โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หลักสูตร

ดัชนี หลักสูตร

หลักสูตร (curriculum (เอกพจน์) หรือ curricula (พหูพจน์)) เป็นคำที่เกิดขึ้นมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเริ่มใช้คำนี้อย่างแพร่หลายในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยในตำราเรียนเล่มแรกที่เขียนอธิบายเกี่ยวกับหลักสูตรของจอห์น แฟรงคลิน บอบบิทในปี..

10 ความสัมพันธ์: กลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยการศึกษาการศึกษาในประเทศไทยกิจกรรมนอกหลักสูตรมนุษยศาสตร์รายการสาขาวิชาถ้วยมิกกีเมาส์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลโฮลลิส แคสเวลเทคโนโลยีอาหาร

กลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย

รงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เป็นกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นจากวัตถุประสงค์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สัมพันธ์ ทองสมัคร เพื่อสนองพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ที่ทรงมุ่งมั่นจะส่งเสริมคุณภาพชีวิต ในด้านความเป็นอยู่และการศึกษาของเยาวชน ปัจจุบันเป็นโรงเรียนที่อยู่ในแผนและยุทธศาสตร์ สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ โดยจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนส่งเสริมให้เด็กคิดเป็น และกล้าลงมือทำ โดยโรงเรียนจะสนับสนุนทั้งด้านอุปกรณ์การเรียนการสอน อุปกรณ์ในห้องทดลองที่มีครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการของเด็ก ในการศึกษาคนคว้าส่งที่ตนเองสนใจได้เอง โดยมีอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถ คอยให้คำปรึกษาและสนับสนุนให้เด็กแสดงศักยภาพของตนได้อย่างเต็มที.

ใหม่!!: หลักสูตรและกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

การศึกษา

การศึกษา ในความหมายทั่วไปอย่างกว้างที่สุด เป็นวิธีการส่งผ่านจุดมุ่งหมายและธรรมเนียมประเพณีให้ดำรงอยู่จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง โดยทั่วไป การศึกษาเกิดขึ้นผ่านประสบการณ์ใด ๆ ซึ่งมีผลกระทบเชิงพัฒนาต่อวิธีที่คนคนหนึ่งจะคิด รู้สึกหรือกระทำ แต่ในความหมายเทคนิคอย่างแคบ การศึกษาเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการซึ่งสังคมส่งผ่านความรู้ ทักษะ จารีตประเพณีและค่านิยมที่สั่งสมมาจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง นั่นคือ การสอนในสถานศึกษา สำหรับปัจจุบันนี้มีการแบ่งระดับชั้นทางการศึกษาออกเป็นขั้นๆ เช่น การศึกษาปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ทั้งนี้รวมไปถึงระดับอาชีวศึกษา อุดมศึกษา และการฝึกงาน สำหรับประเทศไทย มีกฎหมายบังคับให้ประชาชนไทยทุกคนต้องจบการศึกษาภาคบังคับ และสามารถเรียนได้จนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ในปัจจุบันยังเปิดโอกาสให้มีการเรียนการสอนโดยผู้ปกครองที่บ้านหรือที่เรียกว่าโฮมสคูลอีกด้วย คำว่า "education" เป็นศัพท์จากภาษาลาติน ēducātiō ("การปรับปรุง,การอบรม") จาก ēdūcō ("ฉันรู้, ฉันฝึก") สำหรับการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาต..

ใหม่!!: หลักสูตรและการศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

การศึกษาในประเทศไทย

การศึกษาในประเทศไทย เป็นการศึกษาที่จัดโดยกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทย โดยภาครัฐจะเข้ามาดูแลโดยตรงและเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วมในการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา สำหรับการศึกษาภาคบังคับในประเทศไทยนั้นได้กำหนดให้พลเมืองไทยต้องจบการศึกษาอย่างน้อยที่สุดในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และต้องเข้ารับการศึกษาอย่างช้าสุดเมื่ออายุ 7 ปี ซึ่งการศึกษาภาคบังคับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งแบ่งออกเป็นระดับชั้นประถมศึกษา 6 ปีและมัธยมศึกษา 6 ปี นอกจากนี้แล้วการศึกษาขั้นพื้นฐานยังรวมถึงการศึกษาปฐมวัยอีกด้วย ทั้งนี้รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ส่วนการบริหารและการควบคุมการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจะดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ซึ่งเป็นแผนกหนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการ ในปัจจุบันการศึกษาในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อย่างไรก็ตามการจัดการศึกษาของประเทศไทยนั้นถูกมองว่าล้าหลังและล้มเหลวเสมอมา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยเมื่อเดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: หลักสูตรและการศึกษาในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

กิจกรรมนอกหลักสูตร

กิจกรรมนอกหลักสูตร (Extracurricular activities) คือ กิจกรรมที่นักเรียนนักศึกษาปฏิบัตินอกเหนือจากขอบเขตของหลักสูตรปกติของการศึกษาในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย กิจกรรมนอกหลักสูตรมีอยู่ในทุกระดับชั้นการศึกษา ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา ไปจนถึงวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย กิจกรรมนอกหลักสูตร โดยทั่วไปมักเป็นไปโดยความสมัครใจมากกว่าถูกบังคับให้เข้าร่วม และส่วนใหญ่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสมัคร และมักเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในด้านสังคมหรือการบำเพ็ญประโยชน์ ไม่เน้นวิชาการ แต่อาจเกี่ยวข้องกับวิชาที่ศึกษา และมีอยู่หลากหลายด้าน เช่น กิจกรรมออกค่ายอาสา ค่ายศิลปะ ชมรมวิทยาศาสตร์ ชมรมดนตรีหรือกีฬาต่างๆ ชมรมวรรณศิลป์ โต้วาที เป็นต้น ซึ่งผู้เข้าร่วมมักอยู่ในระดับอายุหรือการศึกษาที่ใกล้เคียงกัน นักเรียนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมนอกหลักสูตร มักจะดำเนินการจัดการกิจกรรมเหล่านั้นด้วยตนเอง ภายใต้การควบคุมดูแลของคณาจารย์ และการสนับสนุนจากผู้มีอุปการคุณ.

ใหม่!!: หลักสูตรและกิจกรรมนอกหลักสูตร · ดูเพิ่มเติม »

มนุษยศาสตร์

นักปรัชญาเพลโต มนุษยศาสตร์ (humanities) เป็นกลุ่มของสาขาวิชาที่เกี่ยวกับการศึกษาสภาวะแห่งมนุษย์โดยส่วนใหญ่ใช้กรรมวิธีเชิงวิเคราะห์, วิจารณญาณ หรือการคาดการณ์ซึ่งแตกต่างจากการเข้าสู่ปัญหาด้วยกรรมวิธีเชิงประจักษ์ด้วยธรรมชาติ, สังคมศาสตร์ โดยธรรมเนียมทั่วไปมนุษยศาสตร์รวมถึงสาขาวิชาภาษาศาสตร์โบราณและภาษาศาสตร์สมัยใหม่, วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา ทัศนศิลป์ ศิลปะการแสดง และดนตรี บางครั้งมีการรวมเอาสาขาวิชาอื่นเพิ่มเข้าไปด้วย ได้แก่ มานุษยวิทยา ภูมิภาคศึกษา การสื่อสารและวัฒนธรรมศึกษา แม้ว่าสาขาวิชาเหล่านี้มักถูกจัดไว้ในสาขาสังคมศาสตร์ นักวิชาการที่อยู่ในสายของสาขาวิชานี้ บางครั้งอาจเรียกตนเองว่าเป็น "นักมนุษยนิยม" อย่างไรก็ตามคำดังกล่าวก็ได้ใช้เรียกนักปรัชญาสาขามนุษยนิยมแต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรั.

ใหม่!!: หลักสูตรและมนุษยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการสาขาวิชา

รายชื่อสาขาวิชา หรือ สาขาการศึกษา (Field of study) หมายถึงสาขาความรู้ หรือ การวิจัยที่เปิดสอนในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย คำว่า สาขาวิชา ได้รับการนิยามและยอมรับโดย วารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย และโดยสมาคมผู้รู้ (learned societies) และโดยภาควิชาหรือคณะวิชาที่บุคคลผู้อยู่ในสาขาวิชานั้นๆ สังกัด โดยปกติ สาขาการศึกษาต่างๆ มักมีสาขาย่อยหรือแขนงวิชาแตกออกไป เส้นแบ่งระหว่างสาขาย่อยมักยังมีความคลุมเครือและมีกฎเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน ในยุโรปสมัยกลางซึ่งขณะนั้นยังมีการแบ่งคณะวิชาออกเป็น 4 คณะหรือสายวิชา ได้แก่เทววิทยา การแพทย์ ธรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ และศิลปะ โดยคณะวิชาหลังมีสถานะไม่สูงเท่า 3 สาขาแรก การแบ่งสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสมัยนั้นมีรากสืบทอดมาจากขบวนการแยกอาณาจักรออกจากศาสนจักร (Secularization) ของมหาวิทยาลัยซึ่งเกิดขึ้นราวสมัยกลาง-ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ. 2390 - พ.ศ. 2440) โดยได้เพิ่มวิชาภาษาศาสตร์ที่ไม่ใช่คลาสสิก วรรณคดี และวิชาสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาและวิศวกรรมศาสตร์เสริมเข้าไปในหลักสูตรแบบประเพณีโบราณ ในต้นคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 (ประมาณ พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2475) ได้มีการเพิ่มสาขาวิชาใหม่ๆ เช่น การศึกษา สังคมวิทยา และจิตวิทยา ในมหาวิทยาลัยต่างๆ และในช่วงประมาณ พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2523) ได้เกิดปรากฏการณ์ "การระเบิด" ของสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เน้นเนื้อหาเฉพาะเจาะจง เช่น สื่อศึกษา สตรีศึกษา และชนผิวดำศึกษา สาขาใหม่ๆ เหล่านี้จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับอาชีพและวิชาชีพต่างๆ เช่น การพยาบาล การจัดการโรงพยาบาล การราชทัณฑ์ และหลังสุดก็ได้เห็นสาขาวิชาที่เป็นลักษณะ "สหสาขาวิชา" เช่น ชีวเคมี และ ธรณีฟิสิกส์เกิดเพิ่มขึ้นและได้รับการยอมรับว่าสาขาวิชาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ได้ช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้กว้างขวางขึ้น เครื่องหมายดอกจัน * แสดงเป็นหมายเหตุว่าสาขาวิชานั้นยังเป็นที่ถกเถียงถึงสถานภาพว่าควรนับไว้ในสายวิชาใด เช่น วิชามานุษยวิทยา และวิชาภาษาศาสตร์ควรจัดไว้ในกลุ่มสังคมศาสตร์ หรือ มนุษยศาสตร์ เป็นที่สังเกตได้ว่าบางท่าน โดยเฉพาะนักทฤษฎีวิจารณ์มักให้ความสำคัญในการบ่งชี้การจัดกลุ่มที่เข้มงวดในทุกสายวิชา รวมทั้งความชัดเจนของโครงสร้างของแนวคิดโดยรวมของแต่ละวิชาซึ่งยังเป็นถกเถียงได้มากสำหรับบางคน.

ใหม่!!: หลักสูตรและรายการสาขาวิชา · ดูเพิ่มเติม »

ถ้วยมิกกีเมาส์

้วยมิกกีเมาส์ (Mickey Mouse cup) เป็นศัพท์ในวงการกีฬาฟุตบอล โดยเฉพาะฟุตบอลอังกฤษ มีความหมายในทางลบ หมายถึงรางวัล ลีก หรือรายการแข่งขันที่มีมาตรฐาน เงินรางวัล ความสำคัญ หรือศักดิ์ศรีที่ด้อยกว่า เมื่อเทียบกับทีมหรือรายการแข่งขันอื่น ถูกใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1977 โดยแฟนบอลสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล ในเชิงเสียดสี ล้อเลียนแฟนบอลสโมสรฟุลบอลเอเวอร์ตัน คู่แข่งร่วมมณฑลเมอร์ซีไซด์ ที่ได้เข้าชิงชนะเลิศลีกคัพ ในขณะที่ปีนั้นลิเวอร์พูลได้เข้าชิงชนะเลิศเทรเบิล 3 รายการใหญ่ คือ ยูโรเปียนคัพ, ฟุตบอลลีกดิวิชันหนึ่ง และเอฟเอคัพในฤดูกาลเดียวกัน เป็นการเปรียบเปรยว่ารายการแข่งขันของเอฟเวอร์ตันนั้นเหมือน "มิกกี้ เมาส์" หรือรายการสำหรับเด็ก ในปัจจุบัน "ถ้วยมิกกีเมาส์" มักใช้เรียกรายการแข่งขันลีกคัพ โดยสโมสรฟุตบอลในระดับพรีเมียร์ลีก ซึ่งผู้จัดการทีมจะให้ความสำคัญกับการแข่งขันรายการอื่นมากกว่า และมักจัดผู้เล่นทีมสำรองให้ลงเล่นเป็นตัวจริง เพื่อหาประสบการณ์กับสโมสรที่ด้อยกว่า บางครั้งยังใช้ในการให้สัมภาษณ์สื่อในการทำสงครามจิตวิทยากับทีมคู่แข่งเมื่อทีมแพ้ ในเชิงแก้เกี้ยว ทำนองว่าไม่ให้ความสำคัญกับรายการนี้ และมุ่งหวังจะชนะรายการอื่น นอกจากความหมายในด้านกีฬาแล้ว มิกกีเมาส์ยังถูกเปรียบเปรยโดยนิตยสารแทบลอยด์ในอังกฤษ ในเชิงเสียดสีด้านการศึกษาในช่วงปลายทศวรรษ 1990 โดยกล่าวถึงมหาวิทยาลัยที่มีมาตรฐานการศึกษาด้อยกว่า และมีชื่อหลักสูตรในระดับปริญญาแปลกๆ เช่น "หลักสูตรเดวิด เบคแคม" "", BBC News, 29 March 2000.

ใหม่!!: หลักสูตรและถ้วยมิกกีเมาส์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นคณะสาธารณสุขแห่งแรกของไทย และมีบทบาทในการวางรากฐานด้านการศึกษาทางสาธารณสุขของประเทศมาโดยตลอ.

ใหม่!!: หลักสูตรและคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล · ดูเพิ่มเติม »

โฮลลิส แคสเวล

ลลิส ลีแลนด์ แคสเวล (22 ตุลาคม, 1901 – 22 พฤศจิกายน, 1988) เป็นนักการศึกษาชาวอเมริกัน ซึ่งต่อมามีบทบาทสำคัญในการวางแผนหลักสูตรภายในสถานศึกษา เขาได้ทำการสำรวจเกี่ยวกับการปฏิบัติการหลักสูตรในหลากหลายระบบโรงเรียน และเขียนหนังสือเกี่ยวกับหลักสูตรไว้อย่างมากมาย แคสเวลได้เข้าร่วมในคณะที่ปรึกษากองบรรณาธิการของ World Book Encyclopedia ในปี ค.ศ. 1936 และเป็นประธานในปี ค.ศ. 1948 ต่อมาในปี ค.ศ. 1954 แคสเวลได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยครู (มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย) ในนิวยอร์ก และดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการถึงปี ค.ศ. 1962 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1962 ถึงปี ค.ศ. 1966 แคสเวลดำรงตำแหน่งเป็นประธานทั่วไปคณะที่ปรึกษากองบรรณาธิการของ Field Enterprises Educational Corporation.

ใหม่!!: หลักสูตรและโฮลลิส แคสเวล · ดูเพิ่มเติม »

เทคโนโลยีอาหาร

ตัวอย่างห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีอาหาร. เทคโนโลยีอาหาร (Food Technology) เป็นสาขาวิชาที่ประยุกต์มาจากวิทยาศาสตร์การอาหาร มีเนื้อหาเกี่ยวกับการถนอมอาหาร การแปรรูปอาหาร บรรจุภัณฑ์ การจัดจำหน่ายอาหาร และหลักโภชนาการของอาหาร นักวิทยาศาสตร์การอาหารและนักเทคโนโลยีอาหารเป็นจะศึกษาลักษณะทางกายภาพ ทางจุลชีววิทยา และทางเคมีของอาหาร ในบางสถานศึกษา เทคโนโลยีอาหารจะถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนร่วมกับวิชาการปรุงอาหาร โภชนาการ และกระบวนการผลิตอาหาร.

ใหม่!!: หลักสูตรและเทคโนโลยีอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »