โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หมู่เกาะอะลูเชียน

ดัชนี หมู่เกาะอะลูเชียน

หมู่เกาะอะลูเชียน (Aleutian Islands) เป็นหมู่เกาะในสหรัฐอเมริกา ครอบคลุมพื้นที่ 6,821 ตร.ไมล์ (17,666 กม²) ทอดตัวไปทางทิศตะวันตกของคาบสมุทรอะแลสกายาว 1,200 ไมล์ (1,931 กม.) สหรัฐอเมริกาซื้อหมู่เกาะนี้จากรัสเซีย เมื่อ..

13 ความสัมพันธ์: ชาวอะลิวต์กระแสน้ำญี่ปุ่นการทัพหมู่เกาะอะลูเชียนรายการแผ่นดินไหวสหรัฐจักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 2 แห่งรัสเซียคาบสมุทรอะแลสกาซีกโลกตะวันตกปลาสเตอร์เจียนแปซิฟิกปะการังโอเชียเนียเกาะทะนากาเกาะแอตตู

ชาวอะลิวต์

วอะลิวต์ (Aleut people) เป็นชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บนหมู่เกาะอะลูเชียน ของรัฐอะแลสกา สหรัฐอเมริกา และแคว้นคัมชัตคา ประเทศรัสเซี.

ใหม่!!: หมู่เกาะอะลูเชียนและชาวอะลิวต์ · ดูเพิ่มเติม »

กระแสน้ำญี่ปุ่น

กระแสน้ำญี่ปุ่น หมุนตามเข็มนาฬิกา บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ กระแสน้ำญี่ปุ่น หรือ กระแสน้ำคุโระชิโอะ (黒潮 "กระแสน้ำสีดำ"; Kuroshio Current) เป็นกระแสน้ำที่เป็นส่วนหนึ่งของกระแสน้ำศูนย์สูตรในมหาสมุทรแปซิฟิก สามารถเห็นได้ชัดเพราะน้ำทะเลมีสีน้ำเงินเข้ม ไหลตามชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของไต้หวัน และตามแนวชายฝั่งตะวันออกของเกาะฮนชูในประเทศญี่ปุ่น ไปรวมกับกระแสน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ ทางใต้ของหมู่เกาะอะลูเชียน หมวดหมู่:กระแสน้ำมหาสมุทร หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ญี่ปุ่น.

ใหม่!!: หมู่เกาะอะลูเชียนและกระแสน้ำญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

การทัพหมู่เกาะอะลูเชียน

การทัพหมู่เกาะอะลูเชียน เป็นการทัพที่เริ่มขึ้นเมื่อกองทัพญี่ปุ่นยึดเกาะแอตตู และ Kiska จนมีการตอบโต้จนกองทัพสหรัฐเปิดฉากโจมตีเกาะแอตตู ในวันที่ 11 พฤษภาคม 1943 และบุกสำเร็จในวันที่ 29 พฤษภาคม กองทัพญี่ปุ่นเรื่มใช้กลุยุทธ banzai charge จนถึงวันที่ 15 สิงหาคม แต่กองทัพสหรัฐยังโจมตี เกาะอื่นจนในที่สุดกองทัพญี่ปุ่นก็ยอมออกจากเกาะในวันที่ 29 กรกฎาคม.

ใหม่!!: หมู่เกาะอะลูเชียนและการทัพหมู่เกาะอะลูเชียน · ดูเพิ่มเติม »

รายการแผ่นดินไหว

นี่เป็นเนื้อหาของรายการแผ่นดินไหวและอันดับแผ่นดินไหวแบ่งตามแมกนิจูดและผู้เสียชีวิต.

ใหม่!!: หมู่เกาะอะลูเชียนและรายการแผ่นดินไหว · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: หมู่เกาะอะลูเชียนและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 2 แห่งรัสเซีย

ักรพรรดินีแคทเธอรีนที่ 2 แห่งรัสเซีย (Catherine II of Russia) ซึ่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า "แคทเธอรีนมหาราชินี" (หรือ Екатерина II Великая; Katharina die Große; 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2272 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2339) พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดินีนาถที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดและครองราชย์ยาวนานที่สุดของรัสเซีย ทรงขึ้นครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2305 หลังจากการรัฐประหารและการปลงพระชนม์จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 3 พระราชสวามีของพระองค์เอง (ไม่นานหลังจากการสิ้นสุดของสงครามเจ็ดปี) จนกระทั่งเสด็จสวรรคต การปกครองของพระองค์เป็นการอธิบายถึงการเป็น ผู้ใช้อำนาจเด็ดขาดที่ทรงเรืองปัญญา (enlightened despot) ทั้งยังทรงฟื้นฟูจักรวรรดิรัสเซียให้แข็งแกร่งและมีอาณาเขตกว้างกว่าเดิมอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน จนรัสเซียกลายมาเป็นชาติมหาอำนาจที่สำคัญมากที่สุดชาติหนึ่งในยุโรป ในการเข้าถึงขุมอำนาจและปกครองจักรวรรดิของพระองค์ พระนางแคทเธอรีนมักจะทรงพึ่งพาอำนาจจากเหล่าขุนนางที่ทรงโปรดปราน และผู้ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเช่นกริกอรี ออโลฟ และกริกอรี โปเตมคิน หรือเหล่านายพลผู้มีอำนาจบารมีสูงเช่น ปิออตร์ รูเมียนเซฟ และอเล็กซานเดอร์ ซูโวโลฟ หรือแม้แต่พลเรือเอกเช่น ฟิโอดอร์ อูชาโคฟ พระนางปกครองรัสเซียในช่วงเวลาที่จักรวรรดิได้ทำการแผ่ขยายอาณาเขตของตนโดยทั้งการศึกสงครามและการทูต ทางทิศใต้, อาณาจักรข่านแห่งไครเมียร์ถูกบดขยี้และตามมาด้วยชัยชนะเหนือจักรวรรดิออตโตมันในสงครามรัสเซีย-ตุรกี ต่อมารัสเซียได้ทำการเข้ายึดครองดินแดนอันว่างเปล่าแห่งโนโวรอสซิยาตลอดจนชายฝั่งทะเลดำและทะเลอะซอฟ ทางทิศตะวันตก, เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนียซึ่งถูกปกครองโดยอดีตคนรักของพระนาง พระเจ้าสตานิส์ลอว์ ออกุส โปเนียโทว์สกี ในที่สุดก็ถูกแบ่งแยกออกจากกันโดยรัสเซียได้ส่วนแบ่งของดินแดนมากที่สุด ทางทิศตะวันออก, รัสเซียเริ่มเข้ายึดครองอะแลสกาในรูปแบบของอาณานิคมจนนำไปสู่การก่อตั้งอเมริกาของรัสเซีย พระองค์ทรงทำการปฏิรูประบบราชการภายในของเขตกูเบอร์นิยา รวมไปถึงมีรับสั่งให้สถาปนาเมืองและหมู่บ้านขึ้นมากมาย และในฐานะที่ทรงเป็นผู้นิยมชมชอบพระราชกรณียกิจของจักรพรรดิปีเตอร์มหาราช พระองค์จึงได้ดำเนินพระราโชบายตามแนวทางของจักรพรรดิปีเตอร์มหาราชโดยการปฏิรูปรัสเซียให้เข้าสู่ความทันสมัยตามแบบฉบับชาติยุโรปตะวันตก อย่างไรก็ตามการเข้ารับราชการในกองทัพและระบบเศรษฐกิจของประเทศยังคงต้องพึ่งพาระบบทาสอยู่ต่อไป ในขณะที่ความต้องการใช้แรงงานของประเทศและของเหล่าผู้ครอบครองที่ดินเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การใช้แรงงานทาสดำเนินไปถึงขั้นกดขี่แรงงานทาส และระบบทาสดังกล่าวก็เป็นหนึ่งในเหตุผลประการสำคัญของการก่อกบฏหลายต่อหลายครั้ง ดังเช่นกบฏปูกาเชฟที่มีกองทหารม้าและชาวนาจำนวนมากมายเข้าร่วมการกบฏ ตลอดระยะเวลาในการครองราชย์หรือ สมัยแคทเธอรีน ถูกพิจารณาว่าเป็นยุคทองของจักรวรรดิรัสเซียและของระบอบศักดินาในรัสเซีย แถลงการณ์ว่าด้วยเสรีภาพของขุนนางซึ่งเป็นที่โต้แย้งกันในรัชสมัยของจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 3 ก็ได้รับการยินยอมในช่วงรัชสมัยของพระนางแคทเธอรีน โดยแถลงการณ์ฉบับนี้ได้ให้อิสรภาพแก่บรรดาขุนนางไม่ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของกองทัพหรือการรับราชการสนองคุณประเทศ ให้อิสรภาพในการครอบครองที่อยู่อาศัย เช่น แมนชันรูปแบบคลาสสิก โดยรูปแบบสถาปัตยกรรมดังกล่าวเป็นที่นิยมและได้รับการสนับสนุนโดยพระนางเจ้าแคทเธอรีนอย่างมาก ก่อให้เกิดตึกรามบ้านช่องอันหรูหราขึ้นจำนวนมาก ซึ่งตลอดช่วงการครองราชย์ของพระองค์ได้ทรงทำให้โฉมหน้าของประเทศเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จึงกล่าวได้ว่ารัชสมัยของพระนางคือยุคเรืองปัญญาของรัสเซียก็ว่าได้.

ใหม่!!: หมู่เกาะอะลูเชียนและจักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 2 แห่งรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรอะแลสกา

มุทรอะแลสกา คาบสมุทรอะแลสกา (Alaska Peninsula) เป็นคาบสมุทรที่มีความยาวราว 800 กม.

ใหม่!!: หมู่เกาะอะลูเชียนและคาบสมุทรอะแลสกา · ดูเพิ่มเติม »

ซีกโลกตะวันตก

ซีกโลกตะวันตก ซีกโลกตะวันตกเป็นคำทางภูมิศาสตร์หมายถึง ครึ่งหนึ่งของโลกที่อยู่ทางตะวันตกของเส้นเมริเดียนแรก (ลากผ่านกรีนิช สหราชอาณาจักร) และทางตะวันออกของเส้นเมริเดียนที่ 180 องศา (แอนติเมอริเดียน) ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเรียก ซีกโลกตะวันออก ในความหมายนี้ ซีกโลกตะวันตกประกอบด้วยทวีปอเมริกา ส่วนตะวันตกของทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปลายสุดฝั่งตะวันออกของประเทศรัสเซีย ดินแดนต่าง ๆ ในโอเชียเนียและบางส่วนของแอนตาร์กติกา แต่ไม่รวมบางส่วนของหมู่เกาะอะลูเชียนที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐอะแลสกา ในความพยายามนิยามซีกโลกตะวันตกว่าเป็นส่วนของโลกซึ่งมิใช่ส่วนหนึ่งของโลกเก่า ยังมีการใช้เส้นเมอริเดียนที่ 20 องศาตะวันตก และเส้นเมอริเดียนที่ 160 องศาตะวันออกซึ่งอยู่ตรงข้ามนิยามซีกโลกตะวันตก.

ใหม่!!: หมู่เกาะอะลูเชียนและซีกโลกตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสเตอร์เจียนแปซิฟิก

ปลาสเตอร์เจียนแปซิฟิก หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาสเตอร์เจียนขาว (Pacific sturgeon, White sturgeon; หมายถึง "ปลาสเตอร์เจียนที่ใหญ่กว่าภูเขา") เป็นปลาสเตอร์เจียนชนิดหนึ่ง มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลาสเตอร์เจียนชนิดอื่น ๆ พบกระจายพันธุ์ในเขตน้ำเย็นของชายฝั่งอ่าวมอนเทอเรย์ของทวีปอเมริกาเหนือ หมู่เกาะอาลิวเชียน ทะเลสาบอิลลิแอมนาในรัฐอะแลสกา แม่น้ำโคลอมเบียในแคนาดา ไปจนถึงแคลิฟอร์เนียตอนกลาง ใต้ส่วนหัวมีหนวดใช้สำหรับสัมผัสหาอาหารใต้น้ำเป็นอาหาร 4 เส้น กินอาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็กทั่วไป และสัตว์น้ำมีกระดอง เช่น ปู กุ้ง และหอย ส่วนหัวมีเส้นประสาทเป็นจำนวนมาก ข้างลำตัว ส่วนหัว และส่วนหลังมีกระดูกยื่นออกมาโดยรอบใช้สำหรับป้องกันตัว จัดเป็นปลาสองน้ำจะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด ทะเลสาบ หรือบริเวณปากแม่น้ำในวัยอ่อน แต่เมื่อโตขึ้นจะว่ายอพยพลงสู่ทะเลบริเวณชายฝั่ง และเมื่อถึงฤดูวางไข่ก็จะว่ายกลับมาวางไข่ในแหล่งน้ำจืดอีกครั้ง ปลาสเตอร์เจียนขาวนับเป็นปลาสเตอร์เจียนที่มีความใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับ ปลาสเตอร์เจียนฮูโซ่ (Huso huso) และนับเป็นปลาสเตอร์เจียนที่มีความใหญ่ที่สุดที่อยู่ในสกุล Acipenser ด้วย โดยเคยมีบันทึกไว้ว่าตัวที่ใหญ่ที่สุดยาวถึง 20 ฟุต และน้ำหนักถึง 816 กิโลกรัม เชื่อว่ามีอายุยืนยาวได้นานถึง 200 ปี จัดเป็นปลาเศรษฐกิจและนิยมตกกันเป็นเกมกีฬา นอกจากนี้แล้ว ปลาสเตอร์เจียนขาวยังสามารถกระโดดขึ้นเหนือน้ำได้ด้วยเมื่อตกใจ ทั้ง ๆ ที่มีขนาดใหญ่เช่นนี้ เป็นสาเหตุที่ทำให้เรือของชาวประมงและชาวพื้นเมืองอับปาง และมีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ จึงทำให้ได้ได้รับการขนานนามว่าเป็นสัตว์ประหลาดแห่งทะเลสาบอิลลิแอมนา โดยที่ชาวพื้นเมืองมีความเชื่อหากได้พบเจอกับสัตว์ประหลาดตัวนี้แล้วจะพบกับความหายน.

ใหม่!!: หมู่เกาะอะลูเชียนและปลาสเตอร์เจียนแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

ปะการัง

ปะการัง หรือ กะรัง เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในชั้นแอนโธซัวและจัดเป็นพวกดอกไม้ทะเล มีขนาดเล็กเรียกว่าโพลิฟ แต่จะอาศัยรวมกันอยู่เป็นโคโลนีที่ประกอบไปด้วยโพลิฟเดี่ยว ๆ จำนวนมาก เป็นกลุ่มที่สร้างแนวปะการังที่สำคัญพบในทะเลเขตร้อนที่สามารถดึงสารแคลเซียมคาร์บอเนตจากน้ำทะเลมาสร้างเป็นโครงสร้างแข็งเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยได้ หัวของปะการังหนึ่ง ๆ โดยปรกติจะสังเกตเห็นเป็นสิ่งมีชีวิตเดี่ยวๆอันหนึ่ง แต่ที่จริงนั้นมันประกอบขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตเดี่ยวๆขนาดเล็กนับเป็นพัน ๆ โพลิฟโดยในทางพันธุ์ศาสตร์แล้วจะเป็นโพลิฟชนิดพันธุ์เดียวกันทั้งหมด โพลิฟจะสร้างโครงสร้างแข็งที่มีลักษณะเฉพาะของปะการังแต่ละชนิด หัวของปะการังหนึ่งๆมีการเจริญเติบโตโดยการสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศของโพลิฟเดี่ยวๆ แต่ปะการังก็สามารถสืบพันธุ์ออกลูกหลานโดยการใช้เพศกับปะการังชนิดเดียวกันด้วยการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์พร้อม ๆ กันตลอดหนึ่งคืนหรือหลาย ๆ คืนในช่วงเดือนเพ็ญ แม้ว่าปะการังจะสามารถจับปลาและสัตว์เล็ก ๆ ขนาดแพลงตอนได้โดยใช้เข็มพิษ (เนมาโตซิสต์) ที่อยู่บนหนวดของมัน แต่ส่วนใหญ่แล้วปะการังจะได้รับสารอาหารจากสาหร่ายเซลล์เดียวที่สังเคราะห์แสงได้ที่เรียกว่าซูแซนทาลา นั่นทำให้ปะการังทั้งหลายมีการดำรงชีวิตที่ขึ้นตรงต่อแสงอาทิตย์และจะเจริญเติบโตได้ในน้ำทะเลใสตื้น ๆ โดยปรกติแล้วจะอาศัยอยู่บริเวณที่มีความลึกน้อยกว่า 60 เมตร ปะการังเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้สร้างโครงสร้างทางกายภาพของแนวปะการังที่พัฒนาขึ้นมาในทะเลเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนอย่างเช่นเกรตแบริเออร์รีฟบริเวณนอกชายฝั่งของรัฐควีนส์แลนด์ของประเทศออสเตรเลีย แต่ก็มีปะการังบางชนิดที่ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับสาหร่ายเนื่องจากอยู่ในทะเลลึกอย่างในมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ปะการังสกุล “โลเฟเลีย” ที่อยู่ได้ในน้ำเย็นๆที่ระดับความลึกได้มากถึง 3000 เมตร ตัวอย่างของปะการังเหล่านี้สามารถพบได้ที่ดาร์วินมาวด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเคพแวร็ธในสก๊อตแลนด์ และยังพบได้บริเวณนอกชายฝั่งรัฐวอชิงตันและที่หมู่เกาะอะลูเชียนของอะแลสก.

ใหม่!!: หมู่เกาะอะลูเชียนและปะการัง · ดูเพิ่มเติม »

โอเชียเนีย

อเชียเนีย (Oceania) เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มของหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก การใช้ในวงแคบ หมายถึง หมู่เกาะพอลินีเซีย (รวมนิวซีแลนด์) หมู่เกาะเมลานีเซีย (รวมนิวกินี) และหมู่เกาะไมโครนีเซีย การใช้ในวงกว้างจะรวมออสเตรเลียเข้าไปด้วย และอาจรวมถึงกลุ่มเกาะมลายู บางทีนำไปใช้ในความหมายที่รวมเอาเกาะอื่นๆ เข้าไว้ เช่น ญี่ปุ่นและหมู่เกาะอาลิวเชียน แต่พบน้อยมาก "โอเชียเนีย" หมายถึง กลุ่มประเทศและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทวีปออสเตรเลียซึ่งเป็นทวีปที่มีขนาดเล็กที่สุด เนื้อที่ราว 7.7 ล้านตารางกิโลเมตร เล็กกว่าทวีปเอเชียถึง 6 เท่า ประกอบด้วย ผืนแผ่นดินที่เป็นที่ตั้งของประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ และหมู่เกาะพอลินีเซีย หมู่เกาะไมโครนีเซีย หมู่เกาะเมลานีเซีย ทวีปออสเตรเลีย-โอเชียเนีย เป็นกลุ่มของหมู่เกาะจำนวนมากนับพันเกาะ อย่างไมโครนีเซียมีในครอบครองกว่า 600 เก.

ใหม่!!: หมู่เกาะอะลูเชียนและโอเชียเนีย · ดูเพิ่มเติม »

เกาะทะนากา

กาะทะนากา (Tanaga Island) เป็นเกาะในหมู่เกาะแอนดรีแอนอฟตะวันตก ส่วนหนึ่งด้านตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะอะลูเชียน ในรัฐอะแลสกา เกาะมีพื้นที่ 204 ตร.ไมล์ (530 ตร.กม.) เป็นเกาะที่มีพื้นที่อันดับ 33 ของสหรัฐอเมริกา บนเกาะมีภูเขาไฟที่ยังทรงพลังอยู่ มีน้ำตกใหญ่หลายแห่ง หมวดหมู่:เกาะในสหรัฐอเมริกา.

ใหม่!!: หมู่เกาะอะลูเชียนและเกาะทะนากา · ดูเพิ่มเติม »

เกาะแอตตู

กาะแอตตู (Attu) เป็นเกาะทางตะวันตกและเกาะที่ใหญ่ที่สุดของหมู่เกาะเนียร์ ในหมู่เกาะอะลูเชียน ของรัฐอะแลสกา สหรัฐอเมริกา และเป็นจุดที่อยู่ทางตะวันตกของรัฐอะแลสกา และของสหรัฐอเมริกา รวมถึงตะวันตกสุดของทวีปอเมริกาเหนือ ปัจจุบันไม่มีคนอยู่อาศัย ในสมัยก่อนเคยเป็นที่อยู่อาศัยอย่างรุ่งเรืองของชนพื้นเมืองเผ่าอะลิวต..

ใหม่!!: หมู่เกาะอะลูเชียนและเกาะแอตตู · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Aleutian Islandsหมู่เกาะอาลิวเชียน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »