โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาณาจักรอิศานปุระ

ดัชนี อาณาจักรอิศานปุระ

อาณาจักรอิศานปุระ หรือ อาณาจักรเจนละ เป็นอาณาจักรโบราณ เจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ปัจจุบันคือภาคอีสานตอนล่างของประเทศไทย ตอนบนของประเทศกัมพูชา และตอนล่างของประเทศลาว สถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าอิศานวรมัน ผู้สืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์เจนละ คือพระเจ้ามเหนทระวรมัน หรือพระเจ้าจิตรเสน ผู้ครองแคว้นเจนละ ที่ทรงครอบครองดินแดนในพื้นที่อีสานตอนใต้และลาวทางตอนใต้แถบวัดภู หลังจากที่ได้รับการสิบทอดอำนาจจากพระเจ้าจิตรเสน พระเจ้าอิศานวรมันเสด็จขึ้นครองราชย์ราว พ.ศ. 1153 - พ.ศ. 1198 ได้ทำสงครามกับอาณาจักรฟูนัน ที่ยึดของพื้นที่ทางตอนใต้ ในที่สุดก็ได้ควบรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน เป็นการสูญสิ้นอาณาจักรฟูนัน และได้สถาปนาศูนย์กลางการปกครองขึ้นใหม่ ชื่อว่า อิศานปุระ เมืองอิศานปุระ ที่พระเจ้าอิศานวรมันสถาปนาขึ้น นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่า ตั้งอยู่บริเวณกลุ่มปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์ (สมโบไพรกุก) ในเขตจังหวัดกัมปงธม ในประเทศกัมพูชา ซึ่งปรากฏหลักฐานปราสาทอิฐ ศาสนสถานในศาสนาฮินดูจำนวนมาก หลังจากรัชสมัยพระเจ้าอิศานวรมัน มีกษัตริย์ปกครองอีก 2 พระองค์ คือพระเจ้าภววรมันที่ 2 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 หลังจากนั้นบ้านเมืองเกิดความแตกแยก อาณาจักรถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน กลายเป็น เจนละบก และ เจนละน้ำ ทำให้เมืองอีศานปุระถูกลดความสำคัญลง และต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เชื้อสายของพระเจ้าอิศานวรมัน ได้รวบรวมทั้งสอง และสถาปนาอาณาจักรขึ้นใหม่ ชื่อว่า ยโศธรปุระ หรือเมืองพระนคร บริเวณจังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน กลุ่มปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์ (อิศานปุระ) เป็นกลุ่มปราสาทโบราณมีอายุมากกว่า 1390 ปี มีปราสาทที่ปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐานในปัจจุบันมากกว่า 170 ที่ โดยมีปราสาทสำคัญอยู่ 3 กลุ่มหลักในบริเวณราชธานีอิศานปุระ ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะให้นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมได้ และเนื่องจากมีปราสาทมากมายนับร้อยแห่ง จึงทำให้นักโบราณคดีชาวตะวันตกที่เข้ามาทำการสำรวจในพื้นที่ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้จัดทำระบบบัญชีชื่อปราสาทต่างๆขึ้นและยังคงใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์มี ชื่อเป็นทางการ เป็นตัวอักษรและตัวเลข แทนชื่อที่ชาวบ้านเรียก โดยปราสาทต่าง ๆ ในกลุ่มเหนือ จะมีชื่อขึ้นต้นว่า N (North) ปราสาทกลุ่มกลางมีชื่อขึ้นต้นว่า C (Central) และปราสาทกลุ่มใต้ มีชื่อขึ้นต้นว่า S (South) แล้วตามด้วยตัวเลขที่แสดงถึงความสำคัญ หรือตามลำดับการเรียงตัวที่ตั้งของปราสาท เช่น N1 หมายถึงปราสาทประธานของกลุ่มเหนือ S1 หมายถึงปราสาทประธานของกลุ่มใต้ คือปราสาทเนียกปวน และ C1 หมายถึงปราสาทประธานของกลุ่มกลาง คือปราสาทตาว เป็นต้น.

22 ความสัมพันธ์: พระเจ้าชัยวรมันที่ 1พระเจ้ายโศวรรมันที่ 1พระเจ้าจั่นซิตากัมพูชาเชื้อสายจีนรายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศกัมพูชารายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชาอำเภอพิบูลมังสาหารอีสานจักรวรรดิขแมร์จังหวัดกำปงธมจังหวัดสุรินทร์จังหวัดด่งนายจังหวัดไพรแวงทวารวดีท่าแขกประวัติศาสตร์กัมพูชาประวัติศาสตร์ยุคแรกของกัมพูชาประวัติศาสตร์ไทยประวัติศาสตร์เพชรบุรีประเทศกัมพูชาปราสาทขอมแรกนาขวัญ

พระเจ้าชัยวรมันที่ 1

ระเจ้าชัยวรมันที่ 1 เป็นกษัตริย์องค์แรกของจักรวรรดิขแมร์  ซึ่งมีวิวัฒนาการจาก อาณาจักรกัมโบจา (หรือที่รู้จักกันในนาม อาณาจักรอิศานปุระ ในภาษาจีน) พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 ปกครองประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ. 657 จนถึงปี ค.ศ. 690 รวมระยะเวลา 33 ปีHigham, C., 2014, Early Mainland Southeast Asia, Bangkok: River Books Co., Ltd., ISBN 9786167339443.

ใหม่!!: อาณาจักรอิศานปุระและพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้ายโศวรรมันที่ 1

วรรมันที่ 1 เอกสารไทยบางทีว่า ยโศวรมันที่ 1 (យសោវរ្ម័នទី១ ยโสวรฺมันที ๑; Yasovarman I) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิเขมร เสวยราชย์ในระหว่าง..

ใหม่!!: อาณาจักรอิศานปุระและพระเจ้ายโศวรรมันที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจั่นซิตา

ั่นซิตา (Kyanzittha, ကျန်စစ်သား; พ.ศ. 1627 - 1656) เป็นพระเจ้ากรุงพุกาม และถือเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์พม่าไม่แพ้พระเจ้าอโนรธามังช่อ เนื่องด้วยพระองค์ทรงเป็นธรรมกษัตริย์ที่ทำนุบำรุงศาสนาพุทธจนเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด จนเป็นที่ยอมรับทั้งจากชาวพม่าและชาวมอญ พระเจ้าจั่นซิตาเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งในรัชสมัยพระเจ้าอโนรธา เมื่อพระเจ้าซอลูพระราชโอรสของพระเจ้าอโนรธาขึ้นครองราชย์ พระองค์มิได้ประกอบภารกิจอันใดด้วยความสามารถพระองค์เอง แต่จะทรงใช้และปรึกษาเหล่าเสนาอำมาตย์อยู่บ่อย ๆ ในปลายรัชสมัยพระเจ้าซอลู งะรมัน เจ้าเมืองพะโค ซึ่งเป็นชาวมอญได้ก่อกบฏขึ้นจับตัวพระเจ้าซอลูเป็นตัวประกัน จั่นซิตาซึ่งครองเมืองถิเลงอยู่ ไม่สามารถยกทัพกลับมาช่วยพระองค์ได้ทัน งะรมันได้สังหารพระเจ้าซอลูที่เมืองพวาสอ และพยายามเข้ายึดครองอาณาจักรพุกามแต่จั่นซิตาได้เข้าขัดขวาง เหล่าเสนาอำมาตย์ และพระธัมมทัสสีมหาเถระที่ปรึกษาองค์สำคัญของพระเจ้าอโนรธา จึงได้อัญเชิญจั่นซิตาขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ เมื่อขึ้นครองราชย์ จั่นซิตามีพระนามว่า ศรีตรีภูวนาทิตยธัมมมราชาTaw, Blagden 1911: 216 ในภาษาสันสกฤต ในจารึกพม่าเรียกพระองค์ว่า "ถิลุงมัง" (T’iluin Man) แปลว่า "กษัตริย์แห่งถิเลง" แต่เนื่องจากจั่นซิตามิได้มีเชื้อสายของกษัตริย์ พระองค์จึงอ้างสิทธิธรรมในการครองราชสมบัติว่าพระองค์ทรงเป็นภาคหนึ่งของพระโพธิสัตว์ และเป็นองค์อวตารของพระวิษณุของชาวปยูอีกด้วย สมัยนี้จึงถือเป็นรัชสมัยที่ศิลปศาสตร์แบบมอญเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในพุกาม ในรัชสมัยของพระเจ้าจั่นซิตา ทรงติดต่อกับต่างประเทศเป็นอย่างมาก ในปี..

ใหม่!!: อาณาจักรอิศานปุระและพระเจ้าจั่นซิตา · ดูเพิ่มเติม »

กัมพูชาเชื้อสายจีน

วกัมพูชาเชื้อสายจีน (ចិនកម្ពុជា) คือชาวจีนที่เกิดในประเทศกัมพูชา หรือเป็นเชื้อสายของผู้อพยพชาวจีน หรือ ชาวจีนโพ้นทะเล โดยอาจเป็นลูกผสมระหว่างชาวกัมพูชากับจีนที่อาศัยอยู่ภายในประเทศกัมพูชา ในช่วง ค.ศ. 1960-1970 มีชาวจีนอาศัยอยู่ในกัมพูชาประมาณ 425,000 คน แต่ภายหลังเหตุการณ์ของเขมรแดง ชาวกัมพูชาเชื้อสายจีนจำนวนมากต่างอพยพออกนอกประเทศ ทำให้ประชากรชาวจีนในช่วงปี ค.ศ. 1984 มีจำนวนชาวกัมพูชาเชื้อสายจีนเพียง 61,400 คน โดยชาวกัมพูชาเชื้อสายจีนส่วนใหญ่ถือสัญชาติกัมพู.

ใหม่!!: อาณาจักรอิศานปุระและกัมพูชาเชื้อสายจีน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศกัมพูชา

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของประเทศกัมพูชาทั้งสิ้น 3 แหล่ง.

ใหม่!!: อาณาจักรอิศานปุระและรายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชา

250px หน้านี้เป็นรายพระนามพระมหากษัตริย์ในพระราชอาณาจักรกัมพูชา ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: อาณาจักรอิศานปุระและรายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอพิบูลมังสาหาร

ูลมังสาหาร เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี อยู่ห่างจากอำเภอเมืองอุบลราชธานี ประมาณ 45 กิโลเมตร เดินทางไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217.

ใหม่!!: อาณาจักรอิศานปุระและอำเภอพิบูลมังสาหาร · ดูเพิ่มเติม »

อีสาน

อีสาน หรือ อิสาน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: อาณาจักรอิศานปุระและอีสาน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิขแมร์

ักรวรรดิขแมร์ หรือ อาณาจักรเขมร หรือบางแหล่งเรียกว่า อาณาจักรขอม เป็นหนึ่งในอาณาจักรโบราณ เริ่มต้นขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ 6 โดยเริ่มจากอาณาจักรฟูนัน มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณประเทศกัมพูชา โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ ประเทศไทย ลาว และบางส่วนของเวียดนามในปัจจุบัน นับเป็นอาณาจักรที่มีแสนยานุภาพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาได้อ่อนกำลังลงจนเสียดินแดนบางส่วนให้กับอาณาจักรสุโขทัย และแตกสลายในที่สุดเมื่อตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรเขมรสืบทอดอำนาจจากอาณาจักรเจนฬา มีสงครามผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะกับอาณาจักรข้างเคียง เช่น อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรจามปา มรดกที่สำคัญที่สุดของอาณาจักรเขมรคือ นครวัด และ นครธม ซึ่งเคยเป็นนครหลวงเมื่อครั้งอาณาจักรแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุด และยังมีลัทธิความเชื่อต่างๆ อย่างหลากหลาย ศาสนาหลักของอาณาจักรนี้ได้แก่ ศาสนาฮินดู พุทธศาสนามหายาน และพุทธศาสนาเถรวาทซึ่งได้รับจากศรีลังกา เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13.

ใหม่!!: อาณาจักรอิศานปุระและจักรวรรดิขแมร์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดกำปงธม

กำปงธม หรือ ก็อมปวงทม (កំពង់ធំ, "ท่าเรืออันยิ่งใหญ่") เป็นจังหวัด (เขต) ของประเทศกัมพูชา มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดเสียมราฐทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ, จังหวัดพระวิหารทางทิศเหนือ, จังหวัดสตึงเตรงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ, จังหวัดกระแจะทางทิศตะวันออก, จังหวัดกำปงจามและจังหวัดกำปงชนังทางทิศใต้ และติดต่อกับโตนเลสาบทางทิศตะวันตก เมืองหลักของจังหวัด คือ สตึงแสน เป็นเมืองชายฝั่งแม่น้ำแสน มีประชากรประมาณ 30,000 คน จังหวัดกำปงธมเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 เป็นจังหวัดที่มีสถานที่ที่เป็นสถาปัตยกรรมเขมรเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ปราสาท Sambor Prei Kuk และปราสาทวัด Andet จังหวัดกำปมธมเป็นหนึ่งในเก้าจังหวัดที่อาณาเขตติดต่อกับโตนเลสาบ และเป็นจังหวัดที่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตสงวนชีวมณฑลโตนเล.

ใหม่!!: อาณาจักรอิศานปุระและจังหวัดกำปงธม · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุรินทร์

รินทร์ (เขมรถิ่นไทย: ซเร็น) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างหรือ "อีสานใต้" มีชื่อเสียงด้านการเลี้ยงช้าง การทอผ้าไหม ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ มีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์และภาษา เช่น เขมร กูยและลาวหรือไทยอีสาน มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 11 และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 24.

ใหม่!!: อาณาจักรอิศานปุระและจังหวัดสุรินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดด่งนาย

งนาย (Đồng Nai) เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเวียดนาม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนครโฮจิมินห์ เมืองใหญ่ที่สุดคือ เบียนฮหว่า ก่อนที่เวียดนามจะเข้าครอบครอง พื้นที่บริเวณจังหวัดนี้เคยอยู่ภายใต้อำนาจของอาณาจักรฟูนาน อาณาจักรเจนละ และอาณาจักรขอมจนถึง..

ใหม่!!: อาณาจักรอิศานปุระและจังหวัดด่งนาย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดไพรแวง

รแวงสำนักงานราชบัณฑิต.

ใหม่!!: อาณาจักรอิศานปุระและจังหวัดไพรแวง · ดูเพิ่มเติม »

ทวารวดี

ทวารวดี เป็นคำภาษาสันสกฤต เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 1427 โดยนายแซมมวล บีล (Samuel Beel) ได้แปลงมาจากคำว่า โถโลโปตี้ (Tolopoti) ที่มีอ้างอยู่ในบันทึกของภิกษุจีนจิ้นฮง (Hiuantsang) ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 กล่าวว่า โถโลโปตี เป็นชื่อของอาณาจักรหนึ่งตั้งอยู่ระหว่างอาณาจักรศรีเกษตร และอาณาจักรอิศานปุระ และเขาได้สรุปด้วยว่าอาณาจักรนี้เดิมตั้งอยู่ในดินแดนประเทศไทย(สยาม)ปัจจุบัน และยังสันนิษฐานคำอื่นๆที่มีสำเนียงคล้ายกันเช่น จวนโลโปติ (Tchouanlopoti) หรือ เชอโฮโปติ (Chohopoti) ว่าคืออาณาจักรทวารวดีด้วย ต่อมาความคิดเห็นนี้ได้มีผู้รู้หลายท่านศึกษาต่อและให้การยอมรับเช่น นายเอดัวร์ ชาวาน (Edourd Chavannes) และ นายตากากุสุ (Takakusu) ผู้แปลจดหมายเหตุการเดินทางของภิกษุอี้จิงในปี พ.ศ. 2439 และ นายโปล เปลลิโอต์ (Paul Pelliot) ผู้ขยายความอาณาจักรทวารวดีเพิ่มอีกว่ามีประชาชนเป็นชาวมอญในปี พ.ศ. 2447 เป็นต้น ดังนั้นบรรดาเมืองโบราณรวมทั้งโบราณวัตถุสถานต่างๆที่พบมากมายโดยเฉพาะในบริเวณลุ่มน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งแต่เดิมไม่สามารถจัดกลุ่มได้ว่าเป็นของขอมหรือของไทย แต่มีลักษณะคล้ายกับศิลปะอินเดียสมัยราชวงศ์คุปตะ - หลังคุปตะ ราวพุทธศตวรรษที่ 9-13 ที่พันตรีลูเนต์ เดอ ลาจองกีเยร์ (Lunet de Lajonguiere) เรียกว่า กลุ่มอิทธิพลอินเดียแต่ไม่ใช่ขอม จึงถูกนำมาสัมพันธ์กลายเป็นเรื่องเดียวกัน โดยศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. 2468) และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (พ.ศ. 2469) เป็นกลุ่มบุคคลแรกที่กำหนดเรียกชื่อดินแดนที่เมืองโบราณเหล่านี้ตั้งอยู่ รวมทั้งงานศิลปกรรมที่พบนั้นว่าคือดินแดนแห่งอาณาจักรทวารวดี และศิลปะแบบทวารวดี โดยใช้เหตุผลของตำแหน่งที่ตั้งอาณาจักรตามบันทึกจีนกับอายุของบันทึก และอายุของงานศิลปกรรมที่ตรงกัน อาณาจักรทวารวดีจึงกลายเป็นอาณาจักรแรกในดินแดนไทย กำหนดอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 ลงมาถึงพุทธศตวรรษที่ 16 อาณาจักรทวารวดี เป็นที่น่าเชื่อถือขึ้นอีกเมื่อพบเหรียญเงิน 2 เหรียญ มีจารึกภาษาสันสกฤตอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 จากเมืองนครปฐมโบราณ มีข้อความว่า ศรีทวารวดีศวรปุณยะ ซึ่งแปลได้ว่า บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดี หรือ บุญของผู้เป็นเจ้าแห่งศรีทวารวดี หรือ พระเจ้าศรีทวารวดีผู้มีบุญอันประเสริฐ อาณาจักรทวารวดีจึงเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่ามีอยู่จริง และยังเชื่อกันอีกด้วยว่าเมืองนครปฐมโบราณน่าจะเป็นศูนย์กลางหรือเมืองหลวงของอาณาจักร (แต่ปัจจุบันพบเหรียญลักษณะคล้ายกันอีก 2 เหรียญ ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และที่อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ความสำคัญของเมืองนครปฐมจึงเปลี่ยนไป) แต่ขณะเดียวกันนักวิชาการบางท่านก็เชื่อว่าอำเภออู่ทอง หรืออาจเป็นจังหวัดลพบุรี ที่น่าจะเป็นเมืองหลวงมากกว่ากัน.

ใหม่!!: อาณาจักรอิศานปุระและทวารวดี · ดูเพิ่มเติม »

ท่าแขก

ท่าแขก (ທ່າແຂກ) เป็นเมืองเอกในแขวงคำม่วน ประเทศลาว ตัวเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ตรงข้ามอำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนมImage.

ใหม่!!: อาณาจักรอิศานปุระและท่าแขก · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์กัมพูชา

ประวัติศาสตร์กัมพูชา เริ่มตั้งแต่ยุคของอาณาจักรฟูนัน อาณาจักรเจนละ พัฒนามาสู่กัมพูชายุคเมืองพระนคร ซึ่งมีความยิ่งใหญ่จนสามารถสร้างนครวัด นครธม เป็นศูนย์กลางของอาณาจักร จนกระทั่งพ่ายแพ้แก่อยุธยากลายเป็นรัฐบรรณาการของอยุธยา จนเมื่อฝรั่งเศสเข้ามามีอำนาจในอินโดจีน กัมพูชากลายเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส และเป็นรัฐในอารักขาของญี่ปุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสิ้นสุดสงครามโลก กัมพูชาได้เป็นประเทศเอกราช แต่เกิดความสับสนวุ่นวายภายในประเทศเนื่องจากความขัดแย้งภายใน ประเทศตกอยู่ภายใต้การปกครองของเขมรแดงอยู่ระยะหนึ่ง จนกองกำลังของเฮงสัมรินที่มีเวียดนามหนุนหลังเข้ามาขับไล่เขมรแดงออกไป และการเข้ามาไกล่เกลี่ยของสหประชาชาติ เพื่อยุติสงครามกลางเมือง.

ใหม่!!: อาณาจักรอิศานปุระและประวัติศาสตร์กัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ยุคแรกของกัมพูชา

ประวัติศาสตร์ยุคเริ่มแรกของกัมพูชา เริ่มจากยุคโบราณคดีจนถึงสมัยของอาณาจักรเจนละ ซึ่งเรื่องราวของกัมพูชาในสมัยโบราณคดียังไม่เป็นที่เข้าใจกันดีนัก โดยแหล่งโบราณคดีที่เก่าแก่ของกัมพูชาอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชาในปัจจุบัน ตำนานที่เกี่ยวข้องได้แก่ตำนานเกี่ยวกับพระทอง - นางนาคที่นาคราชเป็นผู้สร้างเมืองกัมพูชาให้แก่พระทองที่เป็นลูกเขย ราชพงศาวดารกัมพูชาถือว่าต้นตระกูลของชาวกัมพูชาเป็นตะกวดที่ขึ้นมาฟังธรรมเทศน.

ใหม่!!: อาณาจักรอิศานปุระและประวัติศาสตร์ยุคแรกของกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ไทย

การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยมักเริ่มนับตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัยเป็นต้นมา หากแต่ในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบัน พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี ตลอดจนหลักฐานของอารยธรรมและรัฐโบราณเป็นจำนวนมาก ภูมิภาคสุวรรณภูมิเคยถูกชาวมอญ เขมร และมลายูปกครองมาก่อน ต่อมา คนไทยได้สถาปนาอาณาจักรของตนเอง เช่น อาณาจักรสุโขทัย ไล่เลี่ยกันกับอาณาจักรล้านนา อาณาจักรเชียงแสน และอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองในช่วงเวลาค่อนข้างสั้นประมาณ 200 ปี ก็ถูกผนวกรวมกับอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมั่งคั่ง เป็นศูนย์กลางการค้าระดับนานาชาติ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปการปกครอง ซึ่งบางส่วนใช้สืบมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และยังทรงตราพระราชกำหนดศักดินา ทำให้อยุธยาเป็นสังคมศักดินา อยุธยาเริ่มติดต่อกับชาติตะวันตกเมื่อ..

ใหม่!!: อาณาจักรอิศานปุระและประวัติศาสตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์เพชรบุรี

นักโบราณคดีไทยได้แบ่งสมัยแห่งประวัติศาสตร์ในประเทศไทยไว้เป็น ๓ ยุคคือ.

ใหม่!!: อาณาจักรอิศานปุระและประวัติศาสตร์เพชรบุรี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกัมพูชา

กัมพูชา หรือ ก็อมปุเจีย (កម្ពុជា กมฺพุชา) ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรก็อมปุเจีย (ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា พฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา) เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจาม และชาวเขากว่า 30 เผ่า เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชาปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มาจากการเลือกตั้งโดยราชสภาเพื่อราชบัลลังก์ เป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขรัฐบาล คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ปกครองกัมพูชามาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี ใน..

ใหม่!!: อาณาจักรอิศานปุระและประเทศกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทขอม

ปราสาทเขมร หรือ ปราสาทขอม เป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ ที่สร้างขึ้นโดยอาณาจักรเขมร ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เป็นต้นมา พบมากในประเทศกัมพูชา และในเขตอีสานใต้ของประเทศไทย ปราสาทขอมก่อสร้างด้วยวัสดุอิฐ หินทราย และศิลาแลง ด้วยศิลปะเขมร ในประเทศไทยมีปราสาทขอมในที่ราบสูงอีสานทั้งสิ้น ๑๕๕ แห่งได้แก่ จังหวัดนครราชสีมาจำนวน ๓๗ แห่งแล้ว จังหวัดบุรีรัมย์อีก ๕๐ แห่ง จังหวัดสุรินทร์มีอยู่จำนวน ๓๑ แห่ง จังหวัดชัยภูมิ ๖ แห่ง จังหวัดร้อยเอ็ด ๑๔ แห่ง จังหวัดศรีสะเกษ ๑๑ แห่ง และจังหวัดอุบลราชธานีอีก ๖ แห่ง ส่วนมากมักถูกทำลายเหลือเพียงบางส่วน.

ใหม่!!: อาณาจักรอิศานปุระและปราสาทขอม · ดูเพิ่มเติม »

แรกนาขวัญ

วาดในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แสดงพิธีแรกนาขวัญในพม่า แรกนาขวัญ (Ploughing Ceremony; បុណ្យច្រត់ព្រះនង្គ័ល; မင်္ဂလာလယ်တော် Mingala Ledaw หรือ လယ်ထွန်မင်္ဂလာ Lehtun Mingala) เป็นพิธีกรรมที่พบเห็นได้ในหลายประเทศทางแถบเอเชีย จัดขึ้นเพื่อเริ่มต้นฤดูการปลูกข้าวแบบดั้งเดิม ในประเทศไทย การแรกนาขวัญซึ่งกระทำโดยราชสำนักนั้นประกอบด้วยพิธีสองอย่างตามลำดับ คือ พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีพุทธซึ่งตั้งขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ กับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีพราหมณ์ซึ่งกระทำสืบเนื่องมาแต่สมัยสุโขทัย ปัจจุบัน เรียกวันแรกนาขวัญว่า วันพืชมงคล ซึ่งจัดไม่ตรงกันทุกปีสุดแต่สำนักพระราชวังจะกำหนด วันพืชมงคลยังเป็นวันเกษตรกรไทย เพื่อระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรรมในเศรษฐกิจไทย และเป็นวันหยุดราชการด้วย แต่ไม่เป็นวันหยุดธนาคาร.

ใหม่!!: อาณาจักรอิศานปุระและแรกนาขวัญ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

อาณาจักรเจนละอาณาจักรเจนฬา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »