โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วาฬบรูด้า

ดัชนี วาฬบรูด้า

วาฬบรูด้า หรือ วาฬแกลบ (Bryde's whale, Eden's whale; ชื่อวิทยาศาสตร์: Balaenoptera edeni) เป็นวาฬขนาดใหญ่ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในวงศ์ Balaenopteridae โดยชื่อ วาฬบรูด้า เป็นการตั้งเพื่อให้เป็นเกียรติ แก่กงสุลชาวนอร์เวย์ ในประเทศแอฟริกาใต้ ที่ชื่อโยฮัน บรูด้.

7 ความสัมพันธ์: รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทยรายการสัตว์วาฬแกลบวงศ์วาฬแกลบสัตว์ป่าสงวนสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาปลากุแล

รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทย

นี่คือ รายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทย มีทั้งสิ้น 264 ชนิด มี 3 ชนิดถูกคุกคามจนเข้าขั้นวิกฤติ มี 11 ชนิดถูกคุกคามจนใกล้สูญพันธุ์ มี 24 ชนิดเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และ 2 ชนิดมีความเสี่ยงต่ำแต่ใกล้ถูกคุกคาม และสูญพันธุ์ไป 1 ชน.

ใหม่!!: วาฬบรูด้าและรายชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายการสัตว์

รายชื่อสัตว์ เป็นการรวบรวมรายชื่อของสัตว์ทุกไฟลัมและสปีชีส์ไว้ เพื่อเป็นการสะดวกต่อค้นหา การศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับสัตว์ ได้แก่ สัตว์บก • สัตว์น้ำ • สัตว์ปีก • สัตว์เลื้อยคลาน • สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เรียงตามลำดับตัวอักษร สำหรับผู้ที่จะเพิ่มเติมรายชื่อสัตว์ ขอให้เรียงลำดับตามตัวอักษร เพื่อให้ง่ายต่อการเพิ่มเติมรายชื่อ ในส่วนของรายชื่อสัตว์ที่มีคนเริ่มเขียนบทความแล้วดูได้ที่ หมวดหมู่ รายชื่อสัตว์ และ สัตว์ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ หมวดหมู่:สัตว์.

ใหม่!!: วาฬบรูด้าและรายการสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

วาฬแกลบ

วาฬแกลบ เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในทะเลจำพวกวาฬสกุลหนึ่ง จัดเป็นวาฬบาลีนในสกุล Balaenoptera (มาจากภาษาละตินคำว่า balaena (วาฬ) และ pteron (ครีบ)) เป็นวาฬที่อยู่ในวงศ์ Balaenopteridae ซึ่งครั้งหนึ่ง วาฬหลังค่อม (Megaptera novaeangliae) ก็เคยจัดอยู่ในสกุลนี้ด้ว.

ใหม่!!: วาฬบรูด้าและวาฬแกลบ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์วาฬแกลบ

วงศ์วาฬแกลบ หรือ วงศ์วาฬอกร่อง (Rorqual; การออกเสียง) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ ในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Balaenopteridae จัดเป็นวาฬบาลีน หรือวาฬไม่มีฟันวงศ์หนึ่ง ลักษณะเด่นของวาฬในวงศ์นี้คือ มีครีบหลังรูปสามเหลี่ยมอยู่ส่วนท้ายลำตัวและช่วงท้อง และลักษณะเด่นอีกประการ คือ จากใต้คางลงไปมีลักษณะเป็นร่อง ๆ ถี่ ๆ ยาวไปตามลำตัว 30-100 ร่อง เรียกว่า "Rorqual" เป็นวาฬที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักมีตั้งแต่ 150 ตัน จนถึงขนาดเล็กที่สุด 9 ตัน เป็นวาฬที่มีหวีกรองในปาก คือ บาลีน จึงกินอาหารได้แต่เพียงขนาดเล็ก เช่น แพลงก์ตอน, เคย และปลาขนาดเล็ก เช่น ปลากะตัก, ปลาแฮร์ริ่ง เป็นต้น พบได้ในทะเลเปิดและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ติดต่อสื่อสารกันด้วยคลื่นเสียงและโซนาร์ ตัวเมียมีระยะเวลาตั้งท้องนานประมาณ 11-12 เดือน เมื่อคลอดลูกอ่อนจะออกมาจากช่องคลอดของแม่ โดยส่วนหางออกมาก่อน เพื่อให้ส่วนของช่องหายใจเป็นส่วนสุดท้ายที่ออกมาสัมผัสน้ำทะเล และสามารถว่ายน้ำได้ทันที โดยโผล่ขึ้นมาสูดอากาศหายใจครั้งแรกในทันทีที่คลอด ลูกแรกเกิดมีขนาดใหญ่ประมาณร้อยละ 40 ของแม่ ซึ่งเป็นตัวเต็มวั.

ใหม่!!: วาฬบรูด้าและวงศ์วาฬแกลบ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ป่าสงวน

กวางผาจีน (''Nemorhaedus griseus'') 1 ใน 15 ชนิดสัตว์ป่าสงวนของไทย สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายาก กำหนดตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 จำนวน 9 ชนิด เป็นสัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด ได้แก่ แรด กระซู่ กูปรี ควายป่า ละองหรือละมั่ง สมัน เนื้อทราย เลียงผา และกวางผา สัตว์ป่าสงวนเป็นสัตว์หายาก, ใกล้จะสูญพันธุ์ หรืออาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว จึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติเข้มงวดกวดขัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่สัตว์ป่าที่ยังมีชีวิตอยู่หรือซากสัตว์ป่า ซึ่งอาจจะตกไปอยู่ยังต่างประเทศด้วยการซื้อขาย ต่อมาเมื่อสถานการณ์ของสัตว์ป่าในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป สัตว์ป่าหลายชนิดมีแนวโน้มถูกคุกคามเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากยิ่งขึ้น ประกอบกับเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับความร่วมมือระหว่างประเทศในการ ควบคุมดูแลการค้าหรือการลักลอบค้าสัตว์ป่าในรูปแบบต่าง ๆ ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศว่าด้วยชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าหรือ CITES ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามรับรองอนุสัญญาในปี พ.ศ. 2518 และได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2526 นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 จึงได้มีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติฉบับเดิมและตราพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป..

ใหม่!!: วาฬบรูด้าและสัตว์ป่าสงวน · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา

แผนที่ที่ตั้งของสถาบันภายในมหาวิทยาลัยบูรพา (หมายเลข 2) สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นสถาบันวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล โดยมีสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล ที่เปิดให้บุคคลภายนอกเข้าชม สถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มหรือสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลนั้นมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป และถูกเรียกชื่อตามความเข้าใจในชื่อต่าง ๆ กัน เช่น พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล หรือ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแสน สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ตั้งอยู่ด้านหน้าของมหาวิทยาลัยบูรพา ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ปัจจุบันเป็นสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทยและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี.

ใหม่!!: วาฬบรูด้าและสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา · ดูเพิ่มเติม »

ปลากุแล

ปลากุแล หรือ ปลาหลังเขียว เป็นสกุลของปลาทะเลขนาดเล็กสกุล Sardinella (/ซาร์ดิแน็ลลา/) ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) จัดเป็นปลาซาร์ดีนหรือปลาเฮร์ริงอีกจำพวกหนึ่ง มีลักษณะสัณฐานทั่วไปคล้ายกับปลาในสกุล Herklotsichthys คือ ลำตัวแบนข้างมาก สันท้องแหลม เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจำนวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลำตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีน้ำเงินเข้ม บนลำตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดำคล้ำหนึ่งจุด ครีบหลัง และครีบหางสีดำคล้ำอมเหลือง แต่ทว่ามีรูปร่างที่ยาวกว่า นอกจากนี้แล้ว ปลากุแลยังเป็นปลาที่มีวิวัฒนาการมาจากปลาในสกุล Harengula ที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน โดยมีลักษณะแทบจะแยกกันไม่ออก โดยมีความต่างกันที่เกล็ดเท่านั้น จัดเป็นปลาผิวน้ำ ที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ลูกปลาขนาดเล็กอาจอยู่รวมใกล้ชายฝั่งทะเล, ปากแม่น้ำ หรือลากูนได้ พบกระจายพันธุ์ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่น ทั้งมหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย, ทะเลเมดิเตอเรเนียน และมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ และในธรรมชาติยังเป็นปลาที่เป็นอาหารสำคัญของวาฬบาลีน เช่น วาฬบรูดาอีกด้วย เหมือนปลาในสกุลอื่นในวงศ์เดียวกันหรือใกล้เคียง.

ใหม่!!: วาฬบรูด้าและปลากุแล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Balaenoptera brydeiBalaenoptera edeniBryde's whaleEden's whaleวาฬบรูดา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »