โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อัญประกาศ

ดัชนี อัญประกาศ

อัญประกาศ หรือ เครื่องหมายคำพูด เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากล ใช้เขียนสกัดข้างหน้าและข้างหลังของ อักษร คำ วลี หรือประโยค ที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ ให้ดูแตกต่างจากข้อความที่อยู่รอบข้าง ลักษณะคล้ายลูกน้ำแต่เขียนไว้ข้างบน (บางภาษาเขียนไว้ข้างล่างก็มี) มักเขียนเป็นคู่เรียกว่า อัญประกาศคู่ ข้างหน้าเขียนหัวคว่ำ ข้างหลังเขียนหัวหงาย (“ ”) หรือปรากฏเป็น อัญประกาศเดี่ยว (‘ ’) บางครั้งอาจพบการใช้ขีดตั้งเล็ก ๆ เพื่อความสะดวก (" " หรือ ' ').

11 ความสัมพันธ์: บุพสัญญาการจัดการสายอักขระในภาษาซีการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ภาษาซีรหัสมอร์สส่วนย่อยเอชทีเอ็มแอลอะพอสทรอฟีอักษรไทยอัญพจน์นขลิขิตʻOkina

บุพสัญญา

ัญญา (”) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายอัญประกาศคู่แต่มีด้านปิดเพียงด้านเดียว หรือคล้ายรูปสระ ฟันหนู (") ใช้สำหรับเขียนแทนคำหรือประโยคที่อยู่ในบรรทัดบนหรือเหนือขึ้นไปในตำแหน่งกึ่งกลาง เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเขียนซ้ำอีก สามารถใช้ขีดกลางยาวประกอบเครื่องหมาย (เช่น) เพื่อกำหนดขอบเขตของการกล่าวซ้ำโดยสังเขป และอาจพบเครื่องหมายบุพสัญญามากกว่าหนึ่งตัวในการซ้ำครั้งเดียวกัน (เช่น) เวลาอ่านต้องอ่านคำเต็ม บทนิพนธ์หลายชนิดอาทิวิทยานิพนธ์ ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องหมายนี้ปรากฏในเนื้อหาเพื่อละข้อความ แต่ให้ใช้คำเต็มแทน ภาษาญี่ปุ่นก็มีการใช้บุพสัญญา มีปรากฏในรหัสยูนิโคด U+3003 ดังนี้ 〃 มีชื่อเรียกว่า ditto mark หรือ โนะโนะจิเท็น (ノノ字点) รูปร่างคล้ายกับของภาษาไทยแต่เขียนอยู่ในระดับเดียวกับบรรทัด ภาษาอื่นที่นอกเหนือจากนี้ไม่มีการใช้บุพสัญญา แต่อาจพบการใช้ขีดกลางยาว (em dash) หรือคำว่า Ibid. และ Id. แทนในบรรณานุกรม.

ใหม่!!: อัญประกาศและบุพสัญญา · ดูเพิ่มเติม »

การจัดการสายอักขระในภาษาซี

การจัดการสายอักขระในภาษาซี หมายถึงการดำเนินการกับสายอักขระในภาษาซี ซึ่งไลบรารีมาตรฐานภาษาซีได้มีกลุ่มฟังก์ชันเพื่อดำเนินการกับสายอักขระแบบพื้นฐานอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น การคัดลอกสายอักขระ การต่อสายอักขระ การตัดคำ และการค้นหา ในภาษาซี ค่าคงที่สายอักขระที่ปิดด้วยอัญประกาศจะถูกแปลงให้เป็นสายอักขระที่จบด้วยอักขระว่างโดยอัตโนมัติ และเก็บไว้ในหน่วยความจำส่วนที่ไม่เปลี่ยนแปลง (static memory) การดำเนินการกับสายอักขระที่จบด้วยอักขระว่างไม่ว่าสายอักขระนั้นจะเป็นค่าคงที่หรือไม่ก็ตาม สามารถดำเนินการผ่านฟังก์ชันที่นิยามมาให้แล้วในไลบรารีมาตรฐานของภาษาซี ฟังก์ชันเหล่านี้มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายจนแทบจะเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของนิยามในภาษาซีไปแล้ว.

ใหม่!!: อัญประกาศและการจัดการสายอักขระในภาษาซี · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: อัญประกาศและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซี

ษาซี (C) เป็นภาษาโปรแกรมสำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไป เริ่มพัฒนาขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2512-2516 (ค.ศ. 1969-1973) โดยเดนนิส ริชชี่ (Denis Retchie) ที่เอทีแอนด์ทีเบลล์แล็บส์ (AT&T Bell Labs) ภาษาซีเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นในการเขียนโปรแกรมและมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างและอนุญาตให้มีขอบข่ายตัวแปร (scope) และการเรียกซ้ำ (recursion) ในขณะที่ระบบชนิดตัวแปรอพลวัตก็ช่วยป้องกันการดำเนินการที่ไม่ตั้งใจหลายอย่าง เหมือนกับภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่งส่วนใหญ่ในแบบแผนของภาษาอัลกอล การออกแบบของภาษาซีมีคอนสตรักต์ (construct) ที่โยงกับชุดคำสั่งเครื่องทั่วไปได้อย่างพอเพียง จึงทำให้ยังมีการใช้ในโปรแกรมประยุกต์ซึ่งแต่ก่อนลงรหัสเป็นภาษาแอสเซมบลี คือซอฟต์แวร์ระบบอันโดดเด่นอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ยูนิกซ์ ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดตลอดกาล และตัวแปลโปรแกรมของภาษาซีมีให้ใช้งานได้สำหรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นส่วนมาก ภาษาหลายภาษาในยุคหลังได้หยิบยืมภาษาซีไปใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างเช่น ภาษาดี ภาษาโก ภาษารัสต์ ภาษาจาวา จาวาสคริปต์ ภาษาลิมโบ ภาษาแอลพีซี ภาษาซีชาร์ป ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี ภาษาเพิร์ล ภาษาพีเอชพี ภาษาไพทอน ภาษาเวอริล็อก (ภาษาพรรณนาฮาร์ดแวร์) และซีเชลล์ของยูนิกซ์ ภาษาเหล่านี้ได้ดึงโครงสร้างการควบคุมและคุณลักษณะพื้นฐานอื่น ๆ มาจากภาษาซี ส่วนใหญ่มีวากยสัมพันธ์คล้ายคลึงกับภาษาซีเป็นอย่างมากโดยรวม (ยกเว้นภาษาไพทอนที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง) และตั้งใจที่จะผสานนิพจน์และข้อความสั่งที่จำแนกได้ของวากยสัมพันธ์ของภาษาซี ด้วยระบบชนิดตัวแปร ตัวแบบข้อมูล และอรรถศาสตร์ที่อาจแตกต่างกันโดยมูลฐาน ภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีเดิมเกิดขึ้นในฐานะตัวแปลโปรแกรมที่สร้างรหัสภาษาซี ปัจจุบันภาษาซีพลัสพลัสแทบจะเป็นเซตใหญ่ของภาษาซี ในขณะที่ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีก็เป็นเซตใหญ่อันเคร่งครัดของภาษาซี ก่อนที่จะมีมาตรฐานภาษาซีอย่างเป็นทางการ ผู้ใช้และผู้พัฒนาต่างก็เชื่อถือในข้อกำหนดอย่างไม่เป็นทางการในหนังสือที่เขียนโดยเดนนิส ริตชี และไบรอัน เคอร์นิกัน (Brian Kernighan) ภาษาซีรุ่นนั้นจึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า ภาษาเคแอนด์อาร์ซี (K&R C) ต่อม..

ใหม่!!: อัญประกาศและภาษาซี · ดูเพิ่มเติม »

รหัสมอร์ส

แผนผังอักษรและตัวเลขรหัสมอร์ส รหัสมอร์ส (Morse code) เป็นวิธีการส่งผ่านสารสนเทศข้อความเป็นชุดสัญญาณเสียง ไฟหรือเสียงเคาะ (click) เปิด-ปิดซึ่งผู้ฟังหรือผู้สังเกตที่มีทักษะสามารถเข้าใจได้โดยตรงโดยไม่มีอุปกรณ์พิเศษ รหัสมอร์สระหว่างประเทศเข้ารหัสพยัญชนะละตินพื้นฐานของไอเอสโอ อักษรละตินเพิ่มอีกบ้าง ตัวเลขอารบิกกระบวนคำสั่งเป็นลำดับสัญญาณสั้นและยาวซึ่งจัดทำไว้เป็นมาตรฐาน เรียก "ดอต" และ "แดช" มีการขยายพยัญชนะมอร์สสำหรับภาษาธรรมชาตินอกเหนือจากภาษาอังกฤษ เพราะหลายภาษาดังกล่าวใช้มากกว่าอักษรโรมัน 26 ตัว.

ใหม่!!: อัญประกาศและรหัสมอร์ส · ดูเพิ่มเติม »

ส่วนย่อยเอชทีเอ็มแอล

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: อัญประกาศและส่วนย่อยเอชทีเอ็มแอล · ดูเพิ่มเติม »

อะพอสทรอฟี

อะพอสทรอฟี (') (apostrophe; ἡ ἀπόστροφος, hē apóstrophos) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากลอย่างหนึ่ง มีลักษณะเป็นขีดตั้งเล็ก ๆ เขียนอยู่เหนือและถัดจากอักษร หรือปรากฏคล้ายอัญประกาศเดี่ยว (ดูภาพทางขวา) ใช้มากในภาษาที่ใช้อักษรละติน แต่ไม่มีใช้ในภาษาไทย และบางครั้งก็ใช้เป็นเครื่องหมายเสริมสัทอักษร.

ใหม่!!: อัญประกาศและอะพอสทรอฟี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทย

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: อัญประกาศและอักษรไทย · ดูเพิ่มเติม »

อัญพจน์

อัญพจน์ (quotation) เป็นการกล่าวซ้ำซึ่งนิพจน์หนึ่งว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีกนิพจน์หนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิพจน์ที่คัดมาเป็นที่รู้จักดีหรือมีการแสดงที่มาชัดแจ้งโดยการอ้างอิงไปต้นทางต้นฉบับ และมีการระบุโดยเครื่องหมายอัญประกาศ อัญพจน์ยังสามารถหมายถึงการใช้หน่วยซ้ำ ๆ ของนิพจน์แบบอื่นทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนใดส่วนหนึ่งของงานศิลปะ ได้แก่ ส่วนย่อยของจิตรกรรม ฉากจากภาพยนตร์หรือส่วนหนึ่งของงานประพันธ์ดนตรี หมวดหมู่:การสื่อสาร.

ใหม่!!: อัญประกาศและอัญพจน์ · ดูเพิ่มเติม »

นขลิขิต

นขลิขิต หรือ วงเล็บ เป็นเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่ง มีลักษณะโค้งเหมือนรอยเล็บ เครื่องหมายด้านซ้ายเรียกว่า วงเล็บเปิด ส่วนด้านขวาเรียกว่า วงเล็บปิด (สำหรับภาษาที่เขียนจากขวาไปซ้ายก็จะเรียกกลับกัน) ปกติใช้สำหรับคลุมข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น.

ใหม่!!: อัญประกาศและนขลิขิต · ดูเพิ่มเติม »

ʻOkina

อกีนา (okina) เป็นอักษรพยัญชนะตัวหนึ่งในชุดตัวเขียนละติน ใช้เขียนแทนเสียงกักที่เส้นเสียงที่ปรากฏในภาษากลุ่มโพลินีเซียหลายภาษา ซึ่งมีการเรียกชื่อโอกีนาแตกต่างกันออกไป.

ใหม่!!: อัญประกาศและʻOkina · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

"อัญประกาศคู่อัญประกาศเดี่ยวเครื่องหมายคำพูด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »