โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เทือกเขา

ดัชนี เทือกเขา

เทือกเขาแอนดีส เทือกเขา หรือ ทิวเขา หมายถึงแนวทอดตัวของภูเขาที่ล้อมรอบด้วยพื้นที่ต่ำ หรือถูกแบ่งแยกออกจากภูเขาอื่นๆ ด้วยหุบเขาหรือแม่น้ำ ภูเขาแต่ละลูกที่อยู่ในเทือกเขาเดียวกันไม่จำเป็นต้องมีลักษณะทางธรณีวิทยาที่เหมือนกัน ซึ่งอาจเกิดจากการก่อเทือกเขา (orogeny) ที่แตกต่างกัน เช่น ภูเขาไฟ ภูเขายกตัวหรือภูเขายุบจม หรือมีชนิดของหินที่ไม่เหมือนกัน เทือกเขาแอนดีสเป็นเทือกเขาที่ยาวที่สุดในโลก เทือกเขาหิมาลัยเป็นเทือกเขาที่มียอดเขาที่สูงสุดในโลก คือยอดเขาเอเวอร์เรสต์และเทือกเขาอาร์กติกคอร์ดิลเลอรา (Arctic Cordillera) ก็เป็นเทือกเขาที่ตั้งอยู่ทิศเหนือมากที่สุดของโลก หมวดหมู่:ภูเขา.

47 ความสัมพันธ์: บทนำวิวัฒนาการการกัดเซาะชายฝั่งการก่อเทือกเขายอดเขาเอเวอเรสต์รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยฤดูหนาวในประเทศไทย พ.ศ. 2558–2559ฤดูหนาวในประเทศไทย พ.ศ. 2559–2560ฤดูหนาวในประเทศไทย พ.ศ. 2560–2561วิวัฒนาการเบนออกวงศ์ย่อยแกะและแพะสันเขาอัมเบรลลาคอร์ปอเรชันอัลมาส์อุทยานแห่งชาติภูสอยดาวอุทยานแห่งชาติสาละวินอุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้วอุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแควจังหวัดเชียงรายทะเลทรายขาวทิวเขาผีปันน้ำทิวเขาถนนธงชัยทิวเขานครศรีธรรมราชคาบสมุทรเกาหลีตำบลน้ำขาวปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาปลาไวท์คลาวด์นกตะขาบทุ่งแชงกรี-ลาแม่น้ำแยงซีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัยโคเพตดากเบียร์ดดราก้อนเพียงพอนโคลัมเบียเทือกเขาพิเรนีสเทือกเขาภูเก็ตเทือกเขายูรัลเทือกเขาร็อกกีเทือกเขาสันกาลาคีรีเทือกเขาหิมาลัยเทือกเขาอัลไตเทือกเขาทรานส์แอนตาร์กติกเทือกเขาแอลป์เทือกเขาแอปพาเลเชียนเทือกเขาแอนดีสเทือกเขาแอเพนไนน์เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวGene flow

บทนำวิวัฒนาการ

"ต้นไม้บรรพชีวินวิทยาของสัตว์มีกระดูกสันหลัง" จากหนังสือ ''วิวัฒนาการมนุษย์'' ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5 (ลอนดอน, 1910) ของเฮเกิล (Ernst Haeckel) ประวัติวิวัฒนาการของสปีชีส์ต่าง ๆ สามารถจัดเป็นรูปต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์ โดยมีสาขามากมายงอกออกจากลำต้นเดียวกัน วิวัฒนาการ (evolution) เป็นการเปลี่ยนแปลงในสรรพชีวิตตลอดหลายรุ่น และศาสตร์ชีววิทยาวิวัฒนาการ (evolutionary biology) เป็นศึกษาว่าเกิดขึ้นอย่างไร ประชากรสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาผ่านการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมซึ่งเข้ากับการเปลี่ยนแปลงลักษณะปรากฏของสิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมรวมทั้งการกลายพันธุ์ ซึ่งเกิดจากความเสียหายของดีเอ็นเอหรือข้อผิดพลาดในการถ่ายแบบดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิต เมื่อความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรเปลี่ยนไปอย่างไม่เจาะจงแบบสุ่มเป็นเวลาหลายรุ่นเข้า การคัดเลือกโดยธรรมชาติจะเป็นเหตุให้พบลักษณะสืบสายพันธุ์มากขึ้นหรือน้อยลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขึ้นอยู่กับความสำเร็จทางการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเช่นนั้น โลกมีอายุประมาณ 4,540 ล้านปี และหลักฐานสิ่งมีชีวิตเก่าแก่ที่สุดโดยไม่มีผู้คัดค้านสืบอายุได้อย่างน้อย ระหว่างมหายุคอีโออาร์เคียนหลังเปลือกโลกเริ่มแข็งตัว หลังจากบรมยุคเฮเดียนก่อนหน้าที่โลกยังหลอมละลาย มีซากดึกดำบรรพ์แบบเสื่อจุลินทรีย์ (microbial mat) ในหินทรายอายุ ที่พบในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย หลักฐานรูปธรรมของชีวิตต้น ๆ อื่นรวมแกรไฟต์ซึ่งเป็นสสารชีวภาพในหินชั้นกึ่งหินแปร (metasedimentary rocks) อายุ ที่พบในกรีนแลนด์ตะวันตก และในปี 2558 มีการพบ "ซากชีวิตชีวนะ (biotic life)" ในหินอายุ ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย Early edition, published online before print.

ใหม่!!: เทือกเขาและบทนำวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

การกัดเซาะชายฝั่ง

กระแสน้ำขึ้นลง การกัดเซาะชายฝั่ง (coastal erosion) เกิดจากพลังของคลื่น ลม และกระแสน้ำขึ้นลง (tidal ranges) ที่ส่งผลกระทบต่อชายฝั่งทำให้มีการสึกกร่อนพังทลายไป และเป็นต้นเหตุของการเกิดรูปร่างลักษณะของชายฝั่งทะเลที่แตกต่างกันไปตามสถานที่ต่างๆชายฝั่งที่พบลักษณะการกัดเซาะส่วนมากมักเป็นบริเวณชายฝั่งทะเลน้ำลึก ที่ลักษณะของชายฝั่งมีความลาดชันลงสู่ท้องทะเล ทำให้คลื่นลม และกระแสน้ำสามารถกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างรุนแรง.

ใหม่!!: เทือกเขาและการกัดเซาะชายฝั่ง · ดูเพิ่มเติม »

การก่อเทือกเขา

ูเขา การก่อเทือกเขา (Orogeny/Orogenesis) เป็นกระบวนการกำเนิดแนวเทือกเขาขนาดใหญ่ที่เป็นผลจากแรงดัน ในขณะเกิดการเปลี่ยนลักษณะโครงสร้างของแผ่นเปลือกโลก เช่น การเคลื่อนที่เข้าปะทะกันของแผ่นเปลือกโลก หรือ การมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ได้ก่อให้เกิดความเค้น ขึ้นตามแนวรอยต่อระหว่างเปลือกโลกทั้งสอง ส่งผลให้เกิดมวลหินบริเวณนั้นถูกแปรสภาพและยกตัวสูงขึ้นเป็นแนวยาว เรียกว่า แดนเทือกเขา (orogenic belt) คำว่า “Orogeny” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ คำว่า oros แปลว่าภูเขา และ genesis ที่แปลว่าการเกิด หรือกำเน.

ใหม่!!: เทือกเขาและการก่อเทือกเขา · ดูเพิ่มเติม »

ยอดเขาเอเวอเรสต์

อดเขาเอเวอเรสต์ (Mount Everest) เป็นยอดเขาหนึ่งในเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนและแผ่นเปลือกโลกอินเดีย ในทางภูมิรัฐศาสตร์ ยอดเขาเอเวอเรสต์ถือเป็นจุดแบ่งพรมแดนระหว่างประเทศเนปาลและทิเบต โดยชาวเนปาลเรียกยอดเขาเอเวอเรสต์ว่า สครมาตา (ภาษาสันสกฤต: सगरमाथा หมายถึง มารดาแห่งท้องสมุทร) ส่วนชาวทิเบตขนานนามยอดเขาแห่งนี้ว่า โชโมลังมา (จากภาษาทิเบต: จูมู่หลั่งหม่า (珠穆朗玛) หมายถึง มารดาแห่งสวรรค์) ชื่อยอดเขาเอเวอเรสต์นั้น ตั้งโดย เซอร์แอนดรูว์ วอ นักสำรวจประเทศอินเดียชาวอังกฤษ เพื่อเป็นเกียรติแก่ เซอร์จอร์จ อีฟเรสต์ นักสำรวจประเทศอินเดียรุ่นก่อนหน้า (คำว่า Everest นี้ คนส่วนมากอ่านออกเสียงเป็น เอเวอเรสต์ ขณะที่เซอร์จอร์จอ่านออกเสียงชื่อสกุลของตัวเองว่า อีฟเรสต์) ซึ่งก่อนหน้านั้นนักสำรวจเรียกยอดเขาแห่งนี้เพียงว่า ยอดที่สิบห้า (Peak XV) คนทั่วไปจดจำชื่อเอเวอเรสต์ได้ในฐานะยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก แต่สำหรับชาวเชอร์ปา (Sherpa) และนักปีนเขา (climber) บางคนแล้ว ยอดเขาเอเวอเรสต์ไม่ได้เป็นเพียงแค่จุดที่สูงที่สุดบนพื้นโลกเท่านั้น หากยังเป็นจุดหมายสูงสุดในชีวิตพวกเขาด้วย การไปให้ถึงยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นเรื่องที่ยากลำบาก แต่เมื่อยอดเขาเอเวอเรสต์ถูกพิชิตได้ นั่นหมายความว่าขีดจำกัดของมนุษยชาติได้เพิ่มขึ้นอีกขั้นหนึ่งแล้ว.

ใหม่!!: เทือกเขาและยอดเขาเอเวอเรสต์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.

ใหม่!!: เทือกเขาและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูหนาวในประเทศไทย พ.ศ. 2558–2559

มื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2558 กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเริ่มต้นฤดูหนาวอย่างเป็นทางการในประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม..

ใหม่!!: เทือกเขาและฤดูหนาวในประเทศไทย พ.ศ. 2558–2559 · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูหนาวในประเทศไทย พ.ศ. 2559–2560

มื่อวันที่ 31 ตุลาคม..

ใหม่!!: เทือกเขาและฤดูหนาวในประเทศไทย พ.ศ. 2559–2560 · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูหนาวในประเทศไทย พ.ศ. 2560–2561

มื่อวันที่ 23 ตุลาคม..

ใหม่!!: เทือกเขาและฤดูหนาวในประเทศไทย พ.ศ. 2560–2561 · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการเบนออก

ร์วินเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนและมีชื่อเสียงในกระบวนการวิวัฒนาการเบนออก ที่สปีชีส์บรรพบุรุษแผ่ปรับตัวกลายเป็นสปีชีส์ลูกหลานต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะสืบสายพันธุ์ที่ทั้งเหมือนกันและไม่เหมือนกัน วิวัฒนาการเบนออก (divergent evolution) เป็นการสะสมความแตกต่างระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิต ซึ่งนำไปสู่การเกิดสปีชีส์ใหม่ ๆ แต่ก็สามารถใช้กับรูปแบบทางชีววิทยาระดับโมเลกุล เช่น หมายถึงโปรตีนอนุพันธ์ต่าง ๆ ของยีนที่มีกำเนิดเดียวกัน (homologous genes) สองยีนหรือมากกว่านั้น ดังนั้น ทั้งยีนแบบ orthologous (คือยีนกำเนิดเดียวกันที่สืบมาจากการเกิดสปีชีส์) และแบบ paralogous (คือยีนกำเนิดเดียวกันที่มาจากการเพิ่มขึ้นของยีน) สามารถมีความต่างที่จัดว่ามาจากวิวัฒนาการเบนออก เพราะเหตุหลังนี่ วิวัฒนาการเบนออกจึงสามารถเกิดระหว่างสองยีนในสปีชีส์เดียวกัน ความคล้ายคลึงกันระหว่างสปีชีส์ที่วิวัฒนาการเบนออกจากกันมาจากการมีกำเนิดเดียวกัน ดังนั้น จึงจัดว่ามีต้นกำเนิดเดียวกัน (homologous) เปรียบเทียบกับ วิวัฒนาการเบนเข้าที่เกิดเมื่อสิ่งมีชีวิตปรับตัวอย่างเป็นอิสระจากกันและกันแล้วเกิดโครงสร้างคล้ายกันแต่มีกำเนิดต่างกัน (analogous) เช่น ปีกของนกและของแมลง.

ใหม่!!: เทือกเขาและวิวัฒนาการเบนออก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยแกะและแพะ

วงศ์ย่อยแกะและแพะ เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) ในวงศ์ใหญ่ Bovidae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Caprinae ลักษณะที่สำคัญของวงศ์นี้ คือจะมีเขาในทั้งตัวผู้และตัวเมีย แต่ตัวผู้จะมีเขาที่ใหญ่และตันกว่า ใช้สำหรับต่อสู้กันเพื่อแย่งตัวเมียในฤดูผสมพันธุ์ และป้องกันตัว ลักษณะของเขา เช่นความคมและความโค้งของเขา จะแตกต่างกันไปในแต่ละชนิด ตัวผู้มักมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียราวร้อยละ 20-30 ตัวเมียจะมีเต้านม 2 หรือ 4 เต้า และจะมีขนที่หนานุ่มตลอดทั้งลำตัว ลักษณะกีบเท้าจะมีการพัฒนาให้มีลักษณะพิเศษ คือ มีแผ่นกีบที่มีความหนา และมีความชื้นมาก เพื่อสะดวกในการป่ายปีนที่สูง เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีนิเวศวิทยาอยู่รวมกันเป็นฝูงและอาศัยอยู่บนภูเขา, หน้าผา หรือที่ราบสูง สามารถแบ่งออกได้เป็นสกุล 12 สกุล ดังนี้.

ใหม่!!: เทือกเขาและวงศ์ย่อยแกะและแพะ · ดูเพิ่มเติม »

สันเขา

ันเขาคือลักษณะทางธรณีวิทยาที่มีลักษณะเป็นภูเขาที่มีจุดสูงสุดยาวเป็นแนวต่อกันเป็นระยะทางหนึ่งโดยสันเขาจะเรียกว่าเนินเขาหรือเทือกเขาก็ขึ้นอยู่กับขนาดของสันเขานั้น ๆ สันเขาใหญ่ๆส่วนมากสามารถทำเป็นเส้นแบ่งเขตแดนทางธรรมชาติและสามารถสร้างหรือกำหนดสภาพอากาศในบริเวณนั้น ๆ ได้อีกด้ว.

ใหม่!!: เทือกเขาและสันเขา · ดูเพิ่มเติม »

อัมเบรลลาคอร์ปอเรชัน

The Umbrella Corporation อัมเบรลลาคอร์ปอเรชัน (Umbrella Corporation) เป็นบริษัท ในเกม และภาพยนตร์ Resident Evil ตามชื่อ ภาษาอังกฤษ (หรือ"Biohazard"" ใน ภาษาญี่ปุ่น)ไม่ใช่เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นแต่ประการใด โดยเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับเมือง Raccoon Cityซึ่งเป็นเมืองสมมุติ โดยเป็นเมืองเล็กๆที่อยู่ตรงรอยต่อระหว่าง สหรัฐ กับ แคนนาดา โดยตามเนื้อเรื่องนั้นปัจจุบันเมืองนี้ได้ถูกลบออกจากแผนที่โลกไปแล้ว (Umbrella Corporation)เป็นบริษัทถูกก่อตั้งเพื่อผลิตเวชภัณฑ์ยา และได้ทำการทดลองด้านการทหารเพือเป็นอาวุธ เชื้อโรคในการโจมตีเพื่อควบโลกโดยการร่วมมือกัน ระหว่าง สหรัฐ และ พันธมิตร ได้มีการวิจัยไวรัสอันตรายเพื่อนำไปเพิ่มความสามารถทางกายจนเกิดการทดลองกับสัตว์ที่กระหายเลือดทำให้ได้รับ ผลดังกล่าวจนเป็นมนุษย์พันธุ์พิเศษ แต่ด้วยความต้องการที่กระหายได้มีการขัดแย้งจนไวรัสนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุ์กรรมของไวรัสจนสามารถเปลี่ยนศพและมนุษย์เป็นปีศาจได้.

ใหม่!!: เทือกเขาและอัมเบรลลาคอร์ปอเรชัน · ดูเพิ่มเติม »

อัลมาส์

อัลมาส์ หรือ อัลมาตี (อังกฤษ: Almas; Almasty, Almasti; บัลแกเรีย: Алмас; เชเชน; Алмазы, ตุรกี: Albıs; มองโกล: Алмас; ภาษามองโกลแปลว่า "คนป่า") สิ่งมีชีวิตลึกลับขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ที่เชื่อว่ามีรูปร่างคล้ายมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ พบตามเทือกเขาและป่าในภูมิภาคเอเชียกลาง รวมถึงไซบีเรีย มีลักษณะคล้าย เยติ ในเทือกเขาหิมาลัย และ บิ๊กฟุต ในทวีปอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: เทือกเขาและอัลมาส์ · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว

อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำปาด ท้องที่ตำบลม่วงเจ็ดต้น ตำบลนาขุม ตำบลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เป็นพื้นที่ที่มีสภาพป่าค่อนข้างสมบูรณ์ปกคลุมไปด้วยป่าธรรมชาติที่สวยงาม เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ยอดสูงสุดของภูสอยดาวสูงจากระดับน้ำทะเล 2,102 เมตร ซึ่งสูงเป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย อุทยานแห่งนี้มีจุดเด่นที่น่าสนใจและเป็นที่ดึงดูดใจของนักท่องเที่ยว ได้แก่ น้ำตกภูสอยดาว เป็นน้ำตก 5 ชั้น และการผจญภัยขึ้นสู่ลานสนสามใบอันสวยงาม มีเนื้อที่กว้างประมาณ 1,000 ไร่ มีความสวยงามมาก มีถนนลาดยาง เข้าถึงพื้นที่ทำให้สะดวกสบายในการเดินทางพักผ่อนหย่อนใจ อุทยานแห่งชาติภูสอยดาวมีเนื้อที่ 125,110 ไร่ หรือ 200.18 ตารางกิโลเมตร.

ใหม่!!: เทือกเขาและอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติสาละวิน

อุทยานแห่งชาติสาละวิน ที่แม่สามแลบ อุทยานแห่งชาติสาละวิน เป็นอุทยานแห่งชาติ มีสภาพป่าไม้สมบูรณ์ ทิวทัศน์และลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงาม ซึ่งแต่เดิมเป็นป่าสงวนแห่งชาติ "ป่าสาละวิน" ตั้งอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในเขตอำเภอสบเมย และ อำเภอแม่สะเรียง มีพื้นทีทั้งหมด 450,950 ไร่ (721.25 ตารางกิโลเมตร) มีพื้นที่ติดชายแดนระหว่างประเทศไทย และ ประเทศพม่า หลังจากรัฐบาลได้ยกเลิกสัมปทานป่าไม้แล้ว ได้ประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติสาละวิน เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537.

ใหม่!!: เทือกเขาและอุทยานแห่งชาติสาละวิน · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว

อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว ตั้งอยู่ในเขตตำบลหนองบอน ตำบลช้างทูน ตำบลบ่อพลอย ตำบลนนทรีย์ และตำบลด่านชุมพล อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ก่อนได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานมีฐานะเป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาสมิง (ป่าคลองใหญ่และป่าเขาไฟไหม้) โดยได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดตร.

ใหม่!!: เทือกเขาและอุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว

อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอชาติตระการ อำเภอนครไทย และอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ครอบคลุมพื้นที่วนอุทยานแก่งเจ็ดแควและวนอุทยานภูแดงร้อน มีพื้นที่ประมาณ 139,915.33 ไร่ หรือ 223.86 ตารางกิโลเมตร อุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแควมีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นทิวเขายาวสลับซับซ้อน มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา และป่าดิบแล้ง.

ใหม่!!: เทือกเขาและอุทยานแห่งชาติแก่งเจ็ดแคว · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเชียงราย

ังหวัดเชียงราย (55px เจียงฮาย; 50px) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีภูมิศาสตร์อยู่ทางเหนือสุดของประเทศ ที่ตั้งของเมืองมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคก่อตั้งอาณาจักรล้านนา เช่น เมืองเงินยาง เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองเชียงรายเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของชาวไทยวน ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายแบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ มีน้ำแม่กก น้ำแม่อิง แม่น้ำรวก และแม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำสายสำคัญ ทำเลที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายอยู่บริเวณรอยต่อระหว่าง 3 ประเทศ คือ ประเทศไทย ประเทศพม่า และประเทศลาว หรือรู้จักกันในนามของดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งอดีตเป็นแหล่งผลิตฝิ่นที่สำคัญของโลก ปัจจุบัน จังหวัดเชียงรายได้รับความสนใจในฐานะประตูสู่พม่า ลาว และจีนตอนใต้ ผ่านทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงเอเชียสาย 3 เมืองเชียงรายมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เป็นที่ตั้งของหิรัญนครเงินยางเชียงแสน ซึ่งเป็นนครหลวงก่อนการกำเนิดอาณาจักรล้านนา มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านศิลปะ ประเพณีวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในรูปแบบล้านนา ไทใหญ่ ไทเขิน และไทลื้อจากสิบสองปันนาผสมผสานกัน.

ใหม่!!: เทือกเขาและจังหวัดเชียงราย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลทรายขาว

right right ทะเลทรายสีขาว (White Sands National Monument) หรือ "ไวท์แซนด์" ตั้งอยู่ในรัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา ครอบคลุมอาณาเขตพื้นที่กว่า 700 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาซาคราเมนโตทางตะวันออก และเทือกเขาซาน อันเดรียส อยู่ระหว่างเทือกเขาทั้งสองทำให้ทะเลทรายสีขาวจึงอยู่ในแอ่งที่ชื่อว่าทูลาโรซา เป็นอนุสรณ์สถานแห่งชาติสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: เทือกเขาและทะเลทรายขาว · ดูเพิ่มเติม »

ทิวเขาผีปันน้ำ

แผนที่แสดงอาณาเขตของทิวเขาผีปันน้ำ ทิวเขาผีปันน้ำ เป็นแนวทิวเขาขนาดใหญ่และสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย เป็นสันปันน้ำที่แบ่งน้ำไหลแยกกันไปสองทาง ทางหนึ่งไปสู่อ่าวเจ้าพระยาอีกทางหนึ่งไปสู่อ่าวแม่โขง เขาย่อย ๆ หลายทิวประกอบขึ้นเป็นทิวเขาผีปันน้ำของแม่น้ำปิง, วัง, ยม และน่าน ซึ่งเป็นแควของแม่น้ำเจ้าพระยา ทิวเขาทั้งทิวครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของตอนกลางของภาคเหนือในทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือ ทางตะวันตกของทิวเขานี้เป็นทิวเขา ซึ่งเรียงตัวกันตามแนวเส้นแวง ยอดเขาที่สำคัญคือ ดอยขุนออน, ดอยผาโจ้, ดอยผีปันน้ำ, ภูชี้ฟ้า และดอยขุนตาล เป็นภูเขาหินแกรนิต ซึ่งตั้งขวางเส้นทางรถไฟสายเหนือ ทำให้ต้องเจาะลอดสันเขาทางใต้ของทิวเขานี้ เป็นอุโมงค์ขุนตาล ในปี..

ใหม่!!: เทือกเขาและทิวเขาผีปันน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ทิวเขาถนนธงชัย

ทิวเขาถนนธงชัย เป็นแนวทิวเขาทางด้านตะวันตกของภาคเหนือ เริ่มจากจุดที่บรรจบกับทิวเขาแดนลาว ทอดตัวเป็นแนวยาวลงมาทางตอนล่างของภาค แบ่งออกเป็น 3 แนว ได้แก.

ใหม่!!: เทือกเขาและทิวเขาถนนธงชัย · ดูเพิ่มเติม »

ทิวเขานครศรีธรรมราช

หลวง นครศรีธรรมราช เขาอกทะลุ จังหวัดพัทลุง เป็นส่วนหนึ่งของทิวเขานครศรีธรรมราช ทิวเขานครศรีธรรมราช มีลักษณะตั้งเป็นแกนกลางของคาบสมุทรไทย (ภาคใต้ตอนกลาง) ทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ โดยเริ่มจากเกาะต่าง ๆ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี คือ เกาะเต่า เกาะนางยวน เกาะพงัน เกาะสมุย เกาะกะเต็น และมีบางส่วน ที่จมลงไปในทะเล เรียกส่วนนี้ว่า ช่องแคบสมุย โดยมาโผล่ขึ้นที่อำเภอดอนสัก เขตจังหวัดสุราษฎร์ธานีและอำเภอขนอม เขตจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดตรัง โดยทิวเขาที่ผ่านเขตจังหวัดพัทลุงและตรัง ถือเป็นที่กั้นเขตแดนระหว่าง 2 จังหวัดนี้ มักเรียกอีกชื่อว่า "ทิวเขาบรรทัด" จากนั้น แนวทิวเขาทอดยาวลงไปยังเขตแดนระหว่างจังหวัดสตูลกับประเทศมาเลเซีย โดยบรรจบกับทิวเขาสันกาลาคีรีที่ภูเขาซีนา จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นเขตแดนธรรมชาติระหว่างไทยกับมาเลเซีย แนวทิวเขานครศรีธรรมราชเป็นทิวเขาที่ใหญ่ที่สุดและยาวที่สุดในภาคใต้ โดยมียอดเขาหลวงซึ่งมีความสูงประมาณ 1,835 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของแนวทิวเขาและสูงที่สุดในเขตภาคใต้ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช เปรียบเสมือนเป็นหลังคาสีเขียวของภาคใต้ เพราะมีสภาพเป็นป่าดงดิบชื้นและป่าดิบเขาที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทยและของโลก.

ใหม่!!: เทือกเขาและทิวเขานครศรีธรรมราช · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรเกาหลี

มุทรเกาหลี (Korean Peninsula) เป็นคาบสมุทรทางตะวันออกของทวีปเอเชีย ทอดตัวลงไปทางทิศใต้สู่มหาสมุทรแปซิฟิก มีความยาวประมาณ 1,000 กิโลเมตร พื้นที่รวมกันได้ 220,847 ตร.

ใหม่!!: เทือกเขาและคาบสมุทรเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

ตำบลน้ำขาว

ตำบลน้ำขาว มักมีชื่อเรียกสั้น ๆ ว่า บ้านน้ำขาว ซึ่งเป็นอีกตำบลหนึ่งที่ตั้งอยู่ใน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ตำบลน้ำขาวเป็นตำบลใหญ่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ มีระบบเครือญาติเป็นห่วงเรียงร้อยต่อกันเป็นลูกโซ่ จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง จากครอบครัวหนึ่งไปสู่อีกครอบครัวหนึ่ง และจากบ้านหนึ่ง ไปสู่อีกบ้านหนึ่ง ทุกคนมีอารมณ์ ความรู้สึกลึก ๆ ที่ใกล้เคียงกัน ทั้งด้านความเชื่อ ความศรัทธา วัฒนธรรม ประเพณี.

ใหม่!!: เทือกเขาและตำบลน้ำขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

้เฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาที่เดียวเท่านั้น ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นปลาที่พบได้ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นแม่น้ำหลักของประเทศอีกลุ่มแม่น้ำหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีการค้นพบปลาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานี้แล้วไม่ต่ำกว่า 350 ชนิด นับเป็นอันดับ 2 รองจากลุ่มแม่น้ำโขงหนังสือปลาไทยคืนถิ่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา กรมประมง มีนาคม..

ใหม่!!: เทือกเขาและปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไวท์คลาวด์

ปลาไวท์คลาวด์ (White cloud mountain minnow; 唐魚; พินอิน: táng yu) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาซิวชนิดหนึ่ง มีลักษณะของลำตัวสีขาวออกเงิน ๆ แวววาว เวลามองจากด้านบนจะเป็นสีเงินอมเขียว กลางลำตัวมีแถบสีทองออกเงินพาดขวางลำตัว ครีบหางมีสีแดงสด ขณะที่ครีบอื่น ๆ จะมีสีเหลืองตรงขอบของครีบ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 4 เซนติเมตร ตัวผู้จะมีสีสดกว่าตัวเมียและลำตัวจะเพรียวกว่า เป็นปลาที่อยู่อาศัยเป็นฝูง พบกระจายพันธุ์อยู่ทางแถบเทือกเขาสูงที่มีอุณหภูมิต่ำ ทางตอนใต้ของจีนติดต่อกับเวียดนาม ค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1930 โดยลูกเสือชาวจีน บนเขาไป๋หยุน ใกล้กับเมืองกวางเจา ในมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งคำว่า "ไป๋หยุน" (白雲) นั้นหมายถึง "เมฆขาว" อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว ปลาจะวางไข่ติดกับใบของพืชน้ำ ไข่ใช้เวลาราว 36 ชั่วโมงในการฟักเป็นตัว ซึ่งปัจจุบัน จากการเพาะขยายพันธุ์สามารถทำให้เลี้ยงได้ในเขตโซนร้อน อีกทั้งยังสามารถให้มีสายพันธุ์ที่แปลกไปจากธรรมชาติ อาทิ สีเผือกทอง หรือที่มีครีบและหางยาวกว่าปกต.

ใหม่!!: เทือกเขาและปลาไวท์คลาวด์ · ดูเพิ่มเติม »

นกตะขาบทุ่ง

นกตะขาบทุ่ง หรือ นกขาบ (Indian roller, Blue jay) เป็นนกประจำถิ่นที่พบในทวีปเอเชีย บริเวณตั้งแต่ประเทศอิรัก อนุทวีปอินเดีย จนถึงคาบสมุทรอินโดจีน พบได้ทั่วไปตามต้นไม้ริมทางหรือสายไฟ ทุ่งนา ป่าโปร่ง ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ฝั่งอันดามัน นกตะขาบทุ่งเป็นนกหนึ่งในสองชนิดของวงศ์นกตะขาบ (Coraciidae) ที่พบในประเทศไทย ซึ่งอีกชนิดคือ นกตะขาบดง (Eurystomus orientalis) นกตะขาบทุ่งมีขนาดใกล้เคียงกับนกพิราบ อาหารคือแมลง สัตว์ตัวเล็ก ๆ หรือกิ้งก่าในบางครั้ง.

ใหม่!!: เทือกเขาและนกตะขาบทุ่ง · ดูเพิ่มเติม »

แชงกรี-ลา

แชงกรี-ลา (Shangri-La) เป็นดินแดนสมมุติที่ปรากฏในนวนิยายเรื่อง Lost Horizon ฉบับภาษาไทยใช้ชื่อว่า "ลับฟ้าปลายฝัน" ของเจมส์ ฮิลตัน นักเขียนชาวอังกฤษ ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1933 ฮิลตันพรรณนาว่าแชงกรี-ลาเป็นดินแดนลึกลับอยู่ในเทือกเขาสูงชันทอดยาว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเทือกเขาคุนลุน ในนวนิยายกล่าวว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นี่ล้วนมีชีวิตยืนยาว มีความสุข อาจกล่าวได้ว่าสถานที่นี้เปรียบเหมือนสวรรค์บนดิน ชื่อ แชงกรี-ลา มาจากภาษาทิเบต ཞང་(Shang) + རི (ri) + ལ (La) มีความหมายว่า "Shang Mountain Pass" (ช่องเขาฉาง) มาจากชื่อจังหวัด Ü-Tsang ทางเหนือของวัดจ๋าสือหลุนปู้ (Tashilhunpo Monastery) ในทิเบต" นักวิชาการจำนวนหนึ่งเชื่อว่า แชงกรี-ลา คือ ศัมภาล นครในตำนานพุทธศาสนาแบบทิเบต.

ใหม่!!: เทือกเขาและแชงกรี-ลา · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำแยงซี

้นทางแม่น้ำแยงซีในประเทศจีน แม่น้ำแยงซี, แยงซีเกียง (Yangtze river) หรือแม่น้ำฉางเจียง เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในทวีปเอเชีย และเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจากแม่น้ำไนล์ในทวีปแอฟริกาและแม่น้ำแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ แม่น้ำแยงซียาว 6,300 กิโลเมตร ต้นน้ำอยู่ที่มณฑลชิงไห่และทิเบต ในทิศตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน และไหลมาทางทิศตะวันออก ออกสู่ทะเลจีนตะวันออก.

ใหม่!!: เทือกเขาและแม่น้ำแยงซี · ดูเพิ่มเติม »

แร้งสีน้ำตาลหิมาลัย

แร้งสีน้ำตาลหิมาลัย (Himalayan griffon vulture) เป็นนกล่าเหยื่อจำพวกอีแร้งขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: เทือกเขาและแร้งสีน้ำตาลหิมาลัย · ดูเพิ่มเติม »

โคเพตดาก

ตดาก (Kopet Dag, Kopet Dagh, Koppeh Dagh; کپه‌داغ, Koppeh Dagh; Köpetdag) หรือ เทือกเขาเติร์กเมน-โคราซาน (Turkmen-Khorasan Mountain Range) เป็นเทือกเขาที่ตั้งอยู่ระหว่างพรมแดนอิหร่าน–เติร์กเมนิสถาน มีความยาวประมาณ 650 กิโลเมตร (400 ไมล์) วางตัวอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลแคสเปียนเรื่อยไปจนถึงแม่น้ำฮารีในอัฟกานิสถาน ยอดเขาที่สูงที่สุดฝั่งเติร์กเมนิสถานอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงอาชกาบัต มีความสูง 2,940 เมตร (9,646 ฟุต) ส่วนฝั่งอิหร่านคือภูเขาคูชาน (Mount Quchan) มีความสูง 3,191 เมตร (10,469 ฟุต) คำว่า "kopet" หรือ "koppeh" ในภาษาเปอร์เซีย แปลว่า "กอง" ส่วนคำว่า "dag" หรือ "dagh" ในภาษาตุรกี แปลว่า "ภูเขา" "Kopet Dagh" หรือ "Koppeh Dagh" จึงมีความหมายว่า "ภูเขาที่เป็นกอง" ในทางธรณีวิทยา โคเพตดากก่อตัวขึ้นในสมัยไพลโอซีนกับสมัยไมโอซีน เกิดจากการชนกันของแผ่นอาระเบียกับแผ่นอิหร่าน ก่อนจะชนกับแผ่นยูเรเชียอีกที หินของเทือกเขาส่วนใหญ่เป็นหินตะกอนยุคครีเทเชียสตอนต้น มีส่วนน้อยมาจากยุคจูแรสซิก เทือกเขาแห่งนี้ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาและเกิดแผ่นดินไหวหลายครั้งที่มีขนาด 7.0 พื้นที่ป่าของเทือกเขาโคเพตดากมีพืชพรรณหลายชนิดที่สำคัญกับมนุษย์ เช่น ทับทิม องุ่น มะเดื่อ แอปเปิล ลูกแพร์ เชอร์รี ลูกพรุน และอัลมอนด์ มีการขุดค้นเมืองนิซา (Nisa) ซึ่งเป็นเมืองโบราณของชาวพาร์เธียใกล้กับกรุงอาชกาบัต ในปัจจุบันมีการเปิดรีสอร์ตสกีที่ฝั่งประเทศเติร์กเมนิสถาน โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่สมัยซาปาร์มูรัต นียาซอฟ (Saparmurat Niyazov) อดีตประธานาธิบดีเติร์กเมนิสถาน.

ใหม่!!: เทือกเขาและโคเพตดาก · ดูเพิ่มเติม »

เบียร์ดดราก้อน

ียร์ดดราก้อน หรือ มังกรเครา (Bearded dragon, Inland bearded dragon, Central bearded dragon) สัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง จำพวกกิ้งก่า ในวงศ์กิ้งก่า (Agamidae) เบียร์ดดราก้อน มีสีลำตัวตามธรรมชาติสีน้ำตาลสลับกับลายสีครีมเข้ม ตามลำตัวจะเต็มไปด้วยเกล็ดและหนามเล็ก ๆ ใช้สำหรับป้องกันตัวจากศัตรูผู้ล่า แต่ไม่อาจทำอันตรายสัตว์อื่นใดก่อนได้ ขนาดเมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวรวมหางประมาณ 16-18 นิ้ว มีจุดเด่นที่ถุงใต้คอซึ่งเป็นหนามแหลม แลดูคล้ายเครา อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ ยิ่งโดยเฉพาะในตัวผู้ในวัยเจริญพันธุ์จะมีถุงนี้เห็นได้ชัดเจน ซึ่งจะแผ่ขยายออกเป็นสีดำเวลาตื่นเต้น ตกใจ ต่อสู้ หรือใช้ในการเกี้ยวพาราสีตัวเมีย กระจายพันธุ์อยู่ในทะเลทราย ที่มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับกับเนินทรายเตี้ย ๆ ในประเทศออสเตรเลีย แถบรัฐควีนส์แลนด์, นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี, นิวเซาท์เวลส์ และวิกตอเรีย โดยหากินและอาศัยอยู่บนพื้นมากกว่าจะปีนป่ายตามก้อนหินหรือต้นไม้ กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น หนอน, แมลง, กิ้งก่าขนาดเล็ก, ผักชนิดต่าง ๆ เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 8-12 เดือน ในช่วงผสมพันธุ์ ตัวผู้อาจจะผสมพันธุ์กับตัวเมียได้หลายตัว อาจถึงหลักสิบ ใช้เวลาตั้งท้องนาน 20-28 วัน เมื่อวางไข่ ตัวเมียจะไม่กินอาหารก่อน 2-4 วัน ซึ่งตัวเมียจะขุดหลุมกับพื้นทราย ก่อนที่จะวางไข่ในหลุมประมาณ 20-30 ฟองต่อครั้ง หลังจากวางไข่เรียบร้อยแล้ว ตัวเมียสามารถตั้งท้องได้อีกโดยที่ไม่ต้องผ่านการผสมพันธุ์อีกราว 2-4 ท้อง โดยทิ้งช่วงระยะเวลาประมาณ 20-28 วัน เท่ากับการตั้งท้อง ไข่เบียร์ดดราก้อนใช้เวลา 55-65 วัน ในการฟักเป็นตัว อุณหภูมิเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดเพศเหมือนเช่นสัตว์เลื้อยคลานอีกหลายประเภท อุปนิสัยและพฤติกรรมของเบียร์ดดราก้อนนั้นในธรรมชาติของเบียร์ดดราก้อนเป็นสัตว์ที่หวงถิ่นที่อยู่มาก เบียร์ดดราก้อนไม่ว่าเพศผู้หรือเพศเมียนั้นเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่อย่างสันโดษในธรรมชาติ เบียร์ดดราก้อนไม่จับคู่อยู่ร่วมกันเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มแต่อย่างใด เบียร์ดดราก้อนนั้นไม่มีความผูกพันธ์ุทางสายเลือดและไม่อาจมีความรู้สึกรักหรือว่ารับรู้ถึงการมีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมสายพันธ์ุได้ การที่ผู้เลี้ยงไม่ศึกษาพฤติกรรมที่ของเบียร์ดดราก้อนให้รอบคอบ อาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บและสูญเสียชีวิตของสัตว์เลี้ยงได้ เบียร์ดดราก้อนเพศผู้นั้นจะเข้าขู่เบียร์ดดราก้อนผู้รุกรานในทันทีที่พบเห็นโดยการฉีดสีไปในส่วนเคราให้เป็นสีดำและการยักหัวขึ้นลงอย่างรุนแรง ก่อนที่เพศผู้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ตัวเล็กกว่าจะโบกมือขึ้นลงอย่างช้าๆแสดงความยอมแพ้และถอยหนี แต่ถ้าหากว่าเพศผู้ทั้งคู่มีความเหี้ยนกระหือรือทั้งคู่ การเข้าขู่และวิ่งไล่กัดกันย่อมเกิดขึ้น ตามมาด้วยความตายหรือบาดเจ็บของทั้งสองฝ่าย เบียร์ดดราก้อนจำนวนไม่น้อยนั้นได้สูญเสียนิ้ว ขา หรือหาง มาจากการต่อสู้ไม่ว่าในวัยเด็กเล็กหรือโตเต็มวัย หรือแย่กว่านั้นอาจทำให้แผลเกิดการติดเชื้อตามมาด้วยการเน่าและถึงแก่ความตายได้ เบียร์ดดราก้อนไม่ควรนำมาเลี้ยงด้วยกันไม่ว่าจะเพศผู้หรือเพศเมีย ช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดที่จะให้มันมาอยู่ร่วมกันคือช่วงการผสมพันธุ์ชั่วคราวเท่านั้น การที่เบียร์ดดราก้อนสองตัวเอาตัวทับกันนั้นไม่ได้เป็นการแสดงออกถึงความรักแต่อย่างใด แต่หากเป็นการแสดงถึงความเป็นใหญ่ในอาณาเขตของตน ตัวที่เป็นใหญ่นั้นจะเอาร่างตัวมันเองบังแสงและความร้อนจากดวงอาทิตย์ทำให้อีกตัวไม่สามารถได้รับแสงได้อย่างเหมาะสม ลักษณะพฤติกรรมแบบนี้ไม่ใช่การแสดงออกทางความรักแต่อย่างใด เนื่องจากเบียร์ดดราก้อนเป็นสัตว์เลือดเย็นไม่สามารถสร้างความร้อนเองได้ อาจส่งผลทำให้ตัวที่ด้อยกว่านั้นส่งผลเสียทางสุขภาพและความเครียดในระยะยาวอาทิ ซึมเศร้า ขาดน้ำและขาดสารอาหาร ซึ่งสามารถทำให้ถึงตายได้ เบียร์ดดราก้อนเป็นสัตว์ที่ไม่ค่อยแสดงออกทางอาการ ไม่ว่าจะเจ็บ หรือป่วย แต่จะตายทันทีเมื่อถึงขีดสุดที่มันจะทนได้ เบียร์ดดราก้อนที่มีอาการเครียดนั้น จะแสดงออกโดยการฉีดสีดำเข้าไปที่ใต้ท้อง มีลักษณะเป็นเส้นลายวงๆ เบียร์ดดราก้อนที่ไม่มีอาการเครียดจะมีท้องลักษณะขาวโพลน ไม่มีเส้นดำ หรือลายใดๆใต้ท้องลำตัว หากมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น ควรที่จะนำเบียร์ดดราก้อนไปในที่ที่มันรู้สึกปลอยภัยเช่นตู้ที่อยู่ของมันในทันที มักจะทำให้อาการเหล่านี้หายไปได้ เบียร์ดดราก้อนเป็นสัตว์ที่ขี้เกียจ ไม่ค่อยชอบเดินและมักจะอยู่เฉยๆตากแดดตลอดวัน เมื่อเบียร์ดดราก้อนรู้สึกร้อน มันจะอ้าปากเพื่อเป็นการคลายความร้อน เนื่องจากเบียร์ดดราก้อนเป็นสัตว์เลื้อยคลาน พวกมันไม่สามารถระบายความร้อนทางเหงื่อได้เฉกเช่นมนุษย์ เบียร์ดดราก้อนที่ตากแดด ควรจะมีที่กำบังขณะตากแดดบ้าง จะทำให้เบียร์ดดราก้อนสามารถเข้าไปหลบแดดได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการช็อกตายโดยความร้อนจัดในเวลากลางวัน เบียร์ดดราก้อนเป็นสัตว์ที่เก็บน้ำในร่างกาย พวกมันกินน้ำน้อยมากต่อวันหรือไม่กินเลย เบียร์ดดราก้อนบางตัวมักไม่ยอมกินน้ำจากถ้วย แต่พวกมันสามารถได้รับน้ำจากอาหารที่กินเช่นผักหรือผลไม้ได้ ลักษณะของเบียร์ดดราก้อนที่แข็งแรงนั้นควรจะหัวเชิดตรง ดวงตาเปิดเป็นวงกลมเต็มที่ ไม่ง่วงซึมช่วงตอนกลางวันแต่อย่างใด เบียร์ดดราก้อน นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง เพราะมีอุปนิสัยไม่ดุร้าย ไม่กัดหรือทำร้ายมนุษย์ โดยสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้ โดยมักจะเป็นตู้ปลาที่ปูพื้นด้วยทรายหรือกรวดแห้ง ๆ เหมือนสภาพที่อยู่ในธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบัน สามารถเพาะเบียร์ดดราก้อนที่มีความยาวถึง 22 นิ้วได้ ซึ่งนับว่ามีความใหญ่กว่าขนาดในธรรมชาติ หรือมีสีต่าง ๆ ผิดไปจากธรรมชาติด้วย เช่น สีแดง, สีเหลืองทั้งตัว หรือหนามบนตัวหายไปหมด หรือแม้แต่ลำตัวโปร่งใสจนมองเห็นอวัยวะต่าง ๆ ภายในได้ลาง ๆ ดวงตามีแต่ส่วนตาดำ ไม่มีตาขาว เป็นต้น.

ใหม่!!: เทือกเขาและเบียร์ดดราก้อน · ดูเพิ่มเติม »

เพียงพอนโคลัมเบีย

ียงพอนโคลัมเบีย (Colombian weasel) เป็นสัตว์ที่อยู่ในวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) ที่หายากมาก พบได้เฉพาะบริเวณ Hulia และ Cauca ในประเทศโคลัมเบีย (Columbia) และทางตอนเหนือของประเทศเอกวาดอร.

ใหม่!!: เทือกเขาและเพียงพอนโคลัมเบีย · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาพิเรนีส

ทือกเขาพิเรนีสตอนกลาง ยอดเขาบูกาเตในเขตสงวนธรรมชาติเนอูวีเยย์ เทือกเขาพิเรนีส (Pyrenees; Pirineus; Pyrénées; Pirineos; Pirinioak) เป็นทิวเขาในยุโรปตะวันตกเฉียงใต้ที่เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศฝรั่งเศสกับประเทศสเปน เทือกเขานี้ยังแบ่งคาบสมุทรไอบีเรียออกจากฝรั่งเศสและมีความยาวประมาณ 430 กิโลเมตร (267 ไมล์) จากมหาสมุทรแอตแลนติก (อ่าวบิสเคย์) จนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (แหลมแกร็วส์) ส่วนใหญ่แล้ว ยอดเขาหลัก ๆ จะเป็นแนวพรมแดนฝรั่งเศส-สเปน ซึ่งมีอันดอร์ราแทรกอยู่ตรงกลาง ข้อยกเว้นหลักของกฎนี้คือ บัลดารันที่เป็นของสเปน แต่ตั้งอยู่ทางลาดเขาด้านเหนือของทิวเขา ส่วนข้อผิดปกติอื่น ๆ ได้แก่ ซาร์ดัญญา และดินแดนส่วนแยกของสเปนที่ชื่อยิบิอ.

ใหม่!!: เทือกเขาและเทือกเขาพิเรนีส · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาภูเก็ต

ทือกเขาภูเก็ต เทือกเขาภูเก็ต เป็นเทือกเขาในคอคอดกระ ประเทศไท.

ใหม่!!: เทือกเขาและเทือกเขาภูเก็ต · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขายูรัล

เทือกเขายูรัล เทือกเขายูรัล (Ural Mountains; Ура́льские го́ры; Урал тауҙары) เป็นเทือกเขายาวต่อเนื่องในแนวทิศเหนือ-ใต้ในประเทศรัสเซียและประเทศคาซัคสถาน เป็นพรมแดนธรรมชาติที่กั้นทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย เทือกเขายูรัลเป็นเทือกเขาที่ประกอบด้วยหินยุคเก่า ซึ่งผ่านกระบวนการกัดกร่อนและการพังทลายมาเป็นเวลานาน ทำให้มีเนินหินเขาเตี้ย มีความสูงประมาณ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ยูรัล ยูรัล ยูรัล ยูรัล.

ใหม่!!: เทือกเขาและเทือกเขายูรัล · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาร็อกกี

เทือกเขาร็อกกี เทือกเขาร็อกกี (Rocky Mountains หรือ Rockies) เป็นเทือกเขาในอเมริกาเหนือ พาดผ่านตั้งแต่บริติชโคลัมเบียในแคนาดา ไปจนถึงรัฐนิวเม็กซิโกในสหรัฐอเมริกา รวมความยาวประมาณ 4,800 กิโลเมตร โดยมียอดเขาที่สูงที่สุดคือ เมาท์เอลเบิร์ต ในรัฐโคโลราโด ซึ่งมีความสูงประมาณ 4,401 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ร็อกกี หมวดหมู่:รัฐนิวเม็กซิโก หมวดหมู่:รัฐโคโลราโด หมวดหมู่:ภูเขาในทวีปอเมริกาเหนือ หมวดหมู่:เทือกเขาร็อกกี.

ใหม่!!: เทือกเขาและเทือกเขาร็อกกี · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาสันกาลาคีรี

ทือกเขาสันกาลาคีรี หรือภาษามลายูเรียกว่า บันจารันตีตีวังซา (Banjaran Titiwangsa, بنجرن تيتيوڠسا) หรือ บันจารันเบอซาร์ (Banjaran Besar) เป็นเทือกเขาที่กั้นพรมแดนประเทศไทยกับประเทศมาเลเซียเกือบตลอดทั้งแนว ทอดตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ โดยเริ่มต้นจากเขตแดนจังหวัดสตูลกับมาเลเซีย ทอดตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างจังหวัดสงขลา จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส กับมาเลเซีย เทือกเขานี้ยังมีแนวเข้าไปในประเทศมาเลเซียด้วย ยอดเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาสันกาลาคีรี คือ กูนุงโกร์บู (Gunung Korbu) อยู่ในเขตรัฐเประก์ของมาเลเซี.

ใหม่!!: เทือกเขาและเทือกเขาสันกาลาคีรี · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาหิมาลัย

วเทียมของเทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาหิมาลัย (Himalaya Range) เป็นเทือกเขาในทวีปเอเชีย ที่แยกอนุทวีปอินเดียทางทิศใต้ ออกจากที่ราบสูงทิเบตทางทิศเหนือ เป็นที่ที่มียอดเขาที่สูงที่สุดในโลก เช่น ยอดเขาเอเวอเรสต์ และยอดเขากันเจนชุงคา (Kanchenjunga) และยังประกอบด้วยยอดเขาที่มีความสูงมากกว่า 7,200 เมตร (23,600 ฟุต) มากกว่าหนึ่งร้อยยอด ในทางศัพทมูลวิทยา คำว่า หิมาลัย มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง "ที่อยู่ของหิมะ" (หิม + อาลย) เป็นจุดกำเนิดของระบบแม่น้ำที่สำคัญของโลกหลายสาย เช่น แอ่งแม่น้ำสินธุ และแอ่งแม่น้ำคงคา-พรหมบุตร แม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำโขง เทือกเขาหิมาลัยทอดยาวพาดผ่านพื้นที่ของ 5 ประเทศ — ปากีสถาน อินเดีย จีน ภูฏาน เนปาล — พื้นที่ลุ่มน้ำของแม่น้ำหิมาลัยเป็นที่อยู่ของผู้คนราว 750 ล้านคน ซึ่งรวมถึงชาวบังคลาเทศ เทือกเขาหิมาลัยหมายรวมถึงเทือกเขาการาโกรัม ฮินดูกูช และเทือกเขาอื่น ๆ ที่เล็กกว่า เมื่อรวมกันแล้วเทือกเขาหิมาลัยเป็นระบบที่สูงที่สุดในโลก และเป็นบ้านของยอดเขาที่สูงที่สุด ซึ่งรวมถึงยอดเขาเอเวอเรสต์และเคทู.

ใหม่!!: เทือกเขาและเทือกเขาหิมาลัย · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาอัลไต

อดเขาเบลูชา แห่งเทือกเขาอัลไต เทือกเขาอัลไต เป็นเทือกเขาในเอเชียกลาง บริเวณพรมแดนร่วมของประเทศรัสเซีย จีน มองโกเลีย และคาซัคสถาน และยังเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำอิร์ทีช (Irtysh) แม่น้ำอ็อบ (Ob) และแม่น้ำเยนิเซ (Yenisei) ด้วย ส่วนปลายทางตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขา อยู่ที่พิกัด 52 องศาเหนือ กับระหว่าง 84 และ 90 องศาตะวันออก (ซึ่งไปจรดกลืนเขากับเทือกเขาสายัน (Sayan Mountains) ทางตะวันออก) และทอดยาวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงพิกัด 45 องศาเหนือ 99 องศาตะวันออก แล้วค่อย ๆ ต่ำลง กลืนเข้ากับที่ราบสูงแห่งทะเลทรายโกบี ชื่อ อัลไท ในภาษาตุรกี สะกด "Alytau" หรือ "Altay" มาจากศัพท์ Al (ทองคำ) และ tau (ภูเขา) ในภาษามองโกเลีย เรียกว่า อัลทาอิน-อูลา หมายถึง เทือกเขาแห่งทองคำ เทือกเขาแห่งนี้ ยังมีชื่อเรียกว่า เอก-ทัค (Ek-tagh), อัลไตแห่งมองโกล (Mongolian Altai) อัลไตใหญ่ (Great Altai) และอัลไตใต้ (Southern Altai) เทือกเขาอัลไตยังเป็นที่รู้จักดีในหมู่นักศึกษาประวัติศาสตร์ภาษาไทย เนื่องจากเคยเชื่อกันว่า เป็นที่ตั้งดั้งเดิมของชาวไทยสมัยโบราณ ก่อนจะอพยพลงมาจนถึงบริเวณประเทศไทยในปัจจุบัน แต่ปัจจุบันนี้ความคิดดังกล่าวไม่ได้รับการสนับสนุนจากนักวิชาการส่วนใหญ่ ทว่ายังมีเนื้อหาเช่นนี้ปรากฏในตำราเรียน หรือหนังสือด้านประวัติศาสตร์อยู่บ้าง.

ใหม่!!: เทือกเขาและเทือกเขาอัลไต · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาทรานส์แอนตาร์กติก

ทือกเขาทรานส์แอนตาร์กติก (Transantarctic Mountains) เป็นเทือกเขาหินตะกอนในทวีปแอนตาร์กติกซึ่งทอดตัวยาวตั้งแต่แหลมอาแดร์ทางเหนือของวิกตอเรียแลนด์ไปจนถึงโคตส์แลนด์ การวางตัวของเทือกเขาได้แบ่งทวีปแอนตาร์กติกเป็น 2 ฝั่งคือฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก เทือกเขานี้ยังรวมกลุ่มภูเขาและเทือกเล็ก ๆ ที่แยกตัวห่างจากกันจำนวนหนึ่ง..

ใหม่!!: เทือกเขาและเทือกเขาทรานส์แอนตาร์กติก · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาแอลป์

ทือกเขาแอลป์ระบบดิจิตอล เทือกเขาแอลป์ในประเทศออสเตรีย เทือกเขาแอลป์ (Alpen; Alpes; Alpi; สโลวีเนีย: Alpe; Alps) เป็นเทือกเขาที่ใหญ่สุดของทวีปยุโรปโดยครอบคลุมตั้งแต่ออสเตรีย, อิตาลี และสโลวีเนียทางด้านตะวันออก ไปจนถึงสวิตเซอร์แลนด์, ลิกเตนสไตน์, เยอรมนี และฝรั่งเศสทางด้านตะวันตก เทือกเขาแอลป์เป็นเทือกเขาอายุน้อย เกิดขึ้นเมื่อแผ่นทวีปแอฟริกามุดใต้แผ่นทวีปยูเรเซีย (อนุทวีปสเปนและอิตาลีชนกับแผ่นดินใหญ่) ภูเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาแอลป์คือ ยอดเขามองต์บลังก์ ที่ความสูง 4,807 เมตร บริเวณชายแดนฝรั่งเศสกับอิตาลี.

ใหม่!!: เทือกเขาและเทือกเขาแอลป์ · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาแอปพาเลเชียน

ทือกเขาแอปพาเลเชียนในรัฐนอร์ทแคโรไลนา เทือกเขาแอปพาเลเชียน (Appalachian Mountains, les Appalaches), เป็นเทือกเขาในทวีปอเมริกาเหนือ วางตัวเมื่อประมาณ 480 ล้านปีก่อนในยุคออร์โดวิเชียร จากทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในอดีต เทือกเขาแอปพาเลเชียนเคยมีความสูงราว ๆ เท่ากับความสูงของเทือกเขาแอลป์และเทือกเขาร็อกกี ภูมิภาคต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเทือกเขาแอปพาเลเชียนมักถูกเรียกว่า แอปพาเลเชีย (Appalachia).

ใหม่!!: เทือกเขาและเทือกเขาแอปพาเลเชียน · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาแอนดีส

ทือกเขาแอนดีสระหว่างชิลีและอาร์เจนตินา right เทือกเขาแอนดีส เป็นเทือกเขาที่วางตัวขนานกับด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ เป็นเทือกเขาที่ยาวที่สุดในโลก พาดผ่าน 7 ประเทศตั้งแต่ เวเนซุเอลา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เปรู โบลิเวีย อาร์เจนตินา และชิลี เทือกเขาเกิดจากแนวรอยปะทะกันของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นปะทะกันเป็นเวลานานหลายล้านปี โดยแผ่นเปลือกโลกอเมริกาใต้กดทับแผ่นเปลือกโลกนาซกา โดยแนวเทือกเขาแอนดิสจะมีความสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปีและมียอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาอากอนกากัว เทือกเขาแอนดิสบริเวณประเทศโบลิเวียมีที่ราบสูงที่ชาวโบลีเวียเรียกว่า อัลติพลาโน (altiplano) หรือที่ราบสูงโบลิเวีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของประเทศโบลิเวียชื่อลาปาซซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากที่สุดในโลก และบริเวณที่ราบสูงโบลิเวียนี้ก็เป็นที่ตั้งของทะเลสาบติติกากาซึ่งตั้งอยู่พรมแดนระหว่างประเทศเปรูกับประเทศโบลิเวีย และได้ชื่อว่าเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากที่สุดในโลกด้วย แนวเขาในเขตประเทศเปรูเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำอเมซอนที่ความยาวเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากแม่น้ำไนล์ บริเวณตอนใต้ของเทือกเขาแอนดิสเป็นที่ราบเชิงเขาอยู่เขตรอยต่อระหว่างประเทศอาร์เจนตินากับประเทศชิลี และเรียกบริเวณนั้นว่าที่ราบสูงปาตาโกเนีย บริเวณเทือกเขาแอนดีนั้นเคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรอินคา และเป็นแหล่งกำเนิดของตัวลาม.

ใหม่!!: เทือกเขาและเทือกเขาแอนดีส · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาแอเพนไนน์

ทือกเขาแอเพนไนน์ เทือกเขาแอเพนไนน์ (Apennines; Appenninus; Appennini) เป็นเทือกเขาซึ่งมีขนาดความยาว 1000 กม. และความกว้างสูงสุดอยู่ที่ 80/140 km จากเหนือจรดใต้ของประเทศอิตาลีตามชายฝั่งทางตะวันออก ชื่อของเทือกเขาสันนิษฐานว่ามาจากรากศัพท์ภาษาละติน "เปนเน" (penne) ซึ่งหมายถึง ขนนก หรือ ขน และยังเป็นรากศัพท์ของคำว่า "pinnacle" (จุดยอด) ในภาษาอังกฤษอีกด้วย ดังนั้นในทางนิรุกติศาสตร์ของเทือกเขาเพนไนน์ในอังกฤษ ชื่อของเทือกเขาเป็นที่มาของชื่อคาบสมุทรแอเพนไนน์ซึ่งเป็นส่วนประกอบใหญ่ของประเทศอิตาลี ภูเขาส่วนใหญ่มีสีเขียวและเต็มไปด้วยป่าเขาลำนาไพร ถึงแม้ว่ายอดสูงสุดของเทือกเขานี้ กอร์โนกรันเด (2,912 ม.) ปกคลุมไปด้วยธารน้ำแข็งที่อยู่ใต้สุดของทวีปยุโรป ส่วนลาดเอียงของเทือกเขาทางตะวันออกของประเทศอิตาลีไปจนถึงทะเลเอเดรียติกลาดชันมาก ขณะที่ส่วนลาดเอียงของเทือกเขาทางตะวันตกทำให้เกิดที่ราบซึ่งเป็นที่ที่เมืองทางประวัติศาสตร์ของอิตาลีส่วนใหญ่ตั้งอยู.

ใหม่!!: เทือกเขาและเทือกเขาแอเพนไนน์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว

อยหลวงเชียงดาว (กลาง) ดอยนาง (ขวา) ทะเลเมฆ ณ ดอยหลวงเชียงดาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 521 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 325,625 ไร่ ครอบคลุมเนื้อที่ของตำบลเมืองแหง ในอำเภอเวียงแหง ตำบลเมืองงาย ตำบลเมืองคอง ตำบลเชียงดาว และตำบลแม่นะ มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน สภาพป่าเป็นป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าสน สลับกับทุ่งหญ้า โดยมีจุดน่าสนใจ คือ ดอยหลวงเชียงดาว ซึ่งเป็นภูเขาหินปูนที่สูงที่สุดในประเทศไทย มีความสูง 2,275 เมตร นับเป็นดอยหรือภูเขาที่มีความสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย รองจากดอยอินทนนท์ และดอยผ้าห่มปก ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2521 ดอยหลวงเชียงดาว เดิมมีชื่อว่า "ดอยเพียงดาว" แต่ผู้ที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นได้เรียกเพี้ยนมาเป็น "เชียงดาว" อย่างในปัจจุบัน และมีชื่อดั้งเดิมว่า "ดอยอ่างสลุง" โดยมีความเชื่อว่าในอดีต สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยเสด็จมาพร้อมพระอรหันต์ 8 รูป ทรงลงสรงน้ำในที่แห่งนี้ ขณะที่ "หลวง" ในภาษาเหนือ หมายถึง "ใหญ่" ดอยหลวงเชียงดาว เป็นเทือกเขาที่มีความยาวติดต่อกันเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาเชียงดาว ซึ่งเป็นส่วนต่อเนื่องกับเทือกเขาถนนธงชัย เกิดจากการกัดเซาะของน้ำทะเลในยุคเพอร์เมียน (250–300 ล้านปีก่อน) ซึ่งลักษณะของหินปูนไม่สามารถรองรับน้ำได้ แต่จะถูกกัดเซาะ จึงกลายมาเป็นเทือกเขาและดอยต่าง ๆ ในบริเวณนี้ ซึ่งเดิมเคยเป็นทะเลมาก่อน ดอยหลวงเชียงดาว มีดอยที่สูงด้วยกันทั้งหมด 3 แห่ง นอกจากดอยหลวงเชียงดาวแล้ว ยังมี "ดอยสามพี่น้อง" และ"ดอยกิ่วลม" อีกซึ่งอยู่ใกล้กัน และถึงแม้ดอยหลวงเชียงดาว จะเป็นยอดดอยที่มีความสูงเช่นเดียวกับดอยอินทนนท์ และดอยผ้าห่มปกแล้ว แม้จะอยู่ในจังหวัดเดียวกัน คือ เชียงใหม่ แต่ทว่าความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตของที่นี่แตกต่างไปโดยสิ้นเชิง โดยจะมีสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นอยู่เป็นจำนวนมาก และพืชพรรณที่หายากหลายชนิด อีกทั้งยังเป็นแหล่งอาศัยของกวางผา สัตว์กีบคู่ประเภทเดียวกับเลียงผา ที่พบเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นในประเทศไท.

ใหม่!!: เทือกเขาและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว · ดูเพิ่มเติม »

Gene flow

ในสาขาพันธุศาสตร์ประชากร gene flow (การไหลของยีน, การโอนยีน) หรือ gene migration เป็นการโอนความแตกต่างของยีน (genetic variation) ของประชากรกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง ถ้าอัตราการโอนยีนสูงพอ กลุ่มประชากรทั้งสองก็จะพิจารณาว่ามีความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic diversity) ที่เหมือนกัน และดังนั้น จึงเท่ากับเป็นกลุ่มเดียวกัน มีการแสดงแล้วว่า ต้องมี "ผู้อพยพหนึ่งหน่วยต่อหนึ่งรุ่น" เป็นอย่างน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มประชากรเบนออกจากกันทางพันธุกรรมเนื่องจากการเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง (genetic drift) กระบวนการนี้เป็นกลไกสำคัญเพื่อโอนความหลากหลายของยีนในระหว่างกลุ่มประชากรต่าง ๆ หน่วยที่ "อพยพ" เข้ามาหรือออกจากกลุ่มประชากรอาจเปลี่ยน ความถี่อัลลีล (allele frequency, สัดส่วนของสมาชิกกลุ่มประชากรที่มีรูปแบบหนึ่งเฉพาะของยีน) ซึ่งก็จะเปลี่ยนการแจกแจงความหลากหลายของยีนระหว่างกลุ่มประชากร "การอพยพ" อาจเพิ่มรูปแบบยีนใหม่ ๆ ให้กับสปีชีส์หรือประชากรกลุ่ม ๆ หนึ่ง อัตราการโอนที่สูงสามารถลดความแตกต่างของยีนระหว่างสองกลุ่มและเพิ่มภาวะเอกพันธุ์ เพราะเหตุนี้ การโอนยีนจึงเชื่อว่าจำกัด การเกิดสปีชีสใหม่ (speciation) เพราะรวมยีนของกลุ่มต่าง ๆ และดังนั้น จึงป้องกันพัฒนาการความแตกต่างที่อาจนำไปสู่การเกิดสปีชีสใหม่ '''gene flow''' ก็คือการโอนอัลลีลจากประชากรกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่งผ่าน "การอพยพ" ของสิ่งมีชีวิตแต่ละหน่วย มีปัจจัยต่าง ๆ ต่ออัตราการโอนยีนข้ามกลุ่มประชากร อัตราคาดว่าจะต่ำในสปีชีส์ที่กระจายแพร่พันธุ์หรือเคลื่อนที่ไปได้ในระดับต่ำ ที่อยู่ในที่อยู่ซึ่งแบ่งออกจากกัน ที่มีกลุ่มประชากรต่าง ๆ อยู่ห่างกัน และมีกลุ่มประชากรเล็ก การเคลื่อนที่ได้มีบทบาทสำคัญต่ออัตราการโอนยีน เพราะสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนที่ได้มีโอกาสอพยพไปที่อื่นสูงกว่า แม้สัตว์มักจะเคลื่อนที่ได้มากกว่าพืช แต่พาหะที่เป็นสัตว์หรือลมก็อาจจะขนละอองเรณูและเมล็ดพืชไปได้ไกล ๆ เหมือนกัน เมื่อระยะแพร่กระจายพันธุ์ลดลง การโอนยีนก็จะถูกขัดขวาง การผสมพันธุ์ในสายพันธุ์ (inbreeding) วัดโดย สัมประสิทธิ์การผสมพันธุ์ในสายพันธุ์ (inbreeding coefficient ตัวย่อ F) ก็จะเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มประชากรบนเกาะจำนวนมากมีอัตราการโอนยีนที่ต่ำ เพราะอยู่ในภูมิภาคแยกต่างหากและมีขนาดประชากรเล็ก ตัวอย่างโดยเฉพาะอย่างหนึ่งก็คือ จิงโจ้สกุล Petrogale lateralis (Black-footed Rock-wallaby) ที่มีกลุ่มซึ่งผสมพันธุ์ภายในสายพันธุ์บนเกาะต่าง ๆ แยกต่างหาก ๆ นอกชายฝั่งของออสเตรเลีย นี่เนื่องจากไปมาหาสู่กันไม่ได้ การโอนยีนจึงเป็นไปไม่ได้ และทำให้ต้องผสมพันธุ์กันในสายพัน.

ใหม่!!: เทือกเขาและGene flow · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ทิวเขา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »