โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เฮราคลีส

ดัชนี เฮราคลีส

''เฮราคลีสสู้กับไฮดรา'' ภาพวาดของอันโตนิโอ พอลเลียโล เฮราคลีส (Heracles หรือ Herakles) เป็นชื่อเทพองค์หนึ่งในตำนานเทพเจ้ากรีก ชื่อมีความหมายว่า "ความรุ่งโรจน์ของเฮรา" เขาเป็นบุตรของเทพซูสกับนางแอลก์มินี เกิดที่เมืองธีบส์ เป็นหลานของแอมฟิไทรออน และเป็นเหลนของเพอร์ซูส เฮราคลีสนับเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ในปกรณัมกรีก ชื่อในตำนานเทพโรมันว่า เฮอร์คิวลีส ซึ่งดัดแปลงเอาเรื่องราวของเขาในปกรณัมกรีกไปใช้ นับแต่เฮราคลีสเกิดมาก็ตกอยู่ในความริษยาพยาบาทของเทพีเฮรา ซึ่งหึงหวงเทพซูสผู้สามี แม้เฮราคลีสเป็นบุตรเทพซูส แต่กลับมีกำเนิดเป็นเพียงมนุษย์ธรรมดา เมื่อโตขึ้น เฮราคลีสได้แต่งงานกับนางเมการะ มีบุตรสามคน เทพีเฮราบันดาลให้เขาวิกลจริตและสังหารบุตรภรรยาตายสิ้น เมื่อเขาคืนสติก็จะฆ่าตัวตายตาม แต่ธีซูสเพื่อนสนิทห้ามปรามไว้ แนะให้ไปขอคำพยากรณ์จากวิหารเดลฟี คำพยากรณ์บอกให้เฮราคลีสไปหาท้าวยูริสเทียสและรับทำภารกิจทุกประการตามแต่จะได้รับ เพื่อเป็นการชำระมลทินให้บริสุทธิ์ ท้าวยูริสเทียสสรรหาภารกิจอันเหลือที่มนุษย์จะกระทำได้ เรียกกันว่า "The Twelves Labours of Heracles" หรือ ภารกิจ 12 ประการของเฮราคลีส ได้แก.

30 ความสัมพันธ์: บิลเลโรฟอนการรุกรานของชาวดอเรียนกีฬาโอลิมปิกสิงโตในมุทราศาสตร์สคิลลาอะธีนาอาร์โนลด์ ชวาร์เซเน็กเกอร์อีเลียดอเล็กซานเดอร์มหาราชฮิฟีสตัสฮีบี (เทพปกรณัม)ฮีราดาราจักรซูสนิกซ์แอรีสแอโฟรไดทีแทนาทอสแครอนโรงฝึก (กรีซโบราณ)ไมซีนีไฮดรา (เทพปกรณัม)ไดออจะนีซไดอะไนซัสเอเร็ค เร็กซ์เฮอร์มีสเฮอร์คิวลีสเทพปกรณัมกรีกเทวสภาโอลิมปัสเดวส์เอกส์มาคีนา

บิลเลโรฟอน

บิลเลโรฟอน ขี่เพกาซัส ปราบไคมีรา เครื่องปั้นดินเผาสมัย 420 ปีก่อนคริสตกาล บิลเลโรฟอน (Bellerophon, Bellerophontes; Βελλεροφῶν, Βελλεροφόντης) เป็นวีรบุรุษในตำนานเทพปกรณัมกรีก มีชื่อเสียงจากการปราบสัตว์ประหลาดโบราณมากมาย เช่นเดียวกับแคดมุส และเพอร์ซิอุส ก่อนยุคของเฮราคลีส ตำนานที่มีชื่อเสียงของบิลเลโรฟอน คือเรื่องเกี่ยวกับการปราบเพกาซัส และไคมีรา บิลเลโรฟอนเป็นโอรสของกลอคัส พระราชาแห่งเมืองคอรินท์ กับยูริโน มีพระอนุชาคือ ดีลิอาดิส หมวดหมู่:บุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก.

ใหม่!!: เฮราคลีสและบิลเลโรฟอน · ดูเพิ่มเติม »

การรุกรานของชาวดอเรียน

การรุกรานของชาวดอเรียน (Dorian Invasion) เป็นแนวคิดที่สร้างขึ้นมาอธิบายการแพร่กระจายของสำเนียงภาษา และวัฒนธรรมของกลุ่มคนที่นักเขียนกรีกโบราณเรียกว่า "ชาวดอเรียน" จนถึงระดับที่เข้ามาแทนที่ภาษาและวัฒนธรรมที่มีอยู่ก่อนยุคคลาสสิก ตามตำนานปรัมปราของกรีก ชาวดอเรียนเข้ามาถือกรรมสิทธิในแผ่นดินเพโลพอนนีส เนื่องจากเหตุการณ์ที่มีชื่อว่า การกลับมาของพวกเฮราไคลดี (Ἐπιστροφὴ τῶν Ἡρακλειδῶν) หรือ พวกเฮราคลิดส์ (Heraclids) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นลูกหลานของฮีโร่เฮราคลีส นักวิชาการคลาสสิกเชื่อว่าตำนานนี้อาจจะเป็นเหตุการณ์จริง แต่ทว่าแนวคิดเรื่องการรุกรานของชาวดอเรียนก็เปลี่ยนไปมาหลายครั้ง เพราะทั้งนักนิรุกติศาสตร์ และนักโบราณคดีต่างก็อ้างเหตุการณ์นี้ มาอธิบายการสะดุดและขาดความต่อเนื่องของอารยธรรมไมซีนี นอกจากนี้แบบแผนของการมาถึงของวัฒนธรรมดอเรียน ในเกาะบางแห่งในทะเลเมดิเตอเรเนียน มีความเป็นมาอย่างไรก็ยังไม่ทราบชัดเจน และปัญหาว่าชาวดอเรียนมาจากไหนก็ไม่มีใครทราบ แม่จะทำการศึกษาเรื่องนี้มาเกือบ 200 ปีแล้ว.

ใหม่!!: เฮราคลีสและการรุกรานของชาวดอเรียน · ดูเพิ่มเติม »

กีฬาโอลิมปิก

กีฬาโอลิมปิก (อังกฤษ: Olympic Games, ฝรั่งเศส: les Jeux olympiques, JO) หรือโอลิมปิกส์ (อังกฤษ: Olympics) สมัยใหม่ เป็นการแข่งขันระหว่างประเทศที่สำคัญ ทั้งกีฬาฤดูร้อนและฤดูหนาว โดยมีนักกีฬาหลายพันคนเข้าร่วมการแข่งขันหลายชนิดกีฬา กีฬาโอลิมปิกถูกมองว่าเป็นการแข่งขันกีฬาที่สำคัญที่สุดของโลก โดยมีประเทศเข้าร่วมกว่า 200 ประเทศ ปัจจุบัน กีฬาโอลิมปิกจัดขึ้นทุกสองปี ผลัดกันระหว่างโอลิมปิกฤดูร้อนกับโอลิมปิกฤดูหนาว หมายความว่า โอลิมปิกฤดูร้อนและโอลิมปิกฤดูหนาวจะจัดห่างกันสี่ปี การสร้างสรรค์กีฬาโอลิมปิกได้รับแรงบันดาลใจจากกีฬาโอลิมปิกโบราณ ซึ่งจัดขึ้นในโอลิมเปีย กรีซ จากศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 บารอน ปีแยร์ เดอ กูแบร์แต็ง ก่อตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) ใน..

ใหม่!!: เฮราคลีสและกีฬาโอลิมปิก · ดูเพิ่มเติม »

สิงโตในมุทราศาสตร์

งโต (Lion) เป็นสัตว์ที่นิยมใช้เป็นเครื่องหมายกันในตราอาร์มกันมากที่สุดเครื่องหมายหนึ่ง เพราะเป็นสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ การรักษาเกียรติยศ ความแข็งแกร่ง และ ความเป็นสัตว์ที่ถือกันว่าสูงศักดิ์ ที่เดิมถือกันว่าเป็นราชาแห่งสัตว์ทั้งปวง.

ใหม่!!: เฮราคลีสและสิงโตในมุทราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สคิลลา

ลลาบนแจกันดินเผายุคกรีกโบราณ สคิลลา (Scylla; กรีก: Σκύλλα, Skylla) เป็นอสูรกายทะเลปรากฏในเทพปกรณัมกรีก เคียงคู่กับคาริบดิส อันเป็นที่มาของสุภาษิตตะวันตกที่ว่า "ระหว่างคาริบดิสและสคิลลา" สคิลลา มีท่อนบนเป็นหญิงสาวรูปร่างหน้าตาสวยงาม แต่ท่อนล่างเป็นสุนัขดุร้ายทั้งหมด 6 หัว เชื่อว่าสคิลลาและคาริบดิสอาศัยอยู่บริเวณโขดหินแถบช่องแคบเมสสินา ใกล้กับเกาะซิซิลี ในประเทศอิตาลี ในปัจจุบัน เดิมที สคิลลาเป็นนิมฟ์หรือพรายน้ำที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม เป็นบุตรีของเพอร์ซิส เทพแห่งน้ำ กลอคัส ซึ่งเป็นเทพแห่งท้องทะเลอีกองค์หนึ่งตามปกรณัม เมื่อได้มาพบเห็นสคิลลาก็หลงรักและปรารถนาอยากได้ครอบครองนาง แต่สคิลลากลัวในรูปร่างอันประหลาดของกลอคัส จึงวิ่งหนีเมื่อกลอคัสปรากฏตัวขึ้นเหนือน้ำ กลอคัสจึงเล่าเรื่องทั้งหมดนี้ให้แก่นางแม่มด เซอร์ซี เพื่อหวังให้นางช่วย แต่เมื่อเซอร์ซีได้ฟังเรื่องทั้งหมดแล้ว นางกลับหลงรักกลอคัสแทน และได้เทยาพิษลงในน้ำในจุดที่สคิลลาลงเล่นน้ำบ่อย ๆ เมื่อสคิลลาลงเล่นน้ำร่างกายท่อนล่างเมื่อแตะน้ำจึงกลับกลายเป็นสุนัขดุร้าย 6 หัวแทน และถูกตรึงอยู่ ณ ที่นั้น ไม่สามารถขยับไปไหนได้ จึงกลายเป็นอสูรกายคอยดักเล่นงานลูกเรือตามเรือที่ผ่านไปมา โดยจับกินเป็นอาหาร อีกปกรณัมหนึ่ง เล่าว่า สคิลลาเป็นชายาลับ ๆ อีกองค์ของโพไซดอน มหาเทพแห่งท้องทะเล จึงทำให้แอมฟิไทรต์ชายาใหญ่ของโพไซดอนเกิดความหึงหวง จึงเอายาพิษมาโปรยใว้ที่จุดที่สคิลลาลงเล่นน้ำ จึงกลายเป็นอสูรกายไป และบางปกรณัมก็ว่า สคิลลาถูกปราบโดยเฮราคลีส จึงกลายเป็นโขดหินไป เรื่องราวของสคลิลาและคาริบดิสปรากฏในมหากาพย์โอดิสซีย์ โดย เรือของโอดิซูสต้องผ่านช่องแคบเมสสินาในระหว่างเดินทางกลับ หลังเสร็จสงครามกรุงทรอย โอดิสซูสจำต้องเลือกว่าจะเสี่ยงเอาเรือแล่นไปใกล้คาริบดิสและเรืออาจถูกน้ำวนของนาง ดูดจนอัปปางจมไปทั้งลำหรือนำเรือเข้าไปใกล้โขดหินสคิลลาและเสี่ยงต่อการถูกจู่โจม ซึ่งสุดท้าย โอดิสซูสก็เลือกนำเรือเข้าใกล้โขดหินสคิลลาและต้องเสียลูกเรือ 6 คนโดยถูกสุนัขทั้ง 6 หัวของสคิลลาฉกไปกินหัวละคน ในวัฒนธรรมร่วมสมัย สคิลลาได้ถูกอ้างอิงถึงในการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง เซนต์เซย่า โดยปรากฏเป็นมารีนเนอร์ระดับขุนพล ชื่อ สคิลลา อิโอ เป็นผู้พิทักษ์เสาค้ำมหาสมุทรแปซิฟิคใต้ โดยดัดแปลงให้สคิลลามีท่อนล่างเป็นสัตว์ป่าดุร้าย 6 ชนิดแทน.

ใหม่!!: เฮราคลีสและสคิลลา · ดูเพิ่มเติม »

อะธีนา

ในศาสนาและเทพปกรณัมกรีก อะธีนา (Athena) หรือ อะธีนี (Athene) หรือ แพลลัสอธีนา/อะธีนี (Pallas Athena/Athene) เป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์แห่งปัญญา ความกล้า แรงบันดาลใจ อารยธรรม กฎหมายและความยุติธรรม การสงครามโดยชอบ คณิตศาสตร์ ความแข็งแกร่ง ยุทธศาสตร์ ศิลปะ งานฝีมือและทักษะ ภาคโรมัน คือ มิเนอร์วา มีการพรรณนาอะธีนาว่าทรงเป็นพระสหายร่วมทางผู้เฉลียวฉลาดของวีรบุรุษและเทพเจ้าอุปถัมภ์การผจญภัยของวีรบุรุษ พระนางทรงเป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์ผู้อุปถัมภ์กรุงเอเธนส์ ชาวเอเธนส์ตั้งวิหารพาร์เธนอนบนอะโครโพลิสในกรุงเอเธนส์ (อะธีนาพาร์ธีนอส) เพื่อถวายเกียรติแด่พระนางDeacy, Susan, and Alexandra Villing.

ใหม่!!: เฮราคลีสและอะธีนา · ดูเพิ่มเติม »

อาร์โนลด์ ชวาร์เซเน็กเกอร์

อาร์โนลด์ อาลอยส์ ชวาร์เซเน็กเกอร์ (Arnold Alois Schwarzenegger) เกิดวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1947 (พ.ศ. 2490) เป็นนักเพาะกายชายชาวออสเตรีย-อเมริกัน นักแสดงชาย นักการเมือง อดีตผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียคนที่ 38 ของสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: เฮราคลีสและอาร์โนลด์ ชวาร์เซเน็กเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อีเลียด

ปกมหากาพย์ ''อีเลียด'' เชื่อว่าพิมพ์ในปี ค.ศ. 1572 อีเลียด (Ἰλιάς Ilias; Iliad) เป็นหนึ่งในสองบทกวีมหากาพย์กรีกโบราณของโฮเมอร์ ซึ่งเล่าเรื่องราวของสงครามเมืองทรอยในช่วงปีที่สิบอันเป็นปีที่สิ้นสุดสงคราม เชื่อกันว่า อีเลียด ถูกแต่งขึ้นในช่วงศตวรรษที่แปดก่อนคริสตกาล นักวิชาการหลายคนเชื่อว่า บทกวีเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในภาษากรีกโบราณ จึงถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของยุโรป แม้จะมีชื่อผู้ประพันธ์ปรากฏเพียงคนเดียว แต่จากลักษณะของบทกวีที่บอกเล่าสืบต่อกันมาแบบปากเปล่ารุ่นต่อรุ่น จึงมีความเป็นไปได้ว่ามีผู้ประพันธ์มากกว่าหนึ่งคน เรื่องราวในบทกวีบรรยายถึงเหตุการณ์ในปีที่สิบซึ่งเป็นปีสุดท้ายของเหตุการณ์ที่ชาวกรีกบุกยึดนครอีเลียน หรือเมืองทรอย คำว่า "อีเลียด" หมายถึง "เกี่ยวกับอีเลียน" (ภาษาละตินเรียก อีเลียม (Ilium)) อันเป็นชื่อเรียกส่วนนครหลวง ซึ่งแตกต่างกับ ทรอย (Truva; Τροία, Troía; Troia, Troiae) อันหมายถึงนครรัฐที่อยู่ล้อมรอบอีเลียม แต่คำทั้งสองคำนี้มักใช้รวมๆ กันหมายถึงสถานที่แห่งเดียวกัน.

ใหม่!!: เฮราคลีสและอีเลียด · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์มหาราช

อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน.

ใหม่!!: เฮราคลีสและอเล็กซานเดอร์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

ฮิฟีสตัส

ฟีสตัส (Ἥφαιστος) (Hephaestus) เป็นเทพเจ้าแห่งช่างตีเหล็ก (blacksmith) ช่างฝีมือ ช่างศิลป์ ประติมากร โลหะ โลหะวิทยา (metallurgy) ไฟและภูเขาไฟWalter Burkert, Greek Religion 1985: III.2.ii; see coverage of Lemnos-based traditions and legends at Mythic Lemnos) ภาคโรมัน คือ วัลแคน ในเทพปกรณัมกรีก ฮีฟีสตัสเป็นพระโอรสของซูสกับพระนางฮีรา หรือบางตำราก็ว่าท่านเกิดมาแต่เฉพาะเทวีฮีรา และมีแอฟโฟรไดทีเป็นชายา ฮิฟีสตัสเป็นเทพช่างตีเหล็ก ทรงประดิษฐ์อาวุธทั้งหมดของพระเจ้าบนโอลิมปัส พระองค์เป็นช่างตีเหล็กของเหล่าทวยเทพ และทรงได้รับการบูชาในศูนย์การผลิตและอุตสาหกรรมของกรีซ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเอเธนส์ ลัทธิบูชาฮีฟีสตัสมีศูนย์กลางในเลมนอส ฮิฟีสตัสมีลักษณะเด่นคือเป็นเทพพิการ มีขาไม่สมประกอบ มีกริยาอาการเหมือนคนทุพพลภาพ และถือเครื่องมือช่างตลอดเวลา ท่านจึงได้รับฉายาเรียกหลายอย่างที่แสดงถึงลักษณะทางกายภาพ เช่น.

ใหม่!!: เฮราคลีสและฮิฟีสตัส · ดูเพิ่มเติม »

ฮีบี (เทพปกรณัม)

ทพีฮีบี ฮีบี (Hebe; Ήβη) เป็นเทพีในตำนานเทพเจ้ากรีกที่เทียบเท่ากับจูเวนทัสในตำนานเทพเจ้าโรมัน เทพีฮีบีเป็นเทพีแห่งความเยาว์วัยผู้เป็นบุตรีของเทพซูสและเทพีฮีรา ผู้มีตำแหน่งเป็นผู้ถวายพระสุทธารส (cupbearer) สำหรับเทพและเทพีแห่งยอดเขาโอลิมปัส คู่กับแกนีมีด จนกระทั่งแต่งงานกับเฮราคลี.

ใหม่!!: เฮราคลีสและฮีบี (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

ฮีรา

ีร่า หรือ เฮร่า (Hera; Ήρα, Ήρη) เป็นมเหสีและเชษฐภคินี (พี่สาว) ของซูสในพระเจ้าโอลิมปัสของเทพปกรณัมและศาสนากรีก เป็นธิดาของโครนัสและเรีย หน้าที่หลักของพระนางคือเป็นเทพเจ้าแห่งสตรีและการสมรส ภาคโรมัน คือ จูโน พิจารณาว่าวัว สิงโตและนกยูงเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ประจำพระองค์ ฮีร่าเป็นที่รู้จักจากธรรมชาติอิจฉาและพยาบาทของพระนาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชายาองค์อื่น ๆ ของซูส และบุตรที่เกิดจากชายาเหล่านั้น ไม่ว่าพวกนางเป็นเทพเจ้าหรือมนุษย์ก็ตาม ตัวอย่างของผู้ที่ถูกฮีร่าปองร้ายมีมากมาย เช่น ลีโต มารดาของเทพอพอลโลและเทพีอาร์ทิมิส เฮราคลีส ไอโอ ลามิอา เกรานา ซิมิลี มารดาของเทพไดอะไนซัส ยูโรปา เป็นต้น ก็จะเจอจุดจบแบบไม่สวยงาม ในมหากาพย์อีเลียด ของ โฮเมอร์ ได้กล่าวถึงพระนางว่า เทพีตาวัว (ox-eyed goddess) ซึ่งแสดงถึงสัตว์ประจำตัวของฮีรานั่นเอง.

ใหม่!!: เฮราคลีสและฮีรา · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักร

ราจักร '''NGC 4414''' ซึ่งเป็นดาราจักรชนิดก้นหอย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 56,000 ปีแสง และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 60 ล้านปีแสง ดาราจักร หรือ กาแล็กซี (galaxy) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์นับล้านดวง กับสสารระหว่างดาวอันประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่น และสสารมืด รวมอยู่ด้วยกันด้วยแรงโน้มถ่วง คำนี้มีที่มาจากภาษากรีกว่า galaxias หมายถึง "น้ำนม" ซึ่งสื่อโดยตรงถึงดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way) ดาราจักรโดยทั่วไปมีขนาดน้อยใหญ่ต่างกัน นับแต่ดาราจักรแคระที่มีดาวฤกษ์ประมาณสิบล้านดวง ไปจนถึงดาราจักรขนาดยักษ์ที่มีดาวฤกษ์นับถึงล้านล้านดวง.

ใหม่!!: เฮราคลีสและดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

ซูส

ซุส หรือ ซีอุส (Zeus; Ζεύς, Zeús ซฺเดอุส) ทรงเป็น "พระบิดาแห่งพระเจ้าและมนุษย์" (πατὴρ ἀνδρῶν τε θεῶν τε, patḕr andrōn te theōn te) ผู้ปกครองเทพโอลิมปัสแห่งยอดเขาโอลิมปัสดังบิดาปกครองครอบครัวตามศาสนากรีกโบราณ พระองค์ทรงเป็นเทพแห่งท้องฟ้าและสายฟ้าในเทพปกรณัมกรีก ซูสกับพระเจ้าจูปิเตอร์ของโรมันมาจากรากศัพท์เดียวกัน และกลายมามีความใกล้ชิดกันภายใต้อิทธิพลเฮเลนิสติก ซูสเป็นบุตรของโครนัสและรีอา และมีพระชนมายุน้อยที่สุด ในตำนานกล่าวว่า พระองค์สมรสกับฮีรา ทว่าที่ผู้พยาการณ์ที่ดอโดนา คู่สมรสของพระองค์คือ ไดโอนี ตามที่ระบุในอีเลียด พระองค์ทรงเป็นพระบิดาของแอโฟรไดที โดยไดโอนีเป็นพระมารดา พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในเรื่องกาม ซึ่งส่งผลให้พระองค์มีพระโอรสธิดาที่เป็นพระเจ้าและวีรบุรุษมากมาย รวมทั้งอะธีนา อะพอลโลและอาร์ทิมิส เฮอร์มีส เพอร์เซฟะนี ไดอะไนซัส เพอร์ซิอัส เฮราคลีส เฮเลนแห่งทรอย มิวส์ แอรีส ฮีบีและฮิฟีสตัส วอลเตอร์ เบอร์เกิร์ตบรรยายไว้ในหนังสือ ความเชื่อกรีกโบราณ ว่า "ซูสเป็นเทพบิดรของบรรดาเทวดาทั้งหลาย ทวยเทพทั้งหมดกำเนิดขึ้นเพราะมีพระองค์" ชาวกรีกเชื่อว่า พระองค์คือ เทพเจ้าสูงสุด, ผู้ครอบครองจักรวาล อ้างอิงโดย พอซาเนียส (นักภูมิศาสตร์) "ที่ซูสเป็นกษัตริย์ในสวรรค์เป็นคำที่มนุษย์ทุกคนทราบ" เฮซิออด กวี ธีโอโกนี ซูสได้จัดสรรมอบอำนาจให้เหล่าเทพ กวีโฮเมอริค พระองค์มีอำนาจปกครองสูงสุดในเหล่าเทพ สัญลักษณ์ของซูสคือ อัสนีบาตสายฟ้า, เหยี่ยว, กระทิง และต้นโอ๊ก นอกเหนือจากตำนานอินโด-ยูโรเปียน ฉายาตามตำนาน "ผู้รวบรวมเมฆ" (กรีก: Νεφεληγερέτα, Nephelēgereta) ได้รับมาจากสัญลักษณ์ตามวัฒนธรรมตะวันออกใกล้โบราณ ตัวอย่างเช่น คทาของกษัตริย์ ศิลปินชาวกรีกมักจะนำเสนอรูปปั้นเทพซูสใน ท่ายืนหรือท่วงท่าการก้าวไปข้างหน้า มีอัสนีบาตประดับในพระหัตถ์ขวา หรือประทับอยู่บนพระราชบัลลังก.

ใหม่!!: เฮราคลีสและซูส · ดูเพิ่มเติม »

นิกซ์

นิกซ์ หรือ นุกซ์ (Nyx; Νύξ, นุกซ์; Nox แปลว่า กลางคืน) เป็นหนึ่งในเทพดั้งเดิม (protogenoi)ในเทพปกรณัมกรีก นิกซ์เป็นเทพีแห่งราตรีซึ่งเกิดจากเคออสและเป็นคู่ของเอเรบัส (ความมืด) นิกซ์เป็นมารดาของเทพตัวแทนปรากฎการณ์ธรรมชาติ อีกหลายองค์ ซึ่งรวมถึงทานาทอส (ความตาย) และฮิปนอส (นิทรา) มีรูปลักษณ์เป็นหญิงสาวผู้งดงามและทรงอำน.

ใหม่!!: เฮราคลีสและนิกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

แอรีส

แอรีส (Ares; Ἄρης อาแรส) ทรงเป็นเทพแห่งสงครามของกรีก ทรงเป็นหนึ่งในสิบสองพระเจ้าโอลิมปัส และพระโอรสของซูสและฮีรา ในวรรณกรรมกรีก เป็นสัญลักษณ์ของแง่มุมกายภาพหรือความรุนแรงและไม่สงบของสงคราม ขัดกับอะธีนา ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งปัญญา รวมทั้งยุทธศาสตร์การทหารและตำแหน่งอำนาจแม่ทัพ ชาวกรีกมีความรู้สึกไม่ชัดเจนต่อแอรีส เนื่องจากเทพแอรีสเป็นสัญลักษณะของความพ่ายแพ้เช่นเดียวกับความสามารถในสงครามแม้พระองค์จะทรงมีความกล้าทางกายซึ่งจำเป็นต่อความสำเร็จในสงคราม แต่เป็นพลังที่อันตราย "ท่วมท้น ละโมบในการยุทธ์ ทำลายล้างและฆ่าคน"Burkert, Greek Religion, p. 169.

ใหม่!!: เฮราคลีสและแอรีส · ดูเพิ่มเติม »

แอโฟรไดที

แอโฟรไดที (Aphrodite,; Ἀφροδίτη) เป็นพระเจ้าแห่งความรัก ความงาม สุขารมณ์และการให้กำเนิด ภาคโรมัน คือ วีนัส มีนิยายว่าด้วยกำเนิดของพระนางมากกว่าหนึ่งเรื่อง เฉกเช่นพระเจ้ากรีกโบราณหลายพระองค์ เทออกอเนียของฮีซิอัดระบุว่า พระองค์ประสูติเมื่อโครนัสตัดอวัยวะเพศของยูเรนัสแล้วโยนลงทะเล จากนั้นพระองค์กำเนิดขึ้นจากฟองสมุทร (aphros) ด้วยพระสิริโฉมงดงามของพระองค์ พระเจ้าองค์อื่นจึงเกรงว่าการชิงพระนางจะขัดขวางสันติภาพในหมู่พวกตนและนำไปสู่สงคราม ฉะนั้นซูสจึงเสกสมรสพระนางกับฮิฟีสตัส ซึ่งด้วยความอัปลักษณ์และผิดรูปของพระองค์ ไม่ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคาม แอโฟรไดทีมีชู้รักมากมาย ทั้งพระเจ้า เช่น แอรีส และมนุษย์ เช่น แองไคซีส (Anchises) พระองค์มีบทบาทในตำนานเอียรอสและไซคี ภายหลังเป็นทั้งชู้รักของอโดนิส (Adonis) และผู้ทดแทนมารดาของพระองค์ กล่าวกันว่าเทพชั้นรองจำนวนมากเป็นโอรสธิดาของแอโฟรไดที แอโฟรไดทียังรู้จักกันในพระนามไคธีเรีย (นายหญิงแห่งไคธีรา) และไซปริส (นายหญิงแห่งไซปรัส) ซึ่งตั้งตามชื่อแหล่งลัทธิสองแห่ง ไคธีราและไซปรัส ซึ่งอ้างว่าเป็นที่ประสูติของพระนาง กล่าวกันว่าเมอร์เทิล (myrtle) นกพิราบ นกกระจอก ม้าและหงส์ศักดิ์สิทธิ์ต่อพระนาง ชาวกรีกโบราณระบุพระองค์แอโฟรไดทีกับเทพีแฮธอร์ของอียิปต์โบราณ.

ใหม่!!: เฮราคลีสและแอโฟรไดที · ดูเพิ่มเติม »

แทนาทอส

แทนาทอส (Thanatos, กรีกโบราณ: θάνατος แปลว่า ความตาย) หรือ ออร์คัส (Orcus) ในภาษาลาตินที่ชาวโรมันเรียก เป็นเทพองค์หนึ่งในตำนานเทพของกรีก เป็นเทพแห่งความความตาย เป็นผู้ที่สามารถควบคุมความตายของสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตบนโลก เป็นบุตรชายของนิกซ์ (Nyx) เทพีแห่งราตรี และ อีราบัส (Erabus) เทพแห่งความมืด เป็นน้องชายฝาแฝดของฮิปนอส (Hypnos) เทพแห่งนิทรา โดยทั้งคู่อาศัยอยู่ยังขุมนรก เป็นเทพผู้ช่วยของฮาเดส (Hades) จ้าวแห่งนรก แทนาทอสนั้นจะรับวิญญาณของผู้ที่ตายอย่างสงบไปยังยมโลกด้วยตนเอง แต่จะให้เหล่าเคอร์ซึ่งเป็นพี่สาวจับวิญญาณที่ตายอย่างทารุณไปก่อน รูปลักษณ์ของทั้งฮิปนอสและแทนาทอส มักเป็นรูปชายหนุ่มเปลือยกาย หน้าตาเหมือนกัน ทั้งคู่จะมีปีกอยู่ที่ศีรษะคนละข้างสลับกัน มือหนึ่งของแทนาทอสมักถือผีเสื้อหรือมาลัยดอกไม้ โดยบทบาทของแทนาทอสในเทพนิยาย แทนาทอสจะเป็นผู้รับวิญญาณมนุษย์ไปยังยมโลก แต่ในบางตำนานจะยกบทบาทนี้ให้เฮอร์มีส (Hermes) เทพแห่งการสื่อสาร ปรากฏตอนนึงความว่า ได้ถูกกษัตริย์ซีซิสฟัส (Sisyphus) หลอกล่อจนหลงกลแล้วถูกจับขัง ทำให้ไม่มีคนตาย จนกระทั่งเอรีส (Ares) เทพแห่งสงครามหงุดหงิดที่ไม่มีคนตายในการสู้รบ จึงได้ใช้กำลังปลดปล่อยแทนาทอสและพาซีซิสฟัสไปยังยมโลก เนื่องจากเป็นเทพแห่งความตาย ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนหวาดกลัว และแม้แต่เหล่าเทพก็ยังรังเกียจแทนาทอส จึงนับว่า แทนาทอสเป็นปีศาจตนหนึ่งก็ว่าได้ โดยแทนาทอสเองก็เกลียดชังมนุษย์และเทพเจ้าอื่น ๆ เช่นเดียวกัน แทนาทอสนั้นเคยต่อสู้กับวีรบุรุษ เฮราคลีส โดยเฮราคลีสนั้นต้องการช่วยเหลือราชินีอัลเคสทิส (Alkestis) ซึ่งยอมสละชีวิตตนเพื่อให้พระสวามี แอดมีตอส (Admetos) มีพระชนม์ชีพยืนยาว เมื่อเฮราคลีสสามารถล้มแทนาทอสได้จึงเท่ากับเป็นผู้มีชัยเหนือความตาย แทนาทอสจึงยอมให้อัลเคสทิสมีชีวิตต่อไป.

ใหม่!!: เฮราคลีสและแทนาทอส · ดูเพิ่มเติม »

แครอน

อเล็กซานเดอร์ ลีตอฟเชนโค แครอน (Charon หรือ Kharon,; Χάρων) เป็นคนแจวของเฮดีสผู้นำวิญญาณของผู้เพิ่งตายข้ามแม่น้ำแอเคอรอนจากมนุษยโลกไปยังยมโลก บางครั้งญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตจะใส่ "เหรียญของแครอน" (Charon's obol) ในปากของผู้เสียชีวิตเพื่อเป็นค่าโดยสาร นักเขียนบางท่านกล่าวว่าผู้ที่ไม่มีเงินจ่ายค่าโดยสารหรือผู้ที่ไม่ได้ถูกฝังต้องเดินร่อนเร่อยู่ริมฝั่งเป็นเวลาหนึ่งร้อยปีจึงจะข้ามไปได้ วีรบุรุษที่ได้เดินทางข้ามจากมนุษยโลกไปยังยมโลก และข้ามกลับมายังมนุษยโลกอีกเช่น เฮราคลีส, ออร์เฟียส, อีเนียส, ไดอะไนซัส และไซคี ต่างก็ใช้เรือของแครอน.

ใหม่!!: เฮราคลีสและแครอน · ดูเพิ่มเติม »

โรงฝึก (กรีซโบราณ)

รงฝึกปอมเปอี จากด้านบนกำแพงสนาม โรงฝึก (Gymnasium) ในสมัยกรีซโบราณ ทำหน้าที่เป็นสถานฝึกซ้อมสำหรับบรรดาผู้เข้าแข่งขันในเกมสาธารณะ ทั้งยังเป็นสถานที่สำหรับการสังสรรค์และแลกเปลี่ยนทางความคิด คำนี้มีที่มาจากคำในภาษากรีก gymnos หมายถึง เปลือย เพราะการแข่งขันกรีฑาจะทำโดยไม่สวมเสื้อผ้า ทั้งนี้เป็นการชื่นชมต่อสรีระของร่างกายบุรุษและเป็นการบูชาต่อเทพเจ้า ทั้งโรงฝึก (gymnasium) และโรงมวยปล้ำ (palaestra) ถือว่าอยู่ในความคุ้มครองและอารักขาของเทพเฮราคลีส เฮอร์มีส และในเอเธนส์รวมถึงธีซู.

ใหม่!!: เฮราคลีสและโรงฝึก (กรีซโบราณ) · ดูเพิ่มเติม »

ไมซีนี

มซีนี (Μυκῆναι or Μυκήνη อ่านว่า มูแคไน หรือ มูแคแน; Mycenae) คือเมืองโบราณสมัยสำริดก่อนยุคเฮเลนิก (อารยธรรมกรีซโบราณนับแต่กรีซยุคอาร์เคอิกป็นต้นมา) ตั้งอยู่ในเนินเขาทางตะวันออกเฉียงเหนือของที่ราบอาร์กอส ในเพโลพอนนีส มีกำแพงสร้างอยู่โดยรอบ ปัจจุบันเป็นสถานที่ขุดค้นทางโบราณคดีที่ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกจากองค์กรยูเนสโก ในสหัสวรรษที่สองก่อน..

ใหม่!!: เฮราคลีสและไมซีนี · ดูเพิ่มเติม »

ไฮดรา (เทพปกรณัม)

ราคลีสสังหารไฮดราบนกระเบื้องโมเสกในยุคโรมันโบราณ ไฮดรา (Λερναία Ύδρα; Hydra) เป็นสัตว์ประหลาดในเทพปกรณัมกรีก มีลักษณะเด่น คือ มีหลายหัว แต่ละหัวคล้ายงู ไฮดรามีหัวทั้งหมด 9 หัว เมื่อแต่ละหัวที่ถูกตัดจะมีหัวงอกขึ้นใหม่ได้ไม่มีที่สิ้นสุด บางปกรณัมกล่าวว่ามี 100 หัว บ้างก็ว่าไฮดรามีลำตัวคล้ายสุนัข ร่างกายปกคลุมด้วยเกล็ดและมีหางเหมือนมังกร ลมหายใจของไฮดรา มีอันตรายถึงขนาดที่ทำให้ผู้ที่เข้าไกล้ถึงแก่ความตาย ไฮดราเป็นทายาทของไทฟอนและอีคิดนา ไฮดรา อาศัยอยู่ที่ทะเลสาบเลอนา และถูกปราบโดยเฮราคลีส จัดเป็นหนึ่งในภารกิจ 12 ประการของเฮราคลีส ไฮดรา ถูกอ้างอิงถึงในวัฒนธรรมร่วมสมัยมากมาย เช่น การ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง เซนต์เซย่า โดยเป็นหนึ่งในตัวละครที่เป็นระดับบรอนต์เซนต์ มีชื่อว่า ไฮดรา อ.

ใหม่!!: เฮราคลีสและไฮดรา (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

ไดออจะนีซ

ออจะนีซ (Diogenes; Διογένης, Diogenēs) เป็นนักปรัชญาชาวกรีกและผู้ก่อตั้งปรัชญาแบบซีนิก มีอีกชื่อหนึ่งว่า ไดออจะนีซซีนิก (Διογένης ὁ Κυνικός, Diogenēs ho Kunikos) เขาเกิดในซีโนปี (ปัจจุบันอยู่ในประเทศตุรกี) อาณานิคมไอโอเนียในทะเลดำDiogenes of Sinope เมื่อ 412 หรือ 404 ปีก่อน..

ใหม่!!: เฮราคลีสและไดออจะนีซ · ดูเพิ่มเติม »

ไดอะไนซัส

อะไนซัส (Dionysus, /daɪ.əˈnaɪsəs/; Διόνυσος, Dionysos) เป็นเทพเจ้าแห่งการเก็บเกี่ยวองุ่น การทำไวน์และไวน์ ความบ้าคลั่งทางพิธีกรรมและปีติศานติ์ในเทพปกรณัมกรีก พระนามของพระองค์ในแผ่นจารึกอักษรไลเนียร์บี แสดงว่าชาวกรีกไมซีเนียนอาจมีการบูชาพระองค์ตั้งแต่ประมาณ 1500–1100 ปีก่อน..

ใหม่!!: เฮราคลีสและไดอะไนซัส · ดูเพิ่มเติม »

เอเร็ค เร็กซ์

อเร็ค เร็กซ์ เป็นผลงานเขียนของ "แคซา คิงสลีย์" นักเขียนชาวอเมริกัน พิมพ์ครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์ Firelight Press ในปี 2549 มีหนังสือในชุดทั้งหมด 8 เล่ม ปัจจุบันวางจำหน่ายแล้ว 4 เล่ม คือ "ดวงตาแห่งมังกร" "อสุรกายแห่งดินแดนนิรเทศ" "ค้นหาความจริงอันยิ่งใหญ่" และ "เผชิญเจ้าแห่งการลงทัณฑ์" โดยสำนักพิมพ์อิ่มอ่าน แปลโดย "หิมาลายา" (เล่มหนึ่ง) และ "นาราดา" (ตั้งแต่เล่มสอง) การจัดจำหน่ายเล่มสามนั้นต้องเลื่อนกำหนดมาเป็นกลางปี 2552 หลังจากเกิดปัญหาล่าช้า หนังสือเล่มนี้ควรจะออกจำหน่ายเมื่อปีก่อน (พ.ศ. 2551) แต่เมื่อมีการเปลี่ยนสำนักผู้จัดพิมพ์เอเร็ค เร็กซ์ใหม่ จาก Firelight มาเป็น Simon and Schuster ก็ต้องพิมพ์หนังสือตั้งแต่เล่ม 1 เลย http://www.erecrexthai.com/index.php ส่วนเล่มห้าจะมีชื่อว่า The Secret of Ashona'.

ใหม่!!: เฮราคลีสและเอเร็ค เร็กซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เฮอร์มีส

อร์มีส (Hermes; Ἑρμῆς) เป็นพระเจ้าโอลิมปัสในศาสนาและเทพปกรณัมกรีก บุตรแห่งซูสและไลยาดีสเมอา พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าโอลิมปัสที่มีพระชนมายุน้อยที่สุดเป็นอันดับสอง เฮอร์มีสทรงเป็นพระเจ้าแห่งการเปลี่ยนผ่านและเขตแดน พระองค์ทรงรวดเร็วและเจ้าเล่ห์ และสามารถเสด็จระหว่างโลกมนุษย์และพระเจ้าได้อย่างอิสระ ในฐานะทูตและผู้แจ้งข่าวแห่งพระเจ้า ผู้เจรจาระหว่างมนุษย์และพระเจ้า และผู้นำดวงวิญญาณสู่ปรโลก พระองค์ทรงเป็นผู้พิทักษ์และอุปถัมภ์นักเดินทาง คนเลี้ยงแกะ โจร นักพูดข้างถนนและคนมีปฏิภาณ วรรณกรรมและกวี นักกีฬาและกีฬา สิ่งประดิษฐ์และการค้า บางตำนานว่าพระองค์เป็นนักหลอกลวง และเอาชนะพระเจ้าองค์อื่นด้วยไหวพริบเพื่อความพอพระทัยส่วนพระองค์หรือเพราะทรงเห็นแก่มนุษยชาติ ลักษณะและสัญลักษณ์ประจำพระองค์มีประติมากรรมเฉพาะหัว ไก่เพศผู้และเต่าบก ถุงใส่เงิน รองเท้าแตะมีปีก หมวกมีปีก สัญลักษณ์หลักของพระองค์ คือ ไม้เท้าผู้แจ้งข่าว (kerykeion; caduceus) ซึ่งเป็นไม้เท้ามีปีกที่มีงูพันสองตัว พระองค์ทรงถูกระบุเป็นพระเจ้าเมอร์คิวรีของโรมัน ซึ่งแม้เป็นพระเจ้าที่รับมาจากพวกอีทรัสคัน แต่ได้รับคุณลักษณะคล้ายกับเฮอร์มีสมาหลายประการ เช่น ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์การค้.

ใหม่!!: เฮราคลีสและเฮอร์มีส · ดูเพิ่มเติม »

เฮอร์คิวลีส

อร์คิวลีสและสิงห์โตเนเมียน (รายละเอียด), บนถาดเงินจากคริสต์ศตวรรษที่ 6 เฮอร์คิวลีสและหลานชายหนุ่ม (eromenos) ไอโอลอส (Iolaus) งานโมเสกร้อยปีก่อนคริสต์ศตวรรษจากอันซิโอ นิมฟเฟอุม, โรม บรอนซ์โรมันพบใกล้โรงละครปอมเปย์ในปี ค.ศ. 1864 ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วาติกัน “เฮอร์คิวลีสและไฮดราเลิร์นเนียน (Lernaean Hydra) ” โดย อันโตนิโอ พอลลาอูโล (Antonio Pollaiuolo) เฮอร์คิวลีส (Hercules) เป็นชื่อโรมันของเทพเจ้ากรีก ชื่อ เฮราคลีส (Heracles) เฮอร์คิวลีส เป็นลูกของเทพซุส และ อัลค์เมนา (มนุษย์) เฮอร์คิวลีส มีภรรยาสองคน: เทพีเมการา (Megara) และ เทพีไดอะไนรา (Deianeira).

ใหม่!!: เฮราคลีสและเฮอร์คิวลีส · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมกรีก

รูปปั้นครึ่งตัวของซูส, ที่เมือง Otricoli พิพิธภัณฑ์ Pio-Clementino วาติกัน) เทพปกรณัมกรีก (ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานเทพปกรณัมขึ้น เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อน..

ใหม่!!: เฮราคลีสและเทพปกรณัมกรีก · ดูเพิ่มเติม »

เทวสภาโอลิมปัส

ในเทพปกรณัมกรีก เทวสภาโอลิมปัสเป็นพระเจ้าหลักของกรีก โดยมากพิจารณาว่ามีซูส ฮีรา โพไซดอน ดิมีเทอร์ อะธีนา อะพอลโล อาร์ทิมิส แอรีส แอโฟรไดที ฮิฟีสตัส เฮอร์มีส และเฮสเตียหรือไดอะไนซัส บางครั้งรวมเฮดีสและเพอร์เซฟะนีเป็นส่วนหนึ่งของสิบสองเทพโอลิมปัสด้วย แต่โดยทั่วไปไม่นับเฮดีส เพราะพระองค์ประทับอย่างถาวรในโลกบาดาลและไม่เคยเสด็จเยือนยอดเขาโอลิมปัส บางครั้งนับรวมเฮราคลีสและอัสคลิปิอุสเช่นกัน.

ใหม่!!: เฮราคลีสและเทวสภาโอลิมปัส · ดูเพิ่มเติม »

เดวส์เอกส์มาคีนา

วส์เอกส์มาคีนา หรือ เทวดามาโปรด (Deus ex machina,, พหูพจน์: dei ex machina) มาจากสำนวนกรีกว่า ἀπὸ μηχανῆς θεός (อะปอ แมคาแนส เธออส) แปลว่า เทพเจ้าจากเครื่องจักร เป็นกลวิธีการสร้างโครงเรื่องวิธีหนึ่ง ที่ซึ่งปัญหาที่ดูเหมือนว่าจะไม่มีทางแก้นั้น จู่ ๆ ก็คลี่คลายได้ด้วยการแทรกแซงที่คาดหมายไม่ถึง ไม่ว่าเพราะสถานการณ์ใหม่ ตัวละครใหม่ ความสามารถใหม่ หรือวัตถุใหม่ที่ไม่ได้กล่าวถึงมาก่อน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวิธีการใช้ เดวส์เอกส์มาคีนาสามารถทำให้เรื่องดำเนินต่อไปได้ เมื่อเนื้อเรื่องดำเนินไปถึงบางสถานการณ์ เช่น เมื่อผู้เขียนตกอยู่ในสภาวะ "จนตรอก" หาทางออกไม่ได้ เมื่อผู้เขียนต้องการให้ผู้ชมแปลกใจ เมื่อต้องการให้เรื่องลงเอยด้วยดี หรือแม้กระทั่งการใช้เดวส์เอกส์มาคีนาในฐานะจุดหักมุมเชิงขบขัน เป็นต้น.

ใหม่!!: เฮราคลีสและเดวส์เอกส์มาคีนา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Heracles

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »