โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เสือโคร่งเบงกอล

ดัชนี เสือโคร่งเบงกอล

ือโคร่งเบงกอล (เบงกาลี:বাঘ, ฮินดี: बाघ; Bengal tiger, Royal bengal tiger) เป็นเสือโคร่งชนิดย่อยชนิดหนึ่ง นับเป็นเสือโคร่งที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของบรรดาเสือโคร่งทั้งหมด รองจากเสือโคร่งไซบีเรีย (P. t. altaica) ที่พบในแถบไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย เสือโคร่งเบงกอลตัวผู้เมื่อมีขนาดใหญ่เต็มที่อาจยาวได้ถึง 360 เซนติเมตร หนัก 180-270 กิโลกรัม ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า และมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 140–180 กิโลกรัม การกระจายพันธุ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ ในประเทศอินเดีย, เนปาล, บังกลาเทศ และกระจายเข้าไปในแถบประเทศพม่าด้วย สถานะในธรรมชาติ จัดเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากการถูกล่าเพื่อทำหนังเป็นเครื่องประดับ และกระดูก, อวัยวะ เป็นยาสมุนไพรตามความเชื่อ อย่างไรก็ตาม เสือโคร่งเบงกอลนั้นนับได้ว่าเป็นเสือโคร่งชนิดที่ยังมีเหลืออยู่มากที่สุดในธรรมชาติ คาดว่ามีอยู่ประมาณ 2,000 ตัวในธรรมชาติ ในเขตป่าอนุรักษ์และอินเดียและเนปาล และเป็นเสือที่มนุษย์นำมาเลี้ยงและขยายพันธุ์ได้มากและแพร่หลายที่สุด ในสถานที่เลี้ยง พบว่า เสือโคร่งเบงกอลเป็นเสือโคร่งที่มีความเชื่องและดุร้ายน้อยที่สุด จนสามารถฝึกหัดให้เล่นละครสัตว์ได้ เสือโคร่งเบงกอลขึ้นชื่อว่าเป็นเสือโคร่งที่กินมนุษย์มาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะในอินเดีย การล่าเสือเป็นเกมกีฬาของราชวงศ์ชั้นสูง แม้แต่ในยุคที่อังกฤษเข้ามาปกครองอินเดีย โดยการขี่หลังช้างออกล่าในตามทุ่งหญ้าทั้งหญ้าสูงและหญ้าต่ำ ในคริสต์ทศวรรษที่ 20 มีเสือโคร่งเบงกอลคร่าชีวิตมนุษย์ไปกว่า 1,600 รายต่อปี แม้แต่ในปัจจุบันที่การล่าเสือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และผู้คนเข้าใจถึงการอนุรักษ์สัตว์ป่ามากขึ้น แต่ทว่าก็ยังคงมีการโจมตีมนุษย์อยู่เป็นระยะ ๆ ของเสือ โดยเฉพาะในสุนทรพนะซึ่งเป็นพื้นที่ป่าชายเลน เสือโคร่งเบงกอลที่นี่มีความดุร้ายและไม่เกรงกลัวมนุษย์ มักจะโจมตีมนุษย์เสมอ ๆ โดยเฉพาะการจู่โจมจากด้านหลัง ชาวพื้นเมืองที่นี่จึงต้องสวมหน้ากากไว้ด้านหลังเพื่อป้องกัน ด้วยการทำให้เสือเข้าใจผิดว่ากำลังถูกจ้องดูอยู่ เสือที่โจมตีมนุษย์ส่วนมากเป็นตัวเมียในช่วงฤดูเก็บน้ำผึ้ง ซึ่งตรงกับฤดูที่เสือโคร่งเบงกอลจะมีลูกพอดี.

18 ความสัมพันธ์: การตั้งชื่อทวินามการเดินทางของพาย พาเทลรัฐอัสสัมรายการสัตว์สกุลแพนเทอราสวนเสือศรีราชาอุทยานแห่งชาติกาซีรังคาอุทยานแห่งชาติจิตวันองค์การสวนสัตว์ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศอินเดียซูไทคูน 2ไวลด์ไลฟ์พาร์กเมาคลีลูกหมาป่า (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2559)เสือดาวอินเดียเสือโคร่งเสือโคร่งอินโดจีนเสือโคร่งจีนใต้เสือโคร่งขาว

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: เสือโคร่งเบงกอลและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

การเดินทางของพาย พาเทล

การเดินทางของพาย พาเทล (Life of Pi) เป็นนวนิยายผจญภัยแนวแฟนตาซีของ ยานน์ มาร์เทล ผู้เขียนได้รับแรงบันดาลใจจากเพื่อนในวัยเด็กคนหนึ่งซึ่งเคยเดินทางผจญภัยในอินเดีย ตัวเอกของเรื่องนี้ พิสซีน "พาย" โมลิตอร์ พาเทล เด็กชายชาวอินเดียจากเมืองพอนดิเชอร์รี ได้สำรวจประเด็นทางจิตวิญญาณตั้งแต่ในวัยเยาว์ เขามีชีวิตรอดจากเหตุการณ์เรือล่ม โดยอยู่ในเรือชูชีพเป็นเวลา 227 วัน กับเสือโคร่งเบงกอลชื่อ ริชาร์ด พาร์เกอร์ ในน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิก นวนิยายตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในแคนาดาในปีเดือนกันยายน..

ใหม่!!: เสือโคร่งเบงกอลและการเดินทางของพาย พาเทล · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอัสสัม

รัฐอัสสัม (อัสสัม: অসম Ôxôm) เดิมภาษาไทยเรียก อาสาม เป็นรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐอินเดีย โดยมีเมืองหลวงคือ ทิสปุระ อยู่ในเขตเมืองคูวาหตี อยู่ทางตอนใต้ของหิมาลัยตะวันออก รัฐอัสสัมมีลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร แม่น้ำพารัก และตำบลครรพี กับเขาจาชาร์เหนือ ปัจจุบันมีพื้นที่ 78,438 ตารางกิโลเมตร เกือบเท่ากับพื้นที่ของไอร์แลนด์ หรือออสเตรีย รัฐอัสสัมรายล้อมด้วยรัฐพี่น้องทั้งเจ็ด อันได้แก่ อรุณาจัลประเทศ, นาคาแลนด์, มณีปุระ, มิโซรัม, ตริปุระ และ เมฆาลัย รัฐเหล่านี้เชื่อมต่อกับส่วนอื่นๆ ของอินเดีย โดยผ่านพื้นที่แคบ ในเบงกอลตะวันตก ที่เรียกว่า "คอไก่" อัสสัมยังมีชายแดนร่วมประเทศภูฏาน และบังกลาเทศ มีวัฒนธรรม ประชากร และภูมิอากาศในลักษณะเดียวกันกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันเป็นส่วนสำคัญของนโยบายมองตะวันออก ของอินเดีย ชาอัสสัม รัฐอัสสัมมีชื่อเสียงด้านแหล่งใบชา ปิโตรเลียม ไหมอัสสัม และความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งนี้ยังประสบความสำเร็จในการอนุรักษ์แรดนอเดียว จากสภาพสูญพันธุ์ในอุทยานแห่งชาติกาจิรังคา (Kaziranga National Park), เสือในอุทยานแห่งชาติมนัส (Manas National Park) และจัดหาแหล่งอาศัยสุดท้ายของสัตว์ป่าสำหรับช้างเอเชียด้วย อัสสัมเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในฐานะแห่งท่องเที่ยวชมสัตว์ป่า และทั้งกาจิรังคาและมนัส ก็เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อัสสัมยังเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะป่าต้นสาละ และผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนลดลงมาก อัสสัมเป็นพื้นที่ซึ่งมีฝนตกชุก จึงมีพืชพรรณที่อุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำพรหมบุตร และลำน้ำสาขา กับทะเลสาบรูปเกือกม้า ที่ให้ความชุ่มชื้นและความสวยงามแก่ภูมิประเท.

ใหม่!!: เสือโคร่งเบงกอลและรัฐอัสสัม · ดูเพิ่มเติม »

รายการสัตว์

รายชื่อสัตว์ เป็นการรวบรวมรายชื่อของสัตว์ทุกไฟลัมและสปีชีส์ไว้ เพื่อเป็นการสะดวกต่อค้นหา การศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับสัตว์ ได้แก่ สัตว์บก • สัตว์น้ำ • สัตว์ปีก • สัตว์เลื้อยคลาน • สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เรียงตามลำดับตัวอักษร สำหรับผู้ที่จะเพิ่มเติมรายชื่อสัตว์ ขอให้เรียงลำดับตามตัวอักษร เพื่อให้ง่ายต่อการเพิ่มเติมรายชื่อ ในส่วนของรายชื่อสัตว์ที่มีคนเริ่มเขียนบทความแล้วดูได้ที่ หมวดหมู่ รายชื่อสัตว์ และ สัตว์ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ หมวดหมู่:สัตว์.

ใหม่!!: เสือโคร่งเบงกอลและรายการสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สกุลแพนเทอรา

กุลแพนเทอรา (Roaring cat) เป็นสกุลของวงศ์ Felidae (วงศ์แมว) ที่ประกอบไปด้วย เสือโคร่ง, สิงโต, เสือจากัวร์, และ เสือดาว สปีชีส์ของสกุลเป็นสมาชิกประมาณครึ่งหนึ่งของวงศ์ย่อย Pantherinae ใช้ชื่อสกุลว่า Panthera เสือในสกุลแพทเทอรา ทั้ง 4 ชนิดมีโครงสร้างทางกายวิภาคที่ช่วยให้พวกมันสามารถคำรามได้ เริ่มแรกมีสมมุติฐานว่าเกิดจากการกลายเป็นกระดูกที่ไม่สมบูรณ์ของกระดูกไฮออยด์ แต่การศึกษาครั้งใหม่แสดงว่าความสามารถในการคำรามมาจากลักษณะสัณฐานอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล่องเสียง เสือดาวหิมะ (Uncia uncia) บางครั้งถูกรวมอยู่ในสกุล Panthera แต่มันไม่สามารถคำรามได้ เพราะแม้ว่ามันมีขบวนการกลายเป็นกระดูกที่ไม่สมบูรณ์ของกระดูกไฮออยด์ แต่ขาดลักษณะพิเศษของกล่องเสียงไป.

ใหม่!!: เสือโคร่งเบงกอลและสกุลแพนเทอรา · ดูเพิ่มเติม »

สวนเสือศรีราชา

วนเสือศรีราชา เป็นสวนสัตว์เอกชน อยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยมีเสือเป็นหลักและมีฟาร์มจระเข้เป็นส่วนเสริม.

ใหม่!!: เสือโคร่งเบงกอลและสวนเสือศรีราชา · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติกาซีรังคา

อุทยานแห่งชาติกาซีรังคา (Kaziranga National Park, কাজিৰঙা ৰাষ্ট্ৰীয় উদ্যান) เป็นอุทยานแห่งชาติในเขตโคลาฆาต (Golaghat) และ นากาโอน (Nagaon) ของรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย เป็นมรดกโลกซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของแรดอินเดียจำนวนมากถึงสองในสามของโลก กาซีรังคายังเชิดหน้าชูตาด้วยมีประชากรเสือโคร่งหนาแน่นที่สุดในหมู่พื้นที่คุ้มครองด้วยกันทั่วโลกและจัดตั้งเขตสงวนพันธุ์เสือขึ้นในปี..

ใหม่!!: เสือโคร่งเบงกอลและอุทยานแห่งชาติกาซีรังคา · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติจิตวัน

อุทยานแห่งชาติจิตวัน ตั้งอยู่เชิงเขาหิมาลัย เป็นบริเวณที่มีร่องรอยอารยธรรมของพื้นที่ที่ราบลุ่มต่ำเทไร (Terai) ที่ยังไม่ถูกรบกวน สมัยก่อนพื้นที่ทอดยาวไปตามเชิงเขาของอินเดียและเนปาล เป็นบริเวณที่เต็มไปด้วยพืชและสัตว์ประจำถิ่น ในอุทยานเป็นที่อยู่ของแรดนอเดียวพันธุ์เอเชีย และเป็นหนึ่งในที่อยู่อาศัยแห่งสุดท้ายของเสือเบงกอล.

ใหม่!!: เสือโคร่งเบงกอลและอุทยานแห่งชาติจิตวัน · ดูเพิ่มเติม »

องค์การสวนสัตว์

องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อสส.) (The Zoological Park Organization under the Royal Patronage of His Majesty the King) หรือ องค์การสวนสัตว์ เป็นองค์การในพระบรมราชูปถัมภ์ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นรัฐวิสาหกิจ ประเภทสังคมและเทคโนโลยี สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการจัดหารวบรวมสัตว์ป่านานาชนิด การให้การศึกษา การอนุรักษ์และขยายพันธุ์ การวิจัย และการจัดสวนสัตว์ให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังเป็นหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ประสานงานและดำเนินการด้านต่างๆ ให้สวนสัตว์ ปัจจุบันมีสวนสัตว์อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบ 7 แห่ง และ 1 โครงการจัดตั้ง คือ สวนสัตว์ดุสิต, สวนสัตว์เปิดเขาเขียว, สวนสัตว์เชียงใหม่, สวนสัตว์นครราชสีมา, สวนสัตว์สงขลา, สวนสัตว์อุบลราชธานี, สวนสัตว์ขอนแก่น และ โครงการคชอาณาจักร จังหวัดสุรินทร.

ใหม่!!: เสือโคร่งเบงกอลและองค์การสวนสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศอินเดีย

ประเทศอินเดีย มีประชากรป่าของเสือโคร่งมากที่สุดในโลก สิงโตอินเดียเพศผู้ที่อุทยานแห่งชาติป่ากิร ซึ่งเป็นป่าเพียงแห่งเดียวที่มีประชากรของสิงโตเอเชียหลงเหลืออยู่ในโลก สัตว์นักล่าที่ใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดอันดับต้น ๆ ของประเทศอินเดียปี ค.ศ. 2010 หมาในอยู่ในข่ายของภาวะใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีสมาชิกน้อยกว่า 2,500 ตัวที่หลงเหลืออยู่ในโลก เสือดาวหิมะที่อุทยานแห่งชาติเฮมิส ในลาดักห์ ประเทศอินเดีย ซึ่งเสือดาวหิมะเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ที่สามารถพบได้ตามเทือกเขาหิมาลัย ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศอินเดีย ประกอบด้วยส่วนผสมของสายพันธุ์ที่แตกต่างกันของสิ่งมีชีวิต นอกเหนือจากสัตว์เลี้ยงเพื่อการปศุสัตว์ที่สำคัญ อย่างเช่น วัว, ควาย, แพะ, สัตว์ปีก และอูฐ ประเทศอินเดียยังมีความหลากหลายที่น่าอัศจรรย์ของสัตว์พื้นเมืองภายในประเทศ โดยเป็นบ้านของเสือโคร่งเบงกอล, สิงโตอินเดีย, งูเหลือม, หมาป่า, หมาจิ้งจอก, หมี, จระเข้, หมาใน, ลิง, งู, สายพันธุ์แอนทิโลป, สายพันธุ์กระทิง และช้างเอเชีย ความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์ของภูมิภาคมีอยู่ในอุทยานแห่งชาติกว่า 120 แห่ง, เขตสงวนชีวมณฑล 18 แห่ง, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ากว่า 500 แห่งทั่วประเทศ ประเทศอินเดียมีความหลากหลายทางชีวภาพในภูมิภาคมากที่สุดในบางส่วน และมีพื้นที่ที่มีความสำคัญเป็นพิเศษด้านความหลากหลายทางชีวภาพสามแห่งจากทั้งหมดที่มีอยู่ 34 แห่งในโลก – หรือเป็นที่ให้พัก – ซึ่งได้แก่แนวเทือกเขากาตตะวันตก, เทือกเขาหิมาลัยตะวันออก และเขตอินเดียและพม่า เนื่องจากประเทศอินเดียเป็นบ้านของสายพันธุ์สัตว์ที่หายากและถูกคุกคามเป็นจำนวนมาก การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพภายในประเทศจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการรักษาสายพันธุ์เหล่านี้ ประเทศอินเดียเป็นหนึ่งในสิบเจ็ดประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอุดมสมบูรณ์ โดยอ้างถึงกรณีศึกษาหนึ่ง ประเทศอินเดียกับสิบหกประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอุดมสมบูรณ์ เป็นบ้านพักอาศัยสำหรับความหลากหลายทางชีวภาพของโลกประมาณ 60 ถึง 70  เปอร์เซ็นต.

ใหม่!!: เสือโคร่งเบงกอลและความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ซูไทคูน 2

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: เสือโคร่งเบงกอลและซูไทคูน 2 · ดูเพิ่มเติม »

ไวลด์ไลฟ์พาร์ก

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: เสือโคร่งเบงกอลและไวลด์ไลฟ์พาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เมาคลีลูกหมาป่า (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2559)

มาคลีลูกหมาป่า (The Jungle Book) เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนวจินตนิมิตและผจญภัยซึ่งจอน แฟฟโร (Jon Favreau) กำกับ จัสติน มากส์ (Justin Marks) เขียนบท และวอลต์ดิสนีย์พิกเจอส์อำนวยการผลิต อ้างอิงประมวลผลงานชื่อเดียวกันของรัดยาร์ด คิปลิง (Rudyard Kipling) และเป็นการนำภาพยนตร์แอนิเมชันชื่อเดียวกันนี้มาสร้างสรรค์ใหม่ในแบบคนแสดงประกอบการสร้างจินตภาพด้วยคอมพิวเตอร.

ใหม่!!: เสือโคร่งเบงกอลและเมาคลีลูกหมาป่า (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2559) · ดูเพิ่มเติม »

เสือดาวอินเดีย

ือดาวอินเดีย (Indian leopard) เป็นชนิดย่อยของเสือดาว (P. pardus) ที่พบกระจายพันธุ์อยู่ในอนุทวีปอินเดีย นับเป็นเสือขนาดใหญ่ 1 ใน 5 ชนิด ที่พบได้ในภูมิภาคแถบนี้ ซึ่งประกอบด้วยสิงโตเอเชีย, เสือเบงกอล, เสือดาวหิมะ และเสือลายเมฆ เสือดาวอินเดียลักษณะทั่วไปคล้ายกับเสือดาวจีนใต้ หรือเสือดาวอินโดจีน (P. pardus delacouri) มาก ขนสั้นเกรียนยาวประมาณ 1 นิ้ว ขนเรียบเปนมนและนุ่ม สีของขนโดยทั่วไปมักเปนสีสดใส เชน สีเหลืองทอง, สีสม หรือน้ำตาลแกมเหลือง สีขนบริเวณหลังจะเขมกวาบริเวณอื่น ลักษณะของลายขยุมตีนหมา ไมมีแบบแผนแนนอน บางตัวอาจมีลายขยุมตีนหมาขนาดเล็ก และแตมจุดในขยุ้มลายเชื่อมตอกันเปนวง แต่บางตัวอาจมีขยุมตีนหมาขนาดใหญ และแต้มจุดอยู่หางกัน แตลักษณะของขยุมตีนหมานี้สีขนตรงกลางของขยุมลายจะเขมกวาสีพื้นทั่วไป ขาดานในสีขาวและมีแตมจดสีดำกระจายทั่วไป ถิ่นที่อยูของเสือดาวอินเดีย มีอาศัยอยูทั่วไปในประเทศอินเดีย ตั้งแต่รัฐแคชเมียร์ และบริเวณเชิงเขาหิมาลัย ลงมาจดแหลมคอมอรินทางภาคใต เสือดาวอินเดีย นับเป็นเสือดาวสายพันธุ์ที่คุกคามมนุษย์และปศุสัตว์มากที่สุด แม้ในอินเดียเองจะมีกฎหมายคุ้มครองให้เป็นสัตว์สงวนก็ตาม แต่เสือดาวอินเดียในหลายพื้นที่อยู่อาศัยในป่าที่ใกล้กับแหล่งชุมนุมของมนุษย์ บางครั้งอาจหลุดเข้าไปถึงตัวเมืองจนกลายเป็นการโกลาหล จึงทำให้มีการทำร้ายมนุษย์ได้รับบาดเจ็บและถึงขั้นล้มตายเป็นจำนวนมาก หลายครั้งที่ต้องถูกฆ่าเพื่อความปลอดภัย โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทของอินเดีย คาดว่าจำนวนประชากรในธรรมชาติของเสือดาวอินเดียเหลืออยู่ประมาณ 12,000-14,000 ตัว ในปัจจุบันหน้า 100-119, ก้าวย่างจากเงื้อมเงา โดย ริชาร์ด คอนนิฟฟ.

ใหม่!!: เสือโคร่งเบงกอลและเสือดาวอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่ง

ือโคร่ง หรือ เสือลายพาดกลอน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris ในวงศ์ Felidae จัดเป็นสัตว์ที่มีขนาดที่สุดในวงศ์นี้ และเป็นเสือชนิดที่ใหญ่ที่สุดด้ว.

ใหม่!!: เสือโคร่งเบงกอลและเสือโคร่ง · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่งอินโดจีน

ือโคร่งอินโดจีน (Indochinese tiger, Corbett's tiger) เสือโคร่งชนิดย่อยชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris corbetti อยู่ในวงศ์เสือและสิงโต (Felidae) รูปร่างเหมือนเสือโคร่งทั่วไป แต่มีลายเส้นที่เล็กกว่าเสือโคร่งเบงกอล (P. t. tigris) และขนาดลำตัวก็เล็กกว่า โดยตัวผู้มีความยาวจากหัวถึงหางประมาณ 2.7 เมตร หนักประมาณ 180 กิโลกรัม ตัวเมีย ยาวประมาณ 2.4 เมตร หนักประมาณ 115 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, พม่า และมาเลเซีย โดยถูกอนุกรมวิธานแยกออกมาจากเสือโคร่งเบงกอลในปี พ.ศ. 2511 โดยเฉพาะที่พม่าจะมีเสือโคร่งทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ โดยแบ่งตามภูมิศาสตร์โดยถือเอาแม่น้ำอิรวดีเป็นเกณฑ์ คือ เสือโคร่งสายพันธุ์เบงกอลจะอาศัยอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำอิรวดี ส่วนเสือโคร่งสายพันธุ์อินโดจีนจะอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ นอกจากนี้ในอดีตเคยมีในจีนด้วย เสือโคร่งอินโดจีนในจีนตัวสุดท้ายตายลงเมื่อปลายปี พ.ศ. 2552 ที่เมืองลา มณฑลยูนนาน เนื่องจากชาวบ้านคนหนึ่งฆ่า เสือโคร่งอินโดจีนอาศัยและหากินอยูในป่าที่ราบต่ำใกล้แหล่งน้ำ มีอาหารอุดมสมบูรณ์ สามารถอยู่ได้ในหลากหลายสภาพป่า เช่น ป่าดิบชื้น, ป่าผลัดใบ ล่าสัตว์ที่มีขนาดใหญ่และกลาง เช่น วัว, ควายป่า, กวาง, กระทิง เป็นอาหาร โดยมักจะกินเนื้อบริเวณตะโพกก่อน เมื่อเหลือจะนำไปซ่อน แล้วจะกลับมากินใหม่จนหมด ในบางครั้งเมื่อมีลูกเสือที่อ่อนแอ แม่เสืออาจกินลูกด้วยถ้าหากปกป้องหรือเลี้ยงต่อไปไม่ได้ เสือโคร่งเป็นเสือที่ชอบเล่นน้ำและว่ายน้ำเก่ง เคยมีรายงานว่าสามารถว่ายน้ำข้ามไปมาระหว่างเกาะและชายฝั่งทะเลได้ เสือตัวผู้จะแสดงความเป็นเจ้าของพื้นที่ โดยการใช้เล็บตะกุยดินหรือปัสสาวะรดต้นไม้ ในฤดูผสมพันธุ์เสือตัวผู้จะรับรู้ถึงความต้องการของเสือตัวเมียจากเสียงร้องที่ดังขึ้นบ่อยขึ้น เมื่อได้ผสมพันธุ์แล้วเสือตัวผู้จะจากไป และอาจไปผสมพันธุ์กับเสือตัวเมียอื่น ๆ ได้อีก เสือโคร่งอินโดจีนมีระยะตั้งท้อง 3 เดือน และจะออกลูกในที่ปลอดภัย ออกลูกครั้งละ 1–7 ตัว ลูกเสือที่เกิดใหม่จะยังไม่ลืมตา ลูกเสือที่ไม่แข็งแรงจะตายไป ตัวที่เหลือจะได้รับการเลี้ยงดูและฝึกสอนให้หาอาหารจากแม่ต่อไป เมื่อลูกเสือโตพอที่จะล่าเหยื่อได้เอง ก็จะแยกตัวออกไปหากินตามลำพัง สถานะของเสือโคร่งอินโดจีนในธรรมชาติในประเทศไทย เหลือเพียง 2 ที่ คือ ป่าเขาใหญ่และป่าผืนภาคตะวันตกซึ่งติดกับชายแดนพม่าเท่านั้น จากการศึกษาพบว่า เสือโคร่งอินโดจีนที่พบในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งมีพฤติกรรมล่าเหยื่อสัตว์จำพวกสัตว์กีบมากที่สุด โดยสัตว์ที่ถูกล่าเป็นเพื่อเป็นอาหารมากที่สุด คือ วัวแดง --> สำหรับประเทศพม่าผู้เชี่ยวชาญรายงานว่า ทางรัฐบาลทหารพม่านับจำนวนประชากรเสือในป่าได้ทั้งหมด 85 ตัว ในปี 2553 ตัวเลขนี้ไม่สามารถนับเป็นข้อมูลสถิติได้ เนื่องจากข้อมูลการนับดังกล่าวไม่ได้ระบุวันเวลาและข้อมูลอื่นๆไว้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม เชื่อได้ว่ายังมีเสือโคร่งอินโดจีนจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่ตามป่าแถบตะวันออกบริเวณรอยต่อชายแดนไทย ในภูมิภาคอินโดจีน เสือโคร่งถูกล่าอย่างหนักจนสูญพันธุ์จากพื้นที่แถบนี้ทั้งหมด ที่ประเทศเวียดนาม ปี..

ใหม่!!: เสือโคร่งเบงกอลและเสือโคร่งอินโดจีน · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่งจีนใต้

ือโคร่งจีนใต้ หรือ เสือโคร่งจีน หรือ เสือโคร่งเซียะเหมิน (อักษรจีนตัวเต็ม: 华南虎, อักษรจีนตัวย่อ: 華南虎, หัวหนันหู่) เสือโคร่งพันธุ์ย่อยพันธุ์หนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris amoyensis อยู่ในวงศ์เสือและสิงโต (Felidae) รูปร่างเหมือนเสือโคร่งทั่วไป แต่มีสีขนที่อ่อนกว่าเสือโคร่งเบงกอล (P. t. tigris) หรือเสือโคร่งอินโดจีน (P. t. corbetti) มีหางสั้นกว่า มีลวดลายที่น้อยกว่า นับเป็นเสือโคร่งชนิดที่มีลวดลายน้อยที่สุด มีขนาดรูปร่างและน้ำหนักเล็กกว่าเสือโคร่งอินโดจีนเล็กน้อย และมีลักษณะของโครงสร้างกะโหลกที่แตกต่างออกไป มีเบ้าตาลึก และมีโหนกนูนเล็กน้อยบริเวณด้านหลังต้นคอ มีการกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะประเทศจีนทางตอนใต้ ตามที่ปรากฏหลักฐานพบว่า เสือชนิดนี้อาศัยอยู่ในบริเวณประเทศจีนมากว่า 2 ล้านปีแล้ว และเชื่อว่าเป็นต้นสายพันธุ์ของเสือโคร่งพันธุ์อื่น ๆ แต่ปัจจุบัน มีสถานะขั้นวิกฤตในธรรมชาติ โดยพบในธรรมชาติครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2507 คาดว่ามีเหลืออยู่ในธรรมชาติราว 30 ตัว และมี 60 ตัวที่อยู่ในสวนสัตว์ประเทศจีน ในอดีตเชื่อว่าอาจมีในเกาหลีใต้ด้วย แต่ปัจจุบันไม่พบแล้ว อุปนิสัยของเสือโคร่งจีนใต้ เหมือนกับเสือโคร่งทั่วไป คือ ชอบเล่นน้ำและมีพฤติกรรมล่าเหยื่อที่คล้ายคลึงกันคือซ่อนเหยื่อและมักกินเนื้อบริเวณสะโพกก่อน ในปี พ.ศ. 2546 ทางการจีนได้ร่วมมือกับทางการแอฟริกาใต้ทำโครงการการอนุรักษ์และขยายพันธุ์เสือโคร่งจีน โดยใช้พื้นที่ป่าของแอฟริกาใต้เป็นสถานที่อาศัยและขยายพันธุ์ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเป็นที่โล่งกว้างขวางและมีภูมิอากาศที่เหมาะสม มีฝนตกเหมาะกับอุปนิสัยที่ชอบเล่นน้ำของเสือ โดยใช้เนื้อที่ 330 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเคยเป็นฟาร์มเลี้ยงแกะมาก่อน การขยายพันธุ์ประสบความสำเร็จเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เมื่อแม่เสือชื่อ "คาเธย์" ได้คลอดลูกเสือเพศผู้ออกมาตัวหนึ่ง จากการผสมกับเสือเพศผู้ชื่อ "ไทเกอร์วู้ด" นับเป็นครั้งแรกที่ลูกเสือโคร่งจีนใต้ได้ถือกำเนิดขึ้นนอกประเทศจีน ทางเจ้าหน้าที่โครงการคาดว่าในอีก 15 ปี ข้างหน้า จะได้ลูกเสือเช่นนี้ออกมาเป็นจำนวนมากขึ้น.

ใหม่!!: เสือโคร่งเบงกอลและเสือโคร่งจีนใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เสือโคร่งขาว

วามหมายอื่น ดูที่: เสือขาว เสือโคร่งขาวชนิดย่อย เสือโคร่งเบงกอล ในสวนสัตว์สิงคโปร์ เสือโคร่งขาวชนิดย่อย เสือโคร่งไซบีเรีย เสือโคร่งขาว (White tiger) เป็นลักษณะพิเศษประการหนึ่งของเสือโคร่ง ที่เป็นโดยมากในชนิดย่อย เสือโคร่งเบงกอล โดยมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับเสือโคร่งเบงกอลทุกประการ เพียงแต่มีลักษณะเด่น คือ แต่มีขนพื้นสีขาวและลายสีน้ำตาลเข้ม ม่านตาสีฟ้า จมูกสีชมพูและสีขาวครีม ซึ่งเกิดจากการผิดปกติของยีน โดยมิใช่สัตว์เผือกโดยแท้จริง (Albino) แต่เป็นอาการผิดปกติที่ผิวหนังมีจำนวนเม็ดสีน้อย ที่เรียกว่า "ภาวะด่าง" (Leucism) เสือโคร่งขาวเบงกอล ตัวแรกที่มีประวัติบันทึกไว้ในธรรมชาติ พบที่ประเทศอินเดีย ในรอบ 100 ปี พบเพียง 12 ตัวเท่านั้น ปัจจุบันพบได้น้อยมากในธรรมชาติ และด้วยความโดดเด่นในสีผิวจึงนิยมแสดงไว้ตามสวนสัตว์ต่าง ๆ มีการนำไปเพาะเลี้ยงในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา จนมีแพร่ขยายพันธุ์ออกลูกในที่เลี้ยง ปัจจุบันมีเสือโคร่งขาวประมาณ 200 ตัว ส่วนใหญ่อยู่ตามสวนสัตว์ต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยด้วย นอกจากนี้แล้ว เสือโคร่งขาวเบงกอล ยังเป็นสัตว์เลี้ยงของบุคคลระดับมหาเศรษฐีด้วย เช่น ไมค์ ไทสัน อดีตแชมป์โลกมวยสากลในรุ่นเฮฟวี่เวทชาวอเมริกัน เป็นต้น.

ใหม่!!: เสือโคร่งเบงกอลและเสือโคร่งขาว · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Bengal TigerPanthera tigris tigrisเสือเบงกอล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »