โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เครื่องหมายเสริมสัทอักษร

ดัชนี เครื่องหมายเสริมสัทอักษร

รื่องหมายเสริมสัทอักษร เป็นเครื่องหมายที่ใช้กำกับอักษรโรมัน ซึ่งมีอยู่ในแป้นพิมพ์ ซึ่งได้แก่ เกรฟ และดับเบิลเกรฟ.

11 ความสัมพันธ์: Aการทับศัพท์ภาษาฮินดีภาษาอังกฤษภาษาเวียดนามสระ (สัทศาสตร์)สัญประกาศอะพอสทรอฟีจู้อินดับเบิลเกรฟแอกเซนต์เกรฟแอกเซนต์Ñ

A

A (ตัวใหญ่: A, ตัวเล็ก: a) คืออักษรและสระตัวแรกในอักษรละติน มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า เอ ในขณะที่หลายภาษาเช่น ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี เรียกตามชื่อเดิมของอักษรนี้คือ อา รูปพหูพจน์เขียนเป็น A's, As, as, หรือ a's อักษร A มีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณโดยมีหลักฐานในอักษรภาพไฮโรกลิฟฟิก และมีการหยิบยืมไปใช้โดยวัฒนธรรมอื่นจนกระทั่งปัจจุบัน โดยยังคงไว้ซึ่งจุดเด่นนั่นคือ A เป็นตัวอักษรแรกของชุดตัวอักษรในภาษาเสมอ ใช้แทนเสียงสระ อา เอ หรือ แอ ที่ประกอบกับเสียงพยัญชนะ หรือใช้แทนเสียงสระอย่างเดียวก็ได้ นอกจากนั้นอักษร A ก็มีการเติมเครื่องหมายและถูกดัดแปลงไปหลายรูปแบบเพื่อการนำไปใช้เป็นอักขรวิธีในภาษาหนึ่ง.

ใหม่!!: เครื่องหมายเสริมสัทอักษรและA · ดูเพิ่มเติม »

การทับศัพท์ภาษาฮินดี

การทับศัพท์ภาษาฮินดีนี้เป็นหลักการที่กำหนดตามราชบัณฑิตยสถาน (ปัจจุบันคือสำนักงานราชบัณฑิตยสภา).

ใหม่!!: เครื่องหมายเสริมสัทอักษรและการทับศัพท์ภาษาฮินดี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: เครื่องหมายเสริมสัทอักษรและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเวียดนาม

ษาเวียดนาม (tiếng Việt เตี๊ยงเหฺวียด, tiếng Việt Nam, Việt ngữ) เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์และเป็นภาษาทางการของประเทศเวียดนาม เป็นภาษาแม่ของประชากรเวียดนามถึงร้อยละ 87 รวมถึงผู้อพยพจากเวียดนามประมาณ 2 ล้านคน และรวมถึงชาวเวียดนาม-อเมริกันเป็นจำนวนพอสมควรด้วย ถึงแม้ว่าจะมีการยืมคำศัพท์จากภาษาจีนและเดิมใช้อักษรจีนเขียน แต่นักภาษาศาสตร์ยังคงจัดภาษาเวียดนามให้เป็นภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติกซึ่งในกลุ่มนี้ภาษาเวียดนามมีผู้พูดมากที่สุด (10 เท่าของภาษาที่มีจำนวนคนพูดเป็นอันดับรองลงมา คือ ภาษาเขมร) ในด้านระบบการเขียนของภาษาเวียดนามนั้น แต่เดิมใช้ตัวเขียนจีน เรียกว่า "จื๋อญอ" ต่อมาชาวเวียดนามได้พัฒนาตัวเขียนจีนเพื่อใช้เขียนภาษาเวียดนาม เรียกว่า "จื๋อโนม" แต่ในปัจจุบันเวียดนามใช้ตัวอักษรโรมันที่พัฒนาขึ้นโดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศส โดยเครื่องหมายเสริมสัทอักษรใช้เป็นวรรณยุกต.

ใหม่!!: เครื่องหมายเสริมสัทอักษรและภาษาเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

สระ (สัทศาสตร์)

ในทางสัทศาสตร์ สระ (สะ-หฺระ) หมายถึงเสียงในภาษาที่เปล่งออกมาจากช่องเสียง (vocal tract) ที่เปิดออกโดยตรงจากช่องเส้นเสียง (glottis) โดยไม่กักอากาศ ตัวอย่างเช่น "อา" หรือ "โอ" (โดยไม่กักอากาศด้วยอักษร อ) ตรงข้ามกับพยัญชนะซึ่งมีการกักอากาศอย่างน้อยหนึ่งจุดภายในช่องเสียง เสียงสระสามารถจัดได้ว่าเป็นพยางค์ ส่วนเสียงเปิดที่เทียบเท่ากันแต่ไม่สามารถเปล่งออกมาเป็นพยางค์ได้เรียกว่า กึ่งสระ (semivowel) เสียงสระเป็นแกนพยางค์ (syllable nucleus) ในทุกภาษา ซึ่งเสียงพยัญชนะจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังเสียงสระเสมอ อย่างไรก็ตามในบางภาษาอนุญาตให้เสียงอื่นเป็นแกนพยางค์ เช่นคำในภาษาอังกฤษ table "โต๊ะ" ใช้เสียง l เป็นแกนพยางค์ (ขีดเล็กๆ ที่อยู่ใต้ l หมายถึงสามารถออกเสียงได้เป็นพยางค์ ส่วนจุดคือตัวแบ่งพยางค์) หรือคำในภาษาเซอร์เบีย vrt "สวน" เป็นต้น แต่เสียงเหล่านี้ไม่เรียกว่าเป็นเสียงสร.

ใหม่!!: เครื่องหมายเสริมสัทอักษรและสระ (สัทศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

สัญประกาศ

ัญประกาศ เป็นเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่ง เป็นการขีดเส้นใต้ข้อความสำคัญหรือข้อความที่ควรสังเกตพิเศษ อาจจะมีหนึ่งเส้นหรือสองเส้น ตัวอย่างการใช้เช่น.

ใหม่!!: เครื่องหมายเสริมสัทอักษรและสัญประกาศ · ดูเพิ่มเติม »

อะพอสทรอฟี

อะพอสทรอฟี (') (apostrophe; ἡ ἀπόστροφος, hē apóstrophos) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากลอย่างหนึ่ง มีลักษณะเป็นขีดตั้งเล็ก ๆ เขียนอยู่เหนือและถัดจากอักษร หรือปรากฏคล้ายอัญประกาศเดี่ยว (ดูภาพทางขวา) ใช้มากในภาษาที่ใช้อักษรละติน แต่ไม่มีใช้ในภาษาไทย และบางครั้งก็ใช้เป็นเครื่องหมายเสริมสัทอักษร.

ใหม่!!: เครื่องหมายเสริมสัทอักษรและอะพอสทรอฟี · ดูเพิ่มเติม »

จู้อิน

ู้อินพื้นฐาน เทียบกับพินอิน จู้อิน หรือ จู้อินฝูเฮ่า (แปลว่า เครื่องหมายกำกับเสียง) เป็นระบบสัทอักษรสำหรับการถอดเสียงในภาษาจีน โดยเฉพาะภาษาจีนกลาง เป็นระบบกึ่งพยางค์ที่มีใช้อย่างกว้างขวางในสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ประกอบด้วยอักษร 37 ตัวและวรรณยุกต์ 4 ตัว ซึ่งเพียงพอที่จะใช้ถอดเสียงที่เป็นไปได้ในภาษาจีนกลาง ถึงแม้ว่าจู้อินจะถูกจัดว่าเป็นชุดตัวอักษร (alphabet) อย่างหนึ่ง ระบบนี้ก็ไม่ได้ประกอบด้วยพยัญชนะกับสระ แต่ประกอบด้วยต้นพยางค์ (syllable onset) กับสัมผัสพยางค์ (syllable rime) ระบบนี้มีพื้นฐานจากตารางสัมผัส (rime table) ของภาษาจีน แต่ใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษร (diacritics) แทนเสียงวรรณยุกต์แยกออกจากเสียงสัมผัส ในฐานะชุดตัวอักษร พยัญชนะต้นพยางค์มีอักษรใช้แทน 21 ตัว ที่เหลือเป็นสระเดี่ยว สระประสม และสระที่มีพยัญชนะสะกดซึ่งใช้อักษรแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น luan จะเขียนเป็น ㄌㄨㄢ (l-u-an) ซึ่งอักษรตัวสุดท้ายใช้แทนสระที่มีพยัญชนะสะกด -an ทั้งชุด เป็นต้น (อย่างไรก็ตาม พยัญชนะสะกด -p, -t, -k ไม่มีการใช้ในภาษาจีนกลาง แต่มีในสำเนียงอื่น สามารถเขียนเป็นตัวห้อยของพยัญชนะเหล่านี้หลังเสียงสระแทน) ในภาษาพูดทุกวันนี้ จู้อินมักถูกเรียกว่า ปอพอมอฟอ (ㄅㄆㄇㄈ: bopomofo) ซึ่งเป็นอักษรชุดแรกในระบบนี้ เอกสารอย่างเป็นทางการในบางโอกาสจะเรียกว่า Mandarin Phonetic Symbols I (國語注音符號第一式) หรือย่อเป็น MPS I (注音一式) ซึ่งชื่อนี้ไม่ค่อยปรากฏการใช้ในภาษาอื่น เลขโรมันที่ปรากฏหลังชื่อมีไว้เพื่อแยกแยะออกจากระบบ MPS II ที่คิดค้นขึ้นในยุคเดียวกันแต่ไม่มีการใช้งานแล้วในปัจจุบัน.

ใหม่!!: เครื่องหมายเสริมสัทอักษรและจู้อิน · ดูเพิ่มเติม »

ดับเบิลเกรฟแอกเซนต์

ับเบิลเกรฟแอกเซนต์ (double grave accent) เรียกย่อว่า ดับเบิลเกรฟ (double grave) เป็นเครื่องหมายเสริมสัทอักษรชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นขีดเล็ก ๆ เฉียงลงขวาสองขีดอยู่เหนืออักษร (◌̏) ใช้เขียนกำกับอักษรละตินในภาษาโครเอเชีย ภาษาสโลวีเนีย กำกับทั้งอักษรละตินและอักษรซีริลลิกในภาษาเซอร์เบีย บางครั้งก็ใช้ในสัทอักษรสากล เครื่องหมายนี้ในภาษาโครเอเชีย ภาษาสโลวีเนีย และภาษาเซอร์เบีย ใช้แสดงเสียงวรรณยุกต์ตกลงที่เป็นเสียงสั้น แต่ไม่ค่อยใช้ในชีวิตประจำวัน จะใช้เครื่องหมายนี้เพื่ออธิบายการออกเสียงในภาษาเหล่านี้เท่านั้น สำหรับอักษรซีริลลิก А Е И О Р У ที่เทียบเท่าอักษรละติน A E I O R U ไม่มีอักขระเฉพาะตัวในรูปแบบดับเบิลเกรฟ ต้องประสมขึ้นเองจากตัวผสานดับเบิลเกรฟ (U+030F) เช่น И + ◌̏.

ใหม่!!: เครื่องหมายเสริมสัทอักษรและดับเบิลเกรฟแอกเซนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เกรฟแอกเซนต์

กรฟแอกเซนต์ (grave accent) เรียกย่อว่า เกรฟ (grave) เป็นเครื่องหมายเสริมสัทอักษรชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นขีดเล็ก ๆ เฉียงลงขวาอยู่เหนืออักษร (`) ใช้เขียนกำกับอักษรละตินเพื่อใช้ในภาษาต่าง ๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี ภาษาดัตช์ ภาษาโปรตุเกส ภาษานอร์เวย์ ภาษาเวียดนาม ฯลฯ กำกับอักษรกรีกในภาษากรีก (ใช้จนถึง ค.ศ. 1982) หรือใช้กำกับอักษรอื่น ๆ ด้วยจุดประสงค์ที่แตกต่างกันไป ทั้งการเปลี่ยนระดับเสียง การแปรเสียง การเน้นเสียง หรือการแยกแยะคำ เป็นต้น คำว่า grave มาจากภาษาละติน gravis แปลว่า หนัก ในภาษาอังกฤษมีการอ่านว่า กราฟ เพิ่มเข้ามาเพื่อให้แตกต่างจากคำว่า grave เกรฟ ที่แปลว่า ร้ายแรง หรือหลุมศพ ซึ่งเลียนแบบมาจากภาษาฝรั่งเศส accent grave อักซอง กราฟ แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์มีแป้นเกรฟอยู่บริเวณมุมบนซ้ายของผัง บางภูมิภาคใช้ร่วมกับแป้นตาย (dead key) เพื่อประสมกับอักษร บางภูมิภาคใช้เพื่อสลับภาษาป้อนเข้า (คนไทยเรียก "ปุ่มตัวหนอน" ซึ่งเป็นปุ่มเดียวกับทิลเดอ) วงการโปรแกรมเมอร์เรียกเครื่องหมายนี้ว่า แบ็กโควต (back quote) หรือแบ็กทิก (backtick) ในยูนิโคดมีทั้งรูปแบบเดี่ยว (U+0060 `) และตัวผสาน (U+0300 ◌̀).

ใหม่!!: เครื่องหมายเสริมสัทอักษรและเกรฟแอกเซนต์ · ดูเพิ่มเติม »

Ñ

ตัวอักษรเอเลบนแป้นพิมพ์ภาษาสเปน Ñ (ตัวใหญ่: Ñ, ตัวเล็ก: ñ) เป็นตัวอักษรละตินยุคใหม่ซึ่งเกิดจากการใส่เครื่องหมายทิลเดบนตัวอักษร N ตัว Ñ ได้รับการจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของชุดตัวอักษรภาษาสเปนอย่างเป็นทางการในพุทธศตวรรษที่ 23 แต่ก็มีการใช้ในภาษากาลิเซีย, ภาษาอัสตูเรียส, ภาษาบาสก์, ภาษาอารากอน, ภาษาชาบากาโน, ภาษาฟิลิปีโน, ภาษาเกชัว และภาษาเตตุม รวมไปถึงในการถอดอักษรกลุ่มภาษาโตคาเรียนและภาษาสันสกฤตเป็นอักษรละติน โดยแทนเสียงนาสิก เพดานแข็ง  แต่ในภาษาตาตาร์ไครเมียใช้แทนเสียงนาสิก เพดานอ่อน ส่วนในภาษาเบรอตงและภาษาโรฮีนจา ตัวอักษรนี้เป็นตัวบ่งชี้ว่าสระที่อยู่ข้างหน้าออกเสียงเป็นสระนาสิก Ñ แตกต่างกับตัวอักษรอื่น ๆ ที่มีเครื่องหมายเสริมสัทอักษรกำกับ (เช่น Ü ในภาษาสเปน, ภาษากาลิเซีย, ภาษาอัสตูเรียส และภาษาเลออน) ตรงที่มันมีฐานะเป็นตัวอักษรต่างหากตัวหนึ่งในภาษาเหล่านั้น (ยกเว้นภาษาเบรอตง) โดยมีชื่อเรียกเป็นของตัวเอง (ภาษาสเปนเรียก "เอเญ", eñe) และมีตำแหน่งเป็นของตัวเองในชุดตัวอักษร (ต่อจาก N) จากมุมมองนี้ ความเป็นเอกเทศของตัว Ñ จึงคล้ายคลึงกับตัว W ในภาษาอังกฤษ (ซึ่งมาจากการเขียนตัว V ติดกันในอดีต เหมือนกับตัว Ñ ซึ่งมาจากการเขียนตัว N ติดกัน).

ใหม่!!: เครื่องหมายเสริมสัทอักษรและÑ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »