โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เดอะเฮก

ดัชนี เดอะเฮก

อะเฮก หรือ กรุงเฮก (The Hague, Den Haag แด็นฮาค) หรือชื่อทางการภาษาดัตช์คือ สคราเฟินฮาเคอ ('s-Gravenhage) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมืองมีประชากร 500,000 คน (ข้อมูลเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2011) เดอะเฮกเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากกรุงอัมสเตอร์ดัมและรอตเทอร์ดาม ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศ มีอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและการพิมพ์ เป็นที่ตั้งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกซึ่งตั้งอยู่ที่วังสันติสร้างบริจาคโดยมหาเศรษฐีชาวอเมริกัน ชื่อ แอนดรูว์ คาร์เนกี.

136 ความสัมพันธ์: บทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ตึลป์ฟุตบอลทีมชาติเนเธอร์แลนด์พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี (บุญช่วย วณิกกุล)พระราชบัญญัติการเดินเรือพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษพิม ลีเออร์การล่าวาฬในญี่ปุ่นการผังเมืองการประชุมโต๊ะกลมดัตช์–อินโดนีเซียการประกวดเพลงยูโรวิชันการประกวดเพลงยูโรวิชันปี 1976การประกวดเพลงยูโรวิชันปี 1980กุสทัฟ ครุพพ์ ฟอน โบเลิน อุนด์ ฮัลบัคมหาวิทยาลัยไลเดินมาร์ก รึตเตอมาร์ติน โยลมิสไชนิสอินเตอร์เนชั่นแนลมิสเวิลด์ 2014มิสเตอร์อินเตอร์เนชันแนล 2015มิสเตอร์โกลบอล 2017มีนาคม พ.ศ. 2549มีเกล บีลา อูบัชยอร์ดี เบราเวอร์ยัน ฟัน โคเยินยัน ฟัน ไอก์ยัน สเตนยุทธการที่กรุงเฮกยุทธการที่เนเธอร์แลนด์รอยัลดัตช์เชลล์ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์รายชื่อเมืองใหญ่ที่สุดในสหภาพยุโรปเรียงตามจำนวนประชากรรายชื่อเขตการปกครองรายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษลัทธิดราโกวอลเลย์บอลชายหาดชิงแชมป์โลก 2015วอลเลย์บอลเวิลด์ลีก 2017วังสันติวิลเฮลมีเนอแห่งปรัสเซีย สมเด็จพระราชินีแห่งเนเธอร์แลนด์วิทยากร เชียงกูลวีรชัย พลาศรัยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศศาลอาญาระหว่างประเทศศาลอนุญาโตตุลาการถาวรศาลโลกสมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์สมเด็จพระเอกาทศรถสลอบอดัน มีลอเชวิชสหประชาชาติ...สาวใส่ต่างหูมุกสาธารณรัฐดัตช์สำนักงานใหญ่สหประชาชาติสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติอัมสเตอร์ดัมอาณาจักรอยุธยาองค์การชาติและประชาชนที่ไม่มีผู้แทนองค์การระหว่างประเทศองค์การห้ามอาวุธเคมีฮอกกี้ชิงแชมป์โลกฮอกกี้หญิงชิงแชมป์โลกฮอลแลนด์จักรพรรดิโคจงจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ธีรยุทธ บุญมีถนัด คอมันตร์ที่ประชุมแห่งกรุงเฮกว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลของขวัญดัตช์ดิก อัดโฟกาตดนู ฮันตระกูลคริสตียาน เฮยเคินส์คณะผู้แทนทางทูตของประเทศบังกลาเทศคณะผู้แทนทางทูตของประเทศฟิลิปปินส์คณะผู้แทนทางทูตของประเทศกาตาร์คณะผู้แทนทางทูตของประเทศญี่ปุ่นคณะผู้แทนทางทูตของประเทศมาเลเซียคณะผู้แทนทางทูตของประเทศศรีลังกาคณะผู้แทนทางทูตของประเทศสเปนคณะผู้แทนทางทูตของประเทศอาร์มีเนียคณะผู้แทนทางทูตของประเทศอาเซอร์ไบจานคณะผู้แทนทางทูตของประเทศอิรักคณะผู้แทนทางทูตของประเทศอิตาลีคณะผู้แทนทางทูตของประเทศจอร์แดนคณะผู้แทนทางทูตของประเทศจอร์เจียคณะผู้แทนทางทูตของประเทศจีนคณะผู้แทนทางทูตของประเทศคาซัคสถานคณะผู้แทนทางทูตของประเทศคูเวตคณะผู้แทนทางทูตของประเทศซาอุดีอาระเบียคณะผู้แทนทางทูตของประเทศปากีสถานคณะผู้แทนทางทูตของประเทศโอมานคณะผู้แทนทางทูตของประเทศโปรตุเกสคณะผู้แทนทางทูตของประเทศไทยคณะผู้แทนทางทูตของประเทศไซปรัสคณะผู้แทนทางทูตของประเทศเกาหลีใต้คณะผู้แทนทางทูตของประเทศเยเมนคณะผู้แทนทางทูตของประเทศเลบานอนคณะผู้แทนทางทูตของประเทศเวียดนามคณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียคณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรักคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505ติม กรึลตุ๊กตาหิมะซูเมีย อบัลฮาจาประเทศเนเธอร์แลนด์ประเทศเนเธอร์แลนด์ใน ค.ศ. 2015ปีเตอร์ เบลเกอร์นางงามจักรวาล 2008นาซาเรธแร็ม โกลฮาสแฮ็นดริก ดังเกิตส์แฮ็นดริก เตอร์บรึคเคินแฌร์แม็ง กาต็องกาแควาเลียร์ผู้หัวเราะโกนิงส์ดัคโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ทโจเซฟ โคนีโซฟีแห่งฮันโนเฟอร์ไคด์ออฟบลูเชาวน์วัศ สุดลาภาเวิลด์เกมส์เอเรอดีวีซีเอเซยัส ฟัน เดอแฟ็ลเดอเจ้าชายแบร์นฮาร์ดแห่งลิพเพอ-บีสเตอร์เฟลด์เจ้าหญิงอะเลกซียาแห่งเนเธอร์แลนด์เจ้าหญิงอันเนตต์แห่งออเรนจ์-นัสเซา ฟัน โฟลเลินโฮเฟินเจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์เดลฟท์เคราร์ด ฟัน โฮนต์ฮอสต์เคานต์เคลาส์-คาร์ซีมีร์แห่งออเรนจ์-นัสเซาเคาน์ตีฮอลแลนด์เคาน์เตสอิโลอีสแห่งออเรนจ์-นัสเซาเคาน์เตสเลโอนอร์แห่งออเรนจ์-นัสเซาเตโอ ยันเซินเนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขยายดัชนี (86 มากกว่า) »

บทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ตึลป์

ทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์นีโกลาส ตึลป์ (De anatomische les van Dr.; The Anatomy Lesson of Dr.) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยแร็มบรันต์ จิตรกรชาวดัตช์ในยุคทองของเนเธอร์แลนด์ ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่เมาริตส์เฮยส์ (Mauritshuis) เดอะเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ แร็มบรันต์เขียนภาพ "บทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ตึลป์" เสร็จในปี ค.ศ. 1632 นายแพทย์นีโกลาส ตึลป์ (Nicolaes Tulp) ในภาพกำลังอธิบายระบบกล้ามเนื้อของแขนแก่นักศึกษาแพทย์ ศพในภาพเป็นของอาชญากรอาริส กินต์ (Aris Kindt) ที่เสียชีวิตโดยการถูกลงโทษโดยการแขวนคอในเช้าวันเดียวกันด้วยข้อหาลักทรัพย์ ผู้สังเกตการณ์เป็นนายแพทย์ที่ต้องจ่ายเงินเพื่อจะปรากฏในภาพเขียน การชำแหละเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1632 สมาคมศัลยแพทย์แห่งอัมสเตอร์ดัมที่นายแพทย์ตึลป์เป็นผู้เชี่ยวชาญกายวิภาคศาสตร์ประจำเมืองอนุญาตให้ทำการชำแหละ (dissection) ได้เพียงปีละครั้ง และร่างที่ใช้ในการชำแหละต้องมาจากอาชญากรผู้ถูกสังหารเท่านั้น บทเรียนกายวิภาคศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 จัดกันในห้องบรรยายที่เป็นโรงละครจริง ๆ โดยมีผู้เข้าร่วมที่เป็นนักศึกษา ผู้ร่วมวิชาชีพ และสาธารณชนที่ต้องจ่ายค่าเข้าชม ผู้ที่เข้ามาสังเกตการณ์จะแต่งตัวให้เหมาะสมอย่างการเข้าร่วมพิธีการของสังคม เชื่อกันว่านอกไปจากบุคคลที่อยู่ข้างหลังและบุคคลทางด้านซ้ายมาเพิ่มในภายหลัง บุคคลหนึ่งที่ขาดจากภาพนี้คือผู้เตรียมศพที่มีหน้าที่เตรียมร่างสำหรับการชำแหละ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 นักวิทยาศาสตร์ที่มีความสำคัญเช่นนายแพทย์ตึลป์จะไม่ทำหน้าที่ที่ถือว่าเป็นหน้าที่ย่อย ๆ เช่นการชำแหละ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้อื่น ฉะนั้นเราจึงไม่เห็นภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการชำแหละในภาพนี้ แต่จะมีภาพของตำรากายวิภาคศาสตร์เปิดอยู่ตรงมุมล่างขวาของภาพ ที่อาจจะเป็นตำรา "โครงสร้างของร่างกายมนุษย์" (De humani corporis fabrica) ที่พิมพ์ในปี..

ใหม่!!: เดอะเฮกและบทเรียนกายวิภาคของนายแพทย์ตึลป์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟุตบอลทีมชาติเนเธอร์แลนด์

ทีมที่ได้รองแชมป์โลก 1974 โดยแพ้ให้กับเยอรมันตะวันตก 1-2 ในรอบชิงชนะเลิศ ทีมที่ได้แชมป์ยูโร 1988 ฟุตบอลทีมชาติเนเธอร์แลนด์ (Nederlands voetbalelftal) เป็นทีมฟุตบอลประจำประเทศเนเธอร์แลนด์ภายใต้ราชสมาคมฟุตบอลเนเธอร์แลนด์ มีฉายาในภาษาไทยว่า "อัศวินสีส้ม" ทีมชาติเนเธอร์แลนด์มีผลงานสูงสุดในฟุตบอลโลกคือ ได้รองชนะเลิศ 3 ครั้งในฟุตบอลโลก 1974, ฟุตบอลโลก 1978 และฟุตบอลโลก 2010 และชนะเลิศฟุตบอลยูโร 1 ครั้งในฟุตบอลยูโร 1988 ได้เหรียญทองแดง 3 ครั้งในกีฬาโอลิมปิก ปี..

ใหม่!!: เดอะเฮกและฟุตบอลทีมชาติเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี (บุญช่วย วณิกกุล)

ระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี มีนามเดิมว่า บุญช่วย วณิกกุล (15 มิถุนายน พ.ศ. 2432 - 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492) อดีตองคมนตรีในรัชกาลที่ 7 อดีตเสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และอดีตประธานศาลฎีก.

ใหม่!!: เดอะเฮกและพระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี (บุญช่วย วณิกกุล) · ดูเพิ่มเติม »

พระราชบัญญัติการเดินเรือ

ระราชบัญญัติการเดินเรือของอังกฤษ เป็นชุดกฎหมายซึ่งมีผลจำกัดการใช้เรือต่างประเทศสำหรับการค้าระหว่างราชอาณาจักรอังกฤษ (หลังจาก ค.ศ. 1707 คือ ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่) และอาณานิคมของอังกฤษ โดยเริ่มตั้งแต..

ใหม่!!: เดอะเฮกและพระราชบัญญัติการเดินเรือ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (Charles II of England; 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685) พระมหากษัตริย์อังกฤษ พระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ และพระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์ ในราชวงศ์สจวต ระหว่างปี ค.ศ. 1660 ถึงปี ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 พระราชสมภพเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 ที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในกรุงลอนดอน เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ได้อภิเษกสมรสกับพระนางแคเธอริน และครองสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 ถึงวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 และ อังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ที่พระราชวังไวท์ฮอลในกรุงลอนดอน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์ตามกฎหมายหลังจากพระราชบิดาพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ถูกประหารชีวิตที่พระราชวังไวต์ฮอลเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 แต่รัฐสภาอังกฤษมิได้ประกาศแต่งตั้งให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์และผ่านบัญญัติว่าเป็นการดำรงตำแหน่งของพระองค์เป็นการผิดกฎหมาย จึงเกิดช่วงว่างระหว่างรัชกาลในอังกฤษ แต่ทางรัฐสภาสกอตแลนด์ประกาศให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ของชาวสกอตเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649 ที่เอดินบะระ และรับพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1651 หลังจากที่พ่ายแพ้ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็เสด็จหนีไปยุโรปภาคพื้นทวีปและไปประทับลี้ภัยเป็นเวลา 9 ปีในประเทศฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ของสเปน หลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐภายใต้การนำของริชาร์ด ครอมเวลล์ล่มในปี ค.ศ. 1659 นายพลจอร์จ มองค์ก็อัญเชิญชาลส์ให้กลับมาเป็นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษในสมัยที่เรียกกันว่า “การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ” พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เสด็จกลับถึงอังกฤษเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และเสด็จเข้าลอนดอนในวันประสูติครบ 30 พรรษาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และทรงได้รับการราชาภิเศกเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษและ ไอร์แลนด์เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1660 รัฐสภาภายใต้การนำของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ออกพระราชบัญญัติต่อต้านพิวริตันที่รู้จักกันในชื่อ “ประมวลกฎหมายแคลเรนดัน” (Clarendon code) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหนุนสถานะของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แม้ว่าในทางส่วนพระองค์แล้วพระเจ้าชาลส์ที่ 2 จะทรงสนับสนุนนโยบายความมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาก็ตาม ส่วนปัญหาใหญ่ในด้านการต่างประเทศในต้นรัชสมัยก็คือการสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1670 พระเจ้าชาลส์ทรงไปทำสัญญาลับกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสที่ระบุว่าฝรั่งเศสจะช่วยอังกฤษในสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สาม และจะถวายเงินบำนาญแก่พระองค์โดยมีข้อแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าชาลส์ต้องสัญญาว่าจะเปลื่ยนจากการนับถือนิกายแองกลิคันไปเป็นการนับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่พระเจ้าชาลส์มิได้ทรงระบุเวลาที่แน่นอนในเรื่องการเปลี่ยนนิกาย แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงพยายามเพิ่มสิทธิและเสรีภาพให้แก่ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ต่าง ๆ มากขึ้นโดยการออกพระราชปฏิญญาพระคุณการุญในปี ค.ศ. 1672 แต่รัฐสภาบังคับให้ทรงถอนในปี ค.ศ. 1679 ในปี ค.ศ. 1679 ไททัส โอตส์สร้างข่าวลือเรื่อง “การลอบวางแผนโพพิช” ที่เป็นผลให้เกิดวิกฤตกาลการกีดกัดต่อมา เมื่อเป็นที่ทราบกันว่าดยุกแห่งยอร์กพระอนุชาของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และรัชทายาทผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2เปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้บ้านเมืองแบ่งเป็นสองฝักสองฝ่าย ฝ่ายวิกสนับสนุนการยกเว้นไม่ให้ดยุกแห่งยอร์กขึ้นครองราชย์และฝ่ายทอรีต่อต้านการยกเว้น พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเข้าข้างฝ่ายหลัง หลังจากที่ผู้ก่อการโปรเตสแตนต์วางแผน “การลอบวางแผนไรย์เฮาส์” ที่จะปลงพระองค์เองและดยุกแห่งยอร์กในปี ค.ศ. 1683 ที่ทำให้ผู้นำพรรควิกหลายคนถูกประหารชีวิตหรือถูกเนรเทศ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 จึงทรงยุบสภาในปี ค.ศ. 1679 และทรงราชย์โดยไม่มีรัฐสภาจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ก่อนจะเสด็จสวรรคตพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็ทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิกบนพระแท่นที่ประชวร พระเจ้าชาลส์ไม่มีพระราชโอรสธิดากับพระนางแคเธอรินแห่งบราแกนซา เพราะพระนางทรงเป็นหมัน แต่ทรงยอมรับว่ามีพระราชโอรสธิดานอกสมรส 12 องค์กับพระสนมหลายคน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนาม “ราชาเจ้าสำราญ” (Merrie Monarch) ซึ่งหมายถึงการใช้ชีวิตในราชสำนักของพระองค์ที่เต็มไปด้วยความสนุกสำราญซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการที่ถูกเก็บกดมาเป็นเวลานานภายใต้การปกครองของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์และกลุ่มพิวริตัน.

ใหม่!!: เดอะเฮกและพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พิม ลีเออร์

อัลเบรชท์ วิลเลิม พิม ลีเออร์ เป็นทนายความชาวดัต.

ใหม่!!: เดอะเฮกและพิม ลีเออร์ · ดูเพิ่มเติม »

การล่าวาฬในญี่ปุ่น

นิชชิงมะรุ (Nisshin Maru) ออสเตรเลียเผยแพร่ภายนี้เพื่อคัดค้านญี่ปุ่น การล่าวาฬในญี่ปุ่น (whaling in Japan) หมายถึงกรณีที่ไม่ได้เป็นไปเพื่ออุตสาหกรรม มีขึ้นในศตวรรษที่ 12 ส่วนการล่าวาฬญี่ปุ่น (Japanese whaling) หมายถึงกรณีที่เป็นไปเพื่ออุตสาหกรรม มีขึ้นตั้งแต่ทศวรรษที่ 1890 ในสมัยนั้นมีหลายชาติเข้าร่วม และปัจจุบันเกิดขึ้นแม้กระทั่งนอกเหนือน่านน้ำญี่ปุ่น ในศตวรรษที่ 20 ญี่ปุ่นล่าวาฬเพื่อการค้าอย่างมาก จนคณะกรรมการการล่าวาฬระหว่างประเทศ (International Whaling Commission) ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาระหว่างประเทศเพื่อควบคุมการล่าวาฬ (International Convention for the Regulation of Whaling) ต้องสั่งระงับตั้งแต่ปี 1986 อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นยังคงล่าวาฬต่อไปโดยอาศัยข้อบทแห่งความตกลงระหว่างประเทศที่เปิดให้กระทำได้เพื่อการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และได้จัดตั้งสถาบันวิจัยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล (Institute of Cetacean Research) ขึ้นเพื่อรับผิดชอบการล่าวาฬ แต่เนื้อของวาฬที่ล่ามาเพื่อวิทยาศาสตร์นั้นกลับนำออกขายตามภัตตาคารร้านรวงทั่วไป แม้การกระทำดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎเกณฑ์ของคณะกรรมการการล่าวาฬระหว่างประเทศ แต่กรรมการส่วนใหญ่คัดค้าน การล่าวาฬนี้ยังก่อให้เกิดความบาดหมางระหว่างประเทศและองค์การที่สนับสนุนและต่อต้านการล่าวาฬ บรรดาประเทศ องค์การ และนักวิทยาศาสตร์ที่คัดค้านการล่าวาฬมองว่า โครงการวิจัยของญี่ปุ่นนั้นไม่จำเป็นแม้แต่น้อย ทั้งปฏิบัติการล่าวาฬของญี่ปุ่นที่แฝงความมุ่งหมายทางการค้าเอาไว้นั้นยังเลวร้ายอย่างถึงที่สุด ฝ่ายญี่ปุ่นยืนยันว่า การล่าวาฬทุกปีนั้นจำเป็นเพื่อการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และการบริหารจำนวนวาฬ ญี่ปุ่นยังโต้แย้งว่า การคัดค้านการล่าวาฬนั้นมีเหตุผลเป็นเพียงความแตกต่างทางวัฒนธรรมและความรู้สึกนึกคิด วันที่ 31 พฤษภาคม 2010 ประเทศออสเตรเลียฟ้องญี่ปุ่นต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ต่อมาวันที่ 31 มีนาคม 2014 ศาลพิพากษาว่า การที่ญี่ปุ่นล่าวาฬในมหาสมุทรใต้นั้นไม่ได้เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ทางวิทยาศาสตร์ และสั่งให้เลิกโดยพลัน ญี่ปุ่นแถลงว่า จะปฏิบัติตามคำพิพากษ.

ใหม่!!: เดอะเฮกและการล่าวาฬในญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

การผังเมือง

การผังเมือง หรือ การวางแผนชุมชนเมือง (Urban planning) เป็นศาสตร์หนึ่ง เกี่ยวข้องกับสหสาขาวิชา เช่น การวางแผน กฎหมาย สถาปัตยกรรม สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อม วิศวกรรมจราจร เพื่อเป็นการกำหนดนโยบาย กฎหมาย เกณฑ์ ระเบียบ การจัดวางผังและแผนการใช้พื้นที่ของเมือง ชุมชน โครงข่ายการจราจร ผู้จัดทำผังเมือง เรียกว่า นักผังเมือง การวางผังเมืองมีหลายระดับ ตั้งแต่ ผังชุมชน ผังเมืองเฉพาะ ผังเมืองรวม ผังภาค จนถึงผังประเทศ โดยมีความละเอียดของการวางแผนที่ต่างกัน จากการออกแบบกายภาพ การใช้ที่ดิน(กำหนดโดยการใช้สี เช่น สีแดง หมายถึงย่านพานิชยกรรม สีเหลือง หมายถึงที่พักอาศัยหนาแน่นน้อย เป็นต้น) ความหนาแน่น โครงข่าย/ระบบจราจรและขนส่ง หรือพื้นที่สีเขียว/สวนสาธารณะ มักมีประกาศกฎเกณฑ์ประกอบแผนในรูปกฎหมายประกอบอยู่ด้วย ในประเทศไทยหน่วยงานของรัฐฯที่เป็นองค์กรหลักในการจัดทำผังเมืองคือ กรมโยธาธิการและผังเมือง ส่วนกรุงเทพมหานครได้รับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น กำหนดให้มีหน่วยงานที่ดูแลจัดทำผังเมืองของตนเอง คือ สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร ได้มีการกำหนดให้วันที่ 8 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น "วันผังเมืองโลก" (World Town Planning Day) โดยมีองค์กรหลักที่เกี่ยวข้องคือ The International Society of City and Regional Planners (IsoCaRP) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ และ The America Institute of Certified Planners (AICP) เป็นศูนย์กลางด้านวิชาการวางผังเมืองนานาชาต.

ใหม่!!: เดอะเฮกและการผังเมือง · ดูเพิ่มเติม »

การประชุมโต๊ะกลมดัตช์–อินโดนีเซีย

การประชุมโต๊ะกลมดัตช์-อินโดนีเซีย จัดขึ้นในกรุงเฮกระหว่างวันที่ 23 สิงหาคม ถึง 2 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: เดอะเฮกและการประชุมโต๊ะกลมดัตช์–อินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

การประกวดเพลงยูโรวิชัน

การประกวดเพลงชิงชนะเลิศแห่งยุโรป หรือเรียกโดยทั่วไปว่า การประกวดเพลงยูโรวิชัน คือการประกวดเพลงประจำปี ในกลุ่มประเทศที่เป็นสมาชิก สหภาพการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งยุโรป (European Broadcasting Union: EBU) โดยประเทศที่ร่วมเข้าแข่งขันจะเลือกเพลงและนักร้อง ประเทศละหนึ่งชุดโดยใช้ผู้แสดงไม่เกินหกคน ที่จะแสดงสดทางโทรทัศน์ โดยเพลงที่เข้าประกวดต้องเป็นเพลงที่แต่งขึ้นมาใหม่ทั้งเนื้อร้องและทำนอง คณะกรรมการคือประชาชนในประเทศสมาชิก EBU ซึ่งอาจรวมไปถึงประเทศอิสราเอล โมร็อกโกและออสเตรเลีย แต่ไม่รวมลิกเตนสไตน์ โดยแต่ละประเทศจะใช้คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นและการโหวตจากผู้ชมทางโทรศัพท์ ซึ่งแต่ละประเทศไม่มีสิทธิตัดสินหรือโหวตให้กับประเทศของตัวเอง ทุกประเทศจะได้มีคะแนนเท่ากันโดยไม่คำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ด้วยเหตุนั้นประเทศรัสเซียจึงมีคะแนนเท่ากับโมนาโก โดยประเทศที่ได้คะแนนมากที่สุดสองอันดับแรกจะได้คะแนน 12 และ 10 คะแนน ส่วนอันดับสามถึงสิบจะได้คะแนนตั้งแต่ 8 จนถึง 1 คะแนน มีผู้ชนะเพียงอันดับเดียว (ยกเว้นปี 1969 ที่มีผู้ชนะถึง 4 ประเทศ ได้แก่ สเปน สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส) เท่านั้น (หากเกิดกรณีที่มีประเทศที่มีคะแนนสูงสุดเท่ากัน จะตัดสินที่จำนวนคะแนนที่ได้ เรียงจากคะแนนสูงสุดที่ได้รับไปยังคะแนนต่ำสุด หากยังเท่ากันอีก ประเทศที่มีลำดับการแสดงก่อนจะเป็นผู้ชนะ) ประเทศของผู้ชนะจะได้รับโล่หรือเหรียญรางวัล และเป็นเจ้าภาพจัดการประกวดปีต่อไป โดยประเทศเจ้าภาพกับสี่ประเทศที่ออกค่าใช้จ่ายให้กับทาง EBU มากที่สุด ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี และสเปน จะสามารถส่งทีมเข้าประกวดในรอบชิงชนะเลิศได้โดยอัตโนมัติ (ภายหลังได้เพิ่มอิตาลีเข้าไปด้วย ส่วนออสเตรเลียได้รับสิทธิ์เข้ารอบชิงชนะเลิศโดยอัตโนมัติเป็นกรณีพิเศษในปี 2015 ในโอกาสครบรอบ 60 ปีการประกวด) ส่วนประเทศที่เหลือทั้งหมดต้องเข้าประกวดรอบคัดเลือก ซึ่งมีสองวันและคัดประเทศเข้ารอบชิงชนะเลิศวันละสิบประเทศ ทำให้รอบชิงชนะเลิศมีประเทศเข้าประกวดทั้งหมด 25 ประเทศ ผู้ชนะเลิศจากปี 2006 จากฟินแลนด์ วงลอร์ดิ การประกวดเริ่มมีการออกอากาศทุกปีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1956 ถือเป็นรายการโทรทัศน์ที่มีต่อเนื่องยาวที่สุดในโลก และมีผู้ชมที่ไม่ใช่การแข่งขันกีฬามากที่สุด โดยมีผู้ชมระหว่าง 100 ล้าน - 600 ล้านคน ออกอากาศทั่วทั้งยุโรป และยังแพร่ภาพใน ออสเตรเลีย แคนาดา อียิปต์ ฮ่องกง อินเดีย จอร์แดน เกาหลี นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้ และ สหรัฐอเมริกา ถึงแม้ประเทศเหล่านี้จะไม่ได้ร่วมแข่งขันก็ตาม ตั้งแต่ปี 2000 การแข่งขันได้มีการแพร่ภาพทางอินเทอร์เน็ต และในปี 2015 สหภาพฯ ได้เปิดช่องทางการถ่ายทอดสดผ่านยูทูบ ประเภทของเพลงในการแข่งขันมีความหลากหลายแนว ไม่ว่าจะเป็น อาหรับ, ดนตรีเคลติก, แดนซ์, โฟล์ก, ละติน, นอร์ดิก, ป็อป-แร็ป, ร็อก และอื่นๆ ศิลปินดังที่ชนะเลิศจากรายการนี้ เช่น เซลีน ดิออน (สวิสเซอร์แลนด์) ปี 1988, แอ็บบ้า (สวีเดน) ปี 1974, ดานา อินเตอร์เนชันแนล (อิสราเอล) ปี 1998, ลอร์ดิ (ฟินแลนด์) ปี 2006, มาริยา เชริโฟวิช (Marija Šerifović) จากประเทศเซอร์เบีย ปี 2007, ดิมา บิลาน (Dima Bilan) จากรัสเซีย ปี 2008 และ อเล็กซานเดอร์ รืยบัค (Alexander Rybak) จากนอร์เวย์ ปี 2009 และเลนา เมเยอร์-ลันดรุท (Lena Meyer-Landrut) จากเยอรมนี ปี 2010 และเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2005 ได้มีการจัดฉลองพิเศษครบรอบ 50 ปี ทางสหภาพการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งยุโรป ก็ได้คัดเลือกเพลงดังในแต่ละทศวรรษ มาจัดโชว์แข่งขันกัน โดยเพลงที่ชนะคือเพลง Waterloo ขับร้องโดยวง Abba ตัวแทนจากสวีเดนในปี 1974.

ใหม่!!: เดอะเฮกและการประกวดเพลงยูโรวิชัน · ดูเพิ่มเติม »

การประกวดเพลงยูโรวิชันปี 1976

การประกวดเพลงยูโรวิชันปี 1976 เป็นการประกวดร้องเพลงโดยจัดขึ้นที่เมืองเดอะเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ จัดขึ้นโดยสหภาพการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งยุโรป โดยมีเพลงที่เข้าประกวด 18 เพลง 18 ประเทศ โดยเพลงที่ชนะคือ Save Your Kisses for Me ขับร้องโดย Brotherhood of Man ตัวแทนจากสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: เดอะเฮกและการประกวดเพลงยูโรวิชันปี 1976 · ดูเพิ่มเติม »

การประกวดเพลงยูโรวิชันปี 1980

การประกวดเพลงยูโรวิชันปี 1980 เป็นการประกวดร้องเพลงโดยจัดขึ้นที่เมืองเดอะเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ จัดขึ้นโดยสหภาพการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งยุโรป โดยมีเพลงที่เข้าประกวด 19 เพลง 19 ประเทศ โดยเพลงที่ชนะคือ What's Another Year ขับร้องโดย Johnny Logan ตัวแทนจากไอร์แลน.

ใหม่!!: เดอะเฮกและการประกวดเพลงยูโรวิชันปี 1980 · ดูเพิ่มเติม »

กุสทัฟ ครุพพ์ ฟอน โบเลิน อุนด์ ฮัลบัค

กุสทัฟ ครุพพ์ ฟอน โบเลิน อุนด์ ฮัลบัค (Gustav Krupp von Bohlen und Halbach) เป็นผู้ดำเนินการกลุ่มอุตสาหกรรมหนักเยอรมัน เอจี ครุพพ์ ฟรีดริซ ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: เดอะเฮกและกุสทัฟ ครุพพ์ ฟอน โบเลิน อุนด์ ฮัลบัค · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยไลเดิน

มหาวิทยาลัยไลเดิน (Leiden University ย่อว่า LEI; Universiteit Leiden) ตั้งอยู่ที่เมืองไลเดิน เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศเนเธอร์แลนด์ มหาวิทยาลัยก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: เดอะเฮกและมหาวิทยาลัยไลเดิน · ดูเพิ่มเติม »

มาร์ก รึตเตอ

มาร์ก รึตเตอ (Mark Rutte) เกิดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งเนเธอร์แลนด์ หลังจากชนะการเลือกตั้งทั่วไปสมัยแรกเมื่อปี พ.ศ. 2553 และสมัยที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2555 และหัวหน้าพรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยคนปัจจุบัน.

ใหม่!!: เดอะเฮกและมาร์ก รึตเตอ · ดูเพิ่มเติม »

มาร์ติน โยล

มาร์เติน "มาร์ติน" กอร์เนลิส โยล (Maarten "Martin" Cornelis Jol) เป็นอดีตนักฟุตบอลและผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวดัตช์ เกิดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1956 ที่เมืองเดอะเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ โยลเคยเป็นนักฟุตบอลของบาเยิร์นมิวนิกระหว่างปี..

ใหม่!!: เดอะเฮกและมาร์ติน โยล · ดูเพิ่มเติม »

มิสไชนิสอินเตอร์เนชั่นแนล

มิสไชนิสอินเตอร์เนชั่นแนล (國際中華小姐競選; Miss Chinese International Pageant; ตัวย่อ: MCIP, 華姐) เป็นการประกวดเพื่อเฟ้นหาสาวงามที่มีเชื้อสายจีนทั่วโลกเพื่อเป็นตัวแทนประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว โดยการประกวดมิสไชนิสอินเตอร์เนชั่นแนลนั้นมีผู้สนับสนุนหลักคือสถานีโทรทัศน์ TVB ของประเทศฮ่องกง ซึ่งเป็นผู้จัดการในเรื่องการแพร่สัญญาณถ่ายทอดการประกวด และกิจกรรมต่างๆ ของผู้เข้าประกว.

ใหม่!!: เดอะเฮกและมิสไชนิสอินเตอร์เนชั่นแนล · ดูเพิ่มเติม »

มิสเวิลด์ 2014

มิสเวิลด์ 2014, การประกวดมิสเวิลด์ ครั้งที่ 64 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม..

ใหม่!!: เดอะเฮกและมิสเวิลด์ 2014 · ดูเพิ่มเติม »

มิสเตอร์อินเตอร์เนชันแนล 2015

นายแบบนานาชาติ 2015 (Mister International 2015) เป็นการจัดการประกวดมิสเตอร์อินเตอร์เนชันแนล ครั้งที่ 10 จัดขึ้นวันที่ 30 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: เดอะเฮกและมิสเตอร์อินเตอร์เนชันแนล 2015 · ดูเพิ่มเติม »

มิสเตอร์โกลบอล 2017

มิสเตอร์โกลบอล 2017 (Mister Global 2017) เป็นการประกวดมิสเตอร์โกลบอลครั้งที่ 4 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม..

ใหม่!!: เดอะเฮกและมิสเตอร์โกลบอล 2017 · ดูเพิ่มเติม »

มีนาคม พ.ศ. 2549

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: เดอะเฮกและมีนาคม พ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

มีเกล บีลา อูบัช

มีเกล บีลา อูบัช (Miguel Vila Ubach; ค.ศ. 1972 —) เป็นนักกีฬาขี่ม้าชาวสเปน เขาชนะรางวัลเหรียญทองจากการแข่งกีฬาขี่ม้ามาราธอนชิงแชมป์โลก 2006 ประเภทบุคคล ที่อาเคิน ประเทศเยอรมนี ใน..

ใหม่!!: เดอะเฮกและมีเกล บีลา อูบัช · ดูเพิ่มเติม »

ยอร์ดี เบราเวอร์

อร์ดี เบราเวอร์ (Jordy Brouwer) เกิดเมื่อวันที่ 26 กุมภาพัน..

ใหม่!!: เดอะเฮกและยอร์ดี เบราเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยัน ฟัน โคเยิน

ัน โยเซฟส์โซน ฟัน โคเยิน (Jan Josephszoon van Goyen; 13 มกราคม ค.ศ. 1596 - 27 เมษายน ค.ศ. 1656) เป็นจิตรกรชาวดัตช์คนสำคัญของยุคทองของเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ยัน ฟัน โคเยินมีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมภูมิทัศน์ โดยมีผลงานเป็นจำนวนมาก เท่าที่ทราบเป็นจำนวนถึงราวพันสองร้อ.

ใหม่!!: เดอะเฮกและยัน ฟัน โคเยิน · ดูเพิ่มเติม »

ยัน ฟัน ไอก์

หมือนของชายโพกหัวแดง" อาจจะเป็นภาพเหมือนตนเองของฟัน ไอก์ ที่เขียนเมื่อ ค.ศ. 1433 ยัน ฟัน ไอก์ (Jan van Eyck; ราวก่อน ค.ศ. 1395 - ก่อนวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1441) เป็นจิตรกรสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรกของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ทำงานที่บรูช และถือกันว่าเป็นจิตรกรคนสำคัญของยุโรปในคริสต์ศวรรษที่ 15 สิ่งหนึ่งที่มักจะเข้าใจผิดกันเกี่ยวกับ ฟัน ไอก์ ว่าเป็นผู้ริเริ่มการใช้สีน้ำมันในการวาดภาพ มาจากข้อเขียนของจอร์โจ วาซารี ผู้เขียน "ชีวิตจิตรกร" ในคริสต์ศวรรษที่ 16 แต่ที่แน่ ๆ คือฟัน ไอก์มีความสำเร็จเป็นอันมากจากการใช้วิธีการวาดภาพด้วยสีน้ำมัน ยัน ฟัน ไอก์มักจะมีชื่อเกี่ยวข้องกับฮือเบิร์ต ฟัน ไอก์ ผู้เป็นจิตรกรและเป็นพี่ชาย และทั้งสองคนมาจากมาไซก์ ในประเทศเบลเยียมในปัจจุบัน พี่ชายอีกคนหนึ่ง แลมเบิร์ตมีชื่อกล่าวในเอกสารของราชสำนักเบอร์กันดี และสันนิษฐานกันว่าคงเป็นจิตรกรด้วยและอาจจะเป็นผู้ที่ดูแลการปิดโรงฝึกงานของยัน ฟัน ไอก์ที่บรูช ฟัน ไอก์อีกผู้หนี่งคือ บาร์เตเลอมี ฟัน ไอก์ (Barthélemy van Eyck) ผู้ทำงานอยู่ทางใต้ของฝรั่งเศสก็เข้าใจว่าจะเป็นญาติกัน.

ใหม่!!: เดอะเฮกและยัน ฟัน ไอก์ · ดูเพิ่มเติม »

ยัน สเตน

ัน ฮาฟิกส์โซน สเตน (Jan Havickszoon Steen; ราว ค.ศ. 1626 - 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1679) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ในสมัยยุคทองของเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพชีวิตประจำวัน ที่เต็มไปด้วยชีวิตจิตใจและอารมณ์ขัน สเตนมีชื่อเรื่องการใช้สี.

ใหม่!!: เดอะเฮกและยัน สเตน · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่กรุงเฮก

ทธการที่กรุงเฮกเกิดขึ้นในวันที่ 10 พฤษภาคม..

ใหม่!!: เดอะเฮกและยุทธการที่กรุงเฮก · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เนเธอร์แลนด์

ทธการที่เนเธอร์แลนด์ (Slag om Nederland) เป็นส่วนหนึ่งของกรณีสีเหลือง (Fall Gelb) เยอรมันได้บุกยึดครองกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ (เบลเยี่ยม,ลักเซมเบิร์กและเนเธอร์แลนด์) และฝรั่งเศสระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง.การสู้รบได้ดำเนินการต่อไปจนกระทั่งการยอมจำนนของกองทัพหลักของเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ทหารชาวดัตช์ในจังหวัดเซลันด์ยังคงต่อสู้กับกองทัพเวร์มัคท์จนกระทั่งวันที่ 17 พฤษภาคม เมื่อเยอรมนีได้ยึดครองประเทศเอาไว้อย่างสมบูรณ์ ยุทธการที่เนเธอร์แลนด์ถือเป็นยุทธการแรกที่กองทัพอากาศเยอรมัน ใช้ทหารพลร่ม (Fallschirmjäger) โดยเข้ายึดสนามบินของฝ่ายดัตซ์และสถานที่ทางยุทธศาสตร์ในรอตเทอร์ดาม และเดอะเฮก,ความรวดเร็วเพื่อการบุกรุกประเทศและตรึงกองทัพเนเธอร์แลนด์เอาไว้ ภายหลังการทิ้งระเบิดที่รอตเทอร์ดามโดยลุฟท์วัฟเฟอ,เยอรมันได้ข่มขู่ว่าจะทิ้งระเบิดเมืองต่างๆของดัตซ์ให้ราบคาบถ้ากองทัพเนเธอร์แลนด์ปฏิเสธที่จะยอมจำนน.เสนาธิการทหารฝ่ายดัตซ์ต่างรู้ดีว่าไม่อาจหยุดยั้งการทิ้งระเบิดได้และออกคำสั่งให้กองทัพยุติสู้รบเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดขึ้น.การยึดครองของเนเธอร์แลนด์ล่าสุดได้รับการปลดปล่อยในปี 1945.

ใหม่!!: เดอะเฮกและยุทธการที่เนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

รอยัลดัตช์เชลล์

ำนักงานใหญ่ รอยัลดัตช์เชลล์ ที่กรุงเฮก สำนักงานใหญ่ บริษัทน้ำมันเชลล์ ที่ฮูสตัน รอยัลดัตช์เชลล์ (Royal Dutch Shell) หรือ เชลล์ เป็นบริษัทพลังงานข้ามชาติ สัญชาติดัตช์และอังกฤษ ประกอบธุรกิจก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันปิโตรเลียม รวมไปถึงธุรกิจพลังงานทดแทน มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: เดอะเฮกและรอยัลดัตช์เชลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์

ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (Koninkrijk der Nederlanden; The Kingdom of the Netherlands) เป็นรัฐเอกราชซึ่งมีดินแดนในยุโรปตะวันตกและแคริบเบียน ราชอาณาจักรสี่ส่วน อารูบา กือราเซา เนเธอร์แลนด์ และซินต์มาร์เติน ถูกเรียกว่า "ประเทศ" และมีส่วนร่วมบนรากฐานความเสมอภาคเป็นประเทศร่วม (partner) ในราชอาณาจักร ทว่าในทางปฏิบัติ เนเธอร์แลนด์ (ซึ่งมีพื้นที่และประชากรเป็นราว 98% ของราชอาณาจักร) บริหารจัดการกิจการแห่งราชอาณาจักรส่วนใหญ่ ในนามของทั้งราชอาณาจักร โดยอารูบา กือราเซาและซินต์มาร์เตินพึ่งพิงเนเธอร์แลนด์ ประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ส่วนใหญ่ของเนเธอร์แลนด์ (และราชอาณาจักร) ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป ยกเว้นเทศบาลพิเศษสามแห่ง (โบแนเรอ ซินต์เอิสตาซียึสและซาบา) ที่ตั้งอยู่ในแคริบเบียน ประเทศองค์ประกอบอารูบา กือราเซาและซินต์มาเตินตั้งอยู่ในแคริบเบียนเช่นกัน ซูรินามถือเป็นประเทศหนึ่งในราชอาณาจักรตั้งแต..

ใหม่!!: เดอะเฮกและราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อเมืองใหญ่ที่สุดในสหภาพยุโรปเรียงตามจำนวนประชากร

รายชื่อของเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป จัดอันดับจากจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองนั้น ๆ นับจากเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 3 แสนคนขึ้นไป ในรายชื่อนี้เมืองบางเมืองอาจจะแคบมาก บางเมืองอาจจะใหญ่มาก รายชื่อที่จัดอันดับมานี้อาจจะมีข้อถกเถียง เช่น เขตมหานครลอนดอนและเขตมหานครปารีส (รวมปริมณฑล) เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป แต่ขอบเขตของเมืองปารีสที่แท้จริงมีขนาดเล็กกว่าลอนดอน ดังนั้นจึงมีอันดับน้อยกว่าในตารางด้านล่าง.

ใหม่!!: เดอะเฮกและรายชื่อเมืองใหญ่ที่สุดในสหภาพยุโรปเรียงตามจำนวนประชากร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อเขตการปกครอง

รายชื่อเขตปกครองในระดับบนสุดของประเทศต่าง ๆ ที่มีการปกครองแบบสหพันธรัฐหรือรัฐรวม รวมทั้งเขตการปกครองในระดับบนสุดของเอกรัฐหรือรัฐเดี่ยวบางแห่ง.

ใหม่!!: เดอะเฮกและรายชื่อเขตการปกครอง · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ

ต่อไปนี้คือรายพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ และประเทศในเครือจักรภพ สำหรับรายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะซึ่งประกอบกันเป็นสหราชอาณาจักรปัจจุบันดู รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งหมู่เกาะอังกฤษและรายพระนามพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: เดอะเฮกและรายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิดราโก

ลัทธิดราโก (Drago Doctrine) คือแถลงการณ์ในปี..

ใหม่!!: เดอะเฮกและลัทธิดราโก · ดูเพิ่มเติม »

วอลเลย์บอลชายหาดชิงแชมป์โลก 2015

วอลเลย์บอลชายหาดชิงแชมป์โลก 2015 (2015 Beach Volleyball World Championships) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน – 5 กรกฎาคม..

ใหม่!!: เดอะเฮกและวอลเลย์บอลชายหาดชิงแชมป์โลก 2015 · ดูเพิ่มเติม »

วอลเลย์บอลเวิลด์ลีก 2017

วอลเลย์บอลเวิลด์ลีก 2017 (2017 FIVB Volleyball World League) เป็นการแข่งขันวอลเลย์บอลชายระดับโลก จำนวน 36 ทีม เริ่มทำการแข่งขันตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม..

ใหม่!!: เดอะเฮกและวอลเลย์บอลเวิลด์ลีก 2017 · ดูเพิ่มเติม »

วังสันติ

วังสันติภาพ (27 เมษายน 2007) วังสันติภาพ หรือ เฟรเดิสปาไลส์ (Vredespaleis) เป็นหมู่อาคารอันตั้งอยู่ในเดอะเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ชื่อว่าเป็น "บัลลังก์แห่งกฎหมายระหว่างประเทศ" หรือ "ที่ประดิษฐานกฎหมายระหว่างประเทศ" (seat of international law) เพราะเป็นที่ตั้งกองบัญชาการของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ, ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร, เนติบัณฑิตยสถานระหว่างประเทศแห่งเดอะเฮก และหอสมุดวังสันติภาพที่ล้ำค่า นอกจากเป็นที่ตั้งสถาบันดังกล่าวแล้ว ที่วังสันติภาพยังมักจัดเทศกาลพิเศษเกี่ยวกับนโยบายระหว่างประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศด้ว.

ใหม่!!: เดอะเฮกและวังสันติ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเฮลมีเนอแห่งปรัสเซีย สมเด็จพระราชินีแห่งเนเธอร์แลนด์

ฟรีเดอรีเคอ ลุยเซอ วิลเฮลมีเนอ แห่งปรัสเซีย (Friederike Luise Wilhelmine von Preußen) เป็นเจ้าหญิงเยอรมันจากราชอาณาจักรปรัสเซียซึ่งอภิเษกสมรสเข้าสู่พระราชวงศ์เนเธอร์แลนด์ และได้ขึ้นเป็นพระราชินีในพระเจ้าวิลเลิมที่ 1 แห่งเนเธอร์แลน.

ใหม่!!: เดอะเฮกและวิลเฮลมีเนอแห่งปรัสเซีย สมเด็จพระราชินีแห่งเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยากร เชียงกูล

วิทยากร เชียงกูล รองศาสตราจารย์ วิทยากร เชียงกูล เกิดเมื่อ พ.ศ. 2489 ที่อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี คณบดีกิตติคุณและอดีตคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต เรียนจบชั้นมัธยมปลายที่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2512 และปริญญาโท จากสถาบันศึกษาสังคม เมืองเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นผู้เขียนบทกลอน "เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน" เมื่อ พ.ศ. 2511 ซึ่งมีท่อนติดปากว่า "ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง ฉันจึง มาหา ความหมาย ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว" บทกลอนนี้ได้กลายเป็นข้อเขียนหนึ่งในหลายชิ้น ที่มีอิทธพลต่อการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาในช่วงนั้น ซึ่งต่อมาได้พัฒนาไปสู่การเรียกร้องประชาธิปไตย ในเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 และ เหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519.

ใหม่!!: เดอะเฮกและวิทยากร เชียงกูล · ดูเพิ่มเติม »

วีรชัย พลาศรัย

ร.วีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตวิสามัญ ผู้มีอำนาจเต็มประจำสหรัฐอเมริกา อดีตเอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทย ประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ อดีตอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ อดีตเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง (เจ้าหน้าที่การทูต ๑๐) สำนักงานปลัดกระทรวง มีชื่อเสียงในฐานะเป็นหัวหน้าคณะทนายกฎหมายระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหาร เขาได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ “The Order of the Orange - Nassau” ชั้นตรา “Knight Grand Cross” ซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระราชาธิบดี วิลเลม - อเล็กซานเดอร์ แห่งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม..

ใหม่!!: เดอะเฮกและวีรชัย พลาศรัย · ดูเพิ่มเติม »

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

ลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice; ICJ) หรือภาษาปากว่า ศาลโลก (World Court) เป็นศาลซึ่งตั้งขึ้นโดยกฎบัตรสหประชาชาติ เมื่อ..

ใหม่!!: เดอะเฮกและศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ศาลอาญาระหว่างประเทศ

ลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court: ICC/ICCt; Cour Pénale Internationale) เป็นศาลระหว่างประเทศซึ่งมีที่ทำการอยู่ในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีเขตอำนาจดำเนินคดีผู้กระทำความผิดอาญาระหว่างประเทศ 3 ฐาน คือ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, อาชญากรรมต่อมนุษนชาติ, และอาชญากรรมสงคราม ก่อตั้งขึ้นโดยประสงค์จะให้เป็นส่วนเสริมของระบบยุติธรรมที่แต่ละประเทศมีอยู่ จึงมีเขตอำนาจเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขเท่านั้น เช่น เมื่อศาลระดับประเทศไม่สามารถหรือไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแล้ว หรือเมื่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือรัฐหนึ่ง ๆ เสนอคดีมาให้พิจารณา ศาลนี้เริ่มปฏิบัติงานในวันที่ 1 กรกฎาคม..

ใหม่!!: เดอะเฮกและศาลอาญาระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร

ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร (Permanent Court of Arbitration, ย่อ: PCA) เป็นองค์การระหว่างประเทศตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งขึ้นในปี 2442 ในการประชุมสันติภาพเฮกครั้งแรก PCA ส่งเสริมการแก้ไขข้อพิพาทซึ่งเกี่ยวข้องกับรัฐ หน่วยการปกครองรัฐ (state entity) องค์การระหว่างประเทศและภาคีเอกชนโดยสนับสนุนการสถาปนาศาลอนุญาโตตุลาการและส่งเสริมงานของศาลเหล่านั้น PCA ต่างจากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศซึ่งตั้งอยู่ในอาคารเดียวกัน คือ วังสันติภาพในกรุงเฮก หมวดหมู่:องค์การระหว่างรัฐบาล หมวดหมู่:องค์การที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2499 หมวดหมู่:องค์การที่ตั้งอยู่ในกรุงเฮก หมวดหมู่:ศาลและศาลชำนัญพิเศษอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ.

ใหม่!!: เดอะเฮกและศาลอนุญาโตตุลาการถาวร · ดูเพิ่มเติม »

ศาลโลก

ลโลก อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เดอะเฮกและศาลโลก · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์

้าหญิงยูเลียนาเมื่อทรงพระเยาว์ เจ้าหญิงยูเลียนาและพระราชมารดา เจ้าหญิงยูเลียนา พ.ศ. 2480 สมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์ หรือพระนามเต็ม ยูเลียนา เอ็มมา หลุยส์ มารี วิลเฮลมินา ฟาน ออรันเย-นัสเซา (Queen Juliana of the Netherlands,; 30 เมษายน พ.ศ. 2452 - 20 มีนาคม พ.ศ. 2547) เป็นพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ตั้งแต่การสละราชสมบัติของพระราชชนนีในปี พ.ศ. 2491 จนถึงการสละราชสมบัติของพระองค์เองในปี พ.ศ. 2523 และทรงเป็นสมเด็จพระราชชนนีตั้งแต่ พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2547 พระอิสริยยศเดิมก่อนเสวยราชสมบัติคือ เจ้าฟ้าหญิงยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์ (HRH Princess Juliana of the Netherlands).

ใหม่!!: เดอะเฮกและสมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์

้าหญิงวิลเฮลมินาและพระมารดาราชินีเอ็มม่าแห่งวัลเด็คและไพร์มอนต์ สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์ (HM Queen Wilhelmina of the Netherlands, วิลเฮลมินา เฮเลนา พอลีน มารี ฟาน ออรันเย-นัสเซา; 31 สิงหาคม พ.ศ. 2423 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505) พระองค์ทรงเป็นธิดาของสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเล็มที่ 3 แห่งเนเธอร์แลนด์ และ สมเด็จพระราชินีนาถเอ็มมาแห่งวัลเด็คและไพร์มอนต์ พระนางทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2433 ถึงปี พ.ศ. 2491 และสมเด็จพระราชชนนี (พระอิสริยยศ เจ้าหญิง) ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: เดอะเฮกและสมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์

้าหญิงเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ (31 มกราคม พ.ศ. 2481) หรือพระนามเต็มว่า เบียทริกซ์ วิลเฮลมินา อาร์มการ์ด (Beatrix Wilhelmina Armgard) หรือเดิมคือ สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ (Beatrix der Nederlanden) อดีตสมเด็จพระราชินีนาถแห่งเนเธอร์แลนด์ ครองราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน..

ใหม่!!: เดอะเฮกและสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเอกาทศรถ

มเด็จพระเอกาทศรถ หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 3 เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 19 แห่งอาณาจักรอยุธยาสมัยราชวงศ์สุโขทั.

ใหม่!!: เดอะเฮกและสมเด็จพระเอกาทศรถ · ดูเพิ่มเติม »

สลอบอดัน มีลอเชวิช

ลอบอดัน มีลอเชวิช (Слободан Милошевић, Slobodan Milošević) เกิดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1941 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 2006) เป็นอดีตประธานาธิบดีแห่งเซอร์เบีย และ สหพันธรัฐสาธารณรัฐยูโกสลาเวีย และยังเป็นผู้นำพรรคสังคมนิยมเซอร์เบีย มีลอเชวิชเสียชีวิตด้วยโรคภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ในเรือนจำของศาลอาญาโลก ณ กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ ระหว่างที่เขาถูกดำเนินคดีในข้อหาก่ออาชญากรรมในคอซอวอ สังหารล้างเผ่าพันธุ์ในบอสเนีย และก่ออาชญากรรมสงครามในโครเอเชี.

ใหม่!!: เดอะเฮกและสลอบอดัน มีลอเชวิช · ดูเพิ่มเติม »

สหประชาชาติ

หประชาชาติ (United Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีความมุ่งหมายที่แถลงไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: เดอะเฮกและสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สาวใส่ต่างหูมุก

วใส่ต่างหูมุก (Het Meisje met de Parel; Girl with a Pearl Earring) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยโยฮันเนิส เฟอร์เมร์ จิตรกรชาวดัตช์ในสมัยบาโรก ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานศิลปะเมาริตส์เฮยส์ (Mauritshuis) ในเดอะเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เฟอร์เมร์เขียนภาพ "สาวใส่ต่างหูมุก" เสร็จในปี ค.ศ. 1665 ที่บางครั้งเรียกว่า "โมนาลิซาแห่งทางเหนือ" หรือ "โมนาลิซาของชาวดัตช์".

ใหม่!!: เดอะเฮกและสาวใส่ต่างหูมุก · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐดัตช์

รณรัฐดัตช์ (อังกฤษ: ชื่อเต็ม Republiek der Zeven Verenigde Nederlanden หรือ De Nederlandse Republiek และ De Verenigde Provincien) เป็นการรวมหนึ่งในส่วนรัฐทั้ง 7 ของเนเธอร์แลนด์ของสเปน โดยเป็นกบฏโปรแตสแตนท์ในกลุ่มขุนนาง ผู้ปกครองคนแรกคือ วิลเลียมที่ 1 แห่งออเรนจ์ และทำให้เกิดสงคราม 80 ปีจนสงบศึกในปี ค.ศ. 1648.

ใหม่!!: เดอะเฮกและสาธารณรัฐดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ

อาคารสำนักงานใหญ่สหประชาชาติ อาคารสำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ก่อสร้างขึ้นบนที่ดินใกล้แม่น้ำอีสต์ในรัฐนิวยอร์ก นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อพ.ศ. 2492-2493 บริจาคโดยจอห์น ดี. รอกกีเฟลเลอร์ จูเนียร์ ด้วยมูลค่า 8.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และออกแบบโดยออสการ์ นีไมเออร์ สถาปนิกชาวบราซิล สำนักงานใหญ่สหประชาชาติเปิดทำการเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2493 นอกจากนี้ยังมีสำนักงานตัวแทนที่สำคัญตั้งอยู่ในนครเจนีวา นครเฮก กรุงเวียนนา กรุงโคเปนเฮเกน กรุงเทพมหานคร ฯลฯ หมวดหมู่:สหประชาชาติ.

ใหม่!!: เดอะเฮกและสำนักงานใหญ่สหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น

งครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (Russo-Japanese War) เป็น สงครามครั้งใหญ่ครั้งแรกในศตวรรษที่ 20 อันเนื่องมาจากลัทธิจักรวรรดินิยมของจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิญี่ปุ่น ในบริเวณทางใต้ของแมนจูเรียในพื้นที่คาบสมุทรเหลียวตง, เสิ่นหยาง และบริเวณเกาหลีในพื้นที่คาบสมุทรเกาหลี, ทะเลเหลือง รัสเซียได้ร้องขอท่าเรือน้ำอุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกไว้ เพื่อใช้งานด้านกองทัพเรือและการค้าทางทะเลของรัสเซีย เนื่องจากนครวลาดิวอสต็อกของรัสเซียสามารถเปิดดำเนินการได้อย่างเต็มที่เฉพาะในฤดูร้อนเท่านั้น แต่เมืองพอร์ตอาเธอร์ (ลวี่ชุนเกาในปัจจุบัน) สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอดทั้งปี ซึ่งตั้งแต่สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 ยุติลง ในปี..

ใหม่!!: เดอะเฮกและสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติ

นอกจากองค์การหลักทั้ง 6 องค์กรแล้ว (ยกเว้นคณะมนตรีภาวะทรัสตีแห่งสหประชาชาติที่ได้ยุติการปฏิบัติงานในปี พ.ศ. 2537) ยังมีการตั้งหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติขึ้นมาทำหน้าที่พิเศษซึ่งเป็นไปตามกฎบัตรสหประชาชาติว่า องค์กรหลักของสหประชาชาติทั้ง 5 สามารถตั้งหน่วยงานพิเศษขึ้นมาเพื่อการทำงานในรูปแบบต่างๆ ได้ หน่วยงานพิเศษที่ตั้งขึ้นมาจากองค์กรหลักของสหประชาชาติทั้ง 5 องค์กรนั้น หน่วยงานพิเศษบางหน่วยงานอาจจะไม่ได้ขึ้นกับองค์กรใดองค์กรหนึ่งของสหประชาชาติเพียงอย่างเดียว บางหน่วยงานพิเศษที่ก่อตั้งขึ้นมานั้นอาจจะขึ้นอยู่กับองค์กรที่มีมากกว่า 1 องค์กรก็ได้หรือก็ขึ้นอยู่กับทุกๆองค์กรในสหประชาชาติก็ได้ ปัจจุบันหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติมีทั้งสิ้น 15 หน่วยงานพิเศษในเครือสหประชาชาติ รายชื่อหน่วยงานพิเศษในเครือสหประชาชาติมีดังนี้.

ใหม่!!: เดอะเฮกและหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

อัมสเตอร์ดัม

อัมสเตอร์ดัม (Amsterdam) เป็นเมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอัมสเติล (Amstel) เริ่มก่อตั้งประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 12 ปัจจุบันเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเนเธอร์แลนด์ มีประชากรในเขตตัวเมืองประมาณ 742,000 คน แต่ถ้านับรวมประชากรในเขตเมืองโดยรอบทั้งหมด จะมีประมาณ 1.5 ล้านคน (ข้อมูลปี ค.ศ. 2005) อัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของทวีปยุโรป โดยเฉพาะช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ซึ่งเป็นช่วงยุคทองของเนเธอร์แลนด์ ถึงแม้อัมสเตอร์ดัมจะเป็นเมืองหลวงของประเทศ แต่ศูนย์กลางของหน่วยงานรัฐบาลนั้นอยู่ที่เฮก.

ใหม่!!: เดอะเฮกและอัมสเตอร์ดัม · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอยุธยา

ำหรับความหมายอื่น ดูที่ อยุธยา ระวังสับสนกับ อโยธยา อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310 มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจหรือราชธานี ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเคยสามารถขยายอาณาเขตประเทศราชถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนาน อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน.

ใหม่!!: เดอะเฮกและอาณาจักรอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

องค์การชาติและประชาชนที่ไม่มีผู้แทน

องค์กรแห่งชาติและประชาชนที่ไม่เป็นที่รู้จัก (Unrepresented Nations and Peoples Organization; UNPO) เป็นองค์กรระดับนานาชาติ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 11 กุมภาพัน..

ใหม่!!: เดอะเฮกและองค์การชาติและประชาชนที่ไม่มีผู้แทน · ดูเพิ่มเติม »

องค์การระหว่างประเทศ

องค์การระหว่างประเทศ (international organisation) หมายถึง องค์การที่ประเทศหรือรัฐตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปรวมกัน จัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นกลไกอย่างหนึ่งในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมต่างๆเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐสมาชิกและมวลมนุษยชาต.

ใหม่!!: เดอะเฮกและองค์การระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การห้ามอาวุธเคมี

องค์การห้ามอาวุธเคมี (Organisation for the Prohibition of Chemical Weapons, OPCW) เป็นองค์การระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ สนับสนุนและทวนสอบการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมีซึ่งห้ามใช้อาวุธเคมีและกำหนดให้ต้องทำลายอาวุธเคมีที่ภาคีมีในครอบครอง ในปี 2556 องค์การได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันต.

ใหม่!!: เดอะเฮกและองค์การห้ามอาวุธเคมี · ดูเพิ่มเติม »

ฮอกกี้ชิงแชมป์โลก

อกกี้ชิงแชมป์โลก (Hockey World Cup) เป็นการแข่งขันField hockeyระหว่างประเท.

ใหม่!!: เดอะเฮกและฮอกกี้ชิงแชมป์โลก · ดูเพิ่มเติม »

ฮอกกี้หญิงชิงแชมป์โลก

อกกี้หญิงชิงแชมป์โลก (Women's Hockey World Cup) เป็นการแข่งขันField hockeyหญิงระหว่างประเท.

ใหม่!!: เดอะเฮกและฮอกกี้หญิงชิงแชมป์โลก · ดูเพิ่มเติม »

ฮอลแลนด์

อลแลนด์สีเหลือง ฮอลแลนด์ (Holland) เป็นชื่อที่ใช้เรียกภูมิภาคทางตะวันตกของเนเธอร์แลนด์ นอกจากนั้นคำว่า "ฮอลแลนด์" ใช้ในการเรียกเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดด้วยแต่ตามทางการแล้วไม่ถือว่าถูกต้อง ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 จนถึง 16 ฮอลแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของดินแดนทางการเมืองในภูมิภาค เป็นรัฐเคานต์ที่ปกครองโดยเคานต์แห่งฮอลแลนด์ เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฮอลแลนด์ก็รุ่งเรืองขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและการค้าทางทะเลที่รุ่งเรืองกว่าบรรดาจังหวัดอื่น ๆ ในสาธารณรัฐดัตช์ ในปัจจุบัน อดีตรัฐเคานต์แห่งฮอลแลนด์ประกอบด้วยสองจังหวัด คือ จังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ ที่เป็นที่ตั้งของเมืองสามเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเนเธอร์แลนด์ ได้แก่ อัมสเตอร์ดัม เฮก และรอตเทอร์ดาม.

ใหม่!!: เดอะเฮกและฮอลแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิโคจง

ักรพรรดิโคจง (เกาหลี:광무제, 光武帝) หรือ สมเด็จพระเจ้าโกจง (고종 광무제, ฮันจา:高宗光武帝, Gojong of Korea) (25 กรกฎาคม พ.ศ. 2395–21 มกราคม พ.ศ. 2462) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรโชซอน ลำดับที่ 26 และสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเกาหลีพระองค์แรก.

ใหม่!!: เดอะเฮกและจักรพรรดิโคจง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์

ซาท์ฮอลแลนด์ (South Holland) หรือ เซยด์-โฮลลันด์ (Zuid-Holland) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลเหนือ ทางตะวันตกของประเทศเนเธอร์แลนด์ เมืองหลักของจังหวัดคือเมืองเดอะเฮก และเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือรอตเทอร์ดาม จังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์เป็นหนึ่งในที่ที่มีความหนาแน่นประชากรมากที่สุดในโลก และเป็นแหล่งอุตสาหกรรม มีประชากร 3,502,595 คน (30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009) มีพื้นที่ 3,403 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดในเนเธอร์แลน.

ใหม่!!: เดอะเฮกและจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ธีรยุทธ บุญมี

ตราจารย์ ธีรยุทธ บุญมี (เกิด 10 มกราคม พ.ศ. 2493) เป็นนักวิชาการ นักวิจารณ์การเมือง และนักเขียนรางวัลศรีบูรพา อดีตเลขาธิการ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลา เคยเป็นอาจารย์ประจำ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ สาขามานุษยวิทยา ในปี..

ใหม่!!: เดอะเฮกและธีรยุทธ บุญมี · ดูเพิ่มเติม »

ถนัด คอมันตร์

.อ.(พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ ขณะกำลังให้สัมภาษณ์วิทยุบีบีซีภาคภาษาไทย พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2559) อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จนถึงรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร.

ใหม่!!: เดอะเฮกและถนัด คอมันตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ที่ประชุมแห่งกรุงเฮกว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

ที่ประชุมแห่งกรุงเฮกว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล (Hague Conference on Private International Law; Conférence de La Haye de droit international privé; ย่อ: HCCH (จาก Hague Conference/Conférence de La Haye)) เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลที่มีชื่อเสียงด้านกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ที่ประชุมจัดตั้งขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: เดอะเฮกและที่ประชุมแห่งกรุงเฮกว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล · ดูเพิ่มเติม »

ของขวัญดัตช์

“ภาพเหมือนของจาโคโป ซานนาซาโร” โดย ทิเชียน, ราว ค.ศ. 1514-ค.ศ. 1518 ของขวัญดัตช์ ของปี..

ใหม่!!: เดอะเฮกและของขวัญดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

ดิก อัดโฟกาต

ีร์ก นีโกลาส "ดิก" อัดโฟกาต (Dirk Nicolaas "Dick" Advocaat) เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน..

ใหม่!!: เดอะเฮกและดิก อัดโฟกาต · ดูเพิ่มเติม »

ดนู ฮันตระกูล

นู ฮันตระกูล เกิดปี..

ใหม่!!: เดอะเฮกและดนู ฮันตระกูล · ดูเพิ่มเติม »

คริสตียาน เฮยเคินส์

ริสตียาน เฮยเคินส์ คริสตียาน เฮยเคินส์ (Christiaan Huygens,; 14 เมษายน พ.ศ. 2172-8 กรกฎาคม พ.ศ. 2238) เป็นนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักประดิษฐ์นาฬิกาชาวดัตช์ เกิดที่เดอะเฮกในเนเธอร์แลนด์ เป็นลูกชายของโกนสตันไตน์ เฮยเคินส์ ชื่อของเขาเป็นที่มาของยานกัสซีนี-เฮยเคินส์ที่ใช้สำรวจดวงจันทร์ไททัน.

ใหม่!!: เดอะเฮกและคริสตียาน เฮยเคินส์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้แทนทางทูตของประเทศบังกลาเทศ

รายชื่อสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของประเทศบังกลาเทศในประเทศต่าง ๆ (ไม่รวมสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์).

ใหม่!!: เดอะเฮกและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศบังกลาเทศ · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้แทนทางทูตของประเทศฟิลิปปินส์

นทูตและสถานกงสุลฟิลิปปินส์ในประเทศต่าง.

ใหม่!!: เดอะเฮกและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศฟิลิปปินส์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้แทนทางทูตของประเทศกาตาร์

ประเทศที่มีคณะผู้แทนทางการทูตกาตาร์ รายชื่อสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของประเทศกาตาร์ในต่างประเทศ (ไม่รวมสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์).

ใหม่!!: เดอะเฮกและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศกาตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้แทนทางทูตของประเทศญี่ปุ่น

ประเทศที่มีคณะผู้แทนทางการทูตญี่ปุ่นประจำอยู่ รายชื่อสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของประเทศญี่ปุ่นในประเทศต่าง ๆ (ไม่รวมสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์).

ใหม่!!: เดอะเฮกและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้แทนทางทูตของประเทศมาเลเซีย

ประเทศที่มีคณะผู้แทนทางการทูตมาเลเซีย สถานทูต สถานกงสุล ฯลฯ มาเลเซียในต่างแดน.

ใหม่!!: เดอะเฮกและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้แทนทางทูตของประเทศศรีลังกา

รายชื่อสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของประเทศศรีลังกาในประเทศต่าง ๆ (ไม่รวมสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์).

ใหม่!!: เดอะเฮกและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศศรีลังกา · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้แทนทางทูตของประเทศสเปน

ประเทศที่มีคณะผู้แทนทางการทูตสเปน ประเทศสเปนเป็นประเทศหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกว้างขวางเกือบทั่วโลก รายชื่อข้างล่างนี้คือสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของสเปนในต่างประเทศ (ไม่รวมสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์).

ใหม่!!: เดอะเฮกและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้แทนทางทูตของประเทศอาร์มีเนีย

ประเทศที่มีคณะผู้แทนทางการทูตอาร์มีเนีย รายชื่อสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของประเทศอาร์มีเนียในประเทศต่าง ๆ (ไม่รวมสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์).

ใหม่!!: เดอะเฮกและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศอาร์มีเนีย · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้แทนทางทูตของประเทศอาเซอร์ไบจาน

นเอกอัครราชทูต รายชื่อสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของประเทศอาเซอร์ไบจานในประเทศต่าง ๆ (ไม่รวมสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์).

ใหม่!!: เดอะเฮกและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศอาเซอร์ไบจาน · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้แทนทางทูตของประเทศอิรัก

ประเทศที่มีคณะผู้แทนทางการทูตอิรัก รายชื่อสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของประเทศอิรักในประเทศต่าง ๆ (ไม่รวมสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์).

ใหม่!!: เดอะเฮกและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้แทนทางทูตของประเทศอิตาลี

ประเทศที่มีคณะผู้แทนทางการทูตอิตาลี รายชื่อข้างล่างคือสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของประเทศอิตาลีในต่างประเทศ (ไม่รวมสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์).

ใหม่!!: เดอะเฮกและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้แทนทางทูตของประเทศจอร์แดน

ประเทศที่มีคณะผู้แทนทางการทูตจอร์แดน รายชื่อสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของจอร์แดนในประเทศต่าง ๆ (ไม่รวมสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์).

ใหม่!!: เดอะเฮกและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศจอร์แดน · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้แทนทางทูตของประเทศจอร์เจีย

ประเทศที่มีคณะผู้แทนทางการทูตจอร์เจีย รายชื่อสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลของจอร์เจียในประเทศต่างๆ (ไม่รวมสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์).

ใหม่!!: เดอะเฮกและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศจอร์เจีย · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้แทนทางทูตของประเทศจีน

ประเทศที่มีคณะผู้แทนทางการทูตจีน รายชื่อสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของสาธารณรัฐประชาชนจีนในประเทศต่าง ๆ (ไม่รวมสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์).

ใหม่!!: เดอะเฮกและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้แทนทางทูตของประเทศคาซัคสถาน

ประเทศที่มีคณะผู้แทนทางการทูตคาซัคสถาน รายชื่อสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลของคาซัคสถานในประเทศต่าง ๆ (ไม่รวมสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์).

ใหม่!!: เดอะเฮกและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศคาซัคสถาน · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้แทนทางทูตของประเทศคูเวต

นทูตและสถานกงสุลของประเทศคูเวตในประเทศต่าง.

ใหม่!!: เดอะเฮกและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศคูเวต · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้แทนทางทูตของประเทศซาอุดีอาระเบีย

รายชื่อสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของประเทศซาอุดีอาระเบียในประเทศต่าง ๆ (ไม่รวมสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์).

ใหม่!!: เดอะเฮกและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศซาอุดีอาระเบีย · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้แทนทางทูตของประเทศปากีสถาน

ประเทศที่มีคณะผู้แทนทางการทูตปากีสถาน รายชื่อสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของประเทศปากีสถานในประเทศต่าง ๆ (ไม่รวมสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์).

ใหม่!!: เดอะเฮกและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศปากีสถาน · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้แทนทางทูตของประเทศโอมาน

ประเทศที่มีคณะผู้แทนทางการทูตโอมาน รายชื่อสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของประเทศโอมานในประเทศต่าง ๆ (ไม่รวมสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์).

ใหม่!!: เดอะเฮกและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศโอมาน · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้แทนทางทูตของประเทศโปรตุเกส

ประเทศที่มีคณะผู้แทนทางการทูตโปรตุเกส ประเทศโปรตุเกสเป็นประเทศหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกว้างขวางเกือบทั่วโลก รายชื่อข้างล่างนี้คือสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของโปรตุเกสในต่างประเทศ (ไม่รวมสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์).

ใหม่!!: เดอะเฮกและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้แทนทางทูตของประเทศไทย

ประเทศที่มีคณะผู้แทนทางทูตไทย สถานทูตและสถานกงสุลไทยในต่างแดน.

ใหม่!!: เดอะเฮกและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้แทนทางทูตของประเทศไซปรัส

ประเทศที่มีคณะทูตไซปรัสประจำอยู่ รายชื่อสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของประเทศไซปรัสในประเทศต่างๆ (ไม่รวมสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์).

ใหม่!!: เดอะเฮกและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศไซปรัส · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้แทนทางทูตของประเทศเกาหลีใต้

ประเทศที่มีคณะผู้แทนทางการทูตเกาหลีใต้ รายชื่อสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของเกาหลีใต้ในต่างประเทศ (ไม่รวมสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์).

ใหม่!!: เดอะเฮกและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศเกาหลีใต้ · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้แทนทางทูตของประเทศเยเมน

ประเทศที่มีคณะผู้แทนทางการทูตเยเมน สถานทูตและสถานกงสุลเยเมนในประเทศต่าง.

ใหม่!!: เดอะเฮกและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศเยเมน · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้แทนทางทูตของประเทศเลบานอน

ประเทศที่มีคณะผู้แทนทางการทูตเลบานอน รายชื่อสถานทูตและสถานกงสุลเลบานอนในประเทศต่าง.

ใหม่!!: เดอะเฮกและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศเลบานอน · ดูเพิ่มเติม »

คณะผู้แทนทางทูตของประเทศเวียดนาม

ประเทศที่มีคณะผู้แทนทางการทูตเวียดนาม สถานทูตและสถานกงสุลเวียดนามในต่างแดน.

ใหม่!!: เดอะเฮกและคณะผู้แทนทางทูตของประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย

อาคารที่ทำการของคณะตุลาการในกรุงเฮก คณะตุลาการระหว่างประเทศเพื่อดำเนินคดีผู้ต้องรับผิดชอบการละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างร้ายแรงซึ่งกระทำลงในดินแดนอดีตยูโกสลาเวียตั้งแต..

ใหม่!!: เดอะเฮกและคณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย · ดูเพิ่มเติม »

คณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรัก

ณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรัก (Supreme Iraqi Criminal Tribunal) หรือเดิมชื่อ คณะตุลาการพิเศษอิรัก (Iraqi Special Tribunal) เป็นหน่วยงานจัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายแห่งชาติอิรักเพื่อพิจารณาบุคคลหรือพลเมืองสัญชาติอิรักที่ถูกกล่าวหาว่า ก่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ อาชญากรรมสงคราม หรืออาชญากรรมร้ายแรงอื่นระหว่าง..

ใหม่!!: เดอะเฮกและคณะตุลาการอาญาสูงสุดอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

คดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505

แผนที่ฝรั่งเศส ฉบับที่กัมพูชาส่งให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศใช้พิจารณา คดีปราสาทพระวิหาร เป็นความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชากับราชอาณาจักรไทย ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501 จากปัญหาการอ้างสิทธิเหนือบริเวณปราสาทพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ชายแดนไทยด้านอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และชายแดนกัมพูชาด้านจังหวัดพระวิหาร เกิดจากการที่ทั้งไทยและกัมพูชา ถือแผนที่ปักปันเขตแดนตามแนวสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักคนละฉบับ ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของตัวปราสาท โดยทั้งฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยได้ยินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาดังกล่าวขึ้นที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2502 คดีนี้ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 ท่ามกลางความไม่พอใจของฝ่ายไทย ซึ่งเห็นว่าศาลโลกตัดสินคดีนี้อย่างไม่ยุติธรรม อย่างไรก็ตาม การตัดสินคดีครั้งนี้ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องอาณาเขตทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชาในบริเวณดังกล่าวให้หมดไป และยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังต่อมาจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: เดอะเฮกและคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 · ดูเพิ่มเติม »

ติม กรึล

ติม กรึล (Tim Krul,; เกิดเมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1988 ที่เมืองเดอะเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์) มีชื่อจริงว่า ตีโมตี ไมเกิล กรึล (Timothy Michael Krul) ปัจจุบันเป็นผู้รักษาประตูของไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียน และทีมชาติเนเธอร์แลนด์ โดยสวมเสื้อหมายเลข 1 โดยยืมตัวมาจากนิวคาสเซิลยูไนเต็ด ในฟุตบอลโลก 2014 รอบ 8 ทีมสุดท้าย นัดที่เนเธอร์แลนด์พบกับคอสตาริกา ภายในเวลา 90 นาที และทดเวลาพิเศษออกไปรวมเป็น 120 นาที ไม่มีทีมไหนที่สามารถทำประตูได้ ก่อนหมดเวลาพิเศษ ลูวี ฟัน คาล ผู้จัดการทีมเนเธอร์แลนด์ ได้ตัดสินใจเปลี่ยนตัวผู้รักษาประตูจากยัสเปอร์ ซิลเลิสเซิน ผู้รักษาประตูมือหนึ่งซึ่งทำหน้าที่มาตลอด 120 นาที ออก แล้วให้กรึลลงไปทำหน้าที่แทนเพื่อที่จะตัดสินกันที่การดวลลูกจุดโทษโดยเฉพาะ เนื่องจากซิลเลสเซินประสบการณ์ยังน้อยและรูปร่างเล็กกว่า ทั้งที่กรึลมีประสบการณ์การเล่นให้กับทีมชาติเพียงแค่ 5 ครั้งเท่านั้น และผลปรากฏว่าเนเธอร์แลนด์เป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ 4-3 ประตู ซึ่งกรึลสามารถที่จะปัดลูกจุดโทษของทางฝ่ายคอสตาริกาได้ถึง 2 ลูก ในพรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2015–16 นัดที่ 3 ของฤดูกาล ที่นิวคาสเซิลยูไนเต็ดเป็นฝ่ายบุกไปเยือนแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดที่สนามโอลด์แทรฟฟอร์ด ก่อนหน้านั้นแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดชนะติดต่อมาแล้ว 2 นัด ผลการแข่งขันปรากฏว่าเสมอกันไป 0-0 ประตู โดยกรึลเล่นได้อย่างโดดเด่นสามารถป้องกันลูกยิงของผู้เล่นแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้หลายต่อหลายครั้ง แต่หลังจากนั้นไม่นาน ในฟุตบอลยูโร 2016 รอบคัดเลือก กรึลได้ลงเล่นให้กับทีมชาติ และได้รับบาดเจ็บที่เอ็นหัวเข่า ทำให้ต้องหยุดพักรักษาตัวตลอดทั้งฤดูกาล.

ใหม่!!: เดอะเฮกและติม กรึล · ดูเพิ่มเติม »

ตุ๊กตาหิมะ

ตุ๊กตาหิมะรูปแบบทั่วไป ที่รัฐอินดีแอนา, สหรัฐ ตุ๊กตาหิมะ (Snowman) เป็นประติมากรรรมที่ทำออกมาให้เหมือนมนุษย์หิมะมักสร้างโดยเด็กๆในช่วงที่มีหิมะตก ส่วนมากตุ๊กตาหิมะจะถูกปั้นเป็นก้อนหิมะกลมๆ2-3ก้อนเรียงต่อกันและตกแต่งด้วยกิ่งไม้,แครอท,และเสื้อผ้าเช่นหมวกหรือผ้าพันคอ.

ใหม่!!: เดอะเฮกและตุ๊กตาหิมะ · ดูเพิ่มเติม »

ซูเมีย อบัลฮาจา

ซูเมีย อบัลฮาจา (Soumia Abalhaya; 14 มีนาคม ค.ศ. 1988 —) เป็นนางแบบ และนักมวยไทยชาวดัตช์-โมร็อกโก ซึ่งเป็นแชมป์จากประเทศฮอลแลนด์ และสื่อต่างๆมักเรียกเฉพาะชื่อแรกของเธอ นั่นคือ ซูเมี.

ใหม่!!: เดอะเฮกและซูเมีย อบัลฮาจา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ใหม่!!: เดอะเฮกและประเทศเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์ใน ค.ศ. 2015

หตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 2015 ในประเทศเนเธอร์แลน.

ใหม่!!: เดอะเฮกและประเทศเนเธอร์แลนด์ใน ค.ศ. 2015 · ดูเพิ่มเติม »

ปีเตอร์ เบลเกอร์

ปีเตอร์ เบลเกอร์ (Pieter Bleeker; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1819 ที่ซานดัม – 24 มกราคม ค.ศ. 1878 ที่เดอะเฮก) นักมีนวิทยาและวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวดัตช์ มีชื่อเสียงจากผลงานตีพิมพ์ชื่อ Atlas Ichthyologique des Orientales Neerlandaises ซึ่งเป็นบันทึกที่ได้จัดทำขึ้นระหว่างสำรวจพันธุ์ปลาในอินโดนีเซีย ตีพิมพ์ระหว่างปี..

ใหม่!!: เดอะเฮกและปีเตอร์ เบลเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

นางงามจักรวาล 2008

นางงามจักรวาล 2008 (Miss Universe 2008) เป็นการจัดการประกวดนางงามจักรวาลครั้งที่ 57 จัดในวันที่ 14 กรกฎาคม..

ใหม่!!: เดอะเฮกและนางงามจักรวาล 2008 · ดูเพิ่มเติม »

นาซาเรธ

องเมืองนาซาเรธ นาซาเรธ (Nazareth; สัทอักษรสากล) (נָצְרַת, ฮีบรู Natz'rat หรือ Natzeret; الناصرة an-Nāṣira หรือ an-Naseriyye) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของเขตเหนือของอิสราเอล เป็นเสมือนเมืองหลวงของอาหรับสำหรับชาวอาหรับในประเทศอิสราเอล ผู้ที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ในนาซาเรธ ในพันธสัญญาใหม่ นาซาเรธถูกอธิบายว่าเป็นบ้านเกิดของพระเยซูคริสต์ และ เป็นสถานที่ในการเดินทางแสวงบุญของชาวคริสต์ทั้งปวง.

ใหม่!!: เดอะเฮกและนาซาเรธ · ดูเพิ่มเติม »

แร็ม โกลฮาส

แร็มเมินต์ ลือกัส "แร็ม" โกลฮาส (Remment Lucas "Rem" Koolhaas; เกิด 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944, โรตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์) เป็นสถาปนิกรางวัลพริตซ์เกอร์ นักทฤษฎีสถาปัตยกรรม และนักวางผังเมืองชาวดัตช์ ผู้ที่ได้ศึกษาด้านสถาปัตยกรรมที่สมาคมสถาปัตยกรรม วิทยาลัยสถาปัตยกรรม (Architectural Association School of Architecture) ในกรุงลอนดอน เขาเป็นประธานของสำนักงานสถาปัตยกรรมมหานคร (OMA) และสตูดิโอเพื่อการวิจัยที่มีชื่อว่า "อาโม" (AMO) ในเมืองโรตเตอร์ดัม โกลฮาสยังเป็นศาสตราจารย์ด้านวิชาชีพสถาปัตยกรรมและการออกแบบชุมชนเมืองของบัณฑิตวิทยาลัยการออกแบบแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร.

ใหม่!!: เดอะเฮกและแร็ม โกลฮาส · ดูเพิ่มเติม »

แฮ็นดริก ดังเกิตส์

แฮ็นดริก ดังเกิตส์ (Hendrick Danckerts; ราว ค.ศ. 1625 - ค.ศ. 1680) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ของยุคทองของเนเธอร์แลนด์ของคริสต์ศตวรรษที่ 17 ดังเกิตส์ได้รับการศึกษาเบื้องต้นในเฮก และพักอยู่ที่นั่นจนปี..

ใหม่!!: เดอะเฮกและแฮ็นดริก ดังเกิตส์ · ดูเพิ่มเติม »

แฮ็นดริก เตอร์บรึคเคิน

แฮ็นดริก ยันส์โซน เตอร์บรึคเคิน (Hendrick Janszoon Terbrugghen หรือ ter Brugghen; ค.ศ. 1588 - 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1629) เป็นจิตรกรคนสำคัญของยุคทองของเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เตอร์บรึคเคินเป็นหนึ่งในผู้นำจิตรกรชาวดัตช์ที่ได้รับอิทธิพลจากงานเขียนของการาวัจโจที่เรียกว่า "กลุ่มการาวัจโจแห่งยูเทรกต์".

ใหม่!!: เดอะเฮกและแฮ็นดริก เตอร์บรึคเคิน · ดูเพิ่มเติม »

แฌร์แม็ง กาต็องกา

แฌร์แม็ง กาต็องกา (Germain Katanga; เกิด 28 เมษายน 1978) หรือชื่ออื่นว่า ซีมบา (Simba) เป็นผู้นำแนวหน้าอีตูรีปกป้องปิตุภูมิ (Front for Patriotic Resistance of Ituri)International Criminal Court (19 October 2007).

ใหม่!!: เดอะเฮกและแฌร์แม็ง กาต็องกา · ดูเพิ่มเติม »

แควาเลียร์ผู้หัวเราะ

''แควาเลียร์ผู้หัวเราะ'' ค.ศ. 1624 แควาเลียร์ผู้หัวเราะ คือภาพวาดเหมือนในปี..

ใหม่!!: เดอะเฮกและแควาเลียร์ผู้หัวเราะ · ดูเพิ่มเติม »

โกนิงส์ดัค

กนิงส์ดัค หรือ วันพระราชา (Nl-Koningsdag.ogg) คือวันหยุดนักขัตฤกษ์ในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเฉลิมฉลองกันในวันที่ 27 เมษายน (หากตรงกับวันอาทิตย์จะเลื่อนไปเป็นวันที่ 26 เมษายน) ในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ แต่เดิมในช่วงระหว่างปี..

ใหม่!!: เดอะเฮกและโกนิงส์ดัค · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา มีประวัติการก่อตั้งโรงเรียนสืบเนื่องมาจาก "โรงเรียนมัธยมหอวังแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย" ซึ่งเป็นโรงเรียนสาธิตสังกัดแผนกวิชาครุศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อการฝึกหัดครู ชั้นประโยคครูมัธยม ครั้นต่อมาโรงเรียนมัธยมหอวังฯ ได้เปลี่ยนรูปงานเป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แผนกวิชาครุศาสตร์จึงไม่มีโรงเรียนสำหรับฝึกหัดครูเป็นระยะเวลานานประมาณ 15 ปี เมื่อแผนกวิชาครุศาสตร์ขยายงานเป็น คณะครุศาสตร์ โดยมีศาสตราจารย์ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา เป็นคณบดีคนแรก ท่านได้เล็งเห็นความจำเป็นในการจัดตั้งโรงเรียนสาธิต เพื่อการฝึกหัดครูขั้นปริญญาขึ้นแทนโรงเรียนมัธยมหอวังฯ จึงได้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นโดยให้ชื่อว่า "โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" และทำพิธีเปิดป้ายชื่อโรงเรียนเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2501 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายประถม และ ฝ่ายมัธยม.

ใหม่!!: เดอะเฮกและโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท

วล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart) 27 มกราคม พ.ศ. 2299 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2334 (ค.ศ. 1756 - 1791) เป็นนักประพันธ์ดนตรีคลาสสิกชาวออสเตรียที่มีชื่อเสียงก้องโลก โมซาร์ทเกิดที่เมืองซาลซ์บูร์ก เขามีงานประพันธ์เพลง 700 ชิ้นรวมทั้งอุปรากร (ดนตรีซึ่งมีเนื้อเรื่อง) ชื่อ ดอน โจวันนี (Don Giovanni) และ ขลุ่ยวิเศษ (Die Zauberflöte) ปัจจุบันผลงานต่าง ๆ ของเขาได้ถูกนำมาจัดจำหน่ายเป็นสื่อต่าง ๆ มากม.

ใหม่!!: เดอะเฮกและโวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท · ดูเพิ่มเติม »

โจเซฟ โคนี

ซฟ โคนี (เกิดราวเดือนกรกฎาคม/กันยายน พ.ศ. 2504) เป็นหัวหน้ากองทัพต่อต้านของพระเจ้า (Lord's Resistance Army - LRA) กลุ่มกองโจรยูกันดา โคนีถูกกล่าวหาจากหน่วยงานของรัฐว่า สั่งการลักพาตัวเด็กเป็นทาสทางเพศเด็กและทหารเด็กInternational Criminal Court (14 October 2005).

ใหม่!!: เดอะเฮกและโจเซฟ โคนี · ดูเพิ่มเติม »

โซฟีแห่งฮันโนเฟอร์

ซฟีแห่งพาลาทิเนต (Sophie von der Pfalz) หรือ โซฟีแห่งฮันโนเฟอร์ (Sophie von Hannover) หรือ โซเฟียแห่งแฮโนเวอร์ (Sophia of Hanover) เป็นเจ้าหญิงเยอรมัน-สกอตแลนด์ ผู้กลายเป็นทายาทโดยสันนิษฐานแห่งราชบัลลังก์อังกฤษ จากการที่นางเป็นพระราชนัดดา (หลานตา) ในพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษทำให้เธอมีสิทธิในราชบัลลังก์อังกฤษ ท่านหญิงโซฟีเกิดเมื่อ 14 ตุลาคม..

ใหม่!!: เดอะเฮกและโซฟีแห่งฮันโนเฟอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไคด์ออฟบลู

ออฟบลู (Kind of Blue) เป็นสตูดิโออัลบั้ม ของ ไมล์ส เดวิส ศิลปินเพลงแจ๊ส ทรัมเป็ต อัลบั้มได้รับการเปิดตัวเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม..

ใหม่!!: เดอะเฮกและไคด์ออฟบลู · ดูเพิ่มเติม »

เชาวน์วัศ สุดลาภา

นายเชาวน์วัศ สุดลาภา อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (จอมพลประภาส จารุเสถียร) ในรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย 2 สมัย ในรัฐบาลของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์เป็นนายกรัฐมนตรี และในสมัยนายชวน หลีกภัย 1 เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่7 ที่มาจากการแต่งตั้ง สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายการต่างประเทศ (ฯพณฯ ท่าน พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านการบริหาร พณฯ ท่าน บรรหาร ศิลปอาชานายกรัฐมนตรีเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ประธานคณะกรรมการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎร เลขาธิการสันนิบาตเสรีชนแห่งประเทศไทย เป็นเลขานุการคณะกรรมการปราบปรามอาชญากรรมแห่งชาติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย รองหัวหน้าพรรคกิจสังคมและผู้ว่าราชการในอีกหลายจังหวั.

ใหม่!!: เดอะเฮกและเชาวน์วัศ สุดลาภา · ดูเพิ่มเติม »

เวิลด์เกมส์

กีฬาเวิลด์เกมส์ (World Games) เป็นการแข่งขันกีฬาประเภทหนึ่งสำหรับทั่วโลก ซึ่งจัดขึ้นทุก 4 ปีจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee หรือ IOC).

ใหม่!!: เดอะเฮกและเวิลด์เกมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เอเรอดีวีซี

อเรอดีวีซี (Eredivisie) เป็นลีกฟุตบอลสูงสุดของประเทศเนเธอร์แลนด์ ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1956 หลังจากเริ่มมีการก่อตั้งสโมสรฟุตบอลอาชีพในเนเธอร์แลนด์ ปัจจุบันอยู่อันดับ 9 ของลีกที่ดีที่สุดในยุโรป จัดอันดับโดยยูฟ่า ลีกนี้มีทีม 18 สโมสร โดยแต่ละทีมจะแข่งกับสโมสรอื่น 2 ครั้ง ครั้งหนึ่งในฐานะทีมเหย้า อีกครั้งในฐานะทีมเยือน โดยเมื่อจบฤดูกาล ทีมที่อยู่ท้ายตารางสุดจะตกไปอยู่ในดิวิชัน 1 หรือเอร์สเตอดีวีซี (Eerste Divisie) โดยทันที ส่วนผู้ชนะในดิวิชัน 1 จะเลื่อนชั้นขึ้นมาในลีกนี้โดยทันที ส่วนอันดับ 16 และ 17 ของตารางเอเรอดีวีซี และทีมจากเอร์สเตอดีวีซี จะแข่งในรอบเพลย์ออฟ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีสโมสรจากเอเรอดีวีซีแข่งทั้งเหย้าและเยือน โดยผู้ชนะในแต่ละกลุ่มในรอบเพลย์ออฟจะได้อยู่ในลีกเอเรอดีวีซีในฤดูกาลถัดไป ส่วน 2 ทีมที่อันดับดีสุดจะได้ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก โดยทีมชนะเลิศจะผ่านเข้าไปรอในรอบแบ่งกลุ่มและได้อยู่โถ 1 ในขณะที่ทีมอันดับ 2 จะต้องแข่งรอบเพลย์ออฟอีกทีหนึ่ง ส่วนอันดับ 3 จะมีสิทธิเข้าไปเล่นในยูฟ่ายูโรปาลีกรอบเพลย์ออฟ สโมสรที่ชนะในลีกมากที่สุดคือ อาเอฟเซ อายักซ์ (AFC Ajax).

ใหม่!!: เดอะเฮกและเอเรอดีวีซี · ดูเพิ่มเติม »

เอเซยัส ฟัน เดอแฟ็ลเดอ

อเซยัส ฟัน เดอแฟ็ลเดอ (Esaias van de Velde; 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1587 - 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1630) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ของยุคทองของเนเธอร์แลนด์ของคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟัน เดอแฟ็ลเดอมีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมภูมิทัศน์และภาพชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: เดอะเฮกและเอเซยัส ฟัน เดอแฟ็ลเดอ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายแบร์นฮาร์ดแห่งลิพเพอ-บีสเตอร์เฟลด์

้าชายแบร์นฮาร์ดแห่งลิพเพอ-บีสเตอร์เฟลด์ (29 มิถุนายน พ.ศ. 2454 - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2547) ต่อมาคือ เจ้าชายแบร์นฮาร์ดแห่งเนเธอร์แลนด์ เป็นพระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์ และเป็นพระราชบิดาของพระธิดา 4 พระองค์ รวมทั้งอดีตสมเด็จพระราชินีนาถแห่งเนเธอร์แลนด์ เจ้าหญิงเบียทริกซ.

ใหม่!!: เดอะเฮกและเจ้าชายแบร์นฮาร์ดแห่งลิพเพอ-บีสเตอร์เฟลด์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงอะเลกซียาแห่งเนเธอร์แลนด์

้าหญิงอะเลกซียา ยูลียานา มาร์เซลา ลอเรนทีนแห่งเนเธอร์แลนด์, เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์-นัสเซา (Alexia Juliana Marcela Laurentien, Prinses der Nederlanden, Prinses van Oranje-Nassau; 26 มิถุนายน พ.ศ. 2548) เป็นพระราชธิดาพระองค์กลางในสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ กับสมเด็จพระราชินีแม็กซิมาแห่งเนเธอร์แลนด์ และอยู่ในลำดับที่สองของการสืบราชบัลลังก์เนเธอร์แลนด์ต่อจากภคินีคือ เจ้าหญิงแห่งออเรน.

ใหม่!!: เดอะเฮกและเจ้าหญิงอะเลกซียาแห่งเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงอันเนตต์แห่งออเรนจ์-นัสเซา ฟัน โฟลเลินโฮเฟิน

้าหญิงอันเนตต์แห่งออเรนจ์-นัสเซา ฟัน โฟลเลินโฮเฟิน (Her Highness Princess Annette of Orange-Nassau, van Vollenhoven) เป็นพระชายาใน เจ้าชายแบร์นาร์ดแห่งออเรนจ์-นัสเซา ฟัน โฟลเลินโฮเฟิน พระโอรสพระองค์ที่ 2 ใน เจ้าหญิงมาร์ครีตแห่งเนเธอร์แลนด์ กับ ปีเตอร์ ฟัน โฟลเลินโฮเฟิน พระองค์และพระสวามี มีพระบุตรร่วมกัน 3 พระอง.

ใหม่!!: เดอะเฮกและเจ้าหญิงอันเนตต์แห่งออเรนจ์-นัสเซา ฟัน โฟลเลินโฮเฟิน · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์

้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เบียทริกซ์ คาร์เมน วิกตอเรีย, เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์, เจ้าหญิงแห่งเนเธอร์แลนด์, เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์-นัสเซา (Catharina-Amalia Beatrix Carmen Victoria, Prinses van Oranje, Prinses der Nederlanden, Prinses van Oranje-Nassau; 7 ธันวาคม พ.ศ. 2546) เป็นองค์รัชทายาทผู้มีสิทธิตรงองค์ปัจจุบันแห่งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ อันประกอบไปด้วยเนเธอร์แลนด์, กือราเซา, อารูบา และซินต์มาร์เติน เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลียเป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์ กับสมเด็จพระราชินีแม็กซิมาแห่งเนเธอร์แลนด์ และเป็นพระราชนัดดาลำดับที่สองของอดีตสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์ พระองค์สืบตำแหน่งรัชทายาทต่อจากพระราชบิดาที่ทรงสืบราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 30 เมษายน..

ใหม่!!: เดอะเฮกและเจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ · ดูเพิ่มเติม »

เดลฟท์

ลฟท์ (Delft) เป็นเมืองในจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ (Zuid-Holland) ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่ตั้งอยู่ระหว่างร็อตเตอร์ดัม และ เฮก เดลฟท์มีชื่อเสียงเช่นเดียวกับเมืองดัตช์อื่นๆ ที่เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางเป็นคลอง และเป็นเมืองของโยฮันส์ เวร์เมร์, เครื่องกระเบื้องเดลฟท์ (Delftware), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเดลฟท์ และความเกี่ยวดองกับราชวงศ์ออเรนจ์-นาซอ.

ใหม่!!: เดอะเฮกและเดลฟท์ · ดูเพิ่มเติม »

เคราร์ด ฟัน โฮนต์ฮอสต์

ราร์ด หรือ แคร์ริต แฮร์มันส์โซน ฟัน โฮนต์ฮอสต์ (Gerard, Gerrit Hermanszoon van Honthorst; 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1592 - 27 เมษายน ค.ศ. 1656) เป็นจิตรกรชาวดัตช์แห่งเมืองยูเทรกต์ในสมัยยุคทองของเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพเหมือน ฟัน โฮนต์ฮอสต์ได้ร่ำเรียนกับอาบราฮัม บลุมาร์ต (Abraham Bloemaert) จิตรกรและช่างพิมพ์ภาพที่เปลี่ยนจากการเขียนแบบตระกูลฟรังก์เกิน (Francken) ไปเป็นการเขียนแบบกึ่งอิตาลีเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เช่นเดียวกับจิตรกรเนเธอร์แลนด์ในขณะนั้นที่ตื่นเต้นกับการการวิวัฒนาการทางจิตรกรรมในแบบอิตาลี ฟัน โฮนต์ฮอสต์เดินทางไปอิตาลีในปี..

ใหม่!!: เดอะเฮกและเคราร์ด ฟัน โฮนต์ฮอสต์ · ดูเพิ่มเติม »

เคานต์เคลาส์-คาร์ซีมีร์แห่งออเรนจ์-นัสเซา

นต์เคลาส์-คาร์ซีมีร์แห่งออเรนจ์-นัสเซา (Count Claus-Casimir of Orange-Nassau) เป็นพระโอรสพระองค์เดียวใน เจ้าชายคอนสตันตินแห่งเนเธอร์แลนด์ กับ เจ้าหญิงลอเรนทีนแห่งเนเธอร์แลนด์ พระองค์ทรงเป็นพระราชนัดดาชายเพียงพระองค์เดียวใน เจ้าหญิงเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ และ เจ้าชายเคลาส์แห่งเนเธอร์แลนด์ และทรงเป็นพระภาติยะชายเพียงพระองค์เดียวใน สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ โดยมีพระบิดามารดาทูลหัวคิอ สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์พระราชปิตุลา(ลุง) เจ้าชายเมาริทส์แห่งออเรนจ์-นัสเซา ฟัน โฟลเลินโฮเฟิน พระญาต.

ใหม่!!: เดอะเฮกและเคานต์เคลาส์-คาร์ซีมีร์แห่งออเรนจ์-นัสเซา · ดูเพิ่มเติม »

เคาน์ตีฮอลแลนด์

อาณาจักรเคานท์แห่งฮอลแลนด์ (Graafschap Holland, County of Holland) เป็นอที่ปกครองโดยเคานท์แห่งฮอลแลนด์ อาณาจักรเคานท์แห่งฮอลแลนด์ก่อตั้งขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 และมาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1795 ที่ตั้งของอาณาจักรใกล้เคียงกับบริเวณจังหวัดฮอลแลนด์เหนือและฮอลแลนด์ใต้ของประเทศเนเธอร์แลนด์ปัจจุบัน และรวมทั้งเกาะ Terschelling, Vlieland, Urk และ Schokland แต่ไม่รวมเกาะต่างๆ ของฮอลแลนด์ใต้ เมืองหลวงของอาณาจักรอยู่ที่เฮก.

ใหม่!!: เดอะเฮกและเคาน์ตีฮอลแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เคาน์เตสอิโลอีสแห่งออเรนจ์-นัสเซา

น์เตสอิโลอีสแห่งออเรนจ์-นัสเซา (Countess Eloise of Orange-Nassau) เป็นพระธิดาคนแรกใน เจ้าชายคอนสตันตินแห่งเนเธอร์แลนด์ กับ เจ้าหญิงลอเรนทีนแห่งเนเธอร์แลนด์ พระองค์ทรงเป็นพระราชนัดดาคนแรกใน เจ้าหญิงเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ และ เจ้าชายเคลาส์แห่งเนเธอร์แลนด์ และทรงเป็นพระภาติยะคนแรกใน สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลน.

ใหม่!!: เดอะเฮกและเคาน์เตสอิโลอีสแห่งออเรนจ์-นัสเซา · ดูเพิ่มเติม »

เคาน์เตสเลโอนอร์แห่งออเรนจ์-นัสเซา

น์เตสอิโลอีสแห่งออเรนจ์-นัสเซา (Countess Leonore of Orange-Nassau) เป็นพระธิดาพระองค์เล็กใน เจ้าชายคอนสตันตินแห่งเนเธอร์แลนด์ กับ เจ้าหญิงลอเรนทีนแห่งเนเธอร์แลนด์ พระองค์ทรงเป็นพระราชนัดดาใน เจ้าหญิงเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ และ เจ้าชายเคลาส์แห่งเนเธอร์แลนด์ และทรงเป็นพระภาติยะใน สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์ เธอมีพระมารดาทูลหัวคือ สมเด็จพระราชินีแม็กซิมาแห่งเนเธอร์แลนด์ ผู้เป็นพระราชปิตุลานี(ป้าสะใภ้).

ใหม่!!: เดอะเฮกและเคาน์เตสเลโอนอร์แห่งออเรนจ์-นัสเซา · ดูเพิ่มเติม »

เตโอ ยันเซิน

ตโอ ยันเซิน (Theo Jansen) เป็นศิลปินชาวดัตช์ที่มีชื่อเสียงจากผลงานสร้างกลไกประดิษฐ์ จากการผสมผสานความรู้ด้านศิลปะและวิศวกรรมศาสตร์ โดยเฉพาะผลงานสร้าง "สตรันด์เบสต์" (Strandbeest) เป็นกลไกที่สร้างขึ้นจากท่อพีวีซี และสามารถเคลื่อนที่ได้โดยอาศัยแรงลมเข้ามาขับเคลื่อนชิ้นส่วน และสามารถเดินผ่านหรือหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางได้ด้วยตัวเอง ยันเซินเกิดทางตอนเหนือของเดอะเฮก จบการศึกษาด้านฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยแด็ลฟต์ เขาเริ่มสร้าง สตรันด์เบสต์ (ชื่อ Strandbeest มาจากภาษาดัตช์ strand แปลว่า ชายหาด และ beest แปลว่า อสุรกาย) ตั้งแต่ปี 1990 จากท่อพีวีซี ไม้ และผ้าใบ สิ่งประดิษฐ์ของเขาสามารถเคลื่อนที่ไปบนหาดทรายได้อย่างเป็นธรรมชาติคล้ายสิ่งมีชีวิต.

ใหม่!!: เดอะเฮกและเตโอ ยันเซิน · ดูเพิ่มเติม »

เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์

right เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปภัมภ์ เป็นองค์การอิสระ ที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ตามพระราชบัญญัติเนติบัณฑิต..

ใหม่!!: เดอะเฮกและเนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

The Hagueกรุงเฮกสกราเวนฮาเกอเฮก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »