรือนักเขียนก่อนหน้าท่านโดยท่านจะใช้ภาษาที่ง่าย สั้นและได้ใจความ กระทั่งมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วในยุคของท่าน ผลงานของสะอ์ดีเรียกกันว่าง่ายแต่ยาก มีทั้งเกล็ดความรู้ มุกขำขันที่ซ่อนอยู่หรือกล่าวไว้อย่างเปิดเผย ผลงานของท่านรวบรวมอยู่ในหนังสือ กุลลียอเตสะอ์ดี ซึ่งครอบคลุมทั้ง ฆุลิสตอนที่มีฉันทลักษณ์แบบนัษร์ หนังสือ บูสตอนที่มีฉันทลักษณ์แบบมัษนะวี และฆอซลียอต นอกจากนั้นท่านยังมีผลงานด้านร้อยกรองที่มีฉันทลักษณ์อื่นๆ อีก เช่น กอซีดะฮ์ ก็อฏอะฮ์ ตัรญีอ์บันด์ และบทเดี่ยวทั้งที่เป็นภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับ ส่วนมากฆอซลียอเตสะอ์ดีจะพูดถึงเรื่องของความรัก แม้ว่าท่านจะกล่าวถึงความรักในเชิงรหัสยะ (อิรฟาน) ก็ตาม ฆุลิสตอนและบูสตอน เป็นตำราจริยธรรม ซึ่งมีอิทธิต่อชาวอิหร่านและแม้แต่นักวิชาการตะวันตกเองก็ตาม เช่น วอลแตร์ และ โยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ สะอ์ดี มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นอย่างมากในยุคของท่าน ผลงานของท่านที่เป็นภาษาเปอร์เชียหรือที่แปลแล้วไปไกลถึงอินเดีย อานาโตเลีย และเอเชียกลาง ท่านเป็นนักกวีชาวอิหร่านคนแรกที่ผลงานของท่านถูกแปลเป็นภาษาต่างๆ แถบยุโรป นักกวีและนักเขียนชาวอิหร่านต่างก็ลอกเลียนแบบแนวของท่าน ฮาฟิซก็เป็นนักกวีท่านหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลการเขียนบทกวีมาจากท่านสะอ์ดี นักเขียนยุคปัจจุบัน เช่น มุฮัมหมัด อาลี ญะมอลซอเดะฮ์ และอิบรอฮีม ฆุลิสตอน ก็ได้รับอิทธิพลมาจากท่านเช่นกัน ต่อมาผลงานของสะอ์ดีถูกถ่ายทอดออกเป็นคีตะ ซึ่งมีนักขับร้องที่มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น ทอจ อิศฟะฮอนี, มุฮัมหมัดริฎอ ชะญะริยอน และฆุลามฮุเซน บะนอน อิหร่านได้ให้วันที่ 1 เดือนอุรเดเบเฮชต์ วันแรกของการเขียนหนังสือฆุลิสตอน เป็นวันสะอ์ดี เพื่อเป็นการเทิดเกียรติท่าน.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และสะอ์ดี · ดูเพิ่มเติม »

สังคมสงเคราะห์

ังคมสงเคราะห์ศาสตร์เป็นสาขาวิชาการและวิชาชีพซึ่งมุ่งปรับปรุงคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของปัจเจกบุคคล กลุ่มหรือชุมชน โดยดำเนินการผ่านการวิจัย นโยบาย การจัดการชุมชน การปฏิบัติโดยตรง และการสอนในนามของผู้ที่ประสบความยากจนหรือผู้ที่ได้รับหรือรู้เห็นความอยุติธรรมในสังคมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน การวิจัยมักมุ่งไปยังขอบเขต เช่น การพัฒนามนุษย์ นโยบายสังคม การบริหารสาธารณะ การประเมินผลโครงการ และการพัฒนาระหว่างประเทศและชุมชน นักสังคมสงเคราะห์จัดเป็นกลุ่มวิชาชีพท้องถิ่น ระดับชาติ ภูมิภาคและระหว่างประเทศ สังคมสงเคราะห์ ซึ่งเป็นแวดวงสหวิทยาการ ครอบคลุมทั้งทฤษฎีวิชาเศรษฐศาสตร์ การศึกษา สังคมวิทยา การแพทย์ ปรัชญา การเมืองและจิตวิท.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และสังคมสงเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

สารภูมิต้านทานโมโนโคลน

ผังแสดงวิธีการผลิตสารภูมิต้านทานโมโนโคลน สารภูมิต้านทานโมโนโคลน หรือ สารภูมิต้านทานจากโคลนของเซลล์เดียว (monoclonal antibody ตัวย่อ mAb, moAb) เป็นสารภูมิต้านทานที่ผลิตโดยเซลล์ภูมิคุ้มกันเหมือน ๆ กันที่เป็นโคลนของเซลล์บรรพบุรุษตัวเดียว สารเช่นนี้อาจมีสัมพรรคภาพแบบพันธะเดี่ยว/มีเวเลนซีเดียว คือมันจะจับกับ epitope ซึ่งก็คือส่วนแอนติเจนที่สารภูมิต้านทานรู้จักแบบเดียว เทียบกับสารภูมิต้านทานโพลีโคลน (polyclonal antibodies) ที่สามารถจับกับ epitope หลายอย่างและปกติจะผลิดโดยใช้สายพันธุ์ของเซลล์พลาสมา (คือ เซลล์ภูมิคุ้มกันที่หลั่งสารภูมิต้านทาน) หลายสายพันธุ์ สารภูมิต้านทานโมโนโคลนจำเพาะสองเป้าหมาย (Bispecific monoclonal antibodies) ก็สามารถสร้างขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเพิ่มเป้าหมายการรักษาของสารภูมิต้านทานโมโนโคลนชนิดเดียวให้เป็น epitope สองส่วน ไม่ว่าจะเป็นสารอะไรก็ตาม ก็สามารถผลิตสารภูมิต้านทานโมโนโคลนที่จับกับสารนั้นโดยเฉพาะ ๆ ซึ่งสามารถใช้ตรวจจับหรือทำสารนั้นให้บริสุทธิ์ นี่ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในสาขาเคมีชีวภาพ จุลชีววิทยา และการแพทย์ เมื่อใช้เป็นยา ชื่อยาแบบไม่มีเจ้าของจะยุติด้วยคำเติมท้ายคือ mab (เช่น bevacizumab) และผู้ชำนาญการในด้านการรักษาทางภูมิคุ้มกัน (immunotherapy) จะใช้ mab เป็นชื่อย่อยาประเภทนี้ หมวดหมู่:วิทยาภูมิคุ้มกัน หมวดหมู่:เทคโนโลยีชีวภาพ หมวดหมู่:ระบบภูมิคุ้มกัน หมวดหมู่:รีเอเจนต์เพื่อเคมีชีวภาพ.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และสารภูมิต้านทานโมโนโคลน · ดูเพิ่มเติม »

สารสนเทศการแพทย์

รสนเทศการแพทย์ (Medical Informatics) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฎีการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ เครือข่าย ซึ่งวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับนามธรรม หรือความคิดเชิงทฤษฎี เช่น การวิเคราะห์และสังเคราะห์ขั้นตอนวิธี ไปจนถึงระดับรูปธรรม เช่น ทฤษฎีภาษาโปรแกรม ทฤษฎีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ทฤษฎีฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และ ทฤษฎีเครือข่าย รวมทั้งการศึกษาศาสตร์ทางด้านการแพทย์ด้ว.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และสารสนเทศการแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

รานุกรมไทยสำหรับเยาวชน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นสารานุกรมภาษาไทยจัดทำขึ้นเป็นรูปเล่ม โดยมีเนื้อหาบางส่วนเผยแพร่ในระบบออนไลน์ เป็นสารานุกรมไทยแบบเป็นชุด เน้นความรู้ที่เกิดขึ้นและใช้อยู่ในประเทศไทย จัดทำโดยคนไทย เพื่อให้คนไทยทุกเพศทุกวัยมีโอกาสได้อ่าน แต่ละเล่มรวบรวมเนื้อเรื่องจากหลากหลายสาขาวิชา เนื้อหาของเรื่องต่างๆ เรียบเรียงให้เหมาะสมกับ 3 ระดับความรู้ ให้แก่เด็กรุ่นเล็ก เด็กรุ่นกลาง และเด็กรุ่นใหญ่ รวมทั้งผู้ใหญ่ที่สนใจทั่วไป แต่ละเรื่องเริ่มต้นด้วยเนื้อหาของระดับเด็กรุ่นเล็ก ตามด้วยเนื้อหาของรุ่นกลางและรุ่นใหญ่ตามลำดับ เนื้อหาในแต่ละระดับพิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาดต่างกัน.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน · ดูเพิ่มเติม »

สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นสถาบันการศึกษาทางการแพทย์ในกำกับของรัฐบาลแห่งที่ 2 ของประเทศไทย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้เริ่มจัดทำโครงการพัฒนาระบบสุขภาพ จังหวัดนครศรีธรรมราช เสนอต่อนายกรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2547 และเพื่อพัฒนาสุขภาพชุมชน ตามความเรียกร้องของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช และร่วมมือกับโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท กระทรวงสาธารณสุข โดยสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ำนักงานราชบัณฑิตยสภา (Office of the Royal Society) หรือชื่อเดิมว่า ราชบัณฑิตยสถาน (the Royal Institute), ข่าวประชาสัมพันธ์ เว็บไซต.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และสำนักงานราชบัณฑิตยสภา · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม

กลฟิช (GloFish) สัตว์ดัดแปรพันธุกรรมอย่างแรกที่มีขายเป็นสัตว์เลี้ยง สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (genetically modified organism, GMO) คือ สิ่งมีชีวิตที่องค์ประกอบทางพันธุกรรมถูกดัดแปลงโดยใช้กลวิธีทางพันธุวิศวกรรม จีเอ็มโอเป็นแหล่งของยาและอาหารดัดแปรพันธุกรรมและมีใช้แพร่หลายในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และในการผลิตสินค้าอื่น คำว่าจีเอ็มโอคล้ายกับศัพท์กฎหมายเฉพาะวงการ "สิ่งมีชีวิตดัดแปรที่ยังมีชีวิต" (living modified organism) ที่นิยามว่า "สิ่งมีชีวิตที่ยังมีชีวิตใด ๆ ที่มีการรวมสารพันธุกรรมใหม่ที่ได้มาโดยการใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่" ในพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ (Cartagena Protocol on Biosafety) ที่กำกับการค้าจีเอ็มโอที่ยังมีชีวิตระหว่างประเทศ หนูดัดแปรพันธุกรรมตัวแรกกำเนิดในปี 2524 พืชต้นแรกผลิตในปี 2526 และมนุษย์ดัดแปรพันธุกรรมคนแรก (ดีเอ็นเอไมโทคอนเดรียดัดแปร) เกิดเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2540.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา)

อาคาร 50 ของเอ็นไอเอช สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health) หรือ เอ็นไอเอช (NIH) เป็นหน่วยงานวิจัยในสหรัฐอเมริการับผิดชอบในด้านงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทางด้านการแพทย์ โดยมีหน่วยงานย่อย 27 สถาบัน หน่วยงานก่อตั้งในปี พ.ศ. 2430 ภายใต้ชื่อ Laboratory of Hygiene ได้เติบโตและเปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่อปัจจุบันในปี พ.ศ. 2473 สถาบันปัจจุบันตั้งอยู่ที่เมืองบาเธสดา ในรัฐแมริแลน.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันแคโรลินสกา

ันแคโรลินสกา (สวีเดน: Karolinska Institutet) เป็นสถาบันที่สอนทางด้านแพทย์และศัลยศาสตร์ เป็นโรงเรียนแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในสวีเดน และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป มีชื่อเดิมว่า Royal Caroline Institute http://ki.se/ki/jsp/polopoly.jsp?d.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และสถาบันแคโรลินสกา · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์

ันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology, ตัวย่อ เอ็มไอที, เรียกโดยชุมชน MIT ว่า "the Institute แปลว่า สถาบัน") เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ที่มีชื่อเสียงมานานในเรื่องงานวิจัยและการศึกษาในสาขาเคมี ฟิสิกส์ และวิศวกรรมศาสตร์สาขาต่าง ๆ แล้วเริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้นต่อ ๆ มาในสาขาชีววิทยา เศรษฐศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และการจัดการ MIT ตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ · ดูเพิ่มเติม »

สตาญิสวัฟ แลม

ตาญิสวัฟ แลม (Stanisław Lem; 12 กันยายน ค.ศ. 1921 – 27 มีนาคม ค.ศ. 2006) เป็นนักเขียนชาวโปแลนด์ มีผลงานที่เป็นที่รู้จักคือ Solaris ที่ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์แล้ว 3 ครั้ง ผลงานของเขาได้รับการแปลไปแล้วกว่า 41 ภาษาและขายได้มากกว่า 45 ล้านเล่มทั่วโลก.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และสตาญิสวัฟ แลม · ดูเพิ่มเติม »

สติ (จิตวิทยา)

ในสาขาจิตวิทยาของชาวตะวันตก สติ (Mindfulness แปลตามความหมายที่ใช้ได้ว่า "ความเป็นผู้มีสติ" "สติ" และ "การเจริญสติ") เป็น "การเพ่งความใส่ใจของตนไปที่อารมณ์ ความคิด และความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยตั้งใจ โดยยอมรับ โดยไม่มีการตัดสิน" ซึ่งสามารถฝึกได้โดยวิธีปฏิบัติกรรมฐาน ที่ดัดแปลงมาจากการเจริญอานาปานสติของชาวพุทธ เป็นวิธีการที่เริ่มเกิดความนิยมในโลกตะวันตกเพราะโปรแกรม Mindfulness-based stress reduction (ตัวย่อย MBSR แปลว่า การลดความเครียดอาศัยสติ) ของ.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และสติ (จิตวิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

หมู่บ้านบุศรินทร์

หมู่บ้านบุศรินทร์ วงแหวน-รัตนาธิเบศร.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และหมู่บ้านบุศรินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์

ตราจารย์ หม่อมราชวงศ์ ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ (25 กันยายน 2490 -) เกิดที่กรุงเทพมหานคร นักวิจัยไทยที่มีผลงานดีเด่นในสาขาชีวเคมี และชีวเคมีศึกษา มีความสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับโปรตีนและเอนไซม์ และเน้นการสอนและการวิจัยทางด้านนี้มาตลอดระยะเวลากว่า 35 ปี เป็นผู้ก่อตั้งชมรมวิจัยโปรตีนแห่งประเทศไทยขึ้น เมื่อ ปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และหม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ · ดูเพิ่มเติม »

หม่าฟู่หยา หัวใจเพื่อบัลลังก์

หม่าฟู่หยา หัวใจเพื่อบัลลังก์ (The Glamorous Imperail Concubine) เป็นละครโทรทัศน์จีนที่ถ่ายทำเมื่อปี ค.ศ. 2011 กล่าวถึงพระประวัติของ หม่า ฟู่หยา นำแสดงโดย หลิน ซินหรู รับบท หม่า ฟู่หยา ออกอากาศทางช่อง 3 แฟมิลี่ ละครเรื่องนี้ออกอากาศทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 10.00 น. - 11.00 น.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และหม่าฟู่หยา หัวใจเพื่อบัลลังก์ · ดูเพิ่มเติม »

หนูหริ่ง

ระวังสับสนกับสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่กว่า: หมูหริ่ง บุคคลดูที่: สมบัติ บุญงามอนงค์ หนูหริ่ง เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ในวงศ์ Murinae ในวงศ์ใหญ่ Muridae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mus หนูหริ่งเป็นหนูที่มีขนาดเล็ก มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับหนูในสกุล Rattus แต่ก็ยังมีขนาดเล็กกว่า แม้แต่หนูจี๊ด (R. exulans) ซึ่งเป็นหนูที่มีขนาดเล็กที่สุดในสกุล หนูหริ่งก็ยังเล็กกว่า ตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 1–1.5 เดือน ขณะที่ตัวผู้ 1–2 เดือน หนูหริ่งเป็นหนูอีกจำพวกหนึ่งที่สามารถพบได้ทั่วไปทั้งในบ้านเรือนและในพื้นที่เกษตรกรรมด้วย ถือเป็นหนูนา ที่เป็นศัตรูพืชที่สำคัญอีกจำพวกหนึ่งรวมกับหนูในสกุลอื่น หนูหริ่งชนิดที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ หนูหริ่งบ้าน (M. musculus) ซึ่งเป็นหนูอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วไปในบ้านเรือน ซึ่งเป็นชนิดที่นิยมนำมาเป็นสัตว์ทดลองในทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ และได้มีการพัฒนาสายพันธุ์จนกลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลิน ในแบบที่เป็นหนูเผือกทั้งตัว หรือมีสีสันที่หลากหลายในตัวเดียว เรียกว่า "หนูถีบจักร" หรือ "หนูขาว" โดยเริ่มครั้งแรกมาจากพระราชวังในจีนและญี่ปุ่น นอกจากนี้แล้ว หนูมาซิโดเนีย (M. macedonicus) ที่แพร่กระจายพันธุ์ในภูมิภาคเมเตอร์เรเนียนและประเทศในแถบตะวันออกกลางที่ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ยังเป็นสัตว์รังควานที่รบกวนมนุษย์มานานแล้วถึง 15,000 ปี ซึ่งเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นยุคก่อนที่มนุษย์จะรู้จักการเพาะปลูกเสียอีก โดยเข้ามาหาอาหารถึงในชุมชนมนุษย์ โดยมีหลักฐานเป็นฟอสซิลฟันของหนูชนิดนี้นับพันตัว ปัจจุบันได้มีการอนุกรมวิธานหนูหริ่งไว้ประมาณ 38 ชนิด ในประเทศไทยพบทั้งหมด 6 ชนิด นอกจากหนูหริ่งบ้านแล้ว ยังมี หนูหริ่งใหญ่ (M. cookii), หนูหริ่งนาหางสั้น (M. cervicolor), หนูหริ่งนาหางยาว (M. caroli), หนูหริ่งป่าใหญ่ขนเสี้ยน (M. shotridgei) และหนูหริ่งป่าเล็กขนเสี้ยน (M. pahari).

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และหนูหริ่ง · ดูเพิ่มเติม »

อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายกราชบัณฑิตยสถาน และ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบประสาทและระบบสมองของไทย บิดาของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายกรัฐมนตรี คนที่ 27 ของประเทศไท.น.อรรถสิทธิ์ เกิดวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 เป็นบุตรคนที่ 7 ในจำนวน 10 คนของนายโฆสิต เวชชาชีวะ น้องชายของพระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีพี่ชายคือนายนิสสัย เวชชาชีวะ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ที่เป็นบิดาของนายสุรนันท์ เวชชาชีวะ นักการเมืองพรรคไทยรักไทย และเป็นพี่ชายของนายวิทยา เวชชาชีวะ ที่เป็นอดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศเช่นกัน ระหว่างเป็นคณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล น.อรรถสิทธิ์ เป็นผู้ริเริ่มโครงการศูนย์วินิจฉัยก้าวหน้าและรังสีร่วมรักษา (AIMC) เป็นโครงการนำร่องของการบริหารงานภายใต้การกำกับดูแลของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สังกัดศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ มีระบบบริหารจัดการแบบพิเศษ โดยมูลนิธิรามาธิบดี เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูง.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และอรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ · ดูเพิ่มเติม »

ออยเกน บลอยเลอร์

ล์ ออยเกน บลอยเลอร์ (Paul Eugen Bleuler,; 30 เมษายน ค.ศ. 1857 – 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1939) เป็นจิตแพทย์และนักสุพันธุศาสตร์ ชาวสวิส เกิดที่เมืองซอลลิคอน เรียนจบด้านการแพทย์จากมหาวิทยาลัยซูริก หลังเรียนจบ เขาทำงานเป็นผู้ช่วยแพทย์ที่คลินิกในกรุงแบร์น ก่อนจะกลับไปทำงานที่โรงพยาบาลในซูริก ปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และออยเกน บลอยเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ออสการ์ (แมวพยาบาล)

ออสการ์ (Oscar เกิดปี พ.ศ. 2548) เป็นแมวพยาบาลที่อาศัยอยู่ในศูนย์พยาบาลและฟื้นฟูสเตียร์เฮาส์ (Steere House Nursing and Rehabilitation Center) ในเมืองพรอวิเดนซ์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มมีการรู้จักถึงออสการ์ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และออสการ์ (แมวพยาบาล) · ดูเพิ่มเติม »

ออตโต บรุนเฟลส์

ออตโต บรุนเฟลส์ (Otto Brunfels; ค.ศ. 1488 – 23 ธันวาคม ค.ศ. 1534) เป็นนักเทววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน เขาเรียนจบด้านเทววิทยาและปรัชญาจากมหาวิทยาลัยไมนซ์ และเข้าร่วมกับคณะคาร์ทูเซียน ขณะทำงานอยู่ที่เมืองสทราซบูร์ บรุนเฟลส์ได้พบกับนิโคเลาส์ เจอร์เบล (Nikolaus Gerbel) ซึ่งจุดประกายความสนใจในเรื่องพืชให้แก่เขา ต่อมาบรุนเฟลส์ได้เปลี่ยนไปนับถือนิกายโปรเตสแตนต์ และเป็นศาสนาจารย์ที่ชไตเนาอันแดร์ชตราเซอ (Steinau an der Straße) ในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และออตโต บรุนเฟลส์ · ดูเพิ่มเติม »

อัลเฟรด โนเบล

อัลเฟร็ด เบิร์นฮาร์ท โนเบล (21 ตุลาคม พ.ศ. 2376, สตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2439, ซานเรโม ประเทศอิตาลี) นักเคมีชาวสวีเดน วิศวกร นักประดิษฐ์ ผู้ผลิตอาวุธและผู้คิดค้นดินระเบิดไดนาไมท์ เขาเป็นเจ้าของบริษัทโบโฟรส์ (Bofors) ซึ่งเป็นผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ โดยเขาได้เปลี่ยนแปลงบทบาทของโรงงานจากเดิมที่เป็นโรงงานเหล็กและเหล็กกล้า มาเป็นโรงผลิตปืนใหญ่ และอาวุธต่างๆ ในพินัยกรรมของเขา เขาได้ยกทรัพย์สมบัติจำนวนมหาศาลได้จากการผลิตอาวุธให้แก่สถาบันรางวัลโนเบล เพื่อมอบรางวัลแก่บุคคลที่สร้างคุณประโยชน์แก่มนุษยชาติ เรียกว่า รางวัลโนเบล และในโอกาสที่มีการสังเคราะห์ธาตุชนิดใหม่ขึ้น นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อธาตุนั้นตามชื่อของเขา เพื่อเป็นการให้เกียรติ ว่า โนเบเลียม (Nobelium).

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และอัลเฟรด โนเบล · ดูเพิ่มเติม »

อัสสมาจารย์นิยม

การบรรยายในมหาวิทยาลัยในคริสต์ศตวรรษที่ 14 อัสสมาจารย์นิยม (Scholasticism) หมายถึง วิธีคิดเชิงวิพากษ์ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนการสอนของนักวิชาการในมหาวิทยาลัยในยุโรปสมัยกลาง (ค.ศ. 1,100-1,700) และหมายถึงหลักสูตรที่ใช้วิธีดังกล่าวมาสนับสนุนและเผยแพร่หลักความเชื่อในสังคมที่มีความหลากหลายขึ้นเรื่อย ๆ ในสมัยนั้น อัสสมาจารย์นิยมมีต้นกำเนิดมาจากโรงเรียนในอารามคริสต์ในยุโรปยุคแรก ๆ สถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในยุโรปเกิดขึ้นที่ประเทศอิตาลี ฝรั่งเศส สเปน และอังกฤษ ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 จัดการสอนด้านศิลปศาสตร์ นิติศาสตร์ แพทยศาสตร์ และเทววิทยาde Ridder-Symoens 1992, pp.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และอัสสมาจารย์นิยม · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

อันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยในที่นี้ เป็นการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยโดยหน่วยงานของไทยเอง และนิตยสารของต่างประเทศ สำหรับหน่วยงานของไทย ในปี พ.ศ. 2549 นี้ ทางกระทรวงศึกษาธิการได้จัดให้มีการจัดลำดับมหาวิทยาลัยรัฐในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดย 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) สำหรับในต่างประเทศได้มีการจัดทำอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกจากทั้ง นิตยสารไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์ นิตยสารเอเชียวีก บริษัท แควกเควเรลลี ไซมอนด์ส จำกัด, CWTS, CWUR ฯลฯ รวมทั้งการจัดอันดับความเป็นอิเล็กทรอนิกส์และการเข้าถึงเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยจากเว็บไซต์เว็บโอเมตริกซ์ โดยมหาวิทยาลัยในประเทศไทยบางส่วนได้ถูกเสนอชื่อเข้าไปในนั้น ในขณะที่บางลำดับเช่นจาก มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวถง ไม่มีรายชื่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทยแต่อย่างใ.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และอันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

อันตรกิริยา

ทความนี้ซ้ำกับ ปฏิสัมพันธ์ ควรนำมารวมกัน อันตรกิริยา (Interaction) เป็นชนิดของการกระทำที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุ สองหรือมากกว่า มีผล ซึ่งกันและกัน ความคิดผลสองทางมีความสำคัญต่อแนวคิดอันตรกิริยาการมีผลทางเดียว การผสมผสานของอันตรกิริยาหลายๆ อันตรกิริยานำไปสู่การอุบัติ (emergent) ของปรากฏการณ์ ซึ่งมีความแตกต่างของความหมายในหลายๆ ศาสตร์ ตัวอย่างอันตรกิริยาที่อยู่นอกเหนือวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และอันตรกิริยา · ดูเพิ่มเติม »

อาการกลัวสารพัด

อาการกลัวสารพัด (panphobia, omniphobia, Pantophobia, Panophobia) เป็นภาวะทางการแพทย์ซึ่งหมายถึงความกลัวที่ไม่จำเพาะต่อสิ่งใดๆ หรือความกลัวต่อทุกสิ่งทุกอย่าง และมีความรู้สึกเหมือน "กลัวอะไรบางอย่างตลอดเวลาและคลุมเครือ".

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และอาการกลัวสารพัด · ดูเพิ่มเติม »

อายุรศาสตร์

อายุรศาสตร์ (เรียกย่อๆ ว่า medicine) เป็นสาขาหนึ่งของการแพทย์เฉพาะทางซึ่งเกี่ยวกับการป้องกัน การวินิจฉัยและการรักษาโรคและความผิดปกติในร่างกายผู้ใหญ่ เรียกแพทย์ที่ศึกษามาเฉพาะทางอายุรศาสตร์ว่า อายุรแพทย์ (internists) ซึ่งต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และสำเร็จการศึกษาเป็นแพทย์ประจำบ้านด้านอายุรศาสตร์ได้ผ่านการสอบเพื่อประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาวิชาอายุรศาสตร์ และได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ หรือสาขาต่างๆทางอายุรศาสตร์ ซึ่งในประเทศไทยออกให้โดยแพท.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และอายุรศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อารมณ์

ตัวอย่างอารมณ์พื้นฐาน ในทางจิตวิทยา ปรัชญา และสาขาย่อยอื่น ๆ อารมณ์ หมายถึงประสบการณ์ในความรู้สำนึกและอัตวิสัยที่ถูกกำหนดลักษณะเฉพาะโดยการแสดงออกทางจิตสรีรวิทยา ปฏิกิริยาทางชีววิทยา และสภาพจิตใจ อารมณ์มักจะเกี่ยวข้องและถูกจัดว่ามีอิทธิพลซึ่งกันและกันกับพื้นอารมณ์ พื้นอารมณ์แต่กำเนิด บุคลิกภาพ นิสัย และแรงจูงใจ เช่นเดียวกับที่ได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมนและสารสื่อประสาท อาทิ โดพามีน นอราดรีนาลีน เซโรโทนิน ออกซิโทซิน และคอร์ซิทอล อารมณ์มักเป็นพลังขับดันเบื้องหลังพฤติกรรมไม่ว่าเชิงบวกหรือเชิงลบ Gaulin, Steven J. C. and Donald H. McBurney.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และอารมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

อิบน์ ซีนา

อะบูอาลี อัลฮูซัยน์ บินอับดิลลาฮ์ อิบนุซีนา หรือ แอวิเซนนา (Avicenna; ค.ศ. 980-1037) เป็นนักปราชญ์ชาวเปอร์เซีย ที่มีบทบาทด้านสาธารณสุข เมื่อเกิดวิกฤตการณ์แผ่ระบาดโรคในอาณาจักร เขายังเป็นแพทย์ประจำพระองค์ของเจ้าชายต่าง ๆ ในช่วงบั้นท้ายชีวิตเขาได้เป็นรัฐมนตรีของรัฐ เขายังเขียนหนังสือปทานุกรมคำศัพท์, สารานุกรมศัพท์ ในหัวข้อต่างๆ เช่นการแพทย์ ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ดนตรี เศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์ นอกจากนี้ยังเป็นกวีที่มีผลงานได้รับความนิยมในโลกอาหรับ ผลงานที่สำคัญที่สุดคือ ชุด Canon of Medicine ที่นำรากฐานมาจากฮิปโปเครติส อริสโตเติล ไดออสคอริดีส กาเลน และบุคคลสำคัญวงการแพทย์อื่น โดยแทรกทฤษฏีและการสังเกตของเขาเองลงไปด้วย หนังสืออีกชุดของเขามีเนื้อหาทางด้านเภสัชวิทยาต้นไม้สมุนไพร ถือเป็นตำราพื้นฐานแพทย์ที่สำคัญของโลกมุสลิมและคริสเตียน แต่ทฤษฎีของเขาก็ดูด้อยความเชื่อถือลงเมื่อลีโอนาร์โด ดา วินชี ปฏิเสธตำรากายวิภาคของเขา แพราเซลซัส เผาสำเนาตำรา Canon of Medicine ที่ใช้สอนกันในสวิสเซอร์แลนด์ และวิลเลียม ฮาร์วีย์ แพทย์และนักวิทยาศาสตร์ ล้มทฤษฎีของเขาในเรื่องการค้นพบระบบหมุนเวียนโลหิตในร่างกายคน.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และอิบน์ ซีนา · ดูเพิ่มเติม »

อินซูลิน

ผลึกของอินซูลิน อินซูลิน (อังกฤษ: Insulin) มาจากภาษาละติน insula หรือ "island" - "เกาะ" เนื่องจากการถูกสร้างขึ้นบน "ไอส์เล็ตส์ออฟแลงเกอร์ฮานส์" ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ในตับอ่อน) คือฮอร์โมนชนิดอนาโบลิกโพลีเพบไทด์ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นสารตัวกระทำในคาร์โบไฮเดรทชนิดโฮมีโอสตาซิส มีผลต่อการเผาผลาญไขมันเปลี่ยนการทำงานของตับให้ทำหน้าที่เก็บหรือปลดปล่อยกลูโคส และทำให้เกิดการทำงานของลิพิด (ไขมัน) ในเลือดและในเนื้อเยื่ออื่น เช่นไขมันและกล้ามเนื้อ ปริมาณของอินซูลินที่เวียนอยู่ในร่างกายมีผลกระทบสูงมากในวงกว้างในทุกส่วนของร่างกาย ในวงการแพทย์ อินซูลินถูกใช้ในการรักษาโรคเบาหวานบางชนิด คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภท 1 ต้องอาศัยอินซูลินจากนอกร่างกาย (เกือบทั้งหมดใช้วิธีฉีดเข้าใต้ผิวหนัง) เพื่อช่วยให้รอดชีวีตจากการขาดฮอร์โมน คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 จะต่อต้านอินซูลิน หรือ ผลิตอินซูลินน้อย หรือทั้งสองอย่าง ผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 บางรายต้องการอินซูลินเฉพาะเมื่อยาอื่นที่ใช้รักษาอยู่ไม่เพียงพอในการควบคุมระดับกลูโคสในเลือด อินซูลิน ประกอบด้วยกรดอะมิโน 51 ชนิดรวมกันอยู่ และมีน้ำหนักโมเลกุล 5808 Da โครงสร้างของอินซูลิน ผันแปรเล็กน้อยตามชนิดของสัตว์ อินซูลินที่มีแหล่งมาจากสัตว์จะแตกต่างกันในเชิงขีดความสามารถในการควบคุมพลังการทำงาน (เช่น การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท) ในมนุษย์ อินซูลินจากสุกรมีความคล้ายคลึงกับอินซูลินของมนุษย์มากที.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และอินซูลิน · ดูเพิ่มเติม »

องค์การแพทย์ไร้พรมแดน

องค์การแพทย์ไร้พรมแดน (Médecins Sans Frontières,, เมดแซ็งซ็องฟรงเตียร์) หรือ แอมแอ็สเอ็ฟ (MSF) เป็นองค์การสาธารณประโยชน์ที่ก่อตั้งเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยมุ่งช่วยเหลือประเทศที่ตกอยู่ในภาวะสงคราม หรือประเทศกำลังพัฒนาที่ประสบปัญหาโรคระบาด องค์การแพทย์ไร้พรมแดน ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2514 โดยพัฒนามาจากกลุ่มความช่วยเหลือทางการแพทย์และผ่าตัดโดยรีบด่วน (Groupe d'Intervention Médicale et Chirurgicale en Urgence, กรุปแด็งแตร์ว็องซียงเมดีกาเลชีรูร์ฌีกาล็องนูร์ฌ็องส์) ซึ่งเป็นกลุ่มแพทย์อาสาสมัครชาวฝรั่งเศส ที่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมภายหลังการเกิดสงครามกลางเมืองในประเทศไนจีเรีย (พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2513) ปัจจุบันบริหารงานโดยคณะกรรมการซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ดำเนินงานโดยแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ประมาณ 3,000 คน ปฏิบัติงานในโครงการต่าง ๆ สำหรับในสหรัฐอเมริกา องค์การนี้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Doctors Without Borders องค์การแพทย์ไร้พรมแดน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี ค.ศ. 1999 จากการเป็นผู้นำ ให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์ในทวีปต่าง.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และองค์การแพทย์ไร้พรมแดน · ดูเพิ่มเติม »

ฌอร์ฌ ฌีล เดอ ลา ตูแร็ต

อร์ฌ อาลแบร์ เอดัวร์ บรูว์ตุส ฌีล เดอ ลา ตูแร็ต (Georges Albert Édouard Brutus Gilles de la Tourette; 30 ตุลาคม ค.ศ. 1857 – 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1904) เป็นนายแพทย์ชาวฝรั่งเศส เกิดในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และฌอร์ฌ ฌีล เดอ ลา ตูแร็ต · ดูเพิ่มเติม »

ผ้าปิดจมูก

ผ้าปิดจมูก หรือ หน้ากากอนามัย หมายถึง ผ้าที่ใช้ปิดปากหรือจมูก มีทั้งแบบคล้องหูและคาดหัว โดยมากสายที่ใช้คล้องหูจะเป็นยางยืด ใช้เพื่อจุดประสงค์ต่าง ๆ เช่น ใช้ในการแพทย์ กันฝุ่นควัน รวมถึงเกสรดอกไม้ในคนที่เป็นภูมิแพ้หรือโรคคาฟึนโช ผ้าปิดจมูกสามารถป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่ติดต่อทางเดินหายใจง่ายและ ได้ผลมากกว่าวิธีอื่น.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และผ้าปิดจมูก · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น เชน (แพทย์)

อห์น เชน (John Cheyne; 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1777 – 31 มกราคม ค.ศ. 1836) เป็นแพทย์ชาวสกอตแลนด์ เกิดที่เมืองลีธ มีบิดาที่มีชื่อเดียวกันและประกอบอาชีพแพทย์ เชนเรียนที่โรงเรียนมัธยมในเมืองลีธและเอดินบะระ ก่อนจะเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเอดินบะระเมื่ออายุได้ 15 ปี หลังเรียนจบ เชนทำงานเป็นศัลยแพทย์ในกองทัพและเข้าร่วมในยุทธการที่เนินวินเนการ์ ก่อนจะกลับไปทำงานกับบิดา สิบปีต่อมา เชนย้ายไปอยู่ที่เมืองดับลินและทำงานที่โรงพยาบาลมีธ พร้อมทั้งเป็นอาจารย์สอนวิชาการแพทย์ในสนามรบ เขาเกษียณตนเองในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และจอห์น เชน (แพทย์) · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย

ักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย หรือ ปีเตอร์มหาราช (Пётр I Великий, 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2215 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2268) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิรัสเซียตั้งแต่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2225 จนกระทั่งสวรรคต และถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้ทรงอำนาจของยุโรปในสมัยนั้น ในช่วงระยะเวลาของรัชสมัยจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 มหาราช พระองค์ได้ทรงสร้างประเทศเป็น “จักรวรรดิ” ที่เป็นที่น่าเกรงขามได้สำเร็จ การติดต่อด้านการค้าและการทูตกับต่างประเทศ การรับเอาความเจริญทางด้านการทหาร การช่างและวิทยาศาสตร์มาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาประเทศ ในสมัยต้นราชวงศ์โรมานอฟล้วนแต่เป็นการแผ้วทางไปสู่ความยิ่งใหญ่ของการเป็นมหาอํานาจของรัสเซีย เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตใน..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

จักษุวิทยา

การใช้กล้องจักษุจุลทรรศน์ (Slit lamp) ตรวจตาในคลินิกจักษุวิทยา จักษุวิทยา (Ophthalmology) เป็นสาขาหนึ่งของแพทยศาสตร์ที่ศึกษากายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา และโรคของตา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยาเรียกว่า จักษุแพทย์ ซึ่งต้องผ่านการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และการศึกษาเป็นแพทย์ประจำบ้านด้านจักษุวิทยา และสอบผ่านวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาจักษุวิทยาจากราชวิทยาลัยจักษุแพท.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และจักษุวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

จิตเวชศาสตร์

ตเวชศาสตร์ มาจากคำว่า จิต ที่แปลว่าจิตใจ รวมกับ เวชศาสตร์ ที่แปลว่า ศาสตร์ด้านการแพทย์ เมื่อรวมกันจึงหมายถึง การศึกษาทางด้านการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับอาการบกพร่องทางจิต ต่างกับ คำว่า จิตวิทยา ตรงที่ว่า จิต ที่แปลว่าจิตใจ รวมกับคำว่า วิทยา ที่มาจากวิทยาศาสตร์แทน ดังนั้น จิตวิทยาจึงเน้นเกี่ยวกับทฤษฎีทางจิตใจที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทางด้านการแพทย์ อาการบกพร่องทางจิต มีความหมายตามแนวความคิดที่มีอยู่ในขณะนี้ว่า เป็นอาการที่เกิดจากความบกพร่องจากการทำงานของระบบประสาทของสมองมนุษย์ โดยมีสาเหตุมาจากกระบวนการพัฒนาสมองที่ถูกกำหนดจากยึน และสภาพแวดล้อม.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และจิตเวชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

จุลชีววิทยา

นอาหารวุ้นซึ่งมีเชื้อจุลินทรีย์เห็นเป็นริ้วลายเส้น จุลชีววิทยา (Microbiology) คือการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งเรียกว่าจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย โปรโตซัว ไวรัส เชื้อรา และ สาหร.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และจุลชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ถั่งเช่า

อค้าในมณฑลชิงไห่ กำลังชั่งน้ำหนักถั่งเช่า ถั่งเช่า (蟲草; chóng cǎo) หรือ ตังถั่งเช่า (冬蟲草; dōng chóng cǎo) หรือ ตังถั่งแห่เช่า (冬蟲夏草; dōng chóng xià cǎo) เป็นสมุนไพรจีน มีความหมายว่า "หญ้าหนอน" หรือ "ฤดูหนาวเป็นหนอน ฤดูร้อนเป็นหญ้า" เกิดจากหนอนผีเสื้อแถบที่ราบสูงทิเบต ที่จำศีลอยู่ใต้ดินในฤดูหนาว ถูกสปอร์ของเห็ดราในสกุล Ophiocordyceps อาศัยเป็นปรสิตและเติบโตสร้างเส้นใยออกมาทางส่วนหัวของตัวหนอนในฤดูร้อน เห็ดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ophiocordyceps sinensis เห็ดถั่งเช่าพบในทิเบต มณฑลชิงไห่ มณฑลเสฉวน มณฑลกานซู มณฑลยูนนาน และแถบเทือกเขาหิมาลัยในอินเดีย ภูฏาน และเนปาล มีสรรพคุณในการบรรเทาอาการหย่อนและเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ รวมถึงเชื่อว่ารักษาโรคมะเร็งได้อีกด้วย มีความต้องการในท้องตลาดสูง และมีราคาแพง.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และถั่งเช่า · ดูเพิ่มเติม »

ที่สุดในประเทศไทย

ติที่สุดในประเทศไทยเรื่องต่าง.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และที่สุดในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ของไหล

องไหล (fluid) ใช้นิยามสสารที่เปลี่ยนรูปร่างหรือไหลด้วยความเค้นเฉือน ของเหลวและแก๊สต่างก็เป็นรูปแบบหนึ่งของของไหล ของไหลเป็นสถานะหนึ่งของสสาร โดยทั่วไปในภาษาอังกฤษ คำว่า fluid หรือของไหลมักหมายถึงของเหลวหรือ liquid ด้วย ของไหลบางอย่างอาจมีความเหนียวสูงมาก ทำให้แยกแยะกับของแข็งได้ยาก หรือในโลหะบางชนิดก็อาจมีความแข็งต่ำมาก.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และของไหล · ดูเพิ่มเติม »

ของเหลวในร่างกายพร่อง

ในวิชาสรีรวิทยาและแพทยศาสตร์ ของเหลวในร่างกายพร่อง หรือปริมาตรเลือดน้อย (hypovolemia) หรือช็อก เป็นสถานะที่มีปริมาตรเลือดลดลง หรือกล่าวให้เจาะจงว่า มีปริมาตรน้ำเลือดลดลง ถือเป็นภาวะปริมาตรน้ำในร่างกายลดลงจากองค์ประกอบในหลอดเลือด (หรือการเสียปริมาตรเลือดจากเหตุอย่างภาวะมีเลือดออกหรือขาดน้ำ) แต่เนื่องจากภาวะของเหลวในร่างกายพร่องเป็นภาวะปริมาตรน้ำในร่างกายลดลงที่สำคัญที่สุด บางครั้งสองคำนี้จึงใช้แทนกัน ของเหลวในร่างกายพร่องมีลักษณะ คือ เกลือ (โซเดียม) พร่อง จึงต่างจากภาวะเสียน้ำ ซึ่งนิยามจากการเสียน้ำในร่างกายเกิน.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และของเหลวในร่างกายพร่อง · ดูเพิ่มเติม »

ข้อเขียนวอยนิช

้อความใน'''ข้อเขียนวอยนิช''' ข้อเขียนวอยนิช (Voynich manuscript) เป็นหนังสือประกอบภาพที่ยังไม่มีใครสามารถแปลความหมายได้ ซึ่งเชื่อกันว่าได้เขียนขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 หรือ 16 ผู้ประพันธ์ เนื้อหา และภาษาที่ใช้ในข้อเขียนนี้ยังคงเป็นปริศนาจนถึงปัจจุบัน ข้อเขียนวอยนิชได้รับการศึกษาจากนักรหัสวิทยา ซึ่งรวมถึงผู้เชี่ยวชาญผู้มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรมาตลอดนับตั้งแต่ค้นพบหนังสือเล่มนี้ แต่ก็ไม่เคยมีใครสามารถแปลเนื้อหาได้แม้แต่ส่วนเดียว ซึ่งทำให้ข้อเขียนวอยนิชมีชื่อเสียงอย่างมากในประวัติศาสตร์ของเรื่องลึกลับ แต่ก็มีทฤษฏีว่าหนังสือเล่มนี้เป็นเพียงของปลอมซึ่งเขียนด้วยสัญลักษณ์ที่ไม่มีความหมายใด ๆ เลยเช่นเดียวกัน หนังสือเล่มนี้ได้รับการตั้งชื่อตาม วิลฟริด เอ็ม.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และข้อเขียนวอยนิช · ดูเพิ่มเติม »

ครอว์ฟอร์ด ลอง

รอว์ฟอร์ด ลอง บนแสตมป์สหรัฐฯ ครอว์ฟอร์ด วิลเลียมสัน ลอง (Crawford Williamson Long; 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 – 16 มิถุนายน ค.ศ. 1878) เป็นศัลยแพทย์และเภสัชกรชาวอเมริกัน เป็นบุคคลแรกที่ใช้ไดเอทิลอีเทอร์เป็นยาระงับความรู้สึก (anesthetic) ครอว์ฟอร์ด ลอง เกิดเมื่อปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และครอว์ฟอร์ด ลอง · ดูเพิ่มเติม »

ความละเหี่ย

วามละเหี่ย (malaise) ในทางการแพทย์หมายถึงความรู้สึกไม่สบายตัว ไม่เป็นปกติ ส่วนใหญ่เป็นอาการแรกเริ่มของโรคหลายๆ โรครวมถึงโรคติดเชื้อบางอย่าง ตำราแพทย์อธิบายคำว่า malaise เอาไว้ว่าเป็น "general feeling of being unwell" (ความรู้สึกไม่สบายทั่วไป) คำนี้แต่เดิมเป็นคำฝรั่งเศส มีใช้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และความละเหี่ย · ดูเพิ่มเติม »

ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย

แพทย์, พยาบาลด้านข้างของเขา พร้อมทำการทดสอบเลือดที่โรงพยาบาลในปี 1980 ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยเป็นส่วนสำคัญของการแพทย์ เมื่อมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทั้งสอง เป็นไปได้ที่จะให้มีสุขภาพดี ความสัมพันธ์นี้ก็อยู่ที่ฐานของจริยธรรมทางการแพทย์ โรงเรียนแพทย์หลายแห่งสอนแพทย์จะให้ความสัมพันธ์อย่างมืออาชีพกับผู้ป่วย การเคารพศักดิ์ศรีและสิทธิส่วนบุคคลของผู้ป่วย ความสัมพันธ์นี้มีข้อมูลอสมมาตร แม้ว่าหมอรู้มากกว่าผู้ป่วย แต่ต้องมีการอธิบายสถานการณ์ของผู้ป่วย และมีการขอให้ผู้ป่วยรักษาสิ่งที่ควรจะทำ มีความสัมพันธ์ที่คล้ายกันมากระหว่างผู้ป่วยและพยาบาลนักหรือจิตวิทยา หมวดหมู่:จริยธรรมทางการแพทย์ หมวดหมู่:แพทย์.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย · ดูเพิ่มเติม »

ความตลกขบขัน

การยิ้มอาจจะแสดงอารมณ์ขำ ดังที่เห็นในจิตรกรรมตัวละคร Falstaff ของวิลเลียม เชกสเปียร์ โดย Eduard von Grützner ความตลกขบขัน (humour, humor) เป็นประสบการณ์ทางการรู้คิดที่มักทำให้หัวเราะและสร้างความบันเทิงสนุกสนาน คำจากภาษาอังกฤษมาจากศัพท์ทางการแพทย์ของชาวกรีกโบราณ ซึ่งสอนว่า ความสมดุลของธาตุน้ำต่าง ๆ ในร่างกายที่เรียกในภาษาละติน ว่า humor (แปลว่า ของเหลวในร่างกาย) เป็นตัวควบคุมสุขภาพและอารมณ์ของมนุษย์ มนุษย์ทุกยุคสมัยและทุกวัฒนธรรมตอบสนองต่อเรื่องขบขัน มนุษย์โดยมากประสบความขำขัน คือรู้สึกบันเทิงใจ ยิ้ม หรือหัวเราะต่ออะไรที่ขำ ๆ และดังนั้น จึงเรียกได้ว่าเป็นคนมีอารมณ์ขำ (คือมี sense of humour) คนสมมุติที่ไม่มีอารมณ์ขำน่าจะพบเหตุการณ์ที่ทำให้ขำว่า อธิบายไม่ได้ แปลก หรือว่าไม่สมเหตุผล แม้ว่าปกติความขำขันจะขึ้นอยู่กับรสนิยมส่วนตัว ขอบเขตที่บุคคลพบว่าอะไรน่าขำจะขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายอย่าง รวมทั้งอยู่ในภูมิประเทศไหน ในวัฒนธรรมอะไร อายุ ระดับการศึกษา ความเฉลียวฉลาด และพื้นเพหรือบริบท ยกตัวอย่างเช่น เด็กเล็ก ๆ อาจชอบเรื่องตลกที่มีการตีกัน (ภาษาอังกฤษเรียกว่า slapstick) ดังที่พบในการ์ตูน เช่นรายการ ทอมกับเจอร์รี่ ที่การกระทบกระทั่งทางกายทำให้เด็กเข้าใจได้ เทียบกับเรื่องตลกที่ซับซ้อนกว่า เช่น แบบที่ใช้การล้อเลียนเสียดสี (satire) ซึ่งจำเป็นต้องเข้าใจสถานะทางสังคมและดังนั้น ผู้ใหญ่จะชอบใจมากกว.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และความตลกขบขัน · ดูเพิ่มเติม »

ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก

10.1126/science.1177265 ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก (global catastrophic risk) เป็นเหตุการณ์สมมุติในอนาคต ที่อาจทำความเสียหายต่อมนุษย์อย่างรุนแรงทั่วโลก เหตุการณ์บางอย่างอาจทำลาย หรือทำความเสียหายแก่ อารยธรรมที่มีในปัจจุบัน หรือเหตุการณ์ที่รุนแรงกว่านั้น อาจทำให้มวลมนุษย์สูญพันธุ์ ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของมนุษย์ (existential risk) ภัยพิบัติตามธรรมชาติ เช่น การระเบิดของซูเปอร์ภูเขาไฟ และการวิ่งชนโลกของดาวเคราะห์น้อย จะเป็นความเสี่ยงในระดับนี้ถ้ารุนแรงเพียงพอ เหตุการณ์ที่มนุษย์เป็นเหตุ ก็อาจจะเป็นความเสี่ยงต่อการอยู่รอดของสัตว์ฉลาดต่าง ๆ ของโลก เช่น ปรากฏการณ์โลกร้อน สงครามนิวเคลียร์ หรือการก่อการร้ายชีวภาพ สถาบันอนาคตของมนุษยชาติ (Future of Humanity Institute) ที่เป็นส่วนของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เชื่อว่า การสูญพันธุ์ของมนุษย์ น่าจะมีเหตุมาจากมนุษย์เอง มากกว่าจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ แต่ว่า เป็นเรื่องยากลำบากที่จะศึกษาการสูญพันธุ์ของมนุษย์ เพราะไม่เคยมีเหตุการณ์นี้จริง ๆ แม้นี่จะไม่ได้หมายความว่า จะไม่เกิดขึ้นในอนาคต แต่ว่า การสร้างแบบจำลองของความเสี่ยงต่อความอยู่รอด เป็นเรื่องยาก โดยส่วนหนึ่งเพราะผู้ศึกษามีความเอนเอียงจากการอยู่รอด คือมีความคิดผิดพลาดที่พุ่งความสนใจไปในสิ่งที่อยู่รอด จนทำให้เหตุผลไม่ตรงกับความจริง.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก · ดูเพิ่มเติม »

ความเอนเอียงทางประชาน

วามเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) เป็นรูปแบบความคลาดเคลื่อนของการประเมินตัดสินใจ ที่การอนุมานถึงบุคคลอื่นหรือสถานการณ์ต่าง ๆ อาจจะเป็นไปโดยไม่สมเหตุผล คือ เราจะสร้างความจริงทางสังคม (social reality) ที่เป็นอัตวิสัย จากการรับรู้ข้อมูลที่ได้ทางประสาทสัมผัส เพราะฉะนั้น ความจริงที่เราสร้างขึ้นนี้ ซึ่งไม่ใช่ความจริงโดยปรวิสัย อาจจะกำหนดพฤติกรรมทางสังคมของเรา ดังนั้น ความเอนเอียงทางประชานอาจนำไปสู่ความบิดเบือนทางการรับรู้ การประเมินตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง การตีความที่ไม่สมเหตุผล หรือพฤติกรรมที่เรียกกันอย่างกว้าง ๆ ว่า ความไม่มีเหตุผล (irrationality) ความเอนเอียงทางประชานบางอย่างเชื่อว่า เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสังคมสิ่งแวดล้อม คือเป็นเหตุให้เกิดการกระทำที่มีประสิทธิภาพในสถานการณ์บางอย่าง นอกจากนั้นแล้ว ความเอนเอียงทางประชานบางอย่างสามารถทำให้ตัดสินใจได้เร็วขึ้น ในสถานการณ์ที่ความเร็วมีความสำคัญมากกว่าความแม่นยำ ดังที่พบในเรื่องของฮิวริสติก ความเอนเอียงบางอย่างอาจจะเป็น "ผลพลอยได้" ของความจำกัดในการประมวลข้อมูลของมนุษย์ ซึ่งอาจจะมาจากการไม่มีกลไกทางจิตใจที่เหมาะสม (สำหรับปัญหานั้น) หรือว่ามีสมรรถภาพจำกัดในการประมวลข้อมูล ภายใน 6 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีการกำหนดความเอนเอียงทางประชานเป็นจำนวนมาก เป็นผลจากงานวิจัยในเรื่องการประเมินและการตัดสินใจของมนุษย์ จากสาขาวิชาการต่าง ๆ รวมทั้งประชานศาสตร์ จิตวิทยาสังคม และเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (behavioral economics) ความเอนเอียงทางประชานเป็นเรื่องสำคัญที่จะศึกษาเพราะว่า "ความผิดพลาดอย่างเป็นระบบ" แสดงให้เห็นถึง "กระบวนการทางจิตที่เป็นฐานของการรับรู้และการประเมินตัดสินใจ" (Tversky & Kahneman,1999, p. 582) นอกจากนั้นแล้ว แดเนียล คาฮ์นะมัน และอะมอส ทเวอร์สกี้ ยังอ้างไว้ด้วยว่า ความรู้เกี่ยวกับความเอนเอียงทางประชานมีผลทางด้านการปฏิบัติในฟิลด์ต่าง ๆ รวมทั้งการวินิจฉัยทางคลินิก.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และความเอนเอียงทางประชาน · ดูเพิ่มเติม »

ความเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจ

วามเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจ (mental breakdown หรือ nervous breakdown) เป็นศัพท์ที่มิใช่ศัพท์ทางการแพทย์ อธิบายความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเฉียบพลันและในระยะเวลาจำกัด โดยมากแล้วแสดงออกมาด้วยความหดหู่หรือกระวนกระวายRapport LJ, Todd RM, Lumley MA, Fisicaro SA.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และความเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจ · ดูเพิ่มเติม »

คัสพาร์ เบาฮีน

ัสพาร์ เบาฮีน (Caspar Bauhin), กัสปาร์ โบแอ็ง (Gaspard Bauhin) หรือ กัสปารุส เบาฮีนุส (Casparus Bauhinus; 17 มกราคม ค.ศ. 1560 – 5 ธันวาคม ค.ศ. 1624) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวิส เป็นบุตรของฌ็อง โบแอ็ง แพทย์ชาวฝรั่งเศสที่ย้ายมาอยู่ที่เมืองบาเซิลหลังเปลี่ยนมานับถือนิกายโปรเตสแตนต์ คัสพาร์มีพี่ชายที่เป็นนักพฤกษศาสตร์เหมือนกันคือโยฮันน์ เบาฮีน คัสพาร์เรียนวิชาแพทย์ที่เมืองปาโดวา, มงเปอลีเยและในเยอรมนี ก่อนจะกลับมาที่บาเซิลในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และคัสพาร์ เบาฮีน · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล ลันด์สไตเนอร์

ร์ล ลันด์สไตเนอร์ (Karl Landsteiner; 14 มิถุนายน ค.ศ. 1868 – 26 มิถุนายน ค.ศ. 1943) เป็นแพทย์ชาวออสเตรีย/อเมริกัน เกิดที่เมืองบาเดินเบวีน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (ใกล้กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียในปัจจุบัน) เป็นบุตรของเลโอโปลด์และแฟนนี (นามสกุลเดิม เฮสส์) ลันด์สไตเนอร์ เรียนจบด้านการแพทย์จากมหาวิทยาลัยเวียนนา ระหว่างปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และคาร์ล ลันด์สไตเนอร์ · ดูเพิ่มเติม »

คุณหมอมือใหม่หัวใจเกินร้อย

ณหมอมือใหม่หัวใจเกินร้อย เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นที่บรรยายเกี่ยวกับ วงการแพทย์สมัยใหม่ของญี่ปุ่นและของโลก โดยเจาะลึกด้านศีลธรรม ที่ขัดกันกับวินัยหรือกฎของโรงพยาบาล หรือทั้งวงการแพทย์เลยทีเดียว.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และคุณหมอมือใหม่หัวใจเกินร้อย · ดูเพิ่มเติม »

คทาอัสคลิปิอุส

ทา หรือไม้เท้าของอัสคลิปิอุสที่มีงูพันรอบ คทาอัสคลิปิอุส (​Rod of Asclepius) หรือไม้เท้าของอัสคลิปิอุส เป็นคทาของเทพอัสคลิปิอุส ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการแพทย์และการรักษาในตำนานเทพปกรณัมกรีก คทาอัสคลิปิอุสถูกใช้เป็นสัญญลักษณ์ที่แสดงถึงการแพทย์และการรักษามาจนปัจจุบัน แต่ยังมีการใช้สับสนกันระหว่างคทาของอัสคาปิอุสและคทาของเฮอร์มีส ที่ชื่อว่า คาดูเซียส ตามตำนานเทพปกรณัมกรีก อัสคลิปิอุส ซึ่งมีสถานะครึ่งเทพครึ่งมนุษย์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพเจ้าแห่งการแพทย์และการรักษา จะมีคทาประจำตัวอันหนึ่ง มีลักษณะเป็นแท่งและมักจะมีงูหนึ่งตัวพันเกลียวรอบคทาเป็นสัญญลักษณ์ แต่ในบางครั้งอาจจะพบว่างูไม่ได้พันเกลียวรอบ แต่มักจะอยู่ในบริเวณไกล้เคียง อัสคลิปิอุส ร่ำเรียนวิชาการรักษามาจากไครอน ซึ่งเป็นเซนทอร์ที่ชุบเลี้ยงอัสคลิปิอุสมาตั้งแต่ยังเป็นทารก จนได้กลายมาเป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงของกรีก อัสคลิปิอุสได้ใช้สัญญลักษณ์คทาที่มีงูพันเกลียวรอบแทนการแพทย์และการรักษา สมัยกรีกโบราณมีสถานที่ที่เป็นศาสนสถานสำหรับรักษาโรค (Healing temple) มีชื่อเรียกตามเทพอัสคลิปิอุสว่า อัสคลิเปียน (Asclepioen) ในตำนานกรีกโบราณมีเหตุการณ์ที่กล่าวถึงอัสคลิปิอุสที่สำคัญ คือเมื่อฮิปพอคราทีส บิดาแห่งการแพทย์แผนตะวันตกจะกล่าวคำสัตย์สาบาน (Hippocrates oath) ได้กล่าวการสาบานตนด้วยประโยคว่า รูปปั้นของอัสคลิปิอุส ที่คทามีงูพันเกลียว งูที่พันรอบคทาของอัสคลิปิอุส ได้ถูกตีความว่าอย่างหลากหลาย มาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณที่มีการใช้สัญญลักษณ์งูพันรอบคทาของอัสคลิปิอุส การลอกคราบของงู เป็นสัญญลักษณ์ของการฟื้นฟูหรือการกำเนิดใหม่ หรือถูกตีความว่าเป็นเหมือนการรักษาของแพทย์ที่ต้องทำงานที่คาบเกี่ยวกันระหว่างความเป็นและความตาย ความคลุมเครือของงูยังแสดงถึงความขัดแย้งในปัจจุบันของการใช้ยา ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยถ้าใช้เหมาะสมและอาจจะให้โทษเมื่อใช้ไม่เหมาะสม ซึ่งไกล้เคียงกับคำในภาษากรีกว่า Pharmakon ที่หมายถึง ยา (medicine) หรือ ยาพิษ (poison) หรือแม้กระทั่งพิษของงูที่ใช้ในการรักษา ที่อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้หากไม่ระวัง ยังมีข้อถกเถียงกันอย่างแพร่หลายว่า สัญญลักษณ์ที่แสดงถึงการแพทย์ที่เชื่อว่าเป็นคทาอัสคลิปิอุสนั้น ความจริงแล้วเป็นพยาธิที่ชื่อว่า Dracunculus medinensis ซึ่งมักจะชอนไชตามผิวหนังของผู้ป่วยในสมัยโบราณ แพทย์จะรักษาโดยการกรีดผิวหนัง เมื่อพยาธิออกมานอกผิวหนังแพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่เป็นแท่งเพื่อพันตัวพยาธิออกมาจนหมด โดยลักษณะที่พยาธิพันบนแท่งนั้น เหมือนกันกับสัญญลักษณ์งูพันเกลียวบนคทาของอัสคลิปิอุส ปัจจุบันคทาอัสคลิปิอุสถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งสัญญลักษณ์ขององค์กรนานาชาติเกี่ยวกับการแพทย์ เช่น องค์การอนามัยโลก สมาคมแพทย์อเมริกัน สมาคมแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร สมาคมแพทย์ออสเตรเลี.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และคทาอัสคลิปิอุส · ดูเพิ่มเติม »

คทางูไขว้

ทางูไขว้ คทางูไขว้ (caduceus, คะดูเซียส; κηρύκειον "ไม้เท้าผู้แจ้งข่าว") คือคทาสั้นที่มีงูสองตัวพันกันเป็นเกลียวขึ้นมา บางครั้งก็จะมีปีกอยู่ข้างบนด้วย ผู้ใช้คทางูไขว้คนแรกคือเทพีไอริสผู้เป็นผู้สื่อสารของเทพเฮรา ต่อมาคทานี้เรียกว่า “คทาเฮอร์มีส” (wand of Hermes) ผู้ที่เป็นผู้ถือคทาต่อมาในตำนานเทพหลังจากนั้นเป็นเวลานาน ในปลายสมัยกรีกโรมันโบราณ (classical antiquity) คทางูไขว้ใช้เป็นสัญลักษณ์ของสัญลักษณ์ของโหราศาสตร์แทนดาวพุธ และเป็นวัตถุสัญลักษณ์แทนพระเจ้าเฮอร์มีสของกรีก (หรือเมอร์คิวรีของโรมัน) บางครั้งคทางูไขว้ก็ใช้เป็นสัญลักษณ์ทางการแพทย์ เช่น ในประเทศไทยหรือในทวีปอเมริกาเหนือ บางครั้งสัญลักษณ์นี้ใช้สับสนกับสัญลักษณ์การแพทย์สมัยโบราณซึ่งเป็นคทางูเดี่ยว (rod of Asclepius) เท่านั้นที่มีงูเพียงตัวเดียวและไม่มีปีก.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และคทางูไขว้ · ดูเพิ่มเติม »

คณวัฒน์ จันทรลาวัณย์

นายแพทย์คณวัฒน์ จันทรลาวัณย์, เว็บไซต์ (ชื่อเล่น: เอ้ก) แพทย์ประจำบ้านสาขาจักษุวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย อดีตแพทย์ประจำโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทยข่าวประชาสัมพันธ์,, เว็บไซต.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และคณวัฒน์ จันทรลาวัณย์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ในประเทศไทยที่เก่าแก่ที่สุด และเป็น 1 ใน 4 คณะแรกตั้งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือกำเนิดมาจากโรงเรียนยันตรศึกษาแห่งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือเป็นคณะที่มีจำนวนรุ่นมากที่สุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยในปีการศึกษา 2560 เป็นรุ่นที่ 101 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีหน้าที่หลักในการผลิตบัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ทั้งในระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา ศึกษาวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์และเผยแพร่องค์ความรู้สู่ประชาชนทั่วไป เพื่อเป็นที่พึ่งพิงทางวิชาการให้กับประเทศ มีงานวิจัยและความร่วมมือทางวิชาการซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ ปัจจุบันมีภาควิชาทั้งหมด 12 ภาควิชาและหน่วยงานเทียบเท่าภาควิชาอีก 2 หน่วยงาน นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ มักเรียกแทนตัวเองว่า "อินทาเนีย" คณะวิศวกรรมศาสตร์ตั้งอยู่ในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝั่งตะวันออกของถนนพญาไท ด้านข้างหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การจัดอันดับในกลุ่มสาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี จาก QS world university ranking by subjecthttps://www.topuniversities.com/subject-rankings/2017 พบว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย อันดับที่ 147 ของโลก และเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มีสาขาวิชาติดอันดับโลกมากที่สุดในประเทศไท.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2544 โดยเป็นการรวมภาควิชาที่รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนระดับปรีคลินิก (Pre-clinic) ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพทุกสาขาเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนระดับปรีคลินิก และให้การสนับสนุนงานวิจัยกับอาจารย์และนิสิตในคณะกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพของมหาวิทยาลัย ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์การแพท.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร · ดูเพิ่มเติม »

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นคณะลำดับที่ 4 ของมหาวิทยาลัย โดยมีประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

ณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2548 ตามมติว่าด้วยหลักการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โดยเป็นคณะแพทยศาสตร์ลำดับที่ 18 ในจำนวนโรงเรียนแพทย์ทั่วประเทศ 20 สถาบัน และเป็นลำดับที่ 2 ในภาคใต้และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์จึงริเริ่มจัดตั้งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อเป็นโรงพยาบาลหลักในการทำการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์และนักศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป้าหมายของคณะแพทยศาสตร์ คือการผลิตบุคลากรทางการแพทย์สาขาต่าง ๆ เป็นสถาบันผลิตบัณฑิตแพทย์ที่มุ่งมั่นจะอุทิศตนเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยปฏิบัติงานดูแลสุขภาพของชุมชนได้อย่างมีความสุข เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม สามารถประยุกต์ความรู้ทางการแพทย์สากลให้ผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมอิสลามท้องถิ่น (Islamic Oriental Medical School) ได้เป็นอย่างดีคู่มือนักศึกษา หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาแพทยศาสตร.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพระราชกฤษฎีกาประกาศตั้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490 ภายใต้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จนกระทั่งถูกโอนมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2510 เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ของประเทศไทย ถือกำเนิดจากพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 การดำเนินการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งนี้เริ่มขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงเพียงแปดเดือนเท่านั้น ถือเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทย ประสบความยากลำบากทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งจำเป็นต้องมีการบูรณะบ้านเมืองที่เสียหายจากการทิ้งระเบิด คณะแพทยศาสตร์แห่งนี้จึงมีส่วนสำคัญในการพัฒนาวงการสาธารณสุขของประเทศ ในช่วงเวลาที่ประเทศกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ควบคู่ไปกับการพัฒนามาตรฐานแพทยศาสตรศึกษา ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์ความร่วมมือขององค์การอนามัยโลก 3 สาขา ได้แก่ ศูนย์ความร่วมมือด้านแพทยศาสตรศึกษา ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยการสืบพันธุ์ของมนุษย์ ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยและฝึกอบรมด้านไวรัสและโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินงานร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยสภากาชาดไท.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

คณิตศาสตร์ประยุกต์

คณิตศาสตร์ประยุกต์ (applied mathematics) แตกต่างจากคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ (pure mathematics) ตรงที่ จะเริ่มต้นพิจารณาปัญหาในชีวิตจริงก่อน ไม่ว่าปัญหานั้นจะอยู่ในเรื่องของวิชา หรือ สาขาใดๆ เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ธรณีวิทยา แพทยศาสตร์ ทันตแพทย์ศาสตร์ เภสัชศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ คอมพิวเตอร์ฯลฯ หรือแม้แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในสาขาวิชาคณิตศาสตร์เอง แล้วจากนั้น จะนำความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์ที่มีอยู่แล้ว หรืออาจจำเป็นจะต้องสร้างใหม่ขึ้นมา เพื่อจะใช้แก้ปัญหาเหล่านั้น คณิตศาสตร์ประยุกต์.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และคณิตศาสตร์ประยุกต์ · ดูเพิ่มเติม »

งานศึกษามีกลุ่มควบคุม

การศึกษาย้อนหลัง (retrospective cohort) จะศึกษาการเกิดของโรคที่มีแล้ว งานศึกษามีกลุ่มควบคุม (page, case history study, case referent study, retrospective study) เป็นแบบการศึกษาอย่างหนึ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในวงการแพทย์ ที่มีการพัฒนาในยุคแรก ๆ ในสาขาวิทยาการระบาด แม้ว่าต่อ ๆ มาก็มีการสนับสนุนให้ใช้ในการศึกษาสาขาต่าง ๆ ของสังคมศาสตร์ เป็นงานศึกษาแบบสังเกต (observational study) ประเภทหนึ่ง ที่จะกำหนดกลุ่มสองกลุ่มที่มีผลต่างกัน แล้วเปรียบเทียบเพื่อตรวจสอบสมมุติฐานว่าอะไรเป็นเหตุของผลที่ต่างกันนั้น เป็นแบบงานที่มักจะใช้เพื่อกำหนดองค์ประกอบที่มีผลต่ออาการของโรค โดยเปรียบเทียบคนไข้ที่มีอาการ/โรค (case) กับผู้ที่ไม่มีอาการ/โรค (control) ที่มีลักษณะอย่างอื่น ๆ เหมือน ๆ กัน เป็นแบบงานที่ใช้ทรัพยากรน้อยกว่า แต่ว่าให้หลักฐานความเป็นเหตุผลได้อ่อนกว่าการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial).

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และงานศึกษามีกลุ่มควบคุม · ดูเพิ่มเติม »

งานศึกษาตามยาว

งานศึกษาตามยาว"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ longitudinal ว่า "-ตามยาว" และของ longitudinal study ว่า "วิธีศึกษาระยะยาว" หรือ วิธีศึกษาระยะยาว (longitudinal study) เป็นการศึกษาวิจัยโดยสหสัมพันธ์ที่สังเกตวัดค่าตัวแปรเดียวกัน ๆ เป็นระยะเวลายาว บ่อยครั้งเป็นทศวรรษ ๆ เป็นการศึกษาแบบสังเกตประเภทหนึ่ง มักใช้ในสาขาจิตวิทยาเพื่อศึกษาพัฒนาการต่าง ๆ ตลอดชั่วชีวิต และในสาขาสังคมศาสตร์เพื่อศึกษาเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งชีวิตหรือหลายชั่วชีวิต เป็นการศึกษาที่ไม่เหมือนกับการศึกษาตามขวาง (cross-sectional study) เพราะการศึกษาตามขวางเปรียบเทียบลักษณะเดียวกันของบุคคลต่าง ๆ แต่การศึกษาตามยาวติดตามบุคคลเดียวกัน ดังนั้น ค่าต่าง ๆ ที่พบในบุคคลเหล่านั้น มีโอกาสน้อยกว่าที่จะเป็นความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างชั่วคน การศึกษาตามยาวจึงสามารถแสดงความเปลี่ยนแปลงที่แม่นยำกว่า และจึงมีการประยุกต์ใช้ในการศึกษาสาขาต่าง ๆ ในการแพทย์ การศึกษาแบบนี้ใช้เพื่อค้นหาตัวทำนาย (predictor) ของโรค ส่วนในการโฆษณา ใช้เพื่อตรวจความเปลี่ยนแปลงทางทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ชมโฆษณา เนื่องจากการศึกษาแบบนี้เป็นแบบสังเกต คือสังเกตดูสภาพความจริงโดยที่ไม่เข้าไปจัดการ จึงมีการอ้างว่า มีกำลังที่จะตรวจจับความเป็นเหตุผลน้อยกว่าการศึกษาเชิงทดลอง แต่เพราะว่า เป็นการสังเกตลักษณะในระดับบุคคลอย่างซ้ำ ๆ กัน จึงมีกำลังกว่าการศึกษาตามขวาง (cross-sectional study) เพราะสามารถแยกออกซึ่งความแตกต่างระหว่างบุคคลที่ไม่ได้ขึ้นกับเวลา และสามารถติดตามเหตุการณ์ตามลำดับเวลา ข้อเสียของการศึกษาตามยาวก็คือใช้เวลามากและมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น จึงไม่ค่อยสะดวกที่จะทำ การศึกษาแบบนี้ช่วยให้นักสังคมศาสตร์แยกแยะระหว่างปรากฏการณ์ระยะสั้นกับปรากฏการณ์ระยะยาว เช่นความยากจน คือ ถ้าอัตราความยากจนอยู่ที่ 10% ที่เวลาหนึ่ง ก็อาจจะหมายความว่า มีประชากร 10% พวกเดียวกันที่เป็นคนยากจนตลอด หรือว่า ในประชากรทั้งหมด ณ เวลาหนึ่ง จะมีประชากร 10% ที่เป็นคนยากจน ซึ่งไม่สามารถจะแยกแยะได้โดยใช้การศึกษาตามขวางซึ่งวัดค่าต่าง ๆ เพียงครั้งเดียว ประเภทต่าง ๆ ของการศึกษาตามยาวรวมทั้งงานศึกษาตามรุ่น (cohort study) และ panel study งานแบบแรกสุ่มตัวอย่างจากคนในรุ่น ซึ่งกำหนดเป็นกลุ่มบุคคลที่ประสบเหตุการณ์อย่างหนึ่ง (ปกติคือการเกิด) ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วติดตามศึกษาเป็นระยะ ๆ ส่วนงานแบบที่สองสุ่มตัวอย่างตามขวาง คือจากทั้งกลุ่มประชากร แล้วสำรวจข้อมูลต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ ส่วนการศึกษาย้อนหลัง (retrospective study) เป็นการศึกษาตามยาวที่ตรวจข้อมูลย้อนหลัง ยกตัวอย่างเช่น อาจจะตรวจดูบันทึกทางการแพทย์ของปีที่แล้วเพื่อตรวจหาแนวโน้ม.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และงานศึกษาตามยาว · ดูเพิ่มเติม »

งานศึกษาตามขวาง

ในงานวิจัยทางการแพทย์และสังคมศาสตร์ งานศึกษาตามขวาง"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ cross sectional analysis ว่า "การวิเคราะห์ตามขวาง" และของ cross-sectional study ว่า "วิธีศึกษาแบบตัดขวาง" หรือ งานศึกษาแบบตัดขวาง หรือ งานวิเคราะห์ตามขวาง (cross-sectional study, cross-sectional analysis, transversal study, prevalence study) เป็นการศึกษาแบบสังเกตประเภทหนึ่งที่วิเคราะห์ข้อมูลของประชากร หรือของกลุ่มตัวแทนประชากร ที่เวลาใดเวลาหนึ่ง (คือวิเคราะห์ cross-sectional data) ในสาขาเศรษฐศาสตร์ งานประเภทนี้มักจะใช้วิธีวิเคราะห์ทางสถิติแบบ cross-sectional regression เพื่อตรวจสอบตัวแปรอิสระ (independent variable) หนึ่งตัวหรือมากกว่านั้น ว่าเป็นเหตุของตัวแปรตาม (dependent variable) คือผลหรือไม่ และเหตุนั้นมีอิทธิพลต่อผลขนาดไหน ที่เวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งต่างจากการวิเคราะห์แบบ time series analysis ซึ่งติดตามดูความเป็นไปของข้อมูลรวม (aggregate data) อย่างน้อยหนึ่งตัว เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง ในงานวิจัยทางการแพทย์ งานประเภทนี้ต่างจากงานศึกษามีกลุ่มควบคุม (case-control studies) โดยที่งานประเภทนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาข้อมูลที่เป็นประเด็นศึกษา ของประชากรทั้งกลุ่ม เทียบกับงานศึกษามีกลุ่มควบคุม ที่มักจะศึกษากลุ่มบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเป็นแต่ชนกลุ่มน้อยในประชากรทั้งหมด งานประเภทนี้เป็นงานเชิงพรรณนา (descriptive) ไม่ใช่งานตามยาว (longitudinal) ไม่ใช่งานเชิงทดลอง (experimental) เป็นงานที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับ odds ratio, ความเสี่ยงสัมบูรณ์ (absolute risk), และความเสี่ยงสัมพัทธ์ (relative risk) จากความชุกของโรค (prevalence) เป็นงานที่สามารถให้ข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับกลุ่มประชากร เช่น ความชุกของโรค หรือแม้แต่ให้หลักฐานเบื้องต้น ในการอนุมานความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล เป็นงานที่ต่างจากงานศึกษาตามยาว (longitudinal studies) เพราะงานตามยาวตรวจสอบข้อมูลจากลุ่มประชากรมากกว่าครั้งเดียว เป็นระยะ ๆ เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และงานศึกษาตามขวาง · ดูเพิ่มเติม »

งู

งู เป็นสัตว์เลื้อยคลานอันดับหนึ่ง ไม่มีขา ไม่มีเปลือกตา มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัว ลักษณะลำตัวยาวซึ่งโดยขนาดของความยาวนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของงู ปราดเปรียวและว่องไวในการเคลื่อนที่ มีลิ้นสองแฉกเพื่อใช้สำหรับรับความรู้สึกทางกลิ่น จัดอยู่ในชั้น Reptilia, ตระกูล Squamata, ตระกูลย่อย Serpentes โดยทั่วไปแล้วงูจะกลัวและไม่กัด นอกเสียจากถูกรบกวนหรือบุกรุก จะเลื้อยหลบหนีเมื่อมีสิ่งใดเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่ ออกล่าเหยื่อเมื่อรู้สึกหิว โดยกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร ยกเว้นงูบางชนิดที่กินงูด้วยกันเอง เช่น งูจงอาง สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืดและในเวลากลางคืน โดยทั่วไปจะออกลูกเป็นไข่ ยกเว้นแต่งูที่มีพิษซึ่งมีผลโดยตรงทางด้านโลหิต (วงศ์งูหางกระดิ่ง((Viperidae)) ซึ่งจะออกลูกเป็นตัว เช่น งูแมวเซา ธรรมชาติโดยทั่วไป งูจะลอกคราบเมื่อมันเริ่มโตขึ้น ทำให้ผิวหนังของงูเริ่มแข็งและคับขึ้น ซึ่งงูจะลอกคราบบ่อยครั้งเมื่องูยังมีอายุไม่มากนัก ซึ่งภายหลังจากการลอกคราบของงู จะทำให้ผิวหนังเก่าหลุดออก แต่เซลล์สีที่ทำให้งูมีสีสันยังคงอยู่ในตัวงู ทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนัง มีสีสันสดใสรวมทั้งทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน มีงูถูกค้นพบแล้วประมาณ 2,700 ชนิด แต่เป็นงูไม่มีพิษประมาณ 2,300 ชนิด สำหรับในประเทศไทยมีงูจำนวนมากตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ทั่วทุกภูมิภาพของประเทศไทยสามารถพบเห็นงูได้มากกว่า 180 ชนิด โดยเป็นงูที่มีพิษจำนวน 46 ชนิด และสามารถจำแนกงูที่มีพิษออกได้อีก 2 ประเภทคือ.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และงู · ดูเพิ่มเติม »

ตับ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และตับ · ดูเพิ่มเติม »

ตับอักเสบ อี

ตับอักเสบ อี (Hepatitis E) เป็นตับอักเสบที่เกิดจากการการติดเชื้อไวรัสที่เรียกว่า hepatitis E virus (HEV) HEV เป็นไวรัส RNA สายเดียวประเภท positive-sense มีรูปทรงแบบ icosahedral และมีขนาดจีโนม 7.5 kilobase HEV ใช้ช่องทางแพร่เชื่อผ่านอุจจาระ/ช่องปาก เป็นไวรัสตับอักเสบหนึ่งในห้าชนิดที่รู้จักกันดี (A, B, C, D และ E) การติดเชื้อที่มีการบันทึกไว้ครั้งแรกเกิดใน..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และตับอักเสบ อี · ดูเพิ่มเติม »

ตัวรับรู้สารเคมี

ในระบบประสาท ตัวรับรู้สารเคมี (chemoreceptor, chemosensor) เป็นปลายประสาทรับความรู้สึกที่ถ่ายโอนข้อมูลทางเคมีไปเป็นศักยะงานเพื่อส่งไปยังระบบประสาทกลาง โดยทั่ว ๆ ไปก็คือ เป็นตัวรับรู้สิ่งเร้าคือสารเคมีในสิ่งแวดล้อม เมื่อสิ่งเร้าในสิ่งแวดล้อมสำคัญต่อการรอดชีวิต สิ่งมีชีวิตจะต้องตรวจจับสิ่งเร้านั้นได้ และเพราะกระบวนการของชีวิตทั้งหมดมีกระบวนการทางเคมีเป็นมูลฐาน จึงเป็นเรื่องธรรมดาว่า การตรวจจับและการรับรู้สิ่งเร้าภายนอกจะเป็นปรากฏการณ์ทางเคมี แน่นอนว่า สารเคมีในสิ่งแวดล้อมสำคัญต่อการรอดชีวิต และการตรวจจับสิ่งเร้าเคมีจากภายนอก อาจเชื่อมกับการทำงานทางเคมีของเซลล์โดยตรง การรับรู้สารเคมีสำคัญในการตรวจหาสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งอาหาร ที่อยู่ สัตว์ชนิดเดียวกันรวมทั้งคู่ และสัตว์ล่าเหยื่อ ยกตัวอย่างเช่น สำหรับสัตว์ล่าเหยื่อ เหยื่ออาจจะได้ทิ้งกลิ่นหรือฟีโรโมนไว้ในอากาศหรือบนพื้นผิวที่เคยอยู่ เซลล์ที่ศีรษะ ปกติในทางเดินอากาศหรือปาก จะมีตัวรับสารเคมีบนผิวที่จะเกิดปฏิกิริยาเมื่อสัมผัสกับสารที่เป็นเป้าหมาย แล้วก็จะส่งข้อมูลทางเคมีหรือทางเคมีไฟฟ้าไปยังศูนย์ คือสมองหรือไขสันหลัง ระบบประสาทกลางก็จะตอบสนองด้วยปฏิกิริยาทางกายเพื่อล่า/หาอาหารซึ่งช่วยให้รอดชีวิต.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และตัวรับรู้สารเคมี · ดูเพิ่มเติม »

ตัวตั้งต้น

ตัวตั้งต้น (precursor) ตามคำศัพท์แปลว่าสิ่งที่อยู่ก่อนหรือมาก่อน ซึ่งต้องมีของที่เป็นคู่กับมันเป็นสิ่งที่จะต้องตามมา และมีความหมายเดียวกับ ผู้นำหน้า (forerunner) หรือ ผู้มาก่อน (predecessor) ตัวอย่างเช่น โกโก้ (cocoa) เป็นตัวตั้งต้นของ ช็อกโกแลต (chocolate) แต่ ช็อกโกแลต ไม่ใช่ตัวตั้งต้นของไอศกรีม นั่นคือ ช็อกโกแลต เป็น ส่วนประกอบ (ingredient).

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และตัวตั้งต้น · ดูเพิ่มเติม »

ตำบลพิมลราช

ตำบลพิมลราช เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอบางบัวทอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดนนทบุรี นอกจากนี้ การคมนาคมก็สะดวกสบาย อีกทั้งหมู่บ้านจัดสรรระดับสูงที่มากมายทำให้ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และตำบลพิมลราช · ดูเพิ่มเติม »

ซอมบี

นักแสดงในบทบาทซอมบี ซอมบี (Zombie) คือสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้วฟื้นในบันเทิงคดีที่เกิดจากที่ศพการกลับมามีชีวิต ซอมบีมักพบในสื่อบันเทิงแนวสยองขวัญและจินตนิมิต คำนี้มาจากนิทานพื้นบ้านชาวเฮติที่ว่าซอมบีเป็นศพคนตายที่กลับมามีชีวิตด้วยวิธีการต่าง ๆ ส่วนใหญ่มาจากเวทมนตร์ การพรรณนาถึงซอมบีในสมัยใหม่ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์ แต่มักใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การแผ่รังสี โรคทางจิต ไวรัส อุบัติเหตุทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น คำว่า "zombie" ในภาษาอังกฤษมีบันทึกครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และซอมบี · ดูเพิ่มเติม »

ซูสีไทเฮา

ฉือสี่ไท่โฮ่ว ตามภาษาจีนมาตรฐาน หรือ ซูสีไทเฮา ตามภาษาจีนฮกเกี้ยน (29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1835 – 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1908) เป็นสตรีชาวแมนจูจากตระกูลเย่เฮ่อน่าลา (葉赫那拉氏) ดำรงตำแหน่งไท่โฮ่ว (พระราชชนนีพันปีหลวง) และสำเร็จราชการแทนจักรพรรดิจีนหลายพระองค์ในช่วงปลายราชวงศ์ชิง พระนางจึงควบคุมการปกครองจักรวรรดิจีนโดยพฤตินัยเป็นเวลา 47 ปีตั้งแต..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และซูสีไทเฮา · ดูเพิ่มเติม »

ซีเมนส์

ำหรับยี่ห้อระบบรถไฟฟ้า ดูที่ ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร ซีเมนส์ (Siemens AG) เป็นกลุ่มบริษัทวิศวกรรมขนาดใหญ่ที่สุดของยุโรป สำนักงานใหญ่นานาชาติของซีเมนส์ตั้งอยู่ที่เบอร์ลินและมิวนิก ประเทศเยอรมนี ซีเมนส์เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจหลายประเภทรวมกัน (conglomerate) โดยมีแผนกธุรกิจหลัก 6 ส่วน ได้แก่ ระบบอัตโนมัติและระบบควบคุม, พลังงานไฟฟ้า, ระบบขนส่ง, การแพทย์, สารสนเทศและการสื่อสาร, และระบบส่องสว่าง เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ซีเมนส์ได้ปรับธุรกิจใหม่เป็นสามส่วนคือ อุตสาหกรรม, พลังงาน, และสุขภาพ โดยมีแผนกรวมทั้งหมด 15 แผนก ซีเมนส์และบริษัทในเครือจ้างงานทั่วโลกประมาณ 400,000 ตำแหน่ง, www.siemens.com, January 2008 ในเกือบ 190 ประเทศ และแจ้งรายได้ทั่วโลก 72,448 ล้านยูโร ในปีงบประมาณ 2550 บริษัทซีเมนส์อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แฟรงค์เฟิร์ต และอยู่ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กตั้งแต่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2544 ซีเมนส์ก่อตั้งโดย แวร์เนอร์ ฟอน ซีเมนส์ เมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2390 (ค.ศ. 1847) โดยเริ่มจากการคิดค้นระบบโทรเลขที่ให้ผลลัพธ์เป็นตัวอักษรแทนที่จะเป็นรหัสมอร์ส เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2560 ซีเมนส์ประกาศควบรวมกิจการเฉพาะหน่วยธุรกิจระบบรางและระบบอาณัติสัญญาณ (ซีเมนส์ โมบิลิที) เข้ากับ อัลสตอม (Alstom) ของประเทศฝรั่งเศส เพื่อร่วมกันสร้างบริษัทระบบรางที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีสำนักงานย่อย โรงงาน คู่ค้าและพันธมิตรกว่า 60 ประเทศ รวมประเทศไทย โดยบริษัทใหม่จะใช้ชื่อว่า ซีเมนส์ อัลสตอม (Siemens Alstom) มีกำหนดควบรวมกิจการเสร็จภายในสิ้นปีการเงิน..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และซีเมนส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติวิชากายวิภาคศาสตร์

วาดทางกายวิภาคแสดงหลอดเลือดดำในร่างกาย ในสมัยปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ประวัติการศึกษาวิชากายวิภาคศาสตร์ เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาตั้งแต่การผ่าร่างกายของเหยื่อจากการสังเวยในสมัยโบราณ ไปจนถึงการวิเคราะห์อย่างละเอียดซับซ้อนถึงการทำงานของร่างกายโดยนักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ การศึกษาวิชานี้มีลักษณะเฉพาะมาเป็นเวลานาน และมีการพัฒนาถึงการทำความเข้าใจในหน้าที่และโครงสร้างของอวัยวะในร่างกายอย่างต่อเนื่อง การศึกษากายวิภาคศาสตร์มนุษย์มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่มีเกียรติและนับว่าเป็นสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่มีความโดดเด่นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 วิธีการศึกษาวิชากายวิภาคศาสตร์ก็มีการพัฒนาอย่างมากมายตั้งแต่การศึกษาในสัตว์ไปจนถึงการศึกษาในศพของมนุษย์ และการใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนในคริสต์ศตวรรษที่ 20.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และประวัติวิชากายวิภาคศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์เภสัชกรรม

ลังยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในประเทศอิตาลี ประวัติศาสตร์เภสัชกรรม มีวิวัฒนาการไปพร้อมกับประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เนื่องจากยาเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ และเภสัชกรรมเป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการทางการแพทย์ ทั้งแผนตะวันตกและตะวันออกมาช้านาน โดย "การแพทย์" สามารถแบ่งออกเป็นหลายสาขา ได้แก่ เวชกรรม เภสัชกรรม พยาบาล ทันตกรรม เป็นต้น โดยในระยะเริ่มแรก การแพทย์ของทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออกจะอยู่ในรูปองค์รวม โดยมี "แพทย์" เป็นผู้รับผิดชอบทั้งการรักษา การปรุงยา การดูแล จนกระทั่งเมื่อวิทยาการทางการแพทย์มีความก้าวหน้า ได้มีการจำแนกวิชาชีพออกตามความชำนาญมากขึ้น เพื่อฝึกหัดให้เกิดความชำนาญเฉพาะด้านแต่ละสาขา ระบบการแพทย์ในสมัยโบราณมักผูกพันกับอำนาจลี้ลับ เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผสมผสานกับการสังเกต ทดลอง วิเคราะห์ และหาความเชื่อมโยง รวมถึงการสังเกตพฤติกรรมสัตว์ในการบริบาลตนเองเมื่อเจ็บป่วย และได้นำมาดัดแปลงตามความเหมาะสม เกิดแนวคิดและถ่ายทอดสู่รุ่นลูกหลาน และพัฒนาขึ้นเป็นระบบ และเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในแต่ละภูมิภาค ในสมัยโบราณ การจัดทำเภสัชตำรับขึ้นครั้งแรกเกิดขึ้นในดินแดนเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีการบันทึกโดยใช้อักษรคูนิฟอร์ม นับเป็นเภสัชตำรับฉบับแรกของโลก และเริ่มมีการแบ่งสายวิชาชีพเภสัชกรรมออกจากวิชาชีพเวชกรรมในสมัยพระเจ้าฮัมมูราบี ส่วนในจีน การแพทย์มักมีความผูกพันกับธรรมชาติ และใช้ปรัชญาของจีนร่วมในการรักษา ในอียิปต์เริ่มมีการจดบันทึกเภสัชตำรับเมื่อประมาณ 1500 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ปาปิรุสอีเบอร์" ตลอดจนบูชาเทพเจ้าในการบำบัดโรคกว่า 10 องค์ ในสมัยกรีกโบราณ ชาวกรีกได้บูชาเทพแอสคลีปิอุส ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเทพแห่งการแพทย์ เช่นเดียวกับพระธิดา คือ เทพีไฮเจีย เทพีแห่งสุขอนามัย โดยพระองค์จะถือถ้วยยาและงูไว้ งูเป็นสัญลักษณ์ในการดูดพิษของชาวกรีกโบราณ จนกระทั่งเป็นสัญลักษณ์ของวิชาชีพเภสัชกรรมในปัจจุบัน กรีกมีนักปราชญ์มากมาย จึงใช้ปรัชญาและทฤษฎีในการบำบัดรักษาโรคทั่วไป ส่วนในยุคโรมัน ซึ่งได้รับวิทยาการถ่ายทอดจากกรีก ได้ใช้ปรัชญาจากนักปราชญ์ในการบริบาลผู้ป่วยสืบต่อมา สมัยจักรวรรดิโรมัน กาเลนนับเป็นบุคคลสำคัญในการบริบาลผู้ป่วย โดยกาเลนจะปรุงยาด้วยตนเองเสมอจนถือว่ากาเลนเป็น "บิดาแห่งเภสัชกรรม" ในสมัยกลาง เมื่อโรมันเสื่อมอำนาจลง วิทยาการด้านการแพทย์เสื่อมถอยลง แต่วิทยาการทางการแพทย์ตะวันตกยังคงได้รับการถ่ายทอดจากชาวอาหรับที่มาค้าขายด้วย ในสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ทรงประกาศกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพเภสัชกรรม (Magna Charta of the Profession of Pharmacy) เมื่อ ค.ศ. 1240 ห้ามมิให้ดำเนินการตั้งร้านยาหรือธุรกิจเกี่ยวกับการขายยา ยกเว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐ และให้แยกวิชาชีพเภสัชกรรมออกจากวิชาชีพเวชกรรมอย่างเด็ดขาดเป็นครั้งแรก การจำแนกเภสัชกรรมออกจากเวชกรรม เรียกข้อมูลวันที่ 8 สิงหาคม..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และประวัติศาสตร์เภสัชกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทวิทยา

Jean-Martin Charcot ประสาทวิทยา (Neurology) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบประสาท กล่าวคือเกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยและรักษาโรคที่จัดว่าเกี่ยวข้องกับระบบประสาทกลาง, ระบบประสาทนอกส่วนกลาง และระบบประสาทอิสระ รวมทั้งหลอดเลือด เนื้อเยื่อปกคลุม และอวัยวะที่ประสาทสั่งการ เช่น กล้ามเนื้อ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาจะได้รับการฝึกเพื่อการสืบค้น, การวินิจฉัย และรักษาความผิดปกติของระบบประสาท.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และประสาทวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทศัลยศาสตร์

ประสาทศัลยศาสตร์ (neurosurgery, neurological surgery) เป็นการแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่งทางศัลยศาสตร์ ดูแลเกี่ยวกับการป้องกัน วินิจฉัย รักษา ฟื้นฟูโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท รวมถึงสมอง ไขสันหลัง กระดูกสันหลัง เส้นประสาทส่วนปลาย และระบบหลอดเลือดสมองนอกกะโหลกศีรษะด้วย * หมวดหมู่:ศัลยกรรมเฉพาะทาง หมวดหมู่:การแพทย์เฉพาะทาง.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และประสาทศัลยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเวศ วะสี

ตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ประเวศ วะสี ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดลกรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรรมการ สภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ราษฎรอาวุโส เป็นนักวิชาการด้านสาธารณสุข และนักวิชาการเกี่ยวกับการศึกษา ทั้งเป็นผู้สนับสนุนงานค้นคว้าวิจัยต่างๆที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาและพัฒนาชีวิต นายแพทย์ประเวศ วะสี เกิดเมื่อวันที่ ตำบลเกาะสำโรง บนฝั่งลำน้ำแควน้อย จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายคลายและนางกิม วะสี ศึกษาชั้นมูลฐานในวัยเยาว์ที่โรงเรียนวัดเหนือ ชั้นประถมศึกษาที่ โรงเรียนประชาบาลตำบลเกาะสำโรง ชั้นมัธยมที่โรงเรียนวิสุทธรังษี จนถึง..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และประเวศ วะสี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทยใน พ.ศ. 2379

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2379 ในประเทศไท.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และประเทศไทยใน พ.ศ. 2379 · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

ัณฑิตจากมหาวิทยาลัยแมคกิลล์สวมชุดครุยระดับปริญญาเอก กลุ่มบัณฑิตที่ได้รับปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกับอาจารย์ของพวกเขา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Philosophiae doctor, Doctor of Philosophy, อักษรย่อ ปร.ด., PhD, Ph.D. หรือ DPhil) คือปริญญาทางวิชาการสูงสุดที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยในหลายประเทศ การได้รับปรัชญาดุษฎีบัณฑิตมาจากหลักสูตรที่มีความกว้างขวางของสาขาทางวิชาการ การได้มาซึ่งปรัชญาดุษฎีบัณฑิตมักจะเป็นที่ต้องการสำหรับอาชีพอาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิจัย หรือนักวิทยาศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ บุคคลที่ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตอาจใช้คำนำหน้าว่าดอกเตอร์ (Doctor) หรือนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า "ดร." ("Dr") ในทางกฎหมายได้ หรือในประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษอาจใช้คำที่แตกต่างกันเช่น "Dr.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระดูกอ่อน

ปลากระดูกอ่อน (ชั้น: Chondrichthyes; Cartilaginous fish) เป็นชั้นของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งมีโครงสร้างกระดูกประกอบไปด้วยเซลล์กระดูกอ่อนอย่างเดียว โดยมีหินปูนมาประกอบเป็นบางส่วน ส่วนมากมีเหงือกแยกออกเป็นช่อง 5 ช่อง มีเกล็ดแบบพลาคอยด์ ที่จะไม่โตไปตามตัว มีลักษณะสากเมื่อสัมผัส ตัวผู้มีรยางค์เพศที่ครีบท้องเป็นติ่งยื่นเรียก แคลสเปอร์ หรือที่ในภาษาไทยเรียก เดือย โดยมากจะออกลูกเป็นตัว ขากรรไกรแยกออกจากกะโหลก ปลาจำพวกนี้พบทั่วโลกประมาณ 800 ชนิด เป็นปลากินเนื้อ ส่วนมากเป็นปลาทะเล ในน้ำจืดมีเพียงไม่กี่สิบชนิด มีหลายอันดับ หลายวงศ์ หลายสกุล โดยปลาในกลุ่มปลากระดูกอ่อนนี้ที่รู้จักกันดี ก็ได้แก่ ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน เป็นต้น ปลากระดูกอ่อนส่วนใหญ่มีรูปร่างเรียวยาว ยกเว้น ปลากระเบน ที่มีรูปร่างแบน ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เช่น ปลากระเบนน้ำจืด มีขนาดแตกต่างกันตามแต่ละสกุล แต่ละชนิด ตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่ถึงหนึ่งฟุต จนถึง 20 เมตร หนักถึง 34 ตัน คือ ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และปลากระดูกอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

ปัญหาปี ค.ศ. 2000

ปัญหาปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และปัญหาปี ค.ศ. 2000 · ดูเพิ่มเติม »

นักศึกษาแพทย์

นักศึกษาแพทย์ นักเรียนแพทย์ หรือ นิสิตแพทย์ คือบุคคลซึ่งศึกษาในโรงเรียนแพทย์ในหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำเร็จการศึกษาออกไปเป็นแพทย์ การศึกษาในชั้นนี้นับว่าเป็นขั้นแรกสุดของลำดับการศึกษาในวิชาชีพแพท.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และนักศึกษาแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

นักสถิติ

นักสถิติ เป็นบุคคลซึ่งทำงานกับสถิติทางทฤษฎีหรือประยุกต์ วิชาชีพนี้มีทั้งในภาคเอกชนและรัฐบาล แก่นของงานคือการวัด ตีความและอธิบายรูปแบบโลกและกิจกรรมมนุษย์ในสถิตินั้น สาขานี้มีประวัติศาสตร์ร่วมกันกับสังคมศาสตร์ปฏิฐานนิยมอย่างมาก แต่บ่อยครั้งเน้นกับวิธีทางคณิตศาสตร์ขั้นสูงมากกว่า การรวมความรู้ทางสถิติกับความชำนาญในวิชาอื่นมีทั่วไป การนำไปใช้ก็หลากหลาย นักสถิติสามารถใช้ความรู้ของตนกับการผลิต วิจัย การเงิน การแพทย์ สิ่งแวดล้อมที่สร้างขึ้นและตามธรรมชาติ การประกันภัยและรัฐบาล พวกเขามักถูกว่าจ้างให้สนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการหรือดูแลการควบคุมคุณภาพในการผลิต.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และนักสถิติ · ดูเพิ่มเติม »

นัยสำคัญทางคลินิก

ในการแพทย์และจิตวิทยา นัยสำคัญทางคลินิก (clinical significance) เป็นผลที่มีจริง ๆ ของการรักษา ว่ามันมีผลที่แท้จริง รู้สึกได้ สังเกตได้ในชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และนัยสำคัญทางคลินิก · ดูเพิ่มเติม »

นิกร ดุสิตสิน

ตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ นิกร ดุสิตสิน เกิด 1 สิงหาคม พ.ศ. 2474 นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และนิกร ดุสิตสิน · ดูเพิ่มเติม »

น้ำหนักลด

น้ำหนักลด ในบริบททางการแพทย์ สุขภาพหรือสมรรถภาพทางกาย คือการลดลงของมวลกายรวม อันเนื่องมาจากการลดลงของของไหล ไขมันร่างกายหรือเนื้อเยื่อไขมัน และ/หรือ มวลกล้ามเนื้อไขมัน (lean mass) โดยเฉลี่ย ซึ่งกล้ามเนื้อไขมันนั้นคือ แหล่งแร่ธาตุกระดูก กล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันอื่น น้ำหนักลดสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่เจตนาเนื่องจากโรคเบื้องหลังหรือสามารถเกิดขึ้นจากความพยายามอย่างตั้งใจเพื่อปรังปรุงน้ำหนักเกินแท้จริงหรือน้ำหนักเกินรับมา หรือโรคอ้วน.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และน้ำหนักลด · ดูเพิ่มเติม »

แพร์ วิกทอร์ เอดมัน

แพร์ วิกทอร์ เอดมัน (Pehr Victor Edman; 14 เมษายน ค.ศ. 1916 – 19 มีนาคม ค.ศ. 1977) เป็นนักชีวเคมีชาวสวีเดน เกิดที่กรุงสตอกโฮล์ม เป็นบุตรของวิกทอร์และอัลบา เอดมัน เรียนวิชาแพทย์ที่สถาบันแคโรลินสกา ต่อมาเอดมันถูกเกณฑ์เข้ากองทัพสวีเดนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังสงคราม เอดมันกลับไปเรียนปริญญาเอกที่สถาบันแคโรลินสกา ในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และแพร์ วิกทอร์ เอดมัน · ดูเพิ่มเติม »

แพทยศาสตรบัณฑิต

แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) เป็นหลักสูตรในการศึกษาสาขาวิชาแพทยศาสตร์ ในประเทศไทยเทียบเท่าปริญญาตรี แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เทียบเท่าปริญญาเอก (Professional Doctorate) ผู้ที่จะเข้าศึกษา Doctor of Medicine (MD)ในประเทศสหรัฐอเมริกาต้องจบปริญญาตรีก่อน จึงจะสามารถเข้าศึกษาแพทยศาสตร์ได้ แพทยศาสตรบัณฑิต หมวดหมู่:แพทยศาสตรศึกษา.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และแพทยศาสตรบัณฑิต · ดูเพิ่มเติม »

แพทย์

แพทย์ (physician, doctor) หรือภาษาพูดว่า "หมอ" ในบางพื้นที่ตามชนบท อาจเรียกแพทย์ว่า "หมอใหญ่" เพื่อกันสับสนกับพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่อื่นในทางด้านสาธารณสุข แพทย์มีหน้าที่ ซักถามประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อสั่งการรักษาหรือให้การรักษาโรค ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพ ให้แก่ผู้ป่วย ร่วมกับบุคลากรด้านสุขภาพอื่น.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

แพทริก แมนสัน

ซอร์ แพทริก แมนสัน (Sir Patrick Manson; 3 ตุลาคม ค.ศ. 1844 – 9 เมษายน ค.ศ. 1922) เป็นแพทย์ชาวสกอต เป็นผู้ริเริ่มการศึกษาเวชศาสตร์เขตร้อน เขาค้นพบว่ายุงเป็นพาหะของโรคเท้าช้าง ผลงานดังกล่าวก่อให้เกิดทฤษฎียุง-มาลาเรีย ซึ่งนำไปสู่การค้นพบว่ายุงเป็นพาหะของโรคมาลาเรี.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และแพทริก แมนสัน · ดูเพิ่มเติม »

แอล. แอล. ซาเมนฮอฟ

แอล.แอล. ซาเมนฮอฟ, 2451 แอล.แอล.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และแอล. แอล. ซาเมนฮอฟ · ดูเพิ่มเติม »

แอนตาโกนิสต์

'''แอนตาโกนิสต์''' แอนตาโกนิสต์ (antagonist) ในทางการแพทย์และเภสัชวิทยา เป็นสารที่มีหน้าที่ยับยั้งการทำงานปกติทางสรีรวิทยาของรีเซพเตอร์ (receptor) ยาหลายตัวทำงานโดยการหยุดบทบาทของเอ็นโดจีนัส (endogenous) รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ เช่น ฮอร์โมน และ นิวโรทรานสมิตเตอร์ แอนตาโกนิสต์จะแข่งขันกับอะโกนิสต์เพื่อเชื่อมต่อกับรีเซพเตอร์ บางครั้งจึงเรียกว่า แอนตาโกนิสต์ คู่แข่งขัน (competitive antagonist) แอนตาโกนิสต์หยุดอะโกนิสต์ได้โดยการแย่งชิงการเชื่อมต่อกับรีเซพเตอร.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และแอนตาโกนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

แอนเดรียส เวซาเลียส

แอนเดรียส เวซาเลียส แอนเดรียส เวซาเลียส (Andreas Vesalius) (บรัสเซลส์, 31 ธันวาคม ค.ศ. 1514 - ซาคินธอส, 15 ตุลาคม ค.ศ. 1564) นักกายวิภาคศาสตร์ แพทย์ และผู้เขียนหนังสือที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการศึกษากายวิภาคศาสตร์มนุษย์ชื่อ “โครงสร้างของร่างกายมนุษย์” (De humani corporis fabrica) เวซาเลียสถือว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งกายวิภาคศาสตร์มนุษย์สมัยใหม่ เวซาเลียส (Vesalius) เป็นชื่อภาษาละตินของ อันเดรอัส ฟาน เวเซล (Andreas van Wesel) บางครั้งอาจเรียกชื่อของเขาว่า Andreas Vesal.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และแอนเดรียส เวซาเลียส · ดูเพิ่มเติม »

แอ็ลเซอเฟียร์

แอ็ลเซอเฟียร์ (Elsevier) เป็นสำนักพิมพ์ที่มีการตีพิมพ์วารสารวิชาการ ที่เน้นผลงานในด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์ โดยมีวารสารที่เป็นที่นิยมได้แก่ The Lancet, Cell, หนังสือ Gray's Anatomy, รายการรวบรวมวารสาร ScienceDirect, Trends, Current Opinion และฐานข้อมูลสโกปัส บริษัทนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท RELX Group มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่อัมสเตอร์ดัม และมีสาขาอยู่ที่สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก บราซิล สเปน แอ็ลเซอเฟียร์มีการตีพิมพ์กว่า 350,000 บทความต่อปี ในวารสาร 2,000 เล่ม โดยมีเอกสารรวบรวมกว่า 13 ล้านเรื่อง และมีการดาวน์โหลดกว่า 750 ล้านครั้งต่อปี.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และแอ็ลเซอเฟียร์ · ดูเพิ่มเติม »

แฮร์มัน สแน็ลเลิน

แผนภูมิสแน็ลเลิน แฮร์มัน สแน็ลเลิน (Herman Snellen; 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1834 – 18 มกราคม ค.ศ. 1908) เป็นจักษุแพทย์ชาวดัตช์ เกิดที่เมืองไซสต์ เข้าเรียนด้านการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยยูเทรกต์ หลังเรียนจบสแน็ลเลินทำงานเป็นผู้ช่วยแพทย์ที่โรงพยาบาลเนเธอร์แลนด์เพื่อผู้ป่วยโรคตา (Nederlandsch Gasthuis voor Ooglijders) ในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และแฮร์มัน สแน็ลเลิน · ดูเพิ่มเติม »

แฮร์มันน์ รอร์ชัค

แฮร์มันน์ รอร์ชัค (Hermann Rorschach; 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1884 – 1 เมษายน ค.ศ. 1922) เป็นจิตแพทย์ชาวสวิส เป็นผู้คิดค้นแบบทดสอบรอร์ชัค (Rorschach test).

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และแฮร์มันน์ รอร์ชัค · ดูเพิ่มเติม »

แฮนส์ เครสตีแยน กรัม

แฮนส์ เครสตีแยน โยแอคิม กรัม (Hans Christian Joachim Gram; 13 กันยายน ค.ศ. 1853 – 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938) เป็นนักวิทยาแบคทีเรียชาวเดนมาร์ก เกิดที่กรุงโคเปนเฮเกน เขาเป็นบุตรของเฟรดเรก แทร์เคิล ยูลียุส กรัม กับลุยเซอ เครสตีแยเนอ รอว์ลอน กรัมเรียนที่โรงเรียนนครบาลโคเปนเฮเกนและช่วยงานศาสตราจารย์ยาเพทุส สเตนสโตรป ต่อมาเขาเรียนวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และแฮนส์ เครสตีแยน กรัม · ดูเพิ่มเติม »

โฟตอนิกส์

ฟโตนิกส์ (photonics) คือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของการสร้างและควบคุมแสง (โฟตอน) โดยเฉพาะในช่วงสเปคตรัมที่มองเห็นและอินฟราเรด การประยุกต์ใช้โฟโตนิกส์นั้นมักเกี่ยวข้องกับแสงเลเซอร์ ความถี่ของแสงที่ใช้งานนั้นอยู่ในช่วงร้อยเทราเฮิรตซ.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และโฟตอนิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

โมฮัมหมัด นาญิบุลลอฮ์

มฮัมหมัด นาญิบุลลอฮ์ อะหมัดไซ (Mohammad Najibullah Ahmadzai; ډاکټر نجیب ﷲ احمدزۍ, เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947 – 28 กันยายน ค.ศ. 1996) เป็นนักการเมืองชาวอัฟกานิสถาน เป็นประธานาธิบดีอัฟกานิสถานระหว่าง..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และโมฮัมหมัด นาญิบุลลอฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

โมเลกุลเล็ก

ในสาขาเภสัชวิทยาและชีวเคมี โมเลกุลเล็ก เป็นสารอินทรีย์มวลโมเลกุลต่ำ ซึ่งมิใช่พอลิเมอร์ตามนิยาม คำว่า โมเลกุลเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาเภสัชวิทยา ปกติจำกัดใช้เฉพาะกับโมเลกุลซึ่งยึดเหนี่ยวด้วยสัมพรรคภาพสูงกับพอลิเมอร์ชีวภาพ เช่น โปรตีน กรดนิวคลีอิก หรือพอลิแซคคาไรด์ และยังเปลี่ยนกิจกรรมหรือหน้าที่ของพอลิเมอร์ชีวภาพ ขอบเขตมวลโมเลกุลขั้นสูงของโมเลกุลเล็กอยู่ที่ประมาณ 800 ดาลตัน ซึ่งทำให้โมเลกุลเล็กสามารถแพร่ข้ามเยื่อหุ้มเซลล์ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อที่จะไปถึงจุดออกฤทธิ์ (site of action) ภายในเซลล์ได้ นอกเหนือจากนี้ การจำกัดมวลโมเลกุลนี้เป็นเงื่อนไขจำเป็นแต่ไม่เพียงพอแก่ชีวปริมาณออกฤทธิ์ (bioavailability) ทางปาก โมเลกุลเล็กสามารถมีหน้าที่ทางชีววิทยาได้หลากหลาย โดยเป็นโมเลกุลส่งสัญญาณของเซลล์ เป็นเครื่องมือในชีววิทยาโมเลกุล เป็นยาในทางการแพทย์ เป็นสารฆ่าสัตว์รังควาน (pesticide) ในการเกษตร ฯลฯ สารประกอบเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (เช่น สารเมแทบอไลต์ทุติยภูมิ) หรือมนุษย์สังเคราะห์ขึ้น (เช่น ยาปฏิชีวนะ) และอาจมีผลที่เป็นประโยชน์ต่อโรค (เช่น ยา) หรือเป็นอันตราย (เช่น สารก่อวิรูป และสารก่อมะเร็ง) ก็ได้ พอลิเมอร์ชีวภาพ เช่น กรดนิวคลีอิก โปรตีนและพอลิแซคคาไรด์ (เช่น แป้งหรือเซลลูโลส) มิใช่โมเลกุลเล็ก แม้มอนอเมอร์องค์ประกอบของมัน คือ ไรโบหรือดีออกซีไรโบนิวคลีโอไทด์ กรดอะมิโนและมอนอแซคคาไรด์ ตามลำดับ มักถูกพิจารณาว่าเป็นก็ตาม โอลิโกเมอร์ขนาดเล็กมาก ๆ ยังมักถูกพิจารณาว่าเป็นโมเลกุลเล็ก เช่น ไดนิวคลีโอไทด์ เพปไทด์ อาทิ กลูตาไธโอนต้านอนุมูลอิสระ และไดแซคคาไรด์ เช่น ซูโครส หมวดหมู่:สรีรวิทยาของพืช หมวดหมู่:ยา หมวดหมู่:ชีวเคมี หมวดหมู่:อณูชีววิทยา หมวดหมู่:เภสัชวิทยา.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และโมเลกุลเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันน์ ก็อตต์ล็อบ ไลเดินฟรอสต์

ลิปวิดีโอแสดงปรากฏการณ์ไลเดินฟรอสต์ โยฮันน์ ก็อตต์ล็อบ ไลเดินฟรอสต์ (Johann Gottlob Leidenfrost; 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1715 – 2 ธันวาคม ค.ศ. 1794) เป็นแพทย์และนักเทววิทยาชาวเยอรมัน เกิดที่เมืองรอสเปอร์เวนดาในเคาน์ตีสตอลแบร์ก-สตอลแบร์ก เป็นบุตรของโยฮันน์ ไฮน์ริช ไลเดินฟรอสต์ ครั้งแรกไลเดินฟรอสต์เรียนเทววิทยาที่มหาวิทยาลัยกีสเซิน แต่ต่อมาเปลี่ยนไปเรียนวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยไลพ์ซิจและมหาวิทยาลัยฮัลเลอ หลังเรียนจบ ไลเดินฟรอสต์ใช้เวลาท่องเที่ยวและเป็นแพทย์สนามในสงครามซิเลเซียครั้งที่หนึ่ง ต่อมาในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และโยฮันน์ ก็อตต์ล็อบ ไลเดินฟรอสต์ · ดูเพิ่มเติม »

โรควิตกกังวล

รควิตกกังวล (Anxiety disorders) เป็นกลุ่มความผิดปกติทางจิตกำหนดโดยความวิตกกังวลและความกลัว ความวิตกกังวล (anxiety) เป็นความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคตและความกลัว (fear) เป็นปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน --> ความรู้สึกเช่นนี้อาจทำให้เกิดอาการทางกาย เช่น หัวใจเต้นเร็วและตัวสั่น --> มีโรควิตกกังวลหลายอย่าง รวมทั้งโรควิตกกังวลไปทั่ว (GAD), โรคกลัว (phobia) ที่เฉพาะเจาะจง, โรคกลัวการเข้าสังคม (social anxiety disorder), โรควิตกกังวลเมื่อต้องแยก (separation anxiety disorder), โรคกลัวที่ชุมชน (agoraphobia), และโรคตื่นตระหนก (panic disorder) --> โดยโรคจะต่าง ๆ กันตามอาการ --> แต่คนไข้มักจะมีโรควิตกกังวลมากกว่าหนึ่งชนิด โรคมีปัจจัยจากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งประวัติถูกทารุณกรรมในวัยเด็ก ประวัติความผิดปกติทางจิตในครอบครัว และความยากจน --> โรคมักเกิดร่วมกับความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า (MDD) ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (PD) และการเสพสารเสพติด (substance use disorder) เพื่อจะวินิจฉัยว่าเป็นโรค จะต้องมีอาการอย่างน้อย 6 เดือน มีความวิตกกังวลเกินเหตุ และมีปัญหาในการดำเนินชีวิต แต่ก็มีปัญหาทางจิตเวชและทางแพทย์อื่น ๆ ที่อาจมีอาการคล้าย ๆ กันรวมทั้งอาการไฮเปอร์ไทรอยด์, โรคหัวใจ, การเสพกาเฟอีน แอลกอฮอล์ และกัญชา, และการขาดยา (withdrawal) บางประเภท ถ้าไม่รักษา โรคมักจะไม่หาย การรักษารวมทั้งการเปลี่ยนสไตล์ชีวิต จิตบำบัด และการทานยา --> จิตบำบัดมักจะเป็นรูปแบบหนึ่งของการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) ยาเช่นยาแก้ซึมเศร้าหรือเบต้า บล็อกเกอร์ อาจช่วยให้อาการดีขึ้น คนประมาณ 12% มีโรคทุก ๆ ปี โดยเกิดในหญิงมากกว่าชาย 2 เท่า และทั่วไปเริ่มก่อนอายุ 25 ปี ประเภทโรคที่สามัญที่สุดคือโรคกลัวที่เฉพาะเจาะจงซึ่งเกิดในคน 12% และโรคกลัวการเข้าสังคม (SAD) ซึ่งเกิดในคน 10% ในช่วงหนึ่งในชีวิต --> โดยเกิดกับบุคคลอายุ 15-35 ปีมากที่สุด และเกิดขึ้นน้อยหลังถึงอายุ 55 ปี --> อัตราการเกิดดูจะสูงกว่าในสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป สีหน้าของบุคคลที่มีความวิตกกังวลเรื้อรัง.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และโรควิตกกังวล · ดูเพิ่มเติม »

โรคหมอทำ

รคหมอทำ.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และโรคหมอทำ · ดูเพิ่มเติม »

โรคอารมณ์สองขั้ว

รคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder) เดิมเรียก ความเจ็บป่วยฟุ้งพล่าน-ซึมเศร้า (manic-depressive illness) เป็นโรคจิตซึ่งมีลักษณะ คือ มีช่วงที่ครึ้มใจและช่วงที่ซึมเศร้า อารมณ์ครึ้มใจมีความสำคัญและเรียก อาการฟุ้งพล่าน (mania) หรือภาวะไฮโปเมเนีย (hypomania) ขึ้นอยู่กับความรุนแรงหรือมีโรคจิตหรือไม่ ระหว่างภาวะฟุ้งพล่าน ปัจเจกบุคคลรู้สึกหรือแสดงออกว่ามีความสุข มีกำลังหรือหงุดหงิดผิดปกติ มักตัดสินใจไม่ดีโดยไม่คำนึงถึงผลลัพธ์ ความต้องการนอนหลับมักลดลง ระหว่างช่วงซึมเศร้า อาจมีการร้องไห้ เลี่ยงการสบตากับผู้อื่นและมองชีวิตในแง่ลบ ความเสี่ยงการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยโรคนี้สูงที่กว่า 6% ในเวลา 20 ปี ขณะที่การทำร้ายตัวเองเกิด 30–40% โรคนี้ปกติสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตอื่น เช่น โรควิตกกังวลและโรคการใช้สารเสพต.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และโรคอารมณ์สองขั้ว · ดูเพิ่มเติม »

โรคซึมเศร้า (การวินิจฉัยแยกโรค)

url.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และโรคซึมเศร้า (การวินิจฉัยแยกโรค) · ดูเพิ่มเติม »

โรงพยาบาลฮีวู

รงพยาบาลฮีวู (Hewu Hospital) เป็นโรงพยาบาลที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลส่วนภูมิภาคในวิทเทิลซี อีสเทิร์นเคป ประเทศแอฟริกาใต้ แผนกโรงพยาบาลประกอบด้วยแผนกฉุกเฉิน, แผนกกุมารเวชศาสตร์, แผนกคลอดบุตร, แผนกผู้ป่วยนอก, บริการผ่าตัด, บริการทางการแพทย์, ห้องผ่าตัดและบริการแผนกการบริหารงานจ่ายกลาง, เภสัชกรรม, การรักษาด้วยยาต้านไวรัส (ARV) สำหรับโรคเอดส์, บริการการให้คำปรึกษาหลังการบาดเจ็บ, บริการห้องปฏิบัติการ, บริการรังสีเอกซ์, บริการซักรีด และบริการครัว.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และโรงพยาบาลฮีวู · ดูเพิ่มเติม »

โรงพยาบาลในประเทศไทย

รงพยาบาล (หรืออาจใช้ว่า สถานพยาบาล หรือ ศูนย์การแพทย์) เป็นสถานที่สำหรับการบริการทางด้านสุขภาพ โดยมักที่จะมุ่งเน้นทางด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูภาวะความเจ็บป่วย หรือโรคต่างๆ ทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ ในประเทศไทยมีการให้บริการทั้งโรงพยาบาลรัฐบาล โรงพยาบาลเอกชน รวมทั้งคลินิกที่เปิดบริการโดยทั่วไป.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และโรงพยาบาลในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

โรนัลด์ รอสส์

ซอร์โรนัลด์ รอสส์ KCB (Sir Ronald Ross; 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1857 – 16 กันยายน ค.ศ. 1932) เป็นแพทย์ชาวอังกฤษ-อินเดีย ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์เมื่อปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และโรนัลด์ รอสส์ · ดูเพิ่มเติม »

โรแบร์ต บาราญ

รแบร์ต บาราญ (Róbert Bárány; 22 เมษายน ค.ศ. 1876 – 8 เมษายน ค.ศ. 1936) เป็นนักโสตวิทยาชาวออสเตรีย-ฮังการี เกิดที่กรุงเวียนนา ในครอบครัวชาวยิวฮังการี เป็นบุตรของอิกนาซ บาราญ และมาริยา ฮ็อค บาราญเรียนวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเวียนนา เมื่อทำงานเป็นแพทย์ บาราญได้ทดลองฉีดของเหลวเข้ารูหูของผู้ป่วยเพื่อลดอาการวิงเวียน เขาพบว่าเมื่อฉีดของเหลวเย็นเข้าไป ผู้ป่วยจะมีอาการรู้สึกหมุนและตากระตุก และเมื่อเปลี่ยนเป็นของเหลวอุ่น ผู้ป่วยจะมีอาการตากระตุกในทิศทางตรงข้าม บาราญจึงตั้งสมมติฐานว่าเอนโดลิมฟ์จะต่ำลงเมื่ออยู่ในอุณหภูมิเย็นและสูงขึ้นเมื่ออยู่ในอุณหภูมิอุ่น เขาพบว่าทิศทางการไหลของเอนโดลิมฟ์มีผลต่อการรับรู้อากัปกิริยาและการรักษาสมดุลของร่างกาย บาราญได้ทดลองจนพบว่าการผ่าตัดสามารถรักษาโรคทางระบบรักษาสมดุลได้ หลังจากนั้นเขาได้ศึกษาด้านอื่น ๆ ของการรักษาสมดุล รวมถึงหน้าที่ของสมองส่วนซีรีเบลลัม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง บาราญทำงานเป็นศัลยแพทย์ในกองทัพออสเตรีย-ฮังการี แต่ถูกกองทัพรัสเซียจับตัว ขณะถูกคุมขัง บาราญได้รับแจ้งว่าเขาเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ประจำปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และโรแบร์ต บาราญ · ดูเพิ่มเติม »

โสตศอนาสิกวิทยา

ตศอนาสิกวิทยา เป็นแขนงหนึ่งของวิชาแพทยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของหู, จมูก, กล่องเสียงหรือช่องคอ, ศีรษะและคอ ในบางครั้งอาจเรียกย่อได้ว่า อีเอ็นที (ENT; ear, nose and throat: หู จมูก และคอ) จากรากศัพท์ภาษาบาลีสันสกฤตแปลได้ว่า การศึกษาหู คอ และจมูก รากศัพท์ของ "Otolaryngology" มาจากภาษากรีก ωτολαρυγγολογία (oto.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และโสตศอนาสิกวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

โซเดียมคลอไรด์

ซเดียมคลอไรด์ (Sodium chloride, สูตรเคมี: NaCl) มีชื่อที่เรียกทั่วไปดังนี้ เกลือแกง หรือ ฮาไลต์ เป็นสารประกอบเคมี โซเดียมคลอไรด์เป็นเกลือที่มีบทบาทต่อความเค็มของมหาสมุทร และของเหลวภายนอกเซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เป็นส่วนประกอบหลักในเกลือที่กินได้ มันถูกใช้อย่างกว้างขวางในการเป็นเครื่องปรุงรส และใช้ในการถนอมอาหาร.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และโซเดียมคลอไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

โนล

นล (Knol) เป็นสารานุกรมออนไลน์ ให้บริการโดยกูเกิล มีเนื้อหาหลากหลายทั้งด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ประวัติศาสตร์ และบันเทิง บทความแต่ละชิ้นดูแลโดยผู้เขียนหลัก กูเกิลประกาศโครงการนี้ต่อสาธารณะครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ชื่อ knol ย่อมาจาก "unit of knowledge" (หน่วยความรู้) บีบีซีรายงานว่า ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเห็นว่าโนลเป็นความพยายามของกูเกิลที่จะแข่งกับวิกิพีเดีย โนลมีพื้นฐานเป็น เว็บ 2.0 ในแต่ละบทความจะมีผู้รับผิดชอบหลักหนึ่งคน ผู้ใช้อื่นที่จะมาร่วมแก้ไขจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้รับผิดชอบหลัก โดยอาจจะมีการให้คะแนนบทความโดยผู้อ่าน และในหัวข้อเดียวกันอาจจะมีหลายบทความก็ได้ ปัจจุบัน เว็บไซต์ปิดตัวลงแล้ว ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และโนล · ดูเพิ่มเติม »

ไซยาโนอะคริเลต

ูตรโมเลกุลทั่วไปของไซยาโนอะคริเลต C5H5NO2 ซูเปอร์กลู ไซยาโนอะคริเลต (cyanoacrylate) คือชื่อเรียกรวมของวัสดุทางเคมีกลุ่มหนึ่งที่ใช้เป็นสารยึดติดแบบแห้งเร็ว อาทิ methyl-2-cyanoacrylate กับ ethyl-2-cyanoacrylate ที่รู้จักกันตามชื่อสามัญว่า กาวตราช้าง, กาวร้อน, หรือ ซูเปอร์กลู (Superglue), และ 2-octyl-cyanoacrylate หรือ n-butyl-cyanoacrylate ซึ่งใช้เป็นสารยึดติดทางการแพทย์และศัลยกรรมในชื่อ เดอร์มาบอนด์ (Dermabond) หรือ ทรอมาซีล (Traumaseal) เป็นต้น ส่วนในทางอุตสาหกรรมจะใช้อักษรย่อเรียกสารกลุ่มนี้ว่า "CA".

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และไซยาโนอะคริเลต · ดูเพิ่มเติม »

เฟนทานิล

ฟนทานิล (Fentanyl) เป็นยาบรรเทาปวด ในกลุ่มโอปิออยด์ สังคราะห์ได้ครั้งแรกในประเทศเบลเยียม ประมาณปลายปี 1950 มีฤทธิ์บรรเทาปวดมากกว่า มอร์ฟีน 80 เท่า ถูกนำมาใช้ทาง การแพทย์ ในปี 1960 โดยใช้ฉีดเข้าเส้นเป็น ยาระงับความรู้สึก มีชื่อทางการค้าว่า Sublimaze เฟนทานิลมีค่า LD50 เท่ากับ 3.1 มก/กก ในหนู LD50 ในมนุษย์ยังไม่ทราบ เฟนทานิลเป็นยาควบคุมประเภท Schedule II.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และเฟนทานิล · ดูเพิ่มเติม »

เพศวิทยา

ตร์ หรือ เพศวิทยา เป็นสหสาขาวิชาประกอบด้วยจิตวิทยา แพทยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และเพศศึกษา เพศศาสตร์จะมีเนื้อหาเชิงสังคมและจิตวิทยามาก ตัวอย่างเช่น การให้คำปรึกษาทางด้านเพศ ปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ปัญหาผู้หญิงที่ถูกข่มขืน ผู้หญิงที่ถูกทารุณกรรมทางเพศ โดยผู้ที่เรียนสาขานี้ต้องผ่านการคัดเลือก วิชาชีววิทยา, สถิติ, คุณธรรมและจริยธรรม, การให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยา และทัศนคติทางด้านเพศศาสตร์ ในประเทศไทยมีการสอนสาขาวิชานี้ในระดับปริญญาโท ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลั.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และเพศวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

เพาล์ ลังเงอร์ฮันส์

ล์ ลังเงอร์ฮันส์ (Paul Langerhans; 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1847 – 20 มิถุนายน ค.ศ. 1888) เป็นพยาธิแพทย์และนักสรีรวิทยาชาวเยอรมัน เกิดที่กรุงเบอร์ลิน เป็นบุตรของดร.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และเพาล์ ลังเงอร์ฮันส์ · ดูเพิ่มเติม »

เพาล์ เอร์ลิช

ล์ เอร์ลิช (Paul Ehrlich; 14 มีนาคม ค.ศ. 1854 – 20 สิงหาคม ค.ศ. 1915) เป็นแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน มีผลงานในด้านวิทยาภูมิคุ้มกัน โลหิตวิทยา และเคมีบำบัด เขาค้นพบวิธีก่อนหน้าการย้อมสีกรัมเพื่อจำแนกเซลล์เม็ดเลือดต่าง ๆ มีส่วนในการพัฒนาเซรุ่มและยังเป็นผู้ตั้งทฤษฎีสายโซ่ด้านข้าง (Side-chain theory) ที่ว่าด้วยระบบภูมิคุ้มกัน เพาล์ เอร์ลิช เกิดเมื่อปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และเพาล์ เอร์ลิช · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชวิทยา

ัชวิทยา (Pharmacology) เป็นศาสตร์สาขาของชีววิทยา ซึ่งมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับการออกฤทธิ์ของยา, การได้มาของยา ทั้งจากที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์โดยมนุษย์ ธรรมชาติ หรือแม้แต่โมเลกุลภายในร่างกายมนุษย์เอง ซึ่งส่งผลชีวเคมีหรือสรีรวิทยาต่อเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ หรือจุลชีพ (ในบางครั้ง คำว่า ฟาร์มาคอน ก็ถูกนำมาใช้แทนที่เพื่อให้มีนิยามครอบคลุมสารภายในและภายนอกร่างกายที่ทำให้ผลทางชีวภาพเหมือนกับยา) แต่ถ้ากล่าวให้จำเพาะมากขึ้นแล้ว เภสัชวิทยานั้นเป็นศาสตร์ที่ศึกษาปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งมีชีวิตและสารคเมีที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติและปรับสมดุลการทำงานทางชีวเคมีของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ซึ่งหากสารเคมีใดที่มีคุณสมบัติในการบำบัดรักษาโรค อาจถือได้ว่าสารเคมีนั้นจัดเป็นยา การศึกษาด้านเภสัชวิทยานั้นครอบคลุมองค์ประกอบและคุณสมบัติต่างๆของยา การสังเคราะห์และการออกแบบยา กลไกการออกฤทธิ์ของยาทั้งในระดับโมเลกุลและระดับเซลล์ ผลของยาต่ออวัยวะและระบบต่างๆของร่างกาย ระบบการรับส่งสัญญาณการสื่อสารระดับเซลล์ การวินิจฉัยระดับโมเลกุล อันตรกิริยา พิษวิทยา ชีววิทยาของเซลล์ การบำบัดรักษา การประยุกต์ใช้ยาทางการแพทย์ และความสามารถในการต้านทานการเกิดโรคของยา ทั้งนี้ การศึกษาด้านเภสัชวิทยามุ่งเน้นไปที่ 2 ประเด็นหลัก คือ เภสัชพลศาสตร์ และเภสัชจลนศาสตร์ โดยเภสัชพลศาสตร์จะเป็นการศึกษาถึงผลของยาต่อระบบชีวภาพต่างๆของสิ่งมีชีวิต ส่วนเภสัชจลนศาสตร์ จะศึกษากระบวนการการตอบสนองหรือการจัดการของระบบภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตต่อยา หากกล่าวสรุปแล้ว เภสัชพลศาสตร์จะอภิปรายได้ถึงผลของยาต่อร่างกาย และเภสัชจลนศาสตร์จะกล่าวถึงการดูดซึมยา การกระจาย การเปลี่ยนแปลงยา และการกำจัดยาของร่างกาย (ADME) ทั้งนี้ บ่อยครั้งที่เกิดความสับสนและเข้าใจผิดว่า เภสัชวิทยา และเภสัชศาสตร์ เป็นคำพ้องซึ่งกันและกัน แต่โดยรายละเอียดของศาสตร์ที่งสองแล้ว มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบแล้ว เภสัชวิทยาจั้นจัดเป็นชีวเวชศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับการวิจัย การค้นคว้า และการจำแนกสารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ การศึกษาการทำงานของเซลล์และจุลชีพที่เกี่ยวเนื่องกับสารเคมีเหล่านั้น ในทางตรงกันข้าม เภสัชศาสตร์ เป็นการศึกษาทางวิชาชีพบริการทางสุขภาพที่มุ่งเน้นการปรับประยุกตฺใช้หลักการและองค์ความรู้ต่างๆที่ได้จากการศึกษาทางเภสัชวิทยามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการบำบัดรักษาโรค ดังนั้น ความแตกต่างหลักระหว่างทั้งสองศาสตร์ คือ ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยโดยตรงโดยการปฏิบัติด้านเภสัชกรรม และสาขาการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ที่ขับเคลื่อนโดยเภสัชวิทยา ต้นกำเนิดของการศึกษาทางเภสัชวิทยาคลินิกเกิดขึ้นในยุคกลาง ตามที่มีการบันทึกไว้ในตำราการแพทย์ The Canon of Medicine ของอิบน์ ซีนา, Commentary on Isaac ของปีเตอร์ ออฟ สเปน, และ Commentary on the Antedotary of Nicholas ของจอห์น ออฟ เซนต์ แอมานด์ โดยเป็นศาสตร์ที่มีฐานรากมาจากการศึกษาค้นคว้าทางการแพทย์ของวิลเลียม วิเธอริง แต่เภสัชวิทยาในฐานะศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ไม่ได้มีการพัฒนาก้าวหน้ามากขึ้นเท่าใดนักจนกระทั่งในช่วงกลางของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นยุคที่มีการฟื้นตัวของศาสตร์ชีวการแพทย์แขนงต่างๆ เป็นอย่างมาก โดยในช่วงต้นคริสต์สตวรรษที่ 19 นั้น ความเข้าใจในกลไกการออกฤทธิ์ที่จำเพาะและความแรงของยาต่างๆ เช่น มอร์ฟีน, ควินีน และดิจิทาลลิส นั้นยังมีความคลุมเครือเป็นอย่างมาก รวมไปถึงมีการกล่าวอ้างถึงคุณสมบัติและสัมพรรคภาพของสารเคมีบางชนิดต่อร่างกายและเนื้อเยื่อที่ผิดแผกไปจากความเป็นจริงในปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าทางเภสัชวิทยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 นี่ทำให้มีการจัดตั้งแผนกเภสัชวิทยาขึ้นเป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และเภสัชวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชเวท

ัชเวท (Pharmacognosy) เป็นศาสตร์ทางเภสัชศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับยาอันมีที่มาจากแหล่งธรรมชาติ เภสัชเวทสมาคมแห่งสหรัฐอเมริกาได้ให้คำจำกัดความของเภสัชเวทไว้ว่า "เป็นการศึกษาลักษณะทางกายภาพ, เคมี, ชีวเคมี และคุณสมบัติทางชีวภาพของยา, สารที่นำมาใช้เป็นยาที่มีที่มาจากธรรมชาติ และการวิจัยค้นพบยาใหม่จากแหล่งธรรมชาติ" สมุนไพรที่นำมาใช้เป็นยาได้ภายหลังผ่านกระบวนการทางเภสัชกรรมเราเรียกว่า "เครื่องยา" โดยมีการจัดจำแนกตามคุณสมบัติของเครื่องยาตามวิธีการของศาสตร์ต่างๆ อาทิ เภสัชวิทยา, กลุ่มสารเคมี, การเรียงลำดับตามตัวอักษรละตินและภาษาอังกฤษ เป็นต้น เภสัชเวทเป็นหนึ่งในศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดศาสตร์หนึ่งของทางการแพทย์ และนับเป็นต้นกำเนิดของวิชาเภสัชศาสตร์ ในสมัยโบราณมีการใช้ยาจากธรรมชาติในการบำบัดรักษาเสียทั้งสิ้น ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่งนำมาสู่การสังเคราะห์ยาจากสารเคมีทดแทนวิธีการทางธรรมชาติ อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันมีความนิยมการใช้ยาสมุนไพรมากขึ้น ทำให้เภสัชเวทเป็นอีกศาสตร์หนึ่งที่ได้รับการส่งเสริมในปัจจุบัน เภสัชเวทยังครอบคลุมไปถึงการประยุกต์ใช้ทางการแพทย์เช่น ไฟเบอร์, ยาง ในการศัลยกรรมรักษา และการใช้เพื่อควบคุมภูมิคุ้มกันในร่างกาย รวมถึงการใช้เป็นสารปรุงแต่งทางเภสัชกรรม, เครื่องสำอาง.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และเภสัชเวท · ดูเพิ่มเติม »

เลออนฮาร์ท ฟุคส์

ลออนฮาร์ท ฟุคส์ (Leonhart Fuchs, บางครั้งสะกด Leonhard Fuchs; ค.ศ. 1501 – 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1566) เป็นแพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน เกิดในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และเลออนฮาร์ท ฟุคส์ · ดูเพิ่มเติม »

เลอง ฟูโก

ลอง ฟูโกต์ (Léon Foucault; 18 กันยายน ค.ศ. 1819 – 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1868) หรือชื่อเต็ม เลอง ฟูโกต์ เป็นนักฟิสิกส์ชาวฝรั่ง.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และเลอง ฟูโก · ดูเพิ่มเติม »

เวชระเบียน

วชระเบียน เวชระเบียน (medical record) หมายถึง เอกสารทางการแพทย์ทุกประเภท ที่ใช้บันทึกและเก็บรวบรวมเรื่องราวประวัติของผู้ป่วยทั้งประวัติส่วนตัว ประวัติครอบครัว ประวัติการแพ้ยา เอกสารการยินยอมให้ทำการรักษาพยาบาล ประวัติการเจ็บป่วยในอดีตและปัจจุบัน ข้อมูลบ่งชี้เฉพาะของบุคคล การรักษาพยาบาล ค่ารักษาพยาบาล ผลจากห้องปฏิบัติการ ผลการชันสูตรบาดแผลหรือพลิกศพ ผลการบันทึกค่าทั้งที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพหรือเครื่องหมายอื่นใด จากอุปกรณ์ เครื่องมือในสถานบริการสาธารณสุขหรือเครื่องมือทางการแพทย์ทุกประเภท หรือเอกสารการบันทึกการกระทำใด ๆ ที่เป็นการสั่งการรักษา การปรึกษาเพื่อการรักษาพยาบาล การส่งต่อผู้ป่วยไปทำการรักษาที่อื่น การรับผู้ป่วยรักษาต่อ การกระทำตามคำสั่งของผู้มีอำนาจในการรักษาพยาบาลตามที่สถานบริการสาธารณสุขกำหนดไว้ เอกสารอื่น ๆ ที่ใช้ประกอบเพื่อการตัดสินใจทางการแพทย์ เพื่อการประสานงานในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย และเอกสารอื่นใดที่ทางองค์การอนามัยโลก หรือสถานบริการสาธารณสุขกำหนดไว้ว่าเป็นเอกสารทางเวชระเบียน หมายรวมถึงชื่อของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการจัดทำเอกสารดังกล่าว การเก็บรวบรวม การค้นหา การบันทึก การแก้ไข การให้รหัสโรค การจัดทำรายงานทางการแพทย์ การนำมาจัดทำสถิติผู้ป่วย การนำมาเพื่อการศึกษาวิจัย หรือเพื่อการอื่นใดตามที่สถานบริการสาธารณสุขกำหนด นอกจากนี้ยังรวมถึงเอกสารทางการแพทย์ที่อยู่ในรูปแบบสื่อดิจิตอล หรือระบบอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Medical Record -EMR) ซึ่งเป็นรูปแบบของเวชระเบียนที่มีการพัฒนาขึ้นในปัจจุบันแสงเทียน อยู.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และเวชระเบียน · ดูเพิ่มเติม »

เวชสารสนเทศ

วชสารสนเทศ (อังกฤษ: medical informatics) เป็นการประยุกต์สารนิเทศศาสตร์ เวชศาสตร์ และสาธารณ.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และเวชสารสนเทศ · ดูเพิ่มเติม »

เวชสถิติ

วชสถิติ (Medical Statistics, อ่านว่า เวด-สะ-ถิ-ติ) หมายถึง สถิติทางการแพทย์ หรือการกระทำกับหลักฐานที่เป็นข้อมูลทางการแพทย์ ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพในทางการแพทย์ โดยมีวิธีการกระทำได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูลทางการแพทย์ การนำเสนอข้อมูลทางการแพทย์ การวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์โดยใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ และการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์มาสรุป และเพื่อใช้ในการจัดทำรายงานทางการแพทย์ การศึกษาวิจัยต่าง ๆ ในทางการแพท.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และเวชสถิติ · ดูเพิ่มเติม »

เวชปฏิบัติอิงหลักฐาน

ำว่า เวชปฏิบัติอิงหลักฐาน (Evidence-based medicine ตัวย่อ EBM) เป็นแบบการแพทย์ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการวินิจฉัยตัดสินใจให้ดีที่สุด โดยเน้นการใช้หลักฐานจากงานวิจัยที่มีการออกแบบและการดำเนินการที่ดี แม้ว่าการแพทย์ที่อาศัยวิทยาศาสตร์ (คือไม่ใช่การแพทย์ทางเลือกเป็นต้น) ทั้งหมดล้วนแต่ต้องอาศัยหลักฐานทางประสบการณ์ (empirical evidence) แต่ว่า EBM เข้มงวดยิ่งกว่านั้น คือมีการจัดระดับหลักฐานโดยกำลังของวิธีการสืบหาหลักฐาน (epistemologic strength) และมีการกำหนดว่า หลักฐานที่มีกำลังที่สุด (คือที่มาจากงาน meta-analysis, งานปริทัศน์เป็นระบบ, และงานวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม) เท่านั้นที่จะใช้เป็นคำแนะนำ (ในการรักษา) ที่เข้มแข็งน่าเชื่อถือที่สุดได้ ส่วนหลักฐานจากงานที่มีกำลังอ่อนประเภทอื่น (เช่นงานศึกษาแบบมีกลุ่มควบคุมเป็นต้น) จะใช้เป็นคำแนะนำ (ในการรักษา) แบบอ่อนเท่านั้น ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Evidence-based medicine" ดั้งเดิม (เริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1992) ใช้หมายถึงวิธีการสอนวิชาการทางแพทย์ และวิธีเพื่อเพิ่มคุณภาพการวินิจฉัยตัดสินใจของแพทย์แต่ละบุคคล ๆ หลังจากนั้น คำก็เริ่มใช้กินความหมายมากขึ้นและรวมถึงวิธีการที่มีมาก่อนแล้ว คือวิธีการที่เน้นใช้หลักฐานในการแนะนำแนวทางและนโยบายทางการแพทย์ที่ใช้กับทั้งชุมชน (เช่นคำว่า "evidence-based practice policies" แปลว่า นโยบายการปฏิบัติอาศัยหลักฐาน) ต่อจากนั้นอีก คำก็กินความมากขึ้น หมายถึงวิธีที่ใช้ในการวินิจฉัยตัดสินใจในการแพทย์ทุกระดับ และแม้ในวิชาการสาขาอื่น ๆ อีกด้วย โดยเรียกใช้คำที่กว้างขึ้นว่า evidence-based practice (ตัวย่อ EBP แปลว่า การปฏิบัติอาศัยหลักฐาน) ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการศึกษาทางการแพทย์ การวินิจฉัยตัดสินใจในคนไข้รายบุคคล แนวทางและนโยบายทางการแพทย์ที่ใช้กับทั้งกลุ่มชน หรือการให้บริการทางสุขภาพโดยทั่ว ๆ ไป EBM สนับสนุนว่า โดยมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การตัดสินใจและนโยบายการปฏิบัติ ควรจะอาศัยหลักฐาน ไม่ใช่เพียงแค่อาศัยความเชื่อของแพทย์รักษา ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้บริหารเท่านั้น คือ เป็นแบบการปฏิบัติเพื่อให้มั่นใจได้ว่า ความคิดเห็นของแพทย์รักษา ซึ่งอาจจะจำกัดโดยความรู้ที่ไม่ทันสมัย หรือโดยความเอนเอียง มีการบูรณาการด้วยความรู้ที่มีอยู่ทั้งหมดจากสิ่งเผยแพร่ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practice) และนำไปใช้ได้ EBM โปรโหมตระเบียบวิธีที่เป็นรูปนัย (formal) และชัดแจ้ง (explicit) ในการวิเคราะห์หลักฐาน เพื่อให้เป็นข้อมูลกับผู้มีอำนาจตัดสินใจ EBM สนับสนุนโปรแกรมการศึกษาเพื่อสอนข้อปฏิบัติของ EBM ต่อนักศึกษาแพทย์ แพทย์รักษา และผู้กำหนดน.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน · ดูเพิ่มเติม »

เอมิล อดอล์ฟ ฟอน เบริง

อมิล อดอล์ฟ ฟอน เบริง (Emil Adolf von Behring; 15 มีนาคม ค.ศ. 1854 – 31 มีนาคม ค.ศ. 1917) เป็นนักสรีรวิทยาชาวเยอรมันซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ใน ค.ศ. 1901.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และเอมิล อดอล์ฟ ฟอน เบริง · ดูเพิ่มเติม »

เอเอชพี

ตัวอย่างผังเอเอชพี เอเอชพี (AHP ย่อจาก Analytic Hierarchy Process) เป็นเทคนิคที่ใช้ช่วยในการแก้ไขปัญหา Multi-criteria decision analysis เอเอชพีช่วยให้การตัดสินใจโดยการหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด และช่วยให้ผู้ตัดสินใจเข้าใจปัญหาการตัดสินใจของตัวเองมากยิ่งขึ้น มากกว่าการบอกว่าคำตอบไหนเป็น"คำตอบที่ถูก" เอเอชพีพัฒนาขึ้นมาจากพื้นฐานของความรู้ในด้านคณิตศาสตร์และจิตวิทยา พัฒนาขึ้นมาโดย โธมัส แอล. ซาตี (Thomas L. Saaty) ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ลักษณะของเอเอชพีจะเริ่มกำหนดกรอบงานของโครงสร้างการวิเคราะห์ปัญหาที่ต้องมีการตัดสินใจ โดยแสดงองค์ประกอบเชิงปริมาณสำหรับปัจจัยแต่ละอย่างที่เกี่ยวโยงกับเป้าประสงค์ที่วางไว้ เพื่อประเมินหาคำตอบในเชิงปริมาณสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจ เอเอชพีมีการใช้งานทั่วโลกหลากหลายรูปแบบในการวิเคราะห์การตัดสินใจ ในหลายวงการเช่น รัฐบาล ธุรกิจ อุตสาหกรรม การแพทย์ การศึกษา และงานวิจัย หลายหน่วยงานได้มีการประยุกต์นำซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์มาช่วยในขั้นตอนการตัดสินใจให้รวดเร็วและง่ายขึ้น.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และเอเอชพี · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ ดี. วัตสัน

มส์ ดี. วัตสัน เจมส์ ดิวอี วัตสัน (James Dewey Watson; 6 เมษายน พ.ศ. 2471) นักอณูชีววิทยาชาวอเมริกัน ได้รับการยอบรับว่าเป็นผู้ค้นพบโครงสร้างโมเลกุลของดีเอ็นเอร่วมกับฟรานซิส คริกและมอริส วิลคินส์ โดยได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ มีผลงานการตีพิมพ์คือบทความ โครงสร้างโมเลกุลของกรดนิวคลีอิก.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และเจมส์ ดี. วัตสัน · ดูเพิ่มเติม »

เดวิด ลิฟวิงสโตน

วิด ลิฟวิงสโตน ดร.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และเดวิด ลิฟวิงสโตน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะ บีเอ็มเจ

The BMJ เป็นวารสารการแพทย์รายสัปดาห์ที่มีการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน โดยเป็นวารสารการแพทย์ทั่วไปที่เก่าที่สุดวารสารหนึ่งในโลก โดยดั้งเดิมเรียกว่า British Medical Journal ซึ่งย่อลงเหลือ BMJ ในปี 2531 และเปลี่ยนเป็น The BMJ ในปี 2557 เป็นวารสารที่ตีพิมพ์โดย BMJ Group ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของสมาคมการแพทย์อังกฤษ (British Medical Association) หัวหน้าบรรณาธิการคนปัจจุบันคือ พญ.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และเดอะ บีเอ็มเจ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะแลนซิต

อะแลนซิต (The Lancet) เป็นวารสารการแพทย์ทั่วไปรายสัปดาห์ที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน ที่เก่าแก่ที่สุดและรู้จักกันดีที่สุดวารสารหนึ่ง โดยมีการกล่าวว่า เป็นวารสารการแพทย์ที่มีเกียรติมากที่สุดวารสารหนึ่งของโลก ในปี 2557 เดอะแลนซิต จัดว่ามีอิทธิพลเป็นที่สองในบรรดาวารสารการแพทย์ทั่วไป โดยมีปัจจัยกระทบที่ 45 ต่อจากวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ ที่มีปัจจัยกระทบที่ 56 หน้าต่างแบบแลนซิตที่โบสถ์แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักร น.ทอมัส เวคลีย์ ศัลยแพทย์ชาวอังกฤษ ได้จัดตั้งวารสารขึ้นในปี 2366 (ค.ศ. 1823) โดยตั้งชื่อวารสารตามเครื่องมือผ่าตัดที่เรียกว่า "lancet" (มีดปลายแหลมสองคมขนาดเล็กสำหรับผ่าตัด) และตามชื่อส่วนของสถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษที่เป็นช่องหน้าต่างโค้งยอดแหลม ซึ่งหมายถึง "แสงสว่างแห่งปัญญา" หรือ "เพื่อให้แสงสว่างเข้ามา" เดอะแลนซิต พิมพ์บทความงานวิจัยดั้งเดิม บทความปริทัศน์ บทความบรรณาธิการ งานปฏิทัศน์หนังสือ การติดต่อทางจดหมาย ข่าว และรายงานเค้ส และมีสำนักพิมพ์แอ็ลเซอเฟียร์เป็นเจ้าของตั้งแต่ปี 2534 หัวหน้าบรรณาธิการคือนายริชาร์ด ฮอร์ตัน ตั้งแต่ปี 2538 วารสารมีสำนักงานบรรณาธิการในนครลอนดอน นิวยอร์ก และปักกิ่ง.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และเดอะแลนซิต · ดูเพิ่มเติม »

เซจิ โอะงะวะ

ซจิ โอะงะวะ (เกิด 19 มกราคม 2477) เป็นนักค้นคว้าชาวญี่ปุ่น ที่รู้จักกันว่าเป็นผู้ค้นพบเทคนิคที่ใช้ใน fMRI (Functional Magnetic Resonance Imaging) ผู้ได้รับการนับถือว่า เป็นบิดาของการสร้างภาพสมองโดยกิจยุคสมัยใหม่ ผู้ได้ชี้ว่า ความเปลี่ยนแปลงของระดับออกซิเจนในโลหิต ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก จึงทำให้สามารถสร้างแผนภาพของโลหิต และเพราะเหตุนั้น ของเขตในสมองที่กำลังทำงาน แผนภาพนี้ส่องให้เห็นว่า เซลล์ประสาทกลุ่มไหนในสมองตอบสนองด้วยสัญญาณเคมีไฟฟ้า ในการทำงานของจิตใจ ดร.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และเซจิ โอะงะวะ · ดูเพิ่มเติม »

Case series

Case series หรือ clinical series เป็นแบบงานวิจัยทางการแพทย์ที่ติดตามผู้ร่วมการทดลอง ที่ได้รับสารหรือปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่ง (exposure) เช่นคนไข้ที่ได้รับการรักษาพยาบาลแบบเดียวกัน หรือที่ตรวจสอบประวัติทางการแพทย์เพื่อหาการได้รับปัจจัยและผลทางสุขภาพที่เกิดขึ้น โดยที่ไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบ Case series อาจเป็นแบบติดต่อกัน (consecutive) หรือไม่ติดต่อกัน (non-consecutive) ขึ้นอยู่กับว่า รายงานรวมคนไข้ที่เป็นประเด็นทั้งหมด ที่มาหาผู้เขียนในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ หรือรวมเพียงแค่บางส่วน เป็นการศึกษาเชิงพรรณา (descriptive) ที่ไม่เหมือนกับการศึกษาเชิงวิเคราะห์อื่น ๆ เช่นงานศึกษาตามรุ่น (cohort study) งานศึกษามีกลุ่มควบคุม (case-control study) หรือการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial) เพราะว่า งานศึกษาแบบนี้ไม่ได้ทดสอบสมมุติฐาน คือ ไม่ได้หาหลักฐานเพื่อตรวจสอบเหตุและผล (แม้ว่าจะมีการวิเคราะห์แบบ "case-only" ที่ใช้ต่อข้อมูลจากการศึกษาประเภทนี้ เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างสาร ที่ได้รับกับลักษณะทางพันธุกรรม) เป็นการศึกษาที่ค่อนข้างเสี่ยงต่อความเอนเอียงโดยการคัดเลือก (selection bias) ยกตัวอย่างเช่น งานที่รายงานคนไข้หลาย ๆ คนที่มีโรคอย่างหนึ่ง และ/หรือ สารที่ได้รับที่เป็นประเด็นสงสัย จะชักตัวอย่างคนไข้จากกลุ่มประชากรหนึ่ง ๆ (เช่นจากโรงพยาบาลหรือคลินิก) ซึ่งอาจจะเป็นตัวแทนของประชากรทั้งกลุ่มไม่ได้ ความสามารถในการเชื่อมเหตุกับผล (Internal validity) ในงานศึกษาแบบนี้ อยู่ในระดับที่ต่ำมาก เพราะไม่มีกลุ่มที่ใช้เปรียบเทียบ เพราะผลที่ได้จากปรากฏการณ์อื่น ๆ เช่นยาหลอก, Hawthorne effect (ผลที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เพราะการเปลี่ยนแปลง), Pygmalion effect (ผลที่ได้เพราะความคาดหวังที่มีต่อคนไข้), time effect, practice effect, หรือ natural history effect ไม่สามารถแยกออกจากผลที่เกิดจากปัจจัยที่เป็นประเด็นศึกษาได้ คือ ถ้ามีกลุ่มสองกลุ่มที่มีผลจากปรากฏการณ์อื่นเหล่านั้นเหมือน ๆ กัน การเปรียบเทียบผลที่ได้จากสองกลุ่มก็จะแสดงผลที่ได้จากปัจจัยที่เป็นประเด็น โดยที่มีค่าที่เกิดจากปรากฏการณ์อื่น ๆ เหล่านั้นหักล้างออกไปแล้ว ดังนั้น เราจะสามารถประเมินผลที่ได้จริง ๆ จากปัจจัย ก็ต่อเมื่อใช้กลุ่มเปรียบเทียบเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ส่วนของการศึกษาประเภทนี้.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และCase series · ดูเพิ่มเติม »

Dictyostelium discoideum

Dictyostelium discoideum หรือที่เรียกโดยย่อว่า Dicty เป็นอะมีบาที่จัดอยู่ในกลุ่มราเมือก อาศัยอยู่ตามพื้นดิน กินแบคทีเรียเป็นอาหาร.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และDictyostelium discoideum · ดูเพิ่มเติม »

JAMA

JAMA (The Journal of the American Medical Association) เป็นวารสารการแพทย์ ตรวจสอบโดยผู้ชำนาญในระดับเดียวกัน พิมพ์ 48 ครั้งต่อปี ของสมาคมการแพทย์อเมริกัน (American Medical Association) มีเนื้อหาเกี่ยวกับทุก ๆ ด้านของชีวเวชหรือวิทยาศาสตร์ชีวเวช พิมพ์เนื้อหาหลักเป็นงานวิจัยดั้งเดิมหรืองานปริทัศน์ (หรือการทบทวนวรรณกรรม) และเนื้อหารองอื่น ๆ เช่น รายงานสัปดาห์ของความเจ็บป่วยและการตาย (Morbidity and Mortality Weekly Report) เป็นวารสารที่ตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และJAMA · ดูเพิ่มเติม »

Neurapraxia

Neurapraxia เป็นความผิดปกติของระบบประสาทนอกส่วนกลางที่ทำให้การควบคุมกล้ามเนื้อ (motor) หรือการรับความรู้สึก (sensory) เสียหายเนื่องจากส่งกระแสประสาทไม่ได้ โดยเฉลี่ยจะคงยืนประมาณ 6-8 อาทิตย์ก่อนหาย ภาวะนี้มักจะมีเหตุจากความบาดเจ็บต่อระบบประสาทเนื่องจากแรงกระแทกจากภายนอกต่อเส้นใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) และต่อใยประสาทสั่งการ ซึ่งสร้างแรงกดที่เส้นประสาทอย่างซ้ำ ๆ หรือคงยืน เพราะแรงกดนี้ การขาดเลือดเฉพาะที่ก็จะเกิดขึ้นแล้วทำให้เกิดรอยโรคที่เส้นประสาท ซึ่งร่างกายมนุษย์โดยธรรมชาติจะตอบสนองเป็นอาการบวมน้ำรอบ ๆ จุดที่ถูกกด รอยโรคจะหยุดหรือขัดขวางกระแสประสาทที่ช่วงหนึ่งในเส้นประสาท ทำให้ระบบประสาทต่อจากจุดนั้นไม่ทำงานหรือทำงานได้ไม่สมบูรณ์ แล้วทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการนี้ทำปลอกไมอีลินที่หุ้มเส้นประสาทให้เสียหายอย่างชั่วคราว แต่ไม่ทำให้เส้นประสาทเสียหาย จึงไม่ใช่ความเสียหายอย่างถาวร ดังนั้น กระบวนการที่ทำให้เสียเส้นประสาทอย่างถาวรคือ Wallerian degeneration จึงไม่เกิดขึ้นเนื่องกับอาการนี้ เพื่อจะจัดว่าเป็น neurapraxia ตามระบบจำแนกความบาดเจ็บต่อเส้นประสาทนอกส่วนกลาง Seddon classification เมื่อกระแสประสาทกลับสามารถส่งต่อได้แล้ว อาการจะต้องหายอย่างสมบูรณ์และรวดเร็ว ไม่เช่นนั้นแล้ว ก็จะจัดเป็นอาการที่หนักกว่า เช่น axonotmesis หรือ neurotmesis ดังนั้น neurapraxia จึงเป็นการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทนอกส่วนกลางแบบเบาสุด เป็นอาการที่สามัญต่อนักกีฬามืออาชีพ โดยเฉพาะนักอเมริกันฟุตบอล และเป็นอาการที่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษา คำว่า Neurapraxia เป็นคำอนุพัทธ์ของคำว่า apraxia (ภาวะเสียการรู้ปฏิบัติ) ซึ่งเป็น "การเสียหรือความพิการของสมรรถภาพในการเคลื่อนไหวแบบประสานและซับซ้อน โดยการควบคุมกล้ามเนื้อหรือการรับความรู้สึกจะไม่บกพร่อง".

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และNeurapraxia · ดูเพิ่มเติม »

Neurotmesis

Neurotmesis (ในภาษากรีก คำว่า tmesis หมายถึง "ตัด") เป็นอาการหนึ่งในระบบจำแนกความบาดเจ็บต่อเส้นประสาทนอกส่วนกลาง Seddon classification โดยเป็นอาการซึ่งหนักที่สุด เพราะทั้งใยประสาทและปลอกหุ้มจะขาดโดยสิ้นเชิง และถึงแม้อาจฟื้นสภาพได้บางส่วน แต่ก็ไม่สามารถหายสนิทกลับไปเหมือนเดิมได้.

ใหม่!!: แพทยศาสตร์และNeurotmesis · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Medicineการแพทย์แพทย์ศาสตร์เวชศาสตร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »