สารบัญ
9 ความสัมพันธ์: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2สะพานมิตรภาพไทย–ลาวสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์)สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 3 (นครพนม–คำม่วน)สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 4 (เชียงของ–ห้วยทราย)สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 6 (นาตาล–ละคอนเพ็ง)แม่น้ำโขงเส้นแบ่งเขตแดนไทย
รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2
ต่อไปนี้คือ รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย หมวดขึ้นต้นด้วยเลข 2 สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บางส่วนในภาคเหนือ และภาคกลาง.
ดู สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ)และรายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว
นมิตรภาพไทย-ลาว อาจหมายถึง.
ดู สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ)และสะพานมิตรภาพไทย–ลาว
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์)
้อความภาษาลาวในป้ายหมายถึง "จุดเปลี่ยนแนวทางการสัญจร อยู่เบื้องหน้า ให้เตรียมหยุด" ภาพสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) ภาพสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (First Thai–Lao Friendship Bridge.; ຂົວມິດຕະພາບ ລາວ-ໄທ ແຫ່ງທຳອິດ) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงขนาดใหญ่แห่งแรก โดยเชื่อมต่อหมู่ที่ 1 คุ้มจอมมณี ตำบลมีชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคายของประเทศไทย เข้ากับบ้านท่านาแล้ง เมืองหาดซายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์ของประเทศลาว ตัวสะพานมีความยาว 1,170 เมตร มีทางรถ 2 ช่องจราจร กว้างข่องละ 3.5 เมตร ทางเท้า 2 ช่องทาง กว้างช่องละ 1.5 เมตร และรถไฟทางเดี่ยวกว้าง 1 เมตร ตั้งอยู่กึ่งกลาง ใช้งบประมาณก่อสร้าง 30,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาลออสเตรเลีย ใช้ระยะเวลาก่อสร้างระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.
ดู สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ)และสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์)
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)
อีกมุมหนึ่งของสะพาน การเปลี่ยนจากการขับรถทางซ้ายเป็นทางขวา สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 (Second Thai–Lao Friendship Bridge; ຂົວມິດຕະພາບ ລາວ-ໄທ ແຫ່ງທີສອງ) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขง เชื่อมต่อจังหวัดมุกดาหารของประเทศไทย เข้ากับแขวงสุวรรณเขตของประเทศลาว เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเศรษฐกิจตะวันตกตะวันออก ซึ่งเริ่มจากพม่า ผ่าน ไทย ลาวและสิ้นสุดที่เวียดนาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงของธนาคารการพัฒนาแห่งเอเชีย ซึ่งมีความยาวทั้งหมด 1,600 เมตร มีความกว้าง 12 เมตร และมีช่องการจราจร 2 ช่อง มูลค่าการก่อสร้างประมาณ 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแหล่งทุนในการก่อสร้างเป็นเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำจากรัฐบาลญี่ปุ่นให้กับรัฐบาลลาว 4,011 ล้านเยน และให้กับรัฐบาลไทย 4,079 ล้านเยน ใช้เวลาก่อสร้างตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ.
ดู สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ)และสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 3 (นครพนม–คำม่วน)
นมิตรภาพไทย-ลาว 3 เป็นสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างประเทศไทยที่หมู่ที่ 1 บ้านห้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม กับประเทศลาวที่บ้านเวินใต้ เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ควบคุมการก่อสร้างโดยสำนักก่อสร้างสะพาน กรมทางหลวงและบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับจ้างก่อสร้างใช้งบประมาณก่อสร้างจากรัฐบาลไทยทั้งสิ้น 1,723 ล้านบาท มีระยะเวลาการก่อสร้างรวม 900 วัน แล้วเสร็จในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.
ดู สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ)และสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 3 (นครพนม–คำม่วน)
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 4 (เชียงของ–ห้วยทราย)
นมิตรภาพ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) (ຂົວມິດຕະພາບລາວ - ໄທ ແຫ່ງທີ 4) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขง เชื่อมต่อระหว่างประเทศไทยที่หมู่ที่ 9 บ้านดอนมหาวัน ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย กับประเทศลาวที่บ้านดอน เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ระยะทาง 2.48 กิโลเมตร รูปแบบของสะพานเป็นคอนกรีตรูปกล่อง (Segmental Concrete Box Girder) มีเสา 4 เสา กว้าง 14.70 เมตร เป็นสะพานขนาด 2 เลน แต่ละเลนกว้าง 3.50 เมตร นอกจากสะพานแล้วยังมีโครงการก่อสร้างถนนไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตรเข้าในเขตเมืองห้วยทราย ซึ่งเป็นถนนลาดยางขนาดสองเลน รวมทั้งมีการก่อสร้างด่านตรวจคนเข้าเมืองด้วยสถาปัตยกรรมแบบล้านช้าง เป็นการเชื่อมต่อกับเส้นทางR3A ที่เชื่อมต่อระหว่างจีน – ลาว –ไทย บริษัทรับเหมาก่อสร้างเป็นกลุ่ม CR5-KT Joint Venture ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท China Railway No.5 ของจีนและบริษัท กรุงธนเอนยิเนียร์ จำกัดของไทย งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 1,624 ล้านบาท โดยการสมทบทุนระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน ส่วนรัฐบาลลาวรับผิดชอบค่าชดเชยให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยก่อสร้างตัวสะพานแล้วเสร็จในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.
ดู สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ)และสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 4 (เชียงของ–ห้วยทราย)
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 6 (นาตาล–ละคอนเพ็ง)
นมิตรภาพไทย-ลาว 6 (นาตาล-ละคอนเพ็ง) เป็นโครงการใหม่ จากการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2555 ที่จังหวัดสุรินทร์ มีมติเห็นชอบในหลักการของกรอบข้อเสนอแผนโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงช่วงอำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี กับเมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน จุดก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง ทางทิศใต้ บ้านปากแซง หมู่ 3 ตำบลพะลาน อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งสถานที่แห่งนี้ ครม.สัญจร ได้ลงความเห็นชอบอนุมัติเมื่อครั้งประชุมสัญจรที่จังหวัดสุรินทร์ เป็นสะพานมิตรภาพข้ามแม่น้ำโขง แห่งที่ 6 ข้อดี คือ เมื่อสร้างสะพานตรงนั้น จะเป็นการยกระดับความเจริญในหลาย ๆ ด้าน และที่จะเป็นจุดเด่นของสะพานแห่งนี้ คือ จะสามารถย่นระยะทางในการที่จะออกจากประเทศไทย ในด้านการค้าขาย ด้านเศรษฐกิจผ่านประเทศลาว ไปที่เมืองดานัง ระยะทางเพียง 137 กม.
ดู สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ)และสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 6 (นาตาล–ละคอนเพ็ง)
แม่น้ำโขง
แม่น้ำโขง (မဲခေါင်မြစ်; ແມ່ນ້ຳຂອງ; ទន្លេដ៏ធំ; Mê Kông) มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านบริเวณที่ราบสูงทิเบตและมณฑลชิงไห่ ประเทศจีน ผ่านประเทศจีน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา และออกสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม มีความยาวทั้งหมด 4,880 กิโลเมตร เป็นความยาวในประเทศจีน 2,130 กิโลเมตร ช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านประเทศจีนมีชื่อเรียกว่า แม่น้ำหลานชาง หรือ หลานชางเจียง (จีนตัวย่อ: 澜沧江, จีนตัวเต็ม: 瀾滄江) แปลว่า "แม่น้ำที่มีความเชี่ยวกราก" และเมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่าและประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ รวมถึงคำเมืองล้านนาก็เรียก น้ำของ เช่นกัน ส่วนในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงคือ มีตลิ่งที่สูงชันมากทั้งสองฝั่ง ไหลเลี้ยวเลาะไปตามไหล่เขา กระแสน้ำจะไหลจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ตลอดทั้งปี ระดับน้ำในฤดูฝนกับฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความเร็วของกระแสน้ำขึ้นอยู่กับแต่ละฤดูกาล ดินในแม่น้ำโขงเป็นดินทราย มีเกาะแก่งน้อยใหญ่กว่าหนึ่งร้อยแห่งเรียงรายตลอดแม่น้ำ การที่แม่น้ำโขงไหลผ่านหลายประเทศเช่นเดียวกับแม่น้ำดานูบในยุโรป ทำให้บางคนเรียกว่าแม่น้ำนานาชาติ และทำให้ได้รับการขนานนามว่า แม่น้ำดานูบตะวันออก นอกจากนี้ ในประเทศจีน แม่น้ำโขงยังเป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำสาละวินในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน พื้นที่ดังกล่าวนับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง สัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญและพบได้เฉพาะในแม่น้ำโขงได้แก่ ปลาบึก.
ดู สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ)และแม่น้ำโขง
เส้นแบ่งเขตแดนไทย
้นแบ่งเขตแดนไทยและประเทศเพื่อนบ้าน คือเส้นสมมติที่กำหนดขึ้นระหว่างประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง อันได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซี.
ดู สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ)และเส้นแบ่งเขตแดนไทย
หรือที่รู้จักกันในชื่อ สะพานมิตรภาพ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ)สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 5