โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

ดัชนี อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein, อัลแบร์ท ไอน์ชไตน์; 14 มีนาคม พ.ศ. 2422 – 18 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2428 ชาวเยอรมันเชื้อสายยิว (ตามลำดับ) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม สถิติกลศาสตร์ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ใน..

146 ความสัมพันธ์: ชาวยิวอัชเคนาซิชาวยิวอเมริกันชาวเยอรมันบิกแบงบุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์บทนำทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปฟิลิป ฮาลซมันฟิสิกส์ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร์ฟิสิกส์ทฤษฎีฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์พ.ศ. 2422พ.ศ. 2448พ.ศ. 2462พ.ศ. 2464พ.ศ. 2498พ.ศ. 2559พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรียพอล ดิแรกกฎของฮับเบิลกรานิต จากากลศาสตร์ดั้งเดิมการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จการลวงสัมผัสที่ผิวหนังแบบกระต่ายการทดลองฟิลาเดลเฟียการทดลองทางความคิดการเกณฑ์ทหารการเดินทางข้ามเวลาการเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์)กาลิเลโอ กาลิเลอีกำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะกูกอลเพลกซ์มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินมหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟมักซ์ บอร์นมักซ์ พลังค์มาตรวัดฟรีดแมน-เลอแมตร์-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์มิ โกมิซุโนะ อามิมีดโกนอ็อกคัมมนุษยศาสตร์รายชื่อบุคคลในแสตมป์สวาซิแลนด์รายชื่อหน่วยทางวิทยาศาสตร์ที่ตั้งตามชื่อบุคคลรายชื่อนักวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้เป็นชื่อธาตุรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ริชาร์ด ไฟน์แมนวัฒนธรรมวันพายวิลเฮล์ม วีน...วิทยาศาสตร์เทียมวงโคจรว็อล์ฟกัง เพาลีศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์สมการฟรีดแมนสมมุติฐานเฉพาะกิจสมองของอัลเบิร์ต ไอนสไตน์สหรัฐสูตรสตีเฟน ฮอว์กิงสนามแม่เหล็กสนามแรงบิด (วิทยาศาสตร์เทียม)หลักการพื้นฐานจักรวาลวิทยาหลุมขาวหลุมดำห้องทดลองของเด็กซ์เตอร์ออตโต สเติร์นอะตอมอัจฉริยบุคคลอัตราเร็วของแสงอาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์อาร์เธอร์ ชนิตซ์เลอร์อาร์เทอร์ คอมป์ตันอุล์มอูร์แบ็ง เลอ แวรีเยอีอีควอลเอ็มซีสแควร์อ็องรี ปวงกาเรฮันส์ เบเทอฮิวริสติกในการประเมินและการตัดสินใจฮิสทรี (ช่องโทรทัศน์)ฌ็อง แปแร็งจอห์น ฟอน นอยมันน์จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาทฤษฎีสรรพสิ่งทฤษฎีสัมพัทธภาพทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้าของเหลวผลควบแน่นโพส–ไอน์สไตน์ดวงอาทิตย์ดาฟิด ฮิลแบร์ทคลื่นความโน้มถ่วงคลีฟแลนด์คล็อด แชนนอนความสมมูลมวล–พลังงานความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายในความโน้มถ่วงความโน้มถ่วงเชิงควอนตัมคอมมานด์ & คองเคอร์คอมมานด์ & คองเคอร์: เรดอเลิร์ตคำประกาศเจตนารัสเซลล์–ไอน์สไตน์คณิตศาสตร์ค่าคงที่จักรวาลค่าคงตัวค่าคงตัวความโน้มถ่วงตัวคูณลอเรนซ์ประวัติศาสตร์ฟิสิกส์ประวัติศาสตร์ทฤษฎีบิกแบงประเทศเยอรมนีปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริกปริศนาสมบัติอัจฉริยะปรินซิปีปลาที่ว่ายในสนามฟุตบอลนักฟิสิกส์นักวิทยาศาสตร์นีล ดะแกรส ไทสันแบบจำลองเอกภพสถิตแฟนพันธุ์แท้ 2013แอร์วิน ชเรอดิงเงอร์แอนติโปรตอนแฮร์มันน์ มินคอฟสกีแฮ็นดริก โลเรินตส์แคลคูลัสโวล์ฟ เมสซิ่งไมโครเลนส์ของแรงโน้มถ่วงไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็นไอน์สไตเนียมไอแซก นิวตันไทม์ไข่จักรวาลเมารี วาลโตเนนเรือของกาลิเลโอเลนส์ความโน้มถ่วงเส้นเวลาของบิกแบงเส้นเวลาของยุคใหม่เอ็ดเวิร์ด เทลเลอร์เจ. โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์เจาะเวลาหาอดีตเคมีแสง14 มีนาคม17 ตุลาคม18 เมษายน27 กันยายน29 พฤษภาคม30 มิถุนายน ขยายดัชนี (96 มากกว่า) »

ชาวยิวอัชเคนาซิ

วยิวอัชเคนาซิ หรือ ชาวยิวแห่งอัชเคนาซ (יְהוּדֵי אַשְׁכֲּנָז หรือ אַשְׁכֲּנָזִים, Ashkenazi Jews หรือ Ashkenazic Jews หรือ Ashkenazim) คือชาวยิวที่สืบเชื้อสายมาจากชาวยิวที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มแม่น้ำไรน์แลนด์ทางตะวันตกของเยอรมนีและตอนเหนือของฝรั่งเศสในยุคกลาง คำว่า "Ashkenaz" เป็นชื่อภาษาฮิบรูสมัยกลางของภูมิภาคที่ในปัจจุบันครอบคลุมประเทศเยอรมนี และบริเวณที่มีชายแดนติดต่อที่พูดภาษาเยอรมัน นอกจากนั้นอัชเคนาซก็ยังเป็นประมุขจาเฟติคที่สืบเชื้อสายมาจากลูกหลานของโนอาห์ (Table of Nations) ฉะนั้น "อัชเคนาซิม" หรือ "อัชเคนาซิยิว" ก็คือ "ชาวยิวเยอรมัน" ต่อมาชาวยิวอัชเคนาซิก็อพยพไปทางตะวันออก ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณที่ไม่ได้พูดภาษาเยอรมันที่รวมทั้งฮังการี โปแลนด์ ลิทัวเนีย รัสเซีย ยุโรปตะวันออก และ ภูมิภาคอื่นๆ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึง 19 ภาษาที่นำติดตัวไปก็คือภาษายิดดิชซึ่งเป็นภาษาเยอรมันภาษายิว|ยิว ที่ตั้งแต่ยุคกลางมาเป็น "ภาษากลาง" ในหมู่ชาวยิวอัชเคนาซิ นอกจากนั้นก็มีบ้างที่พูดภาษายิว-ฝรั่งเศส หรือ ภาษาซาร์ฟาติค (Zarphatic) และ ภาษากลุ่มสลาฟ-ที่มีพื้นฐานมาจากภาษาคนานิค (ภาษายิว-เช็ก) ชาวยิวอัชเคนาซิวิวัฒนาการวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่ผสานเอาวัฒนธรรมของชนในท้องถิ่นที่ตั้งถิ่นฐานในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกเข้ามาด้วย แม้ว่าในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ชาวยิวอัชเคนาซิจะเป็นจำนวนเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ของประชากรชาวยิวทั้งโลก แต่เมื่อมาถึงปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และชาวยิวอัชเคนาซิ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวยิวอเมริกัน

วอเมริกันเชื้อสายยิว หรือ ชาวยิวเชื้อสายอเมริกัน (American Jews หรือ Jewish Americans คือประชาชนชาวอเมริกันที่สืบเชื้อสายมาจากชาวยิวหรือชาวยิวที่พำนักอยู่ในสหรัฐอเมริกาในฐานะคนต่างด้าว สหรัฐอเมริกาเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชาวยิวที่ใหญ่เป็นที่สองของโลกรองจากอิสราเอลขึ้นอยู่กับคำจำกัดคความทางศาสนา (ชาวยิวโดยเชื้อชาติ vs ชาวยิวโดยเชื้อชาติและศาสนา) และสถิติของจำนวนประชากรต่างๆ ประชากรชาวอเมริกันเชื้อสายยิวประมาณว่ามีด้วยกันทั้งหมดประมาณ 5,128,000 คน หรือ 1.7% ของประชากรอเมริกันทั้งหมด ในปี ค.ศ. 2007 (301,621,000 คน) แต่จำนวนอาจจะสูงถึง 6,444,000 คน หรือ 2.2% ในขณะที่สถิติของสำนักงานสถิติกลางของจำนวนประชากรอิสราเอลประมาณว่าเป็นจำนวน 5,435,800 คนในปี ค.ศ. 2007 (75.7% ของประชากรโดยทั่วไป) ชาวยิวในสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่เป็นชาวยิวอัชเคนาซิที่อพยพมาจากยุโรปกลาง และ ยุโรปตะวันออกและผู้สืบเชื้อสาย นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มชนชาวยิวสาขาต่างๆ (Jewish ethnic divisions) ที่รวมทั้งมิซราฮิ และ เซฟาร์ดี ฉะนั้นชาวยิวในสหรัฐอเมริกาจึงมีด้วยกันหลายวัฒนธรรมและสาขาของศาสนาตั้งแต่ออร์ธอด็อกซ์ฮาเรดีไปจนถึงผู้ใช้ชีวิตในสังคมที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา หรือชาวยิวที่เป็นยิวโดยเชื้อชาติเท่านั้นโดยไม่นับถือศาสนาใ.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และชาวยิวอเมริกัน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเยอรมัน

วเยอรมัน (die Deutschen) ชื่อ กลุ่มคนเผ่าพันธุ์ โปรโต-เจอรมานิก ซึ่งมีถิ่นกำเนิดบริเวณจัตแลนด์และบริเวณอเลมันเนียซึ่งก็คือประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน ซึ่งสมัยก่อนชนชาติพวกนี้ถูกเรียกว่าชาวติวตันและชาวก๊อธปัจจุบันมีประชากรโดยรวม160ล้านคน ชาวเยอรมันจัดว่าเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกันกับพวกชาวสแกนดิเนเวีย ชาวอังกฤษและชาวดัตช์ซึ่งจัดว่าเป็นพวกตระกูลเจอร์มานิก.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และชาวเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

บิกแบง

ตาม'''ทฤษฎีบิกแบง''' จักรวาลมีจุดกำเนิดมาจากสภาพที่มีความหนาแน่นสูงและร้อน และจักรวาลมีการขยายตัวอยู่ตลอดเวลา บิกแบง (Big Bang, "การระเบิดครั้งใหญ่") เป็นแบบจำลองของการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพในจักรวาลวิทยาซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และจากการสังเกตการณ์ที่แตกต่างกันจำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์โดยทั่วไปใช้คำนี้กล่าวถึงแนวคิดการขยายตัวของเอกภพหลังจากสภาวะแรกเริ่มที่ทั้งร้อนและหนาแน่นอย่างมากในช่วงเวลาจำกัดระยะหนึ่งในอดีต และยังคงดำเนินการขยายตัวอยู่จนถึงในปัจจุบัน ฌอร์ฌ เลอแม็ทร์ นักวิทยาศาสตร์และพระโรมันคาทอลิก เป็นผู้เสนอแนวคิดการกำเนิดของเอกภพ ซึ่งต่อมารู้จักกันในชื่อ ทฤษฎีบิกแบง ในเบื้องแรกเขาเรียกทฤษฎีนี้ว่า สมมติฐานเกี่ยวกับอะตอมแรกเริ่ม (hypothesis of the primeval atom) อเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน ทำการคำนวณแบบจำลองโดยมีกรอบการพิจารณาอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ต่อมาในปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และบิกแบง · ดูเพิ่มเติม »

บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์

ลแห่งปี (Person of the Year หรือเดิม Man of the Year) เป็นฉบับประจำปีของนิตยสารข่าวไทม์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเสนอและพรรณนาถึงบุคคล กลุ่ม แนวคิดหรือวัตถุซึ่ง "ไม่ว่าจะเกิดอะไรก็ตาม...ได้มีอิทธิพลมากที่สุดต่อเหตุการณ์ในปีนั้น".

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และบุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์ · ดูเพิ่มเติม »

บทนำทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป

แคสซีนี (จินตนาการของศิลปิน): คลื่นวิทยุถูกส่งระหว่างโลกและยาน (คลื่นสีเขียว) ถูกชะลอโดยปริภูมิ-เวลาที่บิดงอ (เส้นสีน้ำเงิน) เนื่องจากมวลของดวงอาทิตย์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปเป็นทฤษฎีความโน้มถ่วงซึ่งอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์พัฒนาระหว่าง..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และบทนำทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป · ดูเพิ่มเติม »

ฟิลิป ฮาลซมัน

''Dali Atomicus'' ภาพถ่ายของซัลวาดอร์ ดาลีที่ฮาลซมันถ่ายในปี ค.ศ. 1948 ฟิลิป ฮาลซมัน (Филипп Халсман; Filips Halsmans; Philippe Halsman; 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1906 - 25 มิถุนายน ค.ศ. 1979) เป็นช่างภาพบุคคลชาวอเมริกันเชื้อสายลัตเวียที่มีชื่อเสียง ฟิลิป ฮาลซมันเกิดที่เมืองรีกา จักรวรรดิรัสเซีย ในครอบครัวชาวยิว ศึกษาวิศวกรรมไฟฟ้าที่เมืองเดรสเดิน เมื่ออายุได้ 22 ปี ในเดือนกันยายน..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และฟิลิป ฮาลซมัน · ดูเพิ่มเติม »

ฟิสิกส์

แสงเหนือแสงใต้ (Aurora Borealis) เหนือทะเลสาบแบร์ ใน อะแลสกา สหรัฐอเมริกา แสดงการแผ่รังสีของอนุภาคที่มีประจุ และ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ขณะเดินทางผ่านสนามแม่เหล็กโลก ฟิสิกส์ (Physics, φυσικός, "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις, "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงาน ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อย ๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อยฟิสิกส์พลาสมาสำหรับงานวิจัยฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และนักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรืออธิบายการทดลองใหม่ ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ ๆ ทั้งนี้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ภาคปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับขีดจำกัดของการสังเกต และประสิทธิภาพของเครื่องมือวัด ถ้าเทคโนโลยีของเครื่องมือวัดพัฒนามากขึ้น ข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดและถูกต้องมากขึ้น ทำให้ขอบเขตของวิชาฟิสิกส์ยิ่งขยายออกไป ข้อมูลที่ได้ใหม่ อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทฤษฎีและกฎที่มีอยู่เดิมทำนายไว้ ทำให้ต้องสร้างทฤษฏีใหม่ขึ้นมาเพื่อทำให้ความสามารถในการทำนายมีมากขึ้น.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร์

ห้องทดลองทางด้านฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร์ เกี่ยวกับ การกักไอออน เพื่อใช้ใน คอมพิวเตอร์ควอนตัม ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร์ (Atomic, Molecular, and Optical physics: AMO (อ่าน เอ-เอ็ม-โอ) physics) เป็น ศาสตร์แขนงหนี่งของฟิสิกส์ที่ศึกษาเกี่ยวกับ สสาร และ ปฏิกิริยาระหว่าง แสง (light) กับ สสาร (matter) ที่ระดับขนาดเท่ากับ อะตอมเดี่ยว หรือ โครงสร้างที่ประกอบไปด้วยอะตอมจำนวนไม่มากนัก ศาสตร์แขนงนี้เป็นการรวมเอา (1) ฟิสิกส์อะตอม (atomic physics), (2) ฟิสิกส์โมเลกุล (molecular physics) และ (3) ฟิสิกส์ทัศนศาสตร์ (optical physics) เข้าไว้ด้วยกัน ภาพศาสตราจารย์ไวอ์แมน (ซ้าย) และ ศาสตราจารย์คอร์เนลล์ (ขวา) นักวิทยาศาสตร์ผู้ได้รับ รางวัลโนเบล ในปี 2544 เกี่ยวกับ สถานะควบแน่น โบส - ไอน์สไตน์ ในก๊าซเจือจาง ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร์ มีกำเนิดมาพร้อมกับ ฟิสิกส์สาขาหลักๆ สามสาขา นับจากการศึกษาโครงสร้างของอะตอม การค้นพบการแผ่รังสีจากวัตถุดำ และ การศึกษาทดลองเกี่ยวกับโมเลกุล หากแต่ว่า ชื่ออย่างเป็นทางการของสาขา ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร์ ยังไม่ได้ถือกำเนิดขึ้น ฟิสิกส์ทั้งสามแขนง ได้ถูกนำมารวมไว้ในกลุ่มเดียวกันเนื่องมาจากเหตุผลหลายๆ ข้อ เช่น ปฏิกิริยาระหว่างกันของ อะตอม โมเลกุล และ แสง, ความคล้ายคลึงกันของวิธีการที่ใช้ศึกษา และ ลักษณะร่วม ของ ระดับขนาดของพลังงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้นักฟิสิกส์ใช้ความรู้ทั้ง ทาง ฟิสิกส์ดั้งเดิม (classical physics) และ ควอนตัมฟิสิกส์ (quantum physics) ในการศึกษาศาสตร์แขนงนี้ เมื่อศาสตร์ทั้งสามนี้ได้รับการพัฒนาขึ้น ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ขนานไปกับพัฒนาการของกลศาสตร์ควอนตัม ความเชื่อมโยงกันระหว่างสาขาก็มีมากขึ้น และ หลอมรวมเข้าด้วยกันตามกาลเวลา ความเชื่อมโยงยิ่งมีมากขึ้นไปอีกเมื่อมีการประดิษฐ์ เลเซอร์ ขึ้นในห้องปฏิบัติการ ซึ่งโดยตัวของมันเองแล้ว เลเซอร์ ก็คือผลพวงหนึ่งของความรู้ความเข้าใจใน ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร์ สิ่งที่บ่งบอกช่วงระยะเวลากำเนิดชื่อสาขาอย่างเป็นทางการของ AMO นั้นเช่น การที่ American Physical Society (APS) มีการตั้งภาคเฉพาะสำหรับ AMO ชื่อว่า เด-มอพ (Division of Atomic, Molecular, and Optical Physics: DAMOP) ขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟิสิกส์ทฤษฎี

ฟิสิกส์ทฤษฎี คือ สาขาวิชาฟิสิกส์แขนงหนึ่งที่นำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ความคิดเชิงนามธรรมของวัตถุเชิงกายภาพและระบบต่าง ๆ ให้อยู่ในหลักการเหตุผล อธิบายและทำนายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งแตกต่างจากฟิสิกส์ทดลองจากการใช้อุปกรณ์การทดลองที่จะตรวจหาปรากฏการณ์เหล่านี้ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มักจะมาจากอิทธิพลระหว่างการเรียนรู้จากการทดลองและทฤษฎีโดยปกติ แต่ฟิสิกส์ทฤษฎียึดติดกับความเคร่งครัดทางคณิตศาสตร์ ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับการทดลองและการสังเกตค่อนข้างน้อยในบางกรณี อาทิ ในขณะที่พัฒนาทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ได้พิจารณาถึงการแปลงลอเรนซ์ซึ่งทำให้สมการของแมกซ์เวลล์ไม่เปลี่ยนแปลง แต่ไม่ได้สนใจถึงการทดลองของมิเชลสัน-มอร์ลีย์ที่ทำเกี่ยวกับอีเธอร์ที่มีผลต่อการเคลื่อนของโลก ในทางกลับกัน ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลโนเบลสำหรับการอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริกซึ่งไม่มีการอ้างอิงในเชิงทฤษฎีใด ๆ ทั้งสิ้น.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และฟิสิกส์ทฤษฎี · ดูเพิ่มเติม »

ฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์

ฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์ (mathematical physics) เป็นสาขาวิชาฟิสิกส์ที่ใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหา โดยอาจแบ่งได้เป็น 2 ยุค คือยุคแรกหรือยุคคลาสสิก ฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์คิดค้นเพื่อใช้แก้ปัญหาทางกลศาสตร์ ทฤษฎีไฟฟ้าแม่เหล็ก และอุณหพลศาสตร์เป็นต้น.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2422

ทธศักราช 2422 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1879.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และพ.ศ. 2422 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2448

ทธศักราช 2448 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1905 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิต.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และพ.ศ. 2448 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2462

ทธศักราช 2462 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1919 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และพ.ศ. 2462 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2464

ทธศักราช 2464 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1921 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และพ.ศ. 2464 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2498

ทธศักราช 2498 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1955 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และพ.ศ. 2498 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2559

ทธศักราช 2559 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2016 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ และเป็น.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และพ.ศ. 2559 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย

ระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย(30 มกราคม พ.ศ. 2437 - 28 สิงหาคม พ.ศ. 2489)(พระนามเต็ม:บอริส คลีเมนต์ โรเบิร์ต มาเรีย ปิอุส ลุดวิก สตานิสเลาส์ ซาเวียร์)เป็นพระโอรสในพระเจ้าซาร์เฟอร์ดินานด์ที่ 1 แห่งบัลแกเรียกับเจ้าหญิงมารี หลุยส์แห่งปาร์มา พระองค์ทรงขึ้นครองราชสมบัติหลังจากพระบิดาทรงสละราชบัลลังก์ในปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย · ดูเพิ่มเติม »

พอล ดิแรก

อล ดิแรก พอล เอเดรียน มัวริซ ดิแรก (Paul Adrien Maurice Dirac; 8 สิงหาคม 2445 -20 ตุลาคม 2527) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวอังกฤษ หนึ่งในผู้ก่อตั้งฟิสิกส์สาขากลศาสตร์ควอนตัม เขาดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ลูคาเซียนที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ก่อนจะไปใช้ชีวิตในช่วงสิบปีสุดท้ายของชีวิตที่มหาวิทยาลัยฟลอริดาสเตต เขาเป็นผู้สร้าง "สมการดิแรก" เพื่อใช้อธิบายพฤติกรรมของแฟร์มิออน นำไปสู่การคาดการณ์ถึงการดำรงอยู่ของปฏิสสาร เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 2476 ร่วมกับ เออร์วิน ชเรอดิงเงอร์ สำหรับการ "ค้นพบรูปแบบใหม่ของทฤษฎีอะตอม".

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และพอล ดิแรก · ดูเพิ่มเติม »

กฎของฮับเบิล

กฎของฮับเบิล เป็นสมการในวิชาฟิสิกส์จักรวาลวิทยาที่อธิบายปรากฏการณ์การเคลื่อนไปทางแดงของแสงที่ได้รับจากดาราจักรอันห่างไกลซึ่งมีค่าแปรผันไปตามระยะห่าง กฎนี้คิดค้นขึ้นครั้งแรกโดย เอ็ดวิน ฮับเบิล ในปี ค.ศ. 1929 หลังจากเขาได้เฝ้าสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์มานับสิบปี นับได้ว่าการเฝ้าสังเกตการณ์ของฮับเบิลเป็นหลักฐานชิ้นแรกของแนวคิดการขยายตัวของจักรวาล ซึ่งเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญของแนวคิดบิกแบง ข้อมูลในการคำนวณล่าสุดใช้ข้อมูลในปี 2003 ซึ่งได้จากดาวเทียม WMAP ร่วมกับข้อมูลทางดาราศาสตร์อื่นๆ ได้ค่าคงที่ของฮับเบิลเท่ากับ 70.1 ± 1.3 (กม./วินาที)/เมกะพาร์เซก ซึ่งสอดคล้องกับค่าที่คำนวณได้จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเมื่อปี 2001 คือ 72 ± 8 (กม./วินาที)/เมกะพาร์เซก.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และกฎของฮับเบิล · ดูเพิ่มเติม »

กรานิต จากา

กรานิต จากา (Granit Xhaka; เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1992) เป็นนักฟุตบอลอาชีพชาวสวิส ปัจจุบันเล่นในตำแหน่งกองกลางให้กับสโมสรอาร์เซนอลในพรีเมียร์ลีก และทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์ จากาได้รับฉายาว่าเป็น "ชไวน์ชไตเกอร์หนุ่ม" (Young Schweinsteiger) จากอ็อทท์มาร์ ฮิทซ์เฟ็ลท์ ผู้จัดการทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์ และได้รับฉายาว่า "ไอน์สไตน์น้อย" (Little Einstein) จากวาลอน เบห์รามี เพื่อนร่วมทีมชาติ เนื่องจากเป็นผู้ที่ชื่นชอบเรื่องวิทยาศาสตร์มาก จากาเกิดที่เมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีพ่อแม่เป็นชาวคอซอวอเชื้อสายแอลเบเนีย อพยพจากคอซอวอมาสู่สวิตเซอร์แลนด์ตั้งแต่ทั้งคู่ยังไม่มีลูก พี่ชายของจากา คือ เทาลันต์ จากา นั้นก็เป็นนักฟุตบอลเล่นใหักับทีมชาติแอลเบเนีย โดยแต่เดิมนั้นจากามีความต้องการที่จะเล่นให้กับแอลเบเนีย แต่ทว่าทางแอลเบเนียไม่ได้ให้ความสนใจ กอรปกับมีการปรับปรุงทีม จากาเลยตัดสินใจเลือกที่จะเล่นให้กับสวิตเซอร์แลนด์ จากามีชื่อเสียงโด่งดังจากการเล่นให้กับโบรุสเซียเมินเชนกลัดบัคในบุนเดสลีกา เยอรมนี ในฐานะกัปตันทีมด้วยอายุเพียง 23 ปี ได้ชื่อว่าเก่งในเรื่องการวางลูกบอลยาวและการสกัดคู่แข่งขันอย่างเด็ดขาดหนักหน่วง ซึ่งก่อนหน้านั้นจากาเล่นให้กับบาเซิลในฤดูกาล 2011–12 ที่เอาชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในรอบ 16 ทีมสุดท้ายของรายการยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกฤดูกาลเดียวกันมาแล้ว ก่อนจะย้ายไปโบรุสเซียเมินเชนกลัดบัดด้วยค่าตัว 8.5 ล้านยูโร และในระดับทีมชาติ ก็เคยติดทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์ชุดอายุไม่เกิน 17 ปี (ร่วมรุ่นเดียวกับชาริล ชัปปุยส์) และได้ลงเล่นในฟุตบอลโลกเยาวชน 2009 ที่ไนจีเรีย และได้แชมป์มาแล้ว โดยในนัดชิงชนะเลิศเป็นผู้จ่ายลูกบอลให้เพื่อนร่วมทีมทำประตูได้ด้วย และกับทีมชาติชุดใหญ่ ได้เคยลงเล่นในฟุตบอลโลก 2014 ที่บราซิล 4 นัด โดยทำประตูได้ในนัดที่แพ้ให้กับฝรั่งเศสไป 5–2 กรานิต จากา ย้ายมาร่วมกับอาร์เซนอลในพรีเมียร์ลีก อังกฤษ ในวันที่ 21 พฤษภาคม..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และกรานิต จากา · ดูเพิ่มเติม »

กลศาสตร์ดั้งเดิม

กลศาสตร์ดั้งเดิม เป็นหนึ่งในสองวิชาที่สำคัญที่สุดของกลศาสตร์ (โดยอีกวิชาหนึ่ง คือ กลศาสตร์ควอนตัม) ซึ่งอธิบายถึงการเคลื่อนที่ของวัตถุต่าง ๆ ภายใต้อิทธิพลจากระบบของแรง โดยวิชานี้ถือเป็นวิชาที่ครอบคลุมในด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และเทคโนโลยีมากที่สุดวิชาหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นวิชาที่เก่าแก่ ซึ่งมีการศึกษาในการเคลื่อนที่ของวัตถุตั้งแต่สมัยโบราณ โดยกลศาสตร์ดั้งเดิมรู้จักในวงกว้างว่า กลศาสตร์นิวตัน ในทางฟิสิกส์ กลศาสตร์ดั้งเดิมอธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุขนาดใหญ่โดยแปลงการเคลื่อนที่ต่าง ๆ ให้กลายเป็นส่วนของเครื่องจักรกล เหมือนกันกับวัตถุทางดาราศาสตร์ อาทิ ยานอวกาศ ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ และ ดาราจักร รวมถึงครอบคลุมไปยังทุกสถานะของสสาร ทั้งของแข็ง ของเหลว และแก๊ส โดยจะให้ผลลัพธ์ที่มีความแม่นยำสูง แต่เมื่อวัตถุมีขนาดเล็กหรือมีความเร็วที่สูงใกล้เคียงกับความเร็วแสง กลศาสตร์ดั้งเดิมจะมีความถูกต้องที่ต่ำลง ต้องใช้กลศาสตร์ควอนตัมในการศึกษาแทนกลศาสตร์ดั้งเดิมเพื่อให้มีความถูกต้องในการคำนวณสูงขึ้น โดยกลศาสตร์ควอนตัมจะเหมาะสมที่จะศึกษาการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีขนาดเล็กมาก ซึ่งได้ถูกปรับแต่งให้เข้ากับลักษณะของอะตอมในส่วนของความเป็นคลื่น-อนุภาคในอะตอมและโมเลกุล แต่เมื่อกลศาสตร์ทั้งสองไม่สามารถใช้ได้ จากกรณีที่วัตถุขนาดเล็กเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ทฤษฎีสนามควอนตัมจึงเป็นตัวเลือกที่นำมาใช้ในการคำนวณแทนกลศาสตร์ทั้งสอง คำว่า กลศาสตร์ดั้งเดิม ได้ถูกใช้เป็นครั้งแรกในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพื่อกล่าวถึงระบบทางฟิสิกส์ของไอแซก นิวตันและนักปรัชญาธรรมชาติคนอื่นที่อยู่ร่วมสมัยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ประกอบกับทฤษฎีทางดาราศาสตร์ในช่วงแรกเริ่มของโยฮันเนส เคปเลอร์จากข้อมูลการสังเกตที่มีความแม่นยำสูงของไทโค บราเฮ และการศึกษาในการเคลื่อนที่ต่าง ๆ ที่อยู่บนโลกของกาลิเลโอ โดยมุมมองของฟิสิกส์ได้ถูกเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาอย่างยาวนานก่อนที่จะมีทฤษฎีสัมพัทธภาพและกลศาสตร์ควอนตัม ซึ่งแต่เดิม ในบางแห่งทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ไม่ถูกจัดอยู่ในกลศาสตร์ดั้งเดิม แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไป หลายแห่งเริ่มจัดให้สัมพัทธภาพเป็นกลศาสตร์ดั้งเดิมในรูปแบบที่ถูกต้อง และถูกพัฒนามากที่สุด แต่เดิมนั้น การพัฒนาในส่วนของกลศาสตร์ดั้งเดิมมักจะกล่าวถึงกลศาสตร์นิวตัน ซึ่งมีการใช้หลักการทางฟิสิกส์ประกอบกับวิธีการทางคณิตศาสตร์โดยนิวตัน ไลบ์นิซ และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง และวิธีการปกติหลายอย่างได้ถูกพัฒนา นำมาสู่การกำหนดกลศาสตร์ครั้งใหม่ ไม่ว่าจะเป็น กลศาสตร์แบบลากรางจ์ และกลศาสตร์แฮมิลตัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นอย่างมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 อีกทั้งได้ขยายความรู้เป็นอย่างมากพร้อมกับกลศาสตร์นิวตันโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำกลศาสตร์เหล่านี้ไปใช้ในกลศาสตร์เชิงวิเคราะห์อีกด้วย ในกลศาสตร์ดั้งเดิม วัตถุที่อยู่ในโลกของความเป็นจริงจะถูกจำลองให้อยู่ในรูปของอนุภาคจุด (วัตถุที่ไม่มีการอ้างอิงถึงขนาด) โดยเคลื่อนที่ของอนุภาคจุดจะมีการกำหนดลักษณะเฉพาะของวัตถุ ได้แก่ ตำแหน่งของวัตถุ มวล และแรงที่กระทำต่อวัตถุ ซึ่งจะกำหนดไว้เป็นตัวเลขที่อาจมีหน่วยกำหนดไว้ และกล่าวถึงมาเป็นลำดับ เมื่อมองจากความเป็นจริง วัตถุต่าง ๆ ที่กลศาสตร์ดั้งเดิมกำหนดไว้ว่าวัตถุมีขนาดไม่เป็นศูนย์เสมอ (ซึ่งถ้าวัตถุที่มีขนาดเล็กมาก ๆ อย่างเช่น อิเล็กตรอน กลศาสตร์ควอนตัมจะอธิบายได้อย่างแม่นยำกว่ากลศาสตร์ดั้งเดิม) วัตถุที่มีขนาดไม่เป็นศูนย์จะมีความซับซ้อนในการศึกษามากกว่าอนุภาคจุดตามทฤษฎี เพราะวัตถุมีความอิสระของมันเอง (Degrees of freedom) อาทิ ลูกตะกร้อสามารถหมุนได้ขณะเคลื่อนที่หลังจากที่ถูกเดาะขึ้นไปบนอากาศ อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ของอนุภาคจุดสามารถใช้ในการศึกษาจำพวกวัตถุทั่วไปได้โดยสมมุติว่าเป็นวัตถุนั้น หรือสร้างอนุภาคจุดสมมุติหลาย ๆ จุดขึ้นมา ดังเช่นจุดศูนย์กลางมวลของวัตถุที่แสดงเป็นอนุภาคจุด กลศาสตร์ดั้งเดิมใช้สามัญสำนึกเป็นแนวว่าสสารและแรงเกิดขึ้นและมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร โดยตั้งสมมุติฐานว่าสสารและพลังงานมีความแน่นอน และมีคุณสมบัติที่รู้อยู่แล้ว ได้แก่ ตำแหน่งของวัตถุในปริภูมิ (Space) และความเร็วของวัตถุ อีกทั้งยังสามารถสมมุติว่ามีอิทธิพลโดยตรงกับสิ่งที่อยู่รอบวัตถุในขณะนั้นได้อีกด้วย (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Principle of locality).

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และกลศาสตร์ดั้งเดิม · ดูเพิ่มเติม »

การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ

สมมติฐานว่า "หงส์ทั้งหมดมีสีขาว" จะพิสูจน์ว่าจริงได้อย่างไร? พิสูจน์ว่าเท็จได้หรือไม่? การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ หรือ การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ (falsifiability, refutability) ของประพจน์ (บทความ, ข้อเสนอ) ของสมมติฐาน หรือของทฤษฎี ก็คือความเป็นไปได้โดยธรรมชาติที่จะพิสูจน์ว่ามันเป็นเท็จได้ ประพจน์เรียกว่า "พิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้" ถ้าเป็นไปได้ที่จะทำการสังเกตการณ์หรือให้เหตุผลที่คัดค้านลบล้างประพจน์นั้นได้ ยกตัวอย่างเช่น เพราะปัญหาของการอุปนัย (วิธีการใช้เหตุผลที่ดำเนินจากส่วนย่อยไปหาส่วนรวม) ไม่ว่าจะมีจำนวนการสังเกตการณ์เท่าไร ก็จะไม่สามารถพิสูจน์การกล่าวโดยทั่วไปได้ว่า "หงส์ทั้งหมดมีสีขาว" แต่ว่า มันเป็นไปได้โดยตรรกะหรือโดยเหตุผลที่จะพิสูจน์ว่าเท็จ เพียงโดยสังเกตเห็นหงส์ดำตัวเดียว ดังนั้น คำว่า "พิสูจน์ว่าเท็จได้" บางที่ใช้เป็นไวพจน์ของคำว่า "ตรวจสอบได้" (testability) แต่ว่าก็มีบางประพจน์ เช่น "ฝนมันจะตกที่นี่อีกล้านปี" ที่พิสูจน์ว่าเท็จได้โดยหลัก แต่ว่าทำไม่ได้โดยปฏิบัติ เรื่องการพิสูจน์ว่าเท็จได้กลายเป็นจุดสนใจเพราะคตินิยมทางญาณวิทยาที่เรียกว่า "falsificationism" (คตินิยมพิสูจน์ว่าเท็จ) ของนักปรัชญาวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ-อเมริกัน.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ · ดูเพิ่มเติม »

การลวงสัมผัสที่ผิวหนังแบบกระต่าย

การลวงสัมผัสที่ผิวหนังแบบกระต่าย (cutaneous rabbit illusion) หรือ สภาวะกระโดดที่ผิวหนัง (cutaneous saltation คำว่า saltation (แปลว่ากระโดด) หมายถึงลักษณะเหมือนกับการกระโดดที่ปรากฏแก่ความรู้สึก) หรือ ปรากฏการณ์กระต่ายที่ผิวหนัง (cutaneous rabbit effect) เป็นการลวงความรู้สึกสัมผัสโดยการแตะหรือเคาะที่เขตผิวหนังสองเขตหรือมากกว่านั้นตามลำดับอย่างรวดเร็ว เกิดได้ง่ายที่สุดตามผิวของร่างกายที่มีการรับรู้สัมผัสที่ไม่ละเอียดโดยพื้นที่เช่นที่หน้าแขน การเคาะตามลำดับอย่างรวดเร็วเบื้องต้นใกล้ ๆ ข้อมือและต่อจากนั้นใกล้ ๆ ข้อศอก ก่อให้เกิดความรู้สึกว่ามีการเคาะกระโดดมาตามลำดับตามลำแขนจากข้อมือไปถึงข้อศอก แม้ว่าจะไม่มีการเคาะจริง ๆ ในระหว่างข้อมือถึงข้อศอก และโดยนัยเดียวกัน ถ้าเบื้องต้นเคาะใกล้ข้อศอก แล้งจึงเคาะใกล้ข้อมือ ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกลวงถึงการเคาะกระโดดไปตามลำดับจากข้อศอกจนถึงข้อมือ การลวงความรู้สึกเช่นนี้ค้นพบโดยแฟร็งก์ เจ็ลดาร์ด และคารล์ เชอร์ริก ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันในประเทศสหรัฐอเมริกาในต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 และกำหนดรายละเอียดเพิ่มขึ้นโดยเจ็ลดาร์ดในปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และการลวงสัมผัสที่ผิวหนังแบบกระต่าย · ดูเพิ่มเติม »

การทดลองฟิลาเดลเฟีย

รือยูเอสเอส เอลดริดจ์ (USS ''Eldridge'') (DE-173) ca. 1944 การทดลองฟิลาเดลเฟีย หรือเรียกอีกชื่อว่า โครงการเรนโบว์ เป็นการทดลองกองทัพเรือที่ถูกกล่าวหาว่าได้รับการดำเนินการที่อู่ต่อเรือของกองทัพเรือในฟิลาเดลเฟีย, รัฐเพนซิลเวเนีย, สหรัฐอเมริกาเมื่อประมาณราว 28 ตุลาคม 1943 โดยอ้างว่าเรือพิฆาตคุ้มกันยูเอสเอส แอลดริดจ์ ของกองทัพเรือสหรัฐ จะทำการแสดงผลที่ทำให้ไม่สามารถมองเห็นตัวเรือได้ (หรือ "การใส่เสื้อคลุม") ไปยังอุปกรณ์ของฝ่ายศัตรู เป็นเรื่องที่คิดว่าจะเป็นเพียงการหลอกลวง กองทัพเรือสหรัฐยืนยันว่าไม่มีการทดลองดังกล่าวว่าได้เคยดำเนินการและรายละเอียดของการขัดแย้งในเรื่องนี้ก็ดีขึ้นในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรือแอลดริดจ์ เช่นเดียวกับการยอมรับกันโดยทั่วไปในวงการฟิสิกส์ อย่างไรก็ดี ก็เป็นเรื่องที่มีการจับจินตนาการของผู้คนในวงการทฤษฎีสมคบคิด, และองค์ประกอบของการหลอกลวงของการทดลองฟิลาเดลเฟียก็เกิดขึ้นอีกในทฤษฎีสมคบคิดในรัฐบาลอื่น.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และการทดลองฟิลาเดลเฟีย · ดูเพิ่มเติม »

การทดลองทางความคิด

การทดลองทางความคิด (Thought Experiment) (มาจากคำ เยอรมัน ว่า Gedankenexperiment ซึ่งตั้งโดย ฮานส์ คริสเตียน เออร์สเตด) ในความหมายที่แพร่หลายที่สุดคือ การใช้แผนการที่จินตนาการขึ้นมาเพื่อช่วยเราเข้าใจวิถีทางที่สิ่งต่าง ๆ เป็นในความเป็นจริง ความเข้าใจได้มาจากปฏิกิริยาต่อสถานการณ์นั้น หลักการของการทดลองทางความคิด เป็น a priori มากกว่า เชิงประจักษ์ กล่าวคือ การทดลองทางความคิดไม่ได้มาจาก การสังเกต หรือ การทดลอง แต่อย่างใด การทดลองทางความคิดคือคำถามเชิง สมมติฐาน ที่วางรูปแบบอย่างดีซึ่งให้เหตุผลจำพวก "จะเกิดอะไรถ้า?" (ดูที่ irrealis moods) การทดลองทางความคิดถูกนำมาใช้ใน ปรัชญา, ฟิสิกส์, และสาขาอื่น ๆ มันถูกใช้ในการตั้งคำถามทางปรัชญาอย่างน้อยที่สุดตั้งแต่ยุคกรีก สมัยก่อน โสกราตีส ในฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ นั้น การทดลองทางความคิดที่มีชื่อเริ่มจากคริสตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่ 20 แต่ตัวอย่างต่าง ๆ ก็ได้เริ่มพบมากตั้งแต่อย่างน้อยในยุคของ กาลิเลโอ.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และการทดลองทางความคิด · ดูเพิ่มเติม »

การเกณฑ์ทหาร

ม่มีข้อมูล การเกณฑ์ (conscription) เป็นการรับสมัครบุคคลโดยบังคับในราชการบางอย่างของชาติ ซึ่งเป็นราชการทหารมากที่สุด การเกณฑ์มีมาแต่โบราณ และปัจจุบันยังคงอยู่ในบางประเทศโดยมีชื่อหลากหลาย ระบบการเกณฑ์ชายหนุ่มแทบทุกคน (near-universal) ทั่วประเทศสมัยใหม่มีมาแต่การปฏิวัติฝรั่งเศสในคริสต์ทศวรรษ 1790 ซึ่งการเกณฑ์ทหารได้กลายมาเป็นพื้นฐานของกองทัพขนาดใหญ่และทรงพลัง ภายหลังชาติยุโรปส่วนมากลอกระบบดังกล่าวในยามสงบ ฉะนั้นชายที่มีอายุตามกำหนดต้องรับราชการ 1–8 ปีในกองประจำการ แล้วจึงโอนไปกองเกิน การเกณฑ์ทหารเป็นที่ถกเถียงกันด้วยหลายเหตุผล รวมทั้งการคัดค้านการสู้รบโดยอ้างมโนธรรมบนเหตุผลด้านศาสนาหรือปรัชญา การคัดค้านทางการเมือง ตัวอย่างเช่น การรับราชการรัฐบาลหรือสงครามซึ่งไม่เป็นที่นิยม และการคัดค้านทางอุดมการณ์ ตัวอย่างเช่น เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลที่รับรู้ บางครั้งผู้ถูกเกณฑ์ทหารอาจหลบเลี่ยงราชการโดยการออกนอกประเทศ ระบบการคัดเลือกบางระบบปรับให้เข้ากับทัศนคติเหล่านี้โดยการจัดราชการทางเลือกที่ไม่ใช่บทบาทปฏิบัติการรบหรือไม่ใช่ทหารอย่างสิ้นเชิง เช่น ซีวิลดีนสท์ (ราชการพลเรือน) ในประเทศออสเตรียและสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศที่แยกออกจากสหภาพโซเวียตส่วนมากเกณฑ์ทหารไม่เพียงเข้ากองทัพเท่านั้น แต่รวมถึงองค์การกึ่งทหารซึ่งมีหน้าที่ในราชการเฉพาะในประเทศคล้ายตำรวจ (หน่วยทหารภายใน) หรือหน้าที่กู้ภัย (หน่วยป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน) ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ไม่ถือว่าเป็นทางเลือกของการเกณฑ์ทหาร ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 หลายประเทศไม่เกณฑ์ทหารอีกต่อไป แต่อาศัยทหารอาชีพที่มาจากอาสาสมัครที่ได้รับสมัครตามความต้องการกำลังพล อย่างไรก็ดี หลายรัฐที่ได้ยกเลิกการเกณฑ์ทหารไปแล้วยังสงวนอำนาจที่จะรื้อฟื้นการเกณฑ์ทหารในยามสงครามหรือเกิดวิกฤตการณ.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และการเกณฑ์ทหาร · ดูเพิ่มเติม »

การเดินทางข้ามเวลา

การเดินทางข้ามเวลา (time travel) เป็นแนวคิดเรื่องการเคลื่อนที่ (ที่มักจะทำให้เกิดขึ้นโดยฝีมือของมนุษย์) ระหว่างจุด 2 จุดที่มีความแตกต่างกันในห้วงเวลา หรือ ระหว่างห้วงเวลาหนึ่งไปยังอีกห้วงเวลาหนึ่ง ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับการเคลื่อนที่ระหว่างจุด 2 จุดที่มีความแตกต่างกันในพื้นที่ หรือ ปริภูมิ (space) ในลักษณะย้อนสู่อดีตหรือมุ่งสู่อนาคต โดยไม่จำต้องประเชิญห้วงเวลาที่คั่นระหว่างจุดเริ่มต้นกับจุดหมายปลายทาง ซึ่งอาจอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่เรียกกันว่า "จักรกลข้ามเวลา" (time machine) Brave New Words: The Oxford Dictionary of Science Fiction by Jeff Prucher (2007),.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และการเดินทางข้ามเวลา · ดูเพิ่มเติม »

การเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์)

การเคลื่อนที่ในฟิสิกส์ หมายถึง การเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุในช่วงเวลาหนึ่ง ถูกอธิบายด้วย การกระจัด ระยะทาง ความเร็ว ความเร่ง เวลา และอัตราเร็ว การเคลื่อนที่ของวัตถุจะถูกสังเกตได้โดยผู้สังเกตที่เป็นส่วนหนึ่งของกรอบอ้างอิง ทำการวัดการเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุเทียบกับกรอบอ้างอิงนั้น ถ้าตำแหน่งของวัตถุไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับกรอบอ้างอิง อาจกล่าวได้ว่าวัตถุนั้นอยู่นิ่งหรือตำแหน่งคงที่ (ระบบมีพลวัตแบบเวลายง) การเคลื่อนที่ของวัตถุจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เว้นเสียแต่มีแรงมากระทำ โมเมนตัมคือปริมาณที่ใช้ในการวัดการเคลื่อนที่ของวัตถุ โมเมนตัมของวัตถุเกี่ยวข้องกับมวลและความเร็วของวัตถุ และโมเมนตัมทั้งหมดของวัตถุทั้งหมดในระบบโดดเดี่ยว (อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก) ไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลาตามที่อธิบายไว้ในกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม เนื่องจากไม่มีกรอบอ้างอิงที่แน่นอนดังนั้นจึงไม่สามารถระบุการเคลื่อนที่แบบสัมบูรณ์ได้ ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลจึงสามารถเคลื่อนที่ได้ การเคลื่อนที่ใช้ได้กับวัตถุ อนุภาค การแผ่รังสี อนุภาคของรังสี อวกาศ ความโค้ง และปริภูมิ-เวลาได้ อนึ่งยังสามารถพูดถึงการเคลื่อนที่ของรูปร่างและขอบเขต ดังนั้นการเคลื่อนที่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในการกำหนดค่าของระบบทางกายภาพ ตัวอย่างเช่นเราสามารถพูดถึงการเคลื่อนที่ของคลื่นหรือการเคลื่อนที่ของอนุภาคควอนตัมซึ่งการกำหนดค่านี้ประกอบด้วยความน่าจะเป็นในการครอบครองตำแหน่งที่เฉพาะเจาะจง การเคลื่อนที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนตำแหน่ง เช่น ภาพนี้เป็นรถไฟใต้ดินออกจากสถานีด้วยความเร็ว.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และการเคลื่อนที่ (ฟิสิกส์) · ดูเพิ่มเติม »

กาลิเลโอ กาลิเลอี

กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei; 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 - 8 มกราคม ค.ศ. 1642) เป็นชาวทัสกันหรือชาวอิตาลี ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ผลงานของกาลิเลโอมีมากมาย งานที่โดดเด่นเช่นการพัฒนาเทคนิคของกล้องโทรทรรศน์และผลสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญจากกล้องโทรทรรศน์ที่พัฒนามากขึ้น งานของเขาช่วยสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัสอย่างชัดเจนที่สุด กาลิเลโอได้รับขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่" "บิดาแห่งฟิสิกส์สมัยใหม่"Weidhorn, Manfred (2005).

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และกาลิเลโอ กาลิเลอี · ดูเพิ่มเติม »

กำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ

วาดโดยศิลปิน แสดงจานดาวเคราะห์ก่อนเกิดในจินตนาการ กำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะดำเนินมาตั้งแต่ประมาณ 4,600 ล้านปีก่อน โดยเริ่มจากการแตกสลายด้วยแรงโน้มถ่วงภายในของเมฆโมเลกุลขนาดยักษ์ มวลส่วนมากในการแตกสลายครั้งนั้นได้กระจุกรวมกันอยู่บริเวณศูนย์กลาง และกลายมาเป็นดวงอาทิตย์ มวลส่วนที่เหลือวนเวียนโดยรอบมีรูปร่างแบนลง กลายเป็นจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของดาวเคราะห์ ดาวบริวาร ดาวเคราะห์น้อย และวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ ในระบบสุริยะ แบบจำลองดังกล่าวมานี้ถือเป็นแบบที่ได้รับการยอมรับทั่วไป เรียกชื่อว่า สมมติฐานเนบิวลา มีการพัฒนาแบบจำลองนี้ขึ้นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยเอมมานูเอล สวีเดนบอร์ก อิมมานูเอล คานท์ และปีแยร์-ซีมง ลาปลัส การวิวัฒนาการในลำดับถัดมาเกี่ยวข้องกับศาสตร์หลายแขนง เช่น ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ ธรณีวิทยา วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ นับแต่ยุคเริ่มต้นของการสำรวจอวกาศในคริสต์ทศวรรษ 1950 และการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบในคริสต์ทศวรรษ 1990 แบบจำลองนี้ได้ถูกท้าทายและผ่านการปรับแต่งมาอีกหลายครั้งเพื่อให้สอดคล้องกับการค้นพบใหม่ๆ ระบบสุริยะได้เริ่มวิวัฒนาการอย่างมากนับตั้งแต่มันเริ่มกำเนิดขึ้น ดาวบริวารหลายดวงกำเนิดขึ้นจากจานของแก๊สและฝุ่นรอบๆดาวเคราะห์แม่ของมัน ขณะที่มีดาวบริวารบางดวงที่เกิดในบริเวณอื่น แล้วถูกดึงดูดให้กลายเป็นดาวบริวารในภายหลัง นอกจากนั้น เช่น ดวงจันทร์ ซึ่งอาจจะกำเนิดหลังจากการปะทะครั้งใหญ่ การปะทะระหว่างวัตถุสองวัตถุ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และเคยเป็นหัวใจสำคัญของการวิวัฒนาการของระบบสุริยะ ตำแหน่งของดาวเคราะห์มักจะเลื่อนจากตำแหน่งเดิม เนื่องด้วยแรงโน้มถ่วง การย้ายตำแหน่งของดาวเคราะห์นี้คาดว่าจะเกิดขึ้นมากขณะในช่วงต้นของการวิวัฒนาการ ในช่วงประมาณ 5 พันล้านปีข้างหน้า ดวงอาทิตย์จะเย็นลง และผิวนอกจะขยายตัวออกไปหลายเท่าจากเส้นผ่านศูนย์กลางเดิม (กลายเป็นดาวยักษ์แดง) หลังจากนั้นดาวยักษ์แดงก็จะสลายผิวนอกกลายเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ และเหลือแกนกลางไว้ ซึ่งรู้จักกันว่าเป็น ดาวแคระขาว ในอนาคตอันไกลโพ้น ความโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์จะลดลง ดาวเคราะห์บางดวงอาจจะถูกทำลาย บางส่วนอาจจะหลุดออกไปสู่อวกาศระหว่างดวงดาว ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงประมาณหมื่นล้านปีข้างหน้า ดวงอาทิตย์จะกลายเป็นดาวฤกษ์ที่ไม่มีวัตถุใดโคจรรอบๆเล.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และกำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

กูกอลเพลกซ์

กูกอลเพลกซ์ (googolplex) หมายถึง จำนวนมหาศาล (large number) จำนวนหนึ่งซึ่งมีค่าเท่ากับ 10กูกอล หรือ 10^ นั่นคือมีเลข 1 แล้วตามด้วยเลข 0 อีก 1 กูกอลตัวในเลขฐาน.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และกูกอลเพลกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน

มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน (Humboldt-Universität zu Berlin) เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเบอร์ลิน เดิมทีเรียกว่า มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และมหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ

มหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ (Case Western Reserve University หรือ CASE หรือ CWRU หรือ CASE WESTERN) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่เน้นทางด้านการวิจัย ตั้งอยู่ในเมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2510 จากการรวมกันของสองสถาบันการศึกษาอันได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีเคส (Case Institute of Technology) ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2423 โดยนาย ลีโอนาร์ท เคส จูเนียร์ (Leonard Case Jr) กับ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ (Western Reserve University) ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2369 มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีนักศึกษาประมาณ 10,000 คน แบ่งเป็น นักศึกษาปริญญาบัณฑิต 4,386 คน นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 5,640 คน และอาจารย์ประจำ 3,055 คน และเจ้าหน้าที่ 3,402 คน สำหรับปี พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของมหาวิทยาลัยประจำปีคือ 968 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้รับเงินบริจาคประจำปีคือ 138.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งติดอันดับมหาวิทยาลัยที่ได้รับเงินบริจาคมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นทางด้านการวิจัยเป็นอย่างมาก โดยตามรายงานประจำปี.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และมหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ · ดูเพิ่มเติม »

มักซ์ บอร์น

มักซ์ บอร์น (Max Born, 11 ธันวาคม ค.ศ. 1882 - 5 มกราคม ค.ศ. 1970) เป็นนักฟิสิกส์ผู้มีส่วนพัฒนาทฤษฎีด้านกลศาสตร์ควอนตัม และได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และมักซ์ บอร์น · ดูเพิ่มเติม »

มักซ์ พลังค์

มักซ์ คาร์ล แอนสท์ ลุดวิจ พลังค์ เป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ผู้บุกเบิกการศึกษาทฤษฎีควอนตัม อันเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาฟิสิกส์สมัยใหม่ แม้ในชีวิตตอนแรกของเขาจะดูราบรื่น โดยเขามีความสามารถทั้งทางดนตรีและฟิสิกส์ แต่เขากลับเดินไปในเส้นทางแห่งนักฟิสิกส์ทฤษฎี จนเขาได้ตั้งทฤษฎีทางฟิสิกส์ที่สำคัญต่อฟิสิกส์สมัยใหม่ นั่นคือ กฎการแผ่รังสีของวัตถุดำของพลังค์ รวมถึงค่าคงตัวของพลังค์ ซึ่งนับว่าขาดไม่ได้เลยสำหรับการศึกษากลศาสตร์ควอนตัม ทว่าบั้นปลายกลับเต็มไปด้วยความสิ้นหวังจากภัยสงคราม เขาต้องสูญเสียภรรยาคนแรก และบุตรที่เกิดกับภรรยาคนแรกไปทั้งหมด จนเหลือเพียงตัวเขา ภรรยาคนที่สอง และบุตรชายที่เกิดกับภรรยาคนที่สองเพียงคนเดียว ถึงกระนั้น พลังค์ก็ยังไม่ออกจากประเทศเยอรมนีอันเป็นบ้านเกิดของเขาไปยังดินแดนอื่น พลังค์ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ประจำปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และมักซ์ พลังค์ · ดูเพิ่มเติม »

มาตรวัดฟรีดแมน-เลอแมตร์-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์

มาตรวัดฟรีดแมน-เลอแมตร์-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์ (Friedmann–Lemaître–Robertson–Walker; FLRW) คือผลลัพธ์จากการคำนวณสมการสนามในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ ซึ่งอธิบายถึงการเชื่อมโยงแบบเรียบง่าย ความกลมกลืน และความสมมาตรในทุกทิศทางของเอกภพที่กำลังขยายตัวหรือกำลังหดตัว ตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์สี่คนคือ อเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน, จอร์จ เลอแมตร์, โฮวาร์ด เพอร์ซี โรเบิร์ตสัน และ อาเทอร์ เจฟฟรีย์ วอล์กเกอร์ ในบางครั้งก็มีการเรียกชื่อแบบสับเซ็ตต่างๆ เช่น ฟรีดแมน-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์ (FRW) หรือ โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์ (RW) หรือ ฟรีดแมน-เลอแมตร์ (FL) แบบจำลองนี้ในบางครั้งเรียกกันว่า แบบจำลองมาตรฐาน (Standard Model) ในการศึกษาจักรวาลวิทยาสมัยใหม.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และมาตรวัดฟรีดแมน-เลอแมตร์-โรเบิร์ตสัน-วอล์กเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มิ โก

มิ โก (Mi-go) มีอีกชื่อว่าราจากยุกกอธ (Fungi from Yuggoth) เป็นมนุษย์ต่างดาวซึ่งมีบทบาทในเรื่องชุดตำนานคธูลู มิ โกปรากฏตัวครั้งแรกในเรื่องสั้น The Whisperer in Darkness ซึ่งประพันธ์โดยเอช. พี. เลิฟคราฟท์ และเผนแพร่ในปีพ.ศ. 2474.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และมิ โก · ดูเพิ่มเติม »

มิซุโนะ อามิ

อามิ มิซุโนะ หรือเซเลอร์ เมอร์คิวรี่ มิซุโนะ อามิ เป็นตัวละครการ์ตูนจากเรื่อง เซเลอร์มูน.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และมิซุโนะ อามิ · ดูเพิ่มเติม »

มีดโกนอ็อกคัม

หลักการของออคแคม (Ockham's Razor หรือ Occam's Razor) ถูกเสนอโดยวิลเลียมแห่งออคแคม เป็นหลักการหนึ่งในปรัชญาวิทยาศาสตร์ในการเลือกทฤษฎีที่เหมาะสมและตรงกับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทดลอง หลักการของออคแคมนี้ถูกนำไปตีความในหลายรูปแบบ โดยนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์หลายท่าน อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวถึงหลักการของออคแคมในรูปแบบที่ง่ายที่สุดได้ว่า: "เราไม่ควรสร้างข้อสมมุติฐานเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น" หรือ "ทฤษฎีไม่ควรซับซ้อนเกินความจำเป็น" นั่นคือในกรณีที่ทฤษฎี หรือคำอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ มากกว่าหนึ่งรูปแบบ สามารถอธิบาย และทำนาย สิ่งที่ได้จากการสังเกตทดลอง ได้เท่าเทียมกัน หรือไม่ต่างกันมาก เราควรจะเลือกทฤษฎีที่ง่ายที่สุด หรือซับซ้อนน้อยที่สุดนั่นเอง หลักการนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างหนักแน่น จากนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังหลายท่าน ไม่ว่าจะเป็นอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ หรือกาลิเลโอ กาลิเลอี ที่มองธรรมชาติเป็นสิ่งที่สวยงามดั่งศิลป.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และมีดโกนอ็อกคัม · ดูเพิ่มเติม »

มนุษยศาสตร์

นักปรัชญาเพลโต มนุษยศาสตร์ (humanities) เป็นกลุ่มของสาขาวิชาที่เกี่ยวกับการศึกษาสภาวะแห่งมนุษย์โดยส่วนใหญ่ใช้กรรมวิธีเชิงวิเคราะห์, วิจารณญาณ หรือการคาดการณ์ซึ่งแตกต่างจากการเข้าสู่ปัญหาด้วยกรรมวิธีเชิงประจักษ์ด้วยธรรมชาติ, สังคมศาสตร์ โดยธรรมเนียมทั่วไปมนุษยศาสตร์รวมถึงสาขาวิชาภาษาศาสตร์โบราณและภาษาศาสตร์สมัยใหม่, วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา ทัศนศิลป์ ศิลปะการแสดง และดนตรี บางครั้งมีการรวมเอาสาขาวิชาอื่นเพิ่มเข้าไปด้วย ได้แก่ มานุษยวิทยา ภูมิภาคศึกษา การสื่อสารและวัฒนธรรมศึกษา แม้ว่าสาขาวิชาเหล่านี้มักถูกจัดไว้ในสาขาสังคมศาสตร์ นักวิชาการที่อยู่ในสายของสาขาวิชานี้ บางครั้งอาจเรียกตนเองว่าเป็น "นักมนุษยนิยม" อย่างไรก็ตามคำดังกล่าวก็ได้ใช้เรียกนักปรัชญาสาขามนุษยนิยมแต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรั.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และมนุษยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อบุคคลในแสตมป์สวาซิแลนด์

้านล่างนี้เป็นรายชื่อบุคคลในแสตมป์สวาซิแลน.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และรายชื่อบุคคลในแสตมป์สวาซิแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อหน่วยทางวิทยาศาสตร์ที่ตั้งตามชื่อบุคคล

ทความนี้เกี่ยวกับหน่วยทางวิทยาศาสตร์ที่ตั้งชื่อตามบุคคล โดยในภาษาอังกฤษ ชื่อหน่วยเขียนด้วยตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด และตัวย่อเขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และรายชื่อหน่วยทางวิทยาศาสตร์ที่ตั้งตามชื่อบุคคล · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อนักวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้เป็นชื่อธาตุ

ทความนี้เกี่ยวกับ รายชื่อนักวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้เป็นชื่อธาตุ เฉพาะธาตุแกโดลิเนียมและซาแมเรียมที่พบในธรรมชาติ ส่วนธาตุอื่นทั้งหมดเป็นธาตุสังเคราะห.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และรายชื่อนักวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้เป็นชื่อธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์

หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ (Nobelpriset i fysik, Nobel Prize in Physics) เป็นรางวัลโนเบลหนึ่งใน 5 สาขา ริเริ่มโดยอัลเฟรด โนเบล ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1895 โดยสถาบัน Royal Swedish Academy of Sciences แห่งประเทศสวีเดน เป็นผู้คัดเลือกผู้รับรางวัล ซึ่งมีผลงานวิจัยด้านฟิสิกส์อย่างโดดเด่น มีพิธีมอบเป็นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. 1901 พิธีมอบรางวัลมีขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเสียชีวิตของอัลเฟรด โนเบล ที่กรุงสตอกโฮล์ม.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด ไฟน์แมน

ริชาร์ด ฟิลลิปส์ ไฟน์แมน (Richard Phillips Feynman) นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1918 เสียชีวิต 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1988 เป็นหนึ่งในนักฟิสิกส์ ที่ทรงคุณค่าและมีอิทธิพลมากที่สุดของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในการจัดอันดับนักฟิสิกส์ยอดเยี่ยมตลอดกาลของโลก โดยสำนักข่าวบีบีซี ที่ให้นักฟิสิกส์ชั้นนำของโลกร่วม 100 คนช่วยกันตัดสิน ไฟน์แมน เป็นนักฟิสิกส์สมัยใหม่เพียงคนเดียว ที่ชนะใจเหล่านักฟิสิกส์ชั้นนำทั่วโลก โดยติดอันดับ 10 คนแรกของโลก (สมัยใหม่ในที่นี้ คือนับหลังจากยุคทองของทฤษฎีควอนตัม คือในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ถึงปัจจุบัน ค.ศ. 2005) แม้แต่นักฟิสิกส์ผู้โด่งดังอย่างสตีเฟ่น ฮอว์คิง ก็ยังได้เพียงอันดับ 16 ในผลโหวต แน่นอนผลโหวตนี้ไม่สามารถตัดสินอะไรได้ แต่ก็เป็นเครื่องบ่งชี้อย่างดีว่า ไฟน์แมนมีอิทธิพลต่อวงการฟิสิกส์ยุคปัจจุบันแค่ไหน ทั้งในแง่ผลงานทางวิชาการ การสอนหนังสือ และการใช้ชีวิต ผลงานของไฟน์แมนมีมากมาย เช่น การขยายทฤษฎีพลศาสตร์ไฟฟ้าควอนตัมให้กว้างใหญ่ขึ้นมาก ซึ่งนำไปสู่รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ เมื่อปี ค.ศ. 1965 ซึ่งเขาได้ร่วมกับจูเลียน ชวิงเกอร์ และโทะโมะนะกะ ชินอิจิโร ไฟน์แมนปฏิเสธตำแหน่งนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ที่ที่ไอน์สไตน์อยู่, เพียงเพราะเขาต้องการสอนหนังสือให้กับเด็ก ครั้งหนึ่งเขาเคยพูดว่า "ผมอยากสอน เพราะในตอนที่ผมไม่มีไอเดียอะไรใหม่ ๆ ในงานวิจัย ผมก็ยังสามารถให้อะไรกับสังคมได้" ไฟน์แมนตัดสินใจรับตำแหน่งที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (แคลเทค) สร้างยุคทองของมหาวิทยาลัย ร่วมกับเมอเรย์ เกลมานน์ ผู้คิดค้นทฤษฎีควาร์ก, ไลนัส พอลลิง หนึ่งในนักเคมีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20 หนึ่งในผู้คิดค้นทฤษฎีควอนตัมเคมี และนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำท่านอื่นๆ ในแง่ของการเป็นอาจารย์ เขาได้เขียนคำบรรยายฟิสิกส์ของไฟน์แมน (Feynman Lectures on Physics) อันโด่งดัง ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้สอนวิชาฟิสิกส์เป็นจำนวนมาก ทั้งในแง่เนื้อหาและการนำเสนอ เป็นการพลิกการเรียนการสอนฟิสิกส์แบบเก่า ๆ ให้เข้าใจง่าย นอกจากนั้นเขายังเป็นหนึ่งในผู้พัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกของโลก ในโครงการแมนฮัตตัน เป็นหนึ่งในผู้ตรวจสอบการระเบิดของกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์ และเป็นผู้ริเริ่มเสนอแนวคิดของนาโนเทคโนโลยี.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และริชาร์ด ไฟน์แมน · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรม

วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย และ ความเหมาะสม แต่ถ้าเป็นในวิชาหน้าที่พลเมืองจะแปลว่าสิ่งที่มนุษย์ เปลี่ยนแปลงเพื่อความเจริญงอกงาม และสืบต่อกันมา วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอ.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และวัฒนธรรม · ดูเพิ่มเติม »

วันพาย

วันพาย (Pi Day) และ วันการประมาณค่าพาย (Pi Approximation Day) เป็นวันหยุดอย่างไม่เป็นทางการ 2 วัน ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองค่าคงตัวทางคณิตศาสตร์ π (พาย) ส่วนสาเหตุที่ยึดถือวันที่ 14 มีนาคมของทุกปีเป็น "วันพาย" เนื่องจากเลขนัยสำคัญสามตัวแรกของค่าพาย คือ 3.14 นอกจากนั้น วันดังกล่าวยังเป็นวันเกิดของอัลเบิร์ต ไอนสไตน์ และเหตุการณ์ทั้งสองมักจะจัดการฉลองพร้อมกันในวันเดียวกัน วันการประมาณค่าพายจัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม เช่นกัน เนื่องจากอาร์คิมีดีสมักจะประมาณค่าพายอยู่ที่ 22/7 อย่างไรก็ตาม มันอาจถูกพิจารณาว่านำไปสู่ความเข้าใจผิดได้ ดังที่วันดังกล่าวถูกเรียกว่าเป็น "วันการประมาณค่า" (แต่พายเป็นจำนวนอตรรกยะ) และ 22/7 เป็นค่าที่ใกล้เคียงของพายมากกว่า 3.14 วันที่ 14 มีนาคมจึงมักถูกจัดขึ้นในประเทศซึ่งใช้รูปแบบเดือน/วัน และวันที่ 22 กรกฎาคม มักถูกจัดขึ้นในประเทศที่ใช้รูปแบบวัน/เดือน เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2015 เวลา 9.26 น. 53 วินาที ถือเป็นโอกาสพิเศษที่วันพายเรียงตรงตามค่าคงตัวสิบตัวแรกของพาย (3/14/15 9.26.53) โดยเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นอีกครั้งในอีกหนึ่งร้อยปีข้างหน้.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และวันพาย · ดูเพิ่มเติม »

วิลเฮล์ม วีน

วิลเฮล์ม คาร์ล แวร์เนอร์ ออทโท ฟริทซ์ ฟรานซ์ วีน (Wilhelm Carl Werner Otto Fritz Franz Wien (13 มกราคม พ.ศ. 2407 -- 30 สิงหาคม พ.ศ. 2471)เป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี พ.ศ. 2454 เขาเป็นผู้รวมทฤษฎีความร้อนและการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าเข้าด้วยกัน ได้เป็นกฎการกระจัดของวีน ซึ่งว่า ความยาวคลื่นของการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าแปรผกผันกับอุณหภูมิ วิลเฮล์มเป็นญาติกับมักซ์ วีน นักอิเล็กทรอนิกส์ผู้ประดิษฐ์วงจรบริดจ์ของวีน (Wien Bridge).

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และวิลเฮล์ม วีน · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์เทียม

วิทยาศาสตร์เทียม (pseudoscience) เป็นการกล่าวอ้าง, ความเชื่อ หรือการปฏิบัติ ที่แสดงตนเป็นวิทยาศาสตร์ แต่มิได้ยึดแบบแผนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขาดการสนับสนุนด้วยหลักฐาน หรือ หลักความเป็นไปได้ ไม่สามารถทำการตรวจสอบ หรือขาดฐานความเป็นวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์เทียมมักมีลักษณะการอ้างที่ แผลง ขัดแย้ง เกินจริง หรือไม่สามารถพิสูจน์ได้ หรือมีแต่แนวทางการพิสูจน์ว่าเป็นจริงโดยไม่มีแนวทางพิสูจน์แบบนิเสธ มักไม่ยินยอมรับการตรวจสอบจากผู้ชำนาญการอื่น ๆ และมักจะขาดกระบวนทรรศน์ในการสร้างทฤษฏีอย่างสมเหตุผล สาขา แนวปฏิบัติ หรือองค์ความรู้ใด สามารถจัดเป็นวิทยาศาสตร์เทียมได้ เมื่อมันถูกนำเสนอให้สอดคล้องกับบรรทัดฐานทั้งหลายแห่งการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ แต่พิสูจน์ได้ว่ามันไม่ผ่านบรรทัดฐานตามที่กล่าวอ้างCover JA, Curd M (Eds, 1998) Philosophy of Science: The Central Issues, 1-82.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และวิทยาศาสตร์เทียม · ดูเพิ่มเติม »

วงโคจร

นีอวกาศนานาชาติ (The International Space Station) กำลังโคจรอยู่เหนือโลก ดาวเทียมโคจรรอบโลกจะมีความเร็วแนวเส้นสัมผัสและความเร่งสู่ภายใน เทหวัตถุสองอย่างที่มีความแตกต่างกันของมวลโคจร แบบ barycenter ที่พบได้บ่อย ๆ ขนาดสัมพัทธ์และประเภทของวงโคจรมีลักษณะที่คล้ายกับระบบดาวพลูโต-แครัน (Pluto–Charon system) ในฟิสิกส์, วงโคจรเป็นเส้นทางโค้งแห่งแรงโน้มถ่วงของวัตถุรอบ ๆ จุดในอวกาศ, ตัวอย่างเช่นวงโคจรของดาวเคราะห์รอบจุดศูนย์กลางของระบบดาว, อย่างเช่นระบบสุริยะ วงโคจรของดาวเคราะห์มักจะเป็นวงรี วงโคจร คือ เส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุหนึ่งรอบอีกวัตถุหนึ่ง โดยอยู่ภายใต้อิทธิพลแรงสู่ศูนย์กลาง อาทิ ความโน้มถ่วง ตัวอย่างเช่น วงโคจรของดวงจันทร์รอบโลก คำกริยาใช้ว่า "โคจร" เช่น โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวเทียมไทยคมโคจรรอบโลก คนทั่วไปมักเข้าใจว่าดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงกลม แต่ในความเป็นจริง ส่วนใหญ่แล้ววัตถุหนึ่งจะโคจรรอบอีกวัตถุหนึ่งในวงโคจรที่เป็นวงรี ความเข้าใจในปัจจุบันในกลศาสตร์ของการเคลื่อนที่ในวงโคจรอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งคิดสำหรับแรงโน้มถ่วงอันเนื่องจากความโค้งของอวกาศ-เวลาที่มีวงโคจรตามเส้น จีโอแดสิค (geodesics) เพื่อความสะดวกในการคำนวณ สัมพัทธภาพจะเป็นค่าประมาณโดยทั่วไปของทฤษฎีพื้นฐานแห่งแรงโน้มถ่วงสากลตามกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของเคปเลอร.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และวงโคจร · ดูเพิ่มเติม »

ว็อล์ฟกัง เพาลี

ว็อล์ฟกัง แอนสท์ เพาลี (Wolfgang Ernst Pauli, 25 เมษายน พ.ศ. 2443 - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2501) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวออสเตรีย และหนึ่งในกลุ่มผู้บุกเบิกด้านฟิสิกส์ควอนตัม เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และว็อล์ฟกัง เพาลี · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์

มีการเสนอเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ว่า ศาสนาพุทธนั้นเข้ากับวิทยาศาสตร์ได้ ทำให้ศาสนาพุทธได้กลายเป็นประเด็นหนึ่งในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและวิทยาศาสตร์ มีการอ้างว่า คำสอนทั้งทางปรัชญาทั้งทางจิตวิทยาในศาสนาพุทธ มีส่วนที่เหมือนกันกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และทางปรัชญา ยกตัวอย่างเช่น ศาสนาพุทธสนับสนุนให้ทำการตรวจสอบธรรมชาติอย่างเป็นกลาง ๆ แนวคิดที่นิยมบางอย่าง เชื่อมคำสอนศาสนาพุทธกับทฤษฎีวิวัฒนาการ ทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม และทฤษฎีจักรวาลวิทยา แต่ว่า นักวิทยาศาตร์โดยมาก เห็นความแตกต่างระหว่างคำสอนทางศาสนาและเกี่ยวกับอภิปรัชญาของศาสนาพุทธ กับระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ ในปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และศาสนาพุทธและวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมการฟรีดแมน

มการฟรีดแมน คือชุดสมการในการศึกษาจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพที่ใช้อธิบายถึงการขยายตัวของอวกาศตามแบบจำลองของเอกภพซึ่งมีความกลมกลืนและเหมือนกันในทุกทิศทาง โดยอยู่ภายใต้บริบทของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ชุดสมการนี้พัฒนาขึ้นครั้งแรกโดยอเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน ในปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และสมการฟรีดแมน · ดูเพิ่มเติม »

สมมุติฐานเฉพาะกิจ

้าใครสักคนต้องการที่จะเชื่อเรื่อง leprechaun ซึ่งเป็นเทพตามตำนานของชาวไอริช เขาสามารถห้ามไม่ให้คนอื่นคัดค้านเขาได้ด้วยการใช้สมมุติฐานเฉพาะกิจ เช่น โดยอธิบายว่า "เป็นพวกเทพที่ไม่สามารถมองเห็นได้" หรือว่า "เป็นพวกเทพที่มีเจตนาความจงใจที่รู้ได้ยาก" หรือคำอธิบายอื่น ๆ ในแนวเดียวกันStanovich, Keith E. (2007). How to Think Straight About Psychology. Boston: Pearson Education. Pages 19-33 ในการศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์และปรัชญา สมมุติฐานเฉพาะกิจ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" (ad hoc hypothesis) หรือ คำอธิบายเฉพาะกิจ หมายถึงสมมุติฐานที่ใส่เพิ่มเข้าไปให้กับทฤษฎี เพื่อป้องกันไม่ให้ทฤษฎีนั้นพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ นั่นก็คือ เป็นการเพิ่มคำแก้เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ที่ทฤษฎีนั้นไม่สามารถคาดหมายหรือไม่สามารถทำนายได้โดยไม่ต้องแก้.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และสมมุติฐานเฉพาะกิจ · ดูเพิ่มเติม »

สมองของอัลเบิร์ต ไอนสไตน์

อัลเบิร์ต ไอนสไตน์ สมองของนักฟิสิกส์ อัลเบิร์ต ไอนสไตน์ถูกวิจัยและคาดคะเนอย่างมาก สมองของไอนสไตน์ถูกนำออกมาภายในเจ็ดชั่วโมงครึ่งหลังการเสียชีวิตของเขา ด้วยเขามีชื่อเสียงเป็นอัจฉริยบุคคลชั้นนำคนหนึ่งแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 สมองของเขาจึงได้รับความสนใจ มีการนำลักษณะต่าง ๆ ในสมองทั้งที่ปกติและแปลกไปใช้สนับสนุนความคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประสาทกายวิภาคศาสตร์กับความฉลาดทั่วไปและทางคณิตศาสตร์ การศึกษาทางวิทยาศาสตร์เสนอว่าบริเวณที่เกี่ยวข้องกับการพูดและภาษานั้นเล็กกว่า ขณะที่บริเวณเกี่ยวกับจำนวนและการประมวลผลเชิงปริภูมินั้นใหญ่กว่า การศึกษาอื่น ๆ พบว่าสมองของไอนสไตน์มีจำนวนเซลล์เกลียมากกว่าปกต.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และสมองของอัลเบิร์ต ไอนสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สูตร

ในทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สูตร หมายถึง แนวทางสั้นๆ ที่ใช้อธิบายความรู้ด้วยสัญลักษณ์ (เช่นสูตรคณิตศาสตร์หรือสูตรเคมี) หรือความสัมพันธ์ทั่วไปในเรื่องปริมาณ หนึ่งในสูตรต่างๆ ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ สูตรของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่ว่า E.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และสูตร · ดูเพิ่มเติม »

สตีเฟน ฮอว์กิง

ตีเฟน วิลเลียม ฮอว์กิง (Stephen William Hawking; 8 มกราคม ค.ศ. 1942 – 14 มีนาคม ค.ศ. 2018) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยา ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หนังสือวิทยาศาสตร์ของเขาและการปรากฏตัวต่อสาธารณะได้ทำให้เขาเป็นผู้มีชื่อเสียงด้านวิชาการ ผลงานวิทยาศาสตร์สำคัญของเขาจนถึงปัจจุบันมีการบัญญัติทฤษฎีบทเกี่ยวกับภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วงในกรอบของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ร่วมกับโรเจอร์ เพนโรส และการทำนายเชิงทฤษฎีที่ว่าหลุมดำควรปล่อยรังสี ซึ่งปัจจุบันมีชื่อว่า รังสีฮอว์กิง (บางครั้งเรียก รังสีเบเคนสไตน์-ฮอว์กิง) ฮอว์กิงป่วยจากโรคอะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส (ALS) ชนิดหายาก ซึ่งเริ่มมีอาการเร็ว แต่ดำเนินโรคช้า ทำให้เขามีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงลงเรื่อย ๆ เป็นเวลาหลายสิบปี ปัจจุบันต้องสื่อสารโดยใช้อุปกรณ์สังเคราะห์เสียงพูด ควบคุมผ่านกล้ามเนื้อมัดเดียวในแก้ม เขาแต่งงานสองครั้งและมีลูกสามคน ฮอว์กิงประสบความสำเร็จกับผลงานวิทยาศาสตร์สำหรับบุคคลทั่วไป (popular science) ซึ่งเขาอภิปรายทฤษฎีของเขาและจักรวาลวิทยาโดยรวม ซึ่งมีประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief History of Time) และจักรวาลในเปลือกนัท (The Universe in a Nutshell) ซึ่งอยู่ในรายการขายดีที่สุดของบริติชซันเดย์ไทมส์ทำลายสถิตินานถึง 237 สัปดาห์ สตีเฟน ฮอว์กิง เสียชีวิตในวันที่ 14 มีนาคม..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และสตีเฟน ฮอว์กิง · ดูเพิ่มเติม »

สนามแม่เหล็ก

กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเส้นลวดทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก (M) รอบๆ บริเวณเส้นลวด ทิศทางของสนามแม่เล็กที่เกิดขึ้นนี้เป็นไปตามกฎมือขวา กฎมือขวา Hans Christian Ørsted, ''Der Geist in der Natur'', 1854 สนามแม่เหล็ก นั้นอาจเกิดขึ้นได้จากการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้า หรือในทางกลศาสตร์ควอนตัมนั้น การสปิน(การหมุนรอบตัวเอง) ของอนุภาคต่างๆ ก็ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กเช่นกัน ซึ่งสนามแม่เหล็กที่เกิดจากการ สปิน เป็นที่มาของสนามแม่เหล็กของแม่เหล็กถาวรต่างๆ สนามแม่เหล็กคือปริมาณที่บ่งบอกแรงกระทำบนประจุที่กำลังเคลื่อนที่ สนามแม่เหล็กเป็นสนามเวกเตอร์และทิศของสนามแม่เหล็ก ณ ตำแหน่งใดๆ คือทิศที่เข็มของเข็มทิศวางตัวอย่างสมดุล เรามักจะเขียนแทนสนามแม่เหล็กด้วยสัญลักษณ์ \mathbf\ เดิมทีแล้ว สัญลักษณ์ \mathbf \ นั้นถูกเรียกว่าความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็กหรือความเหนี่ยวนำแม่เหล็ก ในขณะที่ \mathbf.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และสนามแม่เหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

สนามแรงบิด (วิทยาศาสตร์เทียม)

นามแรงบิด (Torsion field ชื่อพ้อง: Axion field, Spin field, Spinor field, Microlepton field) เป็นวิทยาศาสตร์เทียมด้านพลังงาน ซึ่งกล่าวถึงสภาพการหมุนเชิงควอนตัมของอนุภาคสามารถทำให้เกิดการส่งผ่านข้อมูลผ่านห้วงสุญญากาศด้วยความเร็วพันล้านเท่าของแสงโดยไม่ใช้มวลและพลังงาน ทฤษฎีถูกตั้งขึ้นในสหภาพโซเวียตโดยกลุ่มนักฟิสิกส์ใน ค.ศ. 1980 โดยอ้างอิงทฤษฎีไอน์สไตน์-คาตานแบบหลวม ๆ และใช้ผลลัพธ์ดัดแปลงจากสมการของแมกซ์เวลล์ อนาโตลี อาคิมอฟ (Anatoly Akimov, Анатолий Акимов) และเกนนาดี้ ชือปอฟ (Gennady Shipov, Геннадий Шипов) เป็นหัวหอกนำคณะวิจัยโดยใช้ทุนจากรัฐภายใต้ชื่อองค์กร ศูนย์เทคโนโลยีทางเลือก (Center of Nontraditional Technologies) อย่างไรก็ตาม คณะทำงานดังกล่าวถูกยุบลงใน ค.ศ. 1991 เมื่อศาสตราจารย์อเลกซานดรอฟ (Ye. B Aleksandrov) เปิดโปงคณะทำงานของชือปอฟว่าเป็นงานหลอกลวงต้มตุ๋นขโมยเงินทุนของรัฐ แต่โดยไม่ทราบสาเหตุ อาคิมอฟ และ ชือปอฟ ได้รับการสนับสนุนทุนการวิจัยสนามแรงบิดจากรัฐบาลโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ระหว่างช่วง..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และสนามแรงบิด (วิทยาศาสตร์เทียม) · ดูเพิ่มเติม »

หลักการพื้นฐานจักรวาลวิทยา

ในการศึกษาจักรวาลวิทยา หลักการพื้นฐานจักรวาลวิทยา เป็นสมมุติฐานที่ใช้งานอยู่ในการอธิบายถึงโครงสร้างขนาดใหญ่ของจักรวาล โดยระบุว่า กล่าวโดยละเอียดดังนี้ หลักการพื้นฐานจักรวาลวิทยานี้ทำให้มีทฤษฎีทางจักรวาลที่เป็นไปได้เพียงจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้ผลสอดคล้องกับการสังเกตการณ์ คือ (1) การกระจายตัวของดาราจักรในอวกาศ (2) การกระจายตัวของแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุ และ (3) การแผ่รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล ปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และหลักการพื้นฐานจักรวาลวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

หลุมขาว

แผนภาพหลุมขาวและหลุมดำ ภาพเคลื่อนไหวแสดงความสัมพันธ์ระหว่างหลุมขาว, หลุมดำ และรูหนอน ในสัมพัทธภาพทั่วไป ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ หลุมขาว (White hole) เป็นพื้นที่สมมติชนิดหนึ่งในทางทฤษฎีของกาลอวกาศซึ่งไม่มีสิ่งใดสามารถเข้าไปได้ แต่สสารและแสงสามารถหนีออกมาได้ (ตรงกันข้ามกับหลุมดำ) หลุมขาวปรากฏอยู่ในทฤษฎีหลุมดำนิรันดร์ อย่างไรก็ตามการเกิดหลุมดำสามารถเกิดได้ผ่านการยุบตัวอันเกิดจากแรงโน้มถ่วง แต่หลุมขาวยังไม่สามารถเกิดได้ผ่านกระบวนการทางกายภาพที่รู้จัก.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และหลุมขาว · ดูเพิ่มเติม »

หลุมดำ

มุมมองจำลองของหลุมดำด้านหน้าของทางช้างเผือก โดยมีมวลเทียบเท่าดวงอาทิตย์ 10 ดวงจากระยะทาง 600 กิโลเมตร หลุมดำ (black hole) หมายถึงเทหวัตถุในเอกภพที่มีแรงโน้มถ่วงสูงมาก ไม่มีอะไรออกจากบริเวณนี้ได้แม้แต่แสง ยกเว้นหลุมดำด้วยกัน เราจึงมองไม่เห็นใจกลางของหลุมดำ หลุมดำจะมีพื้นที่หนึ่งที่เป็นขอบเขตของตัวเองเรียกว่าขอบฟ้าเหตุการณ์ ที่ตำแหน่งรัศมีชวาร์สชิลด์ ถ้าหากวัตถุหลุดเข้าไปในขอบฟ้าเหตุการณ์ วัตถุจะต้องเร่งความเร็วให้มากกว่าความเร็วแสงจึงจะหลุดออกจากขอบฟ้าเหตุการณ์ได้ แต่เป็นไปไม่ได้ที่วัตถุใดจะมีความเร็วมากกว่าแสง วัตถุนั้นจึงไม่สามารถออกมาได้อีกต่อไป เมื่อดาวฤกษ์ที่มีมวลมหึมาแตกดับลง มันอาจจะทิ้งสิ่งที่ดำมืดที่สุด ทว่ามีอำนาจทำลายล้างสูงสุดไว้เบื้องหลัง นักดาราศาสตร์เรียกสิ่งนี้ว่า "หลุมดำ" เราไม่สามารถมองเห็นหลุมดำด้วยกล้องโทรทรรศน์ใดๆ เนื่องจากหลุมดำไม่เปล่งแสงหรือรังสีใดเลย แต่สามารถตรวจพบได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุ และคลื่นโน้มถ่วงของหลุมดำ (ในเชิงทฤษฎี โครงการแอลไอจีโอ) และจนถึงปัจจุบันได้ค้นพบหลุมดำในจักรวาลแล้วอย่างน้อย 6 แห่ง หลุมดำเป็นซากที่สิ้นสลายของดาวฤกษ์ที่ถึงอายุขัยแล้ว สสารที่เคยประกอบกันเป็นดาวนั้นได้ถูกอัดตัวด้วยแรงดึงดูดของตนเองจนเหลือเป็นเพียงมวลหนาแน่นที่มีขนาดเล็กยิ่งกว่านิวเคลียสของอะตอมเดียว ซึ่งเรียกว่า ภาวะเอกฐาน หลุมดำแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ หลุมดำมวลยวดยิ่ง เป็นหลุมดำในใจกลางของดาราจักร, หลุมดำขนาดกลาง, หลุมดำจากดาวฤกษ์ ซึ่งเกิดจากการแตกดับของดาวฤกษ์, และ หลุมดำจิ๋วหรือหลุมดำเชิงควอนตัม ซึ่งเกิดขึ้นในยุคเริ่มแรกของเอกภพ แม้ว่าจะไม่สามารถมองเห็นภายในหลุมดำได้ แต่ตัวมันก็แสดงการมีอยู่ผ่านการมีผลกระทบกับวัตถุที่อยู่ในวงโคจรภายนอกขอบฟ้าเหตุการณ์ ตัวอย่างเช่น หลุมดำอาจจะถูกสังเกตเห็นได้โดยการติดตามกลุ่มดาวที่โคจรอยู่ภายในศูนย์กลางหลุมดำ หรืออาจมีการสังเกตก๊าซ (จากดาวข้างเคียง) ที่ถูกดึงดูดเข้าสู่หลุมดำ ก๊าซจะม้วนตัวเข้าสู่ภายใน และจะร้อนขึ้นถึงอุณหภูมิสูง ๆ และปลดปล่อยรังสีขนาดใหญ่ที่สามารถตรวจจับได้จากกล้องโทรทรรศน์ที่โคจรอยู่รอบโลก การสำรวจให้ผลในทางวิทยาศาสตร์เห็นพ้องต้องกันว่าหลุมดำนั้นมีอยู่จริงในเอกภพ แนวคิดของวัตถุที่มีแรงดึงดูดมากพอที่จะกันไม่ให้แสงเดินทางออกไปนั้นถูกเสนอโดยนักดาราศาสตร์มือสมัครเล่นชาวอังกฤษ จอห์น มิเชล ในปี 1783 และต่อมาในปี 1795 นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ปีแยร์-ซีมง ลาปลาส ก็ได้ข้อสรุปเดียวกัน ตามความเข้าใจล่าสุด หลุมดำถูกอธิบายโดยทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ซึ่งทำนายว่าเมื่อมีมวลขนาดใหญ่มากในพื้นที่ขนาดเล็ก เส้นทางในพื้นที่ว่างนั้นจะถูกทำให้บิดเบี้ยวไปจนถึงศูนย์กลางของปริมาตร เพื่อไม่ให้วัตถุหรือรังสีใดๆ สามารถออกมาได้ ขณะที่ทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไปอธิบายว่าหลุมดำเป็นพื้นที่ว่างที่มีความเป็นภาวะเอกฐานที่จุดศูนย์กลางและที่ขอบฟ้าเหตุการณ์บริเวณขอบ คำอธิบายนี่เปลี่ยนไปเมื่อค้นพบกลศาสตร์ควอนตัม การค้นคว้าในหัวข้อนี้แสดงให้เห็นว่านอกจากหลุมดำจะดึงวัตถุไว้ตลอดกาล แล้วยังมีการค่อย ๆ ปลดปล่อยพลังงานภายใน เรียกว่า รังสีฮอว์คิง และอาจสิ้นสุดลงในที่สุด อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีคำอธิบายเกี่ยวกับหลุมดำที่ถูกต้องตามทฤษฎีควอนตัม.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และหลุมดำ · ดูเพิ่มเติม »

ห้องทดลองของเด็กซ์เตอร์

ห้องทดลองของเด็กซ์เตอร์ (Dexter's Laboratory) เป็นการ์ตูนทีวีแอนิเมชันของสหรัฐอเมริกา ผลิตโดย Gendy Tatakovsky โดยค่าย Hanna-Barbera Cartoons ในปี 1996-1998 และเปลี่ยนมือมาเป็น Cartoon Network Studios ในปี 2001-2003 ฉายทั่วโลกผ่านทางช่อง Cartoon Network และทางยูบีซีช่อง 29 (ปัจจุบันทรูวิชั่นส์ ช่อง 44) สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันออกอากาศที่ช่องบูมเมอแรง ช่อง 89 เรื่องราวของห้องทดลองของเด็กซ์เตอร์ เป็นเรื่องราวของเด็กซ์เตอร์ เด็กอัจฉริยะ ผู้ซึ่งมีสติปัญญาเหนือเด็กทั่วไป เขามีห้องทดลองลับอยู่ในห้องนอนของเขา โดยในแต่ละตอนเขามีหน้าที่ปกป้องห้องทดลองของเขาจากดีดี พี่สาวตัวร้าย และต้องไม่ให้พ่อกับแม่รู้เรื่องนี้อีกด้ว.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และห้องทดลองของเด็กซ์เตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ออตโต สเติร์น

ออตโต สเติร์น หรือออทโท ชแตร์น (Otto Stern, 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2431 - 17 สิงหาคม พ.ศ. 2512) เป็นนักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน-เยอรมัน ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และออตโต สเติร์น · ดูเพิ่มเติม »

อะตอม

อะตอม (άτομον; Atom) คือหน่วยพื้นฐานของสสาร ประกอบด้วยส่วนของนิวเคลียสที่หนาแน่นมากอยู่ตรงศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยกลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนที่มีประจุลบ นิวเคลียสของอะตอมประกอบด้วยโปรตอนที่มีประจุบวกกับนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า (ยกเว้นในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งเป็นนิวไคลด์ชนิดเดียวที่เสถียรโดยไม่มีนิวตรอนเลย) อิเล็กตรอนของอะตอมถูกดึงดูดอยู่กับนิวเคลียสด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้า ในทำนองเดียวกัน กลุ่มของอะตอมสามารถดึงดูดกันและกันก่อตัวเป็นโมเลกุลได้ อะตอมที่มีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากันจะมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า มิฉะนั้นแล้วมันอาจมีประจุเป็นบวก (เพราะขาดอิเล็กตรอน) หรือลบ (เพราะมีอิเล็กตรอนเกิน) ซึ่งเรียกว่า ไอออน เราจัดประเภทของอะตอมด้วยจำนวนโปรตอนและนิวตรอนที่อยู่ในนิวเคลียส จำนวนโปรตอนเป็นตัวบ่งบอกชนิดของธาตุเคมี และจำนวนนิวตรอนบ่งบอกชนิดไอโซโทปของธาตุนั้น "อะตอม" มาจากภาษากรีกว่า ἄτομος/átomos, α-τεμνω ซึ่งหมายความว่า ไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไป หลักการของอะตอมในฐานะส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของสสารที่ไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไปถูกเสนอขึ้นครั้งแรกโดยนักปรัชญาชาวอินเดียและนักปรัชญาชาวกรีก ซึ่งจะตรงกันข้ามกับปรัชญาอีกสายหนึ่งที่เชื่อว่าสสารสามารถแบ่งแยกได้ไปเรื่อยๆ โดยไม่มีสิ้นสุด (คล้ายกับปัญหา discrete หรือ continuum) ในคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 นักเคมีเริ่มวางแนวคิดทางกายภาพจากหลักการนี้โดยแสดงให้เห็นว่าวัตถุหนึ่งๆ ควรจะประกอบด้วยอนุภาคพื้นฐานที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้อีกต่อไป ระหว่างช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักฟิสิกส์ค้นพบส่วนประกอบย่อยของอะตอมและโครงสร้างภายในของอะตอม ซึ่งเป็นการแสดงว่า "อะตอม" ที่ค้นพบตั้งแต่แรกยังสามารถแบ่งแยกได้อีก และไม่ใช่ "อะตอม" ในความหมายที่ตั้งมาแต่แรก กลศาสตร์ควอนตัมเป็นทฤษฎีที่สามารถนำมาใช้สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของอะตอมได้เป็นผลสำเร็จ ตามความเข้าใจในปัจจุบัน อะตอมเป็นวัตถุขนาดเล็กที่มีมวลน้อยมาก เราสามารถสังเกตการณ์อะตอมเดี่ยวๆ ได้โดยอาศัยเครื่องมือพิเศษ เช่น กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดในอุโมงค์ มวลประมาณ 99.9% ของอะตอมกระจุกรวมกันอยู่ในนิวเคลียสไอโซโทปส่วนมากมีนิวคลีออนมากกว่าอิเล็กตรอน ในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งมีอิเล็กตรอนและนิวคลีออนเดี่ยวอย่างละ 1 ตัว มีโปรตอนอยู่ \begin\frac \approx 0.9995\end, หรือ 99.95% ของมวลอะตอมทั้งหมด โดยมีโปรตอนและนิวตรอนเป็นมวลที่เหลือประมาณเท่า ๆ กัน ธาตุแต่ละตัวจะมีอย่างน้อยหนึ่งไอโซโทปที่มีนิวเคลียสซึ่งไม่เสถียรและเกิดการเสื่อมสลายโดยการแผ่รังสี ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการแปรนิวเคลียสที่ทำให้จำนวนโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียสเปลี่ยนแปลงไป อิเล็กตรอนที่โคจรรอบอะตอมจะมีระดับพลังงานที่เสถียรอยู่จำนวนหนึ่งในลักษณะของวงโคจรอะตอม และสามารถเปลี่ยนแปลงระดับไปมาระหว่างกันได้โดยการดูดซับหรือปลดปล่อยโฟตอนที่สอดคล้องกับระดับพลังงานที่ต่างกัน อิเล็กตรอนเหล่านี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ และมีอิทธิพลอย่างมากต่อคุณสมบัติทางแม่เหล็กของอะตอม แนวคิดที่ว่าสสารประกอบด้วยหน่วยย่อยๆ ไม่ต่อเนื่องกันและไม่สามารถแบ่งออกเป็นชิ้นส่วนที่เล็กไปได้อีก เกิดขึ้นมานับเป็นพันปีแล้ว แนวคิดเหล่านี้มีรากฐานอยู่บนการให้เหตุผลทางปรัชญา นักปรัชญาได้เรียกการศึกษาด้านนี้ว่า ปรัชญาธรรมชาติ (Natural Philosophy) จนถึงยุคหลังจากเซอร์ ไอแซค นิวตัน จึงได้มีการบัญญัติศัพท์คำว่า 'วิทยาศาสตร์' (Science) เกิดขึ้น (นิวตันเรียกตัวเองว่าเป็น นักปรัชญาธรรมชาติ (natural philosopher)) ทดลองและการสังเกตการณ์ ธรรมชาติของอะตอม ของนักปรัชญาธรรมชาติ (นักวิทยาศาสตร์) ทำให้เกิดการค้นพบใหม่ ๆ มากมาย การอ้างอิงถึงแนวคิดอะตอมยุคแรก ๆ สืบย้อนไปได้ถึงยุคอินเดียโบราณในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล โดยปรากฏครั้งแรกในศาสนาเชน สำนักศึกษานยายะและไวเศษิกะได้พัฒนาทฤษฎีให้ละเอียดลึกซึ้งขึ้นว่าอะตอมประกอบกันกลายเป็นวัตถุที่ซับซ้อนกว่าได้อย่างไร ทางด้านตะวันตก การอ้างอิงถึงอะตอมเริ่มขึ้นหนึ่งศตวรรษหลังจากนั้นโดยลิวคิพพุส (Leucippus) ซึ่งต่อมาศิษย์ของเขาคือ ดีโมครีตุส ได้นำแนวคิดของเขามาจัดระเบียบให้ดียิ่งขึ้น ราว 450 ปีก่อนคริสตกาล ดีโมครีตุสกำหนดคำว่า átomos (ἄτομος) ขึ้น ซึ่งมีความหมายว่า "ตัดแยกไม่ได้" หรือ "ชิ้นส่วนของสสารที่เล็กที่สุดไม่อาจแบ่งแยกได้อีก" เมื่อแรกที่ จอห์น ดาลตัน ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับอะตอม นักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้นเข้าใจว่า 'อะตอม' ที่ค้นพบนั้นไม่สามารถแบ่งแยกได้อีกแล้ว ถึงแม้ต่อมาจะได้มีการค้นพบว่า 'อะตอม' ยังประกอบไปด้วย โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน แต่นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันก็ยังคงใช้คำเดิมที่ดีโมครีตุสบัญญัติเอาไว้ ลัทธินิยมคอร์พัสคิวลาร์ (Corpuscularianism) ที่เสนอโดยนักเล่นแร่แปรธาตุในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซูโด-กีเบอร์ (Pseudo-Geber) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า พอลแห่งทารันโท แนวคิดนี้กล่าวว่าวัตถุทางกายภาพทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคขนาดละเอียดเรียกว่า คอร์พัสเคิล (corpuscle) เป็นชั้นภายในและภายนอก แนวคิดนี้คล้ายคลึงกับทฤษฎีอะตอม ยกเว้นว่าอะตอมนั้นไม่ควรจะแบ่งต่อไปได้อีกแล้ว ขณะที่คอร์พัสเคิลนั้นยังสามารถแบ่งได้อีกในหลักการ ตัวอย่างตามวิธีนี้คือ เราสามารถแทรกปรอทเข้าไปในโลหะอื่นและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของมันได้ แนวคิดนิยมคอร์พัสคิวลาร์อยู่ยั่งยืนยงเป็นทฤษฎีหลักตลอดเวลาหลายร้อยปีต่อมา ในปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และอะตอม · ดูเพิ่มเติม »

อัจฉริยบุคคล

อัจฉริยบุคคล คือบุคคลที่แสดงความสามารถทางปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ หรือความคิดริเริ่ม ในระดับที่เกิดจากเชาว์ปัญญาที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างคาดไม่ถึง อาจหมายถึงมุมมองเฉพาะของแต่ละบุคคล อาจเป็นนักวิชาการในหลายสาขา (เช่น กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ หรือ เลโอนาร์โด ดา วินชี) หรือนักวิชาการในสาขาเดียว (เช่น อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ หรือ ชาลส์ ดาร์วิน) ไม่มีคำนิยามของอัจฉริยบุคคลทางวิทยาศาสตร์ และคำถามที่ว่าในตัวความนึกคิดเองมีความหมายที่แท้จริงหรือไม่นั้น ยังคงเป็นข้อถกเถียงกันอยู.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และอัจฉริยบุคคล · ดูเพิ่มเติม »

อัตราเร็วของแสง

ปรากฏการณ์เชเรนคอฟ ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เป็นผลมาจาก อิเล็กตรอนเคลื่อนที่เร็วกว่าแสงที่เดินทางในน้ำ อัตราเร็วของแสง (speed of light) ในสุญญากาศ มีนิยามว่าเท่ากับ 299,792,458 เมตรต่อวินาที (หรือ 1,080,000,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือประมาณ 186,000.000 ไมล์ต่อวินาที หรือ 671,000,000 ไมล์ต่อชั่วโมง) ค่านี้เขียนแทนด้วยตัว c ซึ่งมาจากภาษาละตินคำว่า celeritas (แปลว่า อัตราเร็ว) และเรียกว่าเป็นค่าคงที่ของไอน์สไตน์ แสงเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดนั่นคือไม่ว่าผู้สังเกตจะเคลื่อนที่หรือหยุดนิ่ง ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใด ด้วยเงื่อนไขใด อัตราเร็วของแสงที่ผู้สังเกตคนนั้นวัดได้ จะเท่าเดิมเสมอ ซึ่งขัดกับความรู้สึกของคนทั่วไป แต่เป็นไปตาม ทฤษฎีสัมพัทธภาพ ของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ สังเกตว่าอัตราเร็วของแสงในสุญญากาศ เป็น นิยาม ไม่ใช่ การวัด ในหน่วยเอสไอกำหนดให้ เมตร มีนิยามว่าเป็นระยะทางที่แสงเดินทางในสุญญากาศในเวลา 1/299,792,458 วินาที แสงที่เดินทางผ่านตัวกลางโปร่งแสง (คือไม่เป็นสุญญากาศ) จะมีอัตราเร็วต่ำกว่า c อัตราส่วนของ c ต่ออัตราเร็วของแสงที่เดินทางผ่านในตัวกลาง เรียกว่า ดรรชนีหักเหของตัวกลางนั้น โดยเมื่อผ่านแก้ว จะมีดรรชนีหักเห 1.5-1.9 ผ่านน้ำจะมีดรรชีนีหักเห 1.3330 ผ่านเบนซินจะมีดรรชนีหักเห 1.5012 ผ่านคาร์บอนไดซัลไฟต์จะมีดรรชนีหักเห 1.6276 ผ่านเพชรจะมีดรรชนีหักเห 2.417 ผ่านน้ำแข็งจะมีดรรชนีหักเห 1.309.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และอัตราเร็วของแสง · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์

อาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์ (Arthur Schopenhauer) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมันที่เป็นที่รู้จักกันดีในความแจ่มแจ้งทางปรัชญาและทุทรรศนนิยมของความไม่มีพระเจ้า เมื่ออายุ 25 ปีโชเพนเฮาเออร์พิมพ์ปริญญานิพนธ์ “มูลบัญญัติสี่ประการของเหตุผล” (Über die vierfache Wurzel des Satzes vom zureichenden Grunde) ที่เป็นปรัชญาที่พิจารณาคำถามที่ว่าเหตุผลเพียงอย่างเดียวจะสามารถให้คำตอบเกี่ยวกับโลกได้หรือไม่ งานชิ้นที่มีอิทธิพลที่สุดของโชเพนเฮาเออร์ “Die Welt als Wille und Vorstellung” (The World as Will and Representation) เน้นบทบาทของแรงบันดาลใจ (motivation) ของมนุษย์ที่โชเพนเฮาเออร์เรียกว่า “เจตจำนง” (Will) การวิจัยของโชเพนเฮาเออร์นำไปสู่การสรุปว่าความต้องการทางอารมณ์, ทางร่างกาย และทางเพศ เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะตอบสนองได้อย่างเต็มที่ ฉะนั้นโชเพนเฮาเออร์จึงนิยมวิถีชีวิตที่ลดความต้องการของมนุษย์ ที่คล้ายคลึงกับปรัชญาของศาสนาพุทธและเวทานต.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และอาร์ทูร์ โชเพนเฮาเออร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เธอร์ ชนิตซ์เลอร์

อาร์เธอร์ ชนิตซ์เลอร์ (Arthur Schnitzler; 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1862 – 21 ตุลาคม ค.ศ. 1931) เป็นนักเขียนชาวออสเตรีย เกิดที่กรุงเวียนนาในครอบครัวชาวยิว เป็นบุตรคนโตของพี่น้อง 4 คนของโยฮันน์ ชนิตซ์เลอร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านลำคอกับลุยส์ มาร์กไบรเตอร์ ชนิตซ์เลอร์เรียนวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเวียนนาและทำงานที่โรงพยาบาลเวียนนา แต่ต่อมาเขาหันมาสนใจด้านการเขียน บทละครชิ้นแรกของเขา Anatol ตีพิมพ์ในปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และอาร์เธอร์ ชนิตซ์เลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เทอร์ คอมป์ตัน

อาร์เทอร์ ฮอลลี คอมป์ตัน (Arthur Holly Compton) (10 กันยายน พ.ศ. 2435 – 15 มีนาคม พ.ศ. 2505) เป็นนักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิก..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และอาร์เทอร์ คอมป์ตัน · ดูเพิ่มเติม »

อุล์ม

วิหาร Ulm Münster ศูนย์กลางของเมืองอูล์ม มองจากวิหาร อุล์ม (Ulm) เป็นเมืองในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำดานูบ ห่างจากเมืองสตุ๊ทการ์ทไปทางตะวันออกประมาณ 90 กิโลเมตร มีวิหาร อูล์มเมอร์ มืนสเตอร์ (Ulm Münster) ที่มีชื่อเสียง ถือว่าเป็นโบสถ์ที่สูงที่สุดในโลกวัดได้ว่ามีความสูงถึง 161.53 เมตร.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และอุล์ม · ดูเพิ่มเติม »

อูร์แบ็ง เลอ แวรีเย

อูร์แบ็ง เลอ แวรีเย อูร์แบ็ง ฌ็อง โฌแซ็ฟ เลอ แวรีเย (Urbain Jean Joseph Le Verrier, 11 มีนาคม พ.ศ. 2354 - 23 กันยายน พ.ศ. 2366) นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสผู้เชี่ยวชาญด้านกลศาสตร์เทห์ฟ้า (Celestial mechanics) ทำงานประจำหอดูดาวปารีสตลอดชีวิต.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และอูร์แบ็ง เลอ แวรีเย · ดูเพิ่มเติม »

อีอีควอลเอ็มซีสแควร์

อีอีควอลเอ็มซีสแควร์ (อังกฤษ: E.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และอีอีควอลเอ็มซีสแควร์ · ดูเพิ่มเติม »

อ็องรี ปวงกาเร

อ็องรี ปวงกาเร ฌูล อ็องรี ปวงกาเร (Jules Henri Poincaré) เกิด 29 เมษายน ค.ศ. 1854 เสียชีวิต 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1912 เป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักปรัชญาวิทยาศาสตร์ที่ดีสุดของฝรั่งเศส ในหนังสือประวัตินักคณิตศาสตร์ที่โด่งดังของอิริค เทมเพิล เบลล์ได้ให้เกียรติปวงกาเรว่าเป็น นักคณิตศาสตร์คนสุดท้ายผู้ล่วงรู้ครอบจักรวาล (universalist) เนื่องจากปวงกาเรเดินตามรอยของนักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ในอดีต เช่น เกาส์, ออยเลอร์ หรือนิวตัน ที่มีผลงานและรอบรู้ในแทบทุกสาขาของคณิตศาสตร์ (หลังจากยุคปวงกาเรก็ไม่ปรากฏนักคณิตศาสตร์คนได้รอบรู้ในแง่ลึกของทุกสาขาอีก ทั้งนี้เนื่องจากสาขาของคณิตศาสตร์นั้นเพิ่มขึ้นมากมายมหาศาลในปัจจุบัน โดยตัวปวงกาเรเองก็เป็นผู้ที่ก่อตั้งสาขาย่อยของคณิตศาสตร์ใหม่อีกหลายสาขา) สาขาวิชาการที่ปวงกาเรได้อุทิศผลงานและมีผลกระทบสำคัญต่อวงการมากที่สุดได้แก่ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์ และ กลศาสตร์ท้องฟ้า โดยผลงานที่โด่งดังของปวงกาเรมีมากมายเช่น.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และอ็องรี ปวงกาเร · ดูเพิ่มเติม »

ฮันส์ เบเทอ

ันส์ อัลเบร็คท์ เบเทอ (Hans Albrecht Bethe) เป็นนักฟิสิกส์นิวเคลียร์สัญชาติเยอรมัน-อเมริกัน เขาเป็นบุคคลสำคัญของวงการฟิสิกส์ดาราศาสตร์ พลศาสตร์ไฟฟ้าควอนตัม และฟิสิกส์ของแข็ง เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และฮันส์ เบเทอ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิวริสติกในการประเมินและการตัดสินใจ

ในสาขาจิตวิทยา ฮิวริสติก (heuristic พหูพจน์ "ฮิวริสติกส์") เป็นกฎที่ง่าย ๆ และมีประสิทธิภาพ ที่เรามักจะใช้ในการประเมิน และการตัดสินใจ เป็นวิธีลัดทางความคิดโดยเพ่งความสนใจไปยังส่วนหนึ่งของปัญหาที่ซับซ้อนแล้วไม่ใส่ใจในส่วนอื่น กฎเหล่านี้ทำงานได้ดีในสถานการณ์โดยมาก แต่สามารถนำไปสู่ความผิดพลาดอย่างเป็นระบบ ซึ่งอาจเป็นความผิดพลาดโดยตรรกะ โดยความเป็นไปได้ หรือโดยความสมเหตุสมผล ความผิดพลาดเหล่านี้เป็นความเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) ซึ่งมีการค้นพบแล้วมากมายหลายแบบ เป็นความผิดพลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่นการประเมินราคาบ้านหรือการพิพากษาตัดสินคดี ฮิวริสติกปกติมักจะเป็นการตัดสินใจที่เป็นอัตโนมัติ เป็นการรู้เอง (intuitive) ที่ไม่ต้องอาศัยการคิด แต่อาจมีการใช้เป็นกลยุทธ์ทางความคิดอย่างจงใจได้ เมื่อต้องทำการตัดสินใจโดยมีข้อมูลที่จำกัด นักประชานศาสตร์ชาวอเมริกันเฮอร์เบิร์ต ไซมอนดั้งเดิมเป็นผู้เสนอว่า การตัดสินใจของมนุษย์ต้องอาศัยฮิวริสติก โดยใช้แนวความคิดจากวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 นักจิตวิทยาแดเนียล คาฮ์นะมัน และอะมอส ทเวอร์สกี้ แสดงฮิวริสติก 3 ประเภทที่เป็นฐานของการตัดสินใจโดยรู้เองที่ใช้อย่างกว้างขวาง งานวิจัยเหล่านี้ จุดชนวนโปรแกรมงานวิจัยเกี่ยวกับ ฮิวริสติกและความเอนเอียง (Heuristics and Biases) ซึ่งศึกษาการตัดสินใจในชีวิตจริงของมนุษย์ และศึกษาสถานการณ์ที่การตัดสินใจเหล่านี้ใช้ไม่ได้ คือไม่สมเหตุผล งานวิจัยในแนวนี้ได้คัดค้านไอเดียว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่กระทำตามเหตุผล และได้ให้ทฤษฎีเกี่ยวกับการประมวลสารสนเทศ (information processing) ที่สามารถอธิบายวิธีการที่มนุษย์ใช้ในการประเมินผลหรือการตัดสินใจ เป็นแนวงานวิจัยที่เริ่มมีความสนใจในระดับสากลในปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และฮิวริสติกในการประเมินและการตัดสินใจ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิสทรี (ช่องโทรทัศน์)

ทรี (History) หรือเดิมเรียกว่า เดอะฮิสทรีแชนเนล (The History Channel) เป็นช่องโทรทัศน์ผ่านระบบดาวเทียมและเคเบิลทีวีสัญชาติอเมริกัน ออกฉายในหลาย ๆ ประเทศ เจ้าของคือ เอแอนด์อีเทเลวิชันเนตเวิกส์ เริ่มแรกออกอากาศรายการประเทศสารคดีและเรื่องแต่งอิงประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และฮิสทรี (ช่องโทรทัศน์) · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง แปแร็ง

็อง บาติสต์ แปแร็ง (Jean Baptiste Perrin; 30 กันยายน ค.ศ. 1870 – 17 เมษายน ค.ศ. 1942) เป็นนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส และผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และฌ็อง แปแร็ง · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น ฟอน นอยมันน์

อห์น ฟอน นอยมันน์ ในช่วงปี ค.ศ. 1940 จอห์น ฟอน นอยมันน์ (John von Neumann, Neumann János, 28 ธ.ค. ค.ศ. 1903 - 8 ก.พ. ค.ศ. 1957) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายฮังการี มีผลงานสำคัญในหลายสาขา ทั้ง ควอนตัมฟิสิกส์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และ จะว่าไปแล้วก็ทุกๆ สาขาในวิชาคณิตศาสตร์ เลยก็ว่าได้.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และจอห์น ฟอน นอยมันน์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ

ักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ หรือ ฟิสิกส์จักรวาลวิทยา (Physical cosmology) คือสาขาวิชาหนึ่งของการศึกษาดาราศาสตร์ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างขนาดใหญ่ของจักรวาลและพลศาสตร์ของเอกภพของเรา ตลอดจนถึงความเกี่ยวข้องกับปัญหาพื้นฐานในแง่การกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ การศึกษาจักรวาลวิทยาเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้าต่าง ๆ และสาเหตุเริ่มต้นของการเคลื่อนที่เหล่านั้น มีพื้นฐานมาจากแนวคิดของโคเปอร์นิคัส ที่ว่าวัตถุท้องฟ้าทุกชนิดย่อมอยู่ภายใต้กฎทางฟิสิกส์เดียวกันกับกฎทางฟิสิกส์ที่ใช้บนโลก ส่วนกลศาสตร์นิวตันเป็นการนำเสนอทฤษฎีที่จะทำความเข้าใจกับการเคลื่อนที่ ปัจจุบันเรียกกลศาสตร์ทั้งหมดนี้รวม ๆ กันว่า กลศาสตร์ท้องฟ้า (celestial mechanics) สำหรับการศึกษาจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพในยุคปัจจุบันเริ่มขึ้นจากการพัฒนาทฤษฎีใหม่ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป รวมถึงข้อมูลการสังเกตการณ์วัตถุที่อยู่ไกลมาก ๆ ในจักรวาลของเร.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มา

ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มา (Fermat's last theorem) เป็นหนึ่งในทฤษฎีบทที่โด่งดังในประวัติศาสตร์ของคณิตศาสตร์ ซึ่งกล่าวว่า: ปีแยร์ เดอ แฟร์มา นักคณิตศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้เขียนทฤษฎีบทนี้ลงในหน้ากระดาษหนังสือ Arithmetica ของไดโอแฟนตัส ฉบับแปลเป็นภาษาละตินโดย Claude-Gaspar Bachet เขาเขียนว่า "ฉันมีบทพิสูจน์ที่น่าอัศจรรย์สำหรับบทสรุปนี้ แต่พื้นที่กระดาษเหลือน้อยเกินไปที่จะอธิบายได้" (เขียนเป็นภาษาละตินว่า "Cuius rei demonstrationem mirabilem sane detexi. Hanc marginis exiguitas non caperet.") อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลา 357 ปี ไม่มีใครสามารถพิสูจน์ได้ถูกต้องเลย ปีแยร์ เดอ แฟร์มา ข้อความนี้มีความสำคัญมาก เพราะว่าข้อความอื่นๆ ที่แฟร์มาเขียนนั้น ได้รับการพิสูจน์หมดแล้ว ไม่ว่าจะพิสูจน์ด้วยตัวเขาเอง หรือว่ามีคนให้บทพิสูจน์ในภายหลัง ทฤษฎีบทนี้ไม่ได้เป็นข้อความคาดการณ์สุดท้ายที่แฟร์มาเขียน แต่เป็น ข้อสุดท้ายที่จะต้องพิสูจน์ นักคณิตศาสตร์ได้พยายามพิสูจน์หรือไม่ก็หักล้างทฤษฎีบทนี้มาโดยตลอด และต้องพบกับความล้มเหลวทุกครั้งไป ทำให้ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีที่สร้างบทพิสูจน์ที่ผิดๆ มากที่สุดในวงการคณิตศาสตร์ก็ว่าได้ อาจเป็นเพราะทฤษฎีบทนี้ดูแล้วไม่มีอะไรซับซ้อนนั่นเอง.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มา · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีสรรพสิ่ง

ทฤษฎีแห่งสรรพสิ่ง (Theory of everything) เป็นทฤษฎีที่เกิดจากความต้องการในการหาคำตอบของปริมาณทางฟิสิกส์ในเรื่องต่างๆ ด้วยชุดสมการเพียงชุดเดียว ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในทฤษฎีที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามและความท้าทายของมนุษย์ต่อธรรมชาติ โดยทฤษฎีนี้ได้ถูกริเริ่มมาจาก อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์ผู้ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพอันโด่งดัง ซึ่งเขาคาดว่าทฤษฎีดังกล่าวสามารถเป็นจริงได้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเขาจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาในหัวข้อนี้ได้ แต่นักฟิสิกส์ในปัจจุบันก็มีความพยายามที่จะสร้างและคาดหวังต่อทฤษฎีดังกล่าว จนเป็นประเด็นทางฟิสิกส์ที่มีนักฟิสิกส์ทฤษฎีสนใจกันมากที่สุดทฤษฎีหนึ่งอีกด้วย 19 ตุลาคม 2553 ทฤษฎีแห่งสรรพสิ่ง คือ ทฤษฎีสตริง และ ซุปเปอร์สตริง ในการหาคำตอบของการสั่นของอน.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และทฤษฎีสรรพสิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีสัมพัทธภาพ

มมิติของความโค้งปริภูมิ-เวลาที่อธิบายในสัมพัทธภาพทั่วไป ทฤษฎีสัมพัทธภาพ ครอบคลุมสองทฤษฎีของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์คือ ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษและทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป มโนทัศน์ที่ทฤษฎีสัมพัทธภาพริเริ่มมีปริภูมิ-เวลาซึ่งเป็นเอนทิตีรวม (unified entity) ของปริภูมิและเวลา สัมพัทธภาพของความเป็นเวลาเดียวกัน (relativity of simultaneity) การเปลี่ยนขนาดของเวลาทางจลนศาสตร์และความโน้มถ่วง (kinematic and gravitational time dilation) และการหดตัวของความยาว (length contraction) ทฤษฎีสัมพัทธภาพเปลี่ยนแปลงฟิสิกส์ทฤษฎีและดาราศาสตร์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อพิมพ์ครั้งแรก สัมพัทธภาพเข้าแทนที่ทฤษฎีกลศาสตร์อายุ 200 ปีที่ไอแซก นิวตันเป็นผู้ประดิษฐ์หลัก ในสาขาฟิสิกส์ สัมพัทธภาพพัฒนาวิทยาศาสตร์ของอนุภาคมูลฐานและอันตรกิริยามูลฐานของพวกมัน ร่วมกับการก้าวสู่ยุคนิวเคลียร์ ด้วยสัมพัทธภาพ จักรวาลวิทยาและฟิสิกส์ดาราศาสตร์ทำนายปรากฏการณ์ดาราศาสตร์พิเศษอย่างดาวนิวตรอน หลุมดำและคลื่นความโน้มถ่วง ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษและทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปเชื่อมโยงกัน ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษใช้กับปรากฏการณ์กายภาพทั้งหมดยกเว้นความโน้มถ่วง ทฤษฎีทั่วไปให้กฎความโน้มถ่วง และความสัมพันธ์กับแรงอื่นของธรรมชาต.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และทฤษฎีสัมพัทธภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ

ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (special relativity) ถูกเสนอขึ้นในปี ค.ศ. 1905 โดยอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในบทความของเขา "เกี่ยวกับพลศาสตร์ไฟฟ้าของวัตถุซึ่งเคลื่อนที่ (On the Electrodynamics of Moving Bodies)" สามศตวรรษก่อนหน้านั้น หลักสัมพัทธภาพของกาลิเลโอกล่าวไว้ว่า การเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ทั้งหมดเป็นการสัมพัทธ์ และไม่มีสถานะของการหยุดนิ่งสัมบูรณ์และนิยามได้ คนที่อยู่บนดาดฟ้าเรือคิดว่าตนอยู่นิ่ง แต่คนที่สังเกตบนชายฝั่งกลับบอกว่า ชายบนเรือกำลังเคลื่อนที่ ทฤษฏีของไอน์สไตน์รวมหลักสัมพัทธภาพของกาลิเลโอเข้ากับสมมติฐานที่ว่า ผู้สังเกตทุกคนจะวัดอัตราเร็วของแสงได้เท่ากันเสมอ ไม่ว่าสภาวะการเคลื่อนที่เชิงเส้นด้วยความเร็วคงที่ของพวกเขาจะเป็นอย่างไร ทฤษฏีนี้มีข้อสรุปอันน่าประหลาดใจหลายอย่างซึ่งขัดกับสามัญสำนึก แต่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยการทดลอง ทฤษฏีสัมพัทธภาพพิเศษล้มล้างแนวคิดของปริภูมิสัมบูรณ์และเวลาสัมบูรณ์ของนิวตันโดยการยืนยันว่า ระยะทางและเวลาขึ้นอยู่กับผู้สังเกต และรับรู้เวลากับปริภูมิต่างกันขึ้นอยู่กับผู้สังเกต มันนำมาซึ่งหลักการสมมูลของสสารและพลังงาน ซึ่งสามารถแสดงเป็นสมการชื่อดัง E.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป

การทดสอบสัมพัทธภาพทั่วไปความเที่ยงสูงโดยยานอวกาศแคสซินี สัญญาณวิทยุที่ส่งระหว่างโลกและยาน (คลื่นสีเขียว) ถูกหน่วงโดยการบิดของปริภูมิ-เวลา (เส้นสีน้ำเงิน) เนื่องจากมวลของดวงอาทิตย์ สัมพัทธภาพทั่วไปหรือทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (general relativity หรือ general theory of relativity) เป็นทฤษฎีความโน้มถ่วงแบบเรขาคณิตซึ่งอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์จัดพิมพ์ใน..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า

ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetism) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา แรงแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นระหว่างอนุภาคใดๆที่มีประจุไฟฟ้า แรงแม่เหล็กไฟฟ้ามักจะแสดงสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นสนามไฟฟ้า, สนามแม่เหล็ก, และแสง แรงแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหนึ่งในสี่ปฏิสัมพันธ์พื้นฐานในธรรมชาติ อีกสามแรงพื้นฐานได้แก่ อันตรกิริยาอย่างเข้ม, อันตรกิริยาอย่างอ่อน และแรงโน้มถ่วง ฟ้าผ่าเป็นการระบายออกของไฟฟ้าสถิตแบบหนึ่งที่ไฟฟ้าสถิตจะเดินทางระหว่างสองภูมิภาคท​​ี่มีประจุไฟฟ้า แม่เหล็กไฟฟ้ามาจากภาษาอังกฤษ electromagnet คำนี้ป็นรูปแบบผสมของคำภาษากรีกสองคำได้แก่ ἤλεκτρον หมายถึง อิเล็กตรอน และ μαγνῆτιςλίθος (Magnetis Lithos) ซึ่งหมายถึง "หินแม่เหล็ก" ซึ่งเป็นแร่เหล็กชนิดหนึ่ง วิทยาศาสตร์ของปรากฏการณ์แม่เหล็กไฟฟ้าถูกกำหนดไว้ในความหมายของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า บางครั้งถูกเรียกว่าแรงลอเรนซ์ (Lorentz force) ซึ่งประกอบด้วยทั้งไฟฟ้าและแม่เหล็กในฐานะที่เป็นสององค์ประกอบของปรากฏการณ์ แรงแม่เหล็กไฟฟ้ามีบทบาทสำคัญในการกำหนดคุณสมบัติภายในของวัตถุส่วนใหญ่ที่พบในชีวิตประจำวัน สสารทั่วไปจะได้รูปแบบของมันจากผลของแรงระหว่างโมเลกุลของโมเลกุลแต่ละตัวในสสาร อิเล็กตรอนจะถูกยึดเหนี่ยวตามกลไกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้ากับวงโคจรรอบนิวเคลียสเพื่อก่อตัวขึ้นเป็นอะตอมซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของโมเลกุล กระบวนการนี้จะควบคุมกระบวนการที่เกี่ยวข้องทั้งหลายในทางเคมีซึ่งเกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอิเล็กตรอนในวงโคจรของอะตอมหนึ่งกับอิเล็กตรอนอื่นในวงโคจรของอะตอมที่อยู่ใกล้เคียงซึ่งจะถูกกำหนดโดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างแรงแม่เหล็กไฟฟ้ากับโมเมนตัมของอิเล็กตรอนเหล่านั้น มีคำอธิบายของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าทางคณิตศาสตร์จำนวนมาก ในไฟฟ้าพลศาสตร์แบบคลาสสิก (classical electrodynamics) สนามไฟฟ้าจะอธิบายถึงศักย์ไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า ในกฎของฟาราเดย์ สนามแม่เหล็กจะมาพร้อมกับการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าและแม่เหล็ก, และสมการของแมกซ์เวลจะอธิบายว่า สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กถูกสร้างขึ้นได้อย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งกันและกันอย่างไร และมีการเปลี่ยนแปลงโดยประจุและกระแสได้อย่างไร การแสดงเจตนาเป็นนัยในทางทฤษฎีของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า โดยเฉพาะในการจัดตั้งของความเร็วของแสงที่ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของ "ตัวกลาง" ของการกระจายคลื่น (ความสามารถในการซึมผ่าน (permeability) และแรงต้านสนามไฟฟ้า (permittivity)) นำไปสู่​​การพัฒนาทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษโดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ในปี 1905 แม้ว่าแรงแม่เหล็กไฟฟ้าถือเป็นหนึ่งในสี่แรงพื้นฐาน แต่ที่ระดับพลังงานสูงอันตรกิริยาอย่างอ่อนและแรงแม่เหล็กไฟฟ้าถูกรวมเป็นสิ่งเดียวกัน ในประวัติศาสตร์ของจักรวาล ในช่วงยุคควาร์ก แรงไฟฟ้าอ่อน (electroweak) จะหมายถึงแรง(แม่เหล็ก)ไฟฟ้า + (อันตรกิริยาอย่าง)อ่อน.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ของเหลวผลควบแน่นโพส–ไอน์สไตน์

รควบแน่นโพส-ไอน์สไตน์ (Bose–Einstein condensate) เกิดขึ้นเมื่อเราลดอุณหภูมิของธาตุลงให้ต่ำมากๆ โดยปกติจะสูงกว่าศูนย์องศาสัมบูรณ์ (-273.15 องศาเซลเซียส) เพียงแค่เศษเสี้ยวเดียวของ 1 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิในทางทฤษฎีที่ทุกสิ่งทุกอย่างหยุดการเคลื่อนไหวนิ่งสนิท พฤติกรรมที่โดยปกติจะเห็นได้ในระดับอะตอมก็สามารถเห็นได้ในระดับที่กว้างขึ้น ตัวอย่างเช่น ถ้านำสสารควบแน่นโพส-ไอน์สไตน์มาใส่ในถ้วยแก้ว และรักษาระดับความเย็นให้เพียงพอ สสารดังกล่าวจะไหลคลานออกมาข้างนอกถ้วยแก้วด้วยตัวมันเอง สสารควบแน่นโพส-ไอน์สไตน์ได้รับการพยากรณ์ว่ามีอยู่จริงโดยไอน์สไตน์ในปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และของเหลวผลควบแน่นโพส–ไอน์สไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาฟิด ฮิลแบร์ท

ฟิด ฮิลแบร์ท ดาฟิด ฮิลแบร์ท (David Hilbert,, 23 มกราคม ค.ศ. 1862 (พ.ศ. 2405) - 14 กุมภาพันธ์, ค.ศ. 1943 (พ.ศ. 2486); อายุ 81 ปี) เป็นนักคณิตศาสตร์, นักปรัชญาและนักฟิสิกส์ ชาวเยอรมัน เกิดที่เมืองเวลู ใกล้ ๆ กับเมืองโคนิสเบิร์ก แคว้นปรัสเซีย (ปัจจุบันนี้คือเมืองซนาเมนสค์ ใกล้กับคาลินินกราด, ประเทศรัสเซีย) ฮิลแบร์ทได้รับการยอมรับว่าเป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีอิทธิพลอย่างสูงในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แม้ว่าผลงานของเขาเองก็มากพอที่จะทำให้เขาได้รับการยกย่องนี้ แต่ความเป็นผู้นำทางด้านคณิตศาสตร์ของเขาในช่วงบั้นปลายชีวิตต่างหาก ที่ทำให้เขาโดดเด่นจากผู้อื่น เขาเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเกิตติงเงนแทบจะทั้งชีวิตของเขา นอกจากงานคณิตศาสตร์แล้ว เขายังมีอิทธิพลในด้านฟิสิกส์ด้วย กล่าวคือ เขาเป็นหนึ่งในผู้ให้กำเนิดทฤษฎีสัมพัทธภาพ ร่วมกับอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ แต่ไม่ได้หมายความว่าไอน์สไตน์ลอกงานของฮิลแบร์ท เพียงแต่ทฤษฎีของทั้งคู่มีความคล้ายคลึงกัน.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และดาฟิด ฮิลแบร์ท · ดูเพิ่มเติม »

คลื่นความโน้มถ่วง

ในวิชาฟิสิกส์ คลื่นความโน้มถ่วง (gravitational wave) คือความผันผวนของความโค้งในปริภูมิ-เวลาที่แผ่ออกเป็นคลื่น ที่เดินทางออกจากแหล่งกำเนิด อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ทำนายไว้ใน..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และคลื่นความโน้มถ่วง · ดูเพิ่มเติม »

คลีฟแลนด์

ลีฟแลนด์ (Cleveland) เป็นเมืองหนึ่งในรัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา อยู่ในเขตคูยาโฮกาเคาน์ตี้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐโอไฮโอและริมชายฝั่งทางใต้ของทะเลสาบอิรี ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และคลีฟแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

คล็อด แชนนอน

ล็อด แชนนอน (Claude Elwood Shannon) วิศวกรไฟฟ้าและนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งทฤษฎีสารสนเทศ และเป็นผู้วิจัยและออกแบบวงจรดิจิตอล โดยแสดงให้เห็นว่าวงจรดิจิตอลตามพีชคณิตแบบบูลสามารถคำนวณตรรกศาสตร์และพีชคณิตทุกชนิดได้.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และคล็อด แชนนอน · ดูเพิ่มเติม »

ความสมมูลมวล–พลังงาน

ประติมากรรมสูง 3 เมตร แสดงสมการ ''E''.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และความสมมูลมวล–พลังงาน · ดูเพิ่มเติม »

ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน

ลักษณะ ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน หรือ ความสนใจภายนอก-ความสนใจภายใน (extraversion-introversion) เป็นมิติหลักอย่างหนึ่งของทฤษฎีบุคลิกภาพมนุษย์ ส่วนคำภาษาอังกฤษทั้งสองคำ คือ introversion และ extraversion เป็นคำที่จิตแพทย์ คาร์ล ยุง ได้สร้างความนิยม (translation H.G. Baynes, 1923) แม้ว่าการใช้คำทั้งโดยนิยมและทางจิตวิทยาจะต่างไปจากที่ยุงได้มุ่งหมาย ความสนใจต่อสิ่งภายนอกมักปรากฏโดยเป็นการชอบเข้าสังคม/เข้ากับคนอื่นได้ง่าย ช่างพูด กระตือรือร้น/มีชีวิตชีวา เทียบกับความสนใจต่อสิ่งภายในที่ปรากฏโดยเป็นคนสงวนท่าทีและชอบอยู่คนเดียว แบบจำลองบุคลิกภาพใหญ่ ๆ เกือบทั้งหมดมีแนวคิดเช่นนี้ในรูปแบบต่าง ๆ ตัวอย่างเช่นทฤษฎีลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง, analytical psychology (ของยุง), three-factor model (ของ ศ. ดร. ฮันส์ ไอเซงค์), 16 personality factors (ของ ศ. ดร. Raymond Cattell), Minnesota Multiphasic Personality Inventory, และตัวชี้วัดของไมเออร์ส-บริกส์ ระดับความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน เป็นค่าที่ต่อเนื่องกันเป็นอันเดียวกัน ดังนั้น ถ้าค่าของอย่างหนึ่งสูง อีกอย่างหนึ่งก็จะต้องต่ำ แต่ว่า น. คาร์ล ยุง และผู้พัฒนาตัวชี้วัดของไมเออร์ส-บริกส์ มีมุมมองต่างจากนี้และเสนอว่า ทุกคนมีทั้งด้านที่สนใจต่อสิ่งภายนอกและด้านที่สนใจต่อสิ่งภายใน โดยมีด้านหนึ่งมีกำลังกว่า แต่แทนที่จะเพ่งความสนใจไปที่เพียงพฤติกรรมกับคนอื่น ยุงนิยามความสนใจในสิ่งภายในว่า "เป็นแบบทัศนคติ กำหนดได้โดยทิศทางของชีวิต ที่กรองผ่านสิ่งที่อยู่ในใจที่เป็นอัตวิสัย" (คือ สนใจในเรื่องภายในจิตใจ) และความสนใจในภายนอกว่า "เป็นแบบทัศนคติ กำหนดได้โดยการพุ่งความสนใจไปที่วัตถุภายนอก" (คือโลกภายนอก).

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน · ดูเพิ่มเติม »

ความโน้มถ่วง

หมุนรอบดวงอาทิตย์ ไม่หลุดออกจากวงโคจร (ภาพไม่เป็นไปตามอัตราส่วน) ความโน้มถ่วง (gravity) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งทำให้วัตถุกายภาพทั้งหมดดึงดูดเข้าหากัน ความโน้มถ่วงทำให้วัตถุกายภาพมีน้ำหนักและทำให้วัตถุตกสู่พื้นเมื่อปล่อย แรงโน้มถ่วงเป็นหนึ่งในสี่แรงหลัก ซึ่งประกอบด้วย แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน และ แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม ในจำนวนแรงทั้งสี่แรงหลัก แรงโน้มถ่วงมีค่าน้อยที่สุด ถึงแม้ว่าแรงโน้มถ่วงจะเป็นแรงที่เราไม่สามารถรับรู้ได้มากนักเพราะความเบาบางของแรงที่กระทำต่อเรา แต่ก็เป็นแรงเดียวที่ยึดเหนี่ยวเราไว้กับพื้นโลก แรงโน้มถ่วงมีความแรงแปรผันตรงกับมวล และแปรผกผันกับระยะทางยกกำลังสอง ไม่มีการลดทอนหรือถูกดูดซับเนื่องจากมวลใดๆ ทำให้แรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่สำคัญมากในการยึดเหนี่ยวเอกภพไว้ด้วยกัน นอกเหนือจากความโน้มถ่วงที่เกิดระหว่างมวลแล้ว ความโน้มถ่วงยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการที่เราเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ตามกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน เช่น การเพิ่มหรือลดความเร็วของวัตถุ การเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ เป็นต้น.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และความโน้มถ่วง · ดูเพิ่มเติม »

ความโน้มถ่วงเชิงควอนตัม

ทฤษฎีโน้มถ่วงเชิงควอนตัม (Quantum Gravity: QG) เป็นทฤษฎีที่พยายามรวม กลศาสตร์ควอนตัม ซึ่งอธิบายแรงพื้นฐาน สามแรงคือ แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม และแรงนิวเคลียร์แบบอ่อน เข้ากับ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ ซึ่งใช้อธิบายแรงโน้มถ่วง เป้าหมายของทฤษฎีนี้ก็คือ การอธิบายทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปในระดับพลังงานสูง และ ทฤษฎีควอนตัมในระดับสเกลใหญ่ภายใต้กฎหนึ่งเดียวเป็นทฤษฎีแห่งสรรพสิ่ง (Theory of Everything: TOE).

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และความโน้มถ่วงเชิงควอนตัม · ดูเพิ่มเติม »

คอมมานด์ & คองเคอร์

อมมานด์ & คอนเคอร์ (Command & Conquer หรือ C&C) คือชื่อของเกมคอมพิวเตอร์แนวเกมวางแผนการรบเรียลไทม์ และ เฟิร์ตเพอร์เซินชูตเตอร์ พัฒนาครั้งแรกโดยบริษัท เวสท์วูด สตูดิโอ ระหว่างปี 1985 จนถึง 2003 ร่วมพัฒนากับบริษัท อิเลคโทรนิค อาร์ต โดยเกมแรกได้วางแผงทั่วโลกใน วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ใช้ ชื่อว่า Command & Conquer โดยได้รับความนิยมทั่วโลก ตลาดที่ขายดีที่สุดได้แก่ อเมริกาเหนือ, ยุโรป และ ออสเตรเลีย และได้มีการแปลเป็นภาษาอื่นๆ ได้แก่ ภาษาเยอรมัน, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาสเปน, ภาษาเกาหลี และ ภาษาจีน พัฒนาลงบนเครื่อง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) เล่นผ่าน ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และยังได้พอร์ตลงเครื่อง คอนโซล และเครื่อง แมคอินทอช อีกด้วย เกม คอมมานด์ & คอนเคอร์ 3: ไทบีเรียมวอร์ส และ คอมมานด์ & คอนเคอร์ 3: เคนแรธ เป็นเกมที่พอร์ทลงเครื่องคอนโซล ซึ่งพอร์ตลงในเครื่อง เอกซ์บอกซ์ 360 และเกม คอมมานด์ & คอนเคอร์: เรด-อเลิร์ท 3 ก็ได้มีการพัฒนาลงเครื่อง พีซี เอกซ์บอกซ์ 360 และ เพลย์สเตชัน 3 ด้วยเช่นกัน ในปี 1999 บริษัท อิเลคโทรนิค อาร์ต ได้ซื้อบริษัท เวสท์วูด สตูดิโอ และต่อมาได้ปิดตัวลงในปี 2002 และรวมเข้ากับ อีเอ ลอสแอนเจลิส ซึ่งมีพนักงานเก่าของเวสท์วูดทำงานอยู่ แต่บางคนก็แยกตัวไปทำงานสตูดิโอใหม่ คือ Petroglyph Games ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2003 ซีรีส์เกม คอมมานด์ & คองเคอร์ มียอดจำหน่ายทั่วโลกรวมแล้วมากกว่า 21 ล้านชุด และในปี 2008 เกมในซีรีส์นี้รวมแล้วมีทั้งหมด 8 ภาคหลัก และภาคเสริมอีกมากมาย โดย เกมที่วางจำหน่ายล่าสุดคือเกม คอมมานด์ & คองเคอร์: เรดอเลิร์ท 3 และประกาศล่าสุดของเกมภาคสุดท้ายของซีรีส์ ไทบีเรียน ในชื่อว่า "คอมมานด์ & คองเคอร์ 4: ไทบีเรียน ทไวไลท์".

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และคอมมานด์ & คองเคอร์ · ดูเพิ่มเติม »

คอมมานด์ & คองเคอร์: เรดอเลิร์ต

อมมานด์ & คองเคอร์: เรด อเลิร์ต (Command & Conquer: Red Alert) เป็นเกมแนววางแผนการรบเรียลไทม์ ในซีรีส์ คอมมานด์ & คองเคอร์ พัฒนาโดยบริษัท เวสท์วูด สตูดิโอ วางจำหน่ายในปี 1996 สำหรับเครื่อง พีซี (MS-DOS & วินโดวส์ 95) และพอร์ตลงเครื่องเพลย์สเตชัน.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และคอมมานด์ & คองเคอร์: เรดอเลิร์ต · ดูเพิ่มเติม »

คำประกาศเจตนารัสเซลล์–ไอน์สไตน์

แถลงการณ์รัสเซลล์–ไอน์สไตน์ เป็นแถลงการณ์ของเบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ในกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และคำประกาศเจตนารัสเซลล์–ไอน์สไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

คณิตศาสตร์

ยูคลิด (กำลังถือคาลิเปอร์) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ในสมัย 300 ปีก่อนคริสตกาล ภาพวาดของราฟาเอลในชื่อ ''โรงเรียนแห่งเอเธนส์''No likeness or description of Euclid's physical appearance made during his lifetime survived antiquity. Therefore, Euclid's depiction in works of art depends on the artist's imagination (see ''Euclid''). คณิตศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มุ่งค้นคว้าเกี่ยวกับ โครงสร้างนามธรรมที่ถูกกำหนดขึ้นผ่านทางกลุ่มของสัจพจน์ซึ่งมีการให้เหตุผลที่แน่นอนโดยใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ เรามักนิยามโดยทั่วไปว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและโครงสร้าง, การเปลี่ยนแปลง และปริภูมิ กล่าวคร่าว ๆ ได้ว่าคณิตศาสตร์นั้นสนใจ "รูปร่างและจำนวน" เนื่องจากคณิตศาสตร์มิได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทดลอง บางคนจึงไม่จัดว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์ ในอดีตผู้คนจะใช้สิ่งของแทนจำนวนที่จะนับยิ่งนานเข้าจำนวนประชากรยิ่งมีมากขึ้น ทำให้ผู้คนเริ่มคิดที่จะประดิษฐ์ตัวเลขขึ้นมาแทนการนับที่ใช้สิ่งของนับแทนจากนั้นก็มีการบวก ลบคูณ และหาร จากนั้นก็ก่อให้เกิดคณิตศาสตร์ คำว่า "คณิตศาสตร์" (คำอ่าน: คะ-นิด-ตะ-สาด) มาจากคำว่า คณิต (การนับ หรือ คำนวณ) และ ศาสตร์ (ความรู้ หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และคณิตศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ค่าคงที่จักรวาล

ในการศึกษาจักรวาลวิทยา ค่าคงที่จักรวาล (Cosmological constant; มักเขียนย่อด้วยอักษรกรีกตัวใหญ่ แลมบ์ดา: Λ) คือค่าคงที่ที่นำเสนอโดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เพื่อปรับปรุงทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของเขาเองให้สามารถได้ผลสอดคล้องกับแบบจำลองเอกภพสถิตที่ไอน์สไตน์เชื่อ ในภายหลังไอน์สไตน์ก็ละทิ้งแนวคิดนี้ไปหลังจากมีผลสังเกตการณ์การเคลื่อนไปทางแดง ของ เอ็ดวิน ฮับเบิล ซึ่งบ่งชี้ว่าเอกภพไม่ได้มีสภาวะสถิตหรือหยุดนิ่งกับที่ แต่เอกภพกำลังขยายตัว อย่างไรก็ดี การค้นพบ ความเร่งของจักรวาล (cosmic acceleration) ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ได้รื้อฟื้นความสนใจเกี่ยวกับค่าคงที่จักรวาลขึ้นมาใหม.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และค่าคงที่จักรวาล · ดูเพิ่มเติม »

ค่าคงตัว

งตัว หรือ ค่าคงที่ ในทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ หมายถึง ค่าค่าหนึ่งของตัวเลขซึ่งกำหนดตายตัวไว้ หรืออาจเป็นค่าที่ไม่ระบุตัวเลข ค่าคงตัวมีความหมายตรงข้ามกับตัวแปรซึ่งสามารถแปรผันค่าได้.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และค่าคงตัว · ดูเพิ่มเติม »

ค่าคงตัวความโน้มถ่วง

งตัวความโน้มถ่วงสากล (Gravitational constant; G) ค่าคงตัวทางฟิสิกส์ที่ใช้ในการคำนวณแรงโน้มถ่วงระหว่างวัตถุ 2 วัตถุ มักจะปรากฏอยู่ในกฎความโน้มถ่วงสากลของเซอร์ไอแซก นิวตัน และในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ รู้จักในอีกชื่อว่าค่าคงตัวนิวตัน.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และค่าคงตัวความโน้มถ่วง · ดูเพิ่มเติม »

ตัวคูณลอเรนซ์

ตัวคูณลอเรนซ์ (Lorentz factor) เป็นตัวคูณที่ใช้ในการแปลงคำตอบจากการแปลงแบบกาลิเลียนในกรณีที่ความเร็วสูงมากๆ ให้อยู่ในขอบเขตของสัจพจน์ของไอน์สไตน์ในทฤษฎีสัมพัทธภาพ ซึ่งมีสมการดังนี้ \gamma \equiv \frac เมื่อ \gamma คือ ตัวคูณลอเรนซ์ (Lorentz factor) v\, คือ ความเร็วของผู้สังเกตในกรอบอ้างอิงเดียวกัน c\, คือ ความเร็วแสง สมการดังกล่าว เป็นสมการที่ได้รับการพัฒนาโดย เฮนดริก ลอเรนท์ซ (Hendrik.A.Lorentz) ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่พัฒนาทฤษฎี ที่เกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) ได้นำสมการดังกล่าวมาใช้ในการคำนวณเกี่ยวกับทฤษฎี สัมพัทธภาพพิเศษอีกด้ว.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และตัวคูณลอเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ฟิสิกส์

''Table of Mechanicks'', 1728 ''Cyclopaedia''. ประวัติศาสตร์ของฟิสิกส์ คือ การศึกษาการเติบโตของฟิสิกส์ไม่ได้นำมาเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับโลกแห่งวัตถุ คณิตศาสตร์ และ ปรัชญา เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และการเปลี่ยนรูปแบบของสังคม ฟิสิกส์ถูกพิจารณาในแง่ของทั้งตัวเนื้อความรู้และการปฏิบัติที่สร้างและส่งผ่านความรู้ดังกล่าว การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเริ่มต้นประมาณปี ค.ศ. 1600 เป็นขอบเขตง่าย ๆ ระหว่างแนวคิดโบราณกับฟิสิกส์คลาสสิก ในปี ค.ศ. 1900 จึงเป็นจุดเริ่มต้นของฟิสิกส์ยุคใหม่ ทุกวันนี้วิทยาศาสตร์ยังไม่มีอะไรแสดงถึงจุดสมบูรณ์ เพราะการค้นพบที่มากขึ้นนำมาซึ่งคำถามที่เกิดขึ้นจากอายุของเอกภพ ไปถึงธรรมชาติของสุญญากาศ และธรรมชาติในที่สุดของสมบัติของอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม ทฤษฎีบางส่วนเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ฟิสิกส์ได้เสนอในปัจจุบันนี้ อย่างไรก็ตามรายนามของปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้ของฟิสิกส์ ก็ยังคงมีมากอยู.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และประวัติศาสตร์ฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ทฤษฎีบิกแบง

ประวัติศาสตร์ทฤษฎีบิกแบง เริ่มต้นจากการพัฒนาแนวคิดทฤษฎีบิกแบงจากการเฝ้าสังเกตการณ์และคำนวณในเชิงทฤษฎี งานด้านทฤษฎีเกี่ยวกับจักรวาลวิทยาในปัจจุบันส่วนมากจะเป็นการขยายความและปรับแต่งทฤษฎีบิกแบงพื้นฐานให้ดียิ่งขึ้น.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และประวัติศาสตร์ทฤษฎีบิกแบง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก

ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก เมื่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าตกกระทบสสารแล้วทำให้อิเล็กตรอนในสสารหลุดออกมาพร้อมพลังงานจลน์ ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก (photoelectric effect) เป็นปรากฏการณ์ที่อิเล็กตรอนหลุดออกจากสสาร (เรียกสสารเหล่านี้ว่า โฟโตอีมิสสีฟ) http://physics.info/photoelectric/ เมื่อสสารนั้นสัมผัสกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูง (ความยาวคลื่นต่ำ พลังงานสูง เช่น รังสีอัลตราไวโอเล็ต) และเรียกอิเล็กตรอนที่หลุดออกมาว่า โฟโตอิเล็กตรอน ปรากฏการดังกล่าวค้นพบโดยนักฟิสิกส์ชื่อไฮน์ริช เฮิร์ตซ์ ในปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก · ดูเพิ่มเติม »

ปริศนาสมบัติอัจฉริยะ

ปริศนาสมบัติอัจฉริยะ (The 39 Clues) เป็นวรรณกรรมแนวผจญภัยที่ผสมผสานกับเกมออนไลน์และการสะสมการ์ด ในสหรัฐอเมริกาจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สกอลาสทิก ส่วนฉบับภาษาไทยจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์เนมแอนด์โนเบิล ในเครือบันลือกรุ๊ป ซึ่งเป็นเครือเดียวกับสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น เป็นวรรณกรรมชุดที่มีผู้เขียนมากกว่า 1 คน โดยมีริก ไรออร์แดน (ผู้เขียน เพอร์ซีย์ แจ็กสัน) เป็นผู้เขียนเล่มแรก หนังสือฉบับภาษาไทยตีพิมพ์มาแล้วทั้งหมด 10 เล่ม ประกอบด้วย ผจญค่ายกลกระดูก, หนึ่งโน้ตมรณะ, จอมโจรจอมดาบ, ความลับสุสานฟาโรห์, วงล้อมทมิฬ, ปฏิบัติการทะเลใต้, บุกรังอสรพิษ, รหัสลับจักรพรรดิโลกไม่ลืม, ฝ่าพายุแคริบเบียน และมหันตภัยปลายทาง.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และปริศนาสมบัติอัจฉริยะ · ดูเพิ่มเติม »

ปรินซิปี

กาะปรินซิปี (Príncipe) หรือ เกาะพรินซ์ เป็นเกาะในประเทศเซาตูเมและปรินซิปี ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะเซาตูเม อยู่นอกชายฝั่งทิศตะวันตกของทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ 136 กม² มีประชากรราว 5,000 คน มีเมืองที่ใหญ่ที่สุดบนเกาะ และเป็นเมืองหลวงของจังหวัดปรินซิปี คือเมืองซังตูอังตอนีอู เกาะนี้ได้รับเอกราชพร้อมกับเกาะโตเมจากโปรตุเกสเมื่อเดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และปรินซิปี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่ว่ายในสนามฟุตบอล

ปลาที่ว่ายในสนามฟุตบอล เป็นหนังสือที่เขียนโดยวินทร์ เลียววาริณ ในปี พ.ศ. 2548.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และปลาที่ว่ายในสนามฟุตบอล · ดูเพิ่มเติม »

นักฟิสิกส์

นักฟิสิกส์ คือนักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาหรือปฏิบัติงานด้านฟิสิกส์ นักฟิสิกส์ศึกษาปรากฏการณ์ทางกายภาพอย่างกว้างขวางในทุกขนาด ตั้งแต่อนุภาคระดับต่ำกว่าอะตอม (sub atomic particles) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของสสาร (ฟิสิกส์ของอนุภาค) ไปจนถึงพฤติกรรมของวัตถุในเอกภพโดยรวม (จักรวาลวิทยา หรือ Cosmology) วิชาฟิสิกส์มีมากมายหลายสาขา แต่ละสาขามีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในสาขานั้น.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และนักฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

นักวิทยาศาสตร์

นีล ดะแกรส ไทซัน นักวิทยาศาสตร์ คือบุคคลผู้มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์อย่างน้อยหนึ่งสาขา และใช้หลักวิธีทางวิทยาศาสตร์ในการค้นคว้าวิจัย คำนี้บัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2376 โดย วิลเลียม วีเวลล์ โดยก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ถูกเรียกว่า "นักปรัชญาธรรมชาติ" หรือ "บุคคลแห่งวิทยาศาสตร์".

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และนักวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

นีล ดะแกรส ไทสัน

นีล ดะแกรส ไทสัน (Neil deGrasse Tyson; เกิด 5 ตุลาคม 1958) เป็นนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ผู้ประพันธ์และผู้สื่อสารวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ตั้งแต่ปี 1996 เขาเป็นผู้อำนวยการท้องฟ้าจำลองเฮย์เดน ณ ศูนย์โลกและอวกาศโรสในนครนิวยอร์ก ศูนย์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกา ซึ่งไทสันก่อตั้งแผนกฟิสิกส์ดาราศาสตร์ในปี 1997 และเป็นผู้ช่วยวิจัยในแผนกฯ ตั้งแต่ปี 2003 เขาเกิดและเติบโตในนครนิวยอร์ก มีความสนใจดาราศาสตร์ตั้งแต่อายุ 9 ปีหลังชมท้องฟ้าจำลองเฮย์เดน หลังสำเร็จการศึกษาจากไฮสกูลวิททยาศาสตร์บรองซ์ ซึ่งเขาเป็นบรรณาธิการอำนวยการของวารสารวิทยาศาสตร์กายภาพ เขาสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีวิชาฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในปี 1980 หลังได้รับปริญญาโทในสาขาดาราศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสตินในปี 1983 เขาได้รับปริญญาโท (ปี 1989) และปริญญาเอก (ปี 1991) ในวิชาฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย อีกสามปีถัดมา เขาเป็นผู้ช่วยวิจัยหลังปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ในปี 1994 เขาเข้าร่วมเป็นนักวิทยาศาสตร์เจ้าหน้าที่ ณ ท้องฟ้าจำลองเฮย์เดนและศูนย์พรินซ์ตันเป็นนักวิทยาศาสตร์วิจัยและอาจารย์รับเชิญ ในปี 1996 เขาเป็นผู้อำนวยการท้องฟ้าจำลองและควบคุมดูแลโครงการบูรณะ 210 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแล้วเสร็จในปี 2000 ระหว่างปี 1995 ถึง 2005 ไทสันเขียนความเรียงรายเดือนในคอลัมน์ "เอกภพ" ให้นิตยสารประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ซึ่งบางส่วนจัดพิมพ์ในหนังสือของเขา มรณะด้วยหลุมดำ (ปี 2007) และฟิสิกส์ดาราศาสตร์สำหรับคนรีบ (ปี 2017) ในช่วงเดียวกัน เขาเขียนคอลัมน์รายเดือนในนิตยสารสตาร์เดต ตอบคำถามเกี่ยวกับเอกภพโดยใช้นามปากกา "เมอร์ลิน" เนื้อความจากคอลัมน์ปรากฏในหนังสือของเขา ทัวร์เอกภพของเมอร์ลิน (ปี 1998) และเพียงชมดาวเคราะห์นี้ (ปี 1998) ไทสันรับราชการเป็นคณะกรรมการของรัฐบาลว่าด้วยอนาคตของอุตสาหกรรมห้วงอากาศ-อวกาศของสหรัฐปี 2001 และในคณะกรรมการดวงจันทร์ ดาวอังคารและกว่านั้นปี 2004 เขาได้รับเหรียญราชการโดดเด่นของนาซาในปีเดียวกัน ตั้งแต่ปี 2006 ถึง 2011 เขาเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์โนวาไซอันซ์นาว ทางพีบีเอส ตั้งแต่ปี 2009 เขาเป็นพิธีกรพอตคแสรายสัปดาห์ สตาร์ทอล์ก รายการแยกชื่อเดียวกันเริ่มแพร่สัญญาณทางเนชันแนลจีโอกราฟิกในปี 2015; ในปี 2014 เขาเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ คอสมอส: อะสเปซไทม์ออดิซีย์ (จักรวาล: การเดินทางปริภูมิ-เวลา) ซึ่งต่อจากซีรีย์คอสมอส: อะเพอร์ซันแนลโวยาจ (จักรวาล: การเดินทางส่วนบุคคล) ของคาร์ล เซแกนในปี 1980 วิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐมอบเหรียญสวัสดิการสาธารณะแก่ไทสันในปี 2015 สำหรับ "บทบาทโดดเด่นในการสร้างความตื่นเต้นแก่สาธารณะเกี่ยวกับสิ่งมหัศจรรย์ของวิทยาศาสตร์".

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และนีล ดะแกรส ไทสัน · ดูเพิ่มเติม »

แบบจำลองเอกภพสถิต

แนวคิดเกี่ยวกับ เอกภพสถิต หรือ เอกภพของไอน์สไตน์ เป็นหนึ่งในแนวคิดที่สนับสนุนว่า อวกาศไม่มีการขยายตัวหรือหดตัว แต่มีลักษณะที่คงที่อยู่เสมอ ครั้งหนึ่ง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยเสนอให้เพิ่มค่าคงที่จักรวาลเข้าไปในสมการในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของเขาเพื่อให้ได้แบบจำลองในลักษณะนี้ เป็นการชดเชยกับผลกระทบเชิงพลศาสตร์ที่เกิดจากแรงโน้มถ่วง อันจะทำให้เอกภพของสสารสามารถแตกสลายได้ แนวคิดนี้ถูกล้มล้างไปหลังจากที่ เอ็ดวิน ฮับเบิล ค้นพบว่าเอกภพมิได้มีลักษณะคงที่ แต่กำลังขยายตัว เนื่องจากฮับเบิลได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนไปทางแดงกับระยะห่างระหว่างดาว ซึ่งเป็นรากฐานในการพิจารณาการขยายตัวของอวกาศในวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ หมวดหมู่:อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ หมวดหมู่:จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และแบบจำลองเอกภพสถิต · ดูเพิ่มเติม »

แฟนพันธุ์แท้ 2013

แฟนพันธุ์แท้ 2013 เป็นรายการโทรทัศน์ไทย ผลิตโดย เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ ออกอากาศ ทุกวันศุกร์ เวลา 22:30–00:00 นาฬิกา ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และแฟนพันธุ์แท้ 2013 · ดูเพิ่มเติม »

แอร์วิน ชเรอดิงเงอร์

แอร์วิน ชเรอดิงเงอร์ (Erwin Rudolf Josef Alexander Schrödinger; 12 สิงหาคม ค.ศ. 1887 - 4 มกราคม ค.ศ. 1961) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวออสเตรีย มีชื่อเสียงในฐานะผู้วางรากฐานกลศาสตร์ควอนตัม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมการชเรอดิงเงอร์ ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และแอร์วิน ชเรอดิงเงอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แอนติโปรตอน

แอนติโปรตอน (antiproton) หรือชื่อที่รู้จักกันน้อยกว่าคือ เนกาตรอน (negatron) หรือ (อ่านว่า พีบาร์) เป็นปฏิยานุภาคของโปรตอน แอนติโปรตอนนั้นเสถียร แต่โดยทั่วไปมีอายุสั้น เพราะการชนกับโปรตอนจะทำให้อนุภาคทั้งสองประลัยในการระเบิดของพลังงาน พอล ดิแรกทำนายการมีอยู่ของแอนติโปรตอนซึ่งมีประจุไฟฟ้า -1 ตรงข้ามกับประจุไฟฟ้า +1 ของโปรตอน ในการบรรยายรางวัลโนเบลปี 1933 ดิแรกได้รับรางวัลโนเบลสำหรับการตีพิมพ์สมการดิแรกของเขาซึ่งทำนายการมีผลเฉลยบวกและลบของสมการพลังงาน (E.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และแอนติโปรตอน · ดูเพิ่มเติม »

แฮร์มันน์ มินคอฟสกี

แฮร์มันน์ มินคอฟสกี (Hermann Minkowski) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน เกิดที่หมู่บ้านอเล็กโซตา (Aleksota) ในจักรวรรดิรัสเซีย (ปัจจุบันคือเมืองเคานัส ประเทศลิทัวเนีย) ในครอบครัวชาวยิว ในปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และแฮร์มันน์ มินคอฟสกี · ดูเพิ่มเติม »

แฮ็นดริก โลเรินตส์

แฮ็นดริก อันโตน โลเรินตส์ (Hendrik Antoon Lorentz; 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1853 - 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1928) เป็นนักฟิสิกส์ชาวดัตช์ ได้รับรางวัลโนเบลเมื่อปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และแฮ็นดริก โลเรินตส์ · ดูเพิ่มเติม »

แคลคูลัส

แคลคูลัส เป็นสาขาหลักของคณิตศาสตร์ และสังคมศาสตร์ แคลคูลัสมีต้นกำเนิดจากสองแนวคิดหลัก ดังนี้ แนวคิดแรกคือ แคลคูลัสเชิงอนุพันธ์ (Differential Calculus) เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยอัตราการเปลี่ยนแปลง และเกี่ยวข้องกับการหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ ตัวอย่างเช่น การหา ความเร็ว, ความเร่ง หรือความชันของเส้นโค้ง บนจุดที่กำหนดให้.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และแคลคูลัส · ดูเพิ่มเติม »

โวล์ฟ เมสซิ่ง

วล์ฟ เมสซิ่ง โวล์ฟ เมสซิ่ง (Wolf Messing) มีชื่อเต็มว่า โวล์ฟ เกรโกเรวิช เมสซิ่ง (Wolf Gregorevich Messing; וּוֹלףֿ מסינג; Wolf Grigorewicz Messing; Во́льф Григо́рьевич (Ге́ршикович) Ме́ссинг Vóľf Gérškovič (Grigór'evič) Méssing) เป็นบุคคลผู้มีพลังจิตที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของโลกในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง โวล์ฟ เมสซิ่ง เกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 1899 ที่เมืองโกรากาลวาเรีย ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ติดกับพรมแดนโปแลนด์กับรัสเซีย ใกล้กับกรุงวอร์ซอ เมืองหลวงของประเทศโปแลนด์ โดยครอบครัวของเมสซิ่งอยู่ในฐานะยากจนใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายและเคร่งศาสนา ในวัยเด็กเมสซิ่งสามารถเรียนรู้และอ่านคำภีร์โบราณของศาสนายิวได้อย่างแตกฉาน จนมีนักบวชคนหนึ่งแถวบ้านได้สนับสนุนให้ไปเรียนต่อทางด้านศาสนาในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง แต่เมสซิ่งไม่มีความสุขและไม่ชอบเลย เมื่ออายุได้ 11 ปี เมสซิ่งได้หันเหชีวิตไปท่องโลกด้วยตัวเองตามลำพังโดยมีเงินติดตัวเพียง 18 เซ็นต์ และได้ใช้พลังจิตสะกดพนักงานตรวจตั๋วรถไฟให้เห็นว่าเศษกระดาษที่เมสซิ่งยื่นให้ไปนั้นเป็นตั๋วรถไฟจริง ๆ ซึ่งพนักงานก็ได้เอากระดาษแผ่นนั้นสอดเข้าไปในเครื่องเจาะรู เจาะรูและยื่นให้เมสซิ่งคืน ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกของเมสซิ่งที่ได้ใช้พลังจิตสะกดผู้อื่น โวล์ฟ เมสซิ่ง มาใช้ชีวิตอยู่ ณ เมืองเบอร์ลิน โดยทำงานเป็นพนักงานส่งของในเขตของชาวยิว ครั้งหนึ่งได้เกิดเป็นลมหน้ามืดล้มลงไป หลังจากได้นำส่งเข้าโรงพยาบาล แพทย์ได้ทำการตรวจหัวใจของเมซิ่งแล้วพบว่า หยุดเต้น ไม่หายใจ จึงถูกนำร่างเข้าสู่ห้องเก็บศพและเกือบถูกส่งกลบแล้ว แต่ปรากฏว่าได้มีนักศึกษาแพทย์คนหนึ่งได้ทำการตรวจร่างกายของเมสซิ่งอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง พบว่า เมสซิ่งยังไม่ตาย เพียงแต่หัวใจและชีพจรเต้นอ่อนมากจนแทบจะวัดไม่ได้เลย ซึ่งต่อมาได้มีนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาด้านพลังจิตและเรื่องลึกลับนี้ เชื่อว่า เหตุการณ์นี้เป็นการสะกดจิตตัวเอง โวล์ฟ เมสซิ่ง ได้พบปะกับบุคคลที่มีชื่อเสียงหลายคนระดับโลก เช่น อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์, ซิกมันด์ ฟรอยด์ และมหาตมะ คานธี โดยได้แสดงพลังจิตของตนเองให้ได้ดู ในการทดสอบกับไอสไตน์และฟรอยด์ เมสซิ่งได้รับคำสั่งจากจิตของฟรอยด์ให้ดึงหนวดของไอน์สไตน์มา 3 เส้น ซึ่งก็ปรากฏว่าทำได้ตรงตามคำสั่ง และกับมหาตมะ คานธี สามารถหยิบขลุ่ยขึ้นมาจากลิ้นชักบนโต๊ะและยื่นให้คานธีตามคำสั่งของคานธีจริง ๆ และอีกครั้งหนึ่งสามารถหาเพชรประจำตระกูลมูลค่าสูงถึง 8 แสนเหรียญของคหบดีชาวโปแลนด์ที่หายไปในงานเลี้ยงครั้งหนึ่งได้ โดยที่ได้ระดมคนหาจนทั่วแล้วก็ไม่พบ แต่เมสซิ่งรู้ว่าเพชรซ่อนอยู่ในตุ๊กตาหมีในห้องของคนงานในบ้านคณบดีนั่นเอง เนื่องจากลูกชายตัวเล็ก ๆ ของคนรับใช้ในบ้านเป็นผู้นำไปซ่อนเอง ความสามารถของเมสซิ่งยังสามารถทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้อีกด้วย หลายต่อหลายครั้งที่ออกแสดง เมสซิ่งได้ทำนายเหตุการณ์สงครามไว้ว่า ดินแดนแถบคาบสมุทรบอลติก, ไบโลรัสเซีย, ยูเครน จะตกอยู่ภายใต้การยึดครองของนาซี หรือเป็นผู้ทำนายถึงจุดจบของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ จนถูกทางนาซีไล่ล่าตัวอย่างหนัก ซึ่งทุกอย่างก็ปรากฏเป็นจริงดังคำทำนายทุกอย่าง โวล์ฟ เมสซิ่ง เสียชีวิตเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1974 ที่กรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซี.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และโวล์ฟ เมสซิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครเลนส์ของแรงโน้มถ่วง

มโครเลนส์ของแรงโน้มถ่วง (Gravitational microlensing) คือปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์เลนส์ความโน้มถ่วง สามารถใช้ในการตรวจจับวัตถุที่มีขนาดมวลเท่าดาวเคราะห์ไปจนถึงมวลขนาดดาวฤกษ์ได้ โดยไม่ต้องสนใจว่ามันเปล่งแสงออกมาหรือไม่ โดยทั่วไปแล้วนักดาราศาสตร์สามารถตรวจจับได้แต่เพียงวัตถุที่ส่องสว่างซึ่งจะเปล่งแสงออกมาจำนวนมาก (คือดาวฤกษ์) หรือวัตถุขนาดใหญ่ที่บดบังแสงที่อยู่พื้นหลัง (เช่นกลุ่มเมฆแก๊สและฝุ่น) ซึ่งวัตถุเหล่านี้ครอบครองมวลเพียงเศษส่วนเล็กน้อยของดาราจักรเท่านั้น เทคนิคไมโครเลนส์ช่วยให้เราสามารถศึกษาวัตถุที่เปล่งแสงเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีแสงเลยได้ เมื่อดาวฤกษ์ที่ห่างไกลหรือเควซาร์อยู่ในแนวที่พอเหมาะพอดีกับวัตถุมวลมากอัดแน่นที่บังอยู่เบื้องหน้า จะมีการเบี่ยงเบนของแสงเนื่องมาจากสนามแรงโน้มถ่วง ดังที่ไอน์สไตน์เคยทำนายไว้ในปี 1915 ทำให้เกิดภาพที่บิดเบี้ยวไปในการสังเกตการณ์อย่างมีนัยสำคัญ ขอบเขตด้านเวลาของการสว่างขึ้นชั่วครู่ยามนี้ขึ้นอยู่กับมวลของวัตถุที่บดบังอยู่ด้านหน้า เช่นกันกับการเคลื่อนที่เฉพาะที่เกี่ยวข้องระหว่าง "แหล่งกำเนิด" เบื้องหลังกับวัตถุเบื้องหน้าที่ทำตัวเป็น "เลนส์" การสังเกตการเกิดไมโครเลนส์นี้มิได้มีความเกี่ยวข้องกับรังสีที่วัตถุที่เป็นเลนส์ได้รับ ดังนั้นปรากฏการณ์นี้จึงช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถศึกษาวัตถุมวลมากได้ไม่ว่ามันจะจางแสงเพียงไรก็ตาม และด้วยเหตุนี้ เทคนิคนี้จึงเป็นเทคนิคในอุดมคติสำหรับใช้ศึกษาประชากรของดาราจักรที่จางแสงมากๆ หรือมืดมากอย่างเช่น ดาวแคระน้ำตาล ดาวแคระแดง ดาวเคราะห์ ดาวแคระขาว ดาวนิวตรอน หลุมดำ และวัตถุฮาโลอัดแน่นมวลมาก นอกจากนั้น ปรากฏการณ์ไมโครเลนส์ก็ไม่ได้ขึ้นกับความยาวคลื่น ทำให้สามารถศึกษาแหล่งกำเนิดที่แผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าแบบใดก็ได้โดยไม่จำกัด มีการใช้เทคนิคไมโครเลนส์ตรวจจับวัตถุโดดเดี่ยวได้ครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และไมโครเลนส์ของแรงโน้มถ่วง · ดูเพิ่มเติม »

ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น

อน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น ISBN: 9789749985854 ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น เป็นหนังสือแต่งโดย ทันตแพทย์สม สุจีรา มีเนื้อหาทั้งทางวิทยาศาสตร์และหลักการทางพุทธศาสนา จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์อมรินทร์ หนังสือได้รับการพิมพ์ซ้ำถึง 40 ครั้ง ยอดพิมพ์ไม่ต่ำกว่า 100,000 เล่ม ต่อมา ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ได้ท้วงติงเนื้อหาที่ผิดพลาดในเชิงวิทยาศาสตร์ เช่น จักรวาลวิทยา (cosmology) ในหน้า 31 ทฤษฎีสตริง (string theory) ในหน้า 39 ทฤษฎีเคออส (chaos theory) ในหน้า 128 และทฤษฎีสัมพัทธภาพ (relativity) ซึ่งปรากฏอยู่ทั่วไปในเล่มเมื่อกล่าวถึงแสงและเวลา เป็นต้น ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้ออกมาทักท้วงว่าเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาไม่ถูกต้องตามหลักการทางวิทยาศาสตร์หล.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น · ดูเพิ่มเติม »

ไอน์สไตเนียม

ไอน์สไตเนียม (Einsteinium) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 99 และสัญลักษณ์คือ Es เป็นธาตุโลหะหนักกัมมันตรังสี มีลักษณะสีเงินวาว อยู่ในกลุ่มแอกทิไนด์ (actinide group) ไอน์สไตเนียมสังเคราะห์ครั้งแรกโดยการยิงธาตุพลูโทเนียมด้วยอนุภาคนิวตรอน ธาตุใหม่ที่ได้ตั้งชื่อตาม อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) ไอน์สไตเนียมพบในซากปรักหักพังของการทดลองระเบิดไฮโดรเจนด้วย อไน์สตไนเอียม อไน์สตไนเอียม อไน์สตไนเอียม อไน์สตไนเอียม.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และไอน์สไตเนียม · ดูเพิ่มเติม »

ไอแซก นิวตัน

ซอร์ไอแซก นิวตัน (Isaac Newton) (25 ธันวาคม ค.ศ. 1641 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1725 ตามปฏิทินจูเลียน) นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา นักเล่นแร่แปรธาตุ และนักเทววิทยาชาวอังกฤษ งานเขียนในปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และไอแซก นิวตัน · ดูเพิ่มเติม »

ไทม์

ปกฉบับแรกของนิตยสาร Time ไทม์ (Time หรือตามเครื่องหมายการค้าคือ TIME) เป็นนิตยสารข่าวรายสัปดาห์ของสหรัฐอเมริกา เริ่มพิมพ์ฉบับแรก โดยเป็นนิตยสารข่าวรายสัปดาห์เล่มแรกของประเทศ โดยในปัจจุบันไทม์มีจัดพิมพ์หลายแห่งทั่วโลก โดยในยุโรปใช้ชื่อว่า "ไทม์ยุโรป" (หรือที่ในอดีตเรียกว่า ไทม์แอตแลนติก) มีสำนักงานอยู่ที่ลอนดอน และออกจำหน่ายในยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา รวมถึงละตินอเมริกา ส่วนในเอเชีย ใช้ชื่อว่า "ไทม์เอเชีย" มีสำนักงานที่ฮ่องกง ขณะที่ "ไทม์แคนาดา" เป็นฉบับสัญชาติแคนาดาซึ่งจัดจำหน่ายในประเทศแคนาดา และ "ไทม์เซาท์แปซิฟิก" ซึ่งจัดจำหน่ายครอบคลุมออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะแปซิฟิก มีสำนักงานอยู่ที่ซิดนีย์ ในปัจจุบัน นิตยสารไทม์จัดการโดยบริษัทไทม์วอร์เนอร์ สำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์ก และมีนายริชาร์ด สเตนเจล เป็นบรรณาธิการบริหาร.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และไทม์ · ดูเพิ่มเติม »

ไข่จักรวาล

ักรวาล เป็นแนวคิดปรัมปราที่ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่โดยวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 และนำมาช่วยสร้างทฤษฎีมากมายในช่วง 2 ทศวรรษถัดมา แนวคิดนี้เกิดมาจากการค้นพบผลสังเกตการณ์ของเอ็ดวิน ฮับเบิลว่า เอกภพกำลังขยายตัว (ซึ่งเคยมีการทำนายมาก่อนหน้านี้แล้วจากทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์) พร้อมกับข้อสังเกตว่าเอกภพมีอายุเก่าแก่ไม่มีสิ้นสุด ปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และไข่จักรวาล · ดูเพิ่มเติม »

เมารี วาลโตเนน

มารี วาลโตเนน (Mauri Valtonen) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวฟินแลนด์และศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยตุรกุ ผลงานที่น่าสนใจของเขาประกอบด้วยดาราจักรกัมมันต์, จักรวาลวิทยา และปัญหาสามวัตถุ วาลโตเนนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ใน..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และเมารี วาลโตเนน · ดูเพิ่มเติม »

เรือของกาลิเลโอ

รือของกาลิเลโอ (Galileo's ship) เป็นการทดลองทางฟิสิกส์ซึ่งเสนอโดย กาลิเลโอ (Galileo), นักฟิสิกส์ นักดาราศาสตร์และนักปรัชญาผู้มีชื่อเสียงในคริสตวรรษที่ 16 และ 17 โดยการทดลองดังกล่าวถูกตั้งขึ้นเพื่อลบล้างข้อขัดแย้งแนวคิดเกี่ยวกับ โลกหมุน.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และเรือของกาลิเลโอ · ดูเพิ่มเติม »

เลนส์ความโน้มถ่วง

ลนส์ความโน้มถ่วง (gravitational lens) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับแสงอันเดินทางมาจากแหล่งกำเนิดส่องสว่างไกลโพ้น (เช่น เควซาร์) แล้วเกิดการ "บิดโค้ง" เนื่องจากแรงดึงดูดของวัตถุมวลมาก (เช่น กระจุกดาราจักร) ที่อยู่ระหว่างแหล่งกำเนิดแสงกับผู้สังเกต เป็นปรากฏการณ์ที่หนึ่งที่ไอน์สไตน์ทำนายเอาไว้จากทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของเขา โอเรสต์ ควอลสัน (Orest Chwolson) เป็นผู้แรกที่นำเสนอบทความวิชาการว่าด้วยปรากฏการณ์นี้ (ในปี ค.ศ. 1924) แต่ชื่อของไอน์สไตน์มักเป็นที่รู้จักเกี่ยวเนื่องกับปรากฏการณ์นี้มากกว่า เพราะได้ตีพิมพ์บทความอันมีชื่อเสียงที่อธิบายสาเหตุของปรากฏการณ์นี้ในปี ค.ศ. 1936 ฟริตซ์ ชวิกกี้ (Fritz Zwicky) ทำนายไว้เมื่อปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และเลนส์ความโน้มถ่วง · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลาของบิกแบง

ตาม'''ทฤษฎีบิกแบง''' จักรวาลมีจุดกำเนิดมาจากสภาพที่มีความหนาแน่นสูงและร้อน และจักรวาลมีการขยายตัวอยู่ตลอดเวลา คำว่า เส้นเวลาของบิกแบง คือประวัติของการเกิดจักรวาลที่สอดคล้องกับทฤษฏีบิกแบง โดยใช้ตัวแปรทางเวลาของจักรวาลในพิกัดเคลื่อนที่ เมื่อพิจารณาตรรกะจากการขยายตัวของเอกภพโดยใช้ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป หากเวลาย้อนหลังไปจะทำให้ความหนาแน่นและอุณหภูมิมีค่าสูงขึ้นอย่างไม่จำกัดขณะที่เวลาในอดีตจำกัดอยู่ค่าหนึ่ง ภาวะเอกฐานเช่นนี้เป็นไปไม่ได้เพราะขัดแย้งกับทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป เป็นที่ถกเถียงกันอยู่มากกว่าเราสามารถประมาณภาวะเอกฐานได้ใกล้สักเพียงไหน (ซึ่งไม่มีทางประมาณไปได้มากเกินกว่ายุคของพลังค์) ภาวะเริ่มแรกที่มีความร้อนและความหนาแน่นสูงอย่างยิ่งนี้เองที่เรียกว่า "บิกแบง" และถือกันว่าเป็น "จุดกำเนิด" ของเอกภพของเราจากผลการตรวจวัดการขยายตัวของซูเปอร์โนวาประเภท Ia การตรวจวัดความแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิในไมโครเวฟพื้นหลัง และการตรวจวัดลำดับวิวัฒนาการของดาราจักร เชื่อว่าเอกภพมีอายุประมาณ 13.73 ± 0.12 พันล้านปีG.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และเส้นเวลาของบิกแบง · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเวลาของยุคใหม่

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และเส้นเวลาของยุคใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ดเวิร์ด เทลเลอร์

อ็ดเวิร์ด เทลเลอร์ (Edward Teller, 15 มกราคม ค.ศ. 1908 - 9 กันยายน ค.ศ. 2003) เป็นบิดาของระเบิดไฮโดรเจนที่ใช้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันแทนปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันในระเบิดนิวเคลียร์แบบดั้งเดิม.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และเอ็ดเวิร์ด เทลเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ. โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์

. โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์ (J., 22 เมษายน ค.ศ. 1904 – 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1967) นักฟิสิกส์ชาวสหรัฐอเมริกาผู้เป็นบิดาของระเบิดปรมาณู โดยเขาเป็นผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการสร้างระเบิดปรมาณูเพื่อยุติสงครามในโครงการแมนฮัตตันสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สืบค้นวันที่ 7 เมษายน..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และเจ. โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เจาะเวลาหาอดีต

วลาหาอดีต (Back to the Future) เป็นภาพยนตร์ในปี..

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และเจาะเวลาหาอดีต · ดูเพิ่มเติม »

เคมีแสง

มีแสง (Photochemistry) เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง แสง และ สารเคมี.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และเคมีแสง · ดูเพิ่มเติม »

14 มีนาคม

วันที่ 14 มีนาคม เป็นวันที่ 73 ของปี (วันที่ 74 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 292 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และ14 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

17 ตุลาคม

วันที่ 17 ตุลาคม เป็นวันที่ 290 ของปี (วันที่ 291 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 75 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และ17 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

18 เมษายน

วันที่ 18 เมษายน เป็นวันที่ 108 ของปี (วันที่ 109 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 257 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และ18 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

27 กันยายน

วันที่ 27 กันยายน เป็นวันที่ 270 ของปี (วันที่ 271 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 95 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และ27 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

29 พฤษภาคม

วันที่ 29 พฤษภาคม เป็นวันที่ 149 ของปี (วันที่ 150 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 216 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และ29 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

30 มิถุนายน

วันที่ 30 มิถุนายน เป็นวันที่ 181 ของปี (วันที่ 182 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 184 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และ30 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Albert EinsteinEinsteinอัลเบิร์ต ไอนสไตน์ไอน์สไตน์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »