โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลัทธิประทับใจ

ดัชนี ลัทธิประทับใจ

''Avenue de l'Opéra'') โดยกามีย์ ปีซาโร ลัทธิประทับใจ หรือ อิมเพรสชันนิซึม (impressionism) เป็นขบวนการศิลปะที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเริ่มต้นจากการรวมตัวกันอย่างหลวม ๆ ของจิตรกรทั้งหลายที่มีนิวาสถานอยู่ในกรุงปารีส พวกเขาเริ่มจัดแสดงงานศิลปะในช่วงทศวรรษที่ 1860 ชื่อของขบวนการนี้มีที่มาจากภาพวาดของโกลด มอแน ที่มีชื่อว่า Impression, Sunrise ("Impression, soleil levant" ในภาษาฝรั่งเศส) และนักวิจารณ์ศิลปะนามว่าหลุยส์ เลอรัว (Louis Leroy) ก็ได้ให้กำเนิดคำคำนี้ขึ้นมาอย่างไม่ตั้งใจในบทวิจารณ์ศิลปะเชิงเสียดสีซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เลอชารีวารี (Le Charivari) อิทธิพลของลัทธิประทับใจยังแผ่ออกจากวงการศิลปะไปยังดนตรีและวรรณกรรม.

58 ความสัมพันธ์: บาศกนิยมฟร็องซิส ปีกาบียาฟินเซนต์ ฟัน โคคพ.ศ. 2387พิพิธภัณฑ์ออร์แซพิพิธภัณฑ์โซโลมอน อาร์. กุกเกนไฮม์กามีย์ ปีซาโรการถ่ายภาพการท่องเที่ยวในประเทศฝรั่งเศสการเต้นรำที่มูแล็งเดอลากาแล็ตภาพเหมือนของครอบครัวเบลเลลลิมักซ์ ลีเบอร์มันน์มาร์ก ชากาลมาร์แซล ดูว์ช็องลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมันลัทธิประทับใจยุคหลังลัทธิประทับใจใหม่ลำดับคุณค่าของศิลปะวาซีลี คันดินสกีวิภาคนิยมศิลปะร่วมสมัยศิลปะดัตช์ศิลปะตะวันตกสังเคราะห์นิยมสุรพงษ์ บุนนาคสถาบันศิลปะแห่งชิคาโกออทโท มึลเลอร์อัลเฟรด ซิสลีย์อาร์ม็อง กีโยแม็งอาสนวิหารรูอ็องอ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็กฌอร์ฌ บรักจอห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์จาง ต้าเฉียนจาโกโม บัลลาจิตรกรรมประวัติศาสตร์ดีบรึคเคอคาร์ล ลาร์สสันคิตะงะวะ อุตะมะโระคุณสิริกิติยา เจนเซนคตินิยมศิลปะญี่ปุ่นปอล เซซานปีแยร์-โอกุสต์ เรอนัวร์นาซีเยอรมนีนิทรรศการศิลปะตกรอบแมรี เคแซตแอล. เอส. โลว์รีแอดการ์ เดอกาแอนสท์ ลุดวิจ เคียร์ชเนอร์...โกลด มอแนโกลด เดอบูว์ซีโลวิส โครินธ์เฟรเดริก บาซีย์เอมิล นอลเดอเอดัวร์ มาแนเคานต์เลอปิกและลูกสาว (เดอกา)Pictures at an Exhibition ขยายดัชนี (8 มากกว่า) »

บาศกนิยม

ผลงานแบบบาศกนิยม บาศกนิยม (cubism) เป็นลัทธิการสร้างสรรค์ศิลปะที่ได้รับผลสะท้อนมาจากอิทธิพลด้านความเจริญทางวิทยาศาสตร์ และจากลักษณะรูปแบบหน้ากากของชนเผ่าดั้งเดิมในแอฟริกา ซึ่งได้ปลุกเร้าการสร้างสรรค์แบบใหม่ รวมทั้งลักษณะการของศิลปินสมัยใหม่ที่พยายามแสวงหาลักษณะเฉพาะตัวให้กับตนเอง เพื่อไม่ให้ทับซ้อนกับลักษณะรูปแบบศิลปะกลุ่มอื่นที่ผ่านมาหรือที่มีอยู่ในยุคนั้น ซึ่งมีหลักสุนทรียภาพที่แสดงรูปทรงศิลปะในลักษณะผันแปรความจริง โดยให้มีลักษณะเป็นเหลี่ยมมุม เป็นลูกบาศก์ เป็นทรงเรขาคณิต เพื่อสร้างความคิดรวบยอดเชิงสามมิติให้ปรากฏในผืนระนาบสองมิติหรือสามมิติ แสดงออกทั้งงานจิตรกรรมและประติมากรรม หากเป็นงานจิตรกรรมรูปแบบผลงานก็จะสามารถแสดงลักษณะปรากฏทั้งด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลังบนพื้นระนาบไปพร้อมกัน บางทีก็แสดงการทับซ้อนและปิดบังระหว่างกัน รวมทั้งมีการตัดทอนรูปทรงให้ดูง่ายขึ้นกว่ารูปจริงของวัตถุหรือสภาวะที่แท้จริงของรูปทรงนั้น ๆ ด้ว.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและบาศกนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ฟร็องซิส ปีกาบียา

ฟร็องซิส ปีกาบียา (Francis Picabia; ชื่อเกิด ฟร็องซิส-มารี มาร์ตีเน เดอ ปีกาบียา, 22 มกราคม ค.ศ.1879 – 30 พฤศจิกายน ค.ศ.1953) ศิลปิน ช่างภาพ กวี และนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 นอกจากบทบาทในการเป็นหนึ่งในผู้เคลื่อนไหวคนสำคัญของลัทธิดาดาในอเมริกาและฝรั่งเศสแล้ว เขายังมีผลงานในลัทธิประทับใจ ศิลปะนามธรรม และงานในศิลปะลัทธิผสานจุดสี เขายังมีผลงานเกี่ยวข้องกับบาศกนิยมและโดดเด่นในผลงานของลัทธิเหนือจริงอีกด้ว.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและฟร็องซิส ปีกาบียา · ดูเพิ่มเติม »

ฟินเซนต์ ฟัน โคค

ฟินเซนต์ วิลเลิม ฟัน โคค (Vincent Willem van Gogh; 30 มีนาคม ค.ศ. 1853 — 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1890)คำอ่านในภาษาอังกฤษบริติชมีทั้ง แวน โกค หรือบ้าง แวน กอฟ พจนานุกรมสหรัฐลงว่า แวน โก คนไทยมักเรียก วินเซนต์ แวน โก๊ะ เป็นจิตรกรชาวดัตช์ในลัทธิประทับใจยุคหลัง ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้มีชื่อเสียงและอิทธิพลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก เขาสร้างสรรค์งานศิลป์กว่า 2,100 ชิ้นในเวลาเพียงสิบปีกว่า ในจำนวนนี้เป็นภาพสีน้ำมัน 860 ชิ้น ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตขึ้นในสองปีสุดท้ายของชีวิตเขา ผลงานของเขามีทั้งภาพภูมิประเทศ ภาพนิ่ง ภาพคนเหมือน และภาพเหมือนตนเอง ซึ่งล้วนมีลักษณะเด่นเป็นสีสันจัดจ้านและงานพู่กันที่ฉวัดเฉวียนแฝงอารมณ์ชวนประทับใจอันช่วยสร้างรากฐานให้แก่ศิลปะสมัยใหม่ หลังทนทุกข์เพราะไข้ใจและความจนมานานหลายปี เขาปลิดชีวิตตนเองเมื่ออายุได้ 37 ปี เขาเกิดในครอบครัวชนชั้นกลางค่อนไปทางชั้นสูง เขาเป็นเด็กที่เคร่งขรึม พูดน้อย แต่คิดมาก เมื่อโตเป็นหนุ่ม เขาทำงานเป็นนายหน้าขายศิลปกรรม จึงเดินทางบ่อย แต่เมื่อต้องย้ายบ้านไปอยู่ลอนดอน เขาก็ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า จึงหันไปหาศาสนา ปฏิบัติศาสนกิจในฐานะมิชชันนารีแห่งโปรเตสแตนต์ทางภาคใต้ของเบลเยียม ชีวิตเขาล่องลอยไปมาระหว่างสุขภาพอันทรุดโทรมกับความโดดเดี่ยวอ้างว้าง กระทั่งมาจับงานวาดเขียนเอาใน..

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและฟินเซนต์ ฟัน โคค · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2387

ทธศักราช 2387 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและพ.ศ. 2387 · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์ออร์แซ

ัณฑ์ออร์แซ (Musée d'Orsay) เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะ พิพิธภัณฑ์การออกแบบ/สิ่งทอ และสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ที่ตั้งอยู่ในกรุงปารีสในประเทศฝรั่งเศส พิพิธภัณฑ์ออร์แซก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1986 บนฝั่งซ้ายแม่น้ำเซนในสถานที่ที่เดิม เคยเป็นสถานีรถไฟออร์แซ ที่สร้างในแบบสถาปัตยกรรมแบบโบซาร์โดยสถานีรถไฟแห่งนี้ถูกสร้างระหว่างปี..

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและพิพิธภัณฑ์ออร์แซ · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์โซโลมอน อาร์. กุกเกนไฮม์

ัณฑ์ โซโลมอน อาร.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและพิพิธภัณฑ์โซโลมอน อาร์. กุกเกนไฮม์ · ดูเพิ่มเติม »

กามีย์ ปีซาโร

“ภาพเหมือนตนเอง” ค.ศ. 1898 “Avenue de l'Opera” ค.ศ. 1898 “Bäuerin” ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กามีย์ ปีซาโร (Camille Pissarro) หรือ ฌากอบ-อาบราอาม-กามีย์ ปีซาโร (Jacob-Abraham-Camille Pissarro; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1830 - 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1903) เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์แบบฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน ความสำคัญของกามีย์ ปีซาโรมิใช่เพียงการเขียนภาพแบบอยู่ที่อิมเพรสชันนิสม์แต่ยังเป็นศิลปินคนสำคัญของขบวนการที่รวมทั้งปอล เซซาน และปอล โกแก็ง.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและกามีย์ ปีซาโร · ดูเพิ่มเติม »

การถ่ายภาพ

กล้องถ่ายภาพ อุปกรณ์หลักในการถ่ายภาพ การถ่ายภาพ คือ การบันทึกเหตุการณ์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยการเก็บสภาพแสง ณ เวลานั้นไว้บนวัตถุไวแสง ผ่านอุปกรณ์รับแสงที่เรียกว่ากล้องถ่ายรูป หลังจากนั้น จะสามารถเปลี่ยนสภาพแสงเหล่านั้นกลับมาเป็นภาพได้อีกครั้งหนึ่ง ผ่านกระบวนการล้างอัดภาพ ในภาษาอังกฤษคำว่า การถ่ายภาพ คือ Photography (อ่านว่า โฟทอก' กระฟี) มาจากการผสมคำกรีกสองคำ คือ คำว่า φως - phos ซึ่งแปลว่า แสง กับคำว่า γραφις - graphis หรือ γραφη - graphê ซึ่งแปลว่า การเขียน.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและการถ่ายภาพ · ดูเพิ่มเติม »

การท่องเที่ยวในประเทศฝรั่งเศส

มง-แซ็ง-มีแชลในแคว้นนอร์ม็องดี มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาเยือนประเทศฝรั่งเศสเป็นจำนวน 84.7 ล้านคนในปี..

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและการท่องเที่ยวในประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

การเต้นรำที่มูแล็งเดอลากาแล็ต

การเต้นรำที่มูแล็งเดอลากาแล็ต หรือเรียกสั้น ๆ ว่า มูแล็งเดอลากาแล็ต (Bal du moulin de la Galette หรือ Le moulin de la Galette) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยปีแยร์-โอกุสต์ เรอนัวร์ จิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสต์คนสำคัญชาวฝรั่งเศส ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ออร์แซในกรุงปารีสในประเทศฝรั่ง.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและการเต้นรำที่มูแล็งเดอลากาแล็ต · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือนของครอบครัวเบลเลลลิ

หมือนของครอบครัวเบลเลลลิ (Portrait of the Bellelli Family) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยแอดการ์ เดอกาจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์ชาวฝรั่งเศส ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ออร์แซในปารีสในประเทศฝรั่งเศส เดอกาเขียนภาพ “ภาพเหมือนของครอบครัวเบลเลลลิ” ราวระหว่างปี ค.ศ. 1858 ถึงปี ค.ศ. 1867 เป็นงานเขียนสมัยต้นที่ยังแสดงอิทธิพลของงานคลาสสิกโดยเฉพาะงานเขียนแบบเฟล็มมิช ขณะที่ร่ำเรียนทางศิลปะอยู่ในอิตาลีเดอกาวาดภาพลอราป้าและสามีบารอนเจ็นนาโร เบลเลลลิและลูกสาวสองคนจุยลาและจิโอวานนา เดอกาใช้วิธีเขียนที่เรียนจากอิตาลีในการเขียนภาพนี้เมื่อเขียนเมื่อเดินทางกลับมาปารีส ลอราผู้เป็นพี่สาวของพ่อแต่งตัวไว้ทุกข์พ่อที่เพิ่งเสียชีวิต ที่ปรากฏอยู่ในภาพในกรอบบนผนังในฉากหลังของภาพ บารอนเป็นชาวอิตาลีที่ลี้ภัยมาจากเนเปิลส์มาพำนักที่ฟลอเรนซ์ ภาพศึกษามือของลอรา ลอรายืนสง่าไม่มีรอยยิ้มประคองลูกสาวคนหนึ่งทางซ้ายและยื่นมือมาทางลูกสาวอีกคนหนึ่งอยูทางซ้ายของภาพ ส่วนสามีดูเหมือนจะแยกจากบุคคลทั้งสามมาทางด้านขวาของภาพ การที่บารอนมีความเกี่ยวข้องทางธุรกิจกับโลกภายนอกจะเห็นได้จากการนั่งที่โต๊ะทำงาน จิโอวานนาลูกสาวคนเล็กวางท่าสบายกว่าพี่สาวที่ดูแข็งซึ่งเพิ่มความตึงเครียดในบรรยากาศของความสัมพันธ์ของบุคคลต่างๆ ใน.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและภาพเหมือนของครอบครัวเบลเลลลิ · ดูเพิ่มเติม »

มักซ์ ลีเบอร์มันน์

มักซ์ ลีเบอร์มันน์ (Max Liebermann; 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1847 - 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1935) เป็นช่างพิมพ์ผู้มีชื่อเสียงทางด้านการแกะพิมพ์และภาพพิมพ์หินชาวเยอรมัน.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและมักซ์ ลีเบอร์มันน์ · ดูเพิ่มเติม »

มาร์ก ชากาล

“มาร์ก ชากาล” (4 กรกฎาคม ค.ศ. 1941) โดย คาร์ล ฟาน เวคเทิน (Carl Van Vechten) มาร์ก ชากาล (Marc Chagall; מאַרק שאַגאַל; Марк Захарович Шага́л, Mark Zakharovich Shagal; Мойша Захаравіч Шагалаў, Mojša Zaharavič Šagałaŭ; ชื่อเมื่อแรกเกิด: Moishe Shagal; 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1887 - 28 มีนาคม ค.ศ. 1985) เป็นจิตรกรชาวเบลารุส-ฝรั่งเศส (เดิมเป็นชาวยิว-เบลารุส) คนสำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ชากาลเกิดที่เบลารุสซึ่งขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย เขาเป็นศิลปินผู้มีส่วนในขบวนการศิลปะสมัยใหม่หลังภายหลังสมัยศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ แต่งานของชากาลจะจัดเข้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ยาก เป็นงานที่เต็มไปด้วยการใช้สัญลักษณ์ นอกจากงานจิตรกรรมแล้วชากาลยังมีงานกระจกสีและงานโมเสก.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและมาร์ก ชากาล · ดูเพิ่มเติม »

มาร์แซล ดูว์ช็อง

อ็องรี-รอแบร์-มาร์แซล ดูว์ช็อง (Henri-Robert-Marcel Duchamp; 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1887 – 2 ตุลาคม ค.ศ. 1968) เกิดที่แบล็งวีล-เครอวง ประเทศฝรั่ง.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและมาร์แซล ดูว์ช็อง · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์

หอไอน์สไตน์ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแนวสำแดงพลังอารมณ์ที่พอทสดัมในเยอรมนี ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ หรือ เอกซเพรสชันนิซึม (expressionism) คือขบวนการทางวัฒนธรรมที่เริ่มขึ้นในเยอรมนีเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่เป็นปฏิกิริยาต่อปฏิฐานนิยม (positivism) และขบวนการศิลปะอื่น ๆ เช่น ธรรมชาตินิยม (naturalism) และลัทธิประทับใจ (impressionism) วัตถุประสงค์ของขบวนการนี้ก็เพื่อการแสวงหาความหมายของ "ความรู้สึกมีชีวิตชีวา" (being alive)Victorino Tejera, 1966, pages 85,140, Art and Human Intelligence, Vision Press Limited, London และประสบการณ์ทางอารมณ์แทนความเป็นจริงทางวัตถุ แนวโน้มของศิลปินกลุ่มนี้จะบิดเบือนความเป็นจริงเพื่อที่จะแสดงผลที่มีต่ออารมณ์ และเป็นศิลปะอัตวิสัย (subjective art form) ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ปรากฏในงานศิลปะหลายรูปหลายแบบซึ่งได้แก่ จิตรกรรม วรรณกรรม การละคร ภาพยนตร์ สถาปัตยกรรม และการดนตรี และมักจะเป็นคำที่มีนัยยะถึงอารมณ์รุนแรงภายใน (angst) โดยทั่วไปแล้วจิตรกรเช่น มัททีอัส กรือเนวัลด์ และเอลเกรโก ก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นจิตรกรแนวสำแดงพลังอารมณ์ แม้ว่าจะเป็นคำที่มักจะใช้กับงานศิลปะของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็ตาม.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมัน

ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมัน (German Expressionism) เป็นแขนงของลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ซึ่งเกิดขึ้นที่กรุงเบอร์ลิน โดยนายหน้าค้างานศิลปะที่ชื่อว่า Paul Cassirer มีกระแสการทำงานศิลปะที่ต้องการเน้นย้ำให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างลัทธิสำแดงพลังอารมณ์และลัทธิประทับใจ ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ เป็นศิลปะที่มีความสำคัญและมีอำนาจจูงใจอย่างมากมายเกินคาด แพร่กระจายไปยังวรรณกรรม ละคร งานออกแบบ การเต้นรำ ภาพยนตร์รวมไปถึงงานสถาปัตยกรรม ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ ถูกจำกัดอยู่ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ จากช่วงเวลาทั้งหมดของพัฒนาการทางด้านศิลปะ ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ ถือเป็นคำพ้องความหมายของศิลปะสมัยใหม่โดยทั่วไป ในปัจจุบันเห็นได้ชัดว่า ศิลปินได้กลายเป็นประวัติศาสตร์ไปแล้ว และเราพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะหาจุดเด่นของศิลปินแต่ละคนจากรูปแบบงานศิลปะที่หลากหลายทั้งหมดของพวกเขา แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีศิลปินที่ได้รับการยกย่องให้เป็นต้นแบบของศิลปินลัทธิสำแดงพลังอารมณ์อยู่จำนวนมาก.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิประทับใจยุคหลัง

"ร้อยปีแห่งความมีอิสระ" โดยอ็องรี รูโซ ค.ศ. 1892 ลัทธิประทับใจยุคหลัง (post-impressionism) เป็นคำที่คิดขึ้นในปี ค.ศ. 1910 โดยรอเจอร์ ฟราย (Roger Fry) ศิลปินและนักวิจารณ์ศิลปะชาวอังกฤษ เพื่อบรรยายศิลปะที่วิวัฒนาการขึ้นในฝรั่งเศสหลังสมัยเอดัวร์ มาแน จิตรกรลัทธิประทับใจยุคหลังยังคงสร้างงานศิลปะลัทธิประทับใจ แต่ไม่ยอมรับความจำกัดของศิลปะลัทธิประทับใจ จิตรกรสมัยหลังจะเลือกใช้สีจัด เขียนสีหนา ฝีแปรงที่เด่นชัดและวาดภาพจากของจริง และมักจะเน้นรูปทรงเชิงเรขาคณิตเพื่อจะบิดเบือนจากการแสดงออก นอกจากนั้นการใช้สีก็จะเป็นสีที่ไม่เป็นธรรมชาติและจะขึ้นอยู่กับสีที่จิตรกรต้องการจะใช้.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและลัทธิประทับใจยุคหลัง · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิประทับใจใหม่

"บ่ายวันอาทิตย์บนเกาะลากร็องด์ฌัต" โดยฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา ราว ค.ศ. 1884–1886 ภาพเหมือนของเฟลิกซ์ เฟเนอง โดยปอล ซีญัก ค.ศ. 1890 ลัทธิประทับใจใหม่ (neo-impressionism) เป็นคำที่เริ่มใช้โดยนักวิพากษ์ศิลปะชาวฝรั่งเศสชื่อเฟลิกซ์ เฟเนอง ในปี..

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและลัทธิประทับใจใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับคุณค่าของศิลปะ

A จิตรกรรมประวัติศาสตร์. คริสเตียน อัลเบร็คท์ ฟอน เบนซอน (Christian Albrecht von Benzon), ''ความตายของคานูทผู้ศักดิ์สิทธิ์'', ค.ศ. 1843 ภาพชีวิตประจำวัน. อาเดรียน ฟาน โอสเตด, ''คนขายปลา'', ค.ศ. 1660-1670, สีน้ำมันบนไม้โอ้ค, 29 × 26.5 ซม., พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์แห่งบูดาเพสต์ ภาพเหมือน. คอนราด ครซิซาเนาสกี (Konrad Krzyżanowski), ''ภาพเหมือนของโยเซฟ พิลซูดสกี'', ค.ศ. 1920, พิพิธภัณฑ์กองทัพโปแลนด์, วอร์ซอว์ จิตรกรรมภูมิทัศน์. เทมิสโตเคิลส์ ฟอน เอ็คเค็นเบร็คเคอร์, ''ภูมิทัศน์ของ Laerdalsoren ที่ Sognefjord'', สีน้ำมันบนผ้าใบ, ค.ศ. 1901 ภาพนิ่ง. ไฮน์ริค อุห์ล (Heinrich Uhl), ''ภาพนิ่งกับกล่องอัญมณี, แว่นดูอุปรากร, ถุงมือ, และช่อดอกไม้'', สีน้ำมันบนผ้าใบ, 50 x 60 ซม. ลำดับคุณค่าของศิลปะ (hierarchy of genres) เป็นการจัดประเภทของงานศิลปะ (genre) ตามระดับความสำคัญทางคุณค่าที่วางไว้อย่างเป็นทางการ ในทางวรรณกรรม มหากาพย์ได้รับการยกย่องว่าเป็นงานที่มีระดับคุณค่าสูงที่สุดในบรรดานักวิพากษ์วรรณกรรม ตามเหตุผลของซามูเอล จอห์นสัน ที่บรรยายใน ชีวิตของจอห์น มิลตัน ว่า: "ตามความเห็นที่พ้องกันของนักวิพากษ์, งานที่สมควรแก่การสรรเสริญในคุณค่าคืองานของนักเขียนผู้เขียนมหากาพย์, เพราการเขียนมหากาพย์ผู้เขียนต้องรวบรวมพลานุภาพทุกด้านที่แต่ละด้านเพียงพอสำหรับสร้างงานเขียนแต่ละชนิด" การจัดลำดับที่ทราบกันดีที่สุดในงานจิตรกรรมคือมาตรฐานที่สร้างขึ้นโดยสถาบันในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงสมัยใหม่ ระดับต่างๆ ที่จัดขึ้นสำหรับประเภทของงานศิลปะต่างๆ ได้รับการสนับสนุนโดยราชสถาบันแห่งจิตรกรรมและประติมากรรมแห่งฝรั่งเศสซึ่งเป็นผู้นำในศิลปะสถาบัน การโต้เถียงที่เกี่ยวกับความงามของจิตรกรรมที่ยังคงเป็นที่นิยมกันมาตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยายังคงเน้นความสำคัญของอุปมานิทัศน์; การใช้องค์ประกอบในงานจิตรกรรมเช่นเส้น และ สีในการสื่อความหมายที่เป็นหัวใจของภาพ ฉะนั้นอุดมคตินิยมจึงเป็นสิ่งที่ใช้กันในงานศิลปะ โดยที่รูปทรงตามธรรมชาติเป็นสิ่งที่เห็นโดยทั่วไป ฉะนั้นจึงเป็นรองจากความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของงานศิลปะ ที่มีจุดประสงค์ในการแสวงหาสัจจะโดยการเลียนแบบ "ความงามของธรรมชาติ" แต่นักทฤษฎีที่มีความคิดเห็นแตกต่างออกไปมีความเชื่อมั่นว่าการเน้นการใช้อุปมานิทัศน์เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และอยู่บนพื้นฐานที่ไม่ถูกต้องของความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะ และกวีนิพนธ์ที่มาจากบทเขียนของโฮราซ (Horace) "ut pictura poesis" ("ในภาพเขียนคือกวีนิพนธ์") การจัดลำดับคุณค่าของศิลปะเริ่มขึ้นในปี..

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและลำดับคุณค่าของศิลปะ · ดูเพิ่มเติม »

วาซีลี คันดินสกี

วาซีลี วาซีเลียวิช คันดินสกี (Васи́лий Васи́льевич Канди́нский; Wassily Kandinsky) เกิดเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม..

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและวาซีลี คันดินสกี · ดูเพิ่มเติม »

วิภาคนิยม

ร์ลส์ บลองซ์ที่มีอิทธิพลต่อศิลปินวิภาคนิยม ศิลปะวิภาคนิยม (Divisionism หรือ Chromoluminarism) คือลักษณะการเขียนภาพของศิลปินในกลุ่มศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ใหม่ที่เป็นการแยกสีออกเป็นจุดจุดหรือเป็นแต้มที่ทำให้เกิดมีปฏิกิริยาต่อกันTosini, Aurora Scotti.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและวิภาคนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะร่วมสมัย

ระวังสับสนกับศิลปะสมัยใหม่ (Modern art) ศิลปะร่วมสมัย (อังกฤษ: Contemporary art) หมายถึง ศิลปะ ณ ปัจจุบัน เริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 หรือช่วงต้นศตวรรษที่ 21 ศิลปินร่วมสมัยมักทำงานที่ได้รับอิทธิพลกว้างขวางจากความเป็นโลกาภิวัฒน์ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม และการพัฒนาอย่างก้าวไกลในด้านเทคโนโลยี งานศิลปะร่วมสมัยเป็นการรวมตัวกันอยากหลากหลายของทั้งวัสดุ วิธีการ แนวความคิด และหัวข้อที่ทำให้เกิดการท้าทายต่อขอบเขตของงานศิลปะรูปแบบเดิมๆ ที่เป็นที่นิยมในช่วงศตวรรษที่ 20 ด้วยความที่ศิลปะร่วมสมัยนั้นมีความหลากหลายเป็นอันมาก เราสามารถจำแนกศิลปะร่วมสมัยได้โดยดูจากความยืดหยุ่นของรูปแบบ โครงสร้างหลักการ แนวความคิด และการแบ่งออกเป็นลัทธิต่างๆ ศิลปะร่วมสมัยเป็นส่วนหนึ่งของบทสนทนาทางวัฒนธรรมที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับบริบทขอบข่ายที่กว้างขึ้น ได้แก่ อัตลักษณ์เฉพาะตัวและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ครอบครัว สังคม รวมไปถึงประเทศชาติ ในภาษาพูดโดยทั่วไป คำว่า ศิลปะสมัยใหม่ และศิลปะร่วมสมัย เป็นคำพ้องความหมาย สามารถเห็นการใช้สลับกันได้โดยบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลป.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและศิลปะร่วมสมัย · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะดัตช์

ลปะดัตช์ (Dutch art) เป็นการบรรยายประวัติศาสตร์ทัศนศิลป์ของเนเธอร์แลนด์หลังจากสหพันธ์จังหวัดแยกจากฟลานเดอส์มาเป็นสาธารณรัฐเนเธอร์แลนด์ที่รวมทั้งงานเขียนของสมัยเนเธอร์แลนด์เริ่มแรก, ยุคทองของเนเธอร์แลนด์, จิตรกรรมยุคเนเธอร์แลนด์ตอนต้น และจิตรกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและศิลปะดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะตะวันตก

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและศิลปะตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

สังเคราะห์นิยม

อล เซรูสิเยร์ซึ่งเป็นงานชิ้นหลักของศิลปะสังเคราะห์นิยม ศิลปะสังเคราะห์นิยม (Synthetism) เป็นคำที่ใช้โดยศิลปินอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังเช่นพอล โกแกง, อีมิล แบร์นาร์ด และ หลุยส์ อันเคแตงเพื่อแยกงานของตนเองจาก “ศิลปะอิมเพรสชันนิสม์” ศิลปินสังเคราะห์นิยมในระยะแรกมีความเกี่ยวข้องกับ “ลัทธิคลัวซอนนิสม์” และต่อมากับ “ลัทธิสัญลักษณ์นิยม” “Synthetism” มาจากคำกิริยาภาษาฝรั่งเศสว่า “synthétiser” ที่แปลว่าสังเคราะห์ หรือ เพื่อรวมเพื่อทำให้สร้างสิ่งที่มีรูปทรงใหม่และซับซ้อน พอล โกแกง, อีมิล แบร์นาร์ด และ หลุยส์ อันเคแตง และจิตรกรผู้อื่นเป็นผู้ริเริ่มแนวทางศิลปะนี้ระหว่างปลายคริสต์ทศวรรษ 1880 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1890 ศิลปินสังเคราะห์นิยมมีวัตถุประสงค์ในการ “สังเคราะห์” อยู่สามสิ่ง.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและสังเคราะห์นิยม · ดูเพิ่มเติม »

สุรพงษ์ บุนนาค

รพงษ์ บุนนาค นักเขียนนวนิยาย บทความ สารคดี เจ้าของรางวัลนราธิป ประจำปี..

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและสุรพงษ์ บุนนาค · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันศิลปะแห่งชิคาโก

ันศิลปะแห่งชิคาโก (Art Institute of Chicago หรือ AIC) เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะ ที่ตั้งอยู่ที่เมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา สถาบันศิลปะแห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑ์มีชื่อเสียงเกี่ยวกับงานสะสมในลัทธิประทับใจและลัทธิประทับใจยุคหลังที่ดีที่สุดสถาบันหนึ่งในโลก นอกจากนี้ยังมีงานชิ้นสำคัญ ๆ ของศิลปินชั้นครูในประวัติศาสตร์ศิลปะเป็นจำนวนมาก, ศิลปะอเมริกัน, ศิลปะตกแต่งของทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกา, ศิลปะเอเชีย, ศิลปะสมัยใหม่ และศิลปะร่วมสมัย สถาบันศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนสถาบันศิลปะแห่งชิคาโก ที่มีเนื้อที่หนึ่งล้านตารางฟุต และเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของสหรัฐอเมริกา รองจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทันในนครนิวยอร์ก.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและสถาบันศิลปะแห่งชิคาโก · ดูเพิ่มเติม »

ออทโท มึลเลอร์

อ็อตโต มึลเลอร์ (Otto Mueller) เกิดเมื่อวันที่16 ตุลาคม 1874 หลังจากที่เขาได้จบโรงเรียนชั้นประถมศึกษาจาก (Görlitz)เขาก็ได้ฝึกงานตั้งแต่ปี1890-1894 และหลังจากนั้นก็ศึกษาต่อที่Academic of Artที่เดรสเดิน(Dresden)จนกระทั่งปี1896 จากปี1898-1899เขาศึกษาที่Academic of Art ที่ มิวนิค(Munich) ศิลปินท่านนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากครอบครัวของ Gerhart Hauptmann เขาได้แต่งงานกับภรรยาของเขา และถัดมาในปี1908เขาได้ย้ายมาที่กรุงเบอร์ลิน(Berlin) เมื่องานของเขาได้ถูกปฏิเสธจากBerlin Secession เขาจึงก่อตั้งกลุ่มThe New Secessionขึ้นมา ท่ามกลางเหล่าสมาชิกที่เคยเป็นสมาชิกของกลุ่ม เดอะ บริดจ์(The Bridge)ซึ่งเป็นกลุ่มที่เขาก็เคยร่วมเป็นสมาชิกอยู่ด้วย ในปี1916เขาถูกเรียกให้ไปรับใช้ราชการทหารเมื่อสงครามสิ้นสุดลง เขาก็ได้กลับสู่กรุงเบอร์ลิน ที่ซึ่งงานแสดงของเขาถูกจัดแสดงอยู่ที่ Paul Cassier’s Gallery และในปี1919เขาได้ถูกเชิญให้ไปสอนที่ Breslau Academic of Art ระหว่างปี1924และ1930เขาได้เดินทางไปฮังการี,โรมาเนียและบัลกาเรียเพื่อศึกษาวัฒนธรรมของพวกยิปซี จนกระทั่งเขาได้เสียชีวิตในที่สุดในวันที่24 กันยายน 1930 ที่ Breslau.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและออทโท มึลเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อัลเฟรด ซิสลีย์

อัลเฟรด ซิสลีย์ (Alfred Sisley; 30 ตุลาคม ค.ศ. 1839 - 29 มกราคม ค.ศ. 1899) เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์แบบฝรั่งเศส คนสำคัญของประเทศอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมภูมิทัศน์ (Landscape painting).

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและอัลเฟรด ซิสลีย์ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ม็อง กีโยแม็ง

"พระอาทิตย์ตกที่อีวรี" (Soleil couchant à Ivry) ค.ศ. 1873 "La Place Valhubert" ค.ศ. 1875 อาร์ม็อง กีโยแม็ง (Armand Guillaumin) ชื่อเมื่อแรกเกิดคือ ฌ็อง-บาติสต์ อาร์ม็อง กีโยแม็ง (Jean-Baptiste Armand Guillaumin; 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1841 - 26 มิถุนายน ค.ศ. 1927) เป็นจิตรกรลัทธิประทับใจของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 กีโยแม็งเกิดที่ปารีส และทำงานขายเสื้อผ้าชั้นในให้กับลุงขณะที่เรียนการเขียนภาพภาคค่ำ นอกจากนั้นก็ยังทำงานให้กับรถไฟรัฐบาลก่อนที่จะเข้าศึกษากับสถาบันสวิสเมื่อปี..

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและอาร์ม็อง กีโยแม็ง · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารรูอ็อง

อาสนวิหารรูอ็อง (Cathédrale de Rouen) หรือชื่อทางการคือ อาสนวิหารแม่พระแห่งรูอ็อง (Cathédrale Notre-Dame de Rouen) เป็นอาสนวิหารแบบกอทิก ตั้งอยู่ที่เมืองรูอ็อง ในจังหวัดแซน-มารีตีม แคว้นนอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส เป็นที่ตั้งของอัครมุขนายกแห่งอัครมุขมณฑลรูอ็อง และอาสนวิหารแห่งนี้ยังอยู่ในฐานะ "Primatial Cathedral" ในตำแหน่ง ไพรเมตแห่งนอร์ม็องดี (Primat de Normandie) อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1840.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและอาสนวิหารรูอ็อง · ดูเพิ่มเติม »

อ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก

อ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก “ลากูลู (หลุยส์ เวเบ) มาถึงมูแล็งรูฌ” (La Goulue arriving at the Moulin Rouge) (ค.ศ. 1892) อ็องรี มารี แรมง เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก-มงฟา (Henri Marie Raymond de Toulouse-Lautrec-Monfa; 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1864 - 9 กันยายน ค.ศ. 1901) เป็นจิตรกร ช่างพิมพ์ ช่างเขียนแบบ และอิลลัสเตรเตอร์ (Illustrator) สมัยอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังคนสำคัญของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนโปสเตอร์ของชีวิตผู้คนในบริเวณมงมาตร์ และผู้ชอบใช้ชีวิตในวงการของความฟุ้งเฟ้อและโรงละครในสมัยปลายคริสต์ศตวรรษ (fin de siècle) ของปารี.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและอ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก · ดูเพิ่มเติม »

ฌอร์ฌ บรัก

อร์ฌ บรัก (George Braque) เป็นศิลปินในคติโฟวิสต์และต่อมาในบาศกนิยม บรักเกิดเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและฌอร์ฌ บรัก · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์

อห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์ (ภาษาอังกฤษ: John Singer Sargent) (12 มกราคม ค.ศ. 1856 - 14 เมษายน ค.ศ. 1925) เป็นจิตรกรคนสำคัญของสหรัฐอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพภูมิทัศน์, ภาพเหมือน และ การใช้สีน้ำ ซาร์เจนท์เกิดที่ฟลอเรนซ์ ที่ประเทศอิตาลี บิดามารดาเป็นชาวอเมริกัน ซาร์เจนท์ศึกษาที่อิตาลีและเยอรมนี ต่อมาที่ปารีสกับอีมิล โอกุสต์ คาโรลุส-ดูแรง (Emile Auguste Carolus-Duran) ในชีวิตซาร์เจนท์เขียนจิตรกรรมสีน้ำมันด้วยกันทั้งสิ้นราว 900 ภาพ และอีก 2,000 ภาพเขียนด้วยสีน้ำ นอกจากนั้นก็ยังมีงานเขียนภาพร่าง และภาพวาดลายเส้นด้วยถ่านอีกด้ว.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและจอห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์ · ดูเพิ่มเติม »

จาง ต้าเฉียน

ง ต้าเฉียน (張大千; Chang Dai-chien; 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1899 — 2 เมษายน ค.ศ. 1983) เป็นหนึ่งในศิลปินชาวจีนที่มีชื่อเสียงและโดดเด่นมากที่สุดของศตวรรษที่ยี่สิบ ซึ่งเดิมเป็นที่รู้จักในฐานะจิตรกรอนุรักษนิยม โดยใน..

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและจาง ต้าเฉียน · ดูเพิ่มเติม »

จาโกโม บัลลา

กโม บัลลา (Giacomo Balla) ศิลปินชาวอิตาลี ซึ่งถือได้ว่าเป็นจิตรกรที่สำคัญที่สุดของลัทธิฟิวเจอริสม์คนหนึ่ง เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานที่หลากหลาย ทั้งงานจิตรกรรม ประติมากรรม การออกแบบ ที่มีบทบาทอย่างมาก อีกทั้งมีช่วงเวลาการทำงานตามแนวทางฟิวเจอริสม์ยาวนานที.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและจาโกโม บัลลา · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมประวัติศาสตร์

“วันสุดท้ายของปอมเปอี” (ค.ศ. 1833) เป็นตัวอย่างที่ดีของภาพเขียนประวัติศาสตร์ จิตรกรรมประวัติศาสตร์ (History painting) เริ่มเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ ค.ศ. 1667 โดยอันเดร เฟลิเบียน (André Félibien) จิตกรประวัติศาสตร์, สถาปนิก, นักทฤษฎีคลาสสิกซิสม์ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นลักษณะที่ระบบ “การจัดลำดับคุณค่าของศิลปะ” (Hierarchy of genres) ถือว่าเป็นประเภทการเขียนภาพที่มีคุณค่าสูงที่สุดในบรรดาการเขียนภาพประเภทต่าง.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและจิตรกรรมประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดีบรึคเคอ

ีบรึคเคอ (Die Brücke) คือกลุ่มศิลปินในกระแสเยอรมันเอกซ์เพรสชั่นนิสม์ ก่อตั้งที่เมืองเดรสเดิน ดีบรึคเคอเป็นการรวมตัวกันของนักศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่สนใจและกระตือรือร้นในศิลปะ พวกเขาศึกษาการวาดภาพเปลือย ซึ่งเป็นพื้นฐานของศิลปกรรมประเภทวิจิตรศิลป์แบบเรียบง่ายและเป็นธรรมชาติในการทำงาน พวกเขามีแรงบันดาลใจจากชีวิตและประสบการณ์ของพวกเขาเอง ศิลปินแต่ละคนแสดงความคิดของเขาในการว.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและดีบรึคเคอ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล ลาร์สสัน

ร์ล ลาร์สสัน (Carl Larsson) (28 พฤษภาคม ค.ศ. 1853 - 22 มกราคม ค.ศ. 1919) เป็นจิตรกรและนักตกแต่งภายในชาวสวีเดนของคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ผู้มีบทบาทสำคัญในขบวนการศิลปะหัตถกรรม.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและคาร์ล ลาร์สสัน · ดูเพิ่มเติม »

คิตะงะวะ อุตะมะโระ

ตะงะวะ อุตะมะโระ (ราว ค.ศ. 1753 - 31 ตุลาคม ค.ศ. 1806) เป็นช่างพิมพ์แกะไม้แบบอุกิโยะชาวญี่ปุ่นของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพศึกษาสตรีแบบที่เรียกว่า “บิจิงะ” นอกจากนั้นก็ยังเขียนภาพธรรมชาติ โดยเฉพาะงานเขียนภาพประกอบของแมลง งานของอุตะมะโระไปถึงยุโรปราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 และกลายเป็นงานที่เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในฝรั่งเศส และเป็นงานที่มีอิทธิพลต่อศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ของยุโรป โดยเฉพาะในการเขียนภาพเฉพาะบางส่วนและในการเน้นแสงและเงา เมื่อบรรดาจิตรกรกล่าวถึง “อิทธิพลจากญี่ปุ่น” ก็มักจะหมายถึงอิทธิพลจากงานเขียนของอุตะมะโร.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและคิตะงะวะ อุตะมะโระ · ดูเพิ่มเติม »

คุณสิริกิติยา เจนเซน

ณสิริกิติยา เจนเซน หรือ คุณสิริกิตติยา ใหม่ เจนเสน (นามเดิม: ใหม่ เจนเซน; 18 มีนาคม พ.ศ. 2528) เป็นพระธิดาคนเล็กในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี กับปีเตอร์ แลดด์ เจนเซน เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นพระภาคิไนยในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สิริกิติยา" โดยนำมาจากพระนามของสมเด็จยาย คือ "สิริกิติ์".

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและคุณสิริกิติยา เจนเซน · ดูเพิ่มเติม »

คตินิยมศิลปะญี่ปุ่น

มพ์โปสเตอร์โดยอ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก ค.ศ. 1892 คตินิยมศิลปะญี่ปุ่น (Japonism หรือ Japonisme) เดิมมาจากภาษาฝรั่งเศสที่ใช้ในภาษาอังกฤษด้วย เป็นคำที่หมายถึงศิลปะตะวันตกที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของญี่ปุ่น คำนี้ใช้เป็นครั้งแรกโดยชูลส์ แคลตีในหนังสือ L'Art Français en 1872 (ศิลปะฝรั่งเศสของปี ค.ศ. 1872) ที่ตีพิมพ์ในปีเดียวกันColta F. Ives, "The Great Wave: The Influence of Japanese Woodcuts on French Prints", 1974, The Metropolitan Museum of Art, ISBN 0-87099-098-5 งานที่ถ่ายทอดจากพื้นฐานของศิลปะญี่ปุ่นโดยตรงในศิลปะตะวันตกโดยเฉพาะงานที่สร้างโดยศิลปินชาวฝรั่งเศสเรียกว่า "japonesque" ("แบบญี่ปุ่น") ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1860 ภาพพิมพ์แกะไม้ภาพอุกิโยะ (ukiyo-e) ของญี่ปุ่นกลายเป็นแหล่งของแรงบันดาลใจสำหรับจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์ชาวยุโรปในฝรั่งเศสและในประเทศตะวันตกและในที่สุดก็รวมไปถึงจิตรกรนวศิลป์และบาศกนิยม (cubism) ต่อมา สิ่งที่กระทบความรู้สึกของศิลปินของศิลปะญี่ปุ่นคือการละการใช้ทัศนมิติและเงา, การใช้สีจัดในบริเวณภาพที่ราบ, เสรีภาพในการจัดองค์ประกอบในการวางหัวเรื่องของภาพจากศูนย์กลางของภาพ ที่ส่วนใหญ่อยู่ในมุมทแยงด้านต่ำจากฉากหลัง.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและคตินิยมศิลปะญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ปอล เซซาน

ปอล เซซาน (Paul Cézanne) จิตรกรชาวฝรั่งเศสในลัทธิประทับใจยุคหลัง สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน งานของเซซานเป็นงานที่วางรากฐานสำหรับการเปลี่ยนแปลงจากศิลปะในลัทธิประทับใจของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ไปสู่ศิลปะบาศกนิยมของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นแนวที่ทั้งอ็องรี มาติส และปาโบล ปีกัสโซ ยกย่องเซซานว่าเป็น "the father of us all".

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและปอล เซซาน · ดูเพิ่มเติม »

ปีแยร์-โอกุสต์ เรอนัวร์

อกุสต์ เรอนัวร์ ปีแยร์-โอกุสต์ เรอนัวร์ (Pierre-Auguste Renoir; 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2383 - 3 ธันวาคม พ.ศ. 2462) เป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศส เป็นที่รู้กันว่าเขาคือหนึ่งในศิลปินในกลุ่มอิมเพรสชันนิสม์ที่ให้ความสำคัญกับการใช้สีสันที่สะท้อนอารมณ์ความรู้สึกของศิลปินในแบบฉับพลัน งานของเรอนัวร์ ส่วนมากจะเน้นที่สวยงาม อ่อนหวานของธรรมชาติและผู้หญิง ภาพของเรอนัวร์ยังสะท้อนวิถีชีวิตและวิพากษ์ระบบศักดินาของฝรั่งเศสช่วงปลายศตวรรษที่ 18 บิดาเป็นช่างตัดเสื้อ เป็นบุตรคนที่ 6 จาก 7 คน ต่อมาในอายุ 23 ปี เรอนัวร์สมัครใจที่จะเป็นนักวาดภาพอิสระ เรอนัวร์เป็นจิตรกรที่ประสบความลำบากอยู่มากมาย เพราะเรอนัวร์เป็นผู้ที่ชอบวาดภาพเปลือย ในช่วง 1890 เป็นต้นไป เรอนัวร์จะวาดภาพเปลือยอย่างอิสระ ในช่วงที่เป็นไขข้ออักเสบ ถึงจะนั่งรถเข็นหรือเอาพู่กันมาติดมือข้างแข็งไว้ก็ตาม เขาก็ให้คนอื่นระบายภาพให้ คำว่า "ดอกไม้" คือคำสุดท้ายที่เรอนัวร์ได้พูดก่อนที่จะเสียชีวิตในขณะที่เขาจัดแบบที่เขาเขียน เรอนัวร์ได้เสียชีวิตอย่างสงบในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2462.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและปีแยร์-โอกุสต์ เรอนัวร์ · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

นิทรรศการศิลปะตกรอบ

อาหารกลางวันบนลานหญ้า” โดยเอดวด มาเนท์ที่ถูกปฏิเสธโดยคณะกรรมการตัดสินของซาลอน นิทรรศการศิลปะตกรอบ (Salon des Refusés, Exhibition of rejects) คือนิทรรศการแสดงงานศิลปะที่ถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าแสดงในนิทรรศการศิลปะแห่งปารีส หรือ “ซาลอน” ซึ่งเป็นนิทรรศการศิลปะที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการโดยสถาบันวิจิตรศิลป์แห่งฝรั่งเศสในกรุงปารีส แต่นิทรรศการศิลปะตกรอบครั้งสำคัญคือนิทรรศการศิลปะตกรอบของปี..

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและนิทรรศการศิลปะตกรอบ · ดูเพิ่มเติม »

แมรี เคแซต

แมรี สตีเวนสัน เคแซต (Mary Stevenson Cassatt; 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1844 - 14 มิถุนายน ค.ศ. 1926) เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์คนสำคัญของสหรัฐอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึง 20 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีน้ำมัน และการทำภาพพิมพ์ มักจะวาดภาพชีวิตทั้งทางการสังคมและการส่วนตัวของผู้หญิงโดยเน้นความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งระหว่างแม่และลูก แมรี เคแซตใช้เวลาส่วนใหญ่ในประเทศฝรั่งเศส และเมื่อย้ายไปอยู่ปารีสแมรีก็ทำความรู้จักกับแอดการ์ เดอกา ผู้มีอิทธิพลต่องานเขียนของเคแซต ต่อมาแมรีก็ได้แสดงผลงานร่วมกับจิตรกรอิมเพรสชันนิสม์คนอื่น.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและแมรี เคแซต · ดูเพิ่มเติม »

แอล. เอส. โลว์รี

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและแอล. เอส. โลว์รี · ดูเพิ่มเติม »

แอดการ์ เดอกา

“ภาพเหมือน” (ราวปี ค.ศ. 1854) โดย แอดการ์ เดอกา แอดการ์ เดอกา (Edgar Degas, 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2377 - 27 กันยายน พ.ศ. 2460) จิตรกร ประติมากร ช่างภาพพิมพ์ และช่างวาด สมัยอิมเพรสชันนิสม์คนสำคัญของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 เดอกาเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนก่อตั้งศิลปะแบบอิมเพรสชันนิสม์แต่เดอกามาหันหลังให้และชอบให้เรียกตนเองว่าศิลปินสัจนิยม (Realist) มากกว่ากอร์ดอนและฟอร์จ,..

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและแอดการ์ เดอกา · ดูเพิ่มเติม »

แอนสท์ ลุดวิจ เคียร์ชเนอร์

แอนสท์ ลุดวิจ เคียร์ชเนอร์ (Ernst Ludwig Kirchner; ค.ศ. 1880–1938 หรือ พ.ศ. 2423 - 2481) เป็นจิตรกรและช่างพิมพ์ชาวเยอรมัน เกิดวันที่ 6 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและแอนสท์ ลุดวิจ เคียร์ชเนอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โกลด มอแน

กลด มอแน (Claude Monet) หรือ อ็อสการ์-โกลด มอแน (Oscar-Claude Monet; 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1840 - 5 ธันวาคม ค.ศ. 1926) giverny.org.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและโกลด มอแน · ดูเพิ่มเติม »

โกลด เดอบูว์ซี

กลด เดอบูว์ซี ที่วิลลาเมดิจิ กรุงโรม ค.ศ. 1885 เดอบูว์ซีคือคนกลางแถวบน ใส่เสื้อคลุมสีขาว โกลด-อาชีล เดอบูว์ซี (Claude-Achille Debussy) เป็นคีตกวีชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2405 (ค.ศ. 1862) ที่เมืองแซ็ง-แฌร์แม็ง-อ็อง-แล และเสียชีวิตที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918).

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและโกลด เดอบูว์ซี · ดูเพิ่มเติม »

โลวิส โครินธ์

ลวิส โครินธ์ (Lovis Corinth) (21 กรกฎาคม ค.ศ. 1858 - 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1925) เป็นจิตรกรและช่างพิมพ์ชาวเยอรมันของการผสานระหว่างอิมเพรสชันนิสม์และลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ (expressionism) ของคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 โครินธ์ศึกษาที่ปารีสและมิวนิค และเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มแยกตัวเบอร์ลิน (Berlin Secession) และต่อมาเป็นประธานของกลุ่มต่อจากแม็กซ์ ลีเบอร์มันน์ งานในช่วงต้นเป็นงานแบบธรรมชาติ และต่อต้านลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ แต่หลังจากที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองในปี..

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและโลวิส โครินธ์ · ดูเพิ่มเติม »

เฟรเดริก บาซีย์

“ภาพเหมือนตนเอง” (ค.ศ. 1865–1866) สถาบันศิลปะแห่งชิคาโก, สหรัฐอเมริกา ฌ็อง เฟรเดริก บาซีย์ (Jean Frédéric Bazille; 6 ธันวาคม ค.ศ. 1841 - 28 พฤศจิกายนน ค.ศ. 1870) เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์ของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพคน.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและเฟรเดริก บาซีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เอมิล นอลเดอ

อมิล นอลเดอ (Emil Nolde) หรือในชื่อเดิมคือ เอมิล แฮนสัน (Emil Hanson) เกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม..

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและเอมิล นอลเดอ · ดูเพิ่มเติม »

เอดัวร์ มาแน

อดัวร์ มาแน (Édouard Manet,; 23 มกราคม ค.ศ. 1832 - 30 เมษายน ค.ศ. 1883) เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์คนสำคัญของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความสำคัญในการเขียนภาพสีน้ำมัน ผู้เป็นจิตรกรคนแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 19ที่เขียนภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของคนทั่วไป มาแนเป็นจิตรกรคนสำคัญที่มีบทบาทในการเปลี่ยนจากการเขียนภาพแบบเหมือนจริง (Realism) ไปเป็นแบบอิมเพรสชันนิสม์ “อาหารกลางวันบนลานหญ้า” (Le déjeuner sur l'herbe) และ “โอลิมเปีย” (Olympia) งานชิ้นเอกสองชิ้นของมาแนเป็นงานที่ทำให้เกิดมีความเห็นขัดแย้งกันมากและเป็นจุดที่ทำให้จิตรกรหนุ่ม ๆ รุ่นนั้นเริ่มหันมาวาดภาพอิมเพรสชันนิสม์—ซึ่งในปัจจุบันถือกันว่าเป็นจุดสำคัญของศิลปะที่แยกมาเป็นศิลปะสมัยใหม.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและเอดัวร์ มาแน · ดูเพิ่มเติม »

เคานต์เลอปิกและลูกสาว (เดอกา)

นต์เลอปิกและลูกสาว (Count Lepic and His Daughters) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยแอดการ์ เดอกาจิตรกรคนสำคัญชาวฝรั่งเศสของสมัยอิมเพรสชันนิสม์ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 ภาพเขียนถูกขโมยไปจาก Foundation E.G. Bührle ในเมืองซูริกในสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและเคานต์เลอปิกและลูกสาว (เดอกา) · ดูเพิ่มเติม »

Pictures at an Exhibition

รูปถ่ายของโมเดสต์ มูสซอร์กสกี เมื่อปีค.ศ. 1876 ห้องที่ 3 และ 4 ในท่อนเปิดบทเพลง "Promenade" โดยใช้บทเพลงสำนวนพื้นเมืองของชาวรัสเซียแฝงอยู่มาก Pictures at an Exhibition หรือ งานนิทรรศการภาพวาด เป็นบทเพลงชุดผลงานเดี่ยวเปียโนที่ประพันธ์โดย โมเดสต์ มูสซอร์กสกีขึ้นในปีค.ศ. 1874 ซึ่งเป็นผลงานที่ทั่วโลกยอมรับว่า เป็นบทเพลงเดี่ยวเปียโนที่มีชื่อเสียงที่สุดในแวดวงเพลงคลาสสิก และเป็นผลงานสำหรับยอดนักเปียโนที่ความสามารถสูง มูสซอร์กสกีได้ประพันธ์เพลงนี้โดยอาศัยเพลงพื้นเมืองของชาวรัสเซียแฝงไว้มาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกมากมายในบทเพลง และต่อมา มีคีตกวีแห่งยุคศตวรรษที่ 20 ในนามว่า มัวริส ราเวล คีตกวีชาวฝรั่งเศส ในยุคอิมเพรสชั่นนิสม์ (Impressionism) ได้นำเพลงของมูสซอร์กสกีมาเรียบเรียงตามแนวฉบับอิมเพรสชั่นนิสม์ ราเวลได้ประพันธ์เพลงนี้โดยคงรูปแบบเพลงของมูสซอร์กสกีไว้ให้วงออเคสตร้าบรรเลง จึงได้มีการบันทึกเสียงการแสดงสด ๆ อีกด้วย จึงทำให้ชื่อมูสซอร์กสกีเป็นที่นิยมของทั่วโลกว่า เพลงของเขา ไม่ตกจริง.

ใหม่!!: ลัทธิประทับใจและPictures at an Exhibition · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Impressionismศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ฝรั่งเศสศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์ศิลปะแบบอิมเพรสชันนิสม์อิมเพรสชันนิสม์อิมเพรสชันนิซึม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »