โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สารประกอบอนินทรีย์

ดัชนี สารประกอบอนินทรีย์

รประกอบอนินทรีย์ (inorganic compound) คือสารประกอบเคมีที่นิยามตรงข้ามกับสารประกอบอินทรีย์ เป็นการจัดแบ่งสารเคมีตามความเชื่อแต่ดั้งเดิม ที่ให้สารเคมีที่ไม่ได้เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตเป็นสารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบอนินทรีย์มักไม่มีพันธะเชื่อมระหว่างอะตอมของคาร์บอนและไฮโดรเจน ถึงแม้สารประกอบอนินทรีย์จะมีอยู่มากมายแต่เทียบไม่ได้กับจำนวนของสารประกอบอินทรีย์ที่มีอยู่ในโลก สารประกอบคาร์บอนเกือบทั้งหมดถูกจัดให้เป็นสารประกอบอินทรีย์แต่ก็มีบางตัวถูกกำหนดชัดเจนว่าเป็นสารประกอบอนินทรีย์ เช่น.

37 ความสัมพันธ์: ชีวิตการย่อยสลายทางชีวภาพกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิตมลพิษทางอากาศวัฏจักรฟอสฟอรัสสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศสายใยอาหารสารประกอบของก๊าซมีตระกูลสตรอนเชียมฟลูออไรด์สตรอนเชียมเพอร์ออกไซด์หอยทะเลออโตทรอพอาร์เซนิกไตรออกไซด์ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ซิลเวอร์ไนเตรตปฏิกิริยารีดอกซ์น้ำอสุจิแบเรียมไอโอไดด์แมงกานีส(II) ออกไซด์แมงกานีสไดออกไซด์แอนติโมนีไตรออกไซด์แคลเซียมฟลูออไรด์แคลเซียมไฮดรอกไซด์โพแทสเซียมเตตระไอโอโดเมอคูเรต(II)โลก (ดาวเคราะห์)โครงข่ายโลหะ−สารอินทรีย์ไฮโดรเจนโบรไมด์เพนตาเอมีน(ไดไนโตรเจน)รูทีเนียม(II) คลอไรด์เมแทบอลิซึมเจลเดคะวาเนเดตเคมีเคมีวิเคราะห์เคมีอนินทรีย์เคซีนเซอร์โคเนียม(IV) คลอไรด์ICD-10 บทที่ 19: การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และผลสืบเนื่องบางอย่างจากสาเหตุภายนอก

ชีวิต

ีวิต คือสถานะที่แยกสิ่งมีชีวิตหรืออินทรีย์ออกจากสิ่งไม่มีชีวิตหรืออนินทรีย์และสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว สิ่งมีชีวิตเติบโตผ่านกระบวนการสันดาป การสืบพันธุ์และ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อม สิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดสามารถพบได้ในชีวมณฑลของโลก ส่วนประกอบทั่วไปของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ - พืช สัตว์ เห็ดรา โพรทิสต์ อาร์เคีย และ แบคทีเรีย - คือ เซลล์ที่มีส่วนของน้ำและคาร์บอนเป็นหลัก และ เซลล์แหล่านี้ถูกเรียบเรียงอย่างซับซ้อนตามข้อมูลจากหน่วยพันธุกรรม สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการสันดาป เพิ่มความสามารถในการเจริญเติบโต ตอบสนองต่อสิ่งรอบตัว และ มีการปรับตัวและวิวัฒนาการโดยการผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติ สิ่งที่มีคุณสมบัติเหล่านี้เท่านั้นที่ถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ชีวิต คือ หน่วยที่ต้องใช้พลังงาน มีคุณสมบัติทั้งกายภาพและชีวภาพดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

การย่อยสลายทางชีวภาพ

ราเมือกสีเหลืองเจริญเติบโตในถังขยะกระดาษเปียก การย่อยสลายทางชีวภาพ (biodegradation) หรือการสลายตัวทางชีวภาพ คือสารเคมีที่สลายตัวของวัสดุจากเชื้อแบคทีเรียหรือทางชีวภาพอื่นๆ โดยมีความสัมพันธ์กับระบบนิเวศ การจัดการขยะ ชีวการแพทย์ และสภาพแวดล้อมทางชีวภาพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สามารถย่อยสลายกลับไปเป็นธาตุตามธรรมชาติ สารอินทรีย์จะถูกย่อยสลายด้วยออกซิเจน หรือไม่ใช้ออกซิเจน การย่อยสลายทางชีวภาพคือกระบวนการที่นำสารอินทรีย์มาทำปฏิกิริยากับสารอนินทรีย์ ทำให้ย่อยสลายได้ ซึ่งอินทรียวัตถุจะเปลี่ยนเป็นแร่ธาตุ สารลดแรงตึงผิวซึ่งจะหลั่งออกมายังผิวด้านนอกโดยการทำงานของเซลล์จุลินทรีย์ เพื่อเพิ่มกระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพ นวัตกรรมวิธีการที่สำคัญในการย่อยสลายของจุลินทรีย์ได้เปิดเผยรายละเอียดด้านข้อมูลทางพันธุกรรม การศึกษาสารพันธุกรรมทั้งหมดของจุลินทรีย์ การศึกษาด้านโปรตีนทั้งหมดที่มีในรหัสพันธุกรรม ชีวสารสนเทศ การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมของจุลินทรีย์ระดับสูง เพื่อนำไปสู่กระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพ และความสามารถของจุลินทรีย์เพื่อปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ผลิตภัณฑ์ที่มีสารย่อยสลายชีวภาพได้ และสารย่อยสลายทางชีวภาพไม่ได้ ในการตลาดมักบอกว่าสลายได้ทางชีวภาพได้.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และการย่อยสลายทางชีวภาพ · ดูเพิ่มเติม »

กำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต

กำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต (Abiogenesis) เป็นสมมติฐานเกี่ยวกับกระบวนการทางธรรมชาติเกี่ยวกับการกำเนิดของสิ่งมีชีวิตจากสิ่งไม่มีชีวิตบนโลก เช่น ปลาเกิดจากดินโคลนในแม่น้ำลำคลอง โดยสมมติฐานนี้ตั้งแต่สมัยอริสโตเติล ซึ่งฟรานเซสโก เรดิ และหลุยส์ ปาสเตอร์ ได้พิสูจน์ว่าสิ่งมีชีวิตไม่สามารถเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต สมมติฐานจึงไม่เป็นที่ยอมรั.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

มลพิษทางอากาศ

มลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์แห่งหนึ่ง มลพิษทางอากาศ (Air pollution) คือการเกิดฝุ่นละออง โมเลกุลชีวภาพ หรือวัตถุอันตรายชนิดอื่น ๆ ในชั้นบรรยากาศของโลก เป็นสาเหตุของโรค การเสียชีวิตในมนุษย์ และทำลายสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เช่น พืชพันธุ์ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง ชั้นบรรยากาศเป็นระบบแก๊สธรรมชาติที่ซับซ้อนที่จำเป็นต่อชีวิตบนโลก การลดลงของโอโซนในชั้นสตราโทสเฟียร์เนื่องจากมลพิษทางอากาศถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของมนุษย์ รวมถึงระบบนิเวศของโลกด้วย มลพิษทางอากาศภายในอาคาร และคุณภาพของอากาศในเมืองจัดเป็นปัญหามลพิษโลก 2 ปัญหาที่เลวร้ายที่สุด จากรายงานชื่อ สถานที่ที่ประสบมลพิษมากที่สุดในโลก (World's Worst Polluted Places) ของสถาบันแบล็กสมิธ (Blacksmith Institute) ในปี..

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และมลพิษทางอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

วัฏจักรฟอสฟอรัส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และวัฏจักรฟอสฟอรัส · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ

หภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ (International Union of Pure and Applied Chemistry, ย่อ: IUPAC /ไอยูแพ็ก/) เป็นสหพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งประกอบด้วยองค์กรที่เป็นตัวแทนของนักเคมีในแต่ละประเทศ สหภาพฯ เป็นสมาชิกของสภาสหภาพวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ (ICSU) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำนักงานบริหาร หรือที่รู้จักกันในชื่อ "สำนักเลขาธิการ IUPAC" ตั้งอยู่ที่อุทยานสามเหลี่ยมวิจัย รัฐนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา สำนักงานบริหารแห่งนี้นำโดยผู้อำนวยการบริหารของ IUPAC IUPAC ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

สายใยอาหาร

สายใยอาหารน้ำจืดและบนบก สายใยอาหาร หรือวัฏจักรอาหาร บรรยายความสัมพันธ์แบบการกินกันในชุมชนนิเวศวิทยา นักนิเวศวิทยาสามารถรวบรวมรูปแบบชีวิตทุกชนิดอย่างกว้างขวางเป็นหนึ่งในสองหมวดหมู่ที่เรียกว่า ระดับหรือลำดับขั้นการกินอาหาร ได้แก่) ออโตทรอพ และ 2) เฮเทโรทรอพ ในการบำรุงเลี้ยงร่างกาย การเจริญเติบโต การพัฒนา และเพื่อสืบพันธุ์ของพวกออโตทรอพผลิตอินทรีย์สารจากอนินทรีย์สาร รวมถึงทั้งแร่ธาตุและแก๊ส เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ปฏิกิริยาเคมีเหล่านี้ต้องอาศัยพลังงาน ซึ่งมาจากดวงอาทิตย์เป็นหลักและส่วนใหญ่โดยการสังเคราะห์ด้วยแสง แม้ปริมาณน้อยมากมาจากปล่องไฮโดรเทอร์มอลและน้ำพุร้อน มีการไล่ระหว่างระดับการกินอาหารตั้งแต่ออโตทรอพสมบูรณ์ซึ่งมีแหล่งคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศเพียงแหล่งเดียว ไปจนถึงมิกโซทรอพ (เช่น พืชกินสัตว์) ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตออโตทรอพที่ได้รับอินทรีย์สารบางส่วนจากแหล่งอื่นนอกเหนือจากบรรยากาศ และเฮเทโรทรอพสมบูรณ์ซึ่งได้รับอินทรีย์สารโดยการกินออโตทรอพและเฮเทโรทรอพอื่น สายใยอาหารเป็นการแสดงหลากหลายวิธีการกินอย่างง่าย ซึ่งเชื่อมโยงระบบนิเวศเข้าด้วยกันเป็นระบบการแลกเปลี่ยนรวม มีความสัมพันธ์การกินกันหลายประเภทซึ่งสามารถแบ่งได้อย่างหยาบ ๆ เป็นการกินพืช กินสัตว์ กินซาก และภาวะปรสิต อินทรีย์สารบางอย่างที่กินโดยเฮเทโรทรอพ เช่น น้ำตาล ให้พลังงาน ออโตทรอพและเฮเทโรทรอพมีทุกขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นไปจนถึงหนักหลายตัน จากสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินไปจนถึงต้นไม้ยักษ์ และจากไวรัสไปจนถึงวาฬสีน้ำเงิน ชาลส์ เอลตันบุกเบิกแนวคิดของสายใยอาหาร ห่วงโซ่อาหาร และขนาดอาหารในหนังสือคลาสสิก "นิเวศวิทยาสัตว์" ใน ค.ศ. 1927 คำว่า "วัฏจักรอาหาร" ของเอลตันถูกแทนที่ด้วยคำว่า "สายใยอาหาร" ในหนังสือนิเวศวิทยาสมัยหลัง เอลตันแบ่งสปีชีส์ออกเป็นหมู่ทำหน้าที่ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับงานคลาสสิกและรากฐานสำคัญของเรย์มอนด์ ลินเดมัน ใน ค.ศ. 1942 ว่าด้วยไดนามิกส์ระดับการกิน ลินเดมันเน้นบทบาทสำคัญของสิ่งมีชีวิตผู้ย่อยสลายในระบบการจำแนกระดับการกิน ความคิดของสายใยอาหารนั้นมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในงานเขียนของชาร์ลส์ ดาร์วิน และระบบคำศัพท์ของเขา ตลอดจนในการอ้างถึงพฤติกรรมการย่อยสลายของไส้เดือนดิน เขาพูดเกี่ยวกับ "การเคลื่อนไหวอย่างดำเนินไปของอนุภาคโลก" แม้ก่อนหน้านั้น ใน ค.ศ. 1768 จอห์น บรุคเนอร์ อธิบายธรรมชาติว่าเป็น "สายในชีวิตสืบเนื่องกันหนึ่งเดียว" สายใยอาหารเป็นตัวแทนระบบนิเวศจริงที่จำกัด เพราะจำเป็นต้องจัดรวบรวมสปีชีส์ทั้งหลายเข้าเป็นสปีชีส์ตามลำดับการกิน ซึ่งเป็นหมู่ทำหน้าที่ของสปีชีส์ซึ่งมีผู้ล่าและเหยื่ออย่างเดียวกันในสายใยอาหาร นักนิเวศวิทยาใช้การทำให้เข้าใจง่ายนี้ในแบบจำลองเชิงปริมาณ หรือเชิงคณิตศาสตร์ ของไดมานิกส์ระดับการกิน ด้วยการใช้แบบจำลองเหล่านี้ นักนิเวศวิทยาสามารถวัดและทดสอบรูปแบบทั่วไปในโครงสร้างของเครือข่ายสายใยอาหารแท้จริงได้ นักนิเวศวิทยาได้ระบุคุณสมบัติไม่สุ่มในโครงสร้างภูมิลักษณ์ของสายใยอาหาร ตัวอย่างที่ตีพิมพ์ซึ่งใช้ในการวิเคราะห์อภิมานมีคุณภาพกับการละเลยหลากหลาย อย่างไรก็ดี จำนวนการศึกษาเชิงประจักษ์เกี่ยวกับสายใยชุมชนนั้นกำลังปรากฏขึ้น และการกระทำทางคณิตศาสตร์ต่อสายใยอาหารโดยใช้ทฤษฎีเครือข่ายมีรูปแบบพิสูจน์ได้ร่วมกันทั้งหมด ตัวอย่างเช่น กฎสเกลลิง ทำนายความสัมพันธ์ระหว่างทอพอโลยีของความเชื่อมโยงผู้ล่า-เหยื่อในสายใยอาหารและความอุดมของสปีชีส์ หมวดหมู่:นิเวศวิทยา.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และสายใยอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

สารประกอบของก๊าซมีตระกูล

รประกอบของก๊าซมีตระกูล คือสารประกอบทางเคมีของธาตุในหมู่ขวาสุดของตารางธาตุ หรือกลุ่มก๊าซมีตระกูล.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และสารประกอบของก๊าซมีตระกูล · ดูเพิ่มเติม »

สตรอนเชียมฟลูออไรด์

ตรอนเชียมฟลูออไรด์ (strontium fluoride) เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่มีสูตรเคมีคือ SrF2 เป็นของแข็งผลึกสีขาว พบในแร่สตรอนชิโอฟลูออไรต์ สามารถเตรียมได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างสตรอนเชียมคลอไรด์กับแก๊สฟลูออรีน หรือสตรอนเชียมคาร์บอเนตกับกรดไฮโดรฟลูออริก สตรอนเชียมฟลูออไรด์มีคุณสมบัติเป็นสภาพนำไอออนยวดยิ่งเช่นเดียวกับแคลเซียมฟลูออไรด์และแบเรียมฟลูออไรด์ สตรอนเชียมฟลูออไรด์ใช้ในอุตสาหกรรมกระจกและเลนส์ และใช้ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเทอร์โมอิเล็กทริกไอโซโทปรังสี สตรอนเชียมฟลูออไรด์ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อดวงตา ผิวหนังและระบบทางเดินหายใจจึงควรใช้อย่างระมัดระวัง.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และสตรอนเชียมฟลูออไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

สตรอนเชียมเพอร์ออกไซด์

ตรอนเชียมเพอร์ออกไซด์ (strontium peroxide) เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่มีสูตรเคมีคือ SrO2 มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น พบได้ในรูปแบบแอนไฮดรัสและออกตาไฮเดรต โดยรูปแบบแอนไฮดรัสจะมีโครงสร้างคล้ายกับแคลเซียมคาร์ไบด์ สตรอนเชียมเพอร์ออกไซด์เตรียมได้จากการผ่านแก๊สออกซิเจนเข้าไปในสตรอนเชียมออกไซด์ที่ถูกให้ความร้อน สตรอนเชียมเพอร์ออกไซด์มีคุณสมบัติระงับเชื้อ ใช้เป็นตัวออกซิไดซ์ในการฟอกขาวและเป็นส่วนผสมในดอกไม้ไฟ โดยจะให้สีแดง.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และสตรอนเชียมเพอร์ออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

หอยทะเล

หอยทะเล หอยทะเล เป็นหอยที่อาศัยอยู่ในทะเล โดยมากมักมีเปลือกแข็งหุ้มตัว สำหรับประเทศไทยมักนิยมนำมาประกอบอาหาร เนื่องจากมีรสชาติที่อร่อย ถูกปากทั้งคนไทยและชาวต่างชาต.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และหอยทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ออโตทรอพ

สีเขียวจากต้นเฟิร์นบ่งบอกว่าต้นเฟิร์นมีคลอโรฟิลล์ ซึ่งเป็นตัวที่ใช้ในการสังเคราะห์แสง จึงทำให้มันเป็นออโตทรอพ ออโตทรอพ (Autotroph. หรือ อัตโภชนาการ เป็นคำสมาสภาษากรีกมาจากคำว่า autos ที่แปลว่าตัวเอง และ trophe ที่แปลว่าโภชนาการ) คือสิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารเองได้ โดยทำการผลิตอาหารขึ้นมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นแหล่งคาร์บอน และแสงหรือสารอนินทรีย์อื่นๆ เป็นแหล่งพลังงาน สิ่งมีชีวิตประเภทออโตทรอพถูกจัดให้เป็นผู้ผลิตในห่วงโซ่อาหาร สิ่งมีชีวิตจำพวกพืชและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่ผลิตอาหารโดยการสังเคราะห์แสงถือว่าเป็นโฟโตทรอพ (phototroph) ส่วนแบคทีเรียที่นำการออกซิเดชันของสารอนินทรีย์ต่างๆ เช่นก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือเหล็กโลหะมาเป็นแหล่งพลังงานเรียกว่า คีโมออโตทรอพ (chemoautotroph) สิ่งมีชีวิตจำพวกออโตทรอพถือเป็นส่วนสำคัญยิ่งในห่วงโซ่อาหารในทุกๆ ระบบนิเวศ โดยที่พวกมันจะรับพลังงานมาจากแสงอาทิตย์ (หรือแหล่งอนินทรีย์อื่นๆ) แล้วแปลงพลังงานเหล่านี้ให้กลางเป็นโมเลกุลที่มีโครงสร้างเป็นคาร์บอนหรือโมเลกุลอินทรีย์อื่นๆ เพื่อนำไปใช้ในการทำงานเชิงชีวภาพของสิ่งมีชีวิต เช่นการสร้างเซลล์ รวมถึงเป็นอาหารให้กับสิ่งมีชีวิตจำพวกเฮเทโรทรอพ ที่ผลิตอาหารเองไม่ได้เพื่อนำไปใช้ในการทำงานเชิงชีวภาพเช่นเดียวกัน ฉะนั้นเฮเทโรทรอพต่างๆ ได้แก่สัตว์กินพืช, ฟังไจหรือเห็ดรา เช่นเดียวกับแบคทีเรียส่วนใหญ่และโปรโตซัวจะพึ่งพาออโตทรอพเป็นอาหารที่จะให้พลังงานและวัตถุดิบที่จะนำไปใช้ในการผลิตโมเลกุลอินทรีย์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยเฮเทโรทรอพทำการแปลงอาหารเป็นพลังงานโดยการแตกโมเลกุลอาหารให้เล็กลง สัตว์กินเนื้อก็พึ่งพาออโตทรอพเช่นเดียวกัน เนื่องจากพลังงานและคุณค่าโภชนาการในอาหารก็มาจากอาหารประเภทพืชที่เหยื่อของสัตว์กินเนื้อได้กินเข้าไป มีสิ่งมีชีวิตอยู่บางสายพันธุ์ที่อาศัยอินทรียสารเป็นแหล่งคาร์บอน แต่ก็สามารถอาศัยแสงหรืออนินทรียสารมาเป็นแหล่งพลังงานได้ด้วย แต่สิ่งมีชีวิตจำพวกนี้มักไม่ถูกจัดให้อยู่ในสิ่งมีชีวิตจำพวกออโตทรอพ แต่มักจะถูกจัดให้อยู่ในจำพวกเฮเทโรทรอพเสียมากกว่า โดยสิ่งมีชีวิตที่อาศัยคาร์บอนจากอินทรีย์สาร แต่อาศัยพลังงานจากแสง จัดอยู่ในพวกโฟโตเฮเทโรทรอพ (photoheterotroph) ส่วนสิ่งมีชีวิตที่อาศัยคาร์บอนมาจากอินทรีย์สาร แต่อาศัยพลังงานจากการออกซิเดชันของอนินทรีย์สาร จะถูกจัดอยู่ในพวกคีโมเฮเทโรทรอพ (chemoheterotroph) หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:พฤกษศาสตร์.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และออโตทรอพ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เซนิกไตรออกไซด์

อาร์เซนิคโตรไซด์ (Arsenic trioxide) เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่มีอยู่ในสูตรเคมี ในเชิงพาณิชย์ที่สำคัญนี้ออกไซด์ของสารหนูเป็นสารตั้งต้นหลักในสารประกอบสารหนูอื่น ๆ รวมถึงสารประกอบออร์แกโนอาร์เซนิค โดยประมาณ 50,000 ตันที่มีการผลิตต่อปี การใช้งานอย่างจำนวนมากที่มีการโต้เถียงที่ได้รับสารพิษสูงของสารประกอบสารหนู.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และอาร์เซนิกไตรออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์

ซัลเฟอร์เฮกซาฟลูออไรด์ (Sulfur hexafluoride) เป็นสารประกอบอนินทรีย์ มีสูตรเคมี SF6 เป็นก๊าซโพพิแลนต์ไม่มีกลิ่น ไม่มีพิษ ไม่ไวต่อปฏิกิริยา มีความหนาแน่น 6.13 g/L ที่ระดับน้ำทะเล มากกว่าอากาศ 6 เท่า ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกโดย Henri Moissan และ Paul Lebeau ในปี..

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

ซิลเวอร์ไนเตรต

ซิลเวอร์ไนเตรต (silver nitrate) เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่มีสูตรเคมีคือ AgNO3 ลักษณะเป็นผลึกของแข็งไม่มีสีถึงขาว ไม่มีกลิ่น เป็นสารตั้งต้นของสารประกอบเงินหลายชนิด ซิลเวอร์ไนเตรตใช้ในงานหลายประเภท เช่น ทางการแพทย์ งานถ่ายภาพ การย้อมสี การเคลือบเงินและการทำกระจก ในศตวรรษที่ 13 อัลแบร์ตุส มาญุสเคยบันทึกว่ากรดไนตริกสามารถละลายธาตุเงิน และสารละลายซิลเวอร์ไนเตรตทำให้ผิวดำได้ ครั้งหนึ่งนักเล่นแร่แปรธาตุเคยเรียกซิลเวอร์ไนเตรตว่า lunar caustic เพราะเชื่อว่าธาตุเงินเกี่ยวข้องกับดวงจันทร์ (lunar ในภาษาละตินแปลว่า ดวงจันทร์) ซิลเวอร์ไนเตรตเตรียมได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างธาตุเงินกับกรดไนตริก ได้ผลิตภัณฑ์เป็นซิลเวอร์ไนเตรต น้ำและออกไซด์ของไนโตรเจนตามสมการ: ปฏิกิริยาดังกล่าวต้องทำในตู้ดูดควันเนื่องจากไนโตรเจนไดออกไซด์เป็นก๊าซพิษ ซิลเวอร์ไนเตรตเป็นตัวออกซิไดซ์ จึงควรเก็บแยกกับสารอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์กัดกร่อนและเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม หากร่างกายได้รับสารประกอบเงินอาจก่อให้เกิดภาวะอาร์จีเรีย (argyria) ซึ่งจะทำให้สีผิวเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นสีน้ำเงินหรือน้ำเงินเท.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และซิลเวอร์ไนเตรต · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกิริยารีดอกซ์

ปฏิกิริยารีดอกซ์ ปฏิกิริยารีดอกซ์แบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือปฏิกิริยารีดักชั่น (reduction) และปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (oxidation) ปฏิกิริยารีดอกซ์เป็นปฏิกิริยาเกี่ยวกับการรับส่งอิเล็กตรอน แบ่งได้เป็น 2 ครึ่งปฏิกิริยาคือ ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น เป็นปฏิกิริยาที่เสียอิเล็กตรอน และปฏิกิริยารีดักชั่น เป็นปฏิกิริยาที่รับอิเล็กตรอน.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และปฏิกิริยารีดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำอสุจิ

น้ำอสุจิ น้ำอสุจิ (Semen, seminal fluid) เป็นสารประกอบอินทรีย์เหลวที่อาจมีตัวอสุจิอยู่ ในภาษาบาลี อะ แปลว่าไม่ สุจิ หรือสุจี แปลว่าสะอาด น้ำอสุจิ จึงแปลว่า น้ำที่ไม่สะอาด เป็นน้ำที่หลั่งออกจากอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์และจากอวัยวะทางเพศอื่น ๆ ของสัตว์เพศชาย และสามารถทำการผสมพันธุ์กับไข่ของเพศหญิงได้ ในมนุษย์ น้ำอสุจิมีองค์ประกอบอื่น ๆ นอกจากตัวอสุจิ คือมีเอนไซม์ต่าง ๆ และน้ำตาลประเภทฟรุกโทส ที่ช่วยเลี้ยงตัวอสุจิให้ดำรงรอดอยู่ได้ และเป็นสื่อเพื่อที่ตัวอสุจิจะเคลื่อนที่ หรือ "ว่ายน้ำ" ไปได้ น้ำอสุจิโดยมากเกิดจากต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ seminal vesicle ว่า "ถุงน้ำอสุจิ, ถุงพักน้ำอสุจิ" (หรือมีชื่ออื่นว่า ถุงน้ำอสุจิ, ถุงพักน้ำอสุจิ) ซึ่งเป็นอวัยวะอยู่ที่เชิงกราน แต่ว่าตัวอสุจิเองสร้างจากอัณฑะ ส่วนกระบวนการที่นำไปสู่การปล่อยน้ำอสุจิเรียกว่า การหลั่งน้ำอสุจิ ในมนุษย์ น้ำอสุจิเป็นของเหลวสีขาวข้นที่หลั่งออกโดยผู้ชาย เมื่อถึงจุดสุดยอด เมื่อมีเพศสัมพันธ์ เมื่อมีการสำเร็จความใคร่ หรือเมื่อขับออกตามธรรมชาติที่เรียกว่าฝันเปียก โดยจะมีการหลั่งน้ำอสุจิแต่ละครั้งประมาณ 3-4 ซีซี มีจำนวนตัวอสุจิเฉลี่ยประมาณ 300-500 ล้านตัว.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และน้ำอสุจิ · ดูเพิ่มเติม »

แบเรียมไอโอไดด์

แบเรียมไอโอไดด์ (barium iodide) เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่มีสูตรเคมีคือ BaI2 มีทั้งอยู่ในรูปแอนไฮดรัสและไฮเดรต (BaI2(H2O)2) แบเรียมไอโอไดด์ในรูปไฮเดรตละลายได้ในน้ำ, เอทานอลและแอซีโทน เมื่อได้รับความร้อนจะเปลี่ยนรูปเป็นเกลือแอนไฮดรัส โครงสร้างของแบเรียมไอโอไดด์ในรูปแอนไฮดรัสมีความคล้ายคลึงกับเลด(II) คลอไรด์ โดยอะตอมของแบเรียมอยู่ตรงกลางจับกับลิแกนด์ของไอโอไดด์ 9 ตัว และมีโครงสร้างผลึกที่คล้ายกับแบเรียมคลอไรด์ (BaCl2) แบเรียมไอโอไดด์มีความเป็นพิษเช่นเดียวกับเกลืออื่น ๆ ของแบเรียม จึงควรใช้อย่างระมัดระวัง.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และแบเรียมไอโอไดด์ · ดูเพิ่มเติม »

แมงกานีส(II) ออกไซด์

แมงกานีส(II) ออกไซด์ (Manganese(II) oxide) เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่มีสูตรว่า MnO Arno H. Reidies "Manganese Compounds" Ullmann's Encyclopedia of Chemical Technology 2007; Wiley-VCH, Weinheim.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และแมงกานีส(II) ออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

แมงกานีสไดออกไซด์

แมงกานีสไดออกไซด์ เป็นสารประกอบอนินทรีย์กับสูตร ซึ่งเป็นของแข็งสีดำหรือสีน้ำตาลเกิดขึ้นตามธรรมชาติเป็นแร่ไฟโรลูไซต์ ซึ่งเป็นแร่หลักของแมงกานีสและส่วนประกอบของก้อนแมงกานีส การใช้ที่สำคัญสำหรับ MnO2 เป็นเซลล์แบตเตอรี่แห้ง เช่น แบตเตอรี่อัลคาไลน์ และแบตเตอรี่สังกะสีคาร์บอน.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และแมงกานีสไดออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

แอนติโมนีไตรออกไซด์

แอนติโมนีไตรออกไซด์ (Antimony trioxide) เป็นสารประกอบอนินทรีย์ด้วยสูตร Sb2O3 มันเป็นสารประกอบในเชิงพาณิชย์ที่สำคัญที่สุดของพลวง มันถูกพบในธรรมชาติเป็นแร่ธาตุวาเลนทิไนต์ และเซนาร์มอนไทต์ เช่นเดียวกับโพลิเมอร์ออกไซด์ได้มากที่สุด Sb2O3 ละลายในสารละลายเท่านั้นที่มีการย่อยสล.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และแอนติโมนีไตรออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

แคลเซียมฟลูออไรด์

แคลเซียมฟลูออไรด์ (calcium fluoride) เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่มีสูตรเคมีคือ CaF2 ลักษณะเป็นของแข็งผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น ได้จากแร่ฟลูออไรต์ แคลเซียมฟลูออไรด์บริสุทธิ์ได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างแคลเซียมคาร์บอเนตกับกรดไฮโดรฟลูออริก ตามสมการ: แคลเซียมฟลูออไรด์ใช้ในอุตสาหกรรมกระจกและเลนส์ และเป็นแหล่งสำคัญของไฮโดรเจนฟลูออไรด์ ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมโลหะ การกลั่นน้ำมันและตัวทำความเย็น แคลเซียมฟลูออไรด์ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อดวงตา ผิวหนังและระบบทางเดินหายใจ หากทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริกจะได้กรดไฮโดรฟลูออริกซึ่งเป็นพิษ จึงควรใช้อย่างระมัดระวัง.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และแคลเซียมฟลูออไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

แคลเซียมไฮดรอกไซด์

แคลเซียมไฮดรอกไซด์ (calcium hydroxide) เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่มีสูตรเคมีคือ Ca(OH)2 ลักษณะเป็นผลึกไม่มีสีหรือผงสีขาว ได้จากการเจือจางแคลเซียมออกไซด์กับน้ำ สารละลายอิ่มตัวของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ รู้จักในชื่อน้ำปูนใ.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และแคลเซียมไฮดรอกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

โพแทสเซียมเตตระไอโอโดเมอคูเรต(II)

แทสเซียม เตตระไอโดเมอคูเรต(II) (Potassium tetraiodomercurate(II)) เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่มีโพแทสเซียมแคทไอออน และสารแอนไอออนเชิงซ้อนเตตระไอโดเมอคูเรต(II) ใช้ในการตรวจสอบแอมโมเนี.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และโพแทสเซียมเตตระไอโอโดเมอคูเรต(II) · ดูเพิ่มเติม »

โลก (ดาวเคราะห์)

ลก (Earth) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สามจากดวงอาทิตย์ และเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์เพียงหนึ่งเดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต จากการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งหลักฐานอื่นได้ความว่าโลกกำเนิดเมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีก่อน โลกมีอันตรกิริยะเชิงโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศโดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของโลก โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.26 วัน เรียกว่า ปี ซึ่งระหว่างนั้นโลกโคจรรอบแกนตัวเองประมาณ 366.26 รอบ แกนหมุนของโลกเอียงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ บนผิวโลก อันตรกิริยาความโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ก่อให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร ทำให้การหมุนบนแกนของโลกมีเสถียรภาพ และค่อย ๆ ชะลอการหมุนของโลก โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูงสุดในระบบสุริยะและใหญ่สุดในดาวเคราะห์คล้ายโลก 4 ดวง ธรณีภาคของโลกแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ส่วน เรียกว่าแผ่นธรณีภาค ซึ่งย้ายที่ตัดผ่านพื้นผิวตลอดเวลาหลายล้านปี ร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาสมุทร อีกร้อยละ 29 ที่เหลือเป็นแผ่นดินประกอบด้วยทวีปและเกาะซึ่งมีะเลสาบ แม่น้ำและแลห่งน้ำอื่นจำนวนมากกอปรเป็นอุทกภาค บริเวณขั้วโลกทั้งสองปกคลุมด้วยน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก และน้ำแข็งทะเลของแพน้ำแข็งขั้วโลก บริเวณภายในของโลกยังคงมีความเคลื่อนไหวโดยมีแก่นชั้นในซึ่งเป็นเหล็กในสถานะของแข็ง มีแก่นเหลวชั้นนอกซึ่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก และชั้นแมนเทิลพาความร้อนที่ขับเคลื่อนการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ภายในพันล้านปีแรก สิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นในมหาสมุทรและเริ่มส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและผิวดาว เกื้อหนุนให้เกิดการแพร่ขยายของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจน หลักฐานธรณีวิทยาบางส่วนชี้ว่าชีวิตอาจกำเนิดขึ้นเร็วสุด 4.1 พันล้านปีก่อน นับแต่นั้นตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะ คุณสมบัติทางกายภาพของโลก และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาของโลกประกอบกันทำให้สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการและแพร่พันธุ์ได้ Early edition, published online before print.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

โครงข่ายโลหะ−สารอินทรีย์

'''รูป 1:''' โครงสร้างของ MOF-5 ซึ่งเป็นตัวอย่างของโครงข่ายโลหะ—สารอินทรีย์ที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายและมีการนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทางเลือก โครงข่ายโลหะ−สารอินทรีย์ (Metal−organic Frameworks: MOFs) หมายถึง โครงข่ายในระดับโมเลกุลที่เกิดจากการสร้างพันธะระหว่างไอออนของโลหะและสารอินทรีย์จนเกิดเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ที่เป็นโครงข่าย (framework)ต่อเนื่องไม่สิ้นสุดหรือโครงข่ายอนันต์ (infinite framework)โดยทั่วไปสารอินทรีย์มักจะเป็นสารที่เป็นโมเลกุลแข็งเกร็ง (rigid molecule) เช่น กรด 1,4−เบนซีนไดคาร์บอกซิลิก กรด 1,3,5−เบนซีนไตรคาร์บอกซิลิก 4,4’−ไบพิริดีน เป็นต้น วัสดุโครงข่ายโลหะ−สารอินทรีย์มีศักยภาพในการนำไปประยุกต์ใช้ในหลากหลายแนว อาทิ การเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา การกักเก็บแก๊ส การคัดเลือกโมเลกุล เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันนักเคมีวัสดุสามารถประยุกต์ใช้วัสดุโครงข่ายโลหะ−สารอินทรีย์ในระดับอุตสาหกรรมได้แล้ว.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และโครงข่ายโลหะ−สารอินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรเจนโบรไมด์

รเจนโบรไมด์ (hydrogen bromide) มีสูตรเคมีว่า HBr เป็นสารประกอบอนินทรีย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งโมเลกุลประกอบขึ้นจากธาตุสองตัว ได้แก่ ไฮโดรเจน และโบรมีน ไฮโดรเจนโบรไมด์มีสถานะเป็นแก๊สที่ภาวะมาตรฐาน และเมื่อนำไปผสมน้ำจะได้เป็นกรดไฮโดรโบรมิก ในทางกลับกันเราสามารถสกัดเอาไฮโดรเจนโบรไมด์ออกจากสารละลายดังกล่าวได้ โดยการเติมตัวดูดความชื้น (dehydration agent) เพื่อไล่น้ำออก แต่ไม่สามารถแยกได้โดยการกลั่น ถือได้ว่าไฮโดรเจนโบรไมด์และกรดไฮโดรโบมิกมีความสัมพันธ์กัน แต่ไม่ใช่สารชนิดเดียวกัน ซึ่งในบางครั้งนักเคมีอาจใช้สูตร "HBr" แทนกรดไฮโดรโบมิก พร้อมทั้งเป็นที่เข้าใจกันในหมู่นักเคมีส่วนใหญ่ แต่อาจทำให้บุคคลทั่วไปเกิดความเข้าใจผิดหรือสับสนระหว่างสารสองชนิดนี้ได้.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และไฮโดรเจนโบรไมด์ · ดูเพิ่มเติม »

เพนตาเอมีน(ไดไนโตรเจน)รูทีเนียม(II) คลอไรด์

เพนตาเอมีน(ไดไนโตรเจน)รูทีเนียม(II) คลอไรด์ (Pentaamine(dinitrogen)ruthenium(II) chloride) เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่มีสูตร Cl2 เป็นของแข็งสีขาวโดยประมาณ แต่เป็นสารละลายที่มีสีเหลือง สารเชิงซ้อนประจุบวกมีความสำคัญเก่าแก่เป็นสารประกอบแรกที่มี N2 ผูกพันไปยังใจกลางโลหะ.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และเพนตาเอมีน(ไดไนโตรเจน)รูทีเนียม(II) คลอไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

เมแทบอลิซึม

กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และเมแทบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

เจล

ล เป็นวัสดุคล้ายของแข็ง เกิดจากสารละลายคอลลอยด์ (colloidal solution) มีโครงสร้างแบบร่างแห ที่สามารถเพิ่มปริมาตรเมื่ออยู่ในของเหลว ตัวอย่างของเจลที่กินได้ ได้แก่เจลาติน โดยมากมีสมบัติเป็นของเหลวเมื่อถูกกวน และสามารถกลับเป็นของแข็งเมื่อปล่อยทิ้งให้พัก (thixotropy).

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และเจล · ดูเพิ่มเติม »

เดคะวาเนเดต

รูปเหลี่ยมหลายหน้าแสดงโครงสร้างของเดคะวาเนเดต เดคะวาเนเดต (decavanadate) เป็นพอลิออกโซเมทัลเลต ที่ประกอบไปด้วยอะตอมของวาเนเดียมจำนวน 10 อะตอม มีสูตรทั่วไปเป็น 6− สามารถพบได้ในรูปของสารประกอบอนินทรีย์ประเภทเกลือ อาทิ โซเดียมเดคะวาเนเดต (Na6(H2O)n) แอมโมเนียมเดคะวาเนเดต ((NH4)6 ·6H2O) โพแทสเซียมเดคะวาเนเดต (K6·9H2O) เป็นต้น.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และเดคะวาเนเดต · ดูเพิ่มเติม »

เคมี

มี (chemistry) เป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาในเรื่องของสสาร โดยไม่เพียงแต่ศึกษาเฉพาะในเรื่องของปฏิกิริยาเคมี แต่ยังรวมถึงองค์ประกอบ โครงสร้างและคุณสมบัติของสสารอีกด้วย การศึกษาทางด้านเคมีเน้นไปที่อะตอมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างอะตอมกับอะตอม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสมบัติของพันธะเคมี บางครั้ง เคมีถูกเรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ศูนย์กลาง เพราะเป็นวิชาช่วยที่เชื่อมโยงฟิสิกส์เข้ากับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติสาขาอื่น เช่น ธรณีวิทยาหรือชีววิทยา ถึงแม้ว่าเคมีจะถือเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์กายภาพแต่ก็มีความแตกต่างจากวิชาฟิสิกส์ค่อนข้างมาก มีการถกเถียงกันอย่างมากมายถึงต้นกำเนิดของเคมี สันนิษฐานว่าเคมีน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากการเล่นแร่แปรธาตุซึ่งเป็นที่นิยมกันมาอย่างยาวนานหลายสหัสวรรษในหลายส่วนของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตะวันออกกลาง.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และเคมี · ดูเพิ่มเติม »

เคมีวิเคราะห์

มีวิเคราะห์ (Analytical chemistry.) คือสาขาของวิชาเคมีที่ว่าด้วยการวิเคราะห์สารตัวอย่าง เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงองค์ประกอบ และโครงสร้างทางเคมีของวัสดุนั้น.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และเคมีวิเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

เคมีอนินทรีย์

มีอนินทรีย์ (Inorganic chemistry) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาเคมีว่าด้วยเรื่องคุญสมบัติและปฏิกิริยาเคมีของสารประกอบอนินทรีย์ หรืออาจจะกล่าวได้ว่าสารประกอบเคมีทุกชนิดยกเว้นสารประกอบเคมีที่มีโซ่และวงแหวนคาร์บอน แต่ก็มีสารบางกลุ่มที่เป็น ได้ทั้งอินทรีย์และอนินทรีย์เช่น ออร์แกนโนเมทัลลิกเคมี (organometallic chemistry).

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และเคมีอนินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เคซีน

ซีน (Casein มาจากภาษาละตินว่า caseus ซึ่งแปลว่า ชีส) เป็นชื่อของกลุ่มฟอสโฟโปรตีน คือ αS1, αS2, β, κ โปรตีนเหล่านี้พบโดยทั่วไปในนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งเป็นส่วนถึง 80% ของโปรตีนในนมวัว และประมาณ 20%-45% ของโปรตีนในนมมนุษย์ เคซีนใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างรวมทั้งเป็นส่วนประกอบหลักของชีส สารเติมแต่งอาหาร และตัวยึดในไม้ขีดไฟ โดยเป็นอาหาร เคซีนประกอบด้วยกรดอะมิโน คาร์โบไฮเดรต และสารอนินทรีย์สองอย่างคือแคลเซียมและฟอสฟอรั.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และเคซีน · ดูเพิ่มเติม »

เซอร์โคเนียม(IV) คลอไรด์

ซอร์โคเนียม(IV) คลอไรด์ (Zirconium(IV) chloride) เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่ใช้งานบ่อยเป็นสารตั้งต้นในสารประกอบอื่น ๆ ของเซอร์โคเนียม เป็นสีขาวละลายของแข็งไฮโดรไลซ์อย่างรวดเร็วในอากาศชื้น.

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และเซอร์โคเนียม(IV) คลอไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 19: การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และผลสืบเนื่องบางอย่างจากสาเหตุภายนอก

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: สารประกอบอนินทรีย์และICD-10 บทที่ 19: การบาดเจ็บ การเป็นพิษ และผลสืบเนื่องบางอย่างจากสาเหตุภายนอก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สารอนินทรีย์อนินทรีย์สาร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »