โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สะวันนา

ดัชนี สะวันนา

วันนาเขตร้อนตรงแบบในประเทศออสเตรเลียตอนเหนือแสดงความหนาแน่นของไม้ต้นสูงและการเว้นช่องสม่ำเสมออันเป็นลักษณะของสะวันนาหลายแห่ง สะวันนา (savanna หรือ savannah) เป็นระบบนิเวศทุ่งหญ้าที่มีลักษณะไม้ต้นมีที่ว่างกว้างจนร่มไม้ไม่ปิด ร่มไม้เปิดทำให้แสงถึงพื้นเพียงพอเพื่อสนับสนุนชั้นไม้ล้มลุกซึ่งประกอบด้วยหญ้าเป็นหลัก.

31 ความสัมพันธ์: บาวบาบช้างยุคหินกลาง (แอฟริกา)ระบบนิเวศป่าไม้วิวัฒนาการของมนุษย์วงศ์ย่อยลิงโลกเก่าหมาจิ้งจอกหูค้างคาวหมาจิ้งจอกทองอิมพาลาอุทยานแห่งชาติวีรูงกาอุทยานแห่งชาติเซเรนเกตีธงชาติแกมเบียธงชาติแคเมอรูนทวีปแอฟริกาทะเลทรายคาลาฮารีทุ่งหญ้าที่ราบดิก-ดิกความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศบราซิลความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศบอตสวานาควายป่าแอฟริกาประเทศกายอานาปลาคลาวน์คิลลี่ฟิชแบล็กบักแพรรีแรดดำตะวันตกแอฟริกาใต้ (ภูมิภาค)แอฟริกาใต้สะฮาราเอาชีวิตรอดเฮดจ์ฮอกสี่นิ้วHomo habilis

บาวบาบ

ผลบาวบาบใช้ทำเครื่องดื่มได้ บาวบาบ หรือ บาวแบบ (Kremetart, Hausa: Kuka, Seboi, Mowana, Shimuwu, Muvhuyu)เป็นพืชในสกุล Adansoniaที่แพร่หลายมากที่สุด พบในทวีปแอฟริกา ในบริเวณที่ร้อนแล้งหรือทุ่งหญ้าสะวันนา ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษของบาวบาบมีหลายชื่อ เช่น dead-rat tree (จากลักษณะของผล), monkey-bread tree (ผลที่นุ่ม แห้งและรับประทานได้) upside-down tree (กิ่งที่แตกทรงพุ่มคล้ายราก) และ cream of tartar tree เป็นไม้ผลัดใบ ไม่มีหนาม ลำต้นโป่งพองคล้ายขวด ผลเป็นแคปซูลแห้ง รูปร่างยาวหรือกระบอง ไม่แตก เนื้อมีลักษณะเป็นเยื่อ รสเปรี้ยวเล็กน้อย บาวบาบเป็นไม้ยืนต้นที่โคนบวมพองออก มองคล้ายขวดแชมเปญ ใช้สะสมน้ำ กิ่งก้านสาขาบิดเบี้ยวไปมา ทรงคล้ายราก ชาวแอฟริกาเชื่อว่าต้นไม้ชนิดนี้ถูกพระเจ้าสาปแช่ง จึงต้องเอารากชี้ฟ้ามีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของแอฟริกา ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีปลูกในเกาะชวาและฟิลิปปินส์ บาวบาบเป็นพืชสมุนไพรในแอฟริกา ผลมีแคลเซียมมากกว่าผักโขม มีสารต้านอนุมูลอิสระ และมีวิตามินซีมากกว่าส้ม.

ใหม่!!: สะวันนาและบาวบาบ · ดูเพิ่มเติม »

ช้าง

รงกระดูกช้างแอฟริกา ช้าง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่วงศ์ Elephantidae โดยแบ่งเป็นสองสกุล ได้แก่ Elephas และ Loxodonta ช้างในปัจจุบันเหลือ 3 สปีชีส์ คือ ช้างแอฟริกา, ช้างป่าแอฟริกา และช้างเอเชีย (หรือที่รู้จักกันในชื่อ ช้างอินเดีย) ส่วนสปีชีส์และสกุลอื่นของวงศ์ Elephantidae ล้วนสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว บางสปีชีส์หรือสกุลสูญพันธุ์ไปตั้งแต่ยุคน้ำแข็งครั้งหลังสุด ถึงแม้ว่าช้างแมมมอธในรูปแคระอาจสืบสายพันธุ์ต่อมาจนถึง 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ช้างและสัตว์ในวงศ์ Elephantidae อื่น ๆ เคยถูกจัดเป็นประเภทเดียวกับสัตว์หนังหนาอื่น ๆ ชื่อว่าอันดับ Pachydermata ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว ช้างนับเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน ใช้เวลาการตั้งครรภ์ถึง 22 เดือน ซึ่งนับว่านานที่สุดในบรรดาสัตว์บกทุกชนิด ช้างแรกเกิดมีน้ำหนักเฉลี่ย 120 กิโลกรัม มีอายุขัยอยู่ระหว่าง 50 ถึง 70 ปี แต่ช้างอายุมากที่สุดที่เคยบันทึกไว้มีอายุถึง 109 ปี ช้างขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้อาศัยอยู่ในแองโกลาในปี..

ใหม่!!: สะวันนาและช้าง · ดูเพิ่มเติม »

ยุคหินกลาง (แอฟริกา)

ในสาขาบรรพมานุษยวิทยาและชีววิทยาวิวัฒนาการเป็นต้น ยุคหินกลาง (Middle Stone Age ตัวย่อ MSA) เป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์ของแอฟริการะหว่างยุคหินต้น (Early Stone Age) และยุคหินหลัง ๆ (Later Stone Age) โดยทั่วไปพิจารณาว่าเริ่มประมาณ 280,000 ปีก่อนและยุติประมาณ 50,000-25,000 ปีก่อน จุดเริ่มต้นของเครื่องมือหินแบบ MSA อาจเริ่มตั้งแต่ 550,000-500,000 ปีก่อน และดังนั้น นักวิจัยบางคนพิจารณาว่านั่นเป็นจุดเริ่มต้นของ MSA MSA บ่อยครั้งเข้าใจผิดว่าเท่ากับยุคหินเก่ากลาง (Middle Paleolithic) ของยุโรป เพราะมีระยะเวลาเกือบเหมือนกัน แต่ยุคหินเก่ากลางของยุโรปสัมพันธ์กับสปีชีส์มนุษย์ที่ต่างกัน ซึ่งก็คือ ''Homo neanderthalensis'' เปรียบเทียบกับแอฟริกาที่ไม่มีมนุษย์สปีชีส์นี้ในช่วง MSA นอกจากนั้นแล้ว งานโบราณคดีในแอฟริกายังได้ให้หลักฐานเป็นจำนวนมากที่แสดงว่า พฤติกรรมและลักษณะทางประชานของมนุษย์ปัจจุบันได้เริ่มพัฒนาขึ้นในแอฟริกาช่วง MSA ก่อนกว่าที่พบในยุโรปช่วงยุคหินเก่ากลางอย่างมาก อนึ่ง ราชบัณฑิตยสถานแปลคำว่า Mesolithic period (12,000-7,000 ปีก่อนในยุโรป และ 22,000-11,500 ปีก่อนในลิแวนต์) ว่า "ยุคหินกลาง" ซึ่งอาจซ้ำกับคำแปลของ Middle Stone Age (280,000-25,000 ปีก่อนในแอฟริกา) ได้เหมือนกัน แต่ให้สังเกตว่าคำแต่ละคำหมายเอาสิ่งที่ต่างกันแทบสิ้นเชิง MSA สัมพันธ์กับทั้งมนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน (anatomically modern humans) สปีชีส์ Homo sapiens และกับมนุษย์โบราณ (archaic Homo sapiens) ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่า Homo helmei ด้วย หลักฐานที่เป็นรูปธรรมยุคต้น ๆ ของ MSA มาจากโบราณสถานต่าง ๆ ใน Gademotta Formation ในเอธิโอเปีย, หมวดหินแคปธิวริน (Kapthurin Formation) ในประเทศเคนยา และ Kathu Pan ในแอฟริกาใต้ เครื่องมือยุคหินกลางแอฟริกา (MSA) จากถ้ำบลอมโบส์ แอฟริกาใต้.

ใหม่!!: สะวันนาและยุคหินกลาง (แอฟริกา) · ดูเพิ่มเติม »

ระบบนิเวศป่าไม้

ระบบนิเวศป่าไม้ ระบบนิเวศป่าไม้ (Forest ecosystem) ระบบนิเวศป่าไม้เป็นศูนย์รวมความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญที่สุดในโลก และเป็นปัจจัยหลักที่เกื้อกูลการดำรงชีวิตของประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะชนพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในบริเวณป่า ทั้งยังช่วยควบคุมสภาพอากาศให้เหมาะสม เนื่องจากเป็นแหล่งดูดซับและกักเก็บคาร์บอน การที่มนุษย์ตัดไม้ทำลายป่าการแบ่งป่าเป็นผืนเล็กผืนน้อย และทำให้ป่าเสื่อมสภาพลง ส่งผลให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของป่าไม้ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในป่าเขตร้อนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง.

ใหม่!!: สะวันนาและระบบนิเวศป่าไม้ · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการของมนุษย์

''Homo sapiens sapiens'' ชาวอาข่าในประเทศไทย วิวัฒนาการของมนุษย์ (Human evolution) เป็นกระบวนการวิวัฒนาการที่นำไปสู่การปรากฏขึ้นของ "มนุษย์ปัจจุบัน" (modern human มีนามตามอนุกรมวิธานว่า Homo sapiens หรือ Homo sapiens sapiens) ซึ่งแม้ว่าจริง ๆ แล้วจะเริ่มต้นตั้งแต่บรรพบุรุษแรกของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด แต่บทความนี้ครอบคลุมเพียงแค่ประวัติวิวัฒนาการของสัตว์อันดับวานร (primate) โดยเฉพาะของสกุล โฮโม (Homo) และการปรากฏขึ้นของมนุษย์สปีชีส์ Homo sapiens ที่จัดเป็นสัตว์วงศ์ลิงใหญ่เท่านั้น การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์นั้นต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายสาขา รวมทั้งมานุษยวิทยาเชิงกายภาพ (หรือ มานุษยวิทยาเชิงชีวภาพ), วานรวิทยา, โบราณคดี, บรรพชีวินวิทยา, พฤติกรรมวิทยา, ภาษาศาสตร์, จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary psychology), คัพภวิทยา และพันธุศาสตร์ กระบวนการวิวัฒนาการเป็นความเปลี่ยนแปลงของลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตผ่านหลายชั่วยุคชีวิต เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความหลายหลากกับสิ่งมีชีวิตในทุกระดับชั้น รวมทั้งระดับสปีชีส์ ระดับสิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิต และแม้กระทั่งโครงสร้างระดับโมเลกุลเช่นดีเอ็นเอและโปรตีน สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกสืบสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกันที่มีชีวิตประมาณ 3.8 พันล้านปีก่อน การเกิดสปีชีส์ใหม่ ๆ และการแยกสายพันธุ์ออกจากกันของสิ่งมีชีวิต สามารถอนุมานได้จากลักษณะสืบสายพันธุ์ทางสัณฐานและทางเคมีชีวภาพ หรือโดยลำดับดีเอ็นเอที่มีร่วมกัน คือ ลักษณะสืบสายพันธุ์และลำดับดีเอ็นเอที่มีกำเนิดเดียวกัน จะมีความคล้ายคลึงกันระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันเร็ว ๆ นี้มากกว่าระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันมานานแล้ว ดังนั้นความคล้ายคลึงกันและความแตกต่างกันจึงสามารถใช้สร้างแบบของต้นไม้สายพันธุ์สิ่งมีชีวิต ที่แสดงความสัมพันธ์เชิงญาติ โดยใช้สิ่งมีชีวิตที่ยังมีอยู่หรือใช้ซากดึกดำบรรพ์เป็นหลักฐานข้อมูล รูปแบบความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลกเปลี่ยนแปลงไปเพราะการเกิดขึ้นของสปีชีส์ใหม่ ๆ และการสูญพันธุ์ไปของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ งานวิจัยต่าง ๆ ทางพันธุศาสตร์แสดงว่า สัตว์อันดับวานรรวมทั้งมนุษย์แยกออกจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทอื่น ๆ เมื่อประมาณ โดยมีซากดึกดำบรรพ์ปรากฏเป็นครั้งแรกสุดเมื่อประมาณ ส่วนลิงวงศ์ชะนี (Hylobatidae) แยกสายพันธุ์ออกจากสายพันธุ์วงศ์ลิงใหญ่ (Hominidae) รวมทั้งมนุษย์ ซึ่งเป็นวงศ์หนึ่ง ๆ ของสัตว์อันดับวานรนั้น เมื่อ แล้วลิงวงศ์ Ponginae (ลิงอุรังอุตัง) ก็แยกออกจากสายพันธุ์เมื่อประมาณ จากนั้น การเดินด้วยสองเท้า (bipedalism) ซึ่งเป็นการปรับตัวพื้นฐานที่สุดของสัตว์เผ่า Hominini ซึ่งเป็นสายพันธุ์ของมนุษย์ที่ลิงชิมแปนซีได้แยกออกไปแล้ว ก็เริ่มปรากฏในสัตว์สองเท้าแรกสุดในสกุล Sahelanthropus หรือ Orrorin โดยมีสกุล Ardipithecus ซึ่งเป็นสัตว์สองเท้าที่มีหลักฐานชัดเจนกว่า ตามมาทีหลัง ส่วนลิงกอริลลาและลิงชิมแปนซีแยกออกจากสายพันธุ์ในช่วงเวลาใกล้ ๆ กัน คือลิงกอริลลาเมื่อ และลิงชิมแปนซีเมื่อ โดยอาจจะมี Sahelanthropus เป็นบรรพบุรุษสุดท้ายร่วมกันระหว่างชิมแปนซีและมนุษย์ สัตว์สองเท้ายุคเริ่มต้นเหล่านี้ในที่สุดก็วิวัฒนาการมาเป็นเผ่า hominini เผ่าย่อย Australopithecina (australopithecine ปกติรวมสกุล Australopithecus, Paranthropus, และในบางที่ Ardipithecus) ที่ และหลังจากนั้นจึงเป็นเผ่าย่อย Hominina ซึ่งรวมเอามนุษย์สกุล โฮโม เท่านั้น มนุษย์สกุลโฮโมที่มีหลักฐานยืนยันพวกแรกที่สุดเป็นสปีชีส์ Homo habilis ซึ่งเกิดขึ้นประมาณ โดยเชื่อกันว่า สืบสายพันธุ์มาจาก homonin ในสกุล Australopithecus เป็นสปีชีส์แรก ๆ ที่มีหลักฐานชัดเจนว่าใช้เครื่องมือหิน และการปรับตัวของสายพันธุ์มนุษย์อีกอย่างหนึ่งคือ การขยายขนาดของสมอง (encephalization) ก็ได้เริ่มขึ้นที่มนุษย์ยุคต้นนี้ ซึ่งมีขนาดสมองที่ประมาณ 610 ซม3 คือมีขนาดใหญ่กว่าของลิงชิมแปนซีเล็กน้อย (ระหว่าง 300-500 ซม3) มีนักวิทยาศาสตร์ที่เสนอว่า นี้อยู่ในช่วงเวลาที่ยีนมนุษย์ประเภท SRGAP2 มีจำนวนเป็นสองเท่าเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาของสมองกลีบหน้าได้รวดเร็วกว่าในสัตว์อื่น ๆ ต่อมา มนุษย์สปีชีส์ Homo erectus/ergaster ก็เกิดขึ้นในช่วงประมาณ ที่มีปริมาตรกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของลิงชิมแปนซีคือ 850 ซม3 การขยายขนาดของสมองเช่นนี้เทียบเท่ากับมีเซลล์ประสาทเพิ่มขึ้น 125,000 เซลล์ทุกชั่วยุคคน สปีชีส์นี้เชื่อว่าเป็นพวกแรก ๆ ที่สามารถควบคุมไฟ และใช้เครื่องมือหินที่มีเทคโนโลยีที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เป็นมนุษย์สกุล Homo พวกแรกที่อพยพออกไปตั้งถิ่นฐานทั่วทวีปแอฟริกา ทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป อาจเริ่มตั้งแต่ ดังนั้น การวิวัฒนาการของสายพันธุ์มนุษย์ก่อนหน้านี้ล้วนเป็นไปในแอฟริกาเท่านั้น ส่วนกลุ่มมนุษย์โบราณที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Archaic humans ก็เกิดวิวัฒนาการขึ้นต่อมาประมาณ 600,000 ปีก่อน สืบสายพันธุ์มาจาก H. erectus/ergaster เป็นกลุ่มมนุษย์ที่อาจเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน โดยเฉพาะคือมนุษย์โบราณ H. heidelbergensis/rhodesiensis หลังจากนั้น มนุษย์สปีชีส์ ''Homo sapiens'' ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน (anatomically modern human) ก็เกิดขึ้นโดยมีวิวัฒนาการมาจากมนุษย์โบราณในยุคหินกลาง (แอฟริกา) คือประมาณ 300,000 ปีก่อน ตามทฤษฎี "กำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเร็ว ๆ นี้จากแอฟริกา" มนุษย์ปัจจุบันได้วิวัฒนาการในทวีปแอฟริกาแล้วจึงอพยพออกจากทวีปประมาณ 50,000-100,000 ปีก่อน (ต่างหากจากมนุษย์ในยุคก่อน ๆ) ไปตั้งถิ่นฐานแทนที่กลุ่มมนุษย์สปีชีส์ H. erectus, H. denisova, H. floresiensis และ H. neanderthalensis ในที่ต่าง ๆ ที่เป็นเชื้อสายของมนุษย์ที่อพยพออกมาจากทวีปแอฟริกาในยุคก่อน ๆ โดยอาจได้ผสมพันธุ์กับมนุษย์โบราณก่อน ๆ เหล่านั้น หลักฐานโดยดีเอ็นเอในปี..

ใหม่!!: สะวันนาและวิวัฒนาการของมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยลิงโลกเก่า

วงศ์ย่อยลิงโลกเก่า (Old world monkey) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวานร (Primates) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Cercopithecinae จัดอยู่ในวงศ์ใหญ่ Cercopithecidae หรือ ลิงโลกเก่า ลิงที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้ั มีประมาณ 71 ชนิด 12 สกุล โดยจะปรับตัวให้อาศัยในแต่ละภูมิประเทศ ภูมิอากาศ บางชนิดมีหางยาวเหมาะกับการอาศัยบนต้นไม้ บางชนิดมีหางสั้นหรือกระทั่งไม่มีหางเลย แต่ทุกชนิดมีหัวแม่มือที่วิวัฒนาการมาเพื่อใช้สำหรับหยิบจับของต่าง ๆ และปีนป่าย รวมถึงบางชนิดสามารถเปลี่ยนสีตัวเองให้เข้มหรือสวยขึ้นได้ด้วยในฤดูผสมพันธุ์ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง และมีลำดับชั้นในฝูงตามลำดับอาวุโส อาศัยอยู่ในหลายภูมิประเทศ หลายภูมิอากาศ ทั้งป่าดิบ, ป่าฝน, สะวันนา, ภูเขาสูง หรือกระทั่งพื้นที่เป็นหิมะหรือน้ำแข็งอันหนาวเย็นในประเทศญี่ปุ่น ส่วนใหญ่กินอาหารได้หลากหลายทั้ง ผลไม้, ใบไม้, เมล็ดพืช, เห็ด, แมลง ตลอดจนแมงมุมขนาดเล็กและสัตว์ขนาดเล็ก ทุกชนิดมีถุงที่ข้างแก้มใช้เก็บอาหาร ระยะเวลาตั้งท้องเป็นเวลาประมาณ 6-7 เดือน หย่านมเมื่ออายุได้ 3-12 เดือน และโตเต็มที่ภายใน 3-5 ปี อายุขัยโดยเฉลี่ยบางชนิดอาจสูงได้ถึง 50 ปี Groves, C. (2005).

ใหม่!!: สะวันนาและวงศ์ย่อยลิงโลกเก่า · ดูเพิ่มเติม »

หมาจิ้งจอกหูค้างคาว

หมาจิ้งจอกหูค้างคาว (Bat-eared fox) เป็นสัตว์กินเนื้อในวงศ์ Canidae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Otocyon megalotis เป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวในสกุล Otocyon มีถิ่นกำเนิดในตอนใต้ของทวีปแอฟริกาและแอฟริกาตะวันออก ชอบอยู่เป็นฝูง อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าสะวันนา มีลำตัวสีน้ำตาลเทา ยกเว้นขาทั้ง 4 ข้าง, ส่วนหน้าของใบหน้า, ปลายหาง และใบหูเป็นสีดำ เป็นหมาจิ้งจอกที่มีขนาดเล็ก อุปนิสัยไม่ดุร้าย มีความยาวตั้งแต่หัวจรดปลายหางประมาณ 55 เซนติเมตร น้ำหนักเต็มที่ประมาณ 3-5 กิโลกรัม มีจุดเด่นอยู่ที่ใบหูที่ยาวใหญ่ถึง 13 เซนติเมตร รูปร่างคล้ายค้างคาวอันเป็นที่มาของชื่อ ซึ่งเป็นที่รวมของเส้นเลือดต่าง ๆ ช่วยระบายความร้อน และทำให้มีประสาทการรับฟังอย่างดีเยี่ยม จนสามารถฟังได้แม้กระทั่งเสียงคลานของแมลง โดยอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ประมาณ 2-6 ตัว ในโพรงดิน นอกจากนี้แล้วยังมีฟันและกรามที่แตกต่างไปจากสุนัขชนิดอื่น ๆ คือ สุนัขทั่วไปจะมีฟันกรามบน 2 ซี่ และกรามล่าง 3 ซี่ แต่หมาจิ้งจอกหูค้างคาวมีฟันกรามบน 3 ซี่ และกรามล่าง 4 ซี่ และสามารถขยับกรามได้อย่างรวดเร็วเพื่อเคี้ยวแมลงได้อีกต่างหาก ออกหากินในเวลากลางคืน ในฤดูหนาวจะหากินในเวลากลางวัน โดยกินแมลงจำพวกปลวกเป็นอาหารหลัก และสัตว์ฟันแทะ รวมถึงผลไม้บางชนิด โตเต็มวัยเมื่ออายุได้ 7-9 เดือน มีฤดูผสมพันธุ์ในฤดูหนาว ออกลูกครั้งละ 2-5 ตัว แม่หมาจิ้งจอกหูค้างคาวจะเลี้ยงลูกนานราว 15 สัปดาห์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย คือ.

ใหม่!!: สะวันนาและหมาจิ้งจอกหูค้างคาว · ดูเพิ่มเติม »

หมาจิ้งจอกทอง

หมาจิ้งจอกทอง หรือ หมาจิ้งจอกเอเชีย (pmc Reed wolf) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Canis aureus ในวงศ์สุนัข (Canidae) และถึงแม้ว่าจะได้ชื่อสามัญว่าในภาษาไทยว่า "หมาจิ้งจอก" แต่ก็มิได้เป็นหมาจิ้งจอกแท้ ๆ เพราะมิได้อยู่ในสกุล Vulpini แต่จัดเป็นหมาป่าที่มีขนาดเล็ก (แจ็กคัล) กว่าหมาใน.

ใหม่!!: สะวันนาและหมาจิ้งจอกทอง · ดูเพิ่มเติม »

อิมพาลา

อิมพาลา (Impala) เป็นสัตว์กีบคู่มีเขาใหญ่เป็นเกลียว ซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Aepycerotinae ในวงศ์ใหญ่ Bovidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับวัวหรือแพะ, แกะ จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้และสกุลนี้ คำว่า "อิมพาลา" มาจากภาษาซูลู ซึ่งเป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกสัตว์ชนิดนี้ ถูกบันทึกไว้ครั้งแรกเป็นลายลักษณ์อักษรในปี..

ใหม่!!: สะวันนาและอิมพาลา · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติวีรูงกา

อุทยานแห่งชาติวีรูงกา (Virunga National Park; Parc National des Virunga) ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก มีเนื้อที่กว่า 8,090 ตารางกิโลเมตร จัดตั้งขึ้นเป็นอุทยานแห่งชาติขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: สะวันนาและอุทยานแห่งชาติวีรูงกา · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติเซเรนเกตี

อุทยานแห่งชาติเซเรนเกตี (Serengeti National Park) ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศแทนซาเนีย มีเนื้อที่ประมาณ 14,750 ตารางกิโลเมตร ภายในอุทยานแห่งชาติมีทุ่งหญ้าสะวันนากว้างใหญ่ และเป็นที่พักพิงของแรดดำ และสัตว์กินพืชอีกหลากหลายชนิดกว่าล้านตัวเช่น ม้าลาย ควาย ยีราฟ และช้าง และสัตว์กินเนื้อเช่น เสือดาว สิงโต และเสือชีตาห์ หมวดหมู่:อุทยานแห่งชาติในประเทศแทนซาเนีย หมวดหมู่:มรดกโลกในประเทศแทนซาเนีย.

ใหม่!!: สะวันนาและอุทยานแห่งชาติเซเรนเกตี · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติแกมเบีย

23px ธงชาติแกมเบีย สัดส่วนธง 2:3 ธงชาติแกมเบีย เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในประกอบด้วยแถบสีแดง สีน้ำเงิน และสีเขียว เรียงลำดับจากบนลงล่าง โดยที่แถบสีน้ำเงินนั้นมีแถบสีขาวขนาดเล็ก ขนาบที่ตอนบนและตอนล่างของแถบนั้น เริ่มใช้หลังประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ ออกแบบโดย ปา หลุยส์ โทมาซี แถบสีแดง หมายถึงดวงอาทิตย์และทุ่งหญ้าสะวันนา สีน้ำเงินหมายถึงแม่น้ำแกมเบียซึ่งไหลผ่านกลางประเทศ กั้นกลางระหว่างป่าไม้และทุ่งหญ้าสะวันนา สีเขียวหมายถึงผืนแผ่นดินและป่าไม้ สีขาวหมายถึงสันติภาพ จะเห็นได้ชัดว่า ธงชาติแกมเบียไม่มีสัญลักษณ์ในที่สื่อถึงความคิดทางการเมืองเล.

ใหม่!!: สะวันนาและธงชาติแกมเบีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติแคเมอรูน

งชาติแคเมอรูน ที่ใช้ในปัจจุบันมีลักษณะเป็นธงสามสีมีสามแถบแบ่งตามแนวตั้ง แต่ละแถบประกอบด้วยสีเขียว สีแดง และสีเหลือง เรียงลำดับจากด้านคันธงไปด้านปลายธง แต่ละแถบกว้างเท่ากัน กลางแถบสีเขียวนั้นมีรูปดาวห้าแฉกสีเหลือง 1 ดวง เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่20 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 หลังประเทศแคเมรูนสามารถรวมชาติได้สำเร็จ ก่อนหน้านั้นธงชาติแคเมอรูนก็มีลักษณะที่คล้ายกับธงในปัจจุบัน แต่เริ่มแรกที่มีธงในปี พ.ศ. 2500 นั้นไม่มีรูปดาวในธงชาติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2504 จึงได้เพิ่มรูปดาว 2 ดวงลงในแถบสีเขียว ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้แบบปัจจุบัน แบบธงชาตินแคเมอรูนนี้ดัดแปลงมาจากธงชาติฝรั่งเศส ส่วนสีที่ใช้ในธงชาตินั้นจัดเป็นกลุ่มสีพันธมิตรแอฟริกา โดยแถบสีเหลืองหมายถึงดวงอาทิตย์และทุ่งหญ้าสะวันนาในภาคเหนือของประเทศ สีเขียวหมายถึงป่าไม้ในแถบภาคใต้ของประเทศ แถบกลางสีแดงและดาวสีเหลืองกลางธงหมายถึงเอกภาพ ซึ่งดาวดวงนี้มักเรียกกันด้วยชื่อว่า ดาวแห่งเอกภาพ ("the star of unity") ไฟล์:Flag of Deutsch-Kamerun.svg|เยอรมันแคเมอรูน ไฟล์:British Cameroon Flag.svg|อาณานิคมแคเมอรูน (พ.ศ. 2465 - 2504) ไฟล์:Flag of Cameroon (1957).svg|..

ใหม่!!: สะวันนาและธงชาติแคเมอรูน · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ใหม่!!: สะวันนาและทวีปแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลทรายคาลาฮารี

ทะเลทรายคาลาฮารี (Kalahari Desert) เป็นทะเลทรายในทวีปแอฟริกาใต้ มีเนื้อที่ 900,000 ตร.กม.

ใหม่!!: สะวันนาและทะเลทรายคาลาฮารี · ดูเพิ่มเติม »

ทุ่งหญ้า

ทุ่งหญ้า (grassland) เป็นพื้นที่ซึ่งพืชพรรณส่วนใหญ่เป็นหญ้า (Poaceae) แต่ยังพบพืชวงศ์กก (Cyperaceae และ Juncaceae) ได้ ทุ่งหญิงเกิดตามธรรมชาติในทุกทวีป ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา ทุ่งหญ้าพบในภูมินิเวศ (ecoregion) ส่วนใหญ่ของโลก ตัวอย่างเช่น มีการจำแนกห้าภูมินิเวศบนดินทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น สะวันนาและชีวนิเวศทุ่งไม้พุ่ม (shrubland) เป็นห้าประเภท ซึ่งเป็นหนึ่งในแปดเขตชีวภาพของโลก หมวดหมู่:ที่ราบ หมวดหมู่:หญ้า.

ใหม่!!: สะวันนาและทุ่งหญ้า · ดูเพิ่มเติม »

ที่ราบ

ูเขาอารารัตในคอเคซัส โดยมีที่ราบอารารัตอยู่ด้านหน้า ในวิชาภูมิศาสตร์ ที่ราบ หรือ พื้นราบ เป็นแผ่นดินเรียบกวางใหญ่ซึ่งปกติมีการเปลี่ยนแปลงระดับความสูงไม่มาก ที่ราบเกิดเป็นที่ลุ่มตามก้นของหุบเขาหรือเป็นประตูสู่ภูเขา เป็นที่ราบชายฝั่ง และที่ราบสูงหรือที่ดอน ในหุบเขาที่ราบจะถูกขนาบทั้งสองด้นา แต่บางทีที่ราบอาจแสดงขอบเขตโดยวงแหวนเขาครบวงหรือไม่ครบวง โดยภูเขาหรือหน้าผา เมื่อบริเวณภูมิศาสตร์หนึ่งมีที่ราบมากกว่าหนึ่งแห่ง ที่ราบทั้งหลายอาจเชื่อมกันโดยช่องเขา (pass หรือ gap) ที่ราบชายฝั่งส่วนใหญ่สูงกว่าระดับน้ำทะเลจนไปบรรจบภูเขาหรือที่ราบสูง ที่ราบเป็นธรณีสัณฐานหลักอย่างหนึ่งของโลก โดยปรากฏอยู่ในทุกทวีป และกินอาณาบริเวณกว่าหนึ่งในสามของพื้นที่ดินของโลก ที่ราบอาจเกิดขึ้นระหว่างลาวาไหล มีการทับถมโดยน้ำ น้ำแข็งหรือลม หรือเกิดจากการกร่อนด้วยตัวการดังกล่าวจากเขาและภูเขา ปกติที่ราบอยู่ภายใต้ชีวนิเวศทุ่งหญ้า (เขตอบอุ่นหรือกึ่งเขตร้อน) สเตปป์ (กึ่งแห้งแล้งจัด) สะวันนา (เขตร้อน) หรือทันดรา (ขั้วโลก) ในบางกรณี บริเวณแห้งแล้งและป่าฝนก็เป็นที่ราบได้ ที่ราบในหลายพื้นที่มีความสำคัญต่อเกษตรกรรมเพราะดินมีการทับถมเป็นตะกอนที่อาจลึกและอุดมสมบูรณ์ และความราบช่วยเอื้อต่อการผลิตพืชผลโดยใช้เครื่องจักร หรือเพราะเอื้อต่อทุ่งหญ้าซึ่งเป็นแหล่งอาหารอย่างดีสำหรับปศุสัตว.

ใหม่!!: สะวันนาและที่ราบ · ดูเพิ่มเติม »

ดิก-ดิก

ก-ดิก (Dik-dik) เป็นแอนทิโลปขนาดเล็ก ในสกุล Madoqua พบในทวีปแอฟริกา แถบภูมิภาคแอฟริกาใต้และตะวันออก มีน้ำหนักตัวประมาณ 4.5–5 กิโลกรัม ความสูงตั้งแต่ปลายกีบเท้าจนถึงหัวไหล่ 35–40 เซนติเมตร ความยาวลำตัว 56 เซนติเมตร ความยางหาง 5 เซนติเมตร อายุโดยเฉลี่ย 10 ปี ดิก-ดิก ตัวผู้เท่านั้นที่จะมีเขา ลักษณะเขาแหลมสั้น ความยาวประมาณ 3–7.5 เซนติเมตร เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในภูมิประเทศที่เป็นพุ่มไม้ที่เป็นหนามแหลมจำพวกอะเคเซียเชื่อมต่อกับทุ่งหญ้าสะวันนา เพื่อป้องกันตัวเองจากสัตว์นักล่า โดยต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ดิก-ดิก เป็นสัตว์กินพืช โดยอาหารได้แก่ ใบไม้, หน่อไม้, พืชสมุนไพรต่าง ๆ, ดอกไม้, ผลไม้ และเมล็ดพืชต่าง ๆ และตกเป็นอาหารของสัตว์ขนาดใหญ่กว่า เช่น ไฮยีนา, สิงโต, แมวป่า, อินทรีและเหยี่ยวขนาดใหญ่ ตลอดจนงูเหลือม และตะกว.

ใหม่!!: สะวันนาและดิก-ดิก · ดูเพิ่มเติม »

ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศบราซิล

นกทูแคนดำอกขาว เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นในเขตสะวันนาของบราซิล มีกบลูกศรพิษหลายพันธุ์ ดังเช่น กบพิษลายสีเหลืองตัวนี้ ที่สามารถพบได้ในป่าของประเทศบราซิล ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศบราซิล ประกอบด้วยสัตว์, เห็ดรา และพืช ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในประเทศนี้ของทวีปอเมริกาใต้ โดยหลักแหล่งของพวกมันมีสภาพเป็นป่าดิบชื้นแอมะซอนถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณหนึ่งในสิบของสปีชีส์ทุกชนิดที่มีอยู่ในโลก นับได้ว่าประเทศบราซิล เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดกว่าประเทศใด ๆ ในโลก โดยมีสายพันธุ์พืชซึ่งเป็นที่รู้จักราว 55,000 สปีชีส์, ปลาน้ำจืดราว 3,000 สปีชีส์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอีกกว่า 689 สปีชีส์ ประเทศนี้ยังได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับสามของประเทศที่มีจำนวนสายพันธุ์สัตว์ปีกมากที่สุดถึง 1,832 สปีชีส์ และอยู่ในอันดับสองของประเทศที่มีสายพันธุ์สัตว์เลื้อยคลานมากที่สุดถึง 744 สปีชีส์ ส่วนจำนวนของสายพันธุ์เชื้อรายังไม่ทราบแน่ชัด แต่ก็ถือว่ามีเป็นจำนวนมหาศาลDa Silva, M. and D.W. Minter.

ใหม่!!: สะวันนาและความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศบราซิล · ดูเพิ่มเติม »

ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศบอตสวานา

นที่ตั้งของประเทศบอตสวานา ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศบอตสวานา อิงถึงพืชและสัตว์ของประเทศบอตสวานา โดยประเทศบอตสวานา 90 เปอร์เซ็นต์ถูกครอบคลุมโดยนิเวศน์แบบสะวันนา ที่แตกต่างจากไม้พุ่มหญ้าสะวันนาในทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในพื้นที่แห้งแล้งไปจนถึงต้นไม้สะวันนา ซึ่งประกอบด้วยต้นไม้และทุ่งหญ้าในพื้นที่เปียก แม้ภายใต้สภาพอากาศร้อนของทะเลทรายคาลาฮารี ก็ยังมีสิ่งมีชีวิตหลากสายพันธุ์เอาตัวรอดอยู่ โดยประเทศนี้มีมากกว่า 2,500 สายพันธุ์ของพืช และ 650 สายพันธุ์ของต้นไม้ พืชผักและผลไม้ป่าของที่นี่ยังมีความสำคัญอย่างมากกับประชากรในชนบทที่อาศัยอยู่ในทะเลทราย และเป็นแหล่งที่มาหลักของอาหาร, เชื้อเพลิง และยาสำหรับคนที่อาศัยอยู่จำนวนมาก มีอุทยานแห่งชาติสามแห่งและอุทยานเจ็ดแห่งซึ่งเป็นที่พักอาศัยของสัตว์ป่าครอบครองพื้นที่ถึง 17 เปอร์เซ็นต์ของประเทศบอตสวานา โดยมีอุทยานแห่งชาติสามแห่งดังกล่าว คือ อุทยานแห่งชาติโชบ, เอ็นไซแพนกับอุทยานแห่งชาติแมคเกดิคเกดี และวนอุทยานกาลากาดีทรานสฟรอนเทียร์ ส่วนอุทยานเจ็ดแห่ง ประกอบด้วย อุทยานคาลาฮารีกลาง, อุทยานกาโบโรเน, อุทยานคัตเซ, อุทยานแมนนีเยลานอง, อุทยานมอน และอุทยานโมเรมี นอกจากนี้ ยังมีเขตสงวนพันธุ์ขนาดเล็กของเอกชนอยู่อีกแห่งหนึ่ง.

ใหม่!!: สะวันนาและความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศบอตสวานา · ดูเพิ่มเติม »

ควายป่าแอฟริกา

วายป่าแอฟริกา (African buffalo, Cape buffalo) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในวงศ์วัวและควาย (Bovidae) วงศ์ย่อยวัวและควาย (Bovinae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Syncerus ควายป่าแอฟริกามีลักษณะรูปร่างคล้ายกับควายป่า (Bubalus arnee) และควายบ้าน (B. bubalis) ที่พบในทวีปเอเชีย แต่ทว่ามีรูปร่างที่บึกบึนกว่ามาก มีนิสัยว่องไว่และดุร้ายยิ่งกว่างควายป่าเอเชียอย่างมาก และมีส่วนโคนเขาที่ย้อนเข้าหากัน ในตัวผู้จะหนา และโคนเขาชนกัน ขณะที่ตัวเมียจะมีเขาที่เล็กกว่า และโคนเขาไม่ชนกัน ลำตัวมีสีเข้ม กีบเท้ามีลักษณะโค้งกลมขนาดใหญ่ ลำตัวมีความยาว 2.1–3.4 เมตร น้ำหนักมากกว่า 700 กิโลกรัมขึ้นไป มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 22–25 ปี พบกระจายพันธุ์ในแอฟริกาใต้ บริเวณที่เป็นทุ่งหญ้าสะวันน่า และบึงน้ำขนาดใหญ่ทั่วไป กินหญ้าและใบไม้เป็นอาหาร เมื่อโตเต็มวัยมักอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ ชอบที่จะแช่ปลักโคลนเหมือนควายในทวีปเอเชีย โดยมีตัวเมียและลูกเป็นส่วนใหญ่ของฝูง โดยมีตัวผู้ที่มีอายุมากที่สุดเป็นจ่าฝูง มีระยะเวลาตั้งท้องนานประมาณ 340 วัน เมื่อถูกคุกคามจากสัตว์อื่น เช่น สิงโต ทั้งฝูงจะหันบั้นท้ายเข้าชนกัน เพื่อป้องกันลูกควายวัยอ่อนที่ยังป้องกันตัวไม่ได้ ให้อยู่ในวงล้อมป้องกันจากการถูกโจมตี ควายป่าแอฟริกาได้รับความสนใจในเชิงการท่องเที่ยวดูสัตว์ โดยถูกจัดให้เป็น 1 ใน 5 ผู้ยิ่งใหญ่ของสัตว์ป่าแอฟริกา อันประกอบไปด้วย สิงโต, ช้างแอฟริกา, ควายป่า, แรด และเสือดาว.

ใหม่!!: สะวันนาและควายป่าแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกายอานา

กายอานา (Guyana) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสหกรณ์กายอานา (Co-operative Republic of Guyana) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่แถบชายฝั่งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ประกอบไปด้วยภาคตะวันตกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นกายอานา (ภาษาของชาวเผ่าอินเดียนแดงในอเมริกา หมายถึง ดินแดนแห่งน้ำหลาก) พรมแดนด้านตะวันออกจรดประเทศซูรินาม พรมแดนด้านใต้ติดกับประเทศบราซิล พรมแดนด้านตะวันตกติดกับเวเนซุเอลา และด้านเหนือติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก มีปัญหาพิพาทเรื่องพรมแดนกับเวเนซุเอลา เช่นเดียวกันกับพรมแดนด้านใต้ส่วนใหญ่ที่ติดกับซูรินาม (ตลอดแนวชายฝั่งตอนบนของแม่น้ำโกรันไตน์).

ใหม่!!: สะวันนาและประเทศกายอานา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาคลาวน์คิลลี่ฟิช

ปลาคลาวน์คิลลี่ฟิช (Clown killi, Banded panchax, Rocket panchax;; Epi เป็นภาษากรีกหมายถึง "ยอด" หรือ "อยู่บน" platys หมายถึง "แบนราบ", annulatus เป็นภาษาละติน หมายถึง "วงแหวน", โดยรวมหมายถึงลักษณะที่มีปล้องลำตัวเหมือนวงแหวนที่ว่ายน้ำแบนราบไปกับผิวน้ำ) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกปลาคิลลี่ฟิช จัดอยู่ในวงศ์ Nothobranchidae พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของกินี, เซียร์ราลีโอน ไปจนถึงไลบีเรีย พบในแหล่งน้ำจืดช่วงที่ใกล้กับชายฝั่งทะเล โดยอาศัยอยู่ในลำธารน้ำที่ไหลเอื่อย ๆ ในป่าเปิดแบบสะวันนา และลำธารในเขตป่าฝน มักอาศัยในลำธารที่มีพรรณไม้น้ำขึ้นอยู่หนาแน่น เนื่องจากวางไข่ไว้ตามใบของพืชน้ำ ส่วนหัวมีจุดกลมเล็ก ๆ เห็นเด่นชัด เชื่อว่ามีไว้เพื่อเป็นประสาทรับแสงสว่าง เพื่อให้รู้ถึงความมืด-สว่าง ในช่วงเวลากลางวัน สีสันตามลำตัวมีความหลากหลายมาก ตามแหล่งที่มา เช่น มีครีบสีส้มเข้ม และครีบอกสีฟ้า-เขียว หรือครีบหลังและครีบอกที่เป็นสีน้ำตาลเหลืองอ่อน มีความยาวเต็มที่ 4-5 เซนติเมตร ในตัวผู้ และ 3-4 เซนติเมตร ในตัวเมีย โตเต็มที่เมื่ออายุได้ 2 ปี นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ และสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้ ราวทุก ๆ 1-2 วัน จะออกไข่เสมอ ใช้เวลาราว 12-14 วัน ในการฟักเป็นตัว หน้า 44-49, ผีเสื้อน้อยแห่งแอฟริกา Epiplatys annulatus.

ใหม่!!: สะวันนาและปลาคลาวน์คิลลี่ฟิช · ดูเพิ่มเติม »

แบล็กบัก

thumb thumb แบล็กบัก หรือ แอนทิโลปอินเดีย (Blackbuck, Indian antelope) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกีบคู่จำพวกแอนทิโลปชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Antilope จึงจัดเป็นแอนทิโลปแท้ แบล็กบัก มีลักษณะคล้ายกับแอนทิโลปหรือกาเซลล์ที่พบในทวีปแอฟริกา แต่แบล็กบักเป็นสัตว์ที่พบได้ในทวีปเอเชีย แบล็กบักตัวผู้มีเขาคู่หนึ่งที่ยาว 35–75 เซนติเมตร เขามีความสวยงามตรงที่บิดเป็นเกลียวและปลายแหลม ดูน่าเกรงขาม ด้วยความยาวของเขานั้นแม้จะนอนหรือซ่อนอยู่ในพงหญ้าบางครั้งก็ยังเห็นโผล่มาชัดเจน มีความสูงประมาณ 74–84 เซนติเมตร ตัวผู้มีน้ำหนักระหว่าง 20–57 กิโลกรัม ตัวเมียมีน้ำหนักเฉลี่ย 27 กิโลกรัม เป็นสัตว์ที่วิ่งได้เร็วมาก สามารถวิ่งได้เร็วถึง 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง ชอบกินหญ้าโดยเฉพาะหญ้าสั้นเป็นอาหาร แต่บางครั้งก็อาจกินใบไม้ได้ด้วย มักอาศัยในป่าละเมาะที่ใกล้กับแหล่งน้ำ เพราะต้องใช้น้ำในการดื่มกิน ตัวผู้จะป้องกันอาณาเขตของฝูงตัวเองและแย่งชิงตัวเมีย คือ การใช้เขาทั้งสองข้างนั้นขวิดสู้กัน ซึ่งพฤติกรรมนี้พบได้ตลอดทั้งปี ด้วยความสวยงามของเขา จึงทำให้ถูกล่าเพื่อเอาเขา รวมถึงแหล่งที่อยู่อาศัยถูกคุกคามด้วยจากการรุกรานเพื่อต้องการพื้นที่ทำการเกษตรและปศุสัตว์ ทำให้แบล็กบักที่เคยมีอยู่ทั่วไปในอินเดียสมัยก่อน และพบได้จนถึงอิสราเอลในตะวันออกกลาง ปัจจุบันเหลือเพียงแค่ในป่าอนุรักษ์หรืออุทยานแห่งชาติของอินเดีย เช่น อุทยานแห่งชาติเวลาวาดาร์ ในรัฐคุชราต ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ซึ่งมีสภาพพื้นที่เป็นทุ่งสะวันนากว้างโล่งเหมือนทวีปแอฟริกา เป็นต้น และได้สูญพันธุ์ไปแล้วที่บังกลาเทศ แบล็กบักตัวผู้ในภาพย้อนแสง เห็นเขาคู่อย่างชัดเจน แบล็กบัก ได้ถูกจัดให้มี 2 ชนิดย่อย คือ.

ใหม่!!: สะวันนาและแบล็กบัก · ดูเพิ่มเติม »

แพรรี

แพรรี อุทยานแห่งชาติแบดแลนด์ รัฐเซาท์ดาโคตา สหรัฐ เป็นบริเวณทุ่งหญ้าผสมซึ่งมีหญ้าสูงบ้างและหญ้าเตี้ยบ้าง แพรรี (prairie) เป็นระบบนิเวศที่นักนิเวศวิทยาถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวนิเวศทุ่งหญ้า สะวันนา และป่าละเมาะเขตอบอุ่น โดยยึดภูมิอากาศเขตอบอุ่น ปริมาณฝนตกปานกลาง และประกอบด้วยหญ้า ไม้ล้มลุก และไม้พุ่มเป็นพืชพรรณชนิดหลัก ไม่ใช่ไม้ต้น บริเวณทุ่งหญ้าเขตอบอุ่นรวมทั้งปัมปัสในอาร์เจนตินา บราซิลทางใต้ และอุรุกวัย ตลอดจนสเตปป์ของยูเรเชีย บริเวณที่เรียก "แพรรี" มักอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ คำนี้ครอบคลุมบริเวณที่เรียกที่ลุ่มในแผ่นดิน (Interior Lowlands) ของแคนาดา สหรัฐ และเม็กซิโก ซึ่งรวมเกรตเพลนส์ทั้งหมด ตลอดจนดินแดนที่ชื้นกว่าและมีเขามากกว่าทางทิศตะวันออก ในสหรัฐ บริเวณที่ประกอบเป็นรัฐนอร์ทดาโคตา เซาท์ดาโคตา เนบรัสกา แคนซัส และโอกลาโฮมาส่วนใหญ่หรือทั้งหมด และบริเวณกว้างของรัฐมอนแทนา ไวโอมิง โคโลราโด นิวเม็กซิโก เท็กซัส มิสซูรี ไอโอวา อิลลินอยส์ อินดีแอนา วิสคอนซิน และมินนิโซตาทางตะวันตกและใต้ หุบเขากลาง (Central Valley) รัฐแคลิฟอร์เนียก็เป็นแพรรีเหมือนกัน แพรรีแคนาดากินพื้นที่กว้างขวางของรัฐแมนิโทบา ซัสแคตเชวัน และแอลเบอร์ตา.

ใหม่!!: สะวันนาและแพรรี · ดูเพิ่มเติม »

แรดดำตะวันตก

แรดดำตะวันตก หรือ แรดดำแอฟริกันตะวันตก เป็นสปีชีส์ย่อยหายากของแรดดำ การสำรวจล่าสุดไม่พบแม้แต่เพียงตัวเดียว และใน..

ใหม่!!: สะวันนาและแรดดำตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกาใต้ (ภูมิภาค)

แผนที่แสดงที่ตั้งของภูมิภาคแอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้ เป็นภูมิภาคที่ประกอบไปด้วยทะเลทรายและทุ่งหญ้าสะวันนา ประกอบไปด้วยฝั่งทะเลและภูเขาสูงประเทศที่อยู่ในภูมิภาคนี้คือ.

ใหม่!!: สะวันนาและแอฟริกาใต้ (ภูมิภาค) · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกาใต้สะฮารา

ประเทศที่สหประชาชาติจัดเป็นแอฟริกาเหนือ แอฟริกาใต้สะฮารา (Sub-Saharan Africa) เป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่อยู่ในทวีปแอฟริกาและอยู่ใต้ทะเลทรายสะฮารา โดยมีประเทศในภูมิภาค 54 ประเทศ มีประชากรรวมกันมากถึง 574 ล้านคน ภูมิภาคนี้มีพื้นที่ประมาณ 16 % ของพื้นดินของโลก โดยสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าทึบ และบางส่วนเป็นทะเลทร.

ใหม่!!: สะวันนาและแอฟริกาใต้สะฮารา · ดูเพิ่มเติม »

เอาชีวิตรอด

อาชีวิตรอด (살아남기; Survival) เป็นหนังสือการ์ตูนความรู้จากประเทศเกาหลีใต้ ที่แทรกเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และวิธีการเอาตัวรอดในสถานการณ์ต่างๆที่อาจจะเกิดกับตัวเรา จัดพิมพ์ฉบับลิขสิทธิ์ภาษาไทยโดย สำนักพิมพ์นานมี.

ใหม่!!: สะวันนาและเอาชีวิตรอด · ดูเพิ่มเติม »

เฮดจ์ฮอกสี่นิ้ว

อกสี่นิ้ว หรือ เฮดจ์ฮอกแคระแอฟริกา (Four-toed hedgehog, African pygmy hedgehog) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกเฮดจ์ฮอก (Erinaceinae) เป็นเฮดจ์ฮอกขนาดเล็ก มีขนาดความยาวลำตัวประมาณ 15 เซนติเมตร หางมีความยาว 2.5 เซนติเมตร น้ำหนัก 500-700 กรัม มีนิ้วที่เท้าหน้า 5 นิ้ว นิ้วเท้าหลัง 4 นิ้ว ขนปกคลุมลำตัวมีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร เป็นสีขาวและเทา ส่วนท้องและขาเป็นสีขาว กระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกาแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันออก เช่น แกมเบีย, โซมาเลีย, โมซัมบิก อาศัยในถิ่นที่มีอากาศแห้ง แบบซาวันน่า มีต้นไม้เพียงเล็กน้อย เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน กินอาหารเช่น แมงมุม, แมลง, พืชบางชนิด, หอยทาก บางครั้งอาจกินแมงป่องหรืองูพิษได้ด้วย เนื่องจากมีรายงานว่ามีความทนทานต่อพิษของสัตว์เหล่านี้ แต่เฮดจ์ฮอกสี่นิ้วก็ตกเป็นอาหารของสัตว์ใหญ่กว่า เช่น ไฮยีน่า, หมาจิ้งจอก รวมทั้งนกเค้าแมวด้วย เฮดจ์ฮอกสี่นิ้วได้รับความนิยมในฐานะเป็นสัตว์เลี้ยงอย่างแพร่หลาย และเป็นชนิดที่ได้รับความนิยมในประเทศไท.

ใหม่!!: สะวันนาและเฮดจ์ฮอกสี่นิ้ว · ดูเพิ่มเติม »

Homo habilis

Homo habilis เป็นมนุษย์เผ่า Hominini มีชีวิตอยู่ในระหว่างช่วงอายุหิน Gelasian และ Calabrian คือครึ่งแรกของสมัยไพลสโตซีนประมาณ 2.1-1.5 ล้านปีก่อน โดยอาจวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษสาย australopithecine ตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นแบบก็คือซากศพหมายเลข OH 7 ที่พบในปี 2503 (ค.ศ. 1960) ณ โบราณสถาน Olduvai Gorge ในประเทศแทนซาเนีย ต่อมาในปี 2507 จึงได้จัดเป็นสปีชีส์ต่างหากคือ H. habilis (แปลว่า มือชำนาญหรือคล่องแคล่ว handy man) เพราะซากดึกดำบรรพ์มักจะพบพร้อมกับเครื่องมือหินแบบ Oldowan และเชื่อว่า มนุษย์พวกนี้สามารถแปลงหินธรรมชาติให้เป็นเครื่องมือหินได้ เป็นมนุษย์สกุล Homo ที่รูปร่างสัณฐานคล้ายกับมนุษย์ปัจจุบันน้อยที่สุด (คือลักษณะบางอย่างคล้ายกับ australopithecine มากกว่า) โดยยกเว้นสปีชีส์ที่มีปัญหาจัดเข้าในสกุลมนุษย์เช่นกันคือ H. rudolfensis ตั้งแต่นั้นมา การจัดอยู่ในสกุลก็ได้สร้างข้อถกเถียงกันอย่างไม่มีที่ยุติ ขนาดที่เล็กและลักษณะล้าหลังทำให้ผู้ชำนาญการ (รวมทั้ง ริชาร์ด ลีกคีเอง) เสนอว่าควรกัน H. habilis ออกจากสกุล Homo แล้วใส่ไว้ใน Australopithecus โดยจัดเป็น Australopithecus habilis มีการพบส่วนหนึ่งของกระดูกขากรรไกร (หมายเลข LD 350-1) ในปี 2556 ซึ่งหาอายุได้ และอ้างว่า เป็นซากดึกดำบรรพ์ในระหว่างสกุล Australopithecus และสปีชีส์ H. habilis See also.

ใหม่!!: สะวันนาและHomo habilis · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

SavannaSavannahทุ่งหญ้าสะวันนา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »