โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หลอดเลือดแดง

ดัชนี หลอดเลือดแดง

หลอดเลือดแดง (Artery) เป็นหลอดเลือดที่มีชั้นกล้ามเนื้อ ทำหน้าที่ขนส่งเลือดออกจากหัวใจ หลอดเลือดแดงทุกเส้นขนส่งเลือดที่มีออกซิเจน ยกเว้นหลอดเลือดแดงสู่ปอด (pulmonary artery) และหลอดเลือดแดงอัมบิลิคัล (umbilical artery) ระบบไหลเวียนโลหิตเป็นระบบที่สำคัญมากในการดำรงชีวิต หน้าที่โดยทั่วไปของระบบนี้คือการขนส่งออกซิเจนและสารอาหารไปยังเซลล์ต่างๆ รวมทั้งขนส่งคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียออกจากเนื้อเยื่อ รักษา pH ให้เหมาะกับการดำรงชีวิต รวมถึงการขนส่งสาร โปรตีนอาทิฮีโมโกลบิน และเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ในประเทศที่พัฒนาแล้ว สาเหตุของการเสียชีวิต 2 อันดับแรกคือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (myocardial infarction) และโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ซึ่งทั้งคู่ต่างเป็นผลมาจากความผิดปกติของการไหลของเลือดซึ่งเสื่อมสภาพไปตามอายุ (ดูเพิ่มที่ โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง) หมวดหมู่:ระบบไหลเวียนโลหิต.

47 ความสัมพันธ์: ชั้นแอดเวนทิเชียกระดูกเนื้อโปร่งกลุ่มอาการแอนไทฟอสโฟไลปิดการกำซาบการขาดเลือดเฉพาะที่การตายเฉพาะส่วนการแข็งตัวขององคชาตระบบไหลเวียนรายชื่อหลอดเลือดแดงของร่างกายมนุษย์รายชื่อโครงสร้างทางกายวิภาคมนุษย์รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยร่างกายมนุษย์วิลเลียม ฮาร์วีย์สัตว์เลื้อยคลานหลอดเลือดหลอดเลือดสมองโป่งพองหลอดเลือดดำลึกหลอดเลือดดำผิวหลอดเลือดดำแอนทีเรียร์ทิเบียลหลอดเลือดดำโพสทีเรียร์ทิเบียลหลอดเลือดแดงท้องหลอดเลือดแดงของกระเปาะองคชาตหลอดเลือดโป่งพององคชาตของมนุษย์จอตาถุงน้ำดีทางทะลุระหว่างหลอดเลือดแดงและดำข้อศอกความดันโลหิตสูงความดันโลหิตต่ำความดันเลือดคอต่อมไทรอยด์ประวัติวิชากายวิภาคศาสตร์แมลงปอแอมโลดิพีนโรคริดสีดวงทวารโรคหลอดเลือดแดงแข็งโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจเกเลนเม็ดพาชีเนียนเยื่อดูราเอออร์ตาเนื้อตายเหตุขาดเลือดICD-10 บทที่ 18: อาการ อาการแสดง และความผิดปกติที่พบจากการตรวจทางคลินิกและทางห้องปฏิบัติการICD-10 บทที่ 9: โรคของระบบไหลเวียนโลหิตVena comitans

ชั้นแอดเวนทิเชีย

ั้นแอดเวนทิเชีย (Adventitia) เป็นชั้นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่ชั้นนอกสุดที่ปกคลุมอวัยวะ, หลอดเลือด หรือโครงสร้างอื่นๆ ตัวอย่างเช่น เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่คลุมรอบหลอดเลือดแดงจะเรียกว่า ทูนิกา แอดเวนทิเชีย (tunica adventitia) เพราะอยู่ชั้นนอกสุดของหลอดเลือดแดง ในบางครั้งเนื้อเยื่อชั้นแอดเวนทิเชียก็มีหน้าที่เหมือนกับชั้นเยื่อเลื่อม (serosa) ซึ่งเป็นชั้นเนื้อเยื่อที่คลุมรอบอวัยวะเช่นกัน ในช่องท้อง อวัยวะใดจะคลุมด้วยชั้นแอดเวนทิเชียหรือชั้นเยื่อเลื่อมก็ขึ้นกับว่าเป็นอวัยวะในเยื่อบุช่องท้องหรืออวัยวะหลังเยื่อบุช่องท้อง.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและชั้นแอดเวนทิเชีย · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกเนื้อโปร่ง

กระดูกเนื้อโปร่ง, กระดูกฟ่าม, กระดูกฟองน้ำ, หรือกระดูกพรุน (spongy bone, cancellous bone, trabecular bone) เป็นเนื้อเยื่อกระดูกชนิดหนึ่งซึ่งมีความหนาแน่นและความแข็งแกร่งน้อยกว่า แต่มีพื้นที่ผิวมากกว่า กระดูกชนิดนี้มีลักษณะโปร่งคล้ายเส้นใยสานกันจะอยู่ภายในโพรงของกระดูกยาว ชั้นนอกของกระดูกเนื้อโปร่งจะประกอบด้วยไขกระดูกแดง (red bone marrow) ซึ่งเป็นแหล่งที่ผลิตองค์ประกอบของเลือด (ที่เรียกกันว่า การกำเนิดเซลล์เม็ดเลือด (hematopoiesis)) กระดูกเนื้อโปร่งนี้จะเป็นที่อยู่ของหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ เนื้อเยื่อกระดูกอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า กระดูกเนื้อแน่น (cortical bone) ซึ่งจัดเรียงตัวเป็นผิวแข็งชั้นนอกของกระดูก.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและกระดูกเนื้อโปร่ง · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการแอนไทฟอสโฟไลปิด

กลุ่มอาการแอนไทฟอสโฟไลปิด (antiphospholipid syndrome) หรือกลุ่มอาการแอนไทฟอสโฟไลปิด แอนติบอดี้ (antiphospholipid antibody syndrome) (APS, APLS) หรือกลุ่มอาการฮิวจส์ (Hughes syndrome) เป็นโรคภูมิต้านตนเองที่ทำให้มีภาวะเลือดแข็งตัวง่ายกว่าปกติอย่างหนึ่ง เกิดจากการมีแอนติบอดีต่อฟอสโฟไลปิด (antiphospholipid antibody) โรคนี้กระตุ้นให้เกิดลิ่มเลือดทั้งในหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ เช่น การแท้ง การตายคลอด การคลอดก่อนกำหนด และครรภ์เป็นพิษรุนแรง เป็นต้น หมวดหมู่:การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ หมวดหมู่:วิทยารูมาติก หมวดหมู่:โรคภูมิต้านตนเอง หมวดหมู่:ความผิดปกติทางประสาทวิทยา หมวดหมู่:สูติศาสตร์ หมวดหมู่:กลุ่มอาการ.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและกลุ่มอาการแอนไทฟอสโฟไลปิด · ดูเพิ่มเติม »

การกำซาบ

การกำซาบ (perfusion) ในทางสรีรวิทยาคือกระบวนการขนส่งสารอาหารของเลือดแดงจากหลอดเลือดแดงไปยังแขนงหลอดเลือดฝอยในเนื้อเยื่อ การทดสอบการกำซาบเพื่อดูว่าเลือดไปเลี้ยงยังอวัยวะต่างๆ เพียงพอหรือไม่นั้นเป็นหนึ่งในการคัดแยกผู้ป่วยเพื่อจำแนกตามความสาหั.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและการกำซาบ · ดูเพิ่มเติม »

การขาดเลือดเฉพาะที่

ในทางการแพทย์ การขาดเลือดเฉพาะที.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและการขาดเลือดเฉพาะที่ · ดูเพิ่มเติม »

การตายเฉพาะส่วน

การตายของเนื้อเยื่อหลังจากเกิดแผลไหม้อย่างรุนแรง การตายเฉพาะส่วน (มาจากภาษา Nekros ตาย) เป็นการตายของเซลล์และเนื้อเยื่อซึ่งจะมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องตามมาอย่างมาก ได้แก่การบวมของเซลล์, การย่อยสลายโครมาติน, และการเสื่อมสภาพของเยื่อหุ้มเซลล์และเยื่อหุ้มออร์แกเนลล์ ในระยะต่อมาจะเกิดการย่อยสลายดีเอ็นเอ, การเกิดช่องว่าง (vacuolation) ของเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม (endoplasmic reticulum), การสลายของออร์แกเนลล์, และเกิดการสลายเซลล์ หลังจากเยื่อหุ้มเซลล์แตกสลายจะมีการปล่อยองค์ประกอบภายในเซลล์ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบ กระบวนการดังกล่าวแยกออกจากการเปลี่ยนแปลงหลังการตาย (Postmortem change) และจากการคงสภาพเนื้อเยื่อโดยฟอร์มาลินมานะ ทวีวิศิษฎ์ (บรรณาธิการ), พยาธิวิทยาพื้นฐาน.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและการตายเฉพาะส่วน · ดูเพิ่มเติม »

การแข็งตัวขององคชาต

การแข็งตัวขององคชาต (erection, ศัพย์การแพทย์: penile erection, penile tumescence) เป็นปรากฏการณ์ทางสรีรภาพของอวัยวะเพศชายในสัตว์หลายสปีชีส์ ที่องคชาตแข็งตัวขึ้น คั่งไปด้วยเลือด และขยายใหญ่ขึ้น เป็นผลของปฏิกิริยาอันสลับซับซ้อนของจิตใจ ระบบประสาท ระบบหลอดเลือด และระบบต่อมไร้ท่อ มักจะเกิดขึ้นพร้อมกับอารมณ์ทางเพศ แต่จริง ๆ อาจจะเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ รูปร่าง มุมตั้ง และทิศทางขององคชาตที่แข็งตัวมีความแตกต่างกันอย่างมากแม้ในหมู่มนุษย์ โดยสรีรภาพแล้ว กระบวนการแข็งตัวขององคชาตเริ่มจากระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (ส่วนหนึ่งของระบบประสาทอัตโนมัติ) ที่เป็นเหตุให้ระดับก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (เป็นสารขยายหลอดเลือด) สูงขึ้นในหลอดเลือด trabecular และในกล้ามเนื้อเรียบขององคชาต หลอดเลือดนั้นก็จะขยายใหญ่ขึ้นทำให้เนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำที่เรียกว่า corpora cavernosa (ดูรูป) (และ corpus spongiosum แม้ว่าจะน้อยกว่า) เต็มไปด้วยเลือด และในขณะเดียวกัน ก็จะทำให้กล้ามเนื้อ ischiocavernosus และ bulbospongiosus เข้าไปกดหลอดเลือดดำของเนื้อเยื่อ จำกัดการไหลออกของเลือด (จากเนื้อเยื่อ) และการไหลเวียนของโลหิตที่ไหลเข้าไป (ในเนื้อเยื่อ) การแข็งตัวจะลดลงเมื่อการทำงานในระบบประสาทพาราซิมพาเทติกลดระดับลงไปเป็นปกติ เพราะว่าเป็นการตอบสนองอัตโนมัติ การแข็งตัวอาจเกิดขึ้นจากสิ่งเร้าหลายอย่างรวมทั้งการเร้าอารมณ์เพศ (sexual stimulationการเร้าอารมณ์เพศ (sexual stimulation) เป็นตัวกระตุ้นอะไรก็ได้ รวมทั้งสัมผัสทางกาย ที่เพิ่มและรักษาอารมณ์เพศ ซึ่งอาจนำไปสู่การหลั่งน้ำอสุจิและ/หรือจุดสุดยอดทางเพศในที่สุด ถึงแม้ว่าอารมณ์เพศอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยการกระตุ้น แต่จะถึงจุดสุดยอดทางเพศได้ ปกติต้องมีการกระตุ้นทางเพศ) และอารมณ์ทางเพศ ดังนั้น จึงไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจโดยสิ้นเชิง การแข็งตัวในระหว่างการนอนหลับหรือเมื่อตื่นนอนมีศัพท์ทางแพทย์ภาษาอังกฤษว่า nocturnal penile tumescence และความปราศจากการแข็งตัวในระหว่างการนอนหลับสามารถใช้ในการแยกแยะเหตุที่เป็นไปทางกายภาพหรือทางจิตใจของภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศสาเหตุทางร่างกาย (ICD-10 N48.4) หรืออวัยวะเพศไม่ตอบสนอง (เหตุทางใจ ICD-10 F52.2) องคชาตที่ไม่แข็งตัวเต็มที่มีศัพท์การแพทย์ภาษาอังกฤษว่า partial tumescence.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและการแข็งตัวขององคชาต · ดูเพิ่มเติม »

ระบบไหลเวียน

ระบบไหลเวียน หรือ ระบบหัวใจหลอดเลือด เป็นระบบอวัยวะซึ่งให้เลือดไหลเวียนและขนส่งสารอาหาร (เช่น กรดอะมิโนและอิเล็กโทรไลต์) ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ฮอร์โมน และเม็ดเลือดเข้าและออกเซลล์ในร่างกายเพื่อหล่อเลี้ยงและช่วยต่อสู้โรค รักษาอุณหภูมิและ pH ของร่างกาย และรักษาภาวะธำรงดุล มักมองว่าระบบไหลเวียนประกอบด้วยทั้งระบบหัวใจหลอดเลือด ซึ่งกระจายเลือด และระบบน้ำเหลือง ซึ่งไหลเวียนน้ำเหลือง ทั้งสองเป็นระบบแยกกัน ตัวอย่างเช่น ทางเดินน้ำเหลืองยาวกว่าหลอดเลือดมาก เลือดเป็นของเหลวอันประกอบด้วยน้ำเลือด เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดซึ่งหัวใจทำหน้าที่ไหลเวียนผ่านระบบหลอดเลือดสัตว์มีกระดูกสันหลัง โดยน้ำออกซิเจนและสารอาหารไปและของเสียกลับจากเนื้อเยื่อกาย น้ำเหลือง คือ น้ำเลือดส่วนเกินที่ถูกกรองจากของเหลวแทรก (interstitial fluid) และกลับเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง ระบบหัวใจหลอดเลือดประกอบด้วยเลือด หัวใจและหลอดเลือด ส่วนระบบน้ำเหลืองประกอบด้วยน้ำเหลือง ปุ่มน้ำเหลืองและหลอดน้ำเหลือง ซึ่งคืนน้ำเลือดที่กรองมาจากของเหลวแทรกในรูปน้ำเหลือง มนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นมีระบบหัวใจหลอดเลือดแบบปิด คือ เลือดไม่ออกจากเครือข่ายหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำและหลอดเลือดฝอย แต่กลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางกลุ่มมีระบบหัวใจหลอดเลือดแบบเปิด ในทางตรงข้าม ระบบน้ำเหลืองเป็นระบบเปิดซึ่งให้ทางที่จำเป็นแก่ของเหลวระหว่างเซลล์ส่วนเกินกลับเข้าสู่หลอดเลือดได้ ไฟลัมสัตว์ไดโพลบลาสติก (diploblastic) บางไฟลัมไม่มีระบบไหลเวียน.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและระบบไหลเวียน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อหลอดเลือดแดงของร่างกายมนุษย์

นี่คือรายชื่อหลอดเลือดแดงของร่างกายมนุษ.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและรายชื่อหลอดเลือดแดงของร่างกายมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อโครงสร้างทางกายวิภาคมนุษย์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและรายชื่อโครงสร้างทางกายวิภาคมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

ร่างกายมนุษย์

ร่างกายมนุษย์ เป็นโครงสร้างทั้งหมดของมนุษย์ ประกอบด้วยเซลล์หลายชนิดที่รวมกันเป็นเนื้อเยื่อซึ่งรวมกันเป็นระบบอวัยวะ สิ่งเหล่านี้คงภาวะธำรงดุลและความอยู่รอดของร่างกายมนุษย์ ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยศีรษะ, คอ, ลำตัว (ซึ่งรวมถึงอกและท้อง), แขนและมือ, ขา และเท้า การศึกษาร่างกายมนุษย์เชื่อมโยงกับกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา มิญชวิทยา และคัพภวิทยา ร่างกายมีความแตกต่างทางกายวิภาคแบบต่าง ๆ สรีรวิทยามุ่งไปที่ระบบและอวัยวะของมนุษย์และการทำงานของอวัยวะ หลายระบบและกลไกมีปฏิกิริยาต่อกันเพื่อคงภาวะธำรงดุล โดยมีระดับที่ปลอดภัยของสารต่าง ๆ เช่น น้ำตาลและออกซิเจนในเลือ.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและร่างกายมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม ฮาร์วีย์

วิลเลี่ยม ฮาร์วี่ ('''William Harvey'''.; 1 เมษายน ค.ศ. 1578 - 3 มิถุนายน ค.ศ. 1657) เป็นแพทย์ชาวอังกฤษผู้ลบความเชื่อเก่าๆของแพทย์ในยุคศตวรรษที่ 17 ที่มีความเชื่อเกี่ยวกับระบบโลหิตในร่างกาย เขาเป็นผู้ค้นพบการไหลเวียนโลหิตหากทว่ากว่าจะได้รับการยอมรับเขาเสียชีวิตไปเสียแล้ว.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและวิลเลียม ฮาร์วีย์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือด

ระบบหลอดเลือดแดง หลอดเลือด (Blood vessel) เป็นส่วนของระบบไหลเวียนโลหิต ทำหน้าที่ในการขนส่งเลือดไปยังส่วนต่างๆ ในร่างกาย แบ่งออกเป็น3 ประเภท ได้แก่ หลอดเลือดแดง (artery) ทำหน้าที่ขนส่งเลือดออกจากหัวใจ และหลอดเลือดดำ (vein) ซึ่งขนส่งเลือดเข้าสู่หัวใจและหลอดเลือดฝอย (capillary).

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและหลอดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดสมองโป่งพอง

รคหลอดเลือดสมองโป่งพอง (cerebral aneurysm) เป็นโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดอย่างหนึ่งซึ่งทำให้มีการอ่อนแอของบางส่วนของผนังหลอดเลือดแดงหรือดำซึ่งทำให้หลอดเลือดส่วนนั้นพองออกมาคล้ายลูกโป่ง.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและหลอดเลือดสมองโป่งพอง · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดดำลึก

หลอดเลือดดำชั้นลึกของรยางค์บน หลอดเลือดดำชั้นลึก (Deep vein) เป็นคำที่ใช้อธิบายหลอดเลือดดำที่อยู่ลึกลงไปในร่างกาย ต่างจากหลอดเลือดดำที่อยู่ใกล้กับพื้นผิวของร่างกายที่เรียกว่าหลอดเลือดดำชั้นผิว หลอดเลือดดำชั้นลึกมักจะอยู่ข้างหลอดเลือดแดงที่มีชื่อเดียวกัน (เช่น หลอดเลือดดำต้นขา (femoral vein) ที่อยู่ข้างหลอดเลือดแดงต้นขา (femoral artery)) เรียกลักษณะหลอดเลือดดำนี้ว่า venae comitantes หลอดเลือดดำชนิดนี้จะลำเลียงเลือดได้เป็นปริมาณมาก การอุดตันของหลอดเลือดดำชั้นลึกมักทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด (thrombosis) ซึ่งอันตรายถึงชีวิต การอุดตันของหลอดเลือดดำชั้นลึกนี้มีคำเรียกเฉพาะว่า deep vein thrombosis.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำลึก · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดดำผิว

หลอดเลือดดำชั้นผิวของรยางค์บน หลอดเลือดดำชั้นผิว (Superficial vein) เป็นคำที่ใช้อธิบายหลอดเลือดดำที่อยู่ชิดกับพื้นผิวของลำตัว ซึ่งต่างกับหลอดเลือดดำอีกชนิดหนึ่งที่อยู่ลึกลงไปจากผิวหนัง เรียกว่าหลอดเลือดดำชั้นลึก (deep vein) หลอดเลือดดำชั้นผิวจะไม่ทอดคู่กับหลอดเลือดแดงเหมือนกับหลอดเลือดดำชั้นลึกที่จะมีลักษณะเป็น venae comitantes หรือลักษณะทอดคู่ขนาบหลอดเลือดแดงที่มีชื่อเดียวกัน หลอดเลือดดำชั้นผิวมีความสำคัญในทางสรีรวิทยาในแง่การระบายความร้อนให้แก่ร่างกาย เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น ร่างกายจะลัดเลือดจากหลอดเลือดดำชั้นลึกมายังหลอดเลือดดำชั้นตื้นเพื่อระบายความร้อนออกไปยังสิ่งแวดล้อม หลอดเลือดดำชั้นผิวสามารถมองเห็นได้จากผิวหนัง โดยเฉพาะเมื่ออวัยวะนั้นอยู่ต่ำกว่าระดับหัวใจ หลอดเลือดดำชั้นผิวจะพองออก สังเกตได้เมื่อเรายกแขนขึ้นเหนือระดับหัวใจ เลือดจะไหลออกจากหลอดเลือดนั้น แต่เมื่อเราวางแขนลงในระดับต่ำกว่าหัวใจ เลือดจะไหลกลับเข้ามาใหม่ หลอดเลือดนี้สามารถเห็นได้ชัดขึ้นเมื่อเรายกของหนักๆ ในทางสรีรวิทยา หลอดเลือดดำชั้นผิวนี้ไม่มีความสำคัญเท่าหลอดเลือดดำชั้นลึก เพราะขนส่งเลือดในปริมาณน้อยกว่า และบางครั้งหลอดเลือดนี้สามารถตัดเอาออกได้โดยไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติใดๆ เรียกว่าวิธี vein stripping ซึ่งเป็นการรักษาหลอดเลือดดำขอด (varicose vein) ที่ใช้กันในปัจจุบัน.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำผิว · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดดำแอนทีเรียร์ทิเบียล

ในทางกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ หลอดเลือดดำแอนทีเรียร์ทิเบียล (Anterior tibial vein) เป็นหลอดเลือดดำที่ลำเลียงเลือดจากพื้นที่ด้านหน้าของขา (anterior compartment of the leg) ไปยังหลอดเลือดดำขาพับ (popliteal vein) ซึ่งเกิดจากการรวมกันของหลอดเลือดดำโพสทีเรียร์ทิเบียลและหลอดเลือดดำโพสทีเรียร์ทิเบียล (posterior tibial vein) เช่นเดียวกับหลอดเลือดดำชั้นลึกอื่นๆ หลอดเลือดดำนี้ทอดตัวคู่กับหลอดเลือดแดงที่มีชื่อเหมือนกัน คือหลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์ทิเบียล (anterior tibial artery).

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำแอนทีเรียร์ทิเบียล · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดดำโพสทีเรียร์ทิเบียล

หลอดเลือดดำโพสทีเรียร์ทิเบียล (Posterior tibial vein) เป็นหลอดเลือดดำของรยางค์ล่างที่ลำเลียงเลือดมาจากพื้นที่ด้านหน้าของขา (posterior compartment) และฝ่าเท้า ไปยังหลอดเลือดดำขาพับ (popliteal vein) ซึ่งเกิดจากการรวมกันของหลอดเลือดดำโพสทีเรียร์ทิเบียลและหลอดเลือดดำแอนทีเรียร์ทิเบียล (anterior tibial vein) เช่นเดียวกับหลอดเลือดดำชั้นลึกอื่นๆ หลอดเลือดดำนี้ทอดตัวคู่กับหลอดเลือดแดงที่มีชื่อเหมือนกัน คือหลอดเลือดแดงโพสทีเรียร์ทิเบียล (posterior tibial artery).

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำโพสทีเรียร์ทิเบียล · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดงท้อง

หลอดเลือดแดงใหญ่ซิลิแอค (celiac artery) เป็นแขนงใหญ่แขนงแรกของหลอดเลือดแดงเอออร์ตาส่วนท้อง (abdominal aorta) และแขนงจากหลอดเลือดแดงเอออร์ตาตรงกับตำแหน่งกระดูกสันหลังส่วนอกชิ้นที่ 12 (T12) ในมนุษย์ หลอดเลือดซิลิแอคเป็นหนึ่งในสามแขนงที่ออกมาทางด้านหน้าตรงกลางลำตัวจากหลอดเลือดแดงเอออร์ตาส่วนท้อง (อีก 2 แขนงได้แก่ หลอดเลือดแดงซุพีเรียร์มีเซนเทอริค (superior mesenteric artery) และหลอดเลือดแดงอินฟีเรียมีเซนเทอริค (inferior mesenteric arteries).

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและหลอดเลือดแดงท้อง · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดงของกระเปาะองคชาต

หลอดเลือดแดงของกระเปาะองคชาต (Artery of bulb of penis หรือ Artery of the urethral bulb หรือ Bulbourethral artery) เป็นหลอดเลือดแดงสั้น ๆ ของลำขนาดใหญ่ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดแดงหว่างขาในระหว่างพังผืดสองชั้น (ชั้นบนและชั้นล่าง)ของกะบังลมระบบปัสสาวะและเพศ โดยมันผ่านทางด้านใกล้กลาง (Medialward) เจาะผ่านพังผืดชั้นล่างของกะบังลมระบบปัสสาวะและเพศ และแยกออกเป็นแขนงในกระเปาะองคชาตและในส่วนหลังของคอร์ปัส สปอนจิโอซัม.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและหลอดเลือดแดงของกระเปาะองคชาต · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดโป่งพอง

รคหลอดเลือดโป่งพอง (Aneurysm) เป็นภาวะที่ผนังหลอดเลือดโป่งออกมีเลือดเข้าไปบรรจุอยู่เฉพาะตำแหน่ง มาจากภาษากรีก ἀνεύρυσμα - aneurusma การพองออก ภาวะนี้มักพบได้ที่หลอดเลือดแดงที่ฐานของสมองบริเวณวงกลมวิลลิส (หลอดเลือดสมองโป่งพอง) และเอออร์ตาโป่งพองที่พบในหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ขนส่งเลือดจากหัวใจห้องล่างซ้ายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อขนาดของหลอดเลือดโป่งพองใหญ่ขึ้นจะมีความเสี่ยงจะแตกมากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดการตกเลือดอย่างรุนแรงซึ่งถึงแก่ชีวิตได้ หลอดเลือดโป่งพองอาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรืออาจเกิดจากโรคซึ่งเป็นผลทำให้ผนังหลอดเลือดอ่อนแอ.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและหลอดเลือดโป่งพอง · ดูเพิ่มเติม »

องคชาตของมนุษย์

องคชาตของมนุษย์เป็นอวัยวะสืบพันธุ์เพศชายภายนอก และยังทำหน้าที่เป็นท่อปัสสาวะ มีส่วนหลักคือ ส่วนราก (Root / Radix) ส่วนลำตัว (Corpus) และส่วนเนื้อเยื่อบุผิวขององคชาต รวมถึงหนังบริเวณก้าน และหนังหุ้มปลายซึ่งห่อหุ้มส่วนหัวขององคชาต (Glans) ด้วย ส่วนลำตัวขององคชาตเกิดจากเนื้อเยื่อสามต้น ประกอบด้วยกล้ามเนื้อคอร์ปัส คาเวอร์โนซัม (Corpus cavernosum) สองมัดที่ด้านบน และกล้ามเนื้อคอร์ปัส สปอนจิโอซัม (Corpus spongiosum) ซึ่งอยู่ระหว่างกลางของกล้ามเนื้อส่วนแรก ท่อปัสสาวะของมนุษย์เพศชายจะผ่านกลางต่อมลูกหมาก ที่ซึ่งเชื่อมกับท่อฉีดอสุจิ และจากนั้นจะผ่านไปที่องคชาต โดยท่อปัสสาวะจะทอดตัวข้ามกล้ามเนื้อคอร์ปัส สปอนจิโอซัม และออกสู่รูเปิดบริเวณรูปัสสาวะ (Meatus) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณปลายของส่วนหัวองคชาต โดยทำหน้าที่เป็นทางผ่านของทั้งปัสสาวะและการหลั่งของน้ำอสุจิ การพัฒนาขององคชาตโดยส่วนใหญ่จะมาจากเนื้อเยื่อเดียวกันในตัวอ่อน เช่นเดียวกับคริตอริสของเพศหญิง ผิวหนังโดยรอบขององคชาตและท่อปัสสาวะ ก็มาจากเนื้อเยื่อตัวอ่อนเดียวกันกับที่จะพัฒนาไปเป็นแคมเล็กของเพศหญิง การแข็งตัวคือการแข็งและสูงขึ้นขององคชาต ซึ่งจะเกิดขึ้นในขณะมีอารมณ์ทางเพศ แต่ก็ยังสามารถเกิดขึ้นในขณะที่ไม่มีอารมณ์ทางเพศได้เช่นกัน รูปแบบการเปลี่ยนแปลงส่วนหัวองคชาตที่พบได้บ่อยที่สุดคือ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ โดยเป็นการนำส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมดของหนังหุ้มปลายออกไปด้วยเหตุผลทางวัฒนธรรม ศาสนา และไม่บ่อยนักด้วยเหตุผลทางการแพทย์ ซึ่งยังมีการถกเถียงกันในเรื่องของการขลิบหนังหุ้มปลายโดยรอบ ขณะที่ผลจากการศึกษาที่แตกต่างกัน ความคิดเห็นส่วนใหญ่ระบุว่าขนาดขณะแข็งตัวขององคชาตโดยความยาวอยู่ที่ประมาณ 12.9–15 ซม.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและองคชาตของมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

จอตา

ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เรตินา หรือ จอตา"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" หรือ จอประสาทตา (retina, พหูพจน์: retinae, จากคำว่า rēte แปลว่า ตาข่าย) เป็นเนื้อเยื่อมีลักษณะเป็นชั้น ๆ ที่ไวแสง บุอยู่บนผิวด้านในของดวงตา การมองเห็นภาพต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นได้โดยอาศัยเซลล์ที่อยู่บนเรตินา เป็นตัวรับและแปลสัญญาณแสงให้กลายเป็นสัญญาณประสาทหรือกระแสประสาท ส่งขึ้นไปแปลผลยังสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้เราสามารถมองเห็นภาพต่างๆได้ คือ กลไกรับแสงของตาฉายภาพของโลกภายนอกลงบนเรตินา (ผ่านกระจกตาและเลนส์) ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับฟิลม์ในกล้องถ่ายรูป แสงที่ตกลงบนเรตินาก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางเคมีและไฟฟ้าที่เป็นไปตามลำดับ ซึ่งนำไปสู่การส่งสัญญาณประสาทโดยที่สุด ซึ่งดำเนินไปยังศูนย์ประมวลผลทางตาต่าง ๆ ในสมองผ่านเส้นประสาทตา ในสัตว์มีกระดูกสันหลังในช่วงพัฒนาการของเอ็มบริโอ ทั้งเรตินาทั้งเส้นประสาทตามีกำเนิดเป็นส่วนหนึ่งของสมอง ดังนั้น เรตินาจึงได้รับพิจารณาว่าเป็นส่วนของระบบประสาทกลาง (CNS) และจริง ๆ แล้วเป็นเนื้อเยื่อของสมอง"Sensory Reception: Human Vision: Structure and function of the Human Eye" vol.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและจอตา · ดูเพิ่มเติม »

ถุงน้ำดี

รงสร้างของถุงน้ำดีและระบบท่อน้ำดี ถุงน้ำดี (Gallbladder) เป็นอวัยวะในช่องท้องที่ทำหน้าที่ในการเก็บสะสมน้ำดี (bile) เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร โดยจะมีโครงสร้างที่ติดต่อกับตับซึ่งเป็นอวัยวะที่ผลิตน้ำดี และลำไส้เล็กตอนต้น ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการปล่อยน้ำดีออกสู่ทางเดินอาหาร.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและถุงน้ำดี · ดูเพิ่มเติม »

ทางทะลุระหว่างหลอดเลือดแดงและดำ

ทางทะลุระหว่างหลอดเลือดแดงและดำ (arteriovenous fistula) เป็นทางเชื่อมต่อที่ปกติไม่ควรมีระหว่างหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ อาจพบแต่กำเนิด หรือเกิดจากพยาธิสภาพเช่นการบาดเจ็บ การกัดเซาะของหลอดเลือดแดงโป่งพอง หรือได้รับการผ่าตัดสร้างขึ้นมาก็ได้.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและทางทะลุระหว่างหลอดเลือดแดงและดำ · ดูเพิ่มเติม »

ข้อศอก

้อศอก (Elbow joint) เป็นข้อต่อที่เกิดจากการติดต่อกันระหว่างกระดูกสามชิ้น คือ กระดูกต้นแขน (humerus) กระดูกอัลนา (Ulna) และกระดูกเรเดียส (Radius) และเป็นข้อต่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเคลื่อนไหวของปลายแขน (forearm) โดยเฉพาะการงอ-เหยียด และการพลิกปลายแขน ข้อศอกยังเป็นข้อต่อที่มีเอ็นรอบข้อต่อและกล้ามเนื้อต่างๆมาช่วยในการค้ำจุนระหว่างการเคลื่อนไหว รวมทั้งมีแขนงของหลอดเลือดและเส้นประสาทในบริเวณใกล้เคียงมาเลี้ยงอีกด้ว.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและข้อศอก · ดูเพิ่มเติม »

ความดันโลหิตสูง

รคความดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีความดันเลือดในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา ความดันเลือดประกอบด้วยสองค่า ได้แก่ ความดันช่วงหัวใจบีบและความดันช่วงหัวใจคลาย ซึ่งเป็นความดันสูงสุดและต่ำสุดในระบบหลอดเลือดแดงตามลำดับ ความดันช่วงหัวใจบีบเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวมากที่สุด ความดันช่วงหัวใจคลายเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัวมากที่สุดก่อนการบีบตัวครั้งถัดไป ความดันเลือดปกติขณะพักอยู่ในช่วง 100–140 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจบีบ และ 60–90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลาย ความดันโลหิตสูงหมายถึง ความดันเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอทตลอดเวลา ส่วนในเด็กจะใช้ตัวเลขต่างไป ปกติความดันโลหิตสูงไม่ก่อให้เกิดอาการในทีแรก แต่ความดันโลหิตสูงต่อเนื่องเมื่อผ่านไปเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจเหตุความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ท่อเลือดแดงโป่งพอง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย และโรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (ไม่ทราบสาเหตุ) และความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ราวร้อยละ 90–95 จัดเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ หมายถึงมีความดันโลหิตสูงโดยไม่มีเหตุพื้นเดิมชัดเจน ที่เหลืออีกร้อยละ 5–10 จัดเป็นความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิมักมีสาเหตุที่สามารถบอกได้ เช่น โรคไตเรื้อรัง ท่อเลือดแดงหรือหลอดเลือดแดงไตตีบแคบ หรือโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น แอลโดสเตอโรน คอร์ติซอลหรือแคทิโคลามีนเกิน อาหารและการเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยควบคุมความดันเลือดและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพ แม้การรักษาด้วยยายังมักจำเป็นในผู้ที่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตยังไม่พอหรือไม่ได้ผล การรักษาความดันในหลอดเลือดแดงสูงปานกลาง (นิยามเป็น >160/100 มิลลิเมตรปรอท) ด้วยยาสัมพันธ์กับการคาดหมายคงชีพที่เพิ่มขึ้น ประโยชน์ของการรักษาความดันเลือดระหว่าง 140/90 ถึง 160/100 มิลลิเมตรปรอทไม่ค่อยชัดเจน บางบทปริทัศน์ว่าไม่มีประโยชน์ แต่บ้างก็ว่ามี.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและความดันโลหิตสูง · ดูเพิ่มเติม »

ความดันโลหิตต่ำ

วามดันโลหิตต่ำ (hypotension) ในทางสรีรวิทยาและแพทยศาสตร์ คือ ภาวะที่มีความดันเลือดต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลอดเลือดแดงของระบบไหลเวียนโลหิต ความดันเลือด คือ แรงที่เลือดผลักผนังหลอดเลือดแดงเมื่อหัวใจสูบฉีดเลือด มักถือว่าความดันโลหิตต่ำ หมายถึง มีความดันช่วงหัวใจบีบต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท หรือความดันช่วงหัวใจคลายต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติ การพิจารณาว่าความดันเลือดต่ำหรือไม่นั้นดูจากอาการแสดงที่สังเกตได้เป็นหลัก.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและความดันโลหิตต่ำ · ดูเพิ่มเติม »

ความดันเลือด

วามดันเลือด (blood pressure, ย่อ: BP) หรือเรียก ความดันเลือดแดง เป็นความดันที่เกิดจากเลือดหมุนเวียนกระทำต่อผนังหลอดเลือด และเป็นหนึ่งในอาการแสดงชีพที่สำคัญ คำว่า "ความดันเลือด" โดยไม่เจาะจงปกติหมายถึง ความดันเลือดแดงของการไหลเวียนเลือดทั่วกาย ระหว่างหัวใจเต้นแต่ละครั้ง ความดันเลือดแปรผันระหว่างความดันสูงสุด (ช่วงการบีบตัวของหัวใจ) และความดันต่ำสุด (ช่วงหัวใจคลายตัว) ความดันเลือดในการไหลเวียนเลือดเกิดจากการสูบของหัวใจเป็นหลัก ผลต่างของความดันเลือดเฉลี่ยเป็นผลให้เลือดไหลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในการไหลเวียนเลือด อัตราการไหลของเลือดเฉลี่ยขึ้นอยู่กับทั้งความดันเลือดและความต้านทานต่อการไหลของหลอดเลือด ความดันเลือดเฉลี่ยลดลงเมื่อเลือดไหลเวียนเคลื่อนห่างจากหัวใจผ่านหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดฝอย เนื่องจากการสูญเสียพลังงานกับความหนืด ความดันเลือดเฉลี่ยลดลงตลอดทั้งการไหลเวียนเลือด แม้ส่วนมากจะตกลงในหลอดเลือดแดงเล็กและหลอดเลือดแดงจิ๋ว (arteriole) ความโน้มถ่วงมีผลต่อความดันเลือดผ่านแรงอุทกสถิต (คือ ระหว่างยืน) และลิ้นในหลอดเลือดดำ การหายใจและการสูบจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อลายยังผลต่อความดันในหลอดเลือดดำ.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและความดันเลือด · ดูเพิ่มเติม »

คอ

อ เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีรยางค์หลายชนิด เป็นโครงสร้างที่แยกศีรษะออกจากลำตัว.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและคอ · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่ด้านหน้าของลำคอ โดยอยู่ด้านข้างและใต้ต่อมกระดูกอ่อนไทรอยด์ (thyroid cartilage) และอยู่ลึกลงไปจากกล้ามเนื้อสเตอร์โนไฮออยด์ (sternohyoid), สเตอร์โนไทรอยด์ (sternothyroid) และโอโมไฮออยด์ (omoyoid) ต่อมนี้มี 2 พู แผ่ออกทางด้านข้างและคลุมพื้นที่บริเวณด้านหน้าและด้านข้างของหลอดลม (trachea) รวมทั้งส่วนของกระดูกอ่อนคริคอยด์ (cricoid cartilage) และส่วนล่างของกระดูกอ่อนไทรอยด์ (thyroid cartilage) ทั้งสองพูนี้จะเชื่อมกันที่คอคอดไทรอยด์ (isthmus) ซึ่งอยู่ที่บริเวณด้านหน้าต่อกระดูกอ่อนของหลอดลม (trachea cartilage) ชิ้นที่สองหรือสาม.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและต่อมไทรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติวิชากายวิภาคศาสตร์

วาดทางกายวิภาคแสดงหลอดเลือดดำในร่างกาย ในสมัยปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ประวัติการศึกษาวิชากายวิภาคศาสตร์ เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาตั้งแต่การผ่าร่างกายของเหยื่อจากการสังเวยในสมัยโบราณ ไปจนถึงการวิเคราะห์อย่างละเอียดซับซ้อนถึงการทำงานของร่างกายโดยนักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ การศึกษาวิชานี้มีลักษณะเฉพาะมาเป็นเวลานาน และมีการพัฒนาถึงการทำความเข้าใจในหน้าที่และโครงสร้างของอวัยวะในร่างกายอย่างต่อเนื่อง การศึกษากายวิภาคศาสตร์มนุษย์มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่มีเกียรติและนับว่าเป็นสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่มีความโดดเด่นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 วิธีการศึกษาวิชากายวิภาคศาสตร์ก็มีการพัฒนาอย่างมากมายตั้งแต่การศึกษาในสัตว์ไปจนถึงการศึกษาในศพของมนุษย์ และการใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนในคริสต์ศตวรรษที่ 20.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและประวัติวิชากายวิภาคศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

แมลงปอ

วนหัวและตาขนาดใหญ่ของแมลงปอ การผสมพันธุ์ของแมลงปอ แมลงปอ (อังกฤษ: Dragonfly, ภาษาไทยถิ่นเหนือ: แมงก่ำบี้) คือแมลงที่มีตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ ตัวเต็มวัยมีชีวิตอยู่บนบกมีปีกบินได้ แมลงปอมีการเจริญเติบโตแบบเป็นขั้นตอนประเภทไม่สมบูรณ์แบบ คือ มีระยะไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ไม่มีระยะดักแด้ โดยระยะไข่และตัวอ่อนมีชีวิตอยู่ในน้ำ ตัวอ่อนที่อยู่ในน้ำมีรูปร่างแตกต่างจากตัวเต็มวัยมาก เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะลอกคราบครั้งสุดท้าย กลายเป็นตัวเต็มวัยที่มีปีกและจะใช้ชีวิตบนบกได้ต่อไป แมลงปอจัดเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตจำพวกหนึ่ง โดยถือกำเนิดมาตั้งแต่ 320 ล้านปีก่อนในยุคคาร์บอนิเฟอรัส ก่อนหน้าไดโนเสาร์ และแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเลยมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากขนาดลำตัวที่แมลงปอในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าแมลงปอในยุคปัจจุบันมาก โดยมีความห่างระหว่างปีกมากกว่า 70 เซนติเมตร ในอารยธรรมอียิปต์โบราณ แมลงปอปรากฏอยู่ในอักษรภาพเฮียโรกริฟฟิธในหลุมศพของฟาโรห์Sky Hunters: The World Of Dragonfly.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและแมลงปอ · ดูเพิ่มเติม »

แอมโลดิพีน

แอมโลดิพีน (Amlodipine) หรือชื่อทางการค้าคือ นอร์วาสค์ (Norvasc) เป็นยาสามัญสำหรับแก้ความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ ทำงานโดยการไปขยายหลอดเลือดแดง ยานี้ถูกใช้แทนยาในกลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ที่อาจก่อให้เกิดภาวะหัวใจวาย และจะถูกใช้ก็ต่อเมื่อยาชนิดอื่นไม่สามารถแก้ความดันโลหิตสูงและอาการปวดเค้นหัวใจได้แล้ว สามารถรับยานี้ได้โดยวิธีการรับประทานและจะออกฤทธิได้อย่างน้อยที่สุดยาวถึงหนึ่งวัน ผลข้างเคียงของการใช้แอมโลดิพีนได้แก่ อาการบวมน้ำ, รู้สึกล้า, ปวดท้อง และคลื่นไส้ ผลข้างเคียงขั้นรุนแรงได้แก่ ใจสั่น, ความดันโลหิตต่ำ หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ายานี้ปลอดภัยต่อสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรหรือไม่ สำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับควรใช้ยานี้ในปริมาณแต่น้อย แอมโลดิพีนได้รับการจดสิทธิบัตรในปี..

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและแอมโลดิพีน · ดูเพิ่มเติม »

โรคริดสีดวงทวาร

รคริดสีดวงทวาร (hemorrhoids (อังกฤษอเมริกัน) หรือ haemorrhoids (อังกฤษบริติช) หรือ piles) เป็นโครงสร้างหลอดเลือดในช่องทวารหนัก ในสภาพปกติจะมีลักษณะเป็นนวมและช่วยในการกลั้นอุจจาระ เมื่อบวมหรืออักเสบจะมีพยาธิสภาพเป็น หัวริดสีดวง อาการของโรคริดสีดวงทวารขึ้นอยู่กับชนิดที่เป็น แบบภายในมักจะเลือดออกเป็นสีแดงสดโดยไม่เจ็บเมื่อถ่ายอุจจาระ ขณะที่แบบภายนอกบ่อยครั้งจะเจ็บและบวมที่บริเวณทวารหนัก และถ้าเลือดออกก็จะสีคล้ำกว่า อาการบ่อยครั้งจะดีขึ้นหลังจาก 2-3 วัน แต่แบบภายนอกอาจจะเหลือติ่งหนัง (acrochordon) แม้หลังจากอาการหายแล้ว แม้ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของโรคริดสีดวงทวาร แต่ก็เชื่อว่าปัจจัยที่เพิ่มแรงดันในท้องหลายอย่างมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งท้องผูก ท้องร่วง และนั่งถ่ายเป็นเวลานาน ริดสีดวงทวารยังสามัญกว่าในช่วงตั้งครรภ์ด้วย การวินิจฉัยจะเริ่มที่การตรวจดูที่บริเวณ หลายคนเรียกอาการทุกอย่างที่เกิดรอบบริเวณทวารหนัก-ไส้ตรงอย่างผิด ๆ ว่า "โรคริดสีดวงทวาร" แต่ก็ควรตัดสาเหตุร้ายแรงของอาการให้แน่นอนก่อน การส่องกล้องแบบ Colonoscopy หรือ sigmoidoscopy บางครั้งสมควรใช้เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและกันเหตุที่ร้ายแรงกว่า บ่อยครั้ง อาการไม่จำเป็นต้องรักษา การรักษาเริ่มต้นจะเป็นการเพิ่มการรับประทานใยอาหาร, ดื่มน้ำให้มาก ๆ, ทานยา NSAID เพื่อลดเจ็บ, และพักผ่อน ยาที่เป็นครีมอาจใช้ทาที่บริเวณ แต่ประสิทธิผลของยาเช่นนี้ไม่มีหลักฐานที่ดี อาจทำหัตถการเล็กน้อยได้จำนวนหนึ่งหากอาการรุนแรงหรือไม่ดีขึ้นด้วยการรักษาแบบอนุรักษ์ โดยการผ่าตัดจะสงวนไว้สำหรับโรคที่ไม่ดีขึ้น ประชากรประมาณ 50%-66% จะมีปัญหาริดสีดวงทวารอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต ชายและหญิงพบบ่อยพอ ๆ กัน คนอายุ 45-65 ปีจะมีปัญหามากที่สุด เป็นปัญหาสำหรับคนมั่งมีมากกว่า และปกติจะหายได้ดี การกล่าวถึงโรคนี้เป็นครั้งแรกที่รู้มาจากบันทึกในกระดาษปาปิรัสของชาวอิยิปต์ช่วง 1700 ปีก่อน..

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและโรคริดสีดวงทวาร · ดูเพิ่มเติม »

โรคหลอดเลือดแดงแข็ง

รคหลอดเลือดแดงแข็ง หรือ โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดกับหลอดเลือดแดง เกิดจากปฏิกิริยาการอักเสบเรื้อรังที่ผนังหลอดเลือดแดง ส่วนใหญ่เป็นจากการสะสมของเม็ดเลือดขาวแมคโครฟาจและถูกกระตุ้นโดยไขมันแอลดีแอลโดยไม่มีการกำจัดไขมันและคอเลสเตอรอลออกที่ดีพอจากการทำงานของแมคโครฟาจโดยไขมันเอชดีแอล.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและโรคหลอดเลือดแดงแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ

รคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease (CAD)) หรือที่เรียกว่าโรคหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง (accessdate หรือ atherosclerotic cardiovascular disease หรือ coronary heart disease) หรือ โรคหัวใจขาดเลือด (ischemic heart disease (IHD)) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดของโรคหัวใจ และ สาเหตุของโรคหัวใจล้มเหลว.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

เกเลน

วาดเกเลนในศตวรรษที่ 18 โดยเกออร์ก เพาล์ บัสช์ เกเลน (Galen; Γαληνός, Galēnos; Claudius Galenus; ค.ศ. 129 - ประมาณ ค.ศ. 200 หรือ 216) แห่งเพอร์กามอน เป็นแพทย์ชาวกรีกซึ่งมีอิทธิพลต่อวิทยาศาสตร์การแพทย์ของตะวันตกมาเป็นเวลานานกว่าพันปี ชื่อหน้า "Claudius" ซึ่งไม่ได้ระบุเอาไว้ในเอกสารภาษากรีก ปรากฏอยู่ในเอกสารในยุคฟื้นฟูศิลปวิท.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและเกเลน · ดูเพิ่มเติม »

เม็ดพาชีเนียน

ม็ดพาชีเนียน (Pacinian corpuscles) หรือ Lamellar corpuscles (เม็ดเป็นชั้น ๆ) เป็นตัวรับแรงกล (mechanoreceptor) หุ้มปลายพิเศษหลักอย่างหนึ่งในสี่อย่างที่ผิวหนังซึ่งไม่มีขน เป็นปลายประสาทที่หุ้มด้วยเซลล์ซึ่งไม่ใช่เซลล์ประสาท (schwann cell) มีลักษณะเป็นชั้น ๆ คล้ายหัวหอมที่เต็มไปด้วยน้ำในระหว่างชั้น โดยชั้นนอกสุดจะหนาเป็นพิเศษและชั้นในสุดจะต่างจากชั้นอื่น ๆ ทั้งทางกายวิภาคและทางเคมีภูมิคุ้มกัน เม็ดอยู่ในผิวหนังที่ไวต่อแรงสั่นและการเปลี่ยนแรงดัน โดยอยู่ในหนังแท้ใต้ผิวหนังประมาณ 2-3 มม.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและเม็ดพาชีเนียน · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อดูรา

ื่อหุ้มสมองชั้นนอก หรือ เยื่อดูรา (Dura mater; มาจากภาษาละติน แปลว่า "hard mother") เป็นเยื่อหุ้มสมองชั้นนอกสุดที่แข็ง หยาบ และไม่ยืดหยุ่นที่หุ้มสมองและไขสันหลัง โดยมีเยื่อหุ้มสมองชั้นอื่นๆ คือเยื่อเพีย (pia mater) และเยื่ออะแร็กนอยด์ (arachnoid mater) อยู่ด้านใต้ลึงลงไป เยื่อดูราจะไม่แนบสนิทกับไขสันหลัง โดยยื่นเลยผ่านไขสันหลังที่ระดับกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอวชิ้นที่ 2 ถึงประมาณกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บชิ้นที่ 2 Shepherd S. 2004.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและเยื่อดูรา · ดูเพิ่มเติม »

เอออร์ตา

อออร์ตา เป็นหลอดเลือดแดงที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ เริ่มต้นจากหัวใจห้องล่างซ้าย และนำเลือดที่มีออกซิเจนสูงไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในระบบการไหลเวียนเลี้ยงกาย (systemic circulation).

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและเอออร์ตา · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อตายเหตุขาดเลือด

นื้อตายเหตุขาดเลือ.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและเนื้อตายเหตุขาดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 18: อาการ อาการแสดง และความผิดปกติที่พบจากการตรวจทางคลินิกและทางห้องปฏิบัติการ

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและICD-10 บทที่ 18: อาการ อาการแสดง และความผิดปกติที่พบจากการตรวจทางคลินิกและทางห้องปฏิบัติการ · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 9: โรคของระบบไหลเวียนโลหิต

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและICD-10 บทที่ 9: โรคของระบบไหลเวียนโลหิต · ดูเพิ่มเติม »

Vena comitans

หลอดเลือดดำชั้นลึกของรยางค์บน ('''Venae comites''' อยู่ทางด้านบนขวา) Vena comitans (หรือรูปพหูพจน์ venae comitantes) เป็นคำภาษาละตินหมายถึง หลอดเลือดดำที่มักจะไหลเป็นคู่ และทั้งคู่มีทางเดินอยู่ด้านข้างของหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดังกล่าวมักจะทอดตัวเป็นคู่ เราจึงมักใช้รูปพหูพจน์มากกว่า Venae comitantes มักจะพบอยู่กับหลอดเลือดแดงขนาดเล็กบางเส้นโดยเฉพาะที่รยางค์ หลอดเลือดแดงขนาดใหญ่มักไม่มี venae comitantes ซึ่งมักจะมีหลอดเลือดดำเส้นเดียวที่มีขนาดใกล้เคียง ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับหลอดเลือดแดง ตัวอย่างของหลอดเลือดแดงและ venae comitantes ของมัน.

ใหม่!!: หลอดเลือดแดงและVena comitans · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ArteriesArteryเส้นเลือดแดง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »