โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รัฐเอกราช

ดัชนี รัฐเอกราช

รัฐเอกราชบนโลก ในภูมิศาสตร์การเมือง รัฐเอกราช (sovereign state) เป็นองค์กรทางการเมืองที่มีการปกครองแบบรวมศูนย์ (centralized government, รัฐบาลส่วนกลาง) ที่มีอำนาจสูงสุดที่ชอบธรรมและเป็นอิสระเหนือพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ มีประชากรถาวร, รัฐบาล, และวิสัยที่จะเข้าไปสร้างความสัมพันธ์กับรัฐเอกราชอื่น นอกจากนี้ยังเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นรัฐที่ไม่ขึ้นอยู่กับอำนาจหรือรัฐอื่น การดำรงอยู่หรือการหายตัวไปของรัฐเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ขณะที่ตามทฤษฎีปกครองของการรับรองรัฐ รัฐเอกราชสามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐเอกราชอื่น รัฐที่ไม่ได้การยอมรับมักพบว่าเป็นการยากที่จะใช้อำนาจทำสนธิสัญญาเต็มรูปแบบและมีส่วนร่วมในความสัมพันธ์ทางการทูตกับรัฐอธิปไตยอื่น ๆ คำว่า "ประเทศ" เป็นภาษาพูดที่บ่อยครั้งมักหมายถึงรัฐเอกราช แม้ว่าต้นกำเนิดจะหมายถึงเพียงแค่ดินแดน และต่อมาความหมายได้ยื่นขยายกลายเป็นระบบการปกครองที่มีอำนาจซึ่งควบคุมพื้นที่ทางภูมิศาสตร.

36 ความสัมพันธ์: ฟุตบอลทีมชาติยิบรอลตาร์ฟุตบอลทีมชาติเวลส์พ.ศ. 2472พรมแดนของประเทศรัสเซียการลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของไครเมีย พ.ศ. 2557ภูมิศาสตร์สหราชอาณาจักรราชวงศ์ห่งบ่างราชอาณาจักรเครือจักรภพรายชื่อประเทศที่ติดต่อกับมหาสมุทรอย่างน้อยสองมหาสมุทรรายพระนามพระมหากษัตริย์สกอตแลนด์รายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้วิลเลมสตัดสหภาพยุโรปสาธารณรัฐสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบกสิทธิมนุษยชนสงครามอังกฤษ–แซนซิบาร์สนธิสัญญาหัวหน้ารัฐบาลอาณาจักรธงราชการธงเรือราษฎร์ขอบแปซิฟิกข้อพิพาทดินแดนในทะเลจีนใต้ประเทศประเทศบรูไนประเทศญี่ปุ่นประเทศองค์ประกอบประเทศโมร็อกโกแทนกันยีกาโลก (ดาวเคราะห์)เอกราชเอกราชของสกอตแลนด์เอกราชไต้หวันเอกอัครสมณทูต7 มิถุนายน

ฟุตบอลทีมชาติยิบรอลตาร์

ฟุตบอลทีมชาติยิบรอลตาร์ เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของดินแดนยิบรอลตาร์ ซึ่งเป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ควบคุมและบริหารงานโดยสมาคมฟุตบอลยิบรอลตาร์ ทีมชาติยิบรอลตาร์ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของยูฟ่า หลังจากผ่านความเห็นชอบจากการโหวตของชาติสมาชิกยูฟ่าในเดือนพฤษภาคม ปี 2013 และได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 รอบคัดเลือก โดยนับเป็นการเข้าร่วมแข่งขันในทัวร์นาเมนต์ของยูฟ่าเป็นครั้งแรก ต่อมาได้ยิบรอลตาร์ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของฟีฟ่าในเดือนพฤษภาคม 2016 โดยเป็นสมาชิกลำดับที่ 211 ของฟีฟ่า ด้วยประชากรเพียง 32,000 คน ทำให้ดินแดนยิบรอลตาร์ กลายเป็นชาติสมาชิกที่มีขนาดเล็กที่สุดของยูฟ่าเมื่อวัดจากจำนวนประชากร แม้ว่ายิบรอลตาร์จะไม่ใช่หมู่เกาะ แต่ก็เคยส่งทีมฟุตบอลเข้าร่วมแข่งขันในกีฬาไอส์แลนด์ เกม ในปี 1993 และชนะเลิศในกีฬาไอส์แลนด์ เกม 2007 ที่เกาะโร.

ใหม่!!: รัฐเอกราชและฟุตบอลทีมชาติยิบรอลตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟุตบอลทีมชาติเวลส์

ฟุตบอลทีมชาติเวลส์ เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศเวลส์ในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างชาติ บริหารงานโดยสมาคมฟุตบอลเวลส์ (FAW) และเป็นสมาชิกของยูฟ่า แม้ประเทศเวลส์จะไม่ใช่ดินแดนที่เป็นรัฐเอกราช โดยมีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร แต่ก็มีสมาคมฟุตบอลและทีมชาติเป็นของตนเอง โดยเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลระหว่างชาติในรายการสำคัญๆทุกรายการของฟีฟ่าและยูฟ่า อย่างไรก็ตามสำหรับการแข่งขันฟุตบอลในกีฬาโอลิมปิก ประเทศในเครือสหราชอาณาจักรอันประกอบไปด้วยอังกฤษ, สก็อตแลนด์, เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือต้องรวมทีมกันลงแข่งขันภายใต้ชื่อของสหราชอาณาจักร ทีมชาติเวลส์จัดเป็นฟุตบอลทีมชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอันดับที่ 3 รองจากทีมชาติอังกฤษและทีมชาติสก็อตแลนด์ แต่เคยผ่านเข้าไปเล่นรอบสุดท้ายในรายการสำคัญๆ เพียงแค่ 2 ครั้งคือฟุตบอลโลกปี 1958 ที่ประเทศสวีเดนและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ที่ประเทศฝรั่งเศส โดยทีมชาติเวลส์มีฉายาที่ตั้งขึ้นโดยสื่อมวลชนกีฬาในประเทศไทยว่า มังกรแดง โดยผลงานดีที่สุดในระดับชาติที่ทีมชาติเวลส์เคยทำได้คือการผ่านเข้าถึงรอบ 8 ทีมสุดท้ายในฟุตบอลโลก 1958 และผ่านเข้าถึงรอบรองชนะเลิศในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 ส่วนในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนยุโรป เวลส์ตกรอบคัดเลือกโดยมีคะแนนตามหลังทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ซึ่งอยู่อันดับ 2 เพียงแค่ 2 คะแนน การจัดอันดับโลกของฟีฟ่าที่ทีมชาติเวลส์เคยทำได้สูงสุดคืออันดับที่ 8 (ตุลาคม 2015) ภายใต้การคุมทีมของ คริส โคลแมน โดยในเดือนกันยายน 2015 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ เวลส์ กลายเป็นทีมชาติที่มีอันดับโลกดีที่สุดในบรรดาทีมชาติในสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: รัฐเอกราชและฟุตบอลทีมชาติเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2472

ทธศักราช 2472 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1929 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: รัฐเอกราชและพ.ศ. 2472 · ดูเพิ่มเติม »

พรมแดนของประเทศรัสเซีย

หลักพรมแดน ของ รัสเซีย ประเทศรัสเซีย มี พรมแดนระหว่างประเทศ ถึง 16 ประเทศ รวมถึงพรมแดนทางน้ำอีกสองประเทศ (สหรัฐ, ญี่ปุ่น) นอกจากนี่ยังติดกับ ประเทศที่ไม่ได้รับการรับรอง อย่าง เซาท์ออสซีเชีย และ อับคาเซีย โดยพรมแดนภาคพื้นดินมีความยาวโดยรวมถึง รัสเซียเป็นประเทศที่มีพรมแดนติดกับทุกประเทศรองจากจีน;รายชื่อประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศรัสเซีย;If Abkhazia and South Ossetia are counted as sovereign states:Georgia and the majority of the world does not recognize the independence of Abkhazia and South Ossetia, considering the Russian border with these countries as part of the Russian–Georgian border.

ใหม่!!: รัฐเอกราชและพรมแดนของประเทศรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

การลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของไครเมีย พ.ศ. 2557

แบบลงประชามติ การลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของไครเมียจัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2557 โดยสภานิติบัญญัติไครเมีย ตลอดจนรัฐบาลท้องถิ่นเซวัสโตปอล ซึ่งทั้งสองเป็นเขตการปกครองหนึ่งของประเทศยูเครน การลงประชามตินี้ถามประชาชนของทั้งสองเขตว่า คุณจะรวมไครเมียกับรัสเซียเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซีย หรือคุณต้องการฟื้นฟูรัฐธรรมนูญยูเครนปี 2535 และสถานภาพของไครเมียโดยเป็นส่วนหนึ่งของยูเครน ตัวเลือกที่มีอยู่นั้นไม่รวมการรักษาสถานะเดิมของไครเมียและเซวัสโตปอลขณะที่จัดการลงประชามติ นักวิจารณ์หลายคนแย้งว่า ทั้งสองตัวเลือกล้วนส่งผลให้เกิดเอกราชโดยพฤตินัย หลังการลงมติ ทางการชี้ว่า ผู้ออกเสียงกว่า 96% สนับสนุนตัวเลือกเข้าร่วมกับประเทศรัสเซีย โดยมีผู้มาใช้สิทธิกว่า 80% มีรายงานว่า บุคคลสามารถออกเสียงลงคะแนนได้หลายครั้งและบุคคลออกเสียงลงคะแนนได้แม้บุคคลนั้นไม่ได้เป็นชาวไครเมีย โดยมีผู้มาใช้สิทธิเกิน 100% ในบางพื้นที่ วันที่ 17 มีนาคม รัฐสภาไครเมียและนครเซวัสโตปอลออกคำประกาศอิสรภาพไครเมียและเซวัสโตปอล แสดงความตั้งใจเข้าร่วมกับประเทศรัสเซียในระหว่างผลสนับสนุนในการลงประชามติ โลกตะวันตกประณามการลงประชามตินี้อย่างกว้างขวางในเรื่องความชอบธรรมและเหตุการณ์แวดล้อม สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกาและอีกหลายชาติประณามการตัดสินใจจัดการลงประชามติ มาฮ์จิสชาวตาตาร์ไครเมีย สมาคมทางการเมืองอย่างไม่เป็นทางการของชาวตาตาร์ไครเมีย เรียกร้องการคว่ำบาตรการลงประชามตินี้ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติไม่สามารถผ่านข้อมติในการประกาศให้การลงประชามตินี้ไม่สมบูรณ์ เพราะประเทศรัสเซียใช้สิทธิยับยั้งในฐานะสมาชิกถาวรของคณะมนตรีฯ สมาชิกสิบสามประเทศลงมติเห็นชอบข้อมติ และหนึ่งประเทศงดออกเสียง สาธารณรัฐไครเมียประกาศเอกราชจากประเทศยูเครนในวันรุ่งขึ้น โดยเริ่มแสวงการรับรองจากองค์การสหประชาชาติ และร้องขอเข้าร่วมกับสหพันธรัฐรัสเซีย ในวันเดียวกัน ประเทศรัสเซียรับรองว่าไครเมียเป็นรัฐเอกร.

ใหม่!!: รัฐเอกราชและการลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของไครเมีย พ.ศ. 2557 · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิศาสตร์สหราชอาณาจักร

แผนที่สหราชอาณาจักรแสดงเขตเมืองและพื้นที่ใกล้เคียง แผนที่ของสหราชอาณาจักรแสดงให้เห็นพื้นที่ที่เป็นเนินเขาไปทางทิศเหนือและทิศตะวันตก และพื้นที่ราบเรียบในทิศตะวันออกเฉียงใต้ สหราชอาณาจักร เป็นรัฐเอกราชที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป โดยมีพื้นที่โดยรวมประมาณ 241,930 ตารางกิโลเมตร (93,410 ตารางไมล์) สหราชอาณาจักรครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของกลุ่มเกาะบริติชไอลส์และเกรตบริเตน รวมถึงหนึ่งในหกส่วนของเกาะไอร์แลนด์ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และหมู่เกาะขนาดเล็กรอบ ๆ ประเท.

ใหม่!!: รัฐเอกราชและภูมิศาสตร์สหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ห่งบ่าง

ราชวงศ์ห่งบ่าง (thời kỳ Hồng Bàng, 鴻厖) เป็นราชวงศ์แรกในประวัติศาสตร์เวียดนาม ที่ปกครองในช่วง 2,879–258 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นช่วงเวลาในประวัติศาสตร์เวียดนามซึ่งประกอบไปด้วยสหภาพทางการเมืองในช่วง 2,879 ก่อนคริสต์ศักราชของชนเผ่าหลายแห่งในภาคเหนือของบริเวณหุบเขาแม่น้ำแดง และได้ถูกปกครองโดยอาน เซือง เวือง ในปี 258 ก่อนคริสต์ศักราช พงศาวดารเวียดนามตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 กล่าวคือ ดั่ยเหวียตสือกี๊ตว่านทือ (大越史記全書, Đại Việt sử ký toàn thư) อ้างว่าช่วงเวลาของยุคราชวงศ์ห่งบ่างเริ่มต้นด้วยกิญ เซือง เวือง ในฐานะ กษัตริย์หุ่ง (𤤰雄, Hùng Vương) องค์แรก ชื่อตำแหน่งได้ถูกใช้ในการอภิปรายสมัยใหม่หลายครั้งเกี่ยวกับผู้ปกครองชาวเวียดนามโบราณในยุคนี้ กษัตริย์หุ่งเป็นตำแหน่งผู้ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของประเทศ (ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อซิกกวี๋และวันลางในเวลาต่อมา) และอย่างน้อยก็ในทางทฤษฎี ในยุคสมัยนี้ได้มีการควบคุมการใช้ที่ดินและทรัพยากรอย่างเป็นระบบขึ้นอย่างสมบูรณ์ แต่อย่างไรก็ตามบันทึกประวัติศาสตร์ของกษัตริย์ดังกล่าวใน 3 พันปีก่อนคริสต์ศักราชก็ยังถือว่าขาดแคลนอยู่มาก ประวัติของยุคห่งบ่างเกิดขึ้นในช่วงของราชวงศ์ที่แบ่งเป็น 18 ราชวงศ์ของกษัตริย์หุ่ง ในยุคกษัตริย์หุ่งได้รับความเจริญรุ่งเรืองพร้อมกับอารยธรรมการปลูกนาข้าวในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงในช่วงยุคสำริด ในช่วงปลายของยุคห่งบ่างได้เกิดสงครามจำนวนมาก.

ใหม่!!: รัฐเอกราชและราชวงศ์ห่งบ่าง · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเครือจักรภพ

อาณาจักรในเครือจักรภพ (สีน้ำเงิน) และอาณาจักรในเครือจักรภพในอดีต (สีแดง) ราชอาณาจักรเครือจักรภพ คือรัฐเอกราชภายในเครือจักรภพแห่งประชาชาติที่มีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรทรงเป็นประมุขและใช้ลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบเดียวกับรัฐสมาชิกอื่น ๆ ในเครือจักรภพ ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 16 รัฐ รวมพื้นที่ทั้งหมด (ไม่นับรวมการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนแอนตาร์กติก) 18.8 ล้านตารางกิโลเมตร (7.3 ล้านตารางไมลส์) และมีประชากรรวมกันกว่า 137 ล้านคน โดยรัฐที่มีประชากรมากที่สุดหกลำดับแรก ได้แก่ สหราชอาณาจักร, แคนาดา, ออสเตรเลีย, ปาปัวนิวกินี, นิวซีแลนด์ และจาเมกา อาณาจักรในเครือจักรภพทั้งหมดล้วนแล้วแต่เคยเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรด้วยกันทั้งสิ้น ยกเว้นเพียงแต่สหราชอาณาจักรและปาปัวนิวกินี (ก่อนได้รับเอกราชเคยเป็นเพียงดินแดนสองแห่งที่ถูกปกครองโดยอาณานิคมออสเตรเลีย) พระราชบัญญัติเวสต์มินสเตอร์มีผลบังคับใช้ในปี..

ใหม่!!: รัฐเอกราชและราชอาณาจักรเครือจักรภพ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อประเทศที่ติดต่อกับมหาสมุทรอย่างน้อยสองมหาสมุทร

้านล่างนี้เป็น รายชื่อประเทศที่ติดต่อกับมหาสมุทรอย่างน้อยสองมหาสมุทร ซึ่งรวมถึงรัฐเอกราชและดินแดนในภาวะพึ่งพิง.

ใหม่!!: รัฐเอกราชและรายชื่อประเทศที่ติดต่อกับมหาสมุทรอย่างน้อยสองมหาสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์สกอตแลนด์

ระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐแห่งราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ตามธรรมเนียม พระมหากษัตริย์แห่งชาวสกอตพระองค์แรกคือ สมเด็จพระเจ้าเคนเนธ แม็คอัลปินที่ 1 (ซีเนียด แม็คอัลปิน) ผู้ทรงสถาปนารัฐเอกราชขึ้นในปี..

ใหม่!!: รัฐเอกราชและรายพระนามพระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้

การจัดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้เป็นระบบการจำแนกห้องสมุดประกอบด้วย 10 หมวดใหญ่ (class) แต่ละหมวดใหญ่แบ่งเป็นสิบหมวดย่อย (division) แต่ละหมวดย่อยมีสิบหมู่ย่อย (section) ตัวอย่างเช่น หมวดใหญ่ 600 ("เทคโนโลยี") มีหมวดย่อย 630 ("เกษตรกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง") ซึ่งมีหมู่ย่อย 636 ("การเลี้ยงสัตว์") ในทางปฏิบัติ มีทั้งหมด 99 จาก 100 หมวดย่อยและ 908 จาก 1000 หมู่ย่อย เนื่องจากบางส่วนเลิกใช้แล้วหรือยังไม่กำหน.

ใหม่!!: รัฐเอกราชและรายการหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลมสตัด

วิลเลมสตัด (Willemstad) เป็นเมืองหลวงของกือราเซา เกาะทางตอนใต้ในทะเลแคริบเบียนของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ มีประชากรอยู่ราว 140,000 คน ก่อตั้งเป็นเมืองเมื่อ..

ใหม่!!: รัฐเอกราชและวิลเลมสตัด · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพยุโรป

หภาพยุโรป (European Union: EU) เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ประเทศซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป มีพื้นที่ 4,324,782 ตารางกิโลเมตร มีประชากรที่ประเมินกว่า 510 ล้านคน สหภาพยุโรปพัฒนาตลาดเดี่ยวภายในผ่านระบบกฎหมายทำให้เป็นมาตรฐานซึ่งใช้บังคับในรัฐสมาชิกทุกประเทศ นโยบายสหภาพยุโรปมุ่งประกันการเคลื่อนย้ายบุคคล สินค้า บริการและทุนอย่างเสรีในตลาดเดี่ยว ตรากฎหมายด้านยุติธรรมและกิจการในประเทศและธำรงนโยบายร่วมกันด้านการค้า เกษตรกรรม การประมงและการพัฒนาภูมิภาค การควบคุมหนังสือเดินทางถูกเลิกภายในพื้นที่เชงเกน มีการตั้งสหภาพการเงินในปี 2542 และมีผลบังคับเต็มที่ในปี 2545 ประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 19 ประเทศซึ่งใช้สกุลเงินยูโร สหภาพยุโรปดำเนินการผ่านระบบผสมระหว่างสหภาพเหนือชาติและความร่วมมือระหว่างรัฐบาล องค์กรตัดสินใจหลักเจ็ดองค์กร เรียก สถาบันของสหภาพยุโรป ได้แก่ ที่ประชุมยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป รัฐสภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป ธนาคารกลางยุโรปและศาลผู้สอบบัญชียุโรป สหภาพยุโรปกำเนิดขึ้นจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2494 และ 2501 ตามลำดับโดยประเทศอินเนอร์ซิกส์ ประชาคมและองค์การสืบเนื่องมีขนาดเติบโตขึ้นโดยการเข้าร่วมของสมาชิกใหม่และมีอำนาจมากขึ้นโดยการเพิ่มขอบเขตนโยบายในการจัดการ สนธิสัญญามาสทริชท์สถาปนาสหภาพยุโรปในปี 2536 และนำเสนอความเป็นพลเมืองยุโรป การแก้ไขหลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญล่าสุดของสหภาพยุโรปล่าสุด สนธิสัญญาลิสบอน มีผลใช้บังคับในปี 2552 สหภาพยุโรปมีประชากรคิดเป็น 7.3% ของประชากรโลก ในปี 2559 สหภาพยุโรปผลิตผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน 16.477 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 22.2% ของจีดีพีราคาตลาดโลก และ 16.9% เมื่อวัดในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ นอกจากนี้ ประเทศสหภาพยุโรป 26 จาก 28 ประเทศมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงมาก ตามข้อมูลของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี 2555 สหภาพยุโรป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ สหภาพยุโรปพัฒนาบทบาทด้านความสัมพันธ์ภายนอกและการกลาโหมผ่านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วม สหภาพฯ คงคณะผู้แทนทางทูตถาวรทั่วโลกและมีผู้แทนในสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก จี7 และจี-20 เนื่องจากมีอิทธิพลทั่วโลก จึงมีการอธิบายสหภาพยุโรปเป็นอภิมหาอำนาจปัจจุบันหรืออภิมหาอำนาจในอนาคต.

ใหม่!!: รัฐเอกราชและสหภาพยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐ

รณรัฐ (Republic) เป็นระบอบการปกครองที่ประเทศถูกพิจารณาว่าเป็น "กิจสาธารณะ" (res publica) มิใช่ธุระหรือทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ปกครอง และที่ตำแหน่งหน้าที่ของรัฐได้รับเลือกตั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือได้รับแต่งตั้ง มิใช่ได้รับทอด ในสมัยใหม่ นิยามทั่วไปที่เข้าใจง่ายของสาธารณรัฐ คือ ระบอบการปกครองที่ประมุขแห่งรัฐมิใช่พระมหากษัตริย์ ปัจจุบัน รัฐเอกราช 135 จาก 206 รัฐใช้คำว่า "สาธารณรัฐ" เป็นส่วนหนึ่งชื่ออย่างเป็นทางการ ทั้งสาธารณรัฐสมัยใหม่และสมัยโบราณแตกต่างกันอย่างมากทั้งในอุดมการณ์และองค์ประกอบ ในสมัยคลาสสิกและสมัยกลาง ต้นแบบของทุกสาธารณรัฐ คือ สาธารณรัฐโรมัน ซึ่งหมายถึงกรุงโรมในระหว่างสมัยที่มีพระมหากษัตริย์กับสมัยที่มีจักรพรรดิ ประเพณีการเมืองสมัยกลางและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลีปัจจุบันที่เรียกว่า "มนุษยนิยมพลเมือง" (civic humanism) นั้น บางครั้งถูกมองว่าได้รับมาจากนักสาธารณรัฐนิยมโรมันโดยตรง อย่างไรก็ดี นักประพันธ์โรมันที่ได้รับอิทธิพลจากกรีก อย่างพอลิเบียสและคิเคโร บางครั้งใช้คำดังกล่าวเป็นคำแปลของคำภาษากรีกว่า politeia ซึ่งอาจหมายถึงระบอบโดยทั่วไป แต่ยังสามารถใช้กับระบอบบางประเภทโดยเจาะจงซึ่งมิได้สอดคล้องพอดีกับสาธารณรัฐโรมัน สาธารณรัฐมิได้เทียบเท่ากับประชาธิปไตยคลาสสิก เช่น เอเธนส์ แต่มีลักษณะความเป็นประชาธิปไตย ในสาธารณรัฐสมัยใหม่ เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส รัสเซีย และอินเดีย ฝ่ายบริหารมีความชอบธรรมจากทั้งโดยรัฐธรรมนูญและการออกเสียงเลือกตั้งของประชาชน มงแต็สกีเยอรวมประชาธิปไตยทั้งสองแบบ ซึ่งประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการปกครอง และอภิชนาธิปไตยหรือคณาธิปไตย ซึ่งมีคนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ปกครอง เป็นระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ ส่วนใหญ่สาธารณรัฐมักเป็นรัฐเอกราช แต่ยังมีหน่วยต่ำกว่ารัฐที่เรียกว่า สาธารณรัฐ หรือมีการปกครองที่ถูกอธิบายว่า "เป็นสาธารณรัฐ" โดยธรรมชาติเช่นกัน ตัวอย่างเช่น มาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา "ประกันว่าทุกรัฐในสหภาพนี้มีระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ" เขตการปกครองของสหภาพโซเวียตถูกอธิบายว่าเป็นสาธารณรัฐ และสองในนั้น คือ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนและเบลารุส มีที่นั่งของตนในสหประชาชาติ ขณะที่รัฐธรรมนูญแห่งสหภาพโซเวียตอธิบายสหภาพว่าเป็น "รัฐเดี่ยว สหพันธ์และพหุชาติ" ที่จริงแล้วเป็นรัฐเดี่ยวเพราะพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตใช้อำนาจในรูปรวมศูนย์เหนือสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตซึ่งปกครองตนเองแต่ในนาม.

ใหม่!!: รัฐเอกราชและสาธารณรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก (Uzbek Soviet Socialist Republic; Ўзбекистон Совет Социалистик Республикаси, O'zbekiston Sovet Sotsialistik Respublikasi; Узбе́кская Сове́тская Социалисти́ческая Респу́блика) เป็นหนึ่งในสาธารณรัฐสิบห้าแห่งที่ประกอบกันเป็นสหภาพโซเวียต ได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1924 และในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1991 ได้กลายเป็นรัฐเอกราชโดยเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น "สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน" หมวดหมู่:สาธารณรัฐโซเวียต หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในทวีปเอเชีย หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์อุซเบกิสถาน.

ใหม่!!: รัฐเอกราชและสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบก · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิมนุษยชน

ทธิมนุษยชน (human rights) เป็นหลักทางศีลธรรมหรือจารีตJames Nickel, with assistance from Thomas Pogge, M.B.E. Smith, and Leif Wenar, December 13, 2013, Stanford Encyclopedia of Philosophy,, Retrieved August 14, 2014ซึ่งอธิบายมาตรฐานตายตัวของพฤติกรรมมนุษย์ และได้รับการคุ้มครองสม่ำเสมอเป็นสิทธิทางกฎหมายในกฎหมายท้องถิ่นและกฎหมายระหว่างประเทศ ปกติเข้าใจว่าเป็นสิทธิพื้นฐานที่ไม่โอนให้กันได้ "ซึ่งบุคคลมีสิทธิในตัวเพียงเพราะผู้นั้นเป็นมนุษย์" และซึ่ง "มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน"Burns H. Weston, March 20, 2014, Encyclopedia Britannica,, Retrieved August 14, 2014 โดยไม่คำนึงถึงชาติ สถานที่ ภาษา ศาสนา ชาติพันธุ์กำเนิดหรือสถานภาพอื่นใด สิทธิมนุษยชนใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาในแง่ที่เป็นสากล และสมภาคในแง่ที่เหมือนกับสำหรับทุกคนThe United Nations, Office of the High Commissioner of Human Rights,, Retrieved August 14, 2014 สิทธิดังกล่าวต้องการความร่วมรู้สึกและหลักนิติธรรมGary J. Bass (book reviewer), Samuel Moyn (author of book being reviewed), October 20, 2010, The New Republic,, Retrieved August 14, 2014 และกำหนดพันธะต่อบุคคลให้เคารพสิทธิมนุษยชนของผู้อื่น สิทธิดังกล่าวไม่ควรถูกพรากไปยกเว้นอันเป็นผลของกระบวนการทางกฎหมายที่ยึดพฤติการณ์แวดล้อมจำเพาะ ตัวอย่างเช่น สิทธิมนุษยชนอาจรวมเสรีภาพจากการจำคุกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย การทรมานและการประหารชีวิตMerriam-Webster dictionary,, Retrieved August 14, 2014, "rights (as freedom from unlawful imprisonment, torture, and execution) regarded as belonging fundamentally to all persons" ลัทธิสิทธิมนุษยชนมีอิทธิพลสูงในกฎหมายระหว่างประเทศ สถาบันโลกและภูมิภาค การกระทำของรัฐและองค์การนอกภาครัฐก่อพื้นฐานของนโยบายสาธารณะทั่วโลก แนวคิดสิทธิมนุษยชนเสนอว่า "หากวจนิพนธ์สาธารณะสังคมโลกยามสงบสามารถกล่าวเป็นภาษาศีลธรรมร่วมได้ สิ่งนั้นคือสิทธิมนุษยชน" การอ้างอย่างหนักแน่นโดยลัทธิสิทธิมนุษยชนยังกระตุ้นกังขาคติและการอภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหา สภาพและการให้เหตุผลว่าชอบด้วยกฎหมายซึ่งสิทธิมนุษยชนตราบจนทุกวันนี้ ความหมายแน่ชัดของคำว่า "สิทธิ" นั้นมีการโต้เถียงและเป็นหัวข้อการอภิปรายทางปรัชญาต่อไป ขณะที่มีการเห็นพ้องต้องกันว่าสิทธิมนุษยชนครอบคลุมสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีด้วยความเป็นธรรม การคุ้มครองจากการเป็นทาส การห้ามพันธุฆาต เสรีภาพในการพูดMacmillan Dictionary,, Retrieved August 14, 2014, "the rights that everyone should have in a society, including the right to express opinions about the government or to have protection from harm"หรือเสรีภาพที่จะได้รับการศึกษา แต่ยังเห็นไม่ลงรอยกันเกี่ยวกับว่าสิทธิใดบ้างต่อไปนี้ควรรวมอยู่ในกรอบทั่วไปของสิทธิมนุษยชน นักคิดบางคนเสนอว่าสิทธิมนุษยชนควรเป็นข้อกำหนดพื้นฐานเพื่อเลี่ยงการละเมิดที่ร้ายแรงที่สุด ขณะที่บางคนมองว่าเป็นมาตรฐานขั้นสูง ความคิดพื้นฐานดังกล่าวจำนวนมากซึ่งขับเคลื่อนขบวนการสิทธิมนุษยชนพัฒนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองและความเหี้ยมโหดของฮอโลคอสต์ จนลงเอยด้วยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีมติเห็นชอบปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในกรุงปารีสในปี 2491 คนโบราณไม่มีแนวคิดสิทธิมนุษยชนสากลสมัยใหม่แบบเดียวกัน การบุกเบิกวจนิพนธ์สิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริงนั้นคือมโนทัศน์สิทธิธรรมชาติซึ่งปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีกฎหมายธรรมชาติยุคกลางซึ่งโดดเด่นขึ้นระหว่างยุคภูมิธรรมยุโรปโดยมีนักปรัชญาอย่างจอห์น ล็อก, ฟรานซิส ฮัตชิสัน (Francis Hutcheson) และฌ็อง-ฌัก บือลามาคี (Jean-Jacques Burlamaqui) และซึ่งมีการเสนออย่างโดดเด่นในวจนิพันธ์การเมืองของการปฏิวัติอเมริกาและการปฏิวัติฝรั่งเศส จากรากฐานนี้ การให้เหตุผลสิทธิมนุษยชนสมัยใหม่กำเนิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 อาจเป็นปฏิกิริยาต่อความเป็นทาส การทรมาน พันธุฆาตและอาชญากรรมสงคราม โดยความตระหนักถึงความเปราะบางของมนุษย์ในตัวและเป็นเงื่อนไขก่อนความเป็นไปได้ของสังคมยุติธรรม.

ใหม่!!: รัฐเอกราชและสิทธิมนุษยชน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอังกฤษ–แซนซิบาร์

งครามอังกฤษ-แซนซิบาร์ (Anglo-Zanzibar War) เป็นการสู้รบระหว่างสหราชอาณาจักรและรัฐสุลต่านแซนซิบาร์ในวันที่ 27 สิงหาคม..

ใหม่!!: รัฐเอกราชและสงครามอังกฤษ–แซนซิบาร์ · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญา

นธิสัญญา (treaty) เป็นข้อตกลงเฉพาะหน้าภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศซึ่งเข้าทำสัญญาโดยตัวแสดงในกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ รัฐเอกราชและองค์การระหว่างประเทศ สนธิสัญญาอาจเรียกชื่อต่าง ๆ เช่น กติกา (covenant), กติกาสัญญา (pact), กรรมสาร (act), ข้อตกลง (accord), ความตกลง (agreement), แถลงการณ์ (communiqué), ปฏิญญา (declaration), พิธีสาร (protocol) และ อนุสัญญา (convention) แต่ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร รูปแบบความตกลงทั้งหมดเหล่านี้ถือว่าเป็นสนธิสัญญาเท่าเทียมกันและมีหลักเกณฑ์เดียวกันภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ สนธิสัญญาสามารถเปรียบได้หลวม ๆ กับสัญญา ทั้งสองต่างเป็นวิธีการที่ภาคีที่สมัครใจยอมรับพันธกรณีต่อกัน และภาคีซึ่งไม่สามารถยึดพันธกรณีสามารถรับผิดได้ภายใต้กฎหมายระหว่างประเท.

ใหม่!!: รัฐเอกราชและสนธิสัญญา · ดูเพิ่มเติม »

หัวหน้ารัฐบาล

หัวหน้ารัฐบาล (head of government) เป็นคำทั่วไป ใช้กับข้าราชการสูงสุดหรือสูงสุดอันดับสองในฝ่ายบริหารของรัฐเอกราช รัฐสหพันธ์ หรืออาณานิคมปกครองตนเองหนึ่ง ผู้ซึ่งมักเป็นประธานคณะรัฐมนตรี คำว่า "หัวหน้ารัฐบาล" มักใช้แยกกับคำว่า "ประมุขแห่งรัฐ" เช่น ในอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ข้อ 7 และอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษอาชญากรรมที่กระทำต่อบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองระหว่างประเทศ รวมทั้งตัวแทนทางทูต ข้อ 1 และรายการพิธีสารสหประชาชาติ อำนาจของหัวหน้ารัฐบาล และความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งนั้นกับสถาบันอื่นของรัฐ (เช่น ประมุขแห่งรัฐและสภานิติบัญญัติ) แตกต่างกันได้มากตามแต่ละรัฐ ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับตัวแบบรัฐธรรมนูญเฉพาะที่เลือก.

ใหม่!!: รัฐเอกราชและหัวหน้ารัฐบาล · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักร

อาณาจักร (kingdom; dominion) หมายถึง เขตแดนที่อยู่ในอำนาจปกครองของประเทศหนึ่ง อาจจำแนกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: รัฐเอกราชและอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ธงราชการ

ในทางธัชวิทยา ธงราชการ หมายถึงธงสำหรับหน่วยงานราชการของรัฐบาล ในฐานะรัฐเอกราช และธงแสดงเขตการปกครองท้องถิ่นของรั.

ใหม่!!: รัฐเอกราชและธงราชการ · ดูเพิ่มเติม »

ธงเรือราษฎร์

งเรือราษฎร์มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงค้าขาย หรือ ธงเรือพาณิชย์, เป็นธงชาติสำหรับเรือพลเรือน (เรือค้าขาย และ เรืออื่นๆที่เจ้าหน้าที่พลเรือนเป็นผู้บังคับการเรือ).

ใหม่!!: รัฐเอกราชและธงเรือราษฎร์ · ดูเพิ่มเติม »

ขอบแปซิฟิก

แผนที่ประเทศที่มีอาณาเขตอยู่ในขอบแปซิฟิก ขอบแปซิฟิก หมายถึงสถานที่ที่อยู่โดยรอบมหาสมุทรแปซิฟิก รวมถึงหมู่เกาะและเกาะเล็ก ๆ ใน "แอ่งมหาสมุทรแปซิฟิก" ด้วย ในทางธรณีวิทยาอาณาเขตของขอบแปซิฟิกมีความเกี่ยวของกับวงแหวนแห่งไฟด้ว.

ใหม่!!: รัฐเอกราชและขอบแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

ข้อพิพาทดินแดนในทะเลจีนใต้

้อพิพาทดินแดนในทะเลจีนใต้เกี่ยวกับการอ้างสิทธิเหนือเกาะและทะเลในหลายรัฐเอกราชบริเวณทะเลจีนใต้ คือ ประเทศบรูไน จีน ไต้หวัน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และเวียดนาม มีข้อพิพาทเกี่ยวกับหมู่เกาะสแปรตลีและแพราเซล เช่นเดียวกับแนวแบ่งเขตทางทะเลในอ่าวตังเกี๋ยและที่อื่น มีข้อพิพาทอีกในน่านน้ำใกล้หมู่เกาะนาตูนาของอินโดนีเซีย ผลประโยชน์ของหลายชาติมีการได้พื้นที่ประมงรอบสองกลุ่มเกาะดังกล่าว การแสวงหาประโยชน์ที่เป็นไปได้จากน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติซึ่งสงสัยว่าอยู่ใต้หลายส่วนของทะเลจีนใต้ และการควบคุมเส้นทางเดินเรือสำคัญทางยุทธศาสตร.

ใหม่!!: รัฐเอกราชและข้อพิพาทดินแดนในทะเลจีนใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศ

แผนที่แสดงประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ประเทศ เป็นบริเวณที่ระบุเป็นเอนทิตีต่างหากในภูมิศาสตร์การเมือง ประเทศอาจเป็นรัฐเอกราชหรือรัฐที่ถูกรัฐอื่นยึดครอง เป็นรัฐซึ่งไร้เอกราชหรืออดีตเขตปกครองทางการเมืองเอกราช หรือพื้นที่ภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของประชาชนที่เดิมไม่ขึ้นต่อกันหรือมีความสัมพันธ์ต่างกันซึ่งมีลักษณะทางการเมืองเป็นเอกลักษณ.

ใหม่!!: รัฐเอกราชและประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบรูไน

รูไน (Brunei) หรือ เนอการาบรูไนดารุซซาลาม (Negara Brunei Darussalam) เป็นรัฐเอกราชบนเกาะบอร์เนียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชายฝั่งทางด้านเหนือจรดทะเลจีนใต้ พรมแดนทางบกที่เหลือจากนั้นถูกล้อมรอบด้วยรัฐซาราวะก์ของมาเลเซียตะวันออก บรูไนเป็นประเทศเดียวที่มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่บนเกาะบอร์เนียว ส่วนพื้นที่ ๆ เหลือของเกาะถูกแบ่งเป็นของประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย ประทศบรูไนมีประชากรประมาณ 423,196 คนใน..

ใหม่!!: รัฐเอกราชและประเทศบรูไน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: รัฐเอกราชและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศองค์ประกอบ

ประเทศองค์ประกอบ (constituent country) เป็นคำที่บางครั้งใช้เรียกประเทศที่มีฐานะเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยทางการเมืองที่ใหญ่กว่า เช่น รัฐเอกราช คำว่าประเทศองค์ประกอบนี้ไม่มีความหมายในทางกฎหมาย และใช้เรียก ประเทศ ที่เป็นส่วนประกอบหนึ่งของหน่วยอื่นเท่านั้น.

ใหม่!!: รัฐเอกราชและประเทศองค์ประกอบ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโมร็อกโก

มร็อกโก (ชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรโมร็อกโก, เป็นรัฐเดี่ยวและรัฐเอกราชที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคมาเกร็บในแอฟริกาเหนือ เป็นหนึ่งในถิ่นกำเนินชนเบอร์เบอร์ ในทางภูมิศาสตร์โมร็อกโกมีเทือกเขาหินขรุขระตรงกลาง มีทะเลทรายขนาดใหญ่และมีชายฝั่งยาวมาตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติกจนถึงทะเลเมดิเตอเรเนียน โมร็อกโกมีพื้นที่ประมาณ 710,850 ตารางกิโลเมตรและประชากรกว่า 33.8 ล้านคน เมืองหลวงชื่อราบัตและมีเมืองใหญ่สุดชื่อกาซาบล็องกา นอกจากนี้ยังมีเมืองสำคัญอื่น ๆ อีกอาทิมาร์ราคิช แทงเจียร์ ซาเล่ห์ แฟ็ส แม็กแน็สและ วัจด้า ในทางประวัติศาสตร์โมร็อกโกเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคมีความเป็นอิสระและไม่ได้ถูกยุ่งเกียวหรือรุกรานโดยเพื่อนบ้านตั้งแต่สุลต่าน โมเลย์ อิดริส ที่ 1ก่อตั้งรัฐโมร็อกโกครั้งแรกใน พ.ศ. 1332 ประเทศถูกปกครองโดยระบบราชวงศ์และเจริญสุดขีดในช่วงราชวงศ์อัลโมราวิดและราชวงศ์อัลโลฮัดซึ่งครอบครองส่วนหนึ่งของคาบสมุทรไอบีเรียและแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ ราชวงศ์มารีนิดและราชวงศ์ซาดีได้ยืนหยัดต่อต้านการรุกร่านจากต่างประเทศ อีกทั้งโมร็อกโกเป็นประเทศในแอฟริกาเหนือประเทศเดียวที่เลี่ยงการยึดครองจากจักรวรรดิออตโตมันได้ ราชวงศ์อเลาอัวซึ่งปกครองประเทศอยู่ในปัจุบันนั้นขึ้นมามีอำนาจในโมร็อกโกตั้งแต่ พ.ศ. 2174 ใน พ.ศ. 2455 โมร็อกโกถูกแบ่งเป็นโมร็อกโกในอารักขาของฝรั่งเศส โมร็อกโกในอารักขาของสเปนกับเขตสากลในแทนเจียร์และกลับมาได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2499 วัฒนธรรมชาวโมร็อกโกจะเป็นแบบผสมผสานตามอิทธิพลของเบอร์เบอร์ อาหรับ แอฟริกาตะวันตกและยุโรป โมร็อกโกอ้างว่าเวสเทิร์นสะฮาราซึ่งเป็นดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองซึ่งเคยเป็นสะฮาราของสเปนนั้นเป็นจังหวัดทางใต้ของโมร็อกโก หลังจากสเปนตกลงที่จะปลดปล่อยดินแดนนี้ให้โมร็อกโกและมอริเตเนียใน พ.ศ. 2518 ชาวซาห์ราวีได้ทำสงครามแบบกองโจร มอริเตเนียถอนตัวออกจากดินแดนที่มีสิทธิครอบครองใน พ.ศ. 2522 และสงครามอันยืดเยื้อก็ยุติจากการหยุดยิงใน พ.ศ. 2534 ปัจจุบันโมร็อกโกครอบครองดินแดนสองในสาม โมร็อกโกปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญกับรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง กษัตริย์โมร็อกโกมีอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติอย่างมาก โดยเฉพาะการทหาร นโยบายต่างประเทศและศาสนา อำนาจบริหารออกใช้โดยรัฐบาล ขณะที่สภานิติบัญญัติเป็นของรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรโมร็อกโกและราชมนตรีสภาทั้งสองสภา กษัตริย์สามารถออกพระราชกฤษฎีกาที่เรียกว่าดาฮีร์ซึ่งมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย นอกจากนี้กษัตริย์สามารถยุบสภาหลังจากปรึกษานายกรัฐมนตรีและประธานศาลรัฐธรรมนูญ ชาวโมร็อกโกส่วนมากนับถือศาสนาอิสลามมีภาษาราชการคือภาษาอาหรับและภาษาเบอร์เบอร์ ภาษาเบอร์เบอร์เป็นภาษาหลักของโมร็อกโกก่อนที่อาหรับจะมามีบทบาทในคริสศ์ศตวรรษที่ 600 ภาษาอาหรับในโมร็อกโกเรียกว่า Darija โมร็อกโกเป็นสมาชิกของสันนิบาตอาหรับ สหภาพเมดิเตอร์เรเนียนและสหภาพแอฟริกา และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ห้าของแอฟริก.

ใหม่!!: รัฐเอกราชและประเทศโมร็อกโก · ดูเพิ่มเติม »

แทนกันยีกา

แทนกันยีกา (Tanganyika) หรือชื่ออย่างเป็นทางการในภายหลัง สาธารณรัฐแทนกันยีกา เป็นรัฐเอกราชในแอฟริกาตะวันออกตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: รัฐเอกราชและแทนกันยีกา · ดูเพิ่มเติม »

โลก (ดาวเคราะห์)

ลก (Earth) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สามจากดวงอาทิตย์ และเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์เพียงหนึ่งเดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต จากการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งหลักฐานอื่นได้ความว่าโลกกำเนิดเมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีก่อน โลกมีอันตรกิริยะเชิงโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศโดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของโลก โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.26 วัน เรียกว่า ปี ซึ่งระหว่างนั้นโลกโคจรรอบแกนตัวเองประมาณ 366.26 รอบ แกนหมุนของโลกเอียงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ บนผิวโลก อันตรกิริยาความโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ก่อให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร ทำให้การหมุนบนแกนของโลกมีเสถียรภาพ และค่อย ๆ ชะลอการหมุนของโลก โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูงสุดในระบบสุริยะและใหญ่สุดในดาวเคราะห์คล้ายโลก 4 ดวง ธรณีภาคของโลกแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ส่วน เรียกว่าแผ่นธรณีภาค ซึ่งย้ายที่ตัดผ่านพื้นผิวตลอดเวลาหลายล้านปี ร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาสมุทร อีกร้อยละ 29 ที่เหลือเป็นแผ่นดินประกอบด้วยทวีปและเกาะซึ่งมีะเลสาบ แม่น้ำและแลห่งน้ำอื่นจำนวนมากกอปรเป็นอุทกภาค บริเวณขั้วโลกทั้งสองปกคลุมด้วยน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก และน้ำแข็งทะเลของแพน้ำแข็งขั้วโลก บริเวณภายในของโลกยังคงมีความเคลื่อนไหวโดยมีแก่นชั้นในซึ่งเป็นเหล็กในสถานะของแข็ง มีแก่นเหลวชั้นนอกซึ่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก และชั้นแมนเทิลพาความร้อนที่ขับเคลื่อนการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ภายในพันล้านปีแรก สิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นในมหาสมุทรและเริ่มส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและผิวดาว เกื้อหนุนให้เกิดการแพร่ขยายของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจน หลักฐานธรณีวิทยาบางส่วนชี้ว่าชีวิตอาจกำเนิดขึ้นเร็วสุด 4.1 พันล้านปีก่อน นับแต่นั้นตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะ คุณสมบัติทางกายภาพของโลก และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาของโลกประกอบกันทำให้สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการและแพร่พันธุ์ได้ Early edition, published online before print.

ใหม่!!: รัฐเอกราชและโลก (ดาวเคราะห์) · ดูเพิ่มเติม »

เอกราช

อกราช คือ ความเป็นอิสระในการปกครองตนเองของชาติหรือรัฐ มีอำนาจอธิปไตยไม่ถูกกดขี่ควบคุมทางการเมืองหรือเป็นอาณานิคมจากรัฐบาลภายนอก.

ใหม่!!: รัฐเอกราชและเอกราช · ดูเพิ่มเติม »

เอกราชของสกอตแลนด์

อกราชของสกอตแลนด์ (Scottish independence, Scots unthirldom, Neo-eisimeileachd na h-Alba) เป็นจุดมุ่งหมายทางการเมืองของพรรคการเมือง กลุ่มรณรงค์ และบุคคลจำนวนหนึ่งในสกอตแลนด์ (ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งในสหราชอาณาจักร) ที่ต้องการให้ประเทศเป็นรัฐเอกราชที่มีอธิปไตยของตนเองอีกครั้งหนึ่ง การลงประชามติทั่วประเทศจะมีขึ้นในวันที่ 18 กันยายน..

ใหม่!!: รัฐเอกราชและเอกราชของสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เอกราชไต้หวัน

thumb เอกราชไต้หวัน (Taiwanese independence) เป็นความเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อเรียกร้องเอกราชให้แก่สาธารณรัฐจีน (Republic of China) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า ไต้หวัน มีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเป็นการสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นเป็นสาธารณรัฐไต้หวัน (Republic of Taiwan) อย่างเป็นทางการ กับทั้งเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่เอกลักษณ์ของชาติไต้หวัน บอกปัดการผนึกไต้หวันเข้ากับสาธารณรัฐประชาชนจีนหรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า ประเทศจีน ทั้งยังปฏิเสธแนวคิดหนึ่งประเทศ สองระบบ (one country, two systems) และความเป็นจีน รวมถึงเรียกให้นานาประเทศรับรองไต้หวันเป็นรัฐเอกราช ปัจจุบัน มีองค์การระหว่างประเทศเพียงแห่งเดียวที่รับรองเอกราชของไต้หวันอย่างเป็นทางการ คือ องค์การชาติและประชาชนซึ่งไร้ผู้แทน (Unrepresented Nations and Peoples Organization) และสิ่งที่น่าจะเป็นความสำเร็จเพียงหนึ่งเดียวอันเนื่องมาจากความเคลื่อนไหวนี้ คือ การได้มาซึ่งข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 2758 อันว่าด้วยสถานะทางการเมืองของไต้หวัน ในไต้หวันเอง ความเคลื่อนไหวข้างต้นได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรฟั่นลวี่ (Pan-Green Coalition) แต่ถูกพันธมิตรฟั่นหลัน (Pan-Blue Coalition) ต่อต้าน เพราะกลุ่มหลังนี้ประสงค์จะคงไว้ซึ่งสถานะเดิมของสาธารณรัฐจีนตามที่ได้รับฉันทามติเมื่อ ค.ศ. 1992 แม้เป็นสถานะที่ค่อนข้างเคลือบคลุมก็ตาม หรือกลุ่มหลังนี้อาจต้องการให้ไต้หวันหลุดพ้นจากประเทศจีนอย่างช้า ๆ เพราะที่ผ่านมา ประเทศจีนอ้างว่ามีเอกราชเหนือไต้หวันทั้งยังอาศัยการคุกคามทางทหารเสมอ กลุ่มนี้จึงเห็นว่า การประกาศเอกราชเสียทีเดียวอาจนำไปสู่การประเชิญหน้าทางการยุทธระหว่างกองทัพสาธารณรัฐจีนกับกองทัพสาธารณรัฐประชาชนจีน และอาจเอื้ออำนวยให้ประเทศภายนอก เช่น สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น สอดเข้าเกี่ยวข้องมากขึ้น การใช้คำ "เอกราช" สำหรับไต้หวันนั้นอาจเป็นที่คลุมเครือ เป็นต้นว่า เมื่อผู้สนับสนุนความเคลื่อนไหวนี้กล่าวว่า เห็นชอบกับเอกราชไต้หวัน อาจหมายความว่า บุคคลเหล่านี้เห็นชอบกับความคิดให้สถาปนาสาธารณรัฐไต้หวันอย่างเป็นทางการ หรืออาจหมายความว่า บุคคลเหล่านี้เห็นว่า ปัจจุบัน ไต้หวันเป็นเอกราชอยู่แล้ว แต่สามารถเป็นไวพจน์ของสาธารณรัฐจีนได้ ซึ่งนับเป็นการบอกปัดการอ้างสิทธิของประเทศจีนโดยปริยาย ก็ได้ ตามประวัติศาสตร์แล้ว ในระหว่าง..

ใหม่!!: รัฐเอกราชและเอกราชไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

เอกอัครสมณทูต

อาร์ชบิชอป โจวันนี ดานีเอลโล (Giovanni d’Aniello) อดีตเอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย กัมพูชา พม่า และลาวhttp://haab.catholic.or.th/photo/ambassador/jovanne.html แต่งตั้งสมณทูตองค์ใหม่ เอกอัครสมณทูต (nuncio; apostolic nuncio) เรียกโดยย่อว่าพระสมณทูต.

ใหม่!!: รัฐเอกราชและเอกอัครสมณทูต · ดูเพิ่มเติม »

7 มิถุนายน

วันที่ 7 มิถุนายน เป็นวันที่ 158 ของปี (วันที่ 159 ในปีอธิกสุรหาจนาทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 207 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: รัฐเอกราชและ7 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »