โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

ดัชนี อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) หรือ ไอโอที (IoT) หมายถึงเครือข่ายของวัตถุ อุปกรณ์ พาหนะ สิ่งปลูกสร้าง และสิ่งของอื่นๆ ที่มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ เซ็นเซอร์ และการเชื่อมต่อกับเครือข่าย ฝังตัวอยู่ และทำให้วัตถุเหล่านั้นสามารถเก็บบันทึกและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งทำให้วัตถุสามารถรับรู้สภาพแวดล้อมและถูกควบคุมได้จากระยะไกลผ่านโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่มีอยู่แล้ว ทำให้เราสามารถผสานโลกกายภาพกับระบบคอมพิวเตอร์ได้แนบแน่นมากขึ้น ผลที่ตามมาคือประสิทธิภาพ ความแม่นยำ และประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อ IoT ถูกเสริมด้วยเซ็นเซอร์และแอคชูเอเตอร์ซึ่งสามารถเปลี่ยนลักษณะทางกลได้ตามการกระตุ้น ก็จะกลายเป็นระบบที่ถูกจัดประเภทโดยทั่วไปว่าระบบไซเบอร์-กายภาพ (cyber-physical system) ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีอย่าง กริดไฟฟ้าอัจริยะ (สมาร์ตกริด) บ้านอัจฉริยะ (สมาร์ตโฮม) ระบบขนส่งอัจฉริยะ (อินเทลลิเจนต์ทรานสปอร์ต) และเมืองอัจฉริยะ (สมาร์ตซิตี้) วัตถุแต่ละชิ้นสามารถถูกระบุได้โดยไม่ซ้ำกันผ่านระบบคอมพิวเตอร์ฝังตัว และสามารถทำงานร่วมกันได้บนโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่าเครือข่ายของสรรพสิ่งจะมีวัตถุเกือบ 50,000 ล้านชิ้นภายในปี 2020 มูลค่าตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 80 พันล้านเหรียญ "สรรพสิ่ง" ในความหมายของ IoT สามารถหมายถึงอุปกรณ์ที่แตกต่างหลากหลาย เช่น อุปกรณ์วัดอัตราหัวใจแบบฝังในร่างกาย แท็กไบโอชิปที่ติดกับปศุสัตว์ ยานยนต์ที่มีเซ็นเซอร์ในตัว อุปกรณ์วิเคราะห์ดีเอ็นเอในสิ่งแวดล้อมหรืออาหาร หรืออุปกรณ์ภาคสนามที่ช่วยในการทำงานของนักผจญเพลิงในภารกิจค้นหาและช่วยเหลือI.

4 ความสัมพันธ์: บล็อกเชนกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยอุตสาหกรรม 4.0ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)

บล็อกเชน

แผนภาพของบล็อกเชน (หรือโซ่บล็อก) สายโซ่หลักมีบล็อกต่อกันยาวสุดตั้งแต่บล็อกเริ่มต้น (สีเขียว) จนถึงบล็อกปัจจุบัน บล็อกกำพร้า (สีม่วง) จะอยู่นอกโซ่หลัก บล็อกเชน#timestamping block for bitcoin --> บล็อกเชน (blockchain) หรือว่า โซ่บล็อก ซึ่งคำอังกฤษดั้งเดิมเป็นคำสองคำคือ block chain เป็นรายการระเบียน/บันทึก (record) ที่เพิ่มขึ้น/ยาวขึ้นเรื่อย ๆ โดยแต่ละรายการเรียกว่า บล็อก ซึ่งนำมาเชื่อมต่อเป็นลูกโซ่ (เชน) โดยตรวจสอบความถูกต้องและรับประกันความปลอดภัยโดยวิทยาการเข้ารหัสลับ บล็อกแต่ละบล็อกปกติจะมีค่าแฮชของบล็อกก่อนหน้าซึ่งสามารถใช้ยืนยันความถูกต้องของบล็อกก่อนหน้า มีตราเวลาและข้อมูลธุรกรรม บล็อกเชนออกแบบให้ทนทานต่อการเปลี่ยนข้อมูลที่บันทึกแล้ว คือมันเป็น "บัญชีแยกประเภท (ledger) แบบกระจายและเปิด ที่สามารถบันทึกธุรกรรมระหว่างบุคคลสองพวกอย่างมีประสิทธิภาพ ในรูปแบบที่ยืนยันได้และถาวร" เมื่อใช้เป็นบัญชีแยกประเภทแบบกระจาย บล็อกเชนปกติจะจัดการโดยเครือข่ายเพียร์ทูเพียร์ ซึ่งร่วมกันใช้โพรโทคอลเดียวกันเพื่อการสื่อสารระหว่างสถานี (node) และเพื่อยืนยันความถูกต้องของบล็อกใหม่ ๆ เมื่อบันทึกแล้ว ข้อมูลในบล็อกใดบล็อกหนึ่ง จะไม่สามารถเปลี่ยนย้อนหลังโดยไม่เปลี่ยนข้อมูลในบล็อกต่อ ๆ มาทั้งหมดด้วย ซึ่งจะทำได้ก็ต่อเมื่อได้การร่วมมือจากสถานีโดยมากในเครือข่าย บล็อกเชนออกแบบมาตั้งแต่ต้นเพื่อให้ปลอดภัย (secure by design) และเป็นตัวอย่างของระบบคอมพิวเตอร์แบบกระจายที่ทนต่อความผิดพร่องแบบไบแซนไทน์ได้สูง ดังนั้น ความเห็นพ้องแบบไม่รวมศูนย์ จึงเกิดได้โดยอาศัยบล็อกเชน ซึ่งอาจทำให้มันเหมาะเพื่อบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ, บันทึกระเบียนการแพทย์, ในการจัดการบริหารระเบียนแบบอื่น ๆ เช่น การจัดการผู้มีสิทธิเข้าถึงระบบ (identity management), การประมวลผลธุรกรรม, การสร้างเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของ, การตามรอยการผลิตและขนส่งอาหาร, หรือการใช้สิทธิออกเสียง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลผู้ใช้นามแฝง ซาโตชิ นากาโมโตะ ได้ประดิษฐ์บล็อกเชนขึ้นในปี 2008 (พ.ศ. 2551) เพื่อใช้กับเงินคริปโทสกุลบิตคอยน์ โดยเป็นบัญชีแยกประเภทแบบกระจาย บล็อกเชนทำให้บิตคอยน์เป็นเงินดิจิทัลสกุลแรกที่แก้ปัญหาการใช้จ่ายสินทรัพย์เกินกว่าครั้งเดียว (Double spending problem) ได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีบุคคลที่สามซึ่งเชื่อใจหรือมีคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง เป็นการออกแบบซึ่งเป็นแรงบันดาลใจสำหรับโปรแกรมประยุกต์อีกมากมายหลายอย่าง ในกรณีของบิตคอยน์ ผู้ใช้งานจะทำการโดยเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถซื้อขายและยืนยันการใช้จ่ายบิตคอยน์ โดยจะมีการสร้างบล็อกขึ้นใหม่เพื่อเก็บรายการการซื้อขายแลกเปลี่ยน ในอัตราประมาณหนึ่งบล็อกต่อ 10 นาที และแต่ละบล็อกจะมีจำนวนธุรกรรมเฉลี่ยมากกว่า 500 รายการ.

ใหม่!!: อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งและบล็อกเชน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย

รงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เป็นกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นจากวัตถุประสงค์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สัมพันธ์ ทองสมัคร เพื่อสนองพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ที่ทรงมุ่งมั่นจะส่งเสริมคุณภาพชีวิต ในด้านความเป็นอยู่และการศึกษาของเยาวชน ปัจจุบันเป็นโรงเรียนที่อยู่ในแผนและยุทธศาสตร์ สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ โดยจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนส่งเสริมให้เด็กคิดเป็น และกล้าลงมือทำ โดยโรงเรียนจะสนับสนุนทั้งด้านอุปกรณ์การเรียนการสอน อุปกรณ์ในห้องทดลองที่มีครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการของเด็ก ในการศึกษาคนคว้าส่งที่ตนเองสนใจได้เอง โดยมีอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถ คอยให้คำปรึกษาและสนับสนุนให้เด็กแสดงศักยภาพของตนได้อย่างเต็มที.

ใหม่!!: อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งและกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

อุตสาหกรรม 4.0

อุตสาหกรรม 4.0 หรือการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 คือชื่อเรียกรูปแบบการจัดการอุตสาหกรรมที่กำลังนิยมในปัจจุบันโดยเป็นการนำสารสนเทศมาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีอุตสาหกรรม โดยประกอบด้วย cyber-physical system, Internet of things และ cloud computingHermann, Pentek, Otto, 2016:, accessed on 4 May 2016 โดยอุตสาหกรรม 4.0 เป็นรูปแบบของการทำงานอย่างชาญฉลาด (smart) โดยการนำข้อมูลที่หลากหลายมาผสมผสานเพื่อให้เกิดการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และทันเวลา ทั้งในรูปแบบการจัดการด้วยมนุษย์ และการจัดการด้วยระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ชื่อเรียก "อุตสาหกรรม 4.0" มีที่มีจากโครงการ Industrie 4.0 ของรัฐบาลประเทศเยอรมนีในกลยุทธ์การวางแผนพัฒนาอุตสาหกรรมที่นำระบบดิจิตัลเข้ามาเป็นแกนหลัก.

ใหม่!!: อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งและอุตสาหกรรม 4.0 · ดูเพิ่มเติม »

ทอร์ (เครือข่ายนิรนาม)

#ทอร์เบราว์เซอร์ --> ทอร์ (Tor) เป็นซอฟต์แวร์เสรี (ฟรี) ที่ช่วยให้สื่อสารทางอินเทอร์เน็ตอย่างนิรนามได้ด้วยการจัดเส้นทางการสื่อสารแบบหัวหอม รวมทั้งช่วยให้สามารถเรียกดูเว็บไซต์บางแห่งที่ถูกเซ็นเซอร์ได้ ส่วนชื่อเป็นอักษรย่อจากโปรเจ็กต์ซอฟต์แวร์ดั้งเดิมคือ "The Onion Router" (เราเตอร์หัวหอม) ทอร์ส่งการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายทั่วโลก ฟรี ให้บริการโดยอาสาสมัคร และมีสถานีส่งต่อ/รีเลย์มากกว่า 7,000 สถานี เพื่อซ่อนตำแหน่งและการใช้งานของผู้ใช้จากใครก็ได้ที่ทำการเพื่อสอดแนมทางเครือข่าย หรือเพื่อวิเคราะห์การสื่อสาร เพราะการใช้ทอร์จะทำให้ตามรอยกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ตกลับไปหาผู้ใช้ได้ยากขึ้น ซึ่งรวมทั้ง "การเยี่ยมใช้เว็บไซต์ การโพสต์ข้อความออนไลน์ การส่งข้อความทันที และรูปแบบการสื่อสารอื่น ๆ" ทอร์มุ่งหมายเพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ รวมทั้งป้องกันเสรีภาพและให้สมรรถภาพในการสื่อสารอย่างเป็นส่วนตัว โดยป้องกันการสื่อสารไม่ให้เฝ้าสังเกตได้ การจัดเส้นทางแบบหัวหอม (Onion routing) ทำให้เกิดผลโดยการเข้ารหัสลับในชั้นโปรแกรมประยุกต์ของโพรโทคอลสแตกที่ใช้ในการสื่อสาร โดยทำเป็นชั้น ๆ เหมือนกับของหัวหอม คือทอร์จะเข้ารหัสข้อมูล รวมทั้งเลขที่อยู่ไอพีของโหนดหรือสถานีต่อไปเป็นชั้น ๆ แล้วส่งข้อมูลผ่านวงจรเสมือนที่ประกอบด้วยสถานีรีเลย์ของทอร์ที่เลือกโดยสุ่มเป็นลำดับ ๆ สถานีรีเลย์แต่ละสถานีจะถอดรหัสชั้นการเข้ารหัสชั้นหนึ่ง เพื่อหาว่า สถานีไหนเป็นรีเลย์ต่อไปในวงจร แล้วส่งข้อมูลเข้ารหัสที่เหลือไปให้ สถานีสุดท้ายจะถอดรหัสชั้นลึกสุด แล้วส่งข้อมูลดั้งเดิมไปยังเป้าหมายโดยไม่เปิดเผยและก็ไม่รู้ด้วยถึงเลขที่อยู่ไอพีซึ่งเป็นแหล่งเบื้องต้น เพราะการจัดเส้นทางการสื่อสารจะปิดไว้ส่วนหนึ่ง ณ สถานีเชื่อมต่อทุก ๆ สถานีภายในวงจร วิธีการนี้กำจัดจุด ๆ เดียวชนิดที่การสอดแนมทางเครือข่ายอาจกำหนดต้นปลายการสื่อสาร แต่ฝ่ายตรงข้ามก็อาจพยายามระบุผู้ใช้โดยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งอาจทำได้โดยการถือเอาประโยชน์จากจุดอ่อนของซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ เช่น สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐมีเทคนิคที่ใช้จุดอ่อนหนึ่งที่ตั้งชื่อรหัสว่า EgotisticalGiraffe ในเว็บเบราว์เซอร์มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ล้าสมัยรุนหนึ่ง ที่เคยรวมแจกจ่ายกับชุดโปรแกรมทอร์ และโดยทั่วไป สำนักงานจะเพ่งเล็งเฝ้าสังเกตผู้ใช้ทอร์ในโปรแกรมการสอดแนม XKeyscore ขององค์กร การโจมตีทอร์เป็นประเด็นงานวิจัยที่ยังดำเนินการอยู่ ซึ่งโปรเจ็กต์ทอร์เองก็สนับสนุน อย่างไรก็ดี ไม่ใช่เพียงแค่ครั้งหนึ่งเท่านั้นเมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 ที่ทอร์ได้พัฒนาขึ้นโดยบุคคลที่อยู่ใต้สัญญาการว่าจ้างจากสำนักงานโปรเจ็กต์การวิจัยก้าวหน้าของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ (DARPA) และจากแล็บวิจัยกองทัพเรือสหรัฐ (U.S. Naval Research Laboratory) แต่ตั้งแต่เริ่มโครงการมา เงินทุนโดยมากก็มาจากรัฐบาลกลางสหรั.

ใหม่!!: อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งและทอร์ (เครือข่ายนิรนาม) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Internet of ThingsInternet of things

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »