โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แก๊สโซลีน

ดัชนี แก๊สโซลีน

ที่มีน้ำมันแก๊สโซลีน แก๊สโซลีน หรือ น้ำมันเบนซิน ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เรียกว่า แก๊สโซลีน (gasoline หรือ gas) ในประเทศเครือจักรภพอังกฤษเรียกว่า เพทรอล (petrol ย่อมาจาก petroleum spirit) เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับใช้กับเครื่องยนต์สันดาปภายใน ชนิดเครื่องยนต์เบนซิน ซึ่งใช้หัวเทียนในการจุดระเบิดภายในเครื่องยนต์ แก๊สโซลีนได้มาจากการนำน้ำมันองค์ประกอบ ที่ได้จากจากกระบวนการกลั่นน้ำมัน นำมาผสมสารเพิ่มคุณภาพ และสารเติมแต่ง เช่น MTBE, เอทานอล และสีย้อม การวัดคุณภาพของน้ำมันเบนซิน ใช้ค่าออกเทน ซึ่งในสมัยก่อนใช้วิธีเติมตะกั่วลงไปเพื่อปรับค่าออกเทน แต่ต่อมาได้วิจัยพบว่าเป็นอันตรายต่อระบบประสาทของมนุษย์ ปัจจุบันจึงได้ใช้สาร MTBE (Metyl Tertiary Butyl Ether) แทน และมีชื่อเรียกในประเทศไทยว่า น้ำมันไร้สารตะกั่ว ในประเทศไทย เรียกน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดนี้ว่าเบนซิน (Benzin, Bensin) ตามอย่างประเทศแถบยุโรป เช่น สแกนดิเนเวีย เยอรมนี น้ำมันเบนซิน (gasoline) ส่วนประกอบ paraffin, aromatic, olefins และ ส่วนผสมจากกระบวนการปรับปรุงคุณภาพ ได้แก่ - LSR - Catalytic reformat - Catalytic cracked gasoline - Thermally cracked gasoline - Hydro cracked gasoline - Alkylate - Polymerized gasoline - Isomerizes gasoline สารเติมแต่งที่สำหรับ gasoline - Antiknock compound ใส่เพื่อเพิ่มค่าออกเทน ซึ่งเมื่อก่อนจะใช้สารพวกตะกั่วแต่ปัจจุบันยกเลิกแล้ว จึงหันมาใช้พวก organo-manganese compound แทน - Anti- Oxidant ใส่เพื่อป้องกันการเกิดยางเหนียว - Oxygenates จะช่วยลดปริมาณคาร์บอนและช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำมัน นอกจากนั้นยังช่วยเพิ่มค่าออกเทน - Paint ใส่เพื่อช่วยแยกเกรดของน้ำมัน - Detergent และ Dispersant จะช่วยให้เครื่องยนต์สะอาด ซึ่งจะเป็นสารพอลิเมอร์ชนิดพิเศษ วัต.

34 ความสัมพันธ์: ฟอร์ด เฟียสตาฟอร์ด เอดจ์พอล ฟีนิกซ์การกลั่นทำลายการกลั่นน้ำมันการลอบวางเพลิงการใช้และการตั้งราคาแก๊สโซลีนและน้ำมันดีเซลยานพาหนะสีเขียวระเบิดขวดรายชื่อเครื่องยนต์โตโยต้ารายงานเฮิร์ชรถบรรทุกวนิช ปานะนนท์สสารผสมอากาศกับเชื้อเพลิงเอทานอลทั่วไปสารต้านอนุมูลอิสระจรวดดิอะเมซิ่งเรซ 18ความหนาแน่นปิโตรเลียมนโยบายพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกาน้ำมันแฟร์ดีนันด์ พอร์เชอแก๊สธรรมชาติอัดโตโยต้า ไฮลักซ์ไออาร์พีซีไอเสียเชื้อเพลิงชีวภาพเชื้อเพลิงเอทานอลเบนซินเกีย สทิงเงอร์เครื่องยนต์โตโยต้า Gเครื่องยนต์โตโยต้า JZE85NFPA 704

ฟอร์ด เฟียสตา

ฟอร์ด เฟียสตา (Ford Fiesta) เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก (Subcompact Car) ที่ผลิตและจำหน่ายโดย ฟอร์ดมอเตอร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2519 และส่งขายไปตามที่ต่างๆ โดยมีตลาดรองรับอยู่ทั่วโลก ตั้งแต่ญี่ปุ่นไปจนถึงอเมริก.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและฟอร์ด เฟียสตา · ดูเพิ่มเติม »

ฟอร์ด เอดจ์

ฟอร์ด เอดจ์ เป็นรถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูงประเภทครอสโอเวอร์ขนาดกลางที่ผลิตโดยบริษัทฟอร์ด มอเตอร์ รุ่นแรงของเอดจ์สร้างบนพื้นฐานฟอร์ดซีดี3 ใช้ร่วมกันกับรุ่นที่หนึ่งของฟอร์ด ฟิวชัน, มาสด้า ซีเอ็กซ์-9 รุ่นที่หนึ่งและสองของมาสด้า6 และลินคอล์น เอ็มเคเอ็กซ์ ฟอร์ด เอดจ์รุ่นที่สองใช้พื้นฐานฟอร์ดซีดี4 ลินคอล์น เอ็มเคเอ็กซ์ เป็นรุ่นหรูหราของฟอร์ดเอดจ์ และเอดจ์ได้ประกอบที่โรงงานประกอบรถยนต์ของฟอร์ดที่โอ๊ควิลล์, ออนแทริโอ, แคน.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและฟอร์ด เอดจ์ · ดูเพิ่มเติม »

พอล ฟีนิกซ์

อล ฟีนิกซ์ (ポール・フェニックス; Paul Phoenix) เป็นตัวละครหลักจากเกม เทคเคน ซึ่งปรากฏตัวตั้งแต่ภาคแรกเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นชาวอเมริกันผู้ใช้วิชายูโดกับคาราเต้ในการต่อสู้ นอกจากนี้ พอล ฟีนิกซ์ ยังมีเพื่อนรักคนหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า มาร์แชล ลอว์ โดยทั้งคู่ต่างก็เป็นตัวละครสำคัญในเกม เทคเคน 6 ด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและพอล ฟีนิกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

การกลั่นทำลาย

การกลั่นทำลาย (destructive distillation) เป็นกรรมวิธีที่ให้ความร้อนสูงแก่สารอินทรีย์โดยไม่ให้อากาศเข้า เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีขึ้นแก่สารนั้น ให้ผลเป็นสารที่ระเหยได้และแยกตัวออกมา เช่น การกลั่นทำลายขี้เลื่อย ให้ผลเป็นเมทิลแอลกอฮอล์ กรดน้ำส้ม และสารอื่นๆ การกลั่นทำลายถ่านหินให้ผลเป็นแก๊สถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ น้ำมันเบนซิน ลูกเหม็นกันแมลงสาบ และสารอื่นที่มีประโยชน์อีกมาก กากที่เหลือเรียกว่า ถ่านโค้ก หมวดหมู่:เคมี.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและการกลั่นทำลาย · ดูเพิ่มเติม »

การกลั่นน้ำมัน

การกลั่นน้ำมัน (Oil refinery) คือกระบวนการแปรรูปจากน้ำมันดิบ เป็น ผลิตภัณฑ์น้ำมันชนิดต่างๆที่นำไปใช้ประโยชน์ได้เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมันหล่อลื่น และน้ำมันเตา โดยกระบวนการมีผลิตภัณฑ์อื่นๆเช่น สารเหลือค้าง (Residues) เช่น ถ่านโค้ก (Coke) แอสฟัลต์ (Asphalt) และ บิทูเม็น (Bitumen) หรือน้ำมันดิน (Tar) และขี้ผึ้ง.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและการกลั่นน้ำมัน · ดูเพิ่มเติม »

การลอบวางเพลิง

การลอบวางเพลิง เป็นอาชญากรรมโดยเจตนา โดยไตร่ตรองไว้ก่อน และโดยกลั่นแกล้ง วางเพลิงเผาอาคาร ท้องที่รกร้างว่างเปล่า ถังขยะ ยานพาหนะ หรือทรัพย์สินอย่างอื่น ด้วยความมุ่งหมายที่จะก่อความเสียหาย ซึ่งอาจแยกจากกรณีอื่น เช่น การเผาไหม้เกิดเอง และไฟป่าตามธรรมชาติ การลอบวางเพลิงมักเกี่ยวข้องกับอัคคีภัยที่ก่อแก่ทรัพย์สินของผู้อื่นหรือของตนเองโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อเอาค่าสินไหมทดแทนจากการประกันภัย ผู้ก่ออาชญากรรมการลอบวางเพลิงนั้น เรียก ผู้ลอบวางเพลิง ซึ่งมักใช้สารเร่งไฟ (เช่น แก๊สโซลีน หรือเคโรซีน) เพื่อก่อประกายไฟ ขับดันไฟ และกำหนดทิศทางไฟ.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและการลอบวางเพลิง · ดูเพิ่มเติม »

การใช้และการตั้งราคาแก๊สโซลีนและน้ำมันดีเซล

ตัวอย่างราคาน้ำมันจากประเทศเยอรมนีเมื่อปี พ.ศ. 2550 ราคาอยู่ที่ 1.319 €/L.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและการใช้และการตั้งราคาแก๊สโซลีนและน้ำมันดีเซล · ดูเพิ่มเติม »

ยานพาหนะสีเขียว

นพาหนะสีเขียว (Green vehicle) หมายถึงที่ยานพาหนะปล่อยมลพิษและแก๊สเรือนกระจกในการเดินทางออกมาน้อยกว่ายานพาหนะทั่วไป เปรียบเทียบได้กับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล โดยสีเขียวเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นั่นก็คือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษและแก๊สเรือนกระจกออกมาน้อยกว่ารถยนต์ทั่วไปที่ใช้น้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล ซึ่งเป็นยานพนะที่ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้น หรือให้ปล่อยมลพิษออกมาน้อยลง การใช้ยาพาหนะสีเขียว เป็นยาพาหนะที่จะช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากมลพิษและแก๊สเรือนกระจกได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง และสำหรับประเทศไทยที่ยังต้องนำเข้าเชื้อเพลิงที่ใช้กับรถยนต์เป็นส่วนใหญ่ จะทำให้ลดการพึ่งพาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศน้อยลง ส่งผลดีต่อความมั่นคงด้านพลังงานและต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเท.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและยานพาหนะสีเขียว · ดูเพิ่มเติม »

ระเบิดขวด

ระเบิดขวด (Molotov cocktail) เป็นชื่อเรียกทั่วไปของระเบิดเพลิงอย่างง่าย ที่มีส่วนประกอบเป็น ขวดแก้วบรรจุน้ำมันก๊าด, น้ำมันเบนซิน หรือสารที่ใช้ในระเบิดนาปาล์ม และมีไส้ที่ชุบแอลกอฮอล์หรือสารติดไฟอื่นๆ อยู่ที่ฝาขวด เมื่อจุดไฟที่ไส้ แล้วขว้างไปกระทบเป้าหมาย ขวดจะแตกทำให้น้ำมันภายในสัมผัสกับไฟที่ติดอยู่ที่ไส้ เกิดเป็นเพลิงใหม้อยู่บนเป้าหมาย ระเบิดขวด มีจุดประสงค์หลักที่จะทำให้เกิดไฟลุกท่วมเป้าหมาย มากกว่าจะเป็นการทำลายเป้าหมายในทันที และเนื่องจากสร้างขึ้นได้ง่าย จะนิยมใช้โดยกลุ่มผู้ประท้วง หรือกลุ่มผู้ก่อจลาจล.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและระเบิดขวด · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อเครื่องยนต์โตโยต้า

รื่องยนต์โตโยต้า ผลิตโดยโตโยต้ามอเตอร์ ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลก ผลิตเครื่องยนต์หลายรุ่นที่ใช้สำหรับรถยนต์ รถยก (ForkLift) และอื่นๆ เช่นรถใช้ในราชการทหาร ทั้งผลิตเองและร่วมกันผลิตกับผู้ผลิตเครื่องยนต์และรถยนต์ อย่าง ฮีโน่ และ ไดฮัทสุ ตั้งแต..

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและรายชื่อเครื่องยนต์โตโยต้า · ดูเพิ่มเติม »

รายงานเฮิร์ช

รายงานเฮิร์ช (Hirsch report) เป็นชื่อที่ใช้โดยสามัญสำหรับรายงาน Peaking of World Oil Production: Impacts, Mitigation, and Risk Management (จุดสูงสุดของการผลิตน้ำมันโลก ผล การบรรเทา และการจัดการความเสี่ยง) ที่ทำขึ้นตามคำสั่งของกระทรวงพลังงานสหรัฐอเมริกา แล้วเผยแพร่ในเดือนกุมภาพัน..

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและรายงานเฮิร์ช · ดูเพิ่มเติม »

รถบรรทุก

รถบรรทุกในอเมริกาเหนือ รถบรรทุกในปี 1898 รถบรรทุก หมายถึง รถที่ใช้บรรทุกสิ่งของ มีหลายขนาด ซึ่งปรกติมีขนาด กำลัง และสัณฐานมาก โดยเฉพาะบรรดาที่ใช้เพื่อการค้า ทั้งอาจประกอบด้วยอุปกรณ์พิเศษด้วย เช่น รถประจญเพลิง และรถโม่คอนกรีต ปัจจุบัน รถบรรทุกส่วนใหญ่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแกโซลีนหรือดีเซล.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและรถบรรทุก · ดูเพิ่มเติม »

วนิช ปานะนนท์

นายวนิช ปานะนนท์ (แถวที่ 2 ด้านขวา) และคณะรัฐมนตรีจากประเทศไทย ขณะเยือนประเทศญี่ปุ่น และเข้าพบ ฮิเดกิ โตโจ (แถวหน้า คนกลาง) นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2485 ช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา วนิช ปานะนนท์ อดีตนักการเมือง, นักธุรกิจชาวไทย และหนึ่งในคณะราษฎร นายวนิช เป็นบุตรของนายปานและนางแจ่ม ปานะนนท์ โดยที่บิดาเป็นพ่อค้าขายข้าวเปลือก เกิดที่บ้านพานทอง หมู่ที่ 4 ตำบลพานทอง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2446 เมื่อนายวนิชอายุได้ 7 ขวบ บิดาและมารดาได้ให้เริ่มเรียนหนังสือไทยที่บ้านโดยสอนเองบ้าง ให้พี่ๆสอนบ้าง พออ่านเขียนได้ก็ให้เข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนวัดพานทอง การเรียนของนายวนิชเป็นไปโดยเรียบร้อยจนจบหลักสูตรชั้นประถม ต่อมาได้เข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมวัดเขาบางทรายจนถึงชั้นมัธยม 2 เมื่อปี 2460 แล้วมาศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา เมื่อสอบไล่ได้มัธยมศึกษาปีที่ 5 ในปล..

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและวนิช ปานะนนท์ · ดูเพิ่มเติม »

สสารผสมอากาศกับเชื้อเพลิงเอทานอลทั่วไป

ทสรุปของเอทานอลส่วนผสมสำคัญที่นำมาใช้ทั่วโลก มีสสารผสมอากาศกับเชื้อเพลิงเอทานอลทั่วไปใช้หลายแบบทั่วโลก การใช้เอทานอลมีน้ำหรือไร้น้ำในเครื่องยนต์สันดาปภายในจะเป็นไปได้ต่อเมื่อมีการออกแบบหรือดัดแปรเครื่องยนต์สำหรับความมุ่งหมายนั้น และใช้ได้เฉพาะในรถยนต์ รถบรรทุกขนาดเบาและรถจักรยานยนต์ เอทานอลไร้น้ำสามารถผสมกับแกโซลีน (เบนซิน) สำหรับใช้ในเครื่องยนต์แกโซลีน แต่เอทานอลที่มีปริมาณเอทานอลสูงจะได้ก็ต่อเมื่อมีการดัดแปรเครื่องยนต์เล็กน้อย สสารผสมอากาศกับเชื้อเพลิงเอทานอลมีหมายเลข "E" ซึ่งอธิบายร้อยละของเชื้อเพลิงเอทานอลในสสารผสมโดยปริมาณ เช่น E85 คือ เอทานอลไร้น้ำ 85% กับแกโซลีน 15% การผสมเอทานอลต่ำ ตั้งแต่ E5 ถึง E25 เรียกอีกอย่างว่า แก๊สโซฮอล์ (gasohol, ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตยสถานว่า แกโซฮอล) แม้ในระดับนานาชาติ คำนี้ใช้หมายถึงสูตรผสม E10 มากที่สุด สำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์นั้นมีองค์ประกอบต่างกับน้ำมันเบนซิน คือน้ำมันเบนซินมี เอมทีบีอี (MTBE) เป็นตัวเพิ่มออคเทน ส่วนน้ำมันแก๊สโซฮอล์ใช้เอทานอล เป็นตัวเพิ่มออคเทน เอทานอลให้พลังงานน้อยกว่าเอมทีบีอี (MTBE) โดยต่างกันอยู่ร้อยละ 1.6-1.8 การใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์นั้นออกซิเจนที่เป็นส่วนประกอบอยู่ในเอทานอล จะช่วยให้การเผาไหม้ภายในห้องเครื่องสมบูรณ์ขึ้นอีก และลดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่จะปล่อยออกมาจากท่อไอเสี.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและสสารผสมอากาศกับเชื้อเพลิงเอทานอลทั่วไป · ดูเพิ่มเติม »

สารต้านอนุมูลอิสระ

redox-active sulfur atom that provides antioxidant activity, while the red, blue, white, and dark grey spheres represent oxygen, nitrogen, hydrogen, and carbon atoms, respectively. สารต้านอนุมูลอิสระ คือโมเลกุลของสารที่สามารถจับกับตัวรับและสามารถยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันของโมเลกุลสารอื่นๆได้ ปฏิกิริยาออกซิเดชันเป็นปฏิกิริยาเคมีที่เกี่ยวเนื่องกับการแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอนจากสารหนึ่งไปยังตัวออกซิไดซ์ ปฏิกิริยาดังกล่าวสามารถให้ผลิตภัณฑ์เป็นสารอนุมูลอิสระ (free radical) ซึ่งสารอนุมูลอิสระเหล่านี้จะเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่และทำลายเซลล์ของร่างกาย สารต้านอนุมูลอิสระจะเข้ายุติปฏิกิริยาลูกโซ่เหล่านี้ด้วยการเข้าจับกับสารอนุมูลอิสระและยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันโดยถูกออกซิไดซ์ ดังนั้นสารต้านอนุมูลอิสระจึงถือเป็นตัวรีดิวซ์ อาทิ ไธออล กรดแอสคอร์บิก และโพลีฟีนอล แม้ว่าปฏิกิริยาออกซิเดชันเป็นสิ่งสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต หากแต่ก็ยังเกิดโทษเช่นกัน ดังนั้นพืชและสัตว์จึงรักษาสมดุลด้วยระบบอันซับซ้อนของปฏิริยาโดยสารต้านอนุมูลอิสระดังเช่น กลูตาไธโอน วิตามินซี และวิตามินอี เช่นเดียวกับเอนไซม์อย่างตัวเร่งปฏิกิรยาและเอนไซม์ซูเปอร์ออกไซด์ รวมถึงเพอรอกซิเดสต่างๆ ระดับสารต้านอนุมูลอิสระที่ต่ำหรือเอนไซม์ที่ยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันที่มากเกินไป จะยังผลให้เกิดภาวะออกซิเดชันที่มากเกินไป (oxidative stress) นำมาซึ่งการทำลายหรือสร้างความเสียหายแก่เซลล์ได้ ในภาวะที่ออกซิเดชันมากเกินไปจะทำให้เกิดโรคในมนุษย์หลายโรค การใช้สารต้านอนุมูลอิสระในทางเภสัชวิทยาได้รับการศึกษาอย่างละเอียดในการรักษาภาวะโรคหลอดเลือดในสมองและโรค neurodegenerative disease อย่างไรก็ดี ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าออกซิเดชันที่มากเกินไปนั้นเป็นสาเหตุการเกิดโรคหรือไม่ สารต้านอนุมูลอิสระถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายชนิด ด้วยคาดหวังในการรักษาสุขภาพและป้องกันโรคอย่างโรคมะเร็งและโรคหลอดเลือดหัวใจ รวมไปถึงโรคกลัวความสูง แม้การศึกษาในช่วงแรกให้การสนับสนุนถึงการเติมสารต้านอนุมูลอิสระในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยให้สุขภาพดีนั้น ภายหลังการศึกษาในระยะคลินิกพบว่าสารที่เติมลงไปไม่ได้ช่วยหรือก่อให้เกิดประโยชน์อันใดแก่ผู้บริโภค ซ้ำยังผลมาซึ่งอันตรายจากการรับประทานที่มากเกินไป นอกจากนี้ยังมีการใช้สารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาติในเภสัชภัณฑ์ และส่วนประกอบอื่นๆในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเช่นสารกันบูดในอาหารและเครื่องสำอาง และช่วยลดการสึกกร่อนของยางและแก๊สโซลีนอีกด้ว.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและสารต้านอนุมูลอิสระ · ดูเพิ่มเติม »

จรวด

รวดโซยุซ-ยู (Soyuz-U) ณ ฐานปล่อยที่ 1/5 ไบโคนูร์ ไซต์1/5 (Baikonur's Site 1/5) ในคาซัคสถาน (Kazakhstan) การปล่อยจรวดแซทเทิร์น 5 อะพอลโล 15: เวลาเริ่มปล่อย T - 30 วินาที เวลาเสร็จสิ้น T + 40 วินาที จรวด หมายถึงขีปนาวุธ, ยานอวกาศ, เครื่องบิน หรือพาหนะอื่นใดที่อาศัยแรงผลักดันของไอเสียที่มีต่อตัวจรวดในการพุ่งไปข้างหน้า โดยใช้การเผาผลาญเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์จรวด ในจรวดทุกชนิดไอเสียจะเกิดขึ้นทั้งหมดจากเชื้อเพลิงขับดันที่บรรทุกไปด้วยภายในจรวดก่อนที่จะถูกใช้งาน chapter 1 จรวดเคมีสร้างพลังงานจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงจรวด ผลจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงและตัวอ๊อกซิไดซ์ภายในห้องเผาไหม้จะทำให้เกิดก๊าซร้อนที่มีอุณหภูมิสูงมากและขยายตัวออกไปทางหัวฉีดทำให้ก๊าซเคลื่อนที่ด้วยความเร่งในระดับไฮเปอร์โซนิก ซึ่งทำให้เกิดแรงผลักมหาศาลต่อตัวจรวดตามกฎข้อที่สามของนิวตัน (แรงกิริยาเท่ากับแรงปฏิกิริยา)โดยในทางทหารและสันทนาการมีประวัติของการใช้จรวดเป็นอาวุธและเครื่องมือในช่วงเวลานั้น จรวดได้ถูกใช้สำหรับงานทางทหารและสันทนาการ ย้อนกลับไปอย่างน้อยศตวรรษที่ 13 ในประเทศจีน (China) "Rockets in Ancient Times (100 B.C. to 17th Century)" ในทางทหาร, วิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมได้ใช้จรวดเป็นอาวุธและเครื่องมือแต่ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายจนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 20, เมื่อวิทยาการที่เกี่ยวกับจรวดได้ถือกำเนิดขึ้น เป็นการเปิดประตูสู่ยุคอวกาศ,กับการที่มนุษย์กำลังจะไปเหยียบดวงจันทร์ จรวดได้ถูกใช้สำหรับทำดอกไม้ไฟและอาวุธ, เก้าอี้ดีดตัวสำหรับนักบินและพาหนะสำหรับนำส่งดาวเทียม, นักบินอวกาศ และการสำรวจดาวเคราะห์ต่าง ๆ ในขณะที่จรวดที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพนั้นจะใช้สำหรับการขับเคลื่อนด้วยอัตราเร็วที่ต่ำ ๆ, นักวิทยาศาสตร์จะเปรียบเทียบหาจรวดที่มีแรงขับเคลื่อนในระบบอื่น ๆ, ที่มีน้ำหนักเบากว่าและมีประสิทธิภาพสูงกว่า, ทำให้สามารถสร้างความเร่งในการเคลื่อนที่ของจรวดได้มากขึ้น และสามารถทำให้เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วที่สูงอย่างยิ่งด้วยประสิทธิภาพที่เหมาะสม จรวดเคมีเป็นชนิดของจรวดที่พบมากที่สุดและพวกมันมักจะสร้างไอเสียโดยการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจรวด จรวดเคมีต้องการที่เก็บพลังงานเชื้อเพลิงที่มีขนาดใหญ่โตมากในรูปแบบที่พร้อมจะปลดปล่อยตัวเองออกมาได้อย่างง่ายดาย และมีอันตรายมาก อย่างไรก็ตาม, จะต้องทำด้วยการออกแบบอย่างรอบคอบ, การทดสอบ, การก่อสร้าง, และใช้ความเสี่ยงอันตรายให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและจรวด · ดูเพิ่มเติม »

ดิอะเมซิ่งเรซ 18

อะเมซิ่ง เรซ 18 (The Amazing Race 18) เป็นฤดูกาลที่ 18 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส ในฤดูกาลนี้ทำลักษณะแบบ ทีมรวมดารา โดยเอาทีมต่างๆ จากฤดูกาลที่ 12-17 มาแข่งขันกันใหม่ จากฤดูกาลที่ 11 ใช้ชื่อว่า The Amazing Race: All-Stars (ดิ อะเมซิ่ง เรซ รวมดารา) แต่ในฤดูกาลนี้จะใช้ชื่อว่า The Amazing Race: Unfinished Business (ดิ อะเมซิ่ง เรซ ธุรกิจนี้ยังสะสางไม่เสร็จ) ซึ่งซีบีเอสได้โปรโมทฤดูกาลนี้ทันที โดยอยู่ภายในตอนสุดท้ายของฤดูกาลที่ 17 เลยและรวมถึงฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลแรกที่จะถ่ายทำในระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูงอีกด้วย แต่เป็นที่ทราบกันดีว่ารายการนี้ถ่ายทำยากมาก เนื่องจากช่างกล้องจะต้องวิ่งตามผู้เข้าแข่งขันตลอดและภาพบางภาพในรายการใช้การตัดต่อหรือดึงภาพจากแฟ้มข้อมูลที่เคยมีไว้มาตัดต่อลงไปทำให้อาจมีภาพแบบขนาดความละเอียดมาตรฐานปนอยู่บ้าง โดยทางผู้ผลิตได้กล่าววาจะจัดการปัญหาตรงจุดนี้ให้เหมาะสมอย่างสมดุลและออกอากาศในแบบโทรทัศน์ความละเอียดสูงอย่างแน่นอน และจะมีการจัดฉลองการครบรอบ 10 ปีของรายการซึ่งในการจัดงานครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากเครื่องดื่มชาสแนปเปิล โดยจะทำการจัดงานวันที่ 8 พฤษภาคม 2554 (ตรงกับวันที่ 9 พฤษภาคม 2554 ของประเทศไทย) รวมถึงการออกอากาศตอนสุดท้ายของฤดูกาลนี้ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2554 (ตรงกับวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 ของประเทศไทย) ด้วยความยาว 2 ชั่วโมงเป็น 2 เลกสุดท้ายติดต่อกันเนื่องจากเคยมีการหยุดฉายไป 1 สัปดาห์ที่ทางสถานีได้ถ่ายทอดสด คันทรี มิวสิก อาวอร์ด คู่พี่น้องจากฤดูกาลที่ 14 คิชากับเจน ซึ่งได้ลำดับที่ 4 ในฤดูกาลนั้น เป็นผู้ชนะการแข่งขันครั้งนี้ไปรวมถึงทั้งคู่ยังเป็นทีมหญิงล้วนคู่ที่สองที่ชนะรายการนี้อีกด้ว.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและดิอะเมซิ่งเรซ 18 · ดูเพิ่มเติม »

ความหนาแน่น

วามหนาแน่น (อังกฤษ: density, สัญลักษณ์: ρ อักษรกรีก โร) เป็นการวัดมวลต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร ยิ่งวัตถุมีความหนาแน่นมากขึ้น มวลต่อหน่วยปริมาตรก็ยิ่งมากขึ้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือวัตถุที่มีความหนาแน่นสูง (เช่น เหล็ก) จะมีปริมาตรน้อยกว่าวัตถุความหนาแน่นต่ำ (เช่น น้ำ) ที่มีมวลเท่ากัน หน่วยเอสไอของความหนาแน่นคือ กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (kg/m3) ความหนาแน่นเฉลี่ย (average density) หาได้จากผลหารระหว่างมวลรวมกับปริมาตรรวม ดังสมการ โดยที.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและความหนาแน่น · ดูเพิ่มเติม »

ปิโตรเลียม

แหล่งน้ำมันสำรองทั่วโลกที่พิสูจน์แล้วใน ค.ศ. 2009 บ่อปิโตรเลียมแห่งหนึ่งในเท็กซัส ปิโตรเลียม (petroleum, petra (หิน) + oleum (น้ำมัน) รวมหมายถึง "น้ำมันที่ได้จากหิน") หรือ น้ำมันดิบ เป็นของเหลวไวไฟที่เกิดเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วยสารผสมซับซ้อนระหว่างไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างกัน กับสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นของเหลวอื่น ๆ ซึ่งพบในชั้นธรณีวิทยาใต้ผิวโลก เป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เกิดได้จากซากสิ่งมีชีวิต (มักเป็นแพลงก์ตอนสัตว์และสาหร่าย) จำนวนมากทับถมกันใต้หินตะกอนและได้รับความร้อนและความดันมหาศาล การขุดเจาะน้ำมันเป็นวิธีการส่วนใหญ่ในการได้มาซึ่งปิโตรเลียม ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังการศึกษาโครงสร้างธรณีวิทยา การวิเคราะห์แอ่งตะกอน และลักษณะหินกักเก็บปิโตรเลียม หลังขุดเจาะขึ้นมาแล้ว ปิโตรเลียมจะถูกกลั่นและแยกเป็นผลิตภัณฑ์บริโภคหลายชนิด ตั้งแต่แก๊สโซลีนและน้ำมันก๊าด ไปจนถึงยางมะตอยและตัวทำปฏิกิริยาเคมีซึ่งใช้ในการทำพลาสติกและเภสัชภัณฑ์ นอกจากนี้ ปิโตรเลียมยังใช้ในการผลิตวัสดุอีกหลายชนิด ปิโตรเลียมมีธาตุองค์ประกอบหลัก 2 ชนิด คือ คาร์บอนและไฮโดรเจน และอาจมีธาตุอโลหะชนิดอื่นปนอยู่ด้วย เช่น กำมะถัน ออกซิเจน และไนโตรเจน ทั้งนี้ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ รวมถึงความร้อนและความดันของสภาพแวดล้อมในการเกิดและการกักเก็บปิโตรเลียม แบ่งตามสถานะได้เป็นสองชนิดหลัก คือ น้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ โดยแก๊สธรรมชาตินั้น ประกอบด้วยคาร์บอนตั้งแต่ 1-4 อะตอม.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและปิโตรเลียม · ดูเพิ่มเติม »

นโยบายพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกา

นโยบายพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกา จัดตั้งโดยองค์กรทั้งระดับท้องถิ่น ระดับรัฐ และระดับชาติของสหรัฐอเมริกา ให้ความในเรื่องของการผลิตพลังงาน การถ่ายโอนพลังงานและการบริโภค นโยบายพลังงานนี้อาจหายรวมถึง กฎหมายพลังงาน ความร่วมมือทางพลังงานระหว่างประเทศ ธุรการ การส่งเสริมการลงทุน การให้คำแนะนำด้านการอนุรักษ์พลังงาน การชำระภาษี และนโยบายสาธารณะอื่นๆ บางนโยบายก็เป็นแผนการของรัฐบาลมานานหลายปีแล้ว เช่น การควบคุมราคาให้น้ำมันเบนซินไม่ให้เกิน 1.00 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 แกลลอน (ตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีนิกสัน) และสหรัฐอเมริกาจะไม่นำเข้าน้ำมันในปริมาณสูงเท่ากับที่นำเข้าปี 1977 อีก (สมัยประธานาธิบดีชาร์เตอร์) แต่ก็ยังไม่ได้มีการวางแผนนโยบายระยะยาวเนื่องจากเกรงว่าอาจจะล้มเหลวได้ บทบัญญัตินโยบายทางด้านพลังงานที่ผ่านที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีเพียง 3 บทเท่านั้น คือ บทบัญญัติของปี 1992, 2005 และ 2007 เนื่องจากสหรัฐอเมริกาไม่ยอมลงนามในอนุสัญญาเกียวโตว่าด้วยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อนนั้น ทำให้มีความต้องการบังคับให้ผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นี้ต้องเสียภาษี ดังนั้น ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบปีสหรัฐอเมริกาหลายคนจึงได้เน้นนโยบายด้านนี้ โดยบางคนเห็นด้วยกับการเก็บภาษีการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ และหันมาเน้นการพัฒนาพลังงานสะอาดมากยิ่งขึ้น.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและนโยบายพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

น้ำมัน

น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ น้ำมัน (Oil) เป็นคำสามัญที่ใช้เรียกสารอินทรีย์ของเหลวที่ผสมเข้ากันไม่ได้ (immiscible) กับน้ำ เนื่องจากน้ำมันเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว คำว่า น้ำมัน ในภาษาอังกฤษ (Oil) มาจากภาษาละติน oleum ซึ่งหมายถึงน้ำมันมะกอก บ่อยครั้งที่คำว่า น้ำมัน ใช้หมายถึง น้ำมันปิโตรเลียม (น้ำมันดิบ) ซึ่งน้ำมันชนิดนี้จะถูกสูบขึ้นมาจากพื้นดิน ปัจจุบันน้ำมันปิโตรเลียมเป็นแหล่งพลังงานหลักและเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจโลก.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและน้ำมัน · ดูเพิ่มเติม »

แฟร์ดีนันด์ พอร์เชอ

แฟร์ดีนันด์ พอร์เชอ แฟร์ดีนันด์ พอร์เชอ (Ferdinand Porsche; 3 กันยายน ค.ศ. 1875 – 30 มกราคม ค.ศ. 1951) เป็นวิศวกรยานยนต์และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทรถปอร์เช่ เขาได้เป็นที่รู้จักกันดีจากการสร้างเชื้อเพลิงแบบแก๊สโซลีนเป็นครั้งแรก รวมทั้งการประดิษฐ์ยานพาหนะไฮบริดอิเล็คทริก (Hybrid electric vehicle), Lohner-Porsche, รถเต่าโฟล์กสวาเกน (Volkswagen Beetle), เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอสเอส/เอสเอสเค (Mercedes-Benz SS/SSK) และการพัฒนาที่สำคัญอื่น ๆ อีกมากมายและรถยนต์ปอร์เช่ นอกจากนี้พอร์เชอได้ออกแบบรถเบนซ์รุ่น Tropfenwagen ปี..

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและแฟร์ดีนันด์ พอร์เชอ · ดูเพิ่มเติม »

แก๊สธรรมชาติอัด

right แก๊สธรรมชาติอัด (Compressed Natural Gas, CNG) เป็นเชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์อีกชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับ น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล และ แก๊สปิโตรเลียมเหลวสำหรับใช้เป็นพลังงานสะอาดทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงปกติ มีใช้กับพาหนะได้ เช่น รถยนต์ รถบรรทุก รถตู้ รถประจำทาง เป็นต้น ราคาถูกกว่าน้ำมัน และ ช่วงที่น้ำมันมีราคาสูงมาก จึงมีผู้นิยมใช้เพิ่มขึ้นอย่างสูง.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและแก๊สธรรมชาติอัด · ดูเพิ่มเติม »

โตโยต้า ไฮลักซ์

ตโยต้า ไฮลักซ์ (Toyota Hilux) หรือที่คนไทยเรียกติดปากว่า ไฮลักซ์ วีโก้ (Hilux Vigo) เป็นรถกระบะที่ถูกผลิตและพัฒนาโดยรถยนต์แบรนด์ โตโยต้า เพื่อมาแทนรถกระบะรุ่นเก่าคือ โตโยต้า สเตาท์ (Toyota Stout) เริ่มผลิตครั้งแรกใน พ.ศ. 2511 จนถึงปัจจุบัน มีวิวัฒนาการตามช่วงเวลา 8 Generation (โฉม) ดังนี้.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและโตโยต้า ไฮลักซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ไออาร์พีซี

รงกลั่นน้ำมัน บมจ.ไออาร์พีซี บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) เป็นเจ้าของกลุ่มโรงงานปิโตรเลียมและปิโตรเคมี (Petoleum-Petrochemical complex) ตั้งอยู่ที่ตำบลเชิงเนิน อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นเขตประกอบอุตสาหกรรมภายใต้การจัดการของบริษัทฯ พร้อมด้วยสาธารณูปโภคพื้นฐานที่สนับสนุนการผลิต ได้แก่ ท่าเรือน้ำลึก คลังเก็บน้ำมัน และโรงไฟฟ้า ไออาร์พีซีเดิมชื่อ บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทีพีไอ ปัจจุบัน (30 พฤศจิกายน 2556)นายสุกฤตย์ สุรบถโสภณเป็นกรรมการผู้จัดการ.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและไออาร์พีซี · ดูเพิ่มเติม »

ไอเสีย

อเสียจากการเผาน้ำมันดีเซลจากรถบรรทุกขนาดใหญ่ ควันดำอาจจะเกิดขึ้นเมื่อเปิดเครื่องเท่านั้น ไอเสีย เป็นแก๊สจากปล่องควันที่ปล่อยออกมาเนื่องจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง เช่น แก๊สธรรมชาติ แก๊สโซลีน น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา หรือถ่านหิน เครื่องยนต์จะปล่อยไอเสียออกสู่บรรยากาศผ่านท่อไอเสีย ปล่องควัน หรือหัวฉีดกังหันแล้วแต่ชนิดของเครื่องยนต์ ไอเสียจะกระจายตามทิศทางลม เรียกว่า "ควันไอเสีย" (exhaust plume) ไอเสียเป็นส่วนประกอบหลักในการปล่อยไอเสียในยานพาหนะที่ใช้มอเตอร์ (และจากเครื่องยนต์สันดาปภายใน) ซึ่งรวมถึง.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและไอเสีย · ดูเพิ่มเติม »

เชื้อเพลิงชีวภาพ

ื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) เป็น เชื้อเพลิง ที่ได้จาก ชีวมวล หรือ มวลชีวภาพ ซึ่งเป็นผลผลิตจากสิ่งมีชีวิต หรือ ผลิตผลจากการสร้างและสลายของสิ่งมีชีวิต (metabolic byproducts) เช่นมูลสัตว์ ซึ่งเป็น พลังงานทดแทน (Alternative energy) และเป็นพลังงานสะอาด (clean energy)ไม่เหมือนพลังงานจาก แหล่งธรรมชาติ อื่น เช่น ปิโตรเลียม ถ่านหิน และ เชื้อเพลิง นิวเคลียร.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและเชื้อเพลิงชีวภาพ · ดูเพิ่มเติม »

เชื้อเพลิงเอทานอล

ื้อเพลิงเอทานอล คือ เอทานอล (เอทิลแอลกอฮอล์)ชนิดเดียวกันกับที่ใช้ทำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งส่วนใหญ่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ ในรูปแบบสารเติมแต่งในผลิตภัณฑ์น้ำมันเบนซิน การผลิตเชื้อเพลิงเอทานอลเพื่อใช้ในการขนส่งเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่า จากปี..

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและเชื้อเพลิงเอทานอล · ดูเพิ่มเติม »

เบนซิน

นซิน สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและเบนซิน · ดูเพิ่มเติม »

เกีย สทิงเงอร์

กีย สทิงเจอร์ (Kia Stinger) เป็นรถยนต์นั่งประเภทหรูหราขนาดกลาง 5 ประตู ลิฟท์แบ็ก ผลิตโดยเกีย มอเตอร.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและเกีย สทิงเงอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องยนต์โตโยต้า G

รื่องยนต์โตโยต้า 1G-GTE GZ20 เครื่องยนต์ G เป็นชื่อเรียกรุ่นหนึ่งของเครื่องยนต์โตโยต้า มีสองรุ่นที่ชื่อคล้ายกัน ในยุคที่ 1 เป็นเครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบแถวเรียง ผลิตโดยบริษัท ฮีโน่ มอเตอร์ และยุคที่ 2 เป็นเครื่องยนต์เบนซิน 6 สูบ ผลิตโดยโตโยต้.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและเครื่องยนต์โตโยต้า G · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องยนต์โตโยต้า JZ

รื่องยนต์ JZ ผลิตโดยโตโยต้า เพื่อแทนเครื่องยนต์ M เป็นเครื่องยนต์ 6 ลูกสูบ แถวเรียง DOHC 24 valve ระบบขับเคลื่อนล้อหลัง ระบายความร้อนด้วยน้ำ ทำการผลิตและจำหน่าย เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2533 ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 ผลิตออกมาทั้งหมด 2 รุ่น คือ 1JZ และ 2JZ เครื่องยนต์ที่ออกมาทดแทนรุ่นนี้ในปัจจุบันคือ เครื่องยนต์ GR.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและเครื่องยนต์โตโยต้า JZ · ดูเพิ่มเติม »

E85

E85 เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 85% โดยปริมาตร กับน้ำมันเบนซิน เป็นสูตรน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีใช้ในบราซิล สวีเดน และแถบมิดเวสต์ของสหรัฐอเมริกา และมีนโยบายจากภาครัฐ จะนำมาใช้ในประเทศไทย ภายในปี พ.ศ. 2551.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและE85 · ดูเพิ่มเติม »

NFPA 704

150px NFPA 704 เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ซึ่งกำหนดและรักษามาตรฐานโดย สมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ (National Fire Protection Association) ของสหรัฐอเมริกา เพื่อป้องกันและเตือนถึงวัสดุอันตรายต่างๆ เครื่องหมายนี้เรียกง่ายๆ ว่า "เพชรไฟ" (fire diamond) เป็นการเตือนภัยส่วนบุคคลเพื่อให้ง่ายและรวดเร็วที่จะได้ทราบ ว่าเป็นวัสดุอันตรายชนิดใด มีวิธีการปฏิบัติหรือต้องการเครื่องมือเฉพาะอย่างไรบ้าง.

ใหม่!!: แก๊สโซลีนและNFPA 704 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Gasolineน้ำมันเบนซินแกโซลีนเพทรอล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »