โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วัสดุก่อสร้าง

ดัชนี วัสดุก่อสร้าง

วัสดุก่อสร้าง คือ วัสดุที่ใช้ในจุดประสงค์สำหรับการก่อสร้าง ที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัยของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตที่มนุษย์สร้างขึ้นรวมไปถึงสถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างขึ้น วัสดุก่อสร้างมีการหลากหลายในทางวัสดุตั้งแต่ ดินจนถึงโลหะ พลาสติกหรือแก้ว วัสดุแบ่งแยกในหลายด้านไม่ว่าโครงสร้างทางวัตถุ จุดประสงค์การใช้งาน มักจะหมายถึงชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ สำหรับใช้ในงานจำเพาะเจาะจงและอาจหมายถึงวัสดุต่างชนิดได้เช่น เสาเข็ม สามารถหมายถึง เสาเข็มคอนกรีต เสาเข็มไม้ หรือเสาเข็มเหล็ก หรือแม้แต่ในปัจจุบันได้มีการเล็งเห็นถึงความสัมพันธ์ของวัสดุก่อสร้างและสิ่งแวดล้อม ได้มีหลายองค์การที่จัดแบ่งแยกวัสดุออกตามการนำกลับมาใช้ใหม่ ในเมืองไทยคอนกรีตเป็นวัสดุก่อสร้างที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน (2549) เนื่องจากคุณสมบัติที่แข็งแรงและทนไฟ คอนกรีตได้มีการใช้ในงานอาคาร ถนน หรือแม้แต่อนุสาวรีย์ และด้วยเหตุผลทางการเมืองที่รัฐบาลมีการสนับสนุนคอนกรีต และมีการตั้งภาษีนำเข้าของเหล็กสูง.

13 ความสัมพันธ์: บีบีเอ็มจีคอร์ปอเรชันการประมาณราคาวัสดุวังวาริชเวสม์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตกตำบลนาวงปูนปลาสเตอร์แอสฟอลต์คอนกรีตโลก (ดาวเคราะห์)ไม้เศรษฐกิจของประเทศไนจีเรีย

บีบีเอ็มจีคอร์ปอเรชัน

ีบีเอ็มจีคอร์ปอเรชัน (BBMG Corporation) หรือชื่อเต็ม เป่ยจิงบิลดิงแมททีเรียลกรุ๊ปคอร์ปอเรชัน (Beijing Building Materials Group Corporation) เป็นผู้นำด้านการผลิตปูนซีเมนต์ รวมทั้งเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน นอกจากนี้ ยังเป็นผู้จำหน่ายวัสดุก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในกรุงปักกิ่ง, เทียนจิน และมณฑลเหอเป่ย์ บีบีเอ็มจีคอร์ปอเรชันเป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจ ร่วมกับบีบีเอ็มจีกรุ๊ปคอมพานีลิมิเต็ดซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 45% ของการถือหุ้น (เมื่อปลาย ค.ศ. 2010) บีบีเอ็มจีกรุ๊ปคอมพานีลิมิเต็ดเป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการดูแลโดยคณะกรรมการบริหารและตรวจสอบสินทรัพย์รัฐวิสาหกิจของรัฐบาลเทศบาลปักกิ่ง บริษัทนี้ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงใน..

ใหม่!!: วัสดุก่อสร้างและบีบีเอ็มจีคอร์ปอเรชัน · ดูเพิ่มเติม »

การประมาณราคา

การประมาณราคา ในงานก่อสร้าง คือการจัดทำเอกสารประเมินราคาก่อสร้าง ราคาการจัดหาวัสดุทรัพยากรในการผลิตหรือราคาค่าบริการ เป็นการวิเคราะห์ การให้ความเห็น การพยากรณ์ หรือการคาดหมายล่วงหน้า การประมาณราคาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารโครงการ.

ใหม่!!: วัสดุก่อสร้างและการประมาณราคา · ดูเพิ่มเติม »

วัสดุ

วัสดุ หรือ วัตถุดิบ (material) เป็นแก่นสารทางวัตถุที่ใช้ในกระบวนการผลิต เป็นวัตถุในขั้นแรกที่ได้มาจากแหล่งวัตถุดิบก่อนจะนำไปแปรรูปเป็นผลิตผล สำหรับการอุปโภคหรือบริโภค ประเภทของวัสดุ อาจจำแนกตามสสารที่ประกอบเป็นวัสดุ เช่น ไม้ กระดาษ กระจก ปูนซิเมนต์ หรือ จำแนกตามการใช้งานเช่น วัสดุก่อสร้าง วัสดุอุตสาหกรรม วัสดุตกแต่ง.

ใหม่!!: วัสดุก่อสร้างและวัสดุ · ดูเพิ่มเติม »

วังวาริชเวสม์

วังวาริชเวสม์ วังวาริชเวสม์ ตั้งอยู่ที่ซอยสุโขทัย 6 ถนนสุโขทัย เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2476 (1 ปี ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง) เพื่อเป็นที่ประทับของพระองค์เจ้าวาปีบุษบากร พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยมีพระสาโรชรัตนนิมมานก์ สถาปนิกไทยรุ่นบุกเบิกที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ปัจจุบัน วังวาริชเวสม์ เป็นอาคารอนุรักษ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และครอบครองการใช้ประโยชน์โดยบริษัทแม็ทชิ่ง สตูดิโอ จำกัด (มหาชน).

ใหม่!!: วัสดุก่อสร้างและวังวาริชเวสม์ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเนปาล ทำจากดินและหิน สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น (Vernacular architecture) หมายถึง สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นในแต่ละท้องถิ่นที่มีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม เพื่อสนองความต้องการนั้น ๆ รูปแบบของสิ่งก่อสร้างอาจจะพัฒนาไปจากรูปแบบเดิม เพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิต โดยใช้วัสดุก่อสร้างที่หามาได้ตามท้องถิ่นนั้น ๆ การก่อสร้างเป็นการช่วยเหลือกันในชุมชน จากบุคคลทุกเพศทุกวัยทั้ง เด็ก ผู้หญิง คนหนุ่ม-สาว คนเฒ่า-คนแก่ อาจเป็นผู้มีประสบการณ์ทางการก่อสร้างหรือไม่มีก็ได้ การทำงานร่วมกันในชุมชนเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ วัฒนธรรม วิถีชีวิต เรื่องราวต่าง ๆ ของชุมชนอย่างเป็นธรรมชาติ หมวดหมู่:สถาปัตยกรรม.

ใหม่!!: วัสดุก่อสร้างและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมสมัยใหม่

สะพานพระราม 8 วิหารยูนิตี (Unity Temple) โดย แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ ปี ค.ศ. 1906 ตึกเกอเธนนุมที่ 2 ใกล้เมืองบาเซล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ออกแบบโดย รูดอล์ฟ สไตน์เนอร์ ตึกบัทโล (Casa Batllo) โดยแอนโทนี กอดี สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ คือสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับลักษณะที่เรียกว่า “สมัยใหม่” ซึ่งมิได้หมายถึงวิวัฒนาการล่าสุดของสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมสมัยใหม่มิใช่สถาปัตยกรรมร่วมสมัยแต่เป็นคำที่ใช้บรรยายสิ่งก่อสร้างที่มีองค์ประกอบคล้ายคลึงกันตามคำจำกัดความ ซึ่งโดยทั่วไปคือรูปทรงจะเกลี้ยงเกลาและปราศจากการตกแต่ง ลักษณะนี้เริ่มใช้กันเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่โดยทั่วไปแล้วลักษณะเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในปัจจุบันก็ยังสรุปกันไม่ได้และยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ สิ่งก่อสร้างตามแบบสมัยไหม่ที่ว่านี้มิได้เริ่มสร้างกันอย่างจริงจังจนกระทั่งครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่าสถาปัตยกรรมสมัยใหม่อยู่ในชื่อหนังสือโดย ออตโต วากเนอร.

ใหม่!!: วัสดุก่อสร้างและสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก

อาสนวิหารโคโลญ, ประเทศเยอรมนี มีหอสูงที่สุดในโลก อาสนวิหารซอลสบรี (1220-1380) จากมุมตะวันออก มีหอสูงที่สุดในอังกฤษ อาสนวิหารเบอร์มิงแฮม (Birmingham Cathedral) อังกฤษ อาสนวิหารเกิร์ค (Gurk Dom) ออสเตรีย สถาปัตยกรรมการก่อสร้างอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก เป็นบทความที่บรรยายถึงลักษณะสิ่งก่อสร้างของอาสนวิหารทางคริสต์ศาสนา ที่รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก อาสนวิหาร คือโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลมุขนายกตามที่กำหนดไว้ อาสนวิหารเป็นที่เป็นที่ตั้งของ “คาเทดรา” (bishop's cathedra) และเป็นสถานที่ทางคริสต์ศาสนาที่ใช้ในการนมัสการ (โดยเฉพาะสำหรับนิกายที่มีระบบฐานันดรการปกครองเช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ หรือแองกลิคัน) ขนาดของสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาสนวิหารไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตเสมอไป อาจจะมีขนาดเล็กอย่างเช่นอาสนวิหารอ๊อกซฟอร์ด หรือ อาสนวิหารเชอร์ที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วอาสนวิหารมักจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดและเด่นที่สุดในท้องถิ่นที่ตั้งอยู.

ใหม่!!: วัสดุก่อสร้างและสถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ตำบลนาวง

ตำบลนาวง เป็นตำบลหนึ่งในจังหวัดตรัง เดิมเคยเป็นทุ่งนาที่ใช้เป็นสถานที่ฌาปนสถานเรียกว่า เปรวโคกแซะ ต่อมามีคณะกลุ่มบริษัทวัดมาจัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นมาเรียกว่า วัดนาวง ต่อมารัชกาลที่ 5 ได้ทรงยกฐานะระดับหมู่บ้านเป็นระดับตำบลมีชื่อว่า ตำบลนาปยา หลังจากนั้นทางราชการก็จัดรวมพื้นที่ของตำบลนาวงรวมกับตำบลบางกุ้งเพื่อให้จัดระบบการปกครองได้ง่ายขึ้น แต่เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นการปกครองก็ไม่สะดวกจึงได้จัดแยกสองตำบลนี้ออกจากกันอีกครั้ง มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์อ้างอิงว่าพื้นที่นี้เคยเป็นชุมชนที่เก่าแก่ของจังหวัดตรัง โดยมีการพบโบราณสถานและโบราณวัตถุที่เขาปินะ ในปัจจุบันตำบลนาวงมีความเจริญรุ่งเรืองมากอันเนื่องมาจากสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ การจารจรสี่ช่องทางจารจรที่สะดวกโดยมีถนนเพชรเกษมตัดผ่าน ตำบลนาวงในสมัยยังปกครองด้วยสุขาภิบาลนาวงนั้น เคยได้รับการเสนอให้เป็นอำเภอนาวง เพราะในสมัยนั้นการปกครองยังเข้าไม่ทั่วถึง แต่ในปัจจุบันได้มีการจัดตั้งอำเภอขึ้นมาแทนโดยชื่อว่าอำเภอห้วยยอ.

ใหม่!!: วัสดุก่อสร้างและตำบลนาวง · ดูเพิ่มเติม »

ปูนปลาสเตอร์

ปูนปลาสเตอร์ (Plaster หรือ Plaster of Paris) คือปูนที่ใช้ทำประโยชน์หลายอย่างเช่น วัสดุก่อสร้าง และได้มีการค้นพบมากว่า 9,000 ปีแล้ว โดยได้มีการค้นพบที่คาบสมุทรอนาโตเลียและซีเรีย แต่ที่เรารู้จักกันดีก็คือการนำมาเป็นวัสดุก่อสร้างในการทำพีระมิดของชาวอียิปต์ เมื่อประมาณ 5,000 ปี โดยมีการบันทึกถึงขั้นตอนการผลิต (นำ gypsum มาเผาแล้วบดให้เป็นผง และนำไปผสมกับน้ำเมื่อต้องการใช้งาน) ใช้เป็นวัสดุเชื่อมต่อระหว่างก้อนหินแต่ละก้อนในการสร้างพีระมิด และได้ถูกใช้งานมาเรื่อยๆ ตามหน้าประวัติศาสตร์อันยาวนานของวงการก่อสร้าง จนกระทั่งในช่วงศตวรรษที่ 20 ปูนปลาสเตอร์เริ่มที่จะนำมาใช้อย่างกว้างขวางนอกอุตสาหกรรมก่อสร้าง อาทิเช่น การนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิก (สุขภัณฑ์, เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร, เครื่องประดับ), ในวงการทันตกรรม, การหล่อโลหะ, เครื่องประดับ, เครื่องมือการแพทย์, เครื่องสำอางและอีกหลายๆ คุณสมบัติหลักที่ทำให้นิยมใช้งานก็คือความสามารถที่จะแข็งตัวได้รูปตามแม่พิมพ์ที่ใช้ โดยที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ปูนปลาสเตอร์ หรือที่เรียกทางเคมีว่า Calcium sulfate hemihydrates ได้มาจากการนำแร่ยิบซั่ม (Gypsum) ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติมาให้ความร้อน (ประมาณ 150 °C) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีดังสมการ และเมื่อนำไปผสมน้ำเพื่อใช้งานก็จะเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับดังนี้ โดยจะปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของพลังงานความร้อน ในกระบวนการผลิตปูนปลาสเตอร์ จะได้ปูนปลาสเตอร์ออกมา 2 ชนิดคือ Beta (&beta) plaster และ Alpha (&alpha) plaster ซึ่งจะให้คุณสมบัติที่แตกต่างกันไปทั้งในเรื่องของความแข็งแรง และการดูดซึม/คายน้ำของตัวปูนปลาสเตอร์เอง ในการผลิตเพื่อออกมาจำหน่าย ทางผู้ผลิตเองจะมีการผสมระหว่างปูนทั้งสองชนิดนี้ในอัตราส่วนต่างๆ กัน รวมถึงอาจมีสารเคมีบางอย่างผสมรวมไปด้วยเพื่อให้ได้ปูนปลาสเตอร์ที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการใช้งานแต่ละชนิด อาทิเช่น ปูนปลาสเตอร์สำหรับการทำ Case mould จะต้องมีการแข็งแรง ทนต่อการขยายตัวได้ดี และไม่ต้องการคุณสมบัติในการดูด/คายน้ำ ปูนปลาสเตอร์สำหรับทำแม่พิมพ์งานหล่อน้ำดิน ต้องการคุณสมบัติที่ดีของการดูด/คายน้ำ แต่ไม่ต้องการเรื่องความแข็งแรงมากนัก และ ปูนปลาสเตอร์สำหรับทำแม่พิมพ์งาน Ram press ต้องการความทนทางต่อแรงอัดสูง เป็นต้น หมวดหมู่:สารประกอบแคลเซียม หมวดหมู่:วัสดุก่อสร้าง.

ใหม่!!: วัสดุก่อสร้างและปูนปลาสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แอสฟอลต์คอนกรีต

หน้าตัดของผิวถนน โดยส่วนบน (สีเข้ม) เป็นแอสฟัลต์คอนกรีต ในขณะที่ส่วนล่างเป็นผิวถนนคอนกรีตเดิม โรงงานยางมะตอยสำหรับการทำยางมะตอย แอสฟอลต์คอนกรีต (asphalt concrete) หรือรู้จักในชื่อย่อว่า แอสฟอลต์ เป็นวัสดุผสมนิยมใช้ในการสร้างผิวถนน ผิวลานจอดรถ และผิวรันเวย์สนามบิน เป็นส่วนประกอบของยางมะตอยที่ใช้เป็นวัสดุประสานและวัสดุเติม.

ใหม่!!: วัสดุก่อสร้างและแอสฟอลต์คอนกรีต · ดูเพิ่มเติม »

โลก (ดาวเคราะห์)

ลก (Earth) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สามจากดวงอาทิตย์ และเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์เพียงหนึ่งเดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต จากการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งหลักฐานอื่นได้ความว่าโลกกำเนิดเมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีก่อน โลกมีอันตรกิริยะเชิงโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศโดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของโลก โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.26 วัน เรียกว่า ปี ซึ่งระหว่างนั้นโลกโคจรรอบแกนตัวเองประมาณ 366.26 รอบ แกนหมุนของโลกเอียงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ บนผิวโลก อันตรกิริยาความโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ก่อให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร ทำให้การหมุนบนแกนของโลกมีเสถียรภาพ และค่อย ๆ ชะลอการหมุนของโลก โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูงสุดในระบบสุริยะและใหญ่สุดในดาวเคราะห์คล้ายโลก 4 ดวง ธรณีภาคของโลกแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ส่วน เรียกว่าแผ่นธรณีภาค ซึ่งย้ายที่ตัดผ่านพื้นผิวตลอดเวลาหลายล้านปี ร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาสมุทร อีกร้อยละ 29 ที่เหลือเป็นแผ่นดินประกอบด้วยทวีปและเกาะซึ่งมีะเลสาบ แม่น้ำและแลห่งน้ำอื่นจำนวนมากกอปรเป็นอุทกภาค บริเวณขั้วโลกทั้งสองปกคลุมด้วยน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก และน้ำแข็งทะเลของแพน้ำแข็งขั้วโลก บริเวณภายในของโลกยังคงมีความเคลื่อนไหวโดยมีแก่นชั้นในซึ่งเป็นเหล็กในสถานะของแข็ง มีแก่นเหลวชั้นนอกซึ่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก และชั้นแมนเทิลพาความร้อนที่ขับเคลื่อนการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ภายในพันล้านปีแรก สิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นในมหาสมุทรและเริ่มส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและผิวดาว เกื้อหนุนให้เกิดการแพร่ขยายของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจน หลักฐานธรณีวิทยาบางส่วนชี้ว่าชีวิตอาจกำเนิดขึ้นเร็วสุด 4.1 พันล้านปีก่อน นับแต่นั้นตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะ คุณสมบัติทางกายภาพของโลก และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาของโลกประกอบกันทำให้สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการและแพร่พันธุ์ได้ Early edition, published online before print.

ใหม่!!: วัสดุก่อสร้างและโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

ไม้

ตอไม้ ภาพของประดับที่ทำจากไม้ ภาพพื้นไม้ปาเก้ ภาพไม้แปรรูป Medium-density fibreboard (MDF) ไม้ เป็นวัสดุแข็งที่ทำจากแก่นลำต้นของต้นไม้ ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้น โดยแบ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้เต็ง ไม้แดง และไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้สัก ไม้ยางพารา โดยนิยามแล้วไม้ จะหมายถึงเนื้อเยื่อไซเล็มชั้นที่สอง (Xylem) ของต้นไม้ แต่ในความเข้าใจไม้ อาจหมายรวมไปถึงวัสดุใดๆ ที่มีส่วนประกอบทำมาจากไม้ด้วย ไม้สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ประโยชน์อย่างหนึ่งคือ ใช้เป็นเชื้อเพลิง เช่น ถ่านหรือฟืน บางครั้งก็ใช้ในงานศิลปะ ทำเฟอร์นิเจอร์ ทำอาวุธ หรือเป็นวัสดุก่อสร้าง ไม้ยังคงเป็นส่วนประกอบสำคัญในการก่อสร้าง ตั้งแต่มนุษย์เริ่มสามารถสร้างบ้านที่อยู่อาศัย หรือเรือ โดยเรือแทบทุกลำในช่วงปี 80 ทำมาจากไม้แทบทั้งสิ้น ซึ่งในปัจจุบันบ้านหรือเรือที่ทำจากไม้ เริ่มมีจำนวนลดลง โดยปัจจุบันมีการนำวัสดุอื่นมาใช้ในการสร้างแทน แต่ว่าไม้ยังคงมีส่วนสำคัญในด้านการเสริมโครงสร้าง หรือเป็นวัสดุเสริม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสร้างหลังคา และของประดับนอกบ้าน ไม้ที่ใช้ในงานก่อสร้างรู้จักกันในชื่อ ไม้แปรรูป ไม้โดยสภาพแล้ว ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้างโดยตรง เนื่องจากอาจจะมีการแตกหักในโครงสร้าง จึงต้องนำไปแปรรูปเป็นอย่างอื่นก่อน เช่น ไม้อัด,chipboard, engineered wood, hardboard, medium-density fibreboard (MDF), oriented strand board (OSB) เป็นต้น ไม้ดังกล่าวนี้ใช้ประโยชน์กันในวงกว้าง อีกทั้งเยื่อไม้ยังเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตกระดาษอีกด้วย เซลลูโลสที่อยู่ในไม้ยังใช้การทำวัสดุสังเคราะห์ ซึ่งไม้ยังใช้ประโยชน์ในการทำอุปกรณ์อื่นนอกเหนือจากการก่อสร้าง เช่น ใช้ทำตะเกียบ เครื่องดนตรี เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ.

ใหม่!!: วัสดุก่อสร้างและไม้ · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจของประเทศไนจีเรีย

ประเทศไนจีเรียเป็นประเทศรายได้ปานกลาง มีเศรษฐกิจแบบผสม และเป็นตลาดเกิดใหม่ โดยภาคการเงิน บริการ สื่อสาร เทคโนโลยีและบันเทิงกำลังขยายตัว เศรษฐกิจไนจีเรียมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) มากเป็นอันดับที่ 22 ของโลก (จีดีพีราคาตลาด: อันดับที่ 30 ในปี 2556) และในเดือนเมษายน 2557 เป็นเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา ไนจีเรียมีศักยภาพเป็นหนึ่งในยี่สิบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลกภายในปี 2563 ภาคการผลิตที่กำลังเกิดใหม่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของทวีปแอฟริกา และผลิตสินค้าและบริการเป็นสัดส่วนมากในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก แม้ว่าปัจจุบันจะมีการปฏิบัติการต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ เดิมเศรษฐกิจไนจีเรียมีอุปสรรคจากช่วงที่มีการจัดการผิดพลาด แต่การปฏิรูปเศรษฐกิจในทศวรรษที่ผ่านมาดึงไนจีเรียกลับมาสู่การบรรลุศักยภาพทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ จีดีพีที่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (PPP) ของไนจีเรียเพิ่มขึ้นเป็นเกือบสามเท่าจาก 170,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2543 เป็น 451,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2555 แต่การประมาณขนาดเศรษฐกิจนอกระบบ (ซึ่งไม่นับรวมในตัวเลขทางการ) ทำให้ตัวเลขแท้จริงใกล้เคียง 630,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เช่นเดียวกัน จีดีพีต่อหัวเพิ่มขึ้นจาก 1,400 ดอลล่าร์สหรัฐในปี 2543 เป็น 2,800 ดอลล่าร์สหรัฐในปี 2555 (เมื่อนับรวมเศรษฐกิจนอกระบบแล้ว มีการประมาณว่าจีดีพีต่อหัวอยู่ที่ราว 3,900 ดอลล่าร์สหรัฐ) โดยที่ประชากรเพิ่มขึ้นจาก 120 ล้านคนในปี 2543 เป็น 160 ล้านคนในปี 2553 จะมีการทบทวนตัวเลขเหล่านี้โดยอาจปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุด 80% เมื่อมีการคำนวณเมตริกใหม่หลังการเปลี่ยนฐานเศรษฐกิจในเดือนเมษายน 2557 แม้ว่าไนจีเรียจะมีสถานภาพเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ แต่ไนจีเรียผลิตน้ำมันได้เพียง 2.7% ของอุปสงค์ทั่วโลก (ซาอุดิอาระเบีย: 12.9%, รัสเซีย: 12.7%, สหรัฐอเมริกา: 8.6%) เพื่อให้เห็นภาพรายได้จากน้ำมัน ที่อัตราการส่งออกที่ประมาณ 1.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน (300,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน) และราคาขายประมาณการ 65 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรลในปี 2554 รายได้ที่คาดไว้จากปิโตรเลียมของไนจีเรียอยู่ที่ประมาณ 52,200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (จีดีพีปี 2555 อยู่ที่ 451,000 ดอลล่าร์สหรัฐ) ซึ่งคิดเป็นราว 11% ของตัวเลขจีดีพีอย่างเป็นทางการ (และลดเหลือ 8% หากนับรวมเศรษฐกิจนอกระบบ) ฉะนั้น แม้ว่าภาคปิโตรเลียมจะสำคัญ แต่ยังเป็นส่วนเล็กของเศรษฐกิจไนจีเรียในภาพรวม ภาคเกษตรกรรมที่เน้นการยังชีพเป็นส่วนใหญ่ตามไม่ทันการเติบโตของประชากรที่รวดเร็ว และปัจจุบันไนจีเรียนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารปริมาณมาก จากเดิมที่เคยเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ แม้จะมีการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารกลับมาใหม่ก็ตาม ตามรายงานของซิตีกรุปซึ่งจัดพิมพ์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ไนจีเรียจะมีการเติบโตของจีดีพีโดยเฉลี่ยสูงที่สุดในโลกระหว่างปี 2553–2603.

ใหม่!!: วัสดุก่อสร้างและเศรษฐกิจของประเทศไนจีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »