โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์

ดัชนี เจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์

มส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์ (ภาษาอังกฤษ: James Abbott McNeill Whistler) (11 กรกฎาคม ค.ศ. 1834 - 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1903) เป็นจิตรกรชาวอเมริกันที่ตั้งถิ่นฐานในอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมสีน้ำมัน เจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์เกิดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1834 ที่เมืองโลเวลล์ในรัฐแมสซาชูเซตส์ในสหรัฐอเมริกา และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1903 ที่เมืองลอนดอนในอังกฤษ วิสต์เลอร์เป็นผู้นำในความคิดที่ว่า “ศิลปะเพื่อศิลปะ” (art for art's sake) ลายเซ็นที่มีชื่อเสียงของวิสต์เลอร์เป็นภาพผีเสื้อที่มีหางยาว ลายเซ็นเหมาะกับบุคลิกและลักษณะงานเขียนซึ่งเป็นลักษณะที่ละเอียดอ่อนแต่เป็นผู้ที่ชอบการเผชิญหน้า วิสต์เลอร์มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างจิตรกรรมและดนตรีซึ่งจะเห็นจากการตั้งชื่อภาพเขียนที่ใช้ศัพท์ทางดนตรีเช่น “arrangements” “harmonies” หรือ “nocturnes” และเน้นงานเขียนในด้านความผสานของโทนสี งานชิ้นที่สำคัญที่สุดของวิสต์เลอร์คือภาพ “มารดาของวิสต์เลอร์” (Whistler's Mother) ที่มีศิลปะที่ทำล้อเลียนกันมาก วิสต์เลอร์เป็นผู้มีปฏิภาณดีและไม่อายที่จะส่งเสริมตนเอง แต่ก็ผู้มีอิทธิพลต่อศิลปะและวัฒนธรรมร่วมสมัยและมีความสัมพันธ์กับและมีอิทธิพลต่อศิลปินและนักเขียนคนอื่นๆ ในสมัยนั้นเป็นอันมาก.

13 ความสัมพันธ์: กุสตาฟว์ กูร์แบภาพเหมือนตนเองมารดาของวิสต์เลอร์หอศิลป์ร่วมสมัยเตหะรานอิซาเบลลา สจวต การ์ดเนอร์จอห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลคตินิยมศิลปะญี่ปุ่นนิทรรศการศิลปะตกรอบแรพโซดีอินบลูเอสเธอร์ (มิเล)11 กรกฎาคม17 กรกฎาคม

กุสตาฟว์ กูร์แบ

็อง เดซีเร กุสตาฟว์ กูร์แบ (Jean Désiré Gustave Courbet; 10 มิถุนายน ค.ศ. 1819 - 31 ธันวาคม ค.ศ. 1877) เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศสผู้นำของขบวนการสัจนิยมของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นขบวนการที่เชื่อมระหว่างขบวนการโรแมนติก (ที่พบในภาพเขียนของเตออดอร์ เฌรีโก (Théodore Géricault) และเออแฌน เดอลาครัว) กับ ตระกูลการเขียนบาร์บิซง (Barbizon School) กูร์แบมีบทบาทสำคัญในจิตรกรรมฝรั่งเศสของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในฐานะที่เป็นผู้ริเริ่ม และในฐานะศิลปินผู้เต็มใจที่จะแสดงความคิดทัศนคติเกี่ยวกับสังคมในผลงานที่ทำ.

ใหม่!!: เจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์และกุสตาฟว์ กูร์แบ · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือนตนเอง

หมือนตนเองของอัลเบรชท์ ดือเรอร์, ค.ศ. 1493. สีน้ำมันเดิมบนหนัง, พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์, ปารีส ภาพนี้เป็นภาพเหมือนตนเองอย่างเป็นทางการภาพแรก ๆ ดือเรอร์แต่งตัวแบบอิตาลีที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จระดับสากล ภาพเหมือนตนเอง (Self-portrait) คือภาพเหมือนของศิลปินเองผู้อาจจะวาด เขียนด้วยสี ถ่ายภาพ หรือแกะสลักด้วยตนเอง แม้ว่าศิลปินจะสร้างภาพเหมือนของตนเองมาแต่โบราณ แต่ก็ไม่ได้ทำกันอย่างแพร่หลาย หรือบอกได้ว่าเป็นภาพเหมือนของศิลปินเองจริง ๆ หรือวาดเป็นบุคคลหัวใจของภาพมาจนกระทั่งเมื่อต้นยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในกลางคริสต์ทศวรรษ1400 กระจกที่มีคุณภาพดีขึ้นและราคาถูกลงทำการเขียนภาพเหมือนบนจิตรกรรมแผง จิตรกร ประติมากร และช่างแกะพิมพ์มีการทำกันมากขึ้น ตัวอย่างแรกก็ได้แก่ "ภาพเหมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?)" ที่เขียนโดยยัน ฟัน ไอก์ ของปี..

ใหม่!!: เจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์และภาพเหมือนตนเอง · ดูเพิ่มเติม »

มารดาของวิสต์เลอร์

“การจัดสีเทาและดำหมายเลข 2” (ทอมัส คาร์ไลล์) การจัดสีเทาและดำ: มารดาของวิสต์เลอร์ของจิตรกร หรือที่รู้จักกันสั้นๆ ว่า มารดาของวิสต์เลอร์ (ภาษาอังกฤษ: Arrangement in Grey and Black: The Artist's Mother หรือ Whistler’s Mother) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยเจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์จิตรกรชาวอเมริกัน ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ออร์เซย์ ที่ปารีสในประเทศฝรั่งเศส วิสต์เลอร์เขียนภาพ “มารดาของวิสต์เลอร์” ในปี ค.ศ. 1871 ภาพอยู่ในกรอบที่วิสต์เลอร์ออกแบบเอง แม้ว่าจะเป็นภาพเขียนที่เป็นสัญลักษณ์ของศิลปะอเมริกันแต่ภาพเขียนแทบจะไม่ได้กลับไปตั้งแสดงในสหรัฐอเมริกานอกจากนำไปแสดงรอบประเทศระหว่างปี ค.ศ. 1932 และ ค.ศ. 1934, ตั้งแสดงที่หอศิลป์แห่งชาติในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

ใหม่!!: เจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์และมารดาของวิสต์เลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

หอศิลป์ร่วมสมัยเตหะราน

หอศิลป์ร่วมสมัยเตหะราน (موزه هنرهای معاصر تهران; Tehran Museum of Contemporary Art; ชื่อย่อ: TMoCA) เป็นหอศิลป์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศอิหร่าน ภายในมีผลงานศิลปะจากนานาชาติช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 กว่า 3,000 ชิ้น ทั้งภาพพิมพ์, ภาพเขียน และประติมากรรมจากยุโรปและอเมริกา หอศิลป์แห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: เจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์และหอศิลป์ร่วมสมัยเตหะราน · ดูเพิ่มเติม »

อิซาเบลลา สจวต การ์ดเนอร์

อิซาเบลลา สจวต การ์ดเนอร์ (Isabella Stewart Gardner) (14 สิงหาคม ค.ศ. 1840-17 กรกฎาคม ค.ศ. 1924) อิซาเบลลา สจวต การ์ดเนอร์เป็นนักสะสมศิลปะ, นักการกุศลสังคม (philanthropist) และ นักอุปถัมภ์ศิลปะคนสำคัญชาวอเมริกัน งานสะสมศิลปะของอิซาเบลลา สจวตในปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อิซาเบลลา สจวต การ์ดเนอร์ที่บอสตันในรัฐแมสซาชูเซตส์ในสหรัฐอเมริกา อิซาเบลลา สจวตบุตรีของเดวิดและอเดเลีย สจวตเกิดที่นครนิวยอร์ก และแต่งงานกับจอห์น โลเวลล์ “แจ็ค” การ์ดเนอร์ บุตรชายของจอห์น แอล.

ใหม่!!: เจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์และอิซาเบลลา สจวต การ์ดเนอร์ · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์

อห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์ (ภาษาอังกฤษ: John Singer Sargent) (12 มกราคม ค.ศ. 1856 - 14 เมษายน ค.ศ. 1925) เป็นจิตรกรคนสำคัญของสหรัฐอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพภูมิทัศน์, ภาพเหมือน และ การใช้สีน้ำ ซาร์เจนท์เกิดที่ฟลอเรนซ์ ที่ประเทศอิตาลี บิดามารดาเป็นชาวอเมริกัน ซาร์เจนท์ศึกษาที่อิตาลีและเยอรมนี ต่อมาที่ปารีสกับอีมิล โอกุสต์ คาโรลุส-ดูแรง (Emile Auguste Carolus-Duran) ในชีวิตซาร์เจนท์เขียนจิตรกรรมสีน้ำมันด้วยกันทั้งสิ้นราว 900 ภาพ และอีก 2,000 ภาพเขียนด้วยสีน้ำ นอกจากนั้นก็ยังมีงานเขียนภาพร่าง และภาพวาดลายเส้นด้วยถ่านอีกด้ว.

ใหม่!!: เจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์และจอห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์ · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น เอเวอเรตต์ มิเล

อห์น เอเวอเรตต์ มิเล หรือ เซอร์จอห์น เอเวอเรตต์ มิเล บาโรเนตที่ 1, PRA (John Everett Millais หรือ Sir John Everett Millais, 1st Baronet, PRA) (8 มิถุนายน ค.ศ. 1829 - 13 สิงหาคม ค.ศ. 1896) เป็นจิตรกรและนักวาดภาพประกอบของกลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอลชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรม, ภาพวาดเส้น และภาพพิมพ์ มิเลเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอล.

ใหม่!!: เจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์และจอห์น เอเวอเรตต์ มิเล · ดูเพิ่มเติม »

คตินิยมศิลปะญี่ปุ่น

มพ์โปสเตอร์โดยอ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก ค.ศ. 1892 คตินิยมศิลปะญี่ปุ่น (Japonism หรือ Japonisme) เดิมมาจากภาษาฝรั่งเศสที่ใช้ในภาษาอังกฤษด้วย เป็นคำที่หมายถึงศิลปะตะวันตกที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของญี่ปุ่น คำนี้ใช้เป็นครั้งแรกโดยชูลส์ แคลตีในหนังสือ L'Art Français en 1872 (ศิลปะฝรั่งเศสของปี ค.ศ. 1872) ที่ตีพิมพ์ในปีเดียวกันColta F. Ives, "The Great Wave: The Influence of Japanese Woodcuts on French Prints", 1974, The Metropolitan Museum of Art, ISBN 0-87099-098-5 งานที่ถ่ายทอดจากพื้นฐานของศิลปะญี่ปุ่นโดยตรงในศิลปะตะวันตกโดยเฉพาะงานที่สร้างโดยศิลปินชาวฝรั่งเศสเรียกว่า "japonesque" ("แบบญี่ปุ่น") ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1860 ภาพพิมพ์แกะไม้ภาพอุกิโยะ (ukiyo-e) ของญี่ปุ่นกลายเป็นแหล่งของแรงบันดาลใจสำหรับจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์ชาวยุโรปในฝรั่งเศสและในประเทศตะวันตกและในที่สุดก็รวมไปถึงจิตรกรนวศิลป์และบาศกนิยม (cubism) ต่อมา สิ่งที่กระทบความรู้สึกของศิลปินของศิลปะญี่ปุ่นคือการละการใช้ทัศนมิติและเงา, การใช้สีจัดในบริเวณภาพที่ราบ, เสรีภาพในการจัดองค์ประกอบในการวางหัวเรื่องของภาพจากศูนย์กลางของภาพ ที่ส่วนใหญ่อยู่ในมุมทแยงด้านต่ำจากฉากหลัง.

ใหม่!!: เจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์และคตินิยมศิลปะญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

นิทรรศการศิลปะตกรอบ

อาหารกลางวันบนลานหญ้า” โดยเอดวด มาเนท์ที่ถูกปฏิเสธโดยคณะกรรมการตัดสินของซาลอน นิทรรศการศิลปะตกรอบ (Salon des Refusés, Exhibition of rejects) คือนิทรรศการแสดงงานศิลปะที่ถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าแสดงในนิทรรศการศิลปะแห่งปารีส หรือ “ซาลอน” ซึ่งเป็นนิทรรศการศิลปะที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการโดยสถาบันวิจิตรศิลป์แห่งฝรั่งเศสในกรุงปารีส แต่นิทรรศการศิลปะตกรอบครั้งสำคัญคือนิทรรศการศิลปะตกรอบของปี..

ใหม่!!: เจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์และนิทรรศการศิลปะตกรอบ · ดูเพิ่มเติม »

แรพโซดีอินบลู

แรพโซดีอินบลู (Rhapsody in Blue) เป็นผลงานประพันธ์ของจอร์จ เกิร์ชวินสำหรับบรรเลงเดี่ยวเปียโนร่วมกับวงดนตรีแจ๊ส เกิร์ชวินแต่งเพลงนี้ในปี..

ใหม่!!: เจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์และแรพโซดีอินบลู · ดูเพิ่มเติม »

เอสเธอร์ (มิเล)

อสเธอร์ (Esther) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยจอห์น เอเวอเรตต์ มิเล จิตรกรกลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอลชาวอังกฤษ มิเลเขียนภาพ "เอสเธอร์" ในปี ค.ศ. 1865 เป็นภาพเขียนในช่วงสุนทรียนิยมของมิเลเมื่อได้รับอิทธิพลจากเฟรเดอริก เลตัน (Frederic Leighton) และเจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์ "เอสเธอร์" เป็นภาพของเอสเธอร์บุคคลจากพระธรรมเอสเธอร์จากพันธสัญญาเดิม ในตำนานเอสเธอร์เป็นภรรยาชาวยิวของกษัตริย์เปอร์เซียอาฮาซูเออรัส (Ahasuerus) ขณะที่กำลังเตรียมตัวจะเข้าเฝ้าพระสวามี เอสเธอร์เสี่ยงกับการลงโทษถึงตายเพราะมิได้ถูกเรียกให้เข้าเฝ้า แต่เอสเธอร์ก็ตัดสินใจเข้าเฝ้าเพื่อทูลถึงแผนการสังหารชาวยิว มิเลขอยืมเสื้อคลุมสีเหลืองที่นายพลชาลส์ จอร์จ กอร์ดอน (Charles George Gordon) ที่ได้รับจากพระจักรพรรดิจีนหลังจากที่ทรงพ่ายแพ้ในกบฏไทปิง (Taiping Rebellion) ในการพยายามสร้างบรรยากาศมิเลกลับข้างในออกข้างนอกที่ทำให้เกิดลวดลายแอ็บแสตร็คที่เห็นในภาพเขียน การใช้สีตัดกันของเสื้อคลุมสีเหลืองบนม่านสีน้ำเงินและคอลัมน์สีขาวเป็นการสร้าง visual effect และการลดการใช้รายละเอียดอื่นในการสื่อเนื้อหาของภาพก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่กลุ่มสุนทรีย์นิยมปฏิบัติซึ่งมิเลพยายามเลียนแบบ "เอสเธอร์" ในภาพยืนจัดสายมุกบนผมเพื่อเตรียมสวมมงกุฏ การวางท่านี้มาจากภาพเขียนทิเชียน ที่มิเลพยายามเลียนแบบรวมทั้งการใช้สีและการวางหน้าในลักษณะที่เรียกว่า "ทิเชียนบลอนด์" เมื่อเทียบกับสีแดงของภาพเขียนก่อน ๆ ของมิเล เช่น "เพื่อนเจ้าสาว" (The Bridesmaid) และงานเขียนของจิตรกรร่วมสมัย ดานเต เกเบรียล รอสเซ็ตติ นักเขียนชีวประวัติของมิเลมาเรียน สปีลแมนกล่าวถึงภาพเขียนว่าเป็น "เป็นการเขียนที่มีลักษณะสมัยใหม่ที่สุดเมื่อเทียบกับงานเขียนสมัยแรก...ภาพมีความกลมกลืนด้วยการใช้สีที่สดใสของ..

ใหม่!!: เจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์และเอสเธอร์ (มิเล) · ดูเพิ่มเติม »

11 กรกฎาคม

วันที่ 11 กรกฎาคม เป็นวันที่ 192 ของปี (วันที่ 193 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 173 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์และ11 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

17 กรกฎาคม

วันที่ 17 กรกฎาคม เป็นวันที่ 198 ของปี (วันที่ 199 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 167 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์และ17 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

James Abbott McNeill WhistlerJames McNeill Whistler

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »