โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)

ดัชนี สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)

สัณฐานวิทยา (morphology) หมายถึง การศึกษารูปพรรณสัณฐานของสิ่งมีชีวิต เช่น ลักษณะรูปร่างของดอกไม้ หรือ การจัดเรียงตัวของใบ หมวดหมู่:ชีววิทยา.

32 ความสัมพันธ์: ชีววิทยาบทนำวิวัฒนาการกลุ่มย่อยกล้ายกายวิภาคศาสตร์การปรับตัว (นิเวศวิทยา)การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงการแผ่ปรับตัวการเปลี่ยนแปลงทางโครงกระดูกของมนุษย์เนื่องจากการเดินด้วยสองเท้ากาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์มิญชวิทยามนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบันวิวัฒนาการชาติพันธุ์วิวัฒนาการของมนุษย์สกุลแพนเทอราสัณฐานวิทยา (แก้ความกำกวม)สิงโตอีกาทาร์เซียร์คอร์ปัส คาโลซัมงูหลามบอลซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพนกกะรางหัวขวานนกดำน้ำน้อยดีแมกโนเลียโลหิตจางที่มีเม็ดเลือดแดงเล็กเพนกวินปีกขาวเกล็ดปลาเห็ดราเคลดเซลล์ประสาทHomo erectusHomo habilis

ชีววิทยา

ีววิทยา (Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล.

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และชีววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

บทนำวิวัฒนาการ

"ต้นไม้บรรพชีวินวิทยาของสัตว์มีกระดูกสันหลัง" จากหนังสือ ''วิวัฒนาการมนุษย์'' ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5 (ลอนดอน, 1910) ของเฮเกิล (Ernst Haeckel) ประวัติวิวัฒนาการของสปีชีส์ต่าง ๆ สามารถจัดเป็นรูปต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์ โดยมีสาขามากมายงอกออกจากลำต้นเดียวกัน วิวัฒนาการ (evolution) เป็นการเปลี่ยนแปลงในสรรพชีวิตตลอดหลายรุ่น และศาสตร์ชีววิทยาวิวัฒนาการ (evolutionary biology) เป็นศึกษาว่าเกิดขึ้นอย่างไร ประชากรสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาผ่านการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมซึ่งเข้ากับการเปลี่ยนแปลงลักษณะปรากฏของสิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมรวมทั้งการกลายพันธุ์ ซึ่งเกิดจากความเสียหายของดีเอ็นเอหรือข้อผิดพลาดในการถ่ายแบบดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิต เมื่อความหลากหลายทางพันธุกรรมของประชากรเปลี่ยนไปอย่างไม่เจาะจงแบบสุ่มเป็นเวลาหลายรุ่นเข้า การคัดเลือกโดยธรรมชาติจะเป็นเหตุให้พบลักษณะสืบสายพันธุ์มากขึ้นหรือน้อยลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขึ้นอยู่กับความสำเร็จทางการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเช่นนั้น โลกมีอายุประมาณ 4,540 ล้านปี และหลักฐานสิ่งมีชีวิตเก่าแก่ที่สุดโดยไม่มีผู้คัดค้านสืบอายุได้อย่างน้อย ระหว่างมหายุคอีโออาร์เคียนหลังเปลือกโลกเริ่มแข็งตัว หลังจากบรมยุคเฮเดียนก่อนหน้าที่โลกยังหลอมละลาย มีซากดึกดำบรรพ์แบบเสื่อจุลินทรีย์ (microbial mat) ในหินทรายอายุ ที่พบในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย หลักฐานรูปธรรมของชีวิตต้น ๆ อื่นรวมแกรไฟต์ซึ่งเป็นสสารชีวภาพในหินชั้นกึ่งหินแปร (metasedimentary rocks) อายุ ที่พบในกรีนแลนด์ตะวันตก และในปี 2558 มีการพบ "ซากชีวิตชีวนะ (biotic life)" ในหินอายุ ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย Early edition, published online before print.

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และบทนำวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มย่อยกล้าย

กล้ายแท้หรือ กลุ่มย่อยกล้าย เป็นกลุ่มของสายพันธุ์กล้วยในสกุล Musa อยู่ในกลุ่มจีโนม AAB กล้ายนั้นหมายถึงสายพันธุ์กล้วยที่ต้องรับประทานหลังจากทำให้สุกมากกว่าจะรับประทานดิบ หรืออาจจะหมายถึงกลุ่มย่อยของกล้วยอื่นๆ เช่น กล้ายแปซิฟิก กล้ายแท้ แบ่งย่อยเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่: กลุ่มสายพันธฺุ French, French Horn, False Horn และ Horn ตัวอย่างสายพันธุ์ในแต่ละกลุ่ม.

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และกลุ่มย่อยกล้าย · ดูเพิ่มเติม »

กายวิภาคศาสตร์

หัวใจและปอดของมนุษย์ ภาพจากหนังสือ ''Gray's Anatomy'' กายวิภาคศาสตร์ (anatomia, มาจาก ἀνατέμνειν ana: การแยก และ temnein: การตัดเปิด) เป็นแขนงหนึ่งของวิชาชีววิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต คำนี้หมายรวมถึงกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (human anatomy), กายวิภาคศาสตร์สัตว์ (animal anatomy หรือ zootomy) และกายวิภาคศาสตร์พืช (plant anatomy หรือ phytotomy) ในบางแง่มุมกายวิภาคศาสตร์ก็มีความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับวิชาคัพภวิทยา (embryology), กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ (comparative anatomy) และคัพภวิทยาเปรียบเทียบ (phylogenetics หรือ comparative embryology) โดยมีรากฐานเดียวกันคือวิวัฒนาการ (evolution) กายวิภาคศาสตร์สามารถแบ่งออกได้เป็นมหกายวิภาคศาสตร์ (gross anatomy หรือ macroscopic anatomy) และจุลกายวิภาคศาสตร์ (microscopic anatomy) มหกายวิภาคศาสตร์ เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จุลกายวิภาคศาสตร์เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคขนาดเล็กซึ่งต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ มิญชวิทยา (histology) ซึ่งเป็นการศึกษาโครงสร้างของเนื้อเยื่อ และวิทยาเซลล์ (cytology) ซึ่งเป็นการศึกษาเซลล์ กายวิภาคศาสตร์มีประวัติศาสตร์เป็นเวลายาวนาน มีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ของอวัยวะและโครงสร้างต่างๆ ของร่างกายอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับวิธีการศึกษาที่พัฒนาอย่างรวดเร็วตั้งแต่การศึกษาจากสัตว์ไปจนถึงการชำแหละ (dissect) ศพมนุษย์ จนกระทั่งพัฒนาเทคนิคที่อาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนในศตวรรษที่ 20 วิชากายวิภาคศาสตร์นั้นต่างจากพยาธิกายวิภาค (anatomical pathology หรือ morbid anatomy) หรือจุลพยาธิวิทยา (histopathology) ซึ่งเป็นการศึกษาลักษณะทางมหภาคและจุลภาคของอวัยวะที่เป็นโร.

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และกายวิภาคศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การปรับตัว (นิเวศวิทยา)

ในสาขานิเวศวิทยาเชิงพฤติกรรม (behavioral ecology) พฤติกรรมปรับตัว (adaptive behavior) หรือ การปรับตัว เป็นพฤติกรรมที่ส่งผลโดยตรงหรือโดยอ้อมกับการรอดชีวิตหรือความสำเร็จในการสืบพันธุ์ของสัตว์ และดังนั้นจึงอยู่ใต้อิทธิพลของการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น การมีความลำเอียงต่อญาติพี่น้องในพฤติกรรมเพื่อประโยน์ผู้อื่น (altruistic behavior), การเลือกสัตว์ตัวผู้ที่เหมาะ (fit) ที่สุดโดยสัตว์ตัวเมียซึ่งเป็นการคัดเลือกทางเพศ (sexual selection), การป้องกันอาณาเขต (territory), หรือการป้องกันกลุ่มสัตว์ตัวเมีย (harem) ของตน ในนัยตรงกันข้าม พฤติกรรมไม่ปรับตัว (non-adaptive behavior) เป็นพฤติกรรมหรือลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ที่มีผลร้ายต่อการอยู่รอดหรือความสำเร็จในการสืบพันธุ์ของสัตว์ ซึ่งอาจจะรวมทั้งพฤติกรรมเพื่อประโยน์ผู้อื่นที่ไม่มีความลำเอียงเพื่อญาติพี่น้อง การรับลูกของผู้ไม่ใช่ญาติมาเลี้ยง และความเป็นรองในสังคมที่มีการจัดความเป็นใหญ่ความเป็นรอง (dominance hierarchy) โดยสามัญ การปรับตัว (Adaptation) หมายถึงคำตอบหรือการแก้ปัญหาทางวิวัฒนาการ ต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการรอดชีวิตและการสืบพันธ์ ซึ่งเป็นปัญหาที่หมุนเวียนมาใหม่ไม่จบสิ้น ความแตกต่างในระหว่างบุคคลเกิดจากทั้งพฤติกรรมปรับตัวที่สืบทอดทางพันธุกรรมได้และสืบทอดไม่ได้ มีหลักฐานว่า พฤติกรรมทั้งสองมีอิทธิพลต่อวิวัฒนาการของพฤติกรรมปรับตัวของสปีชีส์ แม้ว่า จะมีประเด็นต่าง ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และการปรับตัว (นิเวศวิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (หรือ การทำให้เชื่อง) หรือ การปรับตัวเป็นไม้เลี้ยง (domestication, domesticus) เป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันระหว่างพืชหรือสัตว์ กับมนุษย์ผู้มีอิทธิพลในการดูแลรักษาและการสืบพันธุ์ของพวกมัน เป็นกระบวนการที่ประชากรสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมผ่านรุ่นโดยการคัดเลือกพันธุ์ (selective breeding) เพื่อเน้นลักษณะสืบสายพันธุ์ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ โดยมีผลพลอยได้เป็นความเคยชินของสิ่งมีชีวิตต่อการพึ่งมนุษย์ ทำให้พวกมันสูญเสียความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ ชาลส์ ดาร์วินเข้าใจถึงลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จำนวนไม่มากจำนวนหนึ่ง ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงต่างจากบรรพบุรุษพันธุ์ป่า เขายังเป็นบุคคลแรกที่เข้าใจความแตกต่างระหว่างการคัดเลือกพันธุ์แบบตั้งใจ ที่มนุษย์เลือกลักษณะสืบสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตโดยตรงเพื่อจะได้ลักษณะตามที่ต้องการ กับการคัดเลือกที่ไม่ได้ตั้งใจ ที่ลักษณะมีวิวัฒนาการไปตามการคัดเลือกโดยธรรมชาติ หรือตามการคัดเลือกอื่น ๆ สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงจะต่างจากสิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าทางพันธุกรรม และในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ก็ยังมีความแตกต่างกันระหว่างลักษณะสืบสายพันธุ์ที่นักวิจัยเชื่อว่า จำเป็นในระยะต้น ๆ ของกระบวนการปรับนำมาเลี้ยง (domestication trait) และลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อ ๆ มาหลังจากที่สิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าและพันธุ์เลี้ยงได้แยกออกจากกันแล้ว (improvement trait) คือลักษณะที่จำเป็นโดยทั่วไปมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงทั้งหมด และเป็นลักษณะที่คัดเลือกในระยะต้น ๆ ของกระบวนการ ในขณะที่ลักษณะที่พัฒนาต่อ ๆ มาจะมีอยู่ในบางพวกของสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ถึงแม้ว่าอาจจะมีแน่นอนในพันธุ์ (breed) ใดพันธุ์หนึ่งโดยเฉพาะ หรือในกลุ่มประชากรในพื้นที่โดยเฉพาะ การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (domestication) ไม่ควรสับสนกับการทำสัตว์ให้เชื่อง (taming) เพราะว่า การทำให้เชื่องเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของสัตว์ป่า ให้กลัวมนุษย์น้อยลงและยอมรับการมีมนุษย์อยู่ใกล้ ๆ ได้ แต่ว่าการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง เป็นการเปลี่ยนพันธุกรรมของสัตว์พันธุ์ที่นำมาเลี้ยงอย่างถาวร เป็นการเปลี่ยนความรู้สึกของสัตว์ต่อมนุษย์โดยกรรมพันธุ์ สุนัขเป็นสิ่งมีชีวิตแรกที่ปรับนำมาเลี้ยง และแพร่หลายไปทั่วทวีปยูเรเชียก่อนการสิ้นสุดสมัยไพลสโตซีน ก่อนการเกิดขึ้นของเกษตรกรรม และก่อนการนำสัตว์อื่น ๆ ต่อ ๆ มามาเลี้ยง ข้อมูลทั้งทางโบราณคดีและทางพันธุกรรมแสดงนัยว่า การแลกเปลี่ยนยีน (gene flow) ที่เป็นไปทั้งสองทางระหว่างสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงกับพันธุ์ป่า เช่น ลา ม้า อูฐทั้งพันธุ์โลกเก่าและโลกใหม่ แพะ แกะ และหมู เป็นเรื่องสามัญ และเพราะความสำคัญของการนำสิ่งมีชีวิตมาเลี้ยงต่อมนุษย์ และคุณค่าของมันโดยเป็นแบบจำลองของกระบวนการวิวัฒนาการและของการเปลี่ยนแปลงทางประชากร การศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ จึงดึงดูดความสนใจของนักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ รวมทั้งโบราณคดี บรรพชีวินวิทยา มานุษยวิทยา พฤกษศาสตร์ สัตววิทยา พันธุศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมสาขาต่าง ๆ สุนัขและแกะเป็นสิ่งมีชีวิตพันธุ์แรก ๆ ที่มนุษย์ปรับนำมาเลี้ยง.

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง · ดูเพิ่มเติม »

การแผ่ปรับตัว

ในชีววิทยาวิวัฒนาการ การแผ่ปรับตัว (adaptive radiation) เป็นกระบวนการที่สิ่งมีชีวิตเกิดความหลากหลายอย่างรวดเร็วจากสปีชีส์บรรพบุรุษเดียว กลายเป็นรูปแบบต่าง ๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะเมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปทำให้เกิดทรัพยากร เกิดอุปสรรค หรือเกิดวิถีการดำรงชีวิตที่เป็นไปได้ใหม่ ๆ กระบวนการจะเป็นเหตุการเกิดสปีชีส์และการปรับตัวทางฟีโนไทป์ของสปีชีส์หลากหลาย ที่กลายมีรูปร่างสัณฐานและสรีรภาพที่ต่างกัน โดยเริ่มจากบรรพบุรุษเดียวกันเร็ว ๆ นี้ ตัวอย่างหนึ่งก็คือนกสปีชีส์ต่าง ๆ ในวงศ์ย่อย Carduelinae (Hawaiian honeycreepers) ที่พบในหมู่เกาะฮาวาย คือผ่านกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ นกได้ปรับตัวอย่างรวดเร็วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ จนมีรูปร่างสัณฐานที่หลากหลาย มีงานวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับกระบวนการนี้เพราะมันมีผลที่น่าทึ่งใจต่อความหลากหลายของประชากรสิ่งมีชีวิต แต่ก็ยังต้องมีงานวิจัยต่อ ๆ ไปเพื่อให้เข้าใจอย่างสมบูรณ์ถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการ การศึกษาทั้งทางทฤษฎีและทางหลักฐานต่างก็มีประโยชน์ด้วยกันทั้งสอง แม้แต่ละอย่างก็มีข้อเสียเหมือนกัน และเพื่อให้ได้ความรู้มากที่สุด วิธีการศึกษาทั้งสองแบบต้องนำมารวมกัน.

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และการแผ่ปรับตัว · ดูเพิ่มเติม »

การเปลี่ยนแปลงทางโครงกระดูกของมนุษย์เนื่องจากการเดินด้วยสองเท้า

ท้ามนุษย์ วิวัฒนาการของการเดินด้วยสองเท้า (bipedalism) ในมนุษย์เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ ซึ่งนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานของโครงกระดูกมนุษย์ รวมทั้งโครงสร้างและขนาดของเท้า ขนาดและรูปร่างของสะโพก ความยาวของขา และรูปร่างและทิศทางของกระดูกสันหลัง มีทฤษฎีต่าง ๆ หลายอย่างเกี่ยวกับเหตุทางวิวัฒนาการต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้.

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และการเปลี่ยนแปลงทางโครงกระดูกของมนุษย์เนื่องจากการเดินด้วยสองเท้า · ดูเพิ่มเติม »

กาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์

แสดงต้นไม้บรรพชีวินวิทยาของสัตว์มีกระดูกสันหลังทำใน ปี ค.ศ. 1879 (ของ Ernst Haeckel) ประวัติวิวัฒนาการของสปีชีส์ต่าง ๆ ได้รับการพรรณนาว่าเป็นต้นไม้วิวัฒนาการชาติพันธุ์ โดยมีสาขาต่าง ๆ มากมายแยกออกจากลำต้นต้นเดียว แม้ว่าข้อมูลที่ใช้สร้างต้นไม้นี้จะล้าสมัยแล้ว แต่ก็ยังแสดงหลักการบางอย่างที่ต้นไม้ที่ทำขึ้นในปัจจุบันอาจจะทำให้เห็นได้ไม่ชัดเจน "พุ่มไม้" ด้านบนขวาสุดเป็นพวกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมทั้งมนุษย์ กาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์ (timeline of human evolution) แสดงเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ในกระบวนการวิวัฒนาการของมนุษย์และของบรรพบุรุษมนุษย์ ซึ่งรวมคำอธิบายสั้น ๆ เกี่ยวกับสัตว์บางประเภท บางสปีชีส์ หรือบางสกุล ซึ่งอาจจะเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ บทความไม่มุ่งจะแสดงกำเนิดของชีวิตซึ่งกล่าวไว้ในบทความกำเนิดชีวิตจากสิ่งไร้ชีวิต แต่มุ่งจะแสดงสายพันธุ์ที่เป็นไปได้สายหนึ่งที่ดำเนินมาเป็นมนุษย์ ข้อมูลของบทความมาจากการศึกษาในบรรพชีวินวิทยา ชีววิทยาพัฒนาการ (developmental biology) สัณฐานวิทยา และจากข้อมูลทางกายวิภาคและพันธุศาสตร์ การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์เป็นส่วนสำคัญของมานุษยวิท.

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และกาลานุกรมวิวัฒนาการมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

มิญชวิทยา

A stained histologic specimen, sandwiched between a glass microscope slide and coverslip, mounted on the stage of a light microscope. ภาพเนื้อเยื่อปอดย้อมด้วยสีฮีมาทอกซีลิน (Hematoxylin) และอีโอซิน (Eosin) ผู้ป่วยรายนี้มีอาการของโรคถุงลมโป่งพอง (emphysema) มิญชวิท.

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และมิญชวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน

ในสาขาบรรพมานุษยวิทยา คำว่า มนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน หรือ มนุษย์ปัจจุบัน (anatomically modern human, ตัวย่อ AMH) หรือ โฮโมเซเปียนส์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน (anatomically modern Homo sapiens, ตัวย่อ AMHS) หมายถึงสมาชิกของมนุษย์สปีชีส์ Homo sapiens ที่มีรูปพรรณสัณฐานภายในพิสัยลักษณะปรากฏของมนุษย์ปัจจุบัน มนุษย์ปัจจุบันวิวัฒนาการมาจากมนุษย์โบราณ (archaic humans) ยุคหินกลาง (แอฟริกา) ประมาณ 300,000 ปีก่อน.

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และมนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการชาติพันธุ์

ในชีววิทยา วิวัฒนาการชาติพันธุ์ (phylogenetics จากคำกรีก φυλή, φῦλον - phylon, phylon.

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และวิวัฒนาการชาติพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการของมนุษย์

''Homo sapiens sapiens'' ชาวอาข่าในประเทศไทย วิวัฒนาการของมนุษย์ (Human evolution) เป็นกระบวนการวิวัฒนาการที่นำไปสู่การปรากฏขึ้นของ "มนุษย์ปัจจุบัน" (modern human มีนามตามอนุกรมวิธานว่า Homo sapiens หรือ Homo sapiens sapiens) ซึ่งแม้ว่าจริง ๆ แล้วจะเริ่มต้นตั้งแต่บรรพบุรุษแรกของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด แต่บทความนี้ครอบคลุมเพียงแค่ประวัติวิวัฒนาการของสัตว์อันดับวานร (primate) โดยเฉพาะของสกุล โฮโม (Homo) และการปรากฏขึ้นของมนุษย์สปีชีส์ Homo sapiens ที่จัดเป็นสัตว์วงศ์ลิงใหญ่เท่านั้น การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์นั้นต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายสาขา รวมทั้งมานุษยวิทยาเชิงกายภาพ (หรือ มานุษยวิทยาเชิงชีวภาพ), วานรวิทยา, โบราณคดี, บรรพชีวินวิทยา, พฤติกรรมวิทยา, ภาษาศาสตร์, จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary psychology), คัพภวิทยา และพันธุศาสตร์ กระบวนการวิวัฒนาการเป็นความเปลี่ยนแปลงของลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตผ่านหลายชั่วยุคชีวิต เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความหลายหลากกับสิ่งมีชีวิตในทุกระดับชั้น รวมทั้งระดับสปีชีส์ ระดับสิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิต และแม้กระทั่งโครงสร้างระดับโมเลกุลเช่นดีเอ็นเอและโปรตีน สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกสืบสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกันที่มีชีวิตประมาณ 3.8 พันล้านปีก่อน การเกิดสปีชีส์ใหม่ ๆ และการแยกสายพันธุ์ออกจากกันของสิ่งมีชีวิต สามารถอนุมานได้จากลักษณะสืบสายพันธุ์ทางสัณฐานและทางเคมีชีวภาพ หรือโดยลำดับดีเอ็นเอที่มีร่วมกัน คือ ลักษณะสืบสายพันธุ์และลำดับดีเอ็นเอที่มีกำเนิดเดียวกัน จะมีความคล้ายคลึงกันระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันเร็ว ๆ นี้มากกว่าระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันมานานแล้ว ดังนั้นความคล้ายคลึงกันและความแตกต่างกันจึงสามารถใช้สร้างแบบของต้นไม้สายพันธุ์สิ่งมีชีวิต ที่แสดงความสัมพันธ์เชิงญาติ โดยใช้สิ่งมีชีวิตที่ยังมีอยู่หรือใช้ซากดึกดำบรรพ์เป็นหลักฐานข้อมูล รูปแบบความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลกเปลี่ยนแปลงไปเพราะการเกิดขึ้นของสปีชีส์ใหม่ ๆ และการสูญพันธุ์ไปของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ งานวิจัยต่าง ๆ ทางพันธุศาสตร์แสดงว่า สัตว์อันดับวานรรวมทั้งมนุษย์แยกออกจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทอื่น ๆ เมื่อประมาณ โดยมีซากดึกดำบรรพ์ปรากฏเป็นครั้งแรกสุดเมื่อประมาณ ส่วนลิงวงศ์ชะนี (Hylobatidae) แยกสายพันธุ์ออกจากสายพันธุ์วงศ์ลิงใหญ่ (Hominidae) รวมทั้งมนุษย์ ซึ่งเป็นวงศ์หนึ่ง ๆ ของสัตว์อันดับวานรนั้น เมื่อ แล้วลิงวงศ์ Ponginae (ลิงอุรังอุตัง) ก็แยกออกจากสายพันธุ์เมื่อประมาณ จากนั้น การเดินด้วยสองเท้า (bipedalism) ซึ่งเป็นการปรับตัวพื้นฐานที่สุดของสัตว์เผ่า Hominini ซึ่งเป็นสายพันธุ์ของมนุษย์ที่ลิงชิมแปนซีได้แยกออกไปแล้ว ก็เริ่มปรากฏในสัตว์สองเท้าแรกสุดในสกุล Sahelanthropus หรือ Orrorin โดยมีสกุล Ardipithecus ซึ่งเป็นสัตว์สองเท้าที่มีหลักฐานชัดเจนกว่า ตามมาทีหลัง ส่วนลิงกอริลลาและลิงชิมแปนซีแยกออกจากสายพันธุ์ในช่วงเวลาใกล้ ๆ กัน คือลิงกอริลลาเมื่อ และลิงชิมแปนซีเมื่อ โดยอาจจะมี Sahelanthropus เป็นบรรพบุรุษสุดท้ายร่วมกันระหว่างชิมแปนซีและมนุษย์ สัตว์สองเท้ายุคเริ่มต้นเหล่านี้ในที่สุดก็วิวัฒนาการมาเป็นเผ่า hominini เผ่าย่อย Australopithecina (australopithecine ปกติรวมสกุล Australopithecus, Paranthropus, และในบางที่ Ardipithecus) ที่ และหลังจากนั้นจึงเป็นเผ่าย่อย Hominina ซึ่งรวมเอามนุษย์สกุล โฮโม เท่านั้น มนุษย์สกุลโฮโมที่มีหลักฐานยืนยันพวกแรกที่สุดเป็นสปีชีส์ Homo habilis ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ โดยเชื่อกันว่า สืบสายพันธุ์มาจาก homonin ในสกุล Australopithecus เป็นสปีชีส์แรก ๆ ที่มีหลักฐานชัดเจนว่าใช้เครื่องมือหิน และการปรับตัวของสายพันธุ์มนุษย์อีกอย่างหนึ่งคือ การขยายขนาดของสมอง (encephalization) ก็ได้เริ่มขึ้นที่มนุษย์ยุคต้นนี้ ซึ่งมีขนาดสมองที่ประมาณ 610 ซม3 คือมีขนาดใหญ่กว่าของลิงชิมแปนซีเล็กน้อย (ระหว่าง 300-500 ซม3) มีนักวิทยาศาสตร์ที่เสนอว่า นี้อยู่ในช่วงเวลาที่ยีนมนุษย์ประเภท SRGAP2 มีจำนวนเป็นสองเท่าเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาของสมองกลีบหน้าได้รวดเร็วกว่าในสัตว์อื่น ๆ ต่อมา มนุษย์สปีชีส์ Homo erectus/ergaster ก็เกิดขึ้นในช่วงประมาณ ที่มีปริมาตรกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของลิงชิมแปนซีคือ 850 ซม3 การขยายขนาดของสมองเช่นนี้เทียบเท่ากับมีเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้น 125,000 เซลล์ทุกชั่วยุคคน สปีชีส์นี้เชื่อว่าเป็นพวกแรก ๆ ที่สามารถควบคุมไฟ และใช้เครื่องมือหินที่มีเทคโนโลยีที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เป็นมนุษย์สกุล Homo พวกแรกที่อพยพออกไปตั้งถิ่นฐานทั่วทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป อาจเริ่มตั้งแต่ ดังนั้น การวิวัฒนาการของสายพันธุ์มนุษย์ก่อนหน้านี้ล้วนเป็นไปในแอฟริกาเท่านั้น ส่วนกลุ่มมนุษย์โบราณที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Archaic humans ก็เกิดวิวัฒนาการขึ้นต่อมาประมาณ 600,000 ปีก่อน สืบสายพันธุ์มาจาก H. erectus/ergaster เป็นกลุ่มมนุษย์ที่อาจเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน โดยเฉพาะคือมนุษย์โบราณ H. heidelbergensis/rhodesiensis หลังจากนั้น มนุษย์สปีชีส์ ''Homo sapiens'' ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน (anatomically modern human) ก็เกิดขึ้นโดยมีวิวัฒนาการมาจากมนุษย์โบราณในยุคหินกลาง (แอฟริกา) คือประมาณ 300,000 ปีก่อน ตามทฤษฎี "กำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเร็ว ๆ นี้จากแอฟริกา" มนุษย์ปัจจุบันได้วิวัฒนาการในทวีปแอฟริกาแล้วจึงอพยพออกจากทวีปประมาณ 50,000-100,000 ปีก่อน (ต่างหากจากมนุษย์ในยุคก่อน ๆ) ไปตั้งถิ่นฐานแทนที่กลุ่มมนุษย์สปีชีส์ H. erectus, H. denisova, H. floresiensis และ H. neanderthalensis ในที่ต่าง ๆ ที่เป็นเชื้อสายของมนุษย์ที่อพยพออกมาจากทวีปแอฟริกาในยุคก่อน ๆ โดยอาจได้ผสมพันธุ์กับมนุษย์โบราณก่อน ๆ เหล่านั้น หลักฐานโดยดีเอ็นเอในปี..

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และวิวัฒนาการของมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

สกุลแพนเทอรา

กุลแพนเทอรา (Roaring cat) เป็นสกุลของวงศ์ Felidae (วงศ์แมว) ที่ประกอบไปด้วย เสือโคร่ง, สิงโต, เสือจากัวร์, และ เสือดาว สปีชีส์ของสกุลเป็นสมาชิกประมาณครึ่งหนึ่งของวงศ์ย่อย Pantherinae ใช้ชื่อสกุลว่า Panthera เสือในสกุลแพทเทอรา ทั้ง 4 ชนิดมีโครงสร้างทางกายวิภาคที่ช่วยให้พวกมันสามารถคำรามได้ เริ่มแรกมีสมมุติฐานว่าเกิดจากการกลายเป็นกระดูกที่ไม่สมบูรณ์ของกระดูกไฮออยด์ แต่การศึกษาครั้งใหม่แสดงว่าความสามารถในการคำรามมาจากลักษณะสัณฐานอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล่องเสียง เสือดาวหิมะ (Uncia uncia) บางครั้งถูกรวมอยู่ในสกุล Panthera แต่มันไม่สามารถคำรามได้ เพราะแม้ว่ามันมีขบวนการกลายเป็นกระดูกที่ไม่สมบูรณ์ของกระดูกไฮออยด์ แต่ขาดลักษณะพิเศษของกล่องเสียงไป.

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และสกุลแพนเทอรา · ดูเพิ่มเติม »

สัณฐานวิทยา (แก้ความกำกวม)

ัณฐานวิทยา (Morphology) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และสัณฐานวิทยา (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

สิงโต

งโต (Lion) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในวงศ์ Felidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมว สิงโตมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera leo มีขนาดลำตัวใหญ่ ขนาดไล่เลี่ยกับเสือโคร่งทั่วไป (P. tigris) ซึ่งเป็นสัตว์ในสกุล Panthera เหมือนกัน จัดเป็นสัตว์ในวงศ์ Felidae ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองมาจากเสือโคร่งไซบีเรีย (P. t. altaica) พื้นลำตัวสีน้ำตาล ไม่มีลาย ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนสร้อยคอยาว ขนปลายหางเป็นพู่ ชอบอยู่เป็นฝูงตามทุ่งโล่ง มีน้ำหนักประมาณ 250 กิโลกรัม (550 ปอนด์) ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า มักทำหน้าที่ล่าเหยื่อ มีน้ำหนักประมาณ 180 กิโลกรัม (400 ปอนด์) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาและประเทศอินเดีย ในป่าธรรมชาติ สิงโตมีอายุขัยประมาณ 10-14 ปี ส่วนสิงโตที่อยู่ในกรงเลี้ยงมีอายุยืนถึง 20 ปี.

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และสิงโต · ดูเพิ่มเติม »

อีกา

thumb อีกา หรือ กา (jungle crow, large-billed crow, thick-billed crow, แปลว่านกกาที่มีปากใหญ่) เป็นนกกาที่กระจายพันธุ์เป็นวงกว้างในเอเชีย ปรับตัวได้เก่ง สามารถกินอาหารได้หลากหลาย ทำให้ขยายไปยังพื้นที่ใหม่ได้ง่าย บางครั้งถูกมองว่าเป็นสัตว์รังควานโดยเฉพาะในเกาะต่าง ๆ มีปากใหญ่ ทำให้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า macrorhynchos ซึ่งเป็นคำกรีกโบราณแปลว่า ปากใหญ่ และมีชื่ออังกฤษว่า large-billed crow (นกกาปากใหญ่) หรือ thick-billed crow (นกกาปากหนา) บางครั้งมองผิดว่าเป็น นกเรเวน นกมีพันธุ์ย่อยถึง 11 ชนิด ที่แตกต่างกันทางเสียงร้อง ทางสัณฐาน และทางพันธุกรรม ทำให้มีแนวคิดว่า จริง ๆ อาจจะเป็นนกหลายพันธุ์ พันธุ์ตัวอย่างเช่น.

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และอีกา · ดูเพิ่มเติม »

ทาร์เซียร์

วีดีโอคลิปทาร์เซียร์ไม่ทราบชนิด ทาร์เซียร์ (tarsier) หรือ มามัก (mamag) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในอันดับไพรเมตที่วิวัฒนาการมาจากยุคไอโอซีนจนมาถึงยุคปัจจุบัน ที่มีรูปร่างลักษณะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมมากนัก มีเพียงวงศ์เดียว คือ Tarsiidae และสกุลเดียวเท่านั้น คือ Tarsius.

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และทาร์เซียร์ · ดูเพิ่มเติม »

คอร์ปัส คาโลซัม

ำภาษาละตินว่า Corpus callosum (แปลว่า ส่วนแข็ง) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า colossal commissure เป็นกลุ่มใยประสาทที่กว้างและแบนใต้เปลือกสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีรก ประเภท eutheria อยู่ที่ร่อง longitudinal fissure (ที่แบ่งสมองออกเป็น 2 ข้าง) เป็นโครงสร้างที่เชื่อมซีกสมองซ้ายขวาเข้าด้วยกัน และอำนวยให้เขตในสมองทั้งสองซีกสื่อสารกันได้ เป็นส่วนเนื้อขาว (ส่วนในสมองที่โดยมากประกอบด้วยแอกซอน) ที่ใหญ่ที่สุดในสมองมีแอกซอนส่งเชื่อมซีกสมองถึง 200-250 ล้านแอกซอน.

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และคอร์ปัส คาโลซัม · ดูเพิ่มเติม »

งูหลามบอล

งูหลามบอล หรือที่นิยมเรียกว่า บอลไพธอน (Ball python) เป็นงูในวงศ์งูหลาม งูเหลือม (Pythonidae) ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Python regius โดยที่ไม่มีชนิดย่อ.

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และงูหลามบอล · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ

ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ (transitional fossil) เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่เหลืออยู่ของสิ่งมีชีวิตใดก็ได้ ที่มีลักษณะสืบสายพันธุ์ซึ่งทั้งกลุ่มสิ่งมีชีวิตบรรพบุรุษของมันและกลุ่มลูกหลานของมันมีร่วมกัน ซึ่งเป็นหลักฐานที่สำคัญเป็นเศษ ในกรณีที่กลุ่มลูกหลานมีกายวิภาคและการดำรงชีวิตที่ต่างกันอย่างมากจากกลุ่มบรรพบุรุษ ซากดึกดำบรรพ์เช่นนี้เป็นเครื่องเตือนใจว่า การแบ่งหน่วยอนุกรมวิธานเป็นอะไรที่มนุษย์สร้างขึ้นในภายหลัง แล้วกำหนดใส่สิ่งมีชีวิตที่มีมาก่อนและมีความแตกต่างแบบต่อเนื่อง ปกติจะไม่มีทางรู้ได้ว่า ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพหนึ่ง ๆ อยู่ใกล้จุดที่สิ่งมีชีวิตกลุ่มต่าง ๆ วิวัฒนาการเบนออกจากกันแค่ไหน เพราะบันทึกซากดึกดำบรรพ์ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น จึงไม่สามารถสมมุติได้ว่า สิ่งมีชีวิตช่วงเปลี่ยนสภาพหนึ่งเป็นบรรพบุรุษโดยตรงของกลุ่มสิ่งมีชีวิตต่อ ๆ มา แม้นักวิทยาศาสตร์อาจจะใช้มันเป็นแบบของบรรพบุรุษ ในปี..

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ · ดูเพิ่มเติม »

นกกะรางหัวขวาน

นกกะรางหัวขวาน เป็นนกขนาดกลาง มีสีสวย มีลักษณะเด่นที่จำง่ายคือมีหงอน (หัวขวาน) คล้ายหมวกของพวกอินเดียแดง พบทั่วทั้งทวีปแอฟริกาและยูเรเชียพร้อมทั้งทั่วประเทศไทย เป็นสปีชีส์เดียวของวงศ์ Upupidae ที่ยังหลงเหลืออยู่ มีสปีชีส์ย่อยเฉพาะเกาะเซนต์เฮเลนา (ในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้) ที่สูญพันธ์ไปแล้ว และเฉพาะเกาะมาดากัสการ์ที่บางครั้งจัดเป็นสปีชีส์ของตนเอง ชื่อสกุลภาษาละตินว่า Upupa คล้ายกับชื่อภาษาอังกฤษว่า "hoopoe" (อ่านว่า ฮูพู) โดยเป็นชื่อเลียนเสียงร้องของนก นกกะรางหัวขวานเป็นนกประจำชาติของประเทศอิสราเอล เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และนกกะรางหัวขวาน · ดูเพิ่มเติม »

นกดำน้ำน้อยดี

นกดำน้ำน้อยดี (Good little diver) เป็นนกประเภทเพนกวินสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Eudyptula เป็นเพนกวินที่พบกระจายพันธุ์ได้ในออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, ทัสมาเนีย และหมู่เกาะแชทัม เป็นเพนกวินขนาดเล็กที่สุด ในบางข้อมูลจัดให้มีเพียงแค่ชนิดเดียว แต่นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่ามีชนิดที่แยกจากกัน แต่บางคนอาจจะเชื่อว่าเป็นเพียงชนิดย่อย บางคนเชื่อว่าเป็นเพียงความแตกต่างกันทางมอร์พ จากการวิเคราะห์ไมโตคอนเดรียดีเอ็นเอ แสดงให้เห็นว่ามีแน่นอน 2 ชนิดที่เกี่ยวข้องกันBanks, Jonathan C.; Mitchell, Anthony D.; Waas, Joseph R. & Paterson, Adrian M. (2002): An unexpected pattern of molecular divergence within the blue penguin (Eudyptula minor) complex.

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และนกดำน้ำน้อยดี · ดูเพิ่มเติม »

แมกโนเลีย

กุลแมกโนเลีย (magnolia) เป็นพืชดอกในวงศ์จำปีที่มีด้วยกันทั้งหมดราว 210 สปีชีส์ สกุลของพืชตั้งตามชื่อนักชีววิทยาชาวฝรั่งเศสชื่อปีแยร์ มาญอล (Pierre Magnol) ศูนย์กลางถิ่นฐานของแมกโนเลียอยู่ทางตอนกลางของเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และศูนย์กลางอีกแห่งหนึ่งอยู่ในอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง, แคริบเบียน และบางสกุลในอเมริกาใต้ แมกโนเลียเป็นสกุลไม้โบราณที่วิวัฒนาการขึ้นมาก่อนที่จะมีผึ้ง รูปทรงของดอกจึงเป็นทรงที่ล่อให้ด้วงมาช่วยผสมพันธุ์ ฉะนั้นเกสรตัวเมีย (carpel) จึงค่อนข้างแข็งแรงเพื่อป้องกันความเสียหายจากการถูกปีนและถูกแทะโดยด้วง ซากดึกดำบรรพ์ของ Magnolia acuminata ที่พบมีอายุกว่า 20 ล้านปีและพืชที่เป็นของวงศ์จำปีมีอายุกว่า 95 ล้านปี ลักษณะอีกอย่างหนึ่งแสดงว่าเป็นพันธุ์ไม้โบราณคือการขาดลักษณะแตกต่างของกลีบเลี้ยง (sepal) หรือกลีบดอก (petal).

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และแมกโนเลีย · ดูเพิ่มเติม »

โลหิตจางที่มีเม็ดเลือดแดงเล็ก

ลหิตจางที่มีเม็ดเลือดแดงเล็ก (Microcytic anaemia, Microcytic anemia) เป็นกลุ่มภาวะโลหิตจางที่มีเม็ดเลือดแดงเล็ก (microcyte) คือ ปริมาตรของเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย (MCV) ปกติจะมีค่าอยู่ที่ 80-100 เฟมโตลิตร (fL) แต่ถ้าค่าต่ำกว่า 80 fL ก็จะเรียกว่ามีเม็ดเลือดแดงแล็ก (microcytic) และถ้าค่าสูงกว่า 100 fL ก็จะเรียกว่ามีเม็ดเลือดแดงใหญ่ (macrocytic) ในภาวะโลหิตจางแบบเม็ดเลือดแดงเล็ก เม็ดเลือดแดง (erythrocyte) ทั่วไปจะมีสีจาง (hypochromic) ซึ่งจะแสดงโดยค่าความเข้มข้นเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง (MCHC) ซึ่งปกติจะอยู่ที่ 320-360 กรัม/ลิตร หรือ 32-36 กรัม/เดซิลิตร ดังนั้น ปกติแล้ว ภาวะโลหิตจางประเภทนี้จะเรียกว่า ภาวะโลหิตจางที่มีเม็ดเลือดแดงเล็กและสีจาง (microcytic, hypochromic anaemia) เม็ดเลือดแดงหลากขนาด (anisocytosis) ที่อาจมาจากภาวะขาดธาตุเหล็ก เม็ดเลือดแดงมีสีไม่เสมอกัน (anisochromia) ที่อาจมาจากภาวะขาดธาตุเหล็ก Codocytes ในเลือดมนุษย์ (แต้มสีแบบ Giemsa stain) หรือบางครั้งรู้จักว่าเซลล์เป้ายิงปืนหรือหมวกเม็กซิกัน ที่อาจพบในทาลัสซีเมีย จุดรอบ ๆ เม็ดเลือด (basophilic stippling) ที่อาจพบในฟิลม์เลือดของคนไข้ทาลัสซีเมี.

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และโลหิตจางที่มีเม็ดเลือดแดงเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

เพนกวินปีกขาว

นกวินปีกขาว (White-flippered penguin) เป็นเพนกวินชนิดหนึ่ง เพนกวินปีกขาวนั้นเป็นเพนกวินขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม แพร่กระจายพันธุ์และทำรังเฉพาะคาบสมุทรแบงค์ และเกาะโมทูนัว ใกล้กับภูมิภาคแคนเทอเบอรี่ ในนิวซีแลนด์ เท่านั้น เพนกวินปีกขาว มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับเพนกวินน้อย (E. minor) หรือเพนกวินสีน้ำเงิน ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แตกต่างกันตรงกันที่มีปื้นสีขาวบนครีบที่เป็นเอกลักษณ์อยู่ 2 ปื้นเท่านั้น เพนกวินปีกขาว เดิมเคยถูกจัดให้เป็นชนิดย่อยของเพนกวินน้อย จนกระทั่งในปี..

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และเพนกวินปีกขาว · ดูเพิ่มเติม »

เกล็ดปลา

กล็ดแบบกลมที่ปกคลุมปลายี่สกเทศ ผิวหนังของปลาส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยเกล็ด เกล็ดปลาแต่ละชนิดนั้นมีความแตกต่างกันทั้งด้านขนาด รูปทรง โครงสร้างและขอบเขต โดยมีตั้งแต่แผ่นเกราะแข็งแรงทื่อในปลาอย่างปลามีดโกนและปลาปักเป้ากล่อง ไปจนถึงมีขนาดเล็กจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าหรือไม่มีเลยในปลาอย่างปลาไหลและปลาตกเบ็ด สามารถใช้กายสัณฐานของเกล็ดในการระบุชนิดของปลาได้ ปลากระดูกอ่อน (เช่น ปลาฉลามและปลากระเบน) มีเกล็ดแบนราบ (placoid) ปกคลุม ส่วนปลากระดูกแข็งส่วนใหญ่มีเกล็ดทรงกลม (cycloid) อย่างปลาแซลมอนและปลาคาร์พ หรือเกล็ดแบบซี่ (ctenoid) อย่างปลาเพิร์ช หรือเกล็ดกระดูกแข็ง (ganoid) อย่างปลาสเตอร์เจียนและปลาการ์ บางชนิดมีสคิวต์ (scute) ปกคลุม และบางชนิดไม่มีสิ่งปกคลุมผิวหนัง เกล็ดปลาเป็นส่วนหนึ่งของระบบส่วนห่อหุ้มของปลา และผลิตจากชั้นเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของหนังแท้ ซึ่งทำให้เกล็ดปลาแตกต่างจากเกล็ดสัตว์เลื้อยคลาน การเจริญของเกล็ดอาศัยยีนเดียวกับที่เกี่ยวข้องกับการเจริญของฟันและขนในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เกล็ดแบนราบของปลากระดูกอ่อนยังเรียก เด็นทิเคิลหนังแท้ (dermal denticle) และสมนัยเชิงโครงสร้างกับฟันของสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีการเสนอว่า เกล็ดของปลากระดูกแข็งมีโครงสร้างเหมือนกับฟัน แต่อาจกำเนิดจากเนื้อเยื่อคนละชนิดกัน ปลาส่วนใหญ่มีชั้นเมือกป้องกันปกคลุมอยู.

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และเกล็ดปลา · ดูเพิ่มเติม »

เห็ดรา

ห็ดรา (Fungus) คือสิ่งมีชีวิตใดๆ ในกลุ่มยูแคริโอต ซึ่งประกอบด้วยทั้งสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอย่างยีสต์และรา และสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ที่ออกผลคล้ายกับพืช เห็ด สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ถูกจัดลงอยู่ในอาณาจักรเห็ดรา ซึ่งแยกออกจากสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์กลุ่มอื่นๆ ที่เป็นพืชและสัตว์ ลักษณะเฉพาะที่จัดเห็ดราให้อยู่แยกในอาณาจักรอื่นจากพืช แบคทีเรีย และโพรทิสต์บางชนิด คือ ไคตินที่ผนังเซลล์ เห็ดราเหมือนกับสัตว์ตรงที่เป็นสิ่งมีชีวิตเฮเทโรทรอพ กล่าวคือเป็นสิ่งมีชีวิตที่ได้รับอาหารโดยการย่อยโมเลกุลอาหารให้มีขนาดเล็กพอกับเซลล์ และไม่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้เช่นกัน การเติบโตของเห็ดราแสดงถึงการเคลื่อนไหวที่ชัดเจน ยกเว้นสปอร์ ที่อาจจะลอยไปตามอากาศหรือน้ำ เห็ดราเป็นผู้ย่อยสลายหลักในระบบนิเวศ ตามปกติเห็ดราโดยทั่วไปที่มีบรรพบุรุษร่วมกัน ที่ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนในอาณาจักรก็ตาม เรียกว่ายูเมโคตา (Eumycota) กลุ่มเห็ดรานี้แตกต่างจาก ไมเซโตซัว (ราเมือก) และโอไมซีต (ราน้ำ) ที่มีโครงสร้างคล้ายกัน การศึกษาเกี่ยวกับเห็ดรา เรียกว่า กิณวิทยา ในอดีตกิณวิทยาถูกจัดเป็นหนึ่งในสาขาของพฤกษศาสตร์ แม้ว่าทุกวันนี้จะเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า เห็ดรามีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับสัตว์มากกว่าพืช เห็ดราพบได้ทั่วโลก แต่ส่วนมากไม่มีความโดดเด่นเพราะมีขนาดเล็ก และมีการพรางตัวในดินหรือบนสิ่งที่ตายแล้ว เห็ดราบางชนิดยังมีการพึ่งพาอาศัยจากพืช สัตว์ เห็ดราประเภทอื่นหรือกระทั่งปรสิต พวกมันจะเริ่มเป็นที่สังเกตได้เมื่อออกผลแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเห็ดหรือราก็ตาม เห็ดรามีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายสารอินทรีย์และมีบทบาทโดยพื้นฐานในวัฏจักรสารอาหารและการแลกเปลี่ยนในธรรมชาติ พวกมันยังเป็นแหล่งอาหารโดยตรงมานานแล้ว ในรูปของเห็ด เป็นหัวเชื้อในการทำขนมปัง และในการหมักผลิตภัณฑ์หลายๆ อย่าง เช่น ไวน์ เบียร์ และซีอิ๊ว ตั้งแต่ช่วงคริสตทศวรรษที่ 1940 เห็ดราถูกนำมาใช้ในการแพทย์ เพื่อผลิตยาปฏิชีวนะ และล่าสุด นำมาใช้ผลิตเอนไซม์มากมาย ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมและในผงซักฟอก เห็ดรายังถูกใช้เป็นปราบแมลง โรคในพืช และวัชพืชต่างๆ สายพันธุ์มากมายของเห็ดราผลิตสารประกอบที่ออกฤทธิ์กับสิ่งมีชีวิต เรียกว่า ไมโซโทซิน เช่น อัลคาลอยด์และพอลิเคไทด์ ซึ่งเป็นพิษต่อสัตว์ รวมทั้งมนุษย์ โครงสร้างในบางสายพันธุ์ประกอบด้วยสารประกอบที่ออกฤทธิ์ต่อประสาท และถูกใช้บริโภค หรือในพิธีกรรมทางศาสนาแบบดั้งเดิม เห็ดรายังสามารถทำลายโครงร่างของวัตถุดิบและสิ่งก่อสร้างได้ และกลายเป็นเชื้อโรคแก่มนุษย์หรือสัตว์อื่นๆ การสูญเสียไร่เนื่องจากโรคทางเห็ดรา (เช่น โรคไหม้) หรืออาหารที่เน่าเสียสามารถมีผลกระทบขนาดใหญ่กับคลังอาหารของมนุษย์และระบบนิเวศโดยรอบ อาณาจักรเห็ดราประกอบไปด้วยความหลากหลายมากมายด้วยระบบนิเวศ การดำเนินชีวิต และสัณฐาน ตั้งแต่ไคทริดน้ำเซลล์เดียวไปจนถึงเห็ดขนาดใหญ่ ถึงกระนั้น ความหลากหลายทางชีวภาพที่แท้จริงของอาณาจักรเห็ดรายังไม่มีข้อมูลมากนัก ซึ่งได้มีการประมาณจำนวนสายพันธุ์ไว้ที่ 1.5 - 5 ล้านสายพันธุ์ โดยทีเพียง 5 % เท่านั้นที่ได้รับการจำแนกประเภทแล้ว นับตั้งแต่การสำรวจในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 โดยคาร์ล ลินเนียส คริสเตียน เฮนดริก เพอร์ซูน และเอเลียส แมกนัส ฟรีส์ เห็ดราได้ถูกจำแนกประเภทตามสัณฐาน (เช่นสีของสปอร์ หรือลักษณะในระดับเล็กๆ) หรือรูปร่าง ความก้าวหน้าในอณูพันธุศาสตร์ได้เปิดทางให้สำหรับการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ เพื่อจัดลำดับตามอนุกรมวิธาน ซึ่งบางครั้งได้ขัดแย้งกับกลุ่มพันธุ์ที่ได้จัดไว้ก่อนในอดีตแล้ว การศึกษาในไม่กี่คริสต์ศตวรรษที่ผ่านมาได้ช่วยให้มีการตรวจสอบการจัดจำแนกประเภทใหม่ภายในอาณาจักรเห็ดรา ซึ่งได้แบ่งออกเป็นหนึ่งอาณาจักรย่อย เจ็ดไฟลัม และสิบไฟลัมย่อ.

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และเห็ดรา · ดูเพิ่มเติม »

เคลด

แผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์ (Cladogram) หรือพงศาวลีของกลุ่มสิ่งมีชีวิต โดยลำต้น (เส้นตั้ง) ที่ฐานแต่ละฐานจะเป็นบรรพบุรุษร่วมกันสุดท้ายของสิ่งมีชีวิตที่เป็นลูกหลานภายในพุ่มไม้ที่อยู่เหนือลำต้นนั้น ๆ กลุ่มย่อยสีน้ำเงินและสีแดง (ซ้ายและขวาสุด) เรียกว่า clade เพราะเป็นกลุ่ม "จากชาติพันธุ์เดียว" (monophyletic) โดยแต่ละกลุ่มจะมีบรรพบุรุษร่วมกันที่ฐาน ส่วนกลุ่มย่อยสีเขียวไม่เรียกว่า clade เพราะเป็นกลุ่ม paraphyletic และไม่รวมเอากลุ่มย่อยสีน้ำเงินแม้จะสืบทอดมาจากบรรพบุรุษร่วมกันซึ่งอยู่ที่ฐานของกลุ่มสีเขียว เคลด (clade จาก κλάδος, klados แปลว่า "สาขา") เป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่รวมเอาบรรพบุรุษที่มีร่วมกันและลูกหลานของมันทั้งหมด โดยแสดงเป็น "สาขา" เดียวจากต้นไม้ชีวิต บรรพบุรุษร่วมกันอาจเป็นสิ่งมีชีวิตหนึ่งหน่วย กลุ่มประชากร สปีชีส์ (ไม่ว่าจะสูญพันธุ์ไปแล้วหรือยังมีอยู่) เป็นต้น จนไปถึงระดับอาณาจักร เคลดเป็นโครงสร้างซ้อนใน คือจะมีเคลดภายในเคลดเพราะสาขาใหญ่หนึ่ง ๆ จะแยกออกเป็นสาขาย่อย ๆ การแยกออกจะสะท้อนให้เห็นถึงประวัติวิวัฒนาการ เพราะแสดงกลุ่มประชากรที่แยกจากกันแล้ววิวัฒนาการแยกกันต่างหาก ๆ เคลดจะมาจากชาติพันธุ์เดียว (monophyletic) ในทศวรรษ 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา วิธีการศึกษาแบบแคลดิสติกส์ (คือใช้แนวคิดแบบเคลด) ได้ปฏิวัติการจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต และได้แสดงความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการที่น่าทึ่งใจระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ โดยมีผลเป็นนักอนุกรมวิธานพยายามหลีกเลี่ยงการให้ชื่อกับหน่วยที่ไม่ใช่เคลด คือหน่วยที่ไม่ได้มาจากชาติพันธุ์เดียว (monophyletic).

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และเคลด · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ประสาท

ซลล์ประสาท หรือ นิวรอน (neuron,, หรือ) เป็นเซลล์เร้าได้ด้วยพลัง ของเซลล์อสุจิที่ทำหน้าที่ประมวลและส่งข้อมูลผ่านสัญญาณไฟฟ้าและเคมี โดยส่งผ่านจุดประสานประสาท (synapse) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อโดยเฉพาะกับเซลล์อื่น ๆ นิวรอนอาจเชื่อมกันเป็นโครงข่ายประสาท (neural network) และเป็นองค์ประกอบหลักของสมองกับไขสันหลังในระบบประสาทกลาง (CNS) และของปมประสาท (ganglia) ในระบบประสาทนอกส่วนกลาง (PNS) นิวรอนที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะ ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และเซลล์ประสาท · ดูเพิ่มเติม »

Homo erectus

ม อีเร็กตัส (แปลว่า "มนุษย์ที่ยืนตรง" มาจากคำกริยาในภาษาละตินว่า ērigere ซึ่งแปลว่า ตั้งให้ตรง) เป็นสปีชีส์ของมนุษย์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ที่มีชีวิตอยู่เกือบทั้งสมัยไพลสโตซีน โดยมีหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ที่เก่าแก่ที่สุดประมาณ และหลักฐานที่ใหม่ที่สุดที่ 27,000 ปีก่อน เป็นสกุลที่เกิดในแอฟริกาและได้ย้ายถิ่นฐานกระจายไปจนถึงจอร์เจีย อินเดีย ลังกา จีน และเกาะชวาChauhan, Parth R. (2003) in An Overview of the Siwalik Acheulian & Reconsidering Its Chronological Relationship with the Soanian - A Theoretical Perspective.

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และHomo erectus · ดูเพิ่มเติม »

Homo habilis

Homo habilis เป็นมนุษย์เผ่า Hominini มีชีวิตอยู่ในระหว่างช่วงอายุหิน Gelasian และ Calabrian คือครึ่งแรกของสมัยไพลสโตซีนประมาณ 2.1-1.5 ล้านปีก่อน โดยอาจวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษสาย australopithecine ตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นแบบก็คือซากศพหมายเลข OH 7 ที่พบในปี 2503 (ค.ศ. 1960) ณ โบราณสถาน Olduvai Gorge ในประเทศแทนซาเนีย ต่อมาในปี 2507 จึงได้จัดเป็นสปีชีส์ต่างหากคือ H. habilis (แปลว่า มือชำนาญหรือคล่องแคล่ว handy man) เพราะซากดึกดำบรรพ์มักจะพบพร้อมกับเครื่องมือหินแบบ Oldowan และเชื่อว่า มนุษย์พวกนี้สามารถแปลงหินธรรมชาติให้เป็นเครื่องมือหินได้ เป็นมนุษย์สกุล Homo ที่รูปร่างสัณฐานคล้ายกับมนุษย์ปัจจุบันน้อยที่สุด (คือลักษณะบางอย่างคล้ายกับ australopithecine มากกว่า) โดยยกเว้นสปีชีส์ที่มีปัญหาจัดเข้าในสกุลมนุษย์เช่นกันคือ H. rudolfensis ตั้งแต่นั้นมา การจัดอยู่ในสกุลก็ได้สร้างข้อถกเถียงกันอย่างไม่มีที่ยุติ ขนาดที่เล็กและลักษณะล้าหลังทำให้ผู้ชำนาญการ (รวมทั้ง ริชาร์ด ลีกคีเอง) เสนอว่าควรกัน H. habilis ออกจากสกุล Homo แล้วใส่ไว้ใน Australopithecus โดยจัดเป็น Australopithecus habilis มีการพบส่วนหนึ่งของกระดูกขากรรไกร (หมายเลข LD 350-1) ในปี 2556 ซึ่งหาอายุได้ และอ้างว่า เป็นซากดึกดำบรรพ์ในระหว่างสกุล Australopithecus และสปีชีส์ H. habilis See also.

ใหม่!!: สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)และHomo habilis · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Morphology (biology)กายสัณฐานวิทยา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »