โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วันพระ

ดัชนี วันพระ

ทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญตักบาตรที่วัดในวันพระ (ภาพ: การทำบุญใส่บาตรในกรุงเวียงจันทร์ ประเทศลาว) วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า "วันธรรมสวนะ" อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยวันพระเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 8 ค่ำ, วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ), วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ) วันพระนั้นเดิมเป็นธรรมเนียมของปริพาชกอัญญเดียรถีย์ (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) ที่จะประชุมกันแสดงธรรมทุก ๆ วัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ ซึ่งในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังคงไม่ได้ทรงวางระเบียบในเรื่องนี้ไว้ ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลพระราชดำริของพระองค์ว่านักบวชศาสนาอื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าพุทธศาสนายังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้มีการประชุมพระสงฆ์ในวัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ และอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันดังกล่าว โดยตามพระไตรปิฎกเรียกวันพระว่า วันอุโบสถ (วัน 8 ค่ำ) หรือวันลงอุโบสถ (วัน 14 หรือ 15 ค่ำ) แล้วแต่กรณี หลังจากนั้น พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะสืบมา โดยจะเป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะไปประชุมกันฟังพระธรรมเทศนาจากพระสงฆ์ที่วัด ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่าได้มีประเพณีวันพระมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย วันพระในปัจจุบัน คงเหลือธรรมเนียมปฏิบัติอยู่แต่เฉพาะประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา, พม่า, ไทย, ลาว และเขมร (ในอดีตประเทศเหล่านี้ถือวันพระเป็นวันหยุดราชการ) โดยพุทธศาสนิกชนเถรวาทนับถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญที่จะถือโอกาสไปวัดเพื่อทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์และฟังพระธรรมเทศนา สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในพระพุทธศาสนาอาจถือศีลแปดหรือศีลอุโบสถในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใด ๆ โดยเชื่อกันว่าการทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปมากกว่าในวันอื่น ในประเทศไทย หลังจากวันพระได้ถูกยกเลิกไม่ให้เป็นวันหยุดราชการ ทำให้วันพระที่กำหนดวันตามปฏิทินจันทรคติส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับปฏิทินที่ใช้กันอยู่ทั่วไป (เช่น วันพระไปตรงกับวันทำงานปกติ) ซึ่งคือหนึ่งในสาเหตุสำคัญในปัจจุบันที่ทำให้พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยห่างจากการเข้าวัดเพื่อทำบุญในวันพระ นอกจากนี้ ในประเทศไทยยังมีคำเรียกวันก่อนวันพระหนึ่งวันว่า วันโกน เพราะปกติในวันขึ้น 14 ค่ำปกติ ก่อนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ในประเทศไทยที่จะโกนผมในวันนี้.

27 ความสัมพันธ์: บุญข้าวหลามช่อง 9 เอ็มคอตเอชดีพระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)พุทธชยันตีพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมหาชาติคำหลวงรายชื่อวันสำคัญรายชื่อวันสำคัญของไทยลาว (กลุ่มชาติพันธุ์)วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหารวัดพระธาตุจอมแจ้ง (อำเภอพาน)วัดศรีฐานธรรมิการามวันสำคัญทางศาสนาพุทธวันอัฏฐมีวันอาสาฬหบูชาวันโกนศีลแปดสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร)สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าหอศาสตราคมอุทยานแห่งชาติภูกระดึงอุโบสถจาตุทสีปฏิทินสุริยคติไทยปฏิทินปักขคณนาปาติโมกข์โรงเรียนวัดสุกรีย์บุญญาราม

บุญข้าวหลาม

ญข้าวหลาม เป็นประเพณีการทำบุญด้วยข้าวหลามของชาวไทพวน กระทำเป็นประจำทุกปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หลังจากเสร็จสิ้นฤดูเก็บเกี่ยว เพื่อแสดงถึงความอิ่มหนำสำราญและช่วยสืบทอดพุทธศาสนาได้อีกทางหนึ่ง เพราะการทำบุญด้วยข้าวหลามเป็นหนึ่งในลักษณะทาน 9 ครั้งตามพุทธประวัติ การเตรียมทำบุญข้าวหลามจะเริ่มขึ้นในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 ก่อนวันพระหนึ่งวันหรือเรียกกันว่าวันโกน ฝ่ายชายจะไปตัดไม้ไผ่อ่อนเป็นท่อน ๆ ตามขนาดของปล้องโดยให้ด้านหนึ่งติดปล้องไว้เพื่อป้องกันไม่ให้รั่ว ฝ่ายหญิงเตรียมแช่ข้าวเหนียว ขูดมะพร้าว ปรุงข้าวหลามให้ได้สามรส คือ หวาน มัน เค็ม สำหรับกรอกใส่กระบอกไม้ไผ่แล้วนำไปเผาไฟ เช้าวันรุ่งขึ้นชาวบ้านจะนำข้าวหลามพร้อมกับอาหารคาวหวานไปทำบุญร่วมกันที่วั.

ใหม่!!: วันพระและบุญข้าวหลาม · ดูเพิ่มเติม »

ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี

นีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี (Channel 9 MCOT HD; ชื่อเดิม: สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 บางลำพู, สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท., สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television) แห่งแรกของประเทศไทย ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ในระบบวีเอชเอฟ เดิมออกอากาศเป็นภาพขาวดำ ทางช่องสัญญาณที่ 4 ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 จึงย้ายมาออกอากาศด้วยภาพสี ทางช่องสัญญาณที่ 9 จนถึงปัจจุบัน สังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแล มีพลเอก ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข เป็นประธานกรรมการบริษัท และนายเขมทัตต์ พลเดชเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ.

ใหม่!!: วันพระและช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี · ดูเพิ่มเติม »

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)

ระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปญฺโญ) หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 — 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536) เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของศาสนาพุทธได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด ผลงานเด่นของทาสพุทธทาสคืองานหนังสือ อาทิ หนังสือพุทธธรรม, ตามรอยพระอรหันต์ และคู่มือมนุษย์ และเป็นสงฆ์ไทยรูปแรกที่บุกเบิกการใช้โสตทัศนูปกรณ์สมัยใหม่สำหรับการเผยแพร่ธรรมะ และท่านมีสหายธรรมคนสำคัญ คือ ปัญญานันทภิกขุ วัดชลประทานรังสฤษฎ์ และท่าน..

ใหม่!!: วันพระและพระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) · ดูเพิ่มเติม »

พุทธชยันตี

ีฉลองสัมพุทธชยันตี 2600 ปีแห่งการตรัสรู้ ของชาวศรีลังกา ณ พระมูลคันธกุฎี วัดพระเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย พุทธชยันตี หรือ สัมพุทธชยันตี (Sambuddha jayanthi) เป็น เทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา คำว่า พุทธชยันตี มาจากศัพท์ พุทธ+ชยันตี (जयंती) ที่แปลว่า วันครบรอบ (Anniversary) ในภาษาสันสกฤต พุทธชยันตีจึงแปลว่า การครบรอบวันเกิดของพระพุทธศาสนา หรือวันครบรอบชัยชนะของพระพุทธเจ้าก็ได้ โดยคำนี้ใช้เรียกการจัดกิจกรรมในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้า เช่น ครบรอบ 2500 ปี แห่งปรินิพพาน หรือ 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ โดยอาจใช้ชื่อต่างกันไปบ้างในแต่ละประเทศ เช่น ศรีสัมพุทธชันตี สัมพุทธชยันตี แต่ทั้งหมดก็คือการจัดกิจกรรมพุทธชยันตี เพื่อมุ่งหมายการถวายเป็นพุทธบูชาในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้านั่นเอง พุทธชยันตี เป็นคำที่ใช้ทั่วไปในประเทศ ศรีลังกา อินเดีย พม่า และผู้นับถือพระพุทธศาสนาในประเทศอื่น ๆ บางประเทศ โดยใช้คำนี้ในการจัดกิจกรรมวิสาขบูชา โดยวัตถุประสงค์ของพุทธชยันตีในประเทศต่าง ๆ มุ่งการจัดกิจกรรมเป็นวาระพิเศษตลอดทั้งปีนั้น เช่น การจัดกิจกรรมพุทธบูชา การปฏิบัติธรรม และการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธเจ้าในวันวิสาขบูชานั่นเอง.

ใหม่!!: วันพระและพุทธชยันตี · ดูเพิ่มเติม »

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

อขุนรามคำแหงมหาราช หรือ พญาร่วง หรือ พระบาทกมรเตงอัญศรีรามราช เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณ พ.ศ. 1822 ถึงประมาณ พ.ศ. 1841 พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของไทยที่ได้รับการยกย่องเป็น "มหาราช" ด้วยทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันทรงคุณประโยชน์แก่แผ่นดิน ทรงรวบรวมอาณาจักรไทยจนเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง ทั้งยังได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้น ทำให้ชาติไทยได้สะสมความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ สืบทอดกันมากว่าเจ็ดร้อยปี:3.

ใหม่!!: วันพระและพ่อขุนรามคำแหงมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

มหาชาติคำหลวง

มหาชาติคำหลวง ก็คือเรื่องเวสสันดรชาดก สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแปลแต่งที่เมืองพิษณุโลก เมื่อพ.ศ. 2025 ดังปรากฏหลักฐานใน พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ว่า " ศักราช 844 ขานศก ท่านให้เล่นการมหรสพ 15 วัน ฉลองพระศรีรัตนมหาธาตุ แล้วจึงพระราชนิพนธ์พระมหาชาติคำหลวงจบบริบูรณ์ " แต่ละกัณฑ์ กวีจะแต่งด้วยฉันทลักษณ์ที่ต่างกัน เช่น ร่ายโบราณ ฉันท์ โคลง เป็นต้น และการแต่งเรียกว่าแปลยกศัพท์ กล่าวคือขึ้นต้นวรรคด้วยภาษาบาลีแล้วแปลเป็นภาษาไทยสลับกันไปทุกวรรค เมื่อแต่งเสร็จแล้วก็โปรดให้นำมา อ่านตรวจทานแก้ไขและคิด มหาชาติคำหลวงนี้ไม่ใช่สำหรับพระเทศน์แต่ให้เจ้าหน้าที่ กรมธรรมการ คือ ขุนทินบรรณาการและขุนธารกำนัล พร้อมกับผู้ช่วยอีก 2 คนใช้สวดถวายให้พระมหากษัตริย์ทรงฟังทุกวันพระในระหว่างเข้าพรรษาในวิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชญ์ ทำนองสวดของแต่ละกัณฑ์ มีเม็ดพรายในการสวดก็แตกต่างกันไปทั้งหลบเสียง เอื้อนเสียง หลังจากเสียกรุงฯ เมื่อพ.ศ. 2310 ต้นฉบับ มหาชาติคำหลวงหายไป 6 กัณฑ์ คือ หิมพานต์ ทานกัณฑ์ จุลพน มัทรี สักกบรรพ และฉกษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมกวีร่วมกัน แต่งซ่อมกัณฑ์ที่ยังขาดให้ครบทั้ง 13 กัณฑ์ ธรรมเนียมการสวดมหาชาติคำหลวงยังคงสืบมาจนถึงปัจจุบันทุกวันพระในระหว่างเข้าพรรษาแต่เหลือสวด เพียงกัณฑ์มหาพนเท่านั้น ข้าราชการกรมการศาสนาจะแต่งชุดขาวตั้งเตียงสวดต่อท้ายอาสน์สงฆ์ในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีกระบะบูชาปักธูปเทียน สมุดที่ใช้บันทึกมหาชาติคำหลวงเป็นสมุดไทยดำเขียนตัวหนังสือ ด้วยหรดาลและมีเครื่องหมายบอกทำนองสวดกำกับไปทุกวรรค อานิสงส์ ๑๓ กัณฑ์ ผู้ไดบูชากัณฑ์ทศพร (กัณฑ์ที่ ๑)อานิสงส์ท่านบอกว่าในชาติหน้าที่ไปบังเกิดจะประกอบด้วยรูปสมบัติมีสิริโฉมและรูปร่างที่งดงามอันงดงามกว่าชนทั้งหลาย จะเจรจาปราศัยก็มีน้ำเสียงไพเราะเสนาะโสต มีกลิ่นกายหอมฟุ้งไปไกล แม้จะได้สามีภรรยาบุตรธิดา ก็ล้วนแต่มีรูปทรงงดงาม ผู้บูชากัณฑ์หิมพานต์ (กัณฑ์ที่๒) อานิสงส์ท่านบอกว่าประกอบด้วยความสุขกายสบายใจทุกอิริยาบถ ครั้นตายแล้วจะได้ไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ครั้นตายแล้วจะได้ไปเกิดในฉกามาพจรสวรรค์ มีนางเทพอัปสรแวดล้อมมากมาย เสวยสุขอยูในปราสาทแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ เสวยทิพย์สมบัติอันมโหฬาร มีบริวารแวดล้อมบำรุงบำเรออยู่เป็นนิตย์ ผู้บูชากัณฑ์ทานกัณฑ์ (กัณฑ์ ที่๓) อานิสงส์ท่านบอกว่า จะได้ทรัพย์สมบัติดังปรารถนาบริบูรณ์ด้วยแก้วแหวนเงินทอง อันบริบูรณ์ด้วยทรัพย์สินเงินทองนานัปประการ ผู้บุชากัณฑ์วนประเวสน์ (กัณฑ์ ที่ ๔)อานิสงส์ท่านบอกว่าแม้จะบังเกิดในปรภพใดๆ จะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมบัติ มีที่ดิน บ้านเรือนใหญ่โตมากมาย มีสวนไร่นามากมาย จะมีอุทยานอันดาดาษด้วยต้นไม้ดอกไม้ของหอม และจะมีสระโบกขรณีกว้างใหญ่ มีน้ำใสสะอาดบริบูรณ์ อันเต็มไปด้วยปทุมชาติ ผู้บูชากัณฑ์ชูชก (กัณฑ์ ที่๕) อานิสงส์ท่านบอกว่าเกิดในชาติหน้าจะมีอายุยืนจะไปในที่ใดๆ ก็จะมีแต่ความสุขทุกแห่งหน ปราศจากโรคาพาธทั้งหลาย ไม่เจ็บป่วยเป็นโรคภัยใดๆ และรอดพ้นจากภยันตรายทั้งปวง เป็นผู้มีพละกำลังมาก จะมีพลังต้านทานโรคหลายอย่าง และสิ่งใดที่หายไปก็จะได้กลับคืนดังเก่า ผู้บูชากัณฑ์จุลพน (กัณฑ์ที่ ๖)) อานิสงส์ท่านบอกว่าจะได้รับการคุ้มครองจากผู้หลักผู้ใหญ่เกิดชาติไหนๆ ก็จะได้เป็นใหญ่เป็นโต เป็นหัวหน้าคนเป็นนายคน เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยเดชศักดานุภาพ เฟื่องฟุ้งไปทั่ว ผู้บูชากัณฑ์มหาพน (กัณฑ์ ที่ ๗) อานิสงส์ท่านบอกว่าจะสมบูรณ์ด้วยสติปัญญา เป็นผู้ทรงปรีชา เฉลียวฉลาด จะเป็นผู้ที่ไม่โง่เขลา เป็นคนมีปัญญา สามารถปราบอริศัตรูให้ย่อยยับไปได้ ผู้บูชากัณฑ์กุมาร (กัณฑ์ที่๘)อานิสงส์ท่านบอกว่าจะได้บรรลุเป็นพระอริยะบุคคล พร้อมด้วยคุณวิเศษทั้งปวง ด้วยบุญราศีที่ได้อบรมไว้ ตลอดจนนิพพานสมบัติ อันตัดเสียซึ่งทุกข์ทั้งปวง หลุดพ้นจากกองกิเลสและวัฏฏสงสาร ผู้บูชากัณฑ์มัทรี (กัณฑ์ ที่ ๙) อานิสงส์ท่านบอกว่า ผู้นั้นจะได้คู่ครองที่ใจปรารถนาและครอบครัวที่เป็นไปตามต้องการ ถ้าเป็นสตรี จะได้สามีเป็นที่ชอบเนื้อเจริญใจ ถ้าเป็นบุรุษจะได้ภริยาเป็นที่ต้องประสงค์ จะได้บุตรหญิงชายที่ประเสริฐ เป็นคนว่าง่ายสอนง่าย มีความประพฤติกิริยาเรียบร้อยดีทุกประการ ผู้บูชากัณฑ์มหาราช (กัณฑ์ที่๑๐) อานิสงส์ท่านบอกว่าเกิดชาติหน้าจะเกิดในตระกูลสูงศักดิ์เช่นตระกูลขัตติยมหาศาลในสมัยที่กษัตริย์สูงศักดิ์ หรือตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในยุคที่ตระกูลพราหมณ์สูงส่งยิ่งนัก เป็นที่นับหน้าถือตาแห่งคนทั้งปวง ผู้บูชากัณฑ์สกบรรพ (กัณฑ์ที่ ๑๑)อานิสงส์ท่านบอกว่า มีบริวารมากมายทั้ง ทาส ทาสี และสัตว์ สองเท้า สี่เท้า เช่น โค กระบือ ช้างม้า รถ ยานพาหนะนับประมาณมิได้ ผู้บูชากัณฑ์ ฉกษัตริย์ (กัณฑ์ ที่๑๒)อานิสงส์ท่านบอกว่า จะบริบูรณ์ด้วยวงศาคณาญาติบุตร ธิดา สามี หรือภรรยา บิดา มารดา เป็นต้น อยู่พร้อมหน้ากันโดยความผาสุก จะได้อยู่พร้อมหน้ากันอย่างมีความสุข จะทำกิจกรรมการงานใดก็ประสบความสำเร็จ จะทำการใดๆ ก็พร้อมเพรียงกันยังการงานนั้นๆให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ผู้บูชากัณฑ์นครกัณฑ์ (กัณฑ์ ที่๑๓) อานิสงส์ท่านบอกว่า จะเกิดเป็นมนุษย์ทันยุคศาสนาพระศรีอาริยเมตตรัยจะได้ถือปฏิสนธิในสมัยที่พระศรีอริยเมตตรัยมาอุบัติและจะได้พบกับพระองค์ ตลอดจนได้สดับตรับฟังพระธรรมเทศนาของพระองค์ ตัวอย่างมหาชาติคำหลวง กัณฑ์มัทรี ตอนพระนางมัทรีครวญถึงพระกุมารทั้งสอง หํสาว ดุจหงษโปฎก กระเหว่าเหล่านก พลัดแม่สูญหาย อุปริปลฺลเล ตกต่ำติดตม อดนมปางตาย ดุจแก้วแม่หาย ไม่คอยมารดา แหล่งศึกษาเพิ่มเติม โดยเจ้าหน้าที่กรมการศาสนา หมวดหมู่:มหาเวสสันดรชาดก หมวดหมู่:วรรณกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา.

ใหม่!!: วันพระและมหาชาติคำหลวง · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อวันสำคัญ

วันสำคัญ คือ วันที่มีความสำคัญหรือมีความพิเศษในด้านใดด้านหนึ่ง โดยมีประเพณีหรืองานฉลองในวันสำคัญแต่ละวันแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: วันพระและรายชื่อวันสำคัญ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อวันสำคัญของไทย

รายชื่อวันสำคัญของไท.

ใหม่!!: วันพระและรายชื่อวันสำคัญของไทย · ดูเพิ่มเติม »

ลาว (กลุ่มชาติพันธุ์)

ลาว (ລາວ) เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ตระกูลภาษาไท-กะได เป็นชนชาติใหญ่ที่สุดและมีจำนวนมากที่สุดในประเทศลาว มีประชากรประมาณ 14 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นเป็นจำนวนร้อยละ 53.2 ส่วนที่อื่น ๆ อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ชาวลาวบางส่วนได้อพยพไปตั้งถิ่นฐานที่สหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป ชาวลาวส่วนใหญ่ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาที่พูดกันในชีวิตประจำวัน ชาวลาวส่วนมากจะนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท และบางส่วนยังนับถือควบคู่ไปกับลัทธิภูตผีวิญญาณต่าง ๆ แม้ชาวลาวจะตกอยู่ภายใต้อำนาจของชนชาติต่าง ๆ แต่ก็ยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของตนได้เป็นอย่างดี.

ใหม่!!: วันพระและลาว (กลุ่มชาติพันธุ์) · ดูเพิ่มเติม »

วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร

วัดชนะสงคราม เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง เดิมเรียกว่าวัดกลางนา ต่อมาถูกยกสถานะเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร.

ใหม่!!: วันพระและวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระธาตุจอมแจ้ง (อำเภอพาน)

วัดพระธาตุจอมแจ้ง (120px; Wat Phra That Chom Chaeng) ตั้งอยู่บนยอดดอยป่าซาง หมู่ 12 บ้านร่องบอน ตำบลม่วงคำ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย มีเนื้อที่กว่า 500 ไร่ เป็นวัดเก่าแก่สำคัญที่ครูบาศรีวิชัย (ตนบุญแห่งล้านนา) เคยมาบูรณะไว้ และยังเป็นวัดที่ตั้งอยู่สูงที่สุดในอำเภอพาน มีความสูงถึง 1,350 ฟุต จากระดับน้ำทะเล ระยะทางจากถนนด้านล่างขึ้นไปยังองค์พระธาตุมีความยาวกว่า 700 เมตร ป้ายวัดพระธาตุจอมแจ้ง.

ใหม่!!: วันพระและวัดพระธาตุจอมแจ้ง (อำเภอพาน) · ดูเพิ่มเติม »

วัดศรีฐานธรรมิการาม

วัดศรีฐานธรรมิการาม เป็นวัดพระพุทธศาสนา แบบเถรวาท วัดชั้น อารามราษฎร์ ชนิดคามวาสี(วัดบ้าน) สังกัดมหานิกาย  เริ่มก่อตั้งวัดเมื่อ ๒๔๘๓ ได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๑๕ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๐ หมู่ที่ ๑ บ้านเหล่าหมี ตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร เป็นวัดที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนบ้านเหล่าหมี ทั้งยังมีพระพุทธรูป เนื้อ ไม้พะยอมแกะสลัก พระพุทธลักษณะเป็นพระพุทรูป ปางมารวิชัย ซึ่งเป็น ศิลปะไทย ผสมศิลปะ ล้านช้าง ฐานลายกลีบบัว สร้างใน สมัยรัตนโกสินทร์ ชื่อว่า "พระธัมมะธิรง" ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม หลวงพ่อองค์ดำ หรือพระองค์ดำ เป็นพระคู่บ้านคู่ชุมชน ลักษณะงดงามเป็นที่เคารพสักการะ และเลื่อมใสศรัทธาของชุมชน สร้างประมาณ..

ใหม่!!: วันพระและวัดศรีฐานธรรมิการาม · ดูเพิ่มเติม »

วันสำคัญทางศาสนาพุทธ

วันสำคัญทางศาสนาพุทธ นิยมระบุตามปฏิทินจันทรคติ โดยปกติจะเป็นวันที่เคยมีเหตุการณ์สำคัญเมื่อครั้งพุทธกาล หรือเมื่อถึงกำหนดต้องปฏิบัติประเพณีสำคัญตามธรรมเนียมในศาสนาพุทธ วันสำคัญทางศาสนาพุทธที่ชาวพุทธยึดถือมานาน มีดังนี้.

ใหม่!!: วันพระและวันสำคัญทางศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

วันอัฏฐมี

วันอัฏฐมี วัน 8 ค่ำ ใช้เรียกทั้งข้างขึ้นและข้างแรม เรียกเต็มว่า อัฏฐมีดิถี อัฏฐมี ปกติใช้ในการประกาศองค์อุโบสถในวันพระ ซึ่งหัวหน้าอุบาสกหรืออุบาสิกาจะประกาศก่อนที่จะรับศีลอุโบสถจากพระว่า ถ้าเป็นวัน 14 ค่ำใช้ว่า วันจาตุทสี วัน 15 ค่ำ ใช้ว่า วันปัณณรสี.

ใหม่!!: วันพระและวันอัฏฐมี · ดูเพิ่มเติม »

วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา (อาสาฬหปูชา; Āsāḷha Pūjā) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทยราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม ๗๕, ตอน ๕๒, ๑๒ มิถุนายน..

ใหม่!!: วันพระและวันอาสาฬหบูชา · ดูเพิ่มเติม »

วันโกน

วันโกน คือ วันขึ้น 7 ค่ำกับ 14 ค่ำ และวันแรม 7 ค่ำกับ 14 ค่ำ ของทุกเดือน (หรือ วันแรม 13 ค่ำ หากตรงกับเดือนขาด) ซึ่งเป็นวันก่อนวันพระ 1 วัน, วันโกน-วันพร.

ใหม่!!: วันพระและวันโกน · ดูเพิ่มเติม »

ศีลแปด

ีลแปด หรือ อุโบสถศีล เป็นศีลของคฤหัสถ์ หมายถึง อุบาสกอุบาสิกาทั่วไป มิใช่สงฆ์ (ซึ่งมีศีลเฉพาะตนอยู่แล้ว) โดยมักจะรับศีลแปดในวันพระ นิยมรักษาศีลแปดเป็นเวลา 1 วัน หรือ 3 วัน จัดเป็นศีลขั้นต่ำของพระอนาคามี โดยปกติผู้รักษาศีลจะเปล่งวาจาอธิษฐาน ที่จะขอสมาทานศีลตั้งแต่เช้าของวันนั้น หากรักษาศีลแปดเป็นเวลา 1 วัน เรียกว่า "ปกติอุโบสถ" และหากรักษา 3 วัน เรียกว่า "ปฏิชาครอุโบสถ".

ใหม่!!: วันพระและศีลแปด · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร)

มเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร) เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย อดีตเคยดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช รักษาการเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสีลาจารวัตรมีความรอบรู้ทั้งในทางคดีโลกและคดีธรรม กล่าวได้อย่างเต็มภาคภูมิว่า เป็นสมเด็จพระราชาคณะรูปแรกของไทยที่สำเร็จการศึกษาในทางคดีโลกถึงชั้นปริญญาเอก.

ใหม่!!: วันพระและสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

มเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระนามเดิม พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา (10 กันยายน พ.ศ. 2405 — 17 ธันวาคม พ.ศ. 2498) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา(เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม) เป็นพระเจ้าลูกเธอชั้นเล็ก ลำดับที่ 60 ในจำนวนทั้งหมด 82 พระองค์ โดยรับราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นพระภรรยาเจ้าในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งเป็นสยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกของไทย เป็นสมเด็จพระมาตุจฉาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมเด็จพระอัยยิกาเจ้าในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระปัยยิกาเจ้าในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรณรงค์ เสถียรวงศ์ กรมสารนิเทศ นอกจากนี้พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งองค์สภาชนนีสภาอุณาโลมแดง อันเป็นชื่อของสภากาชาดไทยเมื่อครั้งแรกตั้งในต้นรัชกาลที่ 5 เป็นพระองค์แรกและพระองค์เดียว และองค์สภานายิกา สภากาชาดไทย พระองค์ที่ 2 และทรงสร้างสถานพยาบาลขึ้น ปัจจุบัน คือ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสภากาชาดไทย ในวันที่ 11 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: วันพระและสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

หอศาสตราคม

หอศาสตราคม หรือ หอพระปริตร ตั้งอยู่ในกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน ตรงข้ามกับพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเห็นพระที่นั่งโถง ลักษณะเดียวกับพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้รื้อพระที่นั่งองค์เดิมแล้วสร้างหอศาสตราคม เพื่อให้พระสงฆ์ฝ่ายรามัญนิกาย ทำพิธีสวดพระพุทธมนต์สัตปริตรคาถาเสกน้ำพระพุทธมนต์ สำหรับสรงพระพักต์ และ น้ำสรง ตลอดทั่งประพรมรอบพระมหามณเฑียร ในอดีตเมื่อมีการศึกสงครามได้ประกอบพิธีปลุกเสกเครื่องรางของขลัง เพื่อมอบเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ทหารในการรบ ด้วยเหตุนี้จึงเขียนลายเครื่องอาวุธโบราณ ไว้ที่บานประตูหน้าต่างทุกบาน รัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 มีการสวดทำน้ำพระพุทธมนต์ถวายสรง และนิมนต์พระสงฆ์เข้าประพรมน้ำพระพุธมนต์รอบพระมหามณเฑียรทุกวัน ปัจจุบันนิมนต์พระสงฆ์สวดทำน้ำพระพุทธมนต์ และประพรมรอบพระมหามณเฑียรเฉพาะวันธรรมสวนะเท่านั้น ส่วนการถวายน้ำพระพุทธมนต์สำหรับสรง ยังคงถวายทุกวัน ตามโบราณราชประเพณี และเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม..

ใหม่!!: วันพระและหอศาสตราคม · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติภูกระดึง

อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ตั้งอยู่ที่อำเภอภูกระดึงในจังหวัดเลย เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของประเทศไทย เนื่องจากมีธรรมชาติที่สวยงาม ในแต่ละปีจึงมีคนมาเที่ยวเฉลี่ยหลายหมื่นคน โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาวมักมีนักท่องเที่ยวขึ้นไปพักผ่อนบนภูกระดึงจำนวนมาก ภูกระดึงได้รับการจัดตั้งเป็นป่าสงวนแห่งชาติในปี พ.ศ. 2486 และเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2502 โดยเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่สองถัดจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ครอบคลุมพื้นที่ 348.12 ตารางกิโลเมตร (217,575 ไร่) ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินทรายยอดตัด โดยมีที่ราบบนยอดภูกระดึง ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร (37,500 ไร่) มีความสูงอยู่ระหว่าง 400-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล จุดสูงสุดอยู่ที่บริเวณคอกเมย มีความสูง 1,316 เมตร.

ใหม่!!: วันพระและอุทยานแห่งชาติภูกระดึง · ดูเพิ่มเติม »

อุโบสถ

อุโบสถ (อ่านว่า อุ-โบ-สด) ถือเป็นอาคารที่สำคัญภายในวัดเนื่องจากเป็นสถานที่ที่พระภิกษุสงฆ์ใช้ทำ สังฆกรรมซึ่งแต่เดิมในการทำสังฆกรรมของ พระภิกษุสงฆ์จะ ใช้เพียงพื้นที่โล่ง ๆ ที่กำหนดขอบเขตพื้นที่สังฆกรรมโดยการกำหนดตำแหน่ง“สีมา” เท่านั้น แต่ในปัจจุบันจากการมีผู้บวชมากขึ้น อีกทั้งภายใน พระอุโบสถมักประดิษฐานพระประธานที่เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญ ๆ ทำให้มีผู้มาสักการบูชาและร่วมทำบุญเป็นจำนวนมาก พระอุโบสถจึงถูกสร้าง ขึ้นเป็นอาคารถาวรและมักมี การประดับตกแต่งอย่างสวยงาม และยังมีอีกมีหลายความหมาย คือ หมายถึง.

ใหม่!!: วันพระและอุโบสถ · ดูเพิ่มเติม »

จาตุทสี

ตุทสี (อ่านว่า จาตุดทะสี) แปลว่า ดิถีเป็นที่เต็ม 14 วัน คือ วัน 14 ค่ำ ใช้เรียกทั้งข้างขึ้นและข้างแรม เรียกเต็มว่า จาตุทสีดิถี จาตุทสี ปกติใช้ในการประกาศองค์อุโบสถในวันพระ ซึ่งหัวหน้าอุบาสกหรืออุบาสิกาจะประกาศก่อนที่จะรับศีลอุโบสถจากพระว่า ถ้าเป็นวัน 8 ค่ำใช้ว่า วันอัฐมี วัน 15 ค่ำ ใช้ว่า วันปัณรสี.

ใหม่!!: วันพระและจาตุทสี · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินสุริยคติไทย

ปฏิทินสุริยคติไทย คือปฏิทินอย่างเป็นทางการของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นระบบปฏิทินสุริยคติอ้างวันเดือนปีตรงตามปฏิทินเกรกอเรียนที่มีจำนวนวัน 365 หรือ 366 วันในแต่ละปี โดยปรับเปลี่ยนจากปฏิทินจันทรคติไทยเดิมเมื่อ พ.ศ. 2431 (จุลศักราช 1240) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ชื่อเดือนในภาษาไทยทั้งสิบสองในปฏิทินตั้งชื่อโดยกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ ในปฏิทินไทยจะมีการแสดงปีปฏิทินสุริยคติไทยเป็นหลักแสดงในรูปแบบปีพุทธศักราช และในหลายปฏิทินมักจะมีการแสดงวันพระ วันข้างขึ้น ข้างแรม ปีจีน และคริสต์ศักราชคู่กัน.

ใหม่!!: วันพระและปฏิทินสุริยคติไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินปักขคณนา

กระดานปักขคณนา ใช้อักษรขอมบาลี (เหมือนอักษรเขมร) กำกับตัวเดินหมุด ปักขคณนา หรือ ปักษคณนา เป็นปฏิทินจันทรคติไทยประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้วิธีการคำนวณหาวันขึ้นแรมให้แม่นยำตรงตามการโคจรของดวงจันทร์เป็นสำคัญ โดยไม่ได้นับวันตามการขึ้นตกของดวงอาทิตย์ แต่ใช้วิธีการนับโดยการยึดหาวันเพ็ญ และ วันดับ แทน สำหรับการคำนวณวันที่จะใช้กระดานปักขคณนา ในการช่วยคำนวณ ซึ่งจะซับซ้อนกว่าการนับปกติ สำหรับระบบปฏิทินจันทรคติแบบปักขคณนานี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงค้นคิดวิธีคำนวณขึ้นใช้ในพระสงฆ์คณะธรรมยุติ เพื่อใช้ในการทำศาสนกิจต่อไป.

ใหม่!!: วันพระและปฏิทินปักขคณนา · ดูเพิ่มเติม »

ปาติโมกข์

ระสงฆ์สวดปาติโมกข์ในอุโบสถ ปาติโมกข์ หมายถึง คัมภีร์ที่รวมวินัยของสงฆ์ 227 ข้อ คัมภีร์ที่ประมวลพุทธบัญญัติอันทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา มีพุทธานุญาต ให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ ทุกกึ่งเดือน เรียกกันว่า สงฆ์ทำอุโบสถ บทปาติโมกข์เหล่านี้ปรากฏอยู่ในพระวินัยปิฎก หมวดสุตตวิภังค์ มีพุทธานุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อได้ เมื่อมีเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ.

ใหม่!!: วันพระและปาติโมกข์ · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนวัดสุกรีย์บุญญาราม

รงเรียนวัดสุกรีย์บุญญาราม ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 8 บ้านหนองมะนาว ตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150 สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขึ้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย).

ใหม่!!: วันพระและโรงเรียนวัดสุกรีย์บุญญาราม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วันลงอุโบสถวันอุโบสถวันธรรมสวนะ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »