โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อันดับช้าง

ดัชนี อันดับช้าง

อันดับช้าง เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่อันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Proboscidea (/โพร-โบส-ซิ-เดีย/) มีลักษณะเด่น คือ เป็นสัตว์กินพืชที่มีร่างกายใหญ่โต มีจมูกและริมฝีปากบนยาว เรียกว่า "งวง" ที่เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ใช้สำหรับหายใจ หยิบจับสิ่งของ และจับอาหารเข้าปาก มีฟันซี่หน้า 2 ซี่ บนขากรรไกรบนยาวใหญ่ และเจริญไปเป็น "งา" ฟันกรามมีขนาดใหญ่ โดยมากไม่เกิน 1 คู่ ขณะที่บางสกุล บางชนิด หรือบางวงศ์มีมากกว่านั้น ไม่มีฟันเขี้ยว ขาใหญ่ตรงลักษณะคล้ายต้นเสา ขาหน้ามีกระดูกเรเดียส และอัลนาร์สมบูรณ์ ขาหลังก็มีกระดูกทิเบีย และฟิบูลาสมบูรณ์ เท้ามีนิ้วข้างละ 5 นิ้ว แต่เล็บนิ้วก้อยบางตัวนั้น เมื่อโตขึ้นจะหายไป มีกระเพาะอาหารแบบธรรมดา ไม่ได้เป็นกระเพาะอาหารที่แบ่งเป็นห้อง ๆ แบบสัตว์เคี้ยวเอื้อง ตัวผู้มีลูกอัณฑะอยู่ในท้อง ไม่อยู่ในถุงห้อยออกมาอย่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป ขณะที่ตัวเมียมีมดลูกแยกเป็นไบคอร์เนาท์ มีเต้านม 1 คู่ อยู่ที่หน้าอกระหว่างขาหน้าทั้ง 2 ข้าง ปัจจุบัน หลงเหลือสัตว์ที่อยู่ในอันดับนี้เพียงวงศ์เดียว คือ Elephantidae 3 ชนิด (ไม่นับชนิดย่อย) คือ ช้างเอเชีย (Elephas maximus) ที่พบในทวีปเอเชีย, ช้างพุ่มไ้ม้แอฟริกา (Loxodonta africana) และช้างป่าแอฟริกา (L. cyclotis) พบในทวีปแอฟริกา ซึ่งจัดเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว สัตว์ในอันดับช้างยังมีความคล้ายคลึงกับสัตว์ในอันดับไฮแรกซ์ (Hyracoidea) ซึ่งเป็นสัตว์ขนาดเล็กคล้ายหนูตะเภาที่พบในแอฟริกาอีก ด้วยการที่มีฟันกรามและข้อต่อนิ้วเท้าที่คล้ายคลึงกัน.

19 ความสัมพันธ์: ช้าง (แก้ความกำกวม)ช้างบอร์เนียวช้างพุ่มไม้แอฟริกาช้างศรีลังกาช้างสุมาตราช้างอินเดียช้างป่าแอฟริกาช้างแมมมอธช้างแอฟริกาช้างเอเชียช้างเอเชีย (สกุล)กอมโฟทีเรียมยูเธอเรียรายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยวงศ์เอลิฟานติดีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสเตโกดอนอันดับไฮแรกซ์อันดับเทนเรค

ช้าง (แก้ความกำกวม)

้าง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: อันดับช้างและช้าง (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ช้างบอร์เนียว

้างบอร์เนียว หรือ ช้างแคระบอร์เนียว (Borneo elephant) เป็นชนิดย่อยของช้างเอเชียชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Elephas maximus borneensis พบได้เฉพาะบนเกาะบอร์เนียวเท่านั้น ถูกเรียกว่าเป็น "ช้างแคระ" เพราะมีขนาดลำตัวที่เมื่อโตเต็มที่แล้วมีขนาดเล็กกว่าช้างเอเชียชนิดอื่น ๆ อย่างมาก โดยมีความสูงประมาณ 8 ฟุต เท่านั้นเอง ตัวผู้มีงาสั้น ๆ หรือไม่มีเลย ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ มีใบหูใหญ่ มีลำตัวอ้วนกลมกว่า และมีนิสัยไม่ดุร้าย มีลักษณะความแตกต่างทางพันธุกรรมจากช้างเอเชียชนิดอื่น ๆ พอสมควร สุลต่านแห่งซูลูได้นำเอาช้างที่ถูกจับเข้ามาบนเกาะบอร์เนียวในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก่อนจะถูกปล่อยเข้าป่าไปCranbrook, E., Payne, J., Leh, C.M.U. (2008).

ใหม่!!: อันดับช้างและช้างบอร์เนียว · ดูเพิ่มเติม »

ช้างพุ่มไม้แอฟริกา

้างพุ่มไม้แอฟริกา หรือ ช้างสะวันนาแอฟริกา (African bush elephant, African savanna elephant) หรือที่นิยมเรียกกันว่า ช้างแอฟริกา หรือ ช้างแอฟริกัน เป็นช้างชนิดหนึ่งที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ช้างพุ่มไม้แอฟริกา นับเป็นช้างขนาดใหญ่ที่สุด และถือเป็นสัตว์บกและสัตว์กินพืชที่ใหญ่และหนักที่สุดในโลกอีกด้วย ช้างพุ่มไม้แอฟริกา เดิมเคยถูกจัดเป็นชนิดเดียวกับช้างป่าแอฟริกา (L. cyclotis) โดยเป็นชนิดย่อยของกันและกัน ก่อนที่จะแยกออกจากกันในปี ค.ศ. 2010 จากการศึกษาทางดีเอ็นเอ โดยช้างพุ่มไม้แอฟริกานั้นมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า ล่ำสันกว่า แพร่กระจายพันธุ์ได้กว้างกว่า โดยกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของทะเลทรายสะฮาราลงไป รวมถึงมีพฤติกรรมการอยู่อาศัยที่แตกต่างออกไปด้วย กล่าวคือ จะอาศัยอยู่ตามทุ่งโล่งหรือตามพุ่มไม้ต่าง ๆ มากกว่าป่าทึบ เป็นสัตว์ที่ไม่กลัวแดดและความร้อน หากินและอพยพได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ช้างพุ่มไม้แอฟริกา อาจจะมีความสูงถึงเกือบ 4 เมตร เมื่อวัดจากเท้าถึงหัวไหล่ แต่โดยเฉลี่ยทั่วไปจะมีความสูงประมาณ 3.3 เมตร น้ำหนักประมาณ 5.5 ตัน ขณะที่ตัวเมียจะมีขนาดเล็กลงมากว่าหน่อย คือ สูง 2.8 เมตร และมีน้ำหนัก 3.7 ตันโดยเฉลี่ย ขณะที่มีงายาวได้ถึง 20 นิ้ว น้ำหนักงา 200 ปอนด์ มีงาทั้งตัวผู้และตัวเมีย แต่งาของตัวผู้จะสั้นและอวบใหญ่กว่า ส่วนงาของตัวเมียจะยาวกว่า แต่มีความเรียวบางกว่า เท้าหน้ามี 4 เล็บ และเท้าหลังมี 3 เล็บ มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 50 ปี นับว่าน้อยกว่าช้างเอเชีย ช้างพุ่มไม้แอฟริกา จะอยู่รวมกันเป็นฝูง มีตัวเมียที่อาวุโสสูงสุดเป็นจ่าฝูง เป็นตัวนำพาสมาชิกในฝูงตัวอื่น ๆ ขณะที่ตัวผู้ที่โตเต็มที่มักจะออกไปอยู่เองเป็นอิสระ ช้างพุ่มไม้แอฟริกามีอุปนิสัยดุร้าย ก้าวร้าวมากกว่าช้างเอเชีย จึงฝึกให้เชื่องได้ยากกว่า มีเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้นที่สามารถฝึกให้เชื่อฟังมนุษย์ได้ โดยปกติ ตัวเมียจะเป็นอันตรายมากกว่าตัวผู้ อาจเป็นเพราะต้องดูแลปกป้องลูกช้าง และสมาชิกในฝูงกว่า แต่ช้างตัวผู้ที่โตเต็มที่สามารถฆ่าสัตว์ใหญ่แม้กระทั่งแรดได้ ทั้ง ๆ ที่แรดมิได้เป็นสัตว์ที่คุกคามเลย แต่เป็นเพราะมาจากความก้าวร้าว ในแต่ละปี ช้างพุ่มไม้แอฟริกา จะบุกรุกและทำลายบ้านเรือนของชาวพื้นเมืองแอฟริกัน เพราะพื้นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตรของมนุษย์กับช้างทับซ้อนกัน มีผู้ถูกฆ่ามากกว่า 500 คน โดยก่อนที่จะบุกรุก ช้างพุ่มไม้แอฟริกาจะทำการชูงวง ที่มีกล้ามเนื้อมากกว่า 100,000 มัด เต็มไปด้วยพละกำลัง และกางหูออก เมื่อจะวิ่งเข้าใส่ จะทำการย่อเข่าลงมาเล็กน้อย แม้จะมีขนาดลำตัวใหญ่ที่ใหญ่โต แต่ก็สามารถวิ่งได้เร็วกว่ามนุษย์ โดยวิ่งได้เร็วถึง 30 ไมล์/ชั่วโมงหน้า 91-94, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518) ปัจจุบัน มีรายงานการพบช้างพุ่มไม้แอฟริการ้อยละ 30 ที่ไม่มีงา แต่ช้างที่ไม่มีงานั้นกลับดุร้าย และอันตรายยิ่งกว่าช้างที่มีงา โดยจะพุ่งเข้าใส่เลยทันที สันนิษฐานว่าเป็นเพราะพันธุกรรมตกทอดกันมา จากการถูกมนุษย์ล่าเอางาElephant, "Rouge Nature With Dave Salmoni" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม 2555.

ใหม่!!: อันดับช้างและช้างพุ่มไม้แอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ช้างศรีลังกา

้างศรีลังกา (Sri Lankan elephant; ශ්‍රි ලංකා‍ අලියා) เป็นช้างเอเชียชนิดย่อยชนิดหนึ่ง มีถิ่นกระจายพันธุ์เฉพาะบนเกาะซีลอน หรือประเทศศรีลังกาในปัจจุบันเท่านั้น ช้างศรีลังกา ได้ถูกอนุกรมวิธานแยกออกจากช้างเอเชียชนิดอื่น ๆ โดยคาโรลัส ลินเนียส นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนเมื่อปี..

ใหม่!!: อันดับช้างและช้างศรีลังกา · ดูเพิ่มเติม »

ช้างสุมาตรา

้างสุมาตรา (Sumatran elephant) เป็นชนิดย่อยของช้างเอเชีย (E. maximus) ชนิดหนึ่ง จัดเป็นช้างที่พบได้เฉพาะบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เท่านั้น ช้างสุมาตรา มีรูปร่างที่เล็กกว่าช้างเอเชียชนิดอื่น ๆ มีลำตัวสีเทาจางและมีรอยด่างน้อยกว่าช้างเอเชียชนิดอื่น โดยมีจุดสีชมพูเฉพาะบนใบหูเท่านั้น ช้างสุมาตราตัวเต็มวัยมีความสูงจากพื้นถึงไหล่วัดได้ 2-3.2 เมตร น้ำหนักระหว่าง 2,000-4,000 กิโลกรัม มักอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าและถิ่นที่อยู่ปกคลุมด้วยต้นไม้บางส่วน ปัจจุบันช้างสุมาตราตกอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต คาดว่ามีจำนวนประชากรทั้งหมดไม่เกิน 1,000 ตัว โดยสาเหตุสำคัญที่สุดของการสูญพันธุ์ คือ การไล่ล่าจากพรานป่าเพื่อเอาอวัยวะและงาไปขายในตลาดมืด ถือเป็นปัญหาที่ร้ายแรงที่สุดมากกว่าการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย หรือโรคระบาดเสียอีก แม้ปัจจุบันจะมีการตั้งศูนย์อนุรักษ์ช้างสุมาตราขึ้นภายในอุทยานแห่งชาติเวย์แคมบัส แต่ทว่ารอบ ๆ ศูนย์อนุรักษ์ก็ยังคงมีปัญหาการไล่ล่าอยู่ ในระยะแรก ๆ ที่มีการตั้งศูนย์อนุรักษ์ขึ้นมา ก็ปรากฏมีพรานป่าแอบเข้ามาลักขโมยช้างออกไปฆ่าจนมีการปะทะกับเจ้าหน้าที่หลายครั้ง ได้รับความเสียหายทั้งสองฝ่าย จึงมีการคล้องโซ่ช้างไว้เพื่อให้ได้ยินเสียงในเวลากลางคืน มิได้เป็นไปเพื่อการล่ามหรือกักขังแต่อย่างใด ช้างสุมาตราในศูนย์อนุรักษ์ อุทยานแห่งชาติเวย์แคมบัส ปัจจุบันที่ศูนย์อนุรักษ์แห่งนี้มีจำนวนช้างสุมาตราเลี้ยงไว้ราว 80 เชือก เป็นช้างที่เชื่องต่อผู้เลี้ยงเหมือนช้างบ้าน ซึ่งภาวะเช่นนี้เสี่ยงอย่างมากต่อการสูญเสียพฤติกรรมตามธรรมชาติไป อีกทั้งในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ทางศูนย์ก็ยังได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมได้อีก เพื่อต้องการเงินนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู, ศึกษา และอนุรักษ์ต่อยอดขึ้นไปในอนาคต แม้ช้างที่เลี้ยง ณ ที่นี่มีการขยายพันธุ์ได้ลูกช้างบางส่วนแล้วก็ตาม แต่การปล่อยคืนสู่ธรรมชาติยังมิอาจทำได้ เพราะปัญหาการไล่ล่าที่ยังคงมีอยู.

ใหม่!!: อันดับช้างและช้างสุมาตรา · ดูเพิ่มเติม »

ช้างอินเดีย

้างอินเดีย (Indian elephant) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ ในวงศ์ Elephantidae หรือช้าง เป็นช้างที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคไพลโอซีนหรือประมาณ 5 ล้านปีก่อนมาแล้ว.

ใหม่!!: อันดับช้างและช้างอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ช้างป่าแอฟริกา

้างป่าแอฟริกา (African forest elephant) เป็นช้างชนิดหนึ่ง เดิมเคยถูกจัดให้เป็นชนิดเดียวกันกับช้างพุ่มไม้แอฟริกา (L. africana) โดยใช้ชื่อว่า L. africana cyclotis จนกระทั่งในปี..

ใหม่!!: อันดับช้างและช้างป่าแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ช้างแมมมอธ

้างแมมมอธ หรือ แมมมอธ (Mammoth) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตระกูลช้างที่อาศัยอยู่ในยุคน้ำแข็งเมื่อกว่า 20,000 ปีก่อน จัดอยู่ในวงศ์ Elephantidae เช่นเดียวกับช้างที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน โดยอยู่ในสกุล Mammuthus จำแนกออกได้ทั้งหมด 9 ชนิด (ดูในตาราง) โดยคำว่า "แมมมอธ" นั้นมาจากคำว่า "Mammal" หรือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แมมมอธ กระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะทวีปยุโรปและเอเชียเหนือ เช่น ไซบีเรีย ยกเว้นออสเตรเลียและอเมริกาใต้ เป็นช้างที่มีลำตัวและงาใหญ่กว่าช้างในยุคปัจจุบันมาก ปัจจุบันจะค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของแมมมอธได้ในยุคไพลสโตซีน แมมมอธ กำเนิดขึ้นมาเมื่อราว 2.6 ล้านปีก่อน ในยุคไพลโอซีนตอนต้น และสูญพันธุ์อย่างสิ้นเชิง เมื่อ 11,700 ปีที่ผ่านมา (แมมมอธตัวสุดท้ายที่สูญพันธุ์ คือ แมมมอธแคระ ที่อาศัยบนเกาะแรงเกล ในทะเลอาร์กติก เมื่อราว 3,700 ปีก่อน) แมมมอธมีขนาดโดยเฉลี่ย 4 เมตร (14 ฟุต) ตั้งแต่เท้าจนถึงหัวไหล่ มีสีขนที่หลากหลายตั้งแต่น้ำตาล หรือน้ำตาลออกเหลือง ความยาวตั้งแต่ 2.5 เซนติเมตร (1 นิ้ว) จนถึง 50 เซนติเมตร (20 นิ้ว) ภายใต้ผิวหนังหนาและมีชั้นไขมันเป็นฉนวนกันความหนาว 8 เซนติเมตร (3 นิ้ว) มีส่วนหัวที่กลม ใบหูเล็กกว่าช้างในยุคปัจจุบันมาก มีโหนกไขมันอยู่บริเวณส่วนหลัง มีงายาวโค้งได้ถึง 13 ฟุต (4 เมตร) มีฟันกรามเป็นสัน ทั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อเหมาะแก่การอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแต่ความหนาวในยุคน้ำแข็ง เพื่อรักษาความอบอุ่นในร่างกาย แมมมอธ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมนุษย์ในยุคหินเก่า ด้วยการล่าเอาเนื้อเป็นอาหาร หนังและไขมันเป็นเครื่องสร้างความอบอุ่น จนมีภาพเขียนสีบนผนังถ้ำหลายแห่งที่ปรากฏภาพ การล่าแมมมอธด้วยอาวุธที่ทำจากหินในยุคนั้น ภาพเปรียบเทียบขนาดของมนุษย์กับแมมมอธแต่ละชนิด แมมมอธ จำแนกออกได้เป็นทั้งหมด 9 ชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะ รูปร่าง แตกต่างกันออกไป โดยชนิดที่เป็นที่รู้จักดีที่สุด คือ แมมมอธขนดก (Mammuthus primigenius) ที่มีขนปกคลุมอยู่ทั้งตัว เชื่อว่า แมมมอธสูญพันธุ์ไปเพราะถูกล่าโดยมนุษย์จนหมด แต่จากการศึกษาด้านพันธุกรรมศาสตร์และดีเอ็นเอพบว่า แมมมอธนั้นมีสายสัมพันธ์ใกล้เคียงกับ Elephas หรือช้างเอเชียที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน จึงมีความพยายามจากนักวิทยาศาสตร์ที่จะโคลนนิงตัวอ่อนของแมมมอธให้เกิดขึ้นมาให้ได้ โดยให้แม่ช้างเอเชียเป็นฝ่ายอุ้มท้อง จากการสกลัดนิวเคลียสจากซากดึกดำบรรพ์ของลูกแมมมอธที่ค่อนข้างสมบูรณ์ เพราะถูกแช่แข็งในน้ำแข็ง จากไขกระดูกบริเวณต้นขา และจากหลักฐานใหม่ที่ได้ทำการศึกษาพบว่า แมมอธสูญพันธุ์ไปเพราะสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมากกว่า โดยประชากรในยุโรปเกือบสูญพันธุ์ไปก่อนหน้านั้นเมื่อ 20,000-30,000 ปีก่อน จากนั้นเมื่อ 14,000 ปีก่อน โลกเริ่มมีอุณหภูมิที่อุ่นขึ้น จึงพากันสูญพันธุ์ เนื่องจากสภาพร่างกายที่ใหญ่และมีขนยาวปกคลุมลำตัว ในปลายเดือนสิงหาคม..

ใหม่!!: อันดับช้างและช้างแมมมอธ · ดูเพิ่มเติม »

ช้างแอฟริกา

้างแอฟริกา หรือ ช้างแอฟริกัน (African elephant) เป็นช้างสกุลหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา จากหลักฐานฟอสซิลที่ค้นพบทำให้ทราบว่า ช้างแอฟริกาอาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกามาตั้งแต่ยุคไพลสโตซีน ช้างแอฟริกา จัดอยู่ในสกุล Loxodonta (/โล-โซ-ดอน-ตา/; เป็นภาษากรีกแปลว่า "ฟันเอียงข้าง") ซึ่งปัจจุบันหลงเหลือเพียง 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: อันดับช้างและช้างแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ช้างเอเชีย

้างเอเชีย (Asian elephant) จัดอยู่ในประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Elephas maximus ในวงศ์ Elephantidae มีขนาดเล็กกว่าช้างแอฟริกา รวมทั้งมีใบหูขนาดเล็กกว่า มีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ 60 ปี ซึ่งถือได้ว่ามีอายุยืนกว่าช้างแอฟริก.

ใหม่!!: อันดับช้างและช้างเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ช้างเอเชีย (สกุล)

้างเอเชีย หรือ ช้างยูเรเชีย (Asian elephant, Eurasian elephant) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในอันดับ Proboscidea หรืออันดับช้าง ใช้ชื่อสกุลว่า Elephas (/อี-เล-ฟาส/) จัดอยู่ในวงศ์ Elephantidae.

ใหม่!!: อันดับช้างและช้างเอเชีย (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

กอมโฟทีเรียม

กอมโฟทีเรียม (Gomphotherium) บางคนเรียกในชื่อ ไตรโลโฟดอน เป็นตระกูลสัตว์งวงที่มีลักษณะค่อนข้างโบราณ ขากรรไกรล่างบางชนิดยาวถึง 2 เมตร มีงา 2 คู่ที่ค่อนข้างสั้น งอกจากขากรรไกรบนและล่าง ฟันกราม 2 ซี่แรก (M1, M2) ทั้งด้านบนและด้านล่างจะมีสันในแนวขวางจำนวนเท่ากัน คือ 3 สัน แต่ฟันกรามซี่สุดท้ายจะเพิ่มอีกหนึ่งสัน จำนวนของสันฟันอาจจะเพิ่มขึ้นได้ในบางตัวซึ่งเป็นกรณีข้อยกเว้น สันฟันดังกล่าวนี้เกิดจากการเรียงตัวของปุ่มฟัน (cusp) ในแนวขวาง แต่แนวสันฟันไม่ค่อยชัดเจนเหมือนในสกุล มาสโตดอน ถิ่นที่อยู่ กอมโฟทีเรียม มีชีวิตอยู่ในสมัยไมโอซีนช่วงกลาง (16 -11 ล้านปีก่อน) อาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำทะเลสาบในเขตป่าที่ค่อนข้างแห้งแล้ง แต่บางชนิดอาศัยอยู่ตามที่ลุ่มชื้นแฉะคล้ายพวกสมเสร็จ โครงกระดูกที่สมบูรณ์ของกอมโฟทีเรียม พบใกล้เมือง Sansan ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งสามารถดูได้ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในกรุงปารีส การกระจาย ส่วนใหญ่พบในยุโรปตะวันตก แหล่งพบอื่น ๆ ได้แก่ ทวีปแอฟริกา อเมริกาเหนือ และเอเชีย โดยแหล่งล่าสุด เมื่อ..

ใหม่!!: อันดับช้างและกอมโฟทีเรียม · ดูเพิ่มเติม »

ยูเธอเรีย

ยูเธอเรีย (Infarclass Eutheria) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง เป็นชั้นฐานของเธอเรีย หมวดหมู่:สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม.

ใหม่!!: อันดับช้างและยูเธอเรีย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทย

นี่คือ รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทย มีทั้งสิ้น 264 ชนิด มี 3 ชนิดถูกคุกคามจนเข้าขั้นวิกฤติ มี 11 ชนิดถูกคุกคามจนใกล้สูญพันธุ์ มี 24 ชนิดเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และ 2 ชนิดมีความเสี่ยงต่ำแต่ใกล้ถูกคุกคาม และสูญพันธุ์ไป 1 ชน.

ใหม่!!: อันดับช้างและรายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เอลิฟานติดี

วงศ์เอลิฟานติดี (อังกฤษ: Elephant) เป็นวงศ์ตามการอนุกรมวิธาน ได้แก่สัตว์จำพวกช้าง คือ ช้างและแมมมอธ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Elephantidae เป็นสัตว์บกเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่ที่มีงวงและงา สกุลและชนิดส่วนใหญ่ในวงศ์นี้ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว เหลือเพียงสองสกุลเท่านั้นที่ยังมีชีวิตอยู่ ได้แก่ Loxodonta (ช้างแอฟริกา) และ Elephas (ช้างเอเชีย) เท่านั้น และเหลือเพียง 3 ชนิดเท่านั้น วงศ์ดังกล่าวได้รับการตั้งชื่อโดยจอห์น เอ็ดเวิร์ด เกรย์ นักสัตววิทยาชาวอังกฤษ ในปี..

ใหม่!!: อันดับช้างและวงศ์เอลิฟานติดี · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: อันดับช้างและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สเตโกดอน

ตโกดอน (Stegodon) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกช้างที่สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stegodon (หมายถึง "รากฟัน" จากภาษากรีกคำว่า στέγειν อ่านว่า "stegein" หมายถึง "ครอบคลุม" และ ὀδούς อ่านว่า "odous" หมายถึง "ฟัน") เดิมทีสเตโกดอนถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ Elephantidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับวงศ์ของช้างในยุคปัจจุบัน แต่ต่อมาได้ถูกแบ่งแยกออกมาเป็นวงศ์ของตัวเอง คือ Stegodontidae มีชีวิตอยู่ในยุคไมโอซีนตอนปลาย ถึงต้นยุคไพลสโตซีน ราว 1,800,000 ปีก่อน จัดว่าเป็นช้างรุ่นที่ 6 ในลำดับวิวัฒนาการของช้าง ซึ่งนับว่าว่าเก่าแก่กว่าช้างแมมมอธ ซึ่งถูกจัดอยู่ในรุ่นที่ 8 ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีเสียอีก สเตโกดอน จัดว่าเป็นช้างโบราณ ที่เชื่อว่ามีสายสัมพันธ์กับช้างในสกุล Elephas หรือช้างเอเชียในยุคปัจจุบัน เป็นไปได้ว่าช้างเอเชียอาจสืบสายพันธุ์หรือวิวัฒนาการมาจากสเตโกดอน นอกจากนี้แล้วสเตโกดอนยังถือว่าเป็นช้างที่มีลักษณะร่วมกันของช้างเอเชียกับมาสโตดอน ซึ่งเป็นช้างโบราณอีกสกุลหนึ่งที่สูญพันธุ์ไปแล้วเช่นกัน สเตโกดอน มีรูปร่างที่สูงใหญ่ บางตัวหรือบางชนิดอาจสูงถึง 4 เมตร มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับช้างในยุคปัจจุบัน กะโหลกมีขนาดใหญ่ ขากรรไกรสั้น ไม่มีงาล่าง ฟันกรามประกอบด้วยสันฟันแนวขวาง 6–13 สัน มีลักษณะเด่น คือ มีงาหนึ่งคู่ที่ยาวงอกออกมาจากมุมปากทั้งสองข้าง มีลักษณะชิดติดกัน ซึ่งในบางชนิดมีความยาวได้ถึง 3.3 เมตร งวงไม่สามารถแทรกลงตรงกลางงาได้ ต้องพาดไปไว้ข้างใดข้างหนึ่ง ซากดึกดำบรรพ์ของสเตโกดอนถูกค้นพบในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยค้นพบที่ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล โดยที่จังหวัดสตูลนั้น ถูกค้นพบในถ้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นถ้ำที่มีน้ำทะเลไหลผ่านพื้นถ้ำด้วยความยาวกว่า 4 กิโลเมตร เดิมชาวบ้านที่นี่เรียก "ถ้ำวังกล้วย" แต่ปัจจุบันได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ถ้ำเลสเตโกดอน" จากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดด้ว.

ใหม่!!: อันดับช้างและสเตโกดอน · ดูเพิ่มเติม »

อันดับไฮแรกซ์

อันดับไฮแรกซ์ (Hyraxes, Dassies "Hyracoidea" in Grzimek's Animal Life Encyclopedia, Vol.) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กอันดับหนึ่ง ที่เรียกชื่อสามัญว่า ไฮแรกซ์ หรือ ตัวไฮแรกซ์ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hyracoidea (/ไฮ-รา-คอย-เดีย/).

ใหม่!!: อันดับช้างและอันดับไฮแรกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับเทนเรค

อันดับเทนเรค เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Afrosoricida (มาจากภาษากรีก-ละติน หมายความว่า "ดูคล้ายหนูผีแอฟริกา") ซึ่งอันดับนี้เดิมเคยถูกรวมกับสัตว์อื่นที่มีความใกล้เคียงกัน คือ อันดับสัตว์กินแมลง (Insectivora) รูปร่างลักษณะของสัตว์ในอันดับนี้จะเหมือนกับสัตว์จำพวกอื่นที่เคยถูกจัดรวมเป็นอันดับสัตว์กินแมลงเหมือนกันในอดีต เช่น ตุ่น, หนูผี, เฮดจ์ฮอก หรือแม้แต่กระทั่งผสมกันระหว่างนาก ซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อ กับหนูผีก็มี ซึ่งจากการศึกษาด้านพันธุกรรมและดีเอ็นเอพบว่า สัตว์ในอันดับนี้มีการวิวัฒนาการที่แยกออกไป จึงได้ถูกจัดแยกออกมาเป็นอันดับต่างหาก ซึ่งการที่มีวิวัฒนาการเป็นของตัวเองแต่กลับมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับสัตว์ที่มีวิวัฒนาการที่แตกต่างออกไป การวิวัฒนาการเช่นนี้เรียกว่า "วิวัฒนาการแบบเข้าหากัน" พบกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา และเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นของเกาะมาดากัสการ์ ซึ่งบรรพบุรุษของสัตว์ในอันดับนี้ก็เดินทางมาจากแผ่นดินใหญ่เหมือนกับลีเมอร์หรือสัตว์อื่น ๆ ที่เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นของเกาะมาดากัสการ์เช่นเดียวกันMadagascar, "Mutant Planet" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต.

ใหม่!!: อันดับช้างและอันดับเทนเรค · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Proboscidea

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »