เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

อโลหะ

ดัชนี อโลหะ

แก๊สมีตระกูลนอกเหนือจากไฮโดรเจน อโลหะอยู่ในบล็อก-p ธาตุฮีเลียมแม้เป็นธาตุบล็อก-s แต่ปกติวางอยู่เหนือนีออน (ในบล็อก-p) เนื่องจากคุณสมบัติแก๊สมีตระกูลของมัน ในวิชาเคมี อโลหะเป็นธาตุเคมีซึ่งส่วนมากขาดคุณสมบัติของโลหะ ทางกายภาพ อโลหะมักกลายเป็นไอ (ระเหย) ง่าย มีความยืดหยุ่นต่ำ และเป็นฉนวนความร้อนและไฟฟ้าที่ดี ในทางเคมี ธาตุเหลานี้มักมีพลังงานไอออไนเซชันและค่าอิเล็กโตรเนกาทิวิตี (electronegativity) สูง และให้หรือได้อิเล็กตรอนเมื่อทำปฏิกิริยากับธาตุหรือสารประกอบอื่น มีสิบเจ็ดธาตุที่จัดเป็นอโลหะโดยทั่วไป ส่วนมากเป็นแก๊ส (ไฮโดรเจน ฮีเลียม ไนโตรเจน ออกซิเจน ฟลูออรีน นีออน คลอรีน อาร์กอน คริปทอน ซีนอนและเรดอน) หนึ่งธาตุเป็นของเหลว (โบรมีน) และส่วนน้อยเป็นของแข็ง (คาร์บอน ฟอสฟอรัส กำมะถัน เซเลเนียมและไอโอดีน) ธาตุอโลหะมีโครงสร้างซึ่งมีเลขโคออร์ดิเนชัน (อะตอมเพื่อนบ้านใกล้ที่สุด) น้อยลงเรื่อย ๆ เมื่อเลื่อนไปทางขวามือของตารางธาตุแบบมาตรฐาน อโลหะหลายอะตอมมีโครงสร้างที่มีอะตอมเพื่อนบ้านใกล้ที่สุดสามอะตอม เช่นในกรณีของคาร์บอน (ในสถานะมาตรฐานกราฟีน) หรือสองอะตอม เช่นในกรณีของกำมะถัน อโลหะสองอะตอม เช่น ไฮโดรเจน มีอะตอมเพื่อนบ้านใกล้ที่สุดหนึ่งอะตอม และแก๊สมีตระกูลอะตอมเดียว เช่น ฮีเลียม ไม่มีอะตอมเพื่อนบ้านใกล้ที่สุด ยิ่งมีจำนวนอะตอมเพื่อนบ้านใกล้ที่สุดน้อยลงเท่าใดยิ่งสัมพันธ์กับการลดลงของความเป็นโลหะและเพิ่มความเป็นอโลหะมากขึ้นเท่านั้น แต่ข้อแตกต่างระหว่างอโลหะสามหมวดในแง่ของความเป็นโลหะที่ลดนั้นไม่สัมบูรณ์ มีขอบเขตทับซ้อนกันเมื่อธาตุรอบนอกในแต่ละหมวดแสดง (หรือเริ่มแสดง) คุณสมบัติที่ต่างกันน้อย คล้ายลูกผสมหรือไม่ตรงแบบ แม้ว่าธาตุโลหะมีมากกว่าอโลหะห้าเท่า แต่ธาตุอโลหะสองธาตุ ไฮโดรเจนและฮีเลียม ประกอบเป็นร้อยละ 99 ของเอกภพที่สังเกตได้ และหนึ่งธาตุ ออกซิเจน ประกอบเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของเปลือกโลก มหาสมุทรและบรรยากาศของโลก สิ่งมีชีวิตยังประกอบด้วยอโลหะแทบทั้งหมด และธาตุอโลหะก่อสารประกอบมากกว่าโลหะมาก.

สารบัญ

  1. 42 ความสัมพันธ์: บล็อก-pฟอสฟอรัสพลวงพันธะไอออนิกกรดไฮโดรโบรมิกกำมะถันยิปซัมลิเวอร์มอเรียมสารกึ่งตัวนำสารหนูสารประกอบไอออนิกหมู่คาร์บอนออกไซด์ธาตุกึ่งโลหะธาตุคาบ 1ธาตุคาบ 2ธาตุคาบ 3ธาตุคาบ 4ธาตุคาบ 5ธาตุคาบ 6ธาตุคาบ 7ธาตุคาบ 8ธาตุคาบ 9ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทยคาร์บอนตารางธาตุตารางธาตุ (กว้าง)ตารางธาตุ (มาตรฐาน)ตารางธาตุ (โลหะ และ อโลหะ)ตารางธาตุพร้อมชื่อและน้ำหนักอะตอมใหญ่ตารางธาตุพร้อมชื่อและน้ำหนักอะตอมเล็กตารางธาตุแนวดิ่งปิโตรเลียมนิกโทเจนแชลโคเจนแบไรต์แนวโน้มพิริออดิกโลหะเบาไนโตรเจนเจอร์เมเนียมเคมีอนินทรีย์เซลล์กัลวานี

บล็อก-p

ล็อก-p (p-block) เป็นหนึ่งในบล็อกของตารางธาตุ ประกอบด้วยธาตุกลุ่มอโลหะ และ กึ่งโลหะ และกลุ่มโลหะบางตัว ในหกหมู่หลังยกเว้นฮีเลียม ธาตุเหล่านี้ในสภาวะที่อะตอมมีพลังงานต่ำสุด (ground state) อิเล็กตรอนที่มีพลังงานสูงสุดจะอยู่ในวงโคจรพี (p-atomic orbital) ธาตุในบล็อก-p มีดังนี้.

ดู อโลหะและบล็อก-p

ฟอสฟอรัส

ฟอสฟอรัส (phosphorus) เป็นธาตุอโลหะ เลขอะตอม 15 สัญลักษณ์ P ฟอสฟอรัสอยู่ในกลุ่มไนโตรเจน มีวาเลนซ์ได้มาก ปรากฏในหลายอัลโลโทรป พบทั้งในหินฟอสเฟต และเซลล์สิ่งมีชีวิตทุกเซลล์ (ในสารประกอบในดีเอ็นเอ) เนื่องจากสามารถทำปฏิกิริยาได้สูง จึงไม่ปรากฏในรูปอิสระในธรรมชาติ คำว่า ฟอสฟอรัส มาจากภาษากรีกแปลว่า 'ส่องแสง' และ 'นำพา' เพราะฟอสฟอรัสเรืองแสงอ่อน ๆ เมื่อมีออกซิเจน หรือมาจากภาษาละติน แปลว่า 'ดาวประกายพรึก' ค้นพบประมาณปี 1669 โดยนักเล่นแร่แปรธาตุชาวเยอรมัน เฮนนิก แบรนด์ ในขณะที่ภาษาไทยในสมัยก่อน เรียก ฟอสฟอรัส ว่า 'ฝาสุภเรศ' ฟอสฟอรัสเป็นอโลหะอยู่ในหมู่ที่ VA หมู่เดียวกับธาตุไนโตรเจนในธรรมชาติไม่พบฟอสฟอรัสในรูปของธาตุอิสระ แต่จะพบในรูปของสารประกอบฟอสเฟตที่สำคัญได้แก่หินฟอสเฟต หรือแคลเซียมฟอสเฟต (Ca2(PO4)2) ฟลูออไรอะปาไทต์ (Ca5F (PO4)3) นอกจากนี้ยังพบฟอสฟอรัสในไข่แดง กระดูก ฟัน สมอง เส้นประสาทของคนและสัตว์ ฟอสฟอรัสสามารถเตรียมได้จากแคลเซียมฟอสเฟต โดยใช้แคลเซียมฟอสเฟตทำปฏิกิริยากับคาร์บอนในรูปถ่านโค๊ก และซิลิคอนไดออกไซด์ (SiO2) ในเตาไฟฟ้า ฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของรากพืช โดยธาตุฟอสฟอรัสจะช่วยให้รากของพืชแข็งแรง และแผ่กระจายได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ลำต้นแข็งแรงตามไปด้วย ปกติแล้วธาตุฟอสฟอรัสจะมีอยู่ในดินมากพออยู่แล้ว เป็นธาตุที่ไม่ค่อยเคลื่อนที่ในดินหรือละลายน้ำได้ยากซึ่งจะทำให้พืชดูดเอาไปใช้ได้ยากด้วย แม้แต่ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินโดยตรงก็ประมาณกันไว้ว่า 80-90 % ของธาตุฟอสฟอรัสทั้งหมดนั้นจะถูกดินยึดไว้โดยการทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุต่าง ๆ ในดิน ดังนั้น ธาตุฟอสฟอรัสในดินมีกำเนิดมาจากการสลายตัวผุพังของแร่บางชนิดในดิน การสลายตัวของสารอินทรียวัตถุในดินก็จะสามารถปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชที่ปลูกได้เช่นเดียวกับไนโตรเจน ดังนั้น การใช้ปุ๋ยคอกนอกจากจะได้ธาตุไนโตรเจนแล้วก็ยังได้ฟอสฟอรัสอีกด้วย ธาตุฟอสฟอรัสในดินที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ จะต้องอยู่ในรูปของอนุมูลของ สารประกอบที่เรียกว่า ฟอสเฟตไอออน (H2PO4- และ HPO4-) ซึ่งจะต้องละลายอยู่ในน้ำในดิน สารประกอบของฟอสฟอรัสในดินมีอยู่เป็นจำนวนมากแต่ส่วนใหญ่ละลายน้ำยาก ดังนั้นจึงมักจะมีปัญหาเสมอว่าดินถึงแม้จะมีฟอสฟอรัสมากก็จริงแต่พืชก็ยังขาดฟอสฟอรัส เพราะส่วนใหญ่อยู่ในรูปที่ละลายน้ำยากนั่นเอง นอกจากนั้นแร่ธาตุต่าง ๆ ในดินชอบที่จะทำปฏิกิริยากับอนุมูลฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ ดังนั้นปุ๋ยฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้เมื่อใส่ลงไปในดินประมาณ 80-90% จะทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุในดินกลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยากไม่อาจเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยฟอสเฟตจึงไม่ควรคลุกเคล้าให้เข้ากับดินเพราะยิ่งจะทำให้ปุ๋ยทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุต่าง ๆ ในดินได้เร็วยิ่งขึ้น แต่ควรจะใส่แบบเป็นจุดหรือโรยเป็นแถบให้ลึกลงไปในดินในบริเวณรากของพืชปุ๋ย ฟอสเฟตนี้ถึงแม้จะอยู่ใกล้ชิดกับรากก็จะไม่เป็นอันตรายแก่รากแต่อย่างใด ปุ๋ยคอกจะช่วยป้องกันไม่ให้ปุ๋ยฟอสเฟตทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุในดินและสูญเสีย ความเป็นประโยชน์ต่อพืชเร็วจนเกินไป พืชเมื่อขาดฟอสฟอรัสจะมีต้นแคระแกร็นใบมีสีเขียวคล้ำ ใบล่าง ๆ จะมีสีม่วงตามบริเวณขอบใบ รากของพืชชะงักการเจริญเติบโต พืชไม่ออกดอกและผล พืชที่ได้รับฟอสฟอรัสอย่างเพียงพอจะมีระบบรากที่แข็งแรงแพร่กระจายอยู่ในดิน อย่างกว้างขวาง สามารถดึงดูดน้ำและธาตุอาหารได้ดี การออกดอกออกผลจะเร็วขึ้น ฟอสฟอรัสช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสง สร้างแป้งและน้ำตาล เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ที่สำคัญหลายชนิด ช่วยเสริมสร้างส่วนที่เป็นดอก การผสมเกสร ตลอดจนการติดเมล็ด สร้างระบบรากให้แข็งแรง ช่วยในการแตกกอ และช่วยให้ลำต้นแข็งแรงไม่ล้มง่าย ช่วยให้พืชดูดใช้ธาตุไนโตรเจนและโมลิบดีนัมได้ดีขึ้น ธาตุนี้มักพบในรูปที่พืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้ เนื่องจากจะถูกตรึงอยู่ในดิน ส่วนใหญ่พืชจะแสดงอาการขาดธาตุนี้บ่อยครั้ง แม้ว่าในดินที่มีธาตุฟอสฟอรัสอยู่เป็นจำนวนมากก็ตามถ้าขาดธาตุฟอสฟอรัสราก พืชจะไม่เจริญ มีรากฝอยน้อย ต้นเตี้ย ใบและต้นมีสีเข้มและบางครั้งมีสีม่วงหรือแดงเกิดขึ้น พืชแก่ช้ากว่าปกติ เช่น การผลิดอก ออกผลช้า มีการแตกกอน้อย การติดเมล็ดน้อย หรือบางครั้งไม่ติดเมล็.

ดู อโลหะและฟอสฟอรัส

พลวง

ลวง (Antimony) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 51 และสัญลักษณ์คือ Sb (มาจากคำในภาษาลาตินว่า Stibium) พลวงเป็นธาตุกึ่งโลหะ (metalloid) มี 4 อัญญรูป ที่มีความเสถียรจะเป็นโลหะสีฟ้า พลวงที่มีสีเหลืองและดำจะเป็นอโลหะที่ไม่เสถียร พลวงใช้ประโยชน์ในการทำสีเซรามิก สารเคลือบผิว โลหะผสม อิเล็กโทรดและยาง.

ดู อโลหะและพลวง

พันธะไอออนิก

Sodium and fluorine undergoing a redox reaction to form sodium fluoride. Sodium loses its outer electron to give it a stable electron configuration, and this electron enters the fluorine atom exothermically. The oppositely charged ions - typically a great many of them - are then attracted to each other to form a solid.

ดู อโลหะและพันธะไอออนิก

กรดไฮโดรโบรมิก

กรดไฮโดรบอมิก (hydrobromic acid) เป็นสารละลายของแก๊สไฮโดรเจนโบรไมด์ ลักษณะของแก๊สโบรมีนคือ มีสีแดงแกมน้ำตาล ทำลายเยื่อบุตาและระบบทางเดินหายใจ กรดไฮโดรบอมิกเป็นกรดที่สามารถกัดกร่อนรุนแรง มีค่า pH ประมาณ 1 ลักษณะของกรดไฮโดรโบมิก เป็นกรดที่อยู่ในจำพวก ไฮโดร (กรดที่มีองค์ประกอบ 2 อย่างคือ อโลหะและของเหลว) สมการเกิดกรดไฮโดรบอมิก คือ.

ดู อโลหะและกรดไฮโดรโบรมิก

กำมะถัน

กำมะถัน(สุพรรณถัน) หรือ ซัลเฟอร์ (Sulfur หรือ Sulphur) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ S และเลขอะตอม 16 เป็นอโลหะที่มีอยู่ทั่วไป ไม่มีรสหรือกลิ่น และมีวาเลนซ์ได้มากมาย กำมะถันในรูปแบบปกติเป็นของแข็งสีเหลืองที่เป็นผลึก ในธรรมชาติ สามารถพบได้ในรูปธาตุเอง หรือแร่ซัลไฟด์และซัลเฟต เป็นธาตุจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต และพบในกรดอะมิโนหลายชนิด การใช้ในเชิงพาณิชย์ที่เป็นหลัก คือ ในปุ๋ย แต่นอกจากนี้ยังใช้ในดินปืน ไม้ขีดไฟ ยาฆ่าแมลง และยาฆ่าร.

ดู อโลหะและกำมะถัน

ยิปซัม

ปซัม (Gypsum) (CaSO4·2H2O) หรือเรียกว่าเกลือจืด เป็นแร่อโลหะที่มีความเปราะมากมีสีขาว ไม่มีสีหรือสีเทา มักมีสีเหลือง แดง หรือน้ำตาล เป็นมลทินปนอยู่ มีความวาวคล้ายแก้ว มุก หรือไหม ความแข็ง 2 ความถ่วงจำเพาะ 2.7 เนื้อแร่โปร่งใสจนกระทั่งโปร่งแสง อาจเรียกชื่อต่างกันออกไปตามลักษณะของเนื้อแร่ คือ ชนิดซาตินสปาร์ (satinspar) เป็นแร่ยิปซัมลักษณะที่เป็นเนื้อเสี้ยน มีความวาวคล้ายไหม ชนิดอะลาบาสเทอร์ (alabaster) มีเนื้อเป็นมวลเม็ดอัดกันแน่น และชนิดซีลีไนต์ (selenite) ใสไม่มีสี เนื้อแร่เป็นแผ่นบางโปร่งใส เกิดจากแร่ที่ตกตะกอนในแอ่งที่มีการระเหยของน้ำสูงมากและต่อเนื่อง ทำให้น้ำส่วนที่เหลือมีความเข้มข้นสูงขึ้น ถึงจุดที่แร่กลุ่มที่เรียกว่า “อีแวพอไรต์ (evaporites) ” จะสามารถตกตะกอนออกมาตามลำดับความสามารถในการละลาย (solubility) ซึ่งโดยทั่วไปเริ่มจากพวกคาร์บอเนต (carbonates) ซัลเฟต (sulphates) และเฮไลด์ (halides) การกำเนิด แร่ยิปซัมของไทยมีเนื้อเป็นเกล็ดเล็กๆ สมานแน่น เรียกว่า “อะลาบาสเตอร์ (alabaster) ” ซึ่งมิได้เกิดจากการตกตะกอนทับถมกันในสภาพการณ์ปฐมภูมิจากการระเหยของน้ำ แต่เกิดจากการเติมน้ำ (rehydration) ให้กับช่วงบนสุดของมวลแอนไฮไดรต์ จนเกิดการเปลี่ยนแปลง ชนิดแร่ ยิปซัมในประเทศไทยมีประวัติที่ค่อนข้างซับซ้อน และการศึกษาธรณีวิทยาแหล่งแร่พบว่า เคยผ่านการเปลี่ยนแปลงชนิดแร่ไปมา ระหว่างยิปซัมกับแอนไฮไดรต์ (CaSO4) หลายครั้ง (Utha-aroon and Ratanajarurak, 1996) ก่อนจะมีสภาพเช่นในปัจจุบัน.

ดู อโลหะและยิปซัม

ลิเวอร์มอเรียม

ลิเวอร์มอเรียม (Livermorium) เป็น ธาตุในกลุ่มโลหะหลังทรานซิชัน ที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 116 และมีสัญลักษณ์ Lv ชื่อนี้ตั้งขึ้นโดย IUPAC เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม..

ดู อโลหะและลิเวอร์มอเรียม

สารกึ่งตัวนำ

รกึ่งตัวนำ (semiconductor) คือ วัสดุที่มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าอยู่ระหว่างตัวนำและฉนวน เป็นวัสดุที่ใช้ทำอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ มักมีตัวประกอบของ germanium, selenium, silicon วัสดุเนื้อแข็งผลึกพวกหนึ่งที่มีสมบัติเป็นตัวนำ หรือสื่อไฟฟ้าก้ำกึ่งระหว่างโลหะกับอโลหะหรือฉนวน ความเป็นตัวนำไฟฟ้าขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และสิ่งไม่บริสุทธิ์ที่มีเจือปนอยู่ในวัสดุพวกนี้ ซึ่งอาจเป็นธาตุหรือสารประกอบก็มี เช่น ธาตุเจอร์เมเนียม ซิลิคอน ซีลีเนียม และตะกั่วเทลลูไรด์ เป็นต้น วัสดุกึ่งตัวนำพวกนี้มีความต้านทานไฟฟ้าลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะตรงข้ามกับโลหะทั้งปวง ที่อุณหภูมิ ศูนย์ เคลวิน วัสดุพวกนี้จะไม่ยอมให้ไฟฟ้าไหลผ่านเลย เพราะเนื้อวัสดุเป็นผลึกโควาเลนต์ ซึ่งอิเล็กตรอนทั้งหลายจะถูกตรึงอยู่ในพันธะโควาเลนต์หมด (พันธะที่หยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม) แต่ในอุณหภูมิธรรมดา อิเล็กตรอนบางส่วนมีพลังงาน เนื่องจากความร้อนมากพอที่จะหลุดไปจากพันธะ ทำให้เกิดที่ว่างขึ้น อิเล็กตรอนที่หลุดออกมาเป็นสาเหตุให้สารกึ่งตัวนำ นำไฟฟ้าได้เมื่อมีมีสนามไฟฟ้ามาต่อเข้ากับสารนี้ สารกึ่งตัวนำไม่บริสุทธิ์ เป็นสารที่เกิดขึ้นจากการเติมสารเจือปนลงไปในสารกึ่งตัวนำแท้ เช่น ซิลิกอน หรือเยอรมันเนียม เพื่อให้ได้สารกึ่งตัวนำที่มีสภาพการนำไฟฟ้าที่ดีขึ้น สารกึ่งตัวนำไม่บริสุทธิ์นี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ สารกึ่งตัวนำประเภทเอ็น (N-Type) และสารกึ่งตัวนำประเภทพี (P-Type).

ดู อโลหะและสารกึ่งตัวนำ

สารหนู

รหนู (arsenic) เป็นชื่อธาตุลำดับที่ 33 สัญลักษณ์ As ลักษณะเป็นของแข็ง มีสามอัญรูป คือ สารหนูสีเทา สารหนูสีดำ และสารหนูสีเหลือง หลายคนเข้าใจว่าสารหนูเป็นธาตุที่เป็นพิษ แต่ความจริงแล้วสารหนูบริสุทธิ์ไม่เป็นพิษแต่ประการใด มันจะเกิดพิษก็ต่อเมื่อ ไปรวมตัวกับธาตุอื่นเช่น Arsenic trioxide.

ดู อโลหะและสารหนู

สารประกอบไอออนิก

ในทางเคมี สารประกอบไอออนิก (Ionic compound) เป็นสารประกอบเคมีที่เกิดจากโลหะ (ที่มีประจุบวก) กับอโลหะ (ที่มีประจุลบ) มารวมกันเป็นสารประกอบ (หรือเรียกว่าเป็นเกลือ) โดยยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะไอออนิก ซึ่งสารประกอบไอออนิกจะเป็นสารประกอบที่ไม่มีสูตรเคมี แต่สามารถเขียนสูตรอย่างง่ายได้ เพราะไอออนจะเกาะกันหลายตัว ส่วนใหญ่จะเป็น เกลือกับเบส แต่กรดจะเป็นสารประกอบโควาแลนซ์ มีสถานะเป็นของแข็ง.

ดู อโลหะและสารประกอบไอออนิก

หมู่คาร์บอน

ตุหมู่ 14 (group 14 element) หรือ ธาตุหมู่คาร์บอน (carbon group) คือ อนุกรมเคมีของธาตุเคมีในตารางธาตุ ที่มีจำนวนอิเล็กตรอนในวงโคจรชั้นนอกสุดของอะตอมเท่ากับ 4 แนวโน้มการสูญเสียอิเล็กตรอนของธาตุเหล่านี้จะแปรผันตามขนาดของอะตอมที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งก็หมายถึงจำนวนเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้นด้วย ธาตุคาร์บอนตามลำพังตัวมันเองจะแสดงตัวเป็นไอออนปะจุลบ คือ คาร์ไบด์ไออน (carbide (C4-) ions) ส่วนทั้งซิลิกอน และ เจอร์เมเนียมเป็นธาตุกึ่งโลหะจะแสดงตัวเป็นไอออน +4 (+4 ions) ธาตุหมู่ 14 ประกอบด้ว.

ดู อโลหะและหมู่คาร์บอน

ออกไซด์

ออกไซด์ หมายถึง สารประกอบ ที่เกิดจาก ธาตุออกซิเจน รวมกับธาตุอื่นๆ; ออกไซด์ของโลหะ ออกไซด์ของโลหะส่วนใหญ่เป็น สารประกอบไอออนิก และเป็นเบส เช่น แคลเซียมออกไซด์ (CaO) ออกไซด์ของโลหะทรานซิชั่น อาจเรียกว่า สนิม; ออกไซด์ของกึ่งโลหะ รวมถึง ออกไซด์ของโลหะบางชนิด เป็นได้ทั้งกรดและเบส เช่น อะลูมิเนียมออกไซด์ (Al2O3) ฯลฯ; ออกไซด์ของอโลหะ เป็นสารประกอบโควาเลนต์ และเกือบทั้งหมดเป็นกรด เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2).

ดู อโลหะและออกไซด์

ธาตุกึ่งโลหะ

ตุกึ่งโลหะ (metalloids) เป็นธาตุที่มีองค์ประกอบทางเคมีซึ่งมีคุณสมบัติก้ำกึ่งระหว่างสมบัติของโลหะกับอโลหะ โดยไม่มีการกำหนดมาตรฐานหรือข้อตกลงที่แน่นอนของการเป็นธาตุกึ่งโลหะ ส่วนใหญ่เป็นสารกึ่งตัวนำ (semiconductors) โดยปกติทั่วไปแล้วธาตุกึ่งโลหะ ประกอบด้วย 6 ธาตุ คือ โบรอน, ซิลิคอน, เจอร์เมเนียม, สารหนู, พลวงและเทลลูเรียม แต่บางครั้งการจำแนกธาตุกึ่งโลหะได้รวม คาร์บอน, อะลูมิเนียม, ซีลีเนียม, พอโลเนียมและแอสทาทีนไว้ด้วย ในตารางธาตุทั่วไปนั้นสามารถพบธาตุกึ่งโลหะได้ที่บริเวณเส้นทแยงมุมของ บล็อก-p โดยเริ่มจากโบรอนไปจนถึงแอสทาทีน ในบางตารางธาตุที่ประกอบด้วยเส้นแบ่งระหว่างโลหะกับอโลหะและธาตุกึ่งโลหะนั้นจะอยู่ติดกับเส้นแบ่งนี้ ธาตุกึ่งโลหะมีลักษณะเหมือนโลหะ แต่เปราะและนำไฟฟ้าได้ไม่ดี ในทางเคมีนั้นธาตุกึ่งโลหะมีสมบัติคล้ายกับธาตุอโลหะ และยังสามารถผสมกับโลหะได้เป็นอัลลอยหรือโลหะผสม คุณสมบัติทางฟิสิกส์และทางเคมีส่วนใหญ่เป็นกลางในธรรมชาติ สารประกอบและธาตุกึ่งโลหะใช้ในการผลิตโลหะผสม, สารชีวภาพ, ตัวเร่งปฏิกิริยา, สารทนไฟ, แก้วและใยแก้วนำแสง คุณสมบัติทางไฟฟ้าของซิลิกอนและเจอเมเนียมได้มีการใช้ประโยชน์ในสถานประกอบการอุตสาหกรรมของสารกึ่งตัวนำในปี 1950 และได้มีการพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีสถานะเป็นของแข็งในต้นปี 1960 กึ่งโลหะเป็นองค์ประกอบที่มีคุณสมบัติเป็นกลาง หรือเรียกว่าไฮบริด กึ่งโลหะได้เป็นที่แพร่หลายในปี 1940-1960 กึ่งโลหะบางครั้งถูกเรียกว่ากึ่งโลหะ จากการปฏิบัติที่นิยม กึ่งโลหะเป็นคำที่มีความหมายที่แตกต่างกันในทางฟิสิกส์มากกว่าในทางเคมี ทางฟิสิกส์จะมีความหมายโดยเฉพาะหมายถึงโครงสร้างวงอิเล็กทรอนิกส์ของสาร.

ดู อโลหะและธาตุกึ่งโลหะ

ธาตุคาบ 1

ธาตุคาบ 1 (period 1 element) คือทั้งหมดที่อยู่ในแถวที่ 1 ของตารางธาตุ มีรายละเอียดดังนี้: ธาตุเคมีในคาบแรก หมู่ '''1''' '''2''' '''3''' '''4''' '''5''' '''6''' '''7''' '''8''' '''9''' '''10''' '''11''' '''12''' '''13''' '''14''' '''15''' '''16''' '''17''' '''18''' #ชื่อธาตุ 1H 2He e--conf.

ดู อโลหะและธาตุคาบ 1

ธาตุคาบ 2

ธาตุคาบ 2 (period 2 element) คือทั้งหมดที่อยู่ในแถวที่ 2 ของตารางธาตุ มีรายละเอียดดังนี้: ธาตุเคมีในคาบที่ 2 หมู่ '''1''' '''2''' '''3''' '''4''' '''5''' '''6''' '''7''' '''8''' '''9''' '''10''' '''11''' '''12''' '''13''' '''14''' '''15''' '''16''' '''17''' '''18''' #ชื่อธาตุ 3Li 4Be 5B 6C 7N 8O 9F 10Ne e--conf.

ดู อโลหะและธาตุคาบ 2

ธาตุคาบ 3

ธาตุคาบ 3 (period 3 element) คือทั้งหมดที่อยู่ในแถวที่ 3 ของตารางธาตุ มีรายละเอียดดังนี้: ธาตุเคมีในคาบที่ 3 หมู่ '''1''' '''2''' '''3''' '''4''' '''5''' '''6''' '''7''' '''8''' '''9''' '''10''' '''11''' '''12''' '''13''' '''14''' '''15''' '''16''' '''17''' '''18''' #ชื่อธาตุ 11Na 12Mg 13Al 14Si 15P 16S 17Cl 18Ar e--conf.

ดู อโลหะและธาตุคาบ 3

ธาตุคาบ 4

ธาตุคาบ 4 (period 4 element) คือทั้งหมดที่อยู่ในแถวที่ 4 ของตารางธาตุ มีรายละเอียดดังนี้: ธาตุเคมีในคาบที่ 4 หมู่ '''1''' '''2''' '''3''' '''4''' '''5''' '''6''' '''7''' '''8''' '''9''' '''10''' '''11''' '''12''' '''13''' '''14''' '''15''' '''16''' '''17''' '''18''' #ชื่อธาตุ 19 K 20 Ca 21 Sc 22 Ti 23 V 24 Cr 25 Mn 26 Fe 27 Co 28 Ni 29 Cu 30 Zn 31 Ga 32 Ge 33 As 34 Se 35 Br 36 Kr e--conf.

ดู อโลหะและธาตุคาบ 4

ธาตุคาบ 5

ธาตุคาบ 5 (period 5 element) คือทั้งหมดที่อยู่ในแถวที่ 5 ของตารางธาตุ มีรายละเอียดดังนี้: ธาตุเคมีในคาบที่ 5 หมู่ '''1''' '''2''' '''3''' '''4''' '''5''' '''6''' '''7''' '''8''' '''9''' '''10''' '''11''' '''12''' '''13''' '''14''' '''15''' '''16''' '''17''' '''18''' #ชื่อธาตุ 37 Rb 38 Sr 39 Y 40 Zr 41 Nb 42 Mo 43 Tc 44 Ru 45 Rh 46 Pd 47 Ag 48 Cd 49 In 50 Sn 51 Sb 52 Te 53 I 54 Xe e--conf.

ดู อโลหะและธาตุคาบ 5

ธาตุคาบ 6

ธาตุคาบ 6 (period 6 element) คือทั้งหมดที่อยู่ในแถวที่ 6 ของตารางธาตุ ธาตุในคาบจะรวมกลุ่มอนุกรมเคมีแลนทาไนด์ด้วย มีรายละเอียดดังนี้: ธาตุเคมีในคาบที่ 6 หมู่ '''1''' '''2''' '''3''' '''4''' '''5''' '''6''' '''7''' '''8''' '''9''' '''10''' '''11''' '''12''' '''13''' '''14''' '''15''' '''16''' '''17''' '''18''' #ชื่อธาตุ 55Cs 56Ba 57-71 72Hf 73Ta 74W 75Re 76Os 77Ir 78Pt 79Au 80Hg 81Tl 82Pb 83Bi 84Po 85At 86Rn แลนทาไนด์ 57La 58Ce 59Pr 60Nd 61Pm 62Sm 63Eu 64Gd 65Tb 66Dy 67Ho 68Er 69Tm 70Yb 71Lu e--conf.

ดู อโลหะและธาตุคาบ 6

ธาตุคาบ 7

ธาตุคาบ 7 (period 7 element) คือ ทั้งหมดที่อยู่ในแถวที่ 7 ของตารางธาตุ ธาตุในคาบจะรวมกลุ่มอนุกรมเคมีแอกทิไนด์ด้วย มีรายละเอียดดังนี้: ธาตุเคมีในคาบที่ 7 หมู่ '''1''' '''2''' '''3''' '''4''' '''5''' '''6''' '''7''' '''8''' '''9''' '''10''' '''11''' '''12''' '''13''' '''14''' '''15''' '''16''' '''17''' '''18''' #ชื่อธาตุ 87 Fr 88Ra 89-103 104Rf 105Db 106Sg 107Bh 108Hs 109Mt 110Ds 111Rg 112Cn 113Nh 114Fl 115Mc 116Lv 117Ts 118Og แอกทิไนด์ 89Ac 90Th 91Pa 92U 93Np 94Pu 95Am 96Cm 97Bk 98Cf 99Es 100Fm 101Md 102No 103Lr e--conf.

ดู อโลหะและธาตุคาบ 7

ธาตุคาบ 8

ธาตุคาบ 8 (period 8 element) คือทั้งหมดที่อยู่ในแถวที่ 8 ของตารางธาตุ ธาตุในคาบดังกล่าวยังไม่มีการสังเคราะห์หรือค้นพบขึ้น โดยธาตุคาบ 8 นี้เป็นการพยากรณ์โดย IUPAC (International Union of Pure and Applied Chemistry) โลหะแอลคาไล โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท แลนทาไนด์ แอกทิไนด์ โลหะทรานซิชัน โลหะหลังทรานซิชัน ธาตุกึ่งโลหะ อโลหะ แฮโลเจน ก๊าซมีตระกูล หมวดหมู่:ตารางธาตุ.

ดู อโลหะและธาตุคาบ 8

ธาตุคาบ 9

ธาตุคาบ 9 (period 9 element) คือทั้งหมดที่อยู่ในแถวที่ 9 ของตารางธาตุธาตุในคาบยังไม่มีการสังเคราะห์หรือค้นพบ ธาตุคาบ 9 นี้ถูกพยากรณ์โดย IUPAC(International Union of Pure and Applied Chemistry) โลหะแอลคาไล โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท แลนทาไนด์ แอกทิไนด์ โลหะทรานซิชัน โลหะหลังทรานซิชัน ธาตุกึ่งโลหะ อโลหะ แฮโลเจน ก๊าซมีตระกูล หมวดหมู่:ตารางธาตุ ar:عناصر الدورة التاسعة.

ดู อโลหะและธาตุคาบ 9

ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่อย่างมากมาย และยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ แบ่งออกเป็น ทรัพยากรดิน ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรน้ำ และทรัพยากรแร่ธาต.

ดู อโลหะและทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทย

คาร์บอน

ร์บอน (Carbon) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ C และเลขอะตอม 6 เป็นธาตุอโลหะที่มีอยู่มาก มีวาเลนซ์ 4 และมีหลายอัญรูป.

ดู อโลหะและคาร์บอน

ตารางธาตุ

ตารางธาตุในลักษณะที่เป็นมาตรฐาน ตารางธาตุ (Periodic table) คือ ตารางที่ใช้แสดงรายชื่อธาตุเคมี ซึ่งจัดเรียงบนพื้นฐานของเลขอะตอม (จำนวนโปรตอนในนิวเคลียส) การจัดเรียงอิเล็กตรอน และสมบัติทางเคมี โดยจะเรียงตามเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะระบุไว้ในร่วมกับสัญลักษณ์ธาตุเคมี ในกล่องของธาตุนั้น ตารางธาตุมาตรฐานจะมี 18 หมู่และ 7 คาบ และมีคาบพิเศษเพิ่มเติมมาอยู่ด้านล่างของตารางธาตุ ตารางยังสามารถเปลี่ยนเป็นการจัดเรียงตามบล็อก โดย บล็อก-s จะอยู่ซ้ายมือ บล็อก-p จะอยู่ขวามือ บล็อก-d จะอยู่ตรงกลางและบล็อก-f อยู่ที่ด้านล่าง แถวแนวนอนในตารางธาตุจะเรียกว่า คาบ และแถวในแนวตั้งเรียกว่า หมู่ โดยหมู่บางหมู่จะมีชื่อเฉพาะ เช่นแฮโลเจน หรือแก๊สมีตระกูล โดยคำนิยามของตารางธาตุ ตารางธาตุยังมีแนวโน้มของสมบัติของธาตุ เนื่องจากเราสามารถใช้ตารางธาตุบอกความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของธาตุแต่ละตัว และใช้ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ ธาตุที่ยังไม่ถูกค้นพบ หรือธาตุที่สังเคราะห์ขึ้น และด้วยความพิเศษของตารางธาตุ ทำให้มันถูกใช้อย่างกว้างขวางในการศึกษาวิชาเคมีหรือวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ ดมีตรี เมนเดเลเยฟ รู้จักกันในฐานะผู้ที่ตีพิมพ์ตารางธาตุในลักษณะแบบนี้เป็นคนแรก ใน..

ดู อโลหะและตารางธาตุ

ตารางธาตุ (กว้าง)

ตารางธาตุเคมีแบบกว้าง '''หมู่''' → '''1''' '''2''' '''3''' '''4''' '''5''' '''6''' '''7''' '''8''' '''9''' '''10''' '''11''' '''12''' '''13''' '''14''' '''15''' '''16''' '''17''' '''18''' I II III IV V VI VII VIII '''คาบ''' ↓ '''1''' 1H 2He '''2''' 3Li 4Be 5B 6C 7N 8O 9F 10Ne '''3''' 11 Na 12 Mg 13Al 14Si 15P 16S 17Cl 18Ar '''4''' 19K 20Ca 21Sc 22Ti 23V 24Cr 25Mn 26Fe 27Co 28Ni 29Cu 30Zn 31Ga 32Ge 33As 34Se 35Br 36Kr '''5''' 37Rb 38Sr 39Y 40Zr 41Nb 42Mo 43Tc 44Ru 45Rh 46Pd 47Ag 48Cd 49In 50Sn 51Sb 52Te 53I 54Xe '''6''' 55Cs 56Ba 57La 58Ce 59Pr 60Nd 61Pm 62Sm 63Eu 64Gd 65Tb 66Dy 67Ho 68Er 69Tm 70Yb 71 Lu 72Hf 73Ta 74W 75Re 76Os 77Ir 78Pt 79Au 80Hg 81Tl 82Pb 83Bi 84Po 85At 86Rn '''7''' 87 Fr 88Ra 89Ac 90Th 91Pa 92U 93Np 94Pu 95Am 96Cm 97Bk 98Cf 99Es 100Fm 101Md 102No 103Lr 104Rf 105Db 106Sg 107Bh 108Hs 109Mt 110Ds 111Rg 112Cn 113Nh 114Fl 115Mc 116Lv 117Ts 118Og อนุกรมเคมีตารางธาตุ ความหมายสีของเลขอะตอม.

ดู อโลหะและตารางธาตุ (กว้าง)

ตารางธาตุ (มาตรฐาน)

รูปแบบตารางธาตุแบบมาตรฐานที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์และเลขอะตอมของธาตุแต่ละชน.

ดู อโลหะและตารางธาตุ (มาตรฐาน)

ตารางธาตุ (โลหะ และ อโลหะ)

วามหมายสีของเลขอะตอม.

ดู อโลหะและตารางธาตุ (โลหะ และ อโลหะ)

ตารางธาตุพร้อมชื่อและน้ำหนักอะตอมใหญ่

หมวดหมู่:ตารางธาตุ.

ดู อโลหะและตารางธาตุพร้อมชื่อและน้ำหนักอะตอมใหญ่

ตารางธาตุพร้อมชื่อและน้ำหนักอะตอมเล็ก

ที่ควรรู้ นิโฮเนียม113 Nh เทนเนสซีน117 Ts *** *** น้ำหนักอะตอมโดยการประมาณเท่านั้น อนุกรมเคมีตารางธาตุ หมวดหมู่:ตารางธาตุ en:Periodic table (detailed).

ดู อโลหะและตารางธาตุพร้อมชื่อและน้ำหนักอะตอมเล็ก

ตารางธาตุแนวดิ่ง

ตารางธาตุแนวดิ่ง ความหมายสีของเลขอะตอม.

ดู อโลหะและตารางธาตุแนวดิ่ง

ปิโตรเลียม

แหล่งน้ำมันสำรองทั่วโลกที่พิสูจน์แล้วใน ค.ศ. 2009 บ่อปิโตรเลียมแห่งหนึ่งในเท็กซัส ปิโตรเลียม (petroleum, petra (หิน) + oleum (น้ำมัน) รวมหมายถึง "น้ำมันที่ได้จากหิน") หรือ น้ำมันดิบ เป็นของเหลวไวไฟที่เกิดเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วยสารผสมซับซ้อนระหว่างไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างกัน กับสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นของเหลวอื่น ๆ ซึ่งพบในชั้นธรณีวิทยาใต้ผิวโลก เป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เกิดได้จากซากสิ่งมีชีวิต (มักเป็นแพลงก์ตอนสัตว์และสาหร่าย) จำนวนมากทับถมกันใต้หินตะกอนและได้รับความร้อนและความดันมหาศาล การขุดเจาะน้ำมันเป็นวิธีการส่วนใหญ่ในการได้มาซึ่งปิโตรเลียม ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังการศึกษาโครงสร้างธรณีวิทยา การวิเคราะห์แอ่งตะกอน และลักษณะหินกักเก็บปิโตรเลียม หลังขุดเจาะขึ้นมาแล้ว ปิโตรเลียมจะถูกกลั่นและแยกเป็นผลิตภัณฑ์บริโภคหลายชนิด ตั้งแต่แก๊สโซลีนและน้ำมันก๊าด ไปจนถึงยางมะตอยและตัวทำปฏิกิริยาเคมีซึ่งใช้ในการทำพลาสติกและเภสัชภัณฑ์ นอกจากนี้ ปิโตรเลียมยังใช้ในการผลิตวัสดุอีกหลายชนิด ปิโตรเลียมมีธาตุองค์ประกอบหลัก 2 ชนิด คือ คาร์บอนและไฮโดรเจน และอาจมีธาตุอโลหะชนิดอื่นปนอยู่ด้วย เช่น กำมะถัน ออกซิเจน และไนโตรเจน ทั้งนี้ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ รวมถึงความร้อนและความดันของสภาพแวดล้อมในการเกิดและการกักเก็บปิโตรเลียม แบ่งตามสถานะได้เป็นสองชนิดหลัก คือ น้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ โดยแก๊สธรรมชาตินั้น ประกอบด้วยคาร์บอนตั้งแต่ 1-4 อะตอม.

ดู อโลหะและปิโตรเลียม

นิกโทเจน

ตุหมู่ไนโตรเจน หรือ นิโคเจน หรือ นิกโทเจน (Nitrogen group หรือ pnicogens หรือ pnictogens) คืออนุกรมเคมีของธาตุเคมีในหมู่ 15 ของตารางธาตุ ที่มีจำนวนอิเล็กตรอนในวงโคจรชั้นนอกสุดของอะตอมเท่ากับ 5 โดยอิเล็กตรอน 2 ตัวอยู่ในวงโคจรย่อยเอส (s subshell) อีก 3 ตัวอยู่ในวงโคจรย่อยพี (p subshell) ดังนั้นธาตุเหล่านี้จึงมีอิเล็กตรอน 3 ตัวอยู่ในวงโคจรนอกสุด และ 3 ตัว ในภาวะที่อะตอมไม่อยู่ในระดับไอโอไนส์ (non-ionized state) สารประกอบของธาตุเหล่านี้ เรียกว่า นิกไทด์ (pnictides).

ดู อโลหะและนิกโทเจน

แชลโคเจน

ตุหมู่แชลโคเจน (chalcogens) คือ อนุกรมเคมีของธาตุเคมีในหมู่ 16ตารางธาตุ ซึ่งอยู่ในตระกูลธาตุเดียวกับ ออกซิเจน (oxygen family) มีอีกชื่อหนึ่งว่าหมู่ออกซิเจน สารประกอบของธาตุหมู่นี้ เรียกว่า แชลโคเจไนด์ (chalcogenides).

ดู อโลหะและแชลโคเจน

แบไรต์

แบไรต์ (Barite) เป็นชื่อแร่ที่มาจากภาษากรีก ซึ่งแปลว่า “หนัก” เนื่องจากเป็นแร่ที่มีความถ่วงจำเพาะสูง รูปผลึกระบบออร์โทรอมบิก ผลึกมักเป็นแผ่นหนา ยาวขนานไปกับฐานของผลึกหรือรูปแท่งเหลี่ยมๆ หรือพบเป็นผลึกเกิดร่วมเป็นกลุ่มเหมือนดอกกุหลาบเรียก “Crested Barite” หรือ “Barite Roses” อาจพบเป็นแผ่นบางซ้อนกันค่อนข้างหนา หรือเป็นมวลเมล็ด หรือแบเนื้อด้านเหมือนดิน มีแนวแตกรียบเด่นสมบูรณ์แข็ง 3-3.5..

ดู อโลหะและแบไรต์

แนวโน้มพิริออดิก

อิเล็กโทรเนกาติวิตีเป็นแรงดึงดูดของอะตอมที่ใช้ดึงอิเล็กตรอนเข้ามา อิเล็กโทรเนกาติวิตีของอะตอมอะตอมหนึ่ง เป็นผลมาจากเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้น และระยะห่างจากนิวเคลียสถึงวาเลนซ์อิเล็กตรอน ยิ่งมีอิเล็กโทรเนกาติวิตีมากเท่าไร ความสามารถที่จะดึงดูดอิเล็กตรอนก็มากขึ้นเท่านั้น แนวคิดถูกเสนอครั้งแรกโดย ใน..

ดู อโลหะและแนวโน้มพิริออดิก

โลหะเบา

ลหะเบา คือโลหะที่มีน้ำหนักอะตอมต่ำ จุดแบ่งแยกระหว่างโลหะหนักกับโลหะเบาอาจมีการแบ่งที่ไม่เหมือนกัน แต่โลหะเบาก็มักจะมีธาตุลิเทียม เบริลเลียม โซเดียม แมกนีเซียม และอะลูมิเนียมรวมอยู่ด้วย บางครั้งโลหะเบาก็รวมไปถึงโลหะอื่นที่มีน้ำหนักอะตอมน้อยกว่าธาตุนิกเกิล และหลังจากนิกเกิลเป็นต้นไปก็เป็นโลหะหนัก ปกติแล้วโลหะเบาจะเป็นพิษน้อยกว่าโลหะหนัก โลหะเบาหลายชนิดจะเป็นพิษเมื่อมีปริมาณมาก.

ดู อโลหะและโลหะเบา

ไนโตรเจน

นโตรเจน (Nitrogen) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ N และเลขอะตอม 7 เป็นอโลหะที่มีสถานะเป็นแก๊สที่มีอยู่ทั่วไป โดยปกติไม่มีสี กลิ่น หรือรส แต่ละโมเลกุลมี 2 อะตอม ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบของบรรยากาศ ของโลกถึง 78 เปอร์เซ็นต์ และเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อในสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ไนโตรเจนยังเป็นส่วนประกอบในสารประกอบที่สำคัญหลายชนิด เช่น กรดอะมิโน แอมโมเนีย กรดไนตริก และสารจำพวกไซยาไน.

ดู อโลหะและไนโตรเจน

เจอร์เมเนียม

อร์เมเนียม (Germanium) เป็นธาตุที่อยู่ระหว่างซิลิคอน (Si) และดีบุก (Sn) สัญลักษณ์คือ Ge ในกลุ่ม IVa ของตารางธาตุ เป็นพวกเมทัลลอยด์สีเทาเงิน มีคุณสมบัติก้ำกึ่งระหว่างโลหะและอโลห.

ดู อโลหะและเจอร์เมเนียม

เคมีอนินทรีย์

มีอนินทรีย์ (Inorganic chemistry) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาเคมีว่าด้วยเรื่องคุญสมบัติและปฏิกิริยาเคมีของสารประกอบอนินทรีย์ หรืออาจจะกล่าวได้ว่าสารประกอบเคมีทุกชนิดยกเว้นสารประกอบเคมีที่มีโซ่และวงแหวนคาร์บอน แต่ก็มีสารบางกลุ่มที่เป็น ได้ทั้งอินทรีย์และอนินทรีย์เช่น ออร์แกนโนเมทัลลิกเคมี (organometallic chemistry).

ดู อโลหะและเคมีอนินทรีย์

เซลล์กัลวานี

right เซลล์กัลวานี หรือ เซลล์วอลตา (Galvanic cell หรือ Voltaic cell) เป็นเซลล์ไฟฟ้าเคมีที่ตั้งชื่อตาม ลุยจิ กัลวานี หรือ อาเลสซานโดร โวลตาตามลำดับ เซลล์นี้จะให้พลังงานไฟฟ้าจากปฏิกิริยารีดอกซ์ที่เกิดขึ้นเองภายในเซลล์ โดยทั่วไปมันจะประกอบด้วยโลหะที่ต่างกันสองชนิดเชื่อมต่อกันด้วยสะพานเกลือ หรือสองครึ่งเซลล์ที่คั่นด้วยเยื่อที่มีรูพรุน นายโวลตาเป็นผู้ประดิษฐ์เซลล์วางซ้อนโวลตาซึ่งเป็นแบตเตอรีไฟฟ้าตัวแรก ในการใช้งานทั่วไป คำว่า "แบตเตอรี" จะใช้กับเซลล์กัลวานีเดี่ยว แต่แบตเตอรีหนึ่งตัวมักประกอบด้วยเซลล์ขนาดเล็กหลายตัว.

ดู อโลหะและเซลล์กัลวานี

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ธาตุอโลหะแร่อโลหะ