โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อะพอสทรอฟี

ดัชนี อะพอสทรอฟี

อะพอสทรอฟี (') (apostrophe; ἡ ἀπόστροφος, hē apóstrophos) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากลอย่างหนึ่ง มีลักษณะเป็นขีดตั้งเล็ก ๆ เขียนอยู่เหนือและถัดจากอักษร หรือปรากฏคล้ายอัญประกาศเดี่ยว (ดูภาพทางขวา) ใช้มากในภาษาที่ใช้อักษรละติน แต่ไม่มีใช้ในภาษาไทย และบางครั้งก็ใช้เป็นเครื่องหมายเสริมสัทอักษร.

8 ความสัมพันธ์: พินอินกินทามะมาดามทุซโซต์อักษรเบรลล์ภาษาแอลเบเนียอักขรวิธีเกรฟแอกเซนต์ʻOkinaTIS-620

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

ใหม่!!: อะพอสทรอฟีและพินอิน · ดูเพิ่มเติม »

กินทามะ

กินทามะ เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น เขียนโดย ฮิเดะอะกิ โซะระชิ เริ่มลงตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ ของสำนักพิมพ์ชูเอฉะ ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และลงตีพิมพ์อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ได้รับการจัดพิมพ์รวมเล่มเป็นหนังสือการ์ตูนมาแล้ว 72 เล่ม เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับซากาตะ กินโทกิ อดีตซามูไรที่ทำอาชีพรับจ้างอิสระพร้อมด้วยชิมูระ ชินปาจิและคางุระ เพื่อหาเงินมาเลี้ยงชีพในยุคที่ซามูไรตกต่ำเนื่องจากการรุกรานของมนุษย์ต่างดาว เนื้อเรื่องเป็นการผสมผสานระหว่างแนวย้อนยุคและแนววิทยาศาสตร์ ลักษณะแนวเรื่องเป็นแนวตลกและต่อสู้ ออริจินอลวิดีโอแอนิเมชัน (โอวีเอ) ของการ์ตูนกินทามะ ผลิตโดยบริษัทซันไรส์ ได้รับการฉายในงานจัมป์เฟสต้า 2006 อะนิเมะทัวร์ ในปี พ.ศ. 2548 หลังจากนั้นบริษัทซันไรส์ได้นำการ์ตูนกินทามะมาจัดทำเป็นภาพยนตร์การ์ตูนฉายทางช่องทีวีโตเกียว ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553 รวมจำนวนตอนทั้งสิ้น 201 ตอน และได้มีการออกอากาศภาคต่อของภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะ โดยใช้ชื่อว่า กินทามะ' (มีเครื่องหมายอะพอสทรอฟีปรากฏหลังคำว่า กินทามะ) ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554 จนถึงวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555 และออกอากาศอีกครั้งพร้อมกับออกอากาศตอนเก่าโดยใช้ชื่อว่า กินทามะ ภาคล่วงเวลา ฉายระหว่างวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556 ในปี พ.ศ. 2558 ได้มีการออกกากาศภาคต่ออีกครั้งโดยใช้ชื่อว่า กินทามะ° ผลิตโดยบันไดนัมโคพิกเจอส์ เรี่มออกอากาศตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559 ในญี่ปุ่น กินทามะเป็นการ์ตูนที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ติดอันดับใน 10 อันดับแรกของการ์ตูนที่มียอดขายสูงสุด กระแสตอบรับของการ์ตูนกินทามะมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ด้านบวกคือความชื่นชอบเนื้อหาที่ตลกขบขันและมีเนื้อเรื่องที่สนุกตื่นเต้น ส่วนกระแสด้านลบคือด้านลายเส้นของการ์ตูน นอกจากหนังสือและภาพยนตร์การ์ตูนแล้ว ปัจจุบัน กินทามะยังออกมาในรูปของสื่ออื่น ได้แก่ ไลท์โนเวล และวิดีโอเกมส์อีกด้วย รวมถึงถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์จอเงินมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกคือภาพยนตร์ กินทามะ เดอะมูฟวี่ กำเนิดใหม่ดาบเบนิซากุระ ซึ่งได้ออกฉายที่ประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553 ครั้งที่สองคือภาพยนตร์ กินทามะ เดอะมูฟวี่ บทสุดท้าย: กู้กาลเวลาฝ่าวิกฤตพิชิตอนาคต ซึ่งได้ออกฉายที่ประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ในประเทศไทย กินทามะได้รับลิขสิทธิ์หนังสือการ์ตูนโดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ ตีพิมพ์รายสัปดาห์ในนิตยสารการ์ตูนซีคิดส์ เอ๊กซ์เพรส และตีพิมพ์เป็นหนังสือการ์ตูนรวมเล่มมาแล้ว 66 เล่ม ส่วนภาพยนตร์การ์ตูน ได้รับลิขสิทธิ์โดยบริษัท ทีไอจีเอ (ปี 1), บริษัท ไรท์บียอนด์ (ปี 2, 3, 4), และบริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ (ปี 5, 6) ภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะออกอากาศทางโทรทัศน์ครั้งแรกในประเทศไทยทางช่องช่องทรู สปาร์ก และยังเคยมีการออกอากาศทางการ์ตูนคลับแชนแนลในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553, ช่อง 6, ช่อง จีเอ็มเอ็มวัน,ช่อง จีเอ็มเอ็มแชนเนล และช่องแก๊งการ์ตูนแชนแนล สำหรับภาพยนตร์ กินทามะ เดอะมูฟวี่ กำเนิดใหม่ดาบเบนิซากุระ และภาพยนตร์ กินทามะ เดอะมูฟวี่ บทสุดท้าย: กู้กาลเวลาฝ่าวิกฤตพิชิตอนาคต ได้มีการซื้อลิขสิทธิ์เพื่อการวางจำหน่ายประเทศไทยโดยบริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท.

ใหม่!!: อะพอสทรอฟีและกินทามะ · ดูเพิ่มเติม »

มาดามทุซโซต์

ัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุซโซต์ ลอนดอน พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุซโซต์ (postscript: "Madame Tussaud (who gave the attraction its now-jettisoned apostrophe)...") เป็นพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งที่ก่อตั้งโดยนางมารี ทุซโซต์ (1 ธันวาคม ค.ศ. 1761 – 16 เมษายน ค.ศ. 1850) ช่างปั้นหุ่นขี้ผึ้งชาวฝรั่งเศส มีสาขาแรกตั้งอยู่ที่ถนนเบเกอร์ กรุงลอนดอน ตั้งขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: อะพอสทรอฟีและมาดามทุซโซต์ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเบรลล์ภาษาแอลเบเนีย

อักษรเบรลล์ภาษาแอลเบเนีย เป็นตัวอักษรเบรลล์ของภาษาแอลเบเนี.

ใหม่!!: อะพอสทรอฟีและอักษรเบรลล์ภาษาแอลเบเนีย · ดูเพิ่มเติม »

อักขรวิธี

อักขรวิธี หมายถึงวิธีการเขียนและการใช้ระบบการเขียนของภาษาหนึ่งๆ ให้ถูกต้อง (ซึ่งภาษาหนึ่งๆ อาจมีระบบการเขียนมากกว่าหนึ่งแบบก็ได้ เช่นภาษาเคิร์ด) อักขรวิธีเป็นสิ่งที่นิยามหรืออธิบายถึงกลุ่มของสัญลักษณ์ที่ใช้ (คืออักษรหรือเครื่องหมายเสริมอักษรเป็นต้น) และกฎเกณฑ์ที่ว่าจะเรียบเรียงสัญลักษณ์เหล่านั้นอย่างไร กฎเกณฑ์เหล่านั้นอาจมีเรื่องของเครื่องหมายวรรคตอน การสะกดคำ และการขึ้นต้นอักษรตัวใหญ่เข้ามาประกอบด้วย ซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละภาษา บุคคลทั่วไปมักเข้าใจว่าอักขรวิธีเป็นเรื่องของการสะกดคำเพียงอย่างเดียว ความจริงคือการสะกดคำเป็นส่วนหนึ่งของอักขรวิธีเท่านั้น.

ใหม่!!: อะพอสทรอฟีและอักขรวิธี · ดูเพิ่มเติม »

เกรฟแอกเซนต์

กรฟแอกเซนต์ (grave accent) เรียกย่อว่า เกรฟ (grave) เป็นเครื่องหมายเสริมสัทอักษรชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นขีดเล็ก ๆ เฉียงลงขวาอยู่เหนืออักษร (`) ใช้เขียนกำกับอักษรละตินเพื่อใช้ในภาษาต่าง ๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี ภาษาดัตช์ ภาษาโปรตุเกส ภาษานอร์เวย์ ภาษาเวียดนาม ฯลฯ กำกับอักษรกรีกในภาษากรีก (ใช้จนถึง ค.ศ. 1982) หรือใช้กำกับอักษรอื่น ๆ ด้วยจุดประสงค์ที่แตกต่างกันไป ทั้งการเปลี่ยนระดับเสียง การแปรเสียง การเน้นเสียง หรือการแยกแยะคำ เป็นต้น คำว่า grave มาจากภาษาละติน gravis แปลว่า หนัก ในภาษาอังกฤษมีการอ่านว่า กราฟ เพิ่มเข้ามาเพื่อให้แตกต่างจากคำว่า grave เกรฟ ที่แปลว่า ร้ายแรง หรือหลุมศพ ซึ่งเลียนแบบมาจากภาษาฝรั่งเศส accent grave อักซอง กราฟ แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์มีแป้นเกรฟอยู่บริเวณมุมบนซ้ายของผัง บางภูมิภาคใช้ร่วมกับแป้นตาย (dead key) เพื่อประสมกับอักษร บางภูมิภาคใช้เพื่อสลับภาษาป้อนเข้า (คนไทยเรียก "ปุ่มตัวหนอน" ซึ่งเป็นปุ่มเดียวกับทิลเดอ) วงการโปรแกรมเมอร์เรียกเครื่องหมายนี้ว่า แบ็กโควต (back quote) หรือแบ็กทิก (backtick) ในยูนิโคดมีทั้งรูปแบบเดี่ยว (U+0060 `) และตัวผสาน (U+0300 ◌̀).

ใหม่!!: อะพอสทรอฟีและเกรฟแอกเซนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ʻOkina

อกีนา (okina) เป็นอักษรพยัญชนะตัวหนึ่งในชุดตัวเขียนละติน ใช้เขียนแทนเสียงกักที่เส้นเสียงที่ปรากฏในภาษากลุ่มโพลินีเซียหลายภาษา ซึ่งมีการเรียกชื่อโอกีนาแตกต่างกันออกไป.

ใหม่!!: อะพอสทรอฟีและʻOkina · ดูเพิ่มเติม »

TIS-620

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 620-2533, มอก.620-2533, หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า TIS-620 เป็นชุดอักขระมาตรฐานอุตสาหกรรมของไทย มีชื่อเต็มว่า รหัสสำหรับอักขระไทยที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ รหัส TIS-620 มีรายละเอียดคล้ายรหัส ISO-8859-11 มาก แตกต่างกันแค่เพียงที่ ISO-8859-11 กำหนดให้ A0 เป็น "เว้นวรรคแบบไม่ตัดคำ" (no-break space) ส่วน TIS-620 นั้นแม้จะสงวนตำแหน่ง A0 เอาไว้ แต่ก็ไม่ได้กำหนดค่าใด ๆ ให้ TIS-620 x0x1x2x3x4x5x6x7x8x9xAxBxCxDxExF 0xไม่ได้ใช้ 1x 2xSP!"#$%&'()*+,-./ 3x0123456789:;<.

ใหม่!!: อะพอสทรอฟีและTIS-620 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

'Apostrophe

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »