โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อันดับสัตว์กินแมลง

ดัชนี อันดับสัตว์กินแมลง

อก (''Erinaceus europaeus'') จัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เคยถูกจัดให้อยู่ในอันดับนี้ อันดับสัตว์กินแมลง (อันดับ: Insectivora, อ่านออกเสียง /อิน-เซค-ทิ-วอ-รา/, โดยมาจากภาษาละตินคำว่า insectum หมายถึง "แมลง" และ vorare หมายถึง "ไปกิน") เป็นอันดับของสัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Insectivora มีลักษณะโดยรวมคือ เป็นสัตว์ขนาดเล็ก กินแมลงเป็นอาหาร มีทั้งพวกที่ออกหากินในเวลากลางวัน และออกหากินในเวลากลางคืน อาศัยอยู่บนพื้นและบนต้นไม้ ยืนด้วยฝ่าเท้า มีสมองส่วนรับกลิ่นเจริญดี แต่สายตาไม่ดี นอกจากกินแมลงแล้วยังอาจจะยังกินสัตว์ที่มีขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร ตัวอย่างเช่น หนูผี, หนูเหม็น, ตุ่น เป็นต้น สัตว์ในอันดับนี้ ช่วยทำลายศัตรูป่าไม้ ต้นไม้ในป่าจะมีศัตรูตามธรรมชาติเสมอ ๆ เช่น โรคพืชที่จากแมลง เป็นต้น แต่ศัตรูเหล่านี้จะไม่ระบาด โดยเฉพาะแมลงหากมีตัวทำลายสัตว์ป่าหลายชนิดเป็นตัวกำจัดแมลง กินแมลงที่มาทำลายใบ ดอก และผล ตุ่นและหนูผี จะกินหนอนที่มากินรากและลำต้นใต้ดิน แต่ในปัจจุบัน อันดับนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้วโดยได้แยกออกมาเป็นอันดับต่างหากเอง 5 อันดับ คือ Afrosoricida, Erinaceomorpha, Macroscelidea, Scandentia, Soricomorpha แต่ในบางข้อมูลยังคงจัดเป็นอันดับอยู.

12 ความสัมพันธ์: กะโหลกศีรษะการรับรู้ความใกล้ไกลวิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหนูผีอันดับกระแตอันดับหนูผีช้างอันดับตุ่นอันดับเฮดจ์ฮอกอันดับเทนเรคตุ่นเฮดจ์ฮอก

กะโหลกศีรษะ

วาดแสดงมุมมองจากทางด้านหน้าของกะโหลกศีรษะของมนุษย์ กะโหลกศีรษะ เป็นโครงสร้างของกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างที่สำคัญของส่วนศีรษะในสัตว์ในกลุ่มเครนิเอต (Craniate) หรือสัตว์ที่มีกะโหลกศีรษะ ซึ่งรวมทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด กะโหลกศีรษะทำหน้าที่ปกป้องสมองซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบประสาท รวมทั้งเป็นโครงร่างที่ค้ำจุนอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ ทั้งตา หู จมูก และลิ้น และยังทำหน้าที่เป็นทางเข้าของทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ การศึกษาเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะมีประโยชน์อย่างมากหลายประการ โดยเฉพาะการศึกษาในเชิงกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบระหว่างสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ด้านบรรพชีวินวิทยาและความเข้าใจถึงลำดับทางวิวัฒนาการ นอกจากนี้การศึกษาลงไปเฉพาะกะโหลกศีรษะมนุษย์ก็มีประโยชน์อย่างมากในการศึกษาด้านนิติเวชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ รวมทั้งมานุษยวิทยาและโบราณคดี.

ใหม่!!: อันดับสัตว์กินแมลงและกะโหลกศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

การรับรู้ความใกล้ไกล

ลักษณะต่าง ๆ รวมทั้งทัศนมิติแบบต่าง ๆ ขนาดโดยเปรียบเทียบ วัตถุที่บังกัน และอื่น ๆ ล้วนมีส่วนทำให้เห็นภาพถ่ายสองมิตินี้เป็น 3 มิติได้ การรับรู้ความใกล้ไกล เป็นสมรรถภาพทางการเห็นในการมองโลกเป็น 3 มิติ และการเห็นว่าวัตถุหนึ่งอยู่ใกล้ไกลแค่ไหน แม้เราจะรู้ว่าสัตว์ก็สามารถรู้สึกถึงความใกล้ไกลของวัตถุ (เพราะสามารถเคลื่อนไหวอย่างแม่นยำหรืออย่างสมควรตามความใกล้ไกล) แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ไม่รู้ว่า สัตว์รับรู้ความใกล้ไกลทางอัตวิสัยเหมือนกันมนุษย์หรือไม่ ความใกล้ไกลจะรู้ได้จากตัวช่วย (cue) คือสิ่งที่มองเห็นต่าง ๆ ซึ่งปกติจะจัดเป็น.

ใหม่!!: อันดับสัตว์กินแมลงและการรับรู้ความใกล้ไกล · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

วิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (evolution of mammalian auditory ossicles) เป็นเหตุการณ์ทางวิวัฒนาการที่มีหลักฐานยืนยันดีที่สุด และสำคัญที่สุด เหตุการณ์หนึ่ง โดยมีทั้งซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ (transitional fossil) จำนวนมากและตัวอย่างที่เยี่ยมของกระบวนการ exaptation คือการเปลี่ยนจุดประสงค์ของโครงสร้างที่มีอยู่แล้วในระหว่างวิวัฒนาการ ในสัตว์เลื้อยคลาน แก้วหูจะเชื่อมกับหูชั้นในผ่านกระดูกท่อนเดียว คือ columella ในขณะที่ขากรรไกรล่างและบนจะมีกระดูกหลายท่อนที่ไม่พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คือ ในช่วงวิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กระดูกชิ้นหนึ่งของขากรรไกรล่างและบน (articular และ quadrate) หมดประโยชน์โดยเป็นข้อต่อ และเกิดนำไปใช้ใหม่ในหูชั้นกลาง ไปเป็นตัวเชื่อมกับกระดูกโกลนที่มีอยู่แล้ว รวมกันกลายเป็นโซ่กระดูกสามท่อน (โดยเรียกรวมกันว่ากระดูกหู) ซึ่งถ่ายทอดเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า และดังนั้นช่วยให้ได้ยินได้ดีกว่า ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กระดูกหูสามท่อนนี้เรียกว่า กระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน ตามลำดับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ปีกยังต่างจากสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ เพราะมีคอเคลียที่วิวัฒนาการเกิดขึ้น หลักฐานว่า กระดูกค้อนและกระดูกทั่งมีกำเนิดเดียวกัน (homologous) กับกระดูก articular และ quadrate ของสัตว์เลื้อยคลานเบื้องต้นมาจากคัพภวิทยา แล้วต่อมา การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพมากมายก็ได้ยืนยันข้อสรุปนี้ โดยให้ประวัติการเปลี่ยนสภาพอย่างละเอียด ส่วนวิวัฒนาการของกระดูกโกลนจาก hyomandibula เป็นเหตุการณ์ต่างหากที่เกิดขึ้นก่อน.

ใหม่!!: อันดับสัตว์กินแมลงและวิวัฒนาการกระดูกหูสำหรับได้ยินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: อันดับสัตว์กินแมลงและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

หนูผี

หนูผี (Shrews) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง อยู่ในอันดับตุ่น (Soricomorpha) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Soricidae ครั้งหนึ่ง หนูผีเคยถูกจัดให้อยู่ในอันดับสัตว์กินแมลง (Insectivora) หนูผี มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับหนู ซึ่งเป็นสัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ซึ่งเป็นสัตว์คนละอันดับมาก แต่ทว่ามีขนาดเล็กกว่ามาก มีฟันที่แหลมคมที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด สามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า ตามลำตัวมีขนที่อ่อนนุ่มสีคล้ำปกคลุม ตาและใบหูมีขนาดเล็กมากฝังอยู่ในขน ดังนั้นตาและหูของหนูผีใช้การไม่ค่อยดี จึงอาศัยประสาทการดมกลิ่นจากจมูกเป็นหลัก โดยมักจะกระดุกกระดิกจมูกสอดส่ายหากลิ่นตามพื้นดิน หรือบางครั้งก็ชูขึ้นสูดกลิ่นในอากาศ หนูผี โดยขุดรูตื้น ๆ อยู่ในดินหรือซุกซ่อนในพงหญ้า กินอาหารหลักจำพวก แมลง และอาจมีเมล็ดพืชบ้าง หนูผีเป็นสัตว์ที่มีระบบการเผาผลาญอาหารสูงมาก ดังนั้น จึงจะหากินอยู่ตลอดเวลา ด้วยการหากิน 3 ชั่วโมง และนอนหลับ 3 ชั่วโมง เป็นเช่นนี้สลับกันไปตลอด หากไม่เช่นแล้ว อาจทำให้ถึงตายได้ หนูผี เป็นสัตว์ที่มีอุปนิสัยดุร้าย มักกัดกันเองเสมอ ๆ โดยหากเมื่อต่อสู้กันแล้ว มักจะขู่ศัตรูด้วยการยืนด้วยสองขาหลังส่งเสียงร้องแหลมเล็กให้หนีไป หากได้กัดแล้ว จะกัดด้วยการกัดที่หางและขาหลังของกันและกันเป็นวงกลมเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ พร้อมกับเสียงดังข่มขู่กันตลอด หนูผี บางชนิดเมื่อกัดแล้วมีพิษ และถือเป็นสัตว์ที่มีต่อมน้ำพิษที่มีกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรงอยู่ใต้ผิวหนัง ดังนั้น หนูผีจึงมักไม่ค่อยตกเป็นอาหารของสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ ยกเว้นนกเค้าแมว หนูผี ทำรังด้วยใบไม้และฟาง ออกลูกครอกละ 5-8 ตัว ปีหนึ่ง ๆ อาจออกได้หลายครอก ลูกอ่อนจะสามารถหาเลี้ยงตัวเองได้เมื่อมีอายุได้ 5 สัปดาห์ แต่หนูผีมักมีอายุสั้นไม่เกินหนึ่งปี กระจายพันธุ์ไปในทุกพื้นที่ทุกทวีปของโลก พบในหลากหลายภูมิประเทศ รวมถึงในบ้านเรือนของมนุษย์ หนูผีที่พบในบ้านจะไม่ทำลายข้าวของเหมือนเช่นหนูบ้านทั่วไป เนื่องด้วยไม่ใช่สัตว์ฟันแทะ แต่อาจจะมีขโมยเศษอาหารได้ ทำให้เกิดกลิ่นเหม็บสาบรุนแรง และอาจจะจับแมลงสาบกินได้ และกลิ่นเหม็นอันรุนแรงของหนูผีจะไล่หนูบ้านออกไปได้ นอกจากนี้แล้ว หนูผียังสามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้เก่งกว่าหนูมาก โดยสามารถกลั้นหายใจใต้น้ำได้นานถึง 20 วินาที เพื่อจับสัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น หอย หรือตัวอ่อนของแมลงปอ กินเป็นอาหาร หนูผี ในปัจจุบันนี้พบแล้วกว่า 385 ชนิด ใน 26 สกุล แบ่งออกได้เป็นวงศ์ย่อยได้ 3 วงศ์ (ดูในตาราง)สำหรับชนิดที่พบได้ในประเทศไทยมีหลายชนิด อาทิ หนูผีบ้าน (Suncus murinus), หนูผีจิ๋ว (S. etrusucs), และชนิดที่พบได้ในป่าและทุ่งนา เช่น หนูผีป่า (S. malayanus), หนูผีภูเขา (Crocidura monticola) เป็นต้น โดยที่ครั้งหนึ่ง หนูผีจิ๋วที่พบได้ในทวีปยุโรปและในไทยด้วย เคยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกนมที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกมาแล้ว.

ใหม่!!: อันดับสัตว์กินแมลงและหนูผี · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกระแต

ฟันของกระแต กระแต (1920.) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กอันดับหนึ่ง ใช้ชื่ออันดับว่า Scandentia กระแต มีลักษณะโดยรวมคล้ายกับกระรอก ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) รวมทั้งมีพฤติกรรมความเป็นอยู่ที่คล้ายกัน หากแต่กระแตมีปากยื่นยาวกว่ากระรอก มีฟันเล็กหลายซี่ ไม่ได้เป็นฟันแทะ แบ่งออกเป็นฟันตัด 4 ซี่ ที่ขากรรไกรบน และ 6 ซี่ที่ขากรรไกรล่าง สามรถเขียนเป็นสูตรได้ว่า จึงไม่สามารถที่จะกัดแทะผลไม้หรือไม้เปลือกแข็งอย่างกระรอกได้ และมีนิ้วที่ขาคู่หน้า 5 นิ้ว ที่เจริญและใช้ในการหยิบจับได้ดี เหมือนเช่นสัตว์ในอันดับไพรเมต (Primate) หรืออันดับวานร กระแตมีขนปกลุมลำตัวสีเขียวหรือสีน้ำตาลเหมือนกระรอก มีหางยาวประมาณ 12-19 เซนติเมตร กระแต นั้นหากินทั้งบนพื้นดิน โคนต้นไม้ และบนต้นไม้ กินได้ทั้งพืช และสัตว์เล็ก ๆ อย่าง แมลง หรือหนอน เป็นอาหาร โดยมากจะหากินในเวลากลางคืน และอาศัยอยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียว แต่บางครั้งก็พบอยู่ด้วยกัน 2-3 ตัว เป็นฝูงเล็ก ๆ ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว โดยที่ก็ตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่กว่า เช่น ชะมด หรืออีเห็น, แมวป่า หรือนกล่าเหยื่อ อย่าง เหยี่ยว หรืออินทรี ด้วย กระแต กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในป่าทวีปเอเชียแถบเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ มีทั้งหมด 19 ชนิด 5 สกุล แบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ (ดูในตาราง) พบในประเทศไทย 5 ชนิด คือ กระแตเหนือ (Tupaia belangeri) และกระแตใต้ หรือกระแตธรรมดา (T. glis), กระแตเล็ก (T. minor), กระแตหางขนนก (Ptilocercus lowii) และกระแตหางหนู (Dendrogale murina) เดิม กระแตเคยถูกจัดรวมอยู่อันดับเดียวกับอันดับสัตว์กินแมลง (Insectivora) เช่น หนูผี แต่ปัจจุบันได้ถูกแบ่งออกเป็นอันดับต่างหาก และกระแตถูกสันนิษฐานว่ามีบรรพบุรุษร่วมกันกับอันดับไพรเมตด้วย ด้วยมีนิ้วที่เท้าหน้าคล้ายคลึงกัน โดยวิวัฒนาการแยกออกจากกันในยุคอีโอซีนตอนกลาง.

ใหม่!!: อันดับสัตว์กินแมลงและอันดับกระแต · ดูเพิ่มเติม »

อันดับหนูผีช้าง

หนูผีช้าง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง พบในทวีปแอฟริกา มีรูปร่างคล้ายหนูซึ่งเป็นสัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) แต่กลับมีจมูกยื่นยาวเหมือนงวงช้าง ซึ่งในความจริงแล้ว หนูผีช้างเดิมเคยถูกจัดเป็นสัตว์ในอันดับตุ่น (Soricomorpha) และอันดับสัตว์กินแมลง (Insectivora) แต่ปัจจุบัน ถูกแยกออกมาเป็นอันดับต่างหาก คือ อันดับ Macroscelidea หนูผีช้าง มีชื่อเรียกในภาษาเบนตูว่า เซงกิส (Sengis) เป็นสัตว์ที่พบเห็นได้ยาก ออกหากินในเวลากลางคืน ปัจจุบันพบมีทั้งหมด 15 ชนิด ในทั้งหมด 4 สกุล และวงศ์เดียว โดยชนิดที่พบล่าสุด ได้ถูกอนุกรมวิธานเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2008 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน 2 คน ซึ่งได้พบเจอครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2005 ที่ป่าใจกลางประเทศแทนซาเนีย ทางแอฟริกาตะวันออก และได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhynchocyon udzungwensis นับว่าเป็นการค้นพบหนูผีช้างชนิดใหม่ในรอบ 126 ปี หนูผีช้าง กินแมลงตามพื้นดินเป็นอาหาร เป็นสัตว์ที่พบอยู่เฉพาะในทวีปแอฟริกาเท่านั้น มีพฤติกรรมที่ครองคู่เพียงตัวเดียวตลอดชีวิต จากการศึกษาในระดับโมเลกุลในห้องปฏิบัติการพบว่ามีความใกล้ชิดกับช้างมากกว่าสัตว์ในอันดับใด ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยจัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับใหญ่ แอโฟรธีเรีย (Afrotheria) ที่มีวิวัฒนาการอยู่ในแอฟริกามากว่า 100 ล้านปีแล้ว.

ใหม่!!: อันดับสัตว์กินแมลงและอันดับหนูผีช้าง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับตุ่น

อันดับตุ่น (อันดับ: Soricomorpha) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับหนึ่ง การอนุกรมวิธานของสัตว์ในอันดับนี้ ถูกแยกออกจากอันดับสัตว์กินแมลง (Insectivora) พร้อมกับอันดับเทนเรค (Afrosoricida), อันดับหนูผีช้าง (Macroscelidea) และอันดับเฮดจ์ฮอก (Erinaceomorpha) ขณะที่ข้อมูลบางแหล่งยังถือว่าอยู่ในอันดับสัตว์กินแมลงอยู่ สัตว์ที่อยู่ในอันดับนี้ ถูกแบ่งออกด้วยกันเป็น 4 วงศ์ ได้แก่ หนูผี (Soricidae), ตุ่น (Talpidae) และโซเลนโนดอน (Solenodontidae) ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมลักษณะคล้ายหนูผี แต่ถูกแยกออกจากกันเป็นคนละวงศ์ ซึ่งเป็นสัตว์หายาก พบได้เฉพาะที่ประเทศคิวบาเท่านั้น และสูญพันธุ์ไป 1 วงศ์ คือ Nesophontidae.

ใหม่!!: อันดับสัตว์กินแมลงและอันดับตุ่น · ดูเพิ่มเติม »

อันดับเฮดจ์ฮอก

อันดับเฮดจ์ฮอก (Hedgehog, Gymnure, อันดับ: Erinaceomorpha) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Erinaceomorpha เป็นอันดับที่แยกตัวออกมาจากอันดับสัตว์กินแมลง (Insectivora) ลักษณะโดยรวมของสัตว์ที่อยู่ในอันดับนี้ เป็นสัตว์ขนาดเล็ก กินแมลงเป็นอาหาร มีทั้งออกหากินในเวลากลางวัน และออกหากินในเวลากลางคืน อาศัยอยู่บนพื้นและบนต้นไม้ ยืนด้วยฝ่าเท้า มีสมองส่วนรับกลิ่นเจริญดี แต่สายตาไม่ดี นอกจากกินแมลงแล้วยังอาจจะยังกินสัตว์ขนาดเล็กกว่าหรือพืชและผลไม้เป็นอาหาร จำแนกออกได้เพียงวงศ์เดียว คือ Erinaceidae 10 สกุล (ดูในตาราง) 24 ชนิด โดยที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ เฮดจ์ฮอก (Erinaceinae) ซึ่งเป็นสัตว์ขนาดเล็กมีขนที่เป็นหนามแข็งขนาดเล็กคล้ายเม่นซึ่งอยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคยุโรป สำหรับในประเทศไทยพบ 2 เท่านั้น คือ หนูเหม็น (Echinosorex gymnurus) หรือสาโท ที่มีลักษณะคล้ายหนูแต่มีขนาดใหญ่กว่า และมีกลิ่นตัวเหม็นอย่างรุนแรงคล้ายกับกลิ่นของแอมโมเนีย และหนูผีหางหมู (Hylomys suillus).

ใหม่!!: อันดับสัตว์กินแมลงและอันดับเฮดจ์ฮอก · ดูเพิ่มเติม »

อันดับเทนเรค

อันดับเทนเรค เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Afrosoricida (มาจากภาษากรีก-ละติน หมายความว่า "ดูคล้ายหนูผีแอฟริกา") ซึ่งอันดับนี้เดิมเคยถูกรวมกับสัตว์อื่นที่มีความใกล้เคียงกัน คือ อันดับสัตว์กินแมลง (Insectivora) รูปร่างลักษณะของสัตว์ในอันดับนี้จะเหมือนกับสัตว์จำพวกอื่นที่เคยถูกจัดรวมเป็นอันดับสัตว์กินแมลงเหมือนกันในอดีต เช่น ตุ่น, หนูผี, เฮดจ์ฮอก หรือแม้แต่กระทั่งผสมกันระหว่างนาก ซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อ กับหนูผีก็มี ซึ่งจากการศึกษาด้านพันธุกรรมและดีเอ็นเอพบว่า สัตว์ในอันดับนี้มีการวิวัฒนาการที่แยกออกไป จึงได้ถูกจัดแยกออกมาเป็นอันดับต่างหาก ซึ่งการที่มีวิวัฒนาการเป็นของตัวเองแต่กลับมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับสัตว์ที่มีวิวัฒนาการที่แตกต่างออกไป การวิวัฒนาการเช่นนี้เรียกว่า "วิวัฒนาการแบบเข้าหากัน" พบกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา และเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นของเกาะมาดากัสการ์ ซึ่งบรรพบุรุษของสัตว์ในอันดับนี้ก็เดินทางมาจากแผ่นดินใหญ่เหมือนกับลีเมอร์หรือสัตว์อื่น ๆ ที่เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นของเกาะมาดากัสการ์เช่นเดียวกันMadagascar, "Mutant Planet" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต.

ใหม่!!: อันดับสัตว์กินแมลงและอันดับเทนเรค · ดูเพิ่มเติม »

ตุ่น

ำหรับ ติ่ง ที่เป็นความหมายสแลงดูที่ ติ่งหู ตุ่น หรือ ติ่ง (Moles) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมวงศ์หนึ่ง ในอันดับตุ่น (Soricomorpha) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Talpidae ซึ่งครั้งหนึ่ง (หรือบางข้อมูล) จะจัดให้ตุ่นอยู่ในอันดับสัตว์กินแมลง (Insectivora) ตุ่น มีลักษณะคล้ายหนูตะเภาตัวอ้วน ๆ ซึ่งเป็นสัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) แต่ทว่าตุ่นมีอันดับแยกออกมาเองต่างหาก ซึ่งใกล้เคียงกับหนูผี (Soricidae) มากกว่า มีขนอ่อนนุ่ม สีคล้ำอย่างสีเทาหรือสีดำ ตลอดทั้งลำตัว ซึ่งขนนี้มีคุณลักษณะพิเศษที่สามารถบิดไปในทิศทางใดก็ได้ แตกต่างจากสัตว์ประเภทอื่น ๆ ส่วนหางสั้น ตุ่นอาศัยในโพรงใต้ดินตลอดเวลา จะไม่ขึ้นมาบนพื้นดิน หากไม่จำเป็น ดังนั้นจึงมีหูและตาเล็กมาก เพราะแทบไม่ได้ใช้ประโยชน์ และถูกเก็บซ่อนอยู่ใต้ขน เพื่อป้องกันมิให้ดินเข้าเวลาขุดดิน ในบางชนิดจะมีหนังพิเศษปิดเหนือตาด้วย ขาคู่หน้าของตุ่นซ่อนอยู่ใต้ขน ซึ่งจะยื่นออกมาแต่ส่วนปลายเป็นข้อมือที่มีเล็บที่แข็งแรง 5 เล็บ ซึ่งใช้ในการขุดโพรงดิน แต่จะใช้เดินบนพื้นดินไม่ได้เลย หากตุ่นขึ้นมาบนดินจะทำได้เพียงแค่คืบคลาน ในโพรงใต้ดินของตุ่น มีทางยาวมาก โดยมักจะขุดให้ลึกไปจากผิวดินราว 3 นิ้วครึ่งถึงครึ่งฟุต เป็นทางยาวขนานไปกับผิวดิน และลึกจากหน้าดินราวหนึ่งฟุตก็มีอีกโพรงหนึ่งเป็นคู่ขนานด้วยเช่นกัน ซึ่งทั้งสองสายนี้เชื่อมไว้ด้วยทางเชื่อมเล็ก ๆ ในแนวตามจุดต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ แต่ในบางจุดอาจมีแนวดิ่งลึกลงไปถึง 4 ฟุต ผนังโพรงราบเรียบสม่ำเสมอกัน ที่ปลายสุดของโพรงจะใช้เป็นที่กลับตัว ซึ่งมีความกว้างเพียงขนาดเท่าตัวของตุ่น ดินที่ขุดขึ้นทำโพรงนั้นจะถูกอัดไปตามผนังโพรงเพื่อให้แน่นและแข็งแรง แต่บางส่วนก็จะถูกดันขึ้นไปเหนือพื้นดิน เห็นเป็นเนิน ๆ ซึ่งเรียกในภาษาไทยว่า "โขย" ตุ่น กินอาหารหลัก คือ ไส้เดือนดิน และก็สามารถกินอาหารอื่นได้ เช่น หนอน, หอยทาก และพืชประเภทหัว เช่น มัน หรือ แห้ว หลายชนิด ในวันหนึ่ง ๆ ตุ่นสามารถที่จะกินอาหารได้เท่ากับน้ำหนักตัว จึงเป็นสัตว์ที่ไม่อาจอดอาหารได้นาน ในฤดูแล้งที่อาหารขาดแคลน ตุ่นสามารถจะสะสมอาหารเป็นเสบียงได้ ในโพรงดินส่วนที่เป็นห้องเก็บอาหาร โดยมีรายงานว่า ตุ่นบางตัวเก็บหนอนไว้ในห้องเก็บอาหารนับร้อยตัว โดยที่หัวของหนอนเหล่านี้ถูกกัดจนหัวขาดแล้ว แต่ยังไม่ตาย ไม่อาจจะหนีไปไหนได้ ตามปกติ ตุ่นเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ลำพัง นอกจากในฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้ต้องต่อสู้แย่งชิงตัวเมียเสียก่อน ตัวเมียจะเป็นฝ่ายสร้างรั งขนาดลูกรักบี้ที่บุด้วยใบไม้และฟางหรือกิ่งไม้เล็ก ๆ โดยจะอยู่ลึกจากหน้าดินประมาณ 2 ฟุต หรือตื้นกว่านั้น มีทางแยกออกจากรังหลายทาง เพื่อที่จะเข้าออกได้หลายทาง เพื่อความสะดวกและปลอดภัย ซึ่งรังของตุ่นจะสะอาดสะอ้านอยู่เสมอ ตุ่นมักจะมีลูกครอกละ 2-7 ตัว ลูกอ่อนที่เกิดใหม่จะยังไม่ลืมตา และขนจะเริ่มงอกเมื่อมีอายุได้สัก 10 วัน และลืมตาในเวลาต่อมา และจะออกจากรังเมื่อมีอายุได้ราว 5 สัปดาห์ มีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ 3 ปี ตุ่นกระจายพันธุ์ไปในทุกพื้นที่ทั่วโลก ยกเว้นในเขตขั้วโลกและโอเชียเนีย สามารถแบ่งออกได้เป็น 17 สกุล และ 3 วงศ์ย่อย (ดูในตาราง) พบประมาณ 44 ชนิด ซึ่งบางชนิดมีขนสีทอง บางชนิดมีส่วนหางยาว บางชนิดที่จมูกมีเส้นขนเป็นอวัยวะรับสัมผัสเป็นเส้น ๆ 22 เส้น ลักษณะคล้ายดาว และมีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่บนดินและว่ายน้ำได้เก่งอีกด้วย ขณะที่บางชนิดก็สามารถปีนต้นไม้ได้ และอาศัยอยู่เป็นฝูง สำหรับในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียว คือ ตุ่นโคลส (Euroscaptor klossi).

ใหม่!!: อันดับสัตว์กินแมลงและตุ่น · ดูเพิ่มเติม »

เฮดจ์ฮอก

อก (hedgehog) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็กที่อยู่ในวงศ์ย่อย Erinaceinae ในวงศ์ใหญ่ Erinaceidae เฮดจ์ฮอก มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับเม่น ซึ่งเป็นสัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ซึ่งอยู่กันคนละอันดับกัน คือ ด้านหลังของลำตัวปกคลุมไปด้วยขนที่มีลักษณะแข็งคล้ายหนาม ซึ่งไว้สำหรับป้องกันตัว แต่เฮดจ์ฮอกมีขนาดที่เล็กกว่ามาก และมีหนามที่สั้นกว่ามาก โดยขนของเฮดจ์ฮอกมีลักษณะเล็กแข็งคล้ายเสี้ยนหรือหนามมากกว่า มีส่วนใบหน้าคล้ายหนู แต่มีจมูกที่เรียวยาวที่ขมุบขมิบสำหรับดมกลิ่นอยู่ตลอด ขนของเฮดจ์ฮอกตลอดทั้งตัวมีประมาณ 7,000 เส้น ในเส้นขนมีลักษณะกลวงแต่แข็งแรงด้วยสารประกอบเคราติน จึงมีน้ำหนักเบา และซับซ้อนเพื่อช่วยในการรับแรงกระแทกของสัตว์ใหญ่ที่เข้ามาจู่โจมหรือรับแรงกระแทกหากตัวเฮดจ์ฮอกต้องตกจากที่สูงPets 101- Hedgehogs, ทางอนิมอลพลาเน็ต.

ใหม่!!: อันดับสัตว์กินแมลงและเฮดจ์ฮอก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

InsectivoraOrder Insectivoraสัตว์กินแมลงอินเซคทิวอราอินเซคทิโวรา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »