โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เคนต์

ดัชนี เคนต์

นต์ (Kent) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร และเป็นหนึ่งใน “มณฑลรอบนครลอนดอน” (Home Counties) เคนต์มีเขตแดนติดกับอีสต์ซัสเซ็กซ์, เซอร์รีย์ และนครลอนดอนและปริมณฑล และมีปากแม่น้ำเทมส์ขวางกับเอสเซ็กซ์ มณฑลภูมิศาสตร์เคนต์ประกอบด้วยเทศบาลมณฑลเคนต์ และรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวของเมดเวย์ เคนต์ตั้งอยู่ไม่ไกลจากฝรั่งเศสที่แยกโดยช่องแคบอังกฤษและครึ่งทางระหว่างอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษl เคนต์แบ่งการปกครองเป็นสิบสามแขวง: เซเวนโอกส์, ดาร์ทฟอร์ด, เกรฟแชม, ทันบริดจ์และมอลลิง, เมดเวย์, เมดสตัน, ทันบริดจ์เวลล์ส, สเวล, แอชฟอร์ด, แคนเตอร์บรี, เชปเวย์, เธนเน็ต และ โดเวอร์โดยมีเมืองหลวงของมณฑลอยู่ที่ เมดสตัน เดิมโรเชสเตอร์ และแคนเตอร์บรี เป็นเมืองที่มีฐานะเป็นนครแต่ปัจจุบันเมืองหลังเท่านั้นที่ยังเป็นนคร ที่ตั้งของเคนต์ระหว่างลอนดอนและแผ่นดินใหญ่ยุโรปทำให้เป็นมณฑลหน้าด่านและเป็นยุทธภูมิในความขัดแย้งหลายครั้งเช่นในระหว่างยุทธการแห่งบริเตนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เคนต์ตะวันออกได้ชื่อว่าเป็น “Hell Fire Corner” ระหว่างความขัดแย้ง ระหว่าง 800 ปีที่ผ่านมาอังกฤษพึ่งเคนต์ในด้านกองเรือ ท่าเรือซิงก์ (Cinque Ports) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 14 และอู่เรือแช็ทแธมในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 20 มีความสำคัญต่อความปลอดภัยและความมั่นคงของอังกฤษ ฝั่งทะเลฝรั่งเศสสามารถมองเห็นได้จากไวท์คลิฟฟ์สที่โดเวอร์ ในวันที่อากาศแจ่มใส เคนต์เป็นอาณาบริเวณที่มีการเกษตรกรรมในด้านสวนผลไม้และการปลูกฮอปที่ใช้ในการทำเบียร์ เคนต์ได้ชื่อว่าเป็น “สวนแห่งอังกฤษ” The Guardian 1 June 2006 BBC 1 June 2006 อุตสาหกรรมหลักของเคนต์ก็ได้แก่การทำซีเมนต์ สินค้ากระดาษ และการสร้างเรือบินแต่ความสำคัญของอุตสาหกรรมเหล่านี้ลดถอยลง ทางด้านใต้และตะวันออกขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการเกษตรกรรม.

79 ความสัมพันธ์: บริเตนสมัยโรมันชาลส์ ดาร์วินฟรันซิสโก เอสโกบาร์พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษพระเจ้าฮาร์ธาคนุตพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษพระเจ้าเอเธล์บาลด์แห่งเวสเซ็กซ์พระเจ้าเอเธล์วูลฟ์แห่งเวสเซ็กซ์พระเจ้าเอเธล์เบิร์ทแห่งเวสเซ็กซ์พอล ฮาร์ตนอลล์พิกซี ลอตต์กรันต์ อัลเลนกรุสมบัติการก่อการกำเริบของประชาชนในยุโรปช่วงปลายสมัยกลางการคมนาคมในลอนดอนมหาวิทยาลัยเคนต์มิก แจ็กเกอร์มิสแกรนด์สหราชอาณาจักรมิสเตอร์เวิลด์มุขมณฑลแคนเทอร์เบอรียุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460)ยุทธการที่เมดสตันยุทธการแซนด์วิช (ค.ศ. 1460)ยูโรสตาร์ราชอาณาจักรเมอร์เซียรายชื่อสวนสัตว์รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรรายนามผู้ครองตำแหน่งมิสเตอร์เวิลด์วิลเลียม พิตต์ ผู้เยาว์วิลเลียม พิตต์ เอิร์ลแห่งแชแทมวิลเลียม วอลเลอร์วิวัฒนาการของมนุษย์ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานสมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนียสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษสวนปราสาทซิสซิงเฮิสต์สวนปริศนาสถาปัตยกรรมทิวดอร์สงครามดอกกุหลาบสโมสรฟุตบอลจิลลิงงัมสโมสรฟุตบอลเอ็บส์ฟลีตยูไนเต็ดสโตนบริดจ์โรดหลวงรัถยาภิบาลบัญชา (กัปตัน เอส.เย.เอมส์)ห้องโถงเอกออกัสตินแห่งแคนเทอร์เบอรีอาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตันอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีสต์ซัสเซกซ์อีดกิฟูแห่งเคนต์จักรพรรดินโปเลียนที่ 3...ดยุกแห่งเคนต์ดาวิด กูดดอลล์คฤหาสน์โรมันคลาร์ค เคนท์ (สมอลล์วิลล์)ซัสเซกซ์ประวัติศาสตร์เดนมาร์กปราสาทโดเวอร์แคเตอร์แฮมโพคาฮอนทัสโซฟี เคาน์เตสแห่งเวสเซกซ์ไมเคิล แกมบอนไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์เส้นเมริเดียนที่ 1 องศาตะวันออกเอช. จี. เวลส์เออเฌนี เดอ มอนตีโค จักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศสเอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์เอ็ด เวสต์วิกเอ็ดวิน อาร์โนลด์เทศมณฑลที่เป็นมหานครและไม่ใช่มหานครของอังกฤษเทศมณฑลของอังกฤษเทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษเดนลอว์เคต บุชเคนต์ (แก้ความกำกวม)เซอร์รีย์เซาท์อีสต์อิงแลนด์เซนต์ออกัสตินส์แอบบีย์เนชันนัลลีกเนโอมี วอตส์ ขยายดัชนี (29 มากกว่า) »

บริเตนสมัยโรมัน

ริเตนสมัยโรมัน หรือ โรมันบริเตน (Britannia Romana) หมายถึงบริเวณเกาะอังกฤษส่วนที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมันระหว่าง ค.ศ. 43 ถึง ค.ศ. 410 โรมันเรียกจังหวัดนี้ว่า “บริทานเนีย” (Britannia) หรือบริทานยา ก่อนที่โรมันจะเข้ามารุกรานบริเตนยุคเหล็กก็มีวัฒนธรรมและเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินใหญ่ยุโรปอยู่แล้ว แต่ผู้รุกรานก็ยังนำการการวิวัฒนาการใหม่ๆ ทางด้านการเกษตรกรรม, การจัดระบบเมือง (urbanization), การอุตสาหกรรม และสถาปัตยกรรมเข้ามาเผยแพร่และยังทิ้งร่องรอยให้เห็นจนถึงทุกวันนี้ หลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการรุกรานเมื่อเริ่มแรกมีน้อย นักประวัติศาสตร์โรมันก็กล่าวถึงเพียงผ่านๆ ความรู้ส่วนใหญ่ของสมัยนี้มาจากหลักฐานทางโบราณคดีโดยเฉพาะจากหลักฐานที่สลักไว้บนหินหรือวัตถุอื่นๆ (epigraphic evidence).

ใหม่!!: เคนต์และบริเตนสมัยโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ชาลส์ ดาร์วิน

ลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน (Charles Robert Darwin FRS; 12 กุมภาพันธ์ 1809 – 19 เมษายน 1882) เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิม ๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต และเสนอทฤษฎีซึ่งเป็นทั้งรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ และหลักการพื้นฐานของกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) เขาตีพิมพ์ข้อเสนอของเขาในปี..

ใหม่!!: เคนต์และชาลส์ ดาร์วิน · ดูเพิ่มเติม »

ฟรันซิสโก เอสโกบาร์

ฟรันซิสโก คาเบียร์ เอสโกบาร์ (Francisco Javier Escobar) เป็นผู้ชนะการประกวดมิสเตอร์เวิลด์ 2012 ซึ่งจัดขึ้นในเคนต์, ประเทศอังกฤษ วันที่เมื่อ 24 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: เคนต์และฟรันซิสโก เอสโกบาร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 1 (Charles I; 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1600 — 30 มกราคม ค.ศ. 1649) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษสมัยราชวงศ์สจวต รวมทั้งพระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างปี..

ใหม่!!: เคนต์และพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฮาร์ธาคนุต

ระเจ้าฮาร์ธาคนุต หรือ พระเจ้าคนุตที่ 3 แห่งเดนมาร์ก (Harthacanute หรือ Canute the Hardy หรือ Hardecanute; Hörthaknútr หรือ Hardeknud) (ค.ศ. 1018 – 8 มิถุนายน ค.ศ. 1042) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษ และ ราชอาณาจักรเดนมาร์ก สมเด็จพระเจ้าฮาร์ธาคนุต เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี ค.ศ. 1018 เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าคนุตมหาราช และ เอ็มมาแห่งนอร์ม็องดี สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ และทรงราชบัลลังก์เดนมาร์กระหว่างปี ค.ศ. 1035 ถึงปี ค.ศ. 1042 และราชบัลลังก์อังกฤษระหว่างวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1040 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1042 พระเจ้าฮาร์ธาคนุตได้รับราชบัลลังก์เดนมาร์กเมื่อปี ค.ศ. 1035 หลังจากที่พระราชบิดาพระเจ้าคนุตมหาราชเสด็จสวรรคต แต่การรุกรานของพระเจ้าแม็กนัสที่ 1 แห่งนอร์เวย์ทำให้ไม่ทรงสามารถมารับราชบัลลังก์อังกฤษได้ ทางอังกฤษจึงตกลงยกพระราชบัลลังก์ให้ฮาโรลด์ แฮร์ฟุตพระเชษฐาต่างพระมารดาผู้เป็นพระโอรสนอกสมรสของพระเจ้าคนุตมหาราชเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราว แต่พระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุตทรงยึดราชบัลลังก์เป็นของพระองค์เองในปี ค.ศ. 1037 ฮาร์ธาคนุต “ถูกทิ้งเพราะไปอยู่เสียไกลในเดนมาร์ก”The Anglo-Saxon Chronicle — และเอ็มมาแห่งนอร์ม็องดีพระราชมารดาของฮาร์ธาคนุตผู้ที่ประทับอยู่ที่วินเชสเตอร์กับกองทหารของฮาร์ธาคนุตก็ทรงถูกบังคับให้หนีไปบรูจส์ (Bruges) ในฟลานเดอร์ส พระเจ้าฮาร์ธาคนุตทรงสงบศึกกับทางสแกนดิเนเวียด้วยสนธิสัญญาที่ทรงทำกับพระเจ้าแม็กนัสราวปี ค.ศ. 1038 หรือ ค.ศ. 1039 โดยตกลงกันว่าถ้าคนหนี่งคนใดตายดินแดนของผู้ที่ตายไปก็จะตกไปเป็นของผู้ที่มีชีวิตอยู่ หลังจากนั้นพระเจ้าฮาร์ธาคนุตก็เตรียมการรุกรานอังกฤษเพื่อที่จะไปปลดพระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุตจากราชบัลลังก์ แต่พระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุตเสด็จสวรรคตเสียก่อนเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1040 พระเจ้าฮาร์ธาคนุตจึงได้รับการอัญเชิญจากอังกฤษ ทรงขึ้นฝั่งอังกฤษที่แซนด์วิชในเค้นท์ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1040 พร้อมกับเรือรบ 62 ลำ เมื่อเสด็จมาถึงก็มีพระราชโองการให้ขุดร่างของพระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุตขึ้นมาแล้วเอาไปโยนทิ้ง พระเจ้าฮาร์ธาคนุตเป็นพระมหากษัตริย์ที่โหดร้ายและไม่เป็นที่นิยม ทรงเรียกเก็บภาษีอย่างหนักเพื่อที่ทรงใช้ในการบำรุงกองทัพเรือของพระองค์ ในปี ค.ศ. 1041 ชาววูสเตอร์สังหารทหารสองคนของพระเจ้าฮาร์ธาคนุตที่มาเก็บภาษี พระเจ้าฮาร์ธาคนุตทรงตอบโต้โดยการเผาเมือง เกี่ยวกับเรื่องภาษีมีตำนานเล่ากันว่าเลดี้โกไดวาเปลือยร่างขี่ม้ารอบเมืองโคเวนทรีเพื่อเรียกร้องให้เอิร์ลลดภาษีที่พระเจ้าฮาร์ธาคนุตสั่งให้เก็บ พงศาวดารแองโกล-แซ็กซอน (Anglo-Saxon Chronicle) กล่าวถึงพระองค์อย่างผ่านๆ ว่าไม่ทรงประสบความสำเร็จอะไรในฐานะพระเจ้าแผ่นดินระหว่างเวลาที่ทรงครองราชย์ นอกจากนั้นก็ยังกล่าวว่าในปี ค.ศ. 1041 พระเจ้าฮาร์ธาคนุตทรงละเมิดสัญญาและทรยศต่อเอิร์ลเอดวูลฟแห่งนอร์ทธัมเบรียผู้อยู่ในความคุ้มครองของพระองค์ ในปี ค.ศ. 1041 พระเจ้าฮาร์ธาคนุตทรงอัญเชิญพระอนุชาต่างพระบิดาสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ กลับจากการลี้ภัยในนอร์ม็องดีมาอยู่ในราชสำนักของพระองค์และคงคิดจะตั้งเอ็ดเวิร์ดให้เป็นรัชทายาทด้วย พระเจ้าฮาร์ธาคนุตมิได้ทรงเสกสมรสและไม่มีพระราชโอรสธิดา แต่ก็มีข่าวลือว่ามีพระโอรสนอกสมรส วิลเลียม คนุต พระเจ้าฮาร์ธาคนุตเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1042 ที่แลมเบ็ธ พระบรมศพถูกฝังไว้ที่วินเชสเตอร์ที่เดียวกับพระราชบิดาและพระราชมารดา เอ็ดเวิร์ดขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ ฟื้นฟูราชวงศ์เวสเซ็กซ์ของแซ็กซอน.

ใหม่!!: เคนต์และพระเจ้าฮาร์ธาคนุต · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ (Edward I of England) (17 มิถุนายน ค.ศ. 1239 – 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1307) หรือพระนามเดิมคือ เอ็ดเวิร์ด ลองแชงก์ส (Edward Longshanks) เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษในราชวงศ์แพลนแทเจเนต พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 รู้จักกันในนามว่า “Longshanks” เพราะพระวรกายที่สูงราว 6 ฟุต 2 นิ้ว หรือ “ผู้พระราชทานกฎหมาย” (the Lawgiver) เพราะทรงเป็นผู้ปฏิรูปกฎหมายของอังกฤษ และ “ผู้ปราบชาวสกอต” (Hammer of the Scots) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1239 ที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ในกรุงลอนดอนของประเทศอังกฤษ เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ และพระนางเอลินอร์แห่งพรอว็องส์ ได้อภิเษกสมรสกับเอลินอร์แห่งคาสตีล และต่อมากับพระนางมาร์เกอรีตแห่งฝรั่งเศส และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1272 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1307 ที่บรัฟบายแซนด์ส คัมเบอร์แลนด์ อังกฤษ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ได้รับชัยชนะต่อเวลส์และทรงพยายามปราบปรามสกอตแลนด์แต่ไม่สำเร็จ แม้ว่าพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 จะเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษพระองค์ที่ 4 ที่มีพระนามว่า “เอ็ดเวิร์ด” หลังจาก พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมรณสักขี และพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขี แต่การลำดับนามเดียวกันด้วยตัวเลขเป็นประเพณีของชาวนอร์มัน ฉะนั้นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดสามพระองค์ที่ทรงปกครองอังกฤษก่อนหน้าการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันจึงมิได้รับการเรียงลำดับแต่ทรงใช้พระสมัญญานามเพื่อบ่งความแตกต่างของแต่ละพระองค์แทน เอ็ดเวิร์ด ลองแชงค์จึงกลายเป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 ในปี..

ใหม่!!: เคนต์และพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอเธล์บาลด์แห่งเวสเซ็กซ์

อเธลบาลด์ กษัตริย์ของชาวเวสเซ็กซ์ ทรงเป็นโอรสองค์ที่สองจากห้าพระองค์ของพระเจ้าเอเธลวูล์ฟกับออสเบอร์ที่เป็นลูกสาวของข้าราชบริพารคนหนึ่งของพระองค์และตัวพระนางเองสืบเชื้อสายมาจากสายราชวงศ์ของเวสเซ็กซ์ ขณะที่พระราชบิดาของพระองค์ เอเธลวูล์ฟ เสด็จไปจาริกแสวงบุญที่โรมในปี..855 เอเธลบาล์ดวางแผนกับบิชอปแห่งเชอร์บอร์นและผู้นำท้องถิ่นของซัมเมอร์เซ็ตต่อต้านพระองค์ รายละเอียดของแผนการไม่เป็นที่รู้ แต่เมื่อกลับมาจากโรม เอเธลวูล์ฟพบว่าพระราชอำนาจของพระองค์ถูกจำกัดเหลือแค่กษัตริย์ย่อยแห่งเคนต์ ขณะที่เอเธลบาลด์ควบคุมเวสเซ็กซ์ เอเธลวูล์ฟสวรรคตในปี..858 และอำนาจควบคุมเต็มรูปแบบถูกส่งต่อให้เอเธลบาลด์ที่อภิเษกสมรสกับพระมเหสีของพระราชบิดา จูดิธ ทว่าภายใต้แรงกดดันจากศาสนจักรการอภิเษกสมรสถูกประกาศเป็นโมฆะในปีต่อมา พระองค์สวรรคตในปี..860 ส่งต่อบัลลังก์ให้พระอนุชา เอเธลเบิร์ท.

ใหม่!!: เคนต์และพระเจ้าเอเธล์บาลด์แห่งเวสเซ็กซ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอเธล์วูลฟ์แห่งเวสเซ็กซ์

อเธลวูล์ฟ เป็นโอรสของเอ็กเบิร์ตและเป็นกษัตริย์ย่อยแห่งเคนต์ พระองค์ได้บัลลังก์แห่งเวสเซ็กซ์มาจากการสวรรคตของพระราชบิดาในปี..839 รัชสมัยของพระองค์เป็นยุคของการรุกรานและการขับไล่พวกไวกิ้งซึ่งเป็นเรื่องปกติของผู้ปกครองของอังกฤษทุกคนในเวลานั้น แต่การทำสงครามไม่ใช่ชื่อเสียงที่โดดเด่นที่สุดของพระองค์ เอเธลวูล์ฟเป็นที่จดจำอย่างเลือนรางในฐานะบุคคลที่ศรัทธาในศาสนาอย่างแรงกล้าที่ใส่ใจในการสถาปนาและรักษาศาสนจักร พระองค์ยังเป็นคนที่มั่งคั่งและมีทรัพยากรขนาดใหญ่โตกว้างขวางอยู่ในมือ นอกเหนือจากทรัพยากรเหล่านี้ พระองค์ยังหยิบยื่นสิ่งต้องการให้แก่โรมและสถาบันศาสนาอย่างเอื้อเฟื้อ.

ใหม่!!: เคนต์และพระเจ้าเอเธล์วูลฟ์แห่งเวสเซ็กซ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอเธล์เบิร์ทแห่งเวสเซ็กซ์

อเธลเบิร์ท กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์ ทรงเป็นโอรสองค์ที่สามจากห้าพระองค์ของพระเจ้าเอเธลวูล์ฟกับออสเบอร์ที่ตัวพระนางเองสืบเชื้อสายมาจากสายราชวงศ์ของชาวเวสเซ็กซ์ ช่วงสั้นๆก่อนที่เอเธลวูล์ฟจะเสด็จไปโรมในปี..

ใหม่!!: เคนต์และพระเจ้าเอเธล์เบิร์ทแห่งเวสเซ็กซ์ · ดูเพิ่มเติม »

พอล ฮาร์ตนอลล์

อล ฮาร์ตนอลล์ (Paul Hartnoll) เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1968 ในดาร์ทฟอร์ด เคนต์ เป็นสมาชิกวงออร์บิทัล.

ใหม่!!: เคนต์และพอล ฮาร์ตนอลล์ · ดูเพิ่มเติม »

พิกซี ลอตต์

กซี ลอตต์ (Pixie Lott) หรือชื่อเกิด วิกตอเรีย หลุยส์ ลอตต์ (Victoria Louise Lott) เกิดเมื่อ 12 มกราคม ค.ศ. 1991 เป็นนักร้อง-นักแต่งเพลงชาวอังกฤษ และยังเป็นนักแสดง เซ็นสัญญากับเมอร์คูรีเรเคิดส์ ในสหรัฐอเมริกา และกับอินเตอร์สโคปในสหรัฐอเมริกา มีผลงานซิงเกิลเปิดตัวคือ "Mama Do (Uh Oh, Uh Oh)" ออกขายในรูปแบบดาวน์โหลดเมื่อ 6 มิถุนายน..

ใหม่!!: เคนต์และพิกซี ลอตต์ · ดูเพิ่มเติม »

กรันต์ อัลเลน

Charles Grant Blairfindie Allen ชาร์ลส์ กรันต์ แบลร์ฟินดี อัลเลน (Charles Grant Blairfindie Allen) (24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2390 - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2422) เกิดในแคนาดา แต่ไปเรียนหนังสือในสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และอังกฤษ เมื่ออายุ 25 ปี เขาไปเป็นอาจารย์สอนวิชาตรรกศาสตร์ (รวมทั้งปรัชญา จริยศาสตร์ ภาษาละตินและภาษากรีก) ในมหาวิทยาลัยในจาไมกาอยู่สองสามปี จากนั้นก็กลับยุโรป เขาแต่งงานใหม่ และใช้ชีวิตในแคว้นเคนต์ ประเทศอังกฤษ ส่วนในหน้าหนาวจะไปอยู่ในบ้านทางตอนใต้ของฝรั่งเศส นักเขียนยุควิกตอเรียซึ่งผลิตงานมากมายหลากหลายผู้นี้ เคยเขียนเพื่อเงินถ่ายเดียวไว้หลายเรื่อง (โดยมากเป็นนวนิยายสืบสวนและเขียนโดยใช้นามปากกา) รวมถึงหนังสือท่องเที่ยวอีกจำนวนหนึ่ง เพื่อตอบสนองความอยากเขียนความเรียงในประเด็นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และแสดงความเห็นเกี่ยวกับแนวคิดอเทวนิยม รวมทั้งสนับสนุนลัทธิเสรีนิยม ในทศวรรษ 1890 เขากลายเป็นที่รู้จักไปทั่วจากหนังสือ The woman who did เรื่องราวของหญิงหัวสมัยใหม่ผู้พึ่งตนเองได้ และมีลูกโดยไม่ได้แต่งงาน.

ใหม่!!: เคนต์และกรันต์ อัลเลน · ดูเพิ่มเติม »

กรุสมบัติ

กรุสมบัติ (Treasure trove) อาจจะมีความหมายอย่างกว้างๆ ว่าเป็นก้อนสมบัติที่รวมทั้งทอง, เงิน, อัญมณี, เงินตรา หรือสิ่งของมีค่าอื่นๆ ที่ฝังเอาไว้ใต้ดิน หรือ ห้องใต้หลังคา หรือ ห้องใต้ดิน ที่ต่อมามาขุดพบ สมบัติที่อยู่ในข่ายนี้สรุปว่าเป็นสมบัติเก่าแก่ที่เจ้าของเดิมเสียชีวิตไปแล้วและไม่อาจจะหาทายาทได้ แต่กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า “กรุสมบัติ” และวิธีปฏิบัติต่อสิ่งที่พบแตกต่างกันไปแล้วแต่ประเทศ และ แล้วแต่ยุคสมัย นอกจากนั้นก็ยังเป็นคำที่ใช้เป็นคำอุปมาอีกด้วย เช่นงานเขียนที่เป็นการรวบรวมเรื่องต่างๆ ก็อาจจะใช้ชื่อคำว่า “กรุสมบัติ” นำหน้าเช่น “กรุสมบัติแห่งวิทยาศาสตร์” นอกจากนั้นก็ยังเป็นที่นิยมกันในการตั้งชื่อวรรณกรรมสำหรับเยาวชนเมื่อต้นถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20.

ใหม่!!: เคนต์และกรุสมบัติ · ดูเพิ่มเติม »

การก่อการกำเริบของประชาชนในยุโรปช่วงปลายสมัยกลาง

มเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษพบปะกับคณะผู้ก่อการในการปฏิวัติชาวนา การปฏิวัติของชุมชนในปลายสมัยกลางของยุโรป (Popular revolt in late medieval Europe) โดยทั่วไปเป็นการก่อความไม่สงบหรือการปฏิวัติของเกษตรกรในชนบทหรือชนชั้นกลางในเมืองในการต่อต้านขุนนาง, นักบวช หรือ พระมหากษัตริย์ระหว่างคริสต์ศัตวรรษที่ 14 จนถึงต้นคริสต์ศัตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ“วิกฤติกาลของปลายสมัยกลางของยุโรป”(Crisis of the Late Middle Ages) บางครั้งก็เรียกว่า“กบฏชาวนา”(Peasant revolt) ที่เป็นการปฏิวัติของชุมชนที่ครอบคลุมอย่างกว้างไม่เฉพาะแต่เกษตรกรหรือชาวน.

ใหม่!!: เคนต์และการก่อการกำเริบของประชาชนในยุโรปช่วงปลายสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

การคมนาคมในลอนดอน

ัญลักษณ์ของ ''องค์การคมนาคมสำหรับลอนดอน'' การคมนาคมในลอนดอน อยู่ในรูปแบบของถนน ระบบรถไฟ และการคมนาคมทางอากาศในกรุงลอนดอน เมืองหลวงของอังกฤษและสหราชอาณาจักร เป็นระบบที่มีความสลับซับซ้อนและกว้างใหญ่ และเป็นระบบที่มีทั้งการบริหารโดยรัฐบาลท้องถิ่นและการบริหารโดยเอกชน ซึ่งเป็นรากฐานของระบบถนนและรถไฟของประเทศ นอกจากนี้ลอนดอนยังมีสนามบินอีกหลายสนามบิน เช่น ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ เป็นต้น และท่าเรือลอนดอน บนฝั่งแม่น้ำเทมส์ที่ใช้ในการคมนาคมกับทะเลเหนือ การคมนาคมภายในลอนดอนเป็นหนึ่งในสี่ของนโยบายที่นายกเทศมนตรีลอนดอนจักต้องรับผิดชอบ และหน่วยงานที่บริหารระบบการคมนาคมมีชื่อว่า องค์การการคมนาคมสำหรับลอนดอน (Transport for London หรือย่อว่า TfL) TfL ควบคุมขนส่งมวลชนในพื้นที่ รวมทั้ง รถไฟใต้ดิน รถเมล์ท้องถิ่น แทรมลิงก์ และรถไฟเบาสายดอคแลนดส์ (Docklands Light Railway หรือย่อว่า DLR) แต่ขณะนี้ TfL ไม่มีอำนาจในการบริหารระบบรถไฟแห่งชาติที่ให้บริการภายในเขตนครลอนดอนและปริมณฑล ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงคมนาคม นอกจากนี้ TfL ยังมีหน้าที่ควบคุมถนนสายหลักแต่มิได้มีหน้าที่ในการคุมถนนสายย่อยซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหารส่วนท้องถิ่น (ดูรายละเอียดด้านล่าง).

ใหม่!!: เคนต์และการคมนาคมในลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเคนต์

มหาวิทยาลัยเคนต์ (University of Kent) (เดิมชื่อ มหาวิทยาลัยเคนต์ ณ แคนเทอเบอรี) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเน้นวิจัยขนาดกลาง ตั้งที่นอกเมืองแคนเทอร์เบอรี จังหวัดเคนต์ เปิดสอนด้านการจัดการ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และกฎหมาย มหาวิทยาลัยเคนต์ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2508 จึงถือเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ (new universities) หรือมหาวิทยาลัยกระจก (plate glass universities) ร่วมกับมหาวิทยาลัยอื่นอีกหลายแห่ง มหาวิทยาลัยเป็นสมาชิกเครือข่ายแซนแทนเดอร์, สมาคมมหาวิทยาลัยเครือจักรภพ และยูนิเวอร์ซิตียูเค (Universities UK) และถูกจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยใหม่ 100 อันดับแรก รวมถึงมีคะแนนความพอใจของนักศึกษาเกินกว่า 90% จากแบบสำรวจนักศึกษาแห่งชาติ ในปี..

ใหม่!!: เคนต์และมหาวิทยาลัยเคนต์ · ดูเพิ่มเติม »

มิก แจ็กเกอร์

ซอร์ ไมเคิล ฟิลิป "มิก" แจ็กเกอร์ (Sir Michael Philip "Mick" Jagger) เกิดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง ชาวอังกฤษ บางครั้งยังเป็นนักแสดง เคยได้รับรางวัลลูกโลกทองคำและรางวัลแกรมมี่ เขาเป็นที่รู้จักในฐานะนักร้องนำวงเดอะโรลลิงสโตนส์ จากเว็บไซต์ britishhitsongwriters.com ระบุว่า เขาเป็นนักประพันธ์เพลงที่ประสบความสำเร็จในอันดับที่ 19 ของสหราชอาณาจักร ในชาร์ทยูเคซิงเกิล เมื่อวัดจากยอดรวมสัปดาห์ของการร่วมประพันธ์ บนตารางชาร์ต.

ใหม่!!: เคนต์และมิก แจ็กเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มิสแกรนด์สหราชอาณาจักร

'''Nadia Suliman''' '' (ซ้าย) '', '''Noky Simbani''' '' (กลาง) '', และ '''Amy Meisak''' '' (ขวา) '' – มิสแกรนด์เวลส์, มิสแกรนด์อังกฤษ และ มิสแกรนด์สก็อตแลนด์ 2017 ตามลำดับ ระหว่างการรับตำแหน่งจากการประกวดยูเคพาวเวอร์เพเจ้นท์ 2017 '''Rachael Tate''' – มิสแกรนด์เวล์ 2016 ซึ่งได้เข้าร่วมการประกวดมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล 2016 และสามารถผ่านเข้ารอบ 20 คนสุดท้ายได้เป็นครั้งแรกนับนั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 ที่ Pageant Girl - UK Pageant Organisers ส่งตัวแทนจากสหราชอาณาจักรเข้าร่วมการประกวดมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล '''Danielle Latimer''' – มิสแกรนด์เวล์ 2015 มิสแกรนด์สหราชอาณาจักร (Miss Grand United Kingdom) เป็นการประกวดนางงามระดับประเทศของสหราชอาณาจักร ซึ่งผู้ชนะการประกวดจะต้องเป็นตัวแทนของประเทศเข้าร่วมการประกวดมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล โดยในปี..

ใหม่!!: เคนต์และมิสแกรนด์สหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

มิสเตอร์เวิลด์

มิสเตอร์เวิลด์ (Mister World) เป็นการประกวดความงามสำหรับเพศชายได้รับการสนับสนุนจากองค์การมิสเวิลด์ การแข่งขันจะจัดขึ้นสองปีต่อครั้งและก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1996 ผู้เข้าแข่งขันจะได้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้ง สกีน้ำ, ขี่จักรยานเสือภูเขา และวิ่งมาราธอน ปัจจุบันผู้ได้รับตำแหน่งคือนิคลาส ปีเดอเซน ของประเทศเดนมาร์ก ที่คว้าตำแหน่งมิสเตอร์เวิลด์ วันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2014 ในทอร์เบย์, ประเทศอังกฤษ.

ใหม่!!: เคนต์และมิสเตอร์เวิลด์ · ดูเพิ่มเติม »

มุขมณฑลแคนเทอร์เบอรี

ตราประจำมุขมณฑล มุขมณฑลแคนเทอร์เบอรี (Diocese of Canterbury) เป็นมุขมณฑลของคริสตจักรแห่งอังกฤษ ครอบคลุมพื้นที่เทศมณฑลเคนต์ตะวันออก มุขมณฑลนี้ก่อตั้งโดยนักบุญออกัสตินแห่งแคนเทอร์เบอรีในปี..

ใหม่!!: เคนต์และมุขมณฑลแคนเทอร์เบอรี · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460)

ทธการนอร์ทแธมป์ตัน (ค.ศ. 1460) (Battle of Northampton (1460)) เป็นยุทธการในสงครามดอกกุหลาบ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1460 ที่เมืองนอร์ทแธมป์ตันในนอร์ทแธมป์ตันเชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์ที่นำโดยพระเจ้าเฮนรีที่ 6 และฮัมฟรีย์ สตาฟฟอร์ด ดยุคแห่งบัคคิงแฮมที่ 1 และฝ่ายราชวงศ์ยอร์คที่นำโดยริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งวอริคที่ 16 ผลของยุทธการครั้งนี้ฝ่ายยอร์คได้รับชัยชนะ ในด้านความเสียหายฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์มีผู้เสียชีวิต 300 คน ส่วนฝ่ายราชวงศ์ยอร์คไม่ทราบจำนวน.

ใหม่!!: เคนต์และยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460) · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เมดสตัน

ทธการที่เมดสตัน (Battle of Maidstone) เป็นยุทธการในสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1648 ที่เมืองเมดสตันในเทศมณฑลเคนต์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายนิยมกษัตริย์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 กับกองทัพตัวแบบใหม่ของฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยลอร์ดแฟร์แฟกซ์ ผลของสงครามครั้งนี้ฝ่ายรัฐสภาได้รับชัยชนะ ในปี ค.ศ. 1648 ฝ่ายนิยมกษัตริย์ในเทศมณฑลเคนต์แข็งข้อและยึดเกรฟเซนด์และเมดสตัน ลอร์ดแฟร์แฟกซ์จึงนำทัพมายังเมดสตันและยึดเมืองคืน ฝ่ายนิยมกษัตริย์เข้าโจมตีกองทัพของฝ่ายรัฐสภาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1648 แต่ได้รับความพ่ายแพ้และมีผู้เสียชีวิตทางฝ่ายนิยมกษัตริย์กว่า 800 คน ชัยชนะของฝ่ายรัฐสภาทำให้การแข็งข้อยุติลง.

ใหม่!!: เคนต์และยุทธการที่เมดสตัน · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการแซนด์วิช (ค.ศ. 1460)

ทธการแซนด์วิช (ค.ศ. 1460) (Battle of Sandwich (1460)) เป็นปะทะกันในสงครามดอกกุหลาบ ที่เกิดขึ้นในเดือนมกราคม ค.ศ. 1460 ที่หน้าเมืองเมืองแซนด์วิช เค้นท์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ทางทะเลระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์ และฝ่ายราชวงศ์ยอร์คที่นำโดยริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งวอริคที่ 16 ผลของยุทธการครั้งนี้ยอร์คเป็นฝ่ายได้รับชัยชน.

ใหม่!!: เคนต์และยุทธการแซนด์วิช (ค.ศ. 1460) · ดูเพิ่มเติม »

ยูโรสตาร์

รถไฟยูโรสตาร์ในสถานีวอเทอร์ลู ยูโรสตาร์ (Eurostar) เป็นรถไฟความเร็วสูงที่ให้บริการในยุโรปตะวันตก เชื่อมต่อระหว่างลอนดอนและเคนต์ ในสหราชอาณาจักร กับปารีสและลีลในฝรั่งเศส และบรัสเซลส์ในเบลเยียม นอกจากนั้นยังให้บริการจากลอนดอนไปยังดิสนีย์แลนด์รีสอร์ตในปารีส และอีกหลายจุดหมายปลายทางตามแต่ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว โดยวิ่งผ่านอุโมงค์รถไฟลอดใต้พื้นทะเลช่องแคบอังกฤษ และฝรั่งเศส รถไฟยูโรสตาร์เป็นขบวนรถไฟจำนวน 18 โบกี้ วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (186 ไมล์ต่อชั่วโมง) สร้างโดยบริษัทอัลสธอม ประเทศฝรั่งเศส โดยใช้เทคโนโลยีของรถไฟเตเฌเว (TGV) ในการพัฒนา ให้บริการครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: เคนต์และยูโรสตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเมอร์เซีย

ราชอาณาจักรเมอร์เซีย (Mercia) เป็นหนึ่งในอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนเจ็ดอาณาจักรที่มีศูนย์กลางอยู่ในลุ่มแม่น้ำแม่น้ำเทร้นท์และในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นอังกฤษมิดแลนด์ส (English Midlands) ชื่อเมอร์เซียเป็นภาษาอังกฤษเก่า “Mierce” ที่แผลงเป็นแบบละติน (Latinization) แปลว่า “ชนชายแดน” ราชอาณาจักรเมอร์เซียมีอาณาเขตติดต่อกับราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย, เพาวิส, ราชอาณาจักรต่างๆ ทางตอนใต้ของเวลส์, เวสเซ็กซ์, ซัสเซ็กซ์, เอสเซ็กซ์ และ อีสต์แองเกลีย ทุกวันนี้ชื่อ “เมอร์เซีย” ยังใช้กันทั่วไปในชื่อองค์การต่างๆ ได้แก่ หน่วยทหาร หรือองค์การทั้งของรัฐและของเอกชน.

ใหม่!!: เคนต์และราชอาณาจักรเมอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสวนสัตว์

;.

ใหม่!!: เคนต์และรายชื่อสวนสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักร

สโตนเฮนจ์เป็นส่วนหนึ่งของแหล่งมรดกโลกสโตนเฮนจ์ เอฟเบอรี และสถานที่ใกล้เคียง ในสหราชอาณาจักรและอาณานิคมโพ้นทะเลมีแหล่งมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนโดยยูเนสโกทั้งหมด 31 แห่ง โดยอยู่ในอังกฤษ 17 แห่ง, สกอตแลนด์ 5 แห่ง, อังกฤษและสกอตแลนด์ 1 แห่ง, เวลส์ 3 แห่ง, ไอร์แลนด์เหนือ 1 แห่ง และในดินแดนโพ้นทะเลเบอร์มิวดา หมู่เกาะพิตแคร์น เซนต์เฮเลนา และยิบรอลตาร์ที่ละ 1 แห่ง แหล่งมรดกโลกของสหราชอาณาจักรที่ได้ขึ้นทะเบียนในครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2529 ได้แก.

ใหม่!!: เคนต์และรายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

รายนามผู้ครองตำแหน่งมิสเตอร์เวิลด์

รายนามผู้ที่ครองตำแหน่งมิสเตอร์เวิลด์อย่างเป็นทางการ โดยเรียงลำดับตามปีการจัดประกวดดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: เคนต์และรายนามผู้ครองตำแหน่งมิสเตอร์เวิลด์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม พิตต์ ผู้เยาว์

วิลเลียม พิตต์ ผู้เยาว์ (William Pitt, the Younger; 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1759 - 23 มกราคม ค.ศ. 1806) นายกรัฐมนตรีคนที่ 14 แห่งสหราชอาณาจักร ในศตวรรษที่ 19 เริ่มดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร (สมัยแรก) เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม..

ใหม่!!: เคนต์และวิลเลียม พิตต์ ผู้เยาว์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม พิตต์ เอิร์ลแห่งแชแทม

วิลเลียม พิตต์ เอิร์ลที่ 1 แห่งแชแทม (William Pitt, 1st Earl of Chatham) เป็นรัฐบุรุษและนักการเมืองชาวอังกฤษจากพรรควิก เป็นผู้นำพาอังกฤษเข้าสู่ยุคจักรวรรดินิยม เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งบริเตนใหญ่คนที่ 9 นักประวัติศาสตร์มักจะเรียกเขาว่า วิลเลียม พิตต์ ผู้แก่กว่า (William Pitt the Elder) เพื่อไม่ให้สับสนกับลูกชายของเขา วิลเลียม พิตต์ ผู้เยาว์ ซึ่งก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีเช่นกัน เขาเป็นสมาชิกคณะรัฐมนตรีอังกฤษและเป็นผู้นำโดยพฤตินัยตั้งแต่ปี 1756 ถึง 1761 ในช่วงสงครามเจ็ดปี หลังจากนั้นเขาก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีโดยควบตำแหน่งใต้เท้าราชลัญจกร (Lord Privy Seal) ระหว่าง 1766 ถึง 1768 เขามีวาจาที่ปราดเปรื่องซึ่งสามารถชักจูงผู้คนให้คล้อยตามได้ จุดนี้เองทำให้เขาสามารถครอบงำสภาสามัญชนได้ นักประวัติศาสตร์อธิบายว่าด้วยความฉลาดและวาจาของเขานี้เองที่เป็นบ่อเกิดแห่งอำนาจ ไม่เหมือนนายกฯคนอื่นๆที่ขึ้นสู่ตำแหน่งจากการใช้เส้นสายทางครอบครัว นอกเหนือไปจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว ตัวเขาเองในฐานะนักการเมืองก็มีชื่อเสียงขึ้นมาจากการกล่าวโจมตีรัฐบาลต่างๆ อาทิ การฉ้อราษฎร์บังหลวงในรัฐบาลของเซอร์ วอลโพล, กระบวนการสันติภาพกับฝรั่งเศส, นโยบายแข็งกร้าวต่ออาณานิคมอเมริกา อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทำให้เขามีชื่อเสียงมากที่สุด คือบทบาทผู้นำอังกฤษในช่วงสงครามเจ็ดปี ด้วยกลยุทธ์ซึ่งคิดเองและการอุทิศตนเองของเขา นำมาซึ่งชัยชนะของอังกฤษต่อฝรั่งเศส ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นให้อังกฤษเริ่มแผ่อิทธิพลปกคลุมไปทุกส่วนของโลก นอกจากนี้ยังเป็นผู้นำที่ยืนหยัดต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างจริงจัง เขามีนโยบายโฆษณาชวนเชื่อถึงความยิ่งใหญ่ของอังกฤษ และชูนโยบายขยายดินแดนและอาณานิคม และเขายังมองสเปนและฝรั่งเศสว่าเป็นคู่แข่งในการขยายดินแดน แม้ว่าเขาจะเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยม แต่เนื่องจากกลัวว่าสเปนจะหันไปจับมือกับฝรั่งเศส เขาจึงมีความคิดที่จะเปิดฉากโจมตีกองเรือและอาณานิคมสเปนก่อน เพื่อไม่ให้กองเรือสินค้าของสเปนเทียบท่าได้ ความคิดนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากทั้งเอิร์ลแห่งบิวต์และดยุกแห่งนิวคาสเซิลตลอดจนสมาชิกคณะรัฐมนตรี เขาไม่มีทางเลือกนอกจากประกาศลาออก การลาออกของเขาเป็นที่น่ายินดีสำหรับพวกรัฐมนตรีและเพื่อนร่วมงาน เนื่องจากมองว่าอำนาจและอิทธิพลที่มากล้นของเขาคุกคามต่อประเพณีการปกครองของอังกฤษ หลังจากเขาลาออก อำนาจก็ตกไปอยู่ในมือของ จอร์จ เกรนวิลล์ คนใกล้ชิดซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่เมีย ซึ่งพิตต์ไม่พอใจเนื่องจากเห็นว่าเกรนวิลล์ควรจะออกไปพร้อมกับเขาด้วย และมองว่าการกระทำเช่นนี้ของเกรนวิลล์เป็นการทรยศเขา จนทั้งสองมองหน้ากันไม่ติดไปอีกหลายปี.

ใหม่!!: เคนต์และวิลเลียม พิตต์ เอิร์ลแห่งแชแทม · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม วอลเลอร์

วิลเลียม วอลเลอร์ (William Waller) (ราว ค.ศ. 1597 - 19 กันยายน ค.ศ. 1668) วิลเลียม วอลเลอร์เป็นนายทัพฝ่ายรัฐสภาผู้มีบทบาทสำคัญในยุทธการแลนสดาวน์และยุทธการอื่นๆ ในสงครามกลางเมืองอังกฤษ วอลเลอร์เกิดที่โนลในมณฑลเค้นท์ เมื่อวันที่ ราว ค.ศ. 1597 เป็นบุตรของเซอร์ทอมัส วอลเลอร์ และมาร์กาเร็ต วอลเลอร์ และได้รับการศึกษาที่วิทยาลัยมอดเลน (อ๊อกซฟอร์ด) แต่ไม่จบการศึกษา ต่อมาก็เข้าเป็นทหารในกองทัพเวนิสในการต่อสู้ในสงครามสามสิบปี วอลเลอร์ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางในปี..

ใหม่!!: เคนต์และวิลเลียม วอลเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการของมนุษย์

''Homo sapiens sapiens'' ชาวอาข่าในประเทศไทย วิวัฒนาการของมนุษย์ (Human evolution) เป็นกระบวนการวิวัฒนาการที่นำไปสู่การปรากฏขึ้นของ "มนุษย์ปัจจุบัน" (modern human มีนามตามอนุกรมวิธานว่า Homo sapiens หรือ Homo sapiens sapiens) ซึ่งแม้ว่าจริง ๆ แล้วจะเริ่มต้นตั้งแต่บรรพบุรุษแรกของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด แต่บทความนี้ครอบคลุมเพียงแค่ประวัติวิวัฒนาการของสัตว์อันดับวานร (primate) โดยเฉพาะของสกุล โฮโม (Homo) และการปรากฏขึ้นของมนุษย์สปีชีส์ Homo sapiens ที่จัดเป็นสัตว์วงศ์ลิงใหญ่เท่านั้น การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์นั้นต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายสาขา รวมทั้งมานุษยวิทยาเชิงกายภาพ (หรือ มานุษยวิทยาเชิงชีวภาพ), วานรวิทยา, โบราณคดี, บรรพชีวินวิทยา, พฤติกรรมวิทยา, ภาษาศาสตร์, จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary psychology), คัพภวิทยา และพันธุศาสตร์ กระบวนการวิวัฒนาการเป็นความเปลี่ยนแปลงของลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตผ่านหลายชั่วยุคชีวิต เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความหลายหลากกับสิ่งมีชีวิตในทุกระดับชั้น รวมทั้งระดับสปีชีส์ ระดับสิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิต และแม้กระทั่งโครงสร้างระดับโมเลกุลเช่นดีเอ็นเอและโปรตีน สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกสืบสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกันที่มีชีวิตประมาณ 3.8 พันล้านปีก่อน การเกิดสปีชีส์ใหม่ ๆ และการแยกสายพันธุ์ออกจากกันของสิ่งมีชีวิต สามารถอนุมานได้จากลักษณะสืบสายพันธุ์ทางสัณฐานและทางเคมีชีวภาพ หรือโดยลำดับดีเอ็นเอที่มีร่วมกัน คือ ลักษณะสืบสายพันธุ์และลำดับดีเอ็นเอที่มีกำเนิดเดียวกัน จะมีความคล้ายคลึงกันระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันเร็ว ๆ นี้มากกว่าระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันมานานแล้ว ดังนั้นความคล้ายคลึงกันและความแตกต่างกันจึงสามารถใช้สร้างแบบของต้นไม้สายพันธุ์สิ่งมีชีวิต ที่แสดงความสัมพันธ์เชิงญาติ โดยใช้สิ่งมีชีวิตที่ยังมีอยู่หรือใช้ซากดึกดำบรรพ์เป็นหลักฐานข้อมูล รูปแบบความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลกเปลี่ยนแปลงไปเพราะการเกิดขึ้นของสปีชีส์ใหม่ ๆ และการสูญพันธุ์ไปของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ งานวิจัยต่าง ๆ ทางพันธุศาสตร์แสดงว่า สัตว์อันดับวานรรวมทั้งมนุษย์แยกออกจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทอื่น ๆ เมื่อประมาณ โดยมีซากดึกดำบรรพ์ปรากฏเป็นครั้งแรกสุดเมื่อประมาณ ส่วนลิงวงศ์ชะนี (Hylobatidae) แยกสายพันธุ์ออกจากสายพันธุ์วงศ์ลิงใหญ่ (Hominidae) รวมทั้งมนุษย์ ซึ่งเป็นวงศ์หนึ่ง ๆ ของสัตว์อันดับวานรนั้น เมื่อ แล้วลิงวงศ์ Ponginae (ลิงอุรังอุตัง) ก็แยกออกจากสายพันธุ์เมื่อประมาณ จากนั้น การเดินด้วยสองเท้า (bipedalism) ซึ่งเป็นการปรับตัวพื้นฐานที่สุดของสัตว์เผ่า Hominini ซึ่งเป็นสายพันธุ์ของมนุษย์ที่ลิงชิมแปนซีได้แยกออกไปแล้ว ก็เริ่มปรากฏในสัตว์สองเท้าแรกสุดในสกุล Sahelanthropus หรือ Orrorin โดยมีสกุล Ardipithecus ซึ่งเป็นสัตว์สองเท้าที่มีหลักฐานชัดเจนกว่า ตามมาทีหลัง ส่วนลิงกอริลลาและลิงชิมแปนซีแยกออกจากสายพันธุ์ในช่วงเวลาใกล้ ๆ กัน คือลิงกอริลลาเมื่อ และลิงชิมแปนซีเมื่อ โดยอาจจะมี Sahelanthropus เป็นบรรพบุรุษสุดท้ายร่วมกันระหว่างชิมแปนซีและมนุษย์ สัตว์สองเท้ายุคเริ่มต้นเหล่านี้ในที่สุดก็วิวัฒนาการมาเป็นเผ่า hominini เผ่าย่อย Australopithecina (australopithecine ปกติรวมสกุล Australopithecus, Paranthropus, และในบางที่ Ardipithecus) ที่ และหลังจากนั้นจึงเป็นเผ่าย่อย Hominina ซึ่งรวมเอามนุษย์สกุล โฮโม เท่านั้น มนุษย์สกุลโฮโมที่มีหลักฐานยืนยันพวกแรกที่สุดเป็นสปีชีส์ Homo habilis ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ โดยเชื่อกันว่า สืบสายพันธุ์มาจาก homonin ในสกุล Australopithecus เป็นสปีชีส์แรก ๆ ที่มีหลักฐานชัดเจนว่าใช้เครื่องมือหิน และการปรับตัวของสายพันธุ์มนุษย์อีกอย่างหนึ่งคือ การขยายขนาดของสมอง (encephalization) ก็ได้เริ่มขึ้นที่มนุษย์ยุคต้นนี้ ซึ่งมีขนาดสมองที่ประมาณ 610 ซม3 คือมีขนาดใหญ่กว่าของลิงชิมแปนซีเล็กน้อย (ระหว่าง 300-500 ซม3) มีนักวิทยาศาสตร์ที่เสนอว่า นี้อยู่ในช่วงเวลาที่ยีนมนุษย์ประเภท SRGAP2 มีจำนวนเป็นสองเท่าเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาของสมองกลีบหน้าได้รวดเร็วกว่าในสัตว์อื่น ๆ ต่อมา มนุษย์สปีชีส์ Homo erectus/ergaster ก็เกิดขึ้นในช่วงประมาณ ที่มีปริมาตรกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของลิงชิมแปนซีคือ 850 ซม3 การขยายขนาดของสมองเช่นนี้เทียบเท่ากับมีเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้น 125,000 เซลล์ทุกชั่วยุคคน สปีชีส์นี้เชื่อว่าเป็นพวกแรก ๆ ที่สามารถควบคุมไฟ และใช้เครื่องมือหินที่มีเทคโนโลยีที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เป็นมนุษย์สกุล Homo พวกแรกที่อพยพออกไปตั้งถิ่นฐานทั่วทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป อาจเริ่มตั้งแต่ ดังนั้น การวิวัฒนาการของสายพันธุ์มนุษย์ก่อนหน้านี้ล้วนเป็นไปในแอฟริกาเท่านั้น ส่วนกลุ่มมนุษย์โบราณที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Archaic humans ก็เกิดวิวัฒนาการขึ้นต่อมาประมาณ 600,000 ปีก่อน สืบสายพันธุ์มาจาก H. erectus/ergaster เป็นกลุ่มมนุษย์ที่อาจเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน โดยเฉพาะคือมนุษย์โบราณ H. heidelbergensis/rhodesiensis หลังจากนั้น มนุษย์สปีชีส์ ''Homo sapiens'' ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน (anatomically modern human) ก็เกิดขึ้นโดยมีวิวัฒนาการมาจากมนุษย์โบราณในยุคหินกลาง (แอฟริกา) คือประมาณ 300,000 ปีก่อน ตามทฤษฎี "กำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเร็ว ๆ นี้จากแอฟริกา" มนุษย์ปัจจุบันได้วิวัฒนาการในทวีปแอฟริกาแล้วจึงอพยพออกจากทวีปประมาณ 50,000-100,000 ปีก่อน (ต่างหากจากมนุษย์ในยุคก่อน ๆ) ไปตั้งถิ่นฐานแทนที่กลุ่มมนุษย์สปีชีส์ H. erectus, H. denisova, H. floresiensis และ H. neanderthalensis ในที่ต่าง ๆ ที่เป็นเชื้อสายของมนุษย์ที่อพยพออกมาจากทวีปแอฟริกาในยุคก่อน ๆ โดยอาจได้ผสมพันธุ์กับมนุษย์โบราณก่อน ๆ เหล่านั้น หลักฐานโดยดีเอ็นเอในปี..

ใหม่!!: เคนต์และวิวัฒนาการของมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน

ลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน (Migration Period art) เป็นงานศิลปะของกลุ่มชนเจอร์มานิคระหว่างสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรป ระหว่าง ค.ศ. 300 จนถึง ค.ศ. 900 ที่รวมทั้งศิลปะของกลุ่มชนเจอร์มานิคเองบนภาคพื้นยุโรป และ “ศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอน” หรือ “ศิลปะเกาะ” ซึ่งเป็นศิลปะผสานระหว่างศิลปะของชาวแองโกล-แซ็กซอน และ ชาวเคลต์บนหมู่เกาะบริติช ลักษณะของศิลปะก็ครอบคลุมหลายลักษณะตั้งแต่ “ลักษณะพหุรงค์” และ “ลายรูปสัตว์” ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานเป็นสมัยประวัติศาสตร์ศิลปะที่สำคัญของศิลปะยุคกลาง.

ใหม่!!: เคนต์และศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย

มเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย หรือ เจ้าหญิงมารีแห่งเอดินเบอระ (มารี อเล็กซานดรา วิกตอเรีย, 27 ตุลาคม ค.ศ. 1875 - 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1938) เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนียพระองค์สุดท้าย โดยเป็นพระมเหสีในพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งโรมาเนีย ทรงประสูติในฐานะพระราชวงศ์อังกฤษ พระองค์ทรงได้รับพระอิสริยยศ เจ้าหญิงมารีแห่งเอดินเบอระเมื่อครั้งประสูติ พระบิดาและพระมารดาของพระองค์คือ เจ้าชายอัลเฟรด ดยุกแห่งเอดินเบอระและแกรนด์ดัชเชสมาเรีย อเล็กซานดรอฟนาแห่งรัสเซีย ในวัยเยาว์ เจ้าหญิงมารีทรงใช้พระชนมชีพในเคนต์, มอลตาและโคบูร์ก หลังจากการปฏิเสธข้อเสนอที่จะอภิเษกสมรสกับพระญาติของพระองค์เองคือ พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักรในอนาคต พระองค์ทรงได้รับเลือกให้เป็นพระชายาในมกุฎราชกุมารเฟอร์ดินานด์แห่งโรมาเนีย องค์รัชทายาทของพระเจ้าคาโรลที่ 1 แห่งโรมาเนีย ในปี..

ใหม่!!: เคนต์และสมเด็จพระราชินีมารีแห่งโรมาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ (Mary I of England, 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2059 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ สมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์ สมเด็จพระราชินีแห่งอรากอน คาสตีลและเนเปิล และสมเด็จพระราชินีแห่งเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2096 จนกระทั่งเสด็จสวรรคต สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 ในราชวงศ์ทิวดอร์ เป็นผู้ซึ่งฟื้นฟูศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกในอังกฤษ พระนางได้ดำเนินการเผาเหล่าบุคคลต่างศาสนา ต่างนิกายกว่า 300 คนทั้งเป็น ซึ่งเป็นที่มาของชื่อว่า แมรีบ้าเลือด หรือ แมรีผู้กระหายเลือด (Bloody Mary).

ใหม่!!: เคนต์และสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สวนปราสาทซิสซิงเฮิสต์

วนที่ปราสาทซิสซิงเฮิสต์ ในหมู่บ้านซิสซิงเฮิสต์ พื้นที่วีลด์ เขตเทศมณฑลเคนต์ ประเทศอังกฤษ อยู่ในความดูแลขององค์การอนุรักษ์สถานที่เพื่อประโยชน์ทางประวัติศาสตร์หรือความสวยงามแห่งชาติ เป็นสวนที่มีชื่อเสียงมากในอังกฤษ.

ใหม่!!: เคนต์และสวนปราสาทซิสซิงเฮิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สวนปริศนา

วนปริศนา หรือ สวนลับ หรือ ในสวนศรี หรือ ในสวนลับ (The Secret Garden) เป็นวรรณกรรมเด็กของนางฟรานเซส ฮอดจ์สัน เบอร์เนทท์ ที่เดิมพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสารเริ่มตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: เคนต์และสวนปริศนา · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมทิวดอร์

้านนอกของชาเปลคิงส์คอลเลจ สถาปัตยกรรมทิวดอร์ หรือ แบบทิวดอร์ (Tudor style architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่เป็นขั้นตอนสุดของสถาปัตยกรรมของยุคกลางที่เกิดขึ้นใน “สมัยทิวดอร์” ระหว่าง ค.ศ. 1485 จนถึง ค.ศ. 1603 และเลยไปกว่านั้นสำหรับผู้สร้างที่ยังคงเป็นอนุรักษนิยม สถาปัตยกรรมทิวดอร์สืบต่อมาจากสถาปัตยกรรมกอธิคอังกฤษและตามมาด้วยสถาปัตยกรรมเอลิซาเบธ ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยของผู้มีอันจะกิน แต่ลักษณะการก่อสร้างแบบทิวดอร์ก็มิได้สูญหายไปจนหมดสิ้นและยังคงเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่ยังคงเป็นที่นิยมกันในอังกฤษ ส่วนต่อเติมของวิทยาลัยต่างๆ ของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด และ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ก็ยังคงสร้างแบบทิวดอร์ที่คาบเกี่ยวกับลักษณะเริ่มต้นของสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิค ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมทิวดอร์ก็ได้แก่โค้งทิวดอร์ซึ่งเป็นโค้งแป้น, หน้าต่างมุขโอเรียล (oriel window) ที่เป็นมุขยื่นออกมาจากสิ่งก่อสร้างกรุด้วยหน้าต่างกระจก, บัวที่แผ่กว้างออกไป และ ใบไม้ดอกไม้ตกแต่งที่ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น แต่กระนั้น “แบบทิวดอร์” ก็ยังเป็นงานที่ยังมีลักษณะค่อนข้างแข็งอยู่ ตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมทิวดอร์ในสกอตแลนด์ก็ได้แก่วิทยาลัยคิงส์, อเบอร์ดีน.

ใหม่!!: เคนต์และสถาปัตยกรรมทิวดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามดอกกุหลาบ

ที่ตั้งสำคัญในสงครามดอกกุหลาบ สงครามดอกกุหลาบ (Wars of the Roses) เป็นชุดสงครามราชวงศ์ที่ผู้สนับสนุนราชวงศ์แพลนแทเจเนตสองสายที่เป็นคู่แข่งชิงราชบัลลังก์อังกฤษกัน ได้แก่ ราชวงศ์แลงแคสเตอร์และราชวงศ์ยอร์ก (ซึ่งสัญลักษณ์ตราประจำตระกูล คือ ดอกกุหลาบสีแดงและสีขาวตามลำดับ) ทั้งสองฝ่ายรบกันเป็นช่วงห่าง ๆ กันระหว่างปี 1455 ถึง 1485 แม้จะมีการสู้รบที่เกี่ยวข้องอีกทั้งก่อนหน้าและหลังช่วงนี้ สงครามดังกล่าวเป็นผลจากปัญหาทางสังคมและการเงินหลังสงครามร้อยปี ชัยชนะบั้นปลายเป็นของผู้เรียกร้องเชื้อสายแลงแคสเตอร์ค่อนข้างห่าง เฮนรี ทิวดอร์ ผู้กำราบพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ยอร์ก และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมสองราชวงศ์ หลังจากนั้น ราชวงศ์ทิวดอร์ปกครองอังกฤษและเวลส์เป็นเวลา 117 ปี เฮนรีแห่งโบลิงโบรกทรงก่อตั้งราชวงศ์แลงแคสเตอร์ขณะทรงราชย์ในปี 1399 เมื่อทรงถอดพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 พระภราดร (ลูกพี่ลูกน้อง) จากราชสมบัติ พระราชโอรส พระเจ้าเฮนรีที่ 5 ยังทรงรักษาการอยู่ในราชสมบัติของตระกูลไว้ได้ แต่เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในปี 1422 พระเจ้าเฮนรีที่ 6 ทายาทของพระองค์ เป็นทารก การอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของราชวงศ์แลงแคสเตอร์สืบมาจากจอห์นแห่งกอนต์ ดยุกที่ 1 แห่งแลงแคสเตอร์ พระราชโอรสที่ยังมีพระชนมชีพพระองค์ที่สามในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 สิทธิในราชบัลลังก์ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ถูกริชาร์ด ดยุคแห่งยอร์คคัดค้าน ผู้สามารถอ้างว่าสืบเชื้อสายจากไลโอเนลแห่งแอนต์เวิร์ป และเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งยอร์กพระราชโอรสที่ยังมียังมีพระชนมชีพพระองค์ที่สองและสี่ในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ริชาร์ดแห่งยอร์ค ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญของรัฐหลายตำแหน่ง ทะเลาะกับราชวงศ์แลงแคสเตอร์สำคัญ ๆ ในราชสำนักและกับมาร์กาเรตแห่งอ็องฌู พระมเหสีในพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แม้เคยเกิดการปะทะกันด้วยอาวุธระหว่างผู้สนับสนุนราชวงศ์ยอร์กและแลงแคสเตอร์มาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่การสู้รบเปิดเผยครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1455 ที่ยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 1 ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คนที่โดดเด่นหลายคนเสียชีวิต แต่ทายาทที่เหลือยังพยาบาทกับริชาร์ด แม้จะมีการฟื้นฟูสันติภาพชั่วคราว มาร์กาเรตแห่งอ็องฌู ดลให้ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คัดค้านอิทธิพลของเอิร์ลแห่งยอร์ค การสู้รบดำเนินต่ออย่างรุนแรงขึ้นในปี 1459 เอิร์ลแห่งยอร์คและผู้สนับสนุนของพระองค์ถูกบีบให้หนีออกนอกประเทศ แต่ผู้สนับสนุนที่โดดเด่นที่สุดของพระองค์คนหนึ่ง เอิร์ลแห่งวอริก บุกครองอังกฤษจากกาเลและสามารถจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้ที่ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน เอิร์ลแห่งยอร์คเสด็จกลับประเทศและเป็นผู้พิทักษ์อังกฤษ (Protector of England) แต่ทรงถูกปรามมิให้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ มาร์กาเร็ตและอภิชนแลงแคสเตอร์ผู้ไม่ยอมปรองดองประชุมกำลังทางเหนือของอังกฤษ และเมื่อเอิร์ลแห่งยอร์คเคลื่อนทัพขึ้นเหนือไปปราบ พระองค์กับเอ็ดเวิร์ด พระราชโอรสพระองค์ที่สอง ถูกปลงพระชนม์ทั้งคู่ที่ยุทธการเวคฟีลด์ในเดือนธันวาคม 1460 กองทัพแลงแคสเตอร์รุกลงใต้และจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้อีกในยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 2 แต่ไม่สามารถยึดครองกรุงลอนดอนไว้ได้ และถอยกลับไปทางเหนือในเวลาต่อมา พระราชโอรสองค์โตของเอิร์ลแห่งยอร์ค เอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งมาร์ช ได้รับการประกาศเป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 พระองค์ระดมกองทัพราชวงศ์ยอร์คและได้ชัยเด็ดขาดที่ยุทธการที่โทว์ทันเมื่อเดือนมีนาคม 1461 หลังการลุกขึ้นต่อต้านของแลงแคสเตอร์ทางเหนือถูกกำราบในปี 1464 และพระเจ้าเฮนรีถูกจับเป็นเชลยอีกครั้ง พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทะเลาะกับเอิร์ลแห่งวอริก สมญา "ผู้สร้างกษัตริย์" (Kingmaker) ผู้สนับสนุนและที่ปรึกษาหลักของพระองค์ และยังแตกแยกกับพระสหายหลายคน และกระทั่งพระบรมวงศานุวงศ์ โดยทรงสนับสนุนตระกูลของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์ซึ่งมีอำนาจขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งพระองค์ทรงอภิเษกสมรสด้วยอย่างลับ ๆ ทีแรก เอิร์ลแห่งวอริกพยายามยกน้องชาย จอร์จ ดยุกแห่งแคลเรนซ์ เป็นพระมหากษัตริย์ แล้วจึงฟื้นฟูพระเจ้าเฮนรีที่ 6 กลับสู่ราชสมบัติ จากนั้นสองปี พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ทรงได้รับชัยชนะสมบูรณ์อีกครั้งที่บาร์เนต (เมษายน 1471) ที่ซึ่งเอิร์ลแห่งวอริกถูกสังหาร และทูกสบรี (พฤษภาคม 1471) ที่ซึ่งเอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ ทายาทแลงแคสเตอร์ ถูกประหารชีวิตหลังยุทธการ พระเจ้าเฮนรีถูกปลงพระชนม์ในหอคอยลอนดอนหลายวันจากนั้น ยุติลำดับการสืบราชสันตติวงศ์โดยตรงของแลงแคสเตอร์ จากนั้น บ้านเมืองค่อนข้างสงบอยู่พักหนึ่ง จนพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคตกะทันหันในปี 1483 ริชาร์ด ดยุกแห่งกลอสเตอร์ พระอนุชาที่ยังมีพระชนมชีพของพระองค์ ทีแรกเคลื่อนไหวเพื่อกันมิให้ตระกูลวูดวิลล์ที่ไม่เป็นที่นิยมของพระมเหสีหม้ายของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเข้าร่วมในรัฐบาลระหว่างที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 พระราชโอรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ยังทรงพระเยาว์ จึงยึดราชบัลลังก์เป็นของตน โดยอ้างว่า การสมรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เฮนรี ทิวดอร์ พระญาติห่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์แลงแคสเตอร์ผู้รับสืบทอดการอ้างสิทธิ์มาด้วย ชนะพระเจ้าริชาร์ดที่บอสเวิร์ธฟิลด์ในปี 1485 พระองค์ราชาภิเษกเป็นพระเจ้าเฮนรีที่ 7 และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมและประสานราชวงศ์ทั้งสอง.

ใหม่!!: เคนต์และสงครามดอกกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

สโมสรฟุตบอลจิลลิงงัม

มสรฟุตบอลจิลลิงงัม (Gillingham F.C.) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพของอังกฤษ ตั้งอยู่ที่เมืองจิลลิงงัม เทศมณฑลเคนต์ เป็นสโมสรหนึ่งเดียวในฟุตบอลลีกที่ตั้งอยู่ในเคนต์ ซึ่งปัจจุบันเล่นอยู่ในลีกวัน ซึ่งเป็นลีกระดับที่สามของฟุตบอลอังกฤษ.

ใหม่!!: เคนต์และสโมสรฟุตบอลจิลลิงงัม · ดูเพิ่มเติม »

สโมสรฟุตบอลเอ็บส์ฟลีตยูไนเต็ด

มสรฟุตบอลเอ็บส์ฟลีต ยูไนเต็ด คือสโมสรฟุตบอลระดับกึ่งอาชีพในประเทศอังกฤษ ตั้งอยู่ที่เมืองนอร์ทฟลีต เขตเกรฟแชม ในเทศมณฑลเคนต์ ปัจจุบันลงแข่งขันในเนชันนัลลีก ซึ่งเป็นลีกสูงสุดในระดับกึ่งอาชีพ หรือนับเป็นดิวิชัน 5 ในระบบฟุตบอลอังกฤษ มีสนามเหย้าคือสนามสโตนบริดจ์โรด หรือชื่อเรียกตามผู้สนับสนุนว่า คัฟลิงก์ สเตเดียม เดิมสโมสรมีชื่อว่า เกรฟเซนด์ แอนด์ นอร์ทฟลีต ต่อมาในเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: เคนต์และสโมสรฟุตบอลเอ็บส์ฟลีตยูไนเต็ด · ดูเพิ่มเติม »

สโตนบริดจ์โรด

ตนบริดจ์โรด หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า คัฟลิงก์ สเตเดียม เป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์ ตั้งอยู่ที่นอร์ทฟลีต เทศมณฑลเคนต์ ประเทศอังกฤษ สนามแห่งนี้ถูกใช้งานในด้านการแข่งขันฟุตบอลเป็นหลัก ก่อสร้างขึ้นในปี..

ใหม่!!: เคนต์และสโตนบริดจ์โรด · ดูเพิ่มเติม »

หลวงรัถยาภิบาลบัญชา (กัปตัน เอส.เย.เอมส์)

หลวงรัถยาภิบาลบัญชา หรือ กัปตัน เอ..เอมส์ มีชื่อเต็มว่า แซมมวล โจเซฟ เบิร์ด เอมส์ (Captain Samuel Joseph Bird Ames; พ.ศ. 2375 - พ.ศ. 2444) ชาวอังกฤษ เกิดที่เมืองเคนต์ เคยเป็นกัปตันเรือสินค้า เดินทางเข้ามาประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2396 พร้อมกับภรรยาและบุตรชาย 2 คน กัปตัน เอ..เอมส์ รับราชการเมื่อ..

ใหม่!!: เคนต์และหลวงรัถยาภิบาลบัญชา (กัปตัน เอส.เย.เอมส์) · ดูเพิ่มเติม »

ห้องโถงเอก

ห้องโถงเอก (Great hall) คือห้องหลักของปราสาท, พระราชวัง, วัง หรือ คฤหาสน์มาเนอร์ขนาดใหญ่ในยุคกลาง และในคฤหาสน์ชนบทที่สร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในขณะนั้น “Great” ในคำว่า “Great hall” มีความหมายว่า “ใหญ่” และยังมิได้หมายถึงความเป็น “เอก” เช่นในนัยยะของความหมายที่ใช้กันในปัจจุบัน ในยุคกลางห้องโถงเอกก็จะเรียกกันเพียงว่า “ห้องโถง” เท่านั้นนอกไปเสียจากว่าสิ่งก่อสร้างนั้นจะมีห้องโถงมากกว่าหนึ่งห้อง แต่คำว่า “ห้องโถงเอก” เป็นคำที่ใช้สำหรับห้องโถงประเภทนี้มาเป็นเวลาหลายร้อยปี เพื่อที่จะแยกจากห้องโถงประเภทอื่นที่สร้างขึ้นในสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นหลังยุคกลาง ห้องโถงเอกมักจะพบในฝรั่งเศส, อังกฤษ และ สกอตแลนด์ แต่ห้องที่มีลักษณะดังว่าก็พบในประเทศอื่นๆ บางประเทศในยุโรปด้วย ลักษณะของห้องโถงเอกโดยทั่วไปมักจะเป็นห้องสี่เหลี่ยมระหว่างที่ยาวหนึ่งครึ่งถึงสามเท่าของความกว้าง และจะสูงกว่าความกว้าง ทางเข้าก็จะ “ทางเดินที่เป็นฉาก” ทางด้านหนึ่งของห้อง หน้าต่างจะอยู่ทางด้านยาวของตัวห้อง และมักจะรวม มุขหน้าต่าง และเหนือทางเข้าบางครั้งก็จะมีระเบียงนักดนตรี ด้านตรงกันข้ามของห้องยกขึ้นเป็นยกพื้นเป็นที่ตั้งของโต๊ะของประมุขของเจ้าของสถานที่และแขกสำคัญๆ ห้องส่วนตัวของเจ้าของและครอบครัวก็จะอยู่ถัดออกไปจากบริเวณนี้ ส่วนครัว, ห้องเก็บสุรา และ ห้องเก็บอาหารอยู่ตรงกันข้ามกับทางเข้า ในยุคกลางผู้เป็นเจ้าของสิ่งก่อสร้างใหญ่ๆ มักจะมีห้องพักผ่อนเพียงไม่กี่ห้อง ฉะนั้นห้องโถงเอกจึงเป็นห้องสารพัดประโยชน์ ที่ใช้เป็นสถานที่รับแขก และสถานที่ที่สมาชิกในครอบครัวมากินอาหารร่วมกัน ที่จะรวมทั้งเจ้าของบ้าน, ผู้รับใช้ชั้นสูงและชั้นรองบางคน ในเวลากลางคืน สมาชิกในบ้านก็อาจจะใช้เป็นที่หลับที่นอนด้ว.

ใหม่!!: เคนต์และห้องโถงเอก · ดูเพิ่มเติม »

ออกัสตินแห่งแคนเทอร์เบอรี

นักบุญออกัสตินแห่งแคนเทอร์เบอรี (Augustine of Canterbury) (ราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6–26 พฤษภาคม ค.ศ. 604) เป็นนักพรตโรมันคาทอลิกคณะเบเนดิกติน ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีองค์แรกเมื่อปี ค.ศ. 598 และถือกันว่าเป็น “อัครทูตเพื่อชาวอังกฤษ” (Apostle to the English) และเป็นผู้วางรากฐานของศาสนาคริสต์ในอังกฤษDelaney Dictionary of Saints pp.

ใหม่!!: เคนต์และออกัสตินแห่งแคนเทอร์เบอรี · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน

อมพล อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน (Arthur Wellesley, 1st Duke of Wellington) เป็นทหารและรัฐบุรุษ และเป็นหนึ่งในผู้กำหนดนโยบายทางการทหารและการเมืองของอังกฤษในศตวรรษที่ 19 เขาสามารถมีชัยเหนือนโปเลียนแห่งฝรั่งเศสได้ในยุทธการที่วอเตอร์ลูในปี 1815 ซึ่งทำให้เขากลายเป็นวีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกองทัพอังกฤษ และมีสมญานามว่า ดยุกเหล็ก ทั้งนี้ ในปี 2002 ชื่อของเขาอยู่ในอันดับ 15 ของชาวอังกฤษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดหนึ่งร้อยลำดับ เกิดที่ดับลินในไอร์แลนด์ เริ่มจากการเป็นนายธงในกองทัพอังกฤษในปี 1787 โดยประจำการในไอร์แลนด์ในฐานะทหารคนสนิทของข้าหลวงใหญ่แห่งไอร์แลนด์ นอกจากนี้ยังได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาสามัญชน (สภาล่าง) ของไอร์แลนด์ และดำรงยศเป็นพันเอกในปี 1796 โดยเข้าร่วมราชการสงครามในเนเธอร์แลนด์ในช่วงสงครามมหาสัมพันธมิตรครั้งที่หนึ่ง และในอินเดียในช่วงสงครามอังกฤษ-ไมซอร์ครั้งที่สี่ และจึงได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงประจำศรีรังคปัฏนาและไมซอร์ในปี 1799 และต่อมาจึงได้รับแต่งตั้งเป็นพลตรีภายหลังชัยชนะเหนือจักรวรรดิมราฐาในปี 1803 เวลสลีย์เป็นผู้บัญชาการศึกคาบสมุทรในสงครามนโปเลียน และได้รับการเลื่อนขึ้นขึ้นเป็นจอมพลภายหลังสามารถนำกองทัพพันธมิตรมีชัยเหนือฝรั่งเศสได้ในยุทธการที่วิกตอเรียในปี 1813 ซึ่งตามมาด้วยการเนรเทศนโปเลียนในปีต่อมา เวลสลีย์เข้ารับตำแหน่งเป็นราชทูตประจำฝรั่งเศส และได้รับบรรดาศักดิ์เป็นดยุก ต่อมาระหว่างสมัยร้อยวันในปี 1815 กองทัพพันธมิตรของเขาร่วมกับกองทัพปรัสเซียที่นำโดยพลโทบลือเชอร์ มีชัยเหนือนโปเลียนในยุทธการที่วอเตอร์ลู ชีวิตทหารของเขานั้นเป็นที่น่ายกย่องอย่างยิ่ง จากรายงานราชการสงคราม ตลอดชีวิตทหารของเขาได้ผ่านศึกสงครามมากว่า 60 ครั้ง เขามีชื่อเสียงขึ้นมาจากการปรับตัวและใช้กลยุทธ์ในการตั้งรับข้าศึกจนสามารถมีชัยนับครั้งไม่ถ้วนเหนือข้าศึกที่มีกำลังเหนือกว่า ในขณะที่ตัวเขาเองก็ได้รับบาดเจ็บน้อยมาก เขาจึงได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้บัญชาฝ่ายตั้งรับตลอดกาล กลยุทธ์และแผนการรบของเขาจำนวนมากถูกนำไปสอนในวิทยาลัยการทหารชั้นนำของโลก ภายหลังออกจากราชการทหาร เขาก็กลับคืนสู่งานการเมือง โดยได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรสองสมัยโดยสังกัดพรรคทอรี ระหว่างปี 1828 ถึง 1830 และอีกครั้งเป็นช่วงเวลาไม่ถึงเดือนในปี 1834 ต่อมาเขาได้ดำรงตำแหน่งผู้นำในสภาขุนนาง จนกระทั่งเกษียณอายุแต่ยังคงเป็นผู้บัญชาการกองทัพอังกฤษจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม.

ใหม่!!: เคนต์และอาร์เธอร์ เวลสลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน · ดูเพิ่มเติม »

อุโมงค์ช่องแคบอังกฤษ

แนวอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษ ภาพตัดขวาง แสดงโครงสร้างอุโมงค์ ภาพตัดตามยาว แสดงระดับอุโมงค์ แผนการสร้างอุโมงค์ในปี 1856 อุโมงค์ช่องแคบอังกฤษ (Channel Tunnel; Le tunnel sous la Manche) เป็นอุโมงค์รถไฟใต้ทะเลที่สร้างเชื่อมระหว่างเมืองฟอล์คสโตน มณฑลเค้นท์ บริเตนใหญ่ กับตำบลคอแกลส์ เมืองกาเลส์ ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส อุโมงค์แห่งนี้สร้างลอดใต้ช่องแคบอังกฤษบริเวณช่องแคบโดเวอร์ ซึ่งเป็นส่วนที่แคบที่สุด ที่มีความกว้าง 34 กิโลเมตร อุโมงค์ช่องแคบอังกฤษมีความยาวทั้งสิ้น 50.5 กิโลเมตร มีส่วนที่อยู่ใต้ทะเลยาว 37.9 กิโลเมตร ส่วนที่อยู่ใต้น้ำต่ำที่สุดที่ 75 เมตรและลึกสุดที่ 230 เมตร อุโมงค์ช่องแคบอังกฤษก่อสร้างและบริหารงานโดยบริษัท ยูโรทันเนล ซึ่งจัดการเดินรถไฟความเร็วสูงยูโรสตาร์ การก่อสร้างเริ่มต้นตั้งแต..

ใหม่!!: เคนต์และอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

อีสต์ซัสเซกซ์

ที่ตั้งของเทศมณฑลอีสต์ซัสเซกซ์ อีสต์ซัสเซกซ์ (East Sussex) เป็นเทศมณฑล (county) แห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษ ตั้งอยู่ในเซาท์อีสต์อิงแลนด์ (ภาคการปกครองตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ) อีสต์ซัสเซกซ์มีเขตแดนติดกับเทศมณฑลเคนต์, เทศมณฑลเซอร์รีย์, เทศมณฑลไบรตันและโฮฟ และเทศมณฑลเวสต์ซัสเซกซ์ และทางตอนใต้เป็นช่องแคบอังกฤษ.

ใหม่!!: เคนต์และอีสต์ซัสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

อีดกิฟูแห่งเคนต์

อีดกิฟูแห่งเคนต์ (หรือเอ็ดกิว่า หรืออีดิว่า) เป็นพระมเหสีคนที่สามของเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส กษัตริย์แห่งแองโกลแซ็กซัน เอ็ดกิฟูเป็นธิดาของซิกเฮล์ม ผู้นำท้องถิ่นของเคนต์ ที่เสียชีวิตในสมรภูมิแห่งโฮล์มในปี..902 พระนางอภิเษกสมรสกับเอ็ดเวิร์ดราวปีต..919 และกลายเป็นพระราชมารดาของโอรสสองพระองค์ พระเจ้าเอ็ดมุนด์ที่ 1 แห่งอังกฤษ และพระเจ้าอีดเร็ดแห่งอังกฤษ กับพระธิดาสองพระองค์ นักบุญอีดเบอร์แห่งวินเชสเตอร์ และอีดกิฟู พระองค์สิ้นพระชนม์ในรัชสมัยของพระนัดดา เอ็ดก้าร์ ตามที่เรื่องเล่าที่ถูกเขียนในช่วงต้นยุค 960 บอกมา พระบิดาของพระนางได้จำนองคูลลิ่งในเคนต์กับชายที่ขื่อกอด้าเพื่อกู้หนี้ พระนางอ้างว่าพระบิดาได้ชำระหนี้แล้วและยกที่ดินให้ก่พระนาง แต่กอด้าไม่ยอมรับเงินและไม่ยอมยกที่ดินให้ พระนางได้คูลลิ่งมาหลังจากพระบิดาเสียชีวิตหกปี หลังจากที่พระสหายของพระนางโน้มน้าวพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดให้ขมขู่ว่าริมทรัพย์ริมทรัพย์กอด้าหากไม่ตัดใจจากที่ดิน ต่อมาเอ็ดเวิร์ดประกาศริบที่ดินของกอด้าและประราชทานกฎบัตรให้อีดกิฟู แต่พระนางคืนที่ดินส่วนใหญ่ให้กอด้า แม้จะเก็บกฎบัตรไว้ บางทีการอภิเษกสมรสของพระนางอาจเกิดขึ้นหลังจากตอนนี้ หลังเอ็ดเวิร์ดเสียชีวิต พระเจ้าเอเธลสตานเรียกร้องให้อีดกิฟูคืนกฎบัตรให้กอด้า บางทีอาจเป็นเพราะกษัตริย์ไม่ถูกกับพระมารดาเลี้ยง พระนางหายตัวไปจากราชสำนักในช่วงรัชสมัยของโอรสเลี้ยง พระเจ้าเอเธลสตาน แต่พระนางผงาดและมีอิทธิพลในช่วงรัชสมัยของโอรสทั้งสอง ในฐานะราชินีม่าย ตำแหน่งของพระนางดูเหมือนจะอยู่สูงกว่าพระสุณิสา ในกฎบัตรของเคนต์ช่วงระหว่างปี..942-944 พระสุณิสาของพระนาง เอลฟ์กิฟูแห่งชาฟท์สบรี ลงพระนามของพระองค์เองว่าเป็นพระมเหสีรองของกษัตริย์ มีตำแหน่งอยู่ระหว่างเหล่าบิชอปกับเหล่าผู้นำท้องถิ่น จากการเปรียบเทียบ เอ็ดกิฟูลงพระนามในตำแหน่งที่สูงกว่าราชินีพระราชมารดา ต่อจากโอรสของพระนาง เอ็ดมุนด์และอีดเร็ด แต่มาก่อนเหล่าอาร์ชบิชอปและเหล่าบิชอป หลังจากการสวรรคตของโอรสองค์เล็ก อีดเร็ด ในปี..955 พระนางถูกริบที่ดินโดยพระนัดดาองค์โต พระเจ้าเอ็ดวิก บางทีอาจเป็นเพราะพระนางเข้าข้างพระอนุชาของพระองค์ เอ็ดก้าร์ ในการขัดแย้งระหว่างสองพี่น้อง เมื่อเอ็ดก้าร์สืบสันตติวงศ์หลังการสวรรคตของเอ็ดวิกในปี..959 พระนางได้รับที่ดินคืนมาบางส่วนและได้รับสินน้ำใจจากพระนัดดา แต่พระนางไม่เคยได้กลับไปผงาดที่ราชสำนักอีก พระนางได้รับการบันทึกครั้งสุดท้ายในฐานะพยานในกฎบัตรปี..966 พระนางเป็นที่รู้จักในฐานะผู้สนับสนุนคนของศาสนจักรและเป็นผู้อุปถัมภ์ศาสนจักร.

ใหม่!!: เคนต์และอีดกิฟูแห่งเคนต์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินโปเลียนที่ 3

หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต (Louis-Napoléon Bonaparte ลุย-นาโปเลยง โบนาปัทร์) ชื่อเกิดว่า ชาล-ลุย นโปเลียน โบนาปัทร์ (Charles-Louis Napoleon Bonaparte) เป็นประธานาธิบดีเพียงคนเดียวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สอง เป็นบุคคลแรกที่ประชาชนเลือกตั้งโดยตรงให้ดำรงตำแหน่งนี้ อยู่ในตำแหน่งระหว่าง..

ใหม่!!: เคนต์และจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

ดยุกแห่งเคนต์

กแห่งเคนต์ (Duke of Kent) เป็นบรรดาศักดิ์ชั้นดยุกมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรบริเตนใหญ่ และสหราชอาณาจักร โดยครั้งล่าสุดมีการพระราชทานบรรดาศักดิ์นี้ให้แก่พระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ของพระเจ้าจอร์ที่ 5 และตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: เคนต์และดยุกแห่งเคนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวิด กูดดอลล์

วิด วิลเลียม กูดดอลล์ (David William Goodall; 4 เมษายน ค.ศ. 1914 – 10 พฤษภาคม ค.ศ. 2018) เป็นนักพฤกษศาสตร์และนักนิเวศวิทยาสัญชาติอังกฤษและออสเตรเลีย เขามีอิทธิพลในการพัฒนาระเบียบวิธีเชิงตัวเลขระยะแรกเริ่มในนิเวศวิทยา โดยเฉพาะการศึกษาเกี่ยวกับพืชพรรณ.

ใหม่!!: เคนต์และดาวิด กูดดอลล์ · ดูเพิ่มเติม »

คฤหาสน์โรมัน

ทิโวลีในประเทศอิตาลี คฤหาสน์โรมัน (Roman villa) คือคฤหาสน์ที่สร้างขึ้นหรือที่อยู่อาศัยที่สร้างขึ้นในสมัยสาธารณรัฐโรมันและจักรวรรดิโรมัน เดิมคฤหาสน์เดิมเป็นคฤหาสน์ชนบทรอบกรุงโรมที่สร้างขึ้นสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับชนชั้นสูง พลินิผู้อาวุโสกล่าวว่าคฤหาสน์มีด้วยกันสองประเภท คฤหาสน์เมือง (villa urbana) ซึ่งเป็นคฤหาสน์ที่เป็นที่ทำการของเจ้าของที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากกรุงโรมหรือเมืองสำคัญอื่นที่เจ้าของสามารถเดินทางไปถึงได้ภายในเวลาไม่เกินหนึ่งหรือสองคืน และ คฤหาสน์ชนบท (villa rustica) ซึ่งเป็นคฤหาสน์ที่เป็นฟาร์มที่เป็นที่อยู่ถาวรของคนรับใช้ผู้มีหน้าที่ดูแลคฤหาสน์ ศูนย์กลางของ คฤหาสน์ชนบท อยู่ที่ตัวคฤหาสน์เองที่อาจจะเป็นที่พำนักของเจ้าของเพียงชั่วครั้งชั่วคราว ในสมัยจักรวรรดิโรมันมีราชคฤหาสน์จำนวนมากไม่ไกลจากอ่าวเนเปิลส์โดยเฉพาะบนเกาะคาปรี, ภูเขาเซอร์เซโอบนฝั่งทะเล และ อันเทียม (อันซิโอ) ชาวโรมันที่มีฐานะดีมักจะหนีร้อนไปยังเนินรอบกรุงโรม โดยเฉพาะรอบฟราสคาติ กล่าวกันว่านักปรัชญาซิเซโรเองเป็นเจ้าของคฤหาสน์ถึงเจ็ดหลังๆ เก่าที่สุดตั้งอยู่ที่อาร์พินัมที่ซิเซโรได้มาเป็นมรดก พลินิผู้เยาว์เป็นเจ้าของคฤหาสน์สามถึงสี่หลัง หลังที่ลอเรนเทียมเป็นหลังที่รู้จักกันดีที่สุดจากคำบรรยายเกี่ยวกับคฤหาสน์ ในปลายสมัยสาธารณรัฐโรมันเป็นสมัยที่มีการสร้างคฤหาสน์กันขึ้นเป็นจำนวนมากในอิตาลีโดยเฉพาะในปีหลังๆ ของการปกครองของผู้เผด็จการลูชิอัส คอร์เนลิอัส ซัลลา ในอีทรูเรีย คฤหาสน์เซ็ทเทฟิเนสเทรถือกันว่าเป็นหนึ่งในคฤหาสน์ที่ตั้งอยู่ที่ มณฑลคฤหาสน์ลาทิฟันเดียม ซี่งเป็นบริเวณที่มีคฤหาสน์เป็นจำนวนมากในบริเวณอันกว้างขวางที่บริหารโดยทาสที่ผลิตสินค้าจากการเกษตรกรรมในระดับอุตสาหกรรม ตัวคฤหาสน์ที่เซ็ทเทฟิเนสเทรหรือที่อื่นมักจะเป็นคฤหาสน์ที่ไม่ได้มีการตกแต่งอย่างหรูหราเท่าใดนัก คฤหาสน์อื่นๆ ที่ไกลจากกรุงโรมถือกันว่าเป็นวิถีชีวิตแบบการเกษตรกรรมที่บรรยายโดยคาโตผู้อาวุโส, โคลัมเมลลา และ มาร์คัส เทเรนเชียส วาร์โร ทั้งสองท่านพยายามที่จะให้คำจำกัดความของวิถีชีวิตอันเหมาะสมสำหรับชาวโรมันอนุรักษนิยม อย่างน้อยก็ตามแบบวิถีชีวิตอันเป็นอุดมคติ ส่วนจักรวรรดิโรมันก็มีคฤหาสน์หลายแบบ แต่คฤหาสน์ทุกหลังมิได้มีการตกแต่งอย่างหรูหราด้วยพื้นโมเสกหรือจิตรกรรมเสมอไป คฤหาสน์บางหลังสร้างขึ้นเพื่อความสำราญเช่นคฤหาสน์เฮเดรียนที่ทิโวลีในประเทศอิตาลี ที่ตั้งอยู่บนเนินเขาไม่ไกลจากกรุงโรมเท่าใดนัก หรือคฤหาสน์พาพิรีที่เฮอร์คิวเลเนียมที่ตั้งอยู่บนเนินเหนืออ่าวเนเปิลส์ คฤหาสน์บางหลังก็มีลักษณะคล้ายคฤหาสน์ชนบทในอังกฤษหรือโปแลนด์อันเป็นคฤหาสน์เพื่อการบริหารและการแสดงอำนาจของขุนนางระดับท้องถิ่นระดับสูง เช่นซากคฤหาสน์ฟิชบอร์นที่พบซัสเซ็กซ์ คฤหาสน์ปริมณฑลที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากนครใหญ่ก็ได้มีการสร้างกันขึ้นเช่นคฤหาสน์ในกลางและปลายสมัยสาธารณรัฐในบริเวณแคมพัสมาร์เชียสที่ในสมัยนั้นเป็นปริมณฑลของกรุงโรม หรือคฤหาสน์ที่ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองปอมเปอี คฤหาสน์สมัยแรกเหล่านี้เช่นที่ออดิทอเรียมของโรม หรือที่กร็อททารอซซาเป็นเครื่องแสดงที่มาของ คฤหาสน์เมือง ในตอนกลางของประเทศอิตาลี อาจจะเป็นไปได้ว่าคฤหาสน์สมัยต้นดังกล่าวเป็นสถานที่สำหรับการบริหาร หรือ อาจจะเป็นวังของผู้มีอำนาจในท้องถิ่น หรือ ประมุขของตระกูลสำคัญก็เป็นได้ คฤหาสน์ประเภทที่สามเป็นศูนย์กลางของการบริหารที่เรียกว่าลาทิฟันเดียมที่ทำการผลิตผลผลิตทางการเกษตรกรรม คฤหาสน์ดังกล่าวจะไม่มีการตกแต่งอย่างหรูหรา เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 villa อาจจะหมายถึงเพียงสถานที่สำหรับการบริหารไร่นา เช่นเมื่อนักบุญเจอโรมแปลพระวรสารนักบุญมาร์ค (xiv, 32) chorion, บรรยายไร่มะกอกใน เกทเสมนี ว่าเป็น villa โดยมิได้เจาะจงว่ามีที่อยู่อาศัยแต่อย่างใ.

ใหม่!!: เคนต์และคฤหาสน์โรมัน · ดูเพิ่มเติม »

คลาร์ค เคนท์ (สมอลล์วิลล์)

คลาร์ค เคนท์ ตัวละครสมมุติจากซีรีส์เรื่อง สมอลล์วิลล์ ที่ออกอากาศเมื่อ ค.ศ. 2001 รับบทโดย ทอม เวลลิง โดยคลาร์ก เคนท์ได้ปรากฎตัวครั้งแรกในหนังสือ Action Comics เล่มที่ 1 เมื่อ เดือนมีนาคม ค.ศ. 1938 หลังจากนั้นใน ค.ศ. 2001 Alfred Gough และ Miles Millar ได้นำเรื่องราวของคลาร์คเคนท์ หรือ ซูเปอร์แมน มาดัดแปลงเพื่อสร้างเป็นซีรีส์เรื่อง สมอลล์วิลล์ หมวดหมู่:สมอลล์วิลล์.

ใหม่!!: เคนต์และคลาร์ค เคนท์ (สมอลล์วิลล์) · ดูเพิ่มเติม »

ซัสเซกซ์

ซัสเซกซ์ (Sussex) ภาษาอังกฤษเก่าเรียกว่า Sūþseaxe ที่แปลว่าแซกซันใต้ เป็นอดีตเทศมณฑลในภูมิภาคเซาท์อีสต์อิงแลนด์ของอังกฤษ มีอาณาบริเวณใกล้เคียงกับราชอาณาจักรซัสเซกซ์ในอดีต เขตแดนทางด้านเหนือติดกับเทศมณฑลเซอร์รีย์, ด้านตะวันออกติดกับเคนต์, ด้านใต้ติดช่องแคบอังกฤษ และด้านตะวันตกแฮมป์เชอร์ และแบ่งการปกครองท้องถิ่นออกเป็นเวสต์ซัสเซกซ์ และอีสต์ซัสเซกซ์ และนครไบรตันและโฮฟ นครไบรตันและโฮฟใช้ระบบรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวในปี..

ใหม่!!: เคนต์และซัสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์เดนมาร์ก

ตราแผ่นดินเดนมาร์ก ประวัติศาสตร์เดนมาร์ก (History of Denmark) ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรเดนมาร์กมีจุดเริ่มต้นเมื่อย้อนกลับไป 12,000 ปีก่อน ในช่วงการสิ้นสุดยุคน้ำแข็งช่วงสุดท้าย ด้วยจากหลักฐานการตั้งถิ่นฐานที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษย์ เรื่องราวของชาวเดนส์ได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในเอกสารครั้งแรกในช่วงปี..

ใหม่!!: เคนต์และประวัติศาสตร์เดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทโดเวอร์

มุมสูงของปราสาทโดเวอร์ ถ่ายจากด้านตะวันตก แลเห็นหอรบ กำแพงฉนวนใน ประภาคารสมัยโรมัน และกำแพงฉนวนนอก ปราสาทโดเวอร์ (Dover Castle) เป็นป้อมปราการและพระราชวังสร้างในสมัยศตวรรษที่ 11 ตั้งอยู่บนเนินติดกับหน้าผาสีขาวด้านทิศตะวันออกของเมืองโดเวอร์ แคว้นเคนต์ ซึ่งถือเป็นเมืองหน้าด่านในอดีต  ทำให้ปราสาทนี้ได้ชื่อว่าประตูสู่อังกฤษ หรือกุญแจสู่อังกฤษ ตัวปราสาทประกอบด้วยหอรบขนาดใหญ่เป็นพิเศษ ล้อมรอบด้วยกำแพงฉนวนชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก จึงถือได้ว่าเป็นปราสาทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอังกฤษ ปัจจุบันปราสาทอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานศิลปากรแห่งชาติอังกฤษ (English Heritage).

ใหม่!!: เคนต์และปราสาทโดเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แคเตอร์แฮม

แคเตอร์แฮม หรือ คาเตอร์แฮม (ชื่อบริษัท: Caterham Cars Ltd) เป็นบริษัทผลิตรถยนต์สปอร์ตน้ำหนักเบาสัญชาติอังกฤษ บริษัทนี้เริ่มก่อตั้งขึ้นที่เมืองแคเตอร์แฮม มณฑลเซอร์รีย์ ในอังกฤษ รถรุ่นที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของแคเตอร์แฮม คือแคเตอร์แฮม เซเว่น (Caterham Seven) ซึ่งเป็นรุ่นที่ได้รับการพัฒนามาจากรถโลตัส เซเว่น รุ่นที่สาม ที่มีขายครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: เคนต์และแคเตอร์แฮม · ดูเพิ่มเติม »

โพคาฮอนทัส

อนทัส (Pocahontas; ราว ค.ศ. 1596 – มีนาคม ค.ศ. 1617) ชื่อเกิดว่า มาโทอาคา (Matoaka) ชื่ออื่นว่า อาโมนูเท (Amonute) เป็นหญิงชาวอเมริกันพื้นเมือง มีชื่อเสียงเพราะความสัมพันธ์กับชุมชนอาณานิคมในเจมส์ทาวน์ เวอร์จิเนีย โพคาฮอนทัสเป็นบุตรีของพาวฮาทัน (Powhatan) ผู้เป็นประมุขสูงสุด (paramount chief) ของเครือข่ายชนเผ่าในเซนาคอมมาคาห์ (Tsenacommacah) ซึ่งกินพื้นที่ภูมิภาคไทด์วอเทอร์ (Tidewater region) แห่งเวอร์จิเนีย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่รู้จักกันดีระบุว่า ใน..

ใหม่!!: เคนต์และโพคาฮอนทัส · ดูเพิ่มเติม »

โซฟี เคาน์เตสแห่งเวสเซกซ์

ซฟี เคานท์เตสแห่งเวสเซ็กส์ หรือพระนามเต็ม โซฟี เฮเลน สกุลเดิม ไรส์-โจนส์ (The Countess of Wessex; ประสูติ 20 มกราคม พ.ศ. 2508) ทรงเป็นสมาชิกพระองค์หนึ่งของพระราชวงศ์อังกฤษ โดยเป็นพระชายาในเจ้าฟ้าชายเอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งเวสเซ็กส์ พระราชโอรสองค์เล็กในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และ เจ้าฟ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งเอดินเบอระ พระองค์ทรงปฏิบัติงานเป็นประชาสัมพันธ์จนกระทั่งปี พ.ศ. 2545.

ใหม่!!: เคนต์และโซฟี เคาน์เตสแห่งเวสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ไมเคิล แกมบอน

ซอร์ ไมเคิล จอห์น แกมบอน (Michael John Gambon) เกิดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 1940 เป็นนักแสดงชาวอังกฤษ เขามีเสียงจากการรับบทเป็น ศาสตราจารย์ อัลบัส ดัมเบิลดอร์ หนึ่งในตัวละครของภาพยนตร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์ หลังจากการเสียชีวิตของนักแสดง ริชาร์ด แฮร์ริส เขาจึงมารับบทแทนตั้งแต่ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน จนถึง แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ภาค 2.

ใหม่!!: เคนต์และไมเคิล แกมบอน · ดูเพิ่มเติม »

ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์

อานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ มีพระนามเต็มว่า ไดอานา ฟรานเซส (อังกฤษ: Diana Frances) สกุลเดิม สเปนเซอร์ (อังกฤษ: Spencer) ประสูติ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 — สิ้นพระชนม์ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2540 เป็นพระชายาองค์แรกของเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ มกุฎราชกุมารอังกฤษ ไดอานาถือกำเนิดในตระกูลขุนนางที่สืบทอดเชื้อสายจากราชวงศ์อังกฤษโบราณ  เป็นบุตรีคนที่ 3 ของ จอห์น สเปนเซอร์ ไวเคานต์อัลธอร์พ และฟรานเซส โรช ในวัยเด็กไดอานาพักอาศัยที่คฤหาสน์พาร์กเฮาส์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในพื้นที่ตำหนักซานดริงแฮม ไดอานาเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนที่ประเทศอังกฤษและได้เข้าศึกษาต่อเป็นเวลาสั้นๆ ในโรงเรียนการเรือนที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์  เมื่ออายุได้ 14 ปี ไดอานาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น เลดี้ เมื่อบิดาสืบทอดฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น เอิร์ลแห่งสเปนเซอร์ ไดอานาเริ่มเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกเมื่อเป็นเข้าพิธีหมั้นหมายกับเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ใน..

ใหม่!!: เคนต์และไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 1 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 1 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูด ที่ลากจากขั้วโลกเหนือ ผ่าน มหาสมุทรอาร์กติก, มหาสมุทรแอตแลนติก, ทวีปยุโรป, ทวีปแอฟริกา,มหาสมุทรใต้, และ ทวีปแอนตาร์กติกา เข้าสู่ ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 1 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 179 องศาตะวันตก.

ใหม่!!: เคนต์และเส้นเมริเดียนที่ 1 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เอช. จี. เวลส์

อร์เบิร์ต จอร์จ เวลส์ หรือ เอ.

ใหม่!!: เคนต์และเอช. จี. เวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เออเฌนี เดอ มอนตีโค จักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศส

มเด็จพระจักรพรรดินีเออเชนีเดอมองติโค (ยูเจนี แห่งฝรั่งเศส) (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2369 - 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2463) (Eugénie de Montijo) ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศสพระองค์สุดท้าย และเป็นพระชายาในสมเด็จพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ประสูติ ณ แคว้นเกรนาดา, สเปน พระองค์จึงทรงเป็นชาวสเปนโดยกำเนิด มีพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวคือมกุฎราชกุมารนโปเลียน ยูเจนีแห่งฝรั่งเศส รัชสมัยของพระองค์สิ้นสุดลงในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2414 จากการปฏิวัติ ทำให้ระบอบกษัตริย์ในฝรั่งเศสสิ้นสุดลงเป็นครั้งที่ 3 หลังจากประเทศต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงมากมายในการปกครองระหว่างระบบสาธารณรัฐกับระบอบกษัตริย์จากการปฏิวัติฝรั่ง.

ใหม่!!: เคนต์และเออเฌนี เดอ มอนตีโค จักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์

อ็กเบิร์ต (ค.ศ.802-839) กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และเป็นกษัตริย์แซ็กซันพระองค์แรกที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นกษัตริย์ของอังกฤษทั้งหมด พระองค์เป็นโอรสของขุนนางชาวเคนต์แต่อ้างว่าสืบเชื้อสายมาจากเซอร์ดิค (ครองราชย์ปีค.ศ.519-34) ผู้ก่อตั้งตระกูลเวสเซ็กซ์ อาณาจักรของชาวแซ็กซันตะวันตกทางตอนใต้ของอังกฤษ ช่วงปลายศตวรรษที่ 8 เมื่อพระเจ้าออฟฟ่าแห่งเมอร์เซีย (ครองราชย์ปีค.ศ.757-796) ปกครองอังกฤษส่วนใหญ่ เอ็กเบิร์ตถูกขับไล่ออกนอกประเทศไปอยู่ที่ราชสำนักของชาร์เลอมาญ เอ็กเบิร์ตกอบกู้อาณาจักรกลับคืนมาได้ในปี..802 พระองค์พิชิตอาณาจักรเพื่อนบ้าน เคนต์, คอร์นวอลล์ และเมอร์เซีย และในปี..830 พระองค์ยังเป็นที่ยอมรับในฐานะกษัตริย์ของอีสต์แองเกลีย, ซัสเซ็กซ์, เซอร์รีย์ และนอร์ธัมเบรีย และได้รับการถวายตำแหน่งเป็นเบร็ตวัลด้า (ภาษาแองโกลแซ็กซัน แปลว่าผู้ปกครองของชาวบริเตน) ในช่วงหลายปีต่อมาเอ็กเบิร์ตเป็นผู้นำในการเดินทางไปต่อต้านพวกเวลส์และพวกไวกิ้ง ปีก่อนที่พระองค์จะสวรรคต ทรงปราบกองกำลังร่วมระหว่างพวกเดนท์กับพวกคอร์นวอลล์ที่ฮิงสตันดาวน์ในคอร์นวอลล์ พระองค์ได้รับการสืบสันตติวงศ์โดยเอเธลวูล์ฟ พระราชบิดาของอัลเฟร.

ใหม่!!: เคนต์และเอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ด เวสต์วิก

อ็ดเวิร์ด "เอ็ด" เวสต์วิก (Edward "Ed" Westwick) เกิดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1987 เป็นนักแสดงชาวอังกฤษ เป็นที่รู้จักในบทบาท ชัค แบส ตัวละครสำคัญในรายการซีรีส์โทรทัศน์อเมริกัน เรื่อง แสบใสไฮโซ เขายังเป็นนักร้องวงอินดี้ร็อกที่ชื่อ เดอะฟิลตียูธ อีกด้ว.

ใหม่!!: เคนต์และเอ็ด เวสต์วิก · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ดวิน อาร์โนลด์

ซอร์ เอ็ดวิน อาร์โนลด์ (Sir Edwin Arnold) (10 มิถุนายน พ.ศ. 2375 - 24 มีนาคม พ.ศ. 2447) เป็นกวีและนักหนังสือพิมพ์ชาวอังกฤษ เป็นที่รู้จักจากผลงานหนังสือ ประทีปแห่งเอเชีย (The Light of Asia) New York Times, March 25, 1904.

ใหม่!!: เคนต์และเอ็ดวิน อาร์โนลด์ · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลที่เป็นมหานครและไม่ใช่มหานครของอังกฤษ

มณฑลเมโทรโพลิตันและมณฑลนอกเมโทรโพลิตันของอังกฤษ เป็นระดับการปกครองหนึ่งของสี่ระดับของระดับการปกครองของอังกฤษที่ใช้สำหรับรัฐบาลระดับท้องถิ่นนอกนครลอนดอนและปริมณฑล ตามความหมายเดิมมณฑลเมโทรโพลิตันและมณฑลนอกเมโทรโพลิตันแต่ละมณฑลประกอบด้วยกลุ่มอำเภอ (District), เมืองมณฑล และเป็นมณฑลผู้แทนพระองค์ (Ceremonial counties of England) แต่ต่อมาคำจำกัดความนี้ก็เปลี่ยนไปโดยกฎหมายระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1980 ถึงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่อนุญาตให้รวมมณฑลที่ไม่มีเทศบาลมณฑลและ “รัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียว” ของตำบลเดียว มณฑลผู้แทนพระองค์ในปัจจุบันได้รับความหมายใหม่โดยพระราชบัญญัติมณฑลผู้แทนพระองค์ ค.ศ. 1997 (Lieutenancies Act 1997) ที่จำลองมาจากมณฑลเมโทรโพลิตันและมณฑลนอกเมโทรโพลิตัน และคาดกันว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองระดับท้องถิ่นอีกครั้งในปี..

ใหม่!!: เคนต์และเทศมณฑลที่เป็นมหานครและไม่ใช่มหานครของอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลของอังกฤษ

มณฑลการปกครองของอังกฤษ เป็นการแบ่งการเขตการปกครองหนึ่งในระดับการปกครองท้องถิ่นของอังกฤษเพื่อใช้ในทางการบริหาร, ทางการเมือง และในการแบ่งเขตการปกครองทางภูมิศาสตร์ มณฑลในปัจจุบันมีรากฐานมาจากการแบ่งเขตการปกครองของระบบการปกครองในประวัติศาสตร์เช่นในสมัยแองโกล-แซ็กซอน คำว่ามณฑลที่ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “County” ซึ่งมาจากบริเวณเขตการปกครองของขุนนางระดับเคานท์ แต่ในอังกฤษตำแหน่ง “เคานท์” เท่ากับตำแหน่ง เอิร์ล ของแซ็กซอนโบราณ แต่ภรรยาของเอิร์ลยังคงมีตำแหน่งเป็น “เคานเทส” ชื่อ, เขตแดน และลักษณะการบริหารของเขตการปกครองของมณฑลเปลี่ยนแปลงไปมากจากที่เป็นมาในอดีตกาล และการปฏิรูปเขตการปกครองต่างๆ ที่เกิดเริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาทำให้ความหมายคำว่า “มณฑล” ที่ใช้กันในอังกฤษค่อนข้างจะสับสนและกำกวม ฉะนั้นคำว่า “มณฑลของอังกฤษ” โดยทั่วไปจึงมิได้หมายถึงหน่วยเขตการปกครองที่แจ่มแจ้งเช่นในความหมายอย่างเป็นทางการของคำว่า “มณฑล” ตามที่เข้าใจกัน เช่นในการใช้คำว่า “มณฑล” สำหรับกรณีอื่นๆ นอกไปจากการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นเช่น มณฑลภูมิศาสตร์ (Ceremonial counties), มณฑลลงทะเบียน (Registration county), มณฑลในประวัติศาสตร์ (Historic counties) หรือมณฑลไปรษณีย์ (Postal counties) เป็นต้น.

ใหม่!!: เคนต์และเทศมณฑลของอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษ

มณฑลการปกครองของอังกฤษและเวลส์ในประวัติศาสตร์, แผนที่จากปี ค.ศ. 1824 มณฑลการปกครองของอังกฤษในประวัติศาสตร์ เป็นเขตการปกครองโบราณของอังกฤษ ที่ก่อตั้งโดยการบริหารของชนนอร์มันและในกรณีส่วนใหญ่จำลองมาจากเขตการปกครองราชอาณาจักรและไชร์ของแองโกล-แซ็กซอนก่อนหน้านั้น เขตการปกครองเหล่านั้มีประโยชน์ในการใช้สอยหลายอย่างมาเป็นเวลาหลายร้อยปีBryne, T., Local Government in Britain, (1994) และยังใช้เป็นพื้นฐานในการพิจารณาการจัดเขตการปกครองของรัฐบาลส่วนท้องถิ่นในสมัยปัจจุบันHer Majesty's Stationery Office, Aspects of Britain: Local Government, (1996)Hampton, W., Local Government and Urban Politics, (1991) มณฑลเหล่านี้บางครั้งก็รู้จักกันว่า “มณฑลโบราณ” (ancient counties).

ใหม่!!: เคนต์และเทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เดนลอว์

“โกลด์:” บริเวณการปกครองของเดนส์ บริเวณการปกครองของเดนส์ หรือ บริเวณเดนลอว์ (Danelaw, Danelagh; Dena lagu; Danelov) ที่บันทึกใน “พงศาวดารแองโกล-แซ็กซอน” เป็นชื่อทางประวัติศาสตร์ของบริเวณในบริเตนใหญ่ที่ปกครองด้วยกฎหมายของ “เดนส์” ที่อยู่เหนืออิทธิพลของกฎของแองโกล-แซ็กซอน บริเวณบริเตนใหญ่ที่อยู่ใต้การปกครองของเดนส์ในปัจจุบันอยู่ในบริเวณทางเหนือและตะวันออกของอังกฤษ ที่มาของบริเวณการปกครองของเดนส์มาจากการขยายตัวของไวกิงในคริสต์ศตวรรษที่ 9 แม้ว่าคำนี้จะมิได้ใช้ในการบรรยายบริเวณทางภูมิศาสตร์มาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 การขยายตัวของไวกิงมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นในสแกนดิเนเวียที่ทำให้นักรบไวกิงมีความจำเป็นในการไปล่าทรัพย์สมบัติในอาณาบริเวณใกล้เคียงเช่นเกาะอังกฤษ นอกจากจะใช้ในการบรรยายบริเวณทางภูมิศาสตร์แล้ว “บริเวณการปกครองของเดนส์” ก็ยังหมายถึงชุดกฎหมายและคำจำกัดความที่ระบุในสนธิสัญญาระหว่างพระมหากษัตริย์อังกฤษสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชและขุนศึกชาวเดนส์กูธรัมผู้อาวุโส (Guthrum the Old) ที่เขียนขึ้นหลังจากกูธรัมพ่ายแพ้ต่อพระเจ้าอัลเฟรดในยุทธการเอธาดัน (Battle of Ethandun) ในปี..

ใหม่!!: เคนต์และเดนลอว์ · ดูเพิ่มเติม »

เคต บุช

ต บุช (Kate Bush) หรือชื่อเกิดว่า แคเทอรีน บุช (Catherine Bush) เกิดเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม..

ใหม่!!: เคนต์และเคต บุช · ดูเพิ่มเติม »

เคนต์ (แก้ความกำกวม)

นต์ (Kent) อาจจะหมายถึง.

ใหม่!!: เคนต์และเคนต์ (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

เซอร์รีย์

เซอร์รีย์ (Surrey) คือ มณฑลหนึ่งทางตอนใต้ของสหราชอาณาจักร เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ มีอาณาเขตติดต่อกับมณฑลบาร์คเชอร์ เกรตเตอร์ลอนดอน (Greater London) แฮมป์เชอร์ เค้นท์ อีสต์ซัสเซกซ์ และเวสต์ซัสเซกซ์ เมืองเอกคือกิลด์ฟอร์ด หมวดหมู่:สหราชอาณาจักร หมวดหมู่:เซอร์รีย์.

ใหม่!!: เคนต์และเซอร์รีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เซาท์อีสต์อิงแลนด์

ตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ: South East England) เป็นหนึ่งในเก้าของภาคการปกครองของอังกฤษที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1994 และรับเป็นส่วนหนึ่งของสถิติใน ปี ค.ศ. 1999 ภาคตะวันออกเฉียงใต้รวมมลฑลบาร์คเชอร์, บัคคิงแฮมเชอร์, อีสต์ซัสเซ็กซ์, แฮมป์เชอร์, ไอล์ออฟไวท์, เค้นท์, อ๊อกซฟอร์ดเชอร์, เซอร์รีย์ และเวสต์ซัสเซ็กซ์ คำที่ใช้กันโดยทั่วไปในการเรียกบริเวณนี้คือ “ตะวันออกเฉียงใต้” แต่ความหมายต่างกันออกไปมาก ภาคตะวันออกเฉียงใต้มีเนื้อที่ 19,096 ตารางกิโลเมตร ในปี..

ใหม่!!: เคนต์และเซาท์อีสต์อิงแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์ออกัสตินส์แอบบีย์

ซุ้มประตูสมัยยุคกลาง เป็นทางเข้าไปสู่อารามนักบุญออกัสติน เซนต์ออกัสตินส์แอบบีย์ หรือ อารามนักบุญออกัสติน (St.) ในปัจจุบันเป็นอดีตแอบบีย์ที่ตั้งอยู่ในเมืองแคนเทอร์เบอรี เทศมณฑลเคนต์ ประเทศอังกฤษ.

ใหม่!!: เคนต์และเซนต์ออกัสตินส์แอบบีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เนชันนัลลีก

นชันนัลลีก หรือในอดีตคือ ลีกคอนเฟเรนซ์ พรีเมียร์ หรือบลูสแควร์ พรีเมียร์ (ปัจจุบันมีชื่อในการแข่งขันตามผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการว่า แวนอะรามา เนชันนัลลีก) คือการแข่งขันฟุตบอลในระดับสูงที่สุดของระบบฟุตบอลกึ่งอาชีพในอังกฤษ และถูกจัดให้เป็นลีกที่อยู่ลำดับ 5 ของระบบลีกอังกฤษทั้งหมด โดยผู้ชนะจะได้เลื่อนชั้นสู่ฟุตบอลลีกทู ซึ่งเป็นลีกระดับล่างสุดในระบบฟุตบอลลีก หรือลีกระดับอาชีพ ในอดีตลีกคอนเฟเรนซ์ พรีเมียร์ จัดเป็นลีกของสโมสรฟุตบอลกึ่งอาชีพ โดยมีการผสมผสานทั้งสโมสรอาชีพเก่าแก่ที่ตกชั้นลงมาจากลีกทู และสโมสรสมัครเล่นที่เลื่อนชั้นขึ้นมาจากลีกระดับล่าง ในฤดูกาล 2015–16 ได้มีการเปลี่ยนชื่อลีกเป็น เนชันนัลลีก โดยมีผู้สนับสนุนหลักคือบริษัทแวนอะรามา ผู้ประกอบธุรกิจรถยนต์อเนกประสงค์ (รถแวน) ในสหราชอาณาจักร"", BBC Sport, 6 April 2015.

ใหม่!!: เคนต์และเนชันนัลลีก · ดูเพิ่มเติม »

เนโอมี วอตส์

นโอมี เอลเลน วอตส์ เกิดวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1968 เป็นนักแสดงชาวอังกฤษ เธอปรากฏตัวครั้งแรกในภาพยนตร์ออสเตรเลียในเรื่อง For Love Alone (1986) และปรากฏตัวในซีรีส์ Hey Dad..! (1990), Brides of Christ (1991) และ Home and Away (1991) และแสดงร่วมกับนิโคล คิดแมน และแธนดี นิวตัน ในภาพยนตร์รักตลกดรามา เรื่อง Flirting (1991) หลังจากย้ายไปสหรัฐอเมริกา วอตส์ปรากฏตัวในภาพยนตร์ Tank Girl (1995), Children of the Corn IV: The Gathering (1996) และ Dangerous Beauty (1998) และมีบทบาทนำในซีรีส์ละครโทรทัศน์ เรื่อง Sleepwalkers (1997-1998).

ใหม่!!: เคนต์และเนโอมี วอตส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Kentมณฑลเค้นท์เคนท์เค้นท์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »