โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เกลุก

ดัชนี เกลุก

นิกายเกลุก หรือ นิกายเกลุกปะ หรือ นิกายหมวกเหลือง พัฒนามาจากนิกายกดัมที่อาจารย์อตีศะวางรากฐานและและอาจารย์สองขะปะเป็นผู้ปฏิรูปหลักคำสอนของนิกายหมวกแดงแล้วตั้งนิกายใหม่ขึ้นเมื่อ นิกายเกลุกปะ หรือนิกายหมวกเหลือง เมื่อท่านมรณภาพได้สืบทอดตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกานเด็นให้ เจล ซับเจ ถือเป็นจุดเริ่มต้นการสืบทอดผู้นำของสายนิกายเกลุก ผู้นำนิกายเกลุกในปัจจุบันคือผู้ดำรงตำแหน่งดาไล ลามะหรือทะไล ลามะ ซึ่งเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของทิเบตด้วย พระสงฆ์ในนิกายนี้ได้รับการยกย่องนับถือจากผู้ปกครองมองโกลว่าเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ และต่อมาถือว่าเป็นผู้ปกครองบ้านเมืองด้วย ในรัชสมัยของพระเจ้าอัลตันข่าน พระองค์ได้พบประมุขสงฆ์องค์ที่ 3 ของนิกายเกลุกปะชื่อ สอดนัมยาโส พระองค์เกิดความเชื่อว่า พระสอดนัมยาโสนี้เป็นอาจารย์ของพระองค์ในชาติก่อนจึงเรียกพระสอดนัมยาโสว่า ทะเล หรือทะไล (Dalai) ตั้งแต่นั้นมาประมุขสงฆ์ของทิเบตจะถูกเรียกว่า ดาไลลามะ หรือทะไล ลามะ ทะไลลามะบางองค์ได้รับมอบอำนาจจากผู้นำมองโกลให้ปกครองประเทศทิเบตทั้งหมด ทำให้พระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมเจริญรุ่งเรือง จนถึงทะไลลามะองค์ที่ 7 (พ.ศ. 2351-2401) ทิเบตได้เข้าสู่ยุคของการปิดประตูอยู่โดดเดี่ยว เนื่องจากประสบความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ตามเหตุการณ์ของบ้านเมือง เช่น มีนักบวชคริสต์ศาสนาเดินทางเข้ามาเผยแผ่ศาสนา ความสัมพันธ์กับประเทศอินเดียจางหาย จีนได้เข้าครอบครองทิเบตใน..

8 ความสัมพันธ์: มหายานศาสนาพุทธแบบทิเบตสองขะปะอาทิพุทธะทะไลลามะทะไลลามะที่ 14ประวัติศาสตร์ทิเบตเรทิงรินโปเช

มหายาน

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.

ใหม่!!: เกลุกและมหายาน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธแบบทิเบต

ระพุทธศาสนาแบบทิเบตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 587-8 (Tibetan Buddhism) คือพุทธศาสนาแบบหนึ่งซึ่งถือปฏิบัติในทิเบต และปัจจุบันได้แพร่หลายไปในหลายประเทศ ดินแดนทิเบตในอดีตมีความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนามาก พุทธศาสนาแบบทิเบตมีเอกลักษณ์เฉพาะคือเป็นการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนานิกายมหายานทั้งจากอินเดียและจีน ได้รับอิทธิพลจากพุทธศานานิกายตันตระของอินเดีย จนเกิดเป็นนิกายวัชรยานขึ้น ประชาชนใฝ่ธรรมะ เมื่อมีงานบุญ ประชาชนจะเดินทางไปแสวงบุญแม้จะไกลสักเพียงใด ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เห็นอยู่มากมาย แต่เมื่อตกอยู่ในการปกครองของจีนวัดนับพันแห่งทั่วนครลาซา เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแห่งในปัจจุบัน จนแทบไม่เหลือความเจริญรุ่งเรืองในอดีต.

ใหม่!!: เกลุกและศาสนาพุทธแบบทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

สองขะปะ

องขะปะ(ภาษาทิเบต:ཙོང་ཁ་པ་, Tsong-kha-pa) เป็นลามะที่มีบทบาทสำคัญในนิกายเกลุก เกิดเมื่อ พ.ศ. 1900 ที่เมืองสองขะ แคว้นอัมโด รับศีลอุบาสกจากอาจารย์รอลเปดอร์ เจ กรรมะปะองค์ที่ 4 กุงกะนิงโป ตั้งแต่อายุ 3 ขวบ บวชเป็นสามเณรเมื่ออายุ 7 ขวบ ได้ฉายาว่า ลอบซัง ดรักปะ เข้ารับพิธีอภิเษกของเหรุกะ ยมานตกะและเหวัชระ สองขะปะออกเดินทางเพื่อแสวงหาความรู้จากอาจารย์นิกายต่างๆ ทั้งเรียนเรื่องจิตตรัสรู้และมหามุทราจากอาจารย์เซนงะ โชกบี เจลโป เรียนการแพทย์จากอาจารย์คอนซ็อก และไปศึกษาพระวินัย ปรากฏการณ์วิทยา การรับรู้ที่ถูกต้อง มาธยมิก คุยหสมาช ที่วัดสักยะ ได้รับถ่ายทอดคำสอนของนโรปะ กาลจักร มหามุทรา มรรควิถีและผล จักรสัมภวะ สองขะปะได้นำความรู้นี้มาถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นนิกายเกลุก สองขะปะถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 60 พรรษา ท่านได้ยกตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกานเด็นให้เจลซับเจ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นสืบทอดผู้นำสายนิกายเกลุก.

ใหม่!!: เกลุกและสองขะปะ · ดูเพิ่มเติม »

อาทิพุทธะ

ระวัชรธารพุทธะ พระอาทิพุทธะเป็นพระพุทธเจ้าที่พบในคติความเชื่อของพุทธศาสนามหายานบางกลุ่ม ไม่พบในฝ่ายเถรวาท โดยเชื่อว่าอาทิพุทธะเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์แรก กำเนิดขึ้นพร้อมกับโลก อยู่ในโลกชั่วนิรันดร์ เป็นพระผู้สร้างสรรพสิ่งในโลก และเป็นแหล่งกำเนิดของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ประทับบนพรหมโลกชั้นอกนิฏฐ์ มีสถานะเสมอปรมาตมันในศาสนาฮินดูราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 15-16.

ใหม่!!: เกลุกและอาทิพุทธะ · ดูเพิ่มเติม »

ทะไลลามะ

ทะไลลามะ (ทิเบต: ཏཱ་ལའི་བླ་མ་, taa la’i bla ma, จีนตัวเต็ม: 達賴喇嘛; จีนตัวย่อ: 达赖喇嘛; พินอิน: Dálài Lǎmā) เป็นตำแหน่งประมุขหัวหน้าคณะสงฆ์ในพุทธศาสนานิกายมหายานแบบทิเบตเกลุก (นิกายหมวกเหลือง) เป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาณสูงสุดของชาวทิเบต ทะไลลามะ มาจากภาษามองโกเลีย dalai แปลว่า มหาสมุทร และภาษาทิเบต བླ་མ ་bla-ma แปลว่า พระชั้นสูง (ทะไลลามะ บางครั้งหรือนิยมออกเสียว่า ดาไลลามะ) ตามประวัติศาสตร์ของทิเบต เชื่อว่าองค์ทะไลลามะเป็นอวตารในร่างมนุษย์ของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และเมื่อองค์ทะไลลามะองค์หนึ่งสิ้นพระชนม์ไป จะกลับชาติมาประสูติใหม่เป็นองค์ทะไลลามะองค์ต่อไป โดยเรทิงรินโปเช ซึ่งเป็นพระสงฆ์ระดับรองลงมาจะเป็นผู้ใช้นิมิตสรรหาเด็กคนที่เชื่อว่าเป็นทะไลลามะกลับชาติมาเกิด ปัจจุบัน ดาไลลามะ เป็นองค์ที่ 14 ชื่อ เทนซิน เกียตโซ(Tenzin Gyatso)..

ใหม่!!: เกลุกและทะไลลามะ · ดูเพิ่มเติม »

ทะไลลามะที่ 14

ทนซิน เกียตโซ ทะไลลามะที่ 14 (ภาษาทิเบต: བསྟན་འཛིན་རྒྱ་མཚོ་; Bstan-'dzin Rgya-mtsho; ภาษาจีน: 第十四世达赖喇嘛; His Holiness the 14th Dalai Lama, 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 - ปัจจุบัน) คือองค์ทะไลลามะ องค์ที่ 14 แห่งทิเบต เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) และเป็นผู้นำจิตวิญญาณและผู้นำสูงสุดของชาวทิเบต ถึงแม้ว่าทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีนจะไม่ยินยอมก็ตาม พระองค์ทรงเป็นประมุขแห่งพุทธศาสนานิกายมหายานแบบทิเบตเกลุก.

ใหม่!!: เกลุกและทะไลลามะที่ 14 · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ทิเบต

ทิเบต ตั้งอยู่ในใจกลางของทวีปเอเชียระหว่างประเทศจีนกับอินเดีย ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร ในบริเวณที่มีภูเขาและที่ราบสูงที่สุดในโลก มีอากาศแห้งและหนาวเย็น รวมทั้งที่ราบกลางหุบเขาริมแม่น้ำอันกว้างใหญ่หลายสาย อันเป็นที่พำนักพิงของชาวธิเบต ผู้ซึ่งมีวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตนเอง มาเป็นเวลาช้านาน และมีชีวิตความเป็นอยู่แตกต่างจากผู้คนในประเทศเพื่อนบ้าน ชาวธิเบตได้มีการพัฒนาทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ในตนเอง ทั้งยังมีการพัฒนาด้านสติปัญญาและจิตใจ ได้แก่ การมีภาษาที่โดดเด่น มีวรรณกรรมอันยิ่งใหญ่ และมีผลงานศิลปะที่น่ามหัศจรรย์ นอกจากนี้ อารยธรรมของชาวธิเบต ซึ่งสืบเนื่องมาเป็นเวลาหลายพันปีนั้น ยังเป็นอารยธรรมที่สูงส่ง และมีคุณค่าสืบทอดต่อกันมา เป็นมรดกของมนุษยชาต.

ใหม่!!: เกลุกและประวัติศาสตร์ทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

เรทิงรินโปเช

รทิงรินโปเช องค์ที่ห้า ในปี 1938 เรทิงรินโปเช (ทิเบต: རྭ་སྒྲེང་རིན་པོ་ཆེ, rwa-sgreng rin-po-che, พินอิน: Razheng) เป็นตำแหน่งของเจ้าอาวาสวัดเรทิง ในตำบลลุนชุบ มณฑลลาซา ทางตอนกลางของทิเบต ซึ่งเป็นโรงเรียนสงฆ์สำคัญของพุทธศาสนานิกายเกลุก ตำแหน่งนี้สถาปนาขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ตามประวัติศาสตร์ เรทิงรินโปเชจะเป็นผู้สรรหาองค์ทะไลลามะองค์ใหม่หลังจากองค์เดิมสิ้นพระชนม์ โดยจะใช้นิมิตตรวจดูว่าเด็กคนใดที่เป็นทะไลลามะองค์เดิมกลับชาติมาเกิดใหม่ ปัจจุบันมีผู้สืบตำแหน่งเรทิงรินโปเชมาแล้ว 7 รูป โดยเรทิงรินโปเชรูปที่ 6 ยังมีข้อขัดแย้งกันอยู่ว่าเป็นผู้ใด ระหว่างรูปที่ได้รับการสถาปนาโดยรัฐบาลทิเบตภายใต้การครอบงำของรัฐบาลจีน กับรูปที่ได้รับการสถาปนาโดยทะไลลามะ องค์ที่สิบสี่ ซึ่งลี้ภัยอยู่ในอินเดี.

ใหม่!!: เกลุกและเรทิงรินโปเช · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

นิกายเกลุก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »