โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลิวี

ดัชนี ลิวี

ติตุส ลีวิอุส (Titvs Livivs) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า ลิวี (Livy; 59 ปีก่อนคริสต์ศักราช - ค.ศ. 17) เป็นนักประวัติศาสตร์ชาวโรมัน ผู้เขียน หนังสือหลังจากการก่อตั้งนคร (Ab Vrbe Condita Libri) ซึ่งเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ของโรมและเรื่องราวของชาวโรมัน ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ยุคตำนานเริ่มแรกของโรมก่อนการก่อตั้งจริงเมื่อ 753 ปีก่อนคริสต์ศักราช ไปจนถึงสมัยจักรพรรดิเอากุสตุสอันเป็นยุคของลิวีเอง เขาสนิทสนมกับตระกูลยูลิอุส-เกลาดิอุสและเป็นผู้แนะนำเกลาดิอุส (หลานเอากุสตุสซึ่งจะขึ้นเป็นจักรพรรดิในอนาคต) ให้หัดเขียนประวัติศาสตร์ ลิวีกับลีวิอา (ภริยาของเอากุสตุส) มาจากตระกูลเดียวกัน แม้จะมิได้เป็นญาติร่วมสายเลือดใกล้.

11 ความสัมพันธ์: กรงเล็บอาร์คิมิดีสลูเครเชียอาร์คิมิดีสผู้เผด็จการโรมันตุลลุส ฮ็อสตีลิอุสปโตเลมี ฟิลาเดลฟัสแพทริเซียนแอลพิสพีนิเนโรมโรมุลุสและแรมุสเทพปกรณัมโรมัน

กรงเล็บอาร์คิมิดีส

กรงเล็บอาร์คิมิดีส (Claw of Archimedes) เป็นอาวุธโบราณที่ประดิษฐ์โดยอาร์คิมิดีส เพื่อใช้ป้องกันการรุกรานทางน้ำในระหว่างการล้อมซีราคิวส์ ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าอาวุธนี้เป็นอย่างไร แต่จากบันทึกของนักประวัติศาสตร์ยุคโบราณ บรยายเอาไว้ว่ามีลักษณะเหมือนเครนที่ติดตั้งขอเกี่ยวเอาไว้ สามารถยกเรือที่มาโจมตีขึ้นจากน้ำ ยกไปที่อื่น แล้วก็ทิ้งลงมาทันทีทันใด เครื่องจักรเหล่านี้มีบทบาทอย่างมากระหว่างสงครามพิวนิกครั้งที่สอง ในช่วง 214 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อสาธารณรัฐโรมันปิดล้อมเมืองไซราคัสด้วยกองเรือจำนวนอย่างน้อย 120 ลำภายใต้การนำของแม่ทัพมาร์คัส เคลาดิอุส มาร์เซลลุส เครื่องจักรนี้ทำลายเรือของฝ่ายโรมันไปได้มาก นักประวัติศาสตร์เช่นโพลิบิอุสและลิวีบันทึกไว้ว่าทัพโรมันเสียหายจากเครื่องจักรชนิดนี้เป็นจำนวนมาก รวมถึงความเสียหายจากเครื่องยิงหินที่พัฒนาโดยอาร์คิมิดีสเช่นกัน.

ใหม่!!: ลิวีและกรงเล็บอาร์คิมิดีส · ดูเพิ่มเติม »

ลูเครเชีย

“ลูเครเชีย” โดยอันเดรีย คาซาลิ “ทาร์ควิเนียสและลูเครเชีย” โดยทิเชียน ลูเครเชีย (ภาษาอังกฤษ: Lucretia) เป็นบุคคลในตำนานในประวัติศาสตร์ของสาธารณรัฐโรมัน สามีของลูเครเชียคือลูเชียส ทาร์ควิเนียส โคลลาทินัส (Lucius Tarquinius Collatinus) พ่อคือสเปอเรียส ลูเครเชียส ทริซิพิทินัส (Spurius Lucretius Tricipitinus) และพี่ชายพูเบียส ลูเครเชียส ทริซิพิทินัส (Publius Lucretius Tricipitinus) ตามตำนานของโรมการข่มขืนของลูเครเชียและการฆ่าตัวตายที่ตามมาเป็นสาเหตุที่นำมาซึ่งการล้มราชบัลลังก์ของโรมและการก่อตั้งโรมเป็นสาธารณรัฐ ตามคำกล่าวของ ลิวี (Livy) นักประวัติศาสตร์โรมันแล้ว กษัตริย์แห่งโรมมีโอรสชื่อเซ็กซทัส ทาร์ควิเนียส (Sextus Tarquinius) ผู้มีนิสัยดุร้าย ผู้เป็นผู้ข่มขืนสตรีในครอบครัวขุนนางชื่อนางลูเครเชียในปี 509 ก่อนคริสต์ศักราช เซ็กซทัสขู่ลูเครเชียว่าจะฆ่าถ้าไม่ยอมให้ข่มขืน และจะนำร่างที่เปลือยเปล่าของลูเครเชียไปวางเคียงข้างกับทาส เพราะการเป็นนัยว่ามีความสัมพันธ์กับชนชั้นที่ต่ำกว่าถือว่าเป็นสิ่งที่น่าอับอายเป็นอันมาก ลูเครเชียจึงต้องจำยอม หลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นลูเครเชียก็เรียกพี่น้องมารวมกัน และเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หลังจากนั้นลูเครเชียก็ฆ่าตัวตาย ครอบครัวของลูเครเชียมาพบร่างของลูเครเชียปักด้วยมีดที่หน้าอก.

ใหม่!!: ลิวีและลูเครเชีย · ดูเพิ่มเติม »

อาร์คิมิดีส

อาร์คิมิดีส (Αρχιμήδης; Archimedes; 287-212 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญา นักฟิสิกส์ และวิศวกรชาวกรีก เกิดเมื่อ287 ปีก่อนคริสตกาล ในเมืองซีรากูซา ซึ่งในเวลานั้นเป็นนิคมท่าเรือของกรีก แม้จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตของเขาน้อยมาก แต่เขาก็ได้รับยกย่องว่าเป็นหนึ่งในบรรดานักวิทยาศาสตร์ชั้นนำในสมัยคลาสสิก ความก้าวหน้าในงานด้านฟิสิกส์ของเขาเป็นรากฐานให้แก่วิชา สถิตยศาสตร์ของไหล, สถิตยศาสตร์ และการอธิบายหลักการเกี่ยวกับคาน เขาได้ชื่อว่าเป็นผู้คิดค้นนวัตกรรมเครื่องจักรกลหลายชิ้น ซึ่งรวมไปถึงปั๊มเกลียว (screw pump) ซึ่งได้ตั้งชื่อตามชื่อของเขาด้วย ผลการทดลองในยุคใหม่ได้พิสูจน์แล้วว่า เครื่องจักรที่อาร์คิมิดีสออกแบบนั้นสามารถยกเรือขึ้นจากน้ำหรือสามารถจุดไฟเผาเรือได้โดยอาศัยแถบกระจกจำนวนมาก อาร์คิมิดีสได้รับยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล เช่นเดียวกับ นิวตัน เกาส์ และ ออยเลอร์ เขาใช้ระเบียบวิธีเกษียณ (Method of Exhaustion) ในการคำนวณพื้นที่ใต้เส้นโค้งพาราโบลาด้วยการหาผลรวมของชุดอนุกรมอนันต์ และได้ค่าประมาณที่ใกล้เคียงที่สุดของค่าพาย เขายังกำหนดนิยามแก่วงก้นหอยของอาร์คิมิดีส ซึ่งได้ชื่อตามชื่อของเขา, คิดค้นสมการหาปริมาตรของรูปทรงที่เกิดจากพื้นผิวที่ได้จากการหมุน และคิดค้นระบบสำหรับใช้บ่งบอกถึงตัวเลขจำนวนใหญ่มาก ๆ อาร์คิมิดีสเสียชีวิตในระหว่างการล้อมซีราคิวส์ (ราว 214-212 ปีก่อนคริสตกาล) โดยถูกทหารโรมันคนหนึ่งสังหาร ทั้ง ๆ ที่มีคำสั่งมาว่าห้ามทำอันตรายแก่อาร์คิมิดีส ซิเซโรบรรยายถึงการเยี่ยมหลุมศพของอาร์คิมิดีสซึ่งมีลูกทรงกลมจารึกอยู่ภายในแท่งทรงกระบอกเหนือหลุมศพ เนื่องจากอาร์คิมิดีสเป็นผู้พิสูจน์ว่า ทรงกลมมีปริมาตรและพื้นที่ผิวเป็น 2 ใน 3 ส่วนของทรงกระบอกที่บรรจุทรงกลมนั้นพอดี (รวมพื้นที่ของฐานทรงกระบอกทั้งสองข้าง) ซึ่งนับเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของเขาในทางคณิตศาสตร์ ขณะที่ผลงานประดิษฐ์ของอาร์คิมิดีสเป็นที่รู้จักกันดี แต่งานเขียนทางด้านคณิตศาสตร์กลับไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก นักคณิตศาสตร์จากอเล็กซานเดรียได้อ่านงานเขียนของเขาและนำไปอ้างอิง ทว่ามีการรวบรวมผลงานอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรกในช่วง ค.ศ. 530 โดย ไอซิดอร์ แห่งมิเลตุส (Isidore of Miletus) ส่วนงานวิจารณ์งานเขียนของอาร์คิมิดีสซึ่งเขียนขึ้นโดย ยูโตเซียส แห่งอัสคาลอน (Eutocius of Ascalon) ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 ช่วยเปิดเผยผลงานของเขาให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเป็นครั้งแรก ต้นฉบับงานเขียนของอาร์คิมิดีสหลงเหลือรอดผ่านยุคกลางมาได้ไม่มากนัก แต่ก็เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์ในยุคเรอเนสซองส์ ปี..

ใหม่!!: ลิวีและอาร์คิมิดีส · ดูเพิ่มเติม »

ผู้เผด็จการโรมัน

ในสาธารณรัฐโรมัน ผู้เผด็จการ คือ "แมจิสเทรตวิสามัญ" (magistratus extraordinarius) โดยมีอำนาจเด็ดขาดในการดำเนินภาระนอกเหนือจากแมจิสเทรตสามัญ (magistratus ordinarius) ตำแหน่งผู้เผด็จการเป็นการประดิษฐ์กฎหมายที่เดิมชื่อ Magister Populi (นายประชาชน) คือ นายแห่งกองทัพพลเมือง คำนี้มาจากคำว่า dicto หมายถึง สั่งการ วุฒิสภาโรมันผ่านกฤษฎีกาวุฒิสภา (senatus consultum) อนุญาตกงสุลให้เสนอชื่อผู้เผด็จการ ซึ่งเป็นข้อยกเว้นเดียวของหลักมีผู้ดำรงตำแหน่งเดียวกันหลายคน (collegiality) และความรับผิดชอบ (ความรับผิดทางกฎหมายสำหรับการกระทำในตำแหน่ง) ตามกฎหมายโรมัน มีผู้ได้รับแต่งตั้งคนเดียว และเป็นแมจิสเทรตสูงสุด ไม่มีความรับผิดทางกฎหมายสำหรับการกระทำในตำแหน่ง มีลิกเตอร์ (องครักษ์) 24 คนรับใช้ อนุญาตให้มีผู้เผด็จการได้คนเดียว เนื่องจากมีอำนาจสิทธิ์ขาดใหญ่ (imperium magnum) ซึ่งสามารถลบล้าง ปลดหรือประหารชีวิตคุรูเลแมจิสเทรต (curule magistrate) ซึ่งถืออำนาจสิทธิ์ขาดได้ มีผู้เผด็จการหลายแบบแตกต่างกันตามสาเหตุการสถาปนา รูปแบบที่พบบ่อยที่สุด และที่สัมพัน์กับผู้เผด็จการโรมันมากที่สุด คือ rei gerundae causa "เพื่อจัดการปัญหา" ซึ่งแทบทุกครั้งเกี่ยวข้องกับการนำกองทัพเข้าสู่สมรภูมิและเจาะจงข้าศึกให้รบ มีผู้เผด็จการอย่างน้อยหนึ่งคนได้รับกำหนดให้เป็น seditionis sedandae et rei gerundae causa "เพื่อกำราบการกบฏและจัดการปัญหา" ผู้เผด็จการยังได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ปกครองหรือทางศาสนา เช่น จัดการเลือกตั้ง (omitiorum habendorum causa เป็นรูปแบบผู้เผด็จการที่พบบ่อยที่สุดเป็นอันดับสอง) หรือการตอกตะปูเข้าเทวสถานจูปิเตอร์อ็อปติมัสแม็กซิมัสเพื่อยุติโรคติดต่อร้ายแรง (clavi figendi causa) โรมันเลิกตั้งผู้เผด็จการหลังยุคสงครามพิวนิกครั้งที่สอง มีการฟื้นฟูตำแหน่งระหว่างสงครามกลางเมืองโรมันโดยลูเซียส คอร์นีเลียส ซุลลา เฟลิกซ์ จูเลียส ซีซาร์ยังได้รับแต่งตั้งเป็นผู้เผด็จการในหลายโอกาส จักรพรรดิโรมันเลี่ยงการใช้ยศดังกล่าวเพื่อเลี่ยงคำตำหนิที่ตามมาซึ่งเป็นผลของผู้เผด็จการสองคนหลังสุดนี้.

ใหม่!!: ลิวีและผู้เผด็จการโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ตุลลุส ฮ็อสตีลิอุส

ตุลลุส ฮ็อสตีลิอุส (Tvllvs Hostilivs) เป็นบุคคลในตำนานซึ่งได้รับเลือกตั้งเป็นกษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งโรม ขึ้นชื่อว่าเป็นกษัตริย์ชาญสงคราม เขาสามารถพิชิตเมืองอัลบาล็องกา (Alba Longa) และนำอัลบาล็องกาเป็นเมืองบริวารของกรุงโรม ต่อมา แมติอุส ฟุแฟติอุส (Metivs Fvfetivs) ผู้เผด็จการของอัลบาล็องกาได้ทรยศกรุงโรม ตุลลุสจึงสั่งให้ทำลายเมืองอัลบาล็องกาและกวาดต้อนผู้คนจากอัลบาล็องกาทั้งหมดไปยังกรุงโรม พวกเขาได้ตั้งรกรากที่โรมและกลายเป็นพลเมืองโรมัน นอกจากนี้ เขายังทำสงครามกับเมืองฟีเดไน (Fidenae) และเมืองเวยี (Veii) ตลอดจนทำสงครามต่อต้านเผ่าชนเซไบน์ (Sabine) ตามบันทึกของลิวี กษัตริย์ตุลลุสเป็นกษัตริย์ที่ไม่ค่อยเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เขาไม่ค่อยจะประกอบพิธีกรรมทางศาสนามากนักเนื่องจากคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นสำหรับกษัตริย์ ในสมัยของเขา กรุงโรมต้องประสบกับเหตุการณ์ตามคำที่มีผู้ได้ทำนายไว้ ในระหว่างที่มีพีธีกรรมเก้าวันบนยอดอัลบา ก็ได้เกิดหินถล่มขึ้นขึ้นที่ภูเขาแห่งนั้นและส่งเสียงดังไปถึงยอดเขา ซึ่งถูกตีความว่าชาวอัลบาล้มเหลวการอุทิศต่อเทพเจ้า นำมาซึ่งโรคระบาดร้ายแรงทั่วกรุงโรม กษัตริย์ตุลลุสป่วยและเริ่มมีความเชื่อในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตุลลุสมีบัญชาให้ทำพิธีบวงสรวงแก่เทพจูปิเตอร์ แต่ตุลลุสก็ไม่ได้ประกอบพิธีอย่างถูกต้อง ตัวเขาและบ้านของเขาถูกฟ้าผ่าจนเป็นเถ้าถ่าน.

ใหม่!!: ลิวีและตุลลุส ฮ็อสตีลิอุส · ดูเพิ่มเติม »

ปโตเลมี ฟิลาเดลฟัส

ทอเลมี ฟิลาเดลฟัส (กรีก: Πτολεμαῖος ὁ Φιλάδελφος, "ทอเลมี ผู้เป็นน้องชายอันที่รัก", ประสูติ เดือนสิงหาคม หรือ กันยายน 36 ปีก่อนคริสตกาล - 25 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นเจ้าชายแห่งราชวงศ์ทอเลมีและเป็นพระราชโอรสพระองค์สุดท้องของพระนางคลีโอพัตราที่ 7 แห่งอียิปต์กับแม่ทัพมาร์ก แอนโทนี.

ใหม่!!: ลิวีและปโตเลมี ฟิลาเดลฟัส · ดูเพิ่มเติม »

แพทริเซียน

ำว่า แพทริเซียน (patricius, πατρίκιος, patrikios, patrician) เดิมหมายถึงกลุ่มครอบครัวอภิชนในโรมโบราณ รวมทั้งสมาชิกทั้งตามธรรมชาติและที่รับมาเป็นบุตรบุญธรรม ในจักรวรรดิโรมันตอนปลาย ชนชั้นแพทริเซียนยังขยายรวมไปถึงข้าราชการสภาสูง และหลังการล่มสลายของจักรวรรดิตะวันตก ยังคงเป็นบรรดาศักดิ์อันทรงเกียรติในจักรวรรดิไบแซนไทน์ ชนชั้นแพทริเซียนในยุคกลางนิยามอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่งว่าเป็นกลุ่มครอบครัวชาวเมืองอภิชนในสาธารณรัฐอิตาลียุคกลางทั้งหลาย เช่น เวนิสและเจนัว และภายหลัง "แพทริเซียน" เป็นคำที่กำกวมใช้กับผู้ดีและชนชั้นกระฎุมพีอภิชนในหลายประเท.

ใหม่!!: ลิวีและแพทริเซียน · ดูเพิ่มเติม »

แอลพิสพีนิเน

ักรวรรดิโรมัน แสดงที่ตั้งของจังหวัดแอลพิสพีนิเนระหว่างฝรั่งเศสกับอิตาลี แอลพิสพีนิเน/อัลเปสปอยนีไน (อังกฤษ, Alpes Poeninae) หรือ อัลเปสไกรไย (Alpes Graiae) เป็นจังหวัดขนาดเล็กของจักรวรรดิโรมัน แอลพิสพีนิเนเป็นหนึ่งในสามจังหวัดทางตะวันตกของเทือกเขาแอลป์ระหว่างกอลกับอิตาลี ประกอบด้วยบริเวณแคว้นวัลเลดาออสตาของอิตาลีและรัฐวาเลของสวิตเซอร์แลนด์ในปัจจุบัน ชนเผ่ากลุ่มที่มีอำนาจที่สุดในบริเวณนี้คือซาลัสซี ดินแดนของซาลัสซีถูกผนวกโดยจักรพรรดิเอากุสตุสในปี 15 ก่อนคริสต์ศักราช เมืองสำคัญที่สุดของจังหวัดคือเอากุสตาไปรโตเรียซาลัสโซรุม (Augusta Praetoria Salassorum) หรืออาออสตาในปัจจุบัน ชื่อ "ปอยนีนุส" (Poeninus) คล้ายคลึงกับคำว่า "ปอยนุส" (Poenus ในภาษาละตินหมายถึงชาวเมืองคาร์เทจ) ทำให้นักเขียนชาวโรมันอนุมานกันว่าขุนพลคาร์เทจฮันนิบาลเดินทัพข้ามบริเวณนี้ของเทือกเขาแอลป์ในการเดินทัพครั้งสำคัญในปี 218 ก่อนคริสต์ศักราชโดยอาจจะใช้ช่องเขาเซนต์เบอร์นาร์ดใหญ่หรือช่องเขาเซนต์เบอร์นาร์ดเล็ก แต่นักประวัติศาสตร์โรมันตีตุส ลีวีอุสให้คำอธิบายว่าอันที่จริงแล้วคำว่าปอยนีนุสเพี้ยนมาจากคำว่า "เปนนีนุส" (Penninus) ซึ่งเป็นพระนามของเทพเจ้าที่ชนพื้นเมืองสักการะ ลีวีอุสกล่าวต่อไปว่าเป็นสิ่งที่ยากที่จะเป็นไปได้ที่ฮันนิบาลจะข้ามเทือกเขาในช่วงเวลานั้นเพราะเป็นช่วงเวลาที่เข้าถึงไม่ได้.

ใหม่!!: ลิวีและแอลพิสพีนิเน · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: ลิวีและโรม · ดูเพิ่มเติม »

โรมุลุสและแรมุส

รูปหล่อสำริดแสดงโรมุลุสและแรมุสซึ่งมีแม่หมาป่าเป็นผู้เลี้ยงดู แผ่นเงินรูปโรมุลุสและแรมุส สมัยศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช โรมุลุส (Romvlvs; 771 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 717 ปีก่อนคริสต์ศักราช) และ แรมุส (Remvs; 771 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 753 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นบุคคลในเรื่องปรัมปราเกี่ยวกับการก่อตั้งกรุงโรม ทั้งสองเป็นบุตรชายฝาแฝดของเรอา ซิลวิอา นักบวชหญิงพรหมจรรย์ กับมาร์ส เทพเจ้าแห่งสงคราม ตำนานการก่อตั้งกรุงโรมปรากฏอยู่ในบันทึกของพลูทาร์ก นักปราชญ์กรีก และลิวี นักประวัติศาสตร์ชาวโรมัน โดยตำนานกล่าวว่า โรมุลุสและแรมุสถูกทิ้งไว้ริมแม่น้ำไทเบอร์มาตั้งแต่แบเบาะ และเติบโตขึ้นจากการเลี้ยงดูของหมาป่า เมื่ออายุ 18 ปี โรมุลุสและแรมุสออกเดินทางจากหมู่บ้านเพื่อไปตั้งหมู่บ้านใหม่ หมู่บ้านของโรมุลุสชื่อ "โรม" หมู่บ้านของแรมุสชื่อ "รีมอเรีย" (ปัจจุบัน ไม่มีผู้ใดทราบตำแหน่งที่แน่นอนของหมู่บ้านนี้แล้ว) ต่อมาทั้งคู่เกิดขัดแย้งกันและได้ประลองกำลังกันเมื่อวันที่ 21 เมษายน 753 ปีก่อนคริสต์ศักราช และแรมุสเสียชีวิตในการประลองครั้งนั้น ต่อมาโรมุลุสได้เป็นกษัตริย์องค์แรกของโรม โรมุลุสปกครองกรุงโรมอยู่เป็นเวลา 38 ปี และหายสาบสูญไปหลังจากเกิดพายุอย่างกะทันหัน ตำนานกล่าวว่า โรมุลุสไปเกิดใหม่บนสวรรค์ในนามของ "กวิรีนุส" (Qvirinvs).

ใหม่!!: ลิวีและโรมุลุสและแรมุส · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมโรมัน

ทพีเซเรสเทพีผู้พิทักษ์การเจริญเติบโตของธัญพืช เทพปกรณัมโรมัน หรือ เทพปกรณัมละติน (Roman mythology หรือ Latin mythology) หมายถึงความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าของผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในลาติอุมและเมืองสำคัญๆ ในคาบสมุทรอิตาลีของโรมันโบราณ ที่อาจจะแบ่งได้เป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งที่เป็นความเชื่อสมัยต่อมาและความเชื่อทางวรรณกรรมที่ประกอบด้วยความเชื่อที่มาจากเทพปกรณัมกรีก อีกส่วนหนึ่งเป็นความเชื่อเดิมที่เกิดขึ้นก่อนหน้าอิทธิพลกรีกที่มีลักษณะที่ค่อนข้างจะแตกต่างกับเทพปกรณัมกรีกในสมัยต่อม.

ใหม่!!: ลิวีและเทพปกรณัมโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Livy

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »