สารบัญ
5 ความสัมพันธ์: ราชดัดวงศ์ส้มอันดับเงาะปลาไหลเผือกน้อยปลาไหลเผือกใหญ่
ราชดัด
ราชดัด (L.) Merr.
วงศ์ส้ม
วงศ์ส้ม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Rutaceae) เป็นวงศ์ของของพืชที่ปกติแล้วจะถูกจัดให้อยู่ในอันดับ Sapindales โดยทั่วไปแล้วพืชในวงศ์นี้จะมีดอกที่แบ่งออกเป็น 4 หรือ 5 ส่วน ปกติจะมีกลิ่นแรง ลักษณะของต้นมีตั้งแต่ไม้ล้มลุก ไม้พุ่ม ไปจนถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สกุลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากที่สุดคือ Citrus ซึ่งมีทั้งส้ม (C.
อันดับเงาะ
อันดับเงาะหรือ Sapindales เป็นอันดับของพืชมีดอกที่มีสมาชิกที่สำคัญคือเมเปิล เงาะ ลิ้นจี่ สะเดา มะม่วง ระบบ APG II ได้จัดให้อันดับนี้อยู่ในกลุ่มโรสิดแท้ ในกลุ่มใหญ่โรสิด และในพืชใบเลี้ยงคู่แท้ มี 9 วงศ์.
ดู วงศ์ปลาไหลเผือกและอันดับเงาะ
ปลาไหลเผือกน้อย
ปลาไหลเผือกน้อย Pierre เป็นพืชในวงศ์ Simaroubaceae เป็นไม้พุ่ม มีรากแก้วขนาดใหญ่เพียงรากเดียว รากยาว สีขาวนวล รากที่มีอายุหลายปีจะมีความยาวมาก อาจยาวมากกว่า 2 เมตร ใบประกอบแบบขนนก โคนใบเบี้ยว เส้นกลางใบนูนเล็กน้อยด้านบน นูนเด่นชัดด้านล่าง ผิวใบเรียบเป็นมัน ดอกช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบขนานกับพื้นดิน ขนสั้นนุ่ม ไม่มีขนต่อม ดอกย่อยหลายดอก แยกเพศ สีแดงแกมม่วง กลีบดอกมีขนทั้งสองด้าน เกสรเพศผู้ 5 อัน ขนสั้นนุ่ม รังไข่ลดรูปในดอกเพศผู้ ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ยอดเกสรรูปโล่ ริ้วประดับรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ร่วงง่าย หลอดกลีบเลี้ยงสั้น ผลสด ทรงรี ก้านผลสั้น เปลือกนอกบาง พบในลาวและกัมพูชา ในไทยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปลาไหลเผือกน้อยมีฤทธิ์ทางสมุนไพรคล้ายปลาไหลเผือกใหญ่ ใช้เปลือกลำต้น แก้ไข้จับสั่น ไข้สันนิบาต ไข้ทรพิษ และแก้เบาพิการ ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้ทุกชนิด ถ่ายพิษทุกชนิด แก้ลม แก้วัณโรค ถ่ายฝีในท้อง ขับเหงื่อ ขับพยาธิ แก้เจ็บคอ แก้กาฬโรค และรักษาความดันโลหิตสูง ถ่ายพิษเสมหะและโลหิต ใช้เป็นส่วนประกอบของยาสามราก ยาประสะเหมือดคน ยาจันทร์ลีลา ทางจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ราก ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ แก้ปวด แก้ไข้มาลาเรีย ช่วยบำรุงกำลัง ฝนกับน้ำทา แก้ฝีหนอง ฝนน้ำกิน มีรสเบื่อมา ใช้เลิกเหล้า นำรากมาผสมกับพญายา และพริกป่า ต้มน้ำกินแก้ไข้ รากปลาไหลเผือกน้อยมีสารที่รสขมคือ eurycomalactone, eurycomanol และ eurycomanon ฆ่าเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคมาลาเรีย (Plasmodium falciparum) ในหลอดทดลอง เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งปอด เซลล์มะเร็งเต้านม มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ HIV ในหลอดทดลอง.
ดู วงศ์ปลาไหลเผือกและปลาไหลเผือกน้อย
ปลาไหลเผือกใหญ่
ปลาไหลเผือก หรือปลาไหลเผือกใหญ่ เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Simaroubaceae ชื่ออื่นๆ กรุงบาดาล (สุราษฎร์ธานี) คะนาง ชะนาง (ตราด) ตรึงบาดาล (ปัตตานี) ตุงสอ แฮพันชั้น (ภาคเหนือ) เพียก (ภาคใต้) หยิกบ่อถองหรือหยิกไม่ถึง เอียนด่อน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ไหลเผือก (ตรัง)เป็นไม้ไม่ผลัดใบ รากกลมโต สีขาว สีขาวนวล รากที่มีอายุหลายปีจะมีความยาวมาก อาจยาวมากกว่า 2 เมตร ลำต้นเรียบสีน้ำตาลเทา ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ดอกช่อออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียวอมน้ำตาล ปลายกลีบแดงอมเขียว กลีบดอกสีแดงอ่อนเกสรตัวผู้และตัวเมียสีแดงอ่อน ยื่นยาวกว่าดอก ผลเดี่ยว ทรงกระบอกกลมสั้น ผลแก่แล้วแตก ผลอ่อนสีเขียว แก่แล้วเป็นสีส้ม ปลาไหลเผือกใหญ่เป็นพืชที่มีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร ใช้ รากถ่ายพิษต่างๆ ถ่ายพิษไข้พิษเสมหะ และโลหิต แก้ไข้ แก้ไข้มาลาเรีย ตัดไข้ทุกชนิด แก้ลม แก้วัณโรคระยะบวม ขับเหงื่อ ขับพยาธิ แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้เจ็บคอ ความดันเลือดสูง อัมพาต ขับถ่ายน้ำเหลือง แก้ท้องผูก ใช้รากเป็นส่วนผสมของยาบำรุงกำลัง นำรากผสมกับรากโลดทะนงแดง และพญาไฟ ฝนน้ำดื่ม แก้ไข้ ใช้เลิกเหล้า รากผสมกับรากย่านางแดง และพญายา ฝนน้ำกินขับพิษ ในตำรายาโบราณ เป็นส่วนผสมของยาสามราก ที่ใช้ขับพิษ และแก้อาการลงแดงจากการติดยาเสพติด เป็นส่วนผสมของยาประสะเหมือดคน และยาจันทน์ลีลา และยาแก้ไข้ห้าราก ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ ประเทศมาเลเซียนำรากไปต้มกับชาใช้กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ในทางเภสัชวิทยา ปลาไหลเผือกใหญ่ มีฤทธิ์ลดไข้ ต้านมาลาเรีย มีฤทธิ์กระตุ้นความรู้สึกทางเพศของหนูตัวผู้ ลดความวิตกกังวล เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง ต้านการก่อเกิดเนื้องอก ลดน้ำตาลในเลือด สารออกฤทธิ์ที่สำคัญได้แก่ สารกลุ่ม quassinoids เช่น eurycomalactone eurycomanol eurycomanone ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาเลาเรียในหลอดทดลอง.
ดู วงศ์ปลาไหลเผือกและปลาไหลเผือกใหญ่
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Simaroubaceae