โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เมทานอล

ดัชนี เมทานอล

มทานอล (methanol) หรือ เมทิลแอลกอฮอล์ (methyl alcohol) มีสูตรโครงสร้างแบบย่อ CH3OH เป็นของเหลวใส ระเหยง่าย เป็นพิษ นิยมใช้เป็นตัวทำละลาย และใช้เป็นเชื้อเพลิง ในธรรมชาติ เมทานอลเป็นผลิตภัณฑ์จากการสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจนของแบคทีเรียหลายชนิด (ดูการผลิตเมทานอลจากของเสียเพื่อทำเป็นก๊าซชีวภาพ) ซึ่งเมทานอลจะระเหยออกสู่อากาศภายนอก แล้วสลายตัวได้คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ หากเราเผาเมทานอลกับอากาศ จะได้คาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำ ดังสมการด้านล่างนี้ ซึ่งเปลวไฟที่ได้จากการเผาเกือบจะมองไม่เห็นเลย ดังนั้นจึงควรระมัดระวังหากมีการใช้เมทานอลเป็นเชื้อเพลิง นอกจากนี้เมทานอลยังใช้ผสมเอทานอล เพื่อมิให้สามารถรับประทานได้ (denatured alcohol) ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในทางภาษีอากร.

36 ความสัมพันธ์: บุหรี่กรดฟอร์มิกกลูตาไธโอนการกลั่นทำลายการแปรสภาพเป็นแก๊สการเร่งปฏิกิริยามีเทนลิเทียมโบรไมด์วานิลลินสบู่ดำจุดผลิตน้ำมันสูงสุดดาวหางดาวอังคารความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอความร้อนแฝงของการหลอมเหลวตัวทำละลายซินแก๊สปฏิกิริยาการควบแน่นน้อยหน่าน้ำ (โมเลกุล)น้ำส้มควันไม้แบเรียมคลอไรด์แอนทราซีนโซเดียมคลอไรด์โซเดียมไซยาไนด์ไบโอดีเซลไบโอแอลกอฮอล์ไอเอิร์น(III) คลอไรด์ไฮโดรเจนซัลไฟด์เชื้อเพลิงชีวภาพเมทาโนเจนเมทิลซาลิไซเลตเสี้ยวดอกขาวเอทานอลเซลล์เชื้อเพลิงICD-10 บทที่ 19: การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และผลสืบเนื่องบางอย่างจากสาเหตุภายนอก

บุหรี่

หรี่สองมวน ขณะยังไม่จุด บุหรี่ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกม้วนห่อด้วยกระดาษ ขนาดปกติจะมีความยาวสั้นกว่า 120 มิลลิเมตร และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 มิลลิเมตร) มีใบยาสูบบดหรือซอยบรรจุภายในห่อกระดาษ ปลายด้านหนึ่งเป็นปลายเปิดสำหรับจุดไฟ และอีกด้านหนึ่งจะมีตัวกรอง ไว้สำหรับใช้ปากสูดควัน คำนี้ปกติจะใช้หมายถึงเฉพาะที่บรรจุใบยาสูบภายใน แต่ในบางครั้งก็อาจใช้หมายถึงมวนกระดาษที่บรรจุสมุนไพรอื่น ๆ เช่น กัญชา บุหรี่ ต่างจาก ซิการ์ (en:cigar) ตรงที่บุหรี่นั้นมีขนาดเล็กว่า และใบยาสูบนั้นจะมีการบดหรือซอย รวมทั้งกระดาษที่ห่อ ซิการ์โดยปกติจะใช้ใบยาสูบทั้งใบ ซิการ์ชนิดที่มีขนาดเล็กพิเศษเท่าบุหรี่ เรียกว่า ซิการ์ริลโล (en:cigarillo) บุหรี่เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนที่ใช้ภาษาอังกฤษตั้งแต่ก่อนสงครามแห่งครายเมีย เมื่อทหารแห่งจักรวรรดิอังกฤษ เริ่มเลียนแบบการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อใบยาสูบ จากทหารตุรกีแห่งอาณาจักรออตโตมัน.

ใหม่!!: เมทานอลและบุหรี่ · ดูเพิ่มเติม »

กรดฟอร์มิก

กรดฟอร์มิก หรือกรดมด (Formic acid) เป็นกรดคาร์บอกซิลิกชนิดหนึ่งที่โครงสร้างไม่ซับซ้อน มีสูตรโมเลกุลว่า CH2O2 และเรียกตามระบบ IUPAC ว่า กรดเมทาโนอิก (Methanoic acid), พบตามธรรมชาติในสัตว์จำพวกมดและผึ้ง ซึ่งมีไว้สำหรับป้องกันตัวจากศัตรู, โดยคำว่า "formic" ได้มาจากคำในภาษาละตินว่า formica ซึ่งแปลว่ามดนั่นเอง.

ใหม่!!: เมทานอลและกรดฟอร์มิก · ดูเพิ่มเติม »

กลูตาไธโอน

กลูตาไธโอน (glutathione, GSH) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญในพืช สัตว์ เห็ดราและแบคทีเรียและอาร์เคียบางชนิด ทำหน้าที่ป้องกันองค์ประกอบสำคัญของเซลล์ที่เกิดจากออกซิเจนที่ไวต่อปฏิกิริยา (reactive oxygen species) เช่น อนุมูลอิสระหรือเปอร์ออกไซด์ กลูตาไธโอนประกอบด้วยเพปไทด์สามโมเลกุล (tripeptide) คือ ซีสเตอีน กรดกลูตามิก และไกลซีน มีพันธะเพปไทด์แกมมาระหว่างหมู่คาร์บอกซิลของหมู่ข้างกลูตาเมตและหมู่เอมีนของซิสทีน และพันธะเพปไทด์ธรรมดาระหว่างซีสทีนกับไกลซีน หมู่ไธออลเป็นตัวรีดิวซ์ ซึ่งมีอยู่ที่ความเข้มข้นประมาณ 5 มิลลิโมลาร์ในเซลล์สัตว์ กลูตาไธโอนรีดิวซ์พันธะไดซัลไฟด์ที่เกิดขึ้นในโปรตีนไซโทพลาสซึมไปยังซีลเตอีนโดยทำหน้าที่เป็นตัวให้อิเล็กตรอน ในกระบวนการนี้ กลูตาไธโอนจะถูกเปลี่ยนเป็นรูปออกซิไดซ์ กลูตาไธโอนไดซัลไฟด์ (GSSG) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า แอล-(–)-กลูตาไธโอน เมื่อถูกออกซิไดซ์แล้ว กลูตาไธโอนสามารถถูกรีดิวซ์กลับได้โดยกลูตาไธออนรีดักเทส (glutathione reductase) โดยอาศัย NADPH เป็นตัวให้อิเล็กตรอน อัตรากลูตาไธโอนรูปรีดิวซ์ต่อกลูตาไธโอนรูปออกซิไดซ์มักใช้เป็นการวัดความเป็นพิษของเซลล์ นอกจากนี้ กลูตาไธโอนช่วยให้ตับขจัดสารพิษออกจากร่างกาย และยังนำมารักษาโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ข้ออักเสบ โรคพาร์กินสัน โรคตับ โรคไต โรคเอดส์ ภาวะเป็นหมันในเพศชาย และภาวะหูตึงจากเสียงดัง ผลข้างเคียงยับยั้งการสังเคราะห์เมลานิน.

ใหม่!!: เมทานอลและกลูตาไธโอน · ดูเพิ่มเติม »

การกลั่นทำลาย

การกลั่นทำลาย (destructive distillation) เป็นกรรมวิธีที่ให้ความร้อนสูงแก่สารอินทรีย์โดยไม่ให้อากาศเข้า เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีขึ้นแก่สารนั้น ให้ผลเป็นสารที่ระเหยได้และแยกตัวออกมา เช่น การกลั่นทำลายขี้เลื่อย ให้ผลเป็นเมทิลแอลกอฮอล์ กรดน้ำส้ม และสารอื่นๆ การกลั่นทำลายถ่านหินให้ผลเป็นแก๊สถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ น้ำมันเบนซิน ลูกเหม็นกันแมลงสาบ และสารอื่นที่มีประโยชน์อีกมาก กากที่เหลือเรียกว่า ถ่านโค้ก หมวดหมู่:เคมี.

ใหม่!!: เมทานอลและการกลั่นทำลาย · ดูเพิ่มเติม »

การแปรสภาพเป็นแก๊ส

กระบวนการแปรสภาพเป็นแก๊ส (Gasification) เป็นการเปลี่ยน รูปพลังงานจากชีวมวลซึ่งเป็นเชื้อเพลิงแข็งให้เป็นเชื้อเพลิงแก๊ส(แก๊สเชี้อเพลิง) โดยให้ความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า 700°C ผ่านตัวกลางของกระบวนการเช่น อากาศ ออกซิเจนที่มีจำนวนจำกัด หรือไอน้ำ ซึ่งกระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่นจะมีความแตกต่างจากกระบวนการเผาไหม้อย่างสิ้นเชิงโดยการเผาไหม้เป็นการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นอย่างสมบูรณ์ในหนึ่งกระบวนการเท่านั้น แต่สำหรับกระบวนการแก๊สซิฟิเคชั่นเป็นการเปลี่ยนรูปพลังงานเคมีภายในของคาร์บอนในชีวมวลไปเป็นแก๊สที่สามารถเผาไหม้ได้ (Combustible Gas) โดยอาศัยปฏิกิริยา 2 กระบวนการ โดยแก๊สที่ผลิตได้จะมีคุณภาพที่ดีกว่าและง่ายต่อการใช้งานกว่าชีวมวล ยกตัวอย่างเช่น สามารถใช้เดินเครื่องยนต์แก๊ส และกังหันแก๊ส (Gas Turbine) หรือใช้เพื่อผลิตเชื้อเพลิงเหลวต่อไป อีกนัยหนึ่ง กระบวนการแปรสภาพเป็นแก๊สเป็นกระบวนการเปลี่ยนรูปทางด้านเคมีความร้อน (Thermochemical Conversion Process) โดยอาศัยอากาศ ออกซิเจน หรือไอน้ำ ที่มีอุณหภูมิสูงกว.

ใหม่!!: เมทานอลและการแปรสภาพเป็นแก๊ส · ดูเพิ่มเติม »

การเร่งปฏิกิริยา

การเร่งปฏิกิริยา (Catalysis) คือ การทำให้ปฏิกิริยาเกิดเร็วขึ้น โดยการใส่วัตถุที่ทำให้ปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงความเร็วเรียกว่า ตัวเร่งhttp://goldbook.iupac.org/C00876.html ซึ่งการเร่งปฏิกิรยาจะไม่มีผลต่อผลิตภัณฑ์เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยา มีทั้งตัวเร่งปฏิกิริยาทางเคมี เช่น โลหะ และตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพ เช่น เอนไซม.

ใหม่!!: เมทานอลและการเร่งปฏิกิริยา · ดูเพิ่มเติม »

มีเทน

มีเทน (Methane) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนพวกแอลเคน สูตรเคมี คือ CH4 เป็นแก๊สไม่มีสี ติดไฟได้ เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของแก๊สธรรมชาติ แก๊สมีเทนอาจได้มาจากการหมักมูลสัตว์และนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงราคาถูก ก๊าซมีเทนอาจพบได้ในชั้นถ่านหิน (Coal Bed Methane) โดยจากกระบวนการเกิดถ่านหินทำให้ก๊าซสะสมตัวและกักเก็บอยู่ในช่องว่างในเนื้อถ่านหิน.

ใหม่!!: เมทานอลและมีเทน · ดูเพิ่มเติม »

ลิเทียมโบรไมด์

ลิเทียมโบรไมด์ (Lithium bromide) เป็นสารประกอบที่มีสูตรเคมี LiBr เตรียมได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างลิเทียมคาร์บอเนตกับกรดไฮโดรโบรมิก ได้ลิเทียมโบรไมด์, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ตามสมการ: ลิเทียมไฮดรอกไซด์ทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรโบรมิก จะได้ลิเทียมโบรไมด์และน้ำเช่นกัน ตามสมการ: ลิเทียมโบรไมด์มีคุณสมบัติเป็นสารไฮโกรสโคปิก (ดึงดูดและกักเก็บความชื้นได้) จึงมักใช้เป็นสารดูดความชื้นในระบบปรับอากาศและระบบทำความเย็นUlrich Wietelmann, Richard J. Bauer "Lithium and Lithium Compounds" in Ullmann's Encyclopedia of Industrial Chemistry 2005, Wiley-VCH: Weinheim.

ใหม่!!: เมทานอลและลิเทียมโบรไมด์ · ดูเพิ่มเติม »

วานิลลิน

วานิลลิน (Vanillin) หรือ 4-ไฮดรอกซี่-3-เมตทอกซี่เบนซัลดีไฮด์ เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีสูตรโมเลกุลดังนี้ C8H8O3 ส่วนที่เป็น ฟังก์ชันนัลกรุป ของมันคือ.

ใหม่!!: เมทานอลและวานิลลิน · ดูเพิ่มเติม »

สบู่ดำ

ู่ดำ เป็นพืชน้ำมันชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้ ชาวโปรตุเกสนำเข้ามาปลูกในประเทศไทย ในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันมีการสกัดน้ำมันจากเมล็ดสบู่ดำใช้ทดแทนน้ำมันดีเซล ในหลายประเทศได้มีความเห็นคัดค้านการปลูกสบู่ดำเพื่อสกัดน้ำมัน โดยเสนอแนะให้นำพื้นที่เหล่านั้นไปปลูกพืชสำหรับบริโภคแทน และนอกจากนี้ปัญหาการใช้น้ำเป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อคิดเทียบเท่าต่อพลังงานที่ได้จากพืชชนิดอื่นเช่นอ้อยหรือข้าวโพด สบู่ดำใช้น้ำเป็นปริมาณ 5 เท.

ใหม่!!: เมทานอลและสบู่ดำ · ดูเพิ่มเติม »

จุดผลิตน้ำมันสูงสุด

กราฟแสดงการผลิตน้ำมันโลก ทั้งข้อมูลตามประวัติและข้อมูลอนาคตตามที่คาดหมาย และตามที่เสนอโดยนักธรณีวิทยา ดร. คิง ฮับเบิร์ต ได้ถึงจุดสูงสุดที่ 1.5 ล้านล้านลิตร (12,500 ล้านบาร์เรล) ต่อปีที่ประมาณปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) การผลิตน้ำมันดิบของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งแสดงลักษณะคล้ายคลึงกับเส้นโค้งฮับเบิร์ต (Hubbert curve) แต่ให้สังเกตความแตกต่างที่เกิดขึ้นเมื่อไม่กีปีมานี้ จุดผลิตน้ำมันสูงสุด (Peak oil) เป็นเหตุการณ์ตามทฤษฎีจุดสูงสุดฮับเบิร์ต (Hubbert peak theory) ของ ดร.

ใหม่!!: เมทานอลและจุดผลิตน้ำมันสูงสุด · ดูเพิ่มเติม »

ดาวหาง

ดาวหางเฮล-บอปป์ ดาวหางเวสต์ ดาวหาง คือ วัตถุชนิดหนึ่งในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ มีส่วนที่ระเหิดเป็นแก๊สเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดชั้นฝุ่นและแก๊สที่ฝ้ามัวล้อมรอบ และทอดเหยียดออกไปภายนอกจนดูเหมือนหาง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์จากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ไปบนนิวเคลียสของดาวหาง นิวเคลียสหรือใจกลางดาวหางเป็น "ก้อนหิมะสกปรก" ประกอบด้วยน้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย และมีฝุ่นกับหินแข็งปะปนอยู่ด้วยกัน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ไม่กี่กิโลเมตรไปจนถึงหลายสิบกิโลเมตร คาบการโคจรของดาวหางมีความยาวนานแตกต่างกันได้หลายแบบ ตั้งแต่คาบโคจรเพียงไม่กี่ปี คาบโคจร 50-100 ปี จนถึงหลายร้อยหรือหลายพันปี เชื่อว่าดาวหางบางดวงเคยผ่านเข้ามาในใจกลางระบบสุริยะเพียงครั้งเดียว แล้วเหวี่ยงตัวเองออกไปสู่อวกาศระหว่างดาว ดาวหางที่มีคาบการโคจรสั้นนั้นเชื่อว่าแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในแถบไคเปอร์ที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ส่วนดาวหางที่มีคาบการโคจรยาวอาจมาจากแหล่งอื่น ๆ ที่ไกลจากดวงอาทิตย์ของเรามาก เช่นในกลุ่มเมฆออร์ตซึ่งประกอบด้วยเศษซากที่หลงเหลืออยู่จากการบีบอัดตัวของเนบิวลา ดาวหางเหล่านี้ได้รับแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวเคราะห์รอบนอก (กรณีของวัตถุในแถบไคเปอร์) จากดวงดาวอื่นใกล้เคียง (กรณีของวัตถุในกลุ่มเมฆออร์ต) หรือจากการชนกัน ทำให้มันเคลื่อนเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์น้อยมีกำเนิดจากกระบวนการที่ต่างไปจากนี้ อย่างไรก็ดี ดาวหางที่มีอายุเก่าแก่มากจนกระทั่งส่วนที่สามารถระเหิดเป็นแก๊สได้สูญสลายไปจนหมดก็อาจมีสภาพคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์น้อยก็ได้ เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกหลายดวงเคยเป็นดาวหางมาก่อน นับถึงเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: เมทานอลและดาวหาง · ดูเพิ่มเติม »

ดาวอังคาร

วอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองในระบบสุริยะรองจากดาวพุธ ในภาษาอังกฤษได้ชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน มักได้รับขนานนาม "ดาวแดง" เพราะมีออกไซด์ของเหล็กดาษดื่นบนพื้นผิวทำให้มีสีออกแดงเรื่อ ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หินที่มีบรรยากาศเบาบาง มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจนพิดน้ำแข็งขั้วดาวที่ปรากฏบนโลก คาบการหมุนรอบตัวเองและวัฏจักรฤดูกาลของดาวอังคารก็มีความคล้ายคลึงกับโลกซึ่งความเอียงก่อให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ดาวอังคารเป็นที่ตั้งของโอลิมปัสมอนส์ ภูเขาไฟใหญ่ที่สุดบนดาวอังคารและสูงสุดอันดับสองในระบบสุริยะเท่าที่มีการค้นพบ และเป็นที่ตั้งของเวลส์มาริเนริส แคนยอนขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบสุริยะ แอ่งบอเรียลิสที่ราบเรียบในซีกเหนือของดาวปกคลุมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมดและอาจเป็นลักษณะการถูกอุกกาบาตชนครั้งใหญ่ ดาวอังคารมีดาวบริวารสองดวง คือ โฟบอสและดีมอสซึ่งต่างก็มีขนาดเล็กและมีรูปร่างบิดเบี้ยว ทั้งคู่อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกจับไว้ คล้ายกับทรอยของดาวอังคาร เช่น 5261 ยูเรกา ก่อนหน้าการบินผ่านดาวอังคารที่สำเร็จครั้งแรกของ มาริเนอร์ 4 เมื่อปี 1965 หลายคนคาดว่ามีน้ำในรูปของเหลวบนพื้นผิวดาวอังคาร แนวคิดนี้อาศัยผลต่างเป็นคาบที่สังเกตได้ของรอยมืดและรอยสว่าง โดยเฉพาะในละติจูดขั้วดาวซึ่งดูเป็นทะเลและทวีป บางคนแปลความรอยมืดริ้วลายขนานเป็นร่องทดน้ำสำหรับน้ำในรูปของเหลว ภายหลัง มีการอธิบายว่าภูมิประเทศเส้นตรงเหล่านั้นเป็นภาพลวงตา แม้ว่าหลักฐานทางธรณีวิทยาที่ภารกิจไร้คนบังคับรวบรวมชี้ว่า ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีน้ำปริมาณมากปกคลุมบนพื้นผิว ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะต้น ๆ ของอายุ ในปี 2005 เรดาร์เผยว่ามีน้ำแข็งน้ำ (water ice) ปริมาณมากขั้วทั้งสองของดาว และที่ละติจูดกลาง ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารสปิริต พบตัวอย่างสารประกอบเคมีที่มีโมเลกุลน้ำเมื่อเดือนมีนาคม 2007 ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ พบตัวอย่างน้ำแข็งน้ำโดยตรงในดินส่วนตื้นของดาวอังคารเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2008 มียานอวกาศที่กำลังปฏิบัติงานอยู่เจ็ดลำ ห้าลำอยู่ในวงโคจร ได้แก่ 2001 มาร์สโอดิสซี มาร์สเอ็กซ์เพรส มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เมเว็น และมาร์สออร์บิเตอร์มิชชัน และสองลำบนพื้นผิว ได้แก่ ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารออปพอร์ทูนิตี และยานมาร์สไซแอนซ์แลบอราทอรีคิวริออซิตี การสังเกตโดย มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เปิดเผยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำไหลในช่วงเดือนที่ร้อนที่สุดบนดาวอังคาร ในปี 2013 ยานคิวริออซิตี ของนาซาค้นพบว่าดินของดาวอังคารมีน้ำเป็นองค์ประกอบระหว่างร้อยละ 1.5 ถึง 3 โดยมวล แม้ว่าน้ำนั้นจะติดอยู่กับสารประกอบอื่น ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยอิสระ กำลังมีการสืบค้นเพื่อประเมินศักยภาพความสามารถอยู่อาศัยได้ในอดีตของดาวอังคาร ตลอดจนความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตหลงเหลืออยู่ มีการสืบค้นบริเวณนั้นโดยส่วนลงจอด ''ไวกิง'' โรเวอร์ สปิริต และออปพอร์ทูนิตี ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ และโรเวอร์ คิวริออซิตี มีการวางแผนภารกิจทางชีวดาราศาสตร์ไว้แล้ว ซึ่งรวม มาร์ส 2020 และเอ็กโซมาร์สโรเวอร์ ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกโดยง่ายซึ่งจะปรากฏให้เห็นเป็นสีออกแดง มีความส่องสว่างปรากฏได้ถึง −2.91 ซึ่งเป็นรองเพียงดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินโดยทั่วไปมีขีดจำกัดการมองเห็นรายละเอียดของภูมิประเทศขนาดประมาณ 300 กิโลเมตรเมื่อโลกและดาวอังคารเข้าใกล้กันมากที่สุดอันเป็นผลจากบรรยากาศของโลก.

ใหม่!!: เมทานอลและดาวอังคาร · ดูเพิ่มเติม »

ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ

วามร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ เป็นสมบัติเฉพาะตัวของสารที่บอกปริมาณพลังงานที่ต้องใช้หรือคายออกมาในการเปลี่ยนสถานะระหว่างของเหลวกับแก๊ส เมื่อมีอุณหภูมิเท่ากับจุดเดือดของสารนั้น ความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอมีหน่วยดังนี้.

ใหม่!!: เมทานอลและความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอ · ดูเพิ่มเติม »

ความร้อนแฝงของการหลอมเหลว

วามร้อนแฝงของการหลอมเหลว (Enthalpy of fusion) คือ พลังงานที่ต้องใช้ในการเปลี่ยนสารชนิดหนึ่ง 1 กรัมให้เปลี่ยนสถานะจากของแข็งกลายเป็นของเหลว โดยสารนั้นต้องมีอุณหภูมิเท่ากับจุดหลอมเหลวของสารชนิดนั้นๆ โดยทั่วไป หากให้พลังงานแก่สารจะเป็นการเพิ่มอุณหภูมิของสารนั้น และถ้าดึงพลังงานออกจากสาร สารจะมีอุณหภูมิลดลง แต่หากสารนั้นมีอุณหภูมิถึงจุดๆ หนึ่ง ซึ่งก็คือจุดหลอมเหลว จะมีพลังงานจำนวนหนึ่งที่ถูกใช้ไป แต่ไม่ได้ใช้เพื่อการเปลี่ยนอุณหภูมิของสาร แต่เป็นการใช้หรือคายพลังงานเพื่อเปลี่ยนสถานะ พลังงานนั้นก็คือ ความร้อนแฝงของการหลอมเหลว ในการเปลี่ยนสถานะของสารที่อุณหภูมิเท่ากับจุดหลอมเหลว หากจะเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว ต้องใช้พลังงานเท่ากับความร้อนแฝงของการหลอมเหลว ในขณะที่การเปลี่ยนสถานะของของเหลวเป็นของแข็ง ต้องคายพลังงานในจำนวนที่เท่ากัน ความร้อนแฝงของการหลอมเหลวสามารถสังเกตได้ง่ายๆ เช่น หากนำน้ำใส่ตู้แช่เข็งที่มีอุณหภูมิต่ำมากๆ แล้ววัดอุณหภูมิของน้ำ จะพบว่า ในช่วงแรก น้ำจะมีอุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึงช่วงหนึ่ง ซึ่งน้ำมีอุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิจะคงที่ ในขณะที่น้ำเริ่มกลายเป็นน้ำแข็งทีละน้อย หลังจากที่น้ำแข็งตัวหมดแล้ว อุณหภูมิของน้ำ (ที่เป็นน้ำแข็ง) ก็จะลดลงอย่างรวดเร็วอีกครั้ง เหตุที่อุณหภูมิของน้ำคงที่ในช่วงที่น้ำอยู่ที่จุดหลอมเหลวนั้น เพราะมีการคายพลังงานซึ่งเท่ากับความร้อนแฝงของการหลอมเหลวของน้ำออกมา เพื่อทำให้น้ำกลายเป็นน้ำแข็งได้ ก่อนที่จะกลายเป็นน้ำแข็งทั้งหมด อุณหภูมิจึงไม่ลดลงในช่วงนั้น หลังจากนั้นก็จะไม่มีการคายพลังงานในส่วนนี้ อุณหภูมิจึงลดลงอีกครั้ง.

ใหม่!!: เมทานอลและความร้อนแฝงของการหลอมเหลว · ดูเพิ่มเติม »

ตัวทำละลาย

ตัวทำละลาย (solvent) เป็นของเหลวที่สามารถละลาย ตัวถูกละลาย ที่เป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซได้เป็น สารละลาย ตัวทำละลายที่คุ้นเคยมากที่สุดและใช้ในชีวิตประจำวันคือน้ำ สำหรับคำจำกัดความที่อ้างถึง ตัวทำละลายอินทรีย์ (organic solvent) จะหมายถึงตัวทำละลายอีกชนิดที่เป็น สารประกอบอินทรีย์ (organic compound) และมี คาร์บอน อะตอมอยู่ด้วย โดยปกติตัวทำละลายจะมี จุดเดือด ต่ำ และระเหยง่าย หรือสามารถกำจัดโดย การกลั่นได้ โดยทั่วไปแล้วตัวทำละลายไม่ควรทำปฏิกิริยากับตัวถูกละลาย คือ มันจะต้องมีคุณสมบัติ เฉื่อย ทางเคมี ตัวทำละลายสามารถใช้ สกัด (extract) สารประกอบที่ละลายในมันจากของผสมได้ตัวอย่างที่คุ้นเคยได้แก่ การต้ม กาแฟ หรือ ชา ด้วยน้ำร้อน ปกติตัวทำละลายจะเป็นของเหลวใสไม่มีสีและส่วนใหญ่จะมีกลิ่นเฉพาะตัว ความเข้มข้นของสารละลายคือจำนวนสารประกอบที่ละลายในตัวทำละลายในปริมาตรที่กำหนด การละลาย (solubility) คือจำนวนสูงสุดของสารประกอบที่ละลายได้ในตัวทำละลาย ตามปริมาตรที่กำหนดที่ อุณหภูมิ เฉพาะ ตัวทำละลายอินทรีย์ใช้ประโยชน์ทั่วไปดังนี้.

ใหม่!!: เมทานอลและตัวทำละลาย · ดูเพิ่มเติม »

ซินแก๊ส

ซินแก๊ส Syngas, or synthesis gas, เป็นแก๊สเชื้อเพลิงผสม ส่วนผสมหลักประกอบด้วย ไฮโดรเจน, คาร์บอนมอนอกไซด์และคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ชื่อนี้เพราะถูกใช้เป็นตัวกลางในการผลิต synthetic natural gas (SNG) และ แอมโมเนีย หรือ เมทานอล นอกจากนี้ ซินแก๊ส ยังใช้ผลิตปิโตรเลียมสังเคราะห์เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงและตัวหล่อลื่นในการผลิตแก๊สโวลีนอีกด้วย ซินแก๊สเผาไหม้ได้ดี และถูกนำไปใช้กับเครื่องยนต์สันดาปภายในบ่อยๆ แต่มีความหนาแน่นของพลังงานน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของแก๊สธรรมชาติเท่านั้น วิธีการผลิตซินแก๊ส คือการใช้ขบวนการแปรสภาพเป็นแก๊ส (gasification) ของถ่านหิน หรือ มวลชีวภาพ หรือขบวนการเปลี่ยนสถานะจากพลังงานเหลือใช้โดยใช้เทคนิคของ gasification หรือใช้ขบวนการ เปลี่ยนรูปไอน้ำของแก๊สธรรมชาติหรือสารไฮโดรคาร์บอนเหลวให้เป็นแก๊สไฮโดรเจน.

ใหม่!!: เมทานอลและซินแก๊ส · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกิริยาการควบแน่น

ปฏิกิริยาการควบแน่น (condensation reaction หรือ dehydration reaction หรือ dehydration synthesis; มีความหมายว่ากำจัดน้ำออกไป) เป็นปฏิกิริยาคมีที่ซึ่งสองโมเลกุลหรือกึ่งหนึ่ง (moiety) ทำปฏิกิริยากันและกลายเป็นการเชื่อมต่อแบบพันธะโควาเลนต์ซึ่งกันและกันร่วมกับการสูญเสียโมเลกุลของน้ำ เมทานอล หรือบางตัวของไฮโดรเจนฮาไลด์ เช่น HCl มันอาจถูกพิจารณาว่าเป็นปฏิกิริยาที่ตรงข้ามกับปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส (คือการแยกสลายโมเลกุลใหญ่ให้กลายเป็นโมเลกุลเล็กพร้อมทั้งปล่อยน้ำออกมา) follow a nucleophilic acyl substitution or an aldol condensation reaction mechanism.

ใหม่!!: เมทานอลและปฏิกิริยาการควบแน่น · ดูเพิ่มเติม »

น้อยหน่า

น้อยหน่า (Sugar apple; Linn.) ชื่ออื่น ๆ หมักเขียบ (ตะวันออกเฉียงเหนือ), ลาหนัง (ปัตตานี), มะนอแน่, มะแน่ (เหนือ), หน่อเกล๊ะแซ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), มะออจ้า, มะโอจ่า (เงี้ยว-เหนือ), เตียบ (เขมร) เป็นพืชยืนต้น ผลมีเนื้อสีขาว เมล็ดดำ รสหวาน ถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกากลาง และใต้ แต่จะพบอยู่ทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศไทยปลูกมากทางภาคกลางและตะวันออกเฉียงเหนือ.

ใหม่!!: เมทานอลและน้อยหน่า · ดูเพิ่มเติม »

น้ำ (โมเลกุล)

น้ำมี สูตรเคมี H2O, หมายถึงหนึ่ง โมเลกุล ของน้ำประกอบด้วยสองอะตอมของ ไฮโดรเจน และหนึ่งอะตอมของ ออกซิเจน เมื่ออยู่ในภาวะ สมดุลพลวัต (dynamic equilibrium) ระหว่างสถานะ ของเหลว และ ของแข็ง ที่ STP (standard temperature and pressure: อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน) ที่อุณหภูมิห้อง เป็นของเหลวเกือบ ไม่มีสี, ไม่มีรส, และ ไม่มีกลิ่น บ่อยครั้งมีการอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์ว่ามันเป็น ตัวทำละลายของจักรวาล และน้ำเป็นสารประกอบบริสุทธิ์ชนิดเดียวเท่านั้นที่พบในธรรมชาติทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ.

ใหม่!!: เมทานอลและน้ำ (โมเลกุล) · ดูเพิ่มเติม »

น้ำส้มควันไม้

น้ำส้มควันไม้ หรือ กรดไพโรลิกเนียส (pyroligneous acid) เป็นของเหลวใส สีน้ำตาล มีกลิ่นควันไฟ ได้จากการควบแน่นของควันที่เกิดจากการเผาไม้ให้กลายเป็นถ่านในสภาวะที่มีออกซิเจนจำกัด โดยมีอุณหภูมิในเตาอยู่ระหว่าง 300 - 400 องศาเซลเซียส อุณหภูมิปากปล่องระหว่าง 80 – 150 องศาเซลเซียส สารประกอบต่างๆ ในไม้จะสลายด้วยความร้อนเกิดเป็นสารประกอบอินทรีย์ เมื่อนำของเหลวที่ได้จากการควบแน่นมาเก็บในที่ร่มประมาณ 3 เดือน เพื่อให้เกิดการตกตะกอน จะแยกตัวเป็น 3 ชั้น ชั้นบนสุดจะเป็นน้ำมันใส ชั้นกลางเป็นน้ำส้มควันไม้ และน้ำมันดินตกตะกอนอยู่ด้านล่าง.

ใหม่!!: เมทานอลและน้ำส้มควันไม้ · ดูเพิ่มเติม »

แบเรียมคลอไรด์

แบเรียมคลอไรด์ (BaCl2) ที่เตรียมได้จากแร่แบไรต์ ใช้เป็นตัวเคลือบกระดาษและเป็นส่วนผสมของกระดาษอัดรูป นอกจากนี้ยังใช้เป็นตัวเติมเพื่อเพิ่มความแข็งของเหล็กในอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ช่วยในการผลิตโลหะแมกนีเซียมและปรับปรุงคุณภาพน้ำ.

ใหม่!!: เมทานอลและแบเรียมคลอไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

แอนทราซีน

แอนทราซีน (anthracene) เป็นสารประกอบโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนที่เป็นของแข็ง ประกอบด้วยวงเบนซีน 3 วง ได้มาจากน้ำมันดินหรือการสลายตัวด้วยความร้อนอื่นๆ ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสีalizarin ใช้ในการรักษาเนื้อไม้ ยาฆ่าแมลง และสารเคลือบ เป็นสารไม่มีสีแต่จะให้สีน้ำเงิน (400-500 nm) ภายใต้รังสีอัลตราไวโอเลต.

ใหม่!!: เมทานอลและแอนทราซีน · ดูเพิ่มเติม »

โซเดียมคลอไรด์

ซเดียมคลอไรด์ (Sodium chloride, สูตรเคมี: NaCl) มีชื่อที่เรียกทั่วไปดังนี้ เกลือแกง หรือ ฮาไลต์ เป็นสารประกอบเคมี โซเดียมคลอไรด์เป็นเกลือที่มีบทบาทต่อความเค็มของมหาสมุทร และของเหลวภายนอกเซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เป็นส่วนประกอบหลักในเกลือที่กินได้ มันถูกใช้อย่างกว้างขวางในการเป็นเครื่องปรุงรส และใช้ในการถนอมอาหาร.

ใหม่!!: เมทานอลและโซเดียมคลอไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

โซเดียมไซยาไนด์

ซเดียมไซยาไนด์ (sodium cyanide) มีสูตรเคมีคือ NaCN มีลักษณะเป็นของแข็งสีขาว ละลายน้ำได้ นิยมใช้ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทอง โซเดียมไซยาไนด์มีความเป็นพิษสูงมาก มีกลิ่นจาง ๆ คล้ายอัลมอนด์ แต่การได้กลิ่นนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะทางพันธุกรรม เมื่อผสมกับกรดจะได้แก๊สพิษ ไฮโดรเจนไซยาไน.

ใหม่!!: เมทานอลและโซเดียมไซยาไนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไบโอดีเซล

อดีเซล บรรจุขวด ไบโอดีเซล (biodiesel) เป็นเชื้อเพลิงดีเซลที่ผลิตจากแหล่งทรัพยากรหมุนเวียน เช่น น้ำมันพืช ไขมันสัตว์ หรือสาหร่าย ไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิงดีเซลทางเลือก นอกเหนือจากดีเซลที่ผลิตจากปิโตรเลียม โดยมีคุณสมบัติการเผาไหม้ เหมือนกับดีเซลจากปิโตรเลียมมาก และสามารถใช้ทดแทนกันได้ คุณสมบัติสำคัญของไบโอดีเซลคือ สามารถย่อยสลายได้เอง ตามกระบวนการชีวภาพในธรรมชาติ และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม.

ใหม่!!: เมทานอลและไบโอดีเซล · ดูเพิ่มเติม »

ไบโอแอลกอฮอล์

อแอลกอฮอล์ (bioalcohol) เป็น แอลกอฮอล์ ที่ได้จากแหล่งชีวภาพไม่ใช่จาก ปิโตรเลียม ตัวอย่างเช่น เมทานอล และ เอทานอล มันถูกใช้เป็นส่วนผสมของ เชื้อเพลิงชีวภาพ (biofuel) กับน้ำมันปิโตรเลียมเพื่อใช้กับรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ที่พัฒนาจนสามารถใช้แอลกอฮอล์ล้วน ๆ เป็นเชื้อเพลิงได้ซึ่งเรียกว่า BA100 (หรือไบโอแอลกอฮอล์ 100%) เอทานอลโดยทั่วไปในประเทศไทยผลิตจากอ้อยและมันสำปะหลัง แต่ในสหรัฐอเมริกาผลิตจากข้าวโพด ปัจจุบันในประเทศไทย ไบโอแอลกอฮอล์ 10 % หรือ BA10 ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยมีชื่อเรียกว่า แก๊สโซฮอล (ในสหรัฐอเมริกา จะใช้ E แทน BA เช่น E85 หมายถึงแก๊สโซฮอลที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์สูงถึง 85%) มันถูกใช้แทน MTBE ซึ่งเป็นสารเพิ่มออกเทนในน้ำมันปิโตรปิเลียม (chemical oxygenate) โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ได้พัฒนาโรงงานต้นแบบสำหรับผลิตไบโอเอทานอลจากกากน้ำตาล และได้ทำการทดลองและวิจัยจนมีข้อมูลทางด้านเทคนิคอย่างครบด้าน เมื่อ 19 ก..

ใหม่!!: เมทานอลและไบโอแอลกอฮอล์ · ดูเพิ่มเติม »

ไอเอิร์น(III) คลอไรด์

อเอิร์น(III) คลอไรด์ (Iron(III) chloride) เรียกอีกอย่างว่า เฟอร์ริคคลอไรด์ (ferric chloride) เป็นขนาดโภคภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสารประกอบเคมีที่มีสูตร FeCl3 สีของผลึกไอเอิร์น(III) คลอไรด์ขึ้นอยู่กับมุมมอง โดยเกิดแสงสะท้อนผลึกจะปรากฏเป็นสีเขียวเข้ม แต่ด้วยแสงที่ส่งพวกเขาจะปรากฏเป็นสีม่วงแดง ปราศจากไอเอิร์น(III) คลอไรด์ที่เป็นเดไลควีสเกนต์ กลายเป็นไฮเดรท ไฮโดรเจนคลอไรด์ ละอองในอากาศชื้น มันไม่ค่อยเป็นที่สังเกตในรูปแบบตามธรรมชาต.

ใหม่!!: เมทานอลและไอเอิร์น(III) คลอไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรเจนซัลไฟด์

รเจนซัลไฟด์ (hydrogen sulfide หรือ hydrogen sulphide) หรือ ก๊าซไข่เน่า เป็นสารประกอบที่มีสูตรเคมีเป็น H2S ไม่มีสี, เป็นพิษ และเป็นแก๊สไวไฟ มีกลิ่นเน่าเหม็นคล้ายไข่เน่า บ่อยครั้งเป็นผลจากแบคทีเรียย่อยสลายซัลไฟต์ในสารอนินทรีย์ในสภาวะขาดออกซิเจน เช่นใน หนองน้ำและท่อระบายน้ำ (การย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน) นอกจากนั้นยังพบในแก๊สจากภูเขาไฟ ก๊าซธรรมชาติ และบ่อน้ำบางบ่อ กลิ่นของ H2S ไม่ใช่คุณสมบัติโดยทั่วไปของกำมะถัน ซึ่งในความจริงแล้วไม่มีกลิ่น.

ใหม่!!: เมทานอลและไฮโดรเจนซัลไฟด์ · ดูเพิ่มเติม »

เชื้อเพลิงชีวภาพ

ื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) เป็น เชื้อเพลิง ที่ได้จาก ชีวมวล หรือ มวลชีวภาพ ซึ่งเป็นผลผลิตจากสิ่งมีชีวิต หรือ ผลิตผลจากการสร้างและสลายของสิ่งมีชีวิต (metabolic byproducts) เช่นมูลสัตว์ ซึ่งเป็น พลังงานทดแทน (Alternative energy) และเป็นพลังงานสะอาด (clean energy)ไม่เหมือนพลังงานจาก แหล่งธรรมชาติ อื่น เช่น ปิโตรเลียม ถ่านหิน และ เชื้อเพลิง นิวเคลียร.

ใหม่!!: เมทานอลและเชื้อเพลิงชีวภาพ · ดูเพิ่มเติม »

เมทาโนเจน

มทาโนเจน (Methanogen) เป็นอาร์เคียกลุ่มที่สร้างก๊าซมีเทน อยู่ในสภาพไร้ออกซิเจน เช่นในน้ำลึก ในโคลนและในดินก้นบ่อ และอยู่ในทางเดินอาหารของสัตว์รวมทั้งมนุษย์ เป็นกลุ่มที่ไวต่อออกซิเจนที่สุด หากได้รับออกซิเจนจะตาย แบ่งเป็นกลุ่มย่อยตามสารตั้งต้นที่ใช้ผลิตมีเทนได้เป็น กลุ่มที่ใช้ CO2 เช่น สกุล Methanobacterium กลุ่มที่ใช้สารที่มีหมู่เมทิล เช่น เมทานอล เมทิลามีน (Methylamine) ตัวอย่างเช่น สกุล Methanolobus และกลุ่มที่ใช้ ไพรูเวต หรือแอซิเตต (Acetate) เช่น สกุล Methanosaeta.

ใหม่!!: เมทานอลและเมทาโนเจน · ดูเพิ่มเติม »

เมทิลซาลิไซเลต

มทิลซาลิไซเลต (อังกฤษ:Methyl salicylate) หรือน้ำมันระกำ เป็นสารที่มีสูตรเคมี C6H4 (HO) COOCH3 และมีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น ซาลิไซลิก แอซิด เมทิล เอสเตอร์ (salicylic acid methyl ester) หรือ ออยล์ ออฟ วินเตอร์กรีน (oil of wintergreen) ลักษณะเป็นของเหลวใสที่อุณหภูมิห้อง มีกลิ่นฉุน เมื่อถูกผิวหนังจะแสบร้อน เมทิลซาลิไซเลตจะพบในพืชหลายชนิด โดยพืชที่มีสารตัวนี้จะเรียกว่า วินเตอร์กรีน (wintergreen) เมทิลซาลิไซเลต เป็นพิษ ดังนั้นพืชที่มีสารตัวนี้ก็เพื่อ ปกป้องตนเองจากสัตว์กินพืช (herbivory) มีพืชหลายชนิดที่ผลิต เมทิลซาลิไซเลต ในปริมาณเล็กน้อย ซึ่งได้แก.

ใหม่!!: เมทานอลและเมทิลซาลิไซเลต · ดูเพิ่มเติม »

เสี้ยวดอกขาว

''Bauhinia variegata'' เสี้ยวดอกขาว (ภาษากะเหรี่ยง: โพะเพ่; ภาษาฮินดี:कचनार, ภาษาสันสกฤต: कोविदार ภาษาอูรดู: کچنار) เป็นพืชมีดอกชนิดหนึ่งในวงศ์ Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองในเอเชีย แพร่กระจายในจีนไปจนถึงปากีสถานและอินเดีย ชื่อสามัญอื่นๆ ได้แก่ กล้วยไม้ต้น (Orchid tree) ต้นเท้าอูฐ (Camel's Foot Tree) และ Mountain-ebony Kachnar (ภาษาฮินดีภาษาปัญจาบ ภาษาอูรดู) หรือ Kanchan(ภาษาเบงกาลี) ในจังหวัดปัญจาบของปากีสถาน เรียกพืชนี้ว่า Kolaar کلاڑ ซึ่งต่างจากชื่อในภาษาอูรดู พันธุ์ ''candida'' ในเมืองไฮเดอราบาด ประเทศอินเดีย เป็นไม้ยืนต้น สูงถึง 10-12 เมตร ใบยาว 10-20 เซนติเมตร และกว้าง กลม เป็นสองซีกแบบใบชงโค ดอกสีชมพูอ่อนหรือสีขาว เส้นผ่านศูนย์กลาง 8-12 เซนติเมตร มี 5 กลีบ ผลยาว มีหลายเมล็ด เป็นพืชที่นิยมใช้ในการจัดสวน และใช้ดึงดูดนกฮัมมิงเบิร์ด เช่น Sapphire-spangled Emerald (Amazilia lactea), Glittering-bellied Emerald (Chlorostilbon lucidus) หรือ White-throated Hummingbird (Leucochloris albicollis) ให้เข้ามาในสวนBaza Mendonça & dos Anjos (2005) แต่ในบางบริเวณ อาจกลายเป็นพืชรุกรานได้.

ใหม่!!: เมทานอลและเสี้ยวดอกขาว · ดูเพิ่มเติม »

เอทานอล

อทานอล (ethanol) หรือ เอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) (สูตรเคมี C2H5OH) เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากการนำเอาพืชมาหมักเพื่อเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล จากนั้นจึงเปลี่ยนจากน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์ โดยใช้เอนไซม์หรือกรดบางชนิดช่วยย่อย เมื่อทำให้เป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95% โดยการกลั่น ส่วนใหญ่ผลิตจากพืช สองประเภทคือ พืชประเภทน้ำตาล เช่นอ้อย บีทรูท และพืชจำพวกแป้งเช่น มันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพด เป็นต้น.

ใหม่!!: เมทานอลและเอทานอล · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์เชื้อเพลิง

Toyota FCHV ใช้เซลล์เชื้อเพลิง proton-conducting fuel cell) เซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell) เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานเคมีจากเชื้อเพลิงชนิดหนึ่งให้เป็นกระแสไฟฟ้าผ่านทางปฏิกิริยาเคมีของไอออนของไฮโดรเจนประจุบวกกับอ๊อกซิเจนหรือตัวทำอ๊อกซิเดชันอื่น เซลล์เชื้อเพลิงแตกต่างจากแบตเตอรี่ที่ว่ามันต้องการแหล่งจ่ายเชื้อเพลิงและอ๊อกซิเจนหรืออากาศอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืนของปฏิกิริยาเคมี ในขณะที่ในแบตเตอรี่สารเคมีภายในจะทำปฏิกิริยาต่อกันเพื่อผลิตแรงเคลื่อนไฟฟ้า (emf) เซลล์เชื้อเพลิงสามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องนานเท่าที่เชื้อเพลิงและอ๊อกซิเจนหรืออากาศยังคงถูกใส่เข้าไป ไม่เหมือนกับแบตเตอรี่ที่จะหยุดจ่ายกระแสไฟฟ้าถ้าสารเคมีหมดอายุการใช้งาน เซลล์เชื้อเพลิงครั้งแรกถูกคิดค้นในปี 1838 เซลล์เชื้อเพลิงเชิงพาณิชย์ครั้งแรกถูกใช้มากว่าหนึ่งศตวรรษต่อมาในโครงการอวกาศของ นาซ่า ที่จะผลิตพลังงานให้กับดาวเทียมและแคปซูลอวกาศ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเซลล์เชื้อเพลิงถูกนำมาใช้ในงานที่หลากหลายอื่น ๆ เซลล์เชื้อเพลิงถูกใช้สำหรับพลังงานหลักและพลังงานสำรองเพื่อการพาณิชย์ อุตสาหกรรมและอาคารที่อยู่อาศัยและในพื้นที่ห่างไกลและไม่สามารถเข้าถึงได้ พวกมันยังถูกใช้เพื่อให้พลังงานกับยานพาหนะเซลล์เชื้อเพลิง รวมทั้งรถยก, รถยนต์, รถโดยสาร, เรือ, รถจักรยานยนต์และเรือดำน้ำ เซลล์เชื้อเพลิงมีอยู่หลายชนิด ทุกชนิดประกอบด้วยแอโนด แคโทดและอิเล็กโทรไลต์ อิเล็กโทรไลต์จะยอมให้ไอออนไฮโดรเจนประจุบวก (หรือโปรตอน) สามารถเคลื่อนที่ได้จากแอโนดไปแคโทดของเซลล์เชื้อเพลิง แอโนดและแคโทดประกอบด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาที่ทำให้เชื้อเพลิงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่สร้างไอออนไฮโดรเจนประจุบวกและอิเล็กตรอน ไอออนไฮโดรเจนจะถูกดึงผ่านอิเล็กโทรไลต์หลังจากการเกิดปฏิกิริยาและเคลื่อนที่ไปยังแคโทด ในขณะเดียวกันอิเล็กตรอนที่เหลือจากอะตอมของไฮโดรเจนจะถูกดึงจากแอโนดไปยังแคโทดผ่านวงจรภายนอก ทำให้เกิดกระแสตรง ที่แคโทดไอออนไฮโดรเจน อิเล็กตรอนและออกซิเจนทำปฏิกิริยากันก่อตัวเป็นน้ำ เนื่องจากความแตกต่างหลักระหว่างเซลล์เชื้อเพลิงในแต่ละประเภทคืออิเล็กโทรไลต์ เซลล์เชื้อเพลิงจึงถูกแยกประเภทตามชนิดของอิเล็กโทรไลต์ที่พวกมันใช้ และแยกตามระยะเวลาเริ่มต้นตั้งแต่ 1 วินาทีสำหรับเซลล์เชื้อเพลิงเยื่อหุ้มแลกเปลี่ยนโปรตอน (solid oxide fuel cell (SOFC)) เซลล์เชื้อเพลิงเดี่ยว ๆ จะผลิตกระแสไฟฟ้าที่มีแรงดันขนาดค่อนข้างเล็ก ประมาณ 0.7 โวลต์ ดังนั้นเซลล์จึงต้องวาง "ซ้อน" กัน หรือถูกวางเรียงกันเป็นแถว เพื่อที่จะสร้างแรงดันเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการของการใช้งาน นอกเหนือไปจากกระแสไฟฟ้า เซลล์เชื้อเพลิงยังผลิตน้ำ ความร้อนและ(ขึ้นอยู่กับแหล่งเชื้อเพลิง)ปริมาณขนาดเล็กมากของก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ และก๊าซอื่นๆ ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเซลล์เชื้อเพลิงโดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 40-60% หรือสูงขึ้นถึง 85% ในการผลิตแบบความร้อนร่วม (cogeneration) ถ้าความร้อนที่เหลือทิ้งถูกนำกลับมาใช้งานอีก ตลาดของเซลล์เชื้อเพลิงกำลังเจริญเติบโตและบริษัท Pike Research ได้ประมาณการว่าตลาดเซลล์เชื้อเพลิงอยู่กับที่จะสูงถึง 50 GW ในปี 2020 สารตั้งต้นที่ใช้โดยทั่วไปในเซลล์เชื้อเพลิงได้แก่ ก๊าซไฮโดรเจนที่ด้านแอโนด และก๊าซออกซิเจนที่ด้านแคโทด (เซลล์ไฮโดรเจน) โดยปกติแล้วเมื่อมีสารตั้งต้นไหลเข้าสู่ระบบ สารผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นก็จะไหลออกจะระบบไปด้วย ดังนั้นการทำงานของเซลล์เชื้อเพลิงจึงดำเนินต่อไปได้เรื่อยๆ ตราบเท่าที่เราสามารถควบคุมการไหลได้ เซลล์เชื้อเพลิงมักจะถูกมองว่าเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงและปราศจากมลพิษ เมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิง เช่น มีเทนและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ ผลิตภัณฑ์อย่างเดียวที่เกิดจากการทำงานของเซลล์เชื้อเพลิงคือน้ำ อย่างไรก็ตามยังมีความกังวลอยู่ในขั้นตอนการผลิตก๊าซไฮโดรเจนซึ่งใช้พลังงานมาก การผลิตไฮโดรเจนจำเป็นต้องใช้วัตถุดิบที่มีไฮโดรเจน เช่น น้ำ หรือ เชื้อเพลิงอื่นๆ นอกจากนั้นยังต้องใช้ไฟฟ้าซึ่งก็ก็ผลิตมาจากแหล่งพลังงานแบบดั้งเดิม ได้แก่ น้ำมัน ถ่านหิน หรือแม้แต่พลังงานนิวเคลียร์ ในขณะที่พลังงานทางเลือกเช่น ลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ก็อาจสามารถใช้ได้ แต่ราคาก็ยังสูงมากในปัจจุบัน ดังนั้นเราจึงยังไม่อาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงเป็นอิสระจากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ จนกว่าเราจะสามารถหาวิธีการผลิตไฮโดรเจนปริมาณมากด้วยพลังงานทดแทนหรือพลังงานนิวเคลียร.

ใหม่!!: เมทานอลและเซลล์เชื้อเพลิง · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 19: การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และผลสืบเนื่องบางอย่างจากสาเหตุภายนอก

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: เมทานอลและICD-10 บทที่ 19: การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และผลสืบเนื่องบางอย่างจากสาเหตุภายนอก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

MethanolMethyl alcoholเมทิลแอลกอฮอล์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »