โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อานาโตเลีย

ดัชนี อานาโตเลีย

อานาโตเลีย (อังกฤษ: (Anatolia), กรีก: ανατολή หมายถึง "อาทิตย์อุทัย" หรือ "ตะวันออก") นิยมเรียกในภาษาละตินว่า เอเชียน้อย อีกด้วย เป็นดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป คาบสมุทรอานาโตเลียมีพื้นที่ประมาณ 757,000 ตร.กม.

132 ความสัมพันธ์: บริเวณเมดิเตอร์เรเนียนชาวกรีกชาวเคลต์ช่องแคบบอสพอรัสช่องแคบตุรกีพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์พฤกษาพักตร์พอนตัสพีดาเนียส ไดออสคอริดีสกบฏไอโอเนียกลุ่มชนอิหร่านกลุ่มภาษาอานาโตเลียกลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือกลุ่มภาษาคอเคเซียนกลุ่มภาษาเคลต์กองทัพมาเกโดเนียโบราณการพลัดถิ่นการล้อมโรดส์ (ค.ศ. 1522)การสำรวจการค้าระหว่างโรมันกับอินเดียการเคลื่อนย้ายเรลิกภาษากรีกภาษายูราร์เทียภาษาลิเชียภาษาลูเวียภาษาอาหรับเมโสโปเตเมียเหนือภาษาฮิตไทต์ภาษาคาเรียภาษาซาซากิภูมิศาสตร์เอเชียมารีย์ชาวมักดาลายอห์นอัครทูตยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสารยุทธการที่กอกามีลายุทธการที่ไอโคเนียม (ค.ศ. 1190)ยุทธการที่เทอร์มอพิลียุคโลหะรัฐสุลต่านรูมรัฐนักรบครูเสดราชวงศ์เซลจุครายชื่อทุพภิกขภัยรายการสุริยุปราคาในสมัยโบราณลิเชียลิเดียลิเดีย (แก้ความกำกวม)วัฒนธรรมลาแตนศาสนาคริสต์ศาสนาคริสต์ตะวันออกศิลปะยุคกรีกสกุลผักกาดหอม...สมัยการย้ายถิ่นสหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาลสะอ์ดีสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่สองสุลัยมานผู้เกรียงไกรสุลต่านออสมันที่ 1สุสานแห่งฮาลิคาร์นัสเซิสสงครามกรีก-เปอร์เซียสงครามสันนิบาตดีเลียนสงครามครูเสดสงครามครูเสดครั้งที่ 1สงครามครูเสดครั้งที่ 2สงครามครูเสดครั้งที่ 3สงครามครูเสดครั้งที่ 5สงครามประกาศอิสรภาพตุรกีสงครามโรมัน-เซลูซิดสงครามไบแซนไทน์-อาหรับสงครามเพโลพอนนีเซียนสเตปป์หญ้าฝรั่นอักษรลิเชียอักษรลิเดียอักษรคาเรียอัศวินฮอสปิทัลเลอร์อาร์ซิโนเอที่ 2อิบน์ อัลบัยฏอรอิสตันบูลอิซมีร์อึสกือดาร์อีเลฟเทริออส เวนิเซลอสอเล็กซานเดอร์มหาราชฮันนิบาลจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอสจักรพรรดินีเฮเลนาจักรพรรดิไอแซ็คที่ 2 อันเจลอสจักรวรรดิพาลไมรีนจักรวรรดิอะคีเมนิดจักรวรรดิโรมันจักรวรรดิไบแซนไทน์จักรวรรดิไนเซียจักรวรรดิเซลจุคทวีปเอเชียทะเลดำทิกลัธ-ไพลีเซอร์ที่ 1งานฝังประดับวัสดุตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนตะวันออกใกล้ซินานประวัติศาสตร์อานาโตเลียประวัติศาสตร์ฮิตไทต์ประวัติศาสตร์โรมประวัติศาสนาคริสต์ประเทศกรีซประเทศอิหร่านประเทศตุรกีปลาแค้ติดหินปูนปลาสเตอร์นกทึดทือพันธุ์เหนือนักบุญลองกินุสนักบุญจอร์จนักบุญนิโคลัสแอแนกแซเกอเริสแคว้นตอสคานาแคปพาโดเชียแคเธอรินแห่งอะเล็กซานเดรียโรมโบราณโคสัมฤทธิ์ไกเซรีไมซีนีไอโอเนียเกอเรเมเมโสโปเตเมียเส้นทางการค้าเส้นเมริเดียนที่ 27 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนที่ 28 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนที่ 29 องศาตะวันออกเอฟิซัสเฮราคลิตุสเฮสิโอดเฮอรอโดทัสเซนอฟะนีส10 มิถุนายน ขยายดัชนี (82 มากกว่า) »

บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน

ริเวณเมดิเตอร์เรเนียนที่ปลูกมะกอกได้ แผนที่การเมืองของบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean area) ประกอบด้วยดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในความหมายทางชีวภูมิศาสตร์ (biogeography) “บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน” หมายถึงบริเวณที่มีภูมิอากาศแบบภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนที่อุ่น, มีฝนตกระหว่างฤดูหนาว, แห้งระหว่างหน้าร้อนที่เหมาะแก่พืชพันธุ์เมดิเตอร์เรเนียน กฎที่ว่ากันง่ายๆ คือเป็นบริเวณ “โลกเก่า” (Old World) ที่ปลูกมะกอกได้.

ใหม่!!: อานาโตเลียและบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวกรีก

วกรีก (Έλληνες) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการกระจายที่กรีซ, ไซปรัส, อานาโตเลียตะวันตก, อิตาลีใต้ และอีกหลายภูม.

ใหม่!!: อานาโตเลียและชาวกรีก · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเคลต์

ริเวณที่ยังมีการใช้ภาษากลุ่มเคลต์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เคลต์ หรือ เซลต์ (Celts; หรือ) เป็นคำที่ใช้เรียกชนยุโรปที่เดิมพูดหรือยังพูดภาษากลุ่มเคลต์ (Celtic languages) นอกจากนั้นก็ยังเป็นคำที่ใช้ในความหมายกว้าง ๆ ในการบรรยายผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวเคลต์ที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมเคลต์อยู่ เคลต์ในประวัติศาสตร์เป็นกลุ่มชนหลายกลุ่มในยุคเหล็กยุโรป อารยธรรมเคลต์ดั้งเดิมเริ่มก่อตั้งในสมัยต้นยุคเหล็กในตอนกลางของทวีปยุโรป (สมัยวัฒนธรรมฮัลล์ชตัทท์ที่ตั้งชื่อตามบริเวณที่เป็นออสเตรียปัจจุบัน) พอมาถึงปลายยุคเหล็ก (สมัยลาแตน) เคลต์ก็ขยายตัวไปในดินแดนต่าง ๆ ที่รวมทั้งทางตะวันตกที่ไปถึงไอร์แลนด์และคาบสมุทรไอบีเรีย ทางตะวันออกไปสุดที่กาเลเชีย (Galatia) (กลางอานาโตเลีย) และทางเหนือสุดที่สกอตแลนด์ หลักฐานแรกที่บ่งถึงภาษาเคลต์อยู่ในคำจารึกในภาษาเลพอนติค (Lepontic language) จากคริสต์ศตวรรษที่ 6 กลุ่มภาษาเคลต์ภาคพื้นยุโรปมีหลักฐานเฉพาะชื่อสถานที่ กลุ่มภาษาเคลต์เกาะ (Insular Celtic) ปรากฏในหลักฐานจากคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในคำจารึกออกัม (Ogham inscription) อารยธรรมทางวรรณกรรมเริ่มด้วยการใช้ภาษาไอริชเก่าตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 วรรณกรรมไอริชสมัยต้น เช่น "Táin Bó Cúailnge" มีหลักฐานมาจนถึงฉบับแก้ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่หนึ่งหลังการขยายดินแดนของจักรวรรดิโรมันและสมัยการย้ายถิ่นฐาน (Migration Period) ของกลุ่มชนเจอร์แมนิกแล้ว อารยธรรมเคลต์ก็จำกัดอยู่แต่เพียงหมู่เกาะบริติช (ภาษาเคลต์เกาะ) และภาษาเคลต์ยุโรปก็หยุดใช้กันไปในคริสต์ศตวรรษที่ 6 เคลต์เกาะที่ว่าหมายถึงดินแดนรอบทะเลไอริช รวมทั้งคอร์นวอลล์และบริตตานีบนสองฝั่งของช่องแคบอังกฤษ.

ใหม่!!: อานาโตเลียและชาวเคลต์ · ดูเพิ่มเติม »

ช่องแคบบอสพอรัส

กอากาศของช่องแคบบอสฟอรัส ช่องแคบบอสพอรัส (Bosporus Strait) หรือ ช่องแคบบอสฟอรัส (Bosphorus Strait) หรือ ช่องแคบอิสตันบูล (İstanbul Boğazı) เป็นช่องแคบที่กั้นระหว่างตุรกีเธรซที่อยู่ในทวีปยุโรปกับคาบสมุทรอานาโตเลียในทวีปเอเชีย เป็นช่องแคบหนึ่งของตุรกีคู่กับช่องแคบดาร์ดะเนลส์ทางตอนใต้ที่เชื่อมกับทะเลอีเจียน ช่องแคบบอสฟอรัสทางตอนเหนือและช่องแคบดาร์ดาเนลส์ทางตอนใต้เชื่อมระหว่างทะเลดำกับทะเลมาร์มะราซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ช่องแคบบอสฟอรัสยาวราว 30 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดกว้าง 3,700 เมตร ส่วนที่แคบที่สุดกว้าง 700 เมตร ความลึกระหว่าง 36 ถึง 124 เมตร ฝั่งทะเลของช่องแคบเป็นเมืองอิสตันบูลที่มีประชากรหนาแน่นถึงราว 11 ล้านคน.

ใหม่!!: อานาโตเลียและช่องแคบบอสพอรัส · ดูเพิ่มเติม »

ช่องแคบตุรกี

ช่องแคบบอสฟอรัส (แดง), ช่องแคบดาร์ดะเนลส์ (เหลือง), และมีทะเลมาร์มาราอยู่ตรงกลาง ช่องแคบตุรกี (Turkish Straits) เป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญอันดับต้น ๆ ของโลก ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศตุรกี โดยเชื่อมต่อระหว่างทะเลอีเจียน, ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทะเลดำ โดยช่องแคบตุรกีประกอบไปด้วยช่องแคบดาร์ดะเนลส์, ทะเลมาร์มารา และช่องแคบบอสฟอรัส โดยเป็นช่องแคบที่สำคัญอย่างมากต่อตุรกีในการควบคุมน่านน้ำภายในและช่องแคบดังกล่าวได้ใช้ในการพิจารณาในการแบ่งเขตแดนระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปยุโรป นอกจากนี้ ยังเป็นการแบ่งระหว่างตุรกีฝั่งยุโรป (East Thrace) ที่มีขนาดพื้นที่ 23,764 ตารางกิโลเมตร (คิดเป็นร้อยละ 3.09 ของพื้นที่ทั้งประเทศ) กับดินแดนอานาโตเลีย หมวดหมู่:ช่องแคบ หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ตุรกี.

ใหม่!!: อานาโตเลียและช่องแคบตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์

แผนที่แสดงเขตพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์เป็นสีแดง เขต พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ (Fertile Crescent) ที่รู้จักกันโดยเป็นอู่อารยธรรม เป็นบริเวณรูปจันทร์เสี้ยวที่รวมแผ่นดินที่ชื้นและอุดมสมบูรณ์โดยเทียบกับบริเวณข้างเคียงในเอเชียตะวันตกที่เป็นเขตกึ่งแห้งแล้ง และรวมบริเวณรอบ ๆ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำและลุ่มแม่น้ำไนล์ เป็นบริเวณอยู่ติดกับเขตเอเชียน้อยหรือที่เรียกว่าอานาโตเลีย คำนี้เริ่มใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์โบราณ แล้วต่อมาจึงกลายมาเป็นคำที่นิยมใช้ในโลกตะวันตกแม้ในสาขาภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitics) และในเรื่องความสัมพันธ์ทางการทูต ความหมายทั้งหมดที่มีของคำนี้ ล้วนรวมเขตเมโสโปเตเมีย คือผืนแผ่นดินรอบ ๆ แม่น้ำไทกริสและแม่น้ำยูเฟรทีส และรวมเขตลิแวนต์ คือฝั่งทิศตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศต่าง ๆ ปัจจุบันที่มีดินแดนร่วมอยู่ในเขตนี้รวมทั้งประเทศอิรัก คูเวต ซีเรีย เลบานอน จอร์แดน อิสราเอล และปาเลสไตน์ โดยอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศตุรกีและทางทิศตะวันตกของอิหร่าน เขตนี้บ่อยครั้งเรียกว่าอู่อารยธรรม (cradle of civilization) เพราะเป็นเขตที่เกิดพัฒนาการเป็นอารยธรรมมนุษย์แรก ๆ สุด ซึ่งเจริญรุ่งเรืองโดยอาศัยทรัพยากรน้ำและเกษตรกรรมที่มีอยู่ในเขต ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในเขตนี้รวมทั้งการพัฒนาภาษาเขียน การทำแก้ว ล้อ และระบบชลประทาน.

ใหม่!!: อานาโตเลียและพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

พฤกษาพักตร์

ันทวยพฤกษพักตร์ในรูปของลายใบอาแคนธัสรองรับประติมากรรมนายอาชาแห่งแบมเบิร์กภายในมหาวิหารแบมเบิร์กที่แกะสลักเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 พฤกษาพักตร์ หรือ รุกขามนุษย์ (Green Man) คือประติมากรรม, จิตรกรรม หรือรูปสัญลักษณ์อื่นๆ ของใบหน้าที่ล้อมรอบไปด้วยใบไม้ กิ่งไม้ หรือเถาไม้เลื้อย ที่งอกออกมาจากจมูก ปาก หรือส่วนอื่นๆ ของใบหน้า ไม้ที่งอกออกมาอาจจะมีดอกมีผลด้วยก็ได้ การตกแต่งด้วยพฤกษพักตร์มักจะใช้สำหรับเป็นสิ่งตกแต่งของสถาปัตยกรรม พฤกษาพักตร์มักจะพบในรูปของประติมากรรมทั้งภายนอกและภายในคริสต์ศาสนสถาน และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ของคฤหัสน์ นอกจากนั้น “The Green Man” ยังเป็นชื่อที่นิยมใช้กันสำหรับสิ่งก่อสร้างสารธาณะ และปรากฏในหลายรูปหลายลักษณะเช่นบนป้ายโรงแรมเล็กๆ ที่บางครั้งอาจจะเป็นรูปเต็มตัวที่ไม่แต่จะเป็นเพียงเป็นใบหน้าเท่านั้น ลักษณะพฤกษาพักตร์มีด้วยกันหลายแบบหลายลักษณะ และพบในวัฒนธรรมต่างๆ ทั่วโลก พฤกษาพักตร์มักจะเป็นเทพารักษ์ที่เกี่ยวกับพันธุ์ไม้ที่มีมาในวัฒนธรรมต่างๆ ตลอดมาในประวัติศาสตร์ โดยทั่วไปแล้วก็มักจะตีความหมายกันว่าพฤกษาพักตร์เป็นนัยยะของการเกิดใหม่ที่เป็นสัญลักษณ์ของวัฏจักรของการเจริญเติบโตเมื่อย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิของแต่ละปีที่มาถึง บ้างก็สันนิษฐานว่าพฤกษาพักตร์เป็นตำนานที่พัฒนาขึ้นมาต่างหากจากความเชื่ออื่นๆ ในสมัยโบราณ และวิวัฒนาการต่อมาจนแตกแยกกันออกไปในวัฒนธรรมต่างๆ ที่เห็นได้จากตัวอย่างในของพฤกษาพักตร์ในสมัยต่างๆ ของประวัติศาสตร.

ใหม่!!: อานาโตเลียและพฤกษาพักตร์ · ดูเพิ่มเติม »

พอนตัส

อนตัส (Pontus; Πόντος) เป็นอดีตภูมิภาคกรีกทางฝั่งทะเลตอนใต้ของทะเลดำที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือสุดของประเทศตุรกีปัจจุบัน.

ใหม่!!: อานาโตเลียและพอนตัส · ดูเพิ่มเติม »

พีดาเนียส ไดออสคอริดีส

ประกอบแบล็กเบอร์รีในต้นฉบับ ''Vienna Dioscurides'' สมัยศตวรรษที่ 6 พีดาเนียส ไดออสคอริดีส (Pedanius Dioscorides; Πεδάνιος Διοσκουρίδης; ประมาณ ค.ศ. 40 – ค.ศ. 90) เป็นแพทย์ นักเภสัชวิทยาและนักพฤกษศาสตร์ เกิดที่เมืองอนาซาร์บัสในอานาโตเลีย (ตุรกีในปัจจุบัน) ไดออสคอริดีสศึกษาวิชาแพทย์ที่กรุงโรมในรัชสมัยจักรพรรดินีโรและภายหลังทำงานเป็นศัลยแพทย์ในกองทัพ ทำให้เขาได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาสมุนไพรต่าง ๆ ทั่วทั้งจักรวรรดิ ประมาณปี..

ใหม่!!: อานาโตเลียและพีดาเนียส ไดออสคอริดีส · ดูเพิ่มเติม »

กบฏไอโอเนีย

กบฏไอโอเนีย (Ionian Revolt) เกิดขึ้นระหว่างปีที่ 499–493 ก่อนคริสตกาล เป็นการกบฏในภูมิภาคไอโอเนียของเอเชียน้อยต่อการปกครองของจักรวรรดิอะคีเมนิด (เปอร์เซีย) จุดเริ่มต้นมาจากการแต่งตั้งทรราชขึ้นปกครองชาวกรีกของชาวเปอร์เซียและการปลุกปั่นจากอริสตาโกรัส ผู้ปกครองไมลีตัส หลังอริสตาโกรัสนำทัพร่วมกับเปอร์เซียบุกเกาะนักซอสแต่ล้มเหลว อริสตาโกรัสซึ่งกลัวว่าตนจะถูกปลดออกจากตำแหน่งผู้ปกครองจึงปลุกปั่นให้ชาวกรีกในไอโอเนียก่อกบฏต่อจักรพรรดิดาไรอัสมหาราชแห่งเปอร์เซีย ในปีที่ 498 ก่อนคริสตกาล กองทัพกบฏที่ได้กำลังสนับสนุนจากเอเธนส์และอีรีเทรียยึดและเผาเมืองซาร์ดิส ระหว่างยกทัพกลับ ฝ่ายกบฏได้ปะทะกับทัพเปอร์เซียที่ตามมาที่เอฟิซัส โดยฝ่ายกบฏเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ปีต่อมา ฝ่ายเปอร์เซียทำสงครามเพื่อยึดดินแดนคืน แต่การกบฏแผ่ไปในแคเรีย ดอริเซส แม่ทัพชาวเปอร์เซียจึงยกทัพไปที่นั่น ถึงแม้ปฏิบัติการช่วงแรกจะประสบความสำเร็จ แต่ความพ่ายแพ้ในยุทธการที่เพดาซัสและการสูญเสียแม่ทัพดอริเซสของฝ่ายเปอร์เซีย ทำให้สถานการณ์ของทั้งสองฝ่ายอยู่ในสภาวะหยุดนิ่ง ในปีที่ 494 ก่อนคริสตกาล ทัพบกและทัพเรือเปอร์เซียตัดสินใจบุกไมลีตัส เมืองใจกลางของกลุ่มกบฏและได้รับชัยชนะในยุทธการที่ลาเด การแปรพักตร์ของซามอสทำให้ไมลีตัสถูกยึด ชัยชนะทั้งสองครั้งของเปอร์เซียทำให้การกบฏสิ้นสุดลง เมืองแคเรียยอมแพ้ต่อฝ่ายเปอร์เซีย ปีต่อมา ฝ่ายเปอร์เซียยกทัพไปจัดการเมืองต่าง ๆ ที่ยังแข็งข้อและทำสนธิสัญญาสันติภาพกับไอโอเนีย การกบฏไอโอเนียถือเป็นความขัดแย้งครั้งแรกระหว่างกรีซและเปอร์เซียและเป็นช่วงแรกของสงครามกรีก-เปอร์เซีย ถึงแม้จะได้เอเชียน้อยกลับมาอยู่ใต้อำนาจ แต่จักรพรรดิดาไรอัสต้องการลงโทษเอเธนส์และอีรีเทรียที่สนับสนุนกลุ่มกบฏ นอกจากนี้พระองค์ยังมองว่านครรัฐกรีกต่าง ๆ ยังคงเป็นภัยต่อจักรวรรดิ ดังนั้นในปีที่ 492 ก่อนคริสตกาล จักรพรรดิดาไรอัสจึงสั่งบุกกรีซอีกครั้งเพื่อหวังจะยึดนครรัฐกรีกทั้งหม.

ใหม่!!: อานาโตเลียและกบฏไอโอเนีย · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชนอิหร่าน

ูมิศาสตร์การกระจายของภาษากลุ่มอิหร่าน กลุ่มชนอิหร่าน (Iranian peoples) เป็นกลุ่มชาติพันธ์ของตระกูลอินโด-ยูโรเปียนที่ตั้งถิ่นฐานส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณที่ราบสูงอิหร่าน โดยผู้พูดภาษาอยู่ในตระกูลภาษากลุ่มอิหร่านและชาติพันธุ์ของสังคมที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบันเช่นชาวเปอร์เซีย, ชาวออสเซเตีย, ชาวเคิร์ด, ชาวปาทาน, ชาวทาจิก, ชาวบาโลช, และZaza People Lurs.

ใหม่!!: อานาโตเลียและกลุ่มชนอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาอานาโตเลีย

การแผ่ขยายของจักรวรรดิฮิตไทต์ บริเวณที่เคยใช้ภาษาลูเวีย บริเวณล่าสุดที่เคยใช้กลุ่มภาษาอานาโตเลีย กลุ่มภาษาอานาโตเลีย (Anatolian languages)เป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนที่ตายแล้ว เคยใช้พูดในบริเวณเอเชียไมเนอร์ ภาษาที่เป็นที่รู้จักดีที่สุดคือ ภาษาฮิตไทต.

ใหม่!!: อานาโตเลียและกลุ่มภาษาอานาโตเลีย · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือ

right กลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest Caucasian languages) หรือกลุ่มภาษาปอนดิก หรืออับคาซ-อะดืยเก เป็นกลุ่มของภาษาที่ใช้พูดในเทือกเขาคอเคซัสโดยเฉพาะในรัสเซีย จอร์เจีย และตุรกี และมีผู้พูดภาษาเหล่านี้กลุ่มเล็กๆในตะวันออกกลาง.

ใหม่!!: อานาโตเลียและกลุ่มภาษาคอเคซัสตะวันตกเฉียงเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาคอเคเซียน

กลุ่มภาษาคอเคเซียน (Caucasian languages)เป็นกลุ่มภาษาใหญ่ที่มีผู้พูดมากกว่า 10 ล้านคนในบริเวณเทือกเขาคอเคซัสของยุโรปตะวันออกและเอเชียตะวันตกซึ่งอยู่ระหว่างทะเลดำกับทะเลสาบแคสเปียน นักภาษาศาสตร์จัดแบ่งภาษาในบริเวณนี้ออกเป็นหลายตระกูล ภาษาบางกลุ่มไม่พบผู้พูดนอกบริเวณเทือกเขาคอเคซัสจึงเรียกว่ากลุ่มภาษาคอเคซั.

ใหม่!!: อานาโตเลียและกลุ่มภาษาคอเคเซียน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเคลต์

กลุ่มภาษาเคลต์เป็นลูกหลานของภาษาเคลต์ตั้งเดิมหรือภาษาเคลต์ทั่วไปซึ่งเป็นภาษาในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน คำว่าเคลต์เป็นคำที่ประดิษฐ์โดย Edward Lhuyd เมื่อ..

ใหม่!!: อานาโตเลียและกลุ่มภาษาเคลต์ · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพมาเกโดเนียโบราณ

กองทัพของราชอาณาจักรมาเกโดนีอา นับเป็นหนึ่งในกองกำลังทางทหารที่แข็งแกร่งที่สุดในโลกยุคโบราณ กองทัพนี้ถูกพัฒนาขึ้นโดยพระเจ้าฟิลิปส์ที่ 2 แห่งมาเกโดเนีย จนมีขีดความสามารถในการสู้รบสูงและมีความคล่องตัวในการใช้งานหลายภูมิประเทศ พระเจ้าฟิลิปโปสคิดค้นนวัตกรรมในการสงครามหลายอย่าง แต่ที่สำคัญคือการสร้างกองกำลังทหารอาชีพประจำการ ซึ่งทำให้พระเจ้าฟิลิปโปสสามารถฝึกทหารของตนได้สม่ำเสมอ ทำให้ทหารมาเกดอนมีระเบียบวินัย สามารถเคลื่อนทัพและแปรขบวนรบได้โดยไม่แตกแถว ภายในระยะเวลาสั้นๆกองกำลังนี้ก็ถูกแปรสภาพกลายเป็นหนึ่งเครื่องจักรสงครามที่ทรงพลานุภาพที่สุดในโลกยุคโบราณ โดยสามารถพิชิตกองกำลังพันธมิตรกรีก และรวบรวมกรีซให้เป็นหนึ่งได้ภายใต้ผู้ปกครองคนเดียวเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นก็สามารถพิชิตกองทัพของจักรวรรดิเปอร์เซีย และเป็นแบบอย่างที่กองทัพของราชวงศ์แอนติโกนีด จักรวรรดิเซลิวซิด และราชอาณาจักรทอเลมี ยึดถือร่วมกันในช่วงศตวรรษที่ 3 และ 2 ก่อนคริสตกาล การพัฒนาทางยุทธวิธีได้แก่ การปรับปรุงการใช้กระบวนทัพฟาลังซ์ของกรีก ซึ่งคิดค้นขึ้นโดยนายพลอีพามินอนดัส (Epaminondas) แห่งธีบส์ และอิฟิเครตีส (Iphicrates) แห่งเอเธนส์ ฯ พระเจ้าฟิลิปโปสที่ ๒ รับมาใช้ ทั้งการตั้งขบวนฟาลังซ์แบบแถวลึกของเอปามินอนดัส และ นวัตกรรมของอิฟิเครตีสที่ริเริ่มใช้หอกที่ยาวขึ้นกับโล่ที่ขนาดเล็กและเบาลง โดยฟิลิปโปสปรับหอกให้ยาวขึ้นไปอีก จนกลายเป็นหอกยาวสิบแปดฟุตที่ต้องถือสองมือ เรียกว่าซาริสซา (Sarissa) ความยาวของซาริสซาทำให้พลทหารราบแถวฟาลังซ์มีความได้เปรียบทั้งในการโจมตี และตั้งรับ และเปลี่ยนโฉมหน้าการสงครามของกรีซ โดยทำให้กองทหารม้ากลายเป็นอาวุธชี้ขาดแพ้ชนะเป็นครั้งแรกในสมรภูมิ กองทัพของมาเกโดเนียฝึกการประสานการรบระหว่างหน่วยต่อสู้ประเภทต่างๆจนถึงขีดสมบูรณ์แบบ - ตัวอย่างของยุทธวิธีผสม (หรือการปฏิบัติการร่วมทางยุทธวิธี) ของกองทัพมาเกโดเนีย ประกอบไปด้วย พลทหารราบฟาลังซ์ติดอาวุธหนัก หน่วยทหารราบเข้าปะทะ พลธนู พลทหารม้าติดอาวุธหนักและเบา และอาวุธปิดล้อม ซึ่งแต่ละหน่วยจะใช้ความได้เปรียบของตนให้เหมาะสมกับสถาณการณ์ และสนับสนุนซึ่งกันและกัน กองทัพของมาเกโดเนียเป็นกองกำลังผสมหลายชาติ พระเจ้าฟิิลิปโปสรวบรวมกองกำลังทหารจากทั้งในมาเกโดเนีย และนครรัฐกรีกต่างๆ (โดยเฉพาะกองกำลังมหารม้าจากเทสซาลี) เข้าด้วยกัน โดยยังมีกองทหารรับจ้างจากทั่วหมู่เกาะอีเจียน และจากบอลข่านรวมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพด้วย พอถึงปีที่ ๓๓๘ ก่อน..

ใหม่!!: อานาโตเลียและกองทัพมาเกโดเนียโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

การพลัดถิ่น

ียนแสดงการอพยพของชาวไอริช ราว ค.ศ. 1868 การพลัดถิ่น (Diaspora) คำว่า “Diaspora” มาจากภาษากรีก “διασπορά” ที่แปลว่า “การหว่าน” เป็นคำที่หมายถึงการโยกย้ายของประชากรที่มีชาติพันธุ์เดียวกันเป็นกลุ่มใหญ่ ที่อาจจะเกิดจากการถูกบังคับให้ทำการโยกย้าย หรือ เลือกที่จะโยกย้ายถิ่นฐานโดยความตั้งใจของตนเองจากถิ่นฐานที่อยู่เดิมไปตั้งถิ่นฐานและเป็นพลเมืองในดินแดนใหม่ที่มักจะไกลจากถิ่นฐานที่ตั้งอยู่เดิม “การพลัดถิ่น” แตกต่างจากวัฒนธรรมของผู้เร่ร่อน และใกล้เคียงกับการเป็นผู้ลี้ภัย (Refugee) มากกว่า แต่การลี้ภัยอาจจะเป็นการโยกย้ายไปตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรในดินแดนใหม่หรือไม่ก็ได้ คำว่า “การพลัดถิ่น” แตกต่างจากการลี้ภัยที่หมายถึงกลุ่มผู้ที่พลัดจากบ้านเกิดเมืองนอนที่ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนใหม่อย่างเป็นการถาวร คำนี้นิยมใช้กับการอพยพของชนกลุ่มใหญ่ที่อาจจะมีสาเหตุมาจากการบังคับให้โยกย้าย หรือจากปัญหาทางเศรษฐกิจที่ทำให้มีความจำเป็นต้องไปหาที่ตั้งถิ่นฐานใหม่ก็ได้ ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม การวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมของผู้พลัดถิ่นที่ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนอื่น ก็อาจจะแตกต่างไปจากการวิวัฒนาการของชนกลุ่มเดียวกันในบ้านเกิดเมืองนอนที่ทิ้งมา การรักษาวัฒนธรรม ประเพณี นอกจากนั้นปัจจัยต่างๆ ของแต่ละกลุ่มก็จะต่างระดับกันไป แต่แนวโน้มโดยทั่วไปแล้วความผูกพันทางวัฒนธรรมของกลุ่มผู้พลัดถิ่นมักจะดำเนินไปในรูปของการต่อต้านความเปลี่ยนแปลงของภาษาและในการรักษาประเพณีการปฏิบัติทางศาสนาเช่นที่เคยทำกันมาในประเทศบ้านเกิดอย่างเหนียวแน่นโดยเฉพาะในชั่วคนรุ่นแรก.

ใหม่!!: อานาโตเลียและการพลัดถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

การล้อมโรดส์ (ค.ศ. 1522)

การล้อมเมืองโรดส์ (Siege of Rhodes) (ค.ศ. 1522) การล้อมเมืองโรดส์ในปี ค.ศ. 1522 เป็นความพยายามครั้งที่สองโดยจักรวรรดิออตโตมันที่นำโดยสุลต่านสุลัยมานในการยึดโรดส์เพื่อกำจัดอัศวินฮอสพิทาลเลอร์ออกจากเกาะซึ่งก็เป็นที่สำเร็จ ซึ่งเป็นเพิ่มความมั่นคงทางยุทธศาสตร์ให้แก่จักรวรรดิทางด้านตะวันออกของเมดิเตอเรเนียน หลังจากที่การล้อมครั้งแรกในปี ค.ศ. 1480 ประสบความล้มเหลว.

ใหม่!!: อานาโตเลียและการล้อมโรดส์ (ค.ศ. 1522) · ดูเพิ่มเติม »

การสำรวจ

นักสำรวจ คาซิเมียร์ โนวัก การสำรวจ (Exploration) คือการค้นหาเพื่อบรรลุเป้าหมายของการค้นพบหรือทรัพยากร การสำรวจเกิดขึ้นในทุกสิ่งมีชีวิตที่มีการเคลื่อนไหวรวมถึงมนุษย์ ในประวัติศาสตรของมนุษย์การสำรวจที่มีอิทธิพลมากที่สุดอยู่ในช่วงยุคแห่งการค้นพบเมื่อนักสำรวจชาวยุโรปแล่นเรือและเขียนแผนที่ในพื้นที่ส่วนที่เหลือของโลกด้วยเหตุผลหลายประการ ตั้งแต่นั้นมาการสำรวจครั้งใหญ่หลังยุคแห่งการสำรวจเกิดขึ้นจากการค้นพบข้อมูลสำคัญเป็นเหตุผลส่วนใหญ่ ในระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ การสำรวจเป็นหนึ่งในสามวัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงประจักษ์ (อีกสองอย่างคือการพรรณาและการอธิบาย).

ใหม่!!: อานาโตเลียและการสำรวจ · ดูเพิ่มเติม »

การค้าระหว่างโรมันกับอินเดีย

“เส้นทางการค้าระหว่างโรมันกับอินเดีย” ตาม “บันทึกเส้นทางการเดินเรือในทะเลอีริทเธรียน” จากคริสต์ศตวรรษที่ 1 การค้าระหว่างโรมันกับอินเดีย (Roman trade with India) เป็นการติดต่อค้าขายโดยการขนส่งสินค้าข้ามอานาโตเลียและเปอร์เซียที่พอจะมีบ้างเมื่อเทียบกับเวลาต่อมาที่ใช้เส้นทางสายใต้ผ่านทางทะเลแดงโดยการใช้ลมมรสุม การค้าขายเริ่มขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 1 หลังจากรัชสมัยของออกัสตัสเมื่อโรมันพิชิตอียิปต์ได้จากราชวงศ์ทอเลมีShaw, Ian (2003).

ใหม่!!: อานาโตเลียและการค้าระหว่างโรมันกับอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

การเคลื่อนย้ายเรลิก

ฟรซิงในเยอรมนี (ภาพเขียนในคริพท์ของมหาวิหารไฟรซิง) การเคลื่อนย้ายวัตถุมงคล (Translation of relics) ในคริสต์ศาสนา "การเคลื่อนย้ายวัตถุมงคล" คือการโยกย้ายสิ่งของศักสิทธิ์ (เช่นการโยกย้ายอัฐิ หรือ มงคลวัตถุที่เป็นของนักบุญ) จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งที่อาจจะเป็นคริสต์ศาสนสถานอื่น หรือ มหาวิหาร การโยกย้าย หรือ "Translation" ทำได้หลายวิธีที่รวมทั้งการทำสนธยารำลึกตลอดคืน หรือ การแบกมงคลวัตถุอันมีค่าในหีบที่ทำด้วยเงินหรือทอง ภายใต้กลดคล้ายไหม การเคลื่อนย้ายอันเป็นพิธีรีตอง (elevatio corporis) ของมงคลวัตถุถือกันว่าเป็นพิธีที่เป็นการแสดงความยกย่องในความศักดิ์สิทธิ์ของผู้ที่ถูกเคลื่อนย้าย ที่เท่าเทียมกับการรับการแต่งตั้งให้เป็นนักบุญในสถาบันออร์ธอด็อกซ์ พิธีเคลื่อนย้ายในนิกายโรมันคาทอลิกมีจุดประสงค์เดียวกันจนกระทั่งมามีพิธีประกาศการเป็นนักบุญกันขึ้นอย่างเป็นทางการเป็นมาตรฐานและตามพระประสงค์ของพระสันตะปาปา วันเคลื่อนย้ายมงคลวัตถุของนักบุญเป็นวันที่จะฉลองแยกจากวันสมโภชน์ เช่นวันที่ 27 มกราคมเป็นวันฉลองการเคลื่อนย้ายมงคลวัตถุของนักบุญจอห์น คริสซอสตอมจากหมู่บ้านโคมานาในอาร์มีเนียที่ทรงเสียชีวิตในปี..

ใหม่!!: อานาโตเลียและการเคลื่อนย้ายเรลิก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: อานาโตเลียและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษายูราร์เทีย

ษายูราร์เทีย เป็นภาษาที่ใช้พูดในราชอาณาจักรยูราร์ตู ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอนาโตเลีย (ปัจจุบันคือประเทศตุรกี) เป็นภาษารูปคำติดต่อซึ่งไม่อยู่ในภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียนและภาษากลุ่มเซมิติก แต่ถือว่าอยู่ในกลุ่มฮูร์โร-ยูราร์เทีย พบในจารึกจำนวนมากในบริเวณราชอาณาจักรยูราร์ตู เขียนด้วยอักษรรูปลิ่มของอัสซีเรีย มีรูปแบบที่เขียนด้วยไฮโรกลิฟด้วยซึ่งใช้ในทางศาสน.

ใหม่!!: อานาโตเลียและภาษายูราร์เทีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาลิเชีย

ษาลิเชีย (Lycian language) เป็นภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียน กลุ่มอนาโตเลีย ใช้พูดในยุคเหล็กในบริเวณลิเชียในอนาโตเลีย (ตุรกีปัจจุบัน) คาดว่าสืบทอดมาจากภาษาฮิตไตน์หรือภาษาลูเวียหรือทั้งสองภาษ.

ใหม่!!: อานาโตเลียและภาษาลิเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาลูเวีย

การแพร่กระจายของภาษาลูเวีย ภาษาลูเวีย เป็นภาษาที่ตายแล้วในกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน สาขาอนาโตเลีย ใกล้เคียงกับภาษาฮิตไตน์ ใช้พูดในฮาซาร์วาที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของบริเวณที่เป็นศูนย์กลางของชาวฮิตไตน์ ภาษาลูเวียอาจจะเป็นลูกหลานโดยตรงหรือเป็นภาษาใกล้เคียงของภาษาไลเซีย ภาษาลูเวียมีการใช้อย่างแพร่หลายในช่วง 637 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นช่วงที่จักรวรรดิฮิตไตน์เริ่มเสื่อมลง ภาษาลูเวียเป็นภาษาราชการในรัฐฮิตไตน์ใหม่ในซีเรียและอาณาจักรตาบัลในอนาโตเลียกลาง ภาษานี้มีระบบการเขียนสองระบบคือเขียนด้วยอักษรภาพแบบไฮโรกลิฟและ อักษรรูปลิ่ม ลูเวีย (ภาษาลูเวีย).

ใหม่!!: อานาโตเลียและภาษาลูเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับเมโสโปเตเมียเหนือ

ษาอาหรับเมโสโปเตเมียเหนือ (North Mesopotamian Arabic หรือ Maslawi หมายถึง 'แห่งโมซุล') เป็นภาษาอาหรับที่พูดทางเหนือของเทือกเขาฮัมรินในอิรัก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอิหร่าน ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี และทางภาคเหนือของซีเรีย (หรือทางเมดิเตอร์เรเนียตะวันออก และทางตะวันออกเฉียงใต้ของอนาโตเลีย) เช่นเดียวกับภาษาอาหรับอิรักและภาษาอาหรับซีเรีย ภาษานี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาอราเมอิกมาก นอกจากนั้น ยังมีลักษณะร่วมกับภาษาอาหรับไซปรัสมากเช่นกัน.

ใหม่!!: อานาโตเลียและภาษาอาหรับเมโสโปเตเมียเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮิตไทต์

ษาฮิตไทต์ (Hittite language) จัดเป็นภาษาที่สำคัญที่สุดภาษาหนึ่งในบรรดาภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนหรืออินเดีย-ยุโรป ในอานาโตเลีย อยู่ในกลุ่มย่อยภาษาอินโด-ฮิตไทต์ จัดเป็นภาษาที่ตายแล้ว มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาลูเวีย ภาษาลิเดีย ภาษาไลเซีย และภาษาปาลา เคยใช้พูดโดยชาวฮิตไทต์ กลุ่มชนที่สร้างจักรวรรดิฮิตไทต์มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองฮัตตูซาสในอานาโตเลียภาคกลางตอนเหนือ (ตุรกีปัจจุบัน) ภาษานี้ใช้พูดในช่วง 1,057 – 557 ปีก่อนพุทธศักราช มีหลักฐานแสดงว่าภาษาฮิตไทต์และภาษาที่เกี่ยวข้องได้ใช้พูดต่อมาอีก 200 -300 ปีหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิฮิตไทต์ ภาษาฮิตไทต์จัดเป็นภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียนรุ่นแรกๆ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่จัดให้เป็นภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาอินโด-ยุโรเปียนดั้งเดิมและเป็นพี่น้องกับภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียนในสมัยโบราณ.

ใหม่!!: อานาโตเลียและภาษาฮิตไทต์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคาเรีย

ษาคาเรีย เป็นภาษาของชาวคาเรีย จัดอยู่ในภาษากลุ่มอนาโตเลีย ใกล้เคียงกับภาษาไลเดียมากกว่าภาษาไลเซีย หลักฐานที่เหลืออยู่ส่วนมากเป็นชื่อเฉพาะ เช่น Sangodos, Kaphenos, Truoles, Nastes, Nomion, Mausolos และจารึกขนาดสั้นๆ เขียนด้วยอักษรคาเรีย ภาษานี้ถอดความได้โดย John D. Ray การรับวัฒนธรรมกรีกของชาวคาเรียทำให้ภาษานี้กลายเป็นภาษาตายเมื่อ ประมาณ..

ใหม่!!: อานาโตเลียและภาษาคาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซาซากิ

ษาซาซากิ เป็นภาษาในกลุ่มอินโด-อิเรเนียน พูดในแคว้นอานาโตเลีย ในประเทศตุรกี มีผู้พูดประมาณ 1.5 - 2.5 ล้านคน.

ใหม่!!: อานาโตเลียและภาษาซาซากิ · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิศาสตร์เอเชีย

แผนที่ภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชียในปี 1730 ของ Johan Christoph Homann โดยแบ่งภูมิภาคเอเชียเป็นสีต่างๆ ภาพรวมของทวีปเอเชีย ภาพทวีปเอเชีย ภูมิศาสตร์เอเชีย (Geography of Asia) คือลักษณะภูมิศาสตร์ต่างๆของทวีปเอเชียซึ่งเป็น 1 ใน 7 ทวีปของโลก ทวีปเอเชียเป็นทวีปที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีขนาด 44,579,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 8.7 ของผิวโลก (ร้อยละ 30 ของส่วนที่เป็นพื้นดิน) และมีประชากรราว 3,900 ล้านคน หรือร้อยละ 60 ของประชากรมนุษย์ปัจจุบัน.

ใหม่!!: อานาโตเลียและภูมิศาสตร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

มารีย์ชาวมักดาลา

มารีย์ชาวมักดาลา หรือพบเขียนว่าแมรี แม็กดาเลน (Μαρία ἡ Μαγδαληνή, Mary Magdalene) เป็นหนึ่งในผู้ติดตามพระเยซูที่ได้รับการสรรเสริญสูงสุดคนหนึ่ง และเป็นสาวกสตรีคนสำคัญที่สุดในการเคลื่อนไหวของพระเยซู พระเยซูทรงขับ "เจ็ดผี" ออกจากตัวนาง ซึ่งตามฉบับนั้นตีความว่าหมายถึงอาการป่วยอันซับซ้อนSaint Mary Magdalene.

ใหม่!!: อานาโตเลียและมารีย์ชาวมักดาลา · ดูเพิ่มเติม »

ยอห์นอัครทูต

นักบุญยอห์นอัครทูตราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 59-60 (John the Apostle; Ιωάννης) เป็นนักบุญและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เกิดเมื่อราว..

ใหม่!!: อานาโตเลียและยอห์นอัครทูต · ดูเพิ่มเติม »

ยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร

อห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร (John the Evangelist; “יוחנן” (The LORD); ภาษาฮีบรูมาตรฐาน: “Yoḥanan”, ภาษาฮีบรูไทบีเรียน: “Yôḥānān”) หรือที่เรียกว่า “สาวกผู้เป็นที่รัก” (Beloved Disciple)) (เสียชีวิตประมาณปี..

ใหม่!!: อานาโตเลียและยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่กอกามีลา

ทธการที่กอกามีลา (Battle of Gaugamela) หรือ ยุทธการที่อาร์เบลา (Battle of Arbela) เป็นยุทธการที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 331 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นการสู้รบระหว่างทัพมาซิดอนร่วมกับสันนิบาตโครินธ์ นำโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชและทัพเปอร์เซีย นำโดยพระเจ้าดาไรอัสที่ 3 ยุทธการครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของสงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช สนามรบอยู่ใกล้กับเมืองโมซูล ประเทศอิรักในปัจจุบัน.

ใหม่!!: อานาโตเลียและยุทธการที่กอกามีลา · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ไอโคเนียม (ค.ศ. 1190)

ทธการที่ไอโคเนียม (Battle of Iconium) เป็นการสู้รบในสงครามครูเสดครั้งที่ 3 ระหว่างฝ่ายนักรบครูเสด นำโดยจักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กับฝ่ายมุสลิม เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1190 ที่เมืองไอโคเนียม (ปัจจุบันคือเมืองคอนยา (Konya) ประเทศตุรกี) หลังความพ่ายแพ้ที่ฮัททินและเสียเมืองเยรูซาเลม ดินแดนของนักรบครูเสดส่วนใหญ่ตกอยู่ใต้อำนาจของศอลาฮุดดีน สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 8 ทรงเรียกพลเพื่อทำสงครามครูเสดอีกครั้ง จักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ทรงตอบรับทันทีและเดินทัพไปที่ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: อานาโตเลียและยุทธการที่ไอโคเนียม (ค.ศ. 1190) · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เทอร์มอพิลี

ทธการที่เทอร์มอพิลี (Battle of Thermopylae; Greek: Μάχη τῶν Θερμοπυλῶν, มาแค ตอน แธมอปูลอน) เกิดขึ้นในปี 480 ปีก่อนคริสตกาล พันธมิตรรัฐกรีกตั้งรับการรุกรานของจักรวรรดิเปอร์เซีย ณ ช่องเขาเทอร์มอพิลีในกรีซตอนกลาง กองทัพกรีกเสียเปรียบด้านจำนวนอย่างมหาศาล แต่ก็ยังสามารถยันกองทัพเปอร์เซียได้เป็นเวลาสามวัน ยุทธการดังกล่าวเป็นหนึ่งในการรบจนตัวตายที่โด่งดังที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ กองทัพกรีกขนาดเล็กนำโดยกษัตริย์ลีออนิดัสที่ 1 แห่งสปาร์ตา ได้เข้าปิดช่องเขาเล็ก ๆ ซึ่งขัดขวางกองทัพมหึมาของจักรวรรดิเปอร์เซีย ภายใต้การนำของจักรพรรดิเซอร์ซีสที่ 1 ไว้ หลังจากการรบสามวัน เฮโรโดตุสเชื่อว่ามีคนทรยศที่บอกเส้นทางให้กับกองทัพเปอร์เซียซึ่งนำไปสู่ด้านหลังของกองทัพสปาร์ต้า และในวันที่สาม กองทัพกรีกได้ถอนตัวออกไปราว 2,300 นาย หลังเที่ยงวันของวันที่สาม กองทัพเปอร์เซียสามารถเจาะผ่านแนวกรีกได้ แต่ก็ต้องประสบกับความสูญเสียอย่างมหาศาลเมื่อเทียบกับความสูญเสียของกองทัพกรีก การต้านทานอย่างบ้าระห่ำของกองทัพกรีกได้ซื้อเวลาอันหาค่ามิได้ในการเตรียมกองทัพเรือ ซึ่งอาจตัดสินผลแพ้ชนะของสงคราม The 1913 edition (same page numbers) สามารถดาวน์โหลดได้ที่ Google Books,.

ใหม่!!: อานาโตเลียและยุทธการที่เทอร์มอพิลี · ดูเพิ่มเติม »

ยุคโลหะ

ลหะ (Metal Age) เป็นยุคที่อยู่ในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 5,000-900 ปีก่อนพุทธศักราช ยุคที่มนุษย์รู้จักนำเอาแร่โลหะมาจากธรรมชาตินำมาใช้เพื่อประโยชน์ เช่น ทองแดง, สำริด และเหล็ก นำมาหล่อหรือขึ้นเป็นมีด, หอก และดาบ เพื่อใช้ในการล่าสัตว์ หรือมาประกอบเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่องประดับ มนุษย์สมัยนี้พัฒนาการเป็นอยู่อาศัยและการเกษตรกรรมให้ดียิ่งขึ้น เช่น การสร้างบ้านให้ใต้ถุนบ้านสูง.

ใหม่!!: อานาโตเลียและยุคโลหะ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสุลต่านรูม

รัฐสุลต่านรูม (Sultanate of Rûm, سلاجقة الروم) เป็นรัฐสุลต่านเซลจุคตุรกี ที่ปกครองอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของอานาโตเลียระหว่างปี ค.ศ. 1077 จนถึงปี ค.ศ. 1307 โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่อิซนิคและต่อมาคอนยา เนื่องจากอาณาจักรสุลต่านเป็นอาณาจักรที่มีการเคลื่อนย้ายอยู่เสมอฉะนั้นเมืองอื่นเช่นเคย์เซรีและซิวาสต่างก็ได้เป็นเมืองหลวงอยู่ระยะหนึ่ง ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดอาณาจักรสุลต่านแห่งรัมมีอาณาบริเวณครอบคลุมกลางตุรกีตั้งแต่เมืองท่าอันทาลยา-อลันยาบนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงไซนอพบนฝั่งทะเลดำ ทางตะวันออกอาณาจักรสุลต่านก็ผนวกรัฐต่างๆ ของตุรกีไปจนถึงทะเลสาบวาน ทางด้านตะวันตกสุดก็มีอาณาบริเวณไปจรดบริเวณเดนิซลิและบริเวณทะเลอีเจียน.

ใหม่!!: อานาโตเลียและรัฐสุลต่านรูม · ดูเพิ่มเติม »

รัฐนักรบครูเสด

ตะวันออกใกล้ในปี ค.ศ. 1135 โดยมีอาณาจักรครูเสดเป็นสีเขียว อานาโตเลียและอาณาจักรครูเสด ราว ค.ศ. 1140 รัฐนักรบครูเสด (Crusader states) คือกลุ่มรัฐเจ้าขุนมูลนายที่นักรบครูเสดชาวยุโรปตะวันตกตั้งขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 - 13 ในอานาโตเลีย กรีซ และแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ (อิสราเอลโบราณและปัจจุบัน และในบริเวณปาเลสไตน์) แต่ในที่สุดอำนาจของอิสลามในตะวันออกกลางก็พิชิตรัฐเหล่านี้ได้หมด นอกจากนั้นรัฐนักรบครูเสดก็ยังหมายถึงดินแดนอื่นที่คริสตจักรสมัยกลางได้มา (ส่วนใหญ่เป็นรัฐเล็กและเพียงชั่วระยะเวลาอันสั้น) เพื่อป้องกันชาวมุสลิมและดินแดนของผู้นอกศาสนาอื่น ๆ ด้ว.

ใหม่!!: อานาโตเลียและรัฐนักรบครูเสด · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เซลจุค

จักรวรรดิเซลจุค ใน ค.ศ. 1092 เมื่อมาลิค ชาห์ที่ 1เสียชีวิต ราชวงศ์เซลจุค หรือ เซลจุคตุรกี (Seljuq dynasty หรือ Seljuq Turks) “เซลจุค” (หรือ “Seldjuks” “Seldjuqs” “Seljuks” Selçuklular, سلجوقيان Ṣaljūqīyān; سلجوق ''Saljūq'' หรือ السلاجقة ''al-Salājiqa''.) เป็นราชวงศ์เทอร์โค-เปอร์เชีย ซุนนีมุสลิมผู้ปกครองบางส่วนของทวีปเอเชียกลางและตะวันออกกลางระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ราชวงศ์เซลจุคก่อตั้งจักรวรรดิเซลจุคซึ่งในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดมีดินแดนตั้งแต่อานาโตเลียไปจนถึงเปอร์เชียและเป็นฝ่ายปฏิปักษ์ในสงครามครูเสดครั้งที่ 1 ราชวงศ์มีที่มาจากกลุ่มสมาพันธ์ของชนเทอร์โคมันของทางตอนกลางของเอเชีย ซึ่งเป็นการเริ่มการขยายอำนาจของเทอร์กิคในตะวันออกกลาง เมื่อเปอร์เชียขยายตัวเข้ามาเซลจุคก็รับวัฒนธรรม และภาษาเข้ามาเป็นของตนเอง และมีบทบาทสำคัญในการวิวัฒนาการของวัฒนธรรมเทอร์โค-เปอร์เชีย ใน “วัฒนธรรมเปอร์เชียที่รับโดยประมุขของเทอร์กิค” ในปัจจุบันเซลจุคเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นผู้อุปถัมภ์อันยิ่งใหญ่ของวัฒนธรรม, ศิลปะ, วรรณคดี และ ภาษาเปอร์เชียO.Özgündenli, "Persian Manuscripts in Ottoman and Modern Turkish Libraries", Encyclopaedia Iranica, Online Edition,Encyclopaedia Britannica, "Seljuq", Online Edition,: "...

ใหม่!!: อานาโตเลียและราชวงศ์เซลจุค · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทุพภิกขภัย

แสดงผู้ประสบกับทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1845 ถึงปี ค.ศ. 1849 รายชื่อทุพภิกขภัยข้างล่างเป็นรายการที่ไม่สมบูรณ์ เป็นรายชื่อของเหตุการณ์ทุพภิกขภัยที่ถือว่าเป็นครั้งสำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์เท่านั้น.

ใหม่!!: อานาโตเลียและรายชื่อทุพภิกขภัย · ดูเพิ่มเติม »

รายการสุริยุปราคาในสมัยโบราณ

นี่คือรายชื่อสุริยุปราคาที่คัดเลือกมาในสมัยโบราณ.

ใหม่!!: อานาโตเลียและรายการสุริยุปราคาในสมัยโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

ลิเชีย

ลิเชีย (ภาษาลิเชีย: Trm̃mis; Λυκία;Lycia) เป็นภูมิภาคในอานาโตเลียที่ในปัจจุบันตั้งอยู่ที่จังหวัดอันทาลยา และ จังหวัดมูกลาทางฝั่งทะเลตอนใต้ของตุรกี ลิเชียเป็นสหพันธ์ของเมืองโบราณในบริเวณดังกล่าว ที่ต่อมาเป็นจังหวัดของจักรวรรดิโรมัน สหพันธ์ลิเชียเป็นสหพันธ์แรกของโลกที่ก่อตั้งขึ้นบนพื้นฐานของประชาธิปไตย ที่ต่อมามามิอิทธิพลต่อเนื้อหาของรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: อานาโตเลียและลิเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ลิเดีย

อาณาจักรลิเดียในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองที่สุด ลิเดีย (Lydia; อัสซีเรีย: Luddu; กรีก: Λυδία) เป็นอาณาจักรโบราณ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอานาโตเลีย (หรือ เอเชียไมเนอร์) มีเมืองหลวงชื่อ ซาร์ดิส ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดอิชมีร์และจังหวัดมานิสา ในประเทศตุรกีในปัจจุบัน อาณาจักรลิเดีย เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสตกาล ภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิฮิตไตต.

ใหม่!!: อานาโตเลียและลิเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ลิเดีย (แก้ความกำกวม)

ลิเดีย อาจหมายถึง.

ใหม่!!: อานาโตเลียและลิเดีย (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรมลาแตน

วัฒนธรรมลาแตน (La Tène culture) เป็นวัฒนธรรมยุคเหล็กของยุโรปที่ตั้งชื่อตามแหล่งโบราณคดีที่ลาแตนบนฝั่งเหนือของทะเลสาบเนอชาแตลในสวิตเซอร์แลนด์ที่เป็นที่พบสิ่งของมีค่าทางโบราณคดีจำนวนมากมายโดยฮันสลี ค็อพพ์ ในปี ค.ศ. 1857 วัฒนธรรมลาแตนเคลตสเครุ่งเรืองระหว่างปลายยุคเหล็ก (ตั้งแต่ปี 450 ก่อนคริสต์ศักราชมาจนถึงการพิชิตของโรมันใน ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช) ในบริเวณตะวันออกของฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย ตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมนี สาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกีย และฮังการี ทางตอนเหนือไปจรดกับวัฒนธรรมยาสตอร์ฟของเยอรมนีตอนเหนือ วัฒนธรรมลาแตนเจริญขึ้นมาจากวัฒนธรรมฮัลล์ชตัทท์ของยุคเหล็กตอนต้น โดยไม่มีการแบ่งแยกทางวัฒนธรรมที่เห็นได้ชัด และเป็นวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลพอประมาณจากเมดิเตอร์เรเนียนจากกรีกในภูมิภาคกอลก่อนสมัยโรมันและต่อมาอารยธรรมอีทรัสคัน การโยกย้ายศูนย์กลางของที่ตั้งถิ่นฐานเริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 4 โบราณวัตถุทางวัฒนธรรมของวัฒนธรรมลาแตนพบในบริเวณอันกว้างไกลที่รวมไปถึงบางส่วนของไอร์แลนด์และบริเตนใหญ่ (หมู่บ้านริมทะเลสาบกลาสตันบรีในอังกฤษเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับวัฒนธรรมลาแตน), ทางตอนเหนือของสเปน ภูมิภาคเบอร์กันดี และ ออสเตรีย สถานที่ฝังศพอันหรูหราก็เป็นเครื่องแสดงเครือข่ายของการค้าอันกว้างไกล เช่นเนินบรรจุศพวีซ์ในฝรั่งเศสซึ่งเป็นที่ฝังศพของสตรีสูงศักดิ์จากศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์ศักราชที่ถูกฝังพร้อมด้วยไหคอลดรอนสำริดที่ทำในกรีซ สินค้าออกของจากบริเวณวัฒนธรรมลาแตนไปยังบริเวณวัฒนธรรมเมดิเตอร์เรเนียนก็จะมีเกลือ ดีบุก ทองแดง อำพัน ขนแกะ หนัง ขนสัตว์ และทองคำ.

ใหม่!!: อานาโตเลียและวัฒนธรรมลาแตน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: อานาโตเลียและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์ตะวันออก

นาคริสต์ตะวันออก เป็นกลุ่มคริสตจักรที่พัฒนาในคาบสมุทรบอลข่าน ยุโรปตะวันออก เอเชียไมเนอร์ และตะวันออกกลาง ซึ่งนิยมใช้เพื่อเปรียบเทียบกับศาสนาคริสต์ตะวันตกที่มีพัฒนาการในทวีปยุโรปตะวันตก การแยกระหว่างตะวันตก-ตะวันออกนี้มีมาตั้งแต่การแตกจักรวรรดิโรมันเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในบางครั้งก็นิยมเรียกคริสตจักรเหล่านี้ว่า "ออร์โธด็อกซ์" กลุ่มคริสตจักรที่อยู่ในจำพวกนี้ ได้แก.

ใหม่!!: อานาโตเลียและศาสนาคริสต์ตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะยุคกรีก

ลปะกรีกโบราณ หรือ ศิลปะกรีซโบราณ (750 ปีก่อนค.ศ. - 300 ปีก่อนค.ศ.) ชาวกรีกมีความเชื่อว่า "มนุษย์เป็นมาตรวัดสรรพสิ่ง" ซึ่งความเชื่อนี้เป็นรากฐาน ทางวัฒนธรรมของชาวกรีก เทพเจ้าของชาวกรีกจะมีรูปร่างอย่างมนุษย์ และไม่มี ความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายเหมือนชาวอียิปต์ ดังนั้น จึงไม่มีสุสานหรือพิธี ฝังศพที่ซับซ้อนวิจิตรเหมือนกับชาวอียิปต.

ใหม่!!: อานาโตเลียและศิลปะยุคกรีก · ดูเพิ่มเติม »

สกุลผักกาดหอม

กุลผักกาดหอมหรือ Lactuca เป็นพืชมีดอกในวงศ์ Asteraceae ประกอบด้วย 50 สปีชีส์ แพร่กระจายไปทั่วโลก พืชในสกุลนี้ที่รู้จักดีที่สุดคือผักกาดหอม (Lactuca sativa) ที่มีหลายสายพันธุ์ บางสปีชีส์เป็นวัชพืช มีทั้งพืชฤดูเดียว พืชสองฤดูและพืชหลายฤดูLebeda, A., et al.

ใหม่!!: อานาโตเลียและสกุลผักกาดหอม · ดูเพิ่มเติม »

สมัยการย้ายถิ่น

แผนที่แสดงการโยกย้ายถิ่นฐานระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 2 ถึงที่ 5 อย่างง่ายๆ สมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรป หรือ สมัยการรุกรานของบาร์บาเรียน (Migration Period หรือ Barbarian Invasions, Völkerwanderung) เป็นสมัยของการอพยพของมนุษย์ (human migration) ที่เกิดขึ้นประมาณระหว่างปี..

ใหม่!!: อานาโตเลียและสมัยการย้ายถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

สหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล

หัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล เป็นจุดเปลี่ยนจากยุคสำริดตอนกลางไปตอนปล.

ใหม่!!: อานาโตเลียและสหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล · ดูเพิ่มเติม »

สะอ์ดี

อะบูมุฮัมหมัด มุชริฟุดดีน มุศเลี้ยะห์ บิน อับดิลลา บิน มุชัรริฟ เรียกสั้น ๆ กันว่า สะอ์ดี (ปี ฮ.ศ. 606-690) เป็นนักกวีและนักเขียนภาษาเปอร์เซียที่มีชื่อเสียงชาวอิหร่าน บรรดานักอักษรศาสตร์ให้ฉายานามท่านว่า ปรมาจารย์นักพูด กษัตรย์นักพูด ผู้อาวุโสที่สูงส่ง และเรียกขานทั่วไปกันว่า อาจารย์ ท่านศึกษาใน นิซอมียะฮ์แห่งเมืองแบกแดด ซึ่งถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางวิชาการของโลกอิสลามในยุคนั้น หลังจากนั้นท่านก็ได้เดินทางไปตามเมืองต่างๆ เช่นเมืองชาม และฮิญาซ ในฐานะนักบรรยายธรรม แล้วสะอ์ดีก็ได้เดินทางกลับมายังมาตุภูมิของท่านที่เมืองชีรอซและใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นจนกระทั่ววาระสุดท้ายของชีวิต สุสานของท่านอยู่ที่เมืองชีรอซ ซึ่งถูกรู้จักกันว่า สะอ์ดียะฮ์ ท่านใช้ชีวิตอยู่ในยุคการปกครองของSalghurids ในเมืองชีรอซ ช่วงการบุกของมองโกลยังอิหร่านอันเป็นเหตุให้การปกครองต่างๆ ในยุคนั้นล่มสลายลง เช่น Khwarazmian dynasty และอับบาซี ทว่ามีเพียงดินแดนฟอร์ซ รอดพ้นจากการบุกของพวกมองโกล เพราะยุทธศาสตร์ของอะบูบักร์ บิน สะอด์ ผู้ปกครองที่เลืองชื่อแห่งSalghurids และอยู่ในศัตวรรษที่หกและเจ็ดซึ่งเป็นยุคการเจริญรุ่งเรืองของแนวทางซูฟีในอิหร่าน โดยเห็นได้จากอิทธิพลทางความคิดและวัฒนธรรมของยุคนี้ได้จากผลงานของสะอ์ดี นักค้นคว้าส่วนใหญ่เชื่อว่าสะอ์ดีได้รับอิทธิพลจากคำสอนของมัซฮับชาฟิอีและอัชอะรี จึงมีแนวคิดแบบนิยัตินิยม อีกด้านหนึ่งก็ท่านเป็นผู้ที่มีความรักต่อครอบครัวท่านศาสดา (ศ็อลฯ) อีกด้วย ก่อนหน้านั้นสะอ์ดี เป็นผู้ที่ยึดมั่นในจริยธรรมบนพื้นฐานของปรัชญาจริยะ เป็นนักฟื้นฟู ฉะนั้นท่านจึงไม่ใช่ผู้ที่ฝักไฝ่การเชื่ออย่างหลับหูหลับตาตามที่กล่าวอ้างกัน กลุ่มIranian modern and contemporary art ถือว่าผลงานของท่านไร้ศีลธรรม ไม่มีคุณค่า ย้อนแย้งและขาดความเป็นระบบ สะอ์ดีมีอิทธิพลต่อภาษาเปอร์เซียอย่างมาก ในลักษณะที่ว่าภาษาเปอร์เซียปัจจุบันมีความใกล้เคียงกับภาษาของสะอ์ดีอย่างน่าสนใจ ผลงานของท่านถูกนำมาใช้สอนในโรงเรียน และหอสมุดในฐานะตำราอ้างอิงการเรียนการสอนภาษาและไวยากรณ์ภาษาเปอร์เซียอยู่หลายยุคหลายสมัย คำพังเพยที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอิหร่านปัจจุบันก็ได้มาจากผลงานของท่าน แนวการเขียนของท่านแตกต่างไปจากนักเขียนร่วมสมัยหรือนักเขียนก่อนหน้าท่านโดยท่านจะใช้ภาษาที่ง่าย สั้นและได้ใจความ กระทั่งมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วในยุคของท่าน ผลงานของสะอ์ดีเรียกกันว่าง่ายแต่ยาก มีทั้งเกล็ดความรู้ มุกขำขันที่ซ่อนอยู่หรือกล่าวไว้อย่างเปิดเผย ผลงานของท่านรวบรวมอยู่ในหนังสือ กุลลียอเตสะอ์ดี ซึ่งครอบคลุมทั้ง ฆุลิสตอนที่มีฉันทลักษณ์แบบนัษร์ หนังสือ บูสตอนที่มีฉันทลักษณ์แบบมัษนะวี และฆอซลียอต นอกจากนั้นท่านยังมีผลงานด้านร้อยกรองที่มีฉันทลักษณ์อื่นๆ อีก เช่น กอซีดะฮ์ ก็อฏอะฮ์ ตัรญีอ์บันด์ และบทเดี่ยวทั้งที่เป็นภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับ ส่วนมากฆอซลียอเตสะอ์ดีจะพูดถึงเรื่องของความรัก แม้ว่าท่านจะกล่าวถึงความรักในเชิงรหัสยะ (อิรฟาน) ก็ตาม ฆุลิสตอนและบูสตอน เป็นตำราจริยธรรม ซึ่งมีอิทธิต่อชาวอิหร่านและแม้แต่นักวิชาการตะวันตกเองก็ตาม เช่น วอลแตร์ และ โยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ สะอ์ดี มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นอย่างมากในยุคของท่าน ผลงานของท่านที่เป็นภาษาเปอร์เชียหรือที่แปลแล้วไปไกลถึงอินเดีย อานาโตเลีย และเอเชียกลาง ท่านเป็นนักกวีชาวอิหร่านคนแรกที่ผลงานของท่านถูกแปลเป็นภาษาต่างๆ แถบยุโรป นักกวีและนักเขียนชาวอิหร่านต่างก็ลอกเลียนแบบแนวของท่าน ฮาฟิซก็เป็นนักกวีท่านหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลการเขียนบทกวีมาจากท่านสะอ์ดี นักเขียนยุคปัจจุบัน เช่น มุฮัมหมัด อาลี ญะมอลซอเดะฮ์ และอิบรอฮีม ฆุลิสตอน ก็ได้รับอิทธิพลมาจากท่านเช่นกัน ต่อมาผลงานของสะอ์ดีถูกถ่ายทอดออกเป็นคีตะ ซึ่งมีนักขับร้องที่มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น ทอจ อิศฟะฮอนี, มุฮัมหมัดริฎอ ชะญะริยอน และฆุลามฮุเซน บะนอน อิหร่านได้ให้วันที่ 1 เดือนอุรเดเบเฮชต์ วันแรกของการเขียนหนังสือฆุลิสตอน เป็นวันสะอ์ดี เพื่อเป็นการเทิดเกียรติท่าน.

ใหม่!!: อานาโตเลียและสะอ์ดี · ดูเพิ่มเติม »

สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่สอง

นิโต มุสโสลินีกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ สองผู้นำเผด็จการในทวีปยุโรปก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง สาเหตุเบื้องต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง คือ ความตึงเครียดเกี่ยวกับชาตินิยม ประเด็นปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไข และความไม่พอใจอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และสมัยระหว่างสงครามในทวีปยุโรป รวมทั้งผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ลงเอยด้วยการปะทุของสงคราม ซึ่งมักเป็นที่เข้าใจว่าเป็นการบุกครองโปแลนด์ โดยนาซีเยอรมนี ความก้าวร้าวทางทหารนี้เป็นผลมาจากการตัดสินใจของผู้นำของเยอรมนีและญี่ปุ่น สงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้นขึ้นจากการปฏิบัติอันก้าวร้าวและบรรจบกับการประกาศสงคราม และ/หรือ การต่อต้านด้วยกำลัง.

ใหม่!!: อานาโตเลียและสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สุลัยมานผู้เกรียงไกร

ลต่านสุลัยมานที่ 1 (ตุรกีออตโตมัน: سلطان سليمان اول‎) พระองค์เป็นที่รู้จักในโลกตะวันตกว่า สุลัยมานผู้เกรียงไกร และเป็นที่รู้จักในโลกตะวันออกว่า สุลัยมานผู้ตรากฎหมาย ทรงเป็นประมุขของจักรวรรดิออตโตมันสมัยราชวงศ์ออสมันระหว่างปี ค.ศ. 1520 จนเสด็จสวรรคตเมื่อต้นเดือนกันยายนปี ค.ศ. 1566 เป็นสุลต่านพระองค์ที่ 10 และเป็นสุลต่านที่ทรงราชย์นานที่สุดของจักรวรรดิออตโตมัน เป็นเวลานานถึง 46 ปี สุลต่านสุลัยมานเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1494 ที่ทราบซอนในประเทศตุรกี เป็นพระราชโอรสในสุลต่านเซลิมที่ 1 และฮาฟซา ฮาทุน (Hafsa Hatun) ทรงเสกสมรสตามกฎหมายกับร็อกเซลานา หรือเฮอร์เรมสุลต่าน พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อราววันที่ 5/6 กันยายน ค.ศ. 1566 ที่ Szigetvár ในประเทศฮังการีปัจจุบัน หลังจากพระองค์เสด็จสวรรคต พระราชโอรสของพระองค์กับเฮอร์เรมสุลต่านก็ขึ้นครองราชย์เป็นสุลต่านเซลิมที่ 2 สุลต่านสุลัยมานเป็นพระมหากษัตริย์องค์สำคัญของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ผู้มีบทบาทสำคัญไม่เพียงแต่ในจักรวรรดิออตโตมันเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงททวีปยุโรปด้วย พระองค์มีพระบรมราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ทางการทหารและทางเศรษฐกิจ ทรงเป็นผู้นำทัพด้วยพระองค์เองในการสงครามหลายครั้งและทรงได้รับชัยชนะในสงครามหลายครั้งที่รวมทั้งต่อเบลเกรด โรดส์ และ ฮังการีเกือบทั้งหมด แต่มาทางพ่ายแพ้ในการล้อมกรุงเวียนนาในปี..

ใหม่!!: อานาโตเลียและสุลัยมานผู้เกรียงไกร · ดูเพิ่มเติม »

สุลต่านออสมันที่ 1

สุลต่านออสมันที่ 1 สุลต่านออสมันที่ 1 (Osman I) สุลต่านองค์แรกแห่ง จักรวรรดิออตโตมัน ประสูติเมื่อ ค.ศ. 1258 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี ค.ศ. 1299 สามารถรวบรวมชนเผ่าต่างๆให้เป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จพร้อมกับขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางพระองค์สวรรคตเมื่อปี ค.ศ. 1326 ขณะพระชนม์ได้ 68 พรรษา.

ใหม่!!: อานาโตเลียและสุลต่านออสมันที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สุสานแห่งฮาลิคาร์นัสเซิส

นแห่งฮาลิคาร์นัสเซิส หรือ สุสานแห่งโมโซลูส (The Mausoleum at Halicarnassus, Tomb of Mausolus, กรีก: Μαυσωλεῖον τῆς Ἁλικαρνασσοῦ) เป็นสุสานขนาดใหญ่ของกษัตริย์โมโซลูสแห่งลิเชีย ในเอเชียไมเนอร์ จัดเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก เป็นเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ สุสานแห่งฮาลิคาร์นัสเซิส ตั้งอยู่ที่ฮาลิคาร์นัสเซิส ประเทศตุรกี ในปัจจุบัน สร้างขึ้นโดยราชินี อาเตมีสเซีย หลังการสวรรคตของพระสวามี สร้างขึ้นระหว่าง 353-350 ปีก่อนคริสต์ศักราช สร้างขึ้นมาจากหินอ่อนในระหว่างปี ค.ศ. 156-190 ในรูปแบบสถาปัตยกรรมกรีกโบราณ มีบันทึกไว้ว่า มีขนาดสูงถึง 140 ฟุต ฐานโดยรอบยาวถึง 460 ฟุต บนยอดสุดเป็นพื้นเหลี่ยมเล็กกว่าฐานล่าง ได้ปั้นเป็นรูปราชรถและม้า 1 ชุด กำลังวิ่ง และมีกษัตริย์และพระมเหสีประทับยืนอยู่บนราชรถม้า ประกอบด้วยลวดลายสวยงามมาก สุสานแห่งฮาลิคาร์นัสเซิส พังทลายลงด้วยเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในคริสต์ศตวรรษที่ 12-13 ปัจจุบันจึงเหลือแต่เพียงซากชิ้นส่วน และชิ้นส่วนบางอย่างถูกเก็บรักษาไว้ที่ บริติช มิวเซียม ในประเทศอังกฤษ.

ใหม่!!: อานาโตเลียและสุสานแห่งฮาลิคาร์นัสเซิส · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกรีก-เปอร์เซีย

งครามกรีก-เปอร์เซีย (Greco-Persian Wars) หรือ สงครามเปอร์เซีย เป็นชุดความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิอะคีเมนิด (เปอร์เซีย) กับนครรัฐกรีก เกิดขึ้นระหว่างปีที่ 499–449 ก่อนคริสตกาล จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งเกิดจากการพิชิตภูมิภาคไอโอเนียของพระเจ้าไซรัสมหาราชในปีที่ 547 ก่อนคริสตกาลและต่อมาแต่งตั้งทรราชขึ้นปกครอง ต่อมาในปีที่ 499 ก่อนคริสตกาล อริสตาโกรัส ผู้ปกครองไมลีตัสที่มีเปอร์เซียหนุนหลัง นำกำลังเข้ายึดเกาะนักซอสแต่ล้มเหลว อริสตาโกรัสจึงปลุกปั่นให้ชาวกรีกในเอเชียน้อยก่อกบฏต่อเปอร์เซียและนำไปสู่การกบฏไอโอเนีย นอกจากนี้อริสตาโกรัสยังร่วมมือกับเอเธนส์และอีรีเทรียเผาเมืองซาร์ดิส เมืองหลวงของภูมิภาคของเปอร์เซียในปีที่ 498 ก่อนคริสตกาล จักรพรรดิดาไรอัสมหาราชจึงส่งกองทัพเข้าสู้รบจนในปีที่ 494 ก่อนคริสตกาล ฝ่ายเปอร์เซียรบชนะฝ่ายกบฏที่ยุทธการที่ลาเด ฝ่ายกบฏถูกปราบลงในปีต่อมา เพื่อป้องกันการกบฏครั้งใหม่และการแทรกแซง รวมถึงลงโทษการกระทำของเอเธนส์และอีรีเทรีย จักรพรรดิดาไรอัสจึงทำสงครามต่อเพื่อพิชิตกรีซทั้งหมด ฝ่ายเปอร์เซียเริ่มบุกกรีซในปีที่ 492 ก่อนคริสตกาล และประสบความสำเร็จในการยึดเธรซและมาซิดอน ต่อมาในปีที่ 490 ก่อนคริสตกาล กองทัพเปอร์เซียข้ามทะเลอีเจียน ยึดซิคละดีสและทำลายอีรีเทรีย แต่พ่ายแพ้ให้กับกองทัพเอเธนส์ในยุทธการที่มาราธอน เมื่อจักรพรรดิดาไรอัสเสด็จสวรรคตในปีที่ 486 ก่อนคริสตกาล เซอร์ซีส พระราชโอรส ได้นำกำลังบุกกรีซอีกครั้ง ชัยชนะที่ช่องเขาเทอร์มอพิลีทำให้ฝ่ายเปอร์เซียสามารถยึดและเผาทำลายเอเธนส์ อย่างไรก็ตาม กองเรือเปอร์เซียพ่ายแพ้อย่างหนักในยุทธนาวีที่ซาลามิส และปีต่อมาพ่ายแพ้ในยุทธการที่พลาตีอา จึงเป็นการสิ้นสุดการบุกครองของฝ่ายเปอร์เซีย หลังจากนั้นกองทัพกรีกฉวยโอกาสนำกองเรือเข้าโจมตีฝ่ายเปอร์เซียต่อในยุทธนาวีที่มิเคลีและขับไล่ทหารเปอร์เซียออกจากเซสทอสและบิแซนเทียม การกระทำของแม่ทัพพอสซาเนียสในยุทธการที่บิแซนเทียมทำให้เกิดความบาดหมางในหมู่นครรัฐกรีกและสปาร์ตาและก่อให้เกิด "สันนิบาตดีเลียน" ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรต่อต้านฝ่ายเปอร์เซียที่นำโดยเอเธนส์ ฝ่ายสันนิบาตทำสงครามกับฝ่ายเปอร์เซียต่อเป็นเวลา 30 ปี หลังชัยชนะที่แม่น้ำยูรีมีดอนในปีที่ 466 ก่อนคริสตกาล เมืองในภูมิภาคไอโอเนียก็เป็นอิสระจากเปอร์เซีย แต่ความพ่ายแพ้ของฝ่ายสันนิบาตในการกบฏที่อียิปต์ทำให้การสงครามกับเปอร์เซียหยุดชะงัก การรบครั้งต่อ ๆ มาประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อย หลักฐานทางประวัติศาสตร์บางแห่งชี้ว่าในปีที่ 449 ก่อนคริสตกาล ทั้งสองฝ่ายได้ทำสนธิสัญญาสันติภาพคัลลิอัส ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามกรีก-เปอร์เซี.

ใหม่!!: อานาโตเลียและสงครามกรีก-เปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามสันนิบาตดีเลียน

งครามสันนิบาตดีเลียน เป็นชุดการทัพระหว่างสันนิบาตดีเลียนของเอเธนส์กับจักรวรรดิอะคีเมนิด (เปอร์เซีย) เกิดขึ้นระหว่างปีที่ 477–449 ก่อนคริสตกาล หลังพันธมิตรชาวกรีกนำโดยสปาร์ตาและเอเธนส์ชนะทัพเปอร์เซียที่บุกมาอีกครั้งในปีที่ 480 ก่อนคริสตกาลและขับไล่ทหารเปอร์เซียออกจากเธรซ สปาร์ตาตัดสินใจที่จะยุติการทำสงคราม ในขณะที่เอเธนส์และนครรัฐอื่น ๆ รวมตัวกันในชื่อ "สันนิบาตดีเลียน" 30 ปีต่อมา เอเธนส์ขึ้นเป็นผู้นำและเปลี่ยนสันนิบาตให้กลายเป็นจักรวรรดิเอเธนส์ ช่วงทศวรรษที่ 470 ปีก่อนคริสตกาล สันนิบาตดีเลียนทำสงครามในเธรซและภูมิภาคเอเจียนเพื่อขจัดอิทธิพลของเปอร์เซีย แม่ทัพไซมอนนำทัพในเอเชียน้อยและได้รับชนะในยุทธการที่ยูรีมีดอน ชัยชนะครั้งนี้ทำให้ฝ่ายเปอร์เซียตกเป็นรอง ปลายทศวรรษที่ 460 ปีก่อนคริสตกาล เอเธนส์สนับสนุนการกบฏในอียิปต์ ปฏิบัติการในช่วงแรกประสบความสำเร็จ แต่การล้อมเมืองเมมฟิสนานกว่า 3 ปี ทำให้เปอร์เซียมีโอกาสโจมตีกลับ ทัพเอเธนส์ต้านทานได้นาน 18 เดือนก่อนจะพ่ายแพ้ ความพ่ายแพ้ในครั้งนี้กับสงครามที่ดำเนินอยู่ในกรีซทำให้เอเธนส์ต้องพักการรบกับเปอร์เซีย ในปีที่ 451 ก่อนคริสตกาล มีการสงบศึกในกรีซ แม่ทัพไซมอนยกทัพจึงไปที่ไซปรัสแต่เสียชีวิตในเวลาต่อมา ทัพเอเธนส์ตัดสินใจถอนทัพกลับ ยุทธการที่แซลามิสอินไซปรัสเป็นยุทธการครั้งสุดท้ายระหว่างกรีซและเปอร์เซีย หลักฐานทางประวัติศาสตร์บางแห่งกล่าวว่าสนธิสัญญาสันติภาพคัลลิอัสในปีที่ 449 ก่อนคริสตกาลเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามกรีก-เปอร์เซี.

ใหม่!!: อานาโตเลียและสงครามสันนิบาตดีเลียน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสด

กรุงเยรูซาเลมในสงครามครูเสดครั้งแรก สงครามครูเสด (Crusades; الحروب الصليبية, อัลฮุรูบ อัศศอลีบียะหฺ หรือ الحملات الصليبية, อัลฮัมลาต อัศศอลีบียะหฺ แปลว่า "สงครามไม้กางเขน") เป็นชุดสงครามรบนอกประเทศทางศาสนา ที่ถูกทำให้ศักดิ์สิทธิ์โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 และศาสนจักรคาทอลิก มีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อฟื้นฟูการเข้าถึงที่ศักดิ์สิทธิ์ในและใกล้เยรูซาเล็มของคริสเตียน เยรูซาเล็มเป็นนครศักดิ์สิทธิ์และสัญลักษณ์ของศาสนาเอบราฮัมหลักทั้งสาม (ศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม)Esposito What Everyone Needs to Know about Islam ภูมิหลังสงครามครูเสดเกิดเมื่อเซลจุคเติร์กมีชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือกองทัพไบแซนไทน์เมื่อ..

ใหม่!!: อานาโตเลียและสงครามครูเสด · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดครั้งที่ 1

งครามครูเสดครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1096–1099) เริ่มต้นเป็นการแสวงบุญอย่างกว้างขวาง (ฝรั่งเศสและเยอรมนี) และจบลงด้วยปฏิบัติการนอกประเทศของทหารโดยทวีปยุโรปที่นับถือโรมันคาทอลิกเพื่อทวงแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ซึ่งถูกยึดในการพิชิตเลแวนต์ของมุสลิม (ค.ศ. 632–661) จนเป็นผลให้ยึดเยรูซาเลมได้เมื่อ..

ใหม่!!: อานาโตเลียและสงครามครูเสดครั้งที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดครั้งที่ 2

“สภาสงครามครูเสดครั้งที่ 2” -- พระเจ้าคอนราดที่ 3 แห่งเยอรมนี, พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าบอลด์วินที่ 3 แห่งเยรูซาเลม สงครามครูเสดครั้งที่ 2 (Second Crusade) (ค.ศ. 1147-ค.ศ. 1149) เป็นสงครามครูเสด ครั้งสำคัญครั้งที่สองที่เริ่มจากยุโรปในปี ค.ศ. 1145 ในการโต้ตอบการเสียอาณาจักรเอเดสสาในปีก่อนหน้านั้น อาณาจักรเอเดสสาเป็นอาณาจักรครูเสดอาณาจักรแรกที่ก่อตั้งขึ้นระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1095-ค.ศ. 1099) และเป็นอาณาจักรแรกที่ล่ม สงครามครูเสดครั้งที่ 2 ได้รับการประกาศโดยสมเด็จพระสันตะปาปายูจีนที่ 3 และเป็นสงครามครูเสดครั้งแรกที่นำโดยพระมหากษัตริย์ยุโรปที่รวมทั้งพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และพระเจ้าคอนราดที่ 3 แห่งเยอรมนี พร้อมด้วยการสนับสนุนของขุนนางสำคัญต่างๆ ในยุโรป กองทัพของทั้งสองพระองค์แยกกันเดินทางข้ามยุโรปไปยังตะวันออกกลาง หลังจากข้ามเข้าสู่ดินแดนของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในอานาโตเลียแล้ว กองทัพทั้งสองต่างก็ได้รับความพ่ายแพ้ต่อเซลจุคเติร์ก แหล่งข้อมูลของคริสเตียนตะวันตก--โอโดแห่งดุยล์ (Odo of Deuil) และคริสเตียนซีเรียคอ้างว่าจักรพรรดิมานูเอลที่ 1 โคมเนนอสแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ทรงมีส่วนในความพ่ายแพ้ครั้งนี้โดยทรงสร้างอุปสรรคแก่การเดินหน้าของกองทัพทั้งสองโดยเฉพาะในอานาโตเลีย และทรงเป็นเป็นผู้สั่งการโจมตีของเซลจุคเติร์ก กองทัพที่ร่อยหรอที่เหลือของพระเจ้าหลุยส์และพระเจ้าคอนราดก็เดินทางต่อไปยังกรุงเยรูซาเลม และในปี..

ใหม่!!: อานาโตเลียและสงครามครูเสดครั้งที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดครั้งที่ 3

“การล้อมเมืองเอเคอร์” ระหว่างปี ค.ศ. 1189 ถึงปี ค.ศ. 1191 สงครามครูเสดครั้งที่ 3 หรือ สงครามครูเสดกษัตริย์(Third Crusade หรือ Kings' Crusade) (ค.ศ. 1189-ค.ศ. 1192) เป็นสงครามครูเสดที่ฝ่ายผู้นำยุโรปพยายามกู้ดินแดนศักดิ์สิทธิ์คืนจากศอลาฮุดดีน (Salāh al-Dīn Yūsuf ibn Ayyūb).

ใหม่!!: อานาโตเลียและสงครามครูเสดครั้งที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดครั้งที่ 5

นักรบครูเสดฟรีเชียนเผชิญกับหอที่ดามิยัตตาในอียิปต์ สงครามครูเสดครั้งที่ 5 (Fifth Crusade) (ค.ศ. 1217-ค.ศ. 1221) เป็นสงครามครูเสดที่พยายามยึดเยรูซาเลมและดินแดนศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดคืนโดยเริ่มด้วยการโจมตีรัฐมหาอำนาจของอัยยูบิดในอียิปต์ สมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 3 ทรงรวบรวมกองทัพครูเสดโดยการนำของเลโอโปลด์ที่ 4 ดยุคแห่งออสเตรีย (Leopold VI, Duke of Austria) และ สมเด็จพระเจ้าแอนดรูว์ที่ 2 แห่งฮังการี ต่อมาในปี..

ใหม่!!: อานาโตเลียและสงครามครูเสดครั้งที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามประกาศอิสรภาพตุรกี

งครามประกาศอิสรภาพตุรกี (Turkish War of Independence) สู้รบกันระหว่างรัฐบาลชาตินิยมตุรกีกับตัวแทนฝ่ายสัมพันธมิตร คือ กรีซบนแนวรบด้านตะวันตก และอาร์มีเนียบนแนวรบด้านตะวันออก หลังประเทศถูกยึดครองและแบ่งหลังจักรวรรดิออตโตมันปราชัยในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง.

ใหม่!!: อานาโตเลียและสงครามประกาศอิสรภาพตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโรมัน-เซลูซิด

งครามโรมัน-เซลูซิด (Roman–Seleucid War) หรือ สงครามแอนทิโอคอส หรือ สงครามซีเรีย เป็นความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิเซลูซิดกับสาธารณรัฐโรมัน เกิดขึ้นระหว่างปีที่ 192–188 ก่อนคริสตกาล สงครามครั้งนี้ทำให้โรมันกลายเป็นมหาอำนาจในกรีซและรอบ ๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จุดเริ่มต้นของสงครามเริ่มจากทั้งสองฝ่ายต้องการเป็นใหญ่ในภูมิภาคอีเจียน โดยในปีที่ 203 ก่อนคริสตกาล พระเจ้าแอนทิโอคัสมหาราชแห่งเซลูซิดร่วมเป็นพันธมิตรกับพระเจ้าฟิลิปที่ 5 แห่งมาซิดอนเพื่อพิชิตดินแดนของราชอาณาจักรทอเลมีGreen, Alexander to Actium: The Historical Evolution of the Hellenistic Age, 304 ต่อมาในปีที่ 200 ก่อนคริสตกาล เพอร์กามอนและโรดส์ที่เคยทำสงครามกับพระเจ้าฟิลิปที่ 5 ขอความช่วยเหลือจากโรมันLivy โรมันจึงยกทัพไปโจมตีมาซิดอนจนเกิดเป็นสงครามมาซิโดเนียครั้งที่สอง สงครามนี้สิ้นสุดลงเมื่อทัพโรมันและพันธมิตรชนะในยุทธการที่ไซโนสเซฟาลี ทั้งสองฝ่ายลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพ โดยพระเจ้าฟิลิปที่ 5 ต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามและเป็นพันธมิตรกับโรมัน ในขณะเดียวกัน พระเจ้าแอนทิโอคัสรบชนะพระเจ้าทอเลมีที่ 5 ในยุทธการที่แพเนียม ทำให้ซีลี-ซีเรียตกอยู่ใต้อำนาจของเซลูซิด พระเจ้าแอนทิโอคัสส่งทัพเรือไปซิลิเชีย ลิเชียและแคเรียเพื่อช่วยเหลือพระเจ้าฟิลิปที่ 5Livy และได้รับคำเตือนจากโรดส์ว่าจะโจมตีกองเรือของพระองค์หากแล่นผ่านแหลมเจลิดอเนีย พระเจ้าแอนทิโอคัสเพิกเฉยต่อคำเตือนและสั่งให้กองเรือแล่นต่อไป ส่วนโรดส์ไม่ได้ทำตามคำเตือนเนื่องจากได้รับข่าวความพ่ายแพ้ของพระเจ้าฟิลิปที่ 5 ที่ไซโนสเซฟาลีLivy หลังพระเจ้าแอนทิโอคัสผูกมิตรกับพระเจ้าทอเลมีที่ 5 พระองค์ก็มีแผนจะรุกเข้าไปในยุโรป ในช่วงเวลานั้น ฮันนิบาล แม่ทัพชาวคาร์เธจที่เคยสู้กับโรมันในสงครามพิวนิกครั้งที่สองได้ลี้ภัยมายังเอฟิซัสเพื่อขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าแอนทิโอคัส พระองค์ให้การช่วยเหลือLivy ด้านโรมันได้โจมตีสปาร์ตาที่ต่อต้านการแผ่อำนาจของโรมันในกรีซ สปาร์ตาเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และขอความช่วยเหลือจากสันนิบาตอีโทเลียนSmith ต่อมาพระเจ้าแอนทิโอคัสได้ยกทัพข้ามช่องแคบเฮลเลสปอนต์ (ช่องแคบดาร์ดะเนลส์ในปัจจุบัน) เพื่อช่วยเหลือสันนิบาตอีโทเลียน โรมันจึงส่งกองทัพมาที่กรีซ ทั้งสองฝ่ายปะทะกันที่ช่องเขาเทอร์มอพิลี โดยโรมันเป็นฝ่ายชนะ พระเจ้าแอนทิโอคัสจึงถอยทัพออกจากกรีซ ลูเชียส เอเซียติคัส แม่ทัพชาวโรมันยกทัพตามไปและปะทะกับกำลังของฮันนิบาลที่ใกล้แม้น้ำยูรีมีดอน ไมโอเนสซัสและแมกนีเซีย โดยฝ่ายโรมันและพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะทั้งหมด โรมันและเซลูซิดลงนามสนธิสัญญาแอพาเมีย โดยพระเจ้าแอนทิโอคัสต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามและต้องสละดินแดนด้านทิศตะวันตกของเทือกเขาทอรัส โรดส์ได้แคเรียและลิเชีย ส่วนเพอร์กามอนได้ลิเชียเหนือและดินแดนที่เคยอยู่ใต้อำนาจของเซลูซิดในเอเชียน้อย โร.

ใหม่!!: อานาโตเลียและสงครามโรมัน-เซลูซิด · ดูเพิ่มเติม »

สงครามไบแซนไทน์-อาหรับ

งครามไบแซนไทน์-อาหรับ (Byzantine–Arab Wars) เป็นสงครามที่ต่อเนื่องกันระหว่างจักรวรรดิกาหลิป และจักรวรรดิไบแซนไทน์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 12 ที่เริ่มตั้งแต่การพิชิตดินแดนของมุสลิมภายใต้จักรวรรดิกาหลิปรอชิดีนและจักรวรรดิกาหลิปอุมัยยะห์ และต่อสู้ต่อเนื่องกันมาด้วยสาเหตุความขัดแย้งของพรมแดนจนถึงสงครามครูเสดเริ่มต้นขึ้น ผลของสงครามคือการเสียดินแดนของจักรวรรดิไบแซนไทน์ หรือชาวอาหรับเรียกว่า “รุม” ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ ความขัดแย้งครั้งแรกยืนยาวตั้งแต่ ค.ศ. 634 จนถึง ค.ศ. 718 ที่จบลงด้วยการการล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่สองที่หยุดยั้งการขยายตัวของจักรวรรดิอาหรับเข้ามายังอนาโตเลีย ความขัดแย้งครั้งเกิดขึ้นระหว่างราว ค.ศ. 800 จนถึง ค.ศ. 1169 เมื่อฝ่ายอิสลามยึดดินแดนทางตอนใต้ของอิตาลีโดยกองกำลังของอับบาซียะห์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10 แตไม่ประสบกับความสำเร็จเท่าใดนักในซิซิลี เมื่อมาถึงสมัยการปกครองของราชวงศ์มาซีโดเนียไบแซนไทน์ก็ยึดบริเวณลว้านคืนมาได้ และบุกต่อไปเพื่อที่จะยึดเยรูซาเลมทางตอนใต้ อาณาจักรอีเมียร์แห่งอเล็พโพและอาณาจักรเพื่อนบ้านกลายเป็นอาณาจักรบริวารของไบแซนไทน์ทางตะวันออก ที่อันตรายส่วนใหญ่มาจากจักรวรรดิกาหลิปฟาติมียะห์ในอียิปต์ สถานะการณ์มาเปลี่ยนแปลงเมื่อราชวงศ์เซลจุครุ่งเรืองขึ้นและทำให้อับบาซียะห์ได้ดินแดนลึกเข้าไปในอนาโตเลีย ซึ่งเป็นผลให้จักรพรรดิไบแซนไทน์อเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอสต้องเขียนพระราชสาส์นไปขอความช่วยเหลือจากสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2ที่การประชุมสภาสงฆ์แห่งปิอาเชนซา ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเริ่มสงครามครูเสดครั้งที่ 1.

ใหม่!!: อานาโตเลียและสงครามไบแซนไทน์-อาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเพโลพอนนีเซียน

งครามเพโลพอนนีเซียน หรือ สงครามเพโลพอนนีส (Peloponnesian War; 431–404 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นสงครามระหว่างจักรวรรดิเอเธนส์กับสันนิบาตเพโลพอนนีเซียนที่นำโดยสปาร์ตา สงครามนี้ออกเป็นสามช่วง โดยช่วงแรกเรียกว่า "สงครามอาร์คีเดเมีย" (Archidamian War) เป็นการรุกรานแอททิกาของกองทัพสปาร์ตา ในขณะที่ฝ่ายเอเธนส์ใช้กองเรือที่มีประสิทธิภาพโจมตีกลับ สงครามช่วงนี้จบลงในปีที่ 421 ก่อนคริสตกาล ด้วยสนธิสัญญาสันติภาพนิซิอัส แต่ต่อมาในปีที่ 415 ก่อนคริสตกาล เอเธนส์กลับยกทัพบุกซีรากูซาบนเกาะซิซิลี แต่ล้มเหลว ช่วงที่สามของสงคราม สปาร์ตาได้สนับสนุนให้มีการก่อกบฏขึ้นตามนครรัฐใต้อำนาจเอเธนส์ จนนำไปสู่ยุทธนาวีที่เอกอสพอทาไมที่เป็นจุดยุติสงครามในที่สุด เอเธนส์ยอมแพ้สงครามในปีต่อม.

ใหม่!!: อานาโตเลียและสงครามเพโลพอนนีเซียน · ดูเพิ่มเติม »

สเตปป์

ทุ่งหญ้าสเตปป์ในมองโกเลีย สเตปป์ในอุซเบกิสถาน ทุ่งหญ้าสเตปป์ (Steppe) คือลักษณะทางภูมิศาสตร์ “ทุ่งหญ้าสเตปป์” เป็นบริเวณที่มีลักษณะทางสภาวะอากาศและภูมิภาคที่เป็นเอกลักษณ์ที่ประกอบด้วยที่ราบที่เป็นทุ่งหญ้ากว้างที่ไม่มีต้นไม้ นอกจากบริเวณริมแม่น้ำหรือทะเลสาบ ทุ่งหญ้าแพรรี (prairie) (โดยเฉพาะทุ่งหญ้าเตี้ยแพรรี) อาจจะถือว่าเป็นทุ่งหญ้าสเตปป์ ภูมิภาคของทุ่งหญ้าสเตปป์อาจจะเป็นพื้นที่กึ่งทะเลทราย หรือปกคลุมด้วย หญ้า หรือพุ่มไม้ หรือทั้งสองอย่างขึ้นอยู่กับฤดูและละติจูด “สเตปป์” อาจจะใช้หมายถึงสภาพภูมิอากาศที่พบในบริเวณที่แห้งจนไม่สามารถมีป่าได้ แต่ก็ไม่แห้งจนกระทั่งเป็นทะเลทราย “สเตปป์” เป็นลักษณะอากาศแบบภูมิอากาศภาคพื้นทวีป (continental climate) และภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้ง (semi-arid climate) อุณภูมิสูงสุดในฤูดูร้อนอาจจะสูงถึง 40 °C (104 °F) และต่ำสุดในฤดูหนาวอาจจะลดลงถึง -40 °C (-40 °F) นอกจากความแตกต่างกันมากของอุณหภูมิระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาวแล้ว ก็ยังมีความแตกต่างกันมากระหว่างอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืน ทางบริเวณที่สูงของมองโกเลียอุณหภูมิตอนกลางวันอาจจะสูงถึง 30 °C (86 °F) แต่กลางคืนอาจจะลดต่ำลงต่ำกว่าศูนย์ °C (sub 32 °F) ทุ่งหญ้าสเตปป์ในช่วงละติจูดตอนกลางมีลักษณะที่หน้าร้อนจะร้อนจัดและหน้าหนาวจะหนาวจัด โดยมีปริมาณฝนหรือหิมะตกเฉลี่ยราว 250-500 มิลลิเมตร (10-20 นิ้ว) ต่อปี คำว่า “steppe” มาจากภาษารัสเซียว่า “степь” ที่แปลว่า “ดินแดนที่ราบและแห้ง”.

ใหม่!!: อานาโตเลียและสเตปป์ · ดูเพิ่มเติม »

หญ้าฝรั่น

หญ้าฝรั่น หรือ สรั่น บรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ใหม่!!: อานาโตเลียและหญ้าฝรั่น · ดูเพิ่มเติม »

อักษรลิเชีย

อักษรลิเชีย (Lycian) พัฒนามาจากอักษรกรีกรูปโค้ง มีอักษรที่ประดิษฐ์เองเพียงไม่กี่ตัวหรืออาจจะยืมมาจากอักษรอื่น พบจารึกอักษรนี้ราว 180 ชิ้นเมื่อราว..

ใหม่!!: อานาโตเลียและอักษรลิเชีย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรลิเดีย

อักษรลิเดีย (Lydian) พัฒนามาจากตัวเขียนของอักษรกรีก อักษรส่วนใหญ่มาจากอักษรกรีก มีสิบตัวที่ประดิษฐ์ใหม่สำหรับเสียงเฉพาะในภาษาลิเดีย การออกเสียงของอักษรบางตัวยังไม่ จารึกอักษรลิเดียราว 100 ชิ้น พบในช่วง..

ใหม่!!: อานาโตเลียและอักษรลิเดีย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรคาเรีย

อักษรคาเรีย (Carian) พบจารึกราว 100 ชิ้น ในเขตของชาวคาเรียในอียิปต์ พบอักษรนี้บนแผ่นดินเหนียว เหรียญ และจารึกตามอนุสาวรีย์ด้วย อาจจะมาจากอักษรฟินิเชีย การถอดความอักษรคาเรียเริ่มเมื่อ..

ใหม่!!: อานาโตเลียและอักษรคาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

อัศวินฮอสปิทัลเลอร์

ณะอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ (Knights Hospitaller) หรือคณะฮอสปิทัลเลอร์ (Order of Hospitallers) เป็นคณะบุรุษที่ทำงานที่โรงพยาบาลอมาลฟิที่ตั้งขึ้นในเยรูซาเลมในปี..

ใหม่!!: อานาโตเลียและอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ซิโนเอที่ 2

350x350px พระนางอาร์ซิโนเอที่ 2 อาร์ซิโนเอที่ 2 (กรีกโบราณ: Ἀρσινόη, ประสูติเมื่อ 316 ปีก่อนคริสตกาล - สิ้นพระชนม์เมื่อระหว่าง 270 และ 260 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นพระราชินีแห่งราชวงศ์ทอเลมีและเป็นผู้ปกครองร่วมแห่งอียิปต์โบราณ พระองค์เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งเทรซแห่งเอเชียไมเนอร์และมาซิโดเนีย โดยอภิเษกสมรสกับกษัตริย์ลีซิมาคัส (กรีก: Λυσίμαχος) และสมเด็จพระราชินีและผู้ปกครองร่วมแห่งอียิปต์โบราณร่วมกับพระสวามี ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระองค์ ฟาโรห์ทอเลมีที่ 2 ฟิลาเดลฟัส (กรีก: ΠτολεμαῖοςΦιλάδελφος).

ใหม่!!: อานาโตเลียและอาร์ซิโนเอที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

อิบน์ อัลบัยฏอร

รูปปั้นอิบน์ อัลบัยฏอร ที่เมืองมาลากา ประเทศสเปน อิบน์ อัลบัยฏอร (ابن البيطار, Ibn al-Baitar; ค.ศ. 1197 – ค.ศ. 1248) เป็นเภสัชกร นักพฤกษศาสตร์ และแพทย์ชาวมุสลิม เกิดที่เมืองมาลากา (ในแคว้นอันดาลูซีอา ประเทศสเปนปัจจุบัน) เรียนวิชาพฤกษศาสตร์กับอะบู อัลอับบาส อันนะบาตี (Abu al-Abbas al-Nabati) นักพฤกษศาสตร์ผู้พัฒนาวิธีการจำแนกสมุนไพรแบบแรก ๆ ในปี..

ใหม่!!: อานาโตเลียและอิบน์ อัลบัยฏอร · ดูเพิ่มเติม »

อิสตันบูล

อิสตันบูล (ตุรกี: İstanbul) เดิมชื่อ คอนสแตนติโนเปิล เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศตุรกี ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบบอสฟอรัส ซึ่งทำให้อิสตันบูลเป็นเมืองสำคัญเพียงเมืองเดียวในโลก ที่ตั้งอยู่ใน 2 ทวีป คือ ทวีปยุโรป (ฝั่ง Thrace ของบอสฟอรัส) และทวีปเอเชีย (ฝั่งอานาโตเลีย) ข้อมูลปี 2007 จังหวัดอิสตันบูลมีประชากรประมาณ 11,372,613 คน ในอดีต อิสตันบูลเป็นเมืองสำคัญของชนเผ่าจำนวนมากในบริเวณนั้น จึงส่งผลให้อิสตันบูลมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น ไบแซนไทน์, คอนสแตนติโนเปิล, สแตมโบล, อิสลามบูลเป็นต้น คำว่า อิสตันบูล มาจากภาษากรีก แปลว่า "ในเมือง" หรือ "ของเมือง".

ใหม่!!: อานาโตเลียและอิสตันบูล · ดูเพิ่มเติม »

อิซมีร์

อิซเมียร์ (Σμύρνη Smyrne; Smyrna) เป็นมหานครในปลายสุดทางตะวันตกของอานาโตเลีย และเป็นเมืองอันดับที่สามมีประชากรมากที่สุด ในประเทศตุรกี.

ใหม่!!: อานาโตเลียและอิซมีร์ · ดูเพิ่มเติม »

อึสกือดาร์

อึสกือดาร์ (Üsküdar) เป็นนครบาลของอิสตันบูล ประเทศตุรกี บนชายฝั่งอานาโตเลีย ช่องแคบบอสพอรัส มีประชากรอาศัยอยู่ราว 5 แสนคน ในสงครามไครเมีย (ค.ศ. 1853-1856) เป็นที่ตั้งฐานทัพของอังกฤษ และของโรงพยาบาลซึ่งฟลอเรนซ์ ไนติงเกล นางพยาบาลผู้มีจิตกุศลชาวอังกฤษดูแล.

ใหม่!!: อานาโตเลียและอึสกือดาร์ · ดูเพิ่มเติม »

อีเลฟเทริออส เวนิเซลอส

อีเลฟเทริออส เวนิเซลอส (Eleftherios Venizelos; ชื่อเต็ม: อีเลฟเทรีออส คีรีอาคู เวนิเซลอส;Elefthérios Kyriákou Venizélos, กรีก: Ἐλευθέριος Κυριάκου Βενιζέλος; 23 สิงหาคม ค.ศ. 1864 - 18 มีนาคม ค.ศ. 1936) เป็นผู้นำชาวกรีกที่ประสบความสำเร็จในขบวนการปลดปล่อยชาติกรีกและเป็นรัฐบุรุษที่มีเสน่ห์ในช่วงยุคต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นที่จดจำจากการส่งเสริมนโยบายแนวเสรีนิยมประชาธิปไตยKitromilides, 2006, p. 178, Time, Feb.18,1924 เขาได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งกรีซหลายสมัย โดยดำรงตำแหน่งระหว่าง..

ใหม่!!: อานาโตเลียและอีเลฟเทริออส เวนิเซลอส · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์มหาราช

อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน.

ใหม่!!: อานาโตเลียและอเล็กซานเดอร์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

ฮันนิบาล

ันนิบาล บาร์กา (Hannibal Barca) (248 ปีก่อนคริสตกาล ถึง 184 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นรัฐบุรษคาร์เทจ และแม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในยุคโบราณ เพราะเขาบุกโจมตีโรมและทำศึกโดยไร้พ่ายนานกว่า 15 ปี โดยใช้กลยุทธ์และยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ในการรบ บิดาของฮันนิบาลเป็นแม่ทัพใหญ่แห่งคาร์เทจ ชื่อ ฮามิลการ์ บาร์กา (Hamilcar Barca) เสียชีวิตในการรบเพื่อกำราบชนพื้นเมืองในคาบสมุทรไอบีเรีย ฮัสดรูบาล (Hasdrubal the Fair) บุตรเขยจึงรับหน้าที่เป็นแม่ทัพต่อจากเขา ฮัสดรูบาลสามารถสร้างกองทัพคาร์เทจใหม่ได้สำเร็จ แต่ไม่นานเขาก็สิ้นชีวิตลงเนื่องจากถูกชนพื้นเมืองชาวเคลต์ลอบสังหาร และก่อนที่คำสั่งแต่งตั้งแม่ทัพคนใหม่จากคาร์เทจจะมาถึง เหล่าทหารก็ยกให้ฮันนิบาลขึ้นเป็นแม่ทัพใหญ่แห่งคาร์ธาจีนา (ศูนย์กลางของชาวคาร์เทจในไอบีเรีย) หลังจากรับตำแหน่ง ฮันนิบาลยังไม่วางแผนโจมตีโรมในทันที เนื่องจากต้องการสร้างพันธมิตรที่เข้มแข็งกับบรรดาเมืองและชนเผ่าต่าง ๆ ในคาบสมุทรไอบีเรียเสียก่อน ทว่าในบรรดาเมืองเหล่านั้น นครซากุนโต (Sagunto) ซึ่งมีเหมืองเงินที่อุดมสมบูรณ์ได้ขอเป็นพันธมิตรกับโรมและปฏิเสธข้อเสนอของฮันนิบาล นอกจากนี้ ซากุนโตยังวางแผนที่จะดึงพันธมิตรต่าง ๆ ในไอบีเรียไปจากคาร์เทจอีกด้วย ฮันนิบาลจึงตัดสินใจเข้าโจมตีซากุนโตในปี พ.ศ. 324 แม้จะรู้ว่านั่นหมายถึงสงครามกับโรมก็ตาม หลังจากล้อมอยู่ไม่นาน ทัพคาร์เทจก็พิชิตซากุนโตได้สำเร็จ ทางโรมทราบเรื่องด้วยความไม่พอใจมาก แต่เนื่องจากยังไม่ต้องการทำสงคราม ดังนั้น ทางสภาโรมจึงสั่งให้คาร์เทจส่งตัวฮันนิบาลไปยังโรม ฮันนิบาลปฏิเสธและระดมกองทัพทันที และในปี พ.ศ. 325 สงครามพิวนิกครั้งที่สอง ก็เริ่มขึ้น ฮันนิบาลแม่ทัพหนุ่มวัย 29 ปี ยกกองทัพอันประกอบด้วยทหารราบคาร์เทจและสเปน 70,000 นาย ทหารม้านูมิเดียน 12,000 นาย และช้างศึกหุ้มเกราะ 40 เชือก ออกจากการ์ตาโกโนวา ทางโรมเชื่อว่าฮันนิบาลจะเข้าตีโรมโดยทางเรือ จึงเตรียมการป้องกันตลอดแนวชายฝั่ง ทว่าฮันนิบาลทำสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิด คือการรุกข้ามเทือกเขาพิเรนีสและเทือกเขาแอลป์เข้าไปทางตอนเหนือของคาบสมุทรอิตาลี รวมทั้งสามารถเอาชนะกองทัพโรมันได้ในการรบอีกหลายครั้ง แผนที่เส้นทางเดินทัพทางบกของฮันนิบาล ด้วยความเอื้อเฟื้อจากภาควิชาประวัติศาสตร์ วิทยาลัยการทหารสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม การรุกรานแอฟริกาเหนือของโรมันก็ทำให้ฮันนิบาลต้องถอนทหารกลับไปป้องกันเมืองคาร์เทจในยุทธการที่ซามา ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายของสงครามพิวนิกครั้งที่สอง เขาได้พ่ายแพ้ให้กับกองทัพโรมันที่นำโดยสกีปีโอ อาฟรีกานุส (Scipio Africanus) โดยเมืองคาร์เทจต้องยอมจำนนต่อกรุงโรมหลังจากที่สูญเสียทหารไปกว่า 30,000 คน และต้องเสียคาบสมุทรไอบีเรียให้กับโรมันไปอีกด้วย ต่อมาอีก 14 ปี โรมันก็ได้เรียกร้องให้ฮันนิบาลยอมมอบตัว เขาจึงเนรเทศตัวเองไปอยู่ที่เมืองไทร์ (ปัจจุบันอยู่ในเลบานอน) ซึ่งเป็นเมืองแม่ของคาร์เทจ (ชาวฟินิเชียนจากเมืองไทร์เป็นผู้ก่อตั้งเมืองนี้) และจากนั้นจึงเดินทางไปที่เมืองเอเฟซุส (ปัจจุบันอยู่ในตุรกี) ขณะอยู่ที่เอเฟซุส ฮันนิบาลพยายามสนับสนุนพระเจ้าอันตีโอกุสที่ 3 (Antiochus III) กษัตริย์แห่งเมืองนั้นให้ทรงทำสงครามกับโรมัน และเขาก็ได้บัญชาการทัพเรือของพระองค์ในปี พ.ศ. 348 แต่ก็พ่ายแพ้ในยุทธการใกล้แม่น้ำยูริเมดอน เขาจึงหนีจากเอเฟซุส (ซึ่งมีทีท่าว่าจะส่งตัวเขาให้กับโรมันด้วย) ไปอยู่เกาะครีต แต่จากนั้นไม่นานก็กลับมาที่เอเชียไมเนอร์อีกครั้ง โดยขอลี้ภัยกับพระเจ้าปรูซีอัสที่ 1 (Prusias I) แห่งบิทิเนีย ฮันนิบาลได้ช่วยพระองค์รบกับกองทัพจากเมืองเปอร์กามอนซึ่งเป็นพันธมิตรของโรมัน อย่างไรก็ตาม ฝ่ายโรมันก็ยังยืนกรานที่จะให้เขามอบตัว ซึ่งพระเจ้าปรูซีอัสที่ 1 ก็ทรงยินยอมที่จะส่งตัวฮันนิบาลให้ ในที่สุดเมื่อสิ้นหนทางหนี เขาจึงตัดสินใจที่จะไม่ตกไปอยู่ในเงื้อมมือของศัตรูโดยจบชีวิตของตนลงด้วยการดื่มยาพิษในปี พ.ศ. 360 ที่เมืองลิบิสซา ริมชายฝั่งตะวันออกของทะเลมาร์มะรา แม้ว่าจะไม่อาจเอาชนะโรมได้อีก แต่ฮันนิบาลก็ได้ชื่อว่าเป็นยอดแห่งแม่ทัพของโลกคนหนึ่ง ด้วยว่าตลอดเวลา 15 ปีที่เขาทำศึกในดินแดนโรมันนั้น ฮันนิบาลไม่เคยพ่ายแพ้แม้แต่ครั้งเดียว ทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้รับกำลังสนับสนุนจากใครเล.

ใหม่!!: อานาโตเลียและฮันนิบาล · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอส

ักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอส (Alexios I Komnenos, Ἀλέξιος Α' Κομνηνός) (ค.ศ. 1048 – 15 สิงหาคม ค.ศ. 1118) อเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอสเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ผู้ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากจักรพรรดินิเคโฟรอสที่ 3 โบตาเนอาตีสเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1081 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1118 โดยมีพระราชโอรสจักรพรรดิจอห์นที่ 2 โคมเนนอสเป็นผู้ครองราชย์ต่อมา อเล็กซิออสทรงเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์โคมเนนอส รัชสมัยของอเล็กซิออสเป็นรัชสมัยที่เต็มไปด้วยการสงครามทั้งจากฝ่ายเซลจุคตุรกี (Seljuk Turks) ในเอเชียไมเนอร์และจากนอร์มันทางตะวันตกของคาบสมุทรบอลข่าน พระองค์ทรงสามารถหยุดยั้งความเสื่อมของจักรวรรดิและทรงเริ่มการเปลี่ยนแปลงทางการทหาร, ทางการเศรษฐกิจ และทางการได้ดินแดนคืนที่เรียกว่่าสมัย “การปฏิรูปโคมีเนียน” (Komnenian restoration) อเล็กซิออสทรงยื่นคำร้องไปยังยุโรปตะวันตกให้มาช่วยต่อต้านฝ่ายตุรกีและทรงเป็นผู้มีส่วนในการเริ่มสงครามครู.

ใหม่!!: อานาโตเลียและจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 โคมเนนอส · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีเฮเลนา

ลนาแห่งคอนสแตนติโนเปิล (Helen of Constantinople) หรือที่รู้จักกันในนามว่า นักบุญเฮเลนา หรือ นักบุญเฮเลนา เอากุสตา หรือ นักบุญเฮเลนาแห่งคอนสแตนติโนเปิล เป็นนักบุญในศาสนาคริสต์ที่เกิดเมื่อราว..

ใหม่!!: อานาโตเลียและจักรพรรดินีเฮเลนา · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิไอแซ็คที่ 2 อันเจลอส

ักรพรรดิไอแซ็คที่ 2 อันเจลอส (Isaac II Angelos, Ισαάκιος Β’ Άγγελος) (กันยายน ค.ศ. 1156 – มกราคม ค.ศ. 1204) ไอแซ็คที่ 2 อันเจลอสทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ของราชวงศ์อันเจลิดสองครั้งๆ แรกระหว่างปี ค.ศ. 1185 ถึงปี ค.ศ. 1195 และครั้งที่สองระหว่างปี ค.ศ. 1203 ถึงปี ค.ศ. 1204 จักรพรรดิไอแซ็คที่ 2 เป็นพระราชโอรสของอันโดรนิคอส ดูคาส อันเจลอสผู้เป็นแม่ทัพคนสำคัญของอานาโตเลีย (ราว ค.ศ. 1122 - หลังจาก ค.ศ. 1185).

ใหม่!!: อานาโตเลียและจักรพรรดิไอแซ็คที่ 2 อันเจลอส · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิพาลไมรีน

ักรวรรดิพาลไมรีน (Imperium Palmyrenum Palmyrene Empire) เป็นจักรวรรดิที่แยกตัวออกจากจักรวรรดิโรมันระหว่างวิกฤติการณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 3 ที่ประกอบด้วยจังหวัดโรมัน ซีเรีย, ซีเรียปาเลสตินา, โรมัน และบริเวณส่วนใหญ่ของอานาโตเลีย โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ พาลไมรา พาลไมรีนรุ่งเรืองระหว่างปี ค.ศ. 260 จนถึงปี ค.ศ. 273 จักรวรรดิพาลไมรีนมีพระราชินีเซโนเบียเป็นผู้ปกครองในนามของพระราชโอรสวาบาลลาธัส (Vaballathus).

ใหม่!!: อานาโตเลียและจักรวรรดิพาลไมรีน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอะคีเมนิด

ักรวรรดิอะคีเมนียะห์ หรือ จักรวรรดิเปอร์เชียอะคีเมนียะห์ (Achaemenid Empire หรือ Achaemenid Persian Empire, هخامنشیان) (550–330 ก.ค.ศ.) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิแรกของจักรวรรดิเปอร์เชียที่ปกครองอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของเกรตเตอร์อิหร่านที่ตามมาจากจักรวรรดิมีเดีย ในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดจักรวรรดิอะคีเมนียะห์มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 7.5 ล้านตารางกิโลเมตร ที่ทำให้เป็นจักรวรรดิที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และเป็นจักรวรรดิที่วางรากฐานของระบบการปกครองจากศูนย์กลางSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty) จักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชครอบคลุมอาณาบริเวณสามทวีปที่รวมทั้งดินแดนในอัฟกานิสถาน และ ปากีสถาน, บางส่วนของเอเชียกลาง, อานาโตเลีย, เธรซ, บริเวณริมฝั่งทะเลดำส่วนใหญ่, อิรัก, ตอนเหนือของซาอุดีอาระเบีย, จอร์แดน, ปาเลสไตน์, เลบานอน, ซีเรีย และอียิปต์ไปจนถึงลิเบีย จักรวรรดิอะคีเมนียะห์เป็นศัตรูของนครรัฐกรีกในสงครามกรีซ-เปอร์เชีย เพราะไปปล่อยชาวยิวจากบาบิโลเนีย และในการก่อตั้งให้ภาษาอราเมอิกเป็นภาษาราชการ และพ่ายแพ้ต่ออเล็กซานเดอร์มหาราชในปี 330 ก่อนคริสต์ศักราช ความสำคัญทางประวัติศาสตร์โลกของจักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชก็คือกาวางรากฐานที่ได้รับความสำเร็จของระบบการบริหารการปกครองจากศูนย์กลาง และของรัฐบาลที่มีปรัชญาในการสร้างประโยชน์ให้แก่มวลชนSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty).

ใหม่!!: อานาโตเลียและจักรวรรดิอะคีเมนิด · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: อานาโตเลียและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิไบแซนไทน์

ักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือ จักรวรรดิไบแซนทิอุม (Βασιλεία των Ρωμαίων) เป็นจักรววรรดิที่สืบทอดโดยตรงจากจักรวรรดิโรมันในปลายสมัยโบราณ และยุคกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในบริบทสมัยโบราณตอนปลาย จักรวรรดิยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออก ขณะที่ยังมีจักรวรรดิโรมันตะวันตกอยู่ ทั้งคำว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์" และ "จักรวรรดิโรมันตะวันออก" เป็นคำทางภูมิประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นและใช้กันในหลายศตวรรษต่อมา ขณะที่พลเมืองยังเรียกจักรวรรดิของตนว่า "จักรวรรดิโรมัน" หรือ "โรมาเนีย" เรื่อยมากระทั่งล่มสลายไป ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ส่วนตะวันออกยังดำเนินต่อมาอีกพันปีก่อนจะเสียแก่เติร์กออตโตมันใน..

ใหม่!!: อานาโตเลียและจักรวรรดิไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิไนเซีย

ักรวรรดิไนเซีย หรือ จักรวรรดิโรมันแห่งไนเซีย (Empire of Nicaea หรือ Roman Empire of Nicaea, Βασίλειον τῆς Νίκαιας) เป็นอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดในบรรดารัฐไบแซนไทน์กรีกที่ก่อตั้งโดยชนชั้นเจ้านายผู้ปกครองจักรวรรดิไบแซนไทน์ที่หนีมาหลังจากที่เสียคอนสแตนติโนเปิลไปในสงครามครูเสดครั้งที่ 4 จักรวรรดิไนเซียก่อตั้งโดยราชวงศ์ลาคาริสรุ่งเรืองระหว่างปี..

ใหม่!!: อานาโตเลียและจักรวรรดิไนเซีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเซลจุค

มหาจักรวรรดิเซลจุค (سلجوقیان.) เป็นจักรวรรดิแบบเปอร์เชียM.A. Amir-Moezzi, "Shahrbanu", Encyclopaedia Iranica, Online Edition,: "...

ใหม่!!: อานาโตเลียและจักรวรรดิเซลจุค · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: อานาโตเลียและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลดำ

แผนที่บริเวณทะเลดำ ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณทะเลดำ โดยนาซา ทะเลดำ (Black Sea หรือชื่อในสมัยโบราณ​ Euxine Sea) เป็นทะเลที่อยู่ระหว่างทวีปยุโรป (ด้านตะวันออกเฉียงใต้),เอเชียไมเนอร์,และดินแดนคอเคซัส มีทางออกไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก ผ่านทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน,ทะเลอีเจียน และช่องแคบอีกหลายแห่ง ทางช่องแคบบอสฟอรัสที่เชื่อมต่อกับทะเลมาร์มะรา แล้วผ่านช่องแคบดาร์ดะเนลส์เชื่อมต่อไปยังทะเลอีเจียนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลแห่งนี้ได้แยกยุโรปตะวันออกกับเอเชียตะวันตกออกจากกัน นอกจากนี้ทะเลดำยังเชื่อมต่อกับทะเลอะซอฟผ่านทางช่องแคบเคียร์ช ทะเลดำมีเนื้อที่ผิวประมาณ 436,402 ตารางกิโลเมตร (168,500 ตารางไมล์) (ไม่นับรวมทะเลอะซอฟ) ทะเลดำมีความลึกสุด 2,212 เมตร (7,257 ฟุต) และมีปริมาตร 547,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร (131,200 ลูกบาศก์ไมล์) ประเทศที่มีชายฝั่งติดทะเลดำ ได้แก่ ประเทศตุรกี, บัลแกเรีย, โรมาเนีย, ยูเครน, รัสเซีย และจอร์เจีย ดินแดนของแหลมไครเมียปัจจุบันเป็นของยูเครน ทะเลดำถูกล้อมรอบด้วยเทือกเขาพอนทิกทางทิศใต้ เทือกเขาคอเคซัสทางทิศตะวันออก และมีชะโงกผากว้างทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะจากทิศตะวันออกไปจรดทิศตะวันตกยาวสุด 1,175 กิโลเมตร (730 ไมล์) ทะเลดำมีเมืองสำคัญที่ตั้งอยู่ตามชายฝั่ง ประกอบด้วย เมืองโซชี (Sochi), โนโวรอสซีสค์ (Novorossiysk) และ เคียร์ช (Kerch) ประเทศรัสเซีย โอเดสซา (Odessa), เซวัสโตปอล (Sevastopol), และ ยัลต้า (Yalta) ประเทศยูเครน เมืองคอนสแตนตา (Constanta), เมืองแมงกาเลีย (Mangalia), และเมืองนาโวดารี (Năvodari) ประเทศโรมาเนีย เมืองวาร์นา (Varna) กับเมืองเบอร์กาส (Burgas) ประเทศบัลแกเรีย เมืองซอนกุลดาก (Zonkuldak), เมืองซัมซุน (Samsum), เมืองกีเรซัน (Giresun), เมืองออร์ดู (Ordu), เมืองไรซ์ (Rize), เมืองแทรบซอน (Trabzon), และเมืองโฮปา (Hopa) ประเทศตุรกี และเมืองบาตูมี (Batumi), เมืองปอตี (Poti), และเมืองซักฮูมี (Sukhumi) ประเทศจอร์เจี.

ใหม่!!: อานาโตเลียและทะเลดำ · ดูเพิ่มเติม »

ทิกลัธ-ไพลีเซอร์ที่ 1

ทิกลัธ-ไพลีเซอร์ที่ 1 (Tiglath-Pileser I; Tukultī-apil-Ešarra, "ความไว้วางใจของข้าพเจ้าอยู่ในตัวบุตรแห่งเอสฮาร์รา"; ครองราชย์ 1114–1076 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งอัสซีเรียช่วงจักรวรรดิอัสซีเรียกลาง รัชสมัยของพระองค์เป็นยุคที่อัสซีเรียเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด อาณาจักรของพระองค์มีพื้นที่ถึงอนาโตเลีย ซีเรียและชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียน ฌอร์ฌ รูซ์ (Georges Roux) นักเขียนแนวประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสกล่าวถึงพระองค์ว่า "ทรงเป็นหนึ่งในสองหรือสามกษัตริย์อัสซีเรียผู้ยิ่งใหญ่นับตั้งแต่พระเจ้าชัมชี-อะดัดที่ 1" พระเจ้าทิกลัธ-ไพลีเซอร์ที่ 1 ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดา พระเจ้าอาชูร์-เรช-อีชีที่ 1 (Ashur-resh-ishi I) ในปีที่ 1115 ก่อนคริสต์ศักราช การทัพแรกของพระองค์คือทำสงครามกับชาวมัสกู (Mushku) ที่ยึดครองพื้นที่ตอนบนของแม่น้ำยูเฟรทีสในปีที่ 1112 ก่อนคริสต์ศักราชและขับไล่ชาวฮิตไทต์จากเมืองซูบาร์ตู (Subartu) บนคาบสมุทรอนาโตเลีย ก่อนจะเดินทัพผ่านทางใต้ของทะเลสาบแวนเพื่อยึดมาลาเทีย (Malatia) หลังครองราชย์ได้ 5 ปี พระเจ้าทิกลัธ-ไพลีเซอร์ที่ 1 ได้โจมตีภูมิภาคโคมานาและแคปพาโดเชีย เป้าหมายต่อไปของพระองค์คือดินแดนของชาวอาราเมียน (Arameans) ที่อยู่ทางตอนเหนือของซีเรีย พระองค์สามารถยึดดินแดนได้ไกลถึงต้นแม่น้ำไทกริสและหลายเมืองที่อยู่ริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในช่วงท้ายรัชกาล พระเจ้าทิกลัธ-ไพลีเซอร์ที่ 1 ทรงเน้นการป้องกันดินแดนจากชาวอาราเมียน พระองค์สวรรคตในปีที่ 1076 ก่อนคริสต์ศักราช โอรสองค์หนึ่งของพระองค์ อาชูริด-อะพัล-อีคูร์ (Asharid-apal-Ekur) ขึ้นครองราชย์ต่อ.

ใหม่!!: อานาโตเลียและทิกลัธ-ไพลีเซอร์ที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

งานฝังประดับวัสดุ

งานฝังประดับวัสดุ (Opus sectile) เป็นกรรมวิธีในการสร้างงานศิลปะที่เป็นที่นิยมกันในกรุงโรม โดยการตัดวัสดุแล้วฝังประดับเข้าไปในผนังหรือพื้นเพื่อสร้างเป็นภาพหรือลวดลาย วัสดุที่ใช้กันโดยทั่วไปก็ได้แก่หินอ่อน, มุก และ แก้ว วัสดุที่ใช้จะถูกตัดเป็นชิ้นบางๆ, ขัดเงา และ ตัดแบ่งออกไปอีกตามแบบที่ต้องการ งานฝังประดับวัสดุต่างจากงานโมเสกตรงที่งานโมเสกจะเป็นการเรียงชิ้นส่วนที่มีขนาดไร่เรียงกันเพื่อสร้างเป็นลวดลาย ส่วนชิ้นวัสดุที่ตัดขึ้นเพื่อใช้ในการสร้างงานฝังประดับวัสดุจะเป็นชิ้นวัสดุที่มีขนาดใหญ่กว่า และรูปทรงของชิ้นก็จะขึ้นอยู่กับรูปแบบของแบบที่ออก.

ใหม่!!: อานาโตเลียและงานฝังประดับวัสดุ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน

ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน หรือ ตระกูลภาษาอินเดีย-ยุโรป ประกอบด้วยภาษาและภาษาย่อยรวม 443 ภาษา (ตามการประมาณของ SIL) ที่พูดโดยคนประมาณ 3 พันล้านคน ซึ่งรวมถึงตระกูลภาษาหลัก ๆ ของยุโรป และเอเชียตะวันตก ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลใหญ่ ภาษาปัจจุบันที่อยู่ในตระกูลใหญ่นี้ มีเช่น ภาษาเบงกาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาฮินดี ภาษาโปรตุเกส ภาษารัสเซีย และ ภาษาสเปน (แต่ละภาษามีคนพูดมากกว่า 100 ล้านคน).

ใหม่!!: อานาโตเลียและตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน · ดูเพิ่มเติม »

ตะวันออกใกล้

ตะวันออกใกล้ในบริบททางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ตะวันออกใกล้ (Near East) เป็นคำที่มีความหมายกำกวมที่ครอบคลุมกลุ่มประเทศที่ต่างกันระหว่างนักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ฝ่ายหนึ่ง และนักรัฐศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ และผู้สื่อข่าวอีกฝ่ายหนึ่ง เดิมคำว่า "ตะวันออกใกล้" หมายถึงรัฐในคาบสมุทรบอลข่านทางตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป แต่ในปัจจุบันมักจะหมายถึงประเทศในบริเวณเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ระหว่างเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงอิหร่านโดยเฉพาะในบริบททางประวัติศาสตร์ คำว่า “ตะวันออกใกล้” ที่ใช้โดยนักโบราณคดี นักภูมิศาสตร์ และ นักประวัติศาสตร์ยุโรปหมายถึงบริเวณที่รวมทั้งอานาโตเลีย (บริเวณตุรกีที่อยู่ในเอเชีย), บริเวณเลแวนต์ (ซีเรีย, เลบานอน, จอร์แดน, ไซปรัส, อิสราเอล และดินแดนในปาเลสไตน์ (Palestinian territories)), เมโสโปเตเมีย (อิรัก) และคอเคซัสใต้ (จอร์เจีย, อาร์มีเนีย และอาเซอร์ไบจาน) แต่ในบริบททางการเมืองและการสื่อข่าว "ตะวันออกใกล้" หมายถึงจะรวมบริเวณที่กว้างกว่าของตะวันออกกลาง ขณะที่คำนี้หรือคำว่าเอเชียตะวันตกเฉียงใต้เป็นคำที่นิยมมากกว่าในบริบทของการศึกษาทางโบราณคดี ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มนุษย์วิทยา และพันธุศาสตร์ของประชากร.

ใหม่!!: อานาโตเลียและตะวันออกใกล้ · ดูเพิ่มเติม »

ซินาน

ซินาน หรือมีชื่อเต็มว่า โคกา มิมาร์ ซินาน อากา (Koca Mimar Sinan Agha - Ḳoca Mi‘mār Sinān Āġā (Ottoman Turkish: قوجه معمار سنان آغا) อีกชื่อที่เรียกกันคือ มิมาร์ ซินาน (15 เมษายน, ค.ศ. 1489 - 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1588) เป็น สถาปนิกหลวง (Chief architect) แห่งจักรวรรดิออตโตมัน ในสมัยสุลต่านเซลิมที่ 1, สุลต่านเซลิมที่ 2 และสุลต่านมูราดที่สาม ผลงานชิ้นสำคัญที่สุดของเขาคือ มัสยิดเซลิมที่เมืองเอเดอร์เน แต่งานที่ทำให้เขามีชื่อเสียงที่สุดคือ คือ มัสยิดสุไลมานในเมืองอิสตันบูล ซินานยังนับได้ว่าเป็น วิศวกรแผ่นดินไหวคนแรกของโลกอีกด้วย มัสยิด เซลิมี (Selimiye Mosque) สร้างโดย ซินาน ในปี ค.ศ. 1575 ที่เมืองเออร์ดี ประเทศ ตุรกี ภาพ ซินาน ใน ธนบัตรแบบเก่าของตุรกี มิมาร์เป็นชาวคริสต์โดยกำเนิด มาจากครอบครัวในอานาโตเลียที่เมืองเล็กๆ ชื่อ อากีร์นา(Ağırnas) ใกล้กับเมือง กีเซอรี (Kayseri) สันนิษฐานว่าครอบครัวมีสายเลือดกรีก หรืออาร์มีเนีย ในปี ค.ศ.1511 เขาได้ถูกครอบครัวส่งตัวมาตามธรรมเนียมการส่งลูกชายคนหัวปีเพื่อให้ไป รับใช้ในอาณาจักรผู้ปกครอง ให้มาใช้แรงงานใน อาณาจักรอ๊อตโตมาน ที่เมืองอิสตันบูล โดย ณ ที่นี้ เขาได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม มิมาร์ได้มีโอกาสรับใช้ขุนนางผู้ใหญ่ปาร์กาลิ อิบราฮิม ปาชาผู้เป็นมหาเสนาบดี (Grand Vizier İbrahim Paşa) และได้ถูกสนับสนันให้เล่าเรียนในสังกัดของขุนนางผู้นี้ และได้รับการตั้งชืออิสลามว่า "ซินาน" หลังจากนั้นเขาก็ได้รับการเล่าเรียนเกี่ยวกับการก่อสร้าง สามปีผ่านไปก็มีฝีมือแกร่งกล้าขึ้น จนได้เข้าร่วมกับกองทัพของสุลต่าน เซลิม ที่หนึ่ง ในช่วงแผนขยายดินแดนของอาณาจักร ซินานได้รับราชการทหารทำงานในกองวิศวกรรม (engineering corps) เมื่อครั้งอาณาจักรออตโตมัน เข้ายึดกรุงไคโรได้เป็นผลสำเร็จ ซินานได้รับการเลื่อนขั้นให้เป็นสถาปนิกเอก โดยรับหน้าที่รื้อถอนอาคารที่ไม่ตรงกับผังเมือง เขายังได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ผู้บัญชาการกองพันทหารราบ (commander of an infantry division) แต่เขาก็ขอย้ายตัวเองไปอยู่กองสรรพาวุธแทน ในครั้งที่มีการทำสงครามกับอาณาจักรเปอร์เซีย ในปี 1535 ซินานรับผิดชอบในการสร้างกองเรือ ข้ามทะเลสาบ แวน เนื่องด้วยความชอบดังกล่าว ทำให้เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นราชองครักษ์ (Haseki'i หรือ Sergeant-at-Arms) ในองค์สุลต่าน ซึ่งเป็น ยศที่สูงมาก งานสถาปัตยกรรมชิ้นแรกของ ซินาน คือ มัสยิด เซเซด (Şehzade Mosque) สร้างในปี ค.ศ.1548 เขาได้ทำการก่อสร้าง มัสยิดสุไลมาน (Süleymaniye Mosque) ในปี ค.ศ.1550 สร้างเสร็จในปี ค.ศ.1557. ก่อนหน้านี้ ไม่มีอาคารมัสยิดแห่งใด้ที่สร้างด้วยหลังคา Dome on Pendentives โดยใช้หลักการเดียวกับ มัสยิด เฮเจีย โซเฟีย (Hagia Sophia)มาก่อน ซินานได้เขียน ประวัติชีวิตของตัวเอง ชื่อ “Tezkiretü’l Bünyan”, โดยได้กล่าวถึงงาน ส่วนตัว เกี่ยวกับ มัสยิดเซลิมี โดยมีส่วนหนึ่งในหนังสือ บันทึกไว้ว่า เมื่อครั้งหนึ่ง ซินานได้มีโอกาสพบปะกับสถาปนิกชาวคริสเตียน สถาปนิกคนนี้ได้กล่าวเยาะเย้ยซินานว่า "ท่านไม่มีทางที่จะสร้างโดมที่ใหญ่กว่าโดมของเฮเจีย โซเฟียได้ โดยเฉพาะในฐานะที่ท่านเป็นมุสลิม" คำพูดประโยคนั้น เป็นสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจให้ซินานสร้างมัสยิด เซลิมี ขึ้นมา และเมื่อโครงการสำเร็จลง ซินานได้บันทึกไว้ว่า มัสยิดเซลิมี มีโดมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทิ้ง เฮเจีย โซเฟียไปมาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความสูงจากระดับพื้นของ มัสยิดเซลิมี นั้นไม่ได้สูงเท่า เฮเจีย โซเฟีย และ เส้นผ่าศูนย์กลางของโดมก็ใหญ่กว่าเพียงครึ่งเมตร (เทียบกับโดมที่อายุเก่าแก่กว่าถึงพันปีอย่าง เฮเจีย โซเฟีย) อย่างไรก็ตาม หากนับจากฐานของมัสยิดแล้ว เซลิมี ก็มีความสูงมากกว่า และมีคุณสมบัติของความเสถียรมากกว่า และมีการใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างที่มีความเรียบง่ายมากกว่า ในขณะที่ มัสยิดเซลิมี เสร็จลงนั้น ซินานมีอายุ 80 ปี ซินาน เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1588 ศพของเขาได้รับการฝังไว้ใน หลุมศพนอกกำแพงของ มัสยิดสุไลมาน (Süleymaniye Mosque) ในส่วนพื้นที่ทางเหนือ ตรงข้ามกับถนนชื่อ มิมาร์ ซินาน คาเดซิ (Mimar Sinan Caddesi) ซึ่งได้รับการตั้งชื่อให้เป็นเกียรติกับเขา นอกจากนี้ชื่อของเขายังได้รับการนำไปตั้งกับแอ่งบนดาวพุธ (crater on Mercury) อีกด้วย หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2032 หมวดหมู่:สถาปนิกชาวตุรกี หมวดหมู่:สถาปนิกในคริสต์ศตวรรษที่ 16 หมวดหมู่:วิศวกรชาวตุรกี หมวดหมู่:ชาวตุรกี.

ใหม่!!: อานาโตเลียและซินาน · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์อานาโตเลีย

ประวัติศาสตร์อานาโตเลียกล่าวถึงดินแดนที่เรียกว่าอานาโตเลียหรือเอเชียไมเนอร์ ซึ่งเป็นดินแดนทางตะวันตกของทวีปเอเชีย ในทางภูมิศาสตร์หมายถึงดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศตุรกีในปัจจุบัน จากทะเลอีเจียนซึ่งเป็นขอบเขตทางตะวันตกจนถึงภูเขาชายแดนประเทศอาร์มีเนียทางตะวันออก และเทือกเขาทะเลดำทางเหนือจนถึงเทือกเขาเทารัสทางใต้ โดยสภาพทางภูมิศาสตร์ อานาโตเลียเป็นเสมือนสะพานที่เชื่อมระหว่างยุโรปและเอเชียตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ดินแดนแห่งนี้จึงเป็นเส้นทางสำหรับการเดินทางไปมาระหว่างยุโรปและเอเชีย ตลอดระยะเวลากว่า 4 ถึง 5,000 ปีที่ผ่านมา มีชนหลายเผ่าพันธุ์เดินทางเข้ามายังอานาโตเลียและได้ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของตนบนดินแดนแห่งนี้ อาณาจักรของชนเหล่านี้ได้พัฒนาเจริญรุ่งเรืองและในที่สุดก็ต้องล่มสลายไปตามกาลเวลา ความเก่าแก่และหลากหลายของอารยธรรมที่เคยเจริญรุ่งเรืองบนผืนแผ่นดินแห่งนี้เป็น 1 ใน 3 สิ่งที่ชาวตุรกีมีความภาคภูมิใจเป็นพิเศษสำหรับดินแดนอันเป็นประเทศตนในปัจจุบัน ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่ราบสูงอานาโตเลียเคยเป็นที่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคหิน ยุคประวัติศาสตร์ของอานาโตเลียเริ่มต้นขึ้นในยุคโลหะ ประมาณ 3,000 - 1,200 ก่อนคริสตกาล หากมองย้อนหลังไปในยุคดังกล่าวกลับมาจนถึงยุคปัจจุบันจะพบว่าอานาโตเลียมีลักษณะพิเศษที่ไม่เหมือนดินแดนอื่นใดในโลกคือ เป็นดินแดนที่มีอารยธรรมที่เก่าแก่และหลากหลายของชนหลายกลุ่มซึ่งได้ผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาครอบครองดินแดนแห่งนี้.

ใหม่!!: อานาโตเลียและประวัติศาสตร์อานาโตเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ฮิตไทต์

ราชรถของฮิตไทต์จากภาพนูนของอียิปต์ ฮิตไทต์ (History of the Hittites) ฮิตไทต์เป็นชนโบราณที่พูดภาษาตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนและก่อตั้งอาณาจักรที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ฮัตทูซา (Hattusa) ทางตอนเหนือของตุรกีตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อนคริสต์ศักราช ในศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสต์ศักราช “ราชอาณาจักรฮิตไทต์” ก็รุ่งเรืองถึงจุดสูงสุดโดยอาณาบริเวณที่ครอบคลุมตอนกลางของอานาโตเลีย ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของซีเรียไปจนจรดอูการิต (Ugarit) และตอนเหนือของเมโสโปเตเมีย หลังจากปี 1180 ก่อนคริสต์ศักราชท่ามกลางความวุ่นวายต่าง ๆ ในเลแวนต์ที่เกิดจากการรุกรานของชนทะเล (Sea Peoples) จักรวรรดิฮิตไทต์ก็สลายตัวลงเป็นนครรัฐไซโรฮิตไทต์ (Syro-Hittite states) หลายนครที่เป็นอิสระต่อกัน บางนครก็รุ่งเรืองต่อมาจนถึงศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราช ประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมชนฮิตไทต์ทราบได้จากบันทึกอักษรรูปลิ่มที่พบในบริเวณที่เคยเป็นอาณาจักร และจากการติดต่อทางการค้าขายและการทูตที่พบในสถานที่เก็บหลักฐานโบราณของอียิปต์และตะวันออกกลาง.

ใหม่!!: อานาโตเลียและประวัติศาสตร์ฮิตไทต์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์โรม

ผังกรุงโรมอย่างง่ายในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ประวัติศาสตร์โรม กินระยะเวลากว่า 2,700 ปีของการมีนครซึ่งเติบโตขึ้นจากหมู่บ้านละตินเล็ก ๆ ในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล มาเป็นศูนย์กลางอารยธรรมไพศาลอันครอบงำภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนหลายศตวรรษ ประชากรของนครลดลงในช่วงปลายจักรวรรดิโรมันหลังโรมมิได้เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิอีกต่อไป และยังน้อยกว่าที่เคยในอดีตกระทั่งโรมเป็นเมืองหลวงของประเทศอิตาลีที่กลับมารวมชาติอีกครั้งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งรับประกันความอยู่รอดของวัตถุโรมันโบราณที่สำคัญยิ่งที่ยังเหลืออยู่ใจกลางนคร บ้างถูกทิ้งและบ้างยังใช้มาถึงปัจจุบัน หลายศตวรรษระหว่างนั้น สมเด็จพระสันตะปาปาเป็นผู้ปกครองนครและโรมกลายมาเป็นเมืองหลวงของรัฐสันตะปาปา ซึ่งเติบโตรวมบริเวณกวางของอิตาลีตอนกลาง แม้จะไม่ค่อยเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ แต่โรมยังเป็นศูนย์กลางของการจาริกแสวงบุญและการท่องเที่ยวด้ว.

ใหม่!!: อานาโตเลียและประวัติศาสตร์โรม · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสนาคริสต์

ระวิหารศักดิ์สิทธิ์ของศาสนายูดาห์ เป็นจุดเริ่มต้นของศาสนาคริสต์และเป็นศาสนสถานที่สำคัญในกลุ่มศาสนาอับราฮัม ซึ่งตั้งอยู่บนเขาพระวิหาร (Temple Mount) ในกรุงเยรูซาเลม (ภาพถ่ายจากฝั่งตะวันออกเฉียงใต้) ปี ค.ศ.600 ศาสนาคริสต์เกิดขึ้นบริเวณดินแดนเลแวนต์ ซึ่งปัจจุบันคือประเทศอิสราเอลและปาเลสไตน์ ในช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 1 ศาสนาคริสต์ได้เริ่มเผยแผ่ครั้งแรกจากกรุงเยรูซาเลม ตลอดจนดินแดนตะวันออกกลาง เช่น ประเทศซีเรีย อัสซีเรีย เมโสโปเตเมีย ฟินิเชีย อานาโตเลีย ประเทศจอร์แดน และประเทศอียิปต์ ในช่วงคริสศตวรรษที่ 4 ศาสนาคริสต์ได้รับเลือกให้เป็นศาสนาประจำชาติโดยราชวงศ์อาร์เมเนียในปี..

ใหม่!!: อานาโตเลียและประวัติศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกรีซ

กรีซ (Greece; Ελλάδα, Elládha เอลาฑา หรือ Ελλάς, Ellás) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเฮลเลนิก (Hellenic Republic; Ελληνική Δημοκρατία, Ellinikí Dhimokratía) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตอนใต้สุดของคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศบัลแกเรีย มาซิโดเนีย และแอลเบเนีย มีพรมแดนทางตะวันออกติดกับประเทศตุรกี อยู่ติดทะเลอีเจียนทางด้านตะวันออก ติดทะเลไอโอเนียนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันตกและใต้ กรีซนับว่าเป็นแหล่งอารยธรรมตะวันตกอันยิ่งใหญ่ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งกรีซได้แผ่อิทธิพลไปยัง 3 ทวีป ชาวกรีกเรียกประเทศตัวเองว่า Hellas ซึ่งภาษากรีกในปัจจุบันออกเสียง ว่า Ellas โดยในการพูดทั่วไปจะใช้คำว่า Ellada และมักจะเรียกตัวเองว่า Hellenes แม้กระทั่งในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำภาษาอังกฤษ "Greece" มาจากชื่อละตินว่า Graecia หมายถึงพื้นที่ทางเหนือของกรีซในปัจจุบัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Graikos อาศัยอยู.

ใหม่!!: อานาโตเลียและประเทศกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: อานาโตเลียและประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตุรกี

ประเทศตุรกี (Turkey; Türkiye ทือรคีเย) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey; Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาในยูเรเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีส่วนน้อยในอีสเทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนียและเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต..

ใหม่!!: อานาโตเลียและประเทศตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแค้ติดหิน

ปลาแค้ติดหิน หรือ ปลาแค้ห้วย (Hill-stream catfish) เป็นปลาหนังในสกุล Glyptothorax (/กลีพ-โท-ทอ-แร็กซ์/) ในวงศ์ปลาแค้ (Sisoridae) จัดเป็นปลาขนาดเล็ก มีรูปร่างโดยรวมคือ มีลำตัวเพรียวยาว ครีบหางเว้าลึก อาจมีสีเหลืองเป็นลายพาดด้านข้างลำตัว พื้นลำตัวสีน้ำตาล มีหนวด 4 คู่ โดยหนวดที่ริมฝีปากเป็นเส้นแบนและแข็ง หนวดที่จมูกสั้น หนวดใต้คางยาว ผิวสาก และมีแผ่นหนังย่นใต้อกซึ่งใช้เกาะพื้นหินได้ ครีบหลังอยู่หน้าครีบท้อง ครีบอกและครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยวที่เป็นเงี่ยงแข็งและขอบจักเป็นฟันเลื่อย มักพบอาศัยอยู่ในลำธารน้ำตกบนภูเขาที่มีกระแสน้ำไหลเชี่ยว กินอาหารจำพวก แมลงน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ออกหากินในเวลากลางคืน มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 10-15 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ลุ่มน้ำของทะเลดำทางตอนเหนือของตุรกี ไปจนถึงเอเชียไมเนอร์, ตอนใต้ของจีนและลุ่มแม่น้ำแยงซี, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเกาะชวาในอินโดนีเซีย มีทั้งหมดประมาณ 93 ชนิด มีชื่อเรียกโดยรวมในภาษาไทยว่า "แค้", "แค้ห้วย" หรือ "ปลาติดหิน" ในขณะที่วงการปลาสวยงามจะนิยมเรียกว่า "ฉลามทอง".

ใหม่!!: อานาโตเลียและปลาแค้ติดหิน · ดูเพิ่มเติม »

ปูนปลาสเตอร์

ปูนปลาสเตอร์ (Plaster หรือ Plaster of Paris) คือปูนที่ใช้ทำประโยชน์หลายอย่างเช่น วัสดุก่อสร้าง และได้มีการค้นพบมากว่า 9,000 ปีแล้ว โดยได้มีการค้นพบที่คาบสมุทรอนาโตเลียและซีเรีย แต่ที่เรารู้จักกันดีก็คือการนำมาเป็นวัสดุก่อสร้างในการทำพีระมิดของชาวอียิปต์ เมื่อประมาณ 5,000 ปี โดยมีการบันทึกถึงขั้นตอนการผลิต (นำ gypsum มาเผาแล้วบดให้เป็นผง และนำไปผสมกับน้ำเมื่อต้องการใช้งาน) ใช้เป็นวัสดุเชื่อมต่อระหว่างก้อนหินแต่ละก้อนในการสร้างพีระมิด และได้ถูกใช้งานมาเรื่อยๆ ตามหน้าประวัติศาสตร์อันยาวนานของวงการก่อสร้าง จนกระทั่งในช่วงศตวรรษที่ 20 ปูนปลาสเตอร์เริ่มที่จะนำมาใช้อย่างกว้างขวางนอกอุตสาหกรรมก่อสร้าง อาทิเช่น การนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิก (สุขภัณฑ์, เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร, เครื่องประดับ), ในวงการทันตกรรม, การหล่อโลหะ, เครื่องประดับ, เครื่องมือการแพทย์, เครื่องสำอางและอีกหลายๆ คุณสมบัติหลักที่ทำให้นิยมใช้งานก็คือความสามารถที่จะแข็งตัวได้รูปตามแม่พิมพ์ที่ใช้ โดยที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ปูนปลาสเตอร์ หรือที่เรียกทางเคมีว่า Calcium sulfate hemihydrates ได้มาจากการนำแร่ยิบซั่ม (Gypsum) ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติมาให้ความร้อน (ประมาณ 150 °C) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีดังสมการ และเมื่อนำไปผสมน้ำเพื่อใช้งานก็จะเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับดังนี้ โดยจะปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของพลังงานความร้อน ในกระบวนการผลิตปูนปลาสเตอร์ จะได้ปูนปลาสเตอร์ออกมา 2 ชนิดคือ Beta (&beta) plaster และ Alpha (&alpha) plaster ซึ่งจะให้คุณสมบัติที่แตกต่างกันไปทั้งในเรื่องของความแข็งแรง และการดูดซึม/คายน้ำของตัวปูนปลาสเตอร์เอง ในการผลิตเพื่อออกมาจำหน่าย ทางผู้ผลิตเองจะมีการผสมระหว่างปูนทั้งสองชนิดนี้ในอัตราส่วนต่างๆ กัน รวมถึงอาจมีสารเคมีบางอย่างผสมรวมไปด้วยเพื่อให้ได้ปูนปลาสเตอร์ที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการใช้งานแต่ละชนิด อาทิเช่น ปูนปลาสเตอร์สำหรับการทำ Case mould จะต้องมีการแข็งแรง ทนต่อการขยายตัวได้ดี และไม่ต้องการคุณสมบัติในการดูด/คายน้ำ ปูนปลาสเตอร์สำหรับทำแม่พิมพ์งานหล่อน้ำดิน ต้องการคุณสมบัติที่ดีของการดูด/คายน้ำ แต่ไม่ต้องการเรื่องความแข็งแรงมากนัก และ ปูนปลาสเตอร์สำหรับทำแม่พิมพ์งาน Ram press ต้องการความทนทางต่อแรงอัดสูง เป็นต้น หมวดหมู่:สารประกอบแคลเซียม หมวดหมู่:วัสดุก่อสร้าง.

ใหม่!!: อานาโตเลียและปูนปลาสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

นกทึดทือพันธุ์เหนือ

นกทึดทือพันธุ์เหนือ (Brown fish owl; หรือ Bubo zeylonensis) เป็นนกเค้าแมวชนิดหนึ่ง พบในเขตอบอุ่นและเขตร้อนชื้นตามไหล่ทวีปเอเชียและหมู่เกาะGrimmett et al. (1999).

ใหม่!!: อานาโตเลียและนกทึดทือพันธุ์เหนือ · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญลองกินุส

ลองกินุส (Longinus) หรือ ลอนไจนัส เป็นชื่อที่ตั้งให้กับบุคคลในตำนานของศาสนาคริสต์ เขาเป็นนายทหารผู้แทงหอกลงบนร่างพระเยซูที่ถูกตรึงกางเขน ซึ่งหอกนี้ได้กลายเป็นหอกในตำนานที่ถูกเรียกว่า "หอกศักดิ์สิทธิ์" ทั้งนี้ใน "สารของเฮรอดถึงปิลาตุส" ได้ระบุว่า ลองกินุสรู้สึกผิดและเป็นทุกข์ใจต่อการที่ได้แทงร่างของพระเยซู เขาถูกส่งไปในถ้ำที่ในทุกๆคืนจะถูกสิงโตกัดฉีกร่างเนื้อ และเมื่อถึงรุ่งเช้าร่างกายเขาก็กลับฟื้นคืนเป็นปกติ และก็ถูกกัดฉีกอีกเป็นวังวนเรื่อยๆจนสิ้นสุด หลังจากนั้นเขาจึงหันไปนับถือคริสต์ อย่างไรก็ตาม มีนักบวชอังกฤษชื่อ ซาบีน บาริง-กูดได้พบว่า "ชื่อลองกินุสนั้นไม่เคยเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวกรีกมาก่อนจนกระทั่งถึงยุคสังฆราชเยอรมานุสในปี 715 ชื่อลองกินุสนั้นถูกเริ่มใช้ในหมู่ชาวตะวันตกจากพระวรสารนักบุญนิโคเดอมุส ไม่มีข้อมูลที่เชื่อถือได้ใดๆที่ยืนยันถึงการกระทำและความทุกข์ทรมานของนักบุญผู้นี้" ถึงกระนั้น ก็ยังมีความเชื่อดั้งเดิมที่ว่าบ้านเกิดของลองกินุสเป็นหมู่บ้านเล็กๆในลานเซียโน แคว้นอาบรุซโซ ภาคกลางของอิตาลี มีข้อสันนิฐานว่า ลองกินุส เป็นคำละตินที่อาจมีรากศัพท์มาจากคำกรีก λόγχη (ลองชี) ที่หมายถึงหอกซึ่งคำนี้ปรากฏในพระวรสารนักบุญยอห์น 19:34 นอกจากนี้ ในหอสมุดชาวฟลอเรนซ์ยังพบเอกสารโบราณที่เขียนขึ้นในปี 586 มีคำกรีกนี้ถูกเขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ΛΟΓΙΝΟC (ลองกินอส) อยู่ข้างภาพนายทหารถือหอก เป็นเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรฉากตรึงกางเขน.

ใหม่!!: อานาโตเลียและนักบุญลองกินุส · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญจอร์จ

นักบุญจอร์จ (St.) เกิดเมื่อประมาณปี..

ใหม่!!: อานาโตเลียและนักบุญจอร์จ · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญนิโคลัส

นักบุญนิโคลัส หรือ เซนต์นิโคลัส (Saint Nicholas) เป็นนักบุญที่มีชื่อเสียงที่สุดองค์หนึ่งในนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์และโรมันคาทอลิก ดำรงตำแหน่งมุขนายกแห่งมิราในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 4 ตำนานเกี่ยวกับท่านเป็นต้นกำเนิดความเชื่อเรื่องซานตาคลอสที่แพร่หลายในปัจจุบัน.

ใหม่!!: อานาโตเลียและนักบุญนิโคลัส · ดูเพิ่มเติม »

แอแนกแซเกอเริส

แอแนกแซเกอเริส (Ἀναξαγόρας, Anaxagoras, Anaxagoras) (ราวปี 500 - ราวปี 428 ปีก่อนคริสตกาล) แอแนกแซเกอเริสเป็นนักปรัชญาสมัยก่อนโสกราตีสชาวกรีกผู้ที่เกิดที่คลาโซเมแนในอานาโตเลีย แอแนกแซเกอเริสเป็นนักปรัชญาคนแรกที่นำหลักปรัชญาจากไอโอเนียมายังเอเธนส์ แอแนกแซเกอเริสพยายามให้คำอธิบายทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับอุปราคา, สะเก็ดดาว, รุ้งกินน้ำและดวงอาทิตย์ ที่แอแนกแซเกอเริสบรรยายว่าเป็นก้อนเพลิงที่มีขนาดใหญ่กว่าคาบสมุทรเพโลพอนนีส แอแนกแซเกอเริสถูกกล่าวหาว่ามีความคิดที่ขัดกับศาสนาทางการจนถูกบังคับให้หนีไปยังแลมพ์ซาคั.

ใหม่!!: อานาโตเลียและแอแนกแซเกอเริส · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นตอสคานา

ตอสคานา (Toscana) หรือ ทัสกานี (Tuscany) เป็นแคว้นหนึ่งของประเทศอิตาลี มีเมืองฟลอเรนซ์ (ฟีเรนเซ) เป็นเมืองหลัก มีเนื้อที่ทั้งหมด 22,990 ตารางกิโลเมตร และมีผู้คนอาศัยอยู่ 3.6 ล้านคน แคว้นตอสคานามีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม (เนื่องจากเป็นที่กำเนิดของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา) สถาปัตยกรรม ศาสนา วัฒนธรรม และอุตสาหกรรม (เนื่องจากมีโรงงานผลิตเสื้อผ้า เสื้อนุ่งห่ม เครื่องหนังจำนวนมาก) ของประเทศอิตาลี แคว้นแห่งนี้เองที่เป็นที่ตั้งของหอเอนเมืองปิซาอันโด่งดัง นอกจากนี้ แคว้นตอสคานายังขึ้นชื่อว่ามีทิวทัศน์งดงามมาก และมีไวน์รสชาติดีเยี่ยม ภาษาอิตาลีที่พูดกันในแคว้นตอสคานาเป็นที่ยอมรับว่าเป็นการพูดแบบชาวอิตาลีโดยแท้จริงและยอมรับให้เป็นสำเนียงราชการ สำหรับชื่อแคว้น ชาวอิตาลีเรียกชื่อแคว้นนี้ว่า "ตอสคานา" แต่ภาษาอังกฤษเรียกชื่อแคว้นนี้ว่า "ทัสกานี" ในภาษาอื่น ๆ ก็มีชื่อเรียกต่างกันไปอีก เช่น ภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า Toscane ในภาษาละตินเรียกว่า Toscia เป็นต้น.

ใหม่!!: อานาโตเลียและแคว้นตอสคานา · ดูเพิ่มเติม »

แคปพาโดเชีย

แคปพาโดเชีย (Καππαδοκία กัปปาโดเกีย; Cappadocia) แผลงมาจากคำในภาษากรีก “Καππαδοκία” (Kappadokía) คือภูมิภาคตอนกลางของประเทศตุรกีที่ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดเนฟชีร์ “แคปพาโดเชีย” เป็นชื่อที่ปรากฏตลอดมาในประวัติศาสตร์ของคริสต์ศาสนาและเป็นชื่อที่ใช้โดยทั่วไปที่หมายถึงบริเวณที่เป็นที่น่าสนใจแก่นักท่องเที่ยว ในบริบทของภูมิภาคอันมีความน่าตื่นตาตื่นใจทางธรรมชาติ โดยเฉพาะภูมิสัณฐานที่มีลักษณะเป็นแท่งๆ คล้ายหอปล่องไฟ หรือ เห็ด (ปล่องไฟธรรมชาติ (fairy chimney)) และประวัติความเป็นมาทางประวัติศาสตร์อันเป็นเอกลักษณ์ของภูมิภาคอานาโตเลีย ในสมัยของเฮโรโดทัส กลุ่มชาติพันธุ์แคปพาโดเชียกล่าวว่าเป็นผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในภูมิภาคตั้งแต่ภูเขาทอรัสไปจนถึงบริเวณยูซีน (ทะเลดำ) ฉะนั้นแคปพาโดเชียในกรณีนี้จึงมีบริเวณทางตอนใต้จรดเทือกเขาทอรัส ที่เป็นพรมแดนธรรมชาติที่แยกจากซิลิเคีย, ทางตะวันออกโดยแม่น้ำยูเฟรทีสตอนเหนือและ ที่ราบสูงอาร์มีเนีย, ทางตอนเหนือโดยภูมิภาคพอนทัส และทางตะวันตกโดยภูมิภาคไลเคาเนีย และ กาเลเชียตะวันออกVan Dam, R. Kingdon of Snow: Roman rule and Greek culture in Cappadocia. Philadelphia: University of Pennsylvania Press, 2002, p.13.

ใหม่!!: อานาโตเลียและแคปพาโดเชีย · ดูเพิ่มเติม »

แคเธอรินแห่งอะเล็กซานเดรีย

นักบุญแคเธอรินแห่งอะเล็กซานเดรีย (ภาษาอังกฤษ: St. Catherine of Alexandria หรือ St. Catherine of the Wheel หรือ The Great Martyr Saint Catherine; ภาษากรีก: ἡ Ἁγία Αἰκατερίνη ἡ Μεγαλομάρτυς) เป็นนักบุญเป็นมรณสักขีในศาสนาคริสต์ ศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ถือกันว่านักบุญแคเธอรินเป็นมรณสักขีคนสำคัญ และทางศาสนจักรโรมันคาทอลิกนับนักบุญแคเธอรินเป็นหนึ่งในนักบุญผู้ช่วยศักดิ์สิทธิ์สิบสี่องค์ นักบุญแคเธอรินเป็นนักบุญองค์หนึ่งที่มาปรากฏตัวต่อนักบุญโยนออฟอาร.

ใหม่!!: อานาโตเลียและแคเธอรินแห่งอะเล็กซานเดรีย · ดูเพิ่มเติม »

โรมโบราณ

ตามตำนานโรมก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 753 ก่อนคริสต์ศักราชโดยรอมิวลุส และรีมุสที่ถูกเลี้ยงด้วยแม่หมาป่า โรมโบราณ (Ancient Rome) คือวัฒนธรรมที่วิวัฒนาการขึ้นมาจากชุมชนเกษตรกรบน คาบสมุทรอิตาลีที่เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสต์ศักราช ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียนโรมโบราณกลายมาเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โบราณ ในช่วงเวลาที่โรมโบราณเจริญรุ่งเรืองอยู่วัฒนธรรมโรมันเปลี่ยนจากการปกครองตั้งแต่เป็นแบบราชาธิปไตยไปเป็นระบอบสาธารณรัฐคณาธิปไตย และในที่สุดก็ไปเป็นระบบจักรวรรดิแบบอัตตาธิปไตย อารยธรรมโรมันมามีอำนาจอันมีอิทธิพลต่อทวีปยุโรปตะวันตกเฉียงใต้ ทวีปยุโรปตะวันออกเฉียงใต้/คาบสมุทรบอลข่าน และในบริเวณทะเลเมดิเตอเรเนียนโดยการพิชิตและการการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมกับท้องถิ่นที่เข้าไปปกครอง จักรวรรดิโรมันทางด้านตะวันตกเสื่อมโทรมลงและสลายตัวไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งภายในและการถูกโจมตีโดยชนกลุ่มต่างๆ ในสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน จักรวรรดิโรมันตะวันตกที่รวมทั้งฮิสปาเนีย กอล บริทาเนีย และอิตาลี ได้แบ่งแยกออกเป็นอาณาจักรอิสระในคริสต์ศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือที่เรียกว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่คอนสแตนติโนเปิล ประกอบด้วยกรีซ ส่วนที่พิชิตโดยจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 อานาโตเลีย ซีเรีย และอียิปต์รอดจากวิกฤติการณ์ที่จักรวรรดิทางด้านตะวันตกประสบ และแม้ว่าจะเสียซีเรียและอียิปต์แก่จักรวรรดิอิสลามของอาหรับจักรวรรดิก็รุ่งเรืองต่อมาอีกหนึ่งสหัสวรรษ จนกระทั่งมาเสียเมือง ให้กับจักรวรรดิออตโตมันของตุรกี นักประวัติศาสตร์มักจะเรียกจักรวรรดิโรมันตะวันออกมักจะเรียกว่าเป็น จักรวรรดิไบแซนไทน์ วัฒนธรรมโรมันมักจะจัดอยู่ใน “ยุคโบราณ” (classical antiquity) ร่วมกับกรีกโบราณซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เป็นต้นตอและแรงบันดาลใจให้แก่วัฒนธรรมโรมโบราณ โรมโบราณมีบทบาทอย่างใหญ่หลวงในการวิวัฒนการทางด้านกฎหมาย การสงคราม ศิลปะ วรรณคดี สถาปัตยกรรม เทคโนโลยี และภาษาของโลกตะวันตก และประวัติศาสตร์โรมก็ยังคงเป็นประวัติที่ยังคงมีอิทธิพลต่อโลกจนทุกวันนี้.

ใหม่!!: อานาโตเลียและโรมโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

โคสัมฤทธิ์

นายช่างเพอริลลอสถูกจับยัดเข้าไปในโคสัมฤทธิ์ที่ตนสร้างขึ้นมาเอง โคสัมฤทธิ์ (bronze bull), โคทองเหลือง (brazen bull) หรือ โคซีชีเลีย (Sicilian bull) เป็นเครื่องลงทัณฑ์และประหารอันคิดค้นขึ้นในกรีซโบราณ โดย เพอริลลอส (Perillos) นายช่างโลหะชาวเอเธนส์ เขาถวายเครื่องนี้แก่ พระเจ้าฟาลาริส (Phalaris) ทรราชแห่งเมืองอาครากัส (Akragas) แคว้นซีชีลี (Sicily) ให้เป็น "วิธีใหม่สำหรับประหารชีวิตนักโทษ" เครื่องนี้มีรูปลักษณ์เป็นโค ทำขึ้นจากสัมฤทธิ์ทั้งตัว และข้างในกลวง ที่ลำตัวโคข้างหนึ่งทำช่องมีฝาปิดไว้เป็นประตู นักโทษจะถูกใส่เข้าไปในตัวโคผ่านประตูนั้น จากนั้นจะสุมเพลิงใต้ท้องโคเพื่อให้โคร้อนทั้งตัว นักโทษจะถูกอบอยู่ข้างในนั้นอย่างทรมาน แล้วจะสุกตายเมื่อโคเปลี่ยนเป็นสีเหลือง.

ใหม่!!: อานาโตเลียและโคสัมฤทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ไกเซรี

กเซรี (ภาษาตุรกีออตโตมัน: قیصریه; Kayseri ไกเซรี, Kayseri; Καισάρεια ไกซาเรีย, Caesarea Mazaca ไกซาเรีย มาซากา ในประวัติศาสตร์: Mazaka or Mazaca, Eusebia, Caesarea Cappadociae, และต่อมา Kaisariyah) เป็นเมืองอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ทางตอนกลางของอานาโตเลียในประเทศตุรกี.

ใหม่!!: อานาโตเลียและไกเซรี · ดูเพิ่มเติม »

ไมซีนี

มซีนี (Μυκῆναι or Μυκήνη อ่านว่า มูแคไน หรือ มูแคแน; Mycenae) คือเมืองโบราณสมัยสำริดก่อนยุคเฮเลนิก (อารยธรรมกรีซโบราณนับแต่กรีซยุคอาร์เคอิกป็นต้นมา) ตั้งอยู่ในเนินเขาทางตะวันออกเฉียงเหนือของที่ราบอาร์กอส ในเพโลพอนนีส มีกำแพงสร้างอยู่โดยรอบ ปัจจุบันเป็นสถานที่ขุดค้นทางโบราณคดีที่ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกจากองค์กรยูเนสโก ในสหัสวรรษที่สองก่อน..

ใหม่!!: อานาโตเลียและไมซีนี · ดูเพิ่มเติม »

ไอโอเนีย

อโอเนีย (ภาษากรีกโบราณ: Ἰωνία หรือ Ἰωνίη, Ionia) หรือเยาวนะ เป็นภูมิภาคโบราณที่ตั้งอยู่ทางตอนกลางของฝั่งทะเลอานาโตเลียในประเทศตุรกีปัจจุบัน ไอโอเนียเป็นภูมิภาคที่ตั้งอยู่ติดกับอิซเมียร์ที่เดิมคือสเมอร์น.

ใหม่!!: อานาโตเลียและไอโอเนีย · ดูเพิ่มเติม »

เกอเรเม

กอเรเม (Göreme,, Κόραμα (Korama)) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในบริเวณคาพะโดเซียในตอนกลางของอานาโตเลียในประเทศตุรกี เกอเรเมเดิมชื่อ “Korama”, “Matiana”, “Maccan” และ “Avcilar” เมื่อหุบเขาเกอเรเมที่ตั้งอยู่ไม่ไกลนักได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ชื่อเมืองก็ถูกเปลี่ยนมาเป็น “เกอเรเม” เพื่อความสะดวก “อุทยานแห่งชาติแห่งเกอเรเม” (Göreme Milli Parklar) ไดัรับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโกในปี ค.ศ. 1985 เกอเรเมตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของผู้คนมาตั้งแต่สมัยโรมัน และเป็นที่ที่ชาวคริสเตียนยุคแรกใช้ในการเป็นที่หลบหนีภัยจากการไล่ทำร้ายและสังหารก่อนที่คริสต์ศาสนาจะเป็นศาสนาที่ได้รับการประกาศว่าเป็นศาสนาของจักรวรรดิ ที่จะเห็นได้จากคริสต์ศาสนสถานจำนวนมากมายที่ตั้งอยู่ในบริเวณนี้.

ใหม่!!: อานาโตเลียและเกอเรเม · ดูเพิ่มเติม »

เมโสโปเตเมีย

แผนที่บริเวณเมโสโปเตเมีย เมโสโปเตเมีย (Mesopotamia; Μεσοποταμία, เมโซโปตามีอา) เป็นคำกรีกโบราณ ตามรูปศัพท์แปลว่า "ที่ระหว่างแม่น้ำ" (meso.

ใหม่!!: อานาโตเลียและเมโสโปเตเมีย · ดูเพิ่มเติม »

เส้นทางการค้า

้นทางการค้า (trade route) คือเส้นทางที่ในเครือข่ายที่บ่งว่าเป็นเส้นทางและจุดหยุดพักที่ใช้ในการขนส่งสินค้าไปยังตลาดที่อยู่ในดินแดนที่ไกลออกไปจากต้นแหล่งที่ผลิตสินค้ามาก เส้นทางการค้าแต่ละเส้นทางก็จะประกอบด้วยถนนสายหลัก (Arterial road) ที่อาจจะมีเครือข่ายย่อยๆ ที่ใช้เป็นเส้นทางการค้าและการคมนาคมมาบรรจบ ในประวัติศาสตร์ช่วงตั้งแต่ปี 1532 ก่อนคริสต์ศักราช จนถึง..

ใหม่!!: อานาโตเลียและเส้นทางการค้า · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 27 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 27 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 27 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 153 องศาตะวันตก.

ใหม่!!: อานาโตเลียและเส้นเมริเดียนที่ 27 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 28 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 28 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 28 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 152 องศาตะวันตก.

ใหม่!!: อานาโตเลียและเส้นเมริเดียนที่ 28 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 29 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 29 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 29 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 151 องศาตะวันตก.

ใหม่!!: อานาโตเลียและเส้นเมริเดียนที่ 29 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เอฟิซัส

อฟิซัส (Ephesus; Ἔφεσος; Efes) เป็นเมืองกรีกโบราณที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของอานาโตเลียในจังหวัดอิซเมียร์ในประเทศตุรกีปัจจุบัน เอฟิซัสเป็นหนึ่งในสิบสองเมืองของสหพันธ์ไอโอเนีย (Ionian League) ในสมัยกรีกคลาสสิค ในสมัยโรมันเอฟิซัสเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นสองของจักรวรรดิโรมันรองจากโรมที่เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิอยู่เป็นเวลานาน เอฟิซัสมีประชากรกว่า 250,000 คนในศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราชซึ่งเท่ากับทำให้เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นสองของโลกในยุคนั้นด้วย ชื่อเสียงของเมืองมาจากเทวสถานอาร์ทีมิส (สร้างเสร็จราว 550 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ตัวเทวสถานถูกทำลายในปี..

ใหม่!!: อานาโตเลียและเอฟิซัส · ดูเพิ่มเติม »

เฮราคลิตุส

ราคลิตุสชาวเอเฟซัส (Heraclitus the Ephesian; กรีกโบราณ: Ἡράκλειτος ὁ Ἐφέσιος — Hērákleitos ho Ephésios) (ราว 535 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 475 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นนักปรัชญายุคก่อนโสกราตีสชาวกรีกผู้ที่เดิมมาจากเอเฟซัสใน ไอโอเนียบนฝั่งทะเลอานาโตเลีย เฮราคลิตุสเป็นที่รู้จักกันในปรัชญาของความเปลี่ยนแปลงที่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล และกฎจักรวาล (Logos) เป็นพื้นฐานของทุกสิ่งทุกอย่าง ในปัจจุบันเฮราคลิตุสมีชื่อเสียงว่าเป็นผู้มีอิทธิพลต่อฟรีดริช นีทเชอในปรัชญาของ space และ time จากประโยค “ท่านไม่สามารถจะก้าวลงไปในแม่น้ำเดียวกันเป็นครั้งที่สองเพราะแม่น้ำสายอื่นไหลมาสู่ตัวท่าน”.

ใหม่!!: อานาโตเลียและเฮราคลิตุส · ดูเพิ่มเติม »

เฮสิโอด

อด หรือ เฮสิอัด (Hesiod; Ἡσίοδος เฮ-สิ-โอ-ดอส) เป็นกวีชาวกรีกที่สันนิษฐานว่ามีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับโฮเมอร์ ในระหว่างปีที่ 750 ถึง 650 ก่อน..

ใหม่!!: อานาโตเลียและเฮสิโอด · ดูเพิ่มเติม »

เฮอรอโดทัส

รูปแกะสลักเฮอโรโดทัส เฮอโรโดทัส (Herodotos หรือ Herodotus – ประมาณ พ.ศ. 58-118) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกผู้บันทึกสงครามเปอร์เซีย ผู้เริ่มต้นประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก เกิดที่เมืองฮาลิคาร์นาสซัส ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของเอเชียไมเนอร์ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของเปอร์เซีย เฮอโรโดทัสได้เดินทางท่องเที่ยวศึกษาทั่วดินแดนในเอเชียไมเนอร์และตะวันออกกลาง และยังได้เดินทางลงใต้ไปอียิปต์ถึงเมืองเอเลแฟนทีน (อัสวานในปัจจุบัน) Oikumene) ประมาณ พ.ศ. 90 หรือ 450 ปีก่อนคริสตกาล โดยจำลองจากบันทึกของเฮอโรโดทัส เฮอโรโดทัส เคยอาศัยอยู่ที่กรุงเอเธนส์ หรืออย่างน้อยก็ตอนกลางของกรีกและได้พบกับโสโฟเคิลส์ (Sophocles) ก่อนที่จะไปเข้าเป็นพลเมืองร่วมอยู่กับอาณานิคมกรีกที่เมืองธุริ (Thurii) เมื่อปี..

ใหม่!!: อานาโตเลียและเฮอรอโดทัส · ดูเพิ่มเติม »

เซนอฟะนีส

ซนอฟะนีส เซนอฟะนีสแห่งคอโลฟอน (Xenophanes of Colophon, ออกเสียง:; Ξενοφάνης ὁ Κολοφώνιος) เป็นนักปรัชญาชาวกรีก เกิดที่เมืองคอโลฟอนในเอเชียไมเนอร์ เมื่อก่อนพุทธศักราช 27 ปี จากนั้นจึงอพยพไปอิตาลี เสียชีวิตที่เมืองอีเลียเมื่อ..

ใหม่!!: อานาโตเลียและเซนอฟะนีส · ดูเพิ่มเติม »

10 มิถุนายน

วันที่ 10 มิถุนายน เป็นวันที่ 161 ของปี (วันที่ 162 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 204 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: อานาโตเลียและ10 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

AnatoliaAsia Minorอะนาโตเลียอนาโตเลียที่ราบสูงอนาโตเลียคาบสมุทรอนาโตเลียเอเชียไมเนอร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »