โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เซต (แก้ความกำกวม)

ดัชนี เซต (แก้ความกำกวม)

ซต สามารถหมายถึง.

84 ความสัมพันธ์: ชุดตัวอักษรฟังก์ชัน (คณิตศาสตร์)ฟังก์ชันบ่งชี้ฟังก์ชันพื้นและฟังก์ชันเพดานฟังก์ชันว่างฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึงฟังก์ชันคงตัวฟังก์ชันเอกลักษณ์ฟีลด์พีชคณิตพีชคณิตแบบบูลกฎการดูดกลืนกฎความสัมพันธ์กราฟ (คณิตศาสตร์)กราฟ (แบบชนิดข้อมูลนามธรรม)กราฟระบุทิศทางกรุป (คณิตศาสตร์)การกรองตัวเลขในขอบเขตแบบธรรมดาการยกกำลังการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยการหารด้วยศูนย์การดำเนินการ (คณิตศาสตร์)การดำเนินการทวิภาคการดำเนินการทวิภาควนซ้ำการดำเนินการไตรภาคการคูณการเรียงสับเปลี่ยนภาวะลดรูปภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)ภาวะเชิงการนับภาวะเชิงอันดับที่ยูเนียนระบบการเห็นระยะทางริง (คณิตศาสตร์)ลิมิตของฟังก์ชันสมบัติการสลับที่สมบัติการปิดสมบัติการแจกแจงสมบัติการเปลี่ยนหมู่สมมติฐานความต่อเนื่องสมาชิก (คณิตศาสตร์)สมาชิกเอกลักษณ์สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนส่วนเติมเต็มหลายสิ่งอันดับอาร์กิวเมนต์ของค่าสูงสุดอินเตอร์เซกชันอนันต์ผลรวม...ผลรวมเชิงเส้นผลคูณผลคูณคาร์ทีเซียนจำนวนจริงจำนวนธรรมชาติขั้นตอนวิธีการหาปมบรรพบุรุษร่วมใกล้สุดของคู่ปมของทาร์จานขั้นตอนวิธีของคริสโตไฟด์ความฉลาดแบบกลุ่มคอลัมน์ในคอร์เทกซ์คู่ไม่อันดับค่าความจริงตรรกศาสตร์คลุมเครือตัวผกผันการบวกซิงเกิลตันปริภูมิเมเชอร์ผลคูณปัญหาการตัดสินใจปัญหาของฮิลแบร์ทนักคณิตศาสตร์นิจพลนขลิขิตแบบจำลองข้อมูลแผนภาพออยเลอร์โดเมน (ฟังก์ชัน)โดเมนแบบบูลไพป์เมทริกซ์ศูนย์เมเชอร์ภายนอกเอกลักษณ์การบวกเอ็นพี (ความซับซ้อน)เซต (โครงสร้างข้อมูล)เซตวิภัชนัยเซตว่างเซตคันทอร์เซตนับได้ ขยายดัชนี (34 มากกว่า) »

ชุดตัวอักษร

ตัวอักษร (alphabet) ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ หมายถึง เซตของอักขระและตัวเลขที่มีจำนวนสมาชิกมากกว่าศูนย์และมีจำนวนจำกัด โดยปกติแล้วชุดตัวอักษรมักเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ \Sigma.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และชุดตัวอักษร · ดูเพิ่มเติม »

ฟังก์ชัน (คณิตศาสตร์)

ในคณิตศาสตร์ ฟังก์ชัน คือ ความสัมพันธ์ จากเซตหนึ่งที่เรียกว่าโดเมน ไปยังอีกเซตหนึ่งที่เรียกว่าโคโดเมน (บางครั้งคำว่าเรนจ์อาจถูกใช้แทน แต่เรนจ์นั้นมีความหมายอื่นด้วย "โคโดเมน" จึงเป็นที่นิยมมากกว่า เพราะไม่กำกวม) โดยที่สมาชิกตัวหน้าไม่ซ้ำกัน ความคิดรวบยอดของฟังก์ชันนี้เป็นพื้นฐานของทุกสาขาของคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เชิงปริมาณ.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และฟังก์ชัน (คณิตศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ฟังก์ชันบ่งชี้

ฟังก์ชันบ่งชี้ของเซต ''A'' ซึ่งเป็นเซตย่อยของเซต ''X'' แสดงค่าด้วยสีแดง ฟังก์ชันบ่งชี้ (indicator function) หรือบางครั้งเรียกว่า ฟังก์ชันลักษณะเฉพาะ คือฟังก์ชันที่นิยามบนเซต X ซึ่งบ่งชี้ว่าสมาชิกตัวใดตัวหนึ่งจะเป็นสมาชิกของเซตย่อย A ใน X หรือไม่ โดยให้ค่าเป็น 1 ถ้าสมาชิกตัวนั้นอยู่ในเซต A หรือให้ค่าเป็น 0 ถ้าสมาชิกตัวนั้นไม่อยู่ในเซต A แต่ยังคงอยู่ในเซต X.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และฟังก์ชันบ่งชี้ · ดูเพิ่มเติม »

ฟังก์ชันพื้นและฟังก์ชันเพดาน

กราฟของฟังก์ชันพื้น กราฟของฟังก์ชันเพดาน ในทางคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ฟังก์ชันพื้น (floor function) คือฟังก์ชันที่จับคู่จำนวนจริงไปยังจำนวนเต็มที่อยู่ก่อนหน้า นั่นคือ floor (x) เป็นจำนวนเต็มมากที่สุดที่ไม่มากกว่า x ส่วน ฟังก์ชันเพดาน (ceiling function) คือฟังก์ชันที่จับคู่จำนวนจริงไปยังจำนวนเต็มที่อยู่ถัดจากจำนวนนั้น นั่นคือ ceiling (x) คือจำนวนเต็มน้อยที่สุดที่ไม่น้อยกว่า x กราฟของฟังก์ชันพื้นและเพดานทั้งหมด มีลักษณะคล้ายฟังก์ชันขั้นบันได แต่ไม่ใช่ฟังก์ชันขั้นบันได เนื่องจากมีช่วงบนแกน x เป็นจำนวนอนันต.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และฟังก์ชันพื้นและฟังก์ชันเพดาน · ดูเพิ่มเติม »

ฟังก์ชันว่าง

ฟังก์ชันว่าง (empty function) ในทางคณิตศาสตร์คือฟังก์ชันที่มีโดเมนเป็นเซตว่าง สำหรับแต่ละเซต A จะมีฟังก์ชันว่างเช่นนั้นเพียงหนึ่งเดียวคือ กราฟของฟังก์ชันว่างคือเซตย่อยของผลคูณคาร์ทีเซียน ∅ × A เนื่องจากผลคูณนี้เป็นเซตว่าง ดังนั้นจึงมีเซตย่อยเพียงเซตเดียวคือเซตว่าง ∅ เซตย่อยที่เป็นเซตว่างนี้เป็นกราฟที่สามารถใช้งานได้ เพราะสำหรับทุกค่า x ในโดเมน ∅ จะมี y เพียงหนึ่งเดียวในโคโดเมน A ที่ทำให้ (x,y) ∈ ∅ สิ่งนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของความจริงว่างเปล่า (vacuous truth) ด้วยเหตุผลว่า ไม่มี x อยู่ในโดเมน.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และฟังก์ชันว่าง · ดูเพิ่มเติม »

ฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึง

ฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึง ฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึง (bijection, bijective function) คือฟังก์ชัน f จากเซต X ไปยังเซต Y ด้วยสมบัติที่ว่า จะมีสมาชิก x ใน X เพียงหนึ่งเดียวสำหรับทุก ๆ สมาชิก y ใน Y นั่นคือ f (x).

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึง · ดูเพิ่มเติม »

ฟังก์ชันคงตัว

ในทางคณิตศาสตร์ ฟังก์ชันคงตัว (constant function) หมายถึงฟังก์ชันที่ให้ผลลัพธ์ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะให้ค่าตัวแปรต้นเป็นค่าใดๆ คำตอบจะออกมาเป็นค่าคงตัวค่าเดิม ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีฟังก์ชัน f(x).

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และฟังก์ชันคงตัว · ดูเพิ่มเติม »

ฟังก์ชันเอกลักษณ์

ฟังก์ชันเอกลักษณ์ (identity function, identity map) หรือ การแปลงเอกลักษณ์ (identity transformation) คือฟังก์ชันที่คืนค่าออกมาเป็นค่าเดิมจากอาร์กิวเมนต์ที่ใส่เข้าไป มีความหมายเหมือนกับ f (x).

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และฟังก์ชันเอกลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟีลด์

ในคณิตศาสตร์ ฟีลด์คือเซตที่สามารถนิยามการบวก ลบ คูณ และหารได้ และสามารถดำเนินการเหล่านั้นได้เหมือนกับจำนวนตรรกยะและจำนวนจริง ฟีลด์จึงมักถือว่าเป็นโครงสร้างเชิงพีชคณิตพื้นฐาน ซึ่งมักจะถูกใช้ในพีชคณิต, ทฤษฎีจำนวน และคณิตศาสตร์สาขาอื่น ๆ ฟีลด์ที่รู้จักกันดีที่สุดคือ ฟีลด์จำนวนตรรกยะและฟีลด์จำนวนจริง ฟีลด์จำนวนเชิงซ้อนก็ใช้กันมากเช่นกัน ไม่เฉพาะแค่ในคณิตศาสตร์ แต่ในวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมหลายสาขาเช่นกัน ฟีลด์อื่น ๆ มากมาย เช่น ฟีลด์ของฟังก์ชันตรรกยะ ฟีลด์ฟังก์ชันพีชคณิต ฟีลด์ตัวเลขพีชคณิต ก็มักจะถูกใช้และศึกษาในคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทฤษฎีจำนวนและเรขาคณิตเชิงพีชคณิต.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และฟีลด์ · ดูเพิ่มเติม »

พีชคณิต

ีชคณิต (คิดค้นโดย มุฮัมมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์) เป็นสาขาหนึ่งในสามสาขาหลักในทางคณิตศาสตร์ ร่วมกับเรขาคณิต และ การวิเคราะห์ (analysis) พีชคณิตเป็นการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง ความสัมพันธ์ และจำนวน พีชคณิตพื้นฐานจะเริ่มมีสอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยศึกษาเกี่ยวกับการบวกลบคูณและหาร ยกกำลัง และการถอดราก พีชคณิตยังคงรวมไปถึงการศึกษาสัญลักษณ์ ตัวแปร และเซ็ต คำว่า "พีชคณิต" เป็นคำศัพท์ภาษาสันสกฤต พบครั้งแรกในตำราคณิตศาสตร์ชื่อสิทธานตะ ศิโรมณิ ของนักคณิตศาสตร์อินเดียชื่อ ภาสกร หรือ ภาสกราจารย์ ส่วนในภาษาอังกฤษ อัลจีบรา (algebra) มาจากภาษาอาหรับคำว่า الجبر (al-jabr) แปลว่า การรวมกันใหม.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และพีชคณิต · ดูเพิ่มเติม »

พีชคณิตแบบบูล

ในคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ พีชคณิตแบบบูล, พีชคณิตบูลีน หรือ แลตทิซแบบบูล (Boolean algebra) คือโครงสร้างเชิงพีชคณิตซึ่งเป็นการรวบรวมแก่นความหมายของการดำเนินการทางตรรกศาสตร์และทฤษฎีเซต โดยชื่อพีชคณิตแบบบูลนั้นตั้งตามจอร์จ บูล ผู้พัฒนาพีชคณิตแบบนี้.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และพีชคณิตแบบบูล · ดูเพิ่มเติม »

กฎการดูดกลืน

ในพีชคณิต กฎการดูดกลืน (absorption law) คือเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่เชื่อมโยงการดำเนินการทวิภาคสองอย่าง สำหรับการดำเนินการทวิภาคใดๆ สองอย่าง สมมติให้เป็น $ กับ % จะนำไปสู่กฎการดูดกลืนถ้าหาก จะเห็นว่าผลสุดท้าย b หายไป เหลือแต่ a การดำเนินการ $ กับ % จะเรียกว่าเป็น dual pair กำหนดให้เซตบางเซตมีสมบัติการปิดภายใต้การดำเนินการทั้งสองนี้ ถ้าการดำเนินการดังกล่าวมีสมบัติการสลับที่ สมบัติการเปลี่ยนหมู่ และเป็นไปตามกฎการดูดกลืน พีชคณิตนามธรรมที่เกิดขึ้นจะเป็นแลตทิซ (lattice) ตัวอย่างการดำเนินการที่เข้ากับกรณีนี้เช่น meet/join และ and/or เป็นต้น และเนื่องจากสมบัติการสลับที่กับการเปลี่ยนหมู่ มักจะมีในโครงสร้างเชิงพีชคณิตอื่นๆ (อาทิการบวกและการคูณจำนวนจริง) กฎการดูดกลืนจะเป็นสมบัติที่นิยามขึ้นของแลตทิซ ดังเช่นพีชคณิตแบบบูลหรือพีชคณิตเฮย์ทิง (Heyting algebra) ต่างก็เป็นแลตทิซ ดังนั้นจึงเป็นไปตามกฎการดูดกลืนด้วย จากตัวอย่างนี้ หมวดหมู่:พีชคณิตนามธรรม หมวดหมู่:พีชคณิตแบบบูล หมวดหมู่:ตรรกศาสตร์ หมวดหมู่:ทฤษฎีแลตทิซ nl:Absorberend element.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และกฎการดูดกลืน · ดูเพิ่มเติม »

กฎความสัมพันธ์

กฎความสัมพันธ์ (Association Rules) เป็นกระบวนการหนึ่งในการทำ Data Mining ที่ได้รับความนิยมมาก โดยจะใช้ Association Rules ในการหาความสัมพันธ์ของข้อมูลสองชุดหรือมากกว่าสองชุดขึ้นไปภายในกลุ่มข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ ในการหากฎความสัมพันธ์นั้นจะมีขั้นตอนวิธีการหาหลายวิธีด้วยกัน แต่ขั้นตอนวิธีที่เป็นที่รู้จักและใช้อย่างแพร่หลายคือ ขั้นตอนวิธี Apriori ตัวอย่างหนึ่งของ Association Rules ที่ใช้กันก็คือ Market Basket Analysis ที่ใช้ในการหาความสัมพันธ์ของสินค้าที่ลูกค้ามักจะซื้อพร้อมกัน เพื่อใช้ในการจัดรายการส่งเสริมการ.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และกฎความสัมพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

กราฟ (คณิตศาสตร์)

วาดของกราฟระบุชื่อที่มีจุดยอด 6 จุด และเส้นเชื่อม 7 เส้น ในคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ กราฟ (Graph) ประกอบไปด้วยเซตของวัตถุที่เรียกว่าจุดยอด (vertex) ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยเส้นเชื่อม (edge) โดยทั่วไปแล้วเรามักวาดรูปแสดงกราฟโดยใช้จุด (แทนจุดยอด) เชื่อมกันด้วยเส้น (แทนเส้นเชื่อม) กราฟเป็นวัตถุพื้นฐานของการศึกษาในวิยุตคณิต หัวข้อทฤษฎีกราฟ เส้นเชื่อมอาจมีทิศทางหรือไม่ก็ได้ ตัวอย่างเช่น สมมุติให้จุดยอดแทนคนและเส้นเชื่อมแทนการจับมือกัน เส้นเชื่อมก็จะเป็นเส้นเชื่อมไม่มีทิศ เพราะการที่ A จับมือ B ก็แปลว่า B จับมือ A อย่างไรก็ตาม สมมุติถ้าจุดยอดแทนคนและเส้นเชื่อมแทนการรู้จัก เส้นเชื่อมก็ต้องเป็นเส้นเชื่อมมีทิศทาง เพราะ A รู้จัก B ไม่จำเป็นว่า B ต้องรู้จัก A หรือนั่นก็คือความสัมพันธ์การรู้จักไม่เป็นความสัมพันธ์สมมาตร จุดยอดอาจจะถูกเรียกว่าโหนด ปม หรือจุด ในขณะที่เส้นเชื่อมอาจถูกเรียกว่าเส้น คำว่า "กราฟ" ถูกใช้ครั้งแรกโดย J.J. Sylvester ในปี..

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และกราฟ (คณิตศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

กราฟ (แบบชนิดข้อมูลนามธรรม)

กราฟที่มี 6 จุดยอด และ 7 เส้นเชื่อม ในสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ กราฟเป็นโครงสร้างข้อมูลที่นำแนวคิดของกราฟทางคณิตศาสตร์และไฮเปอร์กราฟมาทำให้เกิดผล โครงสร้างข้อมูลแบบกราฟประกอบด้วยเซตสองชุด คือ เซตของจุดยอด (หรือปม) และ เส้นเชื่อม เช่นเดียวกันกับทางคณิตศาสตร์ เส้นเชื่อม(x,y) มีหมายความว่า เส้นเชื่อมจากจุดยอด x ไปยังจุดยอด y โครงสร้างข้อมูลแบบกราฟอาจให้ค่ากับเส้นเชื่อมโดยอาจจะให้ความหมายได้หลายอย่าง เช่น มูลค่า ความจุ ความยาว น้ำหนัก ฯลฯ.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และกราฟ (แบบชนิดข้อมูลนามธรรม) · ดูเพิ่มเติม »

กราฟระบุทิศทาง

กราฟระบุทิศทาง ในทฤษฎีกราฟ กราฟระบุทิศทาง หรือ ไดกราฟ คือกราฟซึ่งเส้นเชื่อมมีทิศ กล่าวคือกราฟ G.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และกราฟระบุทิศทาง · ดูเพิ่มเติม »

กรุป (คณิตศาสตร์)

กรุป (group) ในพีชคณิตนามธรรม คือ เซตกับการดำเนินการทวิภาค เช่น การคูณหรือการบวก ซึ่งสอดคล้องกับสัจพจน์ ตัวอย่างเช่น เซตของจำนวนเต็มเป็นกรุปภายใต้การดำเนินการการบวก สาขาของคณิตที่ศึกษาเกี่ยวกับกรุปเรียกว่า ทฤษฎีกรุป ต้นกำเนิดของทฤษฎีกรุปนั้นย้อนกลับไปสู่ผลงานของเอวาริสต์ กาลัว (พ.ศ. 2373) เกี่ยวกับปัญหาที่ว่าเมื่อใดสมการเชิงพีชคณิตจึงจะสามารถหาคำตอบได้จากราก ก่อนผลงานของเขาการศึกษากรุปเป็นไปอย่างเป็นรูปธรรม ในรูปแบบการเรียงสับเปลี่ยน หลักเกณฑ์บางข้อของอาบีเลียนกรุป อยู่ในทฤษฎีรูปแบบกำลังสอง หลายสิ่งที่ศึกษากันในคณิตศาสตร์เป็นกรุป รวมไปถึงระบบจำนวนที่คุ้นเคย เช่น จำนวนเต็ม จำนวนตรรกยะ จำนวนจริง และจำนวนเชิงซ้อน ภายใต้การบวก เช่นเดียวกับจำนวนตรรกยะ จำนวนจริง และจำนวนเชิงซ้อนที่ไม่ใช่ศูนย์ ภายใต้การคูณ ตัวอย่างที่สำคัญอีกตัวอย่างหนึ่งคือ เมทริกซ์ไม่เอกฐาน ภายใต้การคูณ และฟังก์ชันที่หาฟังก์ชันผกผันได้ ภายใต้ การประกอบฟังก์ชัน ทฤษฎีกรุปรองรับคุณสมบัติของระบบเหล่านี้และระบบอื่นๆอีกมากมายในรูปแบบทั่วไป ผลลัพธ์ยังสามารถประยุกต์ได้หลากหลาย ทฤษฎีกรุปยังเต็มไปด้วยทฤษฎีบทในตัวมันเองอีกมากเช่นกัน ภายใต้กรุปยังมีโครงสร้างเชิงพีชคณิตอีกมาก เช่นฟิลด์ และปริภูมิเวกเตอร์ กรุปยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการศึกษาสมมาตรในรูปแบบต่างๆ หลักการที่ว่า "สมมาตรของวัตถุใดๆก่อให้เกิดกรุป" เป็นหลักพื้นฐานของคณิตศาสตร์มากมาย ด้วยเหตุผลเหล่านี้ทฤษฎีกรุปจึงเป็นสาขาที่สำคัญในคณิตศาสตร์ยุดใหม่ และยังเป็นหนึ่งในบทประยุกต์ของ ฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์ อีกด้วย (ตัวอย่างเช่น ฟิสิกส์อนุภาค).

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และกรุป (คณิตศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

การกรองตัวเลขในขอบเขตแบบธรรมดา

ในทฤษฎีจำนวนนั้น การกรองตัวเลขในขอบเขตแบบธรรมดา (General number field sieve: GNFS) เป็น วิธีการในการแยกตัวประกอบจำนวนเต็มที่มีขนาดใหญ่ (มีตัวประกอบ 100 ตัวขึ้นไป) ได้เร็วที่สุด มักจะใช้กับเลขที่มีจำนวนมากกว่า 110 บิท โดยนำไปใช้ในการเข้ารหัสลับแบบกุญแจอสมมาตร (Public-key cryptography) ซึ่งเป็นขั้นตอนวิธีที่เหมาะสำหรับลายเซ็นดิจิตอลรวมทั้งการเข้ารหัสที่มีความปลอดภัย การกรองตัวเลขในขอบเขตแบบธรรมดา นั้นมีเป้าหมายเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของที่มา, ข้อมูล และทฤษฎี ให้ผู้อ่านที่มีความเข้าใจในด้านต่างๆ เข้าใจและได้ข้อสรุปตรงกันและร่วมกันยกระดับพื้นฐานของวิธีการนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย จะเห็นได้ว่า การกรองตัวเลขในขอบเขตแบบธรรมดานั้นมีความสำคัญอย่างมากในการรับส่งข้อความที่เป็นความลับ จึงเป็นสิ่งที่นักวิชาการให้ความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นตัวขั้นตอนการทำงาน ผลลัพธ์จากหลากหลายขอบเขตของคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์, ทฤษฎีเลขพีชคณิต, สมการเชิงเส้น, ค่าจำนวนจริง และการวิเคราะห์เชิงซ้อน.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และการกรองตัวเลขในขอบเขตแบบธรรมดา · ดูเพิ่มเติม »

การยกกำลัง

้าx+1ส่วนx.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และการยกกำลัง · ดูเพิ่มเติม »

การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

ระบบการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย (เรียกสั้น ๆ ว่า ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษา) เป็นระบบการรับสมัครบุคคลที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษามีการพัฒนามาตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

การหารด้วยศูนย์

ในทางคณิตศาสตร์ การหารด้วยศูนย์ หมายถึงการหารที่มีตัวหารเท่ากับ 0 ซึ่งอาจสามารถเขียนอยู่ในรูปเศษส่วน \textstyle\frac โดยที่ a เป็นตัวตั้ง ค่าของนิพจน์นี้จะมีความหมายหรือไม่ขึ้นอยู่กับบทตั้งทางคณิตศาสตร์ที่เป็นบริบท แต่โดยทั่วไปในเลขคณิตของจำนวนจริง นิพจน์ดังกล่าวไม่มีความหมาย สำหรับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การหารด้วยศูนย์ในจำนวนเต็มอาจทำให้โปรแกรมเกิดข้อผิดพลาดจนหยุดทำงาน หรือในกรณีของจำนวนจุดลอยตัวอาจให้ผลลัพธ์เป็นค่าพิเศษที่เรียกว่า NaN (Not a Number).

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และการหารด้วยศูนย์ · ดูเพิ่มเติม »

การดำเนินการ (คณิตศาสตร์)

การดำเนินการ (Operation) ในทางคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ หมายถึง การกระทำหรือลำดับขั้นตอนซึ่งสร้างค่าใหม่ขึ้นเป็นผลลัพธ์ โดยการรับค่าเข้าไปหนึ่งตัวหรือมากกว่า การดำเนินการสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ การดำเนินการเอกภาคและการดำเนินการทวิภาค การดำเนินการเอกภาคจะใช้ค่าที่ป้อนเข้าไปเพียงหนึ่งค่าเช่น นิเสธ ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ส่วนการดำเนินการทวิภาคจะใช้สองค่าเช่น การบวก การลบ การคูณ การหาร การยกกำลัง การดำเนินการสามารถเกี่ยวข้องกับวัตถุทางคณิตศาสตร์อย่างอื่นที่นอกเหนือจากจำนวนก็ได้ ตัวอย่างเช่น ค่าเชิงตรรกะ จริง และ เท็จ สามารถใช้กับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์อย่าง and, or, not; เวกเตอร์สามารถบวกและลบกันได้; ฟังก์ชันประกอบสามารถใช้เป็นการหมุนของวัตถุหลาย ๆ ครั้งได้; การดำเนินการของเซตมีทั้งแบบทวิภาคคือยูเนียน อินเตอร์เซกชัน และแบบเอกภาคคือคอมพลีเมนต์ เป็นต้น การดำเนินการบางอย่างอาจไม่สามารถนิยามได้บนทุก ๆ ค่าที่เป็นไปได้ เช่น ในจำนวนจริง เราจะไม่สามารถหารด้วยศูนย์หรือถอดรากที่สองจากจำนวนลบ ค่าเริ่มต้นสำหรับการดำเนินการได้นิยามมาจากเซตเซตหนึ่งที่เรียกว่าโดเมน และเซตที่เป็นผลลัพธ์เรียกว่าโคโดเมน แต่ค่าที่แท้จริงที่เกิดจากการดำเนินการนั้นอาจออกมาเป็นเรนจ์ อาทิการถอดรากที่สองในจำนวนจริงจะให้ผลลัพธ์เพียงจำนวนที่ไม่เป็นลบ ดังนั้นโคโดเมนคือเซตของจำนวนจริง แต่เรนจ์คือเซตของจำนวนที่ไม่เป็นลบเท่านั้น การดำเนินการอาจเกี่ยวข้องกับวัตถุสองชนิดที่ต่างกันก็ได้ ตัวอย่างเช่น เราสามารถคูณเวกเตอร์ด้วยปริมาณสเกลาร์เพื่อเปลี่ยนขนาดของเวกเตอร์ และผลคูณภายใน (inner product) ของสองเวกเตอร์จะให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นสเกลาร์ การดำเนินการหนึ่ง ๆ อาจจะมีหรือไม่มีสมบัติบางอย่าง เช่นสมบัติการเปลี่ยนกลุ่ม การสลับที่ และอื่น ๆ ค่าที่ใส่เข้ามาในการดำเนินการอาจเรียกว่า ตัวถูกดำเนินการ, อาร์กิวเมนต์, ค่ารับเข้า ส่วนค่าที่ได้ออกไปจากการดำเนินการเรียกว่า ค่า, ผลลัพธ์, ค่าส่งออก การดำเนินการสามารถมีตัวถูกดำเนินการหนึ่งค่า สองค่า หรือมากกว่าก็ได้ การดำเนินการนั้นคล้ายกับตัวดำเนินการแต่ต่างกันที่มุมมอง ตัวอย่างเช่น หากใครคนหนึ่งกล่าวว่า "การดำเนินการของการบวก" จะเป็นการเน้นจุดสนใจไปที่ตัวถูกดำเนินการและผลลัพธ์ ในขณะที่อีกคนหนึ่งกล่าวว่า "ตัวดำเนินการของการบวก" จะเป็นการมุ่งประเด็นไปที่กระบวนการที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ หรือหมายถึงฟังก์ชัน +: S × S → S ซึ่งเป็นมุมมองนามธรรม.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และการดำเนินการ (คณิตศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

การดำเนินการทวิภาค

ในทางคณิตศาสตร์ การดำเนินการทวิภาค หมายถึงการคำนวณที่ต้องเกี่ยวข้องกับตัวถูกดำเนินการสองค่า หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง หมายถึงการดำเนินการที่มีอาริตี้ (arity) เท่ากับสอง การดำเนินการทวิภาคสามารถคำนวณให้สำเร็จได้โดยใช้ฟังก์ชันทวิภาคหรือตัวดำเนินการทวิภาคอย่างใดอย่างหนึ่ง การดำเนินการทวิภาคบางครั้งถูกเรียกว่าเป็น dyadic operation ในภาษาอังกฤษเพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนกับระบบเลขฐานสอง (binary numeral system) ตัวอย่างการดำเนินการทวิภาคที่คุ้นเคยเช่น การบวก การลบ การคูณ และการหาร เป็นต้น การดำเนินการทวิภาคบนเซต S คือความสัมพันธ์ f ที่จับคู่สมาชิกในผลคูณคาร์ทีเซียน S×S ไปยัง S ถ้าความสัมพันธ์ดังกล่าวไม่เป็นฟังก์ชัน แต่เป็นฟังก์ชันบางส่วน เราจะเรียกการดำเนินการนี้ว่า การดำเนินการ (ทวิภาค) บางส่วน ตัวอย่างเช่น การหารในจำนวนจริงถือว่าเป็นฟังก์ชันบางส่วน เพราะไม่นิยามการหารด้วยศูนย์ แต่บางครั้งในวิทยาการคอมพิวเตอร์ การดำเนินการทวิภาคอาจหมายถึงฟังก์ชันทวิภาคใดๆ ก็ได้ และถ้าความสัมพันธ์ f ให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นสมาชิกในเซต S เหมือนกับตัวตั้ง จะเรียกได้ว่าการดำเนินการทวิภาคนั้นมีสมบัติการปิด (closure) การดำเนินการทวิภาคเป็นส่วนสำคัญในโครงสร้างเชิงพีชคณิตในการศึกษาพีชคณิตนามธรรม ซึ่งใช้สำหรับสร้างกรุป โมนอยด์ กึ่งกรุป ริง และอื่นๆ หรือกล่าวโดยทั่วไป เซตที่นิยามการดำเนินการทวิภาคใดๆ บนเซตนั้น เรียกว่า แม็กม่า (magma) การดำเนินการทวิภาคหลายอย่างในพีชคณิตและตรรกศาสตร์มีสมบัติการเปลี่ยนหมู่และสมบัติการสลับที่ และหลายอย่างก็มีสมาชิกเอกลักษณ์และสมาชิกผกผัน ตัวอย่างการดำเนินการที่มีคุณสมบัติทั้งหมดนี้เช่น การบวก (+) และการคูณ (*) บนจำนวนและเมทริกซ์ หรือการประกอบฟังก์ชัน (function composition) บนเซตเซตหนึ่ง ส่วนการดำเนินการที่ไม่มีสมบัติการเปลี่ยนหมู่ ยกตัวอย่างเช่น การลบ (−) และ การดำเนินการบางส่วน ที่ไม่มีสมบัตินี้เช่น การหาร (/) การยกกำลัง (^) และการยกกำลังซ้อน (tetration) (↑↑) การเขียนการดำเนินการทวิภาคส่วนมากใช้สัญกรณ์เติมกลาง (infix notation) เช่น a * b, a + b, หรือ a · b นอกจากนั้นก็เขียนอยู่ในรูปแบบของสัญกรณ์ฟังก์ชัน f (a, b) หรือแม้แต่การเขียนย่อด้วยวิธี juxtaposition เหลือเพียง ab ส่วนการยกกำลัง ปกติแล้วจะเขียนโดยไม่ใช้ตัวดำเนินการ แต่เขียนจำนวนที่สองด้วยตัวยก (superscript) แทน นั่นคือ ab บางครั้งอาจพบเห็นการใช้สัญกรณ์เติมหน้า (prefix notation) หรือสัญกรณ์เติมหลัง (postfix notation) ซึ่งอาจต้องใช้วงเล็บกำกั.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และการดำเนินการทวิภาค · ดูเพิ่มเติม »

การดำเนินการทวิภาควนซ้ำ

ในทางคณิตศาสตร์ การดำเนินการทวิภาควนซ้ำ คือการขยายการดำเนินการทวิภาคบนเซต S ไปยังฟังก์ชันบนลำดับจำกัด ที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกของ S ด้วยวิธีดำเนินการวนซ้ำ ตัวอย่างของการดำเนินการทวิภาควนซ้ำเช่น การขยายการบวก ไปเป็นการดำเนินการผลรวม (summation) และการขยายการคูณ ไปเป็นการดำเนินการผลคูณ (product) สำหรับการดำเนินการอย่างอื่นก็สามารถวนซ้ำได้ อาทิยูเนียนและอินเตอร์เซกชันของเซต แต่การดำเนินการเหล่านั้นก็ไม่มีชื่อเรียกให้ต่างออกไป ผลรวมและผลคูณสามารถนำเสนอได้ด้วยสัญลักษณ์พิเศษในการพิมพ์ แต่สำหรับการดำเนินการทวิภาควนซ้ำอย่างอื่นจะใช้สัญลักษณ์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นแทนตัวดำเนินการธรรมดา ดังนั้นการวนซ้ำของการดำเนินการสี่อย่างข้างต้นจึงสามารถเขียนแทนได้เป็น ในกรณีทั่วไป มีหลายวิธีการที่จะขยายการดำเนินการทวิภาคเพื่อที่จะนำไปใช้บนลำดับจำกัด ขึ้นอยู่กับว่าตัวดำเนินการนั้นมีสมบัติการเปลี่ยนหมู่หรือไม่ และมีสมาชิกเอกลักษณ์หรือไม.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และการดำเนินการทวิภาควนซ้ำ · ดูเพิ่มเติม »

การดำเนินการไตรภาค

ในคณิตศาสตร์ การดำเนินการไตรภาค เป็นการดำเนินการ n-อาริตี โดยที่ n.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และการดำเนินการไตรภาค · ดูเพิ่มเติม »

การคูณ

3 × 4.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และการคูณ · ดูเพิ่มเติม »

การเรียงสับเปลี่ยน

ในหลายสาขาของคณิตศาสตร์ การเรียงสับเปลี่ยน (permutation) อาจมีความหมายที่แตกต่างกันดังที่จะได้กล่าวต่อไป ซึ่งทั้งหมดนั้นเกี่ยวกับการจับคู่สมาชิกต่างๆ ของเซต ไปยังสมาชิกตัวอื่นในเซตเดียวกัน ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนลำดับสมาชิกของเซต.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และการเรียงสับเปลี่ยน · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะลดรูป

ในทางคณิตศาสตร์ ภาวะลดรูป (degeneracy, degenerate case) หมายถึง กรณีจำกัดที่ทำให้คลาสของวัตถุหนึ่งๆ เปลี่ยนคุณสมบัติธรรมชาติไปจนกลายเป็นคลาสของวัตถุชนิดอื่น ซึ่งมักจะเป็นคลาสที่เรียบง่ายกว่า ตัวอย่างเช่น.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และภาวะลดรูป · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)

ในทางคณิตศาสตร์ จำนวนเต็มใด ๆ จะเป็นจำนวนคู่หรือจำนวนคี่อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าจำนวนนั้นเป็นพหุคูณของ 2 มันจะเป็นจำนวนคู่ มิฉะนั้น มันจะเป็นจำนวนคี่ ตัวอย่างของจำนวนคู่ เช่น -4, 8, 0 และ 70 ตัวอย่างของจำนวนคี่ เช่น -5, 1 และ 71 เลข 0 เป็นจำนวนคู่ เพราะ 0.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเชิงการนับ

ในทางคณิตศาสตร์ ภาวะเชิงการนับ ของเซต (cardinality) คือการวัดปริมาณว่ามีสมาชิกจำนวนเท่าไรในเซต ตัวอย่างเช่น เซต A.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และภาวะเชิงการนับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเชิงอันดับที่

ในทางคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะกับทฤษฎีเซต เซตอันดับสองเซต X, Y จะกล่าวว่ามี ภาวะเชิงอันดับที่ (order type, ordinality) เท่ากัน ก็ต่อเมื่อเซตทั้งสองสมสัณฐานเชิงอันดับ (order isomorphic) นั่นคือ มีฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึง (bijection) f: X → Y อย่างน้อยหนึ่งฟังก์ชัน ที่ทั้ง f และ f −1 เป็นฟังก์ชันทางเดียว (monotone function) (ยังคงเรียงตามลำดับ) ตัวอย่างเช่น เซตของจำนวนเต็มและเซตของจำนวนคู่ มีภาวะเชิงอันดับที่เท่ากัน เพราะว่าการจับคู่ n ↦ 2n ยังคงเรียงตามลำดับ แต่เซตของจำนวนเต็มกับเซตของจำนวนตรรกยะไม่สมสัณฐานเชิงอันดับ ถึงแม้ว่าจะมีขนาดเท่ากัน เพราะไม่มีการจับคู่แบบหนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึงที่ยังคงเรียงตามลำดับระหว่างสองเซตนั้น อันเนื่องจากความเทียบเท่าเชิงอันดับเป็นความสัมพันธ์สมมูล (equivalence relation) มันจึงแบ่งคลาสของเซตทั้งหมด ให้เป็นคลาสที่สมมูลกันหลายคล.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และภาวะเชิงอันดับที่ · ดูเพิ่มเติม »

ยูเนียน

ูเนียน (union) หรือ ส่วนรวม คือการดำเนินการของเซต เป็นการสร้างเซตใหม่ซึ่งเป็นผลจากการรวมสมาชิกทั้งหมดของเซตต้นแบบเข้าด้วยกัน เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ (คล้ายอักษรตัวใหญ่ U).

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และยูเนียน · ดูเพิ่มเติม »

ระบบการเห็น

ังไม่มี เผื่ออนาคต mammalian visual systemsEye -refined.svg||thumb|200px|ระบบการเห็นประกอบด้วตา และ วิถีประสาทที่เชื่อมตากับpostscript.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และระบบการเห็น · ดูเพิ่มเติม »

ระยะทาง

ลยืนอยู่ในระยะทางต่างๆ กัน ระยะทาง หมายถึงตัวเลขที่อธิบายว่า วัตถุแต่ละอย่างอยู่ห่างกันเท่าไรในช่วงเวลาหนึ่ง ในทางฟิสิกส์ ระยะทางอาจหมายถึงความยาวทางกายภาพ ระยะเวลา หรือการประมาณค่าบนสิ่งที่พิจารณาสองอย่าง ส่วนทางคณิตศาสตร์จะพิจารณาอย่างเฉพาะเจาะจงมากกว่า โดยทั่วไปแล้ว "ระยะทางจาก A ไป B" มีความหมายเหมือนกับ "ระยะทางระหว่าง A กับ B".

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และระยะทาง · ดูเพิ่มเติม »

ริง (คณิตศาสตร์)

ในทางคณิตศาสตร์ ริง (ring) หมายถึงโครงสร้างเชิงพีชคณิตประเภทหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติต่างๆ ทางพีชคณิตของจำนวนเต็ม ริงหนึ่งๆ มีการดำเนินการสองชนิดที่มักเรียกว่า การบวก กับ การคูณ ต่างกับกรุป (group) ที่มีการดำเนินการเพียงชนิดเดียว สาขาหนึ่งของพีชคณิตนามธรรมที่ศึกษาเกี่ยวกับริง เรียกว่า ทฤษฎีริง.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และริง (คณิตศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ลิมิตของฟังก์ชัน

ในวิชาคณิตศาสตร์ ลิมิตของฟังก์ชัน เป็นแนวคิดพื้นฐานของ คณิตวิเคราะห์ (ภาคทฤษฎีของแคลคูลัส) ถ้าเราพูดว่า ฟังก์ชัน f มีลิมิต L ที่จุด p หมายความว่า ผลลัพธ์ของ f จะเข้าใกล้ L ที่จุดใกล้จุด p สำหรับนิยามอย่างเป็นทางการนั้น มีการกำหนดขึ้นครั้งแรก ช่วงปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีรายละเอียดอยู่ข้างล่าง ดูที่ ข่ายลำดับ (topology) สำหรับนัยทั่วไปของแนวคิดของลิมิต.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และลิมิตของฟังก์ชัน · ดูเพิ่มเติม »

สมบัติการสลับที่

ตัวอย่างแสดงสมบัติการสลับที่ของการบวก (3 + 2.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และสมบัติการสลับที่ · ดูเพิ่มเติม »

สมบัติการปิด

สมบัติการปิด (closure) หมายถึงสมบัติภายใต้การดำเนินการอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อสมาชิกของเซตดำเนินการอย่างนั้นแล้วได้ผลลัพธ์เป็นสมาชิกของเซตเดิม ตัวอย่างเช่น จำนวนจริงมีสมบัติการปิดภายใต้การลบ แต่จำนวนธรรมชาติไม่มีสมบัตินี้ เช่น 3 กับ 8 เป็นจำนวนธรรมชาติทั้งคู่ แต่ผลลัพธ์ของ 3 − 8 ไม่ใช่จำนวนธรรมชาติ อีกตัวอย่างหนึ่ง กำหนดให้เซตมี 0 เพียงตัวเดียว เซตนี้มีสมบัติการปิดภายใต้การคูณ ในทำนองเดียวกัน เราอาจกล่าวได้ว่าเซต มีสมบัติการปิดภายใต้กลุ่มของการดำเนินการ ถ้าหากมันมีสมบัติการปิดภายใต้การดำเนินการหลายชนิดโดยทีละอย่าง หมวดหมู่:ตัวดำเนินการการปิด หมวดหมู่:พีชคณิตนามธรรม.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และสมบัติการปิด · ดูเพิ่มเติม »

สมบัติการแจกแจง

ในทางคณิตศาสตร์ สมบัติการแจกแจง (distributivity) คือสมบัติหนึ่งที่สามารถมีได้บนการดำเนินการทวิภาค ซึ่งเป็นกรณีทั่วไปของกฎการแจกแจงจากพีชคณิตมูลฐาน ตัวอย่างเช่น ข้างซ้ายของสมการข้างต้น 2 คูณเข้ากับผลบวกของ 1 กับ 3 ส่วนข้างขวา 2 คูณเข้ากับ 1 และ 3 แต่ละตัวแยกกัน แล้วค่อยนำผลคูณเข้ามาบวก เนื่องจากตัวอย่างข้างต้นให้ผลลัพธ์เท่ากันคือ 8 เราจึงกล่าวว่า การคูณด้วย 2 แจกแจงได้ (distribute) บนการบวกของ 1 กับ 3 เราสามารถแทนที่จำนวนเหล่านั้นด้วยจำนวนจริงใดๆ แล้วทำให้สมการยังคงเป็นจริง เราจึงกล่าวว่า การคูณของจำนวนจริง แจกแจงได้บนการบวกของจำนวนจริง สมบัติการแจกแจงจึงต้องเกี่ยวข้องกับการดำเนินการสองชน.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และสมบัติการแจกแจง · ดูเพิ่มเติม »

สมบัติการเปลี่ยนหมู่

ในคณิตศาสตร์ สมบัติการเปลี่ยนหมู่ (associativity) เป็นสมบัติหนึ่งที่สามารถมีได้ของการดำเนินการทวิภาค ซึ่งนิพจน์ที่มีตัวดำเนินการเดียวกันตั้งแต่สองตัวขึ้นไป การดำเนินการสามารถกระทำได้โดยไม่สำคัญว่าลำดับของตัวถูกดำเนินการจะเป็นอย่างไร นั่นหมายความว่า การใส่วงเล็บเพื่อบังคับลำดับการคำนวณในนิพจน์ จะไม่ส่งผลต่อผลลัพธ์สุดท้าย ตัวอย่างเช่น นิพจน์ข้างซ้ายจะบวก 5 กับ 2 ก่อนแล้วค่อยบวก 1 ส่วนนิพจน์ข้างขวาจะบวก 2 กับ 1 ก่อนแล้วค่อยบวก 5 ไม่ว่าลำดับของวงเล็บจะเป็นอย่างไร ผลบวกของนิพจน์ก็เท่ากับ 8 ไม่เปลี่ยนแปลง และเนื่องจากสมบัตินี้เป็นจริงในการบวกของจำนวนจริงใดๆ เรากล่าวว่า การบวกของจำนวนจริงเป็นการดำเนินการที่ เปลี่ยนหมู่ได้ (associative) ไม่ควรสับสนระหว่างสมบัติการเปลี่ยนหมู่กับสมบัติการสลับที่ สมบัติการสลับที่เป็นการเปลี่ยนลำดับของตัวถูกดำเนินการในนิพจน์ ในขณะที่สมบัติการเปลี่ยนหมู่ไม่ได้สลับตัวถูกดำเนินการเหล่านั้น เพียงแค่เปลี่ยนลำดับการคำนวณ เช่นตัวอย่างต่อไปนี้ ไม่ใช่ตัวอย่างของสมบัติการเปลี่ยนหมู่ เพราะว่า 2 กับ 5 สลับที่กัน การดำเนินการเปลี่ยนหมู่ได้มีมากมายในคณิตศาสตร์ และด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าโครงสร้างเชิงพีชคณิตส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีการดำเนินการทวิภาคที่เปลี่ยนหมู่ได้เป็นส่วนประกอบ อย่างไรก็ตามการดำเนินการหลายอย่างที่สำคัญก็ เปลี่ยนหมู่ไม่ได้ หรือ ไม่เปลี่ยนหมู่ (non-associative) เช่นผลคูณไขว้ของเวกเตอร.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และสมบัติการเปลี่ยนหมู่ · ดูเพิ่มเติม »

สมมติฐานความต่อเนื่อง

มมติฐานความต่อเนื่อง (continuum hypothesis) คือ สมมติฐานเกี่ยวกับขนาดของเซตอนันต.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และสมมติฐานความต่อเนื่อง · ดูเพิ่มเติม »

สมาชิก (คณิตศาสตร์)

ในทางคณิตศาสตร์ สมาชิก ของเซต หมายถึงวัตถุแต่ละสิ่งที่ประกอบเข้าด้วยกันเป็นเซต.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และสมาชิก (คณิตศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

สมาชิกเอกลักษณ์

ในทางคณิตศาสตร์ สมาชิกเอกลักษณ์ (identity element) หรือ สมาชิกกลาง (neutral element) คือสมาชิกพิเศษของเซตหนึ่งๆ ซึ่งเมื่อสมาชิกอื่นกระทำการดำเนินการทวิภาคกับสมาชิกพิเศษนั้นแล้วได้ผลลัพธ์ไม่เปลี่ยนแปลง สมาชิกเอกลักษณ์มีที่ใช้สำหรับเรื่องของกรุปและแนวความคิดที่เกี่ยวข้อง คำว่า สมาชิกเอกลักษณ์ มักเรียกโดยย่อว่า เอกลักษณ์ กำหนดให้กรุป (S, *) เป็นเซต S ที่มีการดำเนินการทวิภาค * (ซึ่งรู้จักกันในชื่อ แม็กม่า (magma)) สมาชิก e ในเซต S จะเรียกว่า เอกลักษณ์ซ้าย (left identity) ถ้า สำหรับทุกค่าของ a ในเซต S และเรียกว่า เอกลักษณ์ขวา (right identity) ถ้า สำหรับทุกค่าของ a ในเซต S และถ้า e เป็นทั้งเอกลักษณ์ซ้ายและเอกลักษณ์ขวา เราจะเรียก e ว่าเป็น เอกลักษณ์สองด้าน (two-sided identity) หรือเรียกเพียงแค่ เอกลักษณ์ เอกลักษณ์ที่อ้างถึงการบวกเรียกว่า เอกลักษณ์การบวก ซึ่งมักใช้สัญลักษณ์ 0 ส่วนเอกลักษณ์ที่อ้างถึงการคูณเรียกว่า เอกลักษณ์การคูณ ซึ่งมักใช้สัญลักษณ์ 1 ความแตกต่างของสองเอกลักษณ์นี้มักถูกใช้บนเซตที่รองรับทั้งการบวกและการคูณ ตัวอย่างเช่น ริง นอกจากนั้นเอกลักษณ์การคูณมักถูกเรียกว่าเป็น หน่วย (unit) ในบางบริบท แต่ทั้งนี้ หน่วย อาจหมายถึงสมาชิกตัวหนึ่งที่มีตัวผกผันการคูณในเรื่องของทฤษฎีริง.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และสมาชิกเอกลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

รานุกรมไทยสำหรับเยาวชน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นสารานุกรมภาษาไทยจัดทำขึ้นเป็นรูปเล่ม โดยมีเนื้อหาบางส่วนเผยแพร่ในระบบออนไลน์ เป็นสารานุกรมไทยแบบเป็นชุด เน้นความรู้ที่เกิดขึ้นและใช้อยู่ในประเทศไทย จัดทำโดยคนไทย เพื่อให้คนไทยทุกเพศทุกวัยมีโอกาสได้อ่าน แต่ละเล่มรวบรวมเนื้อเรื่องจากหลากหลายสาขาวิชา เนื้อหาของเรื่องต่างๆ เรียบเรียงให้เหมาะสมกับ 3 ระดับความรู้ ให้แก่เด็กรุ่นเล็ก เด็กรุ่นกลาง และเด็กรุ่นใหญ่ รวมทั้งผู้ใหญ่ที่สนใจทั่วไป แต่ละเรื่องเริ่มต้นด้วยเนื้อหาของระดับเด็กรุ่นเล็ก ตามด้วยเนื้อหาของรุ่นกลางและรุ่นใหญ่ตามลำดับ เนื้อหาในแต่ละระดับพิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาดต่างกัน.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน · ดูเพิ่มเติม »

ส่วนเติมเต็ม

วนเติมเต็ม หรือ คอมพลีเมนต์ (complement) คือแนวคิดหนึ่งที่ใช้ในการเปรียบเทียบเซต เพื่อที่จะให้ทราบว่า เมื่อเซตหนึ่งสัมพันธ์กับอีกเซตหนึ่ง มีสมาชิกใดบ้างที่อยู่ภายใต้เซตเพียงเซตเดียว แบ่งออกตามการใช้งานเป็น ส่วนเติมเต็มสัมบูรณ์ (absolute complement) กับ ส่วนเติมเต็มสัมพัทธ์ (relative complement) ซึ่งแนวคิดแรกหมายถึงส่วนเติมเต็มที่เกี่ยวข้องกับเอกภพสัมพัทธ์ (universal set) ส่วนแนวคิดหลังเกี่ยวข้องกับเซตตัวอื่น.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และส่วนเติมเต็ม · ดูเพิ่มเติม »

หลายสิ่งอันดับ

หลายสิ่งอันดับ หรือ ทูเพิล (tuple) เป็นวัตถุทางคณิตศาสตร์ชนิดหนึ่ง โดย n-สิ่งอันดับ เป็นลำดับของสิ่ง n สิ่ง (เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มไม่เป็นลบ) โดยที่อันดับของสิ่งต่าง ๆ ในหลายสิ่งอันดับนั้นมีความสำคัญและไม่สามารถสลับที่ได้ คุณสมบัติดังกล่าวนี้เองทำให้หลายสิ่งอันดับแตกต่างจากเซต การเขียนหลายสิ่งอันดับมักเขียนระบุสิ่งต่าง ๆ ในหลายสิ่งอันดับนั้น คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค และครอบด้วยเครื่องหมายวงเล็บ เช่น (2, 7, 4, 1, 7) เป็นห้าสิ่งลำดับ ซึ่งแตกต่างจากห้าสิ่งอันดับ (7, 7, 1, 2, 4) หากหลายสิ่งอันดับนั้นมีสองสิ่ง จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่าคู่อันดับ ในคณิตศาสตร์ หลายสิ่งอันดับสามารถนำไปใช้อธิบายวัตถุทางคณิตศาสตร์ชนิดอื่น ๆ ได้ เช่นเวกเตอร์ ส่วนในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน หลายสิ่งอันดับเป็นชนิดของตัวแปรที่มีความสำคัญ นอกจากนี้แล้วยังพบการใช้หลายสิ่งอันดับในศาสตร์อื่น ๆ เช่น ภาษาศาสตร์ และปรัชญ.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และหลายสิ่งอันดับ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์กิวเมนต์ของค่าสูงสุด

อาร์กิวเมนต์ของค่าสูงสุด (argument of the maximum: arg max, argmax) หมายถึงค่าของอาร์กิวเมนต์ (ตัวแปรต้น) ที่ให้กับนิพจน์แล้วทำให้เกิดค่าสูงสุดบนโดเมนที่พิจารณา นั่นคือ หรือกล่าวในอีกทางหนึ่ง คือค่าของ x ที่จะทำให้ฟังก์ชัน f (x) มีค่ามากที่สุด (ตัวอย่างเช่น f (x).

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และอาร์กิวเมนต์ของค่าสูงสุด · ดูเพิ่มเติม »

อินเตอร์เซกชัน

อินเตอร์เซกชัน (intersection) หรือ ส่วนร่วม คือการดำเนินการของเซต เป็นการสร้างเซตใหม่ซึ่งเป็นผลจากการหาสมาชิกทั้งหมดที่เหมือนกันในเซตต้นแบบ เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ (คล้ายอักษรตัวใหญ่ U กลับหัว).

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และอินเตอร์เซกชัน · ดูเพิ่มเติม »

อนันต์

ัญลักษณ์อนันต์ในรูปแบบต่าง ๆ อนันต์ (infinity; ใช้สัญลักษณ์ ∞) เป็นแนวคิดในทางคณิตศาสตร์และปรัชญาที่อ้างถึงจำนวนที่ไม่มีขอบเขตหรือไม่มีที่สิ้นสุด ในประวัติศาสตร์ ผู้คนต่างพัฒนาแนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับธรรมชาติของอนันต์ ในทางคณิตศาสตร์ มีการจำกัดความของคำว่าอนันต์ในทฤษฎีเซต ภาษาอังกฤษของอนันต์ที่ว่า Infinity มาจากคำในภาษาละติน infinitas ซึ่งแปลว่า "ไม่มีที่สิ้นสุด" ในทางคณิตศาสตร์ เนื้อหาที่เกี่ยวกับอนันต์จะถือว่าอนันต์เป็นตัวเลข เช่น ใช้ในการนับปริมาณ เป็นต้นว่า "จำนวนพจน์เป็นอนันต์" แต่อนันต์ไม่ใช่ตัวเลขชนิดเดียวกับจำนวนจริง เกออร์ก คันทอร์ นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันได้จัดระเบียบแนวคิดที่เกี่ยวกับอนันต์และเซตอนันต์ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 เขายังได้ค้นพบว่าอนันต์มีการนับปริมาณแตกต่างกัน แนวคิดดังกล่าวถูกเรียกว่าภาวะเชิงการนับ เช่น เซตของจำนวนเต็มเป็นเซตอนันต์ที่นับได้ แต่เซตของจำนวนจริงเป็นเซตอนันต์ที่นับไม่ได้.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และอนันต์ · ดูเพิ่มเติม »

ผลรวม

ในทางคณิตศาสตร์ ผลรวม (summation) หมายถึงการบวกของเซตของจำนวน ซึ่งจะให้ผลลัพธ์เป็น ผลบวก (sum, total) จำนวนที่กล่าวถึงอาจเป็นจำนวนธรรมชาติ จำนวนเชิงซ้อน เมตริกซ์ หรือวัตถุอื่นที่ซับซ้อนกว่านั้น ผลรวมไม่จำกัดของลำดับเรียกว่าเป็นอนุกรม.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และผลรวม · ดูเพิ่มเติม »

ผลรวมเชิงเส้น

ำหรับคณิตศาสตร์ ผลรวมเชิงเส้น (linear combination) เป็นนิพจน์ที่สร้างจากการคูณพจน์แต่ละพจน์ในเซตด้วยค่าคงที่แล้วบวกผลคูณเข้าด้วยกัน เช่น ผลรวมเชิงเส้นของ x กับ y อาจเขียนเป็นนิพจน์ในรูป ax + by โดย a และ b เป็นค่าคงที.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และผลรวมเชิงเส้น · ดูเพิ่มเติม »

ผลคูณ

ผลคูณ ในทางคณิตศาสตร์ คือ ผลลัพธ์ที่ได้จากการคูณของพจน์ต่าง ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด ผลคูณที่พบบ่อยในทางคณิตศาสตร์ เช่น.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และผลคูณ · ดูเพิ่มเติม »

ผลคูณคาร์ทีเซียน

ผลคูณคาร์ทีเซียน \scriptstyle A \times B ของเซต \scriptstyle A.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และผลคูณคาร์ทีเซียน · ดูเพิ่มเติม »

จำนวนจริง

ำนวนจริง คือจำนวนที่สามารถจับคู่หนึ่งต่อหนึ่งกับจุดบนเส้นตรงที่มีความยาวไม่สิ้นสุด (เส้นจำนวน) ได้ คำว่า จำนวนจริง นั้นบัญญัติขึ้นเพื่อแยกเซตนี้ออกจากจำนวนจินตภาพ จำนวนจริงเป็นศูนย์กลางการศึกษาในสาขาคณิตวิเคราะห์จำนวนจริง (real analysis).

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และจำนวนจริง · ดูเพิ่มเติม »

จำนวนธรรมชาติ

ในทางคณิตศาสตร์ จำนวนธรรมชาติ อาจหมายถึง จำนวนเต็มบวก หรือ จำนวนนับ (1, 2, 3, 4,...) หรือ จำนวนเต็มไม่เป็นลบ (0, 1, 2, 3, 4,...) ความหมายแรกมีการใช้ในทฤษฎีจำนวน ส่วนแบบหลังได้ใช้งานใน ตรรกศาสตร์,เซตและวิทยาการคอมพิวเตอร์ ถุ จำนวนธรรมชาติมีการใช้งานหลักอยู่สองประการ กล่าวคือเราสามารถใช้จำนวนธรรมชาติในการนับ เช่น มีส้มอยู่ 3 ผลบนโต๊ะ หรือเราอาจใช้สำหรับการจัดอันดับ เช่น เมืองนี้เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ในประเทศ เป็นต้น คุณสมบัติของจำนวนธรรมชาติที่เกี่ยวกับการหารลงตัว เช่นการกระจายของจำนวนเฉพาะ เป็นเนื้อหาในทฤษฎีจำนวน ปัญหาที่เกี่ยวกับการนับ เช่น ทฤษฎีแรมซี นั้นถูกศึกษาในคณิตศาสตร์เชิงการจั.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และจำนวนธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ขั้นตอนวิธีการหาปมบรรพบุรุษร่วมใกล้สุดของคู่ปมของทาร์จาน

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนวิธีการหาปมบรรพบุรุษร่วมใกล้สุดของคู่ปมของทาร์จาน (Tarjan's off-line least common ancestors algorithm; อันที่จริงแล้ว least ควรจะเป็น lowest) คือขั้นตอนวิธีในการคำนวณหาบรรพบุรุษร่วมต่ำสุด (lowest common ancestors) สำหรับทุก ๆ คู่ของปมในต้นไม้ (rooted tree) โดยมีพื้นฐานในการคำนวณหาจากโครงสร้างข้อมูลที่เรียกว่าโครงสร้างข้อมูลเซตไม่มีส่วนร่วม ขั้นตอนวิธีนี้ได้ถูกตั้งชื่อตาม Robert Tarjan ผู้ซึ่งค้นพบกลวิธีนี้ในปี 1979 ปมบรรพบุรุษร่วมใกล้สุดของระหว่างคู่ปม d และ e ในต้นไม้ T คือ ปม g ซึ่งเป็นปมบรรพบุรุษของทั้งปม d และปม e ที่ไกลจากปมรากมากที่สุด ขั้นตอนวิธีของทาร์จาน ไม่เหมือนกับขั้นตอนวิธีการหาปมบรรพบุรุษร่วมใกล้สุดของคู่ปมอื่น ๆ เนื่องจากเป็นขั้นตอนวิธีออฟไลน์ ซึ่งคือขั้นตอนวิธีที่จะต้องป้อนข้อมูลนำเข้าทั้งหมดก่อนเริ่มการแก้ปัญหาตามขั้นตอนวิธี นอกจากนี้ขั้นตอนวิธีของทาร์จาน ยังเป็นขั้นตอนวิธีที่ใช้โครงสร้างข้อมูลที่เรียกว่า การยูเนียนและการค้นหา ทำให้ระยะเวลาที่ใช้สำหรับขั้นตอนวิธีนี้ไม่เป็นค่าคงตัว ในกรณีที่มีจำนวนคู่ของปมเท่ากับจำนวนของปมทั้งหมด ทำให้แตกต่างจากขั้นตอนวิธีอื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้โครงสร้างข้อมูลการยูเนียนและการค้นหา ต่อมาในปี 1983 Gabow และ Tarjan ได้ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพของขั้นตอนวิธีให้ใช้ระยะเวลาเร็วขึ้นเป็นแบบเชิงเส้น O(n).

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และขั้นตอนวิธีการหาปมบรรพบุรุษร่วมใกล้สุดของคู่ปมของทาร์จาน · ดูเพิ่มเติม »

ขั้นตอนวิธีของคริสโตไฟด์

ั้นตอนวิธีของคริสโตไฟด์ (Christofides algorithm) ตั้งชื่อตาม นิคอส คริสโตฟิลด์ เป็นขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหาบางกลุ่มของปัญหาการเดินทางของพนักงานขาย ที่มีเส้นเชื่อมถ่วงน้ำหนักเป็นไปตามความไม่เสมอภาคของสามเหลี่ยม ซึ่งได้คำตอบที่มีอัตราส่วนการประมาณ เป็น 1.5 เท่าของคำตอบดีที.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และขั้นตอนวิธีของคริสโตไฟด์ · ดูเพิ่มเติม »

ความฉลาดแบบกลุ่ม

แสดงระยะห่างแบบเมตริก (ซ้าย) เทียบกับระยะห่างเชิงลำดับ (ขวา) ของฝูงปลา ปลาจะเกิดปฏิสัมพันธ์แบบไหนขึ้นอยู่กับระยะห่างในแบบเมตริก แต่ในเชิงลำดับ ปฏิสัมพันธ์จะเกิดขึ้นกับปลาจำนวนหนึ่งรอบๆ โดยไม่สนขอบเขตระยะห่าง ความฉลาดแบบกลุ่ม (swarm intelligence) คือกลุ่มพฤติกรรมของระบบแบบกระจายศูนย์ซึ่งถูกนำมาประยุกต์ใช้ในด้านปัญญาประดิษฐ์ ระบบความฉลาดแบบกลุ่มโดยปกติแล้วจะประกอบขึ้นมาด้วย เอเจนต์ ซึ่งสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับเอเจนต์ตัวอื่นหรือสภาวะแวดล้อมได้ เอเจนต์ในระบบทุกตัวจะปฏิบัติตัวตามกฎชุดหนึ่ง แม้ว่าจะไม่มีศูนย์สั่งการที่ควบคุมว่าเอเจนต์แต่ละตัวต้องปฏิบัติอย่างไร แต่การที่เอเจนต์แต่ละตัวมีปฏิสัมพันธ์กันก็ก่อให้เกิดรูปแบบความฉลาดในภาพรวมขึ้นมาซึ่งเอเจนต์แต่ละตัวไม่รู้ แรงบันดาลใจที่ช่วยผลักดันความฉลาดแบบกลุ่มนั้นมักจะมาจากธรรมชาติ โดยเฉพาะจากระบบนิเวศวิทยา ตัวอย่างของความฉลาดแบบกลุ่มที่มาจากธรรมชาติได้แก่ ขั้นตอนวิธีหาค่าเหมาะสมที่สุดด้วยระบบอาณาจักรมด (Ant colony optimization), ขั้นตอนวิธีหาค่าเหมาะสมที่สุดแบบกลุ่มอนุภาค (Particle Swarm Optimization), ขั้นตอนวิธีหาค่าเหมาะสมที่สุดแบบนกดุเหว่า (Cuckoo search).

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และความฉลาดแบบกลุ่ม · ดูเพิ่มเติม »

คอลัมน์ในคอร์เทกซ์

อลัมน์ในคอร์เทกซ์ หรือ ไฮเปอร์คอลัมน์ หรือ มอดูลในคอร์เทกซ์ (cortical column หรือ hypercolumn หรือ cortical module) เป็นเซลล์ประสาทกลุ่มหนึ่งในคอร์เทกซ์ ซึ่งสามารถใช้หัวตรวจ สอดเข้าไปเช็คตามลำดับตามแนวที่ตั้งฉากกับผิวคอร์เทกซ์ โดยที่เซลล์ประสาทกลุ่มนั้น มีลานรับสัญญาณที่เกือบจะเหมือนกัน ส่วนเซลล์ประสาทภายใน "มินิคอลัมน์" เข้ารหัสการเข้ารหัสโดยรวม ๆ ก็คือ การแปลงข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบหนึ่ง ไปเป็นข้อมูลในอีกรูปแบบหนึ่ง ตัวอย่างเช่น เข้ารหัสเสียงดนตรีไปเป็นหลุมเล็ก ๆ บนซีดีที่ใช้เล่นเพลงนั้นได้คุณสมบัติของตัวกระตุ้นที่คล้าย ๆ กัน เปรียบเทียบกับคำว่า ไฮเปอร์คอลัมน์ ซึ่ง "หมายถึงหน่วยเซลล์ประสาทที่มีค่าหมดทั้งเซตสำหรับพารามิเตอร์ของลานรับสัญญาณเซตใดเซตหนึ่ง" ส่วนคำว่า มอดูลในคอร์เทกซ์ มีคำนิยามว่า เป็นไวพจน์ของไฮเปอร์คอลัมน์ (โดยเมานต์แคสเติล) หรือ ชิ้นเนื้อเยื่อชิ้นหนึ่งที่มีไฮเปอร์คอลัมน์หลายคอลัมน์ ที่แชร์ส่วนเดียวกัน ยังไม่ชัดเจนว่า ศัพท์นี้หมายถึงอะไร คือ คอลัมน์ในคอร์เทกซ์ไม่สัมพันธ์กับโครงสร้างอย่างใดอย่างหนึ่งในคอร์เทกซ์เลย นอกจากนั้นแล้ว ยังไม่มีใครสามารถกำหนดวงจรประสาทแบบบัญญัติ (canonical) ที่สัมพันธ์กับคอลัมน์ในคอร์เทกซ์ และกลไกทางพันธุกรรมในการสร้างคอลัมน์ก็ยังไม่ปรากฏ อย่างไรก็ดี สมมุติฐานการจัดระเบียบเป็นคอลัมน์นี้ เป็นสิ่งที่มีการอ้างอิงอย่างกว้างขวางที่สุด เพื่อจะอธิบายการประมวลข้อมูลของคอร์เทกซ.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และคอลัมน์ในคอร์เทกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

คู่ไม่อันดับ

ในคณิตศาสตร์ คู่ไม่อันดับ เป็นเซตในรูปของ นั่นก็คือเซตที่มีสมาชิก 2 ตัวคือ a และ b โดยที่สมาชิกทั้งสองไม่มีลำดับมาก่อนหลัง ทำให้.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และคู่ไม่อันดับ · ดูเพิ่มเติม »

ค่าความจริง

ค่าความจริง (Truth value) ในทางตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ หมายถึง ค่าที่ใช้บ่งบอกว่าประพจน์ใดเป็นความจริง ในเรื่องของตรรกศาสตร์แบบฉบับ (classical logic) ค่าความจริงมีเพียงสองอย่างเท่านั้นคือ ค่าจริง (true) และค่าเท็จ (false) แต่สำหรับตรรกศาสตร์คลุมเครือ (fuzzy logic) หรือตรรกศาสตร์หลายค่า (multi-valued logic) ค่าความจริงอาจจะมีค่าอย่างอื่นที่นอกเหนือจากนั้นก็ได้ เซตของค่าความจริง ทำให้เกิดพีชคณิตแบบบูล (Boolean algebra) ซึ่งคำนวณด้วยวิธีที่คล้ายพีชคณิตแล้วให้ผลเฉพาะในเซตเท่านั้น ส่วนพีชคณิตแบบอื่นอาจมีการใช้เซตของค่าความจริงในตรรกศาสตร์ที่ไม่ได้เป็นแบบฉบับ ตัวอย่างเช่น ตรรกศาสตร์สหัชญาณนิยม (intuitionistic logic) หรือพีชคณิตเฮย์ทิง (Heyting algebra) เป็นต้น ในการเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์จะให้ความหมายของค่า 0 เป็นค่าเท็จ และค่าอื่นที่ไม่ใช่ 0 (รวมทั้ง 1) หมายถึงค่าจริง และภาษาโปรแกรมบางภาษาอาจมีค่าว่าง (null) อยู่ด้วย ซึ่งไม่ใช่ทั้งค่าจริงและค่าเท็จ หมวดหมู่:ตรรกศาสตร์.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และค่าความจริง · ดูเพิ่มเติม »

ตรรกศาสตร์คลุมเครือ

ตรรกศาสตร์คลุมเครือ หรือ ฟัซซี่ลอจิก (fuzzy logic) พัฒนาจาก ทฤษฎีเซตวิภัชนัย โดยเป็นการใช้เหตุผลแบบประมาณ ซึ่งแตกต่างจากการใช้เหตุผลแบบเด็ดขาดในลักษณะ ถูก/ผิด ใช่/ไม่ใช่ ของ ตรรกศาสตร์แบบฉบับ (classical logic) ตรรกศาสตร์คลุมเครือนั้นสามารถถือเป็นการประยุกต์ใช้งานเซตวิภัชนัย เพื่อจำลองการตัดสินใจของผู้เชี่ยวชาญ ต่อปัญหาที่ซับซ้อน ค่าระดับความจริง ในตรรกศาสตร์คลุมเครือนั้นมักจะสับสนกับ ค่าความน่าจะเป็น ซึ่งมีแนวความคิดที่แตกต่างกัน ค่าระดับความจริงคลุมเครือนั้นใช้ในการระบุ ค่าความเป็นสมาชิก ของเซต แต่ค่าความน่าจะเป็นนั้นระบุความเป็นไปได้ของสภาพการณ์แต่ละรูปแบบที่อาจจะเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น สมมติว่า นาย ก กำลังเดินเข้าบ้าน สถานะของนาย ก ตามตรรกศาสตร์แบบฉบับ คือ "อยู่ในบ้าน" หรือ "อยู่นอกบ้าน" แต่หากเขากำลังยืนอยู่ระหว่างช่องประตู เราอาจพิจารณาได้ว่าเขา "อยู่ในบ้านบางส่วน" ระดับของสถานะกึ่งนี้ จะระบุด้วยค่าความเป็นสมาชิกของเซตวิภัชนัย สมมุติเขาเพิ่งจะก้าวปลายนิ้วเท้าผ่านข้ามธรณีประตูเข้าบ้าน เราอาจกล่าวว่า นาย ก นั้น 0.99 "อยู่นอกบ้าน" ซึ่งต่างจากความน่าจะเป็นของเหตุการณ์สุ่ม (เช่น ความน่าจะเป็นระบุผลลัพธ์ของการโยนเหรียญ แต่ผลลัพธ์จะออก หัว หรือ ก้อย) หากพิจารณาความน่าจะเป็นที่นาย ก "อยู่นอกบ้าน" และ "อยู่ในบ้าน" จะออกผลลัพธ์เป็น นาย ก อยู่นอกบ้าน หรือ ในบ้าน ไม่ได้จำลองสถานะกึ่ง คือ กำลังยืนอยู่ที่ประตู เซตวิภัชนัยนั้นมีหลักการพื้นฐานจากเซตที่มีขอบเขตคลุมเครือไม่ชัดเจน ไม่ได้มีพื้นฐานจากการสุ่ม ตรรกศาสตร์คลุมเครือนั้น สามารถระบุค่าความเป็นสมาชิกของเซต (set membership values) ด้วยค่าระหว่าง 0 และ 1 ทำให้เกิดระดับกึ่งในลักษณะของ สีเทา นอกจาก ขาว และ ดำ ซึ่งมีประโยชน์ในการจำลองระดับซึ่งสามารถระบุด้วยคำพูด "เล็กน้อย" "ค่อนข้าง" "มาก" โดยใช้ค่าความเป็นสมาชิกของเซตบางส่วน ตรรกศาสตร์คลุมเครือนี้มีความสัมพันธ์กับ เซตวิภัชนัย (en:fuzzy set) และ ทฤษฎีความเป็นไปได้ (en:possibility theory) ซึ่งคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1965 โดยศาสตราจารย์ ลอตฟี ซาเดห์ แห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ตรรกศาสตร์คลุมเครือ ถึงแม้ว่าจะได้รับการยอมรับค่อนข้างกว้างขวาง แต่ก็ยังถูกโต้แย้งจากบางกลุ่ม เช่น จากวิศวกรระบบควบคุม ในเรื่องของการอธิบายพฤติกรรมต่างๆ และ จากนักสถิติบางกลุ่ม ซึ่งถือมั่นว่าทฤษฎีความน่าจะเป็น เป็นวิธีทางคณิตศาสตร์ที่เคร่งครัดเพียงวิธีเดียว ในการจำลองความไม่แน่นอน (en:uncertainty) นอกจากนั้นแล้ว ก็ยังมีการวิเคราะห์วิจารณ์ว่า เซตวิภัชนัย นั้นไม่ได้เป็นซุปเปอร์เซตของ ทฤษฎีเซตสามัญ เนื่องจาก ฟังก์ชันภาวะสมาชิก นั้นกำหนดในรูปของ เซตแบบดั้งเดิม.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และตรรกศาสตร์คลุมเครือ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวผกผันการบวก

ในทางคณิตศาสตร์ ตัวผกผันการบวก (อินเวิร์สการบวก) ของจำนวน n หมายถึงจำนวนที่บวกกับ n แล้วได้เอกลักษณ์การบวก นั่นคือ 0 ตัวผกผันการบวกของ n เขียนแทนด้วย −n ตัวอย่างเช่น ตัวผกผันการบวกของ 7 คือ −7 เนื่องจาก 7 + (−7).

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และตัวผกผันการบวก · ดูเพิ่มเติม »

ซิงเกิลตัน

ซิงเกิลตัน (singleton) ในทางคณิตศาสตร์หมายถึง เซตที่มีสมาชิกตัวเดียวและเพียงหนึ่งเดียว ตัวอย่าง เซต เป็นซิงเกิลตัน มีสมาชิกตัวเดียวคือ 0.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และซิงเกิลตัน · ดูเพิ่มเติม »

ปริภูมิเมเชอร์ผลคูณ

ปริภูมิเมเชอร์ผลคูณ (Product measure) ในทฤษฎีเมเชอร์ กำหนดปริภูมิเมเชอร์สองปริภูมิใด ๆ เราจะสามารถสร้างปริภูมิเมเชอร์ใหม่ขึ้นมาจากสองปริภูมิดังกล่าวได้เสมอ และเราจะเรียกปริภูมิเมเชอร์ที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้ว่า "ปริภูมิเมเชอร์ผลคูณ" (product measure space).

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และปริภูมิเมเชอร์ผลคูณ · ดูเพิ่มเติม »

ปัญหาการตัดสินใจ

ปัญหาการตัดสินใจ เป็นปัญหาในทฤษฎีการคำนวณได้และทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ ซึ่งพิจารณาค่าอินพุตและตอบเพียงว่า "ใช่" หรือ "ไม่ใช่" เท่านั้น เช่นปัญหาที่ถามว่าจำนวนเต็ม x เป็นจำนวนเฉพาะใช่หรือไม.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และปัญหาการตัดสินใจ · ดูเพิ่มเติม »

ปัญหาของฮิลแบร์ท

ปัญหาของฮิลแบร์ท (Hilbert's problems) คือ ปัญหาคณิตศาสตร์ทั้ง 23 ข้อ ที่ตั้งโดย ดาฟิด ฮิลแบร์ท (David Hilbert) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้นำเสนอต่อที่ประชุมสภานักคณิตศาสตร์นานาชาติ (International Congress of Mathematicians) ณ กรุงปารีส เมื่อ ค.ศ. 1900 ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ยังไม่มีใครแก้ได้ในเวลานั้น และมีอิทธิพลต่อวงการคณิตศาสตร์เป็นอย่างมากในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ฮิลแบร์ทได้เสนอปัญหา 10 ข้อต่อที่ประชุม (ปัญหาข้อ 1, 2, 6, 7, 8, 13, 16, 19, 21 และ 22) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม และได้เสนอปัญหาข้ออื่น ๆ ในภายหลัง.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และปัญหาของฮิลแบร์ท · ดูเพิ่มเติม »

นักคณิตศาสตร์

นักคณิตศาสตร์ (mathematician) คือบุคคลที่ศึกษาและ ทำงานวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และนักคณิตศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

นิจพล

นิจพล (idempotent หรือ idempotence) คือสมบัติอย่างหนึ่งของการดำเนินการทางคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะให้ผลลัพธ์เป็นค่าเดิมเสมอแม้ว่าจะกระทำการดำเนินการดังกล่าวกี่ครั้งก็ตาม.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และนิจพล · ดูเพิ่มเติม »

นขลิขิต

นขลิขิต หรือ วงเล็บ เป็นเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่ง มีลักษณะโค้งเหมือนรอยเล็บ เครื่องหมายด้านซ้ายเรียกว่า วงเล็บเปิด ส่วนด้านขวาเรียกว่า วงเล็บปิด (สำหรับภาษาที่เขียนจากขวาไปซ้ายก็จะเรียกกลับกัน) ปกติใช้สำหรับคลุมข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และนขลิขิต · ดูเพิ่มเติม »

แบบจำลองข้อมูล

แบบจำลองข้อมูล (data model) ระดับสูงในธุรกิจ หรือในงานต่าง ๆ เป็นแบบจำลองนามธรรม ซึ่งเอกสารและการจัดข้อมูลธุรกิจสำหรับการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานและนักเทคนิค แบบจำลองนี้ถูกใช้ให้แสดงข้อมูลที่จำเป็นและถูกสร้างขึ้นโดยกระบวนการทางธุรกิจ แบบจำลองข้อมูลในวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เป็นแบบจำลองนามธรรมซึ่งเอกสารและการจัดข้อมูลธุรกิจสำหรับการสื่อสารระหว่างผู้ร่วมงาน และใช้สำหรับวางแผนสำหรับการพัฒนาแอพลิเคชัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเก็บและการเข้าถึงข้อมูล โฮเบอร์แมน (Hoberman: 2009) กล่าวว่า "แบบจำลองข้อมูล เป็นเครื่องมือที่ครอบคลุมทุกวิถีทางเพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ร่วมงานทั้งด้านธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญด้านไอที โดยใช้เซตของสัญลักษณ์และข้อความเพื่ออธิบายเซตย่อยของข้อมูลจริง สำหรับปรับปรุงการสื่อสารในองค์กร และนำไปสู่สภาพแวดล้อมของแอพลิเคชันที่ยืดหยุ่นและเสถียร" แบบจำลองข้อมูลได้กำหนดโครงสร้างของข้อมูลอย่างชัดเจน แอพลิเคชันปกติของแบบจำลองข้อมูล รวมถึงแบบจำลองฐานข้อมูล การออกแบบของระบบสารสนเทศ และการทำให้ข้อมูลสามารถแลกเปลี่ยนกันได้ โดยปกติแบบจำลองข้อมูลถูกระบุในภาษาแบบจำลองข้อมูล การสื่อสารและความถูกต้องเป็นปัจจัยสำคัญสองอย่างที่เป็นประโยชน์ในการทำให้แบบจำลองข้อมูลมีความสำคัญต่อแอพลิเคชันที่ใช้และแลกเปลี่ยนข้อมูล แบบจำลองข้อมูลเป็นตัวกลางซึ่งผู้ร่วมโครงการที่มีภูมิหลังต่างกัน มีประสบการณ์ต่างกัน สามารถสื่อสารกันได้ ความถูกต้อง หมายความว่า ทีมงานและกฎเกณฑ์ของแบบจำลองข้อมูลสามารถสื่อความหมายได้อย่างเดียวกัน ไม่กำกวม แบบจำลองข้อมูลในบางครั้งอาจใช้ในความหมายของโครงสร้างข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของภาษาโปรแกรม และมักใช้ประกอบแบบจำลองฟังก์ชัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของแบบจำลองวิสาหก.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และแบบจำลองข้อมูล · ดูเพิ่มเติม »

แผนภาพออยเลอร์

ภาพแสดงลักษณะของแผนภาพออยเลอร์ วงกลมสีแดงแทนเซตของสัตว์ทั้งหมด วงกลมสีเหลืองแทนเซตของสัตว์สี่เท้า และวงกลมสีฟ้าแทนเซตของแร่ธาตุ ซึ่งเซตของสัตว์สี่เท้าเป็นสับเซตของเซตของสัตว์ทั้งหมด และเซตของแร่ธาตุไม่มีความสัมพันธ์กับเซตของสัตว์​และเซตของสัตว์สี่เท้า แผนภาพออยเลอร์ (Euler diagram) เป็นแผนภาพที่ใช้ในการอธิบายความสัมพันธ์ของเซตต่าง ๆ โดยให้วงกลมแต่ละวงแทนแต่ละเซต และแสดงความสัมพันธ์ของแต่ละเซตด้วย การครอบซึ่งแสดงความเป็นสับเซต การทับซ้อนกัน หรือการไม่ทับซ้อนกันซึ่งแสดงว่าทั้งสองเซตไม่มีความสัมพันธ์กัน ลักษณะแผนภาพวงกลมเช่นนี้เชื่อว่าถูกใช้ครั้งแรกโดยนักคณิตศาสตร์ชาวสวิสนามว่า เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ แผนภาพออยเลอร์นั้นมียังลักษณะคล้ายคลึงกันกับแผนภาพเวนน์มาก ในทฤษฎีเซตซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของคณิตศาสตร์จึงนิยมใช้แผนภาพประยุกต์จากแผนภาพทั้งสองในการอธิบายเซตต่าง ๆ ให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น หมวดหมู่:Graphical concepts in set theory หมวดหมู่:แผนภาพ.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และแผนภาพออยเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โดเมน (ฟังก์ชัน)

มนของฟังก์ชัน ''f'': ''X'' → ''Y'' คือเซต ''X'' (สีเขียว) โดเมน (domain) ของฟังก์ชัน คือเซตของอาร์กิวเมนต์ที่ป้อนลงในฟังก์ชันซึ่งได้นิยามไว้แล้ว ตัวอย่างเช่น โดเมนของฟังก์ชันโคไซน์คือจำนวนจริงทั้งหมด ในขณะที่โดเมนของฟังก์ชันรากที่สองคือจำนวนใด ๆ ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 0 เท่านั้น (ซึ่งกรณีทั้งสองไม่รวมจำนวนเชิงซ้อน) สำหรับการนำเสนอฟังก์ชันด้วยกราฟในระบบพิกัดคาร์ทีเซียน x-y โดเมนคือช่วงบนแกน x ที่กราฟครอบคลุม หรือเรียกว่า พิกัดที่หนึ่ง (abscissa).

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และโดเมน (ฟังก์ชัน) · ดูเพิ่มเติม »

โดเมนแบบบูล

มนแบบบูล (Boolean domain) ในทางคณิตศาสตร์และพีชคณิตนามธรรม คือเซตที่ประกอบด้วยสมาชิกสองตัวที่เป็นการตีความว่า เท็จ กับ จริง เท่านั้น ในทางตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงทฤษฎี โดเมนแบบบูลมักจะเขียนเป็น,,, หรือ \left \ โครงสร้างเชิงพีชคณิตที่สร้างขึ้นบนโดเมนแบบบูลตามธรรมชาติคือพีชคณิตแบบบูลบนสมาชิกสองตัว (two-element Boolean algebra) วัตถุเริ่มต้นในแคทิกอรีของแลตทิซมีขอบเขตคือโดเมนแบบบูล ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ตัวแปรแบบบูล (Boolean variable) คือตัวแปรที่เก็บค่าเป็นสมาชิกจากโดเมนแบบบูล ภาษาโปรแกรมบางภาษามีคำหรือสัญลักษณ์ที่สงวนไว้สำหรับสมาชิกในโดเมนแบบบูล เช่น false กับ true อย่างไรก็ดี ภาษาโปรแกรมหลาย ๆ ภาษาก็ไม่ได้มีชนิดข้อมูลแบบบูลโดยเฉพาะ เช่นภาษาซีหรือภาษาเบสิก ค่าเท็จแทนด้วยจำนวน 0 และค่าจริงแทนด้วยจำนวน 1 หรือ −1 ตามลำดับภาษา เป็นต้น และตัวแปรทั้งหมดที่เก็บค่าเหล่านี้ก็สามารถเก็บจำนวนอื่น ๆ ได้อีกเช่นกัน.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และโดเมนแบบบูล · ดูเพิ่มเติม »

ไพป์

ป์ (pipe) หรือ ขีดตั้ง (vertical bar) เป็นชื่อของสัญลักษณ์ของตัวอักษร ASCII ที่ตำแหน่ง 124 ตัวอักษรนี้ใช้สัญลักษณ์เส้นในแนวตั้ง (|) หรือในบางครั้งใช้เส้นตั้งที่มีแยกตรงกลาง (¦ - broken bar) ในคีย์บอร์ดของคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็ม จะใช้สัญลักษณ์ broken bar เป็นส่วนมาก แต่อย่างไรก็ตาม broken bar เป็นตัวอักษรที่อยู่ต่างออกไปที่ตำแหน่งของ U+00A6 (¦).

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และไพป์ · ดูเพิ่มเติม »

เมทริกซ์ศูนย์

ในทางคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะพีชคณิตเชิงเส้น เมทริกซ์ศูนย์ หมายถึงเมทริกซ์ที่มีสมาชิกทุกตัวเป็นศูนย์ ตัวอย่างเมทริกซ์ศูนย์เช่น \bold_.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และเมทริกซ์ศูนย์ · ดูเพิ่มเติม »

เมเชอร์ภายนอก

มเชอร์ภายนอก (outer measure) เป็นฟังก์ชันที่สำคัญในทฤษฎีเมเชอร์ พัฒนาโดยการาเตโอโดรี ซึ่งเป็นนักคณิตศาสตร์ชาวกรีก.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และเมเชอร์ภายนอก · ดูเพิ่มเติม »

เอกลักษณ์การบวก

ในทางคณิตศาสตร์ เอกลักษณ์การบวก ของเซตที่มีการดำเนินการของการบวก คือสมาชิกในเซตที่บวกกับสมาชิก x ใดๆ แล้วได้ x เอกลักษณ์การบวกตัวหนึ่งที่เป็นที่คุ้นเคยมากที่สุดคือจำนวน 0 จากคณิตศาสตร์มูลฐาน แต่เอกลักษณ์การบวกก็สามารถมีในโครงสร้างทางคณิตศาสตร์อื่นๆ ที่นิยามการบวกเอาไว้ เช่นในกรุปหรือริง.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และเอกลักษณ์การบวก · ดูเพิ่มเติม »

เอ็นพี (ความซับซ้อน)

ในทฤษฎีความซับซ้อนในการคำนวณ กลุ่มปัญหา เอ็นพี (NP: Non-deterministic Polynomial time) สามารถนิยามได้สองวิธี ซึ่งเราสามารถพิสูจน์ได้ไม่ยากนักว่านิยามทั้งสองแบบนี้สมมูลกัน.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และเอ็นพี (ความซับซ้อน) · ดูเพิ่มเติม »

เซต (โครงสร้างข้อมูล)

ซต หมายถึงแบบชนิดข้อมูลนามธรรมที่ไม่อนุญาตให้ซ้ำกัน แต่ไม่เรียงลำดับสมาชิก เซตจึงถูกนำมาใช้ในการตรวจสอบความซ้ำกันของข้อมูล โครงสร้างข้อมูลที่เป็นเซต ได้แก่ ต้นไม้ค้นหาและตารางแฮช เพียงแต่ต้นไม้จะเก็บข้อมูลที่เปรียบเทียบได้ (Comparable) เท่านั้น ส่วนตารางแฮชไม่มีเงื่อนไขนี้.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และเซต (โครงสร้างข้อมูล) · ดูเพิ่มเติม »

เซตวิภัชนัย

ซตวิภัชนัย (fuzzy set) เป็นเซตที่ขอบเขตไม่เด่นชัดหรือคลุมเครือ เราสามารถวัดระดับความเป็นสมาชิกของสมาชิกในเอกภพสัมพัทธ์ต่อเซตวิภัชนัยหนึ่ง ผ่านทางฟังก์ชันภาวะสมาชิก (membership function) ซึ่งเป็นฟังก์ชันที่รับสมาชิกในเอกภพสัมพัทธ์แล้วส่งไปที่ช่วง.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และเซตวิภัชนัย · ดูเพิ่มเติม »

เซตว่าง

ัญลักษณ์แทนเซตว่าง เซตว่าง (empty set) ในทางคณิตศาสตร์ และที่เจาะจงกว่าคือทฤษฎีเซตหมายถึง เซตเพียงหนึ่งเดียวที่ไม่มีสมาชิก หรือเรียกได้ว่ามีสมาชิก 0 ตัว เซตว่างสามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ "∅" หรือ "\emptyset" ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากอักษร Ø ในภาษาเดนมาร์กและภาษานอร์เวย์ เสนอโดยกลุ่มของ Nicolas Bourbaki (โดยเฉพาะ André Weil) ในปี ค.ศ. 1939 สัญกรณ์แบบอื่นที่นิยมใช้ตัวอย่างเช่น "", "Λ" และ "0" ทฤษฎีเซตเชิงสัจพจน์ (axiomatic set theory) ได้ตั้งสมมติฐานไว้ว่า เซตว่างจำเป็นต้องมีขึ้นเนื่องจากสัจพจน์ของเซตว่าง (axiom of empty set) บางครั้งเซตว่างก็ถูกเรียกว่าเป็น เซตนัลล์ (null set) แต่เซตนัลล์มีความหมายอื่นในเรื่องของทฤษฎีเมเชอร์ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงในการใช้คำนี้.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และเซตว่าง · ดูเพิ่มเติม »

เซตคันทอร์

ซตคันทอร์ (Cantor set) เป็นเซตในทางคณิตศาสตร์ที่เสนอขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน เกออร์ก คันทอร์ เป็นเซตที่ประกอบด้วยจุดบนเส้นตรงที่มีคุณสมบัติที่พิเศษและซับซ้อน จากการพิจารณาเซตนี้ คันเตอร์และนักคณิตศาสตร์ท่านอื่น ๆ วางรากฐานวิชาทอพอโลยีทั่วไป (General topology) ถึงแม้ว่าคันเตอร์จะนิยามเซตในแบบกว้าง ๆ และเป็นนามธรรม เซตคันเตอร์ที่แพร่หลายสุดคือ เซตเทอร์นารี (Cantor ternary set) ซึ่งสร้างโดยการนำเศษหนึ่งส่วนสามของเส้นตรงออก.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และเซตคันทอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เซตนับได้

ซตนับได้ (countable set) คือเซตที่มีภาวะเชิงการนับ (จำนวนของสมาชิก) เหมือนกับบางเซตย่อยของเซตของจำนวนธรรมชาติ ในทางตรงข้าม เซตที่ไม่สามารถนับได้เรียกว่า เซตนับไม่ได้ (uncountable set) ศัพท์คำนี้นิยามโดยเกออร์ก คันทอร์ สมาชิกของเซตนับได้สามารถถูกนับจำนวนได้ในครั้งหนึ่ง ๆ ถึงแม้ว่าการนับนั้นจะไม่มีวันสิ้นสุดก็ตาม สมาชิกทุก ๆ ตัวของเซตจะถูกจับคู่กับจำนวนธรรมชาติจำนวนใดจำนวนหนึ่งในที่สุด ผู้แต่งตำราบางท่านใช้ศัพท์ เซตนับได้ ว่าหมายถึงเซตที่มีภาวะเชิงการนับเหมือนกับเซตของจำนวนธรรมชาติสำหรับตัวอย่างการใช้เช่นนี้ดูที่ ความแตกต่างระหว่างนิยามสองนิยามนี้คือ เซตจำกัดจัดว่าเป็นเซตนับได้ภายใต้นิยามแรก ในขณะที่นิยามหลัง เซตจำกัดไม่ถือว่าเป็นเซตนับได้ เพื่อแก้ความกำกวมนี้ บางครั้งจึงใช้ศัพท์ว่า เซตนับได้เป็นอย่างมาก (at most countable set) สำหรับนิยามแรกและ เซตอนันต์นับได้ (countably infinite set) สำหรับนิยามหลัง นอกจากนี้ศัพท์ว่า denumerable set ก็ยังใช้ในความหมายของเซตอนันต์นับได้ดูที่ หรือเซตนับได้ ในทางตรงข้ามก็ใช้คำว่า nondenumerable set คือเซตนับไม่ได้ดูที.

ใหม่!!: เซต (แก้ความกำกวม)และเซตนับได้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Setเซทเซตเซ็ทเซ็ต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »