โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศูนย์มีเครื่องหมาย

ดัชนี ศูนย์มีเครื่องหมาย

ูนย์มีเครื่องหมาย หมายถึงจำนวน 0 (ศูนย์) ที่ถูกกำกับด้วยเครื่องหมายบวกหรือลบ ได้แก่ −0 (ลบศูนย์) และ +0 (บวกศูนย์) ในเลขคณิตธรรมดาทั่วไป −0.

3 ความสัมพันธ์: บิตเครื่องหมายจำนวนจุดลอยตัว0

บิตเครื่องหมาย

ตเครื่องหมาย (sign bit) ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์หมายถึง บิตหนึ่งบิตในการแทนจำนวนมีเครื่องหมายที่ใช้แสดง "เครื่องหมาย" (ความเป็นบวกหรือลบ) ของจำนวนหนึ่ง ๆ เฉพาะชนิดข้อมูลตัวเลขแบบมีเครื่องหมาย (signed) เท่านั้นที่จะมีบิตเครื่องหมาย และมักจะถูกวางไว้ทางซ้ายสุด ซึ่งถัดจากบิตเครื่องหมายก็จะเป็นบิตนัยสำคัญมากสุด (most significant bit) ของจำนวนแบบไม่มีเครื่องหมาย (unsigned) จำนวนจุดลอยตัวในรูปแบบไอทริปเพิลอีนั้นมีเครื่องหมายเสมอ และบิตเครื่องหมายก็อยู่ในตำแหน่งซ้ายสุดเช่นกัน โดยทั่วไปถ้าบิตเครื่องหมายเป็น 1 หมายความว่าจำนวนนั้นเป็นจำนวนลบ (สำหรับจำนวนเต็มแบบส่วนเติมเต็มสอง) หรือจำนวนไม่เป็นบวก (สำหรับจำนวนเต็มแบบส่วนเติมเต็มหนึ่ง จำนวนเต็มแบบเครื่องหมายกับขนาด และจำนวนจุดลอยตัว) ถ้าเป็น 0 หมายถึงจำนวนไม่เป็นลบ ในการแทนจำนวนแบบส่วนเติมเต็มสองนั้น บิตเครื่องหมายมีค่าน้ำหนัก (ค่าประจำหลัก) เท่ากับ −2w−1 เมื่อ w คือจำนวนบิตทั้งหมด ในการแทนจำนวนแบบส่วนเติมเต็มหนึ่งนั้น ค่าลบที่น้อยที่สุดคือ 1 − 2w−1 แต่มีการแทนค่าศูนย์ถึงสองแบบคือ +0 กับ −0 และในการแทนจำนวนแบบเครื่องหมายกับขนาด (sign-and-magnitude) บิตเครื่องหมายมีหน้าที่เพียงบอกว่าจำนวนนั้นเป็นบวกหรือลบ เมื่อบวกจำนวน 8 บิตเข้ากับจำนวน 16 บิตโดยใช้เลขคณิตมีเครื่องหมาย หน่วยประมวลผลกลางจะถ่ายทอดบิตเครื่องหมายผ่านครึ่งอันดับสูงของเรจิสเตอร์ 16 บิตที่เก็บจำนวน 8 บิตอยู่นั้น กระบวนการดังกล่าวเรียกว่าการขยายเครื่องหมาย (sign extension) หรือการถ่ายทอดเครื่องหมาย (sign propagation) กระบวนการขยายเครื่องหมายจะนำมาใช้ เมื่อใดก็ตามที่ชนิดข้อมูลมีเครื่องหมายที่เล็กกว่าจำเป็นต้องแปลงเป็นชนิดข้อมูลมีเครื่องหมายที่ใหญ่กว่า ในขณะที่ยังคงค่าตัวเลขเดิมเอาไว้.

ใหม่!!: ศูนย์มีเครื่องหมายและบิตเครื่องหมาย · ดูเพิ่มเติม »

จำนวนจุดลอยตัว

Z3 คอมพิวเตอร์ฐานสองเชิงกลที่สามารถโปรแกรมและดำนำเนินการทางคณิตศาสตร์ได้เครื่องแรก (จัดแสดงต่อสาธารณะที่พิพิธภัณฑ์เยอรมันในเมืองมิวนิก ตัวอย่างแสดงถึงการแทนจำนวนจุดลอยตัวโดยแบ่งเป็นการเก็บค่าเลขนัยสำคัญและเลขชี้กำลัง ในทางคอมพิวเตอร์ จำนวนจุดลอยตัว (floating point) คือระบบแทนจำนวนชนิดหนึ่ง ซึ่งจำนวนนั้นอาจมีขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กเกินกว่าที่จะแทนด้วยจำนวนเต็ม เนื่องจากจำนวนต่าง ๆ สามารถเขียนแทนด้วยเลขนัยสำคัญ (mantissa) จำนวนหนึ่งโดยประมาณ และเปลี่ยนสเกลด้วยเลขชี้กำลัง (exponent) ฐานของสเกลปกติจะเป็น 2, 10 หรือ 16 เป็นต้น จำนวนทั่วไปจึงสามารถเขียนให้อยู่ในรูปแบบนี้ได้ คำว่า จุดลอยตัว จึงหมายถึงจุดฐาน (จุดทศนิยม หรือในคอมพิวเตอร์คือ จุดทวินิยม) ที่สามารถ "ลอยตัว" ได้ หมายความว่า จุดฐานสามารถวางไว้ที่ตำแหน่งใดก็ได้ที่สัมพันธ์กับเลขนัยสำคัญของจำนวนนั้น ตำแหน่งนี้แสดงไว้แยกต่างหากในข้อมูลภายใน และการแทนด้วยจำนวนจุดลอยตัวจึงอาจถือว่าเป็นสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ในบริบทของคอมพิวเตอร์ หลายปีที่ผ่านมา คอมพิวเตอร์ใช้งานจำนวนจุดลอยตัวในรูปแบบที่แตกต่างกัน เวลาต่อมาจึงทำให้เกิดมาตรฐาน IEEE 754 สำหรับจำนวนที่พบได้อย่างปกติสามัญชนิดนี้ ข้อดีของจำนวนจุดลอยตัวที่มีต่อจำนวนจุดตรึง (fixed point รวมทั้งจำนวนเต็ม) คือจำนวนจุดลอยตัวสามารถรองรับค่าได้ในขอบเขตที่กว้างกว่า ตัวอย่างเช่น จำนวนจุดตรึงที่มีตัวเลขเจ็ดหลัก และกำหนดให้สองหลักสุดท้ายอยู่หลังจุด สามารถแทนจำนวนเหล่านี้ได้ 12345.67, 123.45, 1.23 ในขณะที่จำนวนจุดลอยตัว (ตามเลขฐานสิบของมาตรฐาน IEEE 754) ที่มีตัวเลขเจ็ดหลักเช่นกัน สามารถแทนจำนวนเหล่านี้ได้อีกเพิ่มเติม 1.234567, 123456.7, 0.00001234567, 1234567000000000 เป็นต้น แต่ข้อเสียคือรูปแบบของจำนวนจุดลอยตัวจำเป็นต้องใช้หน่วยเก็บข้อมูลมากขึ้นอีกเล็กน้อย (สำหรับเข้ารหัสตำแหน่งของจุดฐาน) ดังนั้นเมื่อจำนวนทั้งสองประเภทเก็บบันทึกอยู่ในที่ที่เหมือนกัน จำนวนจุดลอยตัวจะใช้เนื้อที่มากกว่าเพื่อเพิ่มความเที่ยง (precision) ความเร็วของการดำเนินการกับจำนวนจุดลอยตัว เป็นการวัดประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่สำคัญในขอบเขตข่ายโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นฟล็อปส์ (FLOPS - floating-point operations per second การประมวลผลจุดลอยตัวต่อวินาที).

ใหม่!!: ศูนย์มีเครื่องหมายและจำนวนจุดลอยตัว · ดูเพิ่มเติม »

0

0 (ศูนย์) เป็นทั้งจำนวนและเลขโดดที่ใช้สำหรับนำเสนอจำนวนต่าง ๆ ในระบบเลข มีบทบาทเป็นตัวกลางในทางคณิตศาสตร์ คือเป็นเอกลักษณ์การบวกของจำนวนเต็ม จำนวนจริง และโครงสร้างเชิงพีชคณิตอื่น ๆ ศูนย์ในฐานะเลขโดดใช้เป็นตัววางหลักในระบบเลขเชิงตำแหน่ง.

ใหม่!!: ศูนย์มีเครื่องหมายและ0 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

+0-0ลบศูนย์บวกศูนย์−0

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »