โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เออร์มิน

ดัชนี เออร์มิน

ออร์มิน หรือ สโทธ หรือ เพียงพอนหางสั้น (Ermine, Stoat, Short-tailed weasel) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกินเนื้อขนาดเล็กจำพวกวีเซล หรือเพียงพอน เออร์มิน เป็นสัตว์ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ที่ทวีปยุโรป, ยูเรเชีย และอเมริกาเหนือ เป็นสัตว์นักล่าที่หากินสัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ ไม่เลือก เป็นอาหาร เป็นสัตว์ที่ถูกล่าเพื่อนำหนังและขนทำเป็นเสื้อขนสัตว์ สีขนของเออร์มินจะเปลี่ยนไปเป็นสีขาวล้วนในช่วงฤดูหนาว สีขนโดยปกติจะเป็นสีน้ำตาลที่ส่วนหลัง บริเวณท้องซีดจางกว่า หางเป็นพุ่มพวงปลายหางแหลมเป็นสีดำ สามารถแบ่งออกได้เป็นชนิดย่อยทั้งสิ้น 37 ชนิด ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียมาก พฤติกรรมในธรรมชาติ ตัวเมียจะผสมพันธุ์ระหว่างเดือนกันยายนและพฤศจิกายนและมีระยะเวลาการตั้งท้องนาน 8-11 เดือน ออกลูกเพียงปีละครั้ง ครั้งหนึ่งประมาณ 6-13 ตัว มีพฤติกรรมอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจาย สามารถพบเห็นได้ตามหาดทรายจนถึงบนชนบทที่อยู่สูง โดยสามารถพบได้ในทุกความสูงจากระดับน้ำทะเล เออร์มินชอบที่จะอยู่ในป่าที่เป็นถิ่นกำเนิดดั้งเดิม, ป่าละเมาะ, เนินทราย และพุ่มหญ้า จัดเป็นสัตว์ที่มีความว่องไวมากและจากการที่เป็นสัตว์ที่กินอาหารไม่เลือก จึงสร้างความเสียหายใหญ่หลวงให้แก่นก และสัตว์อื่น ๆ เพราะสามารถล่านกตลอดจนไข่กินเป็นอาหารได้ และจัดเป็นสัตว์รังควานอีกชนิดหนึ่ง เออร์มินได้ถูกนำเข้าไปในนิวซีแลนด์ ซึ่งดั้งเดิมไม่เคยมีสัตว์กินเนื้อมาก่อน ปัจจุบันเออร์มินได้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นไปแล้ว ที่คุกคามสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นที่มีเฉพาะในนิวซีแลนด์หลายชนิด เช่น นกกีวี หรือนกแก้วคาคาโป โดยเออร์มินจะเข้าไปกินไข่หรือล่าตัวอ่อนนกเหล่านี้ ซึ่งเป็นนกบินไม่ได้เป็นอาหาร อันเป็นสาเหตุหนึ่งของการใกล้สูญพัน.

27 ความสัมพันธ์: พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)ภาพชุดพระราชินีมารี เดอ เมดีซิสภาพเหมือนอาร์นอลฟีนีมงกุฎพระราชินีอเล็กซานดรามงกุฎพระราชินีอเดลเลดมงกุฎพระราชินีแมรีมงกุฎพระราชินีแมรีแห่งโมดีนามงกุฎพระราชินีเอลิซาเบธมงกุฎราชาภิเษกพระเจ้าจอร์จที่ 4มงกุฎอิมพีเรียลสเตตมงกุฎแห่งสกอตแลนด์มงกุฎแห่งอินเดียมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดรายชื่อตัวละครในคุณครูจอมเวท เนกิมะ!วังเชอนงโซวงศ์ย่อยเพียงพอนวงศ์เพียงพอนจุลมงกุฎเจ้าชายชาลส์แห่งเวลส์จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักรตราแผ่นดินของแคนาดาตราแผ่นดินของเซอร์เบียนกกีวีสีน้ำตาลนิยามของตราโอลกา คอนสแตนตินอฟนาแห่งรัสเซีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซเพียงพอนเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสกอตแลนด์

พู่ประดับ (มุทราศาสตร์)

ู่ประดับ หรือ ประดับหลัง (Mantling หรือ lambrequin) ในมุทราศาสตร์ “พู่ประดับ” เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ปรากฏบนตราอาร์มที่เป็น ที่มีลักษณะเหมือนพู่ที่ผูกติดกับหมวกเกราะที่ตั้งอยู่เหนือโล่ภายในตราและเป็นฉากหลังของโล่ ในการบรรยายพู่ประดับมักจะกล่าวว่าเป็นสิ่งที่ใช้สำหรับการป้องกัน (มักจะทำด้วยผ้าลินนิน) ที่ใช้โดยอัศวินบนหมวกเกราะ ประการที่สองเพื่อเป็นการช่วยลดความรุนแรงเมื่อถูกโจมตี ซึ่งทำให้วาดเป็นชายขาดเป็นริ้ว มีแต่ในบางกรณีที่เป็นผ้าทั้งชิ้นที่ปรากฏบนตราของนักบวชที่ใช้หมวกเกราะและพู่ประดับเพื่อแสดงว่านักบวชมิได้เข้าต่อสู้ในการรบ โดยทั่วไปแล้วพู่ประดับจะนิยามว่า “mantled x, doubled” “y”(“พู่ประดับ ก สองด้าน ข”) ผ้าที่ใช้เป็นพู่มีสองด้านที่มักจะใช้สีที่เป็นที่เป็นสีหลักของตราหรือสีประจำเหล่า (ดูรายละเอียดการใช้สีในบทความผิวตรา) แต่ก็มีบางกรณีที่มิได้เป็นไปตามกฎที่ว่านี้หรือด้านหน้าอาจจะมีสองสีที่นิยามว่า “per pale of x and y”(“ ผ่ากลาง สี ก และ สี ข”) หรือทั้งด้านนอกและในจะผ่ากลางเป็นสองสี และบางครั้งก็จะแบ่งต่างไปจากการผ่ากลาง แต่ก็มีไม่มากนัก และที่มีบ้างคือการใช้ผ่ากลางที่เป็นผิวตราโลหะสองชนิด หรือพู่ประดับทั้งหมดเป็นสีเดียว พู่ประดับของ Black Loyalist Heritage Society เป็นพู่ที่เป็นเอกลักษณ์ที่เป็นพู่ที่ประกอบด้วยขนสัตว์สองนอกและใน (เออร์มินบุด้วยเออร์มิน) ตราแผ่นดินของแคนาดาพู่ประดับสองสีแดงและขาวหรือ “argent doubled gules” หรือ “พื้นขาว ด้านหลังสีแดง” ที่เป็นใบเมเปิล ตราอาร์มของหลวงเช่นตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักรหรือตราประจำพระองค์ของสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะมีนิยามพู่ประดับว่า “Or, lined ermine” หรือ “พื้นทอง, บุเออร์มิน” ซึ่งเป็นลักษณะที่สงวนไว้สำหรับพระมหากษัตริย์ ซิริล วูดส์ บารอนแห่งสเลนมีพู่ประดับที่นิยามว่า “tasselled Gold” หรือ “พู่ประดับปลายเป็นพู่สีทอง” ในสมัยแรกของการออกแบบเครื่องยอดก่อนที่จะมีแพรประดับ ก็มีการใช้จุลมงกุฎและมาลา (chapeau) และสิ่งตกแต่งก็จะต่อเนื่องลงมาที่นิยามว่า “continued into the mantling” หรือ “ต่อลงมาเป็นพู่ประดับ” ซึ่งยังคงใช้กันมากในเยอรมนี ไฟล์:Grosses_Wappen_Celle.png|พู่ประดับเป็นริ้วสองด้านสองสีของเซลเลอในเยอรมนี ไฟล์:Wappen Pirna.png|พู่ประดับสองสีของแพร์นาในเยอรมนี ไฟล์:Royal Coat of Arms of the United Kingdom.svg|พู่ประดับทองและเออร์มินของตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ไฟล์:Duke of Argyll coat of arms.svg|พู่ประดับเออร์มินของตราของดยุคแห่งอาร์กาล์ย ไฟล์:Wappen-wenkheim.png|พู่ประดับทั้งชิ้นที่ไม่เป็นริ้ว ไฟล์:Coat of arms of Canada (1921-1957).svg|พู่ประดับที่ไม่ใช่ผ้าของตราแผ่นดินของแคนาดา ไฟล์:Escudo de Quilpué.svg|พู่ประดับที่ไม่ใช่ผ้าแต่เป็นเถาองุ่นของ Quilpué ในชิลี ไฟล์:Coat of arms of Bahrain.svg|พู่ประดับไม่มีหมวงของตราแผ่นดินของบาห์เรน ไฟล์:Coat_of_Arms_of_Russian_Empire.svg|ตราแผ่นดินของรัสเซีย ไฟล์:ArmesADN3.png|พู่ประดับทางศาสน.

ใหม่!!: เออร์มินและพู่ประดับ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ภาพชุดพระราชินีมารี เดอ เมดีซิส

ระราชินีมารี เดอ เมดีซิส (Marie de' Medici cycle) เป็นภาพเขียนชุดจำนวนยี่สิบสี่ภาพที่เขียนโดยเปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ จิตรกรคนสำคัญของสมัยบาโรกแบบเฟลมิช ที่ว่าจ้างโดยพระราชินีมารี เดอ เมดีซิส พระอัครมเหสีในพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส สำหรับตั้งแสดงที่พระราชวังลุกซ็องบูร์ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส รือเบินส์ได้รับการจ้างในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 1621 หลังจากที่มีการเจรจาต่อรองเกี่ยวกับรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับข้อตกลงภายในสัญญาเมื่อต้นปี ค.ศ. 1622 แล้ว สัญญาก็ระบุว่าโครงการเขียนภาพจะต้องเสร็จภายในสองปีเพื่อให้ทันเวลากับการเสกสมรสของพระราชธิดาเจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรียกับพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ภาพเขียนยี่สิบเอ็ดภาพเป็นภาพการต่อสู้และการได้รับชัยชนะต่าง ๆ ในชีวิตของพระราชินีมารี เดอ เมดีซิส อีกสามภาพเป็นภาพเหมือนของพระองค์เองและพระราชบิดามารดาBelkin, pp.

ใหม่!!: เออร์มินและภาพชุดพระราชินีมารี เดอ เมดีซิส · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี

หมือนอาร์นอลฟีนี (Arnolfini Portrait), การแต่งงานของอาร์นอลฟีนี (The Arnolfini Wedding) หรือ ภาพเหมือนของโจวันนี อาร์นอลฟีนี และภรรยา (Portret van Giovanni Arnolfini en zijn vrouw; Portrait of Giovanni Arnolfini and his Wife) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันบนไม้โอ๊กที่เขียนโดยยัน ฟัน ไอก์ จิตรกรเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์แห่งชาติ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ยัน ฟัน ไอก์เขียนภาพ "ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี" ในปี ค.ศ. 1434 เป็นภาพที่เชื่อกันว่าเป็นภาพเหมือนของโจวันนี อาร์นอลฟีนี (Giovanni Arnolfini) พ่อค้าจากเมืองลุกกาในอิตาลีและภรรยาในห้องที่อาจจะเป็นที่บ้านที่พำนักอยู่ในเมืองบรูชในฟลานเดอส์ เป็นภาพที่ถือกันว่าเป็นภาพที่มีความเป็นต้นตอและความซับซ้อนมากที่สุดภาพหนึ่งของจิตรกรรมตะวันตก ฟัน ไอก์ลงชื่อและวันที่ว่าวาดในปี ค.ศ. 1434 ต่อมาหอศิลป์แห่งชาติแห่งลอนดอนซื้อภาพเขียนนี้ในปี..

ใหม่!!: เออร์มินและภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎพระราชินีอเล็กซานดรา

มงกุฎพระราชินีอเล็กซานดรา (Crown of Queen Alexandra) คือมงกุฎพระอัครมเหสีของสมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรา พระอัครมเหสีในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร ผลิตเพื่อใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระราชสวามีในปีค.ศ. 1902.

ใหม่!!: เออร์มินและมงกุฎพระราชินีอเล็กซานดรา · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎพระราชินีอเดลเลด

มงกุฎพระราชินีอเดลเลด (Crown of Queen Adelaide) คือมงกุฎพระอัครมเหสีของสมเด็จพระราชินีอเดลเลด พระอัครมเหสีในสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 มงกุฎองค์นี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในปีค.ศ. 1831 และหลังจากนั้นไม่นานก็ได้ถูกถอดเพชรและอัญมณีออกทั้งหมด และไม่เคยถูกสวมอีกเลยจนกระทั่งเสด็จสวรรคต สมเด็จพระราชินีอเดลเลดทรงมงกุฎและฉลองพระองค์เต็ม.

ใหม่!!: เออร์มินและมงกุฎพระราชินีอเดลเลด · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎพระราชินีแมรี

มงกุฎพระราชินีแมรี (Crown of Queen Mary) เป็นมงกุฎพระอัครมเหสีของสมเด็จพระราชินีแมรีในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 มงกุฎองค์นี้ถูกสร้างขึ้นสำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในปีค.ศ. 1911.

ใหม่!!: เออร์มินและมงกุฎพระราชินีแมรี · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎพระราชินีแมรีแห่งโมดีนา

มงกุฎพระราชินีแมรีแห่งโมดีนา (Crown of Mary of Modena) เป็นมงกุฎพระอัครมเหสี (Consort Crown) ที่มีความสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์อังกฤษ สั่งทำขึ้นเพื่อสำหรับสมเด็จพระราชินีแมรี พระอัครมเหสีในสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ตามประเพณีแห่งราชสำนักอังกฤษ เมื่อมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ พระอัครมเหสีจะต้องเสด็จเข้าในพระราชพิธีฯด้วย โดยหลังจากการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 2 เข้าพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในปีค.ศ. 1661 โดยปราศจากพระอัครมเหสี จนกระทั่งผลัดแผ่นดินมาในรัชสมัยของพระอนุชาของพระองค์ ซึ่งเป็นดยุกแห่งยอร์ก ได้เสด็จเสวยราชสมบัติเป็นสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (หรืออีกพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 7 แห่งสกอตแลนด์") ซึ่งมีพระอัครมเหสีคือ สมเด็จพระราชินีแมรี จึงมีพระดำริให้จัดสร้างมงกุฎพระอัครมเหสีขึ้นสำหรับพระองค์ ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการจัดสร้างทั้งหมด 3 อย่าง ได้แก่ "มงกุฎราชาภิเษก" (Coronation Crown) "มงกุฎแห่งพระราชวงศ์" (State Crown) และ "มงกุฎองค์เล็ก" (เดียเด็ม - คาดพระเกษา) ซึ่งในปัจจุบันหลงเหลือแต่เพียงสองอย่างสุดท้ายเท่านั้น.

ใหม่!!: เออร์มินและมงกุฎพระราชินีแมรีแห่งโมดีนา · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎพระราชินีเอลิซาเบธ

มงกุฎพระราชินีเอลิซาเบธ (Crown of the Queen Elizabeth) เป็นมงกุฎตัวเรือนทำจากแพลตินัมของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี ซึ่งเป็นพระอัครมเหสีของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 และเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 มงกุฎองค์นี้สร้างขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระราชสวามีที่เวสต์มินสเตอร์แอบบี.

ใหม่!!: เออร์มินและมงกุฎพระราชินีเอลิซาเบธ · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎราชาภิเษกพระเจ้าจอร์จที่ 4

มงกุฎราชาภิเษกพระเจ้าจอร์จที่ 4 (The Coronation Crown of George IV) เป็นมงกุฎองค์ที่ใช้สวมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระเจ้าจอร์จที่ 4 ในปี..

ใหม่!!: เออร์มินและมงกุฎราชาภิเษกพระเจ้าจอร์จที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎอิมพีเรียลสเตต

มงกุฎอิมพีเรียลสเตต (Imperial State Crown) เป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสหราชอาณาจักร มงกุฎอิมพิเรียลสเตตนี้มีการสร้างทดแทนขึ้นหลายยุคสมัยตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ซึ่งรุ่นล่าสุดนี้มีลักษณะคล้ายมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดอยู่ไม่น้อย ตัวมงกุฎนั้นมีฐานประกอบด้วยกางเขนแพตตี (cross pattée) จำนวนสี่กางเขน สลับกับเฟลอ-เดอ-ลีส์ (fleur-de-lis) หรือดอกลิลลี่จำนวนสี่ดอก ส่วนเหนือจากฐานขึ้นไปเป็นโค้งจำนวนสี่โค้งตัดกันที่มียอดเป็นด้านบนจุดตัดเป็นกางเขนอีกหนึ่ง ภายในตรงกลางมงกุฎเป็นหมวกกำมะหยี่ที่มีขอบเป็นขนเออร์มิน มงกุฎฝังด้วยอัญมณีหลายชนิดที่รวมทั้ง: เพชร 2,868 เม็ด, ไข่มุก 273 เม็ด, แซฟไฟร์ 17 เม็ด, มรกต 11 เม็ด, และทับทิม 5 เม็ด มงกุฎอิมพิเรียลสเตตประกอบด้วยอัญมณีที่มีชื่อเสียงหลายชิ้น กางเขนบนมงกุฎฝังอัญมณีที่เรียกว่าแซฟไฟร์เซนต์เอ็ดเวิร์ดที่นำมาจากแหวน (หรือ จุลมงกุฎ) ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ, ทับทิมเจ้าชายดำ (Black Prince's Ruby) (ความจริงแล้วคือสปิเนล ที่ฝังอยู่บริเวณกางเขนด้านหน้าของมงกุฎ และเพชรคัลลินันที่ฝังด้านหน้ามงกุฎบริเวณฐาน ด้านหลังฝังด้วยแซฟไฟร์สจวตหนัก 104 กะรัต (20.8 กรัม) บนขอบ นอกจากนี้ยังมีไข่มุกของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบ็ธประดับอีกด้ว.

ใหม่!!: เออร์มินและมงกุฎอิมพีเรียลสเตต · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎแห่งสกอตแลนด์

มงกุฎแห่งสกอตแลนด์ (The Crown of Scotland) เป็นมงกุฎที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ โดยได้ทำการจัดสร้างขึ้นใหม่เลียนแบบของเดิมที่ทรงโดยพระเจ้าเจมส์ที่ 5 แห่งสกอตแลนด์เมื่อปี..

ใหม่!!: เออร์มินและมงกุฎแห่งสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎแห่งอินเดีย

มงกุฎแห่งอินเดีย หรือ อิมพิเรียลคราวน์แห่งอินเดีย (The Imperial Crown of India) เป็นมงกุฎประจำสำหรับประมุขแห่งราชวงศ์อังกฤษ ซึ่งมีพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งอินเดีย ซึ่งใช้ในช่วงทศวรรษสุดท้ายของจักรวรรดิอินเดีย มงกุฎองค์นี้เก็บรักษารวมกันกับเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร แต่มิถือเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ.

ใหม่!!: เออร์มินและมงกุฎแห่งอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด

มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด (St.) เป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักรและเป็นกกุธภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่ง และเป็นมงกุฎที่ใช้เป็นมงกุฎราชาภิเษก (Coronation crown) อย่างเป็นทางการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ของสหราชอาณาจักร มงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ดมีลักษณะคล้ายกับมงกุฎองค์เดิม ซึ่งสร้างในปี..

ใหม่!!: เออร์มินและมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครในคุณครูจอมเวท เนกิมะ!

นี่คือ รายชื่อตัวละครในคุณครูจอมเวท เนกิมะ!.

ใหม่!!: เออร์มินและรายชื่อตัวละครในคุณครูจอมเวท เนกิมะ! · ดูเพิ่มเติม »

วังเชอนงโซ

วังเชอนงโซ (Château de Chenonceau) ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านเชอนงโซ (Chenonceaux) ในจังหวัดแอ็งเดรลัวร์ แคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส วังเดิมสร้างบนโรงป่นแป้งเก่าบนฝั่งแม่น้ำแชร์ และสร้างมาก่อนหน้าที่จะมีหลักฐานทางเอกสารเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 11 วังปัจจุบันออกแบบโดยฟีลีแบร์ เดอ ลอร์ม (Philibert De l'Orme) สถาปนิกเรอเนซองซ.

ใหม่!!: เออร์มินและวังเชอนงโซ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยเพียงพอน

วงศ์ย่อยเพียงพอน หรือ วงศ์ย่อยวีเซล เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Mustelinae เป็นวงศ์ที่แยกออกมาจากวงศ์ Lutrinae หรือ นาก สมาชิกในวงศ์ย่อยนี้เหมือนกับวงศ์เพียงพอน ได้แก่ วีเซล, มาร์เทิน, วูล์ฟเวอรีน หรือมิงค์ เป็นต้น.

ใหม่!!: เออร์มินและวงศ์ย่อยเพียงพอน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เพียงพอน

ระวังสับสนกับ: วงศ์พังพอน วงศ์เพียงพอน หรือ วงศ์วีเซล (weasel family, mustelid) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Mustelidae (มาจากภาษาละตินคำว่า Mustela หมายถึง "เพียงพอน") ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในวงศ์นี้ คือ มีหัวกลม ใบหูสั้นกลม ขาสั้นเตี้ย ลำตัวเพรียวยาว หางยาว มีขนที่อ่อนนุ่มและหนาทั้งตัวและหาง อุ้งเล็บตีนแหลมคม ในปากมีฟันที่แหลมคม มีฟันตัดเหมาะสมสำหรับการกินเนื้อ ซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน เป็นสัตว์ที่คล่องแคล่วว่องไว ปราดเปรียว และกินอาหารได้หลากหลายไม่เลือกทั้งพืชและสัตว์ หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพียงพอน จะล่ากระต่ายกินเป็นอาหาร ทั้งที่เป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า โดยทำการล่าเป็นฝูงและมุดเข้าไปลากดึงเอาถึงในโพรงจากลำตัวที่เพรียวยาว ลักษณะเด่นคือประการ คือ ส่วนมากยกเว้นนากทะเล จะมีต่อมกลิ่นใกล้กับรูทวาร ซึ่งผลิตสารเคมีที่เป็นของเหลวเหมือนน้ำมันสีเหลือง มีกลิ่นฉุนสำหรับใช้ประกาศอาณาเขตและใช้เป็นการประกาศทางเพศ และเมื่อปฏิสนธิแล้ว ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิจะยังไม่ฝังตัวเข้ากับผนังมดลูก แต่จะลอยอยู่อย่างนั้น ซึ่งอาจกินเวลานับ 10 เดือน จะฝังตัวเฉพาะเมื่อถึงฤดูกาลที่อาหารอุดมสมบูรณ์เท่านั้น ก่อนที่จะพัฒนาต่อมาเป็นตัวอ่อนและพัฒนาต่อมาจนกระทั่งคลอดออกมาในฤดูที่อาหารอุดมสมบูรณ์ อุณหภูมิอากาศพอเหมาะแก่ลูกอ่อนที่เกิดขึ้นมา ซึ่งตัวแม่จะออกลูกและเลี้ยงดูลูกไว้ในโพรงดินหรือโพรงไม้ ลูกอ่อนจะยังไม่ลืมตา และมีขนบาง ๆ ปกคลุมตัวเท่านั้น จนกระทั่งอายุได้ราว 2-3 เดือน จึงจะเริ่มหย่านม และออกมาใช้ชีวิตเองตามลำพังเมื่ออายุได้ราว 1 ปี พบกระจายพันธุ์ไปในหลายพื้นที่รอบโลก ทั้งในป่าทึบ, ที่ราบสูง, พื้นที่ชุ่มน้ำ, ชายฝั่งทะเล ตลอดจนชุมชนเมืองของมนุษย์ จนกระทั่งหลายชนิดเป็นสัตว์รังควานสร้างความเสียหายให้แก่มนุษ.

ใหม่!!: เออร์มินและวงศ์เพียงพอน · ดูเพิ่มเติม »

จุลมงกุฎเจ้าชายชาลส์แห่งเวลส์

ลมงกุฎเจ้าชายชาลส์แห่งเวลส์ (Coronet of Charles, Prince of Wales) เป็นจุลมงกุฎที่เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งเวลส์ และเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งจุลมงกุฎองค์นี้สร้างขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีเฉลิมพระอิสริยยศของเจ้าชายชาลส์ เป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ในปีค.ศ. 1969 แม้ว่าเป็นทางการแล้วจะถือเป็น “จุลมงกุฎ” แต่ก็มักจะใช้คำว่า มงกุฎ ในการกล่าวถึง “จุลมงกุฎเจ้าชายชาลส์แห่งเวลส์”.

ใหม่!!: เออร์มินและจุลมงกุฎเจ้าชายชาลส์แห่งเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์

ลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์ หรือเรียกอย่างเต็มว่า จุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์ (Coronet of Frederick, Prince of Wales) คือจุลมงกุฎที่จัดสร้างขึ้นในปีค.ศ. 1728 สำหรับเจ้าชายเฟรเดอริก เจ้าชายแห่งเวลส์ มกุฎราชกุมารซึ่งในขณะนั้นทรงเป็นทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง ในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่ ทำจากทองคำทั้งเรือน ประกอบด้วยโค้งจำนวน 1 โค้งตามประเพณี ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างโดยช่างทองแห่งราชสำนัก ซามูเอล ชาเลส ในราคา £140 5/- (หนึ่งร้อยสี่สิบปอนด์กับห้าชิลลิง) หรือในปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ £12,000 จุลมงกุฎองค์นี้ ในเอกสารบางครั้งก็เรียกว่าเป็น "มงกุฎ" (Crown).

ใหม่!!: เออร์มินและจุลมงกุฎเจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร

ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร (Royal coat of arms of the United Kingdom) เป็นตราอาร์มของพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรที่ในปัจจุบันคือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ตรานี้ใช้โดยสมเด็จพระราชินีนาถในโอกาสทางราชการในฐานะพระมหากษัตรีย์แห่งสหราชอาณาจักร และ รู้จักอย่างเป็นทางการว่า “ตราอาร์มแห่งราชอาณาจักร” (Arms of Dominion) ตราอาร์มที่แปลงจากตรานี้ใช้โดยสมาชิกอื่นๆ ในพระราชวงศ์อังกฤษ และ โดยรัฐบาลบริเตนในกิจการที่เกี่ยวกับการบริหารและการปกครองประเทศ ในสกอตแลนด์สมเด็จพระราชินีนาถทรงมีตราที่แปลงจากตรานี้ ซึ่งเป็นตราเดียวกับที่ใช้โดยรัฐบาลสกอตแลนด์ (Scotland Office) โล่ในตราแบ่งสี่ ในช่องที่หนึ่งหรือช่องบนซ้าย และช่องที่สี่หรือล่างขวาเป็นตราสิงห์สามตัวที่เป็นสัญลักษณ์ของอังกฤษ ในช่องที่สองหรือบนขวาเป็นสิงห์ยืนในกรอบล้อมด้วยสัญลักษณ์ดอกลิลลี ที่เป็นสัญลักษณ์ของสกอตแลนด์ และในช่องที่สามหรือช่องล่างซ้ายเป็นฮาร์พเกลลิค (Clàrsach) ที่เป็นสัญลักษณ์ของไอร์แลนด์เหนือ (การบรรยายเป็นไปตามหลักการให้คำนิยามของตรา) เครื่องยอด (crest) เป็นสิงห์ยืนหันหน้าหน้าสวมมงกุฎอิมพีเรียลสเตทบนหัวและยืนบนสัญลักษณ์ของมงกุฎเดียวกัน ประคองข้าง (Supporters) ด้านซ้ายเป็นสิงห์ยืนผงาดสวมมงกุฎ ประคองข้างด้านขวาเป็นยูนิคอร์นเงินแห่งสกอตแลนด์ ตามตำนานยูนิคอร์นที่เป็นอิสระเป็นสัตว์ที่อันตราย ฉะนั้นยูนิคอร์นที่ใช้ในอิสริยาภรณ์จึงเป็นยูนิคอร์นที่ล่ามโซ่ เช่นเดียวกับยูนิคอร์นสองตัวที่ประคองข้างตราแผ่นดินของสกอตแลนด์ ตรามีคำขวัญของทั้งพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร (Dieu et Mon Droit) “พระเจ้าและสิทธิแห่งข้า” และ คำขวัญของเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เตอร์ “ความละอายจงมาสู่ผู้คิดร้าย” (Honi soit qui mal y pense) บนแถบอยู่รอบโล่หลังตร.

ใหม่!!: เออร์มินและตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของแคนาดา

ตราแผ่นดินของแคนาดา (มีชื่อเรียกอย่าไม่เป็นทางการว่า ตราอาร์มแห่งแคนาดา หรือมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ตราแผ่นดินของแคนาดา ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร) และ ใช้เป็นตราประจำพระประมุขสูงสุดแห่งแคนาดา ประกาศใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2411 โดยได้รับแรงบันดาลใจจากการออกแบบตราจากตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร พร้อมกับมีการปรับแก้ไขลักษณะบางอย่างของตราให้เหมาะสม.

ใหม่!!: เออร์มินและตราแผ่นดินของแคนาดา · ดูเพิ่มเติม »

ตราแผ่นดินของเซอร์เบีย

ตราแผ่นดินของเซอร์เบีย (Coat of arms of Serbia) เป็นตราอาร์มของประเทศเซอร์เบียเป็นตราเดียวกับที่ใช้โดยราชวงศ์โอเบรอโนวิค (House of Obrenović) ที่ใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1882 และมาเริ่มใช้เป็นครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 2004) ตัวตราเป็นเหยี่ยวสองหัวสีเงินของราชวงศ์เนมันจิค (House of Nemanjić) (ผู้นำมาจากราชวงศ์พาลาโอโลกอส (Palaiologos) ของจักรวรรดิไบแซนไทน์) รอบและหลังเหยี่ยวเป็นเสื้อคลุมขนเออร์มินซึ่งเดิมสวมโดยกษัตริย์ เหยี่ยวสองหัวใช้มาตั้งแต่สมัยไบแซนไทน์ส่วนกางเขนเซอร์เบียใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12.

ใหม่!!: เออร์มินและตราแผ่นดินของเซอร์เบีย · ดูเพิ่มเติม »

นกกีวีสีน้ำตาล

นกกีวีสีน้ำตาล หรือ นกกีวีสีน้ำตาลใต้ หรือ นกกีวีธรรมดา (Brown kiwi, Southern brown kiwi, Common kiwi) เป็นนกกีวีชนิดหนึ่ง จัดเป็นนกกีวีชนิดที่รู้จักกันมากที่สุด มีรูปร่างลักษณะทั่วไปเหมือนกับนกกีวีสีน้ำตาลเกาะเหนือ (A. mantelli) ที่ถูกแยกชนิดกันชัดเจนเมื่อปี ค.ศ. 2000 คือ มีขนปกปุยปกคลุมลำตัวสีน้ำตาล จะงอยปากแหลมยาว ปีกมีขนาดสั้นซ่อนอยู่ภายใต้ขนที่หนา พบกระจายพันธุ์เฉพาะเกาะใต้ของนิวซีแลนด์ ตั้งแต่บริเวณทิศใต้จนถึงทิศตะวันตก และยังสามารถพบได้ในพื้นที่ที่ราบสูง โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย คือ.

ใหม่!!: เออร์มินและนกกีวีสีน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

นิยามของตรา

นิยามของตรา (Blazon) ในด้านการศึกษาทางด้านมุทราศาสตร์ และ ธัชวิทยา “Blazon” หรือ “นิยามของตรา” คือคำบรรยายอย่างเป็นทางการของลักษณะของตรา ที่ส่วนใหญ่เป็นการบรรยายตราอาร์ม หรือ ธง ที่สามารถทำให้ผู้สร้างสามารถสร้างตรา, ธง หรือ เครื่องหมายได้ตามความต้องการอย่างถูกต้อง ฉะนั้นรูปลักษณะและองค์ประกอบของตราอาร์ม หรือ ธงตามหลักแล้วไม่ใช่เป็นการบรรยายโดยการใช้รูป แต่จะเป็นการบรรยายโดยตัวอักษร (แต่ในสมัยปัจจุบัน จะมีการให้นิยามเพิ่มเติมและบรรยายอย่างเจาะจงกว่าที่เป็นมาด้วยรายละเอียดทางเรขาคณิต) “นิยามของตรา” ใช้ภาษาเฉพาะทางในการเขียนนิยามตั้งแต่หลักการวางตำแหน่งของคำบรรยาย การใช้คำกิริยา ไปจนถึงหลัก และลำดับการเขียนคำบรรยายของแต่ละส่วนที่ย่อยออกไป เช่นคำแรกที่พบในการบรรยายตราคือชื่อผิวตรา ที่หมายถึงสีหรือผิวของพื้นตรา เช่น “Azure...” ซึ่งหมายความว่า “ (พื้นตรา) น้ำเงิน” ผู้อ่านที่เข้าใจหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยามจะทราบว่า “Azure...” เป็นสีของพื้นตราโดยไม่ต้องมีคำว่า “Field” ที่แปลว่าพื้นตรานำหน้าคำว่า “Azure...” เพราะตำแหน่งการวางคำเป็นไปตามหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยาม นอกจากโครงสร้างการวางลำดับการบรรยายและการใช้ไวยากรณ์แล้ว นิยามของตราในมุทราศาสตร์ก็ยังใช้คำศัพท์ที่เป็นศัพท์เฉพาะกิจเช่นคำว่า “Charge” ที่หมายถึง “เครื่องหมาย” บน “พื้นตรา” (Field) หรือคำว่า “Attitude” ที่หมายถึง “ลักษณะการวางท่า” ของมนุษย์หรือสัตว์ที่ปรากฏบนตรา นอกจากตราอาร์ม หรือ ธง แล้ว “นิยามของตรา” ก็อาจจะใช้ในการบรรยายลักษณะของสิ่งอื่นๆ ด้วยเช่น ตรายศ (badge), แถบคำขวัญ (banner) และ ตราประทั.

ใหม่!!: เออร์มินและนิยามของตรา · ดูเพิ่มเติม »

โอลกา คอนสแตนตินอฟนาแห่งรัสเซีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ

แกรนด์ดัชเชสโอลกา คอนสแตนตินอฟนาแห่งรัสเซีย (Olga Constantinovna; О́льга Константи́новна Рома́нова) ต่อมาเป็น สมเด็จพระราชินีโอลกาแห่งชาวเฮลเลนส์ (Βασίλισσα Όλγα των Ελλήνων) (3 สิงหาคม ค.ศ. 1851 – 18 มิถุนายน ค.ศ. 1926) เป็นพระมเหสีในพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งกรีซ และทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งกรีซเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ใน..

ใหม่!!: เออร์มินและโอลกา คอนสแตนตินอฟนาแห่งรัสเซีย สมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

เพียงพอน

ระวังสับสนกับ: พังพอน เพียงพอน (weasel, mink, ferret, ermine, polecat) คือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Mustela ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงศ์ Mustelidae มีถิ่นกำเนิดกว้างขว้างทั้งในทวีปเอเชีย, แอฟริกาเหนือ, ยุโรป, อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ เพียงพอนมีรูปร่างโดยรวมเป็นสัตว์ขนาดเล็ก มีความยาวตั้งแต่ 15–55 เซนติเมตร น้ำหนักตั้งแต่ 30–40 กรัม ไปจนถึง 1.4–3.2 กิโลกรัม เป็นสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร มีรูปร่างเพรียวยาว ส่วนขาทั้งสี่ข้างสั้น มีนิ้วเท้า 5 นิ้ว เล็บมีความแหลมคม แต่พับเก็บเล็บไม่ได้ ปากแหลม ภายในปากมีฟันแหลมคมจำนวน 34 ซี่ ทุกชนิดจะมีต่อมกลิ่นที่ก้น ซึ่งจะผลิตสารเคมีสีเหลืองคล้ายน้ำมันที่มีกลิ่นเหม็นรุนแรง ใช้ในประกาศอาณาเขต เป็นสัตว์มีความปราดเปรียวว่องไว หากินได้ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยจะล่าสัตว์ขนาดเล็ก เช่น หนู, หนูผี, ตุ่น, แมลง, สัตว์เลื้อยคลาน หรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเป็นอาหาร รวมทั้งอาจล่ากระต่ายได้ด้วย รวมทั้งล่าเป็ด, ไก่, นกกระทา ในพื้นที่เกษตรกรรมของมนุษย์ได้ด้วย ซึ่งจะใช้ลำตัวที่เพียวยาวนั้นมุดเข้าไปล่าถึงในโพรงดิน นอกจากนี้แล้ว เพียงพอนเป็นสัตว์ที่เมื่อผสมพันธุ์กันแล้ว ตัวผู้จะผสมกับตัวเมียหลายตัว แต่จะอยู่กับตัวเมียเพียงตัวเดียว ในบางชนิด ไข่เมื่อได้รับการปฏิสนธิแล้ว จะยังไม่ฝังตัวในผนังมดลูก แต่จะลอยอยู่อย่างนั้น ซึ่งอาจกินเวลานับ 10 เดือน จะฝังตัวเฉพาะเมื่อถึงฤดูกาลที่อาหารอุดมสมบูรณ์เท่านั้น มีระยะเวลาการตั้งท้องนานประมาณ 35–45 วัน ออกลูกครั้งละ 4–10 ตัว และอาจมากได้ถึง 13 ตัว ซึ่งจะออกลูกในโพรงของสัตว์ที่ล่าได้ ลูกที่เกิดใหม่ตาจะยังไม่ลืม จะมีขนบาง ๆ ปกคลุมลำตัวเท่านั้น จะลืมตาเมื่ออายุได้ 3–4 สัปดาห์ หรืออาจจะ 5–6 สัปดาห์ มีระยะเวลาการกินนมแม่ 5–10 สัปดาห์ และจะอาศัยอยู่กับแม่จนอายุได้ 1 ปี ในอดีต เพียงพอนมักถูกมนุษย์ล่า เพื่อนำขนและหนังไปทำเป็นเสื้อขนสัตว์ที่เรียกว่า "เสื้อขนมิงก์" ในปัจจุบัน ในบางชนิดนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง แบ่งออกได้เป็น 18 ชนิด (ดูในตาราง) ในประเทศไทยมักพบในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลนับพันเมตร พบประมาณ 3 ชนิด ได้แก่ เพียงพอนไซบีเรีย (M. sibirica), เพียงพอนเหลือง (M. nudipes) และเพียงพอนเส้นหลังขาว (M. strigidorsa).

ใหม่!!: เออร์มินและเพียงพอน · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสกอตแลนด์

รื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสกอตแลนด์ (The Honours of Scotland, Scottish Regalia, Scottish Crown Jewels) เป็นกกุธภัณฑ์ที่มีอายุตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15-16 โดยถือเป็นกกุธภัณฑ์ที่เก่าแก่ที่สุดบนเกาะอังกฤษที่ยังหลงเหลืออยู่ โดยใช้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ ตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 (ค.ศ. 1543) จนถึงพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ตั้งแต่ในอดีตได้ถูกใช้เพื่อแสดงถึงพระราชอำนาจที่เกี่ยวข้องกับการตรากฏหมายผ่านทางรัฐสภาสกอตแลนด์ และยังใช้ในงานรัฐพิธีต่างๆ รวมถึงในคราที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนสกอตแลนด์เป็นครั้งแรกในฐานะของพระมหากษัตริย์โดยพระเจ้าจอร์จที่ 4 ในปี..

ใหม่!!: เออร์มินและเครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ErmineMustela ermineaShort-tailed weaselStoatวีเซลหางสั้นสโทธเพียงพอนหางสั้น

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »