โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หมากรุกจีน

ดัชนี หมากรุกจีน

กระดานหมากรุกจีน '''รุกฆาต!''' การเดินของตี่และสือ การเดินของเบ๊ การเดินและกินของเผ่า หมากรุกจีน เป็นเกมหมากรุกชนิดหนึ่ง มีที่มาจากประเทศจีน ใช้เล่นระหว่างผู้เล่น 2 คน การตั้งหมากต้องตั้งไว้ที่จุดไล่มาจากซ้ายมือแถวล่างสุดคือ กือ (เรือ) เบ๊ (ม้า) เฉีย (ช้าง) สือ (องครักษ์) ตี่ (ขุน) สือ เฉีย เบ๊ กือ แถวที่ 2 เว้นไว้ แถวที่ 3 ตั้งเผ่า (ปืนใหญ่) 2 ตัวไว้หน้าเบ๊ และแถวที่ 4 ตั้งจุก (เบี้ย) 5 ตัวไว้หน้ากือ เฉีย และตี.

11 ความสัมพันธ์: รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยหมากรุกหมากรุกญี่ปุ่นหมากรุกญี่ปุ่นคอมพิวเตอร์หมากรุกจีนในเอเชียนเกมส์ 2010หมากรุกเกาหลีหมากล้อมแซม สโลนเกมกระดานเจียงหนานPlayok

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.

ใหม่!!: หมากรุกจีนและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

หมากรุก

ตุรังกา หมากรุก เป็นเกมกระดานชนิดหนึ่ง มีลักษณะจำลองจากการสงคราม ใช้เล่นระหว่างผู้เล่น 2 คน แต่ละฝ่ายต้องพยายามรุกจนขุนของอีกฝ่ายให้ได้(ทำให้อีกฝ่ายไม่สามารถเดินต่อไปได้) โดยกติกาและตัวหมากอื่นๆ จะแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดของหมากรุก.

ใหม่!!: หมากรุกจีนและหมากรุก · ดูเพิ่มเติม »

หมากรุกญี่ปุ่น

หมากรุกญี่ปุ่น หมากรุกญี่ปุ่น หรือ โชงิ เป็นหมากรุกชนิดหนึ่งที่เป็นหมากรุกรุ่นที่ 2 ของชาวญี่ปุ่น ซึ่งกระดานจะเป็นแบบ 9x9 การตั้งหมากจะตั้งในช่องเรียงจากแถวล่างสุดไล่จากด้านซ้ายมือคือ Kyo (หอก) Kei (ม้า) Gin (เงิน) Kin (ทอง) Geoku (ขุน) Kin Gin Kei Kyo แถวที่ 2 จากด้านซ้ายมือคือ Kaku (บิชอป) Hisha (เรือ) ซึ่งทั้งคู่ตั้งอยู่หน้า Kei แถวที่ 3 เป็นแผง Fu (เบี้ย) 9 ตัว หมากทุกตัวยกเว้นขุนและทองจะสามารถเลื่อนยศได้ เพราะฉะนั้นทุกตัวที่เลื่อนยศได้จะมีอักษร 2 ด้าน.

ใหม่!!: หมากรุกจีนและหมากรุกญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

หมากรุกญี่ปุ่นคอมพิวเตอร์

หมากรุกญี่ปุ่นคอมพิวเตอร์ (コンピュータ将棋; computer shogi) เป็นขอบเขตของปัญญาประดิษฐ์ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถเล่นหมากรุกญี่ปุ่น การวิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์หมากรุกญี่ปุ่นได้รับการดำเนินการส่วนใหญ่โดยโปรแกรมเมอร์อิสระ, กลุ่มวิจัยของมหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชน.

ใหม่!!: หมากรุกจีนและหมากรุกญี่ปุ่นคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

หมากรุกจีนในเอเชียนเกมส์ 2010

หมากรุกจีนในเอเชียนเกมส์ 2010 ได้มีการจัดขึ้นในเมืองกว่างโจว ประเทศจีน ตั้งแต่วันที่ 13 ถึง 19 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: หมากรุกจีนและหมากรุกจีนในเอเชียนเกมส์ 2010 · ดูเพิ่มเติม »

หมากรุกเกาหลี

ตัวหมากเริ่มต้นในหมากรุกเกาหลี ใกล้เคียงกับหมากรุกจีน หมากรุกเกาหลี หรือ จังกี เป็นเกมหมากรุกที่อยู่คู่กับคนเกาหลีมานาน มีตัวหมาก กระดาน และวิธีเล่นคล้ายจนเกือบเหมือนกับหมากรุกจีน โดยบนกระดานจะมี 9 เส้นขวางและ 10 เส้นตั้ง ใน..

ใหม่!!: หมากรุกจีนและหมากรุกเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

หมากล้อม

หมากล้อม หรือ โกะ (เหวยฉี) เป็นเกมหมากกระดานชนิดหนึ่ง เป็นเกมกลยุทธ์ซึ่งผู้เล่นสองคนต่างมุ่งหมายล้อมเอาพื้นที่ในกระดานให้ได้มากกว่าคู่แข่ง เดิมถือกำเนิดขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 3,000-4,000 ปีมาแล้ว เป็นสิ่งแสดงถึงความเก่าแก่และลึกซึ้งของอารยธรรมจีน เหวยฉีเป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ปัญญาชนชั้นสูงและขุนนางผู้บริหารประเทศ ในสมัยนั้น เหวยฉีหรือหมากล้อมเป็นหมากกระดานประจำชาติจีน ถูกจัดเป็น 1 ใน 4 ศิลปะประจำชาติจีน (ได้แก่ หมากล้อม ดนตรี กลอน ภาพ) เป็นภูมิปัญญาจีนแท้ ในขณะที่หมากรุกจีนยังมีเค้าว่ารับมาจากอินเดียและเพิ่งจะแพร่หลายในสมัยราชวงศ์ถังเท่านั้น ต่อมา เหวยฉี ได้แพร่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี ที่ญี่ปุ่นนี้เอง ที่เป็นแผ่นดินทองของ "โกะ" ซึ่งเป็นคำที่ญี่ปุ่นใช้เรียกเหวยฉีหรือหมากล้อม โกะรุ่งเรืองอย่างมากในญี่ปุ่น สมัยโชกุนโทะกุงะวะ ได้สนับสนุนให้ทหารเล่นโกะ เปลี่ยนวิธีการรบด้วยกำลังเป็นการรบด้วยปัญญา และยังสนับสนุนให้โกะแพร่หลายมากยิ่งขึ้นอีก โชกุนโทะกุงะวะได้ตั้งสำนักโกะขึ้น 4 สำนัก เพื่อคัดเลือกผู้เป็นยอดฝีมือโกะของญี่ปุ่น โดยจัดให้สำนักทั้ง 4 คือ ฮงอินโบ, อิโนะอูเอะ, ยาสุอิ และ ฮายาชิ ส่งตัวแทนมาประลองฝีมือเพื่อชิงตำแหน่ง "เมย์จิน" จากการส่งเสริมโกะของญี่ปุ่น ทำให้อีกประมาณ 100 ปีต่อมา มาตรฐานฝีมือนักเล่นโกะของญี่ปุ่นก็ก้าวนำจีน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของโกะรวมทั้งประเทศเกาหลีไปไกลแล้ว ปัจจุบันทั่วโลกเล่นโกะกันอย่างแพร่หลาย โกะเรียกเป็นสากลว่า "Go" ปัจจุบัน โกะแพร่หลายในกว่า 50 ประเทศ ทวีปออสเตรเลียและอเมริกาเหนือทุกประเทศ อเมริกาใต้, ยุโรป, เอเชีย เกือบทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทย ในทวีปแอฟริกาแพร่หลายในประเทศแอฟริกาใต้ ประชากรที่เล่นโกะในจีนประมาณว่ามี 10 ล้านคน, ญี่ปุ่น 10 ล้านคน, เกาหลีใต้ 10 ล้านคน (เกาหลีใต้มีประชากรทั้งหมด 44 ล้านคน ประชากรที่เล่นโกะมีถึงเกือบ 1 ใน 4 ของประชากรประเทศ), ในไต้หวัน 1 ล้านคน, สหรัฐอเมริกา 1 ล้านคน สมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งญี่ปุ่น (Japan Go Association) ได้จัดการแข่งขันหมากล้อมสมัครเล่นชิงแชมป์โลกขึ้นครั้งแรกในปี 2522 มีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมแข่งขัน 15 ประเทศ และเพิ่มเป็น 29 ประเทศในปี 2525 จึงได้มีการจัดตั้งสหพันธ์หมากล้อมนานาชาติ (International Go Federation) ขึ้น ต่อมามีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคม 2558 มีสมาชิกจำนวน 75 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นประเทศในยุโรป ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกสหพันธ์หมากล้อมนานาชาติ ตั้งแต่ปี 2526 และต่อมาในปี 2527 ได้มีการส่งตัวแทนไปแข่งครั้งแรกที่กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น สำหรับการก่อตั้งสมาคมอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2536 ซึ่งมีการก่อตั้ง ชมรมหมากล้อม (โกะ) ประเทศไทย โดยนายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ทำให้มีคนไทยเล่นมากขึ้น มีการบรรจุเป็นกีฬาอย่างเป็นทางการในกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา ต่อมาเมื่อปี 2544 จึงมีการจดทะเบียนเป็น สมาคมกีฬาหมากล้อม และต่อมาในปี 2546 ได้กลายเป็น สมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย สำนักงานตั้งอยู่ที่ ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ทำให้กีฬาหมากล้อมในประเทศไทยมีการแพร่หลายมากขึ้นจนได้รับการบรรจุในกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งแรกในการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 24 ที่จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ ได้ทำการศึกษาวิจัยโครงการ การศึกษาผลของการเล่นหมากล้อมที่มีต่อเชาวน์ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการเผชิญปัญหา และความคิดเชิงระบบ เพื่อศึกษาวิจัยและวัดผลจากการเล่นหมากล้อมต่อ 4 ทักษะ คือ เชาวน์ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา และความคิดเชิงระบบของเยาวชนไทยในระดับมัธยมศึกษาพบว่า เยาวชนที่เล่นกีฬาหมากล้อมมีการเปลี่ยนแปลงทางบวกในด้านพัฒนาเชาวน์ปัญญาความคิดสร้างสรรค์และความคิดเชิงระบบ ช่วยให้ผู้เล่นมีสมาธิและความจดจำดีขึ้น รวมถึงความสามารถในการวางแผนเพิ่มขึ้น.

ใหม่!!: หมากรุกจีนและหมากล้อม · ดูเพิ่มเติม »

แซม สโลน

ซามูเอล ฮาวเวิร์ด สโลน (Samuel Howard Sloan; 7 กันยายน ค.ศ. 1944 —) เป็นทั้งนักหมากรุกสากล และผู้จัดพิมพ์ชาวอเมริกัน ซึ่งอาศัยอยู่กับครอบครัวของเขาในย่านบร็องซ์ นครนิวยอร์ก ในปี..

ใหม่!!: หมากรุกจีนและแซม สโลน · ดูเพิ่มเติม »

เกมกระดาน

'''เกมกระดาน'''ในทวีปอเมริกาเหนือ หมากฮอสสามแถว เกมกระดาน BattleLore เกมกระดาน คือเกมที่ต้องใช้ชิ้นส่วนหรือตัวหมากวางไว้บนพื้นที่เล่น เคลื่อนที่หรือหยิบออกจากพื้นที่เล่น พื้นที่เล่นเปรียบได้กับ "กระดาน" ซึ่งจะมีผิวหน้าหรือรูปภาพเฉพาะสำหรับเกมนั้น ๆ เกมกระดานมีหลายประเภทและหลากรูปแบบ ตั้งแต่รูปแบบที่ง่ายที่สุดคือหมากฮอส ไปจนถึงเกมที่มีความซับซ้อน มีกติกามากมาย ต้องใช้แผนการหรือยุทธวิธีเข้าช่วยเพื่อที่จะให้ตนเองชนะ คือบรรลุจุดประสงค์ของการเล่นเกมนั้น การเล่นเกมกระดานเป็นความบันเทิงอย่างหนึ่ง บางครั้งก็ใช้เกมกระดานสำหรับการแข่งขันในระดับชาติหรือนานาชาติ ในปัจจุบันเกมกระดานมีหลากหลายประเภท ตัวอย่างเช่น เกมสำหรับงานปาร์ตี้ ที่มีการพูดคุย บลัฟกัน ได้แก่ Avalon, Werewolf หรือ เกมแนวธุรกิจการลงทุน เช่น Stockpile, I'm the Boss หรือเกมบริหารจัดการทรัพยากร เช่น Terraforming, Istanbul เป็นต้น.

ใหม่!!: หมากรุกจีนและเกมกระดาน · ดูเพิ่มเติม »

เจียงหนาน

Xishi bridge, Mudu, Suzhouเจียงหนาน (Jiangnan;; หรือบางครั้งสะกดว่า Kiang-nan) คือพื้นที่บริเวณตอนล่างของแม่น้ำแยงซีในประเทศจีนปัจจุบัน โดยรวมถึงพื้นที่ตอนใต้ของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี (Yangtze River Delta) ด้วย บริเวณเจียงหนานมีพื้นที่ครอบคลุมนครเซี่ยงไฮ้ ทางตอนใต้ของมณฑลเจียงซู ทางตอนใต้ของมณฑลอานฮุย ทางตอนเหนือของมณฑลเจียงซี และตอนเหนือของมณฑลเจ้อเจียง เมืองสำคัญในบริเวณนี้ ได้แก่ เมืองเซี่ยงไฮ้ หนานจิง หนิงป่อ หางโจว ซูโจว อู๋ซี ฉางโจว (อังกฤษ: Changzhou; จีน: 常州; พินอิน: Chángzhōu) และ เช่าซิง (Shaoxing; จีนตัวย่อ: 绍兴; จีนตัวเต็ม: 紹興; พินอิน: Shàoxīng) ประชาชนในบริเวณเจียงหนานส่วนมากมักใช้ภาษาจีนอู๋เป็นภาษาพูดประจำท้องถิ่น.

ใหม่!!: หมากรุกจีนและเจียงหนาน · ดูเพิ่มเติม »

Playok

300px Playok หรือรู้จักอีกชื่อหนึ่งว่า Kurnik เป็นเว็บไซต์เล่นเกมกระดานและเกมไพ่ออนไลน์กับผู้อื่นแบบ real-time เว็บไซต์นี้สร้างขึ้นใน..

ใหม่!!: หมากรุกจีนและPlayok · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »