โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รัฐพิหาร

ดัชนี รัฐพิหาร

หาร คือ รัฐที่อยู่ในประเทศอินเดีย มีพุทธคยาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ภาษาที่ใช้ในรัฐพิหาร คือ ภาษาฮินดีถูกแบ่งเป็นสองส่วนด้วยแม่น้ำคงคาซึ่งไหลผ่านจากตะวันตกไปตะวันออก เดิมคือแคว้นมคธ มีสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาหลายแห่ง เช่น พุทธคยา นาลันทา มีความสำคัญด้านคมนาคมขนส่งเพราะเป็นประตูสู่เนปาลและรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือ สินค้าเกษตรที่สำคัญคืออ้อย ปอ ชา มีการส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำตาล สุราและเอทานอล.

83 ความสัมพันธ์: ชมพูทวีปบริติชราชบาสมาตีพรรคโคณฑวานาคณตันตระพระพุทธเมตตาพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์พระเจ้าตริสองเดซันพุทธคยากมลา ประสาท-พิเสสรการจาริกแสวงบุญการทารุณเด็กทางเพศการค้าประเวณีภาษากุรุขภาษามคธภาษาราชการของอินเดียภาษาสันถาลีภาษาสิเลฏีภาษาอวธีภาษาอังคิกาภาษาฮินดีภาษาฉัตตีสครห์ภาษาโภชปุรีภาษาโสราภาษาไมถิลีภคัลปุระมหาวิทยาลัยมคธรัฐฌารขัณฑ์ราชวงศ์นันทะราชวงศ์โมริยะราชคฤห์รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่รายชื่อสถานีรถไฟในประเทศเนปาลรายชื่อทุพภิกขภัยรายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศอินเดียรายชื่อเขตการปกครองราเชนทระ ปรสาทวัดไทยพุทธคยาวัดไทยสิริราชคฤห์วัดไทยนาลันทาวัดเวฬุวันมหาวิหารวันมาฆบูชาวันวิสาขบูชาวันอาสาฬหบูชาวิเทหะสังเวชนียสถานอะซีม เพรมจีอักษรวารังกสิติอักษรสิเลฏินาครีอักษรโสรัง สมเป็งอักษรไกถี...อังคะอารยภัฏอนาคาริก ธรรมปาละจักรวรรดิคุปตะธงศาสนาพุทธคยาประชาธิปไตยประเทศอินเดียปลายี่สกเทศปลาขิ้งปัฏนานกกระเรียนไทยนายกรัฐมนตรีอินเดียนาลันทาน้ำตาลแกงหัวปลาแม่ชีเทเรซาแม่น้ำพาคมตีแผ่นดินไหวในประเทศเนปาล พฤษภาคม พ.ศ. 2558แนวร่วมสมาพันธ์กู้ชาติแห่งอัสสัมโรชาน เซธไผ่ตงเชอร์ชาห์สุรีเฟมินา มิสอินเดียเกสริยาสถูปเวสาลีเส้นขนานที่ 25 องศาเหนือเส้นเมริเดียนที่ 85 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนที่ 87 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนที่ 88 องศาตะวันออกเทศกาลคฒิมาอีเนปาลแอร์ไลน์ISO 3166-2:IN ขยายดัชนี (33 มากกว่า) »

ชมพูทวีป

มพูทวีป มีความหมายได้ 2 ประการ ประการแรกหมายถึง ดินแดนที่เป็นประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาลและบังกลาเทศในปัจจุบัน มีชื่อเรียกทางภูมิศาสตร์ที่เรียกว่า “เอเชียใต้”, “อนุทวีปอินเดีย”, หรือ “ภารตวรรษ” (Bharatavarsa) ประการที่สองหมายถึงทวีปใหญ่ทางทิศใต้ของเขาพระสุเนรุซึ่งเป็น 1 ใน 4 ทวีปของชาวภารตะ (อุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีป).

ใหม่!!: รัฐพิหารและชมพูทวีป · ดูเพิ่มเติม »

บริติชราช

ริติชราช (British Raj; ब्रिटिश राज) หรือเรียกอย่างง่ายว่า อินเดีย หมายถึงการปกครองโดยพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในอนุทวีปอินเดียระหว่างปี..

ใหม่!!: รัฐพิหารและบริติชราช · ดูเพิ่มเติม »

บาสมาตี

มาตี (Basmati) เป็นพันธุ์ข้าวสายพันธุ์หนึ่ง เป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศอินเดียและประเทศอื่น ๆ ใกล้เคียง เพราะมีความหอมอร่อย เหมาะอย่างยิ่งในการปรุงหรือประกอบอาหารอินเดีย และมีราคาซื้อขายกันแพง คำว่า "บาสมาตี" มาจากภาษาสันสกฤตคำว่า vasmati หมายถึง "ที่มีกลิ่นหอม" เป็นข้าวที่มีต้นกำเนิดที่ทางตอนเหนือของอินเดีย และปากีสถานในปัจจุบัน มีการปลูกและสืบทอดสายพันธุ์มาอย่างยาวนานนับพันปีมาแล้ว เพาะปลูกกันมากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกของอินเดีย ได้แก่ รัฐหรยาณา, รัฐปัญจาบ, รัฐเบงกอลตะวันตก, รัฐอุตตรประเทศ, รัฐโอริศา และรัฐพิหาร ลักษณะของข้าวบาสมาตี คือ เมล็ดเรียวยาว หุงขึ้นหม้อ ร่วนไม่เหนียวติดกัน มีทั้งสีน้ำตาลและสีขาว จึงเหมาะอย่างยิ่งในการประกอบอาหารอินเดีย เช่น ข้าวหมก ปัจจุบันข้าวบาสมาตียังได้รับความนิยมในประเทศอิหร่านอีกด้ว.

ใหม่!!: รัฐพิหารและบาสมาตี · ดูเพิ่มเติม »

พรรคโคณฑวานาคณตันตระ

รรคโคณฑวานาคณตันตระ (गोंडवाना गणतन्त्र पार्टी; Gondwana Ganatantra Party) ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: รัฐพิหารและพรรคโคณฑวานาคณตันตระ · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธเมตตา

พระพุทธเมตตา พระพุทธเมตตา เป็นพระพุทธรูปในวัดพระมหาโพธิ ใกล้กับต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่ตรัสรู้ของพระโคตมพุทธเจ้า ในตำบลพุทธคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดียในปัจจุบัน (หรือแคว้นมคธ ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล) พระพุทธเมตตาองค์นี้เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยปาละ และสร้างในสมัยนั้นด้วยหินแกรนิตสีดำ มีอายุกว่า 1,400 ปี​ แต่ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด หมวดหมู่:พระพุทธรูป.

ใหม่!!: รัฐพิหารและพระพุทธเมตตา · ดูเพิ่มเติม »

พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์

ระอวโลกิเตศวร เป็นพระโพธิสัตว์องค์สำคัญของพระพุทธศาสนามหายาน ที่มีผู้เคารพศรัทธามากที่สุด และเป็นบุคลาธิษฐานแห่งมหากรุณาคุณของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เรื่องราวของพระอวโลกิเตศวรปรากฏอยู่ทั่วไปในคัมภีร์สันสกฤตของมหายาน อาทิ ปรัชญาปารมิตาสูตร สัทธรรมปุณฑรีกสูตร และการัณฑวยูหสูตฺร.

ใหม่!!: รัฐพิหารและพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าตริสองเดซัน

ระเจ้าตริสองเดซัน (ภาษาทิเบต: ཁྲི་སྲོང་ལྡེ་བཙན, khri srong lde btsan;, ชื่อซงเต๋อซั่น) เป็นพระโอรสของพระเจ้ามีอาธอมซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าซรอนซันกัมโป พระมารดาคือเจ้าหญิงจินเจินจากจีน ครองราชย์เมื่อ..

ใหม่!!: รัฐพิหารและพระเจ้าตริสองเดซัน · ดูเพิ่มเติม »

พุทธคยา

ทธคยา (บาลี: พุทฺธคยา, อังกฤษ: Bodh Gaya, Mahabodhi Temple, बोधगया) คือคำเรียกกลุ่มพุทธสถานสำคัญใน อำเภอคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นพุทธสถานที่มีความสำคัญที่สุด 1 ใน 4 แห่ง ของชาวพุทธ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธสังเวชนียสถานที่มีความสำคัญที่สุดของชาวพุทธทั่วโลก ปัจจุบันบริเวณพุทธศาสนสถานอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัดมหาโพธิ อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการร่วม พุทธ-ฮินดู พุทธคยา ปัจจุบันตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชรา ไกลจากฝั่งแม่น้ำประมาณ 350 เมตร (นับจากพระแท่นวัชรอาสน์) พุทธคยามีสัญลักษณ์ที่สำคัญคือองค์เจดีย์สี่เหลี่ยมที่สูงใหญ่ โดยสูงถึง 51 เมตร ฐานวัดโดยรอบได้ 121.29 เมตร ล้อมรอบด้วยโบราณวัตถุ โบราณสถานสำคัญ เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระแท่นวัชรอาสน์ ที่ประทับตรัสรู้ และอนิมิสสเจดีย์ เป็นต้น ซึ่งนอกจากพุทธสถานโบราณแล้ว บริเวณโดยรอบพุทธคยายังเป็นที่ตั้งของวัดพุทธนานาชาติ รวมทั้งวัดไทยคือ วัดไทยพุทธคยา สำหรับชาวพุทธ พุทธคยา นับเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญที่สุดของนักแสวงบุญชาวพุทธทั่วโลกที่ต้องการมาสักการะสังเวชนียสถานสำคัญ 1 ใน 4 แห่งของพระพุทธศาสนา โดยในปี พ.ศ. 2545 วัดมหาโพธิ (พุทธคยา) สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ขององค์การยูเนสโก.

ใหม่!!: รัฐพิหารและพุทธคยา · ดูเพิ่มเติม »

กมลา ประสาท-พิเสสร

กมลา ประสาท-พิเสสร (Kamla Persad-Bissessar, เกิด 22 เมษายน ค.ศ. 1952) อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 7 ของสาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโก และเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศ ซึ่งดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม..

ใหม่!!: รัฐพิหารและกมลา ประสาท-พิเสสร · ดูเพิ่มเติม »

การจาริกแสวงบุญ

นักแสวงบุญมุสลิมที่มักกะหฺ การจาริกแสวงบุญ (Pilgrimage) ทางด้านศาสนาและจิตวิญญาณ “การจาริกแสวงบุญ” คือการเดินทางหรือการแสวงหาสิ่งที่มีความสำคัญทางจริยธรรมต่อจิตใจ บางครั้งก็จะเป็นการเดินทางไปยังศาสนสถานที่มีความสำคัญต่อความเชื่อหรือความศรัทธาของผู้นั้น สมาชิกของศาสนาหลักของโลกมักจะร่วมในการเดินทางไปแสวงบุญ ผู้ที่เดินทางไปทำการจาริกแสวงบุญเรียกว่านักแสวงบุญ พระพุทธศาสนามีสังเวชนียสถานที่สำคัญที่สุดที่มีความเกี่ยวข้องกับองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าสำหรับนักแสวงบุญอยู่สี่แห่ง: ลุมพินีวันที่ตั้งอยู่ในแคว้นอูธในประเทศเนปาลที่เป็นสถานที่ประสูติ, พุทธคยาที่ตั้งอยู่ในรัฐพิหารในประเทศอินเดียที่เป็นสถานที่ตรัสรู้, สารนาถที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองพาราณสีในรัฐอุตตรประเทศในประเทศอินเดียซึ่งเป็นสถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนา และ กุสินาราที่ตั้งอยู่ตำบลมถากัวร์ อำเภอกุสินครในรัฐอุตตรประเทศในประเทศอินเดียเป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน ในศาสนาเอบราฮัมที่ประกอบด้วยศาสนายูดาย, ศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาบาไฮ ถือว่าดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในอิสราเอลปัจจุบันเป็นศูนย์กลาง ในราชอาณาจักรอิสราเอล และ ราชอาณาจักรยูดาห์ การเดินทางไปยังศูนย์กลางของสิ่งที่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อบางแห่งถูกยกเลิกไปในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช เมื่อการสักการะพระเยโฮวาห์จำกัดอยู่แต่เพียงที่วัดแห่งเยรุซาเล็มเท่านั้น “การจาริกแสวงบุญ” บนแผ่นดินใหญ่ของกรีซก็จะเป็นการเดินทางไปยังเดลฟี หรือโหรซูสที่โดโดนา และทุกสี่ปีระหว่างสมัยกีฬาโอลิมปิค เทวสถานซูสก็จะเต็มไปด้วยผู้มาแสวงบุญจากดินแดนต่างๆ ทุกมุมเมืองของกรีซ เมื่ออเล็กซานเดอร์มหาราชไปถึงอียิปต์ พระองค์ก็ทรงหยุดยั้งทุกสิ่งทุกอย่างลงชั่วคราว และทรงนำผู้ติดตามไม่กี่คนลึกเข้าไปในทะเลทรายลิเบียเพื่อไปปรึกษาโหรที่อัมมุน ระหว่างสมัยการปกครองของราชวงศ์ทอเลมีต่อมา ศาสนสถานไอซิสที่ฟิเล (Philae) ก็มักจะได้รับเครื่องสักการะที่มีคำจารึกภาษากรีกจากผู้มีความเกี่ยวพันที่อยู่จากบ้านเมืองเดิมในกรีซ แม้ว่า “การจาริกแสวงบุญ” มักจะอยู่ในบริบทของศาสนา แต่การจาริกแสวงบุญก็แปรเปลี่ยนไปใช้ในกิจการที่ไม่เกี่ยวกับกับศาสนาได้เช่นการเดินทางไปแสดงความเคารพคนสำคัญของลัทธินิยมเช่นในกรณีที่ทำกันในประเทศคอมมิสนิสต์ ตัวอย่างเช่นการเดินทางไปเยี่ยมชมที่บรรจุศพเลนิน (Lenin's Mausoleum) ที่จัตุรัสแดงก่อนที่สหภาพโซเวียตจะแตกแยกออกจากกัน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มีลักษณะเดียวกับที่เรียกว่า “การจาริกแสวงบุญ”.

ใหม่!!: รัฐพิหารและการจาริกแสวงบุญ · ดูเพิ่มเติม »

การทารุณเด็กทางเพศ

การทารุณเด็กทางเพศ (Child sexual abuse ตัวย่อ CSA, child molestation) หรือ การกระทำทารุณต่อเด็กทางเพศ หรือ การทำร้ายเด็กทางเพศ เป็นรูปแบบการกระทำทารุณต่อเด็กที่ผู้ใหญ่, หรือเยาวชนหรือวัยรุ่นที่มีอายุมากกว่าและต่างระดับพัฒนา ใช้เด็กกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ มีรูปแบบตั้งแต่การขอหรือบังคับให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเพศ (ไม่ว่าจะได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่), การแสดงสิ่งลามกอนาจารไม่ว่าจะเป็นอวัยวะเพศ หัวนมหญิง เป็นต้น เพื่อสนองความต้องการทางเพศของตน เพื่อขู่ขวัญเด็ก หรือเพื่อปะเหลาะประเล้าประโลมเตรียมเด็กเพื่อทารุณกรรม, การสัมผัสเด็กทางเพศ, หรือการใช้เด็กเพื่อผลิตสื่อลามกอนาจาร ทารุณกรรมสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายที่หลายสถาน รวมทั้งที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือสำนักงานที่มีเด็กทำงานเป็นปกติ การจับเด็กแต่งงานเป็นรูปแบบการทารุณหลักอย่างหนึ่ง ที่กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ได้กล่าวไว้ว่า "อาจเป็นรูปแบบการทารุณและฉวยผลประโยชน์จากเด็กหญิงทางเพศที่แพร่หลายที่สุด" ทารุณกรรมต่อเด็กส่งผลทางจิตใจ ให้เกิดความซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจแบบซับซ้อน (complex post-traumatic stress disorder) ความโน้มเอียงที่จะตกเป็นเหยื่อทารุณกรรมอีกในวัยผู้ใหญ่ รวมทั้งการบาดเจ็บทางกาย และเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาทั้งหมด ทารุณกรรมโดยสมาชิกครอบครัวซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการร่วมประเวณีกับญาติสนิท จะก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงยิ่งกว่าต่อเด็ก ส่งผลกระทบต่อจิตใจในระยะยาว โดยเฉพาะในกรณีที่ทำโดยผู้ปกครอง ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ พ่อเลี้ยง แม่เลี้ยง พ่อบุญธรรม แม่บุญธรรม ความแพร่หลายทั่วโลกของทารุณกรรมทางเพศต่อเด็กประเมินอยู่ที่ 19.7% ในหญิง และ 7.9% ในชาย ผู้กระทำผิดส่วนมากรู้จักเหยื่อ ราว 30% เป็นญาติ บ่อยที่สุดเป็นพี่ชาย พ่อ ลุง หรือลูกพี่ลูกน้อง ราว 60% เป็นคนรู้จักอื่นอย่างเช่น "เพื่อน"ของคนในครอบครัว พี่เลี้ยงเด็ก หรือเพื่อนบ้าน และราว 10% เป็นคนแปลกหน้า ผู้กระทำผิดส่วนใหญ่เป็นชาย จากการศึกษาพบว่า หญิงทำผิดต่อ 14-40% ของเหยื่อเด็กชาย และ 6% ของเหยื่อเด็กหญิง(โดยที่เหลือของเหยื่อทำโดยผู้ทำผิดเพศชาย) ส่วนคำภาษาอังกฤษว่า pedophile (คนใคร่เด็ก) มักจะใช้อย่างไม่เลือกกับทุก ๆ คนที่ทารุณเด็กทางเพศ แต่ผู้ทำผิดต่อเด็กทุกคนไม่ใช่คนใคร่เด็ก ยกเว้นถ้ามีความรู้สึกทางเพศที่รุนแรงกับเด็กที่อยู่ในวัยก่อนหนุ่มสาว และคนใคร่เด็กทุกคนก็ไม่ใช่ผู้ทำผิดต่อเด็ก ในกฎหมายบางประเทศ คำว่า child sexual abuse (การทารุณเด็กทางเพศ) ใช้เป็นคำคลุมทั้งการละเมิดกฎหมายอาญาและแพ่ง ที่ผู้ใหญ่ทำกิจทางเพศร่วมกับผู้เยาว์ หรือฉวยประโยชน์จากผู้เยาว์เพื่อสนองความรู้สึกทางเพศ สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association) ยืนยันว่า "เด็กไม่สามารถยินยอมมีกิจกรรมทางเพศร่วมกับผู้ใหญ่" และประณามการทำเช่นนั้นของผู้ใหญ่ คือ "ผู้ใหญ่ที่มีกิจกรรมทางเพศร่วมกับเด็ก กำลังละเมิดทั้งกฎหมายและจริยธรรม ที่ไม่มีทางพิจารณาได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่ปกติหรือที่ยอมรับได้ในสังคม".

ใหม่!!: รัฐพิหารและการทารุณเด็กทางเพศ · ดูเพิ่มเติม »

การค้าประเวณี

ผู้หญิงขายบริการ ในสถานบริการแห่งหนึ่งในเยอรมนี การค้าประเวณี (prostitution) คือธุรกิจหรือวิธีปฏิบัติโดยการทำกิจกรรมทางเพศเพื่อแลกกับค่าตอบแทน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เงิน ของ บริการ หรือประโยชน์แบบอื่นตามแต่ตกลง หญิงค้าประเวณีนั้นเรียก นครโสเภณี (prostitute) แปลว่า "หญิงงามเมือง" (โสเภณี แปลว่า หญิงงาม) และมักตัดไปเรียกว่า "โสเภณี" เฉย ๆ ส่วนภาษาถิ่นอีสานเรียก "หญิงแม่จ้าง" และภาษาปากเรียก "กะหรี่", "หญิงหากิน" หรือ "อีตัว" เป็นต้น สำนักของเหล่านครโสเภณีเรียก โรงนครโสเภณี, โรงหญิงนครโสเภณี หรือ ซ่องโสเภณี (bawdy house, brothel, disorderly house, house of ill fame หรือ house of prostitution).

ใหม่!!: รัฐพิหารและการค้าประเวณี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากุรุข

ษากุรุข (Kurukh; อักษรเทวนาครี: कुड़ुख़) เป็นภาษาในตระกูลภาษาดราวิเดียนที่พูดโดยเผ่าโอโรนหรือเผ่ากุรุข ที่อยู่ในรัฐพิหาร ฌารขัณฑ์ โอริศา มัธยประเทศ ฉัตตีสครห์ และเบงกอลตะวันตก ในประเทศอินเดีย และบังกลาเทศภาคเหนือ มีความใกล้เคียงกับภาษาบราฮุย และภาษามัลโตหรือภาษาปาหาเรีย บางครั้งเรียกภาษาโอโรน.

ใหม่!!: รัฐพิหารและภาษากุรุข · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามคธ

ษามคธ (อ่านว่า มะ-คด บางครั้งเรียก มาคธี, มคธี หรือ มคฮี) เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาโภชปุรีและภาษาไมถิลีจัดอยู่ในกลุ่มของภาษาพิหาร ตระกูลอินโด-ยุโรเปียน มีผู้พูด 13 ล้านคนในเขตมคธของรัฐพิหารและบริเวณใกล้เคียงอื่นๆรวมถึงบางบริเวณในรัฐเบงกอลตะวันตก เขียนด้วยอักษรเทวนาครี ระบบเสียงใกล้เคียงกับภาษาฮินดีและพอจะเข้าใจกันได้กับผู้พูดภาษาฮินดีหรือภาษาพิหารอื่นๆ มีนิทานและเพลงพื้นบ้านมาก เชื่อกันว่ารูปแบบโบราณของภาษามคธคือภาษาที่ใช้พูดในสมัยพุทธกาลและในราชอาณาจักรมคธ พุทธศาสนาเถรวาทใช้ภาษาบาลีซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของภาษามคธโบราณ ยังมีภาษาที่อยู่ระหว่างภาษาบาลีกับภาษามคธ เรียกว่า ภาษาอรธมาคธี (แปลว่า ภาษากึ่งมคธ) ซึ่งใช้ในคัมภีร์ของศาสนาเชน ความต่างของภาษามคธกับภาษาอรธมาคธี อยู่ในรูปแบบเดียวกับความต่างจากภาษาบาลี ภาษามคธยังเป็นชื่อของภาษาปรากฤตที่ใช้ในการแสดงละคร และเป็นภาษาที่ใช้พูดในรัฐพิหารในยุคกลาง เป็นต้นกำเนิดของภาษาเบงกาลี ภาษาโอริยาและภาษาพิหาร.

ใหม่!!: รัฐพิหารและภาษามคธ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาราชการของอินเดีย

ประเทศอินเดียมีภาษาพูดที่แตกต่างกันมากมาย ในกลุ่มคนต่าง ๆ กัน มีภาษาอย่างน้อย 30 ภาษา รวมถึงภาษาย่อยอีก 2,000 ภาษาด้ว.

ใหม่!!: รัฐพิหารและภาษาราชการของอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันถาลี

ภาษาสันถาลี เป็นภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก กลุ่มมุนดา ใกล้เคียงกับภาษาโฮและภาษามุนดารี มีผู้พูด 6 ล้านคนในอินเดีย บังกลาเทศ เนปาล และภูฏาน ผู้พูดส่วนใหญ่อยู่ในอินเดีย กระจายอยู่ตามรัฐฌารขัณฑ์ อัสสัม พิหาร โอริศา ตรีปุระ และเบงกอลตะวันตก มีอักษรเป็นของตนเองเรียกอักษรสันถาลี อัตราการรู้หนังสือต่ำอยู่ระหว่าง 10 - 30% สันถาลี สันถาลี สันถาลี สันถาลี.

ใหม่!!: รัฐพิหารและภาษาสันถาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสิเลฏี

ษาสิเลฏี (ชื่อในภาษาของตนเอง সিলটী Silôţi; ภาษาเบงกาลี সিলেটী Sileţi) เป็นภาษาที่ใช้พูดโดยชาวสิลเหตที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของบังกลาเทศ และทางใต้ของรัฐอัสสัม ใกล้เคียงกับภาษาเบงกาลีจนอาจจะถือเป็นสำเนียงได้ ชาวสิลเหตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรกามรูปในสมัยโบราณ มีลักษณะของภาษาอัสสัม เช่น การคงอยู่ของเสียงเสียดแทรกมากกว่าภาษาในอินเดียตะวันออกอื่นๆ มีการเขียนด้วยอักษรเบงกาลีในปัจจุบัน ภาษาสิเลฏิเป็นภาษาที่เน้นเสียงท้ายคำ และมีคำยืมจากภาษาอาหรับ ภาษาเปอร์เซีย ภาษาเบงกาลีและภาษาอัสสัม ผู้พูดภาษาสิเลฏิในบังกลาเทศจะได้รับอิทธิพลจากภาษาเบงกาลีสำเนียงมาตรฐานมาก.

ใหม่!!: รัฐพิหารและภาษาสิเลฏี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอวธี

ษาอวธี (अवधी) เป็นภาษาถิ่นของภาษาฮินดี ใช้พูดในเขตอวัธ ของรัฐอุตตรประเทศ และพบในรัฐพิหาร มัธยประเทศ เดลฮี รวมทั้งในประเทศเนปาลด้วย มีผู้พูดราว 20 ล้านคน.

ใหม่!!: รัฐพิหารและภาษาอวธี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังคิกา

ษาอังคิกา เป็นภาษาของชาวอังหรืออังคาในรัฐพิหาร ฌารขัณฑ์ และเบงกอลตะวันตกในอินเดีย มีผู้พูดราว 30 ล้านคนในอินเดียและ 50 ล้านคนทั่วโลก มีผู้พูดภาษานีในกัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และส่วนอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังพบในอังกฤษและสหรัฐด้วย ภาษาอังคิกาใกล้เคียงกับภาษาเบงกาลี ภาษาโอริยาและภาษาอัสสัม จัดอยู่ในภาษาพิหารเช่นเดียวกับภาษาโภชปุรี ภาษามคธี ภาษาไมถิลีและภาษาวัชชิกะ ผู้พูดภาษาพิหารอื่นๆจะเข้าใจภาษาอังคิกาได้ง่าย สรหะ กวีคนแรกของภาษาฮินดีที่มีชีวิตเมื่อราว..

ใหม่!!: รัฐพิหารและภาษาอังคิกา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮินดี

ษาฮินดีเป็นภาษาที่พูด ส่วนใหญ่ในประเทศอินเดียเหนือและกลาง เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน อยู่ในกลุ่มย่อย อินโด-อิหร่าน มีวิวัฒนาการมาจากภาษาปรากฤต ในสาขาอินโด-อารยันกลาง ของยุคกลาง และมีวิวัฒนาการทางอ้อมจากภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดีได้นำคำศัพท์ชั้นสูงส่วนใหญ่มาจากภาษาสันสกฤต นอกจากนี้ เนื่องจากอิทธิพลของชาวมุสลิมในอินเดียเหนือ ภาษาฮินดียังมีคำที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ และ ภาษาตุรกี เป็นจำนวนมาก และในที่สุดได้ก่อให้เกิดภาษาอูรดูขึ้น สำหรับภาษา"ฮินดีมาตรฐาน" หรือ "ฮินดีแท้" นั้น มีใช้เฉพะการสื่อสารที่เป็นทางการ ขณะที่ภาษาซึ่งใช้ในชีวิตประจำวันในพื้นที่ส่วนใหญ่นั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในภาษาถิ่นย่อย ของภาษาฮินดูสตานี ในแง่ความสัมพันธ์ทางภาษาศาสตร์นั้น ภาษาฮินดีและภาษาอูรดู ถือว่าเป็นภาษาเดียวกัน แตกต่างตรงที่ ภาษาฮินดีนั้นเขียนด้วยอักษรเทวนาครี (Devanāgarī) ขณะที่ภาษาอูรดูนั้น เขียนด้วยอักษรเปอร์เซียและอาหรั.

ใหม่!!: รัฐพิหารและภาษาฮินดี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฉัตตีสครห์

ษาฉัตตีสครห์ (Chhattisgarhi; छत्तिसगढ़ी) มีผู้พูดราว 11.5 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในรัฐฉัตตีสครห์ และบริเวณใกล้เคียงในรัฐโอริศา รัฐมัธยประเทศ และรัฐพิหาร ใกล้เคียงกับภาษาบาเฆลและภาษาอวาธิ อยู่ในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน สาขาตะวันออกตอนกลาง เขียนด้วยอักษรเทวนาครี ฉัตตีสครห์.

ใหม่!!: รัฐพิหารและภาษาฉัตตีสครห์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโภชปุรี

ษาโภชปุรีเป็นภาษาที่พูดกันแพร่หลายทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย คือทางตะวันตกของรัฐพิหาร ตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐฌารขัณฑ์ และบริเวณปุรวัณฉัลของอุตรประเทศรวมถึงทางใต้ของเนปาล ภาษาโภชปุรีมีผู้พูดในกายอานา ซูรินาม ฟิจิ ทรินิแดดฯ และมอริเชียสด้วย ภาษานี้ถือว่าไม่ใช่ภาษาถิ่นของภาษาฮินดี เตรียมจะรับรองสถานะเป็นภาษาประจำชาติอีกภาษาหนึ่ง ภาษาโภชปุรีมีคำศัพท์คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดี ภาษาอูรดู และภาษาตระกูลอินโด-อารยันอื่นๆในภาคเหนือของอินเดีย ภาษาโภชปุรีและภาษาใกล้เคียงได้แก่ ภาษาไมถิลีและภาษามคธีเป็นที่รู้จักโดยรวมว่าภาษาพิหาร ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มภาษาอินโด-อารยันตะวันออกเช่นเดียวกับภาษาเบงกาลีและภาษาโอริยา ภาษาถิ่นของภาษาโภชปุรีมีราว 3-4 ภาษาในภาคตะวันออกของรัฐอุตรประเท.

ใหม่!!: รัฐพิหารและภาษาโภชปุรี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโสรา

ษาโสรา หรือภาษาเสารา ภาษาเสาห์รา ภาษาศาพารี ภาษาสพัร ภาษาสัวรา ภาษาสวระ ภาษาสาวาเรีย ภาษาสวเรา หรือภาษาสาพารา เป็นภาษากลุ่มมุนดาในอินเดีย มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ 288,000 คน (2540) ในทางใต้ของรัฐโอริศา ที่อยู่ทางตะวันออกของอินเดีย แต่ก็มีที่รัฐอันธรประเทศ มัธยประเทศ พิหาร ทมิฬนาฑู เบงกอลตะวันตก และบางส่วนของรัฐอัสสัม เขียนด้วยอักษรเตลุกุ อักษรละติน และอักษรโสรัง สมเป็งที่ประดิษฐ์เมื่อ..

ใหม่!!: รัฐพิหารและภาษาโสรา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไมถิลี

ษาไมถิลี จัดอยู่ในภาษากลุ่มอินโด-อารยัน มีผู้พูดในรัฐพิหารของอินเดีย และเตรายตะวันตกในเนปาล คำว่าไมถิลีมาจากมิถิลาซึ่งเป็นรัฐอิสระในสมัยโบราณ มีกลุ่มผู้พูดภาษาไมถิลีเป็นจำนวนมาก ภาษานี้อยู่ในกลุ่มอินเดียตะวันออก ที่มีพัฒนาการเป็นอิสระจากภาษาฮินดี เขียนด้วยอักษรไมถิลีซึ่งคล้ายกับอักษรเบงกาลีหรือเขียนด้วยอักษรเทวนาครี เคยเขียนด้วยอักษรตีราหุตี แต่เปลี่ยนมาใช้อักษรเทวนาครีในพุทธศตวรรษที่ 25-26 อักษรตีราหุตีเป็นต้นแบบของอักษรไมถิลี อักษรเบงกาลีและอักษรโอร.

ใหม่!!: รัฐพิหารและภาษาไมถิลี · ดูเพิ่มเติม »

ภคัลปุระ

ัลปุระ (Bhagalpur) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา ในรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 3 ของรัฐ มีพื้นที่ครอบคลุม 2,569.50 ตร.กม.

ใหม่!!: รัฐพิหารและภคัลปุระ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยมคธ

มหาวิทยาลัยมคธ (Magadh University) ชื่อย่อ: MU) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาล อยู่ในตำบลโพธิคยา อำเภอคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบัญญัติมหาวิทยาลัยแห่งรัฐพิหาร พ.ศ. 2519 ทั้งนี้ โดยพฤตินัยแล้วมหาวิทยาลัยก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2505 โดยนายสัตเยนทรา นารายัณ สิงห์ (Satyendra Narayan Sinha) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของอินเดีย มีวัตถุประสงค์แรกเริ่มเพื่อการเผยแผ่พุทธศาสนา มหาวิทยาลัยเปิดทำการครั้งแรกในวันที่ 2 มีนาคม ปีก่อตั้งนั้นเอง ปัจจุบัน จัดการเรียนการสอนในสาขาเศรษฐศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พาณิชยศาสตร์ คอมพิวเตอร์ศึกษา วิทยาการคอมพิวเตอร์ แพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และบริหารศาสตร์ นับเป็นมหาวิทยาลัยที่มีขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของอินเดีย พุทธคยาเจดี.

ใหม่!!: รัฐพิหารและมหาวิทยาลัยมคธ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐฌารขัณฑ์

รัฐฌารขัณฑ์ คือรัฐหนึ่งของประเทศอินเดียที่แยกตัวออกมาจากรัฐพิหาร เมื่อพ.ศ. 2543 ตั้งอยู่ตอนกลางเยื้องไปทางตะวันออกของประเทศ ฌารขัณฑ์ หมวดหมู่:รัฐฌาร์ขัณฑ์ หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2543.

ใหม่!!: รัฐพิหารและรัฐฌารขัณฑ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์นันทะ

ักรวรรดินันทะในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าธนนันทะราว 323 ปีก่อนคริสต์ศักราช ราชวงศ์นันทะ หรือ จักรวรรดินันทะ (Nanda Dynasty) มีรากฐานมาจากแคว้นมคธของอินเดียที่รุ่งเรืองระหว่างศตวรรษที่ 5 จนถึง ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าธนนันทะจักรวรรดินันทะมีอาณาบริเวณตั้งแต่รัฐพิหารและเบงกอลทางตะวันออกไปจนถึงแคว้นสินธุและบาลูจิสถานทางตะวันตก จักรวรรดินันทะต่อมาถูกพิชิตโดยพระเจ้าจันทรคุปต์เมารยะผู้ทรงก่อตั้งจักรวรรดิโมร.

ใหม่!!: รัฐพิหารและราชวงศ์นันทะ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โมริยะ

มริยะ (เขียนตามภาษาบาลี) หรือ เมารยะ (เขียนตามภาษาสันสกฤต: मौर्य, เมารฺย) เป็นจักรวรรดิซึ่งมีเนื้อที่กว้างใหญ่และมีอิทธิพลมากที่สุดจักรวรรดิหนึ่งในอินเดีย ปกครองโดยราชวงศ์โมริยะ (मौर्य राजवंश, เมารฺย ราชวํศ) ตั้งแต..

ใหม่!!: รัฐพิหารและราชวงศ์โมริยะ · ดูเพิ่มเติม »

ราชคฤห์

ราชคฤห์ (ราชคห; राजगिर ราชคริ; राजगीर ราชคีร; Rajgir; راجگیر) เป็นชื่อเมืองหลวงของแคว้นมคธสมัยพุทธกาล เป็นเมืองในหุบเขา มีภูเขาล้อมรอบ 5 ลูก จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เบญจคีรีนคร ราชคฤห์เป็นเมืองตั้งหลักพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า โดยพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระเจ้าพิมพิสารผู้ครองนคร เป็นเมืองที่มีประวัติความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามากที่สุด สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าและพระสาวกยังปรากฏอยู่มากมาย เช่น พระคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกูฏ วัดเวฬุวันซึ่งเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ถ้ำสุกรขาตาที่พระสารีบุตรได้บรรลุธรรม ถ้ำสัตบรรณคูหาที่ทำสังคายนาครั้งแรก เป็นต้น สถานะเมืองหลวงของราชคฤห์ถูกเปลี่ยนโอนไปอยู่ที่ปาฏลีบุตรตั้งแต่สมัยพระเจ้าอชาตศัตรู ส่งผลให้ราชคฤห์ในปัจจุบันเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ในรัฐพิหาร มีผู้อยู่อาศัยไม่มาก มีสภาพเกือบเป็นป่า แต่เป็นสถานที่แสวงบุญของชาวพุทธทั่วโลกแห่งหนึ่ง ไฟล์:Rajgirbuddha.jpg|พระพุทธรูปยืนกลางมณฑลโบราณสถานวัดเวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์ ไฟล์:Vulturepeak.jpg|พระคันธกุฎี บนยอดเขาคิชกูฏ ไฟล์:Sattapanni.jpg|ถ้ำสัตบรรณคูหา สถานที่ทำปฐมสังคายนา ไฟล์:Tapodarama.jpg|ตโปธาราม บ่อน้ำโบราณอายุกว่า 2,500 ปี ไฟล์:Vulturepeak1.jpg|พระมูลคันธกุฎิยอดเขาคิชกูฏ เมื่อมองจากสันติสถูป.

ใหม่!!: รัฐพิหารและราชคฤห์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่

นี่คือ รายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ที่ใช้เป็นภาษาแม.

ใหม่!!: รัฐพิหารและรายชื่อภาษาเรียงตามจำนวนผู้ใช้เป็นภาษาแม่ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสถานีรถไฟในประเทศเนปาล

ที่หยุดรถไฟในหมู่บ้านขชุรี บทความนี้แสดงรายชื่อ สถานีรถไฟในประเทศเนปาล ประเทศเนปาลมีทางรถไฟ 1 สาย ซึ่งเป็นสายย่อยแยกมาจากทางหลักในประเทศอินเดีย วิ่งระหว่างเมืองชัยนคร-ชนักปุระ มีส่วนต่อขยายไปยังเมือง Bardibas.

ใหม่!!: รัฐพิหารและรายชื่อสถานีรถไฟในประเทศเนปาล · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทุพภิกขภัย

แสดงผู้ประสบกับทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1845 ถึงปี ค.ศ. 1849 รายชื่อทุพภิกขภัยข้างล่างเป็นรายการที่ไม่สมบูรณ์ เป็นรายชื่อของเหตุการณ์ทุพภิกขภัยที่ถือว่าเป็นครั้งสำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์เท่านั้น.

ใหม่!!: รัฐพิหารและรายชื่อทุพภิกขภัย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศอินเดีย

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของประเทศอินเดียทั้งสิ้น 37 แหล่ง ประกอบด้วยมรดกโลกทางวัฒนธรรม 29 แหล่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 7 แห่ง และมรดกโลกแบบผสมอีก 1 แห่ง.

ใหม่!!: รัฐพิหารและรายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อเขตการปกครอง

รายชื่อเขตปกครองในระดับบนสุดของประเทศต่าง ๆ ที่มีการปกครองแบบสหพันธรัฐหรือรัฐรวม รวมทั้งเขตการปกครองในระดับบนสุดของเอกรัฐหรือรัฐเดี่ยวบางแห่ง.

ใหม่!!: รัฐพิหารและรายชื่อเขตการปกครอง · ดูเพิ่มเติม »

ราเชนทระ ปรสาท

ร.

ใหม่!!: รัฐพิหารและราเชนทระ ปรสาท · ดูเพิ่มเติม »

วัดไทยพุทธคยา

วัดไทยพุทธคยา เป็นวัดไทยแห่งแรกในประเทศอินเดีย เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 มีเนื้อที่ราว 12 ไร่ (5 เอเคอร์) ตั้งอยู่บริเวณพุทธคยา อยู่ห่างจากองค์เจดีย์พุทธคยาประมาณ 500 เมตร เป็นวัดที่อยู่ในความดูแลและอุปถัมภ์ของรัฐบาลไทย ปัจจุบันมีพระเทพโพธิวิเทศ (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ) เป็นเจ้าอาวาส พระอุโบสถของวัดไทยพุทธคยาจำลองแบบมาจากวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมของสมัยรัตนโกสินทร์ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งการจำลองแบบจนดูเหมือนนี้ไม่ใช่เฉพาะภายนอก แต่ยังมีภายในที่เหมือนกันด้วย เช่น องค์พระประธานที่เป็นพระพุทธชินราช แกลประตู แกลหน้าต่าง เป็นต้น.

ใหม่!!: รัฐพิหารและวัดไทยพุทธคยา · ดูเพิ่มเติม »

วัดไทยสิริราชคฤห์

วัดไทยสิริราชคฤห์ เป็นวัดไทยแห่งแรก ในเมืองราชคฤห์ เมืองในสมัยพุทธกาลที่มีประวัติความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามากที่สุดแห่งหนึ่ง วัดแห่งนี้ เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 มีเนื้อที่ราว 10 ไร่ (4 เอเคอร์) อยู่ห่างจากวัดเวฬุวันมหาวิหาร สถานที่พระสัมมาสัมพูทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ และพระอารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ประมาณ 500 เมตร ปัจจุบันมีพระครูปลัดสุวัฒนพุทธิคุณ (วิเชียร วชิรวํโส ดร.) เป็นประธานสง.

ใหม่!!: รัฐพิหารและวัดไทยสิริราชคฤห์ · ดูเพิ่มเติม »

วัดไทยนาลันทา

วัดไทยนาลันทา (Wat Thai Nalanda) ตั้งอยู่ที่นาลันทา บ้านเกิดและที่นิพพานของพระอัครสาวกเบื้องขวา คือ พระสารีบุตร และต่อมาได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทาที่ยิ่งใหญ่และโด่งดังไปทั่วโลก และได้มีวัดไทยซึ่งมีประวัติการก่อสร้างที่แปลกประหลาดที่สุดในอินเดีย เพราะที่ดินและอาคารเสนาสนะภายในวัด ได้รับการบริจาคจากชาวอินเดี.

ใหม่!!: รัฐพิหารและวัดไทยนาลันทา · ดูเพิ่มเติม »

วัดเวฬุวันมหาวิหาร

กลุ่มป่าไผ่ร่มรื่น ในกลุ่มโบราณสถานวัดเวฬุวันมหาวิหาร วัดเวฬุวันมหาวิหาร หรือ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน เป็นอาราม (วัด) แห่งแรกในพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ใกล้เชิงเขาเวภารบรรพต บนริมฝั่งแม่น้ำสรัสวดีซึ่งมีตโปธาราม (บ่อน้ำร้อนโบราณ) คั่นอยู่ระหว่างกลาง นอกเขตกำแพงเมืองเก่าราชคฤห์ (อดีตเมืองหลวงของแคว้นมคธ) รัฐพิหาร ประเทศอินเดียในปัจจุบัน (หรือ แคว้นมคธ ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล) คำว่า เวฬุวัน แปลว่าสวนไผ่ เดิมอารามแห่งนี้เป็นพระราชอุทยานของพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แคว้นมคธ ตั้งอยู่นอกเมืองราชคฤห์ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วได้เสด็จไปยังเมืองราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยข้าราชบริพารเข้าไปเฝ้า หลังจากทรงสดับธรรมแล้วทรงเลื่อมใสจึงถวายสวนเวฬุวันเป็นพุทธบูชา ด้วยทรงเห็นว่าเป็นที่สงบร่มรื่น เหมาะสำหรับอยู่บำเพ็ญธรรมของพระสงฆ์ ถือกันต่อมาว่าสถานที่นี้เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา เรียกว่า วัดเวฬุวันมหาวิหาร นอกจากนี้วัดนี้ยังเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาติโมกข์แก่พระสาวกจำนวน 1,250 รูป แล้วส่งไปเป็นพระธรรมทูตประกาศพระศาสนา อันเป็นที่มาของวันมาฆบูชา วัดเวฬุวันมหาวิหาร ปัจจุบันยังคงอยู่ เป็นซากโบราณสถานในสวนไผ่ที่ร่มรื่น มีสระน้ำขนาดใหญ่ภายใน มีรั้วรอบด้าน อยู่ในความดูแลของทางราชการอินเดี.

ใหม่!!: รัฐพิหารและวัดเวฬุวันมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วันมาฆบูชา

ปุรณมี วันมาฆบูชา (มาฆปูชา; Magha Puja) เป็นวันสำคัญของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทยราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม ๓๐, ๓๐ มีนาคม..

ใหม่!!: รัฐพิหารและวันมาฆบูชา · ดูเพิ่มเติม »

วันวิสาขบูชา

วันที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนามากถึง 3 เหตุการณ์ คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า '''"วันพระพุทธเจ้า"''' วันวิสาขบูชา (วิสาขปุณฺณมีปูชา; Vesak) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกนิกายทั่วโลก ทั้งเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศ และวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติRequest for inclusion of an additional item in the agenda of the fifty-fourth session in United Nations (12 November 1999).

ใหม่!!: รัฐพิหารและวันวิสาขบูชา · ดูเพิ่มเติม »

วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา (อาสาฬหปูชา; Āsāḷha Pūjā) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทยราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม ๗๕, ตอน ๕๒, ๑๒ มิถุนายน..

ใหม่!!: รัฐพิหารและวันอาสาฬหบูชา · ดูเพิ่มเติม »

วิเทหะ

วิเทหะ (विदेह) หรือ มิถิลา (मिथिला) เป็นราชอาณาจักรโบราณในประเทศอินเดียสมัยพระเวท ซึ่งรุ่งเรืองขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าชนก มีดินแดนซึ่งปัจจุบันได้แก่ภาคมิถิลากินอาณาบริเวณทางเหนือและตะวันออกของรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย กับตะวันออกของที่ราบตะราอี ประเทศเนปาล.

ใหม่!!: รัฐพิหารและวิเทหะ · ดูเพิ่มเติม »

สังเวชนียสถาน

ังเวชนียสถาน (อ่านว่า สัง-เว-ชะ-นี-ยะ-สะ-ถาน) แปลว่า สถานที่อันเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช เป็นคำที่ใช้เรียกสถานที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ สังเวชนียสถาน หมายถึงสถานที่ที่ทำให้เกิดความรู้สึกระลึกถึงพระพุทธเจ้า เกิดความแช่มชื่น เบิกบาน เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำความดี เมื่อได้ไปพบเห็น สังเวชนียสถาน มี 4 แห่ง คือ.

ใหม่!!: รัฐพิหารและสังเวชนียสถาน · ดูเพิ่มเติม »

อะซีม เพรมจี

อะซีม ฮะชีม เพรมจี (Azim Hashim Premji เกิดวันที่ 24 กรกฎาคม 2488) เป็นนักธุรกิจใหญ่ นักลงทุน และนักการกุศล ผู้เป็นประธานบริษัทวิโปรจำกัด (Wipro Limited) ผู้รู้จักกันว่าเป็นเจ้าพ่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศอินเดีย เป็นผู้นำบริษัทที่ขยายธุรกิจเป็นเวลาสี่ทศวรรษจนกลายเป็นบริษัทชั้นนำของโลกบริษัทหนึ่งในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ในปี 2553 นิตยสารเอเชียวีกจัดเขาให้เป็นชายที่มีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในโลกในจำนวน 20 คน และนิตยสารไทม์ได้จัดให้เขาเป็นคนที่มีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในโลกในจำนวน 100 คนในปี 2547 และ 2554 เพรมจีเป็นเจ้าของหุ้น 79.45% ของบริษัทวิโปร และเป็นเจ้าของกองทุนรวมตราสารแห่งทุน (private equity fund) คือ PremjiInvest ซึ่งบริหารจัดการทรัพย์สมบัติส่วนตัวมีค่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2556 เขาได้เซ็นสัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินส่วนตัวโดยมากกับองค์กรการกุศล แล้วต่อมาจึงบริจาคหุ้นบริษัทมีค่า 2,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับทรัสต์ที่บริหารกองทุนของมูลนิธิอะซีมเพรมจี ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่ให้ความสนใจในเรื่องการศึกษา การบริจาคทรัพย์ครั้งนี้ได้เพิ่มจำนวนทรัพย์ที่เขาบริจาคแล้วทั้งหมดเป็น 4,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 131,000 ล้านบาทในปี 2556).

ใหม่!!: รัฐพิหารและอะซีม เพรมจี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรวารังกสิติ

อักษรวารังกสิติ ประดิษฐ์ขึ้นโดยผู้นำชุมชน ลาโก โพทรา เพื่อใช้แทนระบบการเขียนที่คิดโดยมิชชันนารี โพทรากล่าวว่าเขาปรับปรุงมาจากอักษรที่เขาค้นพบในเอกสารทางไสยศาสตร์ โดยอักษรที่พบนั้น ประดิษฐ์โดย ธวัน ตูรี เมื่อราว..

ใหม่!!: รัฐพิหารและอักษรวารังกสิติ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรสิเลฏินาครี

อักษรสิเลฏินาครี ใกล้เคียงกับอักษรไกถีของรัฐพิหาร จุดกำเนิดยังไม่แน่ชัด เริ่มพบครั้งแรกเมื่อราว..

ใหม่!!: รัฐพิหารและอักษรสิเลฏินาครี · ดูเพิ่มเติม »

อักษรโสรัง สมเป็ง

อักษรโสรัง สมเป็ง เดิมภาษาโสราเขียนด้วยอักษรละติน อักษรเตลุกุ หรือ อักษรโอริยา ต่อมาผู้พูดภาษาโสราได้ประดิษฐ์อักษรของตนขึ้น โดยมาเลีย โกแมนโก ผู้นำชุมชนที่ไม่ใช่ชาวคริสต์ สนับสนุนให้บุตรบุญธรรมของเขาคือ มันเกย โกแมนโก คิดอักษรนี้ขึ้นมา นำออกเผยแพร่ครั้งแรก เมื่อ 18 มิถุนายน..

ใหม่!!: รัฐพิหารและอักษรโสรัง สมเป็ง · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไกถี

อักษรไกถี (कैथी), หรืออักษรกยถี หรืออักษรกยัสถี เป็นชื่อของอักษรที่เคยใช้ในอินเดียเหนือสมัยโบราณ โดยเฉพาะบริเวณที่ต่อมาจะเป็นจังหวัดตะวันตกเฉียงเหนือ อวัธ และ พิหาร ซึ่งเคยใช้เป็นตัวอักษรในทางกฎหมาย การบริหาร และบันทึกส่วนตัว.

ใหม่!!: รัฐพิหารและอักษรไกถี · ดูเพิ่มเติม »

อังคะ

แผนที่เอเชียใต้ แสดงภาพอาณาจักรอินเดียโบราณทั้ง 16 แห่ง ซึ่งเรียกรวมกันว่ามหาชนบท แคว้นอังคะ (अंग) เป็นหนึ่งในอาณาจักรในอินเดียโบราณ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศอินเดีย ในปัจจุบันคือระหว่างรัฐพิหารและรัฐเบงกอลตะวันตกและบางส่วนของประเทศบังกลาเทศ ในมหากาพย์มหาภารตะ แคว้นอังคะเป็นอาณาจักรที่ทุรโยธน์มอบให้กรรณะเพื่อแลกกับมิตรภาพและความจงรักภัคดีต่อฝ่ายเการ.

ใหม่!!: รัฐพิหารและอังคะ · ดูเพิ่มเติม »

อารยภัฏ

อารยภัฏ หรือ อาริยภัฏ (Āryabhaṭa or Aryabhata I.) (आर्यभट.) ช่วงชีวิต..

ใหม่!!: รัฐพิหารและอารยภัฏ · ดูเพิ่มเติม »

อนาคาริก ธรรมปาละ

อนาคาริก ธรรมปาละ (Anagarika Dhammapala) (เกิด 17 กันยายน พ.ศ. 2407 มรณภาพ 29 เมษายน พ.ศ. 2476) เป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย เป็นผู้ก่อตั้งสมาคมมหาโพธิ์ และเป็นผู้เรียกร้องเอาพุทธสถานในอินเดียกลับคืนมาเป็นของชาวพุทธ ท่านเกิดในครอบครัวผู้มั่งคั่ง บิดาชื่อว่า เดวิด เหววิตรเน เมื่อได้อ่านหนังสือเรื่องประทีปแห่งเอเชียของท่านเซอร์ เอดวินด์ อาโนลด์ ก็เกิดความซาบซึ้ง มีความคิดอยากอุทิศชีวิตถวายต่อพระพุทธองค์ในการฟื้นฟูพุทธศาสนาที่อินเดีย จึงออกเดินทางสู่อินเดีย เมื่อได้เห็นเจดีย์พุทธคยาที่ชำรุดทรุดโทรมถูกทอดทิ้ง และอยู่ในความครอบครองของพวกมหันต์ จึงเกิดความสังเวชใจ ที่ได้พบเห็นเช่นนั้น จึงทำการอธิษฐานต่อต้นพระศรีมหาโพธิ์ว่า จะถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา เพื่อฟื้นฟูพุทธศาสนา ในอินเดียและนำพุทธคยากลับคืนมาเป็นสมบัติของชาวพุทธทั่วโลกให้ได้.

ใหม่!!: รัฐพิหารและอนาคาริก ธรรมปาละ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิคุปตะ

ักรวรรดิคุปตะ (Gupta Empire) เป็นจักรวรรดิอินเดียโบราณที่รุ่งเรืองระหว่างปี ค.ศ. 280 จนกระทั่งปี ค.ศ. 550 จักรวรรดิ โดยมีอาณาบริเวณที่ครอบคลุมตางตอนเหนือและตอนกลางของอินเดียทั้งหมด และบังคลาเทศปัจจุบัน จักรวรรดิก่อตั้งขึ้นโดยพระเจ้าศรีคุปต์ โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ปาฏลีบุตรที่ปัจจุบันคือปัฏนาทางตอนเหนือของรัฐพิหาร ความรุ่งเรืองของจักรวรรดิภายใต้การนำของพระมหากษัตริย์ราชวงศ์คุปตะทำให้มีความเจริญในด้านวิทยาศาสตร์และศิลปะ ในด้านความเจริญทางด้านวัฒนธรรมนักประวัติศาสตร์จัดราชวงศ์คุปตะในระดับเดียวกับราชวงศ์ฮั่น, ราชวงศ์ถัง และจักรวรรดิโรมัน สมัยจักรวรรดิคุปตะถือกันโดยนักวิชาการบางคนว่าเป็นยุคทองของอินเดียในด้านวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรม, ศิลปะ, วรรณคดี, ตรรกศาสตร์, คณิตศาสตร์, ดาราศาสตร์, ศาสนา และปรัชญ.

ใหม่!!: รัฐพิหารและจักรวรรดิคุปตะ · ดูเพิ่มเติม »

ธงศาสนาพุทธ

งศาสนาพุทธที่ใช้ทั่วไปเป็นสากลมีชื่อเรียกว่า ธงฉัพพรรณรังสี เริ่มปรากฏการใช้ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 (เทียบแบบสากลคือราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19).

ใหม่!!: รัฐพิหารและธงศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

คยา

(Gaya) คือตำบลหนึ่งในอำเภอคยา จังหวัดมคธ รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ 100 กิโลเมตร ทางใต้ของเมืองปัฏนา ตัวเมืองทอดยาวไปตามชายฝั่งของแม่น้ำเนรัญชรา เมืองแห่งนี้เป็นเมืองสำคัญทั้งของศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู เพราะเป็นทั้งที่ตั้งของสถานที่เกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธศาสนา และสถานที่ ๆ ถูกกล่าวถึงในตำนานปรัมปราในคัมภีร์รามายณะของศาสนาฮินดู โดยภูมิประเทศของคยาเต็มไปด้วยภูเขาหินขนาดเล็ก คยาเป็นเมืองที่เป็นทั้งที่ตั้งของคยาสีสะ สถานที่พระพุทธองค์ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรเพื่อโปรดแก่เหล่าชฏิล 1,003 รูป และวัดวิษณุบาท วัดฮินดูที่เป็นที่ประดิษฐานของหิน ที่ชาวฮินดูนับถือว่าเป็นรอยบาทของพระวิษณุ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำคัญ 1 ใน 7 แห่งของศาสนาฮินดู.

ใหม่!!: รัฐพิหารและคยา · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตย

รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.

ใหม่!!: รัฐพิหารและประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: รัฐพิหารและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ปลายี่สกเทศ

ปลายี่สกเทศ หรือ ปลาโรหู้ (রুই) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Labeo rohita ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างลำตัวยาวทรงกระบอก ส่วนหัวสั้น ปากเล็ก มีหนวดสั้น 2 คู่ ริมฝีปากเป็นชายครุยเล็กน้อย และมีแผ่นขอบแข็งที่ริมฝีปากบนและล่าง มีเกล็ดขนาดเล็กตามแนวเส้นข้างลำตัว ครีบหลังและครีบก้นมีขนาดเล็ก ครีบหางเว้าลึก ลำตัวด้านบนสีคล้ำ ปลาขนาดใหญ่จะมีจุดสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลอ่อนแต้มที่เกล็ดแต่ละเกล็ด ท้องมีสีจาง ครีบสีคล้ำมีขอบสีชมพูอ่อนหรือแดง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60–80 เซนติเมตร พบใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร เป็นปลาพื้นถิ่นของภูมิภาคเอเชียใต้ตอนบน พบในรัฐโอริศา, รัฐพิหาร และรัฐอุตตรประเทศในอินเดีย, แม่น้ำคงคา, ปากีสถาน จนถึงพม่าทิศตะวันตก มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ในระดับกลางของแม่น้ำจนถึงท้องน้ำ ใช้ปากแทะเล็มพืชและสัตว์น้ำขนาดเล็กและอินทรียสารเป็นอาหาร สามารถปรับตัวได้ดีในแหล่งน้ำนิ่งแต่จะไม่วางไข่ ปลายี่สกเทศทอดในบังกลาเทศ เป็นปลาเศรษฐกิจที่นิยมใช้บริโภคในภูมิภาคแถบนี้ โดยปรุงสด เช่น แกงกะหรี่ ในประเทศไทยถูกนำเข้ามาในปี พ.ศ. 2511 เช่นเดียวกับปลากระโห้เทศ (Catla catla) และปลานวลจันทร์เทศ (Cirrhinus cirrhosus) เพื่อเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์เป็นปลาเศรษฐกิจในประเทศ ปราฏฏว่าได้ผลสำเร็จเป็นอย่างดี และได้รับความนิยมมาก โดยมีการเลี้ยงอย่างแพร่หลายในหลายโครงการของกรมประมงทั้งในภาคเหนือและภาคอีสาน อีกทั้งยังเป็นที่นิยมของบ่อตกปลาต่าง ๆ อีกด้วย จนสามารถขยายพันธุ์ได้เองในแหล่งน้ำของประเทศไทย เช่น ที่แม่น้ำโขง.

ใหม่!!: รัฐพิหารและปลายี่สกเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาขิ้ง

ปลาขิ้ง หรือ ปลาขิ่ง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวค่อนข้างโต ปากกว้างและริมฝีปากหนา มีหนวด 2 คู่ ตาโตอยู่ค่อนไปทางด้านบนของส่วนหัว ส่วนแก้มกว้างทำให้ส่วนหัวดูค่อนข้างสูง เกล็ดมีขนาดเล็กหลุดง่าย มีเกล็ดตามแนวเส้นข้างลำตัว 42-45 แถว ลำตัวสีเงินเจือชมพูอ่อน ๆ เหนือครีบอกมีแถบสีดำตามแนวตั้ง ครีบทุกครีบเป็นสีเหลืองอ่อน ปลายครีบหางมีแต้มสีแดงปนส้มทั้ง 2 แฉก มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 40 เซนติเมตร เป็นปลาที่กินพืชน้ำและตะไคร่น้ำเป็นอาหาร มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดเล็กในแหล่งน้ำไหล พบกระจายพันธุ์ในประเทศพม่า และแม่น้ำสาละวินซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างไทยกับพม่า จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวในสกุล Chagunius ที่พบได้ในประเทศไทย ค้นพบครั้งแรกทางวิทยาศาสตร์ที่ห้วยแม่ละเมา บ้านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ที่พิกัด 16°48’N, 98°44’E, โดยที่คำว่า Chagunius ดัดแปลงมาจากคำว่า "คากูนี (chaguni)" ซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่เรียกปลาสกุลนี้ในรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย และ baileyi ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นักมีนวิทยาชาวอเมริกัน รีฟ เอ็ม. ไบเลย์ นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: รัฐพิหารและปลาขิ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ปัฏนา

ปัฏนา (อังกฤษ: Paṭnā ฮินดี: पटना) (ชื่ออื่น: ปาตลีบุตร, ปาฏลีบุตร, ปัตนะ, มคธ) เป็นเมืองหลวงของรัฐพิหาร รัฐหนึ่งในประเทศอินเดีย ปัฏนาเป็นเมืองเก่าแก่ที่ยังมีผู้อาศัยอยู่ต่อเนื่องยาวนานที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเมื่อ 2,500 ปีก่อน ในสมัยพุทธกาล เมืองแห่งนี้เป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆ ในแคว้นมคธ ที่ตั้งโดยพระเจ้าอชาตศัตรู เพื่อเป็นเมืองหน้าด่านสำหรับการเตรียมทำสงครามกับแคว้นวัชชี หลังจากพุทธกาล เมืองนี้มีความสำคัญ เพราะได้กลายเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธและมีพระมหากษัตริย์ดำรงตำแหน่งพระจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของอินเดีย คือพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งราชวงศ์เมารยะ ผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง ทรงอุปถัมภ์การทำตติยสังคายนา ณ อโศการาม โดยให้เมืองปัฏนา (หรือปาตลีบุตร ตามที่เรียกกันในสมัยนั้น) เป็นศูนย์กลางในการส่งสมณทูตออกเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงสุวรรณภูมิ ปัจจุบัน เมืองแห่งนี้ยังคงเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของรัฐพิหาร (แคว้นมคธในสมัยโบราณ) มีพื้นที่เมืองประมาณ 25 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากกว่า 1 ล้าน 8 แสนคน โดยประมาณ.

ใหม่!!: รัฐพิหารและปัฏนา · ดูเพิ่มเติม »

นกกระเรียนไทย

thumb thumb นกกระเรียนไทย หรือ นกกระเรียน (sarus crane) เป็นนกขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่นกอพยพ พบในบางพื้นที่ของอนุทวีปอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศออสเตรเลีย เป็นนกบินได้ที่สูงที่สุดในโลก เมื่อยืนจะสูงถึง 1.8 เมตร สังเกตเห็นได้ง่าย ในพื้นที่ชุ่มน้ำเปิดโล่ง นกกระเรียนไทยแตกต่างจากนกกระเรียนอื่นในพื้นที่เพราะมีสีเทาทั้งตัวและมีสีแดงที่หัวและบริเวณคอด้านบน หากินในที่ลุ่มมีน้ำขังบริเวณน้ำตื้น กินราก หัว แมลง สัตว์น้ำ และสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กเป็นอาหาร นกกระเรียนไทยเหมือนกับนกกระเรียนอื่นที่มักมีคู่ตัวเดียวตลอดชีวิต นกกระเรียนจะปกป้องอาณาเขตและเกี้ยวพาราสีโดยการกางปีก ส่งเสียงร้อง กระโดดซึ่งดูคล้ายกับการเต้นรำ ในประเทศอินเดียนกกระเรียนเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์ในชีวิตแต่งงาน เชื่อกันว่าเมื่อคู่ตาย นกอีกตัวจะเศร้าโศกจนตรอมใจตายตาม ฤดูผสมพันธุ์หลักอยู่ในฤดูฝน คู่นกจะสร้างรังเป็น "เกาะ" รูปวงกลมจากกก อ้อ และพงหญ้า มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบสองเมตรและสูงเพียงพอที่จะอยู่เหนือจากน้ำรอบรัง นกกระเรียนไทยกำลังลดลงอย่างรวดเร็วในคริสต์ศตวรรษที่ผ่านมา คาดกันว่าประชากรมีเพียง 10 หรือน้อยกว่า (ประมาณร้อยละ 2.5) ของจำนวนที่มีอยู่ในคริสต์ทศวรรษ 1850 ประเทศอินเดียคือแหล่งที่มั่นของนกชนิดนี้ ที่ซึ่งนกเป็นที่เคารพและอาศัยอยู่ในพื้นที่การเกษตรใกล้กับมนุษย์ นกกระเรียนนั้นสูญหายไปจากพื้นที่การกระจายพันธุ์ในหลาย ๆ พื้นที่ในอดีต.

ใหม่!!: รัฐพิหารและนกกระเรียนไทย · ดูเพิ่มเติม »

นายกรัฐมนตรีอินเดีย

ตามรัฐธรรมนูญอินเดีย นายกรัฐมนตรีอินเดีย (Prime Minister of India) คือหัวหน้ารัฐบาล ประธานที่ปรึกษาของประธานาธิบดีอินเดีย ประธานคณะรัฐมนตรี และผู้นำพรรคการเมืองเสียงข้างมากในรัฐสภา นายกรัฐมนตรีจึงเป็นผู้มีอำนาจบริหารรัฐบาลอินเดีย นายกรัฐมนตรีอินเดียเป็นสมาชิกระดับอาวุโสของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจบริหารรัฐบาลตามระบบรัฐสภา นายกรัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งหรือถอนถอนรัฐมนตรี จัดสรรตำแหน่งต่าง ๆ แก่ฝ่ายรัฐบาล เป็นสมาชิกและประธานของคณะรัฐมนตรี และรับผิดชอบการเสนอร่างกฎหมายต่าง ๆ เมื่อนายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งไม่ว่าด้วยการถึงแก่อสัญกรรมหรือการลาออกจากตำแหน่ง คณะรัฐมนตรีทั้งคณะถือเป็นอันสิ้นสุดลง.

ใหม่!!: รัฐพิหารและนายกรัฐมนตรีอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

นาลันทา

250px โบราณสถานในนาลันทา ด้านหน้า โบราณสถานในนาลันทา ด้านหลัง นาลันทา เป็นชื่อเมือง ๆ หนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากพระนครราชคฤห์ประมาณ 1 โยชน์ (ประมาณ 16 กิโลเมตร) ณ เมืองนี้มีสวนมะม่วง ชื่อ ปาวาริกัมพวัน (สวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี) ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับแรมหลายครั้งคัมภีร์ฝ่ายมหายานกล่าวว่า พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นอัครสาวก เกิดที่เมืองนาลันทา แต่คัมภีร์ฝ่ายบาลีเรียกถิ่นเกิดของ พระสารีบุตรว่า หมู่บ้านนาลกะหรือนาลันทคาม "นาลันทามหาวิชชาลัยของพุทธศาสนานิกายมหายาน".

ใหม่!!: รัฐพิหารและนาลันทา · ดูเพิ่มเติม »

น้ำตาล

องน้ำตาลดิบ (ไม่ขัดและไม่ฟอกขาว) น้ำตาล เป็นชื่อเรียกทั่วไปของคาร์โบไฮเดรตชนิดละลายน้ำ โซ่สั้น และมีรสหวาน ส่วนใหญ่ใช้ประกอบอาหาร น้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน มีน้ำตาลหลายชนิดเกิดมาจากที่มาหลายแหล่ง น้ำตาลอย่างง่ายเรียกว่าโมโนแซ็กคาไรด์และหมายรวมถึงกลูโคส (หรือ เด็กซ์โตรส) ฟรุกโตส และกาแลกโตส น้ำตาลโต๊ะหรือน้ำตาลเม็ดที่ใช้เป็นอาหารคือซูโครส เป็นไดแซ็กคาไรด์ชนิดหนึ่ง (ในร่างกาย ซูโครสจะรวมตัวกับน้ำแล้วกลายเป็นฟรุกโตสและกลูโคส) ไดแซ็กคาไรด์ชนิดอื่นยังรวมถึงมอลโตส และแลกโตสด้วย โซ่ของน้ำตาลที่ยาวกว่าเรียกว่า โอลิโกแซ็กคาไรด์ สสารอื่น ๆ ที่แตกต่างกันเชิงเคมีอาจมีรสหวาน แต่ไม่ได้จัดว่าเป็นน้ำตาล บางชนิดถูกใช้เป็นสารทดแทนน้ำตาลที่มีแคลอรีต่ำ เรียกว่าเป็น วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล (artificial sweeteners) น้ำตาลพบได้ทั่วไปในเนื้อเยื่อของพืช แต่มีเพียงอ้อย และชูการ์บีตเท่านั้นที่พบน้ำตาลในปริมาณความเข้มข้นเพียงพอที่จะสกัดออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อ้อยหมายรวมถึงหญ้ายักษ์หลายสายพันธุ์ในสกุล Saccharum ที่ปลูกกันในเขตร้อนอย่างเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่สมัยโบราณ การขยายการผลิตเกิดขึ้นในคริสศตวรรษที่ 18 พร้อมกับการสร้างไร่น้ำตาลในเวสต์อินดีส และอเมริกา เป็นครั้งแรกที่คนทั่วไปได้ใช้น้ำตาลเป็นสิ่งที่ให้ความหวานแทนน้ำผึ้ง ชูการ์บีต โตเป็นพืชมีรากในที่ที่มีอากาศเย็นกว่าและเป็นแหล่งที่มาส่วนใหญ่ของน้ำตาลในศตวรรษที่ 19 หลังจากมีวิธีสกัดน้ำตาลเกิดขึ้นหลายวิธี การผลิตและการค้าน้ำตาลเปลี่ยนแปลงไปตามวิถีชีวิตของมนุษย์ มีอิทธิพลต่อการก่อตั้งอาณานิคม การมีอยู่ของทาส การเปลี่ยนผ่านไปสู่สัญญาแรงงาน การย้ายถิ่นฐาน สงครามระหว่างชาติที่ครอบครองน้ำตาลในศตวรรษที่ 19 การรวมชนชาติและโครงสร้างทางการเมืองของโลกใหม่ โลกผลิตน้ำตาลประมาณ 168 ล้านตันในปี..

ใหม่!!: รัฐพิหารและน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

แกงหัวปลา

แกงหัวปลา (Fish head curry) เป็นอาหารประเภทแกงในมาเลเซียและสิงคโปร์ มีต้นกำเนิดจากอาหารจีนและอาหารอินเดีย และยังเป็นที่นิยมในเนปาลด้วย นำหัวปลากะพงแดงมาแกงในน้ำแกงแบบเกระละโดยใส่ผักเช่นกระเจี๊ยบเขียวและมะเขือม่วง กินกับข้าวหรือขนมปัง นิยมใช้มะขามปรุงรสเปรี้ยวของแกง.

ใหม่!!: รัฐพิหารและแกงหัวปลา · ดูเพิ่มเติม »

แม่ชีเทเรซา

แม่ชีเทเรซา หรือ คุณแม่เทเรซา (26 สิงหาคม พ.ศ. 2453 – 5 กันยายน พ.ศ. 2540) เป็นนักพรตหญิงในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ท่านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้ช่วยเหลือและผู้ต่อสู้เพื่อคนยากไร้ทั้งในประเทศที่ยากจนและร่ำรวย จนเมื่อปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) ท่านจึงได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และหลังจากมรณกรรมก็ได้รับการประกาศเป็นบุญราศีโดยสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 มีนามว่า "บุญราศีเทเรซาแห่งกัลกัตตา" ต่อมาในวันที่ 4 กันยายน..

ใหม่!!: รัฐพิหารและแม่ชีเทเรซา · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำพาคมตี

แม่น้ำพาคมตี (बागमती नदी; बागमती खुसी) เป็นแม่น้ำสายหนึ่งของประเทศเนปาลไหลผ่านหุบเขากาฐมาณฑุ คั่นกรุงกาฐมาณฑุกับเมืองลลิตปุระจากกัน แม่น้ำพาคมตีเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดูและพุทธ มีศาสนสถานของศาสนาฮินดูตั้งอยู่เรียงรายริมสายน้ำนี้ อาทิ วัดปศุปตินาถDavis, John A. (1977) "Water Quality Standards for the Bagmati River," Journal: Water Pollution Control Federation 49(2): pp.

ใหม่!!: รัฐพิหารและแม่น้ำพาคมตี · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินไหวในประเทศเนปาล พฤษภาคม พ.ศ. 2558

แผ่นดินไหวในประเทศเนปาล พฤษภาคม..

ใหม่!!: รัฐพิหารและแผ่นดินไหวในประเทศเนปาล พฤษภาคม พ.ศ. 2558 · ดูเพิ่มเติม »

แนวร่วมสมาพันธ์กู้ชาติแห่งอัสสัม

แนวร่วมสมาพันธ์กู้ชาติแห่งอัสสัม (United Liberation Front of Asom) เป็นกลุ่มก่อการร้ายในอัสสัมซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย กล่าวอ้างว่ามีการก่อตั้งในเขตทางประวัติศาสตร์ของอาหม “รัง ฆาร์” เมื่อ 7 เมษายน..

ใหม่!!: รัฐพิหารและแนวร่วมสมาพันธ์กู้ชาติแห่งอัสสัม · ดูเพิ่มเติม »

โรชาน เซธ

โรชาน เซธ โรชาน เซธ (Roshan Seth) เกิดเมื่อ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2485 เป็นนักแสดงชื่อดังของอังกฤษ และ บอลลีวู้ด โรชาน เซธ เกิดในรัฐพิหาร เขาเป็นบุตรของอาจารย์สอนวิชาเคมีคนหนึ่งในรัฐพิหาร ต่อมาได้เข้าวงการแสดง ผลงานภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียง คือ คุรุ และคานธี ในบทชวาหระลาล เนห์รู หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2485 หมวดหมู่:บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ หมวดหมู่:นักแสดงอังกฤษ หมวดหมู่:บุคคลจากรัฐพิหาร หมวดหมู่:ชาวอังกฤษเชื้อสายอินเดีย หมวดหมู่:นักแสดงชายเชื้อสายอินเดีย.

ใหม่!!: รัฐพิหารและโรชาน เซธ · ดูเพิ่มเติม »

ไผ่ตง

ผ่ตง เป็นไผ่สกุลหนึ่งในวงศ์หญ้า (Poaceae) ชื่อสกุลมีที่มาจากภาษากรีกว่า "δένδρον" (déndron) แปลว่า "ต้นไม้" และ "κάλαμος" แปลว่า "พืชจำพวกกกหรืออ้อย" รวมหมายถึง "อ้อยที่เป็นกอคล้ายต้นไม้" จึงสื่อถึงลักษณะของไผ่สกุลนี้ที่มีขนาดใหญ่และนิยมปลูกเพื่อการบริโภคหน่อ ไผ่สกุลนี้มีประมาณ 50 ชนิด ในจำนวนนี้พบในไทย 4 ชนิด กระจายพันธุ์ในเขตร้อนและกึ่งร้อนของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในเขตอินเดีย จีน อินโดนีเซีย พม่า ไทย มาเลเซีย และฟิลิปปิน.

ใหม่!!: รัฐพิหารและไผ่ตง · ดูเพิ่มเติม »

เชอร์ชาห์สุรี

อร์ ชาห์ สุรี (ค.ศ. 1486 – 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1545) (ภาษาเปอร์เซีย/فريد خان شير شاہ سوري – Farīd Xān Šer Šāh Sūrī, พระนามเดิม ฟาริด คาน, หรือนิยมกล่าวพระนามว่า เชอร์ คาน, "กษัตริย์เจ้าพยัคฆา") เป็นกษัตริย์ผู้สถาปนาราชวงศ์ซูร์ ซึ่งปกครองจักรวรรดิซูร์ในอินเดียตอนเหนือ โดยมีเมืองหลวงที่เดลี โดยกำเนิดเป็นชาวอัฟกันพื้นเมือง โดยพระองค์สามารถยึดจักรวรรดิโมกุลมาเป็นของพระองค์ได้ในปีค.ศ. 1540 ต่อมาหลังจากสวรรคตอย่างกะทันหันในปีค.ศ. 1545 พระโอรสจึงได้สืบราชสมบัติต่อจากพระองค์ในพระนามว่า "อิสลาม ชาห์ สุรี" ในช่วงแรกนั้นรับราชการเป็นพลทหารของจักรวรรดิโมกุล ก่อนที่จะได้รับตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองทัพในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิบาบูร์ และต่อมาได้เป็นผู้ปกครองพิหาร ในปีค.ศ. 1537 ในขณะที่สมเด็จพระจักรพรรดิหุมายุนเสด็จแปรพระราชฐานต่างเมือง เชอร์ คานได้นำกองทัพเข้าบุกยึดครองรัฐเบงกอลและสถาปนาราชวงศ์ซูร์ขึ้น พระองค์ทรงเป็นผู้มีพระปรีชาญาณหลักแหลมทางด้านการวางแผน ทรงเป็นทั้งผู้ปกครองและจอมทัพผู้เก่งกล้า การจัดระเบียบการปกครองภายในจักรวรรดิในรัชสมัยของพระองค์เป็นการปูรากฐานสำคัญของจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมกุลในรัชสมัยต่อๆมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิอักบัร ในระหว่างรัชสมัยของพระองค์ซึ่งกินเวลาเพียง 5 ปีนั้น ได้ทรงจัดระเบียบการปกครองทั้งพลเรือนและการทหาร และยังเริ่มการใช้สกุลเงิน "รูปี" และยังจัดระเบียบการไปรษณีย์ของอินเดียอีกด้วย นอกจากนี้ยังทรงพัฒนาเมืองดินา-ปานาห์ ซึ่งสร้างโดยสมเด็จพระจักรพรรดิหุมายุน และเปลี่ยนชื่อเมืองใหม่เป็น "เชอร์การห์" และยังพัฒนาเมืองปาตลีบุตร ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานซึ่งกำลังอยู่ในช่วงตกต่ำตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 เป็นต้นมา แล้วเรียกชื่อใหม่ว่า "ปัฎนา" พระองค์ยังเป็นที่จดจำจากการฆ่าเสือขนาดตัวเต็มวัยด้วยมือเปล่าในป่าของพิหาร ซึ่งเป็นที่มาของพระนามของพระองค์ พระองค์ยังเป็นผู้ที่ปรับปรุงและขยาย "แกรนด์ ทรังก์ โรด" ซึ่งเป็นถนนที่เก่าแก่และมีความยาวที่สุดในอนุทวีปอินเดีย กินระยะทางจากจิตตะกองในบังคลาเทศ ไปยังคาบูลในอัฟกานิสถาน.

ใหม่!!: รัฐพิหารและเชอร์ชาห์สุรี · ดูเพิ่มเติม »

เฟมินา มิสอินเดีย

มิสอินเดีย หรือ เฟมินา มิสอินเดีย (Femina Miss India) เป็นการประกวดนางงามระดับประเทศของอินเดีย ซึ่งจะถูกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อคัดเลือกนางงามเข้าร่วมการประกวดมิสเวิลด์ ซึ่งกระบวนการการคัดเลือกนั้นจะถูกดำเนินการโดยทีมงานของนิตยสารสำหรับผู้หญิงของเดอะไทมส์ กรุ๊ป (The Times Group) ที่มีชื่อว่า เฟมินา (Femina) ผู้ดำรงตำแหน่งเฟมินา มิสอินเดียในปัจจุบัน คือ ปริยาดารชินิ ชาท์เดอจี (Priyadarshini Chatterjee).

ใหม่!!: รัฐพิหารและเฟมินา มิสอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

เกสริยาสถูป

มหาสถูปแห่งเกสเรีย หรือที่ในปัจจุบันเรียกว่า เกสริยา, เกสเรีย (Kesaria, อักษรเทวนาครี: केसरिया) เป็นสถานที่ตั้งของมหาสถูปพบใหม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินเดีย สถานที่ประดิษฐานบาตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงประทานแก่ชาววัชชี เมื่อครั้งพุทธกาลเกสเรียอยู่ในเขตพรมแดนของแคว้นวัชชีและมัลละต่อกัน (รัฐพิหารในปัจจุบัน)แต่ไม่ใช่สถานที่แสดงกาลามสูตร ดังที่เข้าใจกัน เพราะสถานที่แสดงกาลามสูตรนั้น อยู่ในแคว้นโกศล แต่สถูปเกสเรีย อยู่ในแคว้นวัชชีต่อกันกับพรมแดนแคว้นมัลล.

ใหม่!!: รัฐพิหารและเกสริยาสถูป · ดูเพิ่มเติม »

เวสาลี

วสาลี หรือ ไวศาลี (Vaishali) คือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของคณะเจ้าลิจฉวี ที่มีปกครองแคว้นวัชชีด้วยระบอบคณาธิปไตยแห่งแรก ๆ ของโลก (บ้างก็ว่าด้วยระบอบประชาธิปไตย) เมืองนี้เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งในสมัยพุทธกาล เป็นเมืองที่มั่นแห่งสำคัญของพระพุทธศาสนาในสมัยนั้น โดยพระพุทธเจ้าเคยเสด็จเยี่ยมเมืองแห่งนี้ในปีที่ 5 หลังการตรัสรู้ ตามการกราบบังคมทูลเชิญจากเจ้าผู้ครองแคว้น และในช่วงหลังพุทธกาล เมืองแห่งนี้ได้ตกเป็นของแคว้นมคธโดยการนำของพระเจ้าอชาตศัตรูพระราชาแห่งเมืองราชคฤห์ และหลังการล่มสลายของราชวงศ์พิมพิสารในเมืองราชคฤห์ พระราชาองค์ต่อมาจึงได้ย้ายเมืองหลวงแห่งแคว้นมคธมายังเมืองเวสาลี ทำให้เมืองแห่งนี้เจริญถึงขีดสุด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองนี้ได้เป็นสถานที่ทำทุติยสังคายนาของพระพุทธศาสนา ก่อนที่จะเสื่อมความสำคัญและถูกทิ้งร้างลงเมื่อมีการย้ายเมืองหลวงของแคว้นมคธไปยังเมืองปาฏลีบุตรหรือเมืองปัตนะอันเป็นเมืองหลวงของรัฐพิหารในปัจจุบัน ปัจจุบันเมืองเวสาลีเป็นซากโบราณสถานอยู่ที่ตำบลบสาร์ท หรือเบสาร์ท (Basarh-Besarh) ในจังหวัดไวศาลี ที่เขตติดต่อของอำเภอสดาร์ (Sadar) กับ (Hajipur) ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการจังหวัด เมืองเวสาลีห่างจากหซิปูร์ 35 กิโลเมตร ห่างจากมุซัฟฟาร์ปูร์ 37 กิโลเมตร โดยอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมุซัฟฟาร์ปูร.

ใหม่!!: รัฐพิหารและเวสาลี · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขนานที่ 25 องศาเหนือ

้นขนานที่ 25 องศาเหนือ คือวงกลมละติจูดที่ 25 องศา ด้านเหนือของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านทวีปแอฟริกา, ทวีปเอเชีย, มหาสมุทรอินเดีย, มหาสมุทรแปซิฟิก, ทวีปอเมริกาเหนือและมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นชายแดนจุดเหนือสุดของมาลีซึ่งแบ่งกับมอริเตเนีย ที่ละติจูดนี้ ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้เป็นเวลา 13 ชั่วโมง 42 นาที ในระหว่างครีษมายัน และ 10 ชั่วโมง 35 นาที ในระหว่างเหมายัน.

ใหม่!!: รัฐพิหารและเส้นขนานที่ 25 องศาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 85 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 85 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปเอเชีย มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 85 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 95 องศาตะวันตก.

ใหม่!!: รัฐพิหารและเส้นเมริเดียนที่ 85 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 87 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 87 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปเอเชีย มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 87 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 93 องศาตะวันตก.

ใหม่!!: รัฐพิหารและเส้นเมริเดียนที่ 87 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 88 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 88 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปเอเชีย มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 88 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 92 องศาตะวันตก.

ใหม่!!: รัฐพิหารและเส้นเมริเดียนที่ 88 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เทศกาลคฒิมาอี

ทศกาลคฒิมาอี (गढ़िमाई पर्व; Gadhimai festival) เป็นพิธีบูชายัญที่จัดขึ้นทุก 5 ปีที่วัดคฒิมาอี แห่งเมืองพริยารปุระ อำเภอพารา ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางใต้ประมาณ ของเมืองหลวงกาฐมาณฑุ ทางภาคใต้ของประเทศเนปาล ใกล้ชายแดนอินโด-เนปาล และแดนติดกับรัฐพิหาร (ประเทศอินเดีย) มีการเฉลิมฉลองเป็นหลักโดยชาวมะเทสี และชาวรัฐพิหาร โดยเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าสัตว์บูชายัญครั้งใหญ่ ซึ่งประกอบด้วย ควาย, หมู, แพะ, ไก่, หนู และนกพิราบ – โดยมีเป้าหมายเพื่อการเซ่นสังเวยให้แก่เจ้าแม่คฒิมาอี ซึ่งเป็นเทพีแห่งอำน.

ใหม่!!: รัฐพิหารและเทศกาลคฒิมาอี · ดูเพิ่มเติม »

เนปาลแอร์ไลน์

นปาลแอร์ไลน์ (เคยรู้จักกันในชื่อ รอยัลเนปาลแอร์ไลน์) เป็นสายการบินประจำชาติของประเทศเนปาล มีสำนักงานใหญ่ในกรุงกาฐมาณฑุ มีฐานการบินหลักอยู่ที่ ท่าอากาศยานนานาชาติตริภูวัน ชานกรุงกาฐมาณฑุ ก่อตั้งในเดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: รัฐพิหารและเนปาลแอร์ไลน์ · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:IN

ISO 3166-2:LA เป็นรหัสมาตรฐาน ISO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ISO 3166-2 ใช้อธิบายถึงตำแหน่งส่วนการปกครองต่างๆ หรือเขตการปกครองอิสระในประเทศอินเดีย ซึ่งทั้งหมดจะแทนรายชื่อทั้ง 28 รัฐ และ 7 ดินแดนสหภาพ; หมายเหต.

ใหม่!!: รัฐพิหารและISO 3166-2:IN · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Biharพิหาร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »