โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง

ดัชนี สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง

งครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง (First Sino-Japanese War) หรือ สงครามญี่ปุ่น-ชิง หรือ สงครามเจี่ยอู่ (甲午戰爭) เป็นสงครามระหว่างจักรวรรดิชิงกับจักรวรรดิญี่ปุ่นเพื่อครอบครองคาบสมุทรเกาหลี สงครามนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความอ่อนแอของราชวงศ์ชิง และการประสบผลสำเร็จของญี่ปุ่นที่พัฒนาชาติให้ทันสมัยตามแบบชาติตะวันตกซึ่งเริ่มมาตั้งแต่จักรพรรดิเมจิขึ้นครองราชย์ ส่งผลให้อิทธิพลของราชวงศ์ชิงเสื่อมถอยลงจนนำไปสู่การปฏิวัติในปี..

37 ความสัมพันธ์: พันธมิตรอังกฤษ-ญี่ปุ่นกรมความลับทหารกรณีพิพาทหมู่เกาะเซ็งกะกุกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นกองเรือผสมการบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98)การสังหารหมู่พอร์ตอาร์เทอร์ (จีน)การแทรกแซงสามฝ่ายยะมะโมะโตะ ยะเอะโกะยามางาตะ อาริโตโมะราชวงศ์ชิงราชวงศ์โชซ็อนรายชื่อสนธิสัญญาสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นสงครามจีน-ญี่ปุ่นสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองสงครามเกาหลีสนธิสัญญาชิโมะโนะเซะกิหมู่เกาะเซ็งกะกุหรงลู่หลี่ หงจางอนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิมะฮิโรชิมะจักรพรรดินีมย็องซ็องจักรวรรดิเกาหลีซูสีไทเฮาประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นประเทศญี่ปุ่นนารูโกะ ยานางิวาระนางาซากิแปดกองธงโอยามะ อิวาโอะโทโง เฮฮะชิโรไถหนันเวิง ถงเหอเอกราชไต้หวัน

พันธมิตรอังกฤษ-ญี่ปุ่น

ันธมิตรอังกฤษ-ญี่ปุ่น (Anglo-Japanese Alliance, ญี่ปุ่น: 日英同盟 นิชิเอ-โดเม) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ข้อตกลงพันธไมตรีระหว่างบริเตนใหญ่และญี่ปุ่นฉบับที่หนึ่ง ได้รับการลงนามในกรุงลอนดอนเมื่อวันที่ 30 มกราคม..

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและพันธมิตรอังกฤษ-ญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

กรมความลับทหาร

กรมความลับทหาร (Grand Council) เป็นองค์กรสำคัญในการกำหนดนโยบายการปกครองแผ่นดินของประเทศจีนสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งจักรพรรดิหย่งเจิ้ง (雍正帝) ทรงจัดตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและกรมความลับทหาร · ดูเพิ่มเติม »

กรณีพิพาทหมู่เกาะเซ็งกะกุ

Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism ของญี่ปุ่นเมื่อ ค.ศ. 1978 แผนที่ ''World Atlas'' ตีพิมพ์ในจีน เมื่อ ค.ศ. 1960 กรณีพิพาทหมู่เกาะเซ็งกะกุ ว่าด้วยกรณีพิพาทดินแดนเหนือกลุ่มเกาะร้าง ซึ่งเรียกว่าหมู่เกาะเซ็งกะกุในญี่ปุ่น เตียวหยูในจีนแผ่นดินใหญ่ หรือ Tiaoyutai Islands ในไต้หวัน ประเทศญี่ปุ่นปกครองกลุ่มเกาะดังกล่าวตั้งแต..

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและกรณีพิพาทหมู่เกาะเซ็งกะกุ · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น

กองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น (IJA) (Kyūjitai: 大日本帝國陸軍, Shinjitai: 大日本帝国陸軍, Romaji: Dai-Nippon Teikoku Rikugun) หรือ กองทัพแห่งสมเด็จพระจักรพรรดิ หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ กองทัพบกมหาจักรวรรดิญี่ปุ่น เป็นกองทัพบกของจักรวรรดิญี่ปุ่นตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น

กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น (IJN) (คีวจิไต: 大日本帝國海軍 ชินจิไต: 大日本帝国海軍 หรือ 日本海軍 นิปปง ไคงุง) เป็นกองทัพเรือแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

กองเรือผสม

กองเรือผสม เป็นส่วนมหาสมุทรของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น คล้ายกันกับกองเรือทะเลลึกของเยอรมัน ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง กองเรือผสมไม่ใช่กองกำลังประจำการ แต่เป็นกองกำลังชั่วคราวที่ตั้งขึ้นระหว่างการรบหรือการซ้อมรบครั้งใหญ่ของกองทัพเรือ จากหน่วยงานที่หลากหลายซึ่งปกติขึ้นตรงต่อสายการบังคัญบัญชาที่ต่างกันในยามสง.

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและกองเรือผสม · ดูเพิ่มเติม »

การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98)

การรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น คือ เหตุการณ์สู้รบบนคาบสมุทรเกาหลีและยุทธการที่เกิดขึ้นตามมา ในช่วงระหว่าง..

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและการบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98) · ดูเพิ่มเติม »

การสังหารหมู่พอร์ตอาร์เทอร์ (จีน)

วาดทหารญี่ปุ่นตัดแขนขาศพ การสังหารหมู่พอร์ตอาร์เทอร์ เกิดขึ้นระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง เริ่มตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและการสังหารหมู่พอร์ตอาร์เทอร์ (จีน) · ดูเพิ่มเติม »

การแทรกแซงสามฝ่าย

การแทรกแซงสามฝ่าย (Triple Intervention, ญี่ปุ่น: 三国干渉) คือการแทรงแทรงทางการทูตโดยจักรวรรดิรัสเซีย, จักรวรรดิเยอรมัน และประเทศฝรั่งเศส เมื่อ 23 เมษายน..1895 เกี่ยวกับข้อสัญญาในสนธิสัญญาชิโมะโนะเซะกิ ที่ญี่ปุ่นได้ลงนามกับราชวงศ์ชิงของจีนเพื่อยุติสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง สนธิสัญญาดังกล่าวทำให้ญี่ปุ่นได้เข้าครอบครองคาบสมุทรเหลียวตงตลอดจนเมืองท่าสำคัญอย่างพอร์ทอาเทอร์ รัสเซียซึ่งมีเขตอิทธิพลอยู่ในจีนอยู่แล้วเกิดความกังวลใจถึงการรุกคืบของญี่ปุ่น รัสเซียได้ชักชวนเยอรมันและฝรั่งเศสร่วมกดดันให้ญี่ปุ่นคืนดินแดนดังกล่าวแก่จีนแลกกับการที่ญี่ปุ่นจะได้รับค่าปฏิกรรมสงครามจากจีนมากขึ้นอีก 30 ล้านตำลึง รวมเป็น 230 ล้านตำลึง (จากเดิม 200 ล้านตำลึง) ญี่ปุ่นได้มีปฏิกิริยาตอบโต้การแทรกแซงครั้งนี้และกลายเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นในปี 1904Kowner, Historical Dictionary of the Russo-Japanese War, p. 375.

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและการแทรกแซงสามฝ่าย · ดูเพิ่มเติม »

ยะมะโมะโตะ ยะเอะโกะ

มะโมะโตะ ยะเอะโกะ (1 ธันวาคม ค.ศ. 1845 - 14 มิถุนายน ค.ศ. 1932) หรือ นิอิจิมะ ยะเอะ เป็นสตรีที่มีช่วงชีวิตอยู่ในปลายยุคเอะโดะ หรือ บะกุมะสึ จนถึงยุคเมจิ ยะมะโมะโตะ ยะเอะโกะ เกิดเมื่อค.ศ. 1845 ที่แคว้นไอซุ จังหวัดฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน เป็นธิดาของซะมุไรยะมะโมะโตะ คมปะชิ ผู้มีอาชีพเป็นครูสอนการยิงปืนอยู่ในแคว้นไอซุ ตระกูลยะมะโมะโตะนี้อ้างการสืบเชื้อสายจากยะมะโมะโตะ คันซุเกะ ทหารเอกคนสนิทของทะเกะดะ ชิงเง็น นางยะเอะโกะมีพี่ชายคือ ยะมะโมะโตะ คะกุมะ ในช่วงวัยเยาว์นางยะเอะมีความสนใจในการใช้อาวุธปืนซึ่งผิดแปลกไปจากสตรีในยุคสมัยเดียวกัน ต่อมาคะกุมะผู้เป็นพี่ชายเดินทางไปศึกษาวิทยาการตะวันตกที่เมืองเอะโดะ ได้แนะนำให้นางยะเอะรู้จักกับคะวะซะกิ โชโนะซุเกะ ซึ่งนางยะเอะได้สมรสกับนายโชโนะซุเกะเมื่อค.ศ. 1865 ในช่วงสงครามโบะชิง (Boshin War) หลังจากที่เข้ายึดนครเอะโดะได้แล้ว ทัพฝ่ายพระจักรพรรดิได้รุกคืบขึ้นมาทางเหนือ เข้าโจมตีเมืองไอซุอันเป็นฐานที่มั่นสำคัญของฝ่ายสนับสนุนโชกุน เกิดเป็นยุทธการไอซุ (Battle of Aizu) ขึ้นในค.ศ. 1868 นางยะเอะได้ตัดสินใจปลงผมแต่งตัวเป็นชายถือปืนเข้าร่วมรบในการปกป้องปราสาทไอซุวะกะมะซึ (Aizuwakamatsu Castle) ในยุทธการครั้งนี้เมืองไอซุถูกทัพฝ่ายพระจักรพรรดิเข้ายึดครองในที่สุด คมปะชิบิดาของนางยะเอะเสียชีวิตในที่รบ และนายโชโนะซุเกะผู้เป็นสามีถูกจับเป็นเชลยศึก หลังจากสงครามแล้วนางยะเอะได้เดินทางไปยังเมืองเกียวโต เพื่อเยี่ยมและดูแลพี่ชายนายคะกุมะซึ่งถูกกุมตัวในฐานะเชลยศึกอยู่ นางยะเอะได้พบกับนายโจเซฟ ฮาร์ดี นีซีมา (Joseph Hardy Neesima) หรือ นิอิจิมะ โจ มิชชันนารีชาวญี่ปุ่น นางยะเอะเข้ารีตคริสต์ศาสนาและสมรสใหม่กับนายนิอิจิมะเมื่อค.ศ. 1876 นางยะเอะได้ร่วมกับนายนิอิจิมะผู้เป็นสามีในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยโดชิชะ (Dōshisha University) นายนิอิจิมะผู้เป็นสามีคนที่สองเสียชีวิตลงเมื่อค.ศ. 1890 หลังจากนั้นนางยะเอะได้ผันตนเองมาสู้ด้านการพยาบาลและเข้าทำงานในสภากาชาดญี่ปุ่น (Japanese Red Cross) ในช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง (First Sino-Japanese War) นางยะเอะได้เข้าทำงานที่เมืองฮิโระชิมะในฐานะนางพยาบาลช่วยเหลือทหารญี่ปุ่นที่ได้รับบาดเจ็บในสงคราม ด้วยคุณงามความชอบทำให้นางยะเอะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนมงกุฎ (Order of the Precious Crown) จากสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิเมื่อค.ศ. 1896 ในค.ศ. 1904 นางยะเอะได้เข้าช่วยเหลือทหารบาดเจ็บอีกครั้งในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น นางยะเอะถึงแก่กรรมในปีค.ศ. 1932 ด้วยอายุ 86 ปี ที่เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น.

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและยะมะโมะโตะ ยะเอะโกะ · ดูเพิ่มเติม »

ยามางาตะ อาริโตโมะ

อมพล เจ้า ยามางาตะ อาริโตโมะ หรือ ยามางาตะ เคียวซุเกะ เป็นจอมพลแห่งกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด, นายกรัฐมนตรีสองสมัย และประธานคณะองคมนตรีในสมเด็จพระจักรพรรดิ เขาเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่วางรากฐานด้านการทหารและการเมืองในช่วงต้นของญี่ปุ่นยุคใหม่ และเขาได้รับสมญาว่า เป็นบิดาแห่งการทหารญี่ปุ่น.

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและยามางาตะ อาริโตโมะ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: 16px daicing gurun; ภาษาจีน:清朝; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต..

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและราชวงศ์ชิง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โชซ็อน

ราชวงศ์โชซอน (Joseon Dynasty) หรือ ราชวงศ์อี ที่สถาปนาขึ้นภายหลังการยกสถานะของอาณาจักรโชซอนเป็นจักรวรรดิโชซอนตามพระบรมราชโองการของจักรพรรดิควังมูแห่งจักรวรรดิโชซอน (จักรพรรดิโคจง) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองคาบสมุทรเกาหลีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและราชวงศ์โชซ็อน · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสนธิสัญญา

การลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายในห้องกระจกของพระราชวังแวร์ซายในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919เพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รายชื่อสนธิสัญญา เป็นรายชื่อข้อตกลงทางประวัติศาสตร์ฉบับที่สำคัญ ระหว่างรัฐ กองทัพ รัฐบาล และกลุ่มชน.

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและรายชื่อสนธิสัญญา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น

งครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (Russo-Japanese War) เป็น สงครามครั้งใหญ่ครั้งแรกในศตวรรษที่ 20 อันเนื่องมาจากลัทธิจักรวรรดินิยมของจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิญี่ปุ่น ในบริเวณทางใต้ของแมนจูเรียในพื้นที่คาบสมุทรเหลียวตง, เสิ่นหยาง และบริเวณเกาหลีในพื้นที่คาบสมุทรเกาหลี, ทะเลเหลือง รัสเซียได้ร้องขอท่าเรือน้ำอุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกไว้ เพื่อใช้งานด้านกองทัพเรือและการค้าทางทะเลของรัสเซีย เนื่องจากนครวลาดิวอสต็อกของรัสเซียสามารถเปิดดำเนินการได้อย่างเต็มที่เฉพาะในฤดูร้อนเท่านั้น แต่เมืองพอร์ตอาเธอร์ (ลวี่ชุนเกาในปัจจุบัน) สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอดทั้งปี ซึ่งตั้งแต่สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 ยุติลง ในปี..

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

สงครามจีน-ญี่ปุ่น

งครามจีน-ญี่ปุ่นอาจหมายถึง.

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและสงครามจีน-ญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

งครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง (Second Sino-Japanese War;; 日中戦争) ระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 ถึงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2488 เป็นสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น เกิดขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่สองต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สองเรียกว่า "สงครามแปซิฟิก" และดำเนินเรื่อยมาจนยุติลงพร้อมกับสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ย้อนกลับไปใน พ.ศ. 2474 ญี่ปุ่นได้เข้ารุกรานแมนจูเรีย ซึ่งเหตุการณ์นี้เรียกว่ากรณีมุกเดน ทำให้ญี่ปุ่นสามารถเข้าไปมีอิทธิพลในดินแดนจีนแผ่นดินใหญ่ได้ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ ณ สะพานมาร์โค โปโล อันเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของสงครามครั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มต้นสงครามจนถึง..

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเกาหลี

งครามเกาหลี (25 มิถุนายน 1950 – 27 กรกฎาคม 1953) เป็นสงครามระหว่างสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) โดยได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติฝ่ายหนึ่ง กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดยได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นหลัก อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามเกาหลีเป็นผลจากเขตทางการเมืองของเกาหลีโดยความตกลงที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะกระทำเมื่อสงครามแปซิฟิกยุติ คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นปกครองตั้งแต่ปี 1910 กระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด หลังการยอมจำนนของจักรวรรดิญี่ปุ่นในเดือนกันยายน 1945 นักปกครองชาวอเมริกันได้แบ่งคาบสมุทรตามเส้นขนานที่ 38 โดยกองกำลังทหารสหรัฐยึดครองส่วนใต้ และกองกำลังทหารโซเวียตยึดครองส่วนเหนือ ความล้มเหลวในการจัดการเลือกตั้งเสรีทั่วคาบสมุทรเกาหลีในปี 1948 ยิ่งตอกลึกการแบ่งแยกระหว่างสองฝ่าย เกาหลีเหนือจึงสถาปนารัฐบาลคอมมิวนิสต์ ขณะที่เกาหลีใต้สถาปนารัฐบาลประชาธิปไตยในนาม เส้นขนานที่ 38 กลายเป็นพรมแดนทางการเมืองเพิ่มขึ้นระหว่างสองรัฐเกาหลี แม้การเจรจาเพื่อรวมประเทศยังคงดำเนินต่อมาหลายเดือนก่อนเกิดสงคราม แต่ความตึงเครียดยิ่งทวีขึ้น เกิดการรบปะทะและการตีโฉบฉวยข้ามพรมแดนเส้นขนานที่ 38 อยู่เนือง ๆ สถานการณ์บานปลายเป็นการสงครามเปิดเผยเมื่อกองกำลังเกาหลีเหนือบุกครองเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1950 ปีเดียวกัน สหภาพโซเวียตคว่ำบาตรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อเป็นการประท้วงที่รัฐบาลก๊กมินตั๋ง/สาธารณรัฐจีนเป็นผู้แทนของจีน ซึ่งลี้ภัยไปยังเกาะไต้หวันหลังปราชัยสงครามกลางเมืองจีน เมื่อขาดเสียงไม่เห็นพ้องจากสหภาพโซเวียต ซึ่งมีอำนาจยับยั้งข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ สหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นจึงผ่านข้อมติที่อนุญาตให้แทรกแซงทางทหารในเกาหลี สหรัฐอเมริกาจัดหาทหารคิดเป็น 88% ของทหารนานาชาติ 341,000 นาย ที่ถูกส่งไปช่วยเหลือกองกำลังเกาหลีใต้ขับการบุกครอง โดยมีรัฐสมาชิกสหประชาชาติอื่นอีก 20 ประเทศเสนอความช่วยเหลือ หลังประสบความสูญเสียอย่างหนักในช่วงสองเดือนแรก ฝ่ายตั้งรับถูกผลักดันกลับไปยังพื้นที่เล็ก ๆ ทางใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งมีชื่อว่า วงรอบปูซาน จากนั้น การรุกโต้ตอบอย่างรวดเร็วของสหประชาชาติได้ขับทหารเกาหลีเหนือผ่านเส้นขนานที่ 38 ขึ้นไปเกือบถึงแม่น้ำยาลู เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายเดียวกับเกาหลีเหนือ การเข้าแทรกแซงของจีนบีบให้กองกำลังเกาหลีใต้และพันธมิตรถอยกลับไปใต้เส้นขนานที่ 38 อีกครั้ง แม้สหภาพโซเวียตจะมิได้ส่งทหารเข้าร่วมในความขัดแย้งโดยตรง แต่ก็ให้ความช่วยเหลือด้านยุทธปัจจัยแก่ทั้งกองทัพเกาหลีเหนือและจีน การสู้รบยุติลงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 1953 เมื่อมีการลงนามในความตกลงการสงบศึก ความตกลงดังกล่าวฟื้นฟูพรมแดนระหว่างประเทศใกล้กับเส้นขนานที่ 38 และสถาปนาเขตปลอดทหารเกาหลี แนวกันชนที่มีการป้องกันกว้าง 4.0 กิโลเมตร ระหว่างสองชาติเกาหลี อุบัติการณ์ขนาดย่อมยังคงดำเนินต่อมาตราบจนปัจจุบัน ปัจจัยที่ทำให้สงครามเกาหลียุติเพราะ สตาลินเสียชีวิต และรัฐบาลใหม่โซเวียต ให้บอกให้จีนและเกาหลีเหนือยุติสงครามเกาหลี จากมุมมองวิทยาศาสตร์การทหาร สงครามเกาหลีเป็นการรวมยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองเข้าด้วยกัน โดยเริ่มต้นจากการสงครามเคลื่อนที่ด้วยการเข้าตีของทหารราบอย่างรวดเร็ว ตามด้วยการตีโฉบฉวยทิ้งระเบิดทางอากาศ แต่กลายเป็นสงครามสนามเพลาะที่อยู่นิ่งเมื่อถึงเดือนกรกฎาคม 1951.

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและสงครามเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาชิโมะโนะเซะกิ

นธิสัญญาชิโมะโนะเซะกิ หรือ สนธิสัญญาหม่ากวัน ในภาษาจีน เป็นสนธิสัญญาระหว่างจักรวรรดิญี่ปุ่นและประเทศจีน โดยราชวงศ์ชิง เมื่อวันที่ 17 เมษายน..

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและสนธิสัญญาชิโมะโนะเซะกิ · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะเซ็งกะกุ

หมู่เกาะเซ็งกะกุ หรือ หมู่เกาะเตียวหยู หรือ หมู่เกาะพินนาเคิล (Pinnacle Islands) เป็นกลุ่มเกาะร้างขนาดเล็กในทะเลจีนตะวันออก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของไต้หวัน และทางตะวันตกของเกาะโอะกินะวะ อยู่ทางเหนือของปลายตะวันตกสุดของหมู่เกาะรีวกีวของญี่ปุ่น แผนที่วาดโดยนักเขียนแผนที่ชาวญี่ปุ่น แสดงว่าหมู่เกาะเซ็งกะกุ/เตียวหยูเป็นของจีน หมู่เกาะดังกล่าวเป็นชายแดนนอกชายฝั่งของจีนเพื่อใช้ในการป้องกันโจรสลัดญี่ปุ่น (Wokou) ในระหว่างปี..

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและหมู่เกาะเซ็งกะกุ · ดูเพิ่มเติม »

หรงลู่

กวาเอ่อร์เจีย หรงลู่ (Guwalgiya Ronglu หรือ Guwalgiya Jung-lu; 6 เมษายน 1836 – 11 เมษายน 1903) เป็นนายทหารและรัฐบุรุษชาวจีนเมื่อปลายราชวงศ์ชิง กำเนิดในสกุลกวาเอ่อร์เจียซึ่งทรงอิทธิพลอยู่ในกองธงขาวพิสุทธิ์ (正白旗) แห่งแปดกองธง (八旗) ทั้งยังเป็นญาติกับพระพันปีฉือสี่ (慈禧太后) ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่งในราชสำนัก เช่น ผู้ตรวจฝ่ายซ้าย (左都御史) ขุนนางกรมความลับทหาร (軍機處) ขุนนางสำนักวิเทโศบาย (總理衙門) เจ้ากรมรักษาพระนคร (武衛軍) ผู้ว่าการจื๋อลี่ (直隸總督) มหาบัณฑิต (大学士) แม่ทัพเก้าประตู (九門提督) เสนาบดียุทธนาการ (兵部尚书) และเสนาบดีโยธาธิการ (工部尚書).

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและหรงลู่ · ดูเพิ่มเติม »

หลี่ หงจาง

หลี่ หงจาง (李鴻章) เป็นขุนนางขั้นหนึ่ง, ผู้บัญชาการทหาร และนักการทูตชาวจีนในปลายราชวงศ์ชิง เขาได้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆหลายตำแหน่งในราชสำนักทั้งเป็นข้าหลวงมณฑลจี๋หลี้ (ค.ศ. 1871–1895), ข้าหลวงมณฑลหูกว่าง (ค.ศ. 1867–1870), ข้าหลวงมณฑลเหลียงก่วง (ค.ศ. 1899–1900) หลี่ หงจากเป็นขุนนางหัวสมัยใหม่และเป็นนักการทูตคนสำคัญจึงทำให้เขามีชื่อเสียงในสื่อตะวันตก เขาร่วมมือกับรัสเซียในการต่อต้านอิทธิพลของอังกฤษและการรุกคืบของญี่ปุ่นในแมนจูเรีย อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของราชสำนักที่มีต่อเขากลับดับวูบลงเมื่อจีนพ่ายแพ้ในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและจีนต้องลงนามในสนธิสัญญาอัปยศอย่างสนธิสัญญาชิโมะโนะเซะกิ ก่อให้เกิดเป็นข้อโต้แย้งในบรรดาขุนนางจีนถึงความรับผิดชอบในฐานะที่เขาผู้บัญชาการกองเรือเป่ยหยางในสงครามครั้งนั้น ซึ่งในที่สุดก็ทำให้เขาหลุดจากตำแหน่งใน..

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและหลี่ หงจาง · ดูเพิ่มเติม »

อนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิมะ

อนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิมะ (Hiroshima Peace Memorial) หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า โดมปรมาณู (Atomic Bomb Dome) ตั้งอยู่ในนครฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ในอาณาเขตของสวนสันติภาพฮิโรชิมะได้รับการก่อตั้งเป็นอนุสรณ์ในปี..

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและอนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิมะ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิโรชิมะ

นครฮิโรชิมะ คือเมืองเอกของจังหวัดฮิโรชิมะ และยังเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในภูมิภาคชูโงะกุทางตะวันตกของเกาะฮนชู และยังเป็นเมืองแรกของโลกที่ถูกโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ โดยเครื่องบิน บี-29 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้นครฮิโรชิมะเป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิมะ และอนุสาวรีย์ของเด็กหญิงซะดะโกะผู้ทำให้เกิดประเพณีการพับนกกระเรียนกระดาษพันตัว เพื่อภาวนาให้หายป่วยจากโรคภัยไข้เจ็บ นามของเมืองว่า "ฮิโรชิมะ" (広島) นั้น มีความหมายว่า "เกาะที่กว้างใหญ่ไพศาล".

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและฮิโรชิมะ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีมย็องซ็อง

ักรพรรดินีมย็องซ็องแห่งเกาหลี (มย็องซ็องฮวังฮู; 19 ตุลาคม 1851 – 8 ตุลาคม 1895) เป็นพระมเหสีของจักรพรรดิควางมูแห่งจักรวรรดิเกาหลี (พระเจ้าโกจง) พระจักรพรรดินีมย็องซ็องทรงมีบทบาทอย่างมากในการปกครองและปฏิรูปประเทศในช่วยปลายสมัยราชวงศ์โชซอน และเรื่องราวของพระนางยังคงเป็นประวัติศาสตร์หน้าสำคัญทั้งในด้านการต่อสู้ของวีรสตรีผู้รักชาติ และประวัติศาสตร์อันเป็นที่ถกเถียงในหมู่นักประวัติศาสตร์และนักอาชญวิทยาต่าง ๆ ที่ต่างพยายามค้นหาหลักฐานการสวรรคตที่แท้จริงของพระนาง ซึ่งทั้งฝ่ายเกาหลีเองหรือฝ่ายญี่ปุ่นปิดบังตลอดม.

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและจักรพรรดินีมย็องซ็อง · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเกาหลี

ักรวรรดิโชซ็อน (The Greater Korean Empire หรือ ประเทศโชซ็อน คือราชอาณาจักรโชซ็อนที่ประกาศยกสถานะของรัฐจากราชอาณาจักรเป็นจักรวรรดิ ตามพระบรมราชโองการของพระเจ้าโกจง พร้อมกับการเปลี่ยนพระอิสริยยศจาก กษัตริย์ เป็น จักรพรรดิ โดยพระองค์มีพระนามว่า จักรพรรดิควางมูแห่งเกาหลี เพื่อให้ประเทศเอกราชจากจักรวรรดิชิง และยกสถานะของประเทศมีความเท่าเทียมกับจักรวรรดิชิง และ จักรวรรดิญี่ปุ่น แม้ว่าโดยพฤติการณ์แล้วสถานะของเกาหลีไม่ได้เข้าข่ายการเป็นจักรวรรดิเลยก็ตาม จนกระทั่งถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นยึดครองในปี ค.ศ. 1910.

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและจักรวรรดิเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

ซูสีไทเฮา

ฉือสี่ไท่โฮ่ว ตามภาษาจีนมาตรฐาน หรือ ซูสีไทเฮา ตามภาษาจีนฮกเกี้ยน (29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1835 – 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1908) เป็นสตรีชาวแมนจูจากตระกูลเย่เฮ่อน่าลา (葉赫那拉氏) ดำรงตำแหน่งไท่โฮ่ว (พระราชชนนีพันปีหลวง) และสำเร็จราชการแทนจักรพรรดิจีนหลายพระองค์ในช่วงปลายราชวงศ์ชิง พระนางจึงควบคุมการปกครองจักรวรรดิจีนโดยพฤตินัยเป็นเวลา 47 ปีตั้งแต..

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและซูสีไทเฮา · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

ประตูซุซะกุ ประตูเมืองหลวงเฮโจวเกียว สมัยนะระ (บูรณะขึ้นมาใหม่) คลื่นยักษ์นอกฝั่งคะนะงะวะ ในชุด ทัศนียภาพ 36 มุมของภูเขาฟูจิ วาดเมื่อปี พ.ศ. 2369 โดยคะสึชิกะ โฮะกุไซ ประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น (ภาษาญี่ปุ่น: 日本の歴史; นิฮงโนะเระกิชิ).

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

นารูโกะ ยานางิวาระ

นารูโกะ ยานางิวาระ (เกิด: 26 มิถุนายน พ.ศ. 2402 — ตาย: 16 ตุลาคม พ.ศ. 2486) หรืออาจรู้จักในนาม ซาราวาบิ โนะ สึโบเนะ เป็นนางสนองพระโอษฐ์ และพระสนมในจักรพรรดิเมจิ ทั้งเป็นพระราชชนนีในจักรพรรดิไทโช โดยเธอเป็นสนมคนสุดท้ายที่ให้ประสูติกาลองค์จักรพรรดิของญี่ปุ่น.

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและนารูโกะ ยานางิวาระ · ดูเพิ่มเติม »

นางาซากิ

มืองนางาซากิ เป็นเมืองเอกและเมืองที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดนางาซากิ บนเกาะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น นางาซากิถูกก่อตั้งขึ้นโดยชาวโปรตุเกสในปลายศตวรรษที่ 16 ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆเพื่อการประมง ซึ่งทำให้นางาซากิกลายเป็นศูนย์กลางอิทธิพลของชาวโปรตุเกสและชาวยุโรป ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ถึง 19 มีโบสถ์และศาสนสถานของศาสนาคริสต์มากมายในนางาซากิ ซึ่งศาสนสถานเหล่านี้ ได้ถูกขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก นอกเหนือไปจากนี้ ท่าเรือในนางาซากิ ยังเคยเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง และ สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น นามของเมืองว่า "นางาซากิ" (長崎) มีความหมายว่า "แหลมที่ทอดยาว" ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง 9 สิงหาคม..

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและนางาซากิ · ดูเพิ่มเติม »

แปดกองธง

แปดกองธง (จีน: 八旗, พินอิน: baqí) เป็นกองกำลังทหารในยุคราชวงศ์ชิงในประวัติศาสตร์จีน เป็นการจัดการบริหารและวางกองกำลังต่อสู้ของราชวงศ์ชิง โดยผู้ที่สถาปนากองทัพนี้ คือ จักรพรรดินู่เอ๋อร์ฮาชื่อ (ค.ศ. 1559-ค.ศ. 1629) ปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์ โดยมีสัญลักษณ์เป็นธงที่มีสีสันต่าง ๆ แตกต่างออกไป และเป็นกำลังสำคัญในการป้องกันเมืองหลวง คือ ปักกิ่ง ซึ่งการจัดกำลังออกเป็น 8 ส่วนนี้ จะใช้ผู้คุมกำลังเป็นผู้ที่สัมพันธ์หรือเป็นญาติกันในตระกูลอ้ายซินเจว๋หลัว ซึ่งเป็นตระกูลของจักรพรรดิและพระญาติวงศ์ในราชวงศ์ชิง ซึ่งผู้ที่เคยเป็นผู้บังคับบัญชาแปดกองธงนี้บุคคลหนึ่ง ก็คือ อาปาไห่ หรือต่อมาก็คือ จักรพรรดิหวงไถจี๋ (ค.ศ. 1592-ค.ศ. 1643) ซึ่งเป็นราชบุตรลำดับที่ 8 และได้ครองราชย์ในเวลาต่อมา โดยเริ่มจากหัวหน้าชนเผ่าแมนจูต่าง ๆ ที่นู๋เอ๋อร์ฮาชื้อเคยปราบมา ก่อนจะรวบรวมชาวแมนจูเป็นหนึ่งเดียวโค่นราชวงศ์หมิงได้สำเร็จ มีการเก็บภาษีและการระดมพลก็ระดมผ่านกองธงต่าง ๆ ไล่มาจากหัวหน้าหน่วยบริหารระดับล่างขึ้นมาข้างบน ซึ่งกระบวนการนี้ช่วยลดความแตกต่างของชนเผ่าและตระกูลนอกด่านทั้งหลายไปได้มาก นั่นทำให้นายทหารผู้บังคับหมวด นายทหารผู้บังคับกอง นายทหารคุมกองพัน และระดับแม่ทัพ จะต้องทำหน้าที่เป็นทั้งผู้บริหารและทหารไปพร้อม ๆ กัน แต่ทั้งหมดอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันกับที่นู๋เอ๋อร์ฮาชื้อตราขึ้นมา และยังส่งผลต่อความสัมพันธ์ที่ดีกับชาวมองโกล รวมถึงชาวฮั่นที่อยู่ในแถบตะวันออกด้วย ซึ่งถือได้ว่าทั้ง 3 ชนเผ่ามีส่วนร่วมในการก่อตั้งกองทัพแปดกองธงขึ้นมา จนสามารถแบ่งได้ถึง 24 กองธง เฉลี่ยกองธงละ 7,500 คน.

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและแปดกองธง · ดูเพิ่มเติม »

โอยามะ อิวาโอะ

อมพล โอยามะ อิวาโอะ เป็นรัฐบุรุษของจักรวรรดิญี่ปุ่น จอมพลแห่งกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด 2 สมัย และเป็นรัฐมนตรีว่าการสงครามคนแรก และยังมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องของไซโง ทะกะโมะริ ขุนพลผู้ทรงอิทธิพลแห่งแคว้นซัตสึม.

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและโอยามะ อิวาโอะ · ดูเพิ่มเติม »

โทโง เฮฮะชิโร

อมพลเรือ มาร์ควิส โทโง เฮฮะชิโร เป็นหนึ่งในจอมพลเรือแห่งกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น และถือเป็นหนึ่งในวีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกองทัพเรือญี่ปุ่น จนได้รับฉายาว่า "เนลสันแห่งบูรพา".

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและโทโง เฮฮะชิโร · ดูเพิ่มเติม »

ไถหนัน

หนัน ชื่ออย่างเป็นทางการว่า นครไถหนัน (Táinán Shì; Tainan City) เป็นเมืองหนึ่งในภาคใต้ของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และเป็นเขตปกครองประเภทเทศบาลพิเศษ ด้านตะวันตกและด้านใต้ติดกับช่องแคบไต้หวัน มีสมญาว่า "เมืองหงส์" (Fènghuáng Chéng; Phoenix City) โดยเปรียบกับหงส์จีนซึ่งเชื่อว่า มีฤทธิ์ฟื้นคืนชีพได้ เพราะเมืองนี้ผ่านร้อนผ่านหนาวแล้วกลับรุ่งเรืองหลายครั้ง เดิมที บริษัทอินเดียตะวันออก (East India Company) ของชาววิลันดา ก่อตั้งเมืองนี้ขึ้นในช่วงวิลันดาครองไต้หวัน เพื่อเป็นนิคมการค้าเรียกว่า "ป้อมวิลันดา" (Rèlánzhē Chéng; Fort Zeelandia) แต่เมื่อเจิ้ง เฉิงกง (Zhèng Chénggōng) ขุนพลจักรวรรดิหมิง นำทัพขับไล่ต่างชาติออกจากเกาะไต้หวันได้อย่างราบคาบในปี 1661 เขาก็สถาปนาอาณาจักรตงหนิง (Dōngníng; Tungning) ขึ้นบนเกาะ และใช้นิคมดังกล่าวเป็นเมืองหลวงจนถึงปี 1683 เมื่อราชวงศ์ชิงสถาปนาการปกครองบนเกาะไต้หวันได้เป็นผลสำเร็จ อาณาจักรตงหนิงก็กลายเป็นเพียงมณฑลไต้หวันอันเป็นหนึ่งในมณฑลของจักรวรรดิชิง และนิคมดังกล่าวก็เป็นเมืองเอกของมณฑลไต้หวัน จนมีการย้ายเมืองเอกไปที่ไทเป (Táiběi; Taipei) เมื่อปี 1887 คำว่า "ไถหนัน" แปลว่า ไต้หวันใต้ คู่กับ "ไถเป่ย์" คือ ไทเป ที่แปลว่า ไต้หวันเหนือ "ไถจง" ที่แปลว่า ไต้หวันกลาง และ "ไถตง" ที่แปลว่า ไต้หวันตะวันออก ชื่อเก่าของไถหนันคือ "ต้า-ยฺเหวียน" (Dàyuán; Tayouan) แปลว่า ต่างชาติ และมีผู้ถือว่า ชื่อนี้เป็นที่มาของชื่อ "ไต้หวัน" ปัจจุบัน นอกจากเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไต้หวันแล้ว ไถหนันยังเป็นแหล่งวัฒนธรรมขนานเอก เพราะมีวัฒนธรรมท้องถิ่นนานัปการ เช่น อาหารพื้นเมืองเลื่องชื่อ พิธีกรรมลัทธิเต๋าซึ่งรักษาไว้เป็นอย่างดี กับทั้งประเพณีชาวบ้านเกี่ยวกับการใช้ชีวิตตั้งแต่ครรภ์มารดาจนถึงเชิงตะกอน.

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและไถหนัน · ดูเพิ่มเติม »

เวิง ถงเหอ

วิง ถงเหอ (1830–1904) สมัญญาว่า ชู ผิง (叔平) เป็นบัณฑิตขงจื้อและยังเป็นราชครูในสมัยราชวงศ์ชิง เขาได้เป็นจอหงวนในการสอบขุนนางเมื่อปี..

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและเวิง ถงเหอ · ดูเพิ่มเติม »

เอกราชไต้หวัน

thumb เอกราชไต้หวัน (Taiwanese independence) เป็นความเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อเรียกร้องเอกราชให้แก่สาธารณรัฐจีน (Republic of China) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า ไต้หวัน มีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเป็นการสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นเป็นสาธารณรัฐไต้หวัน (Republic of Taiwan) อย่างเป็นทางการ กับทั้งเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่เอกลักษณ์ของชาติไต้หวัน บอกปัดการผนึกไต้หวันเข้ากับสาธารณรัฐประชาชนจีนหรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า ประเทศจีน ทั้งยังปฏิเสธแนวคิดหนึ่งประเทศ สองระบบ (one country, two systems) และความเป็นจีน รวมถึงเรียกให้นานาประเทศรับรองไต้หวันเป็นรัฐเอกราช ปัจจุบัน มีองค์การระหว่างประเทศเพียงแห่งเดียวที่รับรองเอกราชของไต้หวันอย่างเป็นทางการ คือ องค์การชาติและประชาชนซึ่งไร้ผู้แทน (Unrepresented Nations and Peoples Organization) และสิ่งที่น่าจะเป็นความสำเร็จเพียงหนึ่งเดียวอันเนื่องมาจากความเคลื่อนไหวนี้ คือ การได้มาซึ่งข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 2758 อันว่าด้วยสถานะทางการเมืองของไต้หวัน ในไต้หวันเอง ความเคลื่อนไหวข้างต้นได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรฟั่นลวี่ (Pan-Green Coalition) แต่ถูกพันธมิตรฟั่นหลัน (Pan-Blue Coalition) ต่อต้าน เพราะกลุ่มหลังนี้ประสงค์จะคงไว้ซึ่งสถานะเดิมของสาธารณรัฐจีนตามที่ได้รับฉันทามติเมื่อ ค.ศ. 1992 แม้เป็นสถานะที่ค่อนข้างเคลือบคลุมก็ตาม หรือกลุ่มหลังนี้อาจต้องการให้ไต้หวันหลุดพ้นจากประเทศจีนอย่างช้า ๆ เพราะที่ผ่านมา ประเทศจีนอ้างว่ามีเอกราชเหนือไต้หวันทั้งยังอาศัยการคุกคามทางทหารเสมอ กลุ่มนี้จึงเห็นว่า การประกาศเอกราชเสียทีเดียวอาจนำไปสู่การประเชิญหน้าทางการยุทธระหว่างกองทัพสาธารณรัฐจีนกับกองทัพสาธารณรัฐประชาชนจีน และอาจเอื้ออำนวยให้ประเทศภายนอก เช่น สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น สอดเข้าเกี่ยวข้องมากขึ้น การใช้คำ "เอกราช" สำหรับไต้หวันนั้นอาจเป็นที่คลุมเครือ เป็นต้นว่า เมื่อผู้สนับสนุนความเคลื่อนไหวนี้กล่าวว่า เห็นชอบกับเอกราชไต้หวัน อาจหมายความว่า บุคคลเหล่านี้เห็นชอบกับความคิดให้สถาปนาสาธารณรัฐไต้หวันอย่างเป็นทางการ หรืออาจหมายความว่า บุคคลเหล่านี้เห็นว่า ปัจจุบัน ไต้หวันเป็นเอกราชอยู่แล้ว แต่สามารถเป็นไวพจน์ของสาธารณรัฐจีนได้ ซึ่งนับเป็นการบอกปัดการอ้างสิทธิของประเทศจีนโดยปริยาย ก็ได้ ตามประวัติศาสตร์แล้ว ในระหว่าง..

ใหม่!!: สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งและเอกราชไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งแรก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »