โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สงครามอิรัก–อิหร่าน

ดัชนี สงครามอิรัก–อิหร่าน

งครามอิรัก–อิหร่าน (Iran–Iraq War) เป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศอิหร่านและประเทศอิรัก ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 1980 ถึงสิงหาคม 1988 มีการประเมินว่าสงครามครั้งนี้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจรวมกันกว่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (30.6 ล้านล้านบาท) สงครามอิรัก–อิหร่านเริ่มขึ้นเมื่ออิรักทำการรุกรานอิหร่านในวันที่ 22 กันยายน 1980 อันเนื่องมาจากข้อพิพาททางชายแดนที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน หลังการปฏิวัติอิหร่านในปี 1979 รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี ได้ขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดของอิหร่านและประกาศตนเป็นผู้นำอิสลามนิกายชีอะห์ ทำให้มุสลิมชีอะฮ์อันเป็นคนส่วนมากในอิรักขึ้นมาก่อจลาจลต่อต้านการปกครองของรัฐบาลนิกายซุนนี ขณะเดียวกัน อิรักก็มีความพยายามจะขึ้นมามีอิทธิพลครอบงำภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียแทนที่อิหร่าน แม้ว่าอิรักจะใช้โอกาสที่อิหร่านกำลังวุ่นวายนี้เข้าโจมตีอิหร่านโดยไม่ประกาศก่อน แต่เข้ายึดครองยังได้ไม่มากก็ถูกโต้กลับอย่างรวดเร็ว อิหร่านสามารถชิงดินแดนที่สูญเสียไปทั้งหมดคืนมาได้ภายในเดือนมิถุนายน 1982 และตลอดหกปีจากนี้ อิหร่านก็กลายเป็นฝ่ายรุกไล่เข้าไปในดินแดนอิรัก แม้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ร้องให้มีการหยุดยิงนับสิบๆครั้ง แต่การสู้รบก็ดำเนินไปจนถึงวันที่ 20 สิงหาคม 1988 และสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 598 ที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับคำขอหยุดยิง ซึ่งภายหลังข้อสรุปนี้ กองทัพอิหร่านต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการถอนกำลังออกจากดินแดนอิรักโดยยึดเอาหลักเขตแดนก่อนสงคราม เชลยสงครามคนสุดท้ายของสงครามนี้ถูกส่งตัวกลับประเทศตนในปี 2003 สงครามครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมกันกว่าหนึ่งล้านคนแต่กลับไม่มีฝ่ายใดได้หรือสูญเสียดินแดนเลย สงครามครั้งนี้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในแง่ของกลยุทธ ทั้งการใช้แท่นปืนกล, การโจมตีแบบคลื่นมนุษย์, การใช้อาวุธเคมีจำนวนมากโดยกองทัพอิรัก ประเทศอิสลามจำนวนมากอยู่ฝ่ายเดียวกับชาติตะวันตกในสงครามครั้งนี้ นั่นคือการสนับสนุนอิรักโดยการให้เงินกู้, ยุทโธปกรณ์ และภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงที่อิรักโจมตีอิหร่าน ซึ่งในระหว่างสงคราม มีการวิจารณ์จากสื่อว่า "ประชาคมโลกต่างพากันเงียบกริบตอนอิรักใช้อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงต่ออิหร่านและชาวเคิร์ด" และกว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะประกาศให้อิรักเป็นผู้ก่อสงครามก็จนกระทั่ง 11 ธันวาคม 1991 สิบสองปีให้หลังจากที่อิรักทำการรุกรานอิหร่าน และเป็นเวลาสิบหกเดือนหลังอิรักรุกรานคูเวต ซึ่งบานปลายเป็นสงครามอ่าว.

29 ความสัมพันธ์: บัสราพ.ศ. 2523กองทัพอิหร่านกองทัพเรือสหรัฐการบุกครองคูเวตการพิจารณาซัดดัม ฮุสเซนการล่มสลายของสหภาพโซเวียตการสนับสนุนอิรักของโซเวียตในสงครามอิรัก–อิหร่านรูฮุลลอฮ์ โคมัยนีสงครามอิรัก (แก้ความกำกวม)สงครามอ่าวเปอร์เซียสงครามที่เกี่ยวข้องกับอิรักสนามกีฬาชาฮิด ดัสต์เกอร์ดีอะบุล ฮาซัน บานีซาดร์อ่าวเปอร์เซียจีเอชเอ็น-45คริสต์ทศวรรษ 1980ซัดดัม ฮุสเซนแบกแดดแพร์ซโพลิส (ภาพยนตร์)แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอฟ-4 แฟนทอม 2ไทป์ 69/79เอกราชอัสซีเรียเอไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์เอเอช-1 ซูเปอร์คอบราเจ้าชายเรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่านเครื่องยิงจรวดคัตยูชา17 พฤษภาคม22 กันยายน

บัสรา

ัสรา, แบสรา (Basra) หรือ อัลบัศเราะฮ์ (البصرة) เป็นเมืองหรืออำเภอหลักของจังหวัดบัสรา ประเทศอิรัก ตั้งในเขตชัฏฏุลอะร็อบ ริมอ่าวเปอร์เซีย เป็นที่ตั้งของมัสยิดแห่งแรกนอกคาบสมุทรอาระเบีย และศูนย์กีฬาที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลาง คือ บัสราสปอร์ตซิตี ตัวเมืองอยู่ระหว่างประเทศคูเวตและประเทศอิหร่าน ชื่อเมืองมาจากคำภาษาอาหรับ بصر (บัศร์) หรือการแลเห็น เนื่องจากเมืองนี้เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเล แต่ไม่มีท่าเรือน้ำลึกเหมือนเมืองอุมกัศร์ (أم قصر) ที่อยู่ใกล้ ๆ กัน อย่างไรก็ตามรัฐบาลอิรักกำหนดให้เมืองบัสราเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญ.

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและบัสรา · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2523

ทธศักราช 2523 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1980 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและพ.ศ. 2523 · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพอิหร่าน

กองทัพสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (نيروهای مسلح جمهوری اسلامی ايران) ประกอบไปด้วย กองทัพบก (ارتش جمهوری اسلامی ایران) และ กองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติอิสลาม (سپاه پاسداران انقلاب اسلامی) และ กำลังใช้บังคับกฎหมายอิหร่านhttp://www.presstv.com/detail.aspx?id.

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและกองทัพอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพเรือสหรัฐ

ระวังสับสนกับ กระทรวงทหารเรือสหรัฐ กองทัพเรือสหรัฐ (อังกฤษ: United States Navy, USN) เป็นกองกำลังทางทะเลในสังกัดกองทัพสหรัฐ และหนึ่งในเจ็ดองค์กรในเครื่องแบบของสหรัฐ กองทัพเรือสหรัฐเป็นกองทัพเรือที่ใหญ่ และมีความสามารถมากที่สุดในโลก โดยมีขนาดกองเรือตามน้ำหนักที่มากที่สุด กองทัพเรือสหรัฐมีกองเรือบรรทุกอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีเรือบรรทุกอากาศยาน 10 ลำในสถานะประจำการ อีก 2 ลำในสถานะกองเรือสำรอง และกำลังก่อสร้างเรือบรรทุกอากาศยานใหม่อีก 3 ลำ กองทัพเรือสหรัฐมีกำลัง 323,792 นายในสถานะประจำการ และอีก 108,515 นายในกองทัพเรือสำรอง มีเรือรบพร้อมประจำการ 274 ลำ และมีอากาศยานที่ใช้การได้มากกว่า 3,700 ลำ ตามข้อมูลในเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและกองทัพเรือสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

การบุกครองคูเวต

การบุกครองคูเวต หรือที่รู้จักกันในนาม สงครามอิรัก–คูเวต เป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลพรรคบาธของประเทศอิรักกับเอมิเรตแห่งคูเวต อิรักสามารถยึดคูเวตได้อย่างง่ายดายและปกครองคูเวตอยู่ 7 เดือน จนกระทั่งสหรัฐอเมริกาภายใต้ประธานาธิบดีจอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช ส่งกำลังทหารเข้าแทรกแทรงบานปลายเป็นสงครามอ่าวเปอร์เซีย ในปี 1990 อิรักได้กล่าวหาคูเวตว่า คูเวตได้ขโมยน้ำมันของอิรักโดยการขุดเจาะน้ำมันแบบเฉียงเข้ามาใต้ดินแดนอิรัก ในขณะที่แหล่งข่าวในอิรักบางแห่งกล่าวอ้างว่า แผนโจมตีคูเวตถูกตัดสินใจโดยประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุสเซน เพียงเดือนสองเดือนก่อนหน้าเท่านั้น บางความเห็นก็ว่าการโจมตีครั้งนี้ เหตุผลส่วนหนึ่งมาจากการที่รัฐบาลอิรักเป็นหนี้คูเวตอยู่กว่า 14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการกู้มาใช้จ่ายในช่วงสงครามอิรัก-อิหร่าน และหลังสงครามครั้งนั้น คูเวตก็ได้ผลิตน้ำมันออกสู่ตลาดจำนวนมหาศาลส่งผลให้ราคาน้ำมันตกต่ำ ทำให้อิรักไม่มีรายได้มากพอจะมาชำระหนี้ก้อนนี้ การบุกครองคูเวตเริ่มขึ้นในเวลาตีสองของวันที่ 2 สิงหาคม..

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและการบุกครองคูเวต · ดูเพิ่มเติม »

การพิจารณาซัดดัม ฮุสเซน

ซัดดัม ฮุสเซนนั่งต่อหน้าผู้พิพากษาชาวอิรักที่สำนักงานศาลในกรุงแบกแดด วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 การพิจารณาซัดดัม ฮุสเซน เป็นการพิจารณาประธานาธิบดีอิรักที่ถูกขับจากตำแหน่ง ซัดดัม ฮุสเซน โดยรัฐบาลชั่วคราวอิรัก ด้วยข้อหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่ง คณะบริหารประเทศชั่วคราวออกเสียงจัดตั้งศาลพิเศษอิรัก ประกอบด้วยผู้พิพากษาห้าคน เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม..

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและการพิจารณาซัดดัม ฮุสเซน · ดูเพิ่มเติม »

การล่มสลายของสหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตถูกยุบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2534 ตามปฏิญญาหมายเลข 142-เอชแห่งสภาโซเวียตแห่งสาธารณรัฐ (Soviet of the Republics)Declaration № 142-Н of the Soviet of the Republics of the Supreme Soviet of the Soviet Union, formally establishing the dissolution of the Soviet Union as a state and subject of international law.

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและการล่มสลายของสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

การสนับสนุนอิรักของโซเวียตในสงครามอิรัก–อิหร่าน

ระหว่างสงครามอิรัก–อิหร่าน ตั้งแต..

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและการสนับสนุนอิรักของโซเวียตในสงครามอิรัก–อิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี

อายะตุลลอฮ์ รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี (เปอร์เซีย:; อังกฤษ: Ruhollah Khomeini) (24 กันยายน ค.ศ. 1902 - 3 มิถุนายน ค.ศ. 1989) อดีตผู้นำสูงสุดแห่งอิหร่าน ผู้ทำการล้มล้างอำนาจของพระเจ้าชาร์มูฮัมหมัด เรซา ปาฮ์เลวี ของอิหร่านซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2523 ประกาศการปฏิวัติอิสลาม และประกาศสงครามอิหร่าน-อิรัก.

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและรูฮุลลอฮ์ โคมัยนี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอิรัก (แก้ความกำกวม)

งครามอิรัก เริ่มขึ้นในปี 2003 และจบลงในปี 2011 ประกอบด้วย 2 ช่วง.

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและสงครามอิรัก (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอ่าวเปอร์เซีย

งครามอ่าวเปอร์เซีย หรือ สงครามอ่าว (Gulf War, 2 สิงหาคม 2533 – 28 กุมภาพันธ์ 2534) ชื่อรหัสปฏิบัติการโล่ทะเลทราย (Operation Desert Shield, 2 สิงหาคม 2533 – 17 มกราคม 2534) เป็นปฏิบัติการนำสู่การสั่งสมกำลังและการป้องกันของซาอุดีอาระเบียและปฏิบัติการพายุทะเลทราย (Operation Desert Storm, 17 มกราคม 2534 – 28 กุมภาพันธ์ 2534) ในระยะสู้รบ เป็นสงครามในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียระหว่างกำลังผสมจาก 34 ชาตินำโดยสหรัฐอเมริกาต่อประเทศอิรักหลังการบุกครองและผนวกคูเวตของอิรัก สงครามนี้มีชื่ออื่น เช่น สงครามอ่าวเปอร์เซีย, สงครามอ่าวครั้งที่หนึ่ง, สงครามคูเวต, สงครามอิรัก ซึ่งคำว่า "สงครามอิรัก" ต่อมาใช้เรียกการบุกครองอิรักเมื่อปี 2546 แทน การยึดครองคูเวตของกองทัพอิรักซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2533 นั้นถูกนานาชาติประณาม และสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติพลันใช้วิธีการบังคับทางเศรษฐกิจต่ออิรัก ประธานาธิบดี จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช วางกำลังสหรัฐเข้าสู่ซาอุดีอาระเบียและกระตุ้นให้ประเทศอื่นส่งกำลังของตนไปที่นั้นด้วย มีหลายชาติเข้าร่วมกำลังผสม ซึ่งเป็นพันธมิตรทางทหารที่ใหญ่ที่สุดนับแต่สงครามโลกครั้งที่สอง กำลังทหารของกำลังผสมส่วนใหญ่มาจากสหรัฐ โดยมีซาอุดีอาระเบีย สหราชอาณาจักรและอียิปต์เป็นผู้มีส่วนร่วมรายใหญ่ตามลำดับ ซาอุดีอาระเบียสมทบเงิน 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากค่าสงคราม 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สงครามนี้มีการริเริ่มการถ่ายทอดข่าวสดจากแนวหน้าของการสู้รบ หลัก ๆ โดยเครือข่ายซีเอ็นเอ็นของสหรัฐ สงครามนี้ยังได้ชื่อเล่นว่า สงครามวิดีโอเกม หลังการถ่ายทอดภาพรายวันจากกล้องบนเครื่องบินทิ้งระเบิดสหรัฐระหว่างปฏิบัติการพายุทะเลทราย ความขัดแย้งระยะแรกเพื่อขับกองทัพอิรักออกจากคูเวตเริ่มด้วยทางระดมทิ้งระเบิดทางอากาศและทางเรือเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2534 และดำเนินไปห้าสัปดาห์ ตามด้วยการโจมตีภาคพื้นดินเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ สงครามสิ้นสุดด้วยชัยชนะอย่างขาดลอยของกำลังผสม ซึ่งขับกองทัพอิรักออกจากคูเวตและรุกเข้าดินแดนอิรัก กำลังผสมยุติการบุกและประกาศหยุดยิงหลังการทัพภาคพื้นเริ่ม 100 ชั่วโมง การสู้รบทางอากาศและทางบกจำกัดอยู่ในประเทศอิรัก คูเวตและบางพื้นที่ตรงพรมแดนซาอุดีอาระเบีย ประเทศอิรักปล่อยขีปนาวุธสกั๊ดต่อเป้าหมายทางทหารของกำลังผสมและต่ออิสราเอล.

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและสงครามอ่าวเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามที่เกี่ยวข้องกับอิรัก

งครามที่เกี่ยวข้องกับอิรัก อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและสงครามที่เกี่ยวข้องกับอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

สนามกีฬาชาฮิด ดัสต์เกอร์ดี

นามกีฬาชาฮิด ดัสต์เกอร์ดี (หรือรู้จักกันในชื่อ พาสเตหะรานสเตเดียม) (ورزشگاه شهيد دستگردی) เป็นสนามฟุตบอลในย่านเอกบาตัน เตหะราน ประเทศอิหร่าน ชื่อสนามมาจากเหตุการณ์สำคัญในสงครามอิรัก–อิหร่าน สนามนี้เคยเป็นสนามเหย้าของ สโมสรฟุตบอลพาสเตหะราน ปัจจุบันเป็นสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติอิหร่านรุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี.

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและสนามกีฬาชาฮิด ดัสต์เกอร์ดี · ดูเพิ่มเติม »

อะบุล ฮาซัน บานีซาดร์

อะบุล ฮาซัน บานีซาดร์ (Abu al-Hasan Bani Sadr; ภาษาเปอร์เซีย:ابوالحسن بنی‌صدر) เป็นสมาชิกกลุ่มแกนนำในการโค่นล้มชาห์แห่งอิหร่าน และเป็นประธานาธิบดีคนแรกแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน เขาถูกขับออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีใน..

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและอะบุล ฮาซัน บานีซาดร์ · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวเปอร์เซีย

แผนที่อ่าวเปอร์เซีย อ่าวเปอร์เซีย (Persian Gulf; خلیج فارس; الخليج العربي) เป็นอ่าวในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เป็นส่วนต่อจากอ่าวโอมาน อยู่ระหว่างคาบสมุทรอาหรับกับประเทศอิหร่าน อ่าวเปอร์เซียเป็นแหล่งน้ำมันดิบแบบเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นที่ตั้งของแท่นขุดเจาะน้ำมันอัลซะฟะนียะ (Al-Safaniya) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอยตัวอยู่กลางอ่าวเปอร์เซีย ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรน้ำมันและแก๊สธรรมชาติเหล่านี้ส่งผลให้ประเทศรอบอ่าวเปอร์เซียเป็นประเทศอุตสาหกรรมน้ำมันสำคัญ ซึ่งมีชื่อเรียกรวม ๆ ว่า รัฐรอบอ่าวเปอร์เซีย ได้แก่ ประเทศอิหร่าน บาห์เรน, คูเวต, โอมาน, กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่วนอิรักนั้นมีพื้นที่ติดกับอ่าวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้อ่าวเปอร์เซียยังเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติชนิดอื่น ๆ มีแนวปะการัง เหมาะสำหรับการทำประมงและหอยมุก เป็นต้น อ่าวเปอร์เซียเป็นที่สนใจของประชาคมโลกเมื่อเกิดสงครามอิรัก-อิหร่านในช่วง..

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและอ่าวเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

จีเอชเอ็น-45

ีเอชเอ็น-45 (GHN-45) ย่อมาจากคำว่า Gun, Howitzer, Noricum เป็นปืนใหญ่วิถีราบ ขนาด 155 มิลลิเมตร แบบลากจูง ออกแบบโดยเจอรัลด์ บูล และพัฒนาขึ้นโดยบริษัทนอริคัม (Noricum) ประเทศออสเตรีย โดยปรับปรุงให้มีลำกล้องปืนยาวขึ้นจาก 39 คาลิเบอร์เป็น 45 คาลิเบอร์ ทำให้มีระยะยิงไกลสุดเพิ่มเป็น 39,600 เมตร โดยมีการผลิตออกมาเป็น 2 รุ่น คือ.

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและจีเอชเอ็น-45 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ทศวรรษ 1980

ริสต์ทศวรรษ 1980 (1980s) หรือยุคเอจตี้ส์ เป็นทศวรรษที่เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1980 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 1989 เป็นช่วงเวลาที่เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงด้านสังคม เศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทั่วไปอย่างความร่ำรวย การผลิตที่เปลี่ยนไปสู่ยุคเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรม เศรษฐกิจเสรีที่พัฒนาไปทั่วโลก บริษัทข้ามชาติทางด้านอุตสาหกรรมที่เข้าสู่ประเทศอย่าง ประเทศไทย มาเลเซีย เม็กซิโก เกาหลีใต้ ไต้หวัน ประเทศจีน และเศรษฐกิจตลาดใหม่ในยุโรปตะวันออก ตามมาด้วยการล่มสลายของคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก ประเทศญี่ปุ่นและเยอรมนีถือเป็นประเทศที่เห็นเด่นชัดว่าพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วตลอดทศวรรษนี้ ประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลกมีประสบความยากลำบากด้านความเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่ประเทศเหล่านั้นพบกับปัญหาหนี้สินในคริสต์ทศวรรษ 1980 ประเทศเหล่านี้ต้องการความช่วยเหลือด้านการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลก ประเทศเอธิโอเปียประสบปัญหาความยากจนในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 ผลคือประเทศต้องการความช่วยเหลือจากต่างชาติในด้านอาหารกับประชากรและทั่วโลกต่างกันช่วยหาเงินช่วยเหลือต่อชาวเอธิโอเปีย อย่างเช่นคอนเสิร์ตไลฟ์เอด ในปี 1985 ที่จัดขึ้นเพื่อหาเงินดังกล่าว ปัญหาด้านสงคราม เกิดความรุนแรงในตะวันออกกลาง อย่างสงครามอิรัก-อิหร่าน และความขัดแย้งในเลบานอนช่วงปี 1982 ถึง 1983 และกองทัพอเมริกันเข้าบุกลิเบียในปี 1985 และ Intifada ในฉนวนกาซาและเวสต์แบงก์ คริสต์ทศวรรษ 1980 ยังเป็นยุคที่มีอัตราการเติบโตของจำนวนประชากรอย่างมาก ไปทั่วโลก มากกว่าแม้ในคริสต์ทศวรรษ 1970 และคริสต์ทศวรรษ 1990 มีอัตราการเติบโตของจำนวนประชากรมากขึ้นอย่างมากโดยเฉพาะชาวแอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชียใต้ ตลอดทศวรรษ ด้วยอัตราการเพิ่มใกล้หรือมากกว่า 4% ต่อปี.

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและคริสต์ทศวรรษ 1980 · ดูเพิ่มเติม »

ซัดดัม ฮุสเซน

ซัดดัม ฮุสเซน (Saddam Hussein) หรือ ศ็อดดาม ฮุเซน อับดุลมะญีด อัลตีกรีตี (อาหรับ: صدام حسين عبد المجيد التكريتي; ละติน:Ṣaddām Ḥusayn ʿAbd al-Majīd al-Tikrītī; 28 เมษายน พ.ศ. 2480-30 ธันวาคม พ.ศ. 2549) เป็นอดีตประธานาธิบดีของอิรัก ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและซัดดัม ฮุสเซน · ดูเพิ่มเติม »

แบกแดด

แผนที่แสดงที่ตั้งแบกแดดในอิรัก แบกแดด ประเทศอิรัก แบกแดด (Baghdad, Bagdad; بغداد‎ บัฆดาด; بەغدا) เป็นเมืองหลวงของประเทศอิรัก มีประชากรในเขตนครประมาณ 7,000,000 คน เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในอิรักการประมาณการจำนวนประชากรทั้งหมดแต่ละชิ้นนั้นแตกต่างอย่างสำคัญ Encyclopædia Britannica ระบุจำนวนในปี..

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและแบกแดด · ดูเพิ่มเติม »

แพร์ซโพลิส (ภาพยนตร์)

Persepolis เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันที่ออกฉายในปี..

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและแพร์ซโพลิส (ภาพยนตร์) · ดูเพิ่มเติม »

แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอฟ-4 แฟนทอม 2

อฟ-4 แฟนท่อม 2 (F-4 Phantom II) เป็นเครื่องบินสกัดกั้นโจมตีพิสัยไกลทุกสภาพอากาศสองที่นั่ง สองเครื่องยนต์ ความเร็วเหนือเสียง เดิมทีสร้างมาเพื่อกองทัพเรือสหรัฐฯ โดยแมคดอนเนลล์ แอร์คราฟท์Swanborough and Bowers 1976, p. 301.

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและแมคดอนเนลล์ ดักลาส เอฟ-4 แฟนทอม 2 · ดูเพิ่มเติม »

ไทป์ 69/79

ทป์ 69 และไทป์ 79 เป็นรถถังประจัญบานหลักที่พัฒนามาจากไทป์ 59 (ซึ่งมีพื้นฐานมาจากที-54เอของโซเวียต) และเป็นรถถังประจัญบานแบบแรกที่จีนพัฒนาเพียงลำพัง การพัฒนานั้นมีทั้งเครื่องยนต์ คอมพิวเตอร์ และเลเซอร์หาระยะ ไทป์ 79 ที่ก้าวหน้ากว่าจะมีปืนใหญ่ขนาด 105 ม.ม. ซึ่งต่อมาไทป์ 88 ก็ใช้เช่นเดียวกัน.

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและไทป์ 69/79 · ดูเพิ่มเติม »

เอกราชอัสซีเรีย

อกราชอัสซีเรีย (Assyrian independence) เป็นขบวนการทางการเมืองและลัทธิที่สนับสนุนการสร้างดินแดนอัสซีเรียสำหรับชาวคริสต์อัสซีเรียที่พูดภาษาแอราเมอิกในภาคเหนือของอิรัก การต่อสู้ของขบวนการเอกราชอัสซีเรียเริ่มตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงปัจจุบัน บริเวณที่ชาวอัสซีเรียอาศัยอยู่คือบริเวณนินนาวา-โมซูล ซึ่งเป็นที่ตั้งของนินเนเวห์ เมืองหลวงของอัสซีเรียในคัมภีร์ไบเบิล บริเวณนี้เป็นที่รู้จักในชื่อสามเหลี่ยมอัสซีเรี.

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและเอกราชอัสซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เอไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์

อไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์ (AIM-54 Phoenix) เป็นขีปนาวุธอากาศสู่อากาศนำวิถีด้วยเรดาร์พิสัยใกล้ที่สามารถบรรทุกได้มากถึงหกลูก มันเคยถูกใช้ในกองทัพเรือสหรัฐฯ และในปัจจุบันใช้โดยเครื่องบินขับไล่เอฟ-14 ทอมแคทของกองทัพอากาศอิหร่านซึ่งเป็นอากาศยานลำเดียวที่สามารถบรรทุกได้ เอไอเอ็ม-54 เดิมทีถูกพัฒนาในช่วงต้นปี..

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและเอไอเอ็ม-54 ฟีนิกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เอเอช-1 ซูเปอร์คอบรา

ลล์ เอเอช-1 ซูเปอร์คอบรา (Bell AH-1 SuperCobra) เป็นเฮลิคอปเตอร์จู่โจมแบบสองเครื่องยนต์ที่มีพื้นฐานมาจากเอเอช-1 คอบราของกองทัพบกสหรัฐ ในตระกูลคอบรายังมีเอเอช-1เจ ซีคอบรา เอเอช-1ที อิมพรูฟคอบรา และเอเอช-1ดับบลิว ซูเปอร์คอบรา เอเอช-1 ดับบลิวเป็นเฮลิคอปเตอร์หลักของกองนาวิกโยธินสหรัฐแต่จะถูกแทนที่ด้วยเอเอช-1ซี ไวเปอร์ใรทศวรรษถัดไป.

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและเอเอช-1 ซูเปอร์คอบรา · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายเรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน

้าชายไซรัส เรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน (رضا پهلوی, ปัจจุบันคือ นายไซรัส เรซา ปาห์ลาวี, พระราชสมภพ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1960) มกุฎราชกุมารองค์สุดท้ายของอิหร่านราชวงศ์ปาห์ลาวี พระราชโอรสในพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี กับจักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี พระองค์ได้เสด็จลี้ภัยมายังสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1979 หลังการเกิดปฏิวัติอิสลาม และประทับอยู่ที่นั่นตลอดม.

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและเจ้าชายเรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องยิงจรวดคัตยูชา

รื่องยิงจรวดคัตยูชา (a,Katyusha rocket launcher) เป็นประเภทของปืนใหญ่จรวดที่ผลิตโดยสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องมีความสามารถในการยิงใส่พื้นที่เป้าหมายได้เร็วกว่าปืนใหญ่ทั่วไปแต่มีความแม่นยำต่ำและต้องใช้เวลาในการบรรจุนานกว่าปืนใหญ่ทั่วไป มีความเปราะบางเมื่อเทียบกับปืนใหญ่ แต่มีราคาถูกสร้างง่ายในการผลิตและเข้ากับตัวถังรถบรรทุกได้หลากหลาย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองคัตยูช่าเป็นปืนใหญ่อัตตาจรผลิตโดยสหภาพโซเวียตZaloga, p 150.มักติดตั้งอยู่บนรถบรรทุก ความคล่องตัวนี้ทำให้คัตยูช่าสามารถขับเคลื่อนตัวเองได้ มีข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือสามารถส่งระเบิดขนาดใหญ่ได้ในคราวเดียวและจากนั้นก็ขับหลบหนีก่อนที่จะเป็นเป้าโจมตีได้และถูกตรวจจับแบบเคาน์เตอร์-แบตเตอรี (การตรวจจับตำแหน่งการยิงปืนใหญ่) ได้ คัตยูชา เป็นชื่อเล่นของจรวด ซึ่งตั้งตามเพลงที่ได้รับความนิยมในกองทัพแดงในช่วงเวลานั้นคือ เพลงคัตยูชาของมีฮาอิล ซาร์คอฟสกีที่กล่าวถึงหญิงสาวคิดถึงคนรักที่ไปรบในแดนไกลZaloga, p 153.

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและเครื่องยิงจรวดคัตยูชา · ดูเพิ่มเติม »

17 พฤษภาคม

วันที่ 17 พฤษภาคม เป็นวันที่ 137 ของปี (วันที่ 138 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 228 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและ17 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

22 กันยายน

วันที่ 22 กันยายน เป็นวันที่ 265 ของปี (วันที่ป 266 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 100 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: สงครามอิรัก–อิหร่านและ22 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สงครามอิรัก-อิหร่านสงครามอิหร่าน-อิรัก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »