สารบัญ
11 ความสัมพันธ์: พระสันตะปาปามหาวิหารเอกมาระโกผู้นิพนธ์พระวรสารอะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรียอัครบิดรอัครบิดรแห่งแอนติออกอัครบิดรแห่งเยรูซาเลมอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ซิริลแห่งอะเล็กซานเดรียนักปราชญ์แห่งคริสตจักรเขตอัครบิดร
พระสันตะปาปา
หลุมฝังพระศพพระสันตะปาปาในมหาวิหารนักบุญเปโตร พระสันตะปาปา (Santo Papa; Pope) หมายถึง มุขนายกแห่งคริสตจักรกรุงโรม (Bishop of the Church of Rome) และผู้นำคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก คริสตจักรนี้ถือว่าพระสันตะปาปาเป็นผู้สืบตำแหน่งจากนักบุญซีโมนเปโตรอัครทูตของพระเยซู สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเป็นพระสันตะปาปาพระองค์ปัจจุบันตามการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปาในวันที่ 13 มีนาคม..
ดู อัครบิดรแห่งอะเล็กซานเดรียและพระสันตะปาปา
มหาวิหารเอก
มหาวิหารเอก (Basilica maior) คือมหาวิหารชั้นสูงสุดในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ซึ่งมีอยู่ 4 แห่งคือ มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน มหาวิหารนักบุญเปาโลนอกกำแพง มหาวิหารซันตามาเรียมัจโจเร ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี และมหาวิหารนักบุญเปโตรในนครรัฐวาติกัน มหาวิหารใด ๆ นอกจาก 4 แห่งข้างต้นนี้ถือว่าเป็นมหาวิหารรอง (Basilica minor).
ดู อัครบิดรแห่งอะเล็กซานเดรียและมหาวิหารเอก
มาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร
มาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร (Mark the Evangelist; מרקוס; Μάρκος) เป็นหนึ่งในผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน อีกสามท่านได้แก่มัทธิว ยอห์น และลูกา เชื่อกันว่าเป็นผู้ประพันธ์พระวรสารนักบุญมาระโกซึ่งเป็นเอกสารส่วนหนึ่งของพันธสัญญาใหม่และเป็นเพื่อนกับซีโมนเปโตร นักบุญมาระโกได้ร่วมเดินทางกับเปาโลและบารนาบัสเมื่อนักบุญเปาโลเริ่มเดินทางไปเผยแพร่ศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากที่มีข้อขัดแย้งกัน บารนาบัสก็แยกตัวจากเปาโลโดยเอามาระโกไปไซปรัสด้วย (กิจการของอัครทูต 15:36-40) การแยกตัวครั้งนี้ทำให้เกิดพระวรสารนักบุญมาระโกขึ้น ต่อมาเปาโลเรียกตัวมาระโกกลับมา ฉะนั้นมาระโกจึงกลับมาเป็นผู้ติดตามเปาโลอีกครั้ง คริสตจักรคอปติกออร์ทอดอกซ์ถือว่ามาระโกเป็นผู้วางรากฐานคริสต์ศาสนาในทวีปแอฟริกา เป็นคนแรกที่ดำรงตำแหน่งบิชอปแห่งอะเล็กซานเดรีย เช่นเดียวกับผู้นิพนธ์พระวรสารอีกสามองค์นักบุญมาระโกมักจะปรากฏในภาพเขียนทางคริสต์ศาสนาใช้สัญลักษณ์สิงโต ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ตามหนังสือดาเนียลบทที่ 7 (Book of Daniel).
ดู อัครบิดรแห่งอะเล็กซานเดรียและมาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร
อะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรีย
นักบุญอะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรีย (Ἀθανάσιος Ἀλεξανδρείας; Athanasius of Alexandria) บาทหลวงชาวโรมันแอฟริกัน ดำรงตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่งอะเล็กซานเดรียตั้งแต..
ดู อัครบิดรแห่งอะเล็กซานเดรียและอะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรีย
อัครบิดร
อัครบิดรคีริลล์แห่งมอสโก อัครบิดรแห่งมอสโกและรัสทั้งปวง องค์ปัจจุบัน (ขวา) และ อัครบิดรสากลบาร์โธโลมิวที่ 1''' อัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลองค์ปัจจุบัน (ซ้าย) อัครบิดรราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 375-6 (patriarch) ชาวออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระสังฆราช และ ชาวโปรเตสแตนต์ในประเทศไทยเรียกว่าอัครปิตา ส่วนชาวโรมันคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าพระอัยกา ถือเป็นตำแหน่งมุขนายกชั้นสูงสุดในคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และอื่นๆ เช่นออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ โรมันคาทอลิก และอัสซีเรียนแห่งตะวันออก แต่เดิมคัมภีร์ไบเบิลช้คำนี้เพื่อหมายถึง อับราฮัม อิสอัค และยาโคบ ผู้เป็นปฐมบรรพบุรุษของวงศ์วานอิสราเอล และเรียกยุคที่ทั้งสามคนนี้มีชีวิตอยู่ว่ายุคอัครบิดร.
ดู อัครบิดรแห่งอะเล็กซานเดรียและอัครบิดร
อัครบิดรแห่งแอนติออก
อัครบิดรแห่งแอนติออก (Patriarch of Antioch) คือประมุขฝ่ายคริสตจักรประจำนครแอนติออก นับเป็นตำแหน่งอัครบิดรสำคัญ 1 ใน 5 ตำแหน่งตามหลักเบญจาธิปไตยของคริสตจักร (อีก 4 ตำแหน่ง ได้แก่ โรม คอนสแตนติโนเปิล อะเล็กซานเดรีย และเยรูซาเลม ตามลำดับ) เชื่อว่าเป็นตำแหน่งที่สืบมาจากนักบุญซีโมนเปโตร.
ดู อัครบิดรแห่งอะเล็กซานเดรียและอัครบิดรแห่งแอนติออก
อัครบิดรแห่งเยรูซาเลม
อัครบิดรแห่งเยรูซาเลม (Patriarch of Jerusalem) คือประมุขฝ่ายคริสตจักรประจำกรุงเยรูซาเลม นับเป็นตำแหน่งอัครบิดรสำคัญ 1 ใน 5 ตำแหน่งตามหลักเบญจาธิปไตยของคริสตจักร (อีก 4 ตำแหน่ง ได้แก่ โรม คอนสแตนติโนเปิล อะเล็กซานเดรีย และแอนติออก ตามลำดับ) เชื่อว่าเป็นตำแหน่งที่สืบมาจากนักบุญยากอบผู้ชอบธรรม.
ดู อัครบิดรแห่งอะเล็กซานเดรียและอัครบิดรแห่งเยรูซาเลม
อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
อาสนวิหารพระโลหิตของพระผู้ช่วยให้รอด เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ (Eastern Orthodox Church) เรียกโดยย่อว่าคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ (The Orthodox Church) หรือคริสตจักรไบแซนไทน์ (The Byzantine Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่เป็นอันดับสองในโลก คริสตจักรนี้ปฏิบัติตามหลักการทางเทววิทยาอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่สมัยศาสนาคริสต์ยุคแรก ศาสนจักรนี้เชื่อว่าคริสตจักรออร์โธด็อกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริงเพียงหนึ่งเดียวที่ก่อตั้งโดยพระผู้เป็นเจ้า โดยสืบเนื่องมาจากอัครทูตของพระเยซูคริสต์ ออร์ทอดอกซ์ (Orthodox) หมายความว่า หลักคำสอนที่ถูกต้อง ซึ่งมาจากภาษากรีกคือ orthos แปลว่าถูกต้อง และ doxa แปลว่าคำสอน เมื่อในช่วงศาสนาคริสต์ยุคแรก ได้มีการเผยแพร่หลักคำสอนที่ผิด ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดเพี้ยนของศาสนาจักร ซึ่งทางศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ จึงได้เรียกตนเองว่าออร์ทอดอกซ์ เพื่อความเป็นศาสนจักรดั้งเดิม และต่อต้านหลักคำสอนนอกรีต อาจจะทำให้เกิดความแตกแยก ชาวออร์โธดอกซ์ถือว่าศาสนจักรออร์โธดอกซ์เป็นคริสตจักรแท้จริง ดั้งเดิม ศักดิ์สิทธิ์ สากล มีหลักคำสอนที่แท้จริงและดั้งเดิม มาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกโดยไม่เคยเปลี่ยนหลักคำสอนใดๆ คริสตจักรออร์ทอดอกซ์แบ่งเป็นคริสตจักรย่อย ๆ แต่ละคริสตจักรมีอัครบิดร (หรือชาวอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ในประเทศไทยเรียกว่า พระสังฆราช) เป็นประมุข ผู้มีหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ประเพณีของศาสนจักร และสามารถสืบสายกลับไปได้ถึงอัครทูตของพระเยซูโดยเฉพาะนักบุญอันดรูว์ คริสตจักรในกลุ่มอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์มักจะไม่เรียกตนเองว่า “อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์” แต่จะใช้ชื่อเฉพาะของกลุ่มที่บอกที่ตั้งของกลุ่มเช่น “คริสตจักรรัสเซียนออร์ทอดอกซ์” หรือ “คริสตจักรกรีกออร์ทอดอกซ์” "คริสตจักรเซอเบียร์ออร์ทอดอกซ์ หรือชาติอื่น ๆ คริสตจักรยุโรปตะวันออก เอเชียตะวันตก และทวีปแอฟริกาเหนือก็ใช้คำว่า “ออร์ทอดอกซ์” แต่ทางปฏิบัติจะแตกต่างกับ อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และจะเรียกตัวเองว่า ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ.
ดู อัครบิดรแห่งอะเล็กซานเดรียและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
ซิริลแห่งอะเล็กซานเดรีย
นักบุญซิริลแห่งอะเล็กซานเดรีย (Cyril of Alexandriaˈ) บาทหลวงชาวอียิปต์ ได้รับแต่งตั้งเป็นบิชอปแห่งอะเล็กซานเดรีย และได้รับยกย่องเป็นนักปราชญ์แห่งคริสตจักรภายหลังถึงแก่มรณกรรม ท่านเป็นนักเทววิทยาที่โดดเด่น จนมีบทบาทสำคัญในการสังคายนาเอเฟซัสครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ.
ดู อัครบิดรแห่งอะเล็กซานเดรียและซิริลแห่งอะเล็กซานเดรีย
นักปราชญ์แห่งคริสตจักร
นักบุญอีซีโดโรแห่งเซบียา กับหนังสือซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่นิยมกันในการแสดงรูปของนักปราชญ์แห่งคริสตจักร นักปราชญ์แห่งคริสตจักร (Doctor of the Church; Doctor Ecclesiae) (คำว่า “docere” หรือ “doctor” ในภาษาละตินหมายถึง “สอน”) เป็นตำแหน่งที่คริสตจักรแต่งตั้งให้ผู้ที่มีความสำคัญด้านคำสอนหรือเทววิทยาศาสนาคริสต์เป็นพิเศษ.
ดู อัครบิดรแห่งอะเล็กซานเดรียและนักปราชญ์แห่งคริสตจักร
เขตอัครบิดร
ตอัครบิดรราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 375-6 (Patriarchate) เป็นเขตอำนาจการปกครองของอัครบิดร อัครบิดรในศาสนาคริสต์ ได้แก.